ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ธัมมะวังโส
หน้า: 1 ... 123 124 [125] 126 127 ... 132
4961  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มหาสติปัฏฐาน 4 กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 09:35:19 am
อ้างถึง
มหาสติปัฏฐาน 4 กับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ?

ต่างกันดังนี้

1. มหาสติปัฏฐาน เป็นพระสูตร ที่พระพุทธเจ้า แสดงแ่ก่ชาว กุรุ ในสถานที่แห่งนี้คนส่วนใหญ่ ปฎิบัติธรรมเป็น

   ยอด กล่าวว่าเป็นเมืองแห่งคนดี มีศีล และ การภาวนา ตลอดการเจริญสมาธิ กันเป็นส่วนใหญ่

   พระพุทธเจ้าจึงประกาศหลักธรรม การปฏิบัติในทุกด้านของพระพุทธศาสนาเป็นหมวด 4 หมวด

   ว่าด้วยหมวด กาย  เวทนา จิต และ ธรรม

2.ส่วน มัชฌิมา กรรมฐาน แบบลำดับ เป็นกรรมฐานที่ที่านพระราหุล พุทธชิโนรส รวบรวมหลักคำสอน
 
  และการปฏิิบัิติ ที่พระองค์ท่านได้เรียน ได้ศึกษา กับพระอาจารย์ต่าง รวมทั้ง พระพุทธองค์ด้วย

3.กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเป็นกรรมฐาน ที่มีหลักการปฏิบัติ เป็นขั้น เป็นตอน ในแนว

  ปฏิสัมภิทา เป็นหลัก มีวิธีการเป็นแนวปฏิบัติ เพราะฟังแล้วปฏิบัติกันเลย

4.มหาสติปัฏฐาน กับ กรรมฐาน มัชฌิมา เกี่ยวข้องกันอย่างไร เกี่ยวข้องกันทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่

  พระพุทธเจ้า ตรัสสอนเช่นเดียวกัน พระพุทธเจ้า ไม่ได้สอนกรรมฐาน หรือ ข้อปฏิบัติเพียงแบบเดียว

  มีการสอน อานาปานสติ อนุสสติต โพชฌงค์ โพธิปักขิยธรรม ทั้งหมดล้วนเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

  ทั้งหมด มหาสติปัฏฐาน ก็เป็นหนึ่งในคำสอน กรรมฐาน มัชฌิมา ก็เป็นหนึ่งในคำสอน ดังนั้นการปฏิบัติ

  ที่สำคัญต้องรู้ตัว จริตของตัว ความชอบใจของตัว ดังนั้นคนหนึ่ง อาจจะปฏิบัติ อานาปานสติ ก็ไม่ผิด

  จะปฏิบัติตาม สติปัฏฐาน ก็ไม่ผิด จะเจริญพุทธานุสสติ ก็ไม่ผิด จะผิดได้อย่างไร เพราะปฏิบัติตามคำสั่งสอน

  ของพระพุทธองค์เช่นเดียวกัน แตกต่างกันด้วยวิธี

5.หลักการในพระพุทธศาสนานั้น เทียบเคียงได้ง่าย ดังนี้

   1.ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติ กรรมฐาน แบบไหนก็ตาม ทุกกรรมฐาน ต้องประกอบด้วย ศีล สมาธิ และ ปัญญา

   2. ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติ กรรมฐาน แบบไหนก็ตาม ทุกกรรมฐาน ล้วนแล้วแต่ต้องละกิเลส ทั้งหมด

   3. ไม่ว่าท่านจะปฏิบัติ กรรมฐาน แบบไหนก็ตาม ทุกกรรมฐาน ล้วนแล้วแต่มีจุดประสงค์เพื่อการสิ้นทุกข์ คือ การเวียนว่ายตาย เกิด ในวัฏฏะสงสารนี้

 6.กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีมาในพระไตรปิฏก หรือ ไม่ ก็ขอตอบว่ามี ซึ่งมีกระจัดกระจาย ในพระไตรปิฏก  เช่นการเจริญพุทธานุสสติกรรมฐาน นั้นก็มี กายคตาสติ ก็มี อานาปานสติ ก็มี

   แม้แต่ห้องพระธรรมปีติ ก็ุถูกแยกไว้ ในคัมภีร์ ธัมมะสังคิณีปกรณ์ โสภณเจตสิก ก็กล่าวเรื่องยุคลหก

 7.พระมหาสติปัฏฐาน และ พระสูตร ต่างในพระไตรปิฏก ไม่ได้อธิบายการปฏิบัติ เพียงแต่กล่าวหัวข้อ และพูดถึงหัวข้อเป็นหลัก เช่น กล่าวเรื่อง อิริยาปถปรรพ ก็กล่าวเพียง อิริยาบถ กับการมีสติ และกล่าวเคล็ด ไม่ได้บอก
วิธีการอย่างชัดเจน

 8. กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีพระสูตร และ อธิบายการปฏิบัติ โดยการพระอาจารย์กับ ศิษย์ สืบกรรมฐาน
กันมาโดยตรง คือศิษย์ กับ อาจารย์ เป็นต้น จึงเป็นแนวปฏิบัติ เพราะศิษย์ฝึกผ่านจึงสอนต่อ ไม่ผ่านก็ไม่สอน นาน ๆ เข้าไม่มีศิษย์ผ่าน กรรมฐาน มัชฌิมา ก็สูญอย่างในปัจจุบัน ศิษย์ที่ผ่านมีน้อยมาก คนส่วนมากจึงมองว่าเป็นกรรมฐาน มี่ฝึกยาก จึงหันไปฝึก แบบง่าย ๆ ที่คิดว่า ง่าย ๆ

อ้างถึง
กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นอยู่ในส่วนไหนของพระไตรปิฏก

ถ้าในส่วนนี้ ก็ขอบอกว่า ให้ไปอ่านเล่มสีน้ำเงิน ที่หลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร รวบรวมไว้ ติดต่อได้ที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม

เพราะก็บอกว่า มีอยู่แทบจะทุกส่วน ของพระไตรปิฏก


กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ


เป็นกรรมฐาน สายกลาง ไม่ได้สอนให้ทรมานตน และ ไม่ได้สอนให้สบาย

ต้องวางจิตเป็นกลาง ไม่อยากได้ และ ก็ไม่ใช่ไม่อยากได้

เพราะกรรมฐานนั้น ยิ่งอยาก ก็ยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่อยาก ก็ยิ่งไม่ได้

ต้องวางใจเป็นกลาง


เจริญพร

 ;)



           


4962  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เส้นทางรถไฟที่สวยที่สุด อยู่ในธิเบต คะ เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 09:11:53 am
พระอาจารย์ ตั้งจิตปรารถนาไว้ ว่าก่อนที่สิ้นอายุขัย จะไปประเทศธิเบต สักครั้ง

 :25:
4963  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: บุญที่ถูกลืม เมื่อ: กันยายน 13, 2010, 09:10:19 am
กรณีของพระอาจารย์ ที่วัดมีอยู่วันหนึ่งต้องเดินทางไปเป็นเพื่อน หลวงพี่เฉย ในวันพระ
 
 ก็ได้ไปทำหน้าที่ประชาสัมพันธ์ให้กับ วัดในเรื่องงานบุญของวัด ตอนที่จะเดินทางไปขึ้นรถ
 
 นั้น ญาติโยมมาทำบุญกันเยอะเหมือนกัน รถจอดเต็มลานวัด พระอาจารย์กับ หลวงพี่ก็เิดิน ไป
 
 เพื่อจะขึ้นรถ ก็แปลกใจว่าไม่มีโยมคนไหนอาสามาทำบุญด้วยการรับพระอาจารย์ไปกันเลย
 
 ทั้ง ๆ ที่ก็ไปทางเดียวกัน หลาย ๆ คัน
 
 จนกระทั่งมีโยมคนหนึ่ง ญาติธรรม หลวงพี่เฉย อาสาไปส่ง
 
 อันนี้ ถ้าตอบก็ว่า นานาจิตตัง ของคนทำบุญ บางคนก็ไม่ใช่ว่าไม่อยากจะรับ
 
 แต่คงจะิคิดว่า ถ้ารับแล้ว จะลำบากเพราะการรับไหม ?
 
 ต้องดูแล เทคแคร์ขนาดไหน ?
 
 ดังนั้น เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องที่ดูเหมือนจะเข้าใจง่าย ๆ แต่ก็เข้าใจยาก
 
 อัตตาหิ อัตตโน นาโถ
 
 ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
 
 พระพุทธภาษิตนี้ต้องมาก่อน นะจ๊ะ
 
 อย่าไปรอใคร ๆ เลย
 
 พระอาจารย์ เองก็ไม่รอใคร ๆ มาอาสา แต่ ขอทำก่อน
 
 สำหรับคติธรรม ส่วนนี้ ถือว่าเป็นส่วนพื้นฐาน ที่ท่านทั้งหลายควรจะใส่ใจ
 
 
 ในโลกเรานี้ มีคนเก่งอยู่มาก มีคนรู้อยู่มาก มีคนดี อยู่มาก
 
 แต่ในโลกนี้ มีคนที่จะเสียสละน้อย มีคนที่ใช้ความรู้่ให้เป็นประโยชน์น้อย มีคนที่จะทำดี น้อย
 
 แม้เพียง น้อย ๆ แค่นี้ ก็ยังทำให้แผ่นดิน บ้านเมือง มีความสุข ถ้ามีมาก ๆ ก็คงทำให้บ้านเมือง
 
 มีความสุขมากกว่านี้
 
 
 มีคนพูดว่า จะทำ หรือ อยากทำ จำนวนมาก
 
    แต่มีคนที่ทำ และ ทำน้อย
 
      ความจริงก็เป็นอย่างนี้ นะจ๊ะ
 
   ถือว่ามาเสริมเรื่อง บุญที่ถูกลืม สักหน่อยเพราะเป็นหัวข้อที่ถูกใจ พระอาจารย์จริง ๆ
 
  เจริญพร
 
  ;)
4964  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เกี่ยวกับ FWD MAIL หรือ จดหมายส่งต่อ แบ่งกันอ่าน เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 08:05:35 am
สำหรับจดหมายส่งต่อ แบ่งกันอ่าน นั้น พระอาจารย์ ขออย่าโพสต์ เรื่อง รัก ๆ ใคร่ ๆ ห้ามโพสต์ ภาพโป๊ เปลือย

สัปปะดน อันผิดต่อศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม อันดีงามของชาวพุทธไทย นะจ๊ะ

ผู้ใดปฏิบัติ ตามนี้ ก็ขอให้ ประสพกับความสุข อายุ วรรณะ สุขะ และ พละ ตามสมควรแก่ธรรม

ส่วนผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ก็ให้ยกเลิก สมาชิก นะจ๊ะ

สาธุ

เจริญพร

 ;)
4965  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ระหว่าง การฝึก กสิณ และ การฝึก พุทธานุสสติ นั้นควรตัดสินใจอย่างไรครับ เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 08:00:13 am
ถ้าตอบภูมิธรรม ทั่วไปนั้น ก็ตอบว่า พิจารณาจาก จริต แต่ปัญหาคือ ที่พระอาจารย์พบนั้น

คือ ตนเองยังไม่รู้่จริตตนเอง และ คนอื่นจะไปรู้่จริตของตนได้อย่างไร ดังนั้นก็สุ่มกรรมฐาน

ให้ สำหรับ พระอาจารย์สมัยก่อน ก็จะให้กรรมฐาน ที่กองละกรรมฐาน

เช่นผู้ที่ชอบฝึก กสิณ นั้น ก็ให้ กสิณ ธาตุ เพราะเหมาะกับทุกจริต

แต่ถ้าเป็นโทสะ จริต ก็ต้องใช้ กสิณ สี

หรือ ออกไปทาง พุทธิจริต ก็ กสิณแสง และ อากาส เป็นต้น


ส่วนเกณฑ์ การตัดสินการฝึกกรรมฐาน นั้นต้องอยู่ ที่ศรัทธา ของผู้ฝึก

ทุกกรรมฐาน ต้องขอบอกตรงนี้ เลยว่า ศรัทธา ต้องมาก่อน ไม่ใช่ ปัญญา มาก่อน

เพราะผู้ฝึกหากขาด ศรัทธา ในพระกรรมฐาน แล้วจะไม่สามารถทำลาย นิวรณ์ ได้

ดังนั้นสำหรับ เราชาวพุทธบริษัท ที่นับถือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้ว

การที่จะระลึกถึงคุณของพระพุทธเ้จ้า ด้วยการฝึก พุทธานุสสติกรรมฐาน จึงไม่ใช่เป็นเืรื่องลำบากแต่ประการใด

ดังนั้น กรรมฐาน พุทธานุสสติ กรรมฐาน ถ้าเทียบ กับ กสิณแล้ว

มีอานุภาพมากกว่า เพราะเป็นกรรมฐาน ชาวพุทธ และ เป็นอารักขกรรมฐาน ด้วย



เจริญพร

 ;)

4966  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ห้องกรรมฐาน มีทั้งหมด กี่ห้อง คะ เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 07:53:53 am
ห้องกรรมฐาน ในการฝึก ระดับ อุปจาระสมาธิ มี 3 ห้อง เท่านัี้น จ้า

1. ห้องพระธรรมปีติ 5 พระองค์ แยก กาย แยก ใจ

2. ห้องพระยุคลธรรม 6 พระองค์ 6 คู่ มีกาย และ ใจ

3. ห้องพระสุขสมาธิ มี 2 พระองค์ สะกดเหลือ 1

ห้องอัปปนาสมาธิ มีหลายห้อง แต่ ไม่จำเป็นต้องฝึกทุกห้อง

เพียงแค่ ห้องพระอานาปานุสสติ สำหรับ ฌาน 4 และ ฌาน 5

เป็นวิปัสสนา จบแล้วในห้องนี้

แต่ถ้าฝึกต่อไป ก็ มีอีกหลายห้อง ซึ่งเอาไว้ถึงก่อนแล้วค่อยตอบ

ระดับ วิปัสสนา นั้น มีเริ่มต้นที่

วิสุทธิ 7

ไปจนจบ โพธิปักขิยธรรม 37

เท่านี้นะจ๊ะ สำหรับคำถาม

เจริญพร

 ;)

4967  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เมื่อ: กันยายน 08, 2010, 07:49:17 am
พระธรรมปีติ นั้น เป็นห้องกรรมฐานห้องที่ 1 จะบอกว่าเน้นหรือป่าว ก็ไม่ได้เน้น

เพียงแต่ลูกศิษย์ ส่วนใหญ่ ปฏิบัติไม่ผ่านในห้องนี้ ก็เลยต้องซ้ำกันอยู่อย่างนั้น

ถามว่าทำไมจึงปฏิบัติไม่ผ่าน ก็ต้องกลับไปอ่าน เหตุผลการปฏิบัติ ที่ย่อหย่อน และ ตึงเกิน

ไม่เป็น มัชฌิมา ( ทางสายกลาง ) จึงทำให้ปฏิบัติไม่ผ่าน



อ้างถึง
พระธรรมปีติ มีอานุภาพ ต่อ กาย และ จิต อย่างไรในกรรมฐาน คะ

พระธรรมปีติมีอานุภาพ สิจ๊ะ

พิจารณาให้ดี เวลาเราดีใจ ปลื้มปีติ พอได้ผ่านปีติ เราก็จะรู้สึกสบายตัว และ สบายใจ

นี้เป็นแบบปุถุชน ปลื้มปีติ ปราโมทย์ แบบปุถุชชน นะ

ที่นี้ถ้าเราได้ปฏิบัติในพระกรรมฐาน มีความชำนาญในห้องพระธรรมปีติ นั้น จะมีอานุภาพ

กับจิต และ กายโดยตรง เช่นการปรับธาตุ เปลี่ยนธาตุ ก็อยู่ในพระธรรมปีติ เป็นหลัก

ดังนั้นผู้ฝึกกรรมฐาน นั้นจำเป็นต้องมีพื้่นฐาน ในการเดินพระธรรมปีติ ทั้งแบบ อนุโลม ปฏิโลม

เข้าสับ องค์พระธรรมปีติ ได้อย่างช่ำชอง

ดังนั้นหลังจากเลิกฝึก ก็จะเห็นว่า กายและจิต นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เช่น

คนนอนหลับยาก ก็จะนอนหลับง่าย ร่างกายก็กระปรี่กระเปร่า แม้ัพักผ่อนกันน้อย

ที่นี้อานุภาพ ของพระธรรมปีติ ที่สำคัญนั้นไม่ใช่้เพียงเพื่อ สมถะ แต่ พระธรรมปีติ

เวลาที่พระโยคาวจร เจริญวิปัสสนา นั้นต้องถอยจากฌานทั้งหมด กับมาที่พระอุปจาระ หรือ

ปฐมฌาน เพื่อกัับมาพิจารณาวิปัสสนา ในนาม และั รูป ในส่วน ของ ปีติ และ สุข

ดังนั้น ปีติ นับเป็นเวทนา สหรคต ในนาม โสมนัส และ สุข เป็นเวทนา

และเป็นบาทฐาน ของการเจริญ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วย


ดังนั้น ผู้ฝึกอย่าได้ดูแคลนองค์ธรรม คือ พระปีติ และ พระสุข เลย เพราะ

คุณธรรมทั้งสองนั้นเป็นบาทฐาน แห่ง วิปัสสนาทั้งปวง

อะไรชื่อว่าตัดยาก ก็คือ ตัณหา

ตัณหา อะไรที่ตัดยาก ตัณหา ในสุข อันเป็น กามสุข ภวสุข นี้ชื่อว่าตัดอยาก

เพราะบุคคลต้องเห็นด้วยปัญญาอย่างแท้จริง จึงจักตัด ตัณหา นี้ได้

ถ้าตัดตัณหาได้ ชื่อว่าเป็นใคร ตอบ ไม่เป็นใคร ทั้งนั้น มีเพียงแต่ใจรู้เห็นตามความเป็นจริงเท่านั้น

เจริญพร ตอบมาก ก็ต้องพิมพ์มากนะจ๊ะ




4968  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ศิษย์ท่านอาจารย์ได้อ่านเล่มนี้หรือยัง เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:13:57 pm
ถึงจะตัดเนื้อหาจากหนังสือเล่มนี้ ออกไป หลายบท ประมาณอีก 7 บท

ก็ยังคงมีอรรถ ในการอ่านอยู่ ซึ่งเป็นข้อความที่เกิดมาในระหว่างที่พระอาจารย์

ใช้ชีวิตในตอนเป็น ฆราวาส นะ

ท่านที่สอบถามมาก็ขอให้อ่านในนี้ก็แล้วกันนะ ไม่มีหนังสือแจกนะฉบับนี้

ไม่ต้องขอกันเข้ามาอีก

เจริญพร

 ;)
4969  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คำแนะนำในการสร้างสมาธิ เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:11:18 pm
คำแนะนำในการสร้างสมาธิ

ต้องเป็นสมาชิก จึงจะเห็นไฟล์ นะจ๊ะ
 ต้องดาวน์โหลดผ่าน server
4970  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมธาตุ เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:10:00 pm
ธรรมธาตุ

ต้องเป็นสมาชิก จึงจะเห็นไฟล์ นะจ๊ะ
ต้องดาวน์โหลดผ่าน server
4971  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิปัสสนา เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:08:50 pm
วิปัสสนาใหม่

ต้องเป็นสมาชิก จึงจะเห็นไฟล์ นะจ๊ะ
 ต้องดาวน์โหลดผ่าน server
4972  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ภาวนากถา เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:07:47 pm
ภาวนากถา บทที่ 2

ต้องเป็นสมาชิก จึงจะเห็นไฟล์ นะจ๊ะ
 ต้องดาวน์โหลดผ่าน server
4973  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เนกขัมมะบารมีกถา เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 02:02:55 pm
เนื่องด้วยมีเมล์ เข้ามาขอหนังสือ เล่มนี้ และ ทั้งที่จะซื้อ หรือ ทำบุญ

ก็ขอตอบว่าหนังสือเล่มนี้ ได้แจกครั้งเดียวในวันอุปสมบทเพียง 250 เล่มเท่านั้น

คงเหลือแต่ไฟล์ซึ่งท่านที่จะอ่านก็สามารถ โหลดตรงนี้ได้เลย นะ

เพราะพระอาจารย์ลองส่งเป็น email ไปให้กว่าจะอัพโหลดได้เป็นคน ๆ ใช้เวลา 15 นาทีต่อคนก็คิดว่า

มาใส่ไว้ที่หน้านี้ดีกว่านะ




เนกขัมมะบารมี กถา บทที่ 1





4974  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / Re: เชิญร่วมปฏิบัติธรรม ๒๕-๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๓ คณะ ๕ วัดราชสิทธาราม เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 09:55:04 am
อ้างถึง
ครั้งนี้ พระอาจารย์ จะไปหรือป่าวครับ จะได้พบพระอาจารย์ สักหน่อยครับ


อนุโมทนา กุศล ด้วย แต่รอบนี้ พระอาจารย์ ไม่ได้ไป นะไม่ต้องไปคอยกัน

เจริญพร

 :25:
4975  เรื่องทั่วไป / แนะนำเว็บไซท์ สายธรรมะ กันหน่อยจ้า / Re: ฝาก หน่อยจ้า เมื่อ: กันยายน 04, 2010, 07:28:01 am
ดี  ๆ  เว็บมาสเตอร์ เปิดตัวเว็บ ตลาดป่าสัก สมาชิก ท่านใด ก็เข้าไปอุดหนุน เป็นสมาชิกกันหน่อยนะส่งเสริม

คนดี ช่วยเหลือทางอ้อมนะ เดี๋ยวไม่มีใครช่วยทำเว็บให้พระอาจารย์


ก็ขอให้ ประสพความสำเร็จ นะ

เจริญพร

4976  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ศีลบริสุทธิ์ ได้ตอนไหนคะ เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:56:42 am
อ้างถึง
โยมสงสัยว่า เวลาเรารักษาศีลให้ บริสุทธิ์ ในขั้น วิสุทธิศีลนั้น มีความหมดจดได้เวลาไหนคะ

เวลาที่ตั้งใจรักษาศีลเพื่อ ปรมัตถ์ธรรม คือมุ่งเพื่อการตัดกิเลส ตั้งความปรารถนาเพื่อพระนิพพาน มีอุปสมานุสติ

เป็นเป้าหมาย


อ้างถึง
สมมุติ ว่า โยมได้ตบยุงไปเมื่อ ชม.ที่แล้ว แต่ก็พยายามรักษาศีล ไม่ตบยุงอีก

ความหมดจดของศีล ใน สีลวิสุทธิ นั้นนับอย่างไร คะ

ศีล เริ่มต้นด้วยการสมาทาน

หมดจดเมื่อเริ่มต้นทำความเพียรใน สมาธิ

หมดจดที่สุดของที่สุดเป็นวิสุทธิ ที่อุปจาระสมาธิ


เนื่องด้วย สีลวิสุทธิ เป็นผลัดส่งไป จิตตวิสุทธิ และ จิตตวิสุทธิ ก็ส่งไปที่ วิสุทธิ ต่อไป

สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่บรรยายล่วงหน้า เพราะ

วิสุทธิ 7 นั้น เป็นห้อง วิปัสสนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ห้องที่ 1

อนุวิปัสสนา เป็นห้องที่ 2

วิปัสสนาญาณ 10 เป็นห้องที่ 3

วิโมกข์ 3 อนุวิปัสสนาวิโมกข์ เป็นห้องที่ 4

โพธิปักขิยธรรม 37 เป็นห้องสุดท้าย ( ปฏิสัมภิทา )                           



ด้านล่างเป็นที่ บรรยายทั่วไป ตามเว็บต่าง ๆ ส่วนใหญ่ จะบรรยายอย่างนี้

สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำัดับ ไม่ใช่แบบนี้ เพราะด้านล่างเป็นแบบปริยัติ อ่านจบแล้วก็ไม่สิ้นกิเลส

อ่านแล้วเพียงแค่รู้เท่านั้น






วิสุทธิ 7 ประการ

                   [size=-1]วิสุทธิ 7 เปรียบเหมือนรถ 7  ผลัด ที่ส่งบุคคลให้ถึงจุดหมายปลายทาง รถย่อมไม่ใช่จุดหมายปลายทางฉันใด  วิสุทฺธิ 7 นี้ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติธรรมฉันนั้น  แต่เป็นเครื่องมือ เป็นทางนำไปสู่จุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน
(ในวงเล็บอธิบายเพิ่มเติมจากแหล่งอื่น)
++++++++++++

         วิสุทธิ 7 ประการ คือ จิตจะถึงความสะอาดบริสุทธิ์ปราศจาก อวิชชา  กิเลส ตัณหา อุปาทาน อกุศลกรรมมี 7 อย่าง คือ  เป็นพระอรหันต์ขีณาสพได้ด้วยความบริสุทธิ์ 7 ประการ

        1. สีลวิสุทธิ คือ ไม่ละเมิดศีล 5 ศีล 8 หรือ ศีล 227 ข้อ ตามกำลังของท่าน
(ความหมดจดแห่งศีล)

        2. จิตตวิสุทธิ จิตจะสะอาดได้ก็กำจัดกิเลสร้ายคือ นิวรณ์ 5 ได้เด็ดขาด
(ความปลอดโปร่งจากอารมณ์ฟุ้งซ่าน ไม่มีนิวรณ์รบกวน)

        3. ทิฏฐิวิสุทธิ  คือ มีจิตเข้าใจมีความคิดเห็นตรง ไม่ขัดแย้งกับพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า  ความเห็นที่ว่าตายแล้วจิตสูญตามขันธ์ 5 หรือพระนิพพานเป็นอนัตตา  เป็นความเห็นผิดไม่ตรงตามพระธรรมคำสอนที่พระองค์ว่า นิพพานนังปรมังสุขัง  พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง ถ้าจิตสูญสลายตามขันธ์ 5  นิพพานเป็นอนัตตาแล้วไซร้ จะเอาอะไรไปเป็นสุขอย่างยิ่งเล่า  โกลนี้เป็นทุกข์เพราะ เป็นอนัตตา พระนิพพานเป็นสุข  เพราะพระนิพพานไม่ใช่อนัตตาไม่ใช่ตัวตน คือ อมตะธรรมชาติที่วิเศษยิ่ง  ไม่มีขันธ์ 5 ไม่มีขันธ์ทิพย์แห่งกายเทพกายพรหม ไม่มีอวิชชา กิเลส ตัณหา  อุปาทาน บาปบุญกรรม ตามไม่ถึงอิสระเสรีตลอดกาล
(ความหมดจดแห่งความเห็น เห็นความเกิดดับแห่งนามรูปตามความเป็นจริง ว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา)

        4. กังขาวิตรณวิสุทธิ  คือ จิตจะบริสุทธิ์  ผุดผ่องสะอาดได้ด้วยหมดความสงสัยกังขาในพระธรรมคำสั่งสอนของพระองค์สวัสดิโส ภาคย์ ที่พระองค์ท่านมีเมตตาต่อปวงชน สั่งสอนเทวดา พรหม คน สัตว์  ชี้แนะแนวทางแสงสว่างของชีวิตคือ พระนิพพาน ผู้ใดเห็นพระพุทะเจ้า  เห็นพระพุทธรูป (องค์แทนพระพุทธเจ้า) ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเข้าใจในพระธรรม  คือ ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา ผู้นั้นเห็นองค์พระตถาคต  ผู้ใดเห็นพระตถาคตผู้นั้นเห็นเข้าใจพระนิพพาน อยู่ในจิตในใจของทุกท่านเอง  คือ จิตหลุดพ้นจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน อกุศลกรรมทำชั่วไม่มี
(ความหมดจดเพราะข้ามความสงสัยเกี่ยวในนามรูป ทั้งในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน)

        5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ  มีความรู้ความเข้าใจในความเป็นไปของจิต คือ ถ้าจิตใจยังผูกพันในอวิชชา  ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของชีวิต มีกิเลส โลภ โกรธ หลง มีตัณหาความอยาก  มีบาปกรรมชั่ว ติดในรสอาหาร ก็ยังเวียนว่ายตายเกิดภพทั้ง 3 คือ กามภพ รูปภพ  อรูปภพ มีนรก สัตว์เดรัจฉาน ผีเปรต คน เทวดา พรหม  เวียนเกิดเวียนตายไม่มีวันหยุดยั้งจนกว่าจะจบกิจ  มีจิตสะอาดเข้าพระนิพพานได้
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ ว่าอันใดเป็นทางอันใดมิใช่ทาง)

        6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  จิตสะอาดบริสุทธิ์หมดจดจากอวิชชา กิเลส ตัณหาอุปาทาน  ได้ด้วยการรู้ฉลาดเข้าใจตามความเป็นจริงของโลก ของร่างกายเป็นทุกข์เป็นโทษ  เพราะแปรปรวนเสื่อมสลาย มีแต่ของสกปรก น่ารังเกียจเป็นของสมมุติ  เป็นของปลอม เป็นภาพมายา หลอกหลอนให้จิตหลงตลอดเวลา เกิดความเบื่อหน่าย  เกิดความวางเฉยเห็นว่าเป็นธรรมดาของโลก ของขันธ์ 5  ไม่ทุกข์ไม่สุขไม่ยินดียินร้ายกับขันธ์ 5 คือ มี วิปัสสนาญาณ 10  อย่างนั่นเอง  เป็นหนทางที่จะทำให้จิตสะอาดเป็นพระอรหัตตผลขีณาสพเจ้ามีจิตพระนิพพานพ้น จากอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แม้ยังไม่ตายจิตก็เป็นสุขเลิศล้ำ ทั้ง ๆ  ที่ร่างกายยังเจ็บป่วยทุกข์ทรมานตามธรรมชาติของโลก  จิตท่านไม่เกาะเกี่ยวกับความทุกข์ในขันธ์ 5 อีกต่อไป
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ เกี่ยวกับปฏิปทาให้ถึงพระนิพพาน)

        7. ญาณทัสสนวิสุทธิ  จิตสะอาดบริสุทธิ์ที่เกิดขึ้นจากพลังของญาณของสมาธิภาวนา พ้นจากกิเลส  ตัณหา อุปาทาน อวิชชาด้วยปัญญาที่เข้าฌาน 1-2-3-4  เป็นอัปปนาสมาธิกำลังแก่กล้า สำเร็จกิจตัดกิเลส อย่างอยาบ อย่างกลาง  อย่างละเอียดเป็นพระอรหันต์ พระอริยบุคคลที่สูงสุดในพระศาสนาเรียกว่า  สมาธิวิมุตติ สำเร็จกิจด้วยกำลังของฌานสมาบัติเป็นปัญญารู้รอบวิปัสสนาญาณ  ตามความเป็นจริง
(ความหมดจดแห่งฌานทัศนะ คือมีความรู้ความเห็นสมบูรณ์เต็มที่)
[/size]
4977  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมลึกซึ้ง อย่าได้ดูหมิ่น เป็นของตื้น เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:43:23 am
ได้อ่านกันมาหลายวัน ไม่ทราบว่า เข้าใจความหมาย ในส่วนของปฏิจจสมุปบาท บ้างหรือยัง

ความต่อเนื่อง ของปฏจจสุมุปบาท นั้น ซึ่งมีผลกับผู้ปฏิบัติ โดยตรง พระพุทธเจ้า พระองค์ ทรง

เน้นให้เป็นพิเศษ และ จะบรรยายยาว ด้วยในพระสูตร ถ้าท่านทั้งหลายสังเกตให้ดี ก็จะเห็นความ

นัยในการปฏิบัติ โดยตรง


   ซึ่งมีอยู่ สอง ส่วนซึ่งเกี่ยวกับการภาวนาในพระกรรมฐาน อย่างมาก ๆ


   คือ 1. เวทนา

       2. นามรูป


  ทั้งสองส่วนนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายอ่านกลับไปกลับมาหลาย ๆ ครั้ง ก็จะเข้าใจวิธีการเดินจิตในวิปัสสนา

สำหรับ พระโยคาวจร ซึ่งจะได้ปิด สังสารวัฏฏ์ ได้

( โปรดอ่านกลับไปกลับมา แล้วเดี๋ยวจะกลับมาวิจารณ์สาธยายให้ฟัง ในรายการ 19.00 น. นะ จะกำหนดวันให้)

เจริญพร
4978  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:24:39 am

 
จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ
      
จิตที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่หดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ         
จิตที่ถือจัด ตกไปข้างฝ่ายฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่รู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายความกำหนัด ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ       
จิตที่ไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ย่อมเป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ
 


เมื่อ ผู้ฝึกจนสามารถ ระงับ อุปกิเลส 12 ประการ ก็จะเริ่มเข้าสู่สภาวะ สงบ จิตขั้นกลาง

ช่วงนี้จักเกิดภาวนาไปนาน ๆ แล้วยังไม่สามารถที่จะรวมศูนย์จิต กับ ลมหายใจเข้า และออกได้

ก็ย่อมทำให้ตกอยู่ในข้างฝ่าย ความฟุ้งซ่าน และ หดหู่ เกียจคร้าน ลังเลสงสัย และอยากหาความ

สุขทางกาย และเข้าถึงกลับมีอารมณ์หงุดหงิด เพราะไม่สามารถเข้าถึงสภาวะได้แม้จะพยายามอย่างไร

ก็ตาม

วิธีแก้ไข ก็คือ ให้ผู้ฝึกกรรมฐาน ทบทวน อารักขกรรมฐาน ( เป็นทางออกที่ดีที่สุด สำหรับคนที่ยังฝึกไม่ได้ )

อย่ารีบร้อน อย่าใส่ความอยาก อย่าฝืนถ้าอารมณ์ไม่เข้าเป็นสมาธิ

สำหรับผู้ฝึกชำนาญ แล้ว ก็ให้ใช้วิธีการเดินจิตทันใจ แทน ( ห้ามถามต่อว่าเดินจิตทันใจคืออะไร )

อันนี้ตอบเฉพาะศิษย์ที่ขึ้นกรรมฐานเท่านั้น นะจ๊ะ

ไม่ขึ้นกรรมฐาน ก็ตอบให้ไม่ได้ เพราะกรรมฐานนั้น ไม่ใช่เรื่องประดับความรู้ นะจ๊ะ

ก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่ง ที่กรรมฐานไม่ค่อยแพร่หลาย ( ไม่ต้องวิตกกับส่วนนี้กันดอกนะจ๊ะ )





      [๓๖๘] จิตที่แล่นไปตามอตีตารมณ์ ที่ปรารถนาอนาคตารมณ์ จิตที่หดหู่ ที่ถือจัด ที่รู้เกินไป ที่ไม่รู้ ย่อมไม่ตั้งมั่น อุปกิเลส๖ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ อุปกิเลสเหล่านั้นย่อมเป็นเหตุให้บุคคลผู้มีความดำริเศร้าหมอง ไม่รู้ชัดซึ่งอธิจิต ฉะนี้แล ฯ

        [๓๖๙] เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด
แห่งลมหายใจออก กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายใน
                  เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจเข้า กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่าน ณ ภายนอก
                กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจออกเพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
              กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรนเพราะความปรารถนา เพราะความพอใจลมหายใจเข้า เพราะความเที่ยวไปด้วยตัณหา
             กายและจิตย่อมมีความปรารถนา หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจออกครอบงำ เป็นผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจเข้า
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่พระโยคาวจรผู้ถูกลมหายใจเข้าครอบงำ เป็น ผู้หลงใหลในการได้ลมหายใจออก
            กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
           กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออกกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงนิมิต กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
          กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต
         กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจออก กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า
        กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะความที่จิตของพระโยคาวจรผู้คำนึงถึงลมหายใจเข้า กวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตแล่นไปตามอตีตารมณ์ ตกไปข้างฝ่ายความฟุ้งซ่าน
       กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหวังถึงอนาคตารมณ์ ถึงความกวัดแกว่งกายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตหดหู่ ตกไปข้างฝ่ายเกียจคร้าน       
      กายและจิตย่อมมีความปรารภ หวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตถือตัว ตกไปข้างฝ่ายอุทธัจจะ
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตรู้เกินไป ตกไปข้างฝ่ายกำหนัด
      กายและจิตย่อมมีความปรารภหวั่นไหวและดิ้นรน เพราะจิตไม่รู้ ตกไปข้างฝ่ายพยาบาท ฯ
         
     ผู้ใดไม่บำเพ็ญ ไม่เจริญอานาปาณสติ กายและจิตของผู้นั้นย่อมหวั่นไหว ดิ้นรน
     ผู้ใดบำเพ็ญ เจริญอานาปาณสติดี กายและจิตของผู้นั้น ย่อมไม่หวั่นไหว ไม่ดิ้นรน ฉะนี้แล ฯ
       ก็และเมื่อพระโยคาวจร ผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านั้น เจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วย    อานาปาณสติมีวัตถุ ๑๖ ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปชั่วขณะย่อมมีได้ อุปกิเลส ๑๘ เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้น ฯ


4979  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สภาวะที่สามารถ เข้ากรรมฐาน ให้จิตเป็นสมาธิ ได้ไว เมื่อ: กันยายน 03, 2010, 09:17:04 am
เนื่องด้วยมีเมล์ มาหาพระอาจารย์โดยตรง เรื่องของการปฏิบัติสมาธิ ไม่ค่อยได้

ทำอย่างไร จักทรงอารมณ์สมาธิ ได้อย่างรวดเร็ว และ ได้ผลมากที่สุด

วันนี้ พระอาจารย์ จะมาแนะนำการปฏิบัติสมาธิ ที่ได้ผลมากที่สุด

คงสนใจกันบ้าง สำหรับ คนที่ทำอะไรกับเขาไม่ค่อยจะเป็นสมาธิ หรือ ไม่ค่อยจะบังคับจิต เท่าใด



1.วิธีที่ 1 หางานทำที่ออกแรงมาก ๆ เช่น ไปดายหญ้า ข้างบ้าน

   หรือ ทำงานในบ้านให้ มากขึ้น เช็ดกระจก จัดห้อง ทำงานให้เหงื่อหยด หอบแฮ่ก ๆ เลยนะจ๊ะ

  อันนี้พระอาจารย์ ไม่ได้พูดเล่น หรือ พิมพ์ให้อ่านคลายเครียด แต่อันนี้เป็นความจริง ทางสภาวะกาย

  ที่เหนื่อย ๆ นั้นก็มักจะหยุด จำศีล โดยธรรมชาติแห่งกาย ในช่วงนั้นเป็นสภาวะ ที่ปล่อยวางมากที่สุด

 สังเกต ให้ดีเวลานิสัย ปุุถุชนนั้น เวลาทำอะไรแล้ว เหนื่อย ๆ  ๆ มาก ๆ ต่อให้มีเงินวาง มีรถให้ ก็ไม่เอาหรอก

 ในภาวะของอัตตกิลมถานุโยค ของพวกฤาษี ก็อาศัยเหตุตรงนี้ เป็นสภาวะ เข้าสู่ ฌาน ในรูปแบบต่าง ๆ

 ดังนั้นเมื่อเราเหนื่อยได้ทีี่แล้ว เช่นออก ไปวิ่งรอบบ้าน สัก 2 - 3 รอบ แล้วกลับมานั่งสมาธิ ตอนนี้ ท่าน

ทั้งหลาย จะได้ยินเสียงทิพย์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเสียงหัวใจ เสียงลม เสียงปอด เสียงรอบด้าน เพราะตอนนี้

ท่านทั้งหลายเข้าสู่สภาวะปล่อยวาง ว่างจากนิวรณ์

  ก็เชิญท่านปฏิบัติ กรรมฐาน ให้มากขึ้น โดยเวลาภาวนานั้นก็ไม่ต้องไม่คำนึงถึงเวลาจะมาก หรือ จะน้อย

ทำได้เท่าไหร่ ก็เท่านั้น ทำอย่างนี้บ่อย ๆ เดี๋ยวท่านก็ทรงอารมณ์สมาธิ ได้ในเบื้องต้น เป็นการปรับสมดุลย์

นะจ๊ะ ก็ยังไม่ถึงที่สุด แต่พระอาจารย์เชื่อว่าหลายท่านก็จะทำได้อย่างง่าย

 ( ที่สำคัญเหนื่อยแล้ว อย่าพึ่งดื่ม อย่างพึ่งกิน อย่าพึ่งนอน อย่าเอนกาย และควรนั่งในที่อากาศถ่ายเทได้ดี)

2. วิธีที่ 2 แบบพระหน่อย ก็ให้ไปเิดินจงกรมกลับไป กลับมาสัก 30 นาที แล้วกลับมาปฏิบัติ สภาวะตรงนี้

 จะได้สองชั้น คือได้แบบที่ 1 และสามารถเดินจิตได้อย่างหยาบ และ กลาง สำหรับคนที่ไม่เคยฝึกมาก่อน

3.สภาวะของความป่วยเข้ามาเบียดเบียน แบบต้องนอน กระแส่ว ๆ ทำอะไรไม่ได้ นั้นเป็นสภาวะที่ควรปล่อย

วางมากที่สุด นึกอารมณ์ให้มันน้อยใจมาก ๆ เลย จะได้เห็นความทุกข์ มาก ๆ นึกอย่างไร นึกอย่างนี้ว่า

อันร่างกายนี้ ไม่อยู่ภายใต้บังคับบัญชา ของเราเลยนะบอกให้ปกติ ก็ไม่ปกติ บอกให้หลัีบก็ไม่หลับ บอกให้กิน

มันก็ไม่กิน ช่างเป็นกายที่ไม่เอากับเรา และ ไม่เชื่อฟังเราเลย ( นึกไปเถอะนะตามนี้ เดี๋ยวก็ปล่อยวาง เพราะ

ธรรมชาติ ของปุถุุชนนั้น ต้องปล่อยวาง ไม่มีใครถือมันได้ 24 ชั่วโมงหรอกนะจ๊ะ ) เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็ลอง

ปฏิบัติกรรมฐาน ส่งอารมณ์ บ้าง เผื่อท่านทั้งหลายจะได้ สังขารุเบกขาญาณ อันเป็น ปฐมฌานของ ปัญญาวิมุตติ




เท่านี้ก่อนนะจ๊ะทุกท่าน



แค่ 3 วิธีนี้ก็ถือว่าเป็นวิธีที่เหลือเฟือมากแล้ว นะ

เจริญพร

 ;)

4980  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มองเห็นตามความเป็นจริง เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:47:00 am

 
 
 
ภาพนี้ ถ้าดูผิวเผิน แล้ว ละก็ แสดงว่าสายตา เราไม่ละเอียด สักแต่รูปจิต เป็นตัณหา
   
 
คนมีกิืเลส มีัตัณหา ส่วนใหญ่ จะมองเป็นรูปสัปดน
   
   
 คนที่ฝึกธรรมะ ไว้ดี จักมองเห็นความจริง
   
 การฝึกภาวนา ก็คือการมองเห็นตามความเป็น จริง ไม่ติดสิ่งลวง นะจ๊ะ
   
   
 เห็นว่าภาพมีความหมายดี นำมาโพสต์ไว้ให้ชม เพื่อได้เกิดสติ
4981  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:35:44 am
 ดูกรอานนท์ ส่วนบรรดาอายตนะทั้ง ๒ นั้นเล่า ข้อที่ ๑ คือ อสัญญี    สัตตายตนะ
ผู้ที่รู้ชัดอสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ    และโทษ แห่งอสัญญีสัตตายตนะ
ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก   อสัญญีสัตตายตนะข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลิน
อสัญญีสัตตายตนะนั้น   อีกหรือ ฯ     

      ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ   

      ส่วนข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ผู้ที่รู้ชัดเนวสัญญานา    สัญญายตนะข้อนั้น
รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณและโทษแห่งเนวสัญญานา    สัญญายตนะข้อนั้น และรู้อุบายเป็น
เครื่องออกไปจากเนวสัญญานาสัญญายตนะ    ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินเนวสัญญานา
สัญญายตนะข้อนั้นอีกหรือ ฯ

      ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ   

      ดูกรอานนท์ เพราะภิกษุมาทราบชัดความเกิดและความดับทั้งคุณและโทษ   และอุบาย
เป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ ๗ และอายตนะ ๒ เหล่านี้ ตามเป็น  จริงแล้ว ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น
ได้ เพราะไม่ยึดมั่น อานนท์ ภิกษุนี้เราเรียกว่า  ปัญญาวิมุตติ ฯ

        [๖๖] ดูกรอานนท์ วิโมกข์ ๘ ประการเหล่านี้ ๘ ประการเป็นไฉน คือ   
 
      ๑. ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๑ 

      ๒. ผู้ไม่มีความสำคัญในรูปในภายใน ย่อมเห็นรูปในภายนอก นี้เป็น    วิโมกข์ข้อที่ ๒   
   
      ๓. ผู้ที่น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๓   
 
      ๔. ผู้บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้     เพราะล่วงรูป
สัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดย ประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์
ข้อที่ ๔   
   
      ๕. ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะ ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้  เพราะล่วงชั้น
อากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ที่ ๕     

      ๖. ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร เพราะล่วง   วิญญาณัญ
จายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๖ 

      ๗. ผู้ที่บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ  โดยประการ
ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๗   

      ๘. ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ   โดยประการ
ทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ ๘   


      ดูกรอานนท์ เหล่านี้แล วิโมกข์ ๘ ประการ ภิกษุเข้าวิโมกข์ ๘ ประการ

 เหล่านี้ เป็นอนุโลมบ้าง เป็นปฏิโลมบ้าง เข้าทั้งอนุโลมและปฏิโลมบ้าง เข้าบ้าง   ออกบ้าง

 ตามคราวที่ต้องการ ตามสิ่งที่ปรารถนา และตามกำหนดที่ต้องประสงค์ 

จึงบรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป เพราะทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน

อานนท์ ภิกษุนี้ เราเรียกว่าอุภโตภาควิมุตติ อุภโตภาควิมุตติอื่น

จากอุภโตภาควิมุตตินี้ที่จะยิ่งหรือประณีตไป กว่าไม่มี พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว

ท่านพระอานนท์ยินดี ชื่นชม  พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล ฯ 

                   จบมหานิทานสูตร ที่ ๒
4982  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:30:20 am
 [๖๔] ดูกรอานนท์ คราวใดเล่า ภิกษุไม่เล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ไม่    เล็งเห็นอัตตา
ว่าไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ ไม่เล็งเห็นว่าอัตตายังต้องเสวยเวทนา  อยู่ เพราะว่า อัตตาของเรามี
เวทนาเป็นธรรมดา ภิกษุนั้น เมื่อเล็งเห็นอยู่อย่างนี้     ย่อมไม่ยึดมั่นอะไรๆ ในโลก และเมื่อ
ไม่ยึดมั่น ย่อมไม่สะทกสะท้าน เมื่อไม่      สะทกสะท้านย่อมปรินิพพานได้เฉพาะตน ทั้งรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี
อานนท์  ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ทิฐิว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์ยังมีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย   สัตว์
ไม่มีอยู่ ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย สัตว์มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วย ว่าเบื้องหน้าแต่ตาย   สัตว์มีอยู่ก็หา
มิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ ดังนี้ กะภิกษุผู้หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ การกล่าวของบุคคลนั้นไม่สมควร ฯ

      ข้อนั้น เพราะเหตุไร   

      ดูกรอานนท์ ชื่อ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ บัญญัติ ทางแห่งบัญญัติ  การแต่งตั้ง
ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญา วัฏฏะยังเป็นไปอยู่ตราบใด วัฏฏสงสาร ยังคงหมุนเวียนอยู่ตราบนั้น
เพราะรู้ยิ่ง วัฏฏสงสารนั้น ภิกษุจึงหลุดพ้น ข้อที่มี   ทิฐิว่า ใครๆ ย่อมไม่รู้ ย่อมไม่เห็นภิกษุ
ผู้หลุดพ้น เพราะรู้ยิ่งวัฏฏสงสารนั้น  นั้นไม่สมควร ฯ

        [๖๕] ดูกรอานนท์ วิญญาณฐิติ ๗ อายตนะ ๒ เหล่านี้ วิญญาณฐิติ ๗    เป็นไฉน
คือ 

      ๑. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์ และพวกเทพบางพวก
พวกวินิบาตบางพวก นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๑   

      ๒. สัตว์มีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพผู้นับเนื่องในชั้นพรหม
ผู้บังเกิดด้วยปฐมฌาน และสัตว์ผู้เกิดในอบาย ๔ นี้เป็นวิญญาณ  ฐิติที่ ๒     

      ๓. สัตว์มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกเทพชั้นอาภัสสร   นี้เป็น
วิญญาณฐิติที่ ๓   
   
      ๔. สัตว์ที่มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน ได้แก่พวกเทพ   ชั้นสุภกิณหะ
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๔

      ๕. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุด มิได้ เพราะ
ล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆะสัญญา เพราะไม่ใส่ใจถึงนานัตตสัญญา โดยประการทั้งปวง
นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๕   

      ๖. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุด มิได้ เพราะ
ล่วงชั้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๖   

      ๗. สัตว์ที่เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไร    เพราะล่วงชั้น
วิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ ๗ 
 
      ส่วนอายตนะอีก ๒ คือ อสัญญีสัตตายตนะ (ข้อที่ ๑) และข้อที่ ๒ คือ เนวสัญญานา
สัญญายตนะ     
      ดูกรอานนท์ บรรดาวิญญาณฐิติทั้ง ๗ ประการนั้น วิญญาณฐิติข้อที่ ๑ มี ว่า สัตว์มี
กายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน ได้แก่พวกมนุษย์และพวกเทพบางพวก   พวกวินิบาตบางพวก
ผู้ที่รู้ชัดวิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความเกิดและความดับ รู้คุณ   และโทษ แห่งวิญญาณฐิติข้อนั้น
และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจากวิญญาณฐิติ  ข้อนั้น เขายังจะควรเพื่อเพลิดเพลินวิญญาณฐิติ
นั้นอีกหรือ ฯ     

      ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ   
                ฯลฯ    ฯลฯ     
      วิญญาณฐิติที่ ๗ มีว่า สัตว์ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ ด้วยมนสิการ ว่า ไม่มีอะไร
เพราะล่วงชั้นวิญญาณณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง ผู้ที่รู้ชัด   วิญญาณฐิติข้อนั้น รู้ความ
เกิดและความดับ รู้คุณและโทษ แห่งวิญญาณฐิติ   ข้อนั้น และรู้อุบายเป็นเครื่องออกไปจาก
วิญญาณฐิติข้อนั้น เขายังจะควร    เพลิดเพลินวิญญาณฐิตินั้นอีกหรือ ฯ 
      ไม่ควร พระเจ้าข้า ฯ
4983  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:27:02 am
 [๖๒] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุ  มีประมาณ
เท่าไร อานนท์ ก็เมื่อบุคคลไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่   บัญญัติว่า อัตตาของเรา
มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อไม่บัญญัติอัตตามีรูปอันหาที่สุดมิได้     ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตา
ของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ หรือเมื่อไม่บัญญัติอัตตาไม่มี รูปเป็นกามาวจร ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตา
ของเราไม่มีรูปเป็นกามาจร เมื่อไม่       บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่บัญญัติว่า อัตตา
ของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ อานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น
กามาวจรนั้น  ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือไม่บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความ     
 เห็นว่า เราจักยังสภาพอันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้   อานนท์ การลง
ความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีรูปที่เป็น   อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร
กล่าวไว้ด้วย   

        อานนท์   ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือ  ไม่
บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ
เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า  อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดาน
ผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร กล่าวไว้ด้วย 

      ส่วนผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจรนั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาล   บัดนี้ หรือไม่
บัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ   อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้
สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาเป็นกามาวจร ย่อมไม่
ติดสันดานผู้มีอรูปที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร  กล่าวไว้ด้วย 

      ผู้ที่ไม่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปหาที่สุดมิได้นั้น ย่อมไม่บัญญัติในกาลบัดนี้หรือไม่บัญญัติ
ซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือไม่มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพอัน ไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อ
เป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า  อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมไม่ติดสันดานผู้มีอรูป
ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควร     กล่าวไว้ด้วย ฯ

      ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อไม่บัญญัติอัตตา ย่อมไม่บัญญัติด้วยเหตุมีประมาณ    เท่านี้แล ฯ   

        [๖๓] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นด้วยเหตุมี ประมาณเท่าไร
ก็บุคคลเมื่อเล็งเห็นเวทนาเป็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นว่า เวทนาเป็น    อัตตาของเรา ถ้าเวทนา
ไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา    อานนท์ หรือเล็งเห็นอัตตา ดังนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย จะว่าอัตตา   ของเราไม่ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้อง
เสวยเวทนาอยู่ เพราะฉะนั้น   อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา อานนท์ บรรดาความเห็น ๓ อย่าง
นั้น ผู้ที่กล่าว    อย่างนี้ว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา เขาจะพึงถูกซักถามอย่างนี้ว่า อาวุโส เวทนา   
 มี ๓ อย่างนี้ คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา บรรดาเวทนา ๓ ประการนี้ ท่านเล็ง
เห็นอันไหนโดยความเป็นอัตตา อานนท์ ในสมัยใด อัตตา  เสวยสุขเวทนา ในสมัยนั้น ไม่ได้เสวย
ทุกขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา  คงเสวยแต่สุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น อานนท์ ใน
สมัยใดอัตตาเสวยทุกขเวทนาไม่ได้   เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยอทุกขมสุขเวทนา คง
เสวยแต่ทุกขเวทนาอย่างเดียว    เท่านั้น ในสมัยใด อัตตาเสวยอทุกขมสุขเวทนา ใน
สมัยนั้นไม่ได้เสวยสุขเวทนา ไม่ได้เสวยทุกขเวทนา คงเสวยแต่อทุกขมสุขเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น 
 
     ดูกรอานนท์ เวทนาแม้ที่เป็นสุขก็ดี แม้ที่เป็นทุกข์ก็ดี แม้ที่เป็นอทุกขม  สุขก็ดี
ล้วนไม่เที่ยง เป็นเพียงปัจจัยปรุงแต่งขึ้น มีความสิ้นความเสื่อม ความ คลาย และความดับ
ไปเป็นธรรมดา เมื่อเขาเสวยสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า    นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อสุขเวทนา
อันนั้นดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเรา       ดับไปแล้ว เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมมีความเห็น
ว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่อ  ทุกขเวทนาอันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไป
แล้ว เมื่อเสวย       อทุกขมสุขเวทนา ย่อมมีความเห็นว่า นี้เป็นอัตตาของเรา ต่ออทุกขมสุขเวทนา
 อันนั้นแลดับไป จึงมีความเห็นว่า อัตตาของเราดับไปแล้ว ผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า  เวทนาเป็นอัตตา
ของเรานั้น เมื่อเล็งเห็นอัตตา ย่อมเล็งเห็นเวทนาอันไม่เที่ยง     เกลื่อนกล่นไปด้วยสุขและทุกข์
มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็น  อัตตาในปัจจุบันเท่านั้น เพราะเหตุนั้นแหละ
อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะ     เล็งเห็นว่า เวทนาเป็นอัตตาของเรา แม้ด้วยคำดังกล่าวแล้วนี้ ผู้ที่
กล่าวอย่างนี้ว่า     ถ้าเวทนาไม่เป็นอัตตาของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา เขาจะพึง
 ถูกซักอย่างนี้ว่า ในรูปขันธ์ล้วนๆ ก็ยังมิได้มีความเสวยอารมณ์อยู่ทั้งหมด ใน  รูปขันธ์นั้น ยัง
จะเกิดอหังการว่าเป็นเราได้หรือ ฯ

      ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ   

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า ถ้าเวทนา ไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราก็ไม่ต้องเสวยเวทนา แม้ด้วยคำดังกล่าว แล้วนี้ ส่วนผู้ที่กล่าวอย่างนี้ว่า
เวทนาไม่เป็นอัตตาของเราเลย อัตตาของเราไม่  ต้องเสวยเวทนาก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวย
เวทนาอยู่ เพราะว่า อัตตาของ       เรามีเวทนาเป็นธรรมดา เขาจะพึงถูกซักอย่างนี้ว่า อาวุโส ก็
เพราะเวทนาจะต้อง   ดับไปทั้งหมดทั้งสิ้น ไม่เหลือเศษ เมื่อเวทนาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ
 เวทนาดับไป ยังจะเกิดอหังการว่า เป็นเราได้หรือ ในเมื่อขันธ์นั้นๆ ดับ    ไปแล้ว ฯ     

      ไม่ได้ พระเจ้าข้า ฯ   

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ ข้อนี้จึงยังไม่ควรที่จะเล็งเห็นว่า  เวทนาไม่เป็นอัตตา
ของเราแล้ว อัตตาของเราไม่ต้องเสวยเวทนาเลยก็ไม่ใช่ อัตตาของเรายังต้องเสวยเวทนาอยู่
เพราะว่า อัตตาของเรามีเวทนาเป็นธรรมดา แม้ด้วยคำ    ดังกล่าวแล้วนี้ ฯ
4984  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:24:29 am
 ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ เรากล่าวอธิบายดังต่อ    ไปนี้


      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ

นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดวิญญาณ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณจักไม่ได้    อาศัยในนามรูปแล้ว ความ

เกิดขึ้นแห่งชาติชรามรณะและกองทุกข์ พึงปรากฏ     ต่อไปได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งวิญญาณ     ก็คือนามรูป
นั่นเอง ด้วยเหตุผลเพียงเท่านี้แหละ อานนท์ วิญญาณและนามรูป   จึงยังเกิด แก่ ตาย จุติ
หรืออุปบัติ ทางแห่งชื่อ ทางแห่งนิรุติ ทางแห่งบัญญัติ  ทางที่กำหนดรู้ด้วยปัญญาและวัฏฏสังสาร
ย่อมเป็นไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ๆ ความ    เป็นอย่างนี้ ย่อมมีเพื่อบัญญัติ คือนามรูปกับวิญญาณ ฯ   

        [๖๑] ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตา ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ    ประมาณเท่าไร
ก็เมื่อบุคคลจะบัญญัติอัตตา มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า      อัตตาของเรามีรูปเป็นกามาวจร
เมื่อบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อมบัญญัติว่า   อัตตาของเรามีรูปหาที่สุดมิได้ เมื่อบัญญัติ
อัตตาไม่มีรูปเป็นกามาวจร ย่อมบัญญัติว่า   อัตตาของเราไม่มีรูปเป็นกามาวจร เมื่อบัญญัติอัตตา
ไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ย่อม    บัญญัติว่า อัตตาของเราไม่มีรูปหาที่สุดมิได้ ฯ   

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตามีรูปเป็น  กามาวจรนั้น
ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ  มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ
อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่ เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็น
กามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่   เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ   

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้มีบัญญัติอัตตามีรูปหาที่สุด    มิได้นั้น ย่อม
บัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือมี   ความเห็นว่า เราจักยังสภาพที่ไม่
เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า อัตตาหาที่สุด
มิได้ ย่อมติดสันดานผู้มีรูปที่เป็นอย่างนี้      เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ   

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูปเป็น   กามาวจรนั้น
ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น หรือ  มีความเห็นว่า เราจักยังสภาพ
อันไม่เที่ยงแท้ที่มีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่ เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่าอัตตาเป็น
กามาวจร ย่อมติดสันดานผู้มีอรูป     ที่เป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ

      ดูกรอานนท์ บรรดาความเห็น ๔ อย่างนั้น ส่วนผู้ที่บัญญัติอัตตาไม่มีรูป  ทั้งหาที่สุดมิ
ได้นั้น ย่อมบัญญัติในกาลบัดนี้ หรือบัญญัติซึ่งสภาพที่เป็นอย่างนั้น   หรือมีความเห็นว่า เราจัก
ยังสภาพที่ไม่เที่ยงแท้อันมีอยู่ให้สำเร็จ เพื่อเป็นสภาพที่เที่ยงแท้ อานนท์ การลงความเห็นว่า
อัตตาหาที่สุดมิได้ ย่อมติดสันดาน ผู้มีอรูป เพราะฉะนั้น จึงควรกล่าวไว้ด้วย ฯ

      ดูกรอานนท์ บุคคลเมื่อจะบัญญัติอัตตาย่อมบัญญัติด้วยเหตุมีประมาณเท่า    นี้แล ฯ
4985  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:13:04 am
   ก็คำนี้ว่า เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป เรากล่าวอธิบายดังต่อ  ไปนี้ 

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิดนามรูป ดูกรอานนท์ ก็วิญญาณจักไม่หยั่งลง   ในท้องแห่งมารดา นามรูป

จักขาดในท้องแห่งมารดาได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณหยั่งลงในท้องแห่งมารดาแล้วจักล่วงเลยไป    นามรูปจักบังเกิด

เพื่อความเป็นอย่างนี้ได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      ดูกรอานนท์ ก็ถ้าวิญญาณ ของกุมารก็ดี ของกุมาริกาก็ดี ผู้ยังเยาว์วัยอยู่  จักขาดความ

สืบต่อ นามรูปจักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ได้บ้างไหม ฯ     

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งนามรูป     ก็คือวิญญาณ

นั่นเอง ฯ
4986  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:11:48 am
ก็คำนี้ว่า เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ เรากล่าวอธิบายดังต่อ ไปนี้


      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว  ไว้ว่า เพราะ

นามรูปเป็นปัจจัยจึงเกิดผัสสะ ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามกาย  ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต

อุเทศ เมื่ออาการ เพศ นิมิต และอุเทศ    นั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อในรูปกายจะพึง

ปรากฏได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      ดูกรอานนท์ การบัญญัติรูปกาย ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ   เมื่ออาการ

เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสโดยการกระทบ จะพึง    ปรากฏในนามกายได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามก็ดี รูปกายก็ดี ต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ   นิมิต อุเทศ

เมื่ออาการ เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี การสัมผัสเพียงแต่ชื่อ    ก็ดี การสัมผัสโดยการกระทบ

ก็ดี จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      ดูกรอานนท์ การบัญญัตินามรูปต้องพร้อมด้วยอาการ เพศ นิมิต อุเทศ     เมื่ออาการ

เพศ นิมิต อุเทศนั้นๆ ไม่มี ผัสสะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ     

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งผัสสะ ก็คือนามรูป

นั่นเอง ฯ
4987  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:10:27 am
๖๐] ดูกรอานนท์ ธรรมทั้งสองเหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกันกับเวทนา   โดยส่วนสอง

ด้วยประการดังนี้แล ฯ   

      ก็คำนี้ว่า  เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา เรากล่าวอธิบายดังต่อ  ไปนี้   

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว   ไว้ว่า เพราะ

ผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าผัสสะมิได้มีแก่ใครๆ   ในภพไหนๆ ทั่วไปทุก

แห่งหน คือจักษุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหา     สัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส

เมื่อไม่มีผัสสะโดยประการทั้งปวง เพราะ ดับผัสสะเสียได้เวทนาจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งเวทนา ก็คือผัสสะ

นั่นเอง ฯ 
4988  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหา เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:08:51 am
 [๕๙] ดูกรอานนท์ ก็ด้วยประการดังนี้แล คำนี้ คือ เพราะอาศัยเวทนาจึงเกิดตัณหา

เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา

เพราะอาศัยการแสวงหา  จึงเกิดลาภ

เพราะอาศัยลาภจึงเกิดการตกลงใจ

เพราะอาศัยการตกลงใจจึงเกิดการ รักใคร่พึงใจ

เพราะอาศัยการรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง

เพราะอาศัยการพะวง จึงเกิดความยึดถือ

เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่

เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน

เพราะอาศัยการป้องกันจึงเกิดเรื่องในการป้องกันขึ้น   

 อกุศลธรรมอันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท

การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ   ย่อมเกิดขึ้น คำนี้เรากล่าวไว้ด้วย

ประการฉะนี้แล

 ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้

เหมือนที่เราได้กล่าวว่า เรื่องในการป้องกันอกุศลธรรม   อันชั่วช้าลามกมิใช่น้อย

คือการถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การ  วิวาท การกล่าวว่า มึง มึง

การพูดคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ย่อมเกิดขึ้น

 ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการป้องกันมิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน    เมื่อไม่มีการ

ป้องกันโดยประการทั้งปวง เพราะหมดการป้องกัน อกุศลธรรมอัน  ชั่วช้าลามกมิใช่น้อย คือการ

ถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การแก่งแย่ง การวิวาท     การกล่าวว่า มึง มึง การพูดคำส่อเสียด

และการพูดเท็จ จะพึงเกิดขึ้นได้    บ้างไหม ฯ     

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการเกิด ขึ้นแห่งอกุศล

ธรรมอันชั่วช้าลามกเหล่านี้ คือ การถือไม้ ถือมีด การทะเลาะ การ  แก่งแย่ง การวิวาท การ

กล่าวว่า มึง มึง การกล่าวคำส่อเสียด และการพูดเท็จ ก็คือการป้องกันนั่นเอง ฯ   

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน เรากล่าวอธิบาย  ดังต่อไปนี้ 

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะอาศัยความตระหนี่จึงเกิดการป้องกัน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ  ตระหนี่มิได้มีแก่ใครๆ ในภพ

ไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตระหนี่  โดยประการทั้งปวง เพราะหมดความตระหนี่

การป้องกันจะพึงปรากฏได้    บ้างไหม ฯ     

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการ   ป้องกัน ก็คือ

ความตระหนี่นั่นเอง ฯ 

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ เรากล่าวอธิบาย  ดังต่อไปนี้ 

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะอาศัยความยึดถือจึงเกิดความตระหนี่ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ   ยึดถือมิได้มีแก่ใครๆ ในภาพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความยึดถือโดย  ประการทั้งปวง เพราะดับความยึดถือเสียได้ ความ

ตระหนี่จะพึงปรากฏ   ได้บ้างไหม ฯ 

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ 

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ  ตระหนี่ ก็คือ

ความยึดถือนั้นเอง ฯ   

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ เรากล่าวอธิบาย    ดังต่อไปนี้ 

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้  กล่าวไว้ว่า

เพราะอาศัยการพะวงจึงเกิดความยึดถือ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการพะวงมิ  ได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการพะวงโดยประการ  ทั้งปวง เพราะดับการพะวงเสียได้ ความยึดถือ

จะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ  ยึดถือ ก็คือ

การพะวงนั่นเอง ฯ

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง เรากล่าวอธิบาย    ดังต่อไปนี้ 

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้    กล่าวไว้ว่า เพราะ

อาศัยความรักใคร่พึงใจจึงเกิดการพะวง ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ รักใคร่พึงใจมิได้มีแก่ใครๆ ใน

ภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความรัก ใคร่พึงใจโดยประการทั้งปวง เพราะดับความ

รักใคร่พึงใจเสียได้ การพะวงจะพึง ปรากฏได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งการพะวง  ก็คือความรัก

ใคร่พึงใจนั่นเอง ฯ     
      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ เรากล่าว อธิบายดังต่อไปนี้
   
      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว  ไว้ว่า เพราะ

อาศัยความตกลงใจจึงเกิดความรักใคร่พึงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าความ ตกลงใจมิได้มีแก่ใครๆ ใน

ภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีความตกลงใจ   โดยประการทั้งปวง เพราะดับความตกลงใจ

เสียได้ ความรักใคร่พึงใจจะพึงปรากฏ  ได้บ้างไหม ฯ 

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยความรักใคร่    พึงใจ ก็คือ

ความตกลงใจนั่นเอง ฯ     

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้   

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว ไว้ว่า เพราะ

อาศัยลาภจึงเกิดความตกลงใจ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าลาภมิได้มีแก่ใครๆ   ในภพไหนๆ ทั่วไปทุก

แห่งหน เมื่อไม่มีลาภโดยประการทั้งปวง เพราะหมดลาภ    ความตกลงใจจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งความ  ตกลงใจ ก็คือ

ลาภนั่นเอง ฯ   

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ เรากล่าวอธิบายดังต่อ  ไปนี้

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เรา   ได้กล่าวไว้ว่า เพราะ

อาศัยการแสวงหาจึงเกิดลาภ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าการแสวงหา มิได้มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหน เมื่อไม่มีการแสวงหาโดย  ประการทั้งปวง เพราะหมดการแสวงหาลาภจะพึง

ปรากฏได้บ้างไหม ฯ

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของลาภ    ก็คือ การแสวงหา

นั่นเอง ฯ   

      ก็คำนี้ว่า เพราะอาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา เรากล่าวอธิบายดังต่อ   ไปนี้

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้กล่าว   ไว้ว่า เพราะ

อาศัยตัณหาจึงเกิดการแสวงหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มีแก่ใครๆ   ในภพไหนๆ ทั่วไป

ทุกแห่งหน คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา เมื่อ  ไม่มีตัณหาโดยประการทั้งปวง เพราะ

ดับตัณหาเสียได้ การแสวงหาจะพึงปรากฏ   ได้บ้างไหม ฯ 

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยของการ    แสวงหาก็คือตัณหา

นั่นเอง ฯ   
4989  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:01:52 am
ก็คำนี้ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เรากล่าวอธิบายไว้    ดังต่อไปนี้ 

 
     ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา ดูกรอานนท์ ก็ถ้าเวทนามิได้มี   แก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไป

ทุกแห่งหน คือ เวทนาที่เกิดเพราะจักษุสัมผัส    โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส

มโนสัมผัส เมื่อเวทนาไม่มี   โดยประการทั้งปวง เพราะเวทนาดับไป ตัณหาจะพึงปรากฏได้

บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งตัณหา ก็คือเวทนา

นั่นเอง ฯ 
4990  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:01:05 am
ก็คำนี้ว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เรากล่าวอธิบายดัง   ต่อไปนี้     


      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าตัณหามิได้มี   แก่ใครๆ ในภพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหน คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา       รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา

เมื่อตัณหาไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ   ตัณหาดับไป อุปาทานจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ 

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งอุปาทาน    ก็คือตัณหา

นั่นเอง ฯ 
4991  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 11:00:14 am
  ก็คำนี้ว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ เรากล่าวอธิบายดัง ต่อไปนี้     

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้ กล่าวไว้ว่า 

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าอุปาทานมิได้มี   แก่ใครๆ ในภพไหนๆ

ทั่วไปทุกแห่งหน คือ กามุปาทาน ทิฏฐุปาทาน    สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน เมื่ออุปาทาน

ไม่มี โดยประการทั้งปวง เพราะ   อุปาทานดับไป ภพจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ     

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งภพ    ก็คืออุปาทานนั่นเอง ฯ
4992  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 10:58:09 am
ก็คำนี้ว่า เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เรากล่าวอธิบายดังต่อไปนี้     

      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบข้อความนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ ดูกรอานนท์ ก็ถ้าภพมิได้มีแก่ใครๆ    ในภพไหนๆ ทั่วไปทุก

แห่งหน คือ กามภพ รูปภพ อรูปภพ เมื่อภพไม่มีโดย ประการทั้งปวง เพราะภพดับไป

ชาติจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลย พระเจ้าข้า ฯ

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชาติ ก็คือภพนั่นเอง ฯ     
4993  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิดชรามรณะ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 10:56:24 am
[๕๘] ก็คำนี้ว่า เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ เรากล่าวอธิบาย ดังต่อไปนี้ 
     
      ดูกรอานนท์ เธอพึงทราบความข้อนี้ โดยปริยายแม้นี้ เหมือนที่เราได้   กล่าวไว้ว่า

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิดชรามรณะ

ดูกรอานนท์ ก็แลถ้าชาติมิได้   มีแก่ใครๆ ในภพไหนๆ ทั่วไปทุกแห่งหน คือ

มิได้มีเพื่อความเป็นเทพแห่งพวกเทพ เพื่อความเป็นคนธรรพ์แห่งพวกคนธรรพ์

เพื่อความเป็นยักษ์แห่งพวกยักษ์ เพื่อความเป็นภูตแห่งพวกภูต เพื่อความเป็นมนุษย์

แห่งพวกมนุษย์ เพื่อความเป็น  สัตว์สี่เท้าแห่งพวกสัตว์สี่เท้า เพื่อความเป็นปักษีแห่งพวกปักษี

เพื่อความเป็น สัตว์เลื้อยคลานแห่งพวกสัตว์เลื้อยคลาน ดูกรอานนท์ ก็ถ้าชาติมิได้มีเพื่อความ   

 เป็นอย่างนั้นๆ แห่งสัตว์พวกนั้นๆ เมื่อชาติไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะชาติ   ดับไป ชรา

และมรณะจะพึงปรากฏได้บ้างไหม ฯ   

      ไม่ได้เลยพระเจ้าข้า ฯ 

      เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เหตุ นิทาน สมุทัย ปัจจัยแห่งชรามรณะ  ก็คือชาติ
นั่นเอง ฯ   Aeva Debug: 0.0005 seconds.
4994  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมลึกซึ้ง อย่าได้ดูหมิ่น เป็นของตื้น เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 10:53:32 am
๒. มหานิทานสูตร (๑๕)
        [๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:
     
      สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ กุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ นามว่า กัมมาส
ทัมมะ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึง ที่ประทับ ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้วถวาย
อภิวาทพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน  ข้างหนึ่ง ครั้นท่านพระอานนท์นั่งเรียบร้อยแล้ว
ได้กราบทูลความข้อนี้กะ พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา

ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ปฏิจจสมุบาทนี้ลึกซึ้งสุดประมาณ และปรากฏเป็นของลึก ก็แหละถึงจะเป็นเช่นนั้น ก็ยังปรากฏแก่ข้าพระองค์ เหมือนเป็นของตื้นนัก ฯ 

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เธออย่าพูดอย่างนั้น อานนท์ เธออย่าพูดอย่างนั้น    อานนท์
ปฏิจจสมุบาทนี้ ลึกซึ้งสุดประมาณและปรากฏเป็นของลึก

ดูกรอานนท์   เพราะไม่รู้จริง เพราะไม่แทงตลอด ซึ่งธรรมอันนี้ หมู่สัตว์นี้
จึงเกิดเป็นผู้ยุ่งประดุจด้ายของช่างหูก เกิดเป็นปมประหนึ่งกระจุกด้าย
เป็นผู้เกิดมาเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง จึงไม่พ้นอุบาย ทุคติ
วินิบาต สงสาร

ดูกรอานนท์   เมื่อเธอถูกถามว่า ชรามรณะ มีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี ฃ

ถ้าเขาถามว่า  ชรามรณะมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีชาติเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ชาติมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า ชาติมีอะไรเป็นปัจจัย   

เธอพึงตอบว่า มีภพเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ภพมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า ภพมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีอุปาทานเป็น ปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า อุปาทานมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า อุปาทานมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีตัณหาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ตัณหามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า ตัณหามี   อะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีเวทนาเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า เวทนามีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า เวทนามีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีผัสสะเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า ผัสสะมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า ผัสสะมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีนามรูป  เป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า นามรูปมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึงตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า นามรูปมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีวิญญาณเป็นปัจจัย

เมื่อเธอถูกถามว่า วิญญาณมีสิ่งเป็นปัจจัยหรือ

เธอพึง ตอบว่า มี

ถ้าเขาถามว่า วิญญาณมีอะไรเป็นปัจจัย

เธอพึงตอบว่า มีนามรูปเป็นปัจจัย

ดูกรอานนท์  เพราะนามรูปเป็นปัจจัยดังนี้แล

จึงเกิดวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงเกิด นามรูป

เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงเกิด ผัสสะ

เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิด เวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงเกิด ตัณหา

เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิด อุปาทาน   

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิด ภพ

เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงเกิด ชรามรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส ฯ     
     
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการฉะนี้ ฯ
4995  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: อานาปานสติ ปฏิสัมภิทามรรค เพื่อการภาวนา เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:56:20 am
[๓๖๗]
   
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิต จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงนิมิตจิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า นี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ
    เมื่อพระโยคาวจรคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออกนี้เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฯ

    เมื่อคำนึงถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก    
    มื่อคำนึงถึงลมหายใจออก จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมือคำนึง ถึงนิมิต ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่นิมิต     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจออก ใจกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจเข้า     
    เมื่อคำนึงถึงลมหายใจเข้า จิตกวัดแกว่งอยู่ที่ลมหายใจออก

อุปกิเลส ๖ ประการนี้ เป็นอันตรายแก่สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปาณสติ

อุปกิเลสเหล่านั้น ถ้าจิตของบุคคลผู้หวั่นไหว ย่อมเป็นเครื่องไม่ให้หลุดพ้นไป

และเป็นเหตุไม่ให้รู้ชัดซึ่งวิโมกข์ให้ถึงความเชื่อต่อผู้อื่น ฉะนี้แล ฯ




นิมิต ในที่นี้ การกำหนดฐานจิต ด้วยรูปแบบ 4 ประการ

1. คณนา การนับ

2. ผุสนา จุดกระทบ

3. อนุพันธนา การติดตาม

4. ฐปนา กำหนดจิดตั้งในฐาน

สำหรับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ อธิบาย ไว้ทั้งหมด  9 ฐาน

แต่ละ ฐาน มี ความละเอียด อยู่ 3 ระดับ คือ เบื้องต้น ท่ามกลาง และ ที่สุด

ไม่ใช่การนับ ฐานเบื้องต้น คือที่ 1

แต่ละฐานมี 3 ขั้น

ดังนั้นเมื่อพระโยคาวจร คำนึงนิมิต มาก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่ลมหายหายใจ เข้า และ ออก

เมื่อคำนึงถึง ลมหายใจ เข้า และ ออก จิตก็จักกวัดแกว่ง อยู่ที่นิมิต อีกเช่นกัน

ดังนั้นในขั้นตอนนี้ จักชี้โทษของการ เพ่ง คือ จับจด เรียกว่า อารัทธา มีความเพียรมากใช้วิธีการบังคับ

ดังนั้น อานาปานุสสติ นั้นต้องผ่อนการภาวนาไม่บังคับ ผู้ฝึกควรฝึกการนับเป็นหลัก ก่อน เมื่อมีความชำนาญ

พึ่งเลื่อนระดับ นิมิต ขึ้นไป

 ;)
Aeva Debug: 0.0005 seconds.
4996  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมทอดกฐิน วัดหนองโสน ( วัดป่าสัก ) ก่อนถึงวัดแก่งขนุน เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:37:39 am
อนุโมทนา สาูธุ

 ;)
4997  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / Re: ร่วมทอดกฐิน ณ วัดเขาวง ( ถ้ำนารายณ์ ) สระบุรี เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:37:01 am
สาธุ  อนุโมทนากุศลด้วย

 ;)
4998  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เกี่ยวกับเทศน์ มหาชาติ ครับ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:35:11 am
สาธุ

 ;)
4999  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวลาทำสมาธิ แล้ว มีแสง เกิดมากมาย และ หายไป ทำอย่างไรดี คะ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:34:39 am
อนุโมทนา ด้วยกับการภาวนา จนพบโอภาส สำหรับสาย เจโตวิมุตติ โอภาส เป็นสิ่งที่หนีไม่ได้

ต้องมีกันทุกท่าน ในห้องพระพุทธานุสสติ นั้น จะมีตั้งแต่ให้ห้องแรกเลยเรียกว่่า พระรัศมี

ส่วนความโชติช่วง นั้นอยู่ที่คุณธรรมภาวนา บางคนเห็นสว่าง เิจิดจ้า บางท่าน ก็เห็นแต่ริบหรี่ เพียงเปลวเทียน

ตามบุญบารมีที่สั่งสมกันมา


แต่โอภาสนั้น เมื่อเกิดแล้ว มีกฏอยู่มากมาย แต่ไม่ต้องนึกถึง กฏเหล่านั้นหรอก เพราะยิ่งนึกถึง ก็จะทำให้

โอภาส นั้นดับลง ดังนั้นผู้ภาวนาพึ่งภาวนาเท่านั้น โอภาส ก็จักเกิด และ คงอยู่เช่นนั้น จนกว่าใจจะปรับ

ปฏิภาคนิมิต ได้โอภาสถึงจะเปลี่ยนตามใจปรารถนา ในการกำหนดนิมิต จะดูแค่สีของ รัศมี เท่านั้น


ดังนั้น ก็แนะนำให้ภาวนาต่อไป โดยเปลี่ยน ฐานจิต ให้แคล่วคล่อง สลับไปมา


ดูในหนังสือ คู่มือเล่มสีเขียว ก็จักเข้าใจได้บ้าง

ที่เหลือ นั้นส่งอารมณ์ทางเมล์ นะ ไม่ให้โพสต์ อารมณ์กรรมฐาน มากกว่านี้

 ;)

[/]
5000  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: เวลาที่ ท้อใจ ทำอย่างไรดีคะ จึงจะไม่เกิดความย่อท้อ เมื่อ: กันยายน 01, 2010, 08:27:31 am
คนท้อใจ นี่หน้าตา ระรื่นชื่นบาน เลยนะ อืม .....



ทุกครั้งที่เกิด ความท้อใจ หรือ หมด กำลังใจ ที่จะทำคุณงามความดี

ให้ย้อนกลับไปตั้งที่ นะโม สวดบท นะโม .... ( มีเรื่องในครั้้ง พุทธกาล  ใครพอจะพอโพสต์ เรื่องนี้ได้ ก็โพสต์หน่อยนะจ๊ะ ) พระพุทธองค์ ทรงตรัสเองเลยด้วยซ้ำว่า

เืมื่อใดที่จิตหดหู่ ทุรนทุราย มีความกลัว และ ท้อถอยแห่ง จิต ให้ สวดบท พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ไปเรื่อย ๆ จนกว่า ใจ จะหายจากความหดหู่ ทุรนทุราย เป็นต้น

ในบทนี้ ชื่อว่า บท ธชัคคสูตร ว่าด้วย ธงชัยของพระศาสนา

ยามใดที่ท้อแท้ ก็เริ่มต้นที่ พุทโธ ศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จะทำได้เองโดยธรรมชาติแห่งจิต

ยามใดที่ปราโมทย์ ยินดี ก็พึงยัง คุณธรรม แห่ง พระกรรมฐาน ให้งอกงามไพบูลย์

ดังนั้นจะเห็นว่า พระพุทธานุสสติ มีแต่ได้ กับได้ เท่านั้นไม่มีเสีย นะจ๊ะ

ถ้านึกถึง ไม่ทัน ก็ นะโม .... สั้น ๆ  สวดไป สวดมา นั่นแหละ

นี่เป็นประการที่หนึ่ง นะจ๊ะ


ประการต่อมา เมื่อเราสังวรใจได้ หรือ ไม่ได้ พึ่งไปหา กัลยาณมิตร เช่น เว็บบอร์ดนี้ ก็มีกัลยาณมิตร อยู่มาก

ให้พบปะ พูด คุย สนทนา กับ กัลยาณมิตร อย่า ไปหา พวกอธรรม เดี๋ยวคุณธรรม จะตก


ประการต่อมา เมื่อได้พูดคุย กับ กัลยาณมิตร แล้ว สิ่งสำคัญ ก็ควรจะได้ สติ แล้ว

กลับมาิพิจารณา มรณัสสติ คือ การระลึกความตายเสียบ้าง จักได้วางเรื่องไร้สาระ ลงบ้าง


ประการต่อมา เมื่อระลึกถึงความตายได้แล้ว พึงพิจา่รณา โดยการแผ่เมตตา ตามหลักการ การแผ่เมตตา

ให้ตัวเรามีสุขก่อนนะจ๊ะ เป็นต้น

เพียงเท่านี้ ก็เชื่อว่าจักคลายท้อถอยลง ได้แล้ว


เจริญพร

 ;)
หน้า: 1 ... 123 124 [125] 126 127 ... 132