ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ภิกษุณีนิรามิสา  (อ่าน 9352 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ภิกษุณีนิรามิสา
« เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 12:52:23 pm »
0
ภิกษุณีนิรามิสา


ภิกษุณีนิรามิสา" ซึ่งมีชื่อและนามสกุลจริงว่า "สมพร พันธจารุนิธิ" เป็นผู้หญิงไทยอีกคนหนึ่ง ที่บวชเป็นพระผู้หญิงมานานถึง ๘ ปี แล้ว โดยบวชกับหลวงพ่อติช นัท ฮันห์ พระชาวเวียดนามที่ไปเผยแผ่พุทธศาสนาอยู่ในเยอรมันนี

เมื่อบวชแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่ วัดพลัม ชุมชนแห่งการภาวนา ในประเทศฝรั่งเศส

ภิกษุณี นิรามิสา เล่าว่า ก่อนบวชนั้นเป็นนักศึกษาพยาบาลและนักกิจกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล หลังจากเรียนจบจบถูกส่งไปเป็นพยาบาลประจำค่ายผู้อพยพในชลบุรี จากนั้นได้ทุนเรียนต่อระดับปริญญาโททางด้านการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบก็ทำงานอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ซึ่งเป็นองค์กรที่รับทุนจากองค์กรช่วยเหลือผู้หญิง เด็กชนกลุ่มน้อย และคนชนบทในท้องถิ่นทุรกันดาร

ระหว่างที่ทำงานอยู่นั้นมีความรู้สึก เหนื่อย อยากพัก ขณะเดียวกันก็อยากศึกษา พุทธศาสนาเป็นอย่างไรบ้างในแถบนั้น จึงได้วางแผนไปเที่ยว ศูนย์ปฏิบัติธรรมต่างๆ ในหลายประเทศ จนไปพบกับหลวงพ่อติช นัท ฮันห์ที่เยอรมณี ซึ่งท่านเป็นพระรุ่นใหม่ที่มีหัวทันสมัย กระตือรือร้นในกิจกรรมด้านศาสนา ในที่สุดก็ตัดสินใจบวชเมื่อตอนอายุ ๓๖ ปี ถึงวันนี้ได้บวชมาแล้วเป็นเวลา ๘ ปี

"เมื่อครั้งที่ตัดสินใจบวชก็มีความอึดอัดอยู่บ้างแต่ไม่มาก เพราะเรารู้แล้วว่าเราไปดี เรากำลังอยู่ในหนทางที่ฝึกปฏิบัติจนสามารถเปลี่ยนแปลงความคิดบางอย่าง หรือปลงความคิดบางอย่างในตัวเราที่มีอยู่ในขณะนั้น ซึ่งเวลาที่ตัดสินใจบวชก็มีครอบครัวแล้ว ประกอบกับไม่มีบุตร โยมสามีก็มีความเข้าใจ ไม่ได้คัดค้านการบวชของเรา มาวันนี้ก็เลยกลายมาเป็นเสมือนเพื่อนพี่น้องไปแล้ว" ภิกษุณีนิรามิสา กล่าว พร้อมกับบอกด้วยว่า

ครั้งแรกการตัดสินใจบวช ครอบครัวไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะโยมพ่อ (สุพจน์ พันธจารุนิธิ) กับโยมแม่ (สุวารี พันธจารุนิธิ) ที่ท่านยอมรับไม่ได้กับการตัดสินใจในการบวช หลายคนถามว่า ไม่ห่วงโยมพ่อโยมแม่หรืออย่างไร ในตอนนั้นอยากจะบอกว่า เพราะห่วงโยมพ่อโยมแม่ถึงได้ตัดสินใจบวช เพราะรู้ว่าบวชแล้วจะช่วยให้ท่านได้มากกว่า การบวชทำให้เรามีพื้นฐานทางด้านจิตวิญญาณ เรามีความเข้าใจในการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมจริงๆ สามารถที่จะเปลี่ยนตัวเรามีประสบการณ์ที่จะช่วยโยมพ่อโยมแม่ได้มากขึ้น

