ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบ ความหมาย ของ คำว่า วิปัสสนา กับ วิปัสสนึก ครับแบบเข้าใจง่าย ๆ  (อ่าน 3348 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

แมนแมน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 86
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบ ความหมาย ของ คำว่า วิปัสสนา กับ วิปัสสนึก ครับแบบเข้าใจง่าย ๆ

 ได้ยินบ่อยมากครับ ว่า เอาแต่ วิปัสสนึก จะไปไหนรอด ( แหมเราอุตส่าห์ตั้งใจไปปฏิบัติที่ศูนย์ปฏิบัติ)

 แต่ก็ยังโดนกล่าวว่าเป็น วิปัสสนึิก อยู่อีก หรือ เราไม่เข้า หรือ เขาไม่เข้าใจ

 ดังนั้น ขอให้เพื่อน ๆ ชาวธรรม ที่นี่ ช่วยแจ้ง แถลงไข ให้หน่อยนะครับ

   :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา


วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
       ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
       การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น

       (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
       ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์


ปัญญา ๓ (ความรอบรู้, รู้ทั่ว, เข้าใจ, รู้ซึ้ง)
     ๑. จินตามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การคิดการพิจารณาหาเหตุผล)
     ๒. สุตมยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การสดับการเล่าเรียน)
     ๓. ภาวนามยปัญญา (ปัญญาเกิดแต่การฝึกอบรมลงมือ)


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


    คำว่า "วิปัสสนึก" ผมไม่ทราบว่าใครบัญญัติขึ้นมา มีจุดประสงค์อะไร
    หากจะคาดเดากันไป ก็คงต้องบอกว่า น่าจะเป็น การคิด การนึก จินตนาการเอาเอง โดยไม่ได้เห็นตามความจริง เป็นการจำมาจากปริยัติ เป็นเพียง สุตมัยปัญญา และจินตมัยปัญญา แต่ยังไม่ใช่ภาวนามัยปัญญา

     จะพูดกันต่อไป ในแง่ของสมถภาวนา เช่น จตุธาตุววัตถานกรรมฐาน กรรมฐานกองนี้เป็นกรรมฐานพิจารณา
ต้องคิด ต้องนึก ต้องจินตนาการ เรื่องนี้อาจจะกล่าวได้ว่า วิปัสสนึกก็มีประโยชน์เหมือนกัน
     
     ผมขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ
:25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ปัญญาที่เกิดจากการตกผลึกด้วย โยนิโสมนสิการ
เป็น ปัญญาที่ถึอว่าได้เกิดขึ้นจริง
ไม่ใช่นกแก้วนกขุนทองที่เพียง ท่องจำเอา

วิ ปัสนา&วิปัสนึก สองคำนี้เป็นความเหมือนที่แตกต่าง
แต่ ปลายทาง ต่างกันอย่างสิ้นเชิง!!!

การปฏิบัติเพื่อบรรลุ เกิดมรรคผลนั้น
เปรียบ เสมือน การต่อจิ๊กซอว์
โดยที่ วิปัสนา&วิปัสนึก นี้ มุ่งมองไปที่
"มรรค ผล" หรือ "ภาพสมบูรณ์" เหมือนกัน!


"วิปัสนา" คือการ ค่อยๆ หาชิ้นส่วน ที่เป็น "ชิ้นส่วนจริง"
ค่อยๆ นำมาต่อกัน  และค่อยๆ เห็นภาพสมบูรณ์ ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ในระหว่างทางที่กำลังหาชิ้นส่วนนั้น ได้ลองปฏิบัติ
ทำตัวเองเป็นแก้วเปล่า อยู่เสมอ น้อมรับฟังเพื่อค้นหา "ชิ้นส่วนจริง" ที่ว่านั้น
ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง พยายาม ไม่ล้มเลิก..."จนกว่าจะต่อภาพนั้นสำเร็จ"

"วิปัสนึก" คือการ "คิดว่าเห็นภาพสมบูรณ์นั้นแล้ว"
"คิดว่ารู้จักภาพสมบูรณ์นั้นดีแล้ว"
จาก การศึกษา และลองปฏิบัติมาอย่าง "ผิวเผิน"
อาจจะได้ "ชิ้นส่วนจริง" มาอยู่บ้าง...แต่ก็ยังห่างไกล "ภาพสมบูรณ์" อยู่
เป็นดวงจิตเต็มไปด้วย "มานะ" และ "ทิฐิ" จน "ลืมต่อภาพนั้นให้เสร็จสมบูรณ์"


...ไม่ได้ มองว่าใครไหนไกลเลย  "ตัวผมในอดีตนี่เอง" ที่เคย "วิปัสนึก" มาก่อน




การ ที่คิดว่าตัวเรารู้แล้ว คือเรา กำลัง ปิดโอกาสในการเรียนรู้...
แต่ถ้า คิดว่า ยังไม่รู้ คือเรากำลังจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมาย นั่นเอง...

คำ ว่า "ปัญญา" นั้นสามารถมีทันกันได้
เกิดจากการได้ศึกษา เรียนรู้ และผ่านการปฏิบัติมามากพอ

คนอายุมากกว่า เป็นเพียง เด็กทารกที่เกิดมาบนโลกนี้ก่อน เท่านั้น...
(แต่โดยส่วนตัวผมก็ยังเคารพ นับถือผู้อวุโส รุ่นพี่ คนที่มีอายุมากกว่า...
"บูชาบุคคลที่ควรบูชา" ครับ)


น้อมรับฟังทุกความคิดเห็นครับ^^
จากคุณ    : สวรรค์รำไร
บันทึกการเข้า

nongmai-new

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 73
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178
"วิปัสสนามีลักษณะตามพิจารณาเห็น    สมถะและวิปัสสนามี
ลักษณะ มีกิจเป็นหนึ่ง"

จะไปวิปัสสนาโดยไม่มีสมถะควบคู่อยู่ด้วยนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้เลย 

คงได้แต่วิปัสสนึกเท่านั้นครับ  ไม่ใช่ลักษณะของการตามพิจารณาเห็น




ถ้าเป็นศิษยกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ในสาย สระบุรี แล้ว น่าจะตอบได้นะครับเพราะว่า ผมจำได้ว่าในหนังสือ อานาปานสติ ปฏฺสัมภิทามรรค นั้น มีเรื่อง วิัปัสสนากถาสูตร อยู่ด้วย



หลักวิปัสสนา ที่ควรอ่านและทราบ ของนักปฏิบัติกรรมฐาน เรียกว่า อนุปัสสนา 3
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1610.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 22, 2011, 06:49:20 pm โดย nongmai-new »
บันทึกการเข้า