ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “สมเด็จพระมหาธีราจารย์”มรณภาพแล้ว  (อ่าน 3679 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

รักหนอ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +22/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 369
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
“สมเด็จพระมหาธีราจารย์”มรณภาพแล้ว
« เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 07:00:26 am »
0
เนื้อหาข่าว

วันนี้ ( 11 มี.ค.) สำนักงานพระพุทธศาสนาแจ้งว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม กรรมการมหาเถรสมาคม ได้มรณภาพลงแล้ว เมื่อเวลา 01.05 น.ยังกุฎิในวัดชนะสงคราม โดยคณะสงฆ์และศิษยานุศิษย์ เตรียมที่จะเคลื่อนย้ายร่างของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ไปยังกุฎิคณะ 2 ที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ ได้จัดเตรียมไว้ เพื่อจัดพิธีศพ อย่างไรก็ตาม สำหรับกำหนดการของพิธีจะต้องรอกำหนดการอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เนื่องจากจะต้องมีพิธีหลวงด้วย

สำหรับประวัติ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสฺสโร) (นามเดิม: นิยม จันทนินทร) เกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2466 ณ บ้านท่าหิน อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นามบิดา นายโหร่ง จันทนินทร นามมารดา นางฮิ่ม จันทนินทร เมื่ออายุได้ 14 ปี บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดกระสังข์ ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2479 โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระครูโบราณคณิสสร) วัดตองปุ เป็นพระอุปัชฌาย์ จากนั้นได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2487โดยมีพระเทพวงศาจารย์ (ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระโบราณคณิสสร) วัดพนัญเชิง ต.คลองสวนพลู อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอุปัชฌาย์, พระครูสาธุกิจการี (ขม) วัดประดู่ทรงธรรม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูอุทัยคณารักษ์ (ใหญ่) วัดสะแก ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “ฐานิสฺสโร”

ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม และเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร โดยได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนกลาง และเป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ เมื่อปี พ.ศ. 2535 มีนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ พรหมวิหารวราธิมุต วิสุทธศีลาจารนิวิฐ พิพิธกิจจานุกิจโกศล วิมลหิตานุหิตดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี

ที่มาข่าว
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=561&contentID=126101
บันทึกการเข้า

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: “สมเด็จพระมหาธีราจารย์”มรณภาพแล้ว
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 05:41:23 pm »
0
ปีนี้พระสงฆ์ไทย ทรงสมณศักดิ์ ครูอาจารย์ ที่เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณในยุคนี้ ล้วนแล้วแต่ต้องจากเราไปกันทีละรูปนะครับ

 ถึงจะกล่าวว่า การตายเป็นเรื่อง ธรรมดา ใครก็ต้องตายทั้งนั้น แต่นึกแล้วก็อดใจหายไม่ได้ ที่ครูอาจารย์ ที่เป็นเนื้อนาบุญเริ่มจากเราไปที่ละรูป

  สรรพสัตว์ ที่ไม่ตายนั้นไม่มี

   :'( :'( :'(
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: “สมเด็จพระมหาธีราจารย์”มรณภาพแล้ว
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 14, 2011, 09:06:54 am »
0


พระราชทานโกศ "สมเด็จวัดชนะฯ" มรณภาพอายุ 88 นับพันร่วมอาลัย




เคลื่อน ศพ - คณะสงฆ์เคลื่อนศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามฯ ซึ่งมรณภาพอย่างสงบเมื่อกลางดึกวันที่ 11 มี.ค. ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาอุไร คนึงสุขเกษม

 
คณะสงฆ์-พุทธศาสนิกชน-ญาติธรรม แห่อาลัย "สมเด็จพระมหาธีราจารย์" เจ้าอาวาส วัดชนะสงคราม เจ้าคณะใหญ่ หนกลางด้วยอายุ 88 พรรษา 67 ล้มป่วยด้วยโรคชรา มาตั้งแต่ปลายปี 2553 ละสังขารสงบกลางดึกที่กุฏิในวัด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระราชินี พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ พระราชทานโกศประกอบศพ พร้อมรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน วัดจะเก็บศพไว้ 100 วัน ศิษย์ใกล้ชิดเผยเหมือนท่านรู้ เขียนปีเกิดและวันสิ้นบนกระดาษใส่ไว้ใต้หมอน เผยเป็นพระที่เคร่งพระธรรมวินัยมาก และส่งเสริมการศึกษาทั้งนักธรรม-บาลี จนพระวัดชนะสงครามจบเปรียญธรรม 9 ประโยคถึง 73 รูป มากที่สุดในประเทศไทย

