ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัดเก่าแก่ ของสระบุรี มีประวัติเป็นเมืองเก่า ของสระบุรี  (อ่าน 4262 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไปดูจิตรกรรมวัดจันทบุรี ที่อยู่ในเมืองสระบุรี

สงสัยไหมว่าชื่อวัดจันทบุรี แล้วทำไมไปอยู่ในจังหวัดสระบุรี



วัด จันทบุรี ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ตำบลเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยไหน  เหตุที่ชื่อว่าวัดจันทบุรีสันนิษฐานได้ว่าชุมชมเก่าแก่ที่อยู่ล้อมรอบวัด แห่งนี้น่าจะเป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเมืองเวียงจันทน์ ตั้งแต่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ราวรัชกาลที่ 3 ชื่อ "จันทบุรี" จึงน่าจะเป็นการตั้งชื่อตามเมืองเวียงจันทน์เพื่อเป็นที่ระลึกถึงนั่นเอง

ทุก วันนี้ถ้าเราจะไปชมความงามของพระอุโบสถแห่งนี้ อาจดูได้แต่เฉพาะด้านนอกเนื่องจากตัวอาคารชำรุดมาก  ผนังด้านหลังพระประธานแทบจะดีดตัวออกจากกัน เห็นเป็นรอยแยกอย่างเด่นชัด  อาคารหลังนี้ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานโดยปิดตายรอการอนุรักษ์จากกรมศิลปากร 


รอยแตกร้าวของผนังหลังพระประธานด้านนอก

ลักษณะ ของพระอุโบสถเป็นอาคารขนาดไม่ใหญ่นัก รูปทรงสอบขึ้นด้านบน มีงานปูนปั้นประดับเครื่องถ้วยแบบจีนปรากฏให้เห็นที่บริเวณหน้าบัน  ไม่ปรากฏช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ซึ่งคงรับอิทธิพลศิลปะจีนซึ่งเป็นอาคารแบบพระราชนิยมรูปแบบหนึ่งในสมัย รัชกาลที่ 3  ภายในเป็นอาคารโถง ไม่ปรากฏแนวเสา  มีงานปูนปั้นประดับกรอบประตูหน้าต่างแบบเดียวกันกับหน้าบัน

บริเวณ ภายในพระอุโบสถมีงานจิตรกรรมฝาผนังโดยรอบ  ซึ่งอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างชำรุดอย่างมาก  ร่องรอยของภาพเขียนเริ่มปรากฏราว 80 เซนติเมตรจากพื้นล่าง ที่น่าสนใจคือการเขียนลายผ้าม่านด้านหลังพระประธาน ลายดอกไม้ร่วง และเทพชุมนุม งดงามไม่แพ้ที่อื่นๆ 



จิตรกรรมภายในพระอุโบสถที่มีสภาพชำรุดอย่างมาก

เนื้อหา ในงานจิตรกรรมโดยทั่วไปเหมือนกับวัดอื่นๆ คือนิยมแสดงเรื่องพุทธประวัติ และชาดกต่างๆ เพื่อบอกเล่าคำสอนทางพุทธศาสนา เช่น พุทธประวัติตอนออกบวช  มารผจญ ฯลฯ ชาดกที่นำมาเล่ามักอยู่ในกลุ่มทศชาติชาดก เช่น เตมียชาดก พระมหาชนกชาดก เป็นต้น 




พุทธประวัติตอนออกบวช หรือ มหาภินษกรมณ์



พระมหาชนกชาดก ที่ปรากฏเป็นภาพเรือแตกท่ามกลางมหาสมุทร โดยพระชนกได้รับการช่วยเหลือบริเวณมุมบนซ้ายของภาพ สังเกตวิธีการเขียนน้ำของคนโบราณที่เขียนเป็นลายเส้นแบบเกล็ดปลา

 

จิตรกรรม ที่นี่มักได้รับการอ้างอิงในการกล่าวถึงสภาพความเป็นอยู่ของคนหลากหลาย ชาติพันธุ์ในภาคกลางสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น ลาว จีน ไทยวน ไทสยาม ฯลฯ  ซึ่งทุกวันนี้แทบจะไม่ปรากฏเอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์ใด ๆ ให้เห็นอีกต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย ทรงผม ความเชื่อ สภาพบ้านเรือน ฯลฯ แม้กระทั่งภาษาพูด



ตัวอย่างชาวไทยวนกำลังเดิน ทางไปทำบุญที่วัด ที่ระบุว่าเป็นชาวไทยวนให้ดูการนุ่งซิ่นยาว และไว้ผมยาวมุ่นมวยที่ท้ายทอยซึ่งต่างจากชาวไทยสยาม

 

งาน จิตรกรรมแห่งนี้นอกจากจะมีประโยชน์ในการเล่าเรื่องการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ในชุมชนแห่งนี้แล้ว ยังมีคุณค่าในการบันทึกวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้านในสมัยต้นรัตน โกสินทร์อีกด้วย 

ณ วันนี้ถ้าเผื่อมีใครผ่านไปผ่านมาแถวตัวเมืองเก่า อำเภอเสาไห้ สระบุรี เห็นชื่อวัดแล้วก็อย่าแปลกใจ ให้รู้ไว้ว่ายังมีคนชาติพันธุ์อื่นๆ อีกมากมายที่ร่วมกันเป็นชาวไทยทุกวันนี้ อย่างน้อยก็ชาวลาวเวียงจันทน์ ที่เป็นเพื่อนบ้านของเรานี่เอง

ที่มาครับ

http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-77507/
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่