ธรรมะสาระ > ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด

รวมคาถาโบราณจากศรีลังก ครหะสันติคาถา,คาถาปะโชตา (กำลังจักรพรรดิ).สัมพุทธะคาถา.ที่มาชินบัญ

<< < (5/5)

ธรรมะ ปุจฉา:
ความเป็นมาของคาถาชินบัญชร

   คาถาชินบัญชรมีชื่อเรียกเป็นภาษาบาลีว่า “ชินะปัญชะระปริตร” บ้าง                           “ชะยะปัญชะระคาถา” บ้าง ทางล้านนาจัดเข้าในไชยทั้ง ๗ เรียกว่า “ไชยะเบ็งชร” มีอยู่มากมายหลายฉบับ แต่ฉบับที่รู้จักกันมากที่สุดก็คือ ฉบับของเจ้าประคุณสมเด็จ                   พระพุฒาจารย์  (โต พฺรหฺมรํสี)  วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เพราะ                         เจ้าประคุณสมเด็จเป็นผู้นำมาเผยแพร่ก่อนเป็นองค์แรก คนทั่วไปจึงเข้าใจว่าสมเด็จท่านเป็นผู้แต่งพระคาถาบทนี้ เมื่อเห็นชินบัญชรต้องนึกถึงสมเด็จก่อน แต่ที่จริงคาถาชินบัญชรนี้เป็นของโบราณ สมเด็จท่านค้นพบในคัมภีร์ใบลานและนำมาเผยแพร่อีกต่อหนึ่ง ดังนั้นจึงปรากฏว่ามีอยู่มากมายหลายฉบับและแตกต่างกันออกไปบ้าง                         แต่ยังคงเค้าเดิมไว้เป็นส่วนมาก แสดงว่าผู้แต่งเป็นคน ๆ เดียวกัน ที่แผกกันน่าจะมาดัดแปลงแก้ไขในชั้นหลัง ๆ และถึงแม้จะต่างกันโดยพยัญชนะ แต่ก็ไม่ทำให้เสีย                   อรรถะและความมุ่งหมายของท่านผู้แต่งแต่อย่างใด เกี่ยวกับเรื่องนี้หลวงพ่อธรรมสร สิริจนฺโท แห่งวัดตึ๊ดใหม่ อ.เชียงกลาง จ.น่าน เคยกล่าวไว้ว่า “คาถาชินบัญชรมีอยู่มากมายหลายฉบับ ผู้ใดขึ้นใจได้บทใด หรือถือฉบับใดก็ดีทั้งนั้น”  ที่เป็นดังนี้เพราะคัดลอกต่อๆ กันมานั่นเอง ย่อมจะผิดเพี้ยนกันไปบ้าง ใครได้สำนวนไหนก็อย่าสงสัยให้ท่องจำตามนั้น อย่าไปหาว่าของคนอื่นผิด เพราะต่างก็ไม่ใช่คนแต่ง ถึงจะเพี้ยนกันไปบ้างก็ไม่ถึงกับทำให้เสียความ ซึ่งยังมีอีกหลายแห่งที่จดจำแตกต่างกันมา และไม่ได้ลงอธิบายไว้ เพราะเกรงจะยืดยาวไป แต่แทบทั้งหมดแปลได้ไม่ผิดไวยากรณ์ เห็นมี            ที่เดียวเท่านั้นที่ดูเหมือนจะมีปัญหาว่าผิดไวยากรณ์หรือไม่ซึ่งข้าพเจ้าวิจารณ์ไว้ในเชิงอรรถข้างต้นแล้ว คือ  อาสุง  อานันทะราหุโล
   อนึ่งบทที่ ๑๕ ของคาถา หรือบทสุดท้ายตามฉบับของไทยนั้น ของเดิมท่านคงแต่งไว้ในรูปของฉันท์หรือคาถา (ร้อยกรอง) เพราะมีเค้าโครงของฉันทลักษณ์อยู่ในบาทที่ ๑, ๓ และ ๔ สามารถตรวจคณะและครุ,ลหุ ตามกฎของฉันท์ได้ ส่วนบาท             ที่เหลือดูไม่เป็นรูปคาถา ผู้ชำระในภายหลังจึงเหมาเอาว่ามิใช่คาถา เพราะตรวจ            คณะฉันท์ไม่ได้ จึงวางรูปคาถาเป็นจุณณิยะ (ร้อยแก้ว) เสียเป็นส่วนมาก เห็นมีแต่ฉบับลังกาเท่านั้นที่วางเป็นรูปคาถาได้ถูกต้อง
    อันที่จริงบทที่ ๑๕ นี้ ท่านแต่งไว้เป็นคาถาอยู่แล้ว แต่ที่ไม่เป็นคาถาก็เพราะมีการแต่งเพิ่มและแก้ไขต่อๆ กันมานั่นเอง บาทที่ ๑ ว่า  อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข นั้น ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของฉันทลักษณ์ ฉบับลังกาเป็น  อิจเจวะมัจจันตะกะโต                     สุรักโข ก็ถือว่าถูกต้อง ฉบับล้านนาบางฉบับเป็น อิจเจวะเมกะโต รักโข สุรักโข นี้                   พิรุธอยู่  บาทสุดท้ายตามฉบับล้านนาทั่วไปว่า จะรามิ ธัมมานุภาวะปาละโตติ นี้ก็พิรุธเพราะผิดคณะฉันท์                                                                                                   
   อนึ่งคำว่า  ปิฏฐิภาคัส๎มิง ฉบับทั่วไปมีที่ซ้ำกันสองที่คือ บทที่ ๔ และที่ ๖ แต่      ชินบัญชรที่ข้าพเจ้านำมาชำระใหม่นี้ บทที่ ๔ ใช้ ปุพพะภาคัส๎มิง ตามใบลานฉบับหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏในฉบับอื่นเห็นว่าแปลกดี และไม่เสียความหมาย กลับทำให้มี                       ความหมายเพิ่มขึ้นเสียอีก อนึ่งในบทนมัสการพระอรหันต์แปดทิศก็ปรากฏข้อความตรงกันว่า โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ  บทว่า ปุพพะภาคัส๎มิง  กับบทว่า  ปุพพะภาเค เป็นสัตตมีวิภัตติมีคำแปลอย่างเดียวกัน คือ แปลว่า “ข้างหน้า” ได้นำความกราบเรียนพระอาจารย์คันธสาราภิวงศ์ วัดท่ามะโอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ท่านเห็นชอบด้วย โดยให้เหตุผลว่าพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นปฐมสาวกได้บรรลุธรรมก่อนพระสาวกองค์อื่นทั้งปวง จึงควรอยู่ข้างหน้า บทว่า ปิฏฐิภาคัส๎มิง จึงน่าจะซ้ำกัน ส่วนในฉบับของพม่าเป็น ปัจฉาภาคัส๎มิง คงมีความหมายดุจเดียวกับบทว่า ปิฏฐิภาคัส๎มิง คือแปลว่า  “ข้างหลัง”  เหมือนกัน
   เพราะฉะนั้นพึงทราบว่าฉบับที่ข้าพเจ้าชำระไว้นี้จะปรากฏบทที่แตกต่าง                จากฉบับทั่วไป และเป็นฉบับที่รวบรวมชินบัญชรเกือบทุกฉบับไว้ในฉบับเดียวกัน             ก็ว่าได้  แต่จะไม่ยึดเอาความเก่าแก่ของต้นฉบับใบลานว่าอันไหนจารก่อนหลัง เพราะฉบับที่มีอายุมากที่สุดที่ข้าพเจ้ามีอยู่ในเวลานี้ซึ่งจารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๒ แก่กว่าฉบับของ               วัดบวรนิเศวิหารที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรทรงใช้อ้างอิงและตรวจชำระไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ตั้งสองปี (จารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๔  ต้นฉบับของวัดไชยมงคลเวียงใต้ จังหวัดน่าน) ซึ่งถือกันว่ามีอายุเก่าแก่ที่สุดในเวลานี้ และเพิ่งจะถูกทำลายสถิตินั้น ก็ยังปรากฏว่ามีที่พิรุธอยู่ ดังนั้นการที่จะถือเอาอายุของใบลานมาเป็นบรรทัดฐานว่าต้นฉบับเดิมเป็นอย่างไรนั้น ยังมิใช่หลักฐานที่พอจะทำให้เชื่อถือได้ เพราะอาจจะยังมีต้นฉบับที่มีอายุเก่าแก่กว่านี้อยู่อีกก็ได้ การอาศัยการจดจำทางมุขปาฐะต่างหาก พอจะนำมาเป็นหลักฐานได้ในที่นี้ เพราะต่างครูก็ต่างอาจารย์ต่างก็จดจำกันมาคนละฉบับ       ถ้าใกล้เคียงหรือเหมือนกันมากก็แสดงว่าคัดลอกหรือจดจำเรียนเอามาจากสำนักเดียวกัน ถ้าเป็นสำนักเดียวกันถึงแม้อายุของต้นฉบับจะห่างกันมากน้อยก็ตาม ก็จะลงเป็นฉบับเดียวกัน ถ้าต่างกันก็ต่างสำนัก แสดงว่ามีการแก้ไขกันอีกทีหนึ่ง แต่สิ่งที่นับว่าน่าภูมิใจก็คือได้มีการชำระขัดเกลาบทที่ ๑๕ ให้ถูกต้องตามรูปแบบของฉันทลักษณ์และใกล้เคียงต้นฉบับเดิมมากที่สุดอีกครั้งหนึ่ง เป็นการนำของเดิมมาชำระให้ถูกต้อง นับว่าคาถาทั้ง ๑๕ บทนี้ มีความถูกต้องสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ตามที่ปรากฏท้ายชินบัญชรฉบับล้านนาว่า ปัณณะระสะคาถา (คาถา ๑๕ บท) เพราะแต่เดิมนับได้เพียง ๑๔ บทข้างต้นเท่านั้น บทที่ ๑๕ ดูเหมือนไม่ใช่คาถาเพราะตามลักษณะของคาถาทั่วไปจะไม่มีบาทเศษ ซึ่งถือเป็นข้อห้ามของการแต่งฉันท์ คำว่าคาถานั้นก็คือฉันทลักษณ์ ๔ บาทรวมกันเรียกว่าหนึ่งคาถา ถ้ามี ๖ บาทก็จะเรียกคาถากึ่ง ถ้า ๘ บาท ก็เรียกสองคาถา ดังนี้เป็นต้น คาถาที่มีบาทเศษเป็นบาทคี่หรือเกินมานั้น ถึงแม้จะ ผิดกฎเกณฑ์ของ ฉันทลักษณ์แต่ก็ปรากฏว่ามีใช้ในพระบาลีบ้าง ดังเช่นในรัตนสูตร เป็นต้น ดังนั้นท่านจึงอนุโลมให้ใช้ได้ในเวลาแต่งฉันท์หรือประพันธ์คาถาเฉพาะกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น ห้ามใช้พร่ำเพรื่อนอกจากนี้ในที่มีบาทหย่อนกว่า ๔ บาท ก็ควรนับเป็นคาถาได้เช่นกัน เช่น
         พุทฺธํ   สรณํ      คจฺฉามิ
         ธมฺมํ   สรณํ      คจฺฉามิ
         สงฺฆํ      สรณํ      คจฺฉามิ.

            ซึ่งคาถานี้พระพุทธองค์ตรัสเรียกว่า “อริยสาวิตรีคาถา”  ที่มี ๓ บาท ๒๔ พยางค์ นัยว่าพระองค์ตรัสเรียกไตรสรณคมน์ทั้ง ๓ ว่า อริยสาวิตรีคาถานี้ ถือเป็นพุทธวิธี          อย่างหนึ่งที่ทรงใช้เปลี่ยนแนวความเชื่อดั้งเดิมของพราหมณลัทธิทั้งหลายที่ถือว่า สาวิตรีคาถาเป็นต้นกำเนิดของคัมภีร์พระเวท  ก่อนที่จะสาธยายพระเวทจะต้องสาธยายสาวิตรีคาถาเป็นปฐมบทก่อน ด้วยการเผยแพร่แนวความเชื่อใหม่ว่า สาวิตรีคาถาใช่จะมีอยู่แต่ในลัทธิพราหมณ์เท่านั้น ถึงในพุทธศาสนาก็มีสาวิตรีคาถาเช่นกัน โดยทรงนำคำว่า สาวิตรี มาปรับเปลี่ยนใหม่เป็น อริยสาวิตรี แปลว่า สาวิตรีของพระอริยเจ้า และให้พระสาวกใช้สาธยายเป็นสาวิตรีคาถาของทางพุทธศาสนา ทางพราหมณ์ถือว่า สาวิตรีคาถาเป็นต้นกำเนิดของพระเวทฉันใด ทางพุทธก็ถือว่า อริยสาวิตรีคาถาเป็น            ต้นกำเนิดของพระไตรปิฎกฉันนั้นเหมือนกัน ดังมีสาธกในอรรถกถาว่า
   เอตฺถ จ ภควา ปรมตฺถเวทานํ  ติณฺณํ ปิฏกานํ  อาทิภูตํ ปรมตฺถพฺราหฺมเณหิ 
สพฺพพุทฺเธหิ  ปกาสิตํ  อตฺถสมฺปนฺนํ  พฺยญฺชนสมฺปนฺนํ  ‘พุทฺธํ  สรณํ  คจฺฉามิ,  ธมฺมํ  สรณํ  คจฺฉามิ,  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามี’ ติ อิมํ อริยสาวิตฺตึ สนฺธาย ปุจฺฉติ.  (สุตฺตนิปาต                ๒/๒๒๖)
   “อนึ่งในที่นี้พระผู้มีพระภาคตรัสถามหมายเอาสาวิตรีคาถาของพระอริยะคือ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ, ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ,  สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ ที่เพียบพร้อมด้วยอรรถ และพยัญชนะ เป็นเบื้องแรกของพระไตรปิฎก อันเป็นพระเวทโดยปรมัตถ์ เป็นข้อที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ผู้เป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ ได้ทรงประกาศไว้นี้”
   มีพระบาลีที่เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า สาวิตฺตี ฉนฺทโส มุขํ๑ (สาวิตรีเป็นประธานแห่ง
พระเวท) สาวิตรีคาถาของพราหมณ์นั้นมีปรากฏในคัมภีร์ฤคเวทซึ่งจารึกเป็นภาษาสันสกฤตดังนี้