หลัง จากบวชได้ไปจำพรรษา อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส หากวัดระยะทางที่โยมพ่อโยมแม่อยู่เมืองไทย ก็ดูว่าไกลเหลือเกิน แต่อำนาจพลังแห่งความสุข หรือคนไทยจะเรียกว่าบุญบารมีจากการฝึกปฏิบัตินั่นก็คืออานิสงส์สามารถรับรู้ ถึงกันได้ โดยไม่ต้องเสียค่าเครื่องบิน โยมพ่อโยมแม่ก็ได้รับการปกป้องคุ้มครองจากพลังอำนาจเหล่านั้นได้

"ชีวิตเราก็รับสายฝนแสงแดดเหมือนกัน ใบไม้กับเราก็เป็นพี่น้องกัน ทำให้เราไม่อยากทำลายธรรมชาติ เพราะเราเชื่อมอยู่ด้วยกัน ทำให้เรารู้สึกง่ายมากที่จะปล่อยสิ่งที่ไม่เป็นสาระกับชีวิตเรา ชีวิตนักบวชเหมือนกับการเดินทางไปสู่อิสระ วันปลงผมบวช ยิ่งมีความรู้สึกอิสระมาก ตอนปลงเราตั้งมั่น ตั้งปณิธานว่า เราจะปลงกิเลสทั้งปวงเพื่อที่เราจะเปลี่ยนแปลงภายใน เพื่อที่เราจะไปช่วยคนอื่นได้ คือ เหมือนอุทิศชีวิตที่จะปลงแล้วไปช่วยชีวิตอื่น เป็นการนำความสุขมให้มวลมนุษย์" นี่เป็นคำอธิษฐานระหว่างบวช

ภิกษุณี นิรามิสา กล่าวต่อว่า ความเป็นสัจธรรมของมนุษย์หาได้จากการกลับมาอยู่กับปัจจุบัน ซึ่งเป็นสิ่งที่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนไว้กว่าสองพันกว่าห้าร้อยปีแล้ว และก็เป็นคำสอนธรรมะที่ให้เราศึกษา เพื่อให้เราอยู่กับปัจจุบัน โดยมีลมหายใจเป็นตัวเชื่อมให้รับรู้ว่าเราอยู่ตรงนี้ ให้กายและใจอยู่ตรงนี้ แล้วเราจะได้พบกับสัจธรรมที่ให้เรากลับมาอยู่กลับปัจจุบันนั่นเอง


ความ ทุกข์ที่กลายเป็นความสุข ยิ่งเป็นความสุขกว่าการได้สัมผัสความงาม ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดขึ้นจากในอดีตก็ดี หรือว่าในปัจจุบันจากการปฏิสัมพันธ์จากพี่ๆ น้องๆ ในหมู่บ้านพลัม ทุกครั้งผ่านไปได้อย่างมีวิธี อย่างมีกุศโลบายในการปฏิบัติ เวลาผ่านไปเข้าสู่ปีที่ ๘ กับการบวชเหมือนรู้สึกว่าได้เกิดใหม่ ขณะเดียวกันทุกอย่างในร่างกายเป็นการเริ่มต้นใหม่หมด

ภิกษุณีนิรามิสา ยังบอกด้วยว่า ประเทศเวียดนามมีการยอมรับความเป็นภิกษุณีมานานแล้ว เนื่องจากประเทศเวียดนามเป็นนิกายมหายาน จึงมีประเพณีบวชภิกษุณี โดยทุกครั้งที่ติดตามไปเวียดนามกับหลวงพ่อติช นัท ฮัทห์ ก็จะมีนักบวชผู้หญิงมาร่วมต้อนรับเป็นร้อยเป็นพัน มีทั้งหลวงย่า หลวงพี่มากมาย ดังนั้น ธรรมเนียมมหายานจะมีการบวชภิกษุณีทุกปี

ที่มา คมชัดลึก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=khunz&date=11-08-2007&group=6&gblog=8
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 01:47:16 pm »
0
คุณ Nathaponson วันนี้โพสต์เรื่อง ภิกษุณี แสดงว่าต้องการสนับสนุนให้มีการบวชภิกษุณีใช่หรือไม่ หรือเพียงนำเสนอเพื่อให้ความหวังกับสตรี กันแน่ ครับ