เมื่อ เวลา 01.05 น. วันที่ 11 มี.ค.ผู้สื่อข่าวรายงานจากกุฏิคณะ 1 วัดชนะสงคราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐานิสสโร) เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม กรุงเทพฯ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง มรณภาพอย่างสงบ ด้วยโรคชรา โดยทันทีที่คณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ทราบข่าว ต่างมารอกราบศพ ที่ด้านหน้ากุฏิคณะ 1

ทั้งนี้ บรรยากาศเป็นไปด้วยความเศร้าสลด คณะศิษยานุศิษย์บางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ แสดงความอาลัยต่อการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ซึ่งก่อนหน้านี้สุขภาพของท่านเจ้าประคุณสมเด็จไม่แข็งแรงนัก ประกอบกับวัยชราภาพของท่าน ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นประจำ แต่ท่านยังคงทุ่มเทอุทิศงานสนองพระพุทธศาสนาและคณะสงฆ์ไทยอย่างมิรู้เหน็ด เหนื่อย ยังคงทำงานหนัก เพื่อตรวจตรางานทุกชิ้นอย่างละเอียดรอบคอบ กระทั่งช่วงเดือน พ.ย.2553 คณะสงฆ์วัดชนะสงคราม นำเจ้าประคุณสมเด็จเข้าพักฟื้นอาการอาพาธที่กุฏิคณะ 1 วัดชนะสงคราม โดยจัดให้มีเจ้าหน้าที่พยาบาลและพระอุปัฏฐากคอยดูแลอย่างใกล้ชิด กระทั่งเวลาประมาณ 01.05 น. วันที่ 11 มี.ค. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้มรณภาพอย่างสงบ

ต่อมาเวลา 09.00 น. คณะสงฆ์พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เข้าประชุมร่วมกันในพระอุโบสถวัดชนะสงคราม เพื่อหารือพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพเจ้าประคุณสมเด็จ ต่อมามีคำสั่งเจ้าคณะกรุงเทพ มหานคร 1/2554 เรื่องแต่งตั้งผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม โดยแต่งตั้งพระราชวิมล อายุ 81 พรรษา 60 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม ขณะเดียวกันวัดชนะสงครามได้จัดเตรียมศาลาอุไร คนึงสุขเกษม คณะ 2 วัดชนะสงคราม พร้อมทั้งให้พระภิกษุและสามเณรลูกวัดช่วยกันทำความสะอาดบริเวณวัดโดยรอบ

จาก นั้นเวลา 12.11 น. คณะสงฆ์วัดชนะสงครามเคลื่อนศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ จากกุฏิเจ้าอาวาสไปตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลาอุไร คนึงสุขเกษม และประกอบ พิธีบรรจุศพลงในหีบศพ ก่อนเปิดให้ญาติโยมเข้ากราบสังขารเป็นครั้งสุดท้าย

ต่อ มาเวลา 13.00 น. พระสงฆ์ในเขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง 350 รูป รวมตัวกันที่วัดสามพระยา จากนั้นเดินมายังวัดชนะสงครามเข้าสักการะศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ และในช่วงบ่ายมีพุทธศาสนิกชน มาสักการะศพจำนวนมาก ทำให้ศาลาอุไร คนึงสุขเกษมเนืองแน่น เจ้าหน้าที่จึงต้องขอความร่วมมือจำกัดไว้ให้สำหรับพระสงฆ์

เวลา 15.00 น. พระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นผู้แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เชิญน้ำสรงศพมา สรงศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์

ต่อมาเวลา 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระ บรมราชินีนาถ โปรดเกล้าฯ ให้พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ ถวายน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ พร้อมทั้งเชิญพวงมาลาพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ประดับหน้าโกศ