      tTsivtuvRrei[y<
      ÉgaeR devSy xImih
            ixyae yae n> àcaedyat!.
                      (\Gved, m{fl 3, sU´ 62, mNÇ 10)

๑   ขุ.สุ. ๒๕/๕๗๔/๔๔๙         
            ตตฺ สวิตุรฺ  วเรณิยํ๑
            ภรฺโค  เทวสฺย  ธีมหิ
         ธิโย โย นะ ปฺรโจทยาตฺ.
                    (ฤคฺเวท มณฺฑล 3 สูกฺต 62 มนฺตฺร 10)

   คาถาที่ ๑๕ นี้ นับว่าโบราณาจารย์ท่านแต่งไว้ถูกต้อง เพราะไม่ผิดจากลักษณะพระบาลีดังกล่าวแล้ว ถึงแม้จะมีบาทเกินมาก็ตาม นอกจากนี้ฉันทลักษณ์ที่มีเพียง            ๒ บาท ก็เรียกว่าคาถาได้เช่นกัน เช่น

      กุลาลภณฺเฑ อาณายํ      อายุเธ  ทานราสิสุ. 
                      (อภิธาน คาถา ๗๘๒)

   คาถา ๒ บาทนี้ก็ถือว่าเป็นหนึ่งคาถาได้ คัมภีร์อภิธานัปปทีปิกาฎีกา (อธิบายคาถา ๗๘๒) กล่าวยืนยันเรื่องนี้ว่า  สทฺธคาถาปิ คาถาเยว (คาถาที่มีครึ่งหนึ่งคือมี                  ๒ บาท ก็ถือว่าเป็นคาถาได้เช่นกัน) คาถาที่มีสองบาทนี้พบได้ในมหาเวสสันดรชาดกเป็นต้น
   ใจความของคาถาชินบัญชรก็คือ เป็นบทสวดที่กล่าวอาราธนาพระพุทธเจ้า ๒๘พระองค์  พระสาวก และพระปริตรทั้งหลายให้มาประทับอยู่ในส่วนต่างๆ ของร่างกายซึ่งนับได้ดังนี้คือ กระหม่อม, ศีรษะ, นัยน์ตา,หน้าอก, หัวใจ, ข้างขวา, ข้างซ้าย, ข้างหน้า, ข้างหลัง, หูทั้งสองข้าง, ปลายผมหรือท้ายทอย, ปาก (ใบหน้า,แก้ม), หน้าผากและอวัยวะน้อยใหญ่ทั้งหลาย โดยได้อัญเชิญพระรัตนตรัยเป็นต้น ให้เข้ามาดำรงอยู่ในอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเหล่านี้ เพื่อพิทักษ์คุ้มครองผู้สวดสาธยายให้แคล้วคลาดปลอดภัย เสมือนหนึ่งอยู่ในแวดวงกรงล้อมของพระชินเจ้าทั้งหลาย สำหรับอานิสงส์ของพระคาถานี้ท่านสรุปแสดงไว้ว่า


๑   บางครั้งเป็น โอมฺ ตตฺ สวิตุรฺ  วเรณฺยํ  ถ้าไม่มี โอมฺ อยู่ข้างหน้าก็ให้ลง อิ มาที่ วเรณฺย เป็น วเรณิย
อานิสงส์คาถาชินบัญชร

   “ผู้ใดสวดเป็นประจำจะป้องกันรักษาตนได้ ย่อมได้ชัยชนะในทุก ๆ แห่ง นอกจากนี้ยังเอาชนะศัตรูที่ยังชนะไม่ได้ ถึงจะยืนปราศัยในที่ทั้งปวง เป็นต้นว่า                 ราชสกุล ก็ตาม จะปราศจากความหวาดหวั่นครั่นคร้าม ให้ตั้งสติมุ่งตรงต่อพุทธารมณ์เป็นอาทิ โดยสัจจเคารพจะสามารถป้องกันอันตรายมีราชันตรายเป็นต้นได้ และย่อมสวัสดีมีชัยในที่ทุกสถาน”   (ดูเชิงอรรถที่ ๒๘ ข้างต้น)

การนับจำนวนคาถาชินบัญชรในแต่ละฉบับ


   คาถาชินบัญชรนี้ปรากฏว่าได้รับความนิยมนับถือจากพุทธศาสนิกชน                     ๓ ประเทศคือ ไทย พม่า และลังกา ดังนั้นต้นฉบับจึงมีอยู่ใน ๓ ประเทศ (อาจมีประเทศอื่นด้วย) ของเดิมคงมีอยู่เพียง ๑๔ บท เท่านั้นตามฉบับพม่าเดิม ชำระโดยนายเจมส์ เกรย์ ชาวอังกฤษ เป็นฉบับพิมพ์อักษรพม่า มีคำอธิบายคำศัพท์และคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ พิมพ์ที่เมืองโมลมิน (มะละแหม่ง) ประเทศพม่า (ปัจจุบันมี ๑๕ บท)                ทางพม่าเรียก  “รัตนะบัญชร” และมีชื่อเป็นภาษาพม่าว่า “รัตนะชวยไช่” (กรงทองแห่งพระรัตนตรัย) ของไทยมีอยู่ ๑๕ บท โดยบทสุดท้ายเป็นนิคมคาถาสรุปคาถา ๑๔ บทข้างต้น ของลังกาแต่งเพิ่มเข้ามาอีกเป็น ๒๒ บท ซึ่งมากกว่าฉบับอื่นๆ และเรียก                     “ชินะปัญชะระยะ” ส่วนทางล้านนาเรียก “ชะยะปัญชะระ” หรือ “ไชยะเบ็งชร”
   ความจริงเครื่องคุ้มครองป้องกันที่ท่านแสดงไว้ในชินบัญชรนั้น สมบูรณ์อยู่แล้วด้วยคาถา ๑๔ บทข้างต้น และคาถาทั้ง ๑๔ บทนี้มีเหมือนกันหมดในฉบับต่างๆ อาจจะแตกต่างกันบ้างเล็กน้อย ดังนั้นฉบับที่มี ๑๔ บทนี้จึงน่าจะเป็นมูลฉบับ (ฉบับดั้งเดิม)
   เกี่ยวกับความเป็นมารวมถึงชื่อผู้แต่งหรือสถานที่ๆ แต่งคาถาชินบัญชรนี้ นักปราชญ์ทางพม่าเชื่อว่าแต่งขึ้นที่เชียงใหม่ของไทย ในสมัยอาณาจักรล้านนาโดยพระเถระรูปหนึ่งไม่ปรากฏนาม (ดูอัครมหาบัณฑิตานุสรณ์ วัดท่ามะโอ จังหวัดลำปาง
๒๕๓๔)  เป็นวรรณกรรมบาลีที่แต่งในประเทศไทย๑ แต่นักปราชญ์ทางล้านนาเชื่อว่า
ตกทอดมาแต่ลังกา๒ ดังปรากฏข้อความในคัมภีร์ใบลานภาษาล้านนาฉบับหนึ่งว่า


อุปปัตตินิทาน

   “อุปปัตตินิทานอันเกิดแห่งคาถาไชยะเบ็งชรอันนี้ว่ายังมีลูกพระยาเมืองลังกาเกิดมาแล้วหมอโหราทวายว่า ‘มีอายุได้ ๗ ปี ปลาย ๗ เดือน เจ้าราชบุตรลูกมหาราชเจ้าจักตายด้วยฟ้าผ่าชะแล’ ว่าอั้นเถิงเวยยะอายุได้ ๗ ปี เปี่ยง ๗ เดือนแท้ พระยาตนพ่อมีคำเคืองใจมากนัก จิ่งไปไหว้อรหันตาเจ้าทังมวลในเมืองลังกาที่นั้น อรหันตา ๕ ร้อยตน๓พร้อมกันขอดและตนและคาถาเหนือปราสาทชั้นถ้วน ๗ ที่ใกล้ปล่องเบ็งชรแล้ว           ก็หื้อพระยาปูชาเอาด้วยอาสนา, ฉัตร, พัด, ช่อ, ทุง, ธูปเทียน, ประทีป, เข้าตอก, ดอกไม้ชู่อันแล้วหื้อลูกพระยาเรียนเอาแล้วจำเริญไหว้ชู่วันไจ้ ๆ เถิงเมื่ออายุได้ ๗ ปี ปลาย                 ๗ เดือนแท้ ฟ้าก็ผ่าแท้ลวดบ่จับไปจับหินก้อนนึ่ง อันมีทิสะวันตก แจ่งเวียงลังกา               ราชกุมารน้อยตนนั้นก็ลวดมีอายุยืนยาวไปพ้นจากไภยะทังมวลแล้วได้เป็นพระยาแทนพ่อวันนั้นแลฯ คาถา ๑๕ บท๔นี้ มีคุณมากนักแล คาถานี้ ๘ ตัวไหน เป็นบาทนึ่ง คือว่า ๔ บาท เป็นคาถาแล”