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

sompong

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 218
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 02:15:14 pm »
0
ถ้าประเทศไทย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพระพุทธศาสนา สายเถรวาท ยอมรับเรื่อง ภิกษุณี เมื่อไรผมว่า พระพุทธศาสนาก็คงจะอยู่ไม่ถึง 5000 ปีเป็นแน่แท้ เพราะผมเคารพใน พระพุทธโอวาท ของพระพุทธเจ้า เชื่อใน ทศพลญาณของพระองค์ ที่ตรัสไว้อย่างนั้นแล้ว คือทรงพยากรณ์ ไว้แล้ว ๆ ทำไมต้องมาทำความพยายามให้เกิดที่ประเทศไทยซึ่งบรรดาศาสนาพุทธที่ ต่างนิกายก็มีอยู่แล้ว หลายประเทศทำไมต้องทำให้ประเทศไทยและคณะสงฆ์ไทยยอมรับด้วยละครับ ผมว่าเป็นความพยายามของภิกษุณีที่ไม่เคารพในวินัยสงฆ์ จริง หรือไม่ ต้องการเรียกร้องความเสมอภาคในสังคมสงฆ์ ทั่วโลก ผมเองก็ไม่เห็นด้วย ยกประเทศไทยในนิกายหินยาน เถรวาท ไว้เุถอะครับเพราะมิฉะนั้น พุทธศาสนาคงมีไม่ถึง 5000 ปีตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสทำนายแน่ ๆ

 ผมว่าเมื่อภิกษุณี มีไม่ได้ในคณะสงฆ์ไทย ก็ไม่ได้เห็นเกี่ยวกับแนวปฏิบัติมีไม่ได้ ในสตรีเลยครับ เพราะสำนักแม่ชีที่เกิดเป็นดอกเห็ด และ สำนักภิกษุณีีต่างประเทศที่เป็นคนไทยบินไปบวชกันมา ก็เริ่มเกิดขึ้นมากแล้วผมว่านาน ๆไปความ ฟั่นเฟือนอาจจะเกิดขึ้นได้ เพราะตอนนี้คณะสงฆ์ไทย ก็ไม่แข็งแกร่งจริง ๆ มีประเภทสายแนวทางแตกต่างกันไป เท่านี้ก็ทำให้สับสนพอประมาณแล้วครับ

 ที่ต้องพิมพ์ฺแสดงความเห็น เพราะอดเป็นห่วงความจริงไม่ได้ และ ผมว่าหมายถึงการไม่เชื่อพระสัพพัญูญุตญาณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุุทธเจ้า อันนี้ต้องคิดให้รอบคอบนะครับก่อนที่เราจะทำตาม ประชาธิปไตรย มีคำกล่าวที่ผมฟังมาจากที่ไหนจำไม่ได้แล้วว่า การที่ชนหมู่มากเห็นด้วยว่าเรื่องนี้ควรทำ ก็ใช่ว่าเรื่องนี้จะเป็นที่ถูกต้อง เสมอไปนะครับ

    อัตตาธิปไตย  ก็ถือตน เป็นใหญ่

    ประชาธิปไตย ก็ถือชนเสียงมากเป็นใหญ่

    ธัมมาธิปไตย ก็ถือ ธรรม เป็นใหญ่ ในที่นี้ต้องรวมไว้หน่อยครับว่า ปาพจน์ 2 จักเป็นศาสดา ของเธอทั้งหลาย

นะครับ

   ปาพจน์ 2 ก็คื ธรรม และ วินัย ครับ


   :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 02:17:35 pm »
0
บางครั้ง การปฏิบัติธรรม เรามองผลเบื้องปลายกันเกินไปคะ

 พระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตรัส แสดงผลในปัจจุบัน มากกว่านะคะ

  อนาคต เป็นผลจากปัจจุบัน ถ้าปัจจุบันทำถูกต้อง อนาคต ก็น่าจะต้องดีคะ

 :96:
บันทึกการเข้า

somchit

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 71
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 02:23:59 pm »
0


ระวังการวิจารณ์ นะครับ เพราะหัวข้อนี้ ผมซึ่งเป็นผู้ชาย กับ เพื่อนผม ที่เป็นผู้หญิง