นอก จากนี้ทรงโปรดเกล้าฯ รับศพไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับสมณศักดิ์ ชั้นสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชทานโกศไม้สิบสองประ กอบศพ จากนั้นพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ในคณะกรรมการมหาเถรสมาคม คณะองคมนตรี ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ อาทิ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธ์ศรี ผบ.ตร. เข้าร่วมพิธีสรงน้ำศพเป็นจำนวนมาก

พระราชวิมล รักษาการเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม กล่าวว่า สำหรับกำหนดการพิธีศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ โดยสมณศักดิ์ ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระราชทานพระพิธีธรรมสวดอภิธรรม 7 คืน และพระราชทานพิธีสวดบำเพ็ญกุศลครบ 7 วัน และในเบื้องต้นทางวัดจะเก็บศพสมเด็จพระมหาธีราจารย์ไว้บำเพ็ญกุศลเป็นเวลา 100 วัน หลังจากนี้ไปจะมีพิธีสวดอภิธรรมเวลา 19.00 น. เป็นเวลา 7 วัน และจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนสักการะศพตั้งแต่เวลา 08.00 น.ทุกวัน

สำหรับ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ นามเดิมว่า นิยม จันทนินทร เกิดเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2466 ณ บ้านท่าหิน ต.ธนู อ.อุทัย จ.พระนคร ศรีอยุธยา อายุ 22 ปี อุปสมบทเมื่อวันที่ 10 มี.ค.2487 ณ วัดพระญาติการาม ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพระเทพวงศาจารย์ วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายา ฐานิสสโร มีความหมายว่า ผู้มีฐานะอันยิ่งใหญ่

ท่าน ได้มุ่งมั่นศึกษาพระปริยัติธรรมตลอดมา กระทั่งพ.ศ.2486 สอบได้นักธรรมชั้นเอก ณ สำนักเรียนวัดราชบูรณะ พ.ศ.2498 จบเปรียญธรรม 9 ประโยค จากสำนักเรียนวัดสระเกศ ถือเป็นศิษย์รุ่นพี่รุ่นน้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศ และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

พ.ศ.2508 เป็นเจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม และพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.2529 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม พ.ศ.2539 เป็นเจ้าคณะใหญ่หนกลาง พ.ศ.2535 ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์ อันมีความหมายเป็นมงคลนามว่า ครูผู้เป็นมหาปราชญ์

สมเด็จพระมหา ธีราจารย์ได้สร้างผลงานให้กับคณะสงฆ์มากมาย โดยเฉพาะด้านการปกครองของคณะสงฆ์หนกลาง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ด้านการศึกษาพระปริยัติธรรม ล้วนมีความโดดเด่น ด้วยมีการจัดตั้งศาลาธรรม เป็นห้องเรียนศึกษานักธรรม-บาลีอย่างเป็นระบบ ทำให้สำนักเรียนวัดชนะสงครามมีชื่อเสียงโด่งดัง ในแต่ละปีมีพระภิกษุ-สามเณรสอบได้จำนวนมาก

ด้านการเผยแผ่หลักธรรมคำ สอน พระ พุทธศาสนา สมเด็จพระมหาธีราจารย์แสดงพระธรรมเทศนาในพระอุโบสถทุกวันพระ เวลา 09.30 น. เป็นประจำไม่เคยขาด โดยในวันพระจะไม่รับกิจนิมนต์ภายนอก เว้นงานพระราชพิธีเพียงอย่างเดียว อีกทั้งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ยังได้เขียนหนังสือตำนานพระปริตร ซึ่งเป็นหนังสือที่มีสาระเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาโดยตรง อรรถาธิบายแก่นธรรมแห่งพุทธองค์ สู่พุทธศาสนิกชน รวมทั้งพระภิกษุ-สามเณรทั่วไปด้วย

