ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - lastman
หน้า: [1] 2 3 4
1  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ภาพธรรมประจำวันที่ 21 ก.ค. 56 เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:35:10 am
 st11 st12 thk56
2  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ธรรมอันเป็นเอก คือ พระพุทธานุสสติ โปรดอย่าประมาท เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:34:37 am
 st11 st12 thk56
3  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: กำหนดการ ปฏิบัติธรรมเดือนสิงหาคม 2556 ณ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:34:01 am
 st11 st12
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ชมภาพ พิธีอัญเชิญพระพุทธเมตตา ประดิษฐาน ณ วัดราชสิทธาราม ๒๑ ก.ค.๕๖ (๒) เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:31:43 am
 st11 st12 thk56
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: ชมภาพ พิธีอัญเชิญพระพุทธเมตตา ประดิษฐาน ณ วัดราชสิทธาราม ๒๑ ก.ค.๕๖ (๑) เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:31:26 am
 st11 st12 thk56
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ชมภาพ ขึ้นกรรมฐานใหญ่ ณ วัดราชสิทธาราม ๒๑ กรกฏาคม ๒๕๕๖ เมื่อ: กรกฎาคม 25, 2013, 05:30:46 am
 st11 st12 thk56
7  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: ส่วยพระ.? เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2013, 08:58:53 am
ช่วงนี้อ่านข่าวพระสงฆ์ แล้วเห็น สื่อกระหน่ำเรื่อง สงฆ์ ในทางลบเป็นส่วนใหญ่ ทั้ง ๆที่สงฆ์ ที่ดี ๆ ท่านก็ยังภาวนา ปฏฺบัติ ถ่ายทอดปริยัติ มีสงฆ์ปุุถุชน เข้าสอนตามโรงเรียน เผยแผ่ วัฒนธรรม ศีลธรรม ให้กับเยาวชน มีวัดที่อุปถัมภ์ค้ำจุน ช่วยเหลือเด็ก ๆ คนยากไร้ ส่งเสริมความรู้ ตลอดถึง พัฒนาชุมชน จำนวนมาก ๆ แต่สื่อเหล่านี้ไม่ได้กล่าว หรือ ไม่เคยกล่าวถึง เลย

  สำหรับเรื่องส่วยพระ ผมเห็นว่าเป็นธรรมดา ครับ อันที่ น่าจะเรียกว่า ปาฏิปุคลิกทาน คือ ทานเจาะจงเฉพาะ เช่น การนำของสักการะถวาย แด่พระผู้ใหญ่ ก็เป็นธรรมเนียม แต่พระผู้ใหญ่ ท่านจะหลงหรือ ติดไม่นั้นก็อยู่ที่ตัวท่านเอง สำหรับการถวายอย่างนี้ ไม่อยากให้มองว่าเป็นส่วย นะครับ เพราะใครที่ไม่เข้าใจ จะนำไปพูดถ่ายทอดอย่างผิด ๆ

  พูดถึงบรรดาพระสงฆ์ ทรงสมณศักดิ์ แล้ว ผมต้องนับถือ พระรูปหนึ่ง ในสระบุรี ที่ผมไม่เคยคิดถึงท่านมาก่อนแต่ วันนี้รำลึกถึงปฏิปทา ของท่าน ได้คือ เจ้าคณะอำเภอเมือสระบุรี องค์อดีต คือ พระครูสมโภชน์วรกิจก ท่านเป็นพระสงฆ์ ที่เป็นเจ้าคณะอำเภอที่ไม่มีพาหนะประจำตัว จะไปไหนที่ ก็เรียก taxi ส่วนเครื่องสังฆทานที่ท่านได้รับ มาผมก็ไม่เห็นท่านนำออกมาแจกแก่สงฆ์ ในช่วงนั้น ท่านเก็บไว้จนเสีย ส่วนที่ท่านอยู่ก็ไม่ได้หรูเลิศอะไรเลยเรียกว่าเป็นเจ้าคณะอำเภอ เป็นอุปัชฌาย์ ที่ธรรมดา ๆ มาก จนผมเองอยู่ใกล้ผ่านไปผ่านมา ยังไม่ได้สนใจอะไรเลย

    :welcome: st12 st12 thk56 เนื้อหา
8  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เปิดรับสมัครพระธรรมทูต รุ่นที่ 19/2556 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 02:40:46 am


เปิดรับสมัครพระธรรมทูต รุ่น 19/2556

 

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เปิดรับสมัครพระภิกษุ ผู้มีพรรษา 5 ขึ้นไป และมีคุณสมบัติตามที่กำหนด เข้าฝึกอบรมหลักสูตร พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 19 ซึ่งจะจัดอบรม ระหว่างเดือนมีนาคม - เดือนพฤษภาคม 2556 ผู้สำเร็จการอบรมจะได้วุฒิบัตรเป็นพระธรรมทูตสายต่างประเทศ มีสิทธิในการขอหนังสือเดินทางราชการ และไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ


ผู้สนใจ สามารถดาวน์โหลดใบสมัคร และยื่นใบสมัคร ได้ ที่ กองวิเทศสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี ทั้งที่ วัดมหาธาตุ และ มจร. อยุธยา ได้ ตั้งแต่บัดนี้ เป็นต้นไป หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่


กองวิเทศสัมพันธ์ มจร อยุธยา ห้อง D300 อาคารเรียนรวม โทร 03-524-8071 โทรสาร 03-524-8065


กองวิเทศสัมพันธ์ มจร วัดมหาธาตุ ห้องมุขทิศตะวันตก ชั้น ๒ อาคารมหาจุฬา โทร 02-623-6328 โทรสาร 02-226-3398



9  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ข่าวประชาสัมพันธ์จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) รับสมัครนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2556 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 02:34:28 am
^^ รู้สึก นายแบบ เน้นพระ ถือ book apple แต่ นักศีกษา ถือ หนังสือ รู้สึกมันขัดยังไง ไม่รู้

  st11
10  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ข่าวประชาสัมพันธ์จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) รับสมัครนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2556 เมื่อ: มกราคม 08, 2013, 02:32:26 am


 

ข่าวประชาสัมพันธ์จาก มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) รับสมัครนิสิตใหม่ในปีการศึกษา 2556 นำเอารูปทั้งพระเณรและฆราวาสชาย-หญิงมาเป็นแม่แบบในชุดสดใส ก็ดูสวยงามและแปลกตา นึกว่าเป็นโฆษณาของมหาวิทยาลัยทางโลก หรือนี่ มมร.-มจร. จะเข้าสู่การแข่งขันกับทุกมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ดังนั้น เมื่อจะเข้าสู่เส้นทางดังกล่าว ก็จึงต้องใช้วิธีการไม่ต่างไปจากเขาเท่าใดนัก ว่าแต่ทาง มจร. จะออกป้ายโฆษณาแนวไหนฮะ อย่าให้เสียหน้า มมร. เขาล่ะ


http://www.alittlebuddha.com/
11  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: เรียนเชิญ ส่งภาพ ส.ค.ส. ดิจิตอล ส่งความสุข ส่งท้ายปี 2555 ต้อนรับปี 2556 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2012, 12:47:58 am
12  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: 13 ส.ค.55 ตั้งแต่ 07.30 - 08.30 น.เข้าใช้งานเว็บ ไม่ได้คะ เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 12:25:55 am
วันนี้ผมพยายาม เข้า อ่านเนื้อหา ในเว็บ แต่ได้รับข้อความว่า เข้าไม่ได้ ไม่พบ domain บ้างครับ และบางครั้งเข้าได้ก็อืดมากครับ ดังนั้นช่วงเที่ยงคืน มาผมเห็นว่า เข้าได้ง่ายอาจจะเป็นเพราะว่ามีคนใช้ข้อมูลน้อยลงนะครับ

  :welcome: :49:
13  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จริงโดยสมมุติ จริง โดยความเป็นจริง จริงโดยปรมัตถ์ เมื่อ: กันยายน 19, 2012, 12:23:37 am
กำลัง พยายาม ถอดรหัส คำใบ้ เหล่านี้ ด้วยการภาวนา ครับ
อนุโมทนา สาธุ ที่พระอาจารย์ส่งข้อความให้ ในการพิจารณา หลักธรรม ครับ

  :c017: :25:
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: สมาธิ จะช่วยอะไรในวิปัสสนา เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 12:26:53 am
ศีล ส่งเสริม สมาธิ

สมาธิ ส่งเสริม ปัญญา

  สั้น ๆ แค่นี้ ละครับที่ได้ฟังมาจากพ่อแม่ครูอาจารย์ ครั

 :49: :welcome:
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: หลายท่าน บอกว่า ปีติและสุข เป็นธรรมขวาง พระนิพพาน เมื่อ: กันยายน 18, 2012, 12:25:49 am
ความกลัว
ความรู้มาก
ความไม่เข้าใจ
ความไม่ขวนขวาย
ความสงสัย

 เป็นอุปสรรค ต่อการภาวนา
 จงเรียนรู้ข้อผิดพลาด ที่เกิดขึ้น พร้อมหาวิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดนั้น
 :49: :welcome:
16  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมตั้งกองทุนเพื่อการบริหาร สถานีวิทยุโทรทัศน์ DDTV ทีวีสาธารณะของพระพุทธศาสนา เมื่อ: กันยายน 12, 2012, 12:13:52 am
อนุโมทนา กับข่าวสาร ครับนับว่าเป็น สถานี สำหรับชาวพุทธทั่วไปทั้งหมดจริง ๆ นะครับ กับสถานี dltv
เพราะมีเนื้อหาสาระ เป็นกลางไม่ไปทางสำนักใดสำนักหนึ่ง นะครับ
ตอนนี้มีการออกกฏหมายควบคุม การเผยแผ่ ออกอากาศ ซึ่งทำให้ สถานีชาวธรรม เกิดการเคลื่อนไหวขึ้นเพื่อเรียกร้องสิทธิ์ ที่ถูกริดรอนในทางกฏหมายควบคุมใหม่

 สาธุ สาธุ สาธุ
 
17  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เห็นตามความเป็นจริง เห็นเรื่องอะไรก่อน ครับ เป็นเรื่องแรก.... เมื่อ: เมษายน 22, 2012, 11:19:12 pm
เห็นตามความเป็นจริง เห็นเรื่องอะไรก่อน ครับ เป็นเรื่องแรก....

และควรดำเนินจิต ให้เห็นอย่างไร ตามความเป็นจริง ครับ ....

การภาวนา กรรมฐาน มุ่งหวัง เรื่อง การเห็นตามความเป็นจริง หรือ มุ่งหวังให้จิตมีความสงบ ครับ


 มาร่วมถามคำถาม .... ตามคำเชิญคุณ อิสรภาพ แล้วนะครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :s_hi: :c017: :25:
18  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / เว็บเข้าไม่ได้ตั้งแต่ 21.30 ถึง 22.30 น. 502 Bad gateway 12 ต.ค.54 เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:34:22 pm
ช่วง 21.52 น. ได้แจ้งกลับไปที่ คุณ patra ทาง email ครับ ว่าเว็บใช้ไม่ได้ครับ
ก็ได้รับการติดต่อกลับมาว่า กำลังประสานงานกับเจ้าหน้่าที่ ๆ ดูแลเว็บอยู่ครับ
ก็เป็นอันว่า เว็บเข้าไม่ได้ ชั่วโมง กว่า ๆ ครับ

 มีปัญหา เรื่อง 502 bad  gateway และ 504 gateway timeout

ตอนนี้จึงขอทดสอบโพสต์และแจ้งปัญหา บันทึกไว้ให้ทางเว็บมาสเตอร์ ทราบเพื่อเก็บปัญหาไว้พิจารณาต่อไปครับ


19  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: น้ำท่วมประเทศไทยตอนนี้ ที่เห็นแสดงให้เห็นความเห็นแก่ตัว ของ คนไทยอย่างชัดเจน เมื่อ: ตุลาคม 12, 2011, 10:30:23 pm
เห็นด้วยครับ ตอนนี้ สิ่งที่จะพิสูจน์หัวใจคนไทย ในเรื่องธรรมะ

ก็คือ คุณธรรม ที่เรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ประการ ครับ

 ช่วยกันเุถิดครับ ในเรื่องที่เป็นเรื่องที่เกินจากอำนาจของเรา ก็ขอให้ผู้มีอำนาจทั้งหลาย มองเห็นและแก้ปัญหากันจริงเสียทีครับ

