ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง  (อ่าน 1638 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

หมวยจ้า

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +40/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1336
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง
« เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2010, 04:26:38 am »
0



มะรุม ลดไขมันป้องกันมะเร็ง

"มะรุม" เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางที่ถูกปลูกไว้ในบริเวณบ้านไทยมาแต่โบราณ กินได้หลายส่วนทั้งยอด ดอก และฝักเขียว แต่ใครๆ ก็นิยมกินฝักมากกว่าส่วนอื่นๆ

ต้นมะรุมพบได้ทุกภาคในประเทศไทย ทางอีสานเรียก "ผักอีฮุม หรือผักอีฮึม" ภาคเหนือเรียก "มะค้อม- ก้อน" ชาวกะเหรี่ยงแถบกาญจนบุรีเรียก "กาแน้งเดิง" ส่วนชาวฉานแถบแม่ฮ่องสอนเรียก "ผักเนื้อไก่" เป็นต้น

มะรุมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Moringa oleifera Lam. วงศ์ Moringaceae เป็นพืชกำเนิดแถบใต้เชิงเขาหิมาลัย

มะรุม เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูง ๓-๔ เมตร ทรงต้นโปร่ง ใบเป็นแบบขนนกคล้ายกับใบมะขามออกเรียงแบบสลับ ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่าด้านบน ดอกออกเป็น ช่อสีขาว ดอกมี ๕ กลีบ

ฝัก มีความยาว ๒๐-๕๐ เซนติเมตรลักษณะเหมือน ไม้ตีกลอง เป็นที่มาของชื่อต้นไม้ตีกลองในภาษาอังกฤษ (Drumstick Tree) เปลือกฝักอ่อนสีเขียวมีส่วนคอดและส่วนมนเป็นระยะตามความยาวของฝัก เปลือกฝักแก่มีสีน้ำตาล เมล็ดมีเยื่อหุ้มลักษณะกลมมีสีน้ำตาล เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑ เซนติเมตร เมล็ดแก่สามารถบีบน้ำมันออกมากินได้

มะรุม เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะเมล็ดและการปักชำ การปลูกการดูแลรักษาก็ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน เกษตรกรจึงมักนิยมปลูกมะรุมไว้ริมรั้วบ้านหรือหลังบ้าน ๑-๕ ต้น เพื่อให้เป็น ผักคู่บ้านคู่ครัวแบบพอเพียงที่ไม่ต้องซื้อหา

คนไทยทุก ภาคนิยมนำฝักมะรุมไปทำแกงส้ม ด้วยการปอกเปลือกหั่นฝักมะรุมเป็นชิ้นยาวพอคำ ถือว่าเป็น ผักที่ทำแกงส้มคู่กับปลาช่อนอร่อยที่สุด จะต่างกันก็ในรายละเอียดของแกงตามแบบอย่างของแต่ละท้องถิ่นเท่านั้น แม้แต่ทางใต้ก็นิยมนำมะรุมมาทำแกงส้มปลา-ช่อน โดยจะใส่ขมิ้นเพื่อดับกลิ่นคาวปลาและเพิ่มสีสันของน้ำแกง ปรุงรสเปรี้ยวด้วยการใส่ส้มแขกแทนน้ำมะขาม และหั่นปลาช่อนเป็นแว่นใหญ่ไม่โขลกเนื้อปลากับเครื่องแกง

ผู้เฒ่าผู้ แก่นิยมกินมะรุมในช่วงต้นหนาวเพราะเป็นฤดูกาลของฝักมะรุม หาได้ง่าย รสชาติอร่อยเพราะสดเต็มที่ มีขายตามตลาดในช่วงฤดูกาล คนที่ปลูกมะรุม ไว้ในบ้านเท่านั้นจึงจะมีโอกาสลิ้มรสยอดมะรุม ใบ อ่อน ช่อดอกและฝักอ่อน ช่อดอกนำไปดองเก็บไว้กิน กับน้ำพริก ยอดมะรุม ใบอ่อน ช่อดอก และฝักอ่อนนำ มาลวกหรือต้มให้สุก จิ้มกินกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกแจ่วบอง กินแนมกับลาบ ก้อย แจ่วได้ทุกอย่าง หรือจะใช้ยอดอ่อน ช่อดอกทำแกงส้มหรือแกงอ่อมก็ได้

