ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ดนัย
หน้า: [1] 2 3
1  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การสวดคาถาพญาไก่เถื่อน เมื่อ: กันยายน 22, 2017, 06:53:16 pm
วันนี้ผมได้แก้ไขข้อความบางส่วนเพื่อความเหมาะสม

จุดประสงค์ที่ลงข้อความมีอย่างเดียวคือตอบแทนพระคุณพระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส โดยการแสดงผลการปฏิบัติตามคำแนะนำของพระอาจารย์ให้แก่บุคคลอื่นให้ทราบ แม้ว่าจะเป็นเพียงผลแค่เริ่มต้นเท่านั้น รวมถึงตอบแทนพระคุณพระอาจารย์โดยการสงเคราะห์ลูกศิษย์พระอาจารย์สนธยา ที่พระอาจารย์ให้มาสอบถามวิธีปฏิบัติของผม การพิมพ์ตอบทางมือถือไม่สะดวกและอาจมีข้อแนะนำที่ให้ไม่เสมอกัน เพราะผู้ถามบางคนไม่ได้ถามก็จะไม่ได้ข้อแนะนำบางอย่างไป

ผมไม่มีเจตนาจะสอนสายอาคมให้เป็นสาธารณะ เนื่องจากตัวเองยังไม่มีความสามารถขนาดนั้น ยังต้องรับคำแนะนำและตามอ่านคำสอนพระอาจารย์อยู่เสมอ ไม่มีคุณสมบัติจะแนะนำหรือสอนใคร

ในยุคที่คำสอนของพระโคตมพุทธเจ้ายังดำรงค์อยู่ ผมเห็นว่าไม่ควรกล่าวธรรมอื่นนอกจากของพระองค์ท่าน ความปรารถนาตรัสรู้เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าของผมจึงเป็นเรื่องส่วนตัว ผู้ใดเคยตั้งมโนปณิธานไว้อย่างไร กรรมก็จะจัดสรรให้ตามนั้น ไม่ต้องให้ใครมาบอก จะมองเห็นทางของตนเอง

ใครปรารถนาฤทธิ์ อภิญญา ควรพิจารณาให้ดีก่อนว่าทำเพื่ออะไร เกี่ยวข้องอะไรกับการบรรลุมรรคผล ถ้ารู้คำตอบแล้ว ทางในสายอาคมจะปรากฎเอง โดยอาศัยคำแนะนำของครูอาจารย์ในเบื้องต้น

2  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การสวดคาถาพญาไก่เถื่อน เมื่อ: สิงหาคม 31, 2017, 07:49:07 pm
กิจวัตรประจำวัน
1.   สวดมนต์ไหว้พระตามปกติ
2.   ทำบุญปัจจัย เก็บไว้ไปทำที่วัด
3.   เตรียมตัวก่อนสวด
        3.1 จัดที่นั่งให้ดี เพราะขณะสวดอยู่ห้ามขยับ
        3.2 บอกคนใกล้ชิด ห้ามรบกวนขณะสวด เพราะถ้าหยุดสวดทำกิจอื่นต้องสวดใหม่ไม่นับ
        3.3 เตรียมลูกประคำไว้สำหรับสวด 1 รอบลูกประคำจะได้จำนวน 108 จบ แต่ถ้าไปค้างที่อื่นไม่
        ได้นำลูกประคำไป ให้ใช้กระดาษปากกา จดทุกครั้งที่สวดจบ 1 จบ
4.   กล่าวคำอธิษฐานสั้นๆ “ข้าพเจ้าขอตั้งสัจจะสวดคาถาพญาไก่เถื่อน 108 จบ บุญกุศลใดที่จะเกิดจากการสวดในครั้งนี้ ขอจงเป็นปัจจัยให้ ....” การสวด 1 คาบ (108 จบ) ใช้เวลาประมาณ 40-45 นาที ถ้าชำนาญแล้วต้องการฝึกจิตของตนเอง ก็อธิษฐานสวด 216 จบ ใช้เวลาประมาณ 1.30 ชม.
5.   เริ่มสวดก็นับประคำไปเรื่อยๆ 1 จบ ก็ 1 เม็ดประคำ ใจก็นึกถึงพระพุทธเจ้าแต่ละคำที่สวด
6.   เมื่อสวดครบก็ให้อธิษฐาน “ขอผลบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำแล้วในครั้งนี้ จงเป็นปัจจัยให้...” อธิษฐานให้เหมือนกับตอนแรก
7.   แผ่เมตตา ตามแบบของพระอาจารย์สนธยา แล้วก็อุทิศส่วนกุศลให้โอปปาติกะที่ดูแลเรา

ข้อห้าม
1.   ห้ามผิดสัจจะ ตั้งใจสวดกี่จบก็ต้องตามนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นก็ตาม เช่น
   •   ง่วง
   •   เบื่อ
   •   ร้อน
   •   หนาว
   •   เมื่อย
   •   ตะคริวกิน
   •   หิวน้ำ
   •   เหนื่อย
   •   คนรบกวน
   •   โทรศัพท์ดัง
   •   ได้ยินเสียงแปลกๆ ที่น่ากลัว
   •   เห็นนิมิตที่น่ากลัว
   •   ฯลฯ

2.   ห้ามหยุดสวดแม้แต่ 1 วัน ไม่ว่าจะมีธุระอะไรก็ตาม ต้องสวดให้ได้ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 คาบ
3.   ห้ามโกงตัวเอง ถ้าเราไม่แน่ใจว่านับประคำไปแล้วหรือยัง ให้เริ่มสวดใหม่ทั้งหมดตั้งแต่แรก ต้องรักษาสัจจะ
4.   ห้ามหลงนิมิตใดๆ ที่เกิดในระหว่างสวด ทั้งที่ดีและไม่ดี ดีก็ฟุ้งซาน ไม่ดีก็หวาดกลัว สิ่งที่ต้องทำก็คือแค่สวด
5.  ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นห้ามลืมตาระหว่างสวด
6.   ห้ามสวดเกิน 2 คาบ ต่อเนื่องกัน เพราะฝืนร่างกายเกินไป การสวดกับการทำสมาธิต่างกัน ถ้าจะสวดให้ได้เยอะๆ ให้สวดทีละคาบ แล้วพัก ถึงกลับมาสวดใหม่
7.   ห้ามสวดเร็วเกินไป ให้สวดพอดีๆ สวดให้ได้เวลา 30 นาทีขึ้นไปต่อ 1 คาบ สวดช้าไม่เป็นไร แต่ต้องระวังง่วง

3  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: จำเป็นต้องปฏิบัติ ภาวนา ตามลำดับ ทุกขั้นตอนหรือไม่ ครับ ถ้า เพื่อ มรรค ผล เมื่อ: กันยายน 14, 2015, 12:49:17 pm
 like1 like1 like1

 st11 st12 st12 คุณ aaaa
4  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอบคุณ "ที่คิดถึง" แต่การภาวนา "นั้นไม่เกี่ยว" เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 08:31:23 pm
     ถ้านำเนื้อหาในกระทู้ที่พระอาจารย์เขียนถึงศิษย์ มาเปรียบเทียบกับโอวาทปาติโมกข์ แล้วใช้ปัญญาพิจารณาคงพอทราบได้ว่าเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กันอย่างไร ซึ่งไม่น่าจะไม่ใช่จุดที่คุณก้านตอง สงสัยและตั้งคำถามกับผม

     ด้วยความปรารถนาดีของพระอาจารย์ แต่เป็นความประมาทของผม ทำให้ผมไม่ได้สนใจที่จะเข้ามาดู มาศึกษาในเว็บนี้สักเท่าไรในช่วงหลายปีที่ผ่านมา รวมถึงการเจริญพระกรรมฐานอย่างสม่ำเสมอตามที่พระอาจารย์ได้แนะนำ

     แต่ด้วยเหตุบางอย่างทำให้ผมเริ่มกลับมาปฏิบัติอย่างจริงจัง แล้วกลับมาอ่านเนื้อหาตามกระทู้ต่าง ๆ ใน เว็บนี้ อ่านกระทู้นี้ครั้งแรกก็รู้สึกว่าตัวเองทำผิดพลาดอย่างมากที่ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยมาหลายปี มัวแต่ไปศึกษา ค้นคว้า หาวิธีที่จะไปนิพพานอย่างง่าย ๆ เพราะขี้เกียจภาวนา มัวแต่ศึกษา มัวแต่อ่าน มัวแต่ฟัง มัวแต่ทำความเข้าใจธรรมะ เจริญสติ ตามดูจิตอยู่หลายปี บางครั้งก็ดูเหมือนจะประสบความสำเร็จ เหมือนจะบรรลุธรรมอะไรบางอย่าง แต่กาลเวลาก็เป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากิเลสทั้งหลายยังอยู่ครบบริบูรณ์ แถมดูเหมือนยังจะมากขึ้นอีก แต่พอได้อ่านกระทู้ของบางท่าน หลายท่านก็ปฏิบัติพระกรรมฐานเจริญก้าวหน้า ไปถึงพระสุขสมาธิก็มี ถึงอานาปานสติก็มี ทำให้รู้สึกว่าตัวเองทำพลาดไป ประมาทเกินไป ก็เลยตอบ อนุโมทนา สาธุ กับความหวังดีและความห่วงใยที่พระอาจารย์ส่งถึงศิษย์ทุกคนถึงแม้พระอาจารย์จะเตือนไว้หลายปีแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นเรื่องเก่าเลย

     หลังจากอ่านข้อความของพระอาจารย์หลายรอบ ทำให้นึกถึงคำสอนอันจัดว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่พระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้เป็นโอวาทปาติโมกข์ ทำให้รู้สึกว่าอยากจะลงไว้เทียบเคียงกัน เมื่อ สองพันกว่าปีก่อน พระพุทธเจ้าก็ตรัสสอนพระสาวกให้ ละอกุศล เจริญกุศล ทำจิตให้ผ่องใส พระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ก็เช่นกัน ด้วยความที่พระอาจารย์เป็นพระนักปฏิบัติ ทำให้ท่านมีปัญญาแตกฉานในธรรม ขยายความธรรมะอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาได้ชัดเจนมาก ยิ่งทำให้ผมยิ่งเชื่อมั่นขึ้นว่า ทางสำหรับผู้ที่ปรารถนาอย่างแท้จริงในการออกจากทุกข์ คือการเจริญภาวนาเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: คุยเรื่อง "คาถาตวาดมาร" เมื่อ: กันยายน 10, 2015, 01:35:09 pm
 thk56 like1

 st11 st12 st12
6  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอบคุณ "ที่คิดถึง" แต่การภาวนา "นั้นไม่เกี่ยว" เมื่อ: กันยายน 09, 2015, 11:46:51 pm
โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]

       หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
       ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา
       (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
       คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)

           สพฺพปาปสฺส อกรณํ   กุสลสฺสูปสมฺปทา
           สจิตฺตปริโยทปนํ   เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
                          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
                          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
                          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
                          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
           อนูปวาโท อนูปฆาโต   ปาติโมกฺเข จ สํวโร
           มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ   ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
           อธิจิตฺเต จ อาโยโค   เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ

       แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

       ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ

       การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

       ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
           ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

อ้างอิงจาก: http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E2%CD%C7%D2%B7%BB%D2%AF%D4%E2%C1%A1%A2%EC
   
     
7  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ขอบคุณ "ที่คิดถึง" แต่การภาวนา "นั้นไม่เกี่ยว" เมื่อ: กันยายน 07, 2015, 05:16:37 pm
 st11 st12 st12
8  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มนสิการ ของผู้ภาวนาที่ไม่ควรขาด เพราะถ้าขาดเมื่อใด เมื่อนั้น วิมุตติ ย่อมห่างไกล เมื่อ: สิงหาคม 27, 2015, 08:49:00 am
 st11 st12 st12
9  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ดูลมหายใจเข้า ออก นั้นถ้าไม่ภาวนาพุทโธ หรือ ภาวนาพุทโธ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 27, 2015, 01:21:56 am
ถ้าใครมีข้อความ ของ พระอาจารย์ นำมาแปะไว้ บ้างก็ดีนะครับ อย่างเรื่อง การฝึก อานาปานสติ และ อานาปานบรรพ นี้ คุณดนัย น่าจะได้ข้อความพิเศษ นะครับ

   ปกติ แล้ว ในสาย สติ ปัฏฐาน ( โดยเฉพาะพวกผม ศิษย์ วัดท่ามะโอ ลำปาง ) ก็เห็นว่า อานาปานบรรพ กับ อานาปานสติ เป็นแบบเดียวกัน

   แต่จากข้อความ คุณดนัย แสดงให้เห็นว่า อานาปาบรรพ กับ อานาปานสติ มีวิธีการไม่เหมือนกัน ถ้าอย่างไรปล่อย เคล็ดวิชาให้บ้างก็ดี นะครับ

   :49: st11 st12

 like1 like1 like1 ยินดีที่คุณ ประสิทธิ์ มีความตั้งใจในการปฏิบัติพระกรรมฐานครับ

ผมไม่เคยถามพระอาจารย์เลยว่า อานาปานบรรพ มีวิธีเจริญยังไง อย่างที่บอกไปว่าทำไปแบบไม่รู้ เพราะช่วงเวลาดำเนินชีวิตตามปกติ เจริญพระกรรมฐานมัชฌิมาไม่ได้ เลยเอาใจมารู้ที่ลมหายใจเอง พอทำแล้วจิตสงบ กายสงบ มีความสุข ก็เลยทำไปเรื่อย ๆ นึกได้เมื่อไหรก็ทำ ก่อนนอนก็ทำ แต่ทำเวลาจะนอนมันมักไม่ยอมหลับ ไม่ยอมง่วง บางทีผ่านไป 2-3 ชม. เลยต้องยอมคลายจากการตามรู้ 

แต่พอปฏิบัติไปถึงอาการคล้าย ๆ กายกับจิต แยกกัน มันก็สุดแค่นั้น เหลืออยู่แค่ตัวรู้ ไม่มีความคิดใด ๆ ถ้าจะคิดก็อาจคิดได้ แต่มันไม่คิด มันแค่รู้ที่ลม ก็เลยถามพระอาจารย์ ท่านเลยบอกว่าเป็นอานาปานบรรพ ไม่ใช่อานาปานสติ ท่านเลยบอกวิธีทำต่อมาให้ ถ้าผมยังอยากจะทำอานาปานบรรพต่อ ดังนั้นเรื่อง อานาปานบรรพ มีแค่นี้ครับ

สำหรับอานาปานสติผมหาลิงค์ของพระอาจารย์มาให้ ลองไปศึกษาดูครับ

ส่วนถ้าสนใจเรื่อง อานาปานบรรพ ก็ลองสอบถามพระอาจารย์ดู ที่ผมนำประสบการณ์มาลงให้อ่าน เพราะต้องการให้ เพื่อน ๆ ผู้ร่วมปฏิบัติธรรม ทราบ ว่ายุคนี้ ปฏิบัติจริง ผลก็เกิดอยู่ ยิ่งได้ครูอาจารย์ ที่รู้จริงก็ยิ่งเป็นบุญของนักปฏิบัติ สำหรับผู้ที่ยังมีอารมณ์ไม่มั่นคงในพระกรรมฐานนะครับ ส่วนนึงที่ท่านปฏิบัติได้และไม่เปิดเผยก็คงมีอีกมาก ที่ผมปฏิบัติได้ ผมว่าเป็นแค่ ผลการปฏิบัติแค่เล็กน้อยเท่านั้น


อานาปานสติ
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=8334.0

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3186.0
10  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:33:30 pm
ขอบคุณมาก ครับ ทั้งคำถาม และ คำตอบ ถึงแม้จะเข้าใจได้ยังไม่มาก แต่ อย่างน้อย ก็รู้ว่า แนวคิดเพื่อ การไม่กลับมาเกิดนี้ ยังมีอยู่ในกลุ่มชนชาวธรรม ครับ

 st11 st12 st12





     สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม สนฺทิฏฺฐิโก

         อกาลิโก เอหิปสฺสิโก โอปนยิโก ปจฺจตฺตํ

               เวทิตพฺโพ วิญฺญูหีติ




    พระธรรม เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว

           เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง

     เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ไม่จำกัดกาล

           เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด

     เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว

           เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน






ที่มาจาก: http://www.fungdham.com/pray/pray04.html
11  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งกรรมฐาน แล้ว ง่วง ทำอย่างไร ดีครับ ที่จะแก้ง่วงได้ครับ เมื่อ: สิงหาคม 26, 2015, 09:25:57 pm
 st11 st12 st12  คุณ raponsan

นำมาลงได้ละเอียดครบถ้วน และจัดได้สวยงาม อ่านได้สบายตามาก
12  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ดูลมหายใจเข้า ออก นั้นถ้าไม่ภาวนาพุทโธ หรือ ภาวนาพุทโธ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:56:22 pm

การดูลมหายใจเข้า ออก โดยไม่บังคับ เช่น ไม่บังคับให้หายใจสั้น หายใจยาว ไม่มีการกำหนดนับ เจริญแบบนี้เป็นอานาปานบรรพ 

การดูลมหายใจเข้า ออก โดยบังคับ เช่น บังคับให้หายใจสั้น หายใจยาว มีการกำหนดนับ เป็นต้น เจริญแบบนี้เป็นอานาปานสติ

โดยส่วนตัวเคยเจริญอานาปานบรรพโดยไม่ตั้งใจ เพราะปกติชอบกรรมฐานที่เกี่ยวกับลมหายใจ ลองทำเองโดยไม่มีครู กำหนดรู้ในลมหายใจ โดยไม่บังคับ ปล่อยให้มันหายใจเอง และก็ไม่ได้บริกรรมภาวนา กำหนดรู้ในลมอย่างเดียว ในทุกอิริยาบถ ตามแต่จะมีสตินึกได้ เมื่อเจริญไปเรื่อย ๆ ลมหายใจจะชัดขึ้น รู้สึกถึงลมหายใจมากขึ้น คล้ายว่ามันพัดแรง หายใจแรง แต่จริง ๆ ก็เท่าเดิม เพราะไม่ได้บังคับ และอยู่ในอิริยาบถผ่อนคลายอยู่แล้ว รู้สึกถึงความเย็นจากลมหายใจ เมื่อจิตรวมเข้าเกิดปีติขนลุกตามแขนขา เกิดปีติคล้ายมดแมลงไต่ หลังจากนั้นจะเพลินในการตามรู้ วางเฉยในร่างกาย ไม่อยากสนใจในร่างกาย ไม่อยากไปรู้ที่ร่างกาย จิตรวมอยู่ที่ลมหายใจ สติระลึกรู้อยู่ที่ลมหายใจ มีความสุขเพลิดเพลินในการตามรู้ลมหายใจ และรู้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกาย แยกกันออกตอนนั้น


พระกรรมฐานโดยทั่วไป แบ่งเป็น รูปกรรมฐาน อรูปกรรมฐาน และกรรมฐานที่ไม่ใช่รูป และอรูป

รูปกรรมฐาน เช่น กสิน ๑๐ มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง อัปปนาจิต (ฌาน ๔)

อรูปกรรมฐาน เช่น อากาสานัญจายตนะ มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง อัปปนาจิต (ฌาน ๘)

กรรมฐานที่ไม่ใช่รูป และอรูป เช่น อนุสสติ ๑๐ (ยกเว้น กายาคตาสติ และอานาปานสติ) มีผลให้จิตตั้งมั่นถึง แค่อุปจาระฌาน

13  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ดูลมหายใจเข้า ออก นั้นถ้าไม่ภาวนาพุทโธ หรือ ภาวนาพุทโธ ให้ผลแตกต่างกันอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 09:52:00 pm
จากหนังสือที่ระลึก “วันอุปสมบถ”

การภาวนา “พุทโธ”

แบบที่ ๑         เป็นอุปจารภาวนา โดยการภาวนา พุทธคุณ ไว้ในใจ นิ่งในใจอยู่อย่างนั้น ตามระลึกถึงคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผลการปฏิบัติ ย่อมทำให้จิต ผ่องใส ยืน เดิน นั่ง นอน ก็แจ่มใส ย่อมเป็น เทวดา เป็นพรหม
อานิสงค์          เป็นกำลัง แห่งวิปัสสนา

แบบที่ ๒     เป็นอัปปนาภาวนา
                  ใช้คำภาวนาจาก พระพุทธคุณ ๙                                     บริกรรมนิมิต
                  กำหนดวัตถุนิมิต เป็นพระพุทธคุณ เป็นแบบ กสิน                   บริกรรมนิมิต
                  กำหนดจิตตนิมิต เป็นพระพุทธรูปที่ยกไว้เป็น วัตถุนิมิต             อุคคหนิมิต
ผลการปฏิบัติ ย่อมทำให้ บรรลุ จตุตถฌาน
อานิสงค์      ทำให้เกิด ญาณ ๘


รายละเอียดเพิ่มเติมลองส่งข้อความ หรืออีเมล์ถามพระอาจารย์
14  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: นั่งกรรมฐาน แล้ว ง่วง ทำอย่างไร ดีครับ ที่จะแก้ง่วงได้ครับ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 08:24:08 pm
ask1

นั่งกรรมฐาน แล้ว ง่วง ทำอย่างไร ดีครับ ที่จะแก้ง่วงได้ครับ

 thk56

 ans1


ผมเองเป็นผู้ปฏิบัติมีประสบการณ์น้อย แต่ก็จะลองแบ่งปันประสบการณ์ดูนะครับ

อาการง่วงในสมาธิเกิดเพราะเหตุใด

๑.   ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ
๒.   ร่างกายป่วยไข้ ไม่สบาย
๓.   ปฏิบัติในอิริยาบถเดิมนานไป
๔.   ภาวนาคำภาวนาช้าไป
๕.   ปฏิบัติหลังทางข้าว
๖.   นั่งในที่ที่เย็นไป
๗.   นั่งในท่าสบายเกินไป
๘.   ไม่ได้สมาทานศีล ก่อนปฏิบัติ
๙.   ไม่ได้ขอขมาพระรัตนตรัย ก่อนปฏิบัติ

ภายหลังการปฏิบัติผมจะทบทวนว่า วันนี้ปฏิบัติได้ผลเป็นอย่างไร ได้ผลดีน่าจะเป็นเพราะอะไร ได้ผลไม่ดีน่าจะเป็นเพราะอะไร แล้ว เปรียบเทียบกับการปฏิบัติครั้งก่อน ๆ

แต่ที่เล่าให้ฟังนั้น ถ้าทำจนชำนาญแล้ว ทั้ง ๙ ข้อนั้นไม่เป็นอุปสรรคสำหรับการภาวนา เกิดขึ้นเฉพาะช่วงแรก ๆ เท่านั้น ถ้าสติ สมาธิ เกิดแล้ว ไม่เป็นผล แต่ก็อาจมีบางครั้งที่เป็นอุปสรรค แต่ส่วนใหญ่ไม่เป็น แต่ก็พยายามรักษาแนวทางการปฏิบัติให้คงที่ ไม่พยายามฝืนกาย จิต มากไป

เป็นกำลังใจให้ครับ คุณ บุญเอก




15  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:53:55 pm

แก่นพุทธศาสน์

เรื่อง ความว่าง (ตอนที่ ๔)

พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)

ธรรมกถาในโอกาสพิเศษ ณ ชุมนุมศึกษาพุทธธรรม (ศิริราช)

ในอุปการะของคณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล

มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์

๕ มกราคม ๒๕๐๕
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/buddhadas/bdd-02-04.htm

 ลองอ่านเพิ่มเติมกันดู นะคะ  :58:

 thk56 thk56 thk56

ยินดีที่เข้ามาแสดงความเห็นครับ คุณ MODTANOY
16  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 07:48:36 pm
 st11 st12 st12

ขออนุโมทนา สาธุ กับทุก ๆ ท่านที่เข้ามาตอบและแสดงความเห็น โดยเฉพาะคุณกบ ที่จดจำธรรมไว้ได้มาก และถ่ายทอดได้ดีมาก

หวังว่าทุกท่านใคร่ครวญในธรรม ด้วยสติ ย่อมได้ปัญญากันทุกท่านนะครับ

ผมเองก็จะนำไปศึกษา ต่อยอดการปฏิบัติ เพื่อการสิ้นภพ สิ้นชาติ เช่นกัน

ช่วงนี้อาจรบกวน สหธรรมทุกท่านมากหน่อย เนื่องจากพอศึกษา แล้วปฏิบัติ บางครั้งก็ติดขัด

ท่านใดสะดวกก็ช่วยมาตอบกระทู้ อื่น ๆ ด้วยนะครับ



"สัพพะทานัง ธัมมะทานัง ชินาติ"




 thk56 thk56 thk56


17  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 01:08:50 am
 thk56 st11 st12 st12

คุณ komol

ช่วงนี้พระอาจารย์ท่านต้องการพักผ่อน เลยมาลองถามดู ขอบคุณมาก



ท่านใดมีข้อมูลอื่น ๆ รบกวนช่วยโพสต่อด้วยครับ

จากที่อ่านมา ทบทวนกับอารมณ์ในสมาธิ พอจะตอบข้อ ๕ ได้เล็กน้อย

ท่านใดมีความเข้าใจ หรือมีผลการปฏิบัติ ที่ใกล้เคียงกับที่ผมสงสัย ก็สนทนากันได้นะครับ

ไม่ต้องเกรงว่าผิด ถูก

 thk56

18  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / คำถามเกี่ยวกับ วิญญาณ เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:11:29 am
 ask1

๑.   วิญญาณในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้งหมดเป็น ธาตุวิญญาณหรือไม่?

๒.   การเข้าถึงมนธาตุ ใช้วิญญาณอันไหนเข้าถึง?

๓.   วิญญาณทั้ง ๖ เป็นวิญญาณอันเดียวกันหรือไม่ แยกกัน หรือเป็นวิญญาณอันเดียวกันที่ไปรู้ในตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

๔.   เวลาที่เราคิด มโนวิญญาณทำงานอย่างไร ทำงานสัมพันธ์กับจิตหรือไม่ อย่างไร?

๕.   ความเข้าใจ ธาตุวิญญาณ ส่งเสริมต่อ สมาธิ หรือ วิปัสสนา หรือทั้ง ๒ อย่าง หรือไม่เกี่ยวกับทั้ง ๒ อย่าง ?

19  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 25, 2015, 12:04:42 am
 st11 st12 st12
20  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถามว่า โคตรภูบุคคล คือใคร มีอารมณ์อย่างไร เห็นอย่างไร ในธรรม ครับ เมื่อ: สิงหาคม 24, 2015, 11:55:41 pm

     ในส่วนของผมเอง ผมมีความเห็นในการอธิบายว่า


     โคตรภูบุคคล ก็คือ ผู้ที่มีคุณธรรม อยู่ระหว่าง ปุถุชน กับ พระโสดาปัตติมรรค

     อาจสามารถแบ่งได้เป็น อ่อน กลาง แก่

          อ่อน หมายถึง ค่อนไปในทาง ปุถุชน

          กลาง หมายถึง อยู่ระหว่างกลางของ ปุถุชน กับ พระโสดาปัตติมรรค

          แก่ หมายถึง ค่อนไปทาง พระโสดาปัตติมรรค


     ในส่วนของอารมณ์
     
    ปุถุชน คือ ผู้ที่ยังมีความพอใจ ความปรารถนา ในการเวียน ว่าย ตาย เกิดอยู่ เช่น ทำบุญก็ขอให้ชาติหน้าเกิดมารวย ๆ เกิดมาสวย ๆ เกิดมาหล่อ ๆ เกิดมามียศสูง ๆ เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เกิดมาเป็นคนมีความสุขมาก ๆ อยากเกิดไปเป็นคู่ชีวิตกันอีก อยากเกิดไปเป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูกกันอีก

     
     พระโสดาปัตติมรรค มีความปรารถนา เพื่อพ้นจากการเวียน ว่าย ตาย เกิด มีความปรารถนาใน พระนิพพาน


     ผู้ที่จะเป็น โคตรภูบุคคล ต้องเกิด *โคตรภูญาณ ในวิปัสสนาญาณ ๑๖ คือ ญาณที่ทำให้มองเห็นความทุกข์ที่เกิดจากการเวียนว่ายตายเกิด เป็นเรื่องที่ต้องหนี และต้องตัดและต้องทำลายให้สิ้น ผู้ที่ได้ญาณนี้ เรียกอีกชื่อว่า พระโยคาวจร คือ ผู้มองเห็นโทษแห่ง วัฏฏะสงสาร และพยายามทำลายทิ้ง ซึ่งตัณหาและอุปาทาน*

     ผู้มีโคตรภูญาณอย่างอ่อน บางคราวก็อยากจะพ้น จากวัฏฏะสงสาร บางคราวก็ ไม่อยากจะพ้นจากวัฏฏะสงสาร พอทุกข์มาก ๆ ก็ไม่อยากเกิด พอสุขมาก ๆ ก็อยากเกิดอีก แต่อารมณ์ค่อนไปทางอยากเกิด

     ผู้มีโคตรภูญาณอย่างกลาง อยากเกิด กับ ไม่อยากเกิด พอ ๆ กัน ใกล้ ๆ กัน

    ผู้มีโคตรภูญาณอย่างแก่ มีกำลังใจหนักแน่น ตัดสินใจว่า พอแล้วกับการเกิด ไม่อยากเกิดอีกแล้ว ถึงแม้เวลาที่เป็นสุข ก็รู้ว่าสุขนั้นไม่นานก็หายไป กลับไปทุกข์อีก ถ้ายังเกิดอีกก็ไม่พ้นจากทุกข์ ตัดสินว่าจะไม่เกิดอีกแล้ว ตัดสินใจไปนิพพาน หลังจากนั้นก็ปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง ในแนวทางของมรรค 8 บางคราวปฏิบัติแล้วยังไม่ถึงจุดที่จะเกิด มรรค ผล อาจท้อแท้บ้าง หยุดไปบ้าง แต่ไม่นานก็กลับมาปฏิบัติอีก


* มาจากหนังสือที่ระลึก “วันอุปสมบถ” ของพระอาจารย์สนธยา ธัมมะวังโส
21  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: เรียนถามว่า โคตรภูบุคคล คือใคร มีอารมณ์อย่างไร เห็นอย่างไร ในธรรม ครับ เมื่อ: สิงหาคม 24, 2015, 11:50:33 pm
อ้างอิงจากการตอบกระทู้หนึ่งของท่านพระอาจารย์สนธยา

          " โคตรภู บุคคล อันนี้จัดเป็น กึ่งปฐมมรรค
บุคคลที่เริ่มเข้ากระแสแห่งนิพพาน คือ มีนิพพิทา ขึ้นในสันดาน
อันมีการปฏิบัติ สั่งสมมาหลายภพหลายชาติ
เพียงแต่ พยายามอีกหน่อย ก็สามารถเข้าสู่กระแสแห่งนิพพานได้

          สำหรับระดับนี้ ปฏิบัติ ด้วยการพอกพู  ปัญญา  และ ศีล ( ไม่ใช่ สมาธิ )
สองฐานนี้เท่านั้น ในอริยะมรรคมีองค์ 8 จะเริ่มที่ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา
สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

          บุคคลระดับนี้ ต้องพยายามทบทวน ธรรมะให้มาก และ รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย
ไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น”

22  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 24, 2015, 06:07:06 am

 ถ้า การ ตรึก นึก คิด คือ สังขาร การ เกิดแห่งธรรม เป็น สังขาร ด้วยหรือไม่ ?

 ขอบคุณมากคะ  :58:

ธรรมนั้นแท้จริงแล้ว จะมีพระพุทธเจ้า หรือไม่มี พระพุทธเจ้า ธรรมนั้นก็มีอยู่ เรียกว่าธรรมนั้นเป็น อกาลิโก

ผมไม่เคยได้ยินว่า พระพุทธเจ้าคิดธรรม เคยได้ยินแต่ตรัสรู้ธรรม

คำว่าตรัสรู้ธรรม ก็หมายถึงรู้ธรรม พระพุทธเจ้าเพียงแต่เข้าไปรู้ธรรม ธรรมนั้นมีอยู่แล้ว

เมื่อท่านตรัสรู้ธรรมแล้ว ท่านจึงทบทวนว่าธรรมนี้ลึกซึ้งนัก จะอธิบายให้ผู้อื่นฟังเข้าใจหรือ

จนมีผู้ไปอาราธนาพระพุทธเจ้าว่า สัตว์ผู้มีธุลีในดวงตาน้อยยังมีอยู่... ท่านจึงได้แสดงธรรม


ไม่รู้ว่าสิ่งที่ผมอธิบายจะทำให้คุณ กบ เข้าใจหรือไม่

สำหรับเรื่องนี้ ถามมาได้อีก ผมจะตอบเท่านที่ตอบได้

เรื่องนี้ก็นับว่าเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คำถามของคุณ กบ ก็แสดงถึงภูมิธรรมระดับหนึ่ง

ความสงสัยก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ผู้ที่ไม่สงสัยก็ไม่เกิดตัณหาในการศึกษาธรรม เกิดตัณหาในการบรรลุธรรม

แต่ผู้ที่จะบรรลุธรรม ก็ต้องวางตัณหาก่อน ถ้ายังยึดอยู่ก็ไม่บรรลุธรรม

อาศัยตัณหา เพื่อละตัณหา อาศัยสังขาร เพื่อละสังขาร

สัพเพ สังขารา อนิจจา สังขารคือสิ่งผสมปรุงแต่งทั้งปวงไม่เที่ยง

สัพเพ สังขารา ทุกขา สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์

สัพเพ ธรรมา อนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา มิใช่อัตตาตัวตน






23  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 09:49:31 pm
สุญญตา นั้น แปลว่า อะไร ผมก็ไม่ค่อยคุ้นเคย ต่อคำนี้ แต่เอาเป็นว่า

     สุญญตา นั้นปรากฏ ใน ธรรมที่เป็น กฏแห่งธรรม คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

    ใน วิโมกข์ 3 ส่วนวิปัสสนา แสดงไว้ในแบบ นี้ ( แต่ไม่รู้มีข้อความยืนยันหรือไม่ ? )
   คือ

   (107) วิโมกข์ 3 (ความหลุดพ้น, ประเภทของความหลุดพ้น จัดตามลักษณะการเห็นไตรลักษณ์ ข้อที่ให้ถึงความหลุดพ้น — liberation; aspects of liberation)
       1. สุญญตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยเห็นความว่างหมดความยึดมั่น ได้แก่ ความหลุดพ้น ที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนัตตา แล้วถอนความยึดมั่นเสียได้ — liberation through voidness; void liberation) = อาศัยอนัตตานุปัสสนา ถอนอัตตาภินิเวส.
       2. อนิมิตตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ถือนิมิต ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนิจจัง คือ หลุดพ้นด้วยเห็นอนิจจตา แล้วถอนนิมิตเสียได้ — liberation through signlessness; signless liberation) = อาศัยอนิจจานุปัสสนา ถอนวิปัลลาสนิมิต.
       3. อัปปณิหิตวิโมกข์ (หลุดพ้นด้วยไม่ทำความปรารถนา ได้แก่ ความหลุดพ้นที่เกิดจากปัญญาพิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นทุกข์ คือ หลุดพ้นด้วยเห็นทุกขตาแล้วถอนความปรารถนาเสียได้ — liberation through dispostionlessness; desireless liberation) = อาศัยทุกขานุปัสสนา ถอนตัณหาปณิธิ.

 (  http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=107 ทีมาของเนื้อหาส่วนนี้ )
   

ตามความเห็นของผม

๑. สุญญตวิโมกข์ คือ ปัญญาวิมุุตติ

๒. อนิมิตตวิโมกข์ คือ เจโตวิมุตติ โดยอาศัยนิมิต เพื่อละนิมิต

๓. อัปปณิหิตวิโมกข์ อาจจะเป็น เจโตวิมุตติอนิมิต หรือ เมตตาเจโตวิมุตติ




24  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 08:40:14 pm
ถ้าพิจารณา จาก ที่คุณ ดนัย แสดงไว้นั้น ก็คือ

    มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี มี ไม่มี  มี ไม่มี
   
     ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )


    มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ มี เกิด มีดับ ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )

    ส่วน สุญญตา ก็อยู่ ในะหว่าง ความเกิด และ ความดับ
 

    มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ  มี เกิด มีดับ สุญญตา ไม่มี เกิด ไม่มี ดับ
    ( ถ้าเขียนอย่างนี้ จะมองเห็นง่าย ขึั้น )   

    ไม่รู้ผม สื่อ แบบที่คุณ ดนัย ให้ความหมาย หรือ ป่าว ขอความเห็นด้วย ครับ

    :smiley_confused1: st12
 


     "มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี 

               เพราะว่า มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน...

      ไม่มี ก็คือ มี

               มี ก็คือ ไม่มี"



     เพราะมีคนดี จึงมีคนชั่ว              เพราะมีคนชั่ว จึงมีคนดี
คนที่ไม่ชั่ว ก็คือ คนดี                คนที่ไม่ดี ก็คือ คนชั่ว

     เพราะมีความดี จึงมีความชั่ว       เพราะมีความชั่ว จึงมีความดี
ความไม่ชั่ว คือ ความดี             ความไม่ดี คือ ความชั่ว

     เพราะมีกุศล จึงมีอกุศล               เพราะมี อกุศล จึงมีกุศล
สิ่งที่ไม่ใช่อกุศล คือ กุศล          สิ่งที่ไม่ใช่กุศล คือ อกุศล

     เพราะ มี “มี” จึง มี “ไม่มี”             เพราะมี “ไม่มี” จึงมี “มี”
เมื่อไม่มี “ไม่มี” ก็คือ “มี”         เมื่อไม่มี “มี” ก็คือ “ไม่มี”


     ธรรมข้อนี้ น่าจะเป็นธรรม เพื่อละกิเลสตัวสุดท้ายคือ ความหลง
พระอนาคามี ละกิเลส คือ โลภะ ราคะ โทสะ ได้เด็ดขาด แต่ยังเหลือ โมหะ


     ผู้มีบารมีธรรมสูง บำเพ็ญบารมีมาดี ทำสติเป็นมหาสติได้ ยกธรรมนี้ขึ้นพิจารณา ถ้าจิต (ตัวเรา) เกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง วางอุปาทานความยึดมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของเราได้ ก็อาจตรัสรู้ธรรมในครั้งเดียวเป็นพระอรหันต์เลย

     ธรรมนี้น่าจะสูงเกินกว่าที่ผมจะแสดงได้ ผมเป็นเพียงผู้ที่คิดว่าพระนิพพานเป็นไปได้ ดับแล้วไม่เกิดได้ เป็นแค่พอรู้ทางที่จะเดินไปข้างหน้าเท่านั้น   


ขอให้ผู้รู้แจ้งธรรมมาแสดงในภายหลังเถิด


     แต่อย่างน้อย กระทู้ที่ผมตอบไป ก็ถือว่าเป็นการสนทนาธรรม

ผิดก็จะได้รู้ว่าผิด และก็จะได้รู้ว่าถูกเป็นอย่างไร

     จะได้นำสิ่งที่ถูกไปปฏิบัติ ไปน้อมนำ (โอปนยิโก) เข้าสู่ใจ สู่จิต ของเรา



25  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 06:24:46 pm
โอ ไม่นึกว่า เรื่องราว จะมีเนื้อหาลึกซึ้ง ขนาดนี้เลยนะคะ
  เรา ถามพระอาจารย์ เรื่อง ธรรมส่วนสอง คืออะไร เท่านั้นเอง

  แต่ได้ประโยชน์ มากเลยคะ ที่หลายท่านมาแสดงความเห็น ยิ่งคุณ ดนัย แสดงความเห็นได้ลึกซึ้งมาก บางทีก็อ่านแล้ว ก็ยังทำความเข้าใจไม่ได้ เดี๋ยวจะลำดับ ถาม นะคะ

   :58: thk56 st12

ขอบคุณ คุณ nopporn

ที่ผมมาตอบกระทู้ เพราะ เห็นว่าเป็นธรรมะ ที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีใครเข้ามาให้ความเห็นมากนัก

และช่วงนี้พระอาจารย์ท่านก็อาพาธ คงทำให้ท่านต้องพักผ่อนมากขึ้น ท่านเลยเข้ามาตอบน้อยสักหน่อย

ผมยังเป็นผู้ขึ้นชื่อว่า ยังมีกิจที่ตนต้องปฏิบัติอยู่ ดังนั้นบางอย่างที่ตอบไปก็ยังตอบไปด้วยความไม่รู้ (อวิชชา) อยู่ เพราะบางครั้งสิ่งที่ผมคิดว่ารู้แจ้ง แต่จริ่ง ๆ ก็ยังไม่รู้แจ้ง เพราะการปฏิบัติธรรมนั้นมีลำดับอยู่ ปฏิบัติได้แค่ไหนก็ตอบได้แค่นั้น บางครั้งเผลอไปตอบธรรมที่สูงกว่าที่ผมมีอยู่ก็อาจตอบผิด แต่ทุกครั้งที่ตอบ ทุกกระทู้ ก็นำมาจากผลที่ผมปฏิบัติได้จริง ไม่ได้นึกเอาเอง หรือตอบตามตำรา ที่เอามาจากตำราก็มีบางส่วน เพราะบางครั้งสิ่งที่เรารู้ มันก็ยากที่อธิบายให้ฟังได้ ก็ใช้วิธีทบทวนสิ่งที่เรารู้เห็นมา เทียบเคียงกับตำรา เพื่ออธิบายเป็นสมมติบัญญัติ




26  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 03:04:56 pm
แล้ว ปัญญา กับ สังขาร แตกต่างกันอย่างไร คะ

 ถ้า การ ตรึก นึก คิด คือ สังขาร การ เกิดแห่งธรรม เป็น สังขาร ด้วยหรือไม่ ?

 ขอบคุณมากคะ  :58:


          สมมติว่าผมไปเที่ยวสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นสถานที่สวยงามมาก อากาศเย็นสบาย แถมอากาศแถวนั้นก็ดีมาก หายใจเข้าไปแล้วรู้สึกสดชื่นมาก ทุ่งหญ้าเขียวขจี บริเวณรอบ ๆ ประกอบไปด้วยต้นใหญ่ ในทุ่งหญ้านั้น ก็มีดอกไม้นานา ๆ พรรณนา หลากหลายสี ดูแล้วสบายตา แล้วยังมีทะเลสาบ มีน้ำใสแจ๋ว ใสมาก ๆ จนเห็นพื้นของทะเลสาบ อยู่แล้วมีความสุขมาก

๑.   ถ้าผมไปเที่ยวมาแล้ว แต่ไม่ได้เอารูปให้คุณกบดู แค่เล่าให้ฟัง แค่อธิบายให้ฟัง แล้วคุณกบก็ ตรึก นึก คิด เอา ว่าอากาศเป็นอย่างนั้น ทุ่งหญ้าเป็นอย่างนี้ ต้นไม้เป็นอย่างนั้น ดอกไม้เป็นอย่างนี้ ทะเลสาบเป็นอย่างนั้น

๒.   ถ้าผมไปเที่ยวมาแล้ว เอารูปให้คุณกบดู แล้วเล่าประกอบกับให้ดูรูป แล้วคุณกบก็ ตรึก นึก คิด เอาว่า อากาศเย็นแบบนั้น อากาศสดชื่นแบบนี้

๓.   ถ้าผมบอกสถานที่ บอกเส้นทาง แล้วคุณกบไปเที่ยวเองกับเพื่อน หรือครอบครัว


คุณกบว่าการรู้ในข้อไหน จะชัดเจนที่สุด จะถูกต้อง ตรงตามความเป็นจริงที่สุด




ฉันใดก็ฉันนั้น


          พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า ขันธ์ทั้ง ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) ไม่ใช่เรา ไม่เป็นเรา ไม่มีในเรา

เราฟังแค่นี้แล้วมา ตรึก นึก คิด ก็เป็น ข้อ ๑

ถ้ามีพระอรหันต์มาวาดภาพประกอบเรื่อง ขันธ์ ๕ แล้วเรามา ตรึก นึก คิด ก็เป็น ข้อ ๒

ถ้าเราพาตัวเองไปรู้เอง เห็นเอง ก็เป็น ข้อ ๓


จุดสำคัญอยู่ที่


          เราต้องหาตัวเองให้เจอ ต้องรู้ให้ได้ว่า ถ้าพระพุทธเจ้าบอกว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา แล้วอะไรหละที่เป็นเรา มันมีอยู่ สิ่งที่เป็นเราจริง ๆ มีอยู่ เราเอาตัวเราจริง ๆ นั่นแหละ ไปรู้ให้ได้ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่เรา ถ้าเราเอาตัวเองจริง ๆ ไปรู้ได้ ก็วางได้ วางได้ ก็ชื่อว่ารู้แจ้ง เห็นจริง เห็นตามความเป็นจริง

          การปฏิบัติให้รู้แจ้ง ก็ปฏิบัติใน มรรค 8 นั่นแหละ ปฏิบัติจนถึง สัมมาสมาธิ ได้จริง ๆ เราจะเห็นตัวเราเอง อาการเห็นนั้นมาบางคนก็เห็นเป็นนิมิต บางคนก็ไม่มีนิมิต แต่ก็เข้าถึงตัวเราเหมือนกัน ขึ้นกับบุญบารมีที่เราบำเพ็ญมา ว่าเราปรารถนาแบบไหน แต่ในเบื้องปลาย หรือที่สุด ก็ถึงเหมือนกัน รู้แจ้ง เห็นจริง เหมือนกัน เป็นพระอรหันต์เหมือนกัน

          บางคนไม่เข้าใจเรื่องนี้ ก็ใช้สังขารไปปรุงแต่ง วิมุตติ นิพพาน อรหัตตผล ก็ปรากฏเป็น อรหันต์ปลอม เพราะเวลาเจริญวิปัสสนา ก็ทำเป็นวิปัสสนึก พอเป็นวิปัสสนึก วิมุตติก็นึก นิพพานก็นึก อรหัตตผลก็นึก

          บางคนเจริญพระกรรมฐาน ไปจับอารมณ์ความว่างจากสุข จากทุกข์ ว่าเป็นนิพพาน แท้จริงแล้วเป็นแค่ อทุกขมสุข ไปยึดติดความว่าง ว่าเป็นนิพพาน เป็นมิจฉาสมาธิไป


27  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 05:14:45 am

เหตุการณ์ ที่ผมยกตัวอย่าง เป็นเพียงการเปรียบเทียบให้คนทั่วไปพอเข้าใจได้

แต่ถ้าเห็นตามความเป็นจริงแล้ว ต้องเป็นอย่างนี้

ในขณะที่เรากับเพื่อนเจอกัน สภาวะ เจอ ก็ขึ้น แล้วก็ดับลงเลย
ตอนที่ยืนคุยกันอยู่ เป็นสภาวะที่ ว่างจาก เจอ กับ ไม่เจอ
ตอนที่เรากับเพื่อนแยกกัน สภาวะ ไม่เจอ ก็ขึ้นแล้วดับลงเลย
ช่วงที่เราไม่เจอกับเพื่อน เป็นสภาวะ ที่ว่างจาก ไม่เจอ กับ เจอ

ถ้าเรากับเพื่อนมาเจอกันอีก แต่จิตวาง การเจอ กับ ไม่เจอ ได้
เพราะจิต       ว่าง (สุญญตา)      จากอุปาทาน ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเป็นเรา เป็นของเรา ได้
"เจอก็เหมือนไม่เจอ ไม่เจอก็เหมือนเจอ"



แต่ถ้าจิตยังมีอุปาทานอยู่ เวลาที่เราเจอกับเพื่อน สภาวะการเจอ กับ ไม่เจอ ก็ยังเกิดดับอยู่
28  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 04:53:40 am
เกิด คู่กับ ดับ    และ     ดับ คู่กับ เกิด ก็จริง
เมื่อมี เกิด แล้ว ต้องมี ดับ จริง
แต่มี ดับ แล้ว ไม่จำเป็นต้อง เกิด อาจจะเกิด หรือ ไม่เกิด ก็ได้

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุ (ที่ทำให้เกิด) ดับ
เพราะถ้า เกิด แล้วต้อง ดับ          ดับ แล้วต้อง เกิด          ก็ไม่มีนิพพาน
ความตั้งใจในตอนที่พระพุทธเจ้าออกบวช ก็เพราะไม่ต้องการเกิด


ถ้าจะทำความเห็นให้ถูก ควรเห็นว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น ก็เพราะมีเหตุที่ทำให้เกิด
สิ่งนั้นย่อมมีความดับไปเป็นธรรมดา เพราะเหตุดับ
และถ้าเหตุที่ทำให้เกิด หมดไป การเกิดก็ไม่เกิด

นิพพานัง ปรมัง สุญญัง           นิพพาน เป็นธรรมว่างอย่างยิ่ง    ก็เพราะว่างจากการเกิด การดับ ว่างจากธรรมที่ทำให้เกิด

นิพพานัง ปรมัง สุขัง               นิพพาน เป็น สุขอย่างยิ่ง เพราะ การเกิด เป็นทุกข์


29  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 23, 2015, 04:26:10 am

สัญญา คือ ความจำ ไม่ใช่เหตุให้เกิดทุกข์

ความยึดมั่น ถือมั่น ว่าเราเป็นสัญญา สัญญาเป็นเรา เรามีในสัญญา สัญญามีในเรา นั่นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์

แต่ในความเป็นจริงแล้ว สัญญาไม่ใช่เรา สัญญาไม่เป็นเรา สัญญาไม่มีในเรา

เพราะถ้า เราใช่สัญญา เราเป็นสัญญา เรามีในสัญญา


สิ่งใดที่อยากจำได้ เราก็ต้องจำได้ไปตลอด แต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย

สิ่งใดที่ไม่อยากจำได้ อยากลืม ก็ต้องลบความทรงจำนั้นได้ แต่ในความเป็นจริงเป็นอย่างนั้นมั้ย

เราควบคุมสัญญาได้จริงหรือ

ถ้าควบคุมไม่ได้ เราใช่สัญญา เราเป็นสัญญา เรามีในสัญญา จริงหรือ



พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ความจำเรื่องเก่า ๆ หายไปอย่างนั้นหรือ ความจำเรื่องใหม่ ๆ ไม่เกิดขึ้นอย่างนั้นหรือ


ถ้าใครอ่านมาทั้งหมดแล้วเข้าใจ ก็อนุโมนาด้วย

แต่ความเข้าใจก็เกิดจากสังขาร (การปรุงแต่ง การตรึก นึก คิด) และก็สัญญา (จำที่ ตรึก นึก คิด เอาไว้) เมื่อถึงกาล ถึงเวลา ก็เปลี่ยนแปลงไป ตั้งอยู่ไม่ได้ ดับไป

ถึงเข้าใจ และจำได้ ก็วางความยึดมั่น ถือมั่นไม่ได้

ต้องปฏิบัติในมรรค 8 จนถึงสัมมาสมาธิ เอาสัมมาสมาธินั้น ไปรู้ ไปเห็น ว่าอะไรคือ ความยึดมั่น ถือมั่น ในรูป ในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ถึงจะวางได้


เรื่องที่คุยกันอยู่นี่ ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ สำหรับบางคน

แต่บางคนนั้น ถึงแม้ว่าศึกษาแล้ว เข้าใจแล้ว แต่วางความยึดมั่น ถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้หรือยัง

ความรู้ ความเข้าใจ ก็เป็นอุปการะต่อการรู้แจ้ง เห็นจริง ตามความเป็นจริง

เพียงแต่เราต้องเดินต่อไปในมรรค 8 เท่านั้น

อย่าหยุดแค่ รู้และเข้าใจ

30  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: มี ก็คู่ กับคำว่า ไม่มี เพราะ มี และ ไม่มี เป็นปัจจัยซึ่งกันและกัน เมื่อ: สิงหาคม 22, 2015, 09:50:18 am
ธรรมนี้ลึกซึ้งมาก แต่ขอแสดงความเห็น ตามภูมิธรรม ดังนี้

“จึงพูดไปขณะนั้นว่า เจอ เหมือน ไม่เจอ ไม่เจอ ก็เหมือนเจอ ไม่ใช่บังเอิญ ว่าเจอ แต่เป็นเพราะว่า ไม่เจอ จึงได้เจอ”


ลองพิจารณา ๒ เหตุการณ์นี้


เหตุการณ์ที่ ๑  เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน คนเยอะมาก เห็นคนมากมาย ไม่เจอคนที่รู้จักเลย

เหตุการณ์ที่ ๒ เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน คนเยอะมาก เห็นคนมากมาย และเจอเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกัน แต่ไม่ได้เจอกันมานาน หลังจากนั้นก็ไปเล่าให้เพื่อนสนิทที่ทำงานฟัง


ขยายความ เหตุการณ์ที่ ๑ 

          เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน เห็นคนมากมาย แต่วันนั้นไม่เจอคนที่รู้จัก ถึงจะเห็นคนอื่นเยอะมากมาย แต่ไม่เจอคนที่เรารู้จัก วันนั้นก็เป็นธรรมดา ๆ วันหนึ่งของเรา

ขยายความ เหตุการณ์ที่ ๒

          เราขึ้นรถไฟฟ้าไปทำงาน เห็นคนมากมาย และได้เจอเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกันบนรถไฟฟ้า วันนั้นก็คงมีเรื่องเล่าให้เพื่อนสนิทที่ทำงานฟัง



อธิบาย เหตุการณ์ที่ ๒

          เพราะเรามีเพื่อนเก่าที่เคยสนิทกัน และเรากับเค้าจำกันได้ เมื่อเรากับเพื่อนเจอกันจึงชื่อว่า “เจอ” ในขณะที่เราอยู่กับเพื่อน “สภาวะ ไม่เจอ จึงไม่เกิด เพราะขณะนั้น เรากับเพื่อน เจอ กันอยู่” แต่ถ้าเราคุยกับเพื่อนเรียบร้อยแล้ว ต่างคนต่างแยกย้ายกันไป “สภาวะ เจอ ก็ดับลง สภาวะ ไม่เจอ จึงเกิดขึ้น ” เพราะสภาวะ “เจอ” กับ “ไม่เจอ” ย่อมเกิดพร้อมกันไม่ได้

          เมื่อแยกย้ายกันไปแล้ว ถ้าเรากับเพื่อนยังจำกันได้อยู่ เมื่อมาเจอกันอีก “สภาวะ ไม่เจอ ก็ดับลง สภาวะ เจอ ก็เกิดขึ้น”

          ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า เพราะ “ไม่เจอ” จึงได้ “เจอ”

          แต่ก็เพราะ “เจอ” จึงได้ “ไม่เจอ” เช่นกัน

อธิบาย เหตุการณ์ที่ ๑

          คนมากมายบนรถไฟฟ้า ถือว่าเราได้เห็น เราคงไม่เรียกว่าเจอ เพราะเรากับเค้าไม่รู้จักกัน

          ตาเราเห็นรูป ที่เป็นบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้น จึงสักว่าเห็นรูป เท่านั้น

          สำหรับเหตุการณ์นี้จึงไม่มีคำว่า “เจอ” กับ “ไม่เจอ”



ธรรมะจากเรื่องนี้

          ถ้าเราได้เจอ รูปที่เราพอใจ เราก็เป็นสุข
          ถ้าเราไม่ได้เจอ รูปที่เราพอใจ เราก็เป็นทุกข์
          ถ้าเราได้เจอ รูปที่เราไม่พอใจ เราก็เป็นทุกข์
          ถ้าเราไม่ได้เจอ รูปที่เราไม่พอใจ เราก็เป็นสุข

          พิจารณาแล้วก็เพราะ เจอ กับ ไม่เจอ นั้นแหละที่ทำให้เป็นทุกข์
          ถ้าเราวาง เราคลาย เราว่าง จากคำ เจอ กับ ไม่เจอ นั้นแหละจึงเป็นสุขที่แท้จริง

          ดังนั้นแล้ว
          ตาเห็นรูป ก็สักว่า เห็นรูป ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นรูป
          หูได้ยินเสียง ก็สักว่า ได้ยิน ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นเสียง
          จมูกได้กลิ่น ก็สักว่า ได้กลิ่น ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นกลิ่น
          ลิ้นรับรส ก็สักว่า ได้รับรส ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นรส
          กายสัมผัส ก็สักว่า ได้สัมผัส ใจเราก็รู้แค่ว่า นั่นเป็นสัมผัส

พบ กับ ไม่พบ --- มี กับ ไม่มี ก็พิจารณาเหมือนกัน

ถ้า เรา ว่างจาก เจอ ไม่เจอ พบ ไม่พบ มี ไม่มี ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ สุข ทุกข์ สรรเสริญ นินทา ก็ชื่อว่า สุญญตา

ถ้าว่างจาก มีเรา เป็นเรา ของเรา เรา ก็ชื่อว่า สุญญตา

31  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การบริภาษ ด่า ติเตียน พระสงฆ์ ที่ประพฤติ เป็น บาป หรือ เป็น บุญ เมื่อ: สิงหาคม 15, 2015, 09:50:31 am
การติเตียนพระสงฆ์

     -   ผมว่าจะเป็นบุญ หรือจะเป็นบาป มันขึ้นกับเจตนาของผู้ติเตียน คุณธรรมของผู้ติเตียน ปฏิปทาของผู้ถูกติเตียน คุณธรรมของผู้ถูกติเตียน

     -   ผู้ที่รู้ในสังโยชน์ ข้อ ๓ สีลัพตปรามาส จริง ๆ ต้องเข้าถึงคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป ต้องรู้แจ้งถึงละสังโยชน์ได้ ดังนั้นผู้ที่รู้ว่า การยึดถือแบบใดผิด แบบใดงมงาย ต้องมีคุณธรรมอย่างน้อยเป็นพระโสดาบันขึ้นไป ถึงจะรู้ได้ถูกต้องจริง ๆ แยกแยะได้ถูกต้องจริง ๆ ถ้ายังไม่ถึงพระโสดาบันก็ได้แค่จำมาพูด หรือตรึก นึก คิด ปรุงแต่งไปเอง ว่าสีลัพตปรามาสเป็นอย่างไร

     -   ผมรู้จักพระอาจารย์สนธยามานานพอสมควร ตอนที่รู้จักแรก ๆ พระอาจารย์ท่านก็มีความเห็นเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมคล้าย ๆ กับคุณ modtanoy ในตอนนี้ สำหรับผม ช่วงที่ท่านพระอาจารย์เปลี่ยนมาปฏิบัติแนวนี้ ผมก็แปลกใจ แต่ก็ไม่มากนักเพราะผมทราบสาเหตุบางส่วนที่ทำให้ความเห็นของพระอาจารย์เปลี่ยนจากแนวของท่านพุทธทาส ไม่แน่ใจว่าคุณได้เคยถามพระอาจารย์ตรง ๆ หรือไม่ หรือพระอาจารย์ท่านได้เคยอธิบายถึงสาเหตุหรือไม่ แต่พูดถึงทราบสาเหตุแต่ไม่อยู่ในเหตุการณ์ช่วงนั้นก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าจะเข้าใจและดำรงศรัทธาในพระอาจารย์ต่อไปหรือไม่

     -   ผมเป็นคนเชื่อในกฎของกรรม เชื่อเรื่องภพชาติ เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ผมว่าการที่คุณคอยติเตียนพระอาจารย์อยู่เนือง ๆ คงเป็นบุพกรรมของพระอาจารย์เช่นกัน ถึงแม้คุณอาจจะไม่ใช่ผู้ที่เคยถูกพระอาจารย์ติเตียนมาก่อน เรื่องนี้โทษใครไม่ได้ เป็นธรรมชาติของวัฏฏะสงสาร ผู้ยังมีกิเลส ก็ไปสร้างกรรม แล้วก็ต้องมารับวิบาก แต่การวิพากษวิจารณ์บุพกรรมของครูอาจารย์เป็นเรื่องไม่สมควร ผมคงพูดถึงแค่นี้ ในฐานะที่ผมนับถือพระอาจารย์สนธยาเป็นครูอาจารย์ ก็เป็นหน้าที่ของศิษย์ที่ต้องออกมาอธิบาย ชี้แจงตามสมควร กับผู้ที่กล่าวติเตียนครูอาจารย์

     -   เรื่องติเตียนกับสรรเสริญ ก็เป็นโลกธรรม เป็นธรรมของโลก แต่ผมเชื่อว่า สิ่งใดจะเกิดขึ้นได้ต้องมีเหตุปัจจัย และถ้าเหตุปัจจัยดับสิ่งนั้นก็ดับ อาจมีสักวันที่คุณ modtanoy เข้าใจพระอาจารย์และกลับมาศรัทธาท่าน แต่ก็อาจมีคนอื่นเข้ามาติเตียนพระอาจารย์อีก ก็ไม่แน่เหมือนกัน เพราะกายสังขารของพระอาจารย์ยังอยู่ในโลก

32  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 11, 2015, 09:25:18 pm
 st11 st12 st12 คุณธุรีธวัช



อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
33  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 12:46:50 am

"ในโลกความจริง มีเรื่องอับจนปัญญาอยู่มากหลาย มิว่าผู้ใดต่างมิอาจเหนี่ยวรั้ง ขัดขืนได้...เยี่ยงนี้แม้เจ็บปวดรันทด แต่หากยังมีชีวิตอยู่ก็ต้องคิดหาวิธีมาสลัด ความเจ็บปวดรันทดของตัวเองออกไปให้ได้"


"โชคและเคราะห์ ความจริงพิสดารยิ่ง หากท่านพบพานเรื่องเคราะห์ร้าย อย่าได้ตัดพ้อ ตำหนิ อย่าได้ท้อแท้ แม้นับว่าท่านถูกเคราะห์จู่โจมจนล้มลงก็หาเป็นไร ไม่ ขอเพียงยังมีชีวิต ท่านก็ต้องยังมีเวลาทรงกายขึ้นยืนได้"







ที่มา: http://www.bikeloves.com/board_misc/show_thread.php?qID=1094
34  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 12:45:49 am
๑.   การแก้ปัญหาด้วยทางโลกคือการไปหาหมอ ผมว่ามีคนแนะนำคุณมากแล้ว ผมขอแนะนำทางธรรมคือให้คุณอุทิศส่วนกุศลทั้งหมดที่คุณทำมาในชาตินี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบรรดาสัตว์ที่ใช้แรงงาน และทาสแรงงานต่าง ๆ

     •   สัตว์ที่ใช้แรงงานเช่น วัว ควายใช้ไถนา บางตัวรับใช้เจ้านายมาจนแก่ เฒ่าชรา เดินก็ไม่ค่อยไหว ยังมาถูกตีถูกหวดอีก

     •   ทาสแรงงานก็เช่นกัน แก่ เฒ่า เจ็บป่วย ก็หยุดพักไม่ได้ ถูกลงโทษจากเจ้านาย ถูกบังคับให้ทำงาน ไม่ทำก็ถูกเฆี่ยนตี
     
     ทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ทุกครั้งให้เค้าใจอ่อน ให้เค้าอดโทษให้ ให้เค้าบรรเทาโทษให้

๒.   ทำบุญกับพระอาจารย์อธิษฐานขอให้โชคดี ขอให้หายเจ็บป่วย ขอให้สุขภาพแข็งแรง ขอให้ร่ำรวย...

๓.   หยุดคิดว่าทำบุญกับพระอาจารย์แล้วโชคร้าย ช่วยพระอาจารย์แล้วต้องรับวิบาก ทานที่ทำจะไม่บริสุทธิ์ มีผลน้อย

๔.   ถ้าคุณปรารถนาพุทธภูมิ ปรารถนาพระโพธิญาณจริง ๆ ลองอ่านหนังสือประวัติหลวงพ่อปาน ของพระเดชพระคุณหลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระ เพราะหลวงพ่อท่านบอกว่า หลวงพ่อปานท่านปรารถนาพุทธภูมิ หรือถ้าไม่ถูกจริตก็ศึกษาเกี่ยวกับพระเจ้า 500 ชาติ

๕.   ถ้าคุณปรารถนาพุทธภูมิ เพราะเลี่ยงวิบาก ลองเปลี่ยนมาปรารถนาขอเป็นพระโสดาบัน อย่างน้อยก็ให้ได้พระโสดาบันเกิดอีกไม่เกิน 7 ชาติ ในระหว่างนั้นก็ทยอยรับวิบาก

๖.   การบำเพ็ญบารมี หมายถึง การทำให้จิตใจเราเข้มแข็ง บารมีแปลว่ากำลังใจ สาวกภูมิ หรือพุทธภูมิ ก็ต้องใช้กำลังใจ พุทธภูมิน่าสรรเสริญเพราะต้องทำกำลังใจให้เข้มแข้งกว่าสาวกภูมิ เพราะต้องบำเพ็ญบารมีถึงระดับปรมัตถบารมี เนื่องจากปรารถนารื้อสัตว์ขนสัตว์เข้านิพพาน ต้องมีกำลังใจสูงมาก

๗.   การปฏิบัติพระกรรมฐานนั่งปล่อยขาบนเก้าอี้ทำงาน หรือเก้าอี้ทั่วไปก็ได้นะครับ ไม่น่าจะเป็นการปรามาส เพราะเรามีปัญหาเรื่องสุขภาพ หรือจะนอนทำสมาธิก็ได้
35  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 12:44:20 am
          วันนี้คิดทบทวนอยู่นานว่าควรจะตอบกระทู้ต่อจากคุณธุรีธวัช ดีหรือไม่ เพราะจริง ๆ ตามอ่านกระทู้ที่เขียนเกี่ยวกับวิบากที่ได้รับก็อยากจะแสดงความเห็นและให้คำแนะนำอยู่เหมือนกัน แต่กลัวจะไม่ถูกใจ และอาจทำให้ผิดใจกัน พอพระอาจารย์มาตั้งกระทู้ไว้ที่นี่จึงมาตอบเป็นกลาง ๆ

          พอคิดว่าจะตอบก็เลือกว่าจะตอบที่ web หรือจะตอบผ่านไลน์ดี พอเลือกตอบที่ web เพราะเผื่อให้คนอื่นได้อ่านด้วย ก็เกิดอุปสรรคทันที ทำให้เสียเวลาไปครื่งวัน ไม่สามารถมาเขียนตอบได้ทันที

          ในฐานะที่เป็นศิษย์อาจารย์เดียวกัน ผมก็มีความปรารถนาจะให้คุณธุรีธวัช มีความสุขและกลับมาปฏิบัติพระกรรมฐานได้ ถึงแม้เราเคยเจอกันบ้าง แต่คุยกันน้อย รู้จักคุณก็ผ่านพระอาจารย์ซึ่งท่านก็กล่าวชมคุณหลายอย่าง ถ้าที่ผมเขียนมาและที่จะเขียนต่อไปทำให้คุณไม่พอใจก็ขออภัยด้วย ผมพยายามทบทวนและหลีกเลี่ยงคำเหล่านั้น แต่ถ้าบังเอิญคุณตอบกลับด้วยความไม่พอใจ ผมคงจะนิ่งเฉยและไม่ตอบกลับอีกเลย เพราะไม่อยากให้คนอื่นเห็นว่าศิษย์พระอาจารย์แตกความสามัคคี

          หรือถ้าบังเอิญจุดประสงค์ที่คุณโพสเพียงเพื่อให้คนอื่นเห็นใจ และไม่ต้องการคำแนะนำใด ๆ ผมก็ขออภัยเช่นกันที่คิดไปเองว่าคุณต้องการคำแนะนำ
36  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 09, 2015, 12:43:15 am
วิบากใหญ่ หลังทำบุญใหญ่ หลังตั้งความปรารถนาใหญ่

          ปี 2008 ผมออกรถฮอนด้า accord ป้ายแดง ราคา 1.2 ล้านบาท ช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นของขวัญวันเกิดให้ตัวเอง พอปลายปีนั้น เอารถไปเปลี่ยน mag + ยาง จ่ายไปประมาณ 5 หมื่นบาท ประมาณ กุมภาพันธ์ 2009 ไปทำธุระแถวสระบุรี จึงแวะเอาผ้าไตรจีวรไปถวายพระอาจารย์สนธยาที่วัดแก่งขนุน เนื่องจากปวารณากับพระอาจารย์ไว้ หลังถวายตั้งจิตอธิษฐานแล้วกล่าวกับพระอาจารย์ว่า “ขอผลบุญที่ได้ถวายผ้าไตรจีวรแด่พระอาจารย์ในครั้งนี้ จงทำให้ข้าพเจ้าได้บรรลุธรรมที่พระอาจารย์บรรลุแล้ว” กล่าวจบดูพระอาจารย์เป็นกังวล ทักว่าทะเบียนรถมีเลข 4 ไม่เป็นมงคล แถมยังรวมกันแล้วลงท้ายด้วย 0 อีก แรงมาก

          ขับรถกลับบ้านมาถึงแถว ๆ วังน้อย มีรถทัวร์กับรถบรรทุก ขับแข่งกันเหมือนจะแย่งกันไปตาย สุดท้ายปาดหน้ารถ ผมหักเลี้ยวรถกระทันหัน รถหมุนแล้วพลิกคว่ำ แถวร้านอาหารที่มีอนุเสาวรีย์ปลาอยู่หน้าร้าน ผลปรากฎรถพังยับซ่อม 6 เดือน ค่าซ่อมประมาณ 7.5 แสนบาท แต่คนไม่เป็นไรเลย มีแผลเล็ก ๆ ที่แขน 1 แผล เพราะอะไรไม่รู้ปลิวมาบาด นึกอะไรไม่ออก โทรหาพระอาจารย์ ท่านมีความกรุณากับผมมาก เรียกลูกศิษย์ขับรถมาหาผมที่โรงพักวังน้อย เย็นวันนั้นเอารถไปที่ศูนย์ฮอนด้าแถวบ้าน คนรับเรื่องไม่เชื่อว่าผมเป็นคนขับ เพราะรถพังยับ ถามว่าผมห้อยพระอะไร ผมบอกไม่มี

          ศูนย์ฮอนด้า ก็แสนดี ตอนรับรถบอก 4 เดือนเสร็จ แต่ขอลงใบแจ้งซ่อมไว้ 6 เดือน ปีนั้นซ่อมรถผมคันเดียวคงเท่ากับรายได้ศูนย์ซ่อมตัวถัง 1 เดือน เอาเข้าจริงเห็นรถผมซ่อมนาน 3 เดือนผ่านไปแทบยังไม่ได้ทำอะไร ไปทำแต่รถคันอื่น คงเห็นว่านัดผมไว้ 6 เดือนมั้ง สุดท้ายก็เสร็จก่อนกำหนดสัก ไม่กี่วัน แต่งานซ่อมเค้าก็พอใช้ได้

          6 เดือนนั้นไม่ได้ใช้รถ แต่ต้องผ่อนรถ กลุ้มดีเหมือนกัน ต้องไปเช่ารถใช้เดือนละเกือบ 2 หมื่นบาท

          ตลอดเวลานั้นจนถึงเวลานี้ ไม่เคยคิดเสียใจเลยที่วันนั้นไปถวายผ้าไตรและกล่าวอธิษฐานอย่างนั้น ถ้าจะคิดเสียใจ ก็มีแต่โทษตัวเองที่ขับรถประมาท ขับไปใกล้รถ 2 คันนั้น
37  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าจะเริ่มปฏิบัติ อย่างจริง ๆ จัง ๆ ในสายกรรมฐานี้ ควรทำอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 08, 2015, 10:41:08 pm
อนุโมทนาที่คุณมีความตั้งใจจริง และมีศรัทธาในพระอาจารย์ ที่เหลือก็คงรอพระอาจารย์มาตอบ

 :25: :25: :25:
38  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เรื่อง ช่วยแม่ งู หรือ ช่วย แม่ กบ เฉลยหรือยังครับ เมื่อ: สิงหาคม 08, 2015, 06:23:42 am
นิทานเรื่องนี้เป็นธรรมอย่างหนึ่ง

ความสงสัยเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ทำให้เกิดการศึกษา การศึกษานำไปสู่การปฏิบัติ การปฏิบัตินำไปสู่ผลการปฏิบัติและการศึกษาผลการปฏิบัติ

ดังนั้นวิจิกิจฉาจึงเป็นธรรมอย่างหนึ่ง

ขออนุโมทนากับทุกท่านที่สงสัยธรรมเรื่องนี้

 st11 st12 st12

39  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: พิจารณาวิบากกรรม ของศิษย์แต่ละคน ( หรือผู้ที่เคยนับถือกัน ) เมื่อ: สิงหาคม 08, 2015, 12:54:41 am
วัฏฏะ ๓ กิเลส กรรม วิบาก
ถ้าเราเป็นผู้รับวิบาก ก็แสดงว่าเราเคยทำกรรมไว้แน่นอน

ไม่ทำบุญกับพระก็ตาย ทำบุญกับพระก็ตาย
ไม่ทำบุญกับพระก็เจ็บป่วย ทำบุญกับพระก็เจ็บป่วย

มองในอีกมุม ถ้าวิบากของอกุศลมาหาเราไว อาจเป็นเพราะเรามีโอกาส หนีวิบากไปตลอดกาลในชาตินี้ มันถึงรีบมาให้ผล
ดังนั้น วิบากของกุศลก็ควรจะตามเรามาเช่นกัน เพราะเราไม่มีชาติอื่นให้รับวิบากแล้ว

ไม่รู้คิดถูกคิดผิด แต่คิดแล้วสบายใจ ก็เลยคิดแบบนี้ต่อไป
แต่พระอาจารย์ท่านก็เตือน และมีวิธีไม่ให้ต้องรับวิบากของอกุศลแรง ๆ ผมก็ปฏิบัติตามนั้นครับ เพราะยังกลัวเจ็บ กลัวตายอยู่ เหมือนกัน
40  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ถ้าจะเริ่มปฏิบัติ อย่างจริง ๆ จัง ๆ ในสายกรรมฐานี้ ควรทำอย่างไร เมื่อ: สิงหาคม 08, 2015, 12:24:51 am
ผมขอตอบในฐานะที่มีประสบการณ์ครับ

๑.   คุณควรไปขึ้นพระกรรมฐานกับหลวงพ่อจิ๋ว ที่วัดราชสิทธาราม เหมือนที่คุณ aaaa บอก หลวงพ่อจิ๋วท่านเป็นผู้สืบทอดพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับในปัจจุบันนี้ วัดราชสิทธารามเป็นศูนย์กลางในการเผยเผ่พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ เครื่องบูชาครูอาจารย์ในการขึ้นพระกรรมฐาน ในสมัยที่ผมไปขึ้นพระกรรมฐาน หลวงพ่อจิ๋วท่านให้คนจัดเตรียมไว้ให้ ก่อนไปโทรไปนัดกับหลวงพ่อท่านก่อนก็ดีจะได้ไม่พลาด ลองใช้ความเพียรหาเบอร์ท่านดู

๒.   ภายหลังขึ้นพระกรรมฐานหลวงพ่อจิ๋วท่านจะสอนวิธีเจริญพระกรรมฐานก็ให้ปฏิบัติตามนั้น พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับจะแบ่งเป็นห้อง ๆ ให้ฝึกปฏิบัติไปตามลำดับ ถ้าคุณปฏิบัติไปตามลำดับอย่างถูกต้อง ก็ควรจะมีความก้าวหน้า ไปตามเป้าหมายที่คุณหวังไว้ สมดังพระประสงค์ของพระอาจารย์ราหุลเถรเจ้า ที่ท่านได้ทรงมีพระกรุณาถ่ายทอดและเผยแผ่พระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ รวมถึงบรรดาครูอาจารย์สายพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับที่ได้อุตสาหะสืบทอดพระกรรมฐานมาจนถึงปัจจุบัน

๓.   ท่านพระอาจารย์สนธยาเอง ท่านก็ได้ไปขึ้นพระกรรมฐานกับหลวงพ่อจิ๋วท่านเหมือนกัน ดังนั้นถ้าคุณมีข้อสงสัยหรือติดขัดในพระกรรมฐานก็สามารถสอบถามกับหลวงพ่อจิ๋วได้โดยตรง หรือถ้าบางครั้งคุณสะดวกสอบถามกับพระอาจารย์ก็สอบถามกับท่าน

          ขออนุโมทนากับคุณที่มีความตั้งใจจะเจริญพระกรรมฐานแบบลำดับ ไหน ๆ คุณก็มีความตั้งใจดีแล้ว ลองศึกษาเรื่องความเพียร จากกระทู้ “เกี่ยวกับภาพ หน้า เว็บ หลัก ( ความนัย ใครใคร่อยากรู้เชิญตามมาอ่าน )” ให้ละเอียด น่าจะทำให้คุณบรรลุเป้าหมายของคุณในการเจริญพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ


 st11 st12 st12
หน้า: [1] 2 3