ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เราว่าเราลำบากแล้ว ยังมีคนอื่น ลำบากมากกว่าเราอีก  (อ่าน 7400 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


 หลายวัน ที่เรามักนั่งทอดถอนใจ ในความอัตคัตขัดสนของตนเอง ทำไมถึงลำบากอย่างนี้กว่าจะได้เงินแค่ไม่กี่ร้อยในประจำวัน ถูกเขาโขลก ถูกเขาสับ ในงานในหน้าที่ แทบทุกวัน เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า ลำบากจริง ๆ ( บ่นจริง ๆ นะ )

   วันก่อนเห็น ลุงคนแก่อายุประมาณ 72 ปี กำลังนั่งทำกำแพงปูนอยู่ อาการที่ลุงทำนั้น ผมเห็นยังเหนื่อยแทน เข้าใจที่ลุงเหนือ่ยอยุ่นั้น เพราะกำลังทำบ้านตนเอง เดินเข้าไปถามซักหน่อย จึงได้ทราบว่า ลุงรับจ้างก่อกำแพงวันละ 200 บาทจากเจ้าของบ้าน ซึ่งเป็นการจ้างแบบช่วยเหลือไม่กำหนดเวลาเสร็จ แต่กำหนดให้แค่แรง ช่องละ เท่าไหร่ โดยซื้อของให้  โอ ก็เหนือ่ยละซี ลุง อย่างนี้ ลุงแกยิ้มตอบว่า ชีวิตเราเลือกไม่ได้ ลุงต้องหาเลียงยายตาบอดซึ่งเป็นภรรยา อีกคนหนึ่งอายุก็พอกัน แกก็พยายามช่วย ผสมปูนอยู่ ผมเดินเข้าไปดูใกล้ ๆ ยายแกตาบอดจริง ๆ แต่ก้พยายามใช้เกียง สับปูนในถีงให้กับลุงอยู่ โอ้อนาถใจจริง ๆ จึงควักเงินให้ลุงไป 500 บาท

    พอเที่ยงมาก็นั่งคิดว่า ชีวิต คนนี้มันต่างกันด้วยเหตุใด บางคนสบายสุดกู่ บางคนก็ลำบากสุดจะหยั่ง อะไรปรุงแต่งไว้อย่างนี้ เราว่าเราลำบากแล้ว ยังมีคนลำบาก กว่าเราอีกมากเลยไม่ใช่หรือ

    อยากรู้จริง ๆ อะไรเป็นแก่นสารของชีวิต

   จากคุณ patra
   

   
บันทึกการเข้า

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในความคิดความรู้สึกผมนะครับ

- คนเราเกิดมาก็ทุกข์กันทุกคน เราไม่สามารถเลือกเกิดได้ว่า จะเกิดมาสบาย หรือ จะเกิดมาลำบาก แต่สิ่งที่เรานั้นเลือกได้ คือ เลือกที่จะ คิด พูด ทำ ในสิ่งใด นั่นคือจะ คิด พูด ทำ ในสิ่งที่เป็น กุศล หรือ อกุศล
- ลองดูไหมครับว่าความทุกข์ยากคับแค้นใจทั้งหลายที่เกิดแก่เรานั้น มันเกิดมาจากความไม่พอใขยินดีที่มีแก่ใจเรา ที่เราให้ความสำคัญมั่นหมายไว้ว่า รูปที่เห็นแบบนี้ เสียงที่ได้ยินแบบนี้ กลิ่นที่ได้สูดดมแบบนี้ การถูกกระทบสัมผัสทางกายแบบนี้ เรานั้นไม่พอใจยินดี ก็จะทำให้เรานั้นรู้สึกขุ่นมัวใจ คับแค้นอัดอั้นกาย-ใจ โศรกเศร้า เสียใจ ไม่สบายกาย-ใจ นั้นคือความทุกข์นั้นเอง // จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าเพราะเรานั่นเองที่ไปติดข้องใจจากปรุงแต่งใดๆของจิตที่มีต่อสิ่งนั้นๆ แล้วเอามาเสพย์เป็นอารมณ์ความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี มันจึงสืบไปต่อเป็น ภวะตัณหา วิภวะตัณหา กามตัณหา จนก่อให้เกิดความทุกข์แก่เรานั่นเองครับ หากเราละที่ความติดข้องใจนั้นๆได้โดยความวางใจไว้กลางๆ พร้อมระลึกนึกคิดว่าเราติดข้องใจไปจนเสพย์ความพอใจยินดี ไม่พอใจยินดีมันก็หาประโยชน์แก่เราไม่ได้นอกจากความทุกข์ แล้ววางเฉยต่อความติดจ้องใจนั้นๆ เราก็จะไม่ทุกข์กับมันอีก
- หากสิ่งที่เราทำ เราทำด้วยความสุขใจที่ได้ทำ หรือ ทำเพราะรู้ว่าทำไปเพื่อใครเพื่อสิ่งใด ผลตอบแทนที่ได้มานั้นเราได้นำมันไปใช้ประโยชน์อะไร ใช้เพื่ออะไรบ้าง หยาดเหงื่อทุกหยดนั้นมันมีค่ามากแค่ไหนสำหรับตัวเราและคนใกล้ชิดรอบข้างเรา เราก็จะมองเห็นว่าสิ่งนั้นแม้มันเหนื่อยหนักแต่มันก้คุ้มค่าเป็นที่สุด แถมยังทำให้เราเป็นคนสู้งานด้วย วันหน้าเมื่อเจองานหนักหรืองานเบาเราก็จะไม่หวั่นกลัวเพราะเราได้ผ่านประสบการณ์ที่ได้ทำงานหนักมาแล้วถือเป็นการฝึกปรือตนเองไปด้วย "นี่คือกำไรชีวิตจากความเหน็ดเหนื่อย" ผมเองก็ทำงานลำบากเงินเดือนน้อยเหนื่อย ร่างกายก็ทรุดโทรมเพราะงานและสภาพแวดล้อมไปเช่นกัน แต่ผมทุกข์กับมันน้อยหน่อยเพราะผมรู้ว่าสิ่งที่ผมทำไปนั้นมันมีค่าและเป้นประโยชน์ต่อผมและใครบ้าง เวลาเห็นคนลำบากกว่าเราผมก้เข้าใจในสิ่งที่เขาต่อสู้ หากเรานั้นมีมากกว่าเขาเราก็สามารถที่จะแบ่งปันความเหนื่อยของเราแก่คนที่ด้อยกว่าเพื่อให้เขาได้ใช้ประโยชน์จากสิ่นนั้น นี่ก็ถือเป็นกำไรชีวิตอย่างหนึ่ง เป็นความภูมิใจที่ว่าสิ่งนั้นเราสามารถทำได้ด้วยน้ำพักน้ำแรงของเราซึ่งผลจากความเหน็ดเหนื่อยของเราสามารถเป็นประโยชน์ต่อคนอื่นได้ด้วยถึงแม้จะไม่รู้จักกันก็ตามที
- ส่วนเรื่องของคุณตาท่านั้น ท่านก็สู้อดทนทำไปแม้เหนื่อยลำบากแต่ค่าตอบแทนที่ได้รับนั้นท่านรู้ว่ามันมีประโยชน์แก่ใคร และ ความสามารถที่ท่านมีก็สามารถทำเพื่อคนที่รักได้ด้วยแม้เหนื่อยแต่มันก็คุ้มค่าสำหกรับท่าน ท่านจึงอดทนทำไปไม่บ่นท้อถอย