ส่วน อื่นๆ ของโลกจะใช้ใบมะรุมประกอบอาหารเช่นเดียวกับการใช้ผักขมฝรั่ง หรือปรุงเป็นซอสข้นราดข้าวหรืออาหารแป้งอื่นๆ นอกจากนี้ ใช้ใบตากแห้งป่นเก็บไว้ได้นานโรยอาหาร เช่นเดียวกับที่ภูมิปัญญาอีสาน จังหวัดสกลนครใช้ใบมะรุมแห้งป่นเข้าเครื่อง "ผงนัว" กับสมุนไพรอื่นไว้แต่งรสอาหารมาแต่โบราณ ส่วนฝักอ่อนปรุงอาหารเหมือนถั่วแขก

คุณค่าทางอาหารของมะรุม

มะรุมเป็นพืชมหัศจรรย์ มีคุณค่าทางโภชนาการสูงสุด กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิ้ลว่าเป็นพืชที่รักษาทุกโรค
ใบ มะรุมมีโปรตีนสูงกว่านมสด ๒ เท่า การกินใบมะรุมตามชนบทของประเทศกำลังพัฒนาและประเทศโลกที่ ๓ เป็นการเพิ่มโปรตีนคุณภาพสูงราคาถูกให้กับอาหารพื้นบ้าน นอกจากนี้ มะรุมมีธาตุอาหารปริมาณสูงเป็นพิเศษที่ช่วยป้องกันโรค นั่นคือ

- วิตามินเอบำรุงสายตามีมากกว่าแครอต ๓ เท่า
- วิตามินซีช่วยป้องกันหวัด ๗ เท่าของส้ม
- แคลเซียมบำรุงกระดูกเกิน ๓ เท่าของนมสด
- โพแทสเซียมบำรุงสมองและระบบประสาท ๓ เท่าของกล้วย
- ใยอาหารและพลังงานไม่สูงมากเหมาะกับผู้ที่ควบคุมน้ำหนักอีกด้วย

น้ำมันสกัดจากเมล็ดมะรุมมีองค์ประกอบคล้ายน้ำมันมะกอกดีต่อสุขภาพอย่างยิ่ง จากอาหารมาเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นผลิตชาใบมะรุมออกจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ระบุว่าใช้แก้ไขปัญหาโรคปากนกกระจอก หอบหืด อาการปวดหูและปวดศีรษะ ช่วยบำรุงสายตา ระบบทางเดินอาหาร และช่วยระบายกาก

ประเทศอินเดีย หญิงตั้งครรภ์จะกินใบมะรุมเพื่อเสริมธาตุเหล็ก แต่ที่ประเทศฟิลิปปินส์และบอสวานาหญิงที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะกินแกงจืดใบ มะรุม (ภาษาฟิลิปปินส์ เรียก "มาลังเก") เพื่อประสะน้ำนมและเพิ่มแคลเซียมให้กับนมแม่เหมือนกับคนไทย

ชะลอความแก่
กล่าว กันว่ามะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากยังไม่พบรายงานการวิจัยเกี่ยวกับมะรุมในด้านนี้ คาดว่าเป็นการสรุปเนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และcaffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆ ได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ การกินสารต้านอนุมูลอิสระชะลอการเสื่อมสภาพของเซลล์ในร่างกายได้

ฆ่าจุลินทรีย์
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์และเบนซิล-กลูโคซิโนเลตค้นพบในปี พ.ศ.๒๕๐๗ จากมะรุมมีฤทธิ์ต้านจุลชีพ สนับสนุนการใช้น้ำคั้นจากมะรุมหยอดหูแก้ปวดหู ปัจจุบันหลังจากการค้นพบแบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร Helicobactor pylori กำลังมีการศึกษา สารจากมะรุมในการต้านเชื้อดังกล่าว

การป้องกันมะเร็ง
สาร เบนซิลไทโอไซยาเนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน (niazimicin) จากมะรุมสามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
การทดลองในหนูพบว่าหนูที่ได้รับฝักมะรุมเป็นอาหาร เกิดโรคมะเร็งผิวหนังจากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง โดยกลุ่มที่กินมะรุมมีเนื้องอกบนผิวหนังน้อยกว่ากลุ่มควบคุม

ฤทธิ์ลดไขมันและคอเลสเทอรอล
จาก การทดลอง ๑๒๐ วัน ให้กระต่ายกินฝักมะรุม วันละ ๒๐๐ กรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันเทียบกับยาโลวาสแตทิน ๖ มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมน้ำหนักตัวต่อวันและให้อาหารไขมันมาก

ใบมะรุม ๑๐๐ กรัม (คุณค่าทางโภชนาการของอาหารอินเดีย พ.ศ.๒๕๓๗)

-พลังงาน ๒๖ แคลอรี
-โปรตีน ๖.๗ กรัม (๒ เท่าของนม)
-ไขมัน ๐.๑ กรัม
-ใยอาหาร ๔.๘ กรัม
-คาร์โบไฮเดรต ๓.๗ กรัม
-วิตามินเอ ๖,๗๘๐ ไมโครกรัม (๓ เท่าของแครอต)
-วิตามินซี ๒๒๐ มิลลิกรัม (๗ เท่าของส้ม)
-แคโรทีน ๑๑๐ ไมโครกรัม
-แคลเซียม ๔๔๐ มิลลิกรัม (เกิน ๓ เท่าของนม)
-ฟอสฟอรัส ๑๑๐ มิลลิกรัม
-เหล็ก ๐.๑๘ มิลลิกรัม
-แมกนีเซียม ๒๘ มิลลิกรัม
-โพแทสเซียม ๒๕๙ มิลลิกรัม (๓ เท่าของกล้วย)

พบ ว่าทั้งกลุ่มที่กินมะรุมและยามีคอเลสเทอรอล ฟอสโฟไลพิด ไตรกลีเซอไรด์ VLDL LDL ปริมาณคอเลส-เทอรอลต่อฟอสโฟไลพิด และ atherogenic index ต่ำลง ทั้ง ๒ กลุ่มมีการสะสมไขมันในตับ หัวใจ และท่อเลือดแดง (เอออร์ตา)

กลุ่มควบคุมปัจจัยด้านการสะสมไขมันในอวัยวะเหล่านี้ไม่มีค่าลดลงแต่อย่างใด
กลุ่มที่กินมะรุมพบการขับคอเลสเทอรอลในอุจจาระ เพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสรุปว่าการกินมะรุมมีผลลดไขมันในร่างกาย

ที่ ประเทศอินเดียมีการใช้ใบมะรุมลดไขมันในคน ที่ มีโรคอ้วนมาแต่เดิม การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคอเลสเทอร อลใน เลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญเทียบกับกลุ่มควบคุม นอก จากนี้กลุ่มทดลองมีปริมาณไขมันในตับและไตลดลง

สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทาง การแพทย์อินเดียสามารถวัดผลได้ในเชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ
งาน วิจัยการให้สารสกัดแอลกอฮอล์ของใบมะรุมกรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหาย โดยยาไรแฟม-ไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมี ผลกับระดับเอนไซม์แอสพาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรส อะลานีนอะมิโนทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทส และบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับ สารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน (silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลาย ของตับจากยาเหล่านี้

ผลิตภัณฑ์มะรุมของต่างประเทศจะอ้างฤทธิ์รักษา โรคมากมายทั้งที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทางวิทยา-ศาสตร์ แค่ฤทธิ์ที่พิสูจน์ได้นี้ก็คงเพียงพอแล้วที่คุณ จะเพิ่มใบหรือฝักมะรุมในรายการอาหารของคุณมื้อกลางวันนี้


credit
http://www.doctor.or.th/node/1245
บันทึกการเข้า
ถึงเป็นผู้หญิง ตัวเล็ก แต่ก็ยังสู้ได้อยู่ด้วยตัวคนเดียว
พุทโธ พุทโธ พุทโธ ขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึกถึง