ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - translate
หน้า: [1]
1  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สมาธิ ใน อภิธรรม 3 ประการ เมื่อ: กันยายน 28, 2012, 07:16:14 pm
   [๑๖๘] สัมมาวายามะ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ ทำฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคอง
จิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อป้องกันอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิด ฯลฯ เพื่อละ
อกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว ฯลฯ เพื่อสร้างกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิด ทำฉันทะ
ให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อความดำรงอยู่
ความไม่สาบสูญ ความภิยโยยิ่ง ความไพบูลย์ ความเจริญ ความบริบูรณ์ แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ
             [๑๖๙] สัมมาสติ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติพิจารณา
เห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก ผู้ประกอบ
ด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนืองๆ อยู่ ฯลฯ
ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นจิตในจิตเนืองๆ อยู่
ฯลฯ ผู้ประกอบด้วยความเพียร มีสัมสัมปชัญญะ มีสติ พิจารณาเห็นธรรมใน
ธรรมเนืองๆ อยู่ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก นี้เรียกว่า สัมมาสติ
             [๑๗๐] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
             ภิกษุในศาสนานี้ สงัดจากกามสงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้วบรรลุ
ปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน อันยัง
ใจให้ผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นภายใน ไม่มีวิตก ไม่มี
วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่เพราะคายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มี
จิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา
มีสติอยู่เป็นสุขอยู่ บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้
เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน  มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ นี้เรียก
ว่า  สัมมาสมาธิ
             สภาวธรรมนี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
สุตตันตภาชนีย์ จบ


             เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๘๔๐ - ๒๘๖๕. หน้าที่ ๑๒๒ - ๑๒๓. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=35&A=2840&Z=2865&pagebreak=0              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/?สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่_๓๕ http://www.84000.org/tipitaka/read/?index_35
2  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / เสียงของความเงียบ (SOUND OF SILENT) ภาพยนตร์ในโครงการหนังสั้นชุด เมื่อ: กรกฎาคม 07, 2012, 11:42:31 pm











อัปโหลดโดย SDSwebChannel เมื่อ 22 ส.ค. 2011

เสียงของความเงียบ (SOUND OF SILENT) ภาพยนตร์ในโครงการหนังสั้นชุด ความรัก ศรัทธา ปาฏิหาริย์ จากเสถียรธรรมสถาน กำกับโดย เมษ ยิ้มสมบูรณ์


3  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / อะไรเป็นแก่นสาร ของการภาวนา ครับ ..... ( ไม่ใช่แค่เพียงแค่อยากรู้ ) เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2012, 06:56:18 pm
 

อะไรเป็นแก่นสาร ของการภาวนา ครับ ..... ( ไม่ใช่แค่เพียงแค่อยากรู้ )

แต่อยากรู้ ว่าที่ท่านทั้งหลาย และ้เพื่อน ๆ ชาวธรรมมามุ่งการภาวนา หรือ สร้างกุศล ในขณะนี้ แท้ที่จริงอะไรเป็นแก่นสาร สาระที่ท่านทั้งหลาย ใช้ยึดเหนี่ยวกันในขณะนี้ ครับ

 ที่ผมถามอย่างนี้ เพราะรู้สึกว่าตนเอง กำลังไร้จุดหมาย เหมือนกับกำลังหมดไฟ ในการภาวนาครับ...

 มีวิธี ชาจ์ทพลัง ธรรมกันอย่างไร (เวลาที่จิตตกกันครับ )
4  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กำหนดปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา ๒๕๕๕ วัดใหญ่ชัยมงคล ๗ - ๙ มี.ค. ๕๕ เมื่อ: มกราคม 30, 2012, 07:22:13 pm
วัดใหญ่ชัยมงคล

สำนักปฏิบัติธรรมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

เปิดรับสมัครปฏิบัติธรรม ๓ วัน ๒ คืน

ในโครงการวิถีพุทธ กิจกรรมปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา

รายละเอียดอ่านเพิ่มเติมที่
กำหนดการกิจกรรมปฏิบัติธรรมวันมาฆบูชา ๒๕๕๕   

   วัดใหญ่ชัยมงคล   

   ๗ - ๙ มี.ค. ๕๕

http://www.watyaichaimongkol.net/index.php?mo=14&newsid=300587
5  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิบัติ กรรมฐาน ควรตั้งความสำเร็จ ในเบื้องต้นอย่างไร คะ เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2011, 10:03:41 am
ปฏิบัติ กรรมฐาน ควรตั้งความสำเร็จ ในเบื้องต้นอย่างไร คะ
บางครั้งก็รู้สึก ท้อแท้ เหมือนกัน ว่าทำไม ปฏิบัติภาวนาไม่ได้ สักที คะ

จึงคิดว่า ทำไมกรรมฐาน ถึงปฏิบัติไม่ได้ผลเสียที
หรือเพื่อนสมาชิก มีความเห็นว่า อย่างไร คะ ช่วยแนะนำหน่อยคะ

 :c017:
6  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญชมภาพบรรยากาศ ในงานสวดมนต์ ต้นปี 2554 วัดหนองบัวหิ่ง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 12:46:01 am
ต้องกราบขออภัย ที่มาภาพด้วยนะครับ ต้องการนำบรรยากาศให้ศิษย์กรรมฐาน ได้อนุโมทนาครับ
อย่างไรเสีย ก็ให้ คุณ sumboon เป็นผู้เล่าเพิ่มดีกว่านะครับ

และเพื่อนสมาชิกสามารถติดตามชมภาพ งานกิจกรรม ทั้งหมดได้ที่

http://nbh2550.com/









เรือศุขชุมพร กว้าง 6 ม. ยาว 30 ม. สูง 8 ม.
ถวายอุทิศ หลวงปู่ศุข เกสโร วัดปากคลองมะขามเฒ่า และกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์

โดยคุณเอนก สุขภูติ
ประธานมูลนิธิศาลกรมหลวงชุมพรฯ สมุทรสงคราม (ดอนหอยหลอด) และ
อดีตนายกเทศมนตรี สมุทรสงคราม
7  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญชมภาพงานพุทธาภิเษก ใครไปมาแล้ว รำลึกภาพวันงาน ที่วัดพลับ ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 12:39:26 am
ชมภาพชุดเต็มได้ที่ ลิงก์นี้ครับ ต้องขอกราบขออภัย หลวงพ่อพระครูที่นำภาพมาโดยไม่ได้ขออนุญาต
ในที่นี้ด้วยนะครับ


ติดตามภาพที่เหลือจากลิงก์ นี้นะครับ



http://www.somdechsuk.org/gal/?a=531121%20%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A








ที่เหลือไปชมตามลิงก์นะครับ

http://www.somdechsuk.org/gal/?a=531121%20%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B2%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A9%E0%B8%81%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A




8  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการพระธาตุพนม ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 11 – 19 ก.พ.54 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:23:55 pm


ขอเชิญเที่ยวงานนมัสการพระธาตุพนม

ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 11 – 19 ก.พ.54
9  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ฉลองกุฏิสงฆ์ กุฏิ "สังฆประชาพัฒน์" ในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2554 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:17:13 pm
ขอเชิญชวนผู้ใจบุญร่วมเป็นเจ้าภาพฉลองกุฏิสงฆ์ กุฏิ "สังฆประชาพัฒน์" ในวันที่ 14-15 พฤษภาคม 2554

ร่วมพิธีสะเดาะเคราะห์ เสริมชะตาราศรี รับปีกระต่ายทอง โดยพระเกจิอาจารย์ดัง พระอาจารย์ฤทธิ์ (วัดป่าห้วยสวาย)

และเกจิอาจารย์อีกมากมาย อาทิ พระอาจารย์ธวัชชัย ธนปัญโญ (วัดป่าชัยวนาราม)

บริจาคร่วมทำบุญได้ที่ จอมยุทธจ้าวสำราญ ประธานกรรมการดำเนินงาน

อย่าพลาดโอกาสทองของชีวิตนะครับ 14-15 พฤษภาคม 2554 นี้ แล้วมาพบกันนะครับ

วัดโคกแก้วสองชั้น หมู่ที่ 2 ตำบลสองชั้น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์

10  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมสรงน้ำพระ วัดป่าบ้านค้อ จ.อุดรธานี 12- 18 ก.พ. 2554 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:14:27 pm



ขอฝากเว็บวัดป่าบ้านค้อด้วย   

www.watpabankoh.com
แหล่งรวมธรรมะคำสอนหลวงพ่อทูล  ขิปปปัญโญ
และกิจกรรมโครงการเผยแผ่ธรรมะสู่เยาวชน  ในจังหวัดอุดรธานีและใกล้เคียง


เพิ่มเติม มีถ่ายทอดสดไปทั่วโลก  ดูได้ที่หน้าเว็บนะครับ

11  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 10:45:41 pm
หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
(ความจริง ”เหี้ย” นี่เป็นชื่อของสัตว์เลื้อยคลานพันธุ์หนึ่ง แต่คนนำมาใช้ด่าว่ากัน จึงกลายเป็นคำไม่สุภาพไป) เนื่องจากท่าน ได้ล่วงลับมาเป็นเวลานาน และท่านไม่ได้เล่าถึงชีวิตในอดีตของท่านให้ลูกศิษย์ทราบ ข้อมูลชีวประวัติของท่านจึงมีน้อย ทราบเพียงว่า

ท่านเกิดปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ที่ตำบลคลองด่าน ตาเป็นคนจีนชื่อ เขียว ยายเป็นคนไทยชื่อปิ่น โยมพ่อไม่ทราบชื่อ แต่โยมแม่ชื่อตาล เป็นลูกสาวคนโตของยายปิ่น ในตอนเยาว์วัย ท่านได้บรรพชา เป็นสามเณรที่วัดแจ้ง หรือวัดอรุณฯ กรุงเทพฯ เพื่อเรียนหนังสือ ไทย หนังสือขอม มูลกัจจายน์ และหนังสือใหญ่ ต่อมาท่านได้สึกจากเณร มาช่วยพ่อแม่ ประกอบอาชีพ ทำจาก และตัดฟืนไปขายเป็นอาชีพประจำ ท่านเป็นผู้มีนิสัยอดทนหนักเอาเบาสู้ ทำให้พ่อแม่เบาใจมาก

ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทที่วัดอรุณฯ โดยมีพระศรีศากยมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ แล้วก็ได้อยู่ศึกษากับพระอุปัชฌาย์หลายปี ท่านมีความสนใจในทางกรรมฐานเป็นอย่างมาก หลังจากนั้นท่านได้กราบลามาอยู่ วัดบางเหี้ย ตำบลบางเหี้ย อำเภอบางบ่อ ท่านประพฤติปฏิบัติ เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัย เจ้าอาวาสขณะนั้น ได้แต่งตั้งให้ท่านเป็นผู้ปกครองดูแลพระเณร ออกพรรษาแล้วท่านก็ออกรุกขมูล บุกดงพงป่าเพื่ออบรมสมาธิฝึกกรรมฐาน แสวงหาความรู้วิทยาคมจากสำนักอาจารย์ที่มีชื่อเสียง รู้ว่าอาจารย์ที่ไหนดี ท่านก็บุกไปจนถึงเพื่อขอศึกษาอาคมกับอาจารย์นั้น ท่านสนใจในวิชาไสยศาสตร์ เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงไม่มีความยากสำหรับท่าน เมื่อมีความชำนาญแคล่วคล่องในเวทย์มนต์ ก็ทำให้เกิดความขลัง ความรู้ความสามารถก็ทวีเป็นเงาตามตัว ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส ปกครองสงฆ์ดูแลวัด

หลวงพ่อปานฯ กับหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง จังหวัดระยอง (ซึ่งได้พบกันในระหว่างธุดงค์) ได้ชวนกันไปเรียนวิทยาคมการปลุกเสกเสือ จากอาจารย์ที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่งพร้อมกัน (ไม่ทราบชื่อ และสำนักของอาจารย์ท่านนั้น) ขณะที่เรียนอยู่นั้น เมื่อเรียนถึงขั้นทดลองพิสูจน์ดู โดยเอาเสือใส่บาตร หรือในโหลให้เอาไม้พาดไว้ ปลุกเสกจนเสือออกมาจากบาตร หรือจากโหลหายเข้าป่าไป ถ้าใครภาวนาเรียกเสือกลับมาได้ก็จะให้เรียนต่อไป ถ้าเรียกกลับมาไม่ได้ ก็ไม่ให้เรียน

หลวงพ่อปานวัดบางเหี้ย ปลุกเสกเสือออกจากบาตรเข้าป่าไปได้ และเรียกกลับมาได้ ส่วนหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้ง ปลุกเสกเสือออกมาได้เข้าป่าไปเช่นกัน แต่เรียกเท่าไรๆ ก็ไม่กลับ ก็เป็นอันว่าหลวงพ่อปานเรียนต่อจนสำเร็จองค์เดียว หลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งก็ต้องพักจากการเรียนเสือ ก็หันมาเรียน สร้าง และปลุกเสกแพะ จนสำเร็จ เมื่อได้วิทยาคมนี้ต่อมาก็มาเป็นอาจารย์ของหลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก จังหวัดระยอง หลวงพ่ออ่ำนี่มีชื่อเสียงมากในการสร้างแพะ จนได้สมญาว่า “หลวงพ่ออ่ำแพะดัง” และหลวงพ่อวัดกระบกต้นผึ้งนี้ ก็เป็นอาจารย์ของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ จังหวัดระยอง ผู้โด่งดังมากในปัจจุบันนี้

นอกจากนี้หลวงพ่อปานฯยังเป็นหัวหน้าสาย รุกขมูล และสอนกรรมฐานอันลือชื่อ การออกธุดงควัตร ท่านจะเป็นอาจารย์ควบคุมพระเณร เช่นเดียวกับหลวงพ่อนก วัดสังกะสีซึ่งเป็นคณะธุดงค์อีกสายหนึ่ง ทั้งสองสายมีชื่อเสียงโด่งดังมากในสมัยนั้น หลวงพ่อปานนำพระเป็นร้อยรูป บางปีก็ถึงห้าร้อย พระกรรมฐานสองสายนี้ มีชื่อเสียงมาก่อนกรรมฐานสายอาจารย์เสาร์ อาจารย์มั่น

เนื่องจาก หลวงพ่อปานมีอาคมขลัง มีสมาธิจิตเข้มแข็ง เวลาออกรุกขมูลพักปักกลดอยู่ในป่า ตอนกลางคืนเดือนหงายๆ ท่านมักจะลองใจศิษย์ เนรมิตกายให้เป็นงูใหญ่ เลื้อยผ่านหมู่ศิษย์ไปบ้าง ทำเป็นเสือโคร่งเดินผ่านกลดศิษย์ไปบ้าง เป็นที่เลื่องลือไปทั่ว

เนื่องจากหลวงพ่อปานได้ศึกษาวิทยาคม ในการสร้างเสือมาโดยสมบูรณ์แบบ ท่านก็เริ่มสร้างแจกจ่ายให้กับประชาชนแถวย่านบางเหี้ยก่อน ที่วัดจึงต้องต้อนรับประชาชน ที่พากันหลั่งไหลเข้าสู่วัดบางเหี้ยเพื่อรับแจกเสือ ตอนแรกคนแกะเสือก็มีเพียงคนเดียว ต่อมาต้องเพิ่มคนแกะเรื่อยๆ จนถึง ๔ คน และมากกว่านั้น แต่ที่มีฝีมือนั้นมีอยู่ ๔ คน ใครต่อใครก็พากันกล่าวขวัญว่า “เสือหลวงพ่อปาน” แม้แต่เด็กเล็กๆ ก็ยังรู้จัก และในสมัยนั้นไม่มีใครทำเลียนแบบ สำหรับหลวงพ่อปานวัดบางเหี้ยนั้น ท่านแก่กว่าหลวงพ่อปานวัดบางนมโค ๔๐ ปี และในจังหวัดสมุทรปราการ มีหลวงพ่อปาน วัดบางกระสอบ เป็นพระเกจิอาจารย์ที่ดังมากอีกองค์หนึ่ง หลวงพ่อปานเมื่อออกรุกขมูล พระเณรก็จะนำเอาเสือที่ปลุกเสกแล้วติดไปแจกประชาชนด้วย

ปรากฏว่า เสือของท่านมีประสบการณ์ในทางอำนาจ และคงกระพันยอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยม ค้าขายของก็ได้ผล พ่อค้าแม่ค้ามักจะไปขอเสือหลวงพ่อกันวันละมากๆ ชื่อเสียงเกียรติคุณของท่านจึงแพร่หลายโดยรวดเร็ว ยิ่งมีผู้รู้เห็นพิธีปลุกเสก เสือวิ่งในบาตรเสียงดังกราวๆ ก็ยิ่งทำให้ประชาชนแห่แหนมารับแจกเสือกันไม่ขาดระยะ นอกจากนี้ จีนเฉย (อาแป๊ะเฉย) ซึ่งมีความคุ้นเคยกับหลวงพ่อปาน ถึงกับไปค้างที่วัดเป็นประจำ วันหนึ่งแกก็ไปที่วัดเช่นเคย แต่เอาหมูดิบๆ ไปด้วย เวลาดึกสงัดหลวงพ่อปลุกเสือแกก็เอาหมูแหย่ลงไปในบาตร ปรากฏว่าเสือติดหมูขึ้นมาเป็นระนาว แกยังสงสัยว่าแกจิ้มแรงจนเสือติดหมูออกมา ตอนหลังพอหลวงพ่อปลุกเสกจนเสือวิ่งในบาตร แกก็เอาหมูผูกกับไม้ แล้วชูหมูไว้เหนือบาตร ปรากฏว่าเสือที่อยู่ในบาตรกระโดดกัดหมู เหนือขอบปากบาตร จีนเฉยซึ่งเห็นกับตาตนเองก็นำไปเล่า จนข่าวเสือกระโดดกัดหมู เสือวิ่งในบาตร เสือกระโดดได้ แพร่สะพัดไปราวกับลมพัด ประชาชนต่างก็เห็นเป็นอัศจรรย์

หลวงพ่อกับ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

สมัย ก่อนมีแม่น้ำอยู่สายหนึ่ง ซึ่งไหลผ่านป่าดงพงพีมีต้นน้ำอยู่แปดริ้ว มาลงทะเลที่สมุทรปราการ ทุกครั้งที่น้ำทะเลหนุน น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ ทำให้ชาวบ้านในย่านนั้นได้รับความลำบาก สิ่งที่ไหลขึ้นมาตามน้ำคือตัวเหี้ย ตะกวด และจระเข้ จนต้องมีการทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อมิให้น้ำเค็มจากทะเลไหลขึ้นไปปนกับน้ำจืด และเพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานที่มีอยู่ชุกชุม มิให้แพร่หลายไปตามคลองต่างๆ ด้วยเหตุที่มีสัตว์พวกนี้ชุกชุม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านบางเหี้ย” และคลองบางเหี้ย วัดก็ตั้งชื่อว่า วัดบางเหี้ย มี ๒ วัดคือวัดบางเหี้ยนอก กับวัดบางเหี้ยใน ประตูที่กั้นคลองนั้น มีชื่อเรียกกันปัจจุบันว่า “ประตูน้ำชลหารวิจิตร”

ต่อ มา ในปี พ.ศ. ๒๔๔๓ ประตูน้ำเกิดชำรุด ต้องทำการซ่อมแซมหลายครั้ง เมื่อแล้วเสร็จได้กราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เสด็จไปที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อที่จะทำพิธีเปิดประตูน้ำใหญ่ที่ตั้งอยู่ในคลองบางเหี้ย ปรากฏว่าทรงประทับอยู่ที่คลองด่านถึง ๓ วัน


บรรดา ชาวบ้านที่อยู่ในแถบถิ่น บางบ่อ บางพลี บางเหี้ย และบริเวณใกล้เคียง เมื่อรู้ข่าวว่าพระเจ้าอยู่หัวฯจะเสด็จมาเปิดประตูน้ำ ต่างก็พากันเตรียมของที่จะถวาย หลวงพ่อปานได้นำเขี้ยวเสือ ที่แกะอย่างสวยงามใส่พาน แล้วให้เด็กป๊อดซึ่งเพิ่งจะมีอายุ ๗-๘ ขวบหน้าตาดี เดินถือพานที่ใส่เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ ตามหลังท่านไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ริมคลองด่าน

เมื่อไปถึงที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ หลวงพ่อได้เรียกเอาพานใส่เขี้ยวเสือจากเด็กผู้ติดตาม แต่เด็กคนนั้นบอกกับท่านว่า

“เสือไม่มีแล้ว เพราะมันกระกระโดดน้ำไปในระหว่างทางจนหมดแล้ว”

หลวงพ่อปานจึงได้เอาชิ้นหมูที่ทำขึ้นจากดินเหนียว แล้วเสียบกับไม้ แกว่งล่อเอาเสือขึ้นมาจากน้ำต่อหน้าพระพักตร์ พระองค์ทรงตรัสว่า

“พอแล้วหลวงตา”

หลัง จากนั้นหลวงพ่อได้ถวายเขี้ยวเสือแกะนั้นแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ทรงพิจารณาชั่วครู่ จึงตรัสถามชื่อพระเถระรูปร่างสูงใหญ่ผู้ปลุกเสกเขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน ทูลว่าท่านชื่อปาน (ติสโร) เป็นเจ้าอาวาสวัดบางเหี้ย

พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีรับสั่งกับพระปานว่า

“ได้ยินชื่อเสียง และกิตติคุณมานาน เพิ่งเห็นตัววันนี้”

แล้วรับสั่งถามว่า

“ที่แจกเครื่องรางเป็นรูปเสือมีความหมายอย่างไร ?”

หลวงพ่อปานทูลตอบว่า

“ได้ ไปรุกขมูลธุดงค์ในป่า พบเสือใหญ่หลายครั้ง ได้สังเกตดูเห็นว่า “เสือ” เป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะ และอำนาจ สามารถที่จะใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ คนทั่วไปเรียกผู้ร้ายใจฉกรรจ์ว่า “ไอ้เสือ” ก็คือเอาความเก่งกาจของเสือมานั่นเอง การที่ทำเครื่องรางรูปเสือ มิใช่จะสนับสนุนให้คนกลายเป็น”อ้ายเสือ” เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะของเสือจริงในป่า ที่ปราดเปรียว ว่องไว เฉลียวฉลาด เฉียบขาดมาเป็นตัวอย่างเท่านั้น”

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรง พอพระทัยในคำตอบของพระปานยิ่งนัก (ด้วยท่านมิได้ โอ้อวดว่า เครื่องรางของท่านดีเด่น แต่ประการใด) ทรงพระราชทานผ้าไตร และผ้ากราบ (ต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์ เป็น “พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ”)

พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง”เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ” ได้เล่าถึงพระปานไว้ว่า

“พระ ครูปานมาหาด้วย พระครูปานรูปนี้นิยมกันในทางวิปัสสนา และธุดงควัตร มีพระสงฆ์วัดต่างๆ ไปธุดงค์ด้วยสองร้อยสามร้อย แรกลงไปประชุมที่วัดบางเหี้ย มีสัปบุรุษที่ศรัทธาเลื่อมใสช่วยกันเลี้ยง กินน้ำจืดที่มีไว้เกือบจะหมดแล้วก็ออกเดิน ทางที่เดินนั้น ลงไปบางปลาสร้อย แล้วจึงเวียนกลับขึ้นไปปราจิณ นครนายก ไปพระบาท แล้วเดินลงมาทางสระบุรี ถ้ามาตามทางรถไฟ แต่ไม่ขึ้นรถไฟ เว้นแต่พระที่เมื่อยล้าเจ็บไข้ ผ่านกรุงเทพฯกลับลงไปบางเหี้ย ออกเดินทางอยู่ในแรมเดือนยี่ กลับไปวัดอยู่ในราวเดือนห้าเดือนหก ประพฤติเป็นอาจิณวัตรเช่นนี้มา ๔๐ ปีแล้ว

คุณวิเศษที่คนเลื่อมใสคือ ให้ลงตะกรุด ด้ายผูกข้อมือ รดน้ำมนต์ ที่นิยมกันมากคือ เขี้ยวเสือแกะเป็นรูปเสือ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ฝีมือหยาบๆ ข่าวที่ร่ำลือกันว่า เสือนั้นเวลาจะปลุกเสก ต้องใช้หมู ปลุกเสกเป่าไปข้อไร เสือนั้นกระโดดลงไปในเนื้อหมูได้ (น่าจะหมายความว่า พอปลุกเสกได้ที่เสือจะกระโดดกัดเนื้อหมู เป็นอันใช้ได้น่ะครับ) ตัวพระครูเองเห็นจะได้ความลำบาก เหน็ดเหนื่อยในการที่ใครๆ กวนให้ลงโน่นลงนี่ เขาว่าบางทีก็หนีไปอยู่ในป่าช้า ที่พระบาทฯ (สระบุรี) ก็หนีไปอยู่บนเขาโพธิ์ลังกา คนก็ยังตามไปกวนไม่เป็นอันหลับอันนอน แต่บริวารเห็นจะได้ผลประโยชน์ ในการทำอะไรๆ ขาย เวลาแย่งชิงก็ขึ้นไปถึง ๓ บาท ว่า ๖ บาทก็มี ได้รูปเสือนั้นแล้วจึงไปให้พระครูปลุกเสก สังเกตดูอัธยาศัยเป็นคนแก่ใจดีมีกิริยาเรียบร้อย อายุ ๗๐ แล้วยังไม่แก่มาก รูปร่างล่ำสันใหญ่โต เป็นคนพูดน้อย มีคนมาช่วยพูด"

จะเห็นว่า ในพระราชนิพนธ์ “เสด็จประพาสเมืองปราจิณ” ได้เล่าถึง “พระปาน” อย่างละเอียด สิ่งสำคัญยิ่งก็คือ เครื่องรางเขี้ยวเสือที่ทำเป็นรูปเสือ ในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่ ราคาเช่าซื้อตัวละ ๑ บาทบ้าง ๓ บาทบ้าง ๖ บาทบ้าง ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก (ในสมัยนั้น กาแฟถ้วยละ ๑ สตางค์ ก๋วยเตี๋ยวชามละ ๓ สตางค์ ข้าวผัดจานละ ๕ สตางค์) หลังจากเสร็จสิ้นพระราชกรณียกิจ ก่อนที่ท่านจะเสด็จกลับเมืองหลวง พระองค์มีรับสั่งกับหลวงพ่อปานว่า

“ฟ้าไปก่อน แล้วให้พระท่านไปทีหลัง”

พระ ราชดำรัสนี้ทำให้ทุกคนพิศวง เพราะไม่เข้าใจความหมาย (ยกเว้นหลวงพ่อฯ) แต่หลังจากนั้นไม่กี่ปี พระองค์ท่านก็เสด็จสวรรคต และต่อจากนั้นไม่ถึงปี หลวงพ่อปานก็มรณภาพลงเช่นกัน จึงสันนิษฐานว่าพระองค์อาจจะรู้ด้วยญาณ ว่าท่านและหลวงพ่อปานคงถึงเวลาที่จะละสังขารแล้ว

บุญญาภินิหารของหลวงพ่อ

หลวง พ่อปานท่านเป็นผู้มีความเมตตา ปรานี และมีวาจาสิทธิ์ จนเป็นที่ยำเกรงแก่ประชาชนทั่วไป บรรดาลูกศิษย์ของท่านจะพยายามปฏิบัติตนอยู่ในคุณงามความดี เพราะกลัวหลวงพ่อว่าตนไม่ดี แล้วจะไม่ดีตามวาจาสิทธิ์ของท่าน กอปรกับท่านมีเจโตปริยญาณ และอนาคตังสญาณ

อาทิเช่นครั้งหนึ่งท่าน เตรียมจะออกเดินธุดงค์ พร้อมกับพระภิกษุสามเณรจำนวนมากจากวัดต่างๆ พระทั้งหลายจะต้องเข้ามาหาหลวงพ่อ เพื่อรายงานตัวก่อน ถ้าท่านไม่ให้ไปก็ไปไม่ได้ ในครั้งนั้นมีพระอยู่องค์หนึ่ง ชื่อพระผิว หลวงพ่อได้เรียกเข้ามาหา และบอกว่า

“คุณเก็บบาตร เก็บกลด กลับวัดไปเถอะ”

พระผิวเสียใจเป็นอย่างยิ่งถึงกับร้องไห้ หลวงพ่อปานจึงกล่าวกับพระผิวว่า

“อย่าเสียใจไปเลยคุณ กลับไปวัดเถอะ เดินทางไปกับหลวงพ่อมันลำบากมาก องค์อื่นท่านแข็งแรง หลวงพ่อกลัวคุณจะลำบากจึงให้กลับไปก่อน”

พระ ผิวจึงจำใจกลับ หลังจากพระผิวกลับมาถึงวัดได้ ๒ วันเท่านั้นท่านก็เป็นไข้ทรพิษ และมรณภาพลงในที่สุด การเดินธุดงค์นั้น ท่านมักจะให้ศิษย์ออกเดินทางล่วงหน้าไปก่อนทุกคราว แต่พอถึงจุดนัดหมาย หลวงพ่อจะไปคอยอยู่ข้างหน้าก่อนเสมอ

หลวงพ่อปานท่านเป็นพระที่เคร่ง ครัดเอาจริงเอาจัง มีจิตใจกล้าหาญ ผิดว่าผิด ถูกว่าถูก ไม่มีการเอนเอียงไปทางใดเลย การทำกรรมฐาน ท่านให้นั่งพิจารณาธาตุ เพ่งสิ่งต่างๆ เช่น ไฟเทียน น้ำในบาตร ปฐวีธาตุ จนพลังใจแก่กล้ามั่นคง และฝึกสติโดยการให้เดินจงกรม เมื่อฝึกจิตจนได้ที่แล้วท่านจึงจะสอนวิชาเคล็ดลับต่างๆ ให้ มีทั้งอยู่ยงคงกระพัน เมตตามหานิยม และวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ ที่เรียนนี้ก็เพื่อรู้ เรียนไว้เพื่อแก้ และเพื่อป้องกันตัว (เวลาออกธุดงค์) ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากในสมัยนั้น ในการไปเดินธุดงค์คราวหนึ่ง ท่านไปได้หินเขียววิเศษ เป็นวัตถุสีเขียว แวววาวมาก โตขนาดเมล็ดถั่วดำ และข้างๆ หินนี้ มีเต่าหินที่สลักด้วยหินทรายสีออกน้ำตาลแดงเล็กน้อย หลวงพ่อปานท่านนิมิตเห็นสิ่งนี้ก่อนท่านจะออกธุดงค์

ของวิเศษนั้น หลวงพ่อปานไม่เคยเปิดเผยกับใคร ท่านนำไปไว้ยังศาลที่ปลูกไว้ภายในบริเวณวัด ที่ศาลนี้มีพระพุทธรูปศิลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ด้วย ใครไปมาผ่านศาลก็จะกราบไหว้พระพุทธรูป และจะเห็นเต่าศิลาตัวนั้น แต่บางคราวเต่านั้นก็หายไป และก็น่าแปลกที่หลวงพ่อปานก็จะไม่อยู่ด้วยทุกครั้ง ทุกคนเข้าใจว่าท่านไปธุดงค์ในป่า แต่ทำไมจะต้องนำเต่าหินนั้นไปด้วยเพราะทั้งหนัก และต้องลำบากดูแลรักษา

เรื่อง นี้ใครๆ ไม่สนใจ แต่สามเณรน้อยองค์หนึ่งสนใจ และคอยแอบดูอยู่ ว่าเต่าหายไปไหนใครพามันไป ทั้งๆ ที่หนักมาก สามเณรน้อยนี้มีความพยายามมาก ท่านคอยซ่อนตัวแอบดูเต่าหินนั้น ซึ่งบัดนี้มีดวงตาเป็นหินสีเขียว โดยหลวงพ่อปานท่านลองใส่เข้าไปตรงดวงตาเต่าก็เข้ากันได้พอดี อย่างไรก็ตามความพยายามของสามเณร หลวงพ่อท่านก็ทราบโดยตลอด

ต่อมา เป็นวันข้างแรมเดือนดับ สามเณรก็ยังมาคอยดูอยู่เช่นเคย ทันใดนั้น! เณรน้อยก็ตกตะลึงตัวชาอยู่กับที่ เพราะเต่าหินกำลังเคลื่อนไหวคลานออกจากศาล และลอยไปในอากาศ เรียกว่าเต่าหินเหาะก็ไม่ผิด สามเณรพยายามข่มตาไม่ยอมหลับนอน ทนไว้เพื่อจะได้ดู ตอนเต่าหินกลับมา เวลาล่วงเลยไปจนถึงประมาณตี ๔ เณรน้อยก็ต้องอัศจรรย์ใจอีกครั้ง เพราะเต่าหินนั้นได้เหาะกลับมา และคลานกลับไปอยู่ที่เดิม สามเณรนั้นเดินไปสำรวจเต่าหินดู ก็ไม่มีอะไรผิดปกติ เป็นหินที่เขาสลักมาจากหินทราย ถ้าไม่ใช่ของกายสิทธิ์จะคลานแล้วลอยไปในอากาศได้อย่างไร หลวงพ่อปานท่านคอยดูความมานะ อดทนตลอดจนปัญญาไหวพริบของสามเณรน้อยลูกศิษย์ท่านอยู่เงียบๆ จากการสังเกตเฝ้าดู เณรน้อยพบว่าเต่าหินนี้จะเหาะไป และกลับตอนตี ๔ ทุกๆ วันแรม ๑๕ ค่ำ

ในที่สุดเณรน้อยก็ตัดสินใจ ท่านครองผ้าอย่างทะมัดทะแมง เตรียมตัวจะไปผจญภัยกับเต่าหิน เมื่อถึงเวลา เต่าหินก็ค่อยๆ คลานลงมาจากศาล สามเณรก็ปราดออกจากที่ซ่อน กระโดดเกาะเต่าหินนั้นไว้ เมื่อเต่าหินค่อยๆ ลอยขึ้นสามเณรก็กอดไว้แน่นด้วยใจระทึกเพราะเกรงจะตกลงไป ในที่สุดก็มาถึงเกาะแห่งหนึ่ง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่แห่งใด มองไปรอบๆ ตัวพบกับแสงสว่างเย็นตาน่ารื่นรมย์ เต่าหินค่อยๆ ลอยต่ำลง เมื่อถึงพื้นดินก็ตรงไปยังป่าไผ่ กินหน่อไผ่อย่างไม่รู้จักอิ่ม สามเณรก็ไม่กล้าลงจากหลังเต่า เพราะเกรงถูกทิ้งไว้ ได้แต่รั้งหักหน่อไม้มาได้หน่อหนึ่ง เพื่อเป็นสักขีพยานว่า ไม่ได้ฝันไป ได้มาอยู่บนเกาะนี้จริงๆ

เต่าหินนั้นกินอยู่พักหนึ่ง ก็เหาะกลับแต่ขณะที่เดินทางนั้น สามเณรไม่สามารถกำหนดจดจำทิศทางได้เลย เมื่อกลับมาที่วัด เต่าหินก็กลับไปประจำที่ ส่วนเณรน้อยก็ถือหน่อไม้เข้ากุฏิไป หลวงพ่อปานท่านพิจารณาแล้ว เห็นว่าเรื่องเต่าหินวิเศษนี้จะไม่เป็นความลับอีกต่อไป ท่านจึงได้นำดวงตาอันเป็นหินสีเขียวสดใสนั้นออกเสีย เพื่อเต่าศิลาจะได้ไม่สามารถเหาะไปเที่ยวได้อีก (ท่านคงพิจารณาแล้วว่า ถ้าเรื่องถูกแพร่งพรายออกไปคงจะเกิดความวุ่นวาย และสามเณรนั้นคงจะทดลองเกาะเต่าไปเที่ยวอีก และอาจเกิดอันตราย กระผมเข้าใจว่า หลวงพ่อท่านสามารถควบคุมเต่าได้ และสามารถเกาะหลังเต่าไปในที่ต่างๆ ได้ ตามที่ท่านปรารถนา) ปัจจุบันเต่าหินตัวนี้ ยังปรากฏอยู่ที่วัดแห่งหนึ่งในจังหวัดใกล้เคียง (เรื่องเต่าหินเหาะได้นี้ ท่านพระครูโกศล ปาสาธิโก ศิษย์ของหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นผู้ทรงอภิญญาเช่นเดียวกัน เป็นผู้เล่าให้ฟัง)

เนื่องจาก หลวงพ่อปานฯ เป็นผู้ที่ชอบเรียนรู้อยู่เสมอ ท่านจึงชอบธุดงค์ไปในที่ต่างๆ บางครั้งท่านก็ไปองค์เดียว คราวหนึ่งท่านเดินธุดงค์ไปทางจังหวัดปราจีนบุรี ไปถึงวัดโพธิ์ศรี เมื่อไปถึงวัด ท่านเจ้าอาวาสกำลังขึงกลองเพลอยู่ ท่านเห็นดังนั้นก็ลงมือช่วยเหลือทันที พอเสร็จเรียบร้อย สมภารท่านก็นิมนต์หลวงพ่อปานขึ้นไปคุยกันบนกุฏิ ขณะที่คุยกันอยู่มือของท่านสมภารก็ปั้นลูกดินกลมๆ อยู่ในมือ สักครู่หนึ่งท่านสมภารก็โยนลูกดินนั้นขึ้นไปบนอากาศ กลายเป็นม้าตัวหนึ่ง กับตุ๊กตาอีกตัวหนึ่งไล่จับเหยี่ยวอยู่บนท้องฟ้า

หลวงพ่อปานเห็นดัง นั้นท่านก็หัวเราะชอบใจ แต่ไม่ได้พูดอะไร เมื่อท่านลงจากกุฏิของท่านสมภารแล้ว ท่านได้พูดกับพระในวัดนั้นว่า “โดนลองดีเข้าให้แล้ว” พอพูดจบท่านก็หยิบผ้าสังฆาฏิที่พาดบ่าท่านอยู่ นำมาม้วนแล้วโยนขึ้นไปในอากาศ ปรากฏว่าผ้านั้นได้กลับกลายเป็นกระต่ายหลายตัว วิ่งอยู่ในลานวัด ใครจะจับก็จับไม่ได้ เป็นที่อัศจรรย์แก่ผู้พบเห็น หลังจากนั้นหลวงพ่อปานท่านจะออกเดินธุดงค์ ท่านมักจะมุ่งหน้าไปทาง อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบุรีเสมอ เพราะในย่านนั้นเต็มไปด้วยพระอาจารย์ผู้มีวิชาอาคม ท่านปรารถนาจะเรียนในสิ่งที่ท่านยังไม่รู้ให้เพิ่มพูนยิ่งขึ้น

ท่านพระ ครูโกศล ปาสาธิโก ท่านเล่าให้ฟังว่า “หลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน ท่านเก่งเรื่องจิต ท่านแสดงฤทธิ์ได้มากมาย ท่านได้เคยเล่าถึงสรรพคุณของเต่าวิเศษที่พาท่านไปในเมืองลับแล ซึ่งเป็นภพซ้อนภพกันอยู่นี่ ได้ไปพบกับสิ่งอัศจรรย์หลายอย่าง พอเป็นคติเตือนใจ ครั้นเมื่อกลับมาจากการท่องเที่ยวครั้งนั้น หลวงพ่อปานได้เคร่งครัดการปฏิบัติกรรมฐานของท่านอย่างหนัก โดยไม่ปล่อยกาลเวลาให้ผ่านพ้นไป ท่านตระหนักดีว่า ชีวิตของท่านนั้นสั้นนัก ควรจะเร่งรีบภาวนา ทำจิตให้มีกำลัง มีสมาธิ และมีปัญญาติดตัวไว้ อุบายธรรมของท่าน ก็คือการพิจารณา สภาวธรรมความจริงแห่งวัฏฏะ เพราะสรรพสิ่งในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ความทุกข์ความวุ่นวาย เกิดเพราะจิตเข้าไปยึดมั่น จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา การระงับดับเหตุทั้งปวง ย่อมต้องระงับดับที่ใจ เพราะใจเป็นใหญ่ใจเป็นประธาน ท่านมีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติ เพื่อพระนิพพานเป็นที่หมาย เพื่อให้พ้นจากวัฏฏะอันหมุนวนไม่รู้จักจบ”

ก่อนที่หลวงพ่อปานจะ มรณภาพนั้น ประชาชนที่มีความเคารพบูชาหลวงพ่อ ได้พร้อมใจกันหล่อรูปท่านขึ้นมาองค์หนึ่ง ขนาดเท่าองค์จริง เพื่อไว้เป็นที่เคารพบูชา เพราะหลวงพ่อไม่ค่อยได้อยู่วัด ท่านมักจะเดินธุดงค์ไปในที่ต่างๆ เป็นประจำ จะได้กราบรูปหล่อแทนตัวท่าน แต่เมื่อหล่อรูปแล้วท่านก็ไม่ค่อยจะเข้าวัด ท่านมักจะปลีกตัวไปจำวัดที่พระปฐมเป็นประจำ การที่ท่านไม่อยากเข้าวัดของท่านนั้น อาจเป็นเพราะท่านรู้ล่วงหน้าว่าถึงคราวจะหมดอายุขัยแล้ว ท่านจึงต้องการความสงบในการพิจารณาธรรม แต่ท่านก็ไม่กล้าพูดกับใครๆ เมื่อญาติโยมอ้อนวอนมากๆ เข้า ท่านก็บ่ายเบี่ยงไปว่า “เข้าไปไม่ได้ อ้ายดำมันอยู่ ขืนเข้าไปอ้ายดำมันจะเอาตาย” คำว่า “อ้ายดำ” หมายถึงรูปหล่อของท่านนั่นเอง ปัจจุบันนี้รูปหล่อของท่านก็ยังประดิษฐานอยู่ที่วัดมงคลโคธาวาส (วัดคลองด่าน หรือวัดบางเหี้ย) คืออยู่ที่กุฏิของหลวงพ่อซึ่งได้จัดสร้างขึ้นใหม่ และปรากฏความศักดิ์สิทธิ์มากมาย น้ำมนต์ที่หน้ารูปหล่อของท่านก็มีคนนำไปดื่ม และทองคำเปลวที่รูปหล่อก็มีคนนำไปปิดที่หน้าผาก เพื่อรักษาโรคได้ผลมาแล้วมากมาย


ด้าน สาธารณประโยชน์ หลวงพ่อเป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้

ด้าน ความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อนั้น เป็นที่เลื่องลือกันทั่วไป เป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย

ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ"

ท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที

เมื่อ ท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของท่าน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ


ข้อมูลจากเวป พระรัตนตรัย กระดานสนทนาธรรม ......ขอบคุณมากครับ
12  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน) เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 10:39:48 pm


ประวัติ หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน (วัดอัมพวัน)

วัดคลองมะดัน เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานผู้สร้าง อยู่กลางทุ่งนา ในสมัยก่อนมีลำคลองผ่าน หน้าวัดและมีต้นมะดันขึ้นอยู่ชุกชุมมาก ชาวบ้านจึงตั้งชื่อว่า วัดคลองมะดัน แม้ว่าภายหลังได้มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น วัดอัมพวัน แต่ชาวบ้านและคนใน จ.สุพรรณบุรี ทั่วๆ ไปยังนิยมเรียกชื่อเก่าว่า วัดคลองมะดัน เหมือนเดิม

         หลวงพ่อโหน่ง เกิดปีขาล ตรงกับวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๔๐๙ (บางแห่งว่า พ.ศ. ๒๔๐๘) ณ หมู่บ้านท้ายบ้าน ตำบลต้นตาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่บนฝั่งคลองสองพี่น้อง ฝั่งเดียวกับวัดสองพี่น้อง เป็นบุตรคนที่สอง (บางแห่งว่า เป็นบุตรคนที่ ๔) ของนายโต นางจ้อย โตงาม อาชีพทำนา มีพี่น้องร่วมอุทร ๙ คน อายุได้ ๒๔ ปี อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดสองพี่น้อง โดยพระอธิการจันทร์ วัดทุ่งคอก เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการดิษฐ์ วัดทุ่งคอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ กับพระอธิการสุด วัดท่าจัด เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาจากพระอุปัชฌายะว่า อินฺทสุวณฺโณ

         เมื่อหลวงพ่อโหน่งอุปสมบทแล้วเดินทางเข้า กรุงเทพฯ ไปหาพระน้าชาย ซึ่งมีสมณศักดิ์เป็นเจ้าคุณเปรียญ ๙ ประโยค เพื่อศึกษาธรรมวินัย หลวงพ่อโหน่งสังเกตเห็นเจ้าคุณมีความเป็นอยู่อุดมสมบูรณ์ จึงเอ่ยปากถามว่า ท่านละกิเลสหมดแล้วหรือ ท่านเจ้าคุณบอกให้หลวงพ่อโหน่งเข้าไปดูในกุฏิว่ามีอะไรบ้าง หลวงพ่อโหน่งไปเห็นโต๊ะหมู่บูชาทำด้วยมุก โต๊ะหมู่ทอง งาช้าง และสิ่งของมีค่าอีกมากมาย เมื่อออกมาจากกุฏิ หลวงพ่อโหน่งกราบลาท่านเจ้าคุณน้าชายกลับมาจำพรรษายังวัดสองพี่น้องตามเดิม แล้วเดินทางไปจำพรรษาที่วัดทุ่งคอกเพื่อศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระอธิการ จันทร์ อุปัชฌาย์ของท่าน

         หลวงพ่อโหน่ง ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อ จันทร์ได้ ๒ พรรษา เดินทางมาศึกษาต่อวิปัสสนากรรมฐานกับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ต.โคกคราม อ.บางปลาม้า สุพรรณบุรี จนกระทั่งมีความรู้แตกฉานเป็นที่ไว้วางใจแก่หลวงพ่อเนียมได้ เมื่อตอนหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยามาเป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อเนียมพูดกับหลวงพ่อปานว่า “เวลาข้าตายแล้ว เอ็งสงสัยอะไรก็ให้ไปถามโหน่งเขานะ โหน่งเขาแทนข้าได้”

         นอกจากนี้ยังมีหลักฐานปรากฏว่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙ หลวงพ่อโหน่ง อายุ ๔๑ ปี จำพรรษาอยู่ ที่วัดสองพี่น้อง พระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อสด) วัดปากนํ้า ได้อุปสมบท ณ วัดสองพี่น้องและ พระสงฆ์ที่มีส่วนร่วมในการอุปสมบทในครั้งนั้นคือ หลวงพ่อโหน่ง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ และต่อมาหลวงพ่อสดก็ได้ฝากตัวเป็นศิษย์หลวงพ่อโหน่งเช่นกัน นอกจากหลวงพ่อสดแล้ว ศิษย์ของท่านยังมี หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น) วัดโพธิ์ หลวงพ่อแดง วัดทุ่งคอก

         เมื่อหลวงพ่อโหน่งกลับไปจำพรรษาที่วัดสองพี่น้องตามเดิม จิตใจวาบหวิวชอบกล จึงเดินทางไปหาหลวงพ่อเนียมอีก ยังไม่ทันที่หลวงพ่อโหน่งจะว่าอะไร หลวงพ่อเนียมพูดขึ้นก่อนว่า “ฮื้อ! ทำไปเองนี่นา ไม่มีอะไรหร๊อก กลับไปเถอะ” หลวงพ่อโหน่งรู้สึกสบายใจขึ้น และก็มิได้เป็นอะไรอีกเลย

         เมื่อมาจำพรรษาที่วัดคลองมะดัน ท่านฉันอาหารเจ ก่อนออกบิณฑบาต นมัสการต้นโพธิ์ทุกเช้า เมื่อบิณฑบาตกลับมาใส่บาตรถวายสังฆทาน ท่านเอามารดามาอยู่ที่วัดด้วย ปรนนิบัติจนกระทั่งถึงแก่กรรม เคร่งครัดในการอบรมสั่งสอนพระเณรและลูกศิษย์วัด ไม่รับเงิน เจริญวิปัสสนากรรมในป่าช้าเป็นประจำ ถือสันโดษ ไม่สะสมทรัพย์สินมีค่าเลยแม้แต่น้อย สร้างสาธารณูปการสงฆ์เพิ่มขึ้นอีกเป็นอันมาก

         จากการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ทำให้ฌานของหลวงพ่อแก่กล้า สามารถทราบเหตุการณ์ล่วงหน้าได้ พระทำผิดวินัย ท่านสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเห็น พระที่ไปรุกขมูลทะเลาะเบาะแว้งกัน ท่านก็รู้ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยไปหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดันโดยไม่บอกเล่าเก้าสิบ หลวงพ่อโหน่งสั่งลูกศิษย์เตรียมจัดที่จัดทางไว้ ว่าวันนี้จะมีพระผู้ใหญ่มาหา มีเรื่องเล่าว่า ใครนิมนต์ท่านไปไหนมาไหน ท่านต้องถามพระประจำตัวในกุฏิท่านก่อนเสมอ ถ้าพระท่านบอกไปได้ ท่านก็ไป ถ้าพระท่านบอกไม่ให้ไป ท่านก็ไม่ไป แม้กระทั่งการสร้างพระประธานองค์ย่อม ท่านก็ถามพระว่า สร้างได้ไหม พระบอกว่าสร้างได้ ท่านก็สร้างตามนั้น แต่ท่านไม่ทราบว่าจะหาช่างปั้นช่างหล่อที่ไหน พระก็บอกให้เดินไปทางโน้นทางนี้ ท่านก็เดินตามนั้น พบช่างมาช่วยปั้นและหล่อตามที่พระบอก เมื่อหล่อเสร็จช่างก็หายตัวไปเฉยๆ โดยไม่บอกกล่าว ท่านก็ตกใจว่า อ้าว....เงินค่าจ้างยังไม่ได้จ่าย เป็นการเบียดเบียนเขา จึงเดินย้อนไปตามทางเดิมถึงจุดที่พบช่าง ก็บอกลักษณะหน้าตาถามชาวบ้าน ชาวบ้านบอกไม่รู้จัก คงเป็นคนถิ่นอื่น เมื่อกลับกุฏิก็ถามพระว่า จะไปตามช่างได้ที่ไหน พระบอกไม่ต้องไปตาม เพราะช่างคนนี้ไม่ธรรมดา เป็น ช่างเทวดา มาช่วย เมื่อหมดหน้าที่ท่านก็ไปตามเรื่องของท่าน ไม่ต้องไปตามหรอก ถึงตามก็ไม่เจอ

         หลวงพ่อโหน่ง เป็นศิษย์รุ่นพี่ของ หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค ร่วมอาจารย์เดียวกันคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ก่อนหลวงพ่อเนียมมรณภาพ ท่านได้สั่งเสียกับหลวงพ่อปานว่า ถ้าข้าตาย มีอะไรขัดข้องก็ให้ไปถาม หลวงพ่อโหน่ง นะ เมื่อหลวงพ่อเนียมมรณภาพ แล้วราวหนึ่งปี หลวงพ่อปานก็ธุดงค์มาหาหลวงพ่อโหน่งที่วัดคลองมะดัน มาถึงวัดตอนบ่ายวันหนึ่ง ท่านก็นั่งรออยู่ใต้ต้นไม้ คิดว่าหลวงพ่อโหน่งคงจำวัด

        แต่หลวงพ่อโหน่งรู้ด้วยญาณของท่าน จึงเปิดหน้าต่างออกมา เห็นหลวงพ่อปานนั่งรออยู่ จึงว่า อ้อ มาถึงแล้วเรอะ ฉันรออยู่แต่เช้าเชียว คืนนั้น หลวงพ่อปานต่อวิชากับหลวงพ่อโหน่งในโบสถ์ ทั้งหลวงพ่อโหน่งกับหลวงพ่อปานเข้าสมาบัติเต็มอัตรา ไม่ถึงครึ่งคืนทุกอย่างก็จบสิ้นกระบวนความ

         เมื่อตอนหลวงพ่อโหน่งมรณภาพ ปี 2477 หลวงพ่อปานไปสร้างวัดอยู่ลพบุรีทราบข่าว ได้สั่งกรรมการวัดคลองมะดันว่า อย่าเพิ่งเผาศพหลวงพ่อโหน่ง ถ้าร่างไม่เน่า ให้รอท่านก่อน ปรากฏว่าร่างหลวงพ่อโหน่งไม่เน่า แต่กรรมการวัดก็รีบเผาเสีย หลวงพ่อปานมาถึงก็เทศนากรรมการวัดเสียกัณฑ์ใหญ่ว่า พวกแกอยู่กับพระอรหันต์ทุก วี่วัน ช่างไม่รู้บ้างเลย ท่านอธิษฐานทิ้งตัวไว้นะ ต่อมาเมื่อหลวงพ่อปานมรณภาพ เมื่อปี 2481 ท่านก็อธิษฐานทิ้งตัวไม่เน่าอีกเหมือนกัน สรุปแล้ว ตั้งแต่พระอาจารย์ใหญ่คือ หลวงพ่อเนียม ลงมาจนถึง หลวงพ่อโหน่ง และ หลวงพ่อปาน เมื่อมรณภาพแล้ว ร่างกายไม่เน่าทุกองค์ โดยไม่ต้องฉีดยาอย่างปัจจุบัน

         หลวงพ่อเริ่มสร้างวัตถุมงคลตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครนึกออก แต่มีพระดินเผาอยู่องค์หนึ่ง จารึกด้านหลังว่า พ.ศ. ๒๔๖๑ ก็น่าจะสันนิษฐานว่า พระที่ท่านสร้างนั้น คงจะเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๑ เป็นต้นไป เพราะไม่ปรากฏ พ.ศ. ที่เก่ากว่านั้นเลย ท่านทำมาเรื่อยจนถึง พ.ศ.2470 กว่า จึงยุติ พระที่ท่านสร้างขึ้นมีหลายสิบพิมพ์ เป็นพิมพ์ใหม่ที่ท่านและลูกศิษย์คิดค้นขึ้นเองก็มี ที่ถอดพิมพ์จากพระเก่าก็มาก ท่านและประชาชนพิมพ์พระเสร็จเก็บไว้ในตุ่มน้ำ ในถัง ในปีบ ในลังไม้ เป็นระยะเวลา ๑๐ กว่าปี คาดว่าเกินกว่า ๘๔,๐๐๐ องค์ พิมพ์อาจมากเป็นร้อยพิมพ์ บางตำราว่า เวลาพุทธาภิเษกของท่านแปลก คือทำพิธีตอนเผาไฟ ไม่ใช่เผาแล้วทำ พระคณาจารย์ที่มีชื่อเสียงสมัยนั้นมาประกอบพิธีกันมากหลาย หลวงพ่อปานก็มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกด้วย แต่บางตำราก็ว่า การปลุกเสกพระของหลวงพ่อโหน่งนั้นท่านปลุกเสกเดี่ยวเพียงองค์เดียวเท่านั้น และท่านจะปลุกเสกตลอดไตรมาสในช่วงเข้าพรรษา พอออกพรรษาแล้วก็จะมีการฉลองสมโภชพระที่สร้างใหม่ โดยอาราธนาพระสงฆ์ ในวัดคลองมะดันมาสวดพระพุทธมนต์ ส่วนตัวท่านเป็นประธานพิธี พอเสร็จพิธีในการสวดพุทธมนต์แล้ว ท่านจะขึ้นธรรมาสน์เทศนาสั่งสอนผู้คนที่มารับแจกพระจากมือท่าน ในการสร้างพระเครื่องบางครั้งถ้ามีฤกษ์ดิถีที่ดี ท่านก็จะนิมนต์พระอาจารย์แก่กล้าธรรมทั้งหลาย รวมทั้ง หลวงพ่อปาน มาร่วมปลุกเสกพระที่ท่านสร้างเป็นครั้งคราวด้วย

         ลักษณะเนื้อพระมีทั้งละเอียดและหยาบ เนื้อละเอียดบางองค์เหมือนพระทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร สีดง สีหม้อใหม่ แดงปนน้ำตาล สีแดงนวล สีดำปนเทา เฉพาะสีดำปนเทามีจำนวนน้อย ในเนื้อดินมักมีแก้วแกลบ (แร่ยิบซั่ม) ฝังอยู่ ลักษณะเป็นเส้นขาวทึบคล้ายกระดูกหรือแป้งฝังอยู่ในเนื้อพระ อาจจะมีบ้างแต่น้อยมาก แร่ทรายเงินทรายทองก็มี ด้านหลังบางองค์จารึกอักขระขอม บางทีก็ พ.ศ. การสร้าง ภาษาจีนก็มีจารึก พระพิมพ์ต่างๆ ของท่านมีอาทิ พิมพ์ซุ้มกอ พิมพ์ลีลา พิมพ์พระสมเด็จสามชั้นและฐานคู่ พิมพ์จันทร์ลอย พิมพ์ปรุหนัง พิมพ์ท่ากระดาน พิมพ์พระชินราช พิมพ์งบน้ำอ้อย พิมพ์กลีบบัว พิมพ์พระตรีกาย พิมพ์โมคคัลลาน์สารีบุตร พิมพ์พระเจ้าห้าพระองค์ พิมพ์พระปิดตา พิมพ์นาคปรก พิมพ์ปางไสยาสน์ พิมพ์กำแพงศอก ฯลฯ แต่ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ พิมพ์ซุ้มกอ ซึ่งออกเป็นพิมพ์เล็กและพิมพ์ใหญ่ ค่านิยมก็แตกต่าง กันไปตามสภาพ นอกจากนี้ พระพิมพ์ขุนแผนหน้าค่าย ก็ได้รับความนิยมเช่นกันแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์ฐานมีบัว และพิมพ์ฐานไม่มีบัว ส่วนพระพิมพ์อื่นๆ ที่ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน คือ พระลีลาหรือพระกำแพงนิ้ว พระสมเด็จฐานคู่ และอีกหลายๆ พิมพ์ที่ไม่ได้เอ่ยนามไว้ ณ ที่นี้ ต่างได้รับความนิยมทุกๆ พิมพ์ตามสภาพความงามของพระองค์นั้นๆ

         พระเครื่องที่ท่านสร้างขึ้นและเสกแล้ว ท่านจะเก็บไว้ในโอ่ง ท่านจะหยิบใส่พานตั้งตรงหน้าท่านจำนวนหนึ่ง เพื่อแจกแก่ญาติโยมไปเรื่อยๆ เมื่อข่าวหลวงพ่อโหน่งสร้างพระและแจกพระแพร่กระจาย ออกไปมีประชาชนทั้งใกล้ และไกลมารับแจกพระจากท่านเป็นจำนวนมาก ทุกๆ วัน หลวงพ่อโหน่งต้องเพิ่มกิจวัตร ในการแจกพระเป็นเวลานาน นอกจากนี้แล้ว หลวงพ่อโหน่งยังได้นำพระอีกส่วนหนึ่ง ไปบรรจุไว้ที่ปูชนียสถาน หลายแห่งภาย ในวัดคลองมะดัน และที่วัดทุ่งคอกด้วย ส่วนที่เหลือก็แจกให้แก่ผู้ที่มาขอตลอดอายุขัยของท่าน

         เมื่อหลวงพ่อโหน่งมรณภาพแล้ว พระก็ยังเหลืออยู่ อาจารย์ฉวย ปัญญารตนะ เจ้าอาวาส รูปต่อมาก็ได้ทำตามเจตนารมณ์ ของหลวงพ่อโหน่งทุกประการ คือ แจกพระหลวงพ่อโหน่งให้แก่ผู้ที่มาทำบุญเรื่อย มาจนอาจารย์ฉวยมรณภาพลง พระที่แจกก็ยังไม่หมด อาจารย์หนำ ยะสะสี เจ้าอาวาสรูปต่อมา ก็ได้แจกพระหลวงพ่อโหน่ง ตามเจ้าอาวาสรูปก่อน พระหลวงพ่อโหน่ง จึงได้หมดไปในที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระหลวงพ่อโหน่งสร้างไว้หลายพิมพ์และมีจำนวนมาก แต่ก็ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริงว่าสร้างมากเท่าไร จะรู้เพียงว่าสร้างด้วยเนื้อดินเผาทั้งหมด นอกจากพระเครื่องชนิดเล็กๆ สำหรับห้อยคอติดตัวแล้ว หลวงพ่อโหน่ง ยังได้สร้างพระขนาดใหญ่เพื่อเอาไว้บูชาตั้ง ไว้ในบ้านอีกด้วย เช่น พระกำแพงศอกเนื้อดินเผาและพิมพ์อื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก รวมทั้งพระรูปเหมือนหลวงพ่อโหน่ง แบบลอยองค์แบบพระบูชา เนื้อทำด้วยปูน เป็นต้น โดยท่านจะเขียนคำอวยพรไว้ด้านหลังองค์พระเป็นภาษาไทยไว้ด้วย ส่วนการสร้างพระของบรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดสร้างขึ้นไว้เป็น สมบัติส่วนตัวโดยเฉพาะโดยได้ขออนุญาตให้หลวงพ่อโหน่ง ปลุกเสกให้ แต่มีจำนวนน้อยมากยากที่จะเสาะหาในปัจจุบัน เนื่องจากพระหลวงพ่อโหน่งมีของเทียมมาก เช่าหาโปรดจงระวัง

หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน ท่านมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๕ ธ.ค. ๒๔๗๗ อายุ ๖๙ ปี พรรษา ๔๖ โดยท่านมรณภาพในปางไสยาสน์แบบอาจารย์ของท่านคือ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย

         หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน หรือ วัดอัมพวัน อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่มีวิชาพุทธาคมอันเข้มขลังอยู่ระดับแนว หน้าของประเทศไทย กล่าวกันว่า พระเครื่องของหลวงพ่อโหน่งมีพุทธคุณเด่นทางเมตตา มหานิยมมากและแคล้วคลาด จากอันตราย เป็นเลิศ จึงเป็นที่เสาะหาของบรรดานักสะสม เพื่อเอาไว้ใช้ติดตัวเพื่อป้องกันอันตรายต่างๆ มาตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน นับว่าหลวงพ่อโหน่งเป็นพระเกจิอาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษท่านหนึ่งของประเทศไทย

ขอบคุณที่มาเนื้อหาครับ
http://www.itti-patihan.com
13  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ประวัติ หลวงพ่อแช่ม วัดท่าฉลอง จ.ภูเก็ต เมื่อ: มกราคม 03, 2011, 10:36:52 pm
ประวัติ หลวงพ่อแช่ม วัดท่าฉลอง จ.ภูเก็ต

พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม สังฆปาโมกข์) วัดไชยธาราราม (ฉลอง) อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต


คำขวัญเมืองภูเก็ต

"ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม"

         ภูเก็ตเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยที่คนทั่วโลกรู้จักชื่อนี้เป็นอย่างดี เป็นเกาะใหญ่เกาะหนึ่ง ที่มีพื้นที่ของเกาะประมาณ 543 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศน่าเที่ยวน่าพักผ่อนหย่อนใจมีทิวทัศน์อันสวยงามเกินกว่าคำ บรรยาย ไม่ว่าจะมองไปบนบก หรือในท้องทะเล แม้แต่เกาะต่างๆ แล้วเหมือนจะทำให้เรามีชีวิตชีวายืนยาวออกไปอีกสักร้อยปี จังหวัดนี้ดีพร้อม สมกับคำขวัญที่ว่า “ไข่มุกอันดามัน สวรรค์เมืองใต้ หาดทรายสีทอง สองวีรสตรี บารมีหลวงพ่อแช่ม” ไม่มีผิด

         สภาพภูมิอากาศแบบฝนเมืองร้อน มีอากาศอบอุ่น ชุ่มชื่น ลมพัดเย็นสบายตลอดเวลา ทั้งปีมี 2 ฤดูกาลคือ ฤดูร้อนและฤดูฝน ช่วงที่มีอากาศดีที่สุดคือ เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนเมษายน เป็นช่วงที่มีท้องฟ้าแจ่มใส ภาษาของท้องถิ่นจังหวัดนี้เป็นภาษาปักษ์ใต้ ที่มีเอกลักษณะของตนเอง อาชีพของพลเมืองมีทั้งด้านการเกษตรและสวนยางพารา การอุตสาหกรรม เหมืองแร่ ดีบุก การทำยางแผ่นรมควัน การทำปลาบ่น ปัจจุบันมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมาก มีโรงแรมที่มีคุณภาพมีมาตรฐาน งานประเพณี ท้าวเทพกษัตรี-ท้าวศรีสุนทร จัดขึ้นทุกปี ตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปีเพื่อรำลึกถึงประวัติศาสตร์ที่สองวีรสตรีสามารถปกป้องเมือง ถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก

         ภูเก็ตมีอะไรดี? ภูเก็ตก็มีพระคณาจารย์ดี คือหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง พระคุณท่านเป็นผู้เปี่ยมล้นไปด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ด้วยความศักดิ์สิทธิ์ ใครมาเที่ยวเมืองภูเก็ตแล้วไม่ได้ไปสักการบูชาหลวงพ่อแช่ม ก็เหมือนกับไม่ได้ไปเยือนภูเก็ต เขาว่ากันอย่างนั้น  หลวงพ่อแช่ม (พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี) อดีตเจ้าอาวาสวัดฉลอง ภูเก็ต ถึงแม้พระคุณท่านจะได้มรณภาพไปนานแล้วก็ตาม ชื่อเสียงและเกียรติคุณของพระคุณท่านยังตรึงตราตรึงใจอยู่ในความทรงจำของชาว ภูเก็ตและชาวไทยทั่วทุกภาค แม้แต่ประชาชนเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียงยังให้ความเคารพเลื่อมใส ศรัทธายิ่ง ดุจดังเทพเจ้าผู้เปี่ยมด้วยเมตตาธรรมอันสูงส่ง ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์นานัปการเมื่อครั้งพระคุณท่านมีชีวิตอยู่มีผู้ ศรัทธาและเลื่อมใสท่านมาก ถึงขนาดรุมกันปิดทองที่ตัวท่านจนแลดูเหลืองอร่ามไปทั้งร่าง เฉกเช่นเดียวกับปิดทองพระพุทธรูปบูชา นับเป็นความแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง

ประวัติวัดฉลอง

         "วัดฉลอง"เป็นวัดที่มีมาแต่ก่อนเก่า จึงไม่มีท่านผู้ใดทราบประวัติความเป็นมาได้ละเอียดนัก วัดฉลองนี้ตั้งอยู่บริเวณทุ่งนาและป่าละเมาะ

         ทางด้านเหนือของเกาะภูเก็ต ห่างจากตัวเมืองประมาณ 7-8 กิโลเมตร ตามหลักฐานที่ปรากฎมีศาลาเก่าแก่อยู่หลังหนึ่งทางด้านทิศตะวันออก(ของวัดใน ปัจจุบันนี้) ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระปฎิมา จากสภาพขององค์ท่าน นับว่า...เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นมาช้านานแล้ว จนไม่อาจคำนวณอายุที่แน่นอนได้ชาวบ้านฉลองและคนทั่วไปเรียกท่านว่า "พ่อท่านเจ้าวัด" ด้านซ้ายขององค์ท่านมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า "ตาขี้เหล็ก" ส่วนด้านขวาของ "พ่อท่านเจ้าวัด" นั้น มีรูปหล่อเป็นยักษ์ถือกระบองแลดูน่ากลัว ชาวบ้านเรียกว่า "นนทรีย์" รูปหล่อทั้ง 3 องค์นี้ ท่านศักดิ์สิทธิ์นัก จนเป็นที่โจษขานกันมานานแล้ว

         เจ้าอาวาสวัดฉลององค์แรกท่านเป็นพระเถระองค์ใดนั้น ในประวัติได้บันทึกเอาไว้ ก็เลยไม่ทราบนามท่านเท่าที่ทราบมี "พ่อท่านเฒ่า" ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดฉลององค์ก่อน "หลวงพ่อแช่ม" ท่านเป็นพระที่มีความเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่เลื่องลือ เมื่อ"ท่านพ่อเฒ่า" ท่านได้มรณภาพด้วยโรคชราอาพาธ "หลวงพ่อแช่ม" ได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจาก "พ่อท่านเฒ่า"

         ต่อมา....ท่านได้รับพระราชทานเลื่อมสมศักดิ์ว่าที่เป็น "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี" ตำแหน่งสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อ "วัดฉลอง" เสียใหม่เป็น "วัดไชยธาราราม" แต่ประชาชนโดยทั่วไปมักเรียกว่า "วัดฉลอง" เพราะเป็นชื่อที่คุ้นหูมาก่อน


ชาติกำเนิด-ประวัติย่อ

       
         "หลวงพ่อแช่ม" วัดฉลอง ภูเก็ต ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2370 ในรัชสมัยของ"พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"(รัชกาลที่ 3) (นามโยมบิดา-มารดา) ไม่ปรากฏในประวัติแม้แต่ "หลวงพ่อช่วง" วัดท่าฉลอง ศิษย์เอกของท่านก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้)


หลวงพ่อแช่ม ชาตะ พ.ศ.2370 มรณภาพ พ.ศ.2451

   
         พ่อแม่ส่งให้อยู่ ณ วัดฉลอง เป็นศิษย์ของพ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และ ต่อมาเมื่ออายุถึงที่จะบวชเป็นพระภิกษุก็บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิปัสนาธุระจากพ่อท่านเฒ่าจนเป็นผู้ที่เชี่ยว ชาญทางวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มปรากฏชัดในคราวที่หลวงพ่อแช่มเป็นหัวหน้าปราบ อั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไปนี้


ปราบอั้งยี่


         ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุมผู้คนก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้ายึดการปกครอง ของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธรุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและ ทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนีเข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือนหมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้

         ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่มทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร

         เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนีจะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึง ทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะคนละผืน เมื่อได้ของคุ้มกันคนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวมพวกกันอยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่

         พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวก อั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้ายชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง ข่าวชนะศึกครั้งแรกของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีกก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อมกับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่องคุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพกศีรษะเป็นเครื่องหมายบอกต่อ ต้านพวกอั้งยี่

          พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็นจำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อแช่ม ต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย

         รบกันจนเที่ยงพวกอั้งยี่ยกธงขอพักรบ ถอยไปพักกันใต้ร่มไม้หุงหาอาหาร ต้มข้าวต้มกินกัน ใครมีฝิ่นก็เอาฝิ่นออกมาสูบ อิ่มหนำสำราญแล้วก็นอนพักผ่อนชาวบ้านแอบดูอยู่ในกำแพงโบสถ์ เห็นได้โอกาสในขณะที่พวกอั้งยี่เผลอก็ออกไปโจมตีบ้าง พวกอั้งยี่ไม่ทันรู้ตัวก็ล้มตายและแตกพ่ายไป

         หัวหน้าอั้งยี่ประกาศให้สินบน ใครสามารถจับตัวหลวงพ่อแช่มวัดฉลองไปมอบตัวให้จะให้เงินถึง 5,000 เหรียญ เล่าลือกันทั่วไปในวงการอั้งยี่ว่า คนไทยชาวบ้านฉลองซึ่งได้รับผ้าประเจียดของหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะ ล้วนแต่เป็นยักษ์มารคงทนต่ออาวุธ ไม่สามารถทำร้ายได้ ยกทัพมาตีกี่ครั้งๆ ก็ถูกตีโต้กลับไป ในทุกครั้ง จนต้องเจรจาขอหย่าศึกยอมแพ้แก่ชาวบ้านศิษย์หลวงพ่อแช่มโดยไม่มีเงื่อนไข

         คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง

         หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทางถึงกรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสุงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้น

ในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม


บารมีหลวงพ่อแช่ม


         จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามหลวงพ่อแช่มไปในครั้งนั้นแจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5 ป่วยเป็นอัมพาต หลวงพ่อแช่มได้ ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฏว่าอาการป่วยหายลงโดยเร็วสามารถลุกนั่งได้ อนึ่ง การเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับกรุงเทพมหานคร ผ่านวัดๆ หนึ่งในจังหวัดชุมพร หลวงพ่อแช่มและคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้น นิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มเข้า ไปพักในวัด แต่ หลวงพ่อเกรงใจและแจ้งว่าตั้งใจจะพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้านในละแวกนั้นบอกว่า การพักที่ศาลาหน้าวัดอันตรายอาจเกิดพวกโจร จะมาลักเอาสิ่งของของหลวงพ่อแช่มและคณะไปหมด หลวงพ่อแช่มตอบ ว่าเมื่อมันเอาไปได้ มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านอ้อนวอน หลวงพ่อแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม  เล่าว่า ตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม 6 คน เข้ามาล้อมศาลาไว้ ขณะคนอื่นๆ หลับหมดแล้ว คงเหลือแต่หลวงพ่อแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึง หลวงพ่อแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปิ๊บใส่สาแหรก พวกโจรพอได้ของก็พากันขนเอาไป

         รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะไปตามพวกโจร หลวงพ่อแช่มก็ ห้ามมิให้ตามไป ต่อมาครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย กำนันนายบ้านก็เข้าคุมตัว หัวหน้าโจรปวดท้องจุดเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่าระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตนขโมยไปนั้น คล้ายมีเสียงบอกว่า ให้ส่งของกลับไปเสีย มิฉะนั้น จะเกิดอาเพศ พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของกลับมาคืนหลวงพ่อแช่มสั่งสอนว่า ต่อไปขอให้เลิกเป็นโจรอาการปวดก็หาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมืองชุมพร แต่หลวงพ่อแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้นที่มีความเคารพเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ชาวจังหวัดปีนัง เป็นต้นต่างให้ความคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องหลวงพ่อแช่มเป็นเสมือนสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วย

         การปราบอั้งยี่ในครั้งนั้น เมื่อพวกอั้งยี่แพ้ศึกแล้วก็หันมาเลื่อมใสให้ความเคารพนับถือต่อหลวงพ่อแช่มเป็นอย่างมาก แม้แต่ผู้ซึ่งนับถือศาสนาอื่นก็มีความเคารพเลื่อมใสต่อหลวงพ่อแช่ม เกิดเหตุอาเพศต่างๆในครัวเรือนต่างก็บนบานหลวงพ่อแช่มให้ช่วยขจัดปัดเป่าให้

         ชาวเรือพวกหนึ่งลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่น และพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่มต่างก็บนบานสิ่งศักดิ์ต่างๆ ให้คลื่นลมสงบ แต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงหลวงพ่อแช่มได้ ก็บนหลวงพ่อแช่มว่าขอให้หลวงพ่อแช่มบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านจะติดทองที่ตัวหลวงพ่อแช่ม คลื่นลมก็สงบ มาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาหลวงพ่อแช่ม เล่าให้หลวงพ่อแช่มทราบและขอปิดทองที่ตัวท่าน หลวงพ่อแช่มบอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดทองที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็บอกว่าถ้าหากหลวงพ่อไม่ให้ปิดหากแรงบนทำให้เกิดอาเพศอีก จะแก้อย่างไร ในที่สุดหลวงพ่อแช่มก็จำต้องยอมให้ชาวบ้านปิดทองที่ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขน และเท้า ชาวบ้านอื่นๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมาก พอหลวงพ่อแช่มออกจากวัดไปทำธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลวรอคอยปิดที่หน้าแขนของหลวงพ่อแทบทุกบ้านเรือน จนถือเป็นธรรมเนียม

         เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำเปลวปิดอยู่ที่หน้าแข้งของหลวงพ่อแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่

         แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของไม้เท้ามีดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เป็นคนชอบพูดอะไรแผลงๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุดเสียดอย่างแรง กินยาอะไรก็ไม่ทุเลา จึงบนหลวงพ่อแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทองไปปิดที่ของลับของหลวงพ่อแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุกๆ ต่อมาอาการปวดท้องเกิดขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบนจึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็กไปหาหลวงพ่อแช่มหลวงพ่อแช่มกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้

         พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บน ในที่สุดหลวงพ่อแช่มคิดแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้โดยเอาไม้เท้านั่งทับสอด เข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า กลับบ้านอาการปวดท้องจุดเสียดก็หายไป ไม้เท้านั่งทับของหลวงพ่อแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่ และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็กๆ ที่เป็นไส้เลื่อน เป็นฝีเป็นปาน อาการเหล่านั้นก็หายไปหรือชงักการลุกลามต่อไป เป็นที่น่าประหลาด


หลวงพ่อแช่มมรณภาพในปี พ.ศ.2451


         เมื่อมรณภาพ บรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของหลวงพ่อแช่มปรากฏว่าหลวงพ่อแช่มมี เงินเหลือเพียง 50 เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวบ้านปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างก็นำเงิน เอาเครื่องอุปโภคบริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร มีคนมาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของหลวงพ่อแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬารที่สุดในภาคใต้ บารมีของหลวงพ่อแช่มก็มีมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้
14  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เมื่อ ความตั้งใจไว้ ( ความคิด ) กับ ความจริงที่ทำ สวนทางกัน เมื่อ: ธันวาคม 05, 2010, 08:37:03 am
ความตั้งใจ หรือ ความหวัง หรือ การตั้งความหวัง นั้น

  เป็นสิ่งที่เราเหมือนวาดเป็นรูปอนาคตไว้ โดยที่เรามักวาด มโนภาพ ออกเป็นทางที่ดี ไว้เสมอ

  คือใส่ความคาดการณ์ ว่าต้องดี หรือ เลิศ ตามความคิดของเรา


 แต่ความจริง นั้น ผลที่ออกมา นั้น ไม่ตรงกับสิ่งที่เราคิด เสียเลย หรือ เกินจาก หรือ น้อยจาก สิ่งที่เราคิด

  ปัญหาีที่ตามมาก็คือ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นรัก ที่พอใจ นั่นก็คือความทุกข์


 ความทุกข์ เป็นสิ่งที่สั่งสม หรือ สะสม ความเป็น ความเกิด ความมี ในภพ ในชาติ ในที่อื่น ๆ มากมาย

 ดังนั้น ความทุกข์ จึงเป็นตัวแปรที่เรามักจะเลือกทางเดิน ที่ไม่มีความทุกข์ เช่น พระินิพพาน เป็นต้น

  เมื่อความทุกข์ เป็นตัวแปรเช่นนี้ แล้วอะไรเป็นเหตุให้เราเปลี่ยนความทุกข์ มาเป็นพลังทางธรรมไม่ได้

 นั่นก็เพราะ กิเลส และ ตัณหา นั้นมีพลังมากกว่า ธรรมฝ่ายกุศล จึงทำให้เราไม่สามารถเปลี่ยน ตัวแปร นี้ได้


   มีเพียง สามสิ่ง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา ทั้ง สามประการ ซึ่งจะเป็นตัวแปรที่แปรเปลี่ยน ได้


  ดังนั้น เมื่อความตั้งใจ สวนกับ ความจริง ก็จงมี สติ  ยั้งคิด และ ทำ ในองค์ทั้ง สาม


 ที่มา

  คำแนะนำของพระอาจารย์ สนธยา ธัมมะวังโส
15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฝึกกรรมฐานใน พระขณิกา ปีติแล้วมีอาการอย่างนี้ ไม่ทราบว่าปฏิบัติผิดหรือป่าวครับ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 10:00:41 pm
ฝึกกรรมฐานใน พระขณิกา ปีติแล้วมีอาการอย่างนี้ ไม่ทราบว่าปฏิบัติผิดหรือป่าวครับ

หลังจากผมเดินจิตในพระขณิกาพร้อมองค์ภาวนาไปจนกระทั่งออกกกรรมฐานใช้เวลาประมาณ

1 ชม. กว่า ๆ หลังจากออกแล้วผมรู้สึกหงุดหงิด และร้อนตัว ต้องหาพัดลมมาเป่า หรือต้องไป

อาบน้ำทันที กว่าอาการจะสงบลงได้ใช้เวลาประมาณ เกือบ 3 ชม. ทุกครั้ง ไม่ทราบว่าผมปฏิบัติผิดหรือป่าว

ครับ ควรจะแก้อย่างไรดีครับ ที่จะไม่เกิดอาการอย่างนี้

   บางครั้งผมนั่งกรรมฐาน อยู่ดี ๆ ก็ร้องไห้เสียงดัง ขึ้นมาเฉย ๆ แบบไม่รู้ตัว มันสั่นไปทั้งตัว

มีอยู่วันหนึ่ง นั่งร้องไห้เสียงดังมาก ทั้ง ๆ ทีตัวเองก็ไม่ได้อยากร้อง แต่ควบคุมตัวเองไม่ได้ครับ

16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้าจะเริ่มฝึก อานาปานสติ โดยไม่ต้องฝึกพระพุทธานุสสติ ได้หรือป่าวคร้บ เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2010, 09:55:08 pm
ถ้าจะเริ่มฝึก อานาปานสติ โดยไม่ต้องฝึกพระพุทธานุสสติ ได้หรือป่าวคร้บ

คือผมขึ้นกรรมฐาน แล้ว ที่วัดราชสิทธารามแต่ในพระพุทธานุสสติ ไม่ก้าวหน้าเลยครับ

บัดนี้ก็ผ่านไปสองปีแล้ว ยังไม่สามารถฝึกได้ในขั้น 3 เลยครับ หลวงพ่อจิ๋วท่านให้ฝึกอยู่แค่ พระขณิกา อยู่ครับ

ดังนี้ถ้าผมจะเลิกฝึก พระพุทธานุสสติ แล้วมาฝึก อานาปานสติ ผมควรจะทำอย่างไรดีครัย ?
17  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ในโลกนี้ ไม่ใช่ ว่าคนทุกคนจะพูดด้วยธรรมะ ได้เสมอไป เมื่อ: พฤศจิกายน 03, 2010, 10:27:52 pm

ชีวิตผม ทำงานในแวดวง ราชการ พอสมควร

 แต่สิ่งที่ ผมเห็น มาตลอดชีวิตการทำงาน ก็คือการประจบ สอพอ การเบียดบัง กลั่นแกล้ง

สิ่งเหล่านี้ ปรากฏมี รวมทั้งเรื่อง คอร์รับชั่น ก็เห็นอยู่ แต่พูดออกไปไม่ได้

  เหมือนบุคคล เห็นตำรวจ ดักรถมอร์เตอร์ไซค์ แล้วแจกใบสั่ง ประมาณนั้น ทุกคนทราบดีว่า เพราัะอะไร

แต่ก็พูดไม่ได้

  ดังนั้น ถ้าใครได้ตกไปอยู่ในที่ ๆ มีเจ้านาย ที่มีคุณธรรม หน่อยก็สบายหายห่วงในเรื่องเหล่านี้

แต่ความเป็นจริง ที่ดี ๆ นั้นมีจำนวนน้อย ที่ไม่ดีมีจำนวนมาก แต่ทำไมในระบบราชการนั้น ยังคงดำเนินไปได้

ตามปกติ ครับ

  ที่ดำเนินได้ ตามปกตินั้นไม่ใช่ เรื่องอะไรหรอก ครับ เป็นเพราะว่า วินัย ยังมีอยู่ กฏหมาย ยังมีอยู่ครับ

คนเหล่านี้ ยังต้องเกรงเรื่อง วินัย กฏหมาย จึงควบคุมไว้ได้

  ที่นี้ในโลกเรา นี้ก็เหมือนกัน ครับ อะไรที่จะทำให้เราอยู่กันได้ ในสังคม ก็คือ ศีล ครับ

 ดังนั้น เรื่อง ศีล เป็นเรื่องที่จำเป็น ต้องมี และคนกลุ่มที่มีศีล นี่แหละครับ ที่ยังสามารถพูดเืรื่อง ธรรมะได้่


 แต่ถ้าคนไหน ละเมิด ศีลแล้ว อย่าเสียเวลาไปพูดเรื่อง ธรรมะ เลยครับ เขาไม่ฟังหรอกครับ

อ่านกระทู้เรื่อง มงคล 38 ประการ แล้วนะครับ มงคลที่ 1 ก็คือ การไม่คบคนพาล

มงคลที่ 2 คือ การคบบัณฑิต

สรุปครับว่า คนที่มีศีล รักษาศีล อยู่นั้น พวกนี้ยังพอคุยเรื่อง ธรรมะ ได้ครับ

          ส่วนคนที่ทุศีล ทำลายศีล พร่องในศีล เว้นขาดจากศีลแล้ว การคุยธรรมะ ต้องระวังครับ เพราะคนพวก
นี้คอยหาช่อง จากคนมีธรรมะให้เป็นประโยชน์ครับ

    เช่นเพื่อนผม ที่ทุศีลทั้งหลาย จะนึกถึงผมได้ตอนที่เดือดร้อนครับ มายืมเงินบ้าง มาขอคำปรึกษาบ้าง ต่าง ๆ
เป็นต้น แต่หลังจากได้เงินไป ได้คำปรึกษาไป ได้รับการช่วยเหลือไป ก็ยังประพฤติผิดในศีลอยู่อีก




 :25: :25: :25:
18  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อัสมิมานะ คือ อะไร ครับ มีความหมายอย่างไร เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 10:23:48 pm
จากข้อความใน มหาราหุโลวาทสูตร ที่ผมฟังบ่อย ๆ ในตอนเช้า

มีข้อความว่า

  " เธอจงเจริญ อนิจจสัญญา เมื่อนั้น เธอจักละ อัสมิมานะ ได้ "


คำถาม ก็คือว่า ผมไม่เข้าใจคำว่า อัสมิมานะ ครับ

ผมเข้าใจ เพียงว่า อาจจะเป็นความหยิ่ง ยะโส หรือป่าวครับ

ที่นี้ ถ้าอธิบายความหมายแล้ว ถ้าผมเข้าใจแบบที่ผมเข้าใจนั้น

อนิจจสัญญา จะละ อัสสมิมานะได้อย่างไรครับ


ความเข้าใจของผม อนิจจสัญญา คือ ความจำว่านี้ไม่เที่ยง ไม่เที่ยง


รบกวนเวลาอันมีค่าของเพื่อน สมาชิก สนับสนุนความเข้าใจผมด้วยครับ

อนุโมทนา ขอบคุณ สาธุ ล่วงหน้าครับ

 :c017:
19  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / มีการเปลี่ยนแปลง ในการปฏิบัติครับ ? เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 03:16:58 am
หลังจากผมได้ ภาวนาพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ( ไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม มาครับ )
พอภาวนาแล้ว รู้สึก ว่าร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงครับ
ปกติ ผมจะเป็นคนนอนขี้เซา ครับ แต่หลังจากภาวนามาเป็นเวลา  1 เดือนนี้ปรากฏว่า
กลายเป็นคนนอนน้อยลงครับ แถมตื่นเวลา 2.40 น. เป็นประจำผมก็จะนั่งกรรมฐาน ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนจะไปอาบน้ำเตรียมตัวทานข้าวเช้าก่อนไปทำงานครับ รู้สึกกระชุ่มกระชวยดี ครับ

=====================
เล่าให้ฟัง ไม่ใ่ช่ต้องการอวดนะครับ แต่อยากถามเพื่อน ๆ สมาชิก ว่ามีใครเป็นแบบผมบ้างครับ
20  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ห้ามเด็กดูการ์ตูน เป็นเรื่อง ที่สมควรหรือป่าวครับ ? เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 03:12:19 am
ผมมีเพื่อน อยู่คนหนึ่งครับเขาทำงานเป็น ผจก.บริษัท แห่งหนึ่ง ครับ

เพื่อนผมคนนี้ มักจะแอนตี้เรื่องการดูการ์ตูนของเด็ก และ การดูละคร
โดยเขามักจะพูดว่า ทั้งเด็ก และ เพื่อน ๆ ของเขาว่า การ์ตูนก็น้ำเน่า ละครก็น้ำเน่า

อยากฉลาด ก็ดูเรื่องหุ้น ข่าว รายการสารคดี สิ จะได้ไม่โง่ !
ปรากฏลูกเขา เวลาจะดูการ์ตูน หรือ นิยาย ต้องแอบมาดูบ้านผมครับ
หนังสือการ์ตูน ซื้อมาอ่านก็ต้องนำมาฝากผมครับ

เพื่อนสมาชิกมีความเห็นอย่างไร ครับ กับการแก้ปัญหาให้เด็กได้ดูการ์ตูน และ ละครครับ
 :25:
21  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คิดอย่างไร ? กับที่มีบุคคลบอกว่าตนเอง สแกนกรรมได้ครับ เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 03:07:02 am
ปกติ ผมก็นับถือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่าเป็นผู้เลิศในการตรัสรู้ เรื่องกรรมของสรรพสัตว์
ที่เรียกว่า จตูปปาตญาณ ( พิมพ์ถูกหรือป่าว )
================================
ดังนั้น ผมเคยคิดว่า มีแต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่สามารถล่วงรู้กรรมของสรรพสัตว์ทั้งหลาย
แต่ปัจจุบัน มีบุคคลมาอ้างว่าสามารถสแกนกรรม ได้อย่างนั้นอย่างนี้ ท่านสมาชิกพุทธบริษัท มีความเห็นกลับเรื่องนี้อย่างไร กันครับ


 :17: :17: :17: :17:
22  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ซื้อของโจร มีกรรมครับ ! เมื่อ: มีนาคม 26, 2010, 03:02:51 am
 :34:
วันก่อนผมเดินไป ซื้ออะไหล่ ที่ตลาดนัดคลองถม เห็นเป็นของเก่า และมีหลากรูป หลากแบบ
ปรากฏผมก็ได้ ซื้อมา 2 - 3 ชิ้น แต่พอนำกลับมาลองใช้แล้ว กลับใช้ไม่ได้เลยครับ

ก็มานั่งนึกดู ว่าหมดเงินไปหลายบาท จึงเกิดความอึดอัด >:( แบบเซ็ง ต้องนำธรรมะมาปลอบใจครับ
จึงส่งเมล์ ไปหาพระอาจารย์ ปรึกษาว่าเป็นเพราะอะไร ? ทั้ง ๆ ที่เราก็หาเงินมาสุจริืตแท้ ๆ กลับโดนหลอก
ลวงได้

ก็ได้คำตอบจากพระอาจารย์มาว่า
"เป็นเพราะของที่เราได้มานั้น ไม่บริสุทธิ์ผู้ปฏิบัิติภาวนาจึงไม่ได้ใช้ ประการที่ 1
 เป็นเพราะในชาติก่อนเราเคยหลอกลวงเขา เขาก็มาหลอกคืน กรวดน้ำคว่ำขัน อโหสิกรรมเสีย ประการที่ 2"

--------------------------------------------------------------------------------
หลังจากผมอ่านเมล์ ที่ตอบมาก็ได้ ดวงตาทันที ว่าเราควรอโหสิกรรมกับเขาเหอะ ไม่ต้องผูกเวร ผูกกรรมกัน
===============================================================

นึกอย่างนี้ แล้วใจก็สบาย จึงนำมาเล่าให้ท่านฟังกัน
23  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ขอทราบตำนาน ก่อพระเจดีย์ทราย หน่อยครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 10:37:01 am
ใกล้ช่วง สงกรานต์ ผมอยากทราบ ตำนานเรื่องการก่อพระเจดีย์ทรายหน่อยครับ
24  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / คิดอย่างไร "กับการบริโภคเนื้อสัตว์" เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 01:07:34 pm
คือ ดิฉัน ไปทำบุญที่วัดระฆังมา ให้อาหารปลา และเลยไปวัดกัลยา ก็ให้อาหารปลาอีก

แต่บริเวณใกล้ ก็มีร้านอาหารที่ขึ้นชื่อ "ปลาทับทิมนึ่ง"

เพื่ือนดิฉันก็เข้าไปร่วมทานกับคณะเพื่อน ๆ ด้วย

แต่วันนั้น ทานไม่ลง พอนึกถึงกับการให้ชีวิตปลา และให้อาหารปลา

คำถามคะ
การบริโภคเนื้อปลา อยู่เป็นการส่งเสริมการฆ่าสัตว์ หรือป่าว
ถ้าไม่บริโภคเนื้อปลา คนที่มีอาชีพเกี่ยวกับพวกนี้จะทำอาชีพอะไร
อุบาสก อุบาสิกา จะบริโภคอาหารเนื้อสัตว์อย่างนี้ สมควร หรือ ไม่สมควร
25  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / แจ้งผลการรับฟัง radio เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 12:55:19 pm
สามารถฟังได้ีดีครับ แต่ก็ว่างมากครับ หรือ ยังทดสอบระบบอยู่
ถ้าสามารถ จัดได้เหมือนรายการสด น่าเข้ามาฟังมาก ๆ เลยครับ แต่ต้องจัดสดให้ถูกช่วงนะครับ


มีค่าใช้จ่ายสูงหรือป่าวครับ

ใครเป็นผู้จ่ายครับ

26  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สาระของชีวิต คืออะไร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 11:02:10 pm
 ;) ชีวิตที่มีสาระ ต้องทำอย่างไร คะ

บางทีก็ใช้ชีวิตไปกับประเทศชาติมากบ้าง จนตอนนี้ สับสนแล้ว

ยิ่ง เสื้อเหลือง เสื้อแดง ด้วย >:(
27  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ปฏิบัติ กรรมฐาน ขั้นตอนเริ่มอย่างไร เมื่อ: ธันวาคม 14, 2009, 05:57:15 pm
ถ้าจะลองปฏิบัติกรรมฐาน จะต้องเริ่มอย่างไร :-*
หน้า: [1]