ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"  (อ่าน 4955 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ความโดยย่อ จากพระไตรปิฎก ฉบับประชาชน(อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ)

พระสาริบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งกล่าวหา
ว่าเดินกระทบแล้วไม่ขอโทษ ท่านกราบทูลพระศาสดาในที่ประชุมสงฆ์ อุปมาตนเอง ๙ ข้อ คือ

รู้สึกตนเองเหมือนดิน, น้ำ, ไฟ, ลม ซึ่งถูก ของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้างทิ้งใส่ แต่ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ,
เหมือนผ้าเช็ดธุลีที่เช็ดของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ก็ไม่หน่าย ไม่รังเกียจ,
เหมือนเด็กจัณฑาล ซึ่งเจียมตัวอยู่เสมอ เวลาเข้าไปสู่ที่ต่าง ๆ,
เหมือนโคที่ถูกตัดเขา ฝึกหัดดีแล้ว ไม่ทำร้ายใคร ๆ,
เบื่อหน่ายต่อกายนี้ เหมือน ชายหนุ่มหญิงสาวที่คล้องซากงูไว้ที่คอ,
บริหารกายนี้ เหมือนคนแบกหม้อน้ำมันรั่วทะลุ มีน้ำมันไหลออกอยู่.


ภิกษุผู้กล่าวหาก็กล่าวขอขมา รับผิด.




๖. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๗๖]     
         
               ข้อความเบื้องต้น              
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปฐวีสโม" เป็นต้น.

               พระสารีบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งฟ้อง              
               ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรออกพรรษาแล้ว ใคร่จะหลีกไปสู่ที่จาริก จึงทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ออกไปกับด้วยบริวารของตน. ภิกษุทั้งหลายมากแม้อื่นตามส่งพระเถระแล้ว. ก็พระเถระปราศรัยกะภิกษุทั้งหลายผู้ปรากฏอยู่ ด้วยสามารถชื่อและโคตร ตามชื่อและโคตรแล้วจึงบอกให้กลับ.

               ภิกษุผู้ไม่ปรากฏด้วยสามารถชื่อและโคตรรูปใดรูปหนึ่ง คิดว่า "โอหนอ พระเถระน่าจะยกย่องปราศรัยกะเราบ้าง ด้วยสามารถชื่อและโคตร แล้วพึงให้กลับ." พระเถระไม่ทันกำหนดถึงท่าน ในระหว่างแห่งภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. แม้ภิกษุนั้นผูกอาฆาตในพระเถระว่า "พระเถระไม่ยกย่องเรา เหมือนภิกษุทั้งหลายอื่น." มุมสังฆาฏิแม้ของพระเถระถูกสรีระของภิกษุนั้นแล้ว. แม้ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ผูกอาฆาตแล้วเหมือนกัน.

               ภิกษุนั้นรู้ว่า "บัดนี้ พระเถระจักล่วงอุปจารวิหาร" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรประหารข้าพระองค์เหมือนทำลายหมวกหู ไม่ยังข้าพระองค์ให้อดโทษแล้ว หลีกไปสู่ที่จาริก" ด้วยสำคัญว่า "เป็นอัครสาวกของพระองค์." พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว.

               พระเถระเปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง              
               ในขณะนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระและพระอานนทเถระคิดแล้วว่า
               "พระศาสดาไม่ทรงทราบความที่แห่งภิกษุนี้ อันพี่ชายของพวกเรา ไม่ประหารแล้วก็หาไม่, แต่พระองค์จักทรงประสงค์ให้ท่านบันลือสีหนาท, เราจักให้บริษัทประชุมกัน."
               พระเถระทั้งสองนั้นมีลูกดาลอยู่ในมือ เปิดประตูบริเวณแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, บัดนี้ ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาท ณ เบื้องพระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า" ให้ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประชุมกันแล้ว.


               ฝ่ายพระเถระมาถวายบังคมพระศาสดานั่งแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเนื้อความนั้นกะพระเถระนั้นแล้ว.
               พระเถระไม่กราบทูลทันทีว่า "ภิกษุนี้อันข้าพระองค์ไม่ประหารแล้ว" เมื่อจะกล่าวคุณกถาของตนจึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สติเป็นไปในกาย อันภิกษุใดไม่พึงเข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย, ภิกษุนั้นกระทบกระทั่งสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่งในศาสนานี้ ไม่ขอโทษแล้วพึงหลีกไปสู่ที่จาริกแน่"

               ดังนี้แล้ว ประกาศความที่แห่งตนมีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน เสมอด้วย น้ำ ไฟ ลม ผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล โคอุสภะมีเขาขาด ความอึดอัดด้วยกายของตนเหมือนซากงูเป็นต้น และการบริหารกายของตน ดุจภาชนะมันข้น
               โดยนัยเป็นต้นว่า
               "พระเจ้าข้า บุคคลย่อมทิ้งของอันสะอาดบ้าง ย่อมทิ้งของอันไม่สะอาดบ้าง ลงในแผ่นดินแม้ฉันใด"
               ก็แลเมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนด้วยอุปมา ๙ อย่างนี้อยู่, แผ่นดินใหญ่ไหวจนที่สุดน้ำ ในวาระทั้ง ๙ แล้ว.
ก็ในเวลานำอุปมาด้วยผ้าเช็ดธุลี เด็กจัณฑาล และภาชนะมันข้นมา
ภิกษุผู้ปุถุชนไม่อาจเพื่ออดกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้ขีณาสพทั้งหลายแล้ว.


               เมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนอยู่นั่นแล, ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้นของภิกษุผู้กล่าวตู่แล้ว.
ทันใดนั้นแล ภิกษุนั้นหมอบลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ประกาศโทษในเพราะความกล่าวตู่ ด้วยคำอันไม่จริงแสดงโทษล่วงเกินแล้ว.


              จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน        
               พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า
"สารีบุตร เธอจงอดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย, ตลอดเวลาที่ศีรษะของเขา จักไม่แตกโดย ๗ เสี่ยง."
พระเถระนั่งกระโหย่ง ประคองอัญชลี กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ยอมอดโทษต่อผู้มีอายุนั้น,
และขอผู้มีอายุนั้นจงอดโทษต่อข้าพระองค์, ถ้าว่าโทษของข้าพระองค์มีอยู่."


               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม, พระเถระไม่กระทำความโกรธ หรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตู่ด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่งกระโหย่ งประคองอัญชลี ให้ภิกษุนั้นอดโทษ."

               พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า"
               ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษร้าย เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้, ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตรเช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับห้วงน้ำใส"


               เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                                         ๖.    ปฐวีสโม โน วิรุชฺฌติ                  
                                         อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต    
                                         รหโทว อเปตกทฺทโม    
                                         สํสารา ร ภาวนฺติ ตาทิโน.    
                            ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสาเขื่อน คงที่ มีวัตรดี
                            มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือก
                            ตม ย่อมไม่ (ยินดี) ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุ
                            นั้นผู้คงที่.


               แก้อรรถ               
               เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้ :-
               ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอาดมีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลงในแผ่นดิน. อนึ่ง เด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อมสักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ในเพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดินหรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด;

               ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม,
               ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชนทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า "ชนเหล่านี้ย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย ๔, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ "

               โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดิน และเป็นผู้เปรียบด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใสฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตมทั้งหลายมีเปือกตม คือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น.
               บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น.

               ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

               เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ. 
             
                       
ที่มา อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท อรหันตวรรคที่ ๗
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=733
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=515&Z=543
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=17&p=6
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2013, 11:23:40 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 01:16:21 pm »
0
เรื่องนี้อ่านแล้ว ทำให้รู้สึกว่าเราควรระมัดระวัง กับการกล่าววาจากับพระอริยะเจ้า
ซึ่งเราเองก็รู้ และ ก็ไม่รู้ อันที่จริงต้องกล่าวว่า ไม่รู้เลยว่า พระสงฆ์รูปไหนเป็นพระิอริยะเจ้า
ดังนั้นอ่านเรื่องนี้แล้ว ทำให้มีความรู้สึกว่า ไม่อยากสนทนากับพระสงฆ์เลยคะ

เพราะเกรงว่าวาจาของเราอาจจะ กระทบกระทั่งกับพระอริยะสงฆ์ขึ้นมาแล้ว ถือว่าเป็นจุดเสี่ยงนะคะ

หรือมีข้อแนะนำพึงปฏิบัติกับพระสงฆ์อย่างไร

คิดว่าไม่เ้ข้าหาหรือสนทนาเป็นการส่วนตัว เพียงแต่สดับฟังธรรม ก็เพียงพอ ใช่หรือไม่คะ

ท่าน จขกท. มีความเห็นส่วนนี้ว่าอย่างไรคะ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

เสกสรรค์

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 419
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 01:33:10 pm »
0
ผมว่าเรื่องนี้ตอบลำบากในการสนทนากับพระสงฆ์ในยุคปัจจุบัน แต่ผมเชื่อว่า เซ้นท์ ( ความรู้สึกพิเศษ )  ก็น่าจะ
ประมาณการได้นะครับว่ารูปไหน เป็นพระอริยะ หรือไม่ใช่ พระอริยะ

แต่ถ้าจะให้หลีกเลี่ยงการสนทนา กับกัลยาณมิตร ไม่พึงทำครับ

ควรสนทนาและเอาใจใส่ ดูแล กัลยาณมิตร คือครููอาจารย์ที่พร่ำสอนเราเรื่องนิพพาน หรือ กรรมฐาน วิปัสสนาให้มากขึ้นนะครับ

 :13:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2011, 09:11:11 pm »
0
เกิดเป็นผู้หญิงนี้แสนลำบาก ความเห็นส่วนตัวมีอยู่ว่า