 เตรียมตัวกับ อุทกภัย ที่จะเกิดหนักขึ้นทุกปีครับ

 สร้างภูมิจิต ด้วย ทาน ศีล ภาวนา 3 ประการให้เหนียวแน่นครับ

  :25: :25: :25:

 
20  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: องค์บริกรรม เมื่อ: กันยายน 30, 2011, 06:01:14 pm
โพสต์ผิดหัวข้อ ครับ


21  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: องค์บริกรรม เมื่อ: กันยายน 30, 2011, 05:57:08 pm
หลักการปฏิบัติ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=13.0

๑.สมาธินิมิต เครื่องหมายของสมาธิสำหรับภาวนา อยู่ตามจุด ตามห้องที่ฝึก
๒.ปัคคาหะนิมิต เป็นการกำหนดยกจิตไว้ที่ สมาธินิมิต ในระหว่างภาวนา
๓.อุเบกขานิมิต เป็นการกำหนดวางเฉยต่อ อดีต อนาคต เพื่อขจัดความฟุ้งซ่าน
ทำไมต้องมีบริกรรม ๑ และนิมิตทั้ง ๓
๑.การกำหนด สมาธินิมิต โดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเหตุให้จิตเกียจคร้าน ขาดความเพียร
๒.การกำหนด ปัคคาหะนิมิต โดยส่วนเดียว ย่อมเป็นเหตุให้ฟุ้งซ่าน กระสับกระส่าย
๓.การกำหนด อุเบกขานิมิต โดยส่วนเดียว เป็นเหตุให้จิตไม่ตั้งมั่น รวมศูนย์ไม่ได้


เมื่อจิตไม่สามารถรวมแต่ปล่อยวาง บริกรรม ก็จะเข้ากับ วางอุเบกขานิมิต เท่านั้นครับ จึงรวมศูนย์จิตไม่ได้
เป็นแต่หยุดเหมือนว่า ว่าง เป็นอาการสักว่า ไม่มีอะไร เหมือนคนไม่ทำอะไร ไม่ถือ ไม่หิ้ว ไม่พูด นิ่ง ๆ อยู่
อย่างนั้น ดังนั้น ที่ครูอาจารย์ให้กับมาเริ่มต้น คือ ให้เรากับมาทบทวนกรรมฐาน

  คือ นิมิต 3 ประการให้เป็นหนึ่งเดียวกัน

  คือ 1. สมาธินิมิต หรือ บริกรรมนิิมิต คือ พุทโธ

      2. ปัคคาหะนิิมิต คือ ฐานจิตต่าง ๆ เพื่อออกกำลังจิต ให้เดินจิตได้ ถ้าอยู่นิ่ง ๆ จิตไม่มีกำลังครับ
   
      3. อุเบกขานิมิต คือ การวางอารมณ์ บริกรรม รวมเป็นหนึ่งเดียว ที่พระพุทธานุสสติ ครับ

  มีพระพุทธานุสสติ ไม่ใช่ มีความว่าง ไม่ใช่ไม่มี แต่ มีพระรัตนตรัยใน จิตสมาธิ ครับถึงจะละสังโยชน์ ข้อ 3 ได้

 เท่านี้นะครับ ยินดีที่รู้จักกับ คุณ lengwuchong
22  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: หากมีผู้กล่าว บทกวี สมาธิ อย่างนี้ ทุกท่านมีความเห็นอย่างไร ? เมื่อ: สิงหาคม 10, 2011, 08:41:43 pm

ที่มาของภาพ http://www.gotoknow.org/blog/aoyyala/151162


อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ


 คำว่า สมาธิ ถ้าจะพูดให้ถูกต้องนะครับ ไม่ว่าจะเป็นสัมมาสมาธิ หรือ มิจฉาสมาธิ

 ต้องตีความกันก่อนนะครับ ในเชิงวิชาการ ด้วยการแสดงความคิดเห็น

 

สมาธิ
    [สะมาทิ] น. ความตั้งมั่นแห่งจิต; ความสํารวมใจให้แน่วแน่เพื่อให้จิตใจสงบ หรือเพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง. (ป., ส.).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


สมาธิ  ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, การมีจิตกำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ

อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


ส่วนนี่้คือการตีความ ว่า สมาธิ เป็นอย่างนี้ มีความหมาย อย่างนี้ นะครับ ตามคำแปล ซึ่งการตีความอ้างอีกับพจนานุกรมพุทธศาสน์ ดังนั้น ก็คือตีความ เป็นสัมมาสมาธิ ไม่ใช่ความหมายของสมาธิทั่วไป  เพราะระบุว่าทำใจให้สงบแน่ หรือ เพื่อให้เกิดปัญญา ซึ่งจากคำแปล นั้น มิได้หมายถึง มิจฉาสมาธิ นะครับ เบื้องต้นตามความหมาย ก่อนนะครับ เพื่อตอบตามประเด็น

 ดังนั้น สรุปว่า ความหมาย ในคำแปลหมายถึง ผลของการฝึก ทำใจให้สงบแน่แน่ เพื่อให้เกิดปัญญาเห็นแจ้ง
ดังนั้น สมาธิ ตรงคำตอบก็ ผลของการภาวนา ด้วยวิธีใด วิธีหนึ่ง นะครับ จะเป็น การเจริญสติ หรือ กรรมฐาน 40 กองกรรมฐาน ก็เพื่อให้ได้ผลตามนั้น  ส่วนนี้จบของการให้ความหมายของคำว่า สมาธิ นะครับ



ที่นี้ลองมาพิจารณา คำถามจากภาพ นะครับ

สมาธิ

ไม่ต้องหลับตา
ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวไปวัด
ไม่ต้องท่องพุท - โธ
ไม่ต้องนึกถึงศาสดาองค์ใด
แค่จดจ่อ จรดมือบรรจงทำงาน
ด้วยจิตว่าง ไม่กระหายใคร่ได้สิ่งอื่นใด

 เพียงเท่านี้ .....สมาธิเกิด

อยากทราบ ความคิดเห็นของสมาชิก ชาวกรรมฐาน ด้วยคะ



จากเนื้อหาภาพ และ คำถาม วิเคราะห์ ก็คือ ผู้ถามไม่ได้เป็นเจ้าของภาพ แต่ไปเห็นภาพคำบรรยายนี้แล้วนำมาถามในห้องนี้ นะครับ เพื่อถามความเห็นว่า ใช่ หรือ ไม่ใช่ ถูก หรือ ผิด หรือ ประมาณนี้

ดังนั้น วิเคราะห์ คือ คำตอบได้อธิบาย ความหมายของสมาธิ ก็คือ สัมมาสมาธิ เท่านั้น เพราะคำถามเป็นคำถามที่กำลังพูดถึง วิธีการที่สวนทางกับการปฏิบัติภาวนาสากล ก็ต้องตามประเด็นนะครับ

 
ไม่ต้องหลับตา  คุณส้มตอบได้ดี แล้ว ครับ คือ วิธีการทำสมาธิ สามารถทำได้ ทั้งลืมตา และ หลับตา และพูดถึงกรรมฐาน ก็วิธีการที่ต้องใช้ปฏิบัติร่วมกันทั้งสองแบบ ซึ่งมีแบบแผนตามกองกรรมฐานต่าง ๆ

  ดังนั้นข้อแรก กล่าวได้ว่า ตอบไม่ถูกทั้งหมด คือ หลับตา ก็ได้ ไม่หลับตา ก็ได้ ขึ้นอยุ่กับกรรมฐาน

ไม่ต้องนุ่งขาวห่มขาวไปวัด

  อันนี้เห็นด้วย เพราะความสำคัญของการภาวนา ไม่ได้อยู่ที่เครื่องแต่งกายแต่อยู่ที่ ศีล กุศลกรรมบถ ของผู้ภาวนานะครับ แต่การแต่งกายชุดขาว ก็เป็นเรื่องที่ดี เป็นแบบอย่างแสดงถึงความจริงใจในเวลาเข้าไปปฏิบัติเป็นการประกาศตน เป็นผู้ภาวนา ดังนั้นเวลาใครแต่งชุดขาวไปทำชั่ว ก็จะเกิดความละอาย ส่วนคนที่คิดว่าแต่งชุดอะไรก็ได้นั้น จะมีข้อเสียคือ ไม่ระมัดระวัง สำรวมเพราะแต่งกายที่ไปไหนก็ได้ เดินไปโรงหนังก็ได้ โรงนวดก็ได้ ไปเล่นการพนัน สิ่งไม่ดีก็ได้ ความละอายจะมีน้อยกว่า ผู้แต่งชุดขาวที่ประกาศตน ถ้าถามว่าการประกาศตนเป็น พุทธมามกะ ไม่สำคัญ พระพุทธเจ้าพระองค์ก็คงจะไม่ต้องให้เรากล่าวถึงคำ พระรัตนตรัย เป็นที่พึ่งหรอกครับดังนั้นสรุป จากคำถามนี้ จะสวนกลับวัฒนธรรมนะครับ เพราะเขาแต่งชุดขาวไปวัดกัน เรามาแต่งชุดสีกันไป ใส่สีแดงแป๋ด แสดงถึงความไม่จริงใจ ไร้รูป ไร้แบบ อย่างนี้ผิดครับ แต่หากปฏิบัติภาวนาอยู่ที่บ้านจะแต่งชุดอย่างไรก็ได้ครับ ดังนั้น คำถามนี้ไม่ได้เกี่ยวกับการภาวนา แต่เกี่ยวกับกติกาสังคม ก็คือ ระเบียบ จัดเป็นพระวินัย

  ดังนั้นในข้อสอง ไม่ใช่วิธีการภาวนากรรมฐาน อันนี้ตอบผิดไม่เกี่ยวข้องกับวิธีการภาวนาครับ

 ไม่ต้องท่อง พุท-โธ

  ถูกครับไม่ต้องท่อง แต่ให้บริกรรม ถามว่า ถ้าคุณภาวนากรรมฐาน พระพุทธานุสสติ คุณไม่บริกรรม พุทโธ คุณก็ต้องใช้คำในบทพระพุทธคุณ ดังนั้น ถ้าผู้ภาวนาไม่ได้ ภาวนาพุทธานุสสติ ใช้กรรมฐาน อื่น ๆ ก็ได้ครับขึ้นอยุ่ว่าผู้ภาวนาเลือกกรรมฐานอะไร แต่ถ้าเลือกกรรมฐาน ลงไปแล้วคุณไม่ภาวนาบริกรรม แล้ว คุณจะมีวิตก ได้อย่างไรครับ ดังนั้นในส่วนวิธีการ อย่างไรก็ต้องมี วิตก คือ บริกรรม อยู่ดีครับ

 ไม่ต้องนึกถึงศาสดา องค์ ใด

  อันนี้เป็นความคิดที่เพี้ยนเลยครับ เพราะว่าเลือกปฏิบัติในวัด ในพระพุทธศาสนา ไม่เคารพในพระศาสดาแล้วก็จบเห่ครับ ตถาคตโพธิสัทธา ไม่มีจะภาวนาไม่ได้แต่ ดังนั้น ศาสดา ของ ศาสนาพุทธ คือ พระธรรม และ พระวินัย ครับ ให้ทำความเข้าใจ ต้องนึำกถึงองค์ธรรม กรรมฐานที่เรียน ที่ภาวนา ไม่งั้น ก็ต้องตรัสรู้ชอบเองแล้วครับ


 แค่จดจ่อ จรดมือบรรจงทำงาน ด้วยจิตว่าง ไม่กระหายใคร่ได้สิ่งอื่นใด

 ดูเหมือนกำลังจะดึงวิธีการภาวนาไปสู่การทำสติ เป็นหลัก ไม่มีเป้าหมายเพื่อการสิ้นกิเลส เพียงมีเป้าหมายกับการงานที่ทำอยู่ อะไรคือบริกรรมในขณะนั้น ตกลงทำลงไปโดยไม่ต้องคิด บริกรรม ไม่มีวิธีการ ไม่ต้องการใคร่ได้สิ่งอื่นใด มั่วซะไม่มี อยู่ ๆ จะให้จิตว่าง โดยไม่คิด และทำโดยไม่กระหายว่าทำ แล้วมันจะไปทำได้อย่างไร เพราะจิตว่าง ไม่มีความคิด จินตนาการ ใด ๆ ญาณทัศนะ ยถาภูตญาณทัศนะ อยู่ตรงไหน ญาณทัศนะวิสุทธิอยู่ตรงไหน อันนี้ ตอบฟันธงเลยนะครับ

   สมาธิ ไม่เกิดหรอกครับ จะได้ความฟุ้งซ่านแทนนะครับ
   ผมเห็นมาหลายรายแล้ว ครับ โดยเฉพาะพวกสายที่เรียกว่า ปัญญา จะหลีกเลี่ยงหนีการทำสมาธิ เพราะเห็นว่าไม่มีความจำเป็น ไม่ต้องดำเนินจิตในสมาธิก็น่าจะบรรลุได้ ประมาณนี้

   พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ว่า อริยมรรค มีองค์ 8 เป็นหนทางอันประเสริฐ เครื่องถึงความพ้นทุกข์

   นาน ๆ มาช่วยตอบสักทีครับ เพราะอยากให้คนอ่านได้เข้าใจ ในประเด็นของคำถามนะครับ

   สรุปนะครับ สมาธิ เป็นผลนะครับ

   วิธีการที่ได้สมาธิ ในพระพุทธศาสนา เรียกว่า สมถะวิปัสสนากรรมฐาน ครับ

   ดังนั้นผลของ สมาธิ ก็คือ  ระงับ นิวรณ์ 5 ประการเบื้องต้น นะครับ ส่วน


 :s_hi: :s_hi: :s_hi:
23  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "เพื่อไทย" รับฟังองค์กรชาวพุทธ พร้อมเดินหน้า "ธนาคารพุทธ" เมื่อ: กรกฎาคม 06, 2011, 11:40:50 pm
ต้องดูกันต่อไป ครับ ผมเองก็งง ๆ กับนโยบาย

แต่วันนี้พึ่ง จะเลือกตั้งไม่ถึง 5 วันเลย

 ดูต่อไป ครับ....

 วิจารณ์ มากเดี๋ยวพาเข้าการเมืองอีก

 :34: :bedtime2:

 
24  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: อาโลโก อาโลโก อาโลโก ชมภาพธรรมสัญจร ของพระอาจารย์ เมื่อ: กรกฎาคม 01, 2011, 09:11:01 pm
ภาพถ่าย โดยพระอาจารย์ หาดูยากมากครับ ได้ทราบว่าพระอาจารย์ถ่ายไว้มากเหมือนกัน

ใครมีภาพ ก็มาแบ่งกันชมบ้างนะครับ

เห็นแล้ว รู้สึกถึงการเดินทางของพระอาจารย์ ที่ขึ้นเหนือ ลงใต้ อิสาณ จริง ๆ เลยครับ

สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25:
25  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วัดพระพุทธบาท จัดอบรมเยาวชน และ พระปฏิบัติธรรม เดือน มี.ค.54 เมื่อ: มีนาคม 18, 2011, 03:08:57 pm






ขอเชิญพุทธศาสนิกชน ร่วมกันตักบาตร พระคุณเจ้าคณะสงฆ์ที่เข้ารับการอบรมปฏิบัติธรรม

ที่ป่าช้าตาลอย วัดพระพุทธบาท ตักบาตรในเวลา 06.30 - 08.30 มีเทศนาทุกเช้าเป็นเวลา 10 วัน

ตั้งแต่วันที่ 19 มี.ค.54 - 28 มี.ค.54

 และอาราธนา นิมนต์พระสงฆ์ ที่ต้องการเข้าร่วมปฏิบัติ เข้าปฏิบัติธรรมได้ในวันที่ 18 - 19 มี.ค.54

 :s_good:
26  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อยากเรียนกสิณ น้ำ คะ วานผู้รู้ช่วยอธิบายวิธีการด้วยคะ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 07:06:51 pm
เรื่องคำภาวนา ก็มีความสำคัญนะครับ ผมเคยถามว่า ถ้าภาวนา เตโช ภาวนาแต่คำว่า ไฟ ไฟ ไฟ ไปเรื่อย ๆ จะได้หรือไม่ รู้ึสึกว่า พระอาจารย์เคยกล่าวว่าอย่าเปลี่ยนเลย เพราะเป็นคำเฉพาะ

 ผมเองเคยมานั่งคิดสงสัย เหมือนกัน จนกระทั่งคืนหนึ่ง ผมเจอผีมาหลอกครับ ( ไม่เล่านะครับมันยาว )

 เอาเป็นว่าช่วงที่ผีมาหลอกผม ๆ นอนไม่หลับ ผมนึกบทสวดอะไรไม่ออก ก็เลย พูดว่า พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

 ผีไม่กลัวครับ  ผมเลยคิดตอนนั้นว่า ไม่ต้องแปลแล้ว เลยตะโกนออกไปดัง ๆ ว่า พุทโธ ๆๆๆๆ เป็นจังหวะ

 สงสัยผีคงรำคาญกระมังครับ หายเงียบไปตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ เล่าพอหอมปากหอมคอ นะครับ

 คือบางอย่างไม่ต้องแปลจะดีกว่านะครับ

  ดูอย่างพระอาจารย์เป็นตัวอย่างครับ เพราะท่านแปลคำนี้ ท่านจึงต้องมาันั่งเีขียน พุทโธ ใส่สมุด ถึง 7 เล่ม

ผมเคยเห็นมาแล้ว กระดาษเปล่า ๆ ท่านสามารถเขียนได้ตรง อย่างกับเครื่องพิมพ์ ผมว่าลูกศิษย์ใกล้ชิดท่าน

น่าจะรู้เรื่องนี้กันอยู่บ้างนะครับ ผมเองกลับบ้านมาแอบเขียน เท่าไหร่ก็ไม่ตรงอย่างท่านเลยครับ ที่สุดไม่อยาก

จะกล่าวได้ยินมาว่า ท่านเขียนแบบพิเศษด้วยครับ ( คงเล่าในนี้ไม่ได้ครับ เพราะท่านสั่งห้ามเล่า นะครับ )

 :25:
27  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การวางอารมณ์ในกรรมฐาน มีขั้นตอนอย่างไรครับ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 07:00:07 pm
ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ยิน สัญญาณวิทยุ RDN บางวันก็มีเสียง บางวันก็ไม่มีเสียง ไม่ทราบเป็นเพราะเหตุอันใด
ปกติเมื่อก่อนผมก็จะได้ฟังบ่อย ๆ ช่วง 19.00 - 21.00 น.

แต่ช่วงนี้หายไปเพราะเหตุไร ไม่ทราบครับ

 :25:
28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไมอาการเป็นเช่นนี้ ต้องแก้อย่างไร คะ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:57:23 pm
ผมว่าน่าจะเกิดจากสภาวะ สัปปายะ เป็นหลักนะครับ ในกรณีที่เราเคยภาวนาได้มาแล้วแต่มาในช่วงนี้ มีความรู้สึก
กระสับกระส่าย หรือมีอาการฟุ้ง ง่วงนอน หรือ เบื่อ ผมว่าอาการนี้ คืออาการกรรมฐานเสื่อม

 หรือ อีกอันก็เป็นอาการที่กรรมฐานนั้น ตั้งมั่นเพื่อไประดับต่อไป จึงทำให้เรามีจิตไม่ินิ่ง ภาวะนี้น่าจะไม่ใ่ช่

 ลองเปลี่ยนสถานที่ ภาวนาดูนะครับ

 ท่าจะให้ดีลองเดินจงกรม สัก 30 นาที กำหนดเดินหนอ ย่างหนอ ก็ได้ครับ

 แล้วกลับมานั่งกรรมฐานอีกดูว่ายังเป็นอาการเดิมอีกหรือไม่ ถ้าเป็นก็ต้องปรึกษาครุอาจารย์กันต่อไปแล้วครับ

 :25:
29  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: "สติสัมปชัญญะ....คําสอนครูบาอาจารย์" เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:47:22 pm
บรรยาอารมณ์ กรรมฐาน ก็อาจจะดูไม่ได้ ครูอาจารย์ ท่านจึงสอนว่า อย่านำอารมณ์จิตเราไปแจ้งกรรมฐานกับ

คนอืิ่นที่ไม่ใช่อาจารย์ของเรา เพราะจริตคนนั้นแตกต่างกัน ดังนั้นการแจ้งกรรมฐาน เวลาเป็นอารมณ์ที่สูงจากระดับ

อย่างนี้ผมส่วนมากจะแจ้งทางโทรศัพท์กับหลวงพ่อพระครู หรือ ทางเมล์กับพระอาจารย์ครับ

อันที่จริงอยากแจ้งสดเป็นการส่วนตัว แต่ช่วงนี้ ครูอาจารย์ของเราท่านลึกลับ ครับ คือปลีกวิเวก ไม่อยู่วัด ไม่รับแขก
ไม่สามารถติดต่อท่านได้ จริง ๆ ครับ


 :13:
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เพื่อนสมาชิก มีความคิดอย่างไร กับวัดติดทีวี ในห้องส้วม จ๊ะ เมื่อ: มีนาคม 11, 2011, 06:43:43 pm
ผมว่าวัด กำลังตั้งค่านิยม ที่ผิด สนองตัณหาให้กับคน

 ผมเห็นมาแล้ววัดติดแอร์ในห้องน้ำ ประดับประดาหัองน้ำ ล้วนแล้วเป็นวัดที่จัดไปทางด้านหาเงินเข้าวัดมากกว่า

ที่จะส่งเสริมพระธรรมกัน

 การใช้ตัณหา เป็นเครื่องล่อทำให้คนมองสิ่งที่เรียกว่า ห้องปลดทุกข์ เป็นห้องฉันสุขเสมอ นั้นผมว่าจะสวนทาง
กับหลักการ การสอนธรรมคือควรให้เห็นตามความเป็นจริง

 เวลาพระท่านสอนให้ดูกาย ผู้หญิง ( อันนี้ยกตัวอย่างนะครับ ) ท่านจะสอนให้ดู อสุภะในกาย เป็นต้น

 คอนเซป นี้อาจจะเป็น พวกกรรมการเสอนไอเีดีย ก็ได้ครับ แต่อย่างไรก็ต้องรับความเห็นจากเจ้าอาวาสด้วย

ท่านมุ่งอะไรกันแน่ กับกรณีอย่างนี้

 :smiley_confused1:
31  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ตอนนั่งกรรมฐาน เราจะปวดหัวมาก รู้สึกหัวใจเต้นแรงมาก เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 04:25:54 pm
ต้องใช้เวลาเท่าใด ครับ พระอาจารย์อาการถึงจะหมดไปได้

 :25:
32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ยามป่วย เราควรภาวนา อย่างไรถึงจะถูกกับกาละเทศะครับ เมื่อ: มีนาคม 04, 2011, 04:21:08 pm
เวลาป่วย ร่างกายก็อยากนอนเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อล้มตัวลงนอนแล้ว ก็มัีกจะเจริญสติไม่ทันก็จะเข้าสู่วิถีการหลับ

ผมมาคิดดูว่า ถ้าเกิดต้องตายในเวลาขณะนั้น ต้องเสียการณ์เป็นแน่

ทั้ง ๆ ที่รู้อย่างนี้แต่ก็ไม่มีพลังในการเจริญภาวนา ต้องตั้งต้นอย่างไรครับ หรือควรจะต้องมุ่งในท่านั่ง

โดยไม่ต้องสนสภาพร่างกาย ที่ยอบแยบ อย่างนั้น

 :25:
33  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เทพเจ้าแห่งคาามเมตตา วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:48:06 pm
หลวงพ่อจง  พุทธัสสโร

เทพเจ้าแห่งคาามเมตตา วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา

 

                        หลวงพ่อจง  พุทธัสสโร  เป็นครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่ได้ล่วงลับดับสังขารไปแล้ว  ตามวิสัยแห่งชีวิตมวลสัตว์โลกทั้งหลายที่มีเกิดแล้วต้องมีแก่ เจ็บ และตายไปในท้ายที่สุด

 

                        แต่ทว่าในช่วงชีวตของพระคุณท่าน  ได้สร้างสมความดีทั้งโดยฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมไว้เป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เล่าขานบอกกล่าวกันมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น  แม้ว่าท่านจะล่วงลับดับขันธ์ไปนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ก็ตาม

 

                        ตรงกันข้ามสภาวะแห่งความเจริญของสังคมยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นในวิทยาการสมัยใหม่  เป็นสังคมวัตถุนิยม  บูชาในคุณค่าของวัตถุเหนือสภาพจิตใจ  เป็นเหตุให้พลโลกทั้งหลายล้วนมีจิตใจที่เสื่อมทราบ  มีความเห็นแก่ตัวตนของตนมากยิ่งขึ้น  จนถึงกับมองข้ามหลักศีลธรรมจรรยาว่าเป็นสิ่งไร้ค่าหาสาระไม่มี

 

                        ด้วยความเป็นไปในสังคมยุคใหม่ที่ว่านั้น  จึงทำให้ผู้มีปัญญาหวนกลับมามองเห็นถึงคุณค่าแห่งศีลธรรม  ซึ่งเหตุนั้น เรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่อุดมด้วยความดีงาม จึงโดดเด่นเป็นที่สนใจใคร่รู้ เป็นแบบอย่างอีกครั้งหนึ่ง

 

                        ชีวิตความเป็นมาของหลวงพ่อจง  พุทธัสสโร นี้ก็เช่นกัน  นับเป็นเนติแบบอย่างแก่ผู้ใฝ่ดีทั้งหลายได้เป็นอย่างดี  โดยเฉพาะผู้อยู่ในเพศบรรพชิตด้วยแล้ว  หากได้อ่านได้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว  ย่อมจะรู้ได้ว่า  ผู้เป็นพระนั้นควรจะเป็นอยู่อย่างไร

 

                        และ......เป็นพระแท้แล้วหรือยัง

 

ประวัติ

 

                        หลวงพ่อจง  พุทธัสสโร  ท่านมีนามเดิมว่า “จง”  กำเนิดมาในตระกูลชาวนาในท้องที่ตำบลหน้าไม้  อำเภอบางไทร  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

                       

                        เรียกว่าเป็นเชื้อสายแห่งคนดีศรีอยุธยาอีกคนหนึ่ง  ที่ทั่วสรรพางค์กายล้วนเต็มเปี่ยมด้วยเลือดนักสู้  สมชาติชายไทย  บิดาท่านมีนามว่า นายยอด  มารดานามว่า  นางขลิบ  ซึ่งท่านทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน คือ

 

                        1. เด็กชายจง  ต่อมาคือ  หลวงพ่อจง  พุทธัสสโร  เป็นบุตรคนโต

                        2. เด็กชายนิล  เป็นคนรอง  ต่อมาคือพระอธิการนิล  เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน

                        3.  เด็กหญิงปลิก  เป็นน้องคนเล็ก และเป็นผู้หญิงคนเดียว

 

                        สำหรับวันเดือนปีเกิดหรือวันถือกำเนิดของหลวงพ่อจง  พุทธัสสโร นั้น เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ล่วงเลยผ่านพ้นมานาน  อีกทั้งการบันทึกก็มิได้มีหลักฐานที่เด่นชัด  เป็นแต่ระบุไว้พอรู้ความว่า  ได้กำเนิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี  ณ  วันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก  อันเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ ที่ตรงกับวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2415  และด้วยเวลานั้นยังไม่มีการใช้ชื่อสกุล  จึงไม่มีการระบุชื่อนามสกุลเดิมของท่านไว้

 

วัยเยาว์

 

                        เด็กชายจง  บุตรชายคนโตของคุณพ่อยอด  คุณแม่ขลิบ  เมื่อกำเนิดลืมตาดูโลกแล้ว  ได้รับการเลี้ยงดูตามฐานะแห่งตระกูล  เช่นลูกหลานชาวท้องทุ่งท้องนาทั้งหลาย  มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะพิเศษเกินกว่าเด็กชาวนาคนอื่น ๆ เลยแม้แต่น้อย

 

                        หรือแม้แต่อากัปกริยาที่จะแสดงอาการส่อแววว่า  ในโอกาสต่อมาเมื่อเติบใหญ่แล้ว  ชีวิตจะต้องก้าวเข้ามาสู่ฐานะภิกษุสงฆ์  อันเป็นที่เคารพบูชาของมวลชนทั้งหลาย  ดังที่ปรากฎเป็นเกียรติคุณเป็นที่ล่ำลือกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

 

                        แต่ทว่าชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจง หรือเด็กชายจงในเวลานั้น  กลับปกปิดความเป็นคนเหนือคนสามัญทั้งหลายไว้อย่างมิดชิดแนบแน่น  ด้วยการอยู่ในฐานะเช่นผู้อาภัพอับโชค  อุดมไปด้วยทุกขโรคามากกว่าชีวิตที่เป็นสุข มีความร่าเริงเบิกบานตามวิสัยเด็กทั้งหลายโดยทั่วไป

 

                        ด้วยการที่เด็กชายจง  ถูกโรคาพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย  จึงทำให้รูปร่างหน้าตาในสมัยเป็นเด็กค่อนข้างจะผอมโซ  หน้าตาซีดเซียว  ร่างกายไม่แข็งแรงดังเช่นลูกชาวนาทั้งหลาย  ซ้ำยังมีอุปนิสัยค่อนข้างจะขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง  ลักษณะดังเป็นเช่นเด็กทุพพลภาพ

 

                        ที่ร้ายไปกว่านั้น  เด็กชายจงยังถูกเคราะห์กรรมซ้ำเติมให้มีอาการหูอื้อจนเกือบหนวก  รับฟังเสียงอะไรต่างไม่ถนัดชัดเจน  นัยน์ตามืดมัว ฝ้าฟาง มองอะไรไม่ชัดเจน ทำให้อากัปกริยาการเคลื่อนไหวไปมาพลอยเชื่อช้าแบบเก้ ๆ กัง ๆไปด้วย และเป็นคนพูดน้อย  ชนิดถามคำก็ตอบคำ  หรือไม่ยอมพูดเอาเสียเลยก็มี  เหล่านี้คือบุคคลิกภาพในสมัยเยาว์วัยของเด็กชายจง

 

เป็นเช่นยามเฝ้าบ้าน

 

                        จากบุคคลิกภาพดังกล่าวมาของเด็กชายจง  ผสมกับสุขภาพที่ไม่สู้จะสมบูรณ์นัก  วัยเยาว์อันควรเป็นวัยที่แจ่มใสสดชื่น จึงเต็มไปด้วยความออดแอดขี้โรค ยิ่งเติบโตจากอายุ 8 ขวบ ไปแล้ว  อาการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยิ่งแสดงทีท่าว่าจะกำเริบหนัก  เลยทำท่าว่าจะไปไหนมาไหนโดยลำพังไม่ได้เสียเลย

                        เขาว่าคืนนี้มีลิเกสนุกอยากจะไปดู ก็ต้องให้ญาติพี่น้องจูงไม้จูงมือไต่เต้าตามหัวคันนา  บุกน้ำท่องโคลน เดินเดาสุ่มตามหลังคนอื่นไป พอไปถึงแล้วถึงเวลาลิเกเล่น มองเห็นตัวลิเกมั่งไม่เห็นมั่งไปตามเรื่อง  เพราะสายตาไม่ดี  และมักจะหลบฝูงชนออกไปซุ่มดูอยู่ห่าง ๆ ตามโคนต้นไม้ห่างจากผู้คนอื่น ๆ ไม่นิยมการไปรวมกลุ่มอยู่กับใคร ๆ

 

                        การไปดูลิเกของเด็กชายจง  จะ ว่าเป็นการหาความบันเทิงจากการฟังเสียง ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เพราะนอกจากตาไม่แจ่มใสแล้ว หูก็ยังไม่สามารถฟังเสียงอะไรได้ถนัดอีกด้วย  เสียงกลอง เสียงปี่ พิณพาทย์ เครื่องเสียงประกอบการแสดงของลิเก ถึงฟังได้ก็ไม่ตลอด แบบได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง  เอาเรื่องเอาราวอะไรไม่ได้

 

                        สรุปแล้ว การไปดูลิเกของเด็กชายจงจึงมีค่าเท่ากัน  จะไปหรือไม่ไปดูก็ไม่มีอะไรต่างกัน  ฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า  “ไง...ไปดูลิเกสนุกไหม”  คำตอบก็คือ หัวเราะ  หึ หึ ครั้นถูกถามว่าลิเกเล่นเรื่องอะไร คำตอบก็เช่นกันคือเพียงหัวเราะ หึ หึ

 

                        มีเหมือนกันเมื่อถูกรุกถามหนัก ๆ เข้าจึงตอบเป็นคำพูดสักคำว่า

                        “อือม์...สนุก”

                        และนั่นก็เป็นคำตอบที่ยาวที่สุด นาน ๆ ครั้งจึงจะมีผู้ได้ยินคำตอบอย่างนี้สักครั้งหนึ่ง  แต่จะมีเฉพาะกรณีถูกรุมเร้าหรือถูกรุมหนักเท่านั้น

 

                        ดังนั้นต่อ ๆ มา ลิกงลิเกหรืองานวัดอะไรต่างก็ไม่มีโอกาสได้ดูกับใครอื่นเขา เพราะคนที่จะพาจูงไปคร้านที่จะเอาธุระ  ซึ่งจะเพิ่มภาระให้เกิดแก่ตนเอง

 

                        ในที่สุดเด็กชายจงจึงได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ให้เป็นพิเศษ คือเป็นยามเฝ้าบ้าน  ใครเขาจะไปไหนมาไหนก็ตามแต่  เด็กชายจงเป็นได้เฝ้าบ้านทุกครั้ง  แต่ก็มีอยู่ประการหนึ่งที่เด็กชายจงไม่ยินยอมเป็นยามเฝ้าบ้านให้เป็นเด็ดขาด  คือในเวลาที่มีการทำบุญตักบาตร  การไปวัดในวันธรรมสวนะ  เด็กชายจงเป็นต้องรบเร้าขอร้องให้พ่อแม่ ญาติพี่น้อง พาตนไปด้วยให้จงได้  ซึ่งถ้าถูกปฏิเสธห้ามปราม  เขาจะคร่ำครวญร่ำไห้แสดงความทุกข์ออกมาให้เห็นอย่างน่าสงสาร

 

                        จึงเป็นอันว่า เด็กชายจงจะได้ออกนอกบ้านก็เฉพาะแต่การไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามโอกาสงานบุญเท่านั้น

 

เข้าวัด....อยู่วัด

 

                        ชีวิตของหลวงพ่อจง  พุทธัสสโรในวัยเด็กไม่มีสิ่งใดผันแปร คงเป็นไปอยู่เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ราบเรียบดังเช่นน้ำในอ่างดังเช่นที่กล่าวมาแต่ต้น  จนกระทั่งอายุได้  12  ปี ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น  คือทางพ่อแม่มีความเห็นถึงอุปนิสัยของเด็กชายจง  บุตรชายคนโตตรงกันว่า  เป็นผู้มีความชอบวัด ติดวัด รักชอบในอันที่จะไปวัดมากกว่าที่เที่ยวเตร่หาความสนุกในที่ใด ๆ ทั้งหมด

 

                        ดังนั้น  ท่านจึงสรุปความตรงกันว่า  เมื่อเด็กชายจงชอบวัด ต้องการจะไปวัดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน  แทนที่ตนหรือคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องลำบากจูงมือนำพาลัดเลาะคันนา ถึงแม้จะไม่ห่างไกลเท่าใดนักก็ตามเถิด  แต่เมื่อต้องทำอยู่ทุกบ่อย ก็ให้เกิดความคิดว่าน่าที่จะให้ไปอยู่วัดเสียเลย

 

                        คิดเห็นตรงกันดังนั้นแล้ว  จึงได้เผยความคิดเห็นดังกล่าวให้เจ้าตัว  คือเด็กชายจงได้รับรู้ด้วย  แทนที่จะคิดเสียใจน้อยใจในทำนองที่ว่า พ่อแม่จะตัดหางปล่อยวัดหรือเลยเถิดไปถึงว่าพ่อแม่สิ้นรักสิ้นเมตตาตนแล้ว  กลับเป็นความปลื้มปิติใจเป็นอย่างยิ่ง  เพราะวัดเป็นที่ร่มเย็น เป็นที่ปรารถนาของตนอยู่แล้ว  เด็กชายจงจึงรับคำพ่อแม่อย่างเต็มอกเต็มใจไม่มีอิดออด

 

                        เวลาต่อมา เด็กชายจงจึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหน้าต่างใน
อันเป็นวัดใกล้บ้าน ที่เด็กชายจงเคยไปมาหาสู่อยู่เสมอนั่นเอง  และนับเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง  ตั้งแต่ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว  โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งโรคหูอื้อ ตาฝ้าฟาง ที่เป็นเรื้อรังมานานปีกลับหายไปจนหมดสิ้น

 

                        สามเณรจงกลับมีสุขภาพสมบูรณ์พลานามัยดีมาก  เป็นสุขอยู่ในเพศพรหมจรรย์  ดุจเป็นนิมิตให้ทราบว่า  ท่านจะต้องครองเพศมีชีวิตอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปตลอดชีวิต  สมดังพุทธอุทานที่ว่า....สาธุ โข ปพพฺชชา...การบรรพชายังประโยชน์ให้สำเร็จ

 

                        ดังนั้น  เมื่ออายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.2435  โยมบิดามารดาจึงจัดพิธีอุปสมบทให้ได้เป็นพระภิกษุต่อไป  ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างในที่พำนักอยู่ โดยมี

                        พระอุปัชฌาย์สุ่น (หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ)  เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์

                        พระอาจารย์อินทร์  เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก  เป็นพระกรรมวาจาจารย์

                        พระอาจารโพธิ์  เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน  เป็นพระอนุสาวนาจารย์

 

                        จากพิธีอุปสมบทในครั้งนั้น  พระภิกษุจงได้รับสมญานามตามเพศภาวะว่า “พุทธัสสโรภิกขุ”  และพำนักเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย  ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ ที่พระภิกษุพึงจะต้องเรียนรู้เท่าที่มีอยู่ในสมัยนั้น ณ วัดหน้าต่างในนั่นเอง

 

เรียนวิชาอาคม

 

                        ชีวิตของหลวงพ่อจง  หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว  ได้ปรากฎเหตุอันน่าแปลกมหัศจรรย์เด่นชัดขึ้น  เพราะนอกจากจะหายป่วยหายไข้แล้ว  เมื่อได้มาศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมะ คือได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา  พร้อมทั้งฝึกฝนในด้านการเขียนอ่านอักษรทั้งไทยและขอมจากท่านพระอาจารโพธิ์  เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน  ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์

 

                        พระภิกษุจงได้แสดงออกถึงความในอัจฉริยะ  ด้วยการเรียนรู้จดจำสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาอย่างแม่นยำและเข้าใจทุกสิ่งทุกอย่าง  จนใคร ๆ ทั้งหลายที่รู้พื้นความเป็นมาต่างพากันอดแปลกใจสงสัยเสียมิได้ว่า

 

                        “เอ๊ะ..ทำไมภิกษุจงจึงมิยักงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญา  เหมือนกับบุคลิกที่อ่อนแออมโรค  ที่ส่อแสดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบหรืออับ เรียนรู้จดจำอะไรไม่แม่นยำ”

 

                        และยิ่งเพิ่มความแปลกมหัศจรรย์แปลกไกลไปกว่านั้น  ภายหลังจากที่ได้กระจ่างแจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือพอสมควรแล้ว  พระอาจารย์โพธิ์ที่เล็งเห็นแววว่าน่าจะเป็นไปได้ของพระภิกษุจง  ได้ให้การถ่ายทอดวิชาในด้านเวทวิทยาคมที่ท่านเชี่ยวชาญจนเป็นที่เลื่องลือ  ถือกันว่า พระอาจารย์โพธิ์คือยอดแห่งผู้ทรงเวทในสมัยนั้นให้กับพระภิกษุจงด้วย

 

                        ผลก็ปรากฎว่า  พระภิกษุจงสามารถน้อมรับวิชาไว้ได้ทุกกระบวนมนต์ สำเร็จแตกฉานชนิดสิ้นภูมิผู้เป็นอาจารย์กันเลยทีเดียว  และด้วยการได้รับถ่ายทอดวิชาให้ชนิดไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นภูมิรู้ใดไว้ของพระอาจารโพธิ์  จึงทำให้พระภิกษุจงได้ก้าวเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่รวมใจ  ที่พึ่งพิงของญาติโยมแทนผู้เป็นอาจารย์ในเวลาต่อมา

 

ฝึกกรรมฐาน

 

                        การแสวงหาความรู้ของพระภิกษุจง  มิได้หยุดยั้งอยู่แต่เพียงภายในวัดหน้าต่างในที่พักอาศัยเท่านั้น  เมื่อเจนจบในภูมิความรู้ของพระอาจารย์โพธิ์ผู้เป็นอาจารย์แล้ว  ท่านยังคงเสาะแสวงหาที่เรียนต่อไปอีก  ได้รู้ได้ทราบข่าวว่าที่หนึ่งที่ใด สำนักไหนมีครูบาอาจารย์ที่ทรงภูมืความรู้  จะเป็นวิชาแขนงใดก็ดี หากเห็นว่าไม่ขัดฝืนต่อธรรมวินัย เป็นวิชาที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจของตน  พระภิกษุจงเป็นไม่ลดละที่จะหาทางไปฝากตนเป็นศิษย์เรียนวิชาด้วย

 

                        หนทางที่ไกลแสนไกล ระหว่างทางล้วนมีแต่ความยากลำบากต้องฝ่าฟันในอุปสรรคและเสี่ยงต่อภยันตรายนานาสารพัดอย่าง  มิใช่สิ่งที่จะหยุดยั้งเปลี่ยนวิถีความตั้งใจในการเรียนรู้หาวิชาของภิกษุจงได้  สองเท้าท่านคงย่ำไปจนถึงทุกสำนัก แล้วก็กลับคืนมาพร้อมความสำเร็จทุกแขนงวิชาแห่งสำนักนั้น ๆ ทุกครั้งคราวไป

 

                        อย่างเช่นการไปเรียนวิชาฝ่ายกรรมฐาน กับพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง  เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า  ท่านเป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีผู้ยิ่งใหญ่ที่แตกฉานในสมถะวิปัสสนากรรมฐานท่านหนึ่งในยุคสมัยนั้น

 

                        พระภิกษุจงได้ไปฝากตัวหมั่นศึกษาพากเพียรเรียนวิชาด้วยอิทธิบาทที่แก่กล้าเป็นเวลาช้านาน  จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับในภูมิธรรมจากผู้เป็นอาจารย์  จึงได้เดินทางกลับสู่วัดหน้าต่างใน

 

เป็นเจ้าอาวาส

 

                        ในขณะที่พระภิกษุจง ยังคงพำนักอยู่กับผู้เป็นอาจารย์ คือท่านพระอาจารย์โพธิ์ ที่วัดหน้าต่างใน  ซึ่งมีบ้านเป็นครั้งเป็นคราวที่ท่านขออนุญาตจากผู้เป็นพระอาจารย์ ไปเรียนวิชายังสำนักอื่น   แต่เมื่อเจนจบหลักสูตร       เป็นต้องกลับคืนสู่วัดหน้าต่างในต้นสังกัด

ทุกครั้งไป

 

                           แม้ว่าเวลานั้น ท่นจะยังคงอยู่ในฐานะพระลูกวัดศิษย์เจ้าอาวาสท่านพระอาจารย์โพธิ์  แต่ชีวิตแห่งการบวชเข้ามาอยู่ในเพศบรรพชิตของพระภิกษุจงก็นับได้ว่า เป็นชีวิตที่ได้รับความสำเร็จผลสมความตั้งใจ  เป็นผู้รู้พระปริยัติธรรมตามฐานานุรูป  และการปฏิบัติกรรมฐานทำความเข้าใจในพระธรรมขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  เพื่อใช้ปฏิบัติจิตให้บังเกิดความสงบสุขและบรรลุเข้าสู่วิถีแห่งความพ้นทุกข์  ตลอดจนเป็นผู้รอบรู้เจนจบในทางเวทย์วิทยาคม  ซึ่งมีพระอาจารย์โพธิ์เป็นปฐมพระอาจารย์ประสาทวิชาให้

 

                           วิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมา  นอกจากจะยังประโยชน์ให้บังเกิดเป็นความสุขสงบเย็นเฉพาะตนแล้ว  ยังสามารถใช้เป็นเครื่องกล่อมเกลาบรรเทาทุกข์ให้แก่ผู้อื่นตามควรแก่ฐานานุรูป  ตามด้วยความเหมาะควรแก่กาละเทศะต่อปวงชนทั้งหลาย ทั้งทางกายและทางใจด้วย

 

                           ด้วยภูมิธรรมความรู้ อันเกิดจากความวิริยะพากเพียรที่หนุนเนื่องด้วยบุญบารมีเดิม  จึงทำให้ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของญาติโยมปวงชนทั้งหลาย  ซึ่งนับวันก็แต่จะมีจิตศรัทธาเลื่อมใสมากยิ่ง ๆ ขึ้น  ฉะนั้น ต่อมาเมื่อหลวงพ่ออินทร์สิ้นบุญในอันที่จะครองเพศเป็นภิกษุ  ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกได้ต่อไป  ทำให้หน้าที่การดูแลวัดปกครองสงฆ์ของวัดหน้าต่างนอกว่างลง  ซึ่งจำต้องรีบหาและแต่งตั้งเป็นการด่วน

                         

                           ในความคิดความเห็นของบรรดาศรัทธาญาติโยมทั้งหลาย  ต่างเห็นพ้องต้องกันอย่างไม่มีการนัดแนะมาก่อนว่า  พระภิกษุจง  พุทธัสสโร ศิษย์ของท่านพระอาจารย์โพธิ์ วัดหน้าต่างใน  เพราะสมกว่าใครอื่นทั้งหมด

 

                           ด้วยความเห็นนั้น  จึงได้ชักชวนกันไปหาท่านพระอาจารย์โพธิ์เพื่อขอพระภิกษุจงให้มาดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสที่วัดหน้าต่างนอก  แทนท่านพระอาจารย์อินทร์  พระอาจารโพธิ์ได้รับรู้แล้ว พิจารณาเห็นถึงความเหมาะสมหลาย ๆ ประการ  เริ่มแต่ความศรัทธาของญาติโยมชาวบ้าน  ความเหมาะสมของผู้เป็นศิษย์  จึงเห็นควรตามที่ญาติโยมเขามาขอ

 

                           เมื่อศรัทธาเรียกร้อง  พระอาจารย์เห็นชอบ  พระภิกษุจงจึงมาทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกนับแต่นั้นมา

 

อยู่อย่างพระ

 

                           พระภิกษุจง  พุทธัสสโร  เมื่อมารับหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอกแล้ว  ก็ถูกขนานนามเป็น “หลวงพ่อจง”  ซึ่งเป็นการเรียกขานด้วยความเคารพเทิดทูน  ซึ่งเมื่อได้รับความเคารพบูชาเช่นนั้น  หลวงพ่อจงท่านก็ยิ่งพยายามปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดในศีลธรรมวินัย  เจริญวัตรตามฐานะที่ผู้อยู่ในฐานะเป็นที่เคารพบูชาพึงจะกระทำตามสิกขาบท

 

                           เฉพาะที่เกี่ยวกับชาวบ้านท่านได้สำแดงจิตอัธยาศัย  แผ่ไมตรีโอบอ้อมอารีต่อทุกบุคคลไม่เลือกหน้าว่าเป็นใคร  จะยากดีมีจนอย่างไร  หรือ แม้แต่เป็นคนถ่อยชั่วจนชื่อว่าเป็นพาลชนจะเข้าหารือขอร้องให้ช่วยงานช่วยกิจ ธุระหรือช่วยทุกข์ หรือนิมนต์ให้ไปโปรดที่ไหน ไม่ว่าหนทางใกล้ไกลอย่างไร  ท่านเป็นยอมรับยินดีกระทำธุระปลดเปลื้องบำเพ็ญกรณีให้ผู้มาขอได้รับความสุขตามปรารถนาอยู่เสมอ  ทำตามกำลังปัญญาของท่านโดยควรแก่ฐานานุรูปและกาลเทศะด้วยความเต็มใจอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส

 

                           อากัป กิริยาของหลวงพ่อจงที่ปรากฎให้ทุกคนเห็น จะไม่มีการอำอึ้งขึ้งโกรธ แสดงความไม่ชอบใจ ไม่พอใจ หรือแม้การตั้งแง่อิดออดแต่อย่างใดเลย  ทุกคนที่ไปพบไปหาจะสัมผัสกับความเมตตา ความยิ้มแย้มยินดีทุกครั้ง

 

                           หลวงพ่อจงมองคนทุกชั้นว่าเหมือนกัน  และเท่าเทียมกันโดยสภาพแห่งมนุษย์ ไม่มีชั้นวรรณะ  ท่าน ต้อนรับปราศรัยด้วยจิตใจวาจาและเครื่องต้อนรับอย่างเดียวกัน ไม่มีการตั้งเก้าอี้ หรือลาดพรมปูเสื่อเพื่อท่านผู้นั้น ชั้นนั้นชั้นนี้ กุฏิหลวงพ่อจงเปิดอ้าไว้ต้อนรับทุกคนตลอดเวลา  หลายคนเคยปรารภว่า  มานมัสการหลวงพ่อจงแล้วน่าเลื่อมใสจริง ๆ  ท่านเป็นพระแท้ไม่มียศ ไม่มีเกียรติ ไม่ติดอามิสใด ๆ เลย แม้กระทั่งน้ำชา

                           หลวงพ่อเป็นบรรพชิตที่เหมาะสมแก่คนทุกชั้น  ไม่มีคำว่า “ขนาดเราไปหาท่านแล้วเข้าไม่ถึง”  โดยเด็ดขาด  ทั้งนี้เพราะหลวงพ่อจงท่านทรงคุณธรรมอันสำคัญอยู่สามประการ คือ

                           1.  เมตตากรุณา  หลวงพ่อจงไม่เพียงแต่สอนให้ผู้อื่นมีเมตตากรุณาต่อกันเท่านั้น  แต่ตัวของหลวงพ่อเองก็มีเมตตากรุณาประจำใจด้วยอย่างสมบูรณ์  ท่านยิ้มแย้มแจ่มใสกับทุกคน  ไม่เคยเห็นท่านแสดงท่าทางโกรธเคืองผู้ใด ไม่ว่าเวลาไหน  ใครมาหาท่านต้องการสิ่งใดท่านจะรีบทำให้ด้วยความเต็มใจและว่องไว  บางครั้งแขกมาหาเป็นเวลาที่ท่านจำวัดแล้ว  หลวงพ่อจงท่านยังรีบลุกจากที่จำวัดมาสงเคราะห์ให้จนสำเร็จประโยชน์

                           2.  อธิวาสนขันติ หลวงพ่อจงท่านรับแขกตลอดเวลา  ทุกเมื่อเชื่อวัน อดทนต่อความเมื่อยล้า  ไม่เคยแสดงอาการเหน็ดเหนื่อยให้เห็นเลย

                           3.  ปริจจาคะ  หลวงพ่อจงท่านบริจาคทุกอย่างไม่ว่าสิ่งใด ใครขออะไรแม้กระทั่งย่ามที่ท่านถืออยู่  ท่านยินดีมอบให้ด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส

                           คุณธรรมสามประการนี้  เป็นวิหารธรรมที่หลวงพ่อจงท่านสร้างสมอยู่ชั่วชีวิตท่าน

 

เป็นพระทองคำ

 

                           หลวง พ่อจง เป็นพระเถราจารย์ที่มีวิทยาคมแก่กล้า ได้รับการถ่ายทอดวิทยาคมจาก หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ อำเภอบางบาล และหลวงพ่อปั้น วัดพิกุล อยุธยา พระอาจารย์ทั้งสองท่านนี้  ก็เป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เช่นกัน

 

                           หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก เป็นสหายธรรมสนิทสนมกับหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค เป็นอันมาก  เนื่องจากมีพระอุปัชฌาย์องค์เดียวกัน  นัยว่าสองหลวงพ่อนี้เป็นศิษย์สำนักเดียวกัน  จึงมีความสนิทสนมและต่างฝ่ายต่างเคารพนับถือธรรมปฏิบัติของกันและกันมากเป็นพิเศษ

 

                           หลวงพ่อปานมีสังฆกิจอย่างไร  ต้องนิมนต์หลวงพ่อจงไปในพิธีเสมอ  หลวงพ่อจงมีสังฆกิจเช่นไรก็จะต้องนิมนต์หลวงพ่อปานไปร่วมพิธีทุกครั้ง  หลวงพ่อปานท่านมักพูดแก่ศิษย์ของท่านเองว่า  พระอย่างหลวงพ่อจงนั้นเป็นทองคำทั้งองค์  พระขนาดนี้อย่างไปขออะไรท่านนะ   จะเป็นบาปหนัก  เพราะแม้เทพยดาชั้นสูง ๆ ยังต้องขอเป็นโยมอุปัฎฐากเลย

 

                           ด้วยเหตุนี้  ลูกศิษย์ของหลวงพ่อปานจึงเคารพนับถือหลวงพ่อจงมาก  และท่านยังสั่งว่า  “ถ้าฉันไม่อยู่ติดขัดเรื่องธรรมะ ให้ไปถามท่านจงนะ  ท่านจงนี้น่ะ ท่านสอนเทวดามาแล้ว  ถ้าเธอไปเรียนกับท่านจงได้  ก็นับว่าเป็นบุญของเธอ”

 

ปฏิบัติเป็นกิจ

 

                           กิจวัตรประจำวันอันสำคัญที่หลวงพ่อจงนิยมปฏิบัติอยู่เสมอ คือ การทำวัตรสวดมนต์ทุกเช้า  เวลาใกล้รุ่งระหว่างเวลา 04.00 น. ถึง 05.00 น. และเวลาเย็นประมาณ 18.00 น. (ถ้าไม่มีแขกมาหา)  หลวงพ่อจะต้องทำวัตรสวดมนต์เป็นประจำไม่ขาด  เว้นแต่อาพาธหรือติดกิจนิมนต์ไม่ได้อยู่วัดเท่านั้น

 

                           หลังจากสวดมนต์จบแล้ว  หลวงพ่อจะเจริญกรรมฐาน อันเป็นธุระเอกของท่านอย่างสงบนิ่ง ประมาณวันละ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมงเป็นอย่างช้า  ฉะนั้น ผู้ที่เคยมาหาหลวงพ่อและรู้เวลาของท่านแล้ว เขาจะไม่รบกวนท่าน  รอจนกว่าท่านจะทำกิจเสร็จเรียบร้อย  เพราะถ้าใครไปปรากฎตัวหรือด้อม ๆ มอง ๆ ให้ท่านเห็น  หลวงพ่อจะรีบกราบพระลุกจากที่มาทันที  ด้วยความที่ท่านมีเมตตาเป็นปุเรจาริก  ปรารถนาจะสงเคราะห์ผู้อื่นให้สำเร็จประโยชน์ที่เขาต้องการ

 

เป็นผู้รักความสะอาด

 

                           หลังเวลาทำวัตรเช้ามืดเสร็จแล้ว  และเวลาเย็นหลวงพ่อจะถือไม้กวาดฟั่นด้วยปอยาว ๆ เดินกวาดสถานที่ต่าง ๆ เช่น ถนนหนทาง กุฏิ ศาลา เป็นต้น ไม่ว่างเว้น  ท่านมีสุขนิสัยรักความสะอาดอย่างยากที่จะหาผู้ใดมาเปรียบได้

 

                           ท่านไม่รังเกียจว่า สถานที่ท่านกวาดนั้นเป็นกุฏิของผู้ใด  ถ้าหลวงพ่อพบฝุ่นละอองที่ไหน  ท่านจะปัดกวาดให้จนสะอาดเรียบร้อยไม่เคยว่ากล่าวผู้ใดทั้งสิ้น  ใบหน้าหลวงพ่อยิ้มแย้มแจ่มใสอยู่ตลอดเวลา

 

                           ในระยะหลัง พระอุปัฏฐากและศิษย์รับใช้ เมื่อเห็นท่านปัดกวาด ต้องรีบมาทำแทนท่าน เพราะเห็นว่าท่านชราภาพมากแล้ว  ท่านหมั่นทำความสะอาดอยู่กระทั่งถึงวาระสุดท้าย  ลุกจากที่จำวัดไม่ได้

 

                           กิจกรรมเช่นนี้ เป็นที่ควรปฏิบัติตามสำหรับอนุชนเป็นอย่างยิ่ง  เพราะสิ่งเหล่านี้มีพระพุทธภาษิตรับรองอยู่ว่า

                           อสชฺฌายมลา  อนุตา  อนุฏฐานมลา  ฆรามลํ  วณฺณสฺสโกสชฺชํ
ปมาโท รกฺขโต  มลํ

                           ซึ่งแปลว่า เวทมนต์ที่ไม่ท่องบ่นย่อมเสื่อมคลาย เรือนทั้งหลายที่ไม่ปัดกวาดย่อมเสื่อมโทรม  ความเกียจคร้านเป็นความเศร้าหมองของผิวพรรณ  ความประมาทเป็นมลทินของผู้รักษา

 

ปฏิปทาน่าฉงน

 

                           การปฏิบัติอันเป็นกิจวัตรของหลวงพ่อจง  บางอย่างก็แปลก ๆ เป็นปริศนาให้ผู้พบเห็นคิดอยู่นาน  เช่นเดียวกับการปฏิบัติธรรมของหลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา  อำเภอบ้านหมี่  จังหวัดลพบุรี  กล่าวคือ  พอตกกลางคืนท่านจะออกมาจากกุฏิ  โดยถือไม้กวาดแล้วกวาดลานวัดไปเรื่อย ๆ  กวาดจนรอบวัดแล้วยังกวาดใหม่อยู่อย่างนี้จนดึก

 

                           หลังจากนั้นก็เดินขึ้นกุฏิไปเข้ามุ้ง  แต่ไม่ดับตะเกียง  ท่านจะนั่งสมาธิอยู่เป็นครู่ใหญ่  แล้วออกจากมุ้งมากวาดลานวัดอีก  เมื่อกวาดรอบวัดเสร็จก็จะกลับขึ้นไปเข้ามุ้งในกุฎิ  ทำสมาธิ  หลังจากนั้นก็จะออกมากวาดลานวัดเป็นคำรบสาม  เสร็จแล้วก็เข้ามุ้ง  นั่งสมาธิ เป็นครั้งสุดท้าย  จากนั้นจึงดับตะเกียงจำวัด  หลวงพ่อจงปฏิบัติธรรมของท่านเช่นนี้ตลอดมา

 

                           ก่อนที่จะมรณภาพไม่นาน  ลูกศิษย์ใกล้ชิดเก็บความสงสัยไว้ไม่อยู่  ได้ถามท่านว่า  ทำไมถึงชอบกวาดลานวัดตอนดึก ๆ ขณะพระลูกวัดจำวัดหมดแล้ว  ท่านตอบสั้น ๆ ว่า  “วัดสะอาด  ใจก็สะอาด  กวาดวัด แล้วกวาดใจ  ตายแล้วไม่ไปอบายภูมิ”

 

มักน้อยสันโดษ

 

                           หลวงพ่อจงท่านเป็นพระที่มักน้อยสันโดษอย่างมาก  ใครมาหาท่าน ท่านก็ต้อนรับขับสู้ด้วยอาการยิ้มแย้มแจ่มใสมีเมตตา  ใครจะนั่งอยู่ดึกดื่นค่อนคืนอย่างไร ท่านก็ยังคงต้อนรับอยู่อย่างนั้น  จนกระทั่งแขกเหรื่อหมดแล้ว ท่านจึงจะเข้ากุฏิ

 

                           หลวงพ่อจงเป็นพระที่เสียสละอย่างสูง  เมตตาของท่านท่วมท้นทั้งในอาณาจักรและศาสนจักร  ในประการหลังนี้จะเห็นได้จากการที่ท่านรื้อกุฏิในวัดของท่านถวายแก่วัดที่ยากจน  ซึ่งท่านทำเช่นนี้เสมอมา  นี่คือเหตุผลที่ว่า  ทำไมวัดหน้าต่างนอกที่มีพระอาจารย์ชั้นเยี่ยมอย่างหลวงพ่อจงเป็นเจ้าอาวาส  จึงไม่ค่อยเจริญในด้านวัตถุมากนัก  ทั้งนี้ด้วยเหตุผลที่ว่า  พระสุปฏิปันโนเฉกเช่นหลวงพ่อจงนี้  ท่านมีแต่ขนออกแจกเขาอย่างเดียว  ไม่มีการนำเข้า มีแต่แจกออกไป  ใครถวายสิ่งใดแก่ท่าน ท่านก็นำออกมาถวายให้พระลูกวัดเป็นสังฆปัจจัยจนหมด

 

                           ในด้านสมณศักดิ์นั้นท่านก็วางเฉย  มีลูกศิษย์ที่เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มาปรารภกับท่านบ่อย ๆ ทำนองใคร่สนับสนุน  แต่ท่านปฏิเสธไปอย่างสุภาพและนุ่มนวลอีกว่า  “อาตมาแก่แล้ว  สังขารไม่เอื้ออำนวย  มันจะเจ็บ มันจะแก่ มันจะตาย ไปบังคับมันไม่ได้ สังขารของอาตมาจึงไม่เหลือที่จะเป็นประโยชน์แก่กิจของสงฆ์อีกแล้ว”

 

                           แม่แต่ตอนที่ท่านมรณภาพ  เงินสักเฟื้องสักสลึงก็ไม่มีติดย่าม  ย่ามของท่านนั้นเล่าก็เก่าคร่ำคร่า  ย่ามดี ๆ ท่านก็ให้แก่พระลูกวัดใช้จนหมดสิ้น  สมบัติของท่านที่เหลืออยู่ให้เราเห็นในทุกวันนี้  มีเพียงเก้าอี้โยกเก่า ๆ ตัวหนึ่ง  รูปปั้นฤาษี “พ่อแก่”  และพระพุทธรูปบูชาขนาดเล็กที่ท่านบูชาประจำองค์เดีย
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติ หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:42:59 pm
ประวัติ หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว

กาลสมภพ
         หลวงปู่บุญชาตะ เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๓ค่ำ เดือน ๘ ปีวอก จุลศักราช ๑๒๑๐ สัมฤทธิศกเวลาย่ำรุ่งใกล้สว่าง ตรงกับวันที่ ๓ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๙๑ อันเป็นปีที่ ๒๕ แห่งแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ท่านชาตะ ณ. บ้านตำบลท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (ในครั้ง นั้นยังเป็นตำบลบ้านนางสาว อ.ตลาดใหม่ เมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี  ต่อมาจึงเปลี่ยนเป็นบ้านท่าไม้ อ.สามพราน จ.นครปฐม แต่ปัจจุบันนี้ ต.ท่าไม้ ได้โอนไปขึ้นกับ อ.กระทุ่มแบน จ.สุมทรสาคร)

โยมบิดาของหลวงปู่มีนามว่า "เส็ง" โยมมารดามีนามว่า "ลิ้ม" ท่านมี พี่น้องร่วมมารดาเดียวกัน ๖ คน โดยตัวท่านเป็นคนหัวปี มีน้องชายหญิง  ๕ คน ลำดับดังนี้

๑. นางเอม

๒. นางบาง

๓. นางจัน

๔. นายปาน

๕. นายคง

เหตุแห่งมีนามว่า "บุญ"

         เมื่อวัยทารก ท่านมีอาการป่วยหนักถึงแก่สลบไป และไม่หายใจในที่สุดบิดามารดาและญาติ เมื่อเห็นว่า ท่านตายเสียแล้วจึงจัดแจงจะเอาท่านไปฝัง แต่ปรากฏว่ายังไม่ทันที่จะได้ฝังท่านก็กลับฟื้นขึ้นมา บิดามารดา ได้ถือเอาเหตุนี้ตั้งชื่อให้แก่ท่านว่า "บุญ"

การศึกษาและบรรพชา

         เมื่อครั้งที่หลวงปู่บุญ ยังอยู่ในวัยเยาว์นั้น โยมทั้งสองได้ย้ายภูมิลำเนามาทำนาที่ตำบลบางช้าง อ.สามพราน  เมื่อท่านอายุได้ ๑๓ ปี โยมบิดาได้ถึงแก่กรรม โยมป้าของท่านจุงนำไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับพระปลัด ทอง ณ วัดกลาง ซึ่งในสมัยนั้นมีชื่อว่า "วัดคงคาราม" ต.ปากน้ำ (ปากคลองบางแก้ว) อ.นครชัยศรี เมื่อท่าน อายุได้ ๑๕ ปีเต็มพระปลัดทองจึงทำการบรรพชาให้เป็นสามเณรและได้อบรมสั่งสอนวิชาความรู้ ต่างๆ ให้  เมื่อครั้งนั้นท่านได้รับใช้อย่างใกล้ชิดจึงทำให้เป็นที่รักใคร่ของพระปลัด ทอง แต่เมื่อมีอายุได้ใกล้อุปสมบท ท่านมีความจำเป็นต้องลาสิกขาเนื่องด้วยความป่วยไข้เบียดเบียน

อุปสมบท

         หลวงปู่บุญ อุปสมบทเมื่ออายุได้ ๒๒ ปี ณ พัทธสีมา วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์เดือน ๘ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเส็ง จุลศักราช ๑๒๓๑ เอกศกเพลาบ่ายตรงกับวันที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๒ ในท่ามกลาง ที่ประชุมสงฆ์ ๓๐ รูป โดยมีพระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดพิไทยทาราม (วัดตุ๊กตา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระ ปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐานราม และพระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญร่วมกันให้สรณาคมณ์กับศีลและสวดกรรมวาจา อนึ่ง การที่มีพระอาจารย์ร่วมพิธีถึง ๔ รูปเช่นนี้ก็เพราะพระเถระเหล่านี้เป็นที่เคารพนับถือ ของผู้ใหญ่ที่เป็นเจ้า ภาพอุปสมบทแล้วพระอุปัชฌาย์ขนานนามฉายาให้ว่า "ขนฺธโชติ" แล้วให้จำพรรษาอยู่กับพระปลัดทอง ที่วัดกลางบางแก้ว

การศึกษาทางปริยัติและปฏิบัติ

         หลวงปู่บุญ ถูกว่างพื้นฐานในทางธรรมมาอย่างดีแล้วตั้งแต่เป็นเด็กวัดและสามเณร ซึ่งช่วงระยะเวลา ดังกล่าวประมาณ ๕-๖ ปี ที่ได้อยู่ปรนนิบัติรับใช้พระปลัดทอง จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าพื้นฐานในทางธรรม ของท่านถูกถ่ายทอดมาโดยพระปลัดทองทั้งสิ้น อาจารย์อีกรูปหนึ่งของท่านก็คือพระปลัดปาน เจ้าอาวาส วัดตุ๊กตา ซึ่งจากปากคำของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว) บางกอกน้อย  เคยกล่าวไว้ว่าหลวงปู่บุญได้เล่าเรียนกรรมฐานและอาคมกับท่านปลัดปาน อันที่จริงนั้นอาจารย์ที่ถ่ายทอด วิชาความรู้ทางธรรม ทั้งปริยัติและปฏิบัติตลอดจนพระเวท และพุทธาคมให้แก่ท่านยังมีอีกหลายรูป แต่จะกล่าวถึงในถัดไป

สมณศักดิ์และตำแหน่ง

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๙ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอธิการปกครองวัดกลางบางแก้ว

ในปี พ.ศ.๒๔๓๑ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ในปี พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะหมวด

ในปี พ.ศ. ๒๔๕๙ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาอีก ๔ เดือน คือวันที่ ๓๐ ธันวาคม ศกเดียวกันก็ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูมีราชทินนามว่า "พระครูอุตรการบดี"  และยกให้เป็นเจ้าคณะแขวง

เมื่อวันที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ก็ได้รับพระกรุณาโปรดให้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระครูสัญญา บัตรที่ "พระครูพุทธวิถีนายก" และให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรการคณะสงฆ์จังหวัดนครปฐมกับจังหวัด สุพรรณบุรี

ในปีพ.ศ. ๒๔๗๑ ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะสามัญในราชทินนามที่  "พระพุทธวิถีนายก"

ประวัติชีวิตหลวงปู่บุญที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงส่วนย่อยในทั้งหมดของท่าน เพราะหากจะนำมาเขียนกัน จริงๆ คงต้องยืดยาวมาก อีกทั้งได้มีนักเขียนหลายท่านพรรณาไว้อย่างถูกต้องดีแล้วผู้เขียนจึงเว้นไว้ เสีย ไม่นำมากล่าวถึงอีก

เมตตาธรรม

         ปกติหลวงปู่บุญ เป็นพระที่มีความเมตตากรุณาแก่บุคคลทั้งหลายเป็นอันมาก ได้อุปการะพระลูกวัดตลอดจน สานุศิษย์ และเกื้อกูลชาวบ้านอยู่เป็นนิจ ตลอดอายุขัยของท่าน ทั้งนี้เกิดจากเป็นนิสัยโดยกำเนิดของท่านที่  เป็นผู้มีใจเป็นบุญกุศลและปฏิเสธการกระทำอันเป็นบาปมาตั้งแต่เยาว์วัยแล้ว

ปล่อยปลาหมดข้อง

         สมัยเมื่อหลวงปู่บุญ ยังเป็นเด็กเล็กๆ อยู่กับโยมทั้งสอง ก็มีลักษณะแปลกกว่าเด็กทั้งหลายคือ ไม่ยอมฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต และไม่ชอบการจับเอาสัตว์มาเล่น ทรมานเหมือนเด็กอื่นๆ โยมทั้งสองซึ่งมีอาชีพในการทำนานั้น  ขณะว่างจากงานก็จะเที่ยวหาปลาตามหนองน้ำต่างๆ เพื่อมาทำอาหารบริโภคเช่นเดียวกับชาวนาบททั้งหลาย  และโยมทั้งสองก็มักจะเอาท่านไปด้วย เพราะท่านเป็นบุตรคนหัวปี โดยมอบท่าน สะพายข้องใส่ปลาที่จับได้ ตอนแรกๆ ท่านไม่ยอมไปด้วย ก็ถูกโยมดุว่า ท่านจึงจนใจต้องสะพานย่ามติดตามโยมไปด้วย ในวันหนึ่งโยม จับปลาได้มาก ต่างก็พากันดีใจปลดปลาใส่ข้องได้หลายตัว ครั้นกลับมาถึงบ้านเตรียมนำเอาปลามาทำอาหาร  พอเปิดข้องออกดูปรากฏว่า ไม่มีปลาในข้องเลยแม้แต่ตัวเดียว

         เมื่อโยมถามท่านก็บอกว่าเอาปลาปล่อยไปตามทางหมดแล้ว เป็นอันว่าในวันนั้น แทบจะไม่มีกับข้าว รับประทานกันทั้งบ้าน โยมโกรธท่านมากและไม่ลงโทษเฆี่ยนตีท่าน อย่างรุงแรงหลังจากนั้นมา โยมก็มิได้ เอาท่านไปหาปลาอีกเลย และท่านก็ได้กลายเป็นเด็กที่ซึมเซาเหงาหงอยเบื่อความมีชีวิตอย่างโลภๆ หลวงปู่บุญ เคยเล่าให้ผู้ใกล้ชิดฟังว่าท่านมีความรู้สึกมาตั้งแต่เล็กแต่น้อยแล้วว่า ชีวิตทางโลกเป็นหนทางที่มีแต่ความ เบียดเบียน และมีความปรารถนาจะเข้าวัดบวชเรียนเสียเร็วๆ และก็ได้มีโอกาสบวชเป็นสามเณร เมื่ออายุได้  ๑๓ ปี และมีชีวิตในทางธรรมมาตลอด

อำนาจ ตบะเดชะ


         แม้ว่าหลวงปู่บุญ จะเป็นผู้เฒ่าที่ใจดี แต่ก็ไม่วายที่จะมีคนเกรงกลัวกันมาก กล่าวกันว่าท่านเป็นผู้ที่มีอำนาจ ในตัว กอปรด้วยท่านเป็นคนพูดน้อย มีแววตากล้าแข็ง จึงไม่ว่าใครๆ ต่างก็พากันเกรงขามท่านกันทั้งนั้น  ใครก็ตามที่มีธุระทุกข์ร้อยมาหาท่าน ท่านก็จะรับเป็นภาระช่วยบำบัดปัดเป่าทุกข์ภัยนั้น ให้ด้วยความเมตตา กรุณาโดยทั่วหน้ากัน บางคนมาขอฤกษ์ หรือมาให้ท่านทำนายเกณฑ์ชะตาบอกข่าว ในคราวประสพ เคราะห์กรรมต่างๆ บ้างก็ขอให้ท่านรดน้ำพุทธมนต์ หรือมิฉะนั้นก็มาขอยารักษาโรคจากท่าน ครั้นเมื่อท่าน จัดการให้เรียบร้อยแล้ว ท่านก็จะนั่งนิ่งๆ ไม่พูดจาว่ากระไรอีก คนที่มาหาท่านก็จะลงมือทำงานของท่านต่อไป  โดยปรกติแล้วในวันหนึ่งๆ หลวงปู่หาเวลาว่างจริงๆ ได้ยาก ท่านทำงานของท่านตลอดเวลา เว้นแต่เวลาฉัน  หรือเวลาจำวัดเท่านั้น

         บุคลิกพิเศษของหลวงปู่อีกประการหนึ่งทำให้คนเกรงขามก็คือ แววนัยน์ตาอันแข็งกร้าวอย่างมีอำนาจ ของท่าน ทุกครั้งที่ท่านพูดกับใครนัยน์ตาคู่นี้จะจับต้องนัยน์ตาของผู้นั้นแน่นิ่ง อยู่ตลอดเวลา นัยน์ตา ที่ทรง พลังอำนาจเช่นนี้อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลย แม้ขุนโจรใจโหดก็จะไม่กล้าสู่นัยน์ตาท่านได้

         ครั้งหนึ่งมีพระลูกวัด ๒-๓ องค์ แอบไถลมานั่งคุยกันเล่นอย่างสนุกสนานที่ท้ายน้ำหน้าวัดพร้อมกับร้อง ทักทายชาวบ้านที่พายเรือผ่านหน้าวัดไปมา โดยละเลยต่อการปฏิบัติศาสนากิจตามกำหนด หลวงปู่เดินมา เห็นเข้าพระเหล่านั้นต่างตัวสั่นงันงกด้วยความหวาดเกรงท่าน มีอยู่องค์หนึ่งที่ตกใจมากกว่าเพื่อนไม่รู้ว่า จะหลบหนีหลวงปู่ไปทางไหนดี เลยโดดหนีลงไปในแม่น้ำต่อหน้าต่อตาท่านทั้งๆ ที่ตอนนั้นเป็นฤดูหนาว และน้ำในแม่น้ำก็เย็นจัดหลวงปู่ได้ร้องบอกว่า "ขึ้นมาเถอะคุณเดี๋ยวจะเป็นตะคริวตายเสียเปล่าๆ" แล้วท่านก็ลงมืออบรมสั่งสอนพระเหล่านั้นให้ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องทำให้ พระทุกองค์พากันเข็ดขยาด ไปอีกนาน

         อีกเรื่องหนึ่งที่ หลวงปู่บุญไม่ ชอบ ก็คือ ชาวบ้านที่ชอบนุ่งโสร่งเข้าวัด ท่านมักจะปรารภในเรื่องนี้ว่า "การแต่งกายเป็นเครื่องสอนนิสัยใจคอคน การเข้าวัดเข้าวาไม่ควรนุ่งโสร่งลอยชายมันไม่สุภาพ ควรนุ่งห่มให้เรียบร้อยสักหน่อยจะสมควร" ข่าวอันนี้เมื่อล่วงรู้ไปถึงชาวบ้านละแวกนั้นเข้า ก็กลายเป็น ข้อปฏิบัติที่ว่าต่อไปเมื่อใครจะเข้าวัดจะต้องแต่งกายให้เรียบร้อย โดยจะต้องไม่นุ่งโสร่งเป็นอันขาด

อาพาธและมรณภาพ
 
          ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นต้นมา ซึ่งหลวงปู่บุญได้ รับพระกรุณาโปรดให้เป็นพระราชาคณะที่พระพุทธวิถี นายกนั้น ท่านมีอายุได้ ๘๑ ปีแล้ว งานบริหารกิจการสงฆ์จังหวัดนครปฐมและสุพรรณบุรีที่ผ่านมาก็ได้ ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อย กิจการศาสนาในด้านต่างๆ โดยการนำของท่านก็ประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ตลอดมาด้วยดี แต่ระยะหลังๆ นี้ หลวงปู่บุญ กำลังเข้าสู่วัยชราภาพมากแล้ว สังขารก็ทรุดโทรร่วงโรยลงไปตาม วันเวลา จะเดินทางไปไหนมาไหนแต่ละครั้งก็ไม่สะดวก ท่านจึงกราบทูลขอลาออกจากคณะสงฆ์ สมเด็จพระ สังฆราชเจ้ากรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ มีรับสั่งถามหลวงปู่ว่าเวลานี้อายุได้เท่าไร ท่านก็กราบทูลว่า ๘๑ ปีเศษ ทรงรับสั่งว่า "จงอยู่ไปก่อนเถิด"

         ท่านจึงต้องทนปฏิบัติงานต่อไปจนถึง พ.ศ. ๒๔๗๔ อายุ ๘๔ ปี ทางการคณะสงฆ์จึงเห็นเป็นการสมควร พักผ่อนเสียที โดยให้ท่านได้รับพระราชทานยศเป็นกิติมศักดิ์ จึงได้ติดต่อให้กระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น  นำความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงโปรดพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ยกเป็นกิติมศักดิ์ หลวงปู่จึงได้พักผ่อนจากการบริหารคณะสงฆ์ คงปฏิบัติแต่กิจพระศาสนา ทำนุบำรุง พระอารามเป็นการถภายในแต่นั้นเป็นต้นมา

มีหลักฐานบันทึกต่อไปถึงตอนมรณภาพของหลวงปู่ไว้ว่า

         ท่านเจ้าคุณไม่เห็นแก่ความยากลำบาก มุ่งทำกิจที่เป็นสาธารณประโยชน์ทางศาสนา ด้วยความเคารพ อยู่ในธรรมเป็นประมาณ ควรกล่าวว่ามีจรรยา สมกับพุทธภาษิตที่ว่า "อโมฆ ตสฺส ชีวิตา " บุคคลผู้ประพฤติ ธรรมนั้นชีวิตไม่เป็นหมัน หรืออีกนัยหนึ่งซึ่งพ้องกับภาษิตว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาใดๆ ประพฤติธรรมสมควรธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ปฏิบัติธรรมอยู่ ผู้นั้นเชื่อว่าเคารพนับถือบูชาแก่พระตถาคตเจ้า ด้วย การบูชาอันสูงสุดยิ่ง คือมีความเป็นอยู่ ยังหิตานุหิตประโยชน์ให้สำเร็จแก่ตนและหมู่ชนต่างๆ ชั้น ซึ่งเป็น ตัวอย่างอันดี ที่ธีรชนผู้หวังคุณงามความดี น่าจะพึงดำเนินตามต่อไปหากว่าเจ้าคุณท่านยังมีชีวิตอยู่ คงทำ ประโยชน์ซึ่งเป็นสาธารณะทางพระพุทธศาสนาอีกมาก

         แต่นี่ท่านมาถึงมรณภาพเสียเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๕  ปีชวด เวลา ๑๐.๔๕ น. โดยโรคคาพาธ ณ กุฏิของท่าน สิริรวมอายุท่านโดยปีได้ ๘๙ พรรษา ๖๗

ทั้งนี้ ก็เพราะสังขารของท่านประกอบด้วยชราภาพ จึงได้แปรปรวนยักย้ายไปตามธรรมดา ถึงแม้ว่าท่าน มรณภาพไปแล้วก็ดี คุณงามความดีซึ่งกระทำไว้ ก็ปรากฏตลอดมาจนบัดนี้ และคงปรากฏต่อไปอีกชั่วกาลนาน
35  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 09:32:16 pm
ประวัติหลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ

หลวงปู่แขก (มรณภาพประมาณปี พ.ศ. 2466 อายุขณะมรณภาพประมาณ 80 ปี) เป็นอดีตเจ้าอาวาส รุ่นที่ ๒
ต่อจากสมภารพราหมณ์(หรือพรหม)วัดบางบำหรุ กรุงเทพมหานคร วัดบางบำหรุเป็นวัดเก่าแก่ตั้งอยู่
ตำบลบางบำหรุ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ด้านฝั่งธนบุรี (อยู่หลังเซ็นทรัลปิ่นเกล้า) วัดนี้มีมาตั้งแต่
สมัยอยุธยาตอนปลายเคยมีการขุดพบพระเครื่องจากเจดีย์ใกล้วิหารเก่าเป็นพระเครื่องเนื้อดินเผาศิลปะ
สมัยอยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น บริเวณวัดอยู่ต่อกับวัดสุวรรณคีรี (วัดขี้เหล็ก) และใกล้วัดนายโรง
หลวง ปู่แขก นั้นเป็นพระเกจิยุคเก่าที่แก่กล้าในพระเวทย์ วิทยาคม และโด่งดังในแถบย่านบางบำหรุและท่านเป็นพระอาจารย์ของสมภารฉาย (เจ้าอาวาสลำดับต่อจากหลวงปู่แขกและสมภารฉายเป็นพระอาจารย์ของหลวงพ่อรัตน์ สุมโน) หลวงปู่แขกเป็นพระร่วมสมัยเดียวกับพระปลัดทองซึ่งพระอาจารย์ของหลวงปู่บุญ
วัดกลางบางแก้ว แต่เนื่องจากประวัติของหลวงปู่แขก นั้นมีการจดบันทึกไว้น้อยมากประกอบกับท่านสร้างวัตถุ
มงคลไว้ไม่มากและไม่ได้แพร่หลายไปยังพื้นที่ต่างๆ ประวัติของท่านจึงถูกลืมเลือนไปตามกาลสมัยที่ผ่านมา
ยาวนาน ทำให้ปัจจุบันมีผู้ทราบประวัติและรู้จักท่านน้อย
จากคำบอกเล่าของพระครูธรรมวิจารณ์ (ชุ่ม) อดีตเจ้าอาวาส วัดศรีสุดาราม (วัดชีปะขาว)
เขตบางกอกน้อย ซึ่งเล่าไว้เมื่อปี พ.ศ. 2517 ขณะท่านอายุ 97 ปี พรรษา 71 ว่า หลวงปู่รอด วัดนายโรง
(ปรมาจารย์ทางเบี้ยแก้อันโด่งดัง) ได้เล่าให้ท่านฟังว่า หลวงปู่แขก วัดบางบำหรุ เป็นพระที่มาจากนครชัยศรี
จังหวัดนครปฐม และหลวงปู่รอดได้ศึกษาวิชาเบี้ยแก้จากหลวงปู่แขก ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบางบำหรุ
ขณะที่หลวงปู่แขกมาอยู่ที่วัดบางบำหรุนั้น ท่านเป็นพระมาแล้วโดยได้ธุดงค์มาจากนครชัยศรี พื้นเพหลวงปู่แขก
เป็นชาวอยุธยาเป็นสหายกับพระปลัดปาน วัดตุ๊กตา (พระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว)
และพระปลัดทอง วัดกลางบางแก้ว (วัดคงคาราม) จังหวัดนครปฐม (พระกรรมวาจาจารย์และพระอาจารย์
ซึ่งสอนวิชาการต่างๆ และวิชาอาคมให้หลวงปู่บุญ) ส่วนหลวงปู่แขกจะมาธุดงค์มาจากวัดตุ๊กตา หรือ
วัดกลางบางแก้วนั้นไม่เป็นที่แน่ชัด พระปลัดปาน พระปลัดทองและหลวงปู่แขกนั้นเป็นสหายกันหรืออาจเป็น
ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกัน
36  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน ปรับธาตุ ให้บริสุทธิ์ ได้อย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 08:38:50 pm
พระอาจารย์ ยกเพียงโทสะ และ ถ้าเป็น โมหะ กับ โลภะ ละครับเปลี่ยนแปลงธาตุอะไรบ้างครับ

 :25:
37  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน ปรับธาตุ ให้บริสุทธิ์ ได้อย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 08:34:35 pm
เรื่องการปรับธาตุ อันนี้ผมเชือเลยครับ เมื่อก่อนก็ไม่ค่อยจะเข้าใจ พอได้ฟังอธิบาย แล้วรู้สึกเห็นชัดจริง ๆ ครับ

 :25: :25: :25:
38  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: กรรมฐาน ปรับธาตุ ให้บริสุทธิ์ ได้อย่างไรคะ เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 08:33:23 pm
นำภาพ พระบรมสาีรีริกธาตุ มาให้ชมครับ

39  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: มาแนะนำ สถานที่ปฏิบัติธรรม ของสาวออฟฟิส เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 08:17:56 pm
เข้าใจจัด Case ของพวกอารมณ์ นะครับ

 ว่าแต่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่เหมาะกับสาว ออฟฟิศ บ้างหรือครับ

   :25: :19:
40  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ปฏิบัติธรรมประจำเดือน 29 - 30 มกราคม 2554 วัดราชสิทธาราม เมื่อ: มกราคม 06, 2011, 08:15:56 pm
อนุโมทนา ด้วยครับ

ทางคณะ 5 วัดราชสิทธาราม ก็มีประจำทุกวัน และ ทุกเดือน นะครับนี่

 :25: :25: :25:
หน้า: [1] 2 3 4