ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: "สังฆราชสุก" องค์ไหนที่เป็นพระอาจารย์ "สมเด็จโต" องค์ที่ ๒ หรือ ๔..??  (อ่าน 25904 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด

พระสมเด็จอรหังเนื้อขาว


พระสมเด็จอรหัง กับ พระสมเด็จโต

ประวัติพระ
   พระสมเด็จอรหังเป็นพระเนื้อผงรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบบสมบูรณ์ ไม่ใช่แบบพระสมเด็จโตที่ด้านกว้างจะสอบลงเล็กน้อยทำให้ด้านบนจะแคบกว่าด้านล่าง ซึ่งเป็นศิลปะสถาปัตยกรรมไทยที่ส่วนสูงจะสอบแคบลง เช่น เสาตามบ้านทรงไทยที่สอบลงเล็กน้อย พระสมเด็จอรหังจะมีด้านบนกับด้านล่างเท่ากันเหมือนกระจกเงา

   องค์พระจะมีสองเนื้อด้วยกัน คือเนื้อขาว และเนื้อแดง เนื้อขาวเป็นพระเนื้อผงทั่วไปที่ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ส่วนเนื้อแดงเข้าใจว่ามีการผสมขมิ้นลงไป ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับปูนทำให้เนื้อปูนเปลี่ยนเป็นสีแดง แบบปูนกินหมาก ซึ่งเป็นที่มาของคำพังเพยว่า "ขมิ้นกับปูน"

   ส่วนด้านหลังองค์พระจะมีสองแบบ แบบแรกจะเป็นรอยจารเป็นอักษรเขมรว่า "อรหัง" แบบที่สองจะเป็นปั๊มตัว "อรหัง" ลึกลงไปด้านหลัง ที่เรียกกันว่า "หลังแบบ" ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๖ ร้านทองตั้งโต๊ะกังจะตอกโค้ตย่อของร้านหลังทองรูปพรรณ จึงเรียกกันว่า "หลังโต๊ะกัง"
   เชื่อกันว่าพระสมเด็จอรหังเนื้อขาวมาจากวัดมหาธาตุ ส่วนเนื้อแดงเป็นของวัดสร้อยทอง


พระสมเด็จอรหังเนื้อแดง
   

ประวัติศาสตร์
   ประวัติศาสตร์อันเกี่ยวข้องกับพระสมเด็จอรหัง ได้แก่ ประวัติสมเด็จพระสังฆราชในประเทศไทย ประวัติสังฆราชสุก ประวัติวัดมหาธาตุและวัดธาตุทอง ท้ายสุดก็คือประวัติร้านทองตั้งโต๊ะกัง


สมเด็จพระสังฆราช
   สมัยสุโขทัยก็มีการพูดถึงตำแหน่งสังฆราชไว้ในศิลาจารึกแล้ว เชื่อว่าตำแหน่งนี้มีที่มาจากประเทศศรีลังกา ที่ส่งพระราหุลเถระมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในไทย แบบที่เรียกว่าลัทธิลังกาวงศ์

   สมัยกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์เริ่มเปลี่ยนแปลงจากพ่อปกครองลูกในยุคสุโขทัย มาเป็นสมมติเทวา ตำแหน่งสังฆราชจึงได้รับการเปลี่ยนแปลง เป็น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งเป็นการผลัดกันดำรงตำแหน่งของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายคามวาสี เป็นสังฆราชขวาและสมเด็จพระวันรัต เป็นสังฆราชซ้าย เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายยอรัญวาสี องค์ใดแก่พรรษากว่าองค์นั้นเป็นพระสังฆราช

   ต่อมาในสมัยปลายอยุธยา พระเจ้าเอกทัศน์ได้ตั้งราชทินนามเป็น สมเด็จพระอริยะวงศาสังฆราชาธิบดี สมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากทรงโปรดตั้งเป็นสมเด็จพระอริยวงศาญาณ และในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้ทรงปรับปรุงเพิ่มเติมเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ซึ่งใช้สำหรับสมเด็จพระสังฆราชที่เป็นสามัญชนจนถึงทุกวันนี้

   ลำดับสมเด็จพระสังฆราชในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีรายชื่อดังนี้
   องค์ที่ ๑ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) วัดระฆังโฆสิตาราม
   องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์
   องค์ที่ ๓ สมเด็จพระสังฆราช (มี) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดเลียบ (วัดราชบูรณะ)
   องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ เดิมอยู่วัดพลับ(วัดราชสิทธา)

   
        ผู้อ่านเห็นไหมครับว่า สังฆราชสุก มีสองพระองค์ แล้วองค์ไหนเป็นสังฆราชสุก ไก่เถื่อนเล่า
        ก็ต้องดูประวัติของแต่ละองค์


สมเด็จพระสังฆราช สุก วัดมหาธาตุ

   
องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ท่านประสูติสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงดำรงตำแหน่งจากปี พ.ศ. ๒๓๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๓๕๙ รวม ๒๓ ปี ท่านประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่ต้นและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระพนรัตน์ซึ่งเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราชก่อนได้รับการสถาปนาเป็นพระสังฆราชในสมัยรัชกาลที่ ๑
   
   
สังฆราชสุก ไก่เถื่อน

   
องค์ที่ ๔ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ท่านประสูติในสมัยอยุธยาเช่นกัน ทรงได้รับตำแหน่งเป็นพระสังฆราชตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๓๖๓ ถึง พ.ศ. ๒๓๖๔ รวม ๒ ปี ท่านมีชื่อเสียงทางด้านวิปัสสนาธุระตั้งแต่ครั้งอยู่วัดท่าหอย อยุธยา ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้นิมนต์ท่านมาอยู่วัดพลับ (วัดราชสิทธา) และแต่งตั้งท่านเป็นพระญานสังวรเถร รัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งท่านเป็นสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษพระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ
   ท่านได้รับการเรียกหาจากชาวบ้านเป็นสังฆราชไก่เถื่อน เนื่องจากท่านสามารถเรียกไก่ป่าให้เชื่องได้


ทีนี้สังฆราชสุก องค์ไหนที่เป็น "พระอาจารย์สมเด็จโต" กันแน่
   
   คำตอบก็คือองค์ที่ ๒ สมแด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของสมเด็จโต เพราะตอนสมเด็จโตบวชเป็นพระเมื่อพ.ศ. ๒๓๕๒ นั้น สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ได้เป็นสังฆราชแล้ว และท่านประทับอยู่วัดมหาธาตุมาโดยตลอดจนสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙

   ส่วนสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เมื่อตอนสมเด็จโตบวช ยังดำรงตำแหน่งเป็นพระญาณสังวรเถระและยังอยู่วัดพลับ จึงไม่ใช่พระอาจารย์ของสมเด็จโต เพราะถ้าใช่สมเด็จโตก็ต้องไปบวชที่วัดพลับ และเรียนหนังสือที่นั่น ท่านย้ายมาประทับที่วัดมหาธาตุก็เพราะท่านได้รับแต่งตั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราชและประทับอยู่เพียง ๒ ปีเท่านนั้น และตอนนั้นสมเด็จโตอายุ ๓๒ ปีเศษไม่ใช่พระบวชใหม่แล้ว

  ดังนั้นความเชื่อที่ว่าสมเด็จโตเป็นลูกศิษย์สังฆราชสุก ไก่เถื่อน จึงขัดแย้งกับความเป็นจริงตามประวัติศาสตร์
   สังฆราชสุก ไก่เถื่อน วัดพลับ เป็นคนละองค์กับสังฆราชสุก วัดระฆัง และไม่ใช่อาจารย์ของสมเด็จโต
   เพียงแต่มีชื่อพ้องกัน เกิดในสมัยอยุธยาเหมือนกัน และได้เป็นสมเด็จพระสังฆราชทั้งสองพระองค์


วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุ
   วัดมหาธาตุ เป็นวัดที่มีหลายชื่อ ปัจจุบันมีชื่อเต็มว่าวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤดิ์ เพราะได้รับพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ของรัชกาลที่ ๖ สมัยยังเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา เดิมมีชื่อว่า วัดสลัก เมื่อต้นรัตนโกสินทร์มีการย้ายเมืองหลวงจากฝั่งธนบุรีมาสร้างฝั่งพระนคร ก็ได้สร้างวังหลวงและวังหน้าขนาบวัด ต่อมากรมพระราชวังบวรมหาสรุสีหนาทซึ่งเป็นน้องรัชกาลที่ ๒ ได้ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์และตั้งชื่อใหม่ว่า วัดนิพพานาราม

   ต่อมารัชกาลที่ ๑ โปรดให้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎก ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑ จึงทรงเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์ และเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็นวัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เพราะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และเพื่อสนองพระราชปณิธานอีกอย่างหนึ่งอันเกี่ยวข้องกับการปกครองคณะสงฆ์ไทย

   นั่นก็คือทรงดำริที่จะให้วัดมหาธาตุเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ตอนนั้นสังฆราชสุก ได้มาอยู่วัดมหาธาตุและได้เป็นเจ้าอาวาสรูปแรกในสมณศักดิ์พระพนรัตน์ซึ่งเป็นตำแหน่งสังฆราชซ้าย รองจากสมเด็จพระสังฆราช (ศรี) ซึ่งเป็นสังฆราชองค์แรก
 
        แสดงว่ารัชกาลที่ ๑ ท่านทรงโปรดไม่น้อย และคงตั้งพระทัยไว้ว่าท่านจะได้เป็นสังฆราชองค์ต่อไป อีกประการหนึ่งวัดมหาธาตุเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองตั้งแต่สมัยโบราณ จะเห็นว่าเมืองใหญ่ทุกเมืองจะต้องมีวัดมหาธาตุอยู่คู่เมือง เพื่อเป็นศรีแก่เมืองนั้นและเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาด้วย

   จากนั้นเป็นต้นมาสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ที่ได้รับแต่งตั้งจะต้องย้ายจากวัดเดิมมาประทับที่วัดมหาธาตุ โดยสังฆราชมีเป็นพระองค์แรกที่ทรงย้ายจากวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) มาที่วัดมหาธาตุ

        ต่อมาตามด้วยสังฆราชสุก ไก่เถื่อนซึ่งทรงย้ายจากวัดพลับ (ราชสิทธา) มาประทับที่วัดมหาธาตุ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ตอนนั้นวัดมหาธาตุอยู่ระหว่างการบูรณะปฏิสังขรณ์ สังฆราชนาคซี่งเป็นองค์ที่ ๖ จึงประทับอยู่ที่วัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) ตามเดิม ไม่ได้ย้ายมาวัดมหาธาตุ เป็นอันสิ้นสุดธรรมเนียมที่สมเด็จพระสังฆราชเมื่อได้รับแต่งตั้งจะต้องย้ายมาประทับที่วัดนี้

   หลังเปลี่ยนการปกครอง จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก็มีดำริที่จะรื้อฟื้นธรรมเนียมนี้ขึ้นมาใหม่ โดยจะให้พุทธมณฑลที่สร้างขึ้นเพื่อฉลองกึ่งพุทธกาลเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช และได้เตรียมสร้างพระตำหนักไว้รองรับ เพื่อต้องการให้พุทธมณฑลเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาอย่างแท้จริง เหมือนกับกรุงวาติกันซึ่งเป็นศูนย์กลางของคริสตศาสนา และพระคาร์ดินัลรูปใดที่ได้รับเลือกตั้งให้เป็นพระสันตะปาปาจะต้องย้ายมาประทับที่นั่น

       น่าเสียดายที่โครงการนี้ไม่ได้รับความสำเร็จ ไม่มีสมเด็จพระสังฆราชรูปใดย้ายมาประทับอยู่ที่พุทธมณฑลเลย ก็เหมือนกับจอมพลถนอมที่ตั้งใจปรับปรุงบ้านพิษณุโลกให้เป็นที่อยู่ของนายกรัฐมนตรีแบบทำเนียบขาวของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

   วัดมหาธาตุยังเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรก ก็คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๓๒ ในชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ต่อมาทรงเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ นับว่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเกิดก่อนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

        ซึ่งสมัยผู้ทำเรียนอยู่สะกดชื่อโดยไม่มีการันต์ให้เกะกะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เพื่อเป็นโรงเรียนฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือนคู่กับโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าที่เป็นโรงเรียนฝึกข้าราชการฝ่ายทหาร และได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อปัจจุบันในปีพ.ศ. ๒๔๕๙ สมัยรัชกาลที่ ๖
   

วัดสร้อยทอง

วัดสร้อยทอง
   เป็นวัดในเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร ตัดแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้กับเขตจังหวัดนนทบุรี เดิมชื่อ "วัดซ่อนทอง" สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๙๔ ปลายรัชกาลที่ ๓ ซึ่งพระองค์โปรดคนที่สร้างวัดถึงกับมีคำพูดว่า "ใครสร้างวัดก็โปรด" เข้าใจว่าสร้างโดยผู้สืบเชื้อสายจากพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค)

   ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง วัดถูกระเบิดทำลายเสียหายเนื่องจากอยู่ใกล้สะพานพระรามหกซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ เมื่อเครื่องบินพันธมิตรทิ้งระเบิดพลาดเป้า วัดก็ต้องรับเคราะห์ได้รับความเสียหายเช่นเดียวกับวัดเลียบ (วัดราชบูรณะ) ที่ถูกระเบิดเกือบหมดวัดเนื่องจากอยู่ใกล้โรงไฟฟ้าวัดเลียบ

        วัดสร้อยทองเสียหายอย่างหนัก เหลือแต่หอระฆัง เจดีย์ และหลวงพ่อเหลือ ซึ่งหล่อจากทองเหลืองที่เหลือจากการหล่อพระประธานโดยหลวงปู่เบี้ยวเจ้าอาวาสในสมัยนั้น หลวงพ่อเหลือจึงได้รับความเลื่อมใสจากชาวบ้านละแวกนั้น เหมือนกับหลวงพ่อโบสถ์น้อยวัดอินทารามที่อยู่ใกล้สถานีรถไฟบางกอกน้อย ซึ่งรอดจากระเบิดเช่นกัน