การสนทนาธรรมกับพระสงฆ์ ควรกระทำในที่สาธารณะ

และควรมีผู้ชายอยู่ด้วย อย่าพูดคุยกันแบบสองต่อสอง

การระมัดระวังคำพูดไม่ให้ปรามาส ควรพิจารณาข้อธรรมต่อไปนี้

"สัมมาวาจา สัมมาสติ และะสัมมาสมาธิ"

 ;) :49: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

RATCHANEE

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 100
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2011, 05:16:00 am »
0
หากตั้งสติ ในสัมมาวาจา สัมมาสติ สัมมาสมาธิ แล้ว

 พบกัลยาณมิตร ครูอาจารย์ ก็คงคิดไม่ออกอยู่ดีว่าจะถามหรือพูดสนทนาอะไร

 :25:
บันทึกการเข้า

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 07:28:20 am »
0
พระอาจารย์สารีบุตร ถือได้ว่า เป็น พระอาจารย์ของพระราหุล โดยตรง ตามที่ผมได้อ่านตามประวัติของกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับแล้ว นับว่าเป็นครูอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างแก่มหาชนที่ ควรแก่การเคารพยกย่อง

แต่ทำไมพระอาจารย์ ในสายกรรมฐาน มีอายุสั้น จังครับ พระสารีบุตร ก็เข้านิพพาน ก่อน พระพุทธเจ้า
พระอาจารย์ราหุล ก็เช่นเดียวกัน

เป็นเพราะอะไรครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28413
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: โทษของการกล่าวตู่พระสารีบุตร "ศีรษะแตกเจ็ดเสี่ยง"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2011, 01:44:27 pm »
0
พระอาจารย์สารีบุตร ถือได้ว่า เป็น พระอาจารย์ของพระราหุล โดยตรง ตามที่ผมได้อ่านตามประวัติของกรรมฐาน
มัชฌิมา แบบลำดับแล้ว นับว่าเป็นครูอาจารย์ที่เป็นตัวอย่างแก่มหาชนที่ ควรแก่การเคารพยกย่อง

แต่ทำไมพระอาจารย์ ในสายกรรมฐาน มีอายุสั้น จังครับ พระสารีบุตร ก็เข้านิพพาน ก่อน พระพุทธเจ้า
พระอาจารย์ราหุล ก็เช่นเดียวกัน

เป็นเพราะอะไรครับ

 :25:

พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ 
พระสุตตันตปิฎกเล่ม ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค               
อรรถกถาจุนทสูตร

      
    (คัดมาพียงบางส่วน จากพระไตรปิฎฏ ฉบับธรรมทาน)
    พระธรรมเสนาบดี  แสดงวัตรถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไปที่พักกลางวัน. 
    เพื่อนเหล่าอันเตวาสิกในที่นั้นแสดงวัตรหลีกไปแล้ว 
    ท่านจึงกวาดที่พักกลางวัน ปูแผ่นหนัง ล้างเท้าแล้วนั่งคู้บัลลังก์เข้าผลสมาบัติ. 

   ลำดับนั้น เมื่อท่านออกจากผลสมาบัตินั้น ตามกำหนดแล้ว
   เกิดความปริวิตกนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายจักปรินิพพานก่อนหรือหนอ หรือว่าพระอัครสาวกปรินิพพานก่อน.   
   แต่นั้นรู้แล้วว่า พระอัครสาวกปรินิพพานก่อน
   แล้วจึงตรวจดูอายุสังขารของตน รู้แล้วว่า อายุสังขารของเราจักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น 
   จึงคิดว่า เราจะปรินิพพานที่ไหน. 


   ลำดับนั้นจึงคิดแล้วคิดอีกว่า
   พระราหุลปรินิพพานในดาวดึงส์พิภพ
   พระอัญญาโกณฑัญญเถระ ปรินิพพานที่สระฉัททันต์
   เราจะปรินิพพานที่ไหน ฯลฯ





    พระสารีบุตร ปรินิพพานที่บ้านมารดาของท่าน ปีที่ปรินิพพานเป็นปีเดียวกับที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน
    เหตุที่ปรินิพพานเร็ว เพราะท่านทำตามทำเนียมที่พระอัครสาวกปฏิบัติกันมาในอดีต
    คือ ต้องปรินิพพานก่อนพระพุทธเจ้า (พระโมคคัลลานะก็ปรินิพพานไปก่อนพระสารีบุตร)


    ส่วนกรณีพระราหุล ที่ปรินิพพานไปก่อนพระอัครสาวกนั้น ผมยังค้นไม่เจอ
    แต่สันนิสฐานเอาเองว่า ท่านได้ถ่ายทอดกรรมฐานให้ผู้สืบทอดไปหมดแล้ว
    ไม่มีเหตุจำเป็นต้องดำรงขันธ์เอาไว้อีกต่อไป เรื่องนี้อาจเป็นไปด้วยจริต นิสัย
    และวาสนาส่วนตัวของพระราหุลเอง ที่ชอบอย่างนั้น

    :49: ;) :s_good:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2013, 11:32:06 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