- ทั้งหมดคือแง่คิดวิเคราะห์ทั้งข้อดีและข้อเสียด้วยเหตุและผลจากเรื่องราวข้างต้นแล้ววางใจไว้กลางๆไม่ยึดติดกับมัน ถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติเจริญปฏิบัติใน อุเบกขา แห่ง โภชฌงค์ ๗

ความคิดผมเข้าใจมาเช่นนี้หากไม่เป็นแนวทางความคิดที่ดีก็ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วยครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 16, 2012, 05:28:52 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นการให้กำลังใจ ที่ดี ประการหนึ่ง เพราะเมื่อคนระลึกได้ถึงความทุกข์ของคนอื่นที่ยิ่งกว่า ก็จะได้ไม่ท้อถอย แต่เคสอย่างนี้ถึงแม้เห็นว่ามีคนลำบากอยู่ และตัวเราก็ลำบากอยู่ บางครั้งก็ไม่ได้ช่วยอะไรครับ เพราะว่าทุกข์จริง ๆไม่ได้หมดไป เหมือนคนตกน้ำกำลังจะจมอยู่แล้ว หลาย ๆ คน สิ่งที่ทุกคนจะทำได้ในตอนนั้นก็คือการเอาตัวรอดครับ

   ดังนั้น ถึงแม้นึกได้ เห็นอยู่ ว่ามีคนลำบากกว่าเราอยู่ จึงไม่ได้ช่วยอะไร นอกจากพอจะทำให้ได้สติ มากบ้าง น้อยบ้าง ตามสภาวะ ครับ

  แต่ก็นับว่าเป็นหัวข้อที่อ่่านแล้ว ดีครับ

   :25: :25: :c017:
บันทึกการเข้า

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต

เทวทูตวรรคที่ ๔
พรหมสูตร
             [๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน
สกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์
สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อ
ของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ
                          มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์
                          และว่าอาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและ
                          สักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การ
                          อบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการ
                          ปรนนิบัติในมารดาบิดา นั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาใน
                          โลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๘ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3468&Z=3481&pagebreak=0


น่าจะเป็นพระสูตรที่ สื่อกับภาพได้ดีนะคะ

บันทึกการเข้า

Sitti

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 97
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
สาธุ สาธุ สาธุ ถ้าเพื่อน ๆ ช่วยกันตอบอย่างนี้ นับว่าเป็นกุศลกับคนที่มีความทุกข์ มากจริง ๆ ครับ
 อนุโมทนา ด้วยครับ

  :25:
บันทึกการเข้า
สิทธิ มาแว๊ว มาตามคำเชิญ แก๊งค์  อ๊บ