   ลำดับเจ้าอาวาสวัดสร้อยทองจากรูปแรกจนถึงหลวงปู่เบี้ยวมีดังนี้
      พระอาจารย์กุย
      หลวงปู่ดำ
      หลวงปู่เบี้ยว พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๗๒
   (ที่มา : เว็บไซด์วัดสร้อยทอง)

   ท่านผู้อ่านจำชื่อพระอาจารย์กุยให้ดี เพราะจะไปพูดถึงใน ถอดรหัสพระสมเด็จวันพรุ่งนี้ รวมทั้งข้อมูลจากวัดสร้อยทองเกี่ยวกับปีการสร้างวัดด้วย
        เพราะถ้ามีการนำพระสมเด็จอรหังไปฝากกรุที่นั่น ก็ต้องเป็นปี ๒๓๙๔ หรือหลังจากนั้นไม่นาน
        สังฆราชสุก ไก่เถื่อนสิ้นพระชนม์ไปนานแล้ว เพราะทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชช่วงพ.ศ. ๒๓๖๓ ถึง ๒๓๖๕ ในช่วงนั้นยังเป็นสมัยรัชกาลที่ ๒ ขุนนางตระกูลบุนนาคยังไม่ขึ้นมาเป็นใหญ่เป็นโต วัดก็ยังไม่ได้สร้าง
   
        ประวัติศาสตร์จึงบอกเราว่า สมเด็จอรหังวัดสร้อยทอง
        ไม่ได้มาจากวัดมหาธาตุ และไม่ได้สร้างโดยสังฆราชสุก ไก่เถื่อน


ร้านทองตั้งโต๊ะกัง

ห้างทองตั้งโต๊ะกัง
   ชื่อ "ห้างทองตั้งโต๊ะกัง" "ตั้งโต๊ะกัง" และ "โต๊ะกัง" มาจากชื่อของผู้ก่อตั้งคือนายโต๊ะกัง แซ่ตั้ง ซึ่งเป็นคนจีนอพยพมาจากอำเภอเท่งไฮ้ ในมณฑลกวางตุ้ง ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยประกอบอาชีพเป็นช่างทอง เมื่อฐานะการเงินดีขึ้นจึงได้เปิดร้านทองที่ย่านเยาวราชในซอยวานิช ถนนเยาวราช ต่อมากิจการเจริญรุ่งเรืองจากมีช่างทองไม่กี่คน จนมีเป็นร้อยคน

   สมัยนั้นคนไทยจะซื้อทองก็ต้องไปที่ร้านตั้งโต๊ะกัง เยาวราช จนเป็นธรรมเนียมถึงทุกวันนี้ว่าจะซื้อทองต้องไปเยาวราช และทองเยาวราชดีที่สุด ห้างทองตั้งโต๊ะกังได้ทำเครื่องหมายไว้ที่ทองรูปพรรณของร้านโดยการตอกโค้ตเป็นตัวหนังสือลึกลงไปในเนื้อทองเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของร้าน ตัวตอกจะเป็นตัวสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ และมีตัวอักษรจีนอยู่ข้างใน

       ซึ่งยังเป็นธรรมเนียมปฏิบัติทุกวันนี้เพื่อให้ร้านทองแต่ละร้านรู้ว่าเป็นทองของตัวเองหรือไม่ เพราะร้านต้องรับผิดชอบเวลาซื้อคืน ถ้ามีโค้ตของร้านก็จะได้ราคาเต็มตามราคาทองของวันนั้น ถ้าไม่ใช่ทองของร้านก็จะมีส่วนลดไม่ซื้อในราคาเต็ม

   โค้ตดังกล่าวเป็นที่คุ้นตาของชาวบ้านสมัยนั้น
        ฉะนั้น เมื่อเห็นสมเด็จอรหัง มีการตอกอักษรขอม คำว่า อรหัง ลงไปหลังองค์พระ เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเหมือนกัน ก็เรียกตามความเคยชินว่า พระสมเด็จอรหังหลังโต๊ะกัง

   ปัจจุบัน ห้างทองโต๊ะกังยังอยู่ที่เดิม ไม่มีสาขาที่ไหน อาคารที่ตั้งเป็นอาคาร ๗ ชั้นสร้างขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นอาคารอนุรักษ์ไปแล้ว พร้อมกับสัญลักษณ์ตราครุฑที่ได้รับพระราชทานในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ สมัยรัชกาลที่ ๖ นับเป็นอาคารสูง (High Rise) ยุคแรกในประเทศไทย ออกแบบโดยสถาปนิกชาวฮอลันดาในยุคเห่อสถาปัตยกรรมฝรั่ง ชั้น ๖ ได้ถูกดัดแปลงเป็นพิพิธภัณฑ์ทองคำโชว์อุปกรณ์และเครื่องมือทำทองแบบโบราณ

   

สรุป

     - สังฆราชสุกในยุคต้นรัตนโกสินทร์มี ๒ พระองค์ด้วยกัน คือ สังฆราชสุก (บางแห่งเขียนเป็น "ศุข") เดิมเป็นพระพนรัตน์ วัดมหาธาตุ สังฆราชองค์ที่ ๒ และสังฆราชสุก ไก่เถื่อน เดิมเป็นพระญาณสังวร วัดพลับ (วัดราชสิทธา) สังฆราชองค์ที่ ๔

     -   อาจารย์ของสมเด็จโตคือสังฆราชสุก วัดมหาธาตุ ไม่ใช่สังฆราชสุก ไก่เถื่อนวัดพลับ (วัดราชสิทธา)

     - สังฆราชสุก ไก่เถื่อนย้ายจากวัดพลับมาประทับที่วัดมหาธาตุเมื่อครั้งได้รับโปรดเกล้าเป็นสมเด็จพระสังฆราช ตามธรรมเนียมปฏิบัติสมัยนั้น และเป็นสังฆราชเพียง ๒ ปีก่อนจะสิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. ๒๓๖๕ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา แสดงว่าท่านเป็นสมเด็จพระสังฆราชเมื่ออายุ ๘๗ พรรษาและย้ายจากวัดพลับไปที่วัดมหาธาตุ ระยะเวลาที่ประทับที่วัดมหาธาตุสั้นเกินไปที่จะสร้างพระสมเด็จไว้ที่นั่นและตอนนั้นท่านอายุมากแล้ว

     - พระสมเด็จอรหังวัดสร้อยทองไม่ได้มาจากวัดมหาธาตุที่สังฆราชสุก ไก่เถื่อนสร้างและนำไปฝากกรุที่นั่น เพราะวัดสร้อยทองสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๔ สังฆราชสุก ไก่เถื่อนสิ้นพระชนม์ไปร่วม ๓๐ ปีแล้ว

     - จากข้อมูลประวัติศาสตร์จึงสรุปได้ว่า สมเด็จโตกับสังฆราชสุก ไก่เถื่อนไม่ได้เกี่ยวข้องเป็นศิษย์อาจารย์ และพระสมเด็จอรหังไม่น่าจะสร้างที่วัดมหาธาตุและไม่ได้นำไปฝากกรุไว้ที่วัดสร้อยทอง



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
prasomdej.net พระสมเด็จดอทเน็ต
http://www.prasomdej.net/old/history/1.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 12:25:07 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

หมิว

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 398
    • ดูรายละเอียด
เรื่อง ของ สมเด็จพุฒาจารย์โต เป็น ศิษย์ พระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ด้วยหรือไม่นั้น ไม่ได้กังขาเพราะการไปเป็นศิษย์ในระหว่างที่ท่านพำนักศึกษาเล่าเรียน กรรมฐาน ต้องไปเข้าศึกษาที่ศูนย์กลางกรรมฐานในสมัยนั้นไม่ใช่ วัดมหาธาตุ แต่เป็นวัดพลับที่สอนกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

   ดังนั้นการเป็นศิษย์ นั้นไม่ได้เป็นตอนที่ หลวงปู่สุก เป็นพระสังฆราช แต่เป็นตอนที่เป็นเจ้าอาวาสวัดพลับและเป็นพระวิปัสสนาจารย์ที่สอนกรรมฐาน ที่ดีที่สุดในยุค กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย กรุงธนบุรี และ กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นดังนั้นกิติศัพท์ของหลวงปู่ ไม่ได้มีตอนเป็นพระสังฆราชเพียง สองปี อย่างที่กล่าวแสดงไว้

   การบวชเรียนในสมัยนั้น แม้เป็นอุปัชฌาย์ ก็ไม่ได้มีหน้าที่สอนบาลีนะจ๊ะ แต่หน้าที่สอนเป็นหน้าที่ของครูอาจารย์ที่ได้รับมอบหมาย ด้วยพรรษาของพระอาจารย์สุก ( หลวงปู่สุก ) ผู้มีความชำนาญในเรื่องการแปล ดังที่มีการทำสังคายนาพระไตรปิฏก ฉบับทองคำขึ้นทูลเกล้าเป็นพระอาจารย์สุก รูปไหนเป็นผู้ดูแลในการนั้น

   ต้องลองถอดรหัสนี้ ดูก่อนนะจ๊ะ อย่าพึ่งสรุปว่าไม่ใช่ หรือ ใช่

   ส่วนเรื่องพระอรหัง นั้นต้องไปศึกษาตำนานพระอรหังที่สร้าง ไม่ใช่หลวงปู่สุกมาทำ หรือสร้างตอนเป็นสังฆราช อย่าลืมว่าในหลวงทรงผนวช สร้างตำหนักที่วัดพลับ พ.ศ.ไหน ท่านเผยแผ่พระกรรมฐาน ตั้งแต่เริ่มเข้าไปอยู่วัดพลับซึ่งเป็นวัดร้าง

   ถ้าไปเอาแต่พรรษาที่ท่านเป็นสังฆราช 2 ปี มาวัดนั้นไม่เพียงพอ เพราะผลงานที่หลวงปู่ได้ทำไว้ก่อนเป็นสังฆราช การสอบ แต่งตั้งครูกรรมฐาน มีการแต่งตั้งและสอนออกไปตามหัวเมือง พ.ศ.ไหน อ่านได้จากประวัติหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน วัดพลับครูอาจารย์ที่เป็นครูสำคัญของ หลวงพ่อโตอีกรูป คือ ขรัวตาแสง โปรดเทียบประวัติด้วย ขรัวตาแสงท่านเป็นศิษย์ เมื่อครูอาจารย์ส่งมอบศิษย์ให้ไปศึกษาธรรมบาลี กรรมฐาน จะส่งไปหาใคร การบวชอุปสมบถเป็นพระ ที่ชื่อว่านาคหลวง มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้อุปถัมภ์ อุปัชชฌาย์แน่นอนก็ต้องเหมาะสม ดังนั้นส่วนของอุปัชฌาย์ ไม่น่าผิดพลาด แต่ส่วนของครูกรรมฐาน อาจารย์ผู้สอนบาลี หลักธรรม คือใคร อันนี้ขอแย้งไว้ให้ท่านผู้อื่น ไต่ตรองวิจารณญาณให้ดี บันทึกครูผู้สอนกรรมฐาน มีกล่าวไว้ในเรื่องนี้

    สรุป ใครเป็นครูอาจารย์ ผู้สอนกรรมฐาน ให้กับ หลวงปู่โต
    รูไหม ? ว่าสมเด็จโตทำไมจึงยอมไปอยู่ วัดระฆัง ....
    วัดระฆัง กับ วัดพลับ .... ห่างกันเท่าใด เพราะอะไร ?

  ไม่เก่งประวัติศาสตร์ แต่ลองวิเคราะห์ดูขอ้ผิดพลาด ที่ผู้เขียนสรุปไว้คลาดเคลื่อน

  อันที่จริงอยากทราบ ความเห็นของ จขกท. ว่ามีความเห็นอย่างไร ด้วยคะ

   :88:
 

บันทึกการเข้า
ใจดี น่ารัก และ ไม่ชอบคนที่กวน...ใจ
แสงพระธรรม นำทาง นำสู่ใจ ได้รับแสงสว่าง
แสงสว่างใดเสมอด้วยปัญญาไม่มี

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
    • ดูรายละเอียด
ผมว่า ฟันธงกรณีอย่างนี้ไม่ได้ครับ อาจจะผิดพลาดเลยนะครับ
ในฐานะผมเคยบวชเป็นสามเณร จนบวชเป็นพระภิกษุ ระดับมหาเปรียญ มาก่อนผมทราบเรื่องนี้ดีนะครับ

  ผมไปบวชกับพระอุปัชฌาย วัดเจ้าคณะตำบล แต่ผมเข้าศึกษาเรียนธรรมบาลี คนละที่กับอาจารย์คนละองค์และ ครูอาจารย์ก็มีหลายองค์ นวกะเรียนกับอีกรูป นักธรรมตรีก็เรียนกับอีกรูป นักธรรมโทก็เรียนกับอีกรูป นักธรรมเอกก็เรียนกับอีกรูป บาลีก็เรียนกับอีกรูป และแต่ละชั้นก็มีครูอาจารย์แตกต่างกันไปด้วย บางรูปสอนพุทธะ บางรูปสอนวินัย บางรูปสอนธรรม บางรูปสอนบาีลี ซึ่งก็ได้ครูอาจารย์หลายรูปทีเดียว ไม่ใช่มีเพียงรูปเดียว ที่แน่นอนผมกล้าบอกว่า อุปัชฌาย์ไม่ได้สอนผมแน่นอนครับ

   ที่นี้วิเคราะห์การศึกษาของสงฆ์ ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นั้นกับปัจจุบันแตกต่างกันอย่างไร ? โดยรวมแล้วไม่แตกต่างครับ เพราะก็ต้องอาศัยครูอาจารย์หลายรูปสอนเ่ช่นเดียวกัน แต่การสอบแตกต่างกันการสอบสมัยก่อนเป็นการสอบสัมภาษณ์ รับรองโดยครูอาจารย์ที่สอบ ประกาศโดยกรรมการที่สอบรับรองให้

   อันนี้ว่าโดยวิชาหลักธรรมบาลี นะครับ

   ที่นี้มาถึงเรื่องกรรมฐาน ภายหลังระบบราชวงศ์ใหม่ มี พระยามหากษัตริย์ศึกเป็นปฐม หรือรัชกาลที่ 1 ขึ้นครองราชย์ ในสมัยนั้นท่านนับถือพระภิกษุหลายรูปแต่รูปที่เคารพมาก ก็คือ พระอาจารย์สุก วัดท่าหอย พระนครศรีอยุธยา ท่านได้หวังให้พระอาจารย์เป็นพระคู่บารมี จึงนิมนต์ท่านมาด้วยการสร้างวัดรับรองที่อยู่ฝั่งพระนคร ชื่อวัดนั้นคือวัดสะแก หรือ เรียกว่าวัดสระเกศปัจจุบันนี้ แต่พระอาจารย์สุกเป็นพระฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานท่านต้องการเผยแผ่พระธรรมกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับตามที่รับมอบหมายมาจาก สมเด็จพระพนรัตน์ จึงได้ขออนุญาต ข้ามฝั่งไปยังที่จอแจ คือ ฝั่งกรุงธนบุรี และพบวัดที่ท่านเคยมาปักกลดและชื่นชอบเป็นวัดร้างชื่อว่าวัดพลัีบ ( วัดราชสิทธาราม )ท่านจึงขออยู่พำนักเผยแผ่พระกรรมฐานที่วัดพลับเป็นต้นมา และในช่วงชิีวิตของท่านก็ทำงานด้านการสอนอบรมพระกรรมฐาน จนมีชือเสียง มีคนไปเรียนพระกรรมฐาน และการสนับสนุนจากพระมหากษัตริย์ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึง รัชกาลที่ 4 จะเห็นได้ว่า วงศ์แห่งกษัติรย์นับถือท่่านมาก รัชกาลที่ 2 และ รัชกาลที่ 3 ( หรือ 4 ไม่แน่ใจ)ได้สร้างตำหนักและฝากตัวเป็นศิษย์โดยให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ด้วย และ เป็นกรรมวาจารย์ด้วย และเรียนวิปัสสนา

     อย่าลืมความสัมพันธ์ ระหว่างหลวงปู่โต กับ รัชกาลที่ 2 และ รัชากาลที่ 4 ด้วยนะครับ
 
     รัดประคตอก หนามขนุนทอง นั้นพระราชทานไว้มีเพียง 2 องค์คือ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน และ .....???
 
     ดังนั้น ถ้าหลวงพ่อโตเป็นพระปฏิบัติสายภาวนา มีสติปัญญาสูงในสมัยนั้น ควรจะไปเรียนกรรมฐานที่ไหน  ?

     อีกอย่างขรัวตาแสง เป็นศิษย์สายไหน ได้รับตราตั้งเป็นครูกรรมฐาน จากที่ใดโปรดศึกษาให้ดี นะครับ เดี๋ยวตกม้าตายเพราะกล่าวประวัติศาสตร์ ผิดเพี้ยน

     มาอีกเรื่อง สมเด็จอรหัง นั้นไม่ได้มีแค่วัดพลับ แต่สร้างก่อน สร้างหลังอย่างไร อันนี้ไม่ทราบ แต่ที่วัดพลับมีการสร้าง สมเด็จอรหัง แ่น่นอน อ่านประวัติของขรัวตาจันทร์ ดูก็จะทราบได้นะครับ

     ที่แน่นอน พระมหากษัตริย์อย่างน้อย 4 พระองค์ สนับสนุน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มาหมดในยุคช่วงสงคราม รัชกาลที่ 5 และระบบการศึกษาแบบตะวันตกเข้ามา เปลี่ยนแปลงระับบการศึกษาแบบมีระบบเอกสาร เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งการสืบทอดพระกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ ส่วนใหญ่ถ่ายทอดกันด้วยวาจา ไม่มีระบบบันทึก อย่างในสมัยปัจจุบัน นั่นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงไปสู่ยุคสื่อนำเสอน สิ่งใดออกไปมาก คนก็มุ่งที่สื่อนั้นมาก ๆ เหมือนวัดไหน ออกรายการทีวีบ่อย ๆ วัดนั้นก็มีคนไปมาก อย่างนี้

    สมเด็จพระสังฆราช อย่างน้อยอีก 4 พระองค์เป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อนแน่นอน กรรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับมีการสืบทอดแต่งตั้ง ครูอาจารย์แน่นอนตามหนังสือตราตั้ง 

    สรุป ผมเองมีครูอาจารย์ จนกระทั่งลาสิกขาออกมาทำงาน เป็นครูอาจารย์หลายแบบแ่บ่งเป็น ครูด้านปริยัติ ครุด้านภาวนาปฏิบัติ ก็มีหลายรูปหลายองค์ นะครับ

    ทำไมจึงฟันธง ว่าหลวงพ่อโตไม่ได้ไปขึ้นกรรมฐาน วัดพลับ

    ผมเชื่อว่า ปัจจุบันมีพระสงฆ์ไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม หลายรูปนะครับ แต่หลายรูปเหล่านั้น ไม่ได้บอกหรือกล่าวเล่าว่าไปขึ้นกรรมฐานมาเมื่อใด ผมจำได้ว่าแม้พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน คือสมเด็จพระญาณสังวร กก็เสด็จไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดพลับเช่นกันนะครับ มีใครรู้บ้าง ..... ก็มีแต่คนที่อยู่ในเหตุการณ์ เล่าให้ฟัง แม้แต่หลวงพ่อสด หลวงปู่โต๊ะ ที่วัดอยู่ใกล้ ๆ ก็ไปขึ้นกรรมฐานเรียนกรรมฐาน ที่นั่น มีใครออกมาพูดบ้าง ดังนั้นประวัติศาสตร์ เหล่านี้มักไม่ถูกหยิบยกออกมาพูด ให้ทราบกัน

    หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ มาขึ้นกรรมฐานตอนไหน ก็ต้องอ่านประวัติที่ัวัดบันทึำกไว้ นะครับ

    ขึ้นกรรมฐาน ก็นับว่าเป็นศิษย์แล้ว แต่จะปฏิบัติตามหรือไม่ อย่างไร ก็เป็นส่วนบุคคลนะครับ

    ผมเองก็ไปขึ้นกรรมฐาน วัดราชสิทธาราม เมื่อปี พ.ศ.2547 นะครับ ก็นับมาหลายปีแล้วนะครับ

   สรุป กรุณาอ่านไต่ตรอง ข้อความเปรียบเทียบให้ดี เดี๋ยวจะพลาด

   :welcome:   
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

เจมส์บอนด์

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 186
    • ดูรายละเอียด

ต่อมารัชกาลที่ ๑ โปรดให้เป็นสถานที่สังคายนาพระไตรปิฎก ในปี พ.ศ. ๒๓๓๑

องค์ที่ ๒ สมเด็จพระสังฆราช (สุก) ท่านประสูติสมัยกรุงศรีอยุธยา ทรงดำรงตำแหน่งจากปี พ.ศ. ๒๓๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๓๕๙ รวม ๒๓ ปี ท่านประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุฯ ตั้งแต่ต้นและได้รับสมณศักดิ์เป็นพระพนรัตน์ซึ่งเป็นตำแหน่งรองสมเด็จพระสังฆราชก่อนได้รับการสถาปนาเป็นพระสังฆราชในสมัยรัชกาลที่ ๑


ต้องลองศึกษา ให้ดีนะครับ ว่าเป็นรูปไหน บ้างในช่วงนั้น

ผมเห็นด้วย ว่าหลวงพ่อโต น่าจะไปขึ้นกรรมฐาน ที่วัดพลับ เพราะกิติศัพท์ เลื่องลือในด้านการภาวนาของ พระอาจารย์สุก ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ) มีมากในสมัยนั้น การที่พระไปเรียนกรรมฐานที่นั่น ขึ้นกรรมฐานจึงไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ


  ต่อมารัชกาลที่ ๑ ได้นิมนต์ท่านมาอยู่วัดพลับ (วัดราชสิทธา) และแต่งตั้งท่านเป็นพระญานสังวรเถร รัชกาลที่ ๒ ทรงตั้งท่านเป็นสมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นตำแหน่งพิเศษพระราชทานแก่พระเถระผู้ทรงเชี่ยวชาญทางวิปัสสนาธุระโดยเฉพาะ
   ท่านได้รับการเรียกหาจากชาวบ้านเป็นสังฆราชไก่เถื่อน เนื่องจากท่านสามารถเรียกไก่ป่าให้เชื่องได้

   รัชกาลที่ 1 นิมนต์ท่านมา ก็แสดงว่าต้องมีความชื่นชอบนะครับ นิมนต์มาเป็นอยู่วัดอะไร โปรดระบุก่อน การไปอยู่วัดพลับไม่ได้เป็นความประสงค์ ของ รัชกาลที่ 1 นะครับ ( ตรงนี้กล่าวผิด )

   ครูอาจารย์ ระดับสมเด็จ เจ้าคุณ เจ้าอาวาส ก็ไปขึ้นกรรมฐานที่วัดพลับ และมีการสอบ และ ใบตราตั้งบอกกรรมฐาน ไม่ได้มีในปีที่ท่านเป็นสังฆราชนะครับ หลวงพ่อโต ที่เป็นบัณฑิต จะไม่ทราบได้อย่างไร ?

   กิตติศัพท์ หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน นั้นเป็นที่โจษจันในสมัยท่านมีพระชนม์อยู่นะครับ หลวงปู่โต ไม่ทราบกิติตศัพท์นั้นเลยหรือ ตั้งแต่ท่านอยู่วัดระฆัง ไม่เคยไป วัด ข้างเคียงเช่นวัดราชสิทธาราม ที่ีมีตำหนักในหลวงอยู่หรือ
ถิ่นฝั่งนั้น เรียกว่า วังเดิม วังหลัง เพราะอะไร ?

   ตรงนี้ต้องวิเคราะห์ให้ดี นะครับ

   คำถามแรก คือ

      หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน นั้น เริ่มเผยแผ่พระกรรมฐาน ใน พ.ศ.ใด
      หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ทำหน้าที่อะไร ในการสังคายนาพระไตรปิฏก ในครั้งนั้น
      หลวงปู่สุก  ไก่เถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์ พ.ศ.ใด
      ทำไม หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ไม่รับตำแหน่งสังฆราช ต่อจากองค์ที่ 2

    :s_hi: :25:
บันทึกการเข้า
ps2 psx nds n64 rom nes play1 play2 gamepc xbox wii castlevania finalfantasy nds ps1 sega
ผมชอบเล่นเกมส์ แต่ ก็แบ่งเวลานั่ง กรรมฐาน ครับ คนรุ่นใหม่ไม่กลัวกรรมฐาน

dam_black

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 17
    • ดูรายละเอียด
ทำไม ? พระพิมพ์หลวงพ่อโต จึิงมีพิมพ์เหมือน ของสมเด็จอรหังวัดพลับ

พระอุปัชฌาย์ สอนหรือ ว่า .....

ได้รับอิทธิพลมาจาก ที่ใด....

   :happybirthday3:
บันทึกการเข้า

SAWWALUK

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 246
    • ดูรายละเอียด
อย่างน้อย เราก็ทราบอยู่แล้ว ว่า หลวงปู่สุก ไก่เืถื่อน ไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ ของสมเด็จพุฒาจารย์โต อันนี้เราทราบดีอยู่แล้ว แต่การเป็นศิษย์กรรมฐาน นั้นหลักฐานอ้างอิง ก็ยังอ่อนแต่เชื่อมั่นว่า สมเด็จต้องได้ไปขึ้นกรรมฐาน แน่ ๆ ที่วัดพลับ

  :s_hi:
บันทึกการเข้า

ยุวธิดา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 73
    • ดูรายละเอียด
ก็ดีนะคะ ได้ทราบข้อมูล แบบต่าง ๆ บ้าง ก็ดีนะคะ
 แต่ว่า ถ้าหลวงปู่โต ไม่ได้เป็นศิษย์หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน แล้วเป็นอย่างไรคะ

  เรามาภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเพราะ หลวงปู่โต หรือคะ ?
  ประวัติศาสตร์ อาจจะย้อนกลับไปว่า พระโสณะ พระอุตตระ หรือไม่ ที่นำกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับมาเผยแผ่เคยสงสัยเหมือนกันเพราะเรื่องราวที่บันทึกไว้ ไม่ได้ระบุวิชา กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มาจากพระมหาเถระ 2 รูป ด้วยนะคะ คือ ประวัติศาสตร์กับกรรมฐาน เป็นที่พึ่ง ต้องแยกแยะกันนะคะ

  ดิฉันเคยไปวัดปากน้ำ  แล้วเรียนถามพระคุณเจ้าที่วัดปากน้ำระดับครูอาจารย์ ก็ปฏิเสธว่า หลวงพ่อสด มาเรียนกรรมฐานที่วัดพลับ ก็จะได้ยินแต่ที่วัดพลับพูดกันนะคะ

  ส่วนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช องค์ปัจจุบันมาเรียนกรรมฐาน ก็ที่วัดบวร ก็ไม่เห็นมีใครทราบตอนดิฉันไปทำบุญที่นั่น

   รวมถึงสายหลวงปู่มั่น ด้วยนะคะ ในศิษย์สายป่า ไม่รู้จักกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับกันด้วยซ็ำไป

   คือที่ได้ยินมาก็ยังหาหลักฐานไม่ได้ แต่ที่เคยเห็นมาขึ้นกรรมฐาน เป็นพระระดับใหญ่ วัดใหญ่ใน กทม. มาเห็นโดยบังเอิญ แต่พอไปเรียนถามท่าน กันที่วัดท่าน ๆ ก็ไม่ได้ตอบเรื่องกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับกันนะคะ

   สรุปแล้วพระที่มาขึ้นกรรมฐาน ที่วัดราชสิทธาราม มีจำนวนหลายรูป จริง ๆ แต่รูปที่มาขึ้นกรรมฐาน ไม่เคยกล่าวเรื่องประวัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับให้ได้ทราบกัน

   เคยมาที่วัดพลับ คณะ 5 ทำบุญคุญสนทนากับพระรูปหนึ่ง ท่านก็กล่าวว่า กรรมฐาน มัชฌิมา เรียนยาก เอาเรียนกรรมฐานธรรมดา คือ ตจปัญญจกกรรมฐาน ก็พอแล้ว ท่านพูดไม่ค่อยชัดรูปนี้
 
    :73:  :smiley_confused1: :67:
บันทึกการเข้า
เกิดเป็นคนต้องสร้างตนให้มีดี เรียนทั้งทีต้องสร้างดีศรีแก่ตน
เป็นอยุ่ด้วยความพอเพียง ดีกว่าฟุ้งเฟ้อจนเป็นทุกข์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด


พระประวัติ(พระสังฆราชไก่เถื่อน)ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)

      เรื่องประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ อันเนื่องด้วยการศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ได้ฟังผู้หลักผู้ใหญ่เล่ากันมาว่า ท่านได้เล่าเรียนในสำนักสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (นาค) เปรียญเอก วัดระฆัง เป็นพื้น
      และได้เล่าเรียนต่อสมเด็จพระสังฆราช (สุก) วัดมหาธาตุบ้าง
      นอกจากนี้จะได้เล่าเรียน ที่ใดอีกบ้าง หาทราบไม่


     เล่าว่าเมื่อเป็นนักเรียนท่านมักได้รับคำชมเชยจากครูบาอาจารย์เสมอว่ามีความทรงจำดี ทั้งมีปฏิภาณอัดยอดเยี่ยม ดังมีเรื่องเล่าขานกันว่าเมื่อท่านเรียนพระปริยัติธรรมในสำนักสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นั้น ก่อนจะเรียนท่านกำหนดว่า วันนี้ท่านจะเรียนตั้งแต่นี่ถึงนั่น ครั้นถึงเวลาเรียนท่านก็เปิดหนังสือออกแปลตลอด ตามที่กำหนดไว้ท่านทำดังนี้เสมอ จนสมเด็จพระสังฆราชรับสั่งว่า
    "ขรัวโตเขามาแปลหนังสือให้ฟัง เขาไม่ได้มาเรียนหนังสือกับฉันดอก"

     ยังมีข้อน่าประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ที่ท่านเรียนรู้ปริยัติธรรมแต่ไม่เข้าแปลหนังสือเป็นเปรียญ (ในสมัยก่อนนั้น การสอบพระปริยัติธรรมไม่ได้ออกเป็นข้อสอบเหมือนทุกวันนี้ การสอบในครั้งนั้นต้องสอบพระปริยัติธรรมต่อพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นการสอบด้วยปากเปล่า สุดแต่ผู้เป็นประธานกรรมการ และกรรมการจะสอบถามอย่างใด ต้องตอบให้ได้ ถ้าตอบไม่ได้ก็หมายความว่าตกเพียงแค่นั้น)

     พระอาจารย์องค์สำคัญที่สุดของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ คือสมเด็จพระสังฆราช "ไก่เถื่อน” (สุก) สมเด็จพระสังฆราช (สุก) พระองค์นี้ เดิมอยู่วัดท่าหอย ริมคลองคูจาม ในแขวงจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดูพระราชพงศาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ ๑)

     เมื่อรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงอาราธนามาตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระญาณสังวร ด้วยทรงเห็นว่าเป็นผู้มีชื่อเสียงในทางวิปัสสนาธุระเป็นที่นับถือของชนทั้งหลาย ถึงกับกล่าวกันว่า ทรงไว้ซึ่งเมตตาพรหมวิหารแก่กล้าถึงกับสามารถเลี้ยงไก่เถื่อน ให้เชื่อง ได้เหมือนไก่บ้าน ทำนองเดียวกับที่สรรเสริญพระสุวรรณสาม โพธิสัตว์ในเรื่อชาดก

 ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ในรัชกาลที่ ๒ เมื่อพ.ศ. ๒๓๖๓ คนทั้งหลายจึงพากันถวายพระฉายานามว่า "พระสังฆราชไก่เถื่อน" และได้เสด็จมาประทับ ณ วัดมหาธาตุเพียง ๑ ปี ก็สิ้นพระชนม์ทรงพระชันษาได้ ๙๐ เมื่อถวายพระเพลิงศพแล้ว โปรดฯ ให้ปั้นรูปบรรจุอัฐิไว้ในกุฏีหลังหนึ่ง ด้านหน้าพระอุโบสถ




   
    อัจฉริยภาพ ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้น เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้รับการศึกษามาจากพระอาจารย์พระองค์นี้ กล่าวคือ พระวัดพลับ ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) นี้ (สร้างตอนดำรงสมณศักดิ์เป็นพระญาณสังวร ครองวัดพลับ

    วัดนี้อยู่ในคลองบางกอกใหญ่ ฝั่งเหนือ จังหวัดธนบุรี เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ตัววัดเดิมอยู่ทางด้านริม เดี๋ยวนี้ค่อนไปทางตะวันตก ) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงอาราธนา พระอาจารย์สุก (สังฆราชไก่เถื่อน) มาจากวัดหอย จังหวัดพระนาคศรีอยุธยานั้น ท่านขออยู่วัดอรัญญิก จึงโปรดให้อยู่วัดพลับแล้วสร้างพระอารามหลวงเพิ่มเติมขยายออกมาอีก

     สมเด็จพระญาณสังวรนี้ ทรงเป็นพระอาจารย์ทางคันถธุระและวิปัสสนาธุระเจ้านายมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯ ก็ดี ล้วนเคยศึกษาวิปัสสนาธุระ ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ทั้งนั้น ที่วัดนี้ยังมีตำหนักจันทร์ ซึ่งเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เมื่อทรงผนวช นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ ยังโปรดให้ซ่อมพระอาราม แล้วพระราชทานเปลี่ยนนามวัดเสียใหม่ว่า "วัดราชสิทธาราม" ถึงในรัชกาลที่ ๔

     พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ โปรดให้สร้างพระเจดีย์ ทรงเครื่องไว้ข้างหน้าพระอาราม ๒ องค์ ๆ หนึ่งนามว่า "พระศิราศนเจดีย์" (พระเจดีย์องค์นี้ทรงอุทิศถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ อีกองค์หนึ่ง ทรงขนานนามว่า "พระศิรจุมภฎเจดีย์" (พระเจดีย์พระองค์นี้ทรงสร้างเป็นส่วนพระองค์เอง ทั้งนี้เพื่อเป็นที่ระลึกว่า ได้เคยมาทรงศึกษาพระวิปัสสนา ในสำนักสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) )

     เมื่อพิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นได้ว่า มีลักษณะของเนื้อ เหมือนเนื้อของพระสมเด็จฯ (ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ) ที่สุด แต่พระวัดพลับมีอายุในการสร้างสูงกว่าพระสมเด็จฯ ฉะนั้นจึงกล่าวได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ เอาแบบอย่างส่วนผสมผสานมาดัดแปลง และยิ่งพระสมเด็จฯ พิมพ์ทรงหลังเบี้ยด้วยแล้วก็ยิ่งสังเกตได้ว่า ดัดแปลงเค้าแบบมาจากพระวัดพลับทีเดียว

     อนึ่ง การทรงไว้ซึ่งความเมตตากรุณา อันเป็นที่รักแห่งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉานนั้นเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีคุณลักษณะคล้ายคลึงสมเด็จพระสังฆราชพระอาจารย์พระองค์นี้มาก เข้าใจว่าเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีความเลื่อมใสและเจริญรอยตามพระอาจารย์แทบทุกอย่าง................



ที่มา http://www.soonphra.com/geji/putachan/
ขอขอบคุณ http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/monk-raja/monk-raja-04-hist.htm
ขอบคุณภาพจาก http://image.ohozaa.com/


   
     เพื่อนๆครับ ข้อมูลจาก เว็บพระสมเด็จดอทเน็ต ที่ผมนำมาโพสต์ในเบื้องต้นนั้น
     ผมเข้าใจว่า มีเจตนาจะบอกว่า พระสังฆราชสุก ซึ่งเป็นสังฆราชองค์ที่ ๒ เป็นผู้สอนปริยัติให้สมเด็จโต
     แต่ไม่ได้บอกว่า พระสังฆราชไก่เถื่อน ไม่ได้เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จโต ที่สอนวิชาด้านอื่นๆให้

     ขอให้พิจารณาข้อมูลจาก เว็บศูนย์พระดอทคอม ซึ่งยืนยันว่า หลวงปู่สุก ไก่เถื่อนของเรา เป็นพระอาจารย์คนสำคัญที่สุดของสมเด็จโต
     อ่านเอาเองนะครับ ขอคุยเท่านี้

      :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 11, 2012, 09:00:48 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นินนินนิน

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 65
    • ดูรายละเอียด
ดีครับ ได้เกิดมีการวิจารณ์ จะได้เข้าอ่านประวัติ หลวงปู่กันบ้างนะครับ

 สาธุ ข้อมูลจาก จขกท.

  :25: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
    • ดูรายละเอียด
อ่านแล้วเกิดความรู้สึก อยากช่วยเผยแผ่ประวัติพระองค์ท่านบ้างนะครับ ประกอบกับที่คณะ 5 กำลังจะพิมพประวัติหลวงปู่อยู่พอดี ได้เข้าไปร่วมทำบุญเผยแพร่ พระประวัติของหลวงปู่สุก ไก่เถื่อนกันเลยนะครับ

 อ่านรายละเอียดก้นที่นี่นะครับ

เชิญเป็นเจ้าภาพพิมพ์หนังสือพระประวัติสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน 3000 เล่ม
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8437.0

ขอบคุณ จขกท.ครับ ผมเลยได้อ่านประวัติหลวงปู่เพิ่มไปด้วยครับ อันที่จริงจะตอบว่าผมไม่ค่อยจะรู้อะไรเกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน นะครับ แต่ศรัทธาในพระกรรมฐาน ที่พระอาจารย์สนธยา ท่านนำเผยแผ่ และตอบผมให้คลายสงสัย หลายประการนับว่าท่านเป็นปราชญ์ทางด้านกรรมฐานครับ ผมถามไปคิดว่ายากแล้ว ท่านตอบกับมาผมจุกเลยครับ และอึ้งด้วยครับ ที่ไม่มีพระรูปไหนกล้าตอบแบบท่าน

 ต้องขอบคุณเพื่อน ๆ ทุกท่านด้วยนะครับ ที่ช่วยกันเผยแผ่พระกรรมฐาน ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจ ทำหน้าที่กันต่อไปอย่าได้ถอยหนีกันนะครับ เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้นเป็นกรรมฐาน ที่ดี มีแนวทางที่ชัดเจน แต่ทำไม พระสงฆ์ปัจจุบันจึงไม่สนใจในแนวทางนี้กัน ผมเองก็สงสัยอยู่ครับอาจจะเป็นเพราะปัจจุบันไม่มีพระผู้ใหญ่เข้ามาสนับสนุนแบบเมื่อก่อน จึงคิดว่า ชนสมัยนี้ยังต้องการปฏิบัติแบบง่าย ๆ กันอยู่

    :c017: :25:
บันทึกการเข้า

จำเรียง

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 10
    • ดูรายละเอียด
ได้เปิดโลกทรรศน์ ด้านประวัติหลวงปู่ในวันนี้ คะ พึ่งจะได้อ่านจริง ๆ จัง คะเพราะมีการวิจารณ์จึงได้อ่านคะ เป็นเรื่องที่ดีคะ เพราะถ้าไม่มีวิจารณ์กัน ก็ไม่ได้เข้ามาอ่านคะ

  :c017: :88:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
    • ดูรายละเอียด
อ้างถึง
อาจารย์ของสมเด็จโตคือสังฆราชสุก วัดมหาธาตุ ไม่ใช่สังฆราชสุก ไก่เถื่อนวัดพลับ (วัดราชสิทธา)

ประโยคนี้ทำให้เขวนะคะ เพราะเป็นสรุปฟันธง
อันที่จริงต้องเขียนว่า พระสังฆราชทั้งสองพระองค์เป็นพระอาจารย์ของสมเด็จพุฒาจารย์(โต) คะ

  :88:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

montra

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 76
    • ดูรายละเอียด
สาธุ ช่วยกันส่งเสริม ความเข้าใจ ในประวัติหลวงปู่ ครับ
จขกท. นับว่าได้ สรรหามาได้ อย่างดีนะครับ

  :c017: :25:
บันทึกการเข้า

kindman

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 272
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนา กับ คุณ nathaponson ที่นำเรื่องเกี่ยวกับหลวงปู่มาเสนอให้ได้ทราบ ผมอ่านแล้วก็ชื่นชมครับ เพราะว่ามีข้อมูล ที่ เหล่าลูกศิษย์ ที่นับถือหลวงปู่ควรทราบกันบ้างนะครับ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า

นักเดินทาง

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 695
    • ดูรายละเอียด
เป็นการดีครับ ที่นำเรื่องนี้มาคุยกันครับ จะได้รู้จัก ครูอาจารย์กันมากขึ้น แสดงถึงความใส่ใจในครูอาจารย์กันนะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

เท่ากับผลรวม

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +11/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 169
    • ดูรายละเอียด
ถ้าเข้าใจคำว่า อาจารย์ นั้น ก็จะเข้าใจ สถานะ ศิษย์

 ในสายพระ มีดังนี้

     1.อุปัชฌาย์   ผู้บวชให้
     2.อุปัชฌาย์จารย์ ผู้บวชให้ และให้ความรู้ด้วย
     3.กรรมวาจาจารย์ ผู้รับรองการบวช
     4.อนุสาวนาจารย์  ผู้รับรองการบวชสอบทาน
     5.ครูอาจารย์ ผู้ให้ความรู้ และ นำการภาวนา
     6.ธรรมาจารย์ ผู้สอนธรรม
     7.วินยาจารย์ ผู้สอนวินัย
     
   ทั้งหมดนั้น มี สถานะ สองประการคือ อันเตวาสิก และ สัทธิวิหาริก ด้วย

   
บันทึกการเข้า
ชีวิต นี้เพื่อพุึทธศาสน์

kallaya

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 112
  • ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์ ถ้ามองเห็นทุกข์.........
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ปัจจุบันสำคัญที่สุด อดีตก็ช่างมัน อนาคตก็ช่างมัน ถ้าเราทำปัจจุบันไว้ดี

Skydragon

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 92
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา