เรื่องทั่วไป > forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน

เหตุที่..'พระพุทธรูปปากแดง'

(1/1)

raponsan:

วัดพระนอนชเวตาเลียง ย่างกุ้ง
เหตุที่..'พระพุทธรูปปากแดง'
แต่เดิมการสร้าง ′พระพุทธรูป′ เป็นคติมหาบุรุษตามคัมภีร์มหา ปุริสลักขณะ รวมกับอิทธิพลของศิลปะกรีกที่นับถือรูปเคารพ จากการเข้ามาบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย จนเกิดเป็นศิลปะคันธารราฐขึ้นหลังการปรินิพพานของพระพุทธองค์กว่า 500 ปี

ซึ่งพระพุทธรูปจะทำจากศิลาทราย ไม้ สัมฤทธิ์ และดิน โดยยังไม่มีสีเป็นองค์ประกอบ ต่อเมื่อทฤษฎีมหาบุรุษในพระคัมภีร์ได้รับความนิยมแพร่หลาย จึงนิยมทาพระฉวี (ผิว) พระพุทธรูปด้วยสีทอง หรือทำแผ่นทองมาปิดที่เรียกกันว่าการลงรักปิดทอง

การที่ ′ริมพระ โอษฐ์พระพุทธรูปเป็นสีแดง′ เริ่มนิยมขึ้นที่กลุ่มชนชาวรามัญ หรือ ชาวมอญแห่งอาณาจักรสิริธรรมวดี อันมีศูนย์ กลางอยู่ที่หงสาวดีเป็นแห่งแรก เหตุด้วยเนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ ชาวมอญนิยมขบฉันหมากพลูอยู่เป็นประจำ เมื่อสร้างรูปจำลองพระพุทธองค์เลยพลอยนำวัสดุ ที่เรียกว่า ′ชาด′ ทาริมพระโอษฐ์และผู้คนก็ยังนิยมถวายหมากพลูกับองค์พระพุทธรูปเฉกเดียวกับการ ถวายให้กับภิกษุสงฆ์อีกด้วย

เมื่อชาวพยู นำโดยอนิรุทธ มหาราช หรืออโนรธามังฉ่อขยายอิทธิพลเหนือมอญ ทำให้พุกามรับเอาศิลปะต่างๆ ของชาวมอญเข้าไปด้วย เมื่อสร้างพระก็ทาสีพระพักตร์พระพุทธรูปเป็นสีขาวเหมือนการประแป้งของชาวพยู และทาริมพระโอษฐ์ให้เป็นสีแดงยิ่งทำให้ดูโดดเด่นจึงนิยมกันเรื่อยมา จนเผยแพร่เข้ามายังล้านนา


ในสยามประเทศนั้น อาจกล่าวได้ว่ารับเอาธรรมเนียมการทาริมพระโอษฐ์พระพุทธรูปให้เป็นสีแดงมาจาก มอญ ซึ่งหนีพวกพยูเข้ามาบริเวณภาคกลางทางหนึ่ง และเมื่อพม่าเข้ามามีอำนาจเหนือล้านนาอีกทางหนึ่ง

วัสดุที่ นิยมนำมาทาริมพระโอษฐ์พระพุทธรูปนั้นเรียกว่า ′ชาด′ ซึ่งเป็นแร่ชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นก้อนคล้ายก้อนหิน มีชื่อเรียกกันหลายอย่างเช่น ชาดหรคุณ ชาดจอแส นิยมนำมาบดเป็นผง อาจผสมดินเทศให้มีสีแดงเข้มขึ้นทาตามอาคาร ชาวจีนและชาวเขิน (ไทยเขิน) มักใช้ในงานศิลปะ เช่น งานปิดทองล่องชาด งานเครื่องฮักเครื่องหาง และงานทาบน พระพุทธรูป และพระพิมพ์เป็นต้น

ตั้งแต่ สมัยอยุธยาเป็นต้นมา สยามรับอิทธิพลและนำศิลปะจีนมาประยุกต์ใช้ในราชสำนักอย่าง แพร่หลาย ก่อให้เกิดงานประณีตศิลป์ เช่น งานลงรักปิดทอง งานประดับมุก งานประดับกระจก การทำมุกแกมเบื้อ ซึ่งการลงชาดก็เป็นงานฝีมือ อีกชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการทำอาคารสถานที่

     การทำตู้พระตรีปิฎกการทำตู้ลายกำมะลอ และการทาชาดลงบนพระพุทธรูปและพระพิมพ์
     ความนิยมดังกล่าวสืบเนื่องตั้งแต่สมัยล้านนามาจนถึงรัตนโกสินทร์
     ที่นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องโดยปิดทองและทาชาด ทำให้พระพุทธรูปดูโดดเด่นและงดงาม
     และนิยมมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ในบางครั้งจะพบเห็นพระพุทธรูป เก่าๆ มีรอยกะเทาะจนเห็นริ้วสีแดงอยู่ภายใน ดูเผินๆ เหมือนเส้นโลหิต เป็นเหตุให้ร่ำลือไปต่างๆ นานา ซึ่งความจริงแล้วสีแดงที่เห็นเป็นสีของชาดซึ่งนำมาใช้แทนการใช้รัก ซึ่งมีสีดำ


    ส่วนหลวงพ่อปากแดง ที่ วัดพราหมณี จ.นครนายก ซึ่งขึ้นชื่อทางให้เลขนั้น เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ปางสมาธิหน้าตัก 49 นิ้ว สูง 1 เมตร ศิลปะล้านช้าง จีวรลายดอกพิกุล พระโอษฐ์แย้มมีสีแดงเห็นได้ชัด มีสีแดงสด ชาวบ้านจึงเรียก ′หลวงพ่อปากแดง′
    พระครูโสภณพรหมคุณ หรือ หลวงพ่อตึ๋ง เจ้าอาวาสวัดพราหมณี เล่าว่า
    ตำนานเชื่อกันว่าหลวงพ่อปากแดง เป็นพระพุทธรูปพี่น้องกับ หลวงพ่อพระสุกและหลวงพ่อพระใส
    ที่ประดิษฐานอยู่ที่ จ.หนองคาย ได้อัญเชิญมาจากเวียงจันทน์ พอมาถึงประเทศไทย ชาวบ้านได้นำแยกย้ายไปตามวัดต่างๆ

    ส่วนหลวงพ่อปากแดงถูกชาวบ้านอัญเชิญ และนำมาหยุดพักยังพื้น ที่ว่างบริเวณที่เป็นวัดพราหมณี และยังเคยเป็นที่ตั้งของกองทหารญี่ปุ่นเมื่อครั้งสงครามมหาเอเชียบูรพา และมีอนุสรณ์สถานที่ระลึกถึงทหารญี่ปุ่นที่เสียชีวิตจำนวน 7,929 นายอีกด้วย


ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1339821577&grpid=&catid=19&subcatid=1903
http://i68.photobucket.com/,http://ho.files-media.com/

artjureallove:

ถึงคุณ artjureallove

คุณได้โพสต์ข้อความ ผิดระเบียบ เตือน ครั้งที่หนึ่ง
เป็น ข้อความชักชวนการเล่นการพนัน
เราจึงลบข้อความของคุณ  ส่วนรูปนั้นทิ้งไว้ให้เป็นหลักฐาน

โปรดอ่านระเบียบของบอร์ดด้วยครับ

คำเตือนสำหรับ ท่านที่ใช้การโฆษณา ในบอร์ดเผยแผ่พระธรรม
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8975.0






นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