ซึ่งบัดนี้เพื่อนหญิงผม จะไปที่ วัดภิกษุณี นครปฐมบ่อยมากขึ้น เห็นว่าเตรียมตัวลางานบวชประมาณนี้

แตกคอกันไปเลย ชวนผมไปวัดนี้แล้วผมปฏิเสธครับ เพราะผมเองก็ศึกษาอภิธรรมที่วัดมหาธาตุ ไม่ค่อย

จะแยกแตกองค์ไปสนับสนุนครับ เพราะเชื่อในพระสัพพัญญุตญาณ ของพระพุทธเจ้า

ครับ เกรงว่าบารมีธรรมผมจะน้อยลงเพราะทำให้ พระพุทธศาสนามีอายุน้อยลง

ซึ่งสรรพสัตว์ที่ยังมีทุกข์ต้องสดับตรับธรรมในอนาคต

จะไม่มีพระพุทธศาสนาให้รู้จัก เป็นแนวทางที่พึ่ง ในกาลภายหน้า


 ผมขออนุญาต ลงความเห็นไม่สนับสนุน อีกผู้หนึ่งครับ

 
บันทึกการเข้า

ratree

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 102
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 02:27:30 pm »
0
การบรรลุธรรม ไม่จำกัด เพศไม่ใช่หรือคะ คุณ สมชิต

 ดังนั้นการบวช ก็ไม่น่าจะจำกัดเพศนะคะ

   แต่เห็นที่คุณพิมพ์ สีแดง ดิฉันก็รู้สึก สะดุดใจว่าเกี่ยวข้องอันใดกับพระพุทธเจ้า มีใครช่วยชี้แจงได้หรือไม่คะ

   :s_hi: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มีนาคม 12, 2011, 10:27:08 pm »
0
คุณ Nathaponson วันนี้โพสต์เรื่อง ภิกษุณี แสดงว่าต้องการสนับสนุนให้มีการบวชภิกษุณีใช่หรือไม่ หรือเพียงนำเสนอเพื่อให้ความหวังกับสตรี กันแน่ ครับ

 :smiley_confused1:

ใจจริงอยากให้มีพุทธบริษัท ครบ ๔ แต่ด้วยกฏธรรมชาติ

ที่กำหนดให้เพศแม่เป็นปฏิปักษ์กับการปฏิบัติธรรมของเพศชาย

ทำให้มีเหตุปัจจัยให้การสืบทอดของภิกษุณีขาดช่วง ไม่สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน

แต่ผมไ้ด้ไปอ่านพระไตรปิฎก เรื่องพุทธวงค์ ที่ว่าด้วยประวัติพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์

อ่านไปสี่พระองค์ ปรากฏว่า ทุกพระองค์มีพระเถรี ที่เป็นอัครสาวิกา ทุกพระองค์

ผมเลยขอเดาว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๒๕ พระองค์ ล้วนมีอัครสาวิกา ทั้งสิ้น


ถึงแม้มาตุคาม จะมีส่วนทำให้การดำรงอยู่ของพระสัทธรรมมีปัญหา

แต่อย่าลืมพุทะพจน์ที่ว่า "สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม" และกฎของไตรลักษณ์

ทุกสิ่งล้วน เกิดมา ตั้งอยู่ และก็ดับไปในที่สุด


ที่สำคัญ น่าจะมีพระโพธิสัตว์ที่บารมีเต็มแล้ว พร้อมที่ลงมาตรัสรู้

เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อๆไปอีกเยอะ เราไม่ควรไปยึดติดกับการอัตรธานของพุทธศาสนา

ความจริงมีอยู่ว่า ผมเห็นน้ำตาผู้หญิงไม่ได้ครับ ใจมันอ่อน เห็นใจเข้าใจเพศแม่

 :'( ;) :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Jojo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 237
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มีนาคม 13, 2011, 08:00:19 am »
0
อัครสาวิกา มีก็ไม่เห็นจะเกี่ยวข้องกันเลยคะ

 พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ก็มี อัครสาวิกา คือ ภิกษุณีอุบลวรรณา กับ ภิกษุณีเขมา

 :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า
ฉันมาเพราะเธอนะ ยายกบ มาศึกษาธรรมะบ้าง ยินดีที่รู้จักทุกท่านคะ
ช่วยเมตตา แนะนำด้วยมิตรภาพ นะคะ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: มีนาคม 13, 2011, 11:56:00 am »
0
อัครสาวิกา มีก็ไม่เห็นจะเกี่ยวข้องกันเลยคะ

 พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ก็มี อัครสาวิกา คือ ภิกษุณีอุบลวรรณา กับ ภิกษุณีเขมา

 :smiley_confused1:

พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ต้องมีอัครสาวิกา เพราะเหตุใด

เพราะพระพุทธเจ้า ก็ไม่สาารถหลีกเลี่ยงหรือแทรกแซง กฎแห่งกรรมได้

ผมคิดว่า ผู้หญิงหลายท่านอธิษฐาน ขอเป็นภิกษุณี จนถึง อัครสาวิกาซ้ายและขวา

แน่นอนพระพุทธเจ้ารู้ว่า มาตุคามเป็นปฏิปักษ์ต่อการดำรงอยู่ของพระสัทธรรม

แต่อย่างไรก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะกฎธรรมชาติไม่มีใครเปลี่ยนแปลงได้

อย่างไรเสีย มนุษย์โลกนี้ต้องมีเพศหญิงครับ และพระพุทธเจ้าต้องอุบัติในโลกมนุษย์เ่ท่านั้น



ถามว่า ทำไมพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ไม่ปฏิเสธพระอานนท์ ที่ขอให้พระน้านางได้บวช

ทั้งๆที่ พระพุทธองค์มีพระญาณหยั่งรู้อนาคต ว่าจะเกิดปัญหาอะไร

ตอบว่า (ส่วนตัวผมคิดว่า) พระองค์ยอมรับกฎแห่งกรรมครับ และก็เชื่อว่าพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

ก็ยอมรับครับ นั่นคือ ยอมรับ การมีอยู่ ปรากฎอยู่ ของอัครสาวิกา ภิกษุณี ในอดีด ปัจจุบัน และอนาคต



สรุปอย่างงี้ครับ  พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ยอมรับสตรีเพศ แม้จะรู้ข้อเสียของสตรี

พระพุทธองค์ยอมรับกฏธรรมชาติ และกฏแห่งกรรม

อย่ากลัวเลยครับเรื่องการอันตรธาน ของพระสัทธรรม

ทุกอย่างถูกกำหนดไว้แล้ว โดยกฏแห่งกรรม


ความเห็นผมก็คือ ให้ยอมรับการมีอยู่ของภิกษุณี(ในทุกๆยุค) แม้ใครจะอ้างเหตุอะไรก็แล้วแต่

พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ห้าม และก็ยอมรับด้วย ถึงแม้ในปัจจุบันฝ่ายเถรวาทจะปฏิเสธภิกษุณี

แต่ขอโทษครับ พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้ว ใครล่ะจะตัดสิน



มีท่านผู้รู้กล่าวว่า ฝ่ายเถรวาทเปรียบเสมือนตัวนก มหายานเปรียบเสมือนปีกนก

นกตัวนี้ ก็คือ พุทธศาสนา นกไม่มีปีก เดินได้ช้า มองได้ไม่ไกลนัก เอาตัวรอดได้ยาก มีชีวิตไม่นาน

เชื่อผมเถอะ ทุกสิ่งถูกกำหนดไว้แล้ว อย่าซีเรียสครับ


 ;) :49:



บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

prachabeodee

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 135
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 09:36:25 am »
0
นี่ก็เป็นความเห็นที่มีจุดยืนต่างกันขึ้นอยู่กัยหลักที่นำมาใช้.....ว่ายึดหลักใดหรือยืนอยู่ ณ.จุดไหน......
......................................
เป็นกฎ,เป็นระเบียบ,เป็นความเชื่อเป็นหลักยึดที่แตกต่างกัน.......
..........................................
ในสมัยพุทธกาลไม่มีบัตรเครดิต,ไม่มีโทรศัพท์,ไม่มีทีวี,ไม่มีเน็ต,ไม่มีแม้แต่รถยนต์.......ถ้ายึดเอาสมัยพุทธกาลเป็นหลัก....สิ่งเหล่านี้ก็ผิดหมดเป็นข้อห้ามหมด...แต่ในโลกความเป็นจริงแล้ว..ก็ยังใช้ได้อยู่,เป็นอยู่,เพราะเหตุว่าเราผู้ปฎิบัติเราได้ยึดเอาหลัก ทางสายกลาง(มัชฌิมาปฎิปทา)เป็นแนวปฎิบัติหลือเป็นตัวกำหนด............
...........................................
ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เกิดข้อแตกต่างขึ้น....... :34: :bedtime2: :015:
บันทึกการเข้า

มหายันต์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 154
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ภิกษุณีนิรามิสา
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 10:16:40 am »
0
ปัจจุบันนี้มีสตรีเป็นจำนวนมากที่มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติธรรม
ไม่ ว่าจะเป็นการให้ความสนใจเข้าปฏิบัติธรรมตามสถานธรรมต่างๆที่มีกระจัดกระจาย อยู่ทั่วประเทศ หรือบางท่านมี่ความศรัทธาและปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะเดินตามรอยพระบาทแห่ง องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยการละวาง และปลงเสียซึ่งความสวยงามอันมิคงทน ด้วยการโกนศีรษะบวชเป็นแม่ชี ในพระพุทธศาสนา แล้วมุ่งมั่นแสวงหาความสงบจากการปฏิบัติกันอย่างจริงจัง จนมีชื่อของแม่ชี และอุบาสิกาหลายท่านที่ปรากฎให้เราท่านได้เข้าไปกราบไหว้ และฝากตัวเป็นศิษย์รับการอบรมพระธรรมแห่งพระบรมศาสดา มากหลายท่านอยู่ บางท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบจนสามารถสร้างพระเครื่องออกมาสู่วงการตลาดพระ เครื่องให้เป็นที่เลื่องลือในพุทธคุณเช่นพระพุทโธน้อยของแม่ชีบุญเรือนเป็น ต้น
     ตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลเป็นต้นมาแล้วที่สตรีเพศให้ความเลื่อมใสศรัทธาในพระ พุทธศาสนาเข้ามาบวชเป็นพระภิกษุณี สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้แก่พระนางมหาปชาบดี พระน้านางของพระองค์เป็นพระภิกษุณีรูปแรกซึ่งการบวชนี้เรียกว่า"ครุธรรมปฏิ คคหณูปสัมปทา"(อุปสมบทด้วยการรับครุธรรม๘ประการ) อันคำว่าภิกษุณีนี้มีปรากฎเป็นครั้งแรกก็จากดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเองโดยตรัสว่า"ดูกร อานนท์คราวตรัสรู้แล้วใหม่ๆ เราพักอยู่ใต้ต้นอชปาลนิโครธ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชลา ณ.อุรุเวลาประเทศ คราวนั้นมารผู้มีบาปได้เข้าไปหาเรา..แล้วกล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด  บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว..เราได้กล่าวตอบไปว่า  มารผู้มีบาปตราบใดที่ภิกษุ  ภิกษุณี  อุบาสก  อุบาสิกา ผู้เป็นสาวกของเรายังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับคำแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม  เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วยังบอกแสดง บัญญัติ เปิดเผยจำแนก ทำให้ง่ายไม่ได้  ยังแสดงธรรมที่มีปาฏิหารย์ ข่มขี่คำกล่าวให้ร้ายให้เรียบร้อยโดยชอบธรรมไม่ได้...ตราบนั้นเรายังจะไม่ ปรินิพพาน"
 พระพุทธองค์ทรงได้พระภิกษุเป็นพระสาวกตั้งแต่ตรัสรู้ได้พรรษาแรก ต่อมาหลังจากพรรษาที่ ๕ ก่อนย่างเข้าพรรษาที่ ๖ ทรงได้พระภิกษุณีเป็นพระสาวิกา  ในวันที่พระนางมหาปชาบดีได้บวชเป็นพระภิกษุนีนั้นพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า" ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้พระภิกษุอุปสมบทให้สตรีเป็นพระภิกษุณีได้" หลังจากที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระนางมหาปชาบดีและเจ้าหญิงแห่งศากยะวงศ์ ได้บวชเป็นพระภิกษุณีรูปแรกและกลุ่มแรกแล้ว ต่อมาได้มีสตรีจำนวนมากออกบวชตามจนกระทั่งเกิดมีพระภิกษุณีแพร่หลาย จนกลายเป็นพระภิกษุณีสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงได้รับการแต่งตั้งจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้เป็นพระอสีติ ภิกษุณีทางด้านต่างๆและยังทรงได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอัครสาวิกาเบื้องซ้าย พระอัครสาวิกาเบื้องขวา เช่นเดียวพระโมคคัลลา และพระสารีบุตร คือมีความสามรถ เป็นเอกทางอิทธิฤทธิ์ และเป็นเอกทางปัญญาดุจเดียวกัน ซึ่งข้าพเจ้าจะขอค้นคว้าเรื่องราวของพระนางเขมาเถรีผู้ได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอัครสาวิกาเบื้องขวา และพระนางอุบลวรรณาเถรีพระอัครสาวิกาเบื้องซ้าย มาบันทึกไว้เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณให้เพื่อนสมาชิกและผู้ที่สนใจทั่วไป ได้ทราบและได้น้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณแห่งทั้งสองพระองค์ ต่อไป
    ในปัจจุบันนี้เองมีสตรีจำนวนมาก ที่เกิดศรัทธาและปรารถนาจะออกบวชเป็นพระภิกษุณีอย่างในครั้งพุทธกาล แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า ในพระพุทธศาสนาฝ่ายนิกายเถรวาทอย่างในประเทศศรีลังกา พม่า ไทย ลาวและเขมร ไม่มีพระภิกษุณีสืบสายเหลืออยู่ คงมีแต่เฉพาะในนิกายมหายาน เช่นในใต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลี
ความจริงตั้งแต่พ.ศ.๒๓๘เป็นต้นมา ถือว่าพระภิกษุณีได้มั่นคงและแพร่หลายอยู่ในเกาะลังกา นอกจากอินเดียแล้วก็มีในศรีลังกาเท่านั้นที่มีพระภิกษุณีอยู่ ส่วนในประเทศอื่นๆคือพม่า ไทย ลาว เขมรจนกระทั่งมาถึงพ.ศ.  ๑๖๑๔ได้เกิดสงครามแย่งชิงอำนาจขั้นรุนแรงที่ศรีลังการะหว่างเผ่าสิงหลซึ่ง นับถือพุทธศาสนากับชนเผ่าทมิฬ ปรากฎว่าชนเผ่าทมิฬชนะได้ครองอำนาจเบียดเบียนพระภิกษุ ภิกษุณี จนน่าจะเป็นเหตุให้พระภิกษุณีสูญสิ้นไปจากลังกาและพระพุทธศาสนาฝ่ายนิกาย เถรวาท  แม้แต่ในอินเดียเองซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดของพระภิกษุฯสงฆ์ก็ไม่มีเหลืออยู่ แล้ว เมื่อที่ศรีลังกาสูญสิ้นก็เป็นอันว่าไปทั้งหมดโดยปริยาย
  ดังนั้นสตรีที่ปรารถนาจะออกบวชจะทำอย่างไร?
ในประเทศศรีลังกา มีการอนุญาตให้สตรีบวชรักษาศีล๑๐เรียกว่า"ทศศีลมาตา"(คุณแม่ผู้รักษาศีล๑๐ประการ)
ในประเทศเมียนมาร์อนุญาตให้สตรีบวชนุ่งห่มชุดสีชมพูรักษาศีล๘เรียกว่า"แหม่ตี่ละ"แปลว่าแม่ศีล
ในประเทศไทย มีการอนุญาตให้สตรีบวชนุ่งขาวห่มขาวรักษาศีล๘หรือศีล๑๐เรียกว่า"แม่ชี"
 สำหรับในประเทศไทยเราแม่ชีได้รับการยอมรับจากคนในสังคมเพราะมีส่วนในการช่วยเหลือสังคมแบบเป็นรูปธรรม......

แก้ไขเมื่อ 17 มี.ค. 54 20:47:44

จากคุณ    : posataporn
บันทึกการเข้า