๑   เรื่องนี้มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธนวมวินิจฉัยของพม่า ในวินยสมูหวินิจฉัยกล่าวถึงคาถาชินบัญชร               
   ว่าแต่งในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา รัชกาลที่  ๒๐ ซึ่งเป็นกษัตริย์พม่าที่มาครองนครเชียงใหม่ระหว่าง
      พ.ศ. ๒๑๒๑ – ๒๑๕๐ เรื่องนี้น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ความจริงคาถาชินบัญชรคงจะมี
      มาก่อนหน้าตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าติโลกราชแล้วและมีอายุมากกว่านั้น ภายหลังเสื่อมความนิยมลงจึง
   มีการฟื้นฟูขึ้นมาสวดใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าอโนรธา ด้วยเหตุผลบางประการดังปรากฏข้อความใน
   คัมภีร์นั้นว่าทรงโปรดให้ชาวเมืองใช้สวดแทนการบูชาดาวนพเคราะห์ที่ไม่คล้อยตามคำสอนในพระ
   พุทธศาสนา ความน่าจะเป็นดังนี้ แต่มิใช่แต่งขึ้นใหม่ในรัชสมัยของพระองค์อย่างแน่นอน (ผู้เขียน)
๒   สันนิษฐานว่าพระมหาเถรชยมังคละแห่งนครหริภุญชัยนำมาแต่ลังกาทวีปพร้อมทั้งคาถาปะโชตา               แล้วคัดลอกถวายพระเจ้าติโลกราชเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๕   
๓   บ้างว่า ๑๔ ตน (รูป/องค์) ซึ่งน่าจะตรงกับจำนวนพระคาถาในที่นี้
๔   ๑๔ บท (เฉพาะที่เป็นวัตตคาถา) แสดงว่าฉบับเดิมมีเพียง ๑๔ บทเท่านั้น
   จากเรื่องเล่าข้างต้นนั้นถอดเป็นใจความได้ว่า  สมัยหนึ่งยังมีราชกุมารของกษัตริย์ลังกาพระองค์หนึ่ง (ในประวัติไม่ได้ระบุพระนามไว้) เมื่อแรกคราวประสูติมาโหรหลวงทำนายว่า พระกุมารจะมีพระชนม์อยู่ได้เพียง ๗ ชันษาเท่านั้น ก็จะถูกอสุนีบาตหรือฟ้าผ่าตกต้องพระองค์อย่างแน่นอน พอมีพระชนมายุใกล้ครบ ๗ ปี บริบูรณ์ พระราชบิดาทรงวิตกกังวลพระทัยเป็นยิ่งนัก จึงเสด็จไปนมัสการพระอรหันต์ทั้งปวงในลังกาทวีป เพื่อขอคำชี้แนะปรึกษาและหาทางแก้ไข พระอรหันต์ทั้งปวงจึงประชุมกันบนปราสาทชั้นที่ ๗ ใกล้สีหบัญชร ได้ช่วยกันผูกพระคาถานี้ขึ้น ณ ตรงที่ใกล้ปล่องสีหบัญชรนั้น เหตุนั้นพระคาถานี้จึงปรากฏชื่อว่า “ชินบัญชร” แปลว่า กรง หรือหน้าต่างของพระชินเจ้า ซึ่งโดยปริยายหมายถึงเครื่องป้องกัน โดยนำคำว่าบัญชรซึ่งเป็นมงคลนามมาใช้ในการตั้งชื่อพระคาถา ส่วนชื่อ “ชยปัญชระหรือไชยะเบ็งชร” ตามภาษาล้านนานั้น แปลว่า กรงล้อมแห่งชัยชนะ ถือว่าเป็นมงคลนามเช่นกัน                   
    หลังจากนั้นก็ให้พระองค์บูชาเอาด้วยเครื่องสักการะต่างๆ แล้วให้พระกุมารเรียนเอาพระคาถาทั้งหมดและสาธยายเป็นประจำทุกวัน พอพระชนมายุครบ ๗ ปี บริบูรณ์ ฟ้าก็ผ่าจริงตามคำทำนายของโหราจารย์ แต่กลับผ่าไม่ถูกพระราชกุมารแต่อย่างใด ได้พลาดไปถูกศิลาใหญ่ก้อนหนึ่งซึ่งอยู่ทางมุมเมืองด้านทิศตะวันตกของเมืองลังกาแทน ขณะกำลังประทับอยู่ ณ ที่กลางแจ้ง พระกุมารจึงพ้นจากมรณภัยและมีพระชนมายุยืนยาวไปจวบจนกระทั่งได้สืบราชสมบัติเป็นกษัตริย์ลังกาต่อจากพระ         ราชบิดา เพราะอานุภาพของคาถาชินบัญชรๆ จึงได้รับการยกย่องนับถือตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
   อาศัยเหตุที่ พระกุมารรอดพ้นจากมรณภัยครั้งนั้น พระคาถาบทนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คาถาฟ้าฟีก” ซึ่งหมายถึง ฟ้าหลีก นั่นเอง โดยโบราณาจารย์ล้านนาได้ถอดอักขระย่อออกไว้เป็นตับต๊อง (ตับท้อง) และหัวใจคาถาเรียกว่า  ตับต๊องชินบัญชรหรือ หัวใจฟ้าฟีก ดังนี้ ระตะนัง ปุระโต อาสิ (อยู่ในบทที่ ๑๐)  มีประสิทธิคุณทางภาวนาป้องกันอันตราย ให้ปลอดภัยแคล้วคลาดจากฟ้าผ่า ไฟไหม้ เป็นต้น นับถือกันว่าประสิทธินัก บ้างก็เรียก คาถายอดตาลหิ้น ใช้ไปในทางอยู่ยงคงกระพันก็มี มีเรื่องเล่าว่า    ในดินแดนล้านนาสมัยของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (ทิพย์ช้าง) วีรบุรุษต้นตระกูล            ทิพย์ช้าง, เจ้าเจ็ดตน ผู้กอบกู้นครลำปาง แค่ได้ยินชื่อเสียงเรียงนามก็คงพอรู้แล้วว่าเก่งกล้าสามารถขนาดไหน หลักฐานทางประวัติศาสตร์ยังอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวั ดลำปาง เป็นรอยกระสุนทะลุผ่านรั้วทองเหลืองกำแพงแก้วล้อมองค์พระธาตุ  เมื่อครั้งเจ้าหนานนำกองกำลังบุกเข้าไปยิงท้าวมหายศแม่ทัพพม่าตาย          ซึ่งยึดบริเวณลานวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่พักกำลังพล ทำให้ทัพพม่าแตกกระจัดกระจายไป เผอิญมีกระสุนนัดหนึ่งทะลุไปถูกรั้วทองเหลืองปรากฏร่องรอยหลงเหลืออยู่จนถึงทุกวันนี้ นับเป็นวีรกรรมกู้ชาติที่เด็ดเดี่ยวกล้าหาญอีกวีรกรรมหนึ่ง๑ ท่านเป็นเจ้าปู่ของเจ้าชีวิตอ้าว องค์นี้ก็เช่นเดียวกันอุทานว่าอ้าวเมื่อไหร่ เป็นต้องจับประหาร              เมื่อนั้น เจ้าหนานมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่งซึ่งนับถือมาก (เล่ากันว่าได้แก่พระมหาเถร             วัดชมพู) เป็นผู้ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาอาคมทั้งหลายให้กับเจ้าหนาน วันหนึ่งท่านเรียกเจ้าหนานเข้าไปหาบอกว่าจะให้ของดี มันเป็นคาถาแต่ยังไม่มีชื่อเรียก มีอยู่ ๘ คำ ซึ่งได้แก่คาถาดังกล่าวข้างต้นนั่นเอง เมื่อเจ้าหนาน ท่องจำจนขึ้นใจแล้วต้องการพิสูจน์ความขลัง จึงสั่งให้พวกทหารเอาปืนมาอยู่ใต้ต้นตาลให้มากที่สุด จากนั้นก็ขึ้นไปอยู่บนยอดตาลแล้วสั่งให้พวกทหารระดมยิง ยิงเท่าไหร่ก็ไม่จับ แต่ลูกกระสุนกลับถูกยอดของต้นตาลจนปลายด้วนหมด เจ้าหนานจึงตั้งชื่อคาถาบทนี้ว่า “ยอดตาลหิ้น” ซึ่งหมายถึง “ยอดตาลเหี้ยน” นั่นเอง และใช้เรียกตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา๒
   ชินบัญชรฉบับล้านนานั้นจะใกล้เคียงกับฉบับลังกาเป็นส่วนมาก มีที่ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นโดยฉบับลังกาจะเน้นการสวดให้ผู้อื่น ส่วนฉบับล้านนาและฉบับอื่นๆ จะเน้นการสวดให้กับตนเอง ต่อแต่นี้จะได้นำคาถาชินบัญชรฉบับลังกา ฉบับพม่า พร้อมทั้งฉบับวัดระฆังโฆสิตาราม มาลงไว้เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันของแต่ละฉบับ และให้สาธุชน ทั้งหลายได้เลือกสวดตามความพอใจ ดังนี้
           

๑     ต่อมาได้รับสถาปนาเป็นเจ้าผู้ครองนครลำปาง มีนามว่า เจ้าพระยาสุลวฦๅชัยสงคราม159
๒    แต่ในตำราอื่นๆ เกจิอาจารย์เรียกคาถาพระเจ้าดับจิต (พุทธนิพพาน) ว่า “ยอดตาลหิ้น” ก็มี
         Cskm[acrh

1   chdik.;d jSrd         fc;ajd udrx ijdysksx
   p;=iÉpdu;rix         fha msjsxi= krdiNd
2   ;Kahxlrdofhda nqoaOd      wgaGjSi;s kdhld
   iífn m;sÜGs;d ;=hayx      u;a:fla f;a uqksiaird
3   isfr m;ssÜGs;d n=oaOd      Oïfuda p ;j f,dapfka
   ixf>da m;sÜGsf;da ;=hayx      Wfar iín.=Kdlfrda
4   yofha wkqreoafOda p         idrsmq;af;da p olaÅfKa
   fldKav[af[da msÜGsNd.iusx      fud.a.,a,dfkdais jdufla
5   olaÅfKa ijfka ;=hayx      wdyqx wdkkaordyq,d
   liaifmda p uydkdfuda      WfNdaiqx jdufida;fla
6   flikaf; msÜGsNd.iausx   iQrsfhdA jsh mNxlfrdA   
   ksiskafkda isrsiïmkafkda   fidaNsf;da uqksmqx.fjda
7   l=udrliaifmda kdu   ufyaiS ps;%jdoflda
   fida ;=hayx jofka ksÉpx   m;sÜGdis .=Kdlfrda
8   mqKAfKda wx.=,sudf,da p   Wmd,SkkaoiSj,S
   f:ard m[ap bfï cd;d   ,,dfÜ ;s,ld ;j
9   fiidiS;s uydf:ard   jscs;d cskidjld
   c,ka;d iS,f;afcak   wx.uxf.aiq iKaGs;d   
10   r;kx mqrf;da wdis   olaÅfKa fu;a;iq;a;lx
   Oc.a.x mÉPf;da wdis   jdfï wx.=,sud,lx
11   LkaOfudarmrs;a;[ap   wdgdkdgshiq;a;lx
   wdldiÉPokx wdis   fiaid mdldri[a[s;d
12   cskdKdn,ixhq;af;a   Oïumdldr,xlf;a
   jif;da f;a p;=lsÉfÉk   iziïnqoaOm[acfar
13   jd;ms;a;dosi[acd;d   ndysrcaCO;a;=moaojd
   wfiaid js,hx hka;=   wkka;.=Kf;acid
14   cskm[acrucaCOÜGx   jsyrka;x uyS;f,a
   iz mdf,ka;= ;ajx iífí   f;a uydmqrsidiNd
      15   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         nQoaOdkQNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      16   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         OïudkqNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      17   bÉfÉjuÉpka;lf;da iqr   lafLda   
         cskdkqNdfõk cs;+mmoaofjda
         ix>dkqNdfõk y;drsixf>da
         prdys ioaOïukqNdjmd,sf;da
      18   ioaOïumdldrmrslaÅf;dais
            wÜGdrshd wÜGosidiq fydka;s
         t;a:ka;far wÜGkd:d Njka;s
         WoaOx js;dkxj cskd Gs;d f;a
   19   Nskaokaf;da udrfiakx ;j isris Gsf;da fndaêsudrehay i;a:d
   fud.a.,a,dfkdais jdfï ji;s N=c;fÜ olaÅfKa idrsmq;af;da
   Oïfuda ucafCè Wriausx jsyr;s Njf;da fudlaLf;da fudarfhdaksx
   iïm;af;da fndaêsi;af;da prKhq..f;da Ndkq f,daflal kdf:da
         20   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             nqoaOdkqNdjmjfark mhd;= kdix
         21   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             OïudkqNdjmjfark mhd;= kdix
         22   iíndjux.,uqmoaojÿkaksus;a;x
            iíî;sfrda..yfodaiufiaikskaz
            iínka;rdhNhÿiaiqmskx wlka;x
             ix>dkqNdjmjfark mhd;= kdix
      


                         


(คำอ่าน)
 ชินะปัญชะระยะ
(ชินบัญชรฉบับลังกา)

   ๑.   ชะยาสะนะคะตา วีรา      เชต๎วา มารัง สะวาหินิง
   จะตุสัจจามะตะระสัง      เย ปิวิงสุ นะราสะภา ฯ
   ๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
   สัพเพ ปะติฏฐิตา ตุยหัง      มัตถะเก เต มุนิสสะรา ฯ
     ๓.   สิเร ปะติฏฐิตา พุทธา      ธัมโม  จะ  ตะวะ โลจะเน
      สังโฆ  ปะติฏฐิโต  ตุยหัง         อุเร  สัพพะคุณากะโร ฯ
   ๔.   หะทะเย อะนุรุทโธ จะ      สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
   โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัส๎มิง      โมคคัลลาโนสิ วามะเก ฯ
   ๕.   ทักขิเณ สะวะเน ตุยหัง      อาหุง อานันทะราหุลา
   กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุโภสุง วามะโสตะเก ฯ
   ๖.   เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง      สุริโย วิยะ ปะภังกะโร
   นิสินโน สิริสัมปันโน      โสภิโต มุนิปุงคะโว ฯ
   ๗.   กุมาระกัสสะโป นามะ      มะเหสี จิต๎ระวาทะโก
   โส ตุยหัง วะทะเน นิจจัง      ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ฯ
   ๘.   ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ      อุปาลีนันทะสีวะลี
   เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา      ละลาเฏ ติละกา ตะวะ ฯ
   ๙.   เสสาสีติ มะหาเถรา      วิชิตา ชินะสาวะกา
   ชะลันตา สีละเตเชนะ      อังคะมังเคสุ สัณฐิตา ฯ
   ๑๐.   ระตะนัง ปุระโต อาสิ      ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
   ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ      วาเม อังคุลิมาละกัง ฯ

   ๑๑.   ขันธะโมระปะริตตัญจะ      อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
   อากาสัจฉะทะนัง อาสิ      เสสาปาการะสัญญิตา ฯ
   ๑๒.   ชินาณาพะละสังยุตเต      ธัมมะปาการะลังกะเต
   วะสะโต เต จะตุกิจเจนะ      สะทา สัมพุทธะปัญชะเร ฯ
   ๑๓.   วาตะปิตตาทิสัญชาตา      พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
   อะเสสา วิละยัง ยันตุ      อะนันตะคุณะเตชะสา ฯ
   ๑๔.   ชินะปัญชะระมัชฌัฏฐัง      วิหะรันตัง มะหีตะเล
      สะทา  ปาเลนตุ  ต๎วัง   สัพเพ         เต  มะหาปุริสาสะภา ฯ
         ๑๕.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      พุทธานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๖.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      ธัมมานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๗.   อิจเจวะมัจจันตะกะโต  สุรักโข
      ชินานุภาเวนะ  ชิตูปะปัททะโว
      สังฆานุภาเวนะ  หะตาริสังโฆ
      จะราหิ  สัทธัมมะนุภาวะปาลิโต ฯ
      ๑๘.    สัทธัมมะปาการะปะริกขิโตสิ
      อัฏฐาริยา  อัฏฐะทิสาสุ  โหนติ
      เอตถันตะเร  อัฏฐะนาถา  ภะวันติ
      อุทธัง  วิตานังวะ  ชินา  ฐิตา  เต ฯ

๑๙.   ภินทันโต  มาระเสนัง  ตะวะ  สิระสิ  ฐิโต โพธิมารุยหะ สัตถา
   โมคคัลลาโนสิ วาเม  วะสะติ  ภุชะตะเฏ ทักขิเณ สาริปุตโต
   ธัมโม มัชเฌ  อุรัส๎มิง วิหะระติ  ภะวะโต  โมกขะโต  โมระโยนิง
สัมปัตโต โพธิสัตโต จะระณะยุคะคะโต ภานุ โลเกกะนาโถ ฯ๑      ๒๐.       สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      พุทธานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ
      ๒๑.   สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      ธัมมานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ
      ๒๒.   สัพพาวะมังคะละมุปัททะวะทุนนิมิตตัง
      สัพพีติโรคะคะหะโทสะมะเสสะนินทา
      สัพพันตะรายะภะยะทุสสุปินัง อะกันตัง
      สังฆานุภาวะปะวะเรนะ  ปะยาตุ  นาสัง ฯ


      (ปริวรรตจากต้นฉบับอักษรสิงหล)






๑   สัทธรา ๒๑  (มฺรา  ภฺนา โย โยตฺร เยนตฺติมุนิยติยุตา สทฺธรา กิตฺติตายํ-วุตฺโตทย)
&weyÍ&*gxm

1   Z,moem*wm Ak'<g   ZdwGm rm&H  o0g[eH
   pwkopPrw&oH   a, yd0öok e&mobm ?
2   w%SuF&m'a,m Ak'<g   tÏ0Dowd em,um
   oaAŠ ywdÏdwm r,SH   rwˆau aw rked\&m ?
3   oDao ywdÏdawm aemod   Aka'<g "arRm 'dGavmpae
   oaCFm ywdÏdawm r,SH   Oa& oAŠ*k%mua&m ?
4   ['a, ar tEk&ka'<g   om&dykawWm p 'udQa%
   aum¾anm yp>mbm*oRö   arm*~v†maem p 0grau ?
5   'udQa% o0ae r,SH   tmokH tmeEN&m[kvm
   u\ayg p r[memarm   OabmokH 0graomwau ?
6   auoaE© ydÏdbm*oRö   ok&da,m0 ybuFa&m
   edodaEMm od&dor`aEMm   aombdawm rkedyk*Fa0g ?
7   ukrm&u\ayg emr   ra[oD pd=w0g'aum
   aom r,SH 0'ae edpPH   ywdÏmod *k%mua&m ?
8   ykaÀm t*Fkvdrmavm p   OygvdeENoD0vd    
   Tar yÌ r[max&m   evmaË wdvum 0d, ?
9   aw[d aoom r[max&m   Zdw0aE©m Zdaem&om
   ZvE©m oDvawaZe   t*~ra*Fok o¿dwm ?
10   &weH yk&awm tmod   'udQa% arwWokwWuH
   "Z*H~ yp>awm tmod   0gar t*FkvdrmvuH ?
11   cE<arm&y&dwWÌ   tmËmemËd,okwWuH
   tmumao q'eH tmod   aoom ygum&vuFwm ?
12   ZdemeH AvoH,kawW   "rRygum&vuFaw
   0oawm ar tudap>e   orRmorŠK'<yÍa& ?

13   0gwydwWm'doÍmwm   Am[d&ZÆwWKy'N0g
   taoom 0demoH ,EWK   teEW*k%awZom ?
14   ZdeyÍ&rZÆrdS   0d[&EWH r[Dwav
   o'g ygavEWK rH oaAŠ   aw r[myk&domobm ?
15   uawm TapP0aruEWH   ok&auQm ZdeawZom
   *k%mu&\ oCF\   ba0,sH okcdawm t[HH ?   

 





                       
                                         







(คำอ่าน)
 รัตนะบัญชรหรือรัตนะชวยไช่
(ชินบัญชรฉบับพม่า)

   ๑.   ชะยาสะนาคะตา พุทธา   ชิต๎วา มารัง สะวาหะนัง
   จะตุสัจจะมะตะระสัง   เย ปิวิงสุ นะราสะภา ฯ
   ๒.   ตัณหังกะราทะโย พุทธา   อัฏฐะวีสะติ นายะกา
   สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง   มัตถะเก เต มุนิสสะรา ฯ
   ๓.   สีเส ปะติฏฐิโต โนสิ   พุทโธ ธัมโม ท๎วิโลจะเน
   สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง   อุเร สัพพะคุณากะโร ฯ
   ๔.   หะทะเย เม อะนุรุทโธ   สาริปุตโต จะ ทักขิเณ
   โกณฑัญโญ ปัจฉาภาคัส๎มิง   โมคคัลลาโน จะ วามะเก ฯ
   ๕.   ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง   อาสุง อานันทะราหุลา
   กัสสะโป จะ มะหานาโม   อุโภสุง วามะโสตะเก ฯ
   ๖.   เกสันเต ปิฏฐิภาคัส๎มิง   สุริโยวะ ปะภังกะโร
   นิสินโน สิริสัมปันโน   โสภิโต มุนิปุงคะโว ฯ
   ๗.   กุมาระกัสสะโป นามะ   มะเหสี จิต๎ระวาจะโก
   โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง   ปะติฏฐาสิ คุณากะโร ฯ
   ๘.   ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ   อุปาลินันทะสีวะลิ
   อิเม ปัญจะ มหาเถรา   นะลาเฏ ติละกา วิยะ ฯ
   ๙.   เตหิ  เสสา มะหาเถรา   ชิตะวันโต ชิโนระสา
   ชะลันตา สีละเตเชนะ   อัคคะมังเคสุ สัณฐิตา ฯ
   ๑๐.   ระตะนัง ปุระโต อาสิ   ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
   ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ   วาเม อังคุลิมาละกัง ฯ

   ๑๑.   ขันธะโมระปะริตตัญจะ   อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
   อากาเส ฉะทะนัง อาสิ   เสสา ปาการะลังกะตา ฯ
   ๑๒.   ชินานัง พะละสังยุตเต         ธัมมะปาการะลังกะเต
   วะสะโต เม อะกิจเฉนะ   สัมมาสัมพุทธะปัญชะเร ฯ
   ๑๓.   วาตะปิตตาทิสัญชาตา   พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
   อะเสสา วินาสัง ยันตุ   อะนันตะคุณะเตชะสา ฯ
   ๑๔   ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ   วิหะรันตัง มะหีตะเล
   สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ   เต มะหาปุริสาสะภา ฯ
   ๑๕.   กะโต อิจเจวะเมกันตัง   สุรักโข ชินะเตชะสา
   คุณากะรัสสะ  สังฆัสสะ    ภะเวยยัง สุขิโต  อะหัง ฯ
   
(คัดจากท้ายหนังสือ คัมภีร์สังขยาปกาสกฎีกา)


      





                                       





ชินปัาร
   ๑   ชยาสนากตา พุท   เชต มารํ สวาหนํ
   จตุสจสภํ รสํ   เย ปิสุ นราสภา ฯ
   ๒   ตณงราทเยา พุท   อฏวีสติ นายกา
   สเพ ปติฏิตา มยํ   มตเก เต มุนิสรา ฯ
   ๓   สีเส ปติฏเตา มยํ   พุเท ธเม ทิเลาจเน
   สเง ปติฏิเตา มยํ   เร สพคุณากเรา ฯ
   ๔   หทเย เม อนุรุเท   สารีปุเต จ ทกิเณ
   เกาณเ ปิฏิภาคส   เมาคลเนา จ วามเก ฯ
   ๕   ทกิเณ สวเน มยํ   อาสุ อานน ราหุเลา
   กสเป จ มหานเมา   ภาสุ วามเสาตเก ฯ
   ๖   เกสเตา ปิฏิภาค   สุริเยาว ปภงเรา
   นิสิเน สิริสมเน   เสาภิเตา มุนิปุงเวา ฯ
   ๗   กุมารกสเป เถเรา   มเหสี จิตวาทเกา
   เสา มยํ วทเน นิจํ   ปติฏสิ คุณากเรา ฯ
   ๘   ปุเณ องลิมาเลา จ   ปลีนนสีวลี
   เถรา ป เม ชาตา   นลาเฏ ติลกา มม ฯ
   ๙   เสสาสีติ มหาเถรา   วิชิตา ชินสาวกา
   เตสีติ มหาเถรา   ชิตวเน ชิเนารสา
   ชลน สีลเตเชน   องมเงสุ สณิตา ฯ

   ๑๐   รตนํ ปุรเตา อาสิ   ทกิเณ เมตสุตกํ
   ธชคํ ปจเตา อาสิ   วาเม องลิมาลกํ ฯ
   ๑๑   ขนเมารปริต   อาฏานาฏิยสุตกํ
   อากาเส ฉทนํ อาสิ   เสสา ปการสณิตา ฯ
   ๑๒   ชินานานาวรสํยุต   สตปการลงตา
   วาตปิตทิสตา   พาหิรชตปทวา ฯ
   ๑๓   อเสสา วินยํ ยน   อนนชินเตชสา
   วสเตา เม สกิเจน   สทา สมทปเร ฯ
   ๑๔   ชินปรมชมิ   วิหรนํ มหีตเล
   สทา ปเลน มํ สเพ   เต มหาปุริสาสภา ฯ
      ๑๕   เจวมเน สุคุเต สุรเก
         ชินานุภาเวน ชิตูปทเวา
         ธมนุภาเวน ชิตาริสเง
         สงนุภาเวน ชิตนตราเยา
   สทมนุภาวปลิเตา   จรามิ ชินปเรติ ฯะ

indy:
น่าสนใจมากครับ อนุโมทนาด้วยตรับ

ธรรมะ ปุจฉา:
และก็ถึงเวลาที่มาของชินบัญชร ตามนี้เลยครับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7579.0

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[*] หน้าที่แล้ว