นางบุญเรือง จันทนินทร อายุ 59 ปี น้องสาวสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวว่า ก่อนที่ท่านจะมรณภาพไม่ได้มีอาการบ่งบอกมาก่อน แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนท่านจะรู้ตัวเองว่าจะมรณภาพในวันที่ 11 มี.ค. โดยท่านได้แจ้งไปยังญาติทุกคนให้มาร่วมพิธีทำบุญถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ใน วันที่ 10 มี.ค. เหมือนเป็นการสั่งลาก่อนจะมรณภาพ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ถือเป็นตัวอย่างของพระผู้มีความกตัญญูสูงสุด ถึงแม้ว่าท่านเป็นพระแต่ก็ยังดูแลพ่อแม่ไม่ได้ขาด แม้ทั้งสองคนจะเสียชีวิตไปแล้ว ก็จะทำบุญอุทิศให้เสมอ ซึ่งก่อนมรณภาพ 1 วันท่านก็ยังทำบุญให้

ด้านนายอิสระ พจนี อายุ 55 ปี ทนาย ความ หลานสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวว่า ในส่วนของทรัพย์สินของสมเด็จพระมหาธีราจารย์ ยังไม่ได้ตรวจสอบว่าเขียนพินัย กรรมไว้ หากพบว่าไม่ได้เขียนก็จะตกเป็นของวัด ซึ่งทางญาติก็ไม่ได้ติดใจ อย่างไรก็ตามช่วงก่อนที่ท่านจะมีอาการป่วยมีเรื่องแปลกประหลาดว่า ตนได้เห็นท่านเขียนข้อ ความไว้ในกระดาษด้วยลายมือท่านเองว่า "เกิดพ.ศ.2466 และเว้นวรรคไว้ ตามด้วยพ.ศ.2554 ขึ้น 7 ค่ำ วันที่ 11" พร้อมลงลายเซ็นไว้ ซึ่งตรงกับวันที่ 11 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่ท่านมรณภาพ โดยกระดาษนี้ท่านเก็บไว้ใต้หมอน แต่ขณะนี้ไม่ทราบว่ากระดาษดังกล่าวหายไปไหนแล้ว

ด้านพระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ก่อนที่สมเด็จพระมหาธีราจารย์จะมรณภาพ 1 วัน ตนได้มากราบนมัสการและเฝ้าติดตามอาการอย่างใกล้ชิด กระทั่งเวลาประมาณ 21.00 น.จึงกลับ ต่อมาเวลาประมาณ 02.00 น. ได้รับโทรศัพท์แจ้งว่าท่านมรณภาพแล้ว ซึ่งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ถือเป็นพระมหาเถระที่สำคัญรูปหนึ่งของคณะสงฆ์ไทย เป็นผู้บุกเบิกการเรียนด้านบาลีศึกษา และให้ความรู้สามเณรที่มาเรียนบาลี โดยวัดชนะ สงครามมีพระเปรียญธรรม 9 ประโยค ถึง 73 รูป นับว่ามากที่สุดในประเทศไทย

ส่วนการบริหารการปกครองของคณะสงฆ์ ถือเป็นต้นแบบของพระสงฆ์ เวลาตนมาฝึกอบรมพระสังฆาธิการก็จะยกตัวอย่างให้ฝึกปฏิบัติเช่นสมเด็จพระมหา ธีราจารย์ เพราะท่านเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวินัยสงฆ์มาก นอกจากนี้ยังมีมรดกธรรมสิ่งหนึ่งที่ท่านมีดำริสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เมื่อปี 2548 ซึ่งจำลองมาจากพระพุทธรูปในอัฟกานิสถาน เทือกเขาบามิยัน ที่ถูกทำลาย โดยพระพุทธรูปที่กำลังสร้างอยู่นี้จะมีขนาดสูง 32 เมตร เป็นพระพุทธรูปยืน ไม่มีอะไรค้ำ มีเพียงแต่พระบาทเป็นฐานเท่านั้น ซึ่งในช่วงแรกท่านเป็นห่วงว่าหากท่านเป็นอะไรไปโครงการจะไม่สำเร็จ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ทรงรับการจัดสร้างพระพุทธรูปไว้ในบรมราชินูปถัมภ์ ส่วนความคืบหน้าการก่อสร้างนั้นขณะนี้ร่างแบบเสร็จหมดแล้ว อยู่ระหว่างการสร้างฐานและสร้างรูปหล่อขนาดองค์จริง คาดว่าพระ พุทธรูปนี้จะเสร็จในปี 2556  ข้อมูลจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd01ERXdOakV5TURNMU5BPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1TMHdNeTB4TWc9PQ==
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา