ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิฆะ กับ พยาบาท และ โกรธ นี้แตกต่างกันอย่างไร ครับ  (อ่าน 5424 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

nirvanar55

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 305
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1

  ปฏิฆะ กับ พยาบาท และ โกรธ นี้แตกต่างกันอย่างไร ครับ

   :c017:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ปฏิฆะ ความขัดใจ, แค้นเคือง, ความขึ้งเคียด, ความกระทบกระทั่งแห่งจิต
       ได้แก่ ความที่จิตหงุดหงิดด้วยอำนาจโทสะ;

       (ข้อ ๕ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๒ ในสังโยชน์ ๑๐ ตามนัยพระอภิธรรม, ข้อ ๒ ในอนุสัย ๗)

สังโยชน์ กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ
           ๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน
           ๒. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
           ๓. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรต
           ๔. กามราคะ ความติดใจในกามคุณ
           ๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ   
           ๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต
           ๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม
           ๘. มานะ ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
           ๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
           ๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง


พยาบาท ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย; ตรงข้ามกับเมตตา;
            ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น


นิวรณ์, นิวรณธรรม ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี, สิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. กามฉันท์ พอใจในกามคุณ
           ๒. พยาบาท คิดร้ายผู้อื่น
           ๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่ซึมเซา
           ๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญ
           ๕. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย

โกธะ ความโกรธ, เคือง, ขุ่นเคือง


_____________________________________________
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)




โกรธ
    [โกฺรด] ก. ขุ่นเคืองใจอย่างแรง, ไม่พอใจอย่างรุนแรง, ราชาศัพท์ว่า “ทรงพระโกรธ” ก็ใช้ เช่น ก็จะทรงพระโกรธดั่งเพลิงกาล. (อิเหนา). (ส. โกฺรธ).


______________________________________
พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://www.pattanakit.net/,http://www.visalo.org/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28420
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

กิเลสที่พระอริยประหาณ

กิเลส คือธรรมที่เศร้าหมองและเร่าร้อน เมื่อเกิดพร้อมกับนามธรรมรูปธรรมใด ก็ทำให้นามธรรมและรูปธรรมนั้น ๆ เศร้าหมองและเร่าร้อนไปด้วย กิเลสจัดได้เป็น ๓ ขั้น คือ

ก. วิติกกมกิเลส เป็นกิเลสที่ก้าวล่วงออกมาถึงภายนอก ก้าวล่วงออกมาทางกาย ทางวาจา จนถึงกับลงมือกระทำการด้วยกาย ด้วยวาจาตามอำนาจแห่งกิเลส นั้น ๆ แล้ว วิติกกมกิเลสนี้ระงับไว้ได้ด้วยสีลวิสุทธิ อันเป็นการระงับยับยั้งไว้ได้เพียงชั่วคราวชั่วขณะที่ยังคงรักษาสีลนั้นๆ อยู่ การระงับยับยั้งเช่นนี้ เรียกว่า ตทังคปหาน เป็นการยับยั้งไว้ได้ชั่วขณะ จิตที่ยังเป็นมหากุสลอยู่กิเลสเหล่านั้นก็ไม่สามารถก่อให้เกิดกายทุจจริต หรือ วจีทุจจริตได้ในขณะนั้น

ข. ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสที่ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจแล้ว เกิดขึ้นในมโนทวาร คือ คิดอยู่ในใจ แต่ไม่ถึงกับก้าวล่วงออกมาทางกายหรือทางวาจา ตัวเองย่อมรู้ว่ากิเลสนั้น ๆ เกิดขึ้นในใจแล้ว ส่วนผู้อื่นนั้นบางทีก็รู้ บางทีก็ไม่รู้ ปริยุฏฐานกิเลส ข่มไว้ได้ด้วยจิตตวิสุทธิ อันหมายถึง สมาธิ คือ ฌาน การระงับด้วยการข่มไว้เช่นนี้เรียกว่า วิขัมภนปหาน ข่มไว้ได้นาน ตราบเท่าที่ฌานยังไม่เสื่อม

ค. อนุสยกิเลส มักจะเรียกกันว่า อนุสัยกิเลส เป็นกิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน ยังไม่ได้ลุกขึ้นมาครอบงำจิตใจ ซึ่งผู้อื่นและแม้แต่ตนเองก็ไม่สามารถรู้ได้ อนุสยกิเลสนี้ต้องประหาณด้วยญาณทัสสนวิสุทธิ คือ ปัญญาในมัคคญาณ อันหมายถึงมัคคจิต ซึ่งมัคคจิต สามารถประหาณได้จนหมดสิ้นสูญเชื้อโดยสิ้นเชิง ที่เรียกว่า สมุจเฉทปหาน

____________________________________
ที่มา http://abhidhamonline.org/aphi/p9/103.htm
ขอบคุณภาพจาก http://www.fungdham.com/,http://fb.sanook.com/


ask1

  ปฏิฆะ กับ พยาบาท และ โกรธ นี้แตกต่างกันอย่างไร ครับ

   :c017:



ans1 ans1 ans1
   
ปฏิฆะ เป็นสังโยชน์ หรือ อนุสยกิเลส เป็นกิเลสอย่างละเอียด ต้องปหานด้วย "มัคคญาณ" ในชั้นของ "อนาคามีมรรค"
พยาบาท เป็นนิวรณ์ หรือ ปริยุฏฐานกิเลส เป็นกิเลสอย่างกลาง สามารถข่มไว้ด้วย สัมมาสมาธิ คือ ฌาน
โกธะ เป็นภาษาบาลี ภาษาไทยคือ โกรธ  เป็นบันไดไปสู่พยาบาท เป็นแค่ขุ่นเคืองเท่านั้น ยังไม่ถึงปองร้าย อาจสังเคราะห์เป็น วิติกกมกิเลส หรือ กิเลสอย่างหยาบ ยับยั้งไว้ได้ด้วยศีล


     หากยกเอาสิกขา ๓ มาพูด อาจเทียบได้ดังนี้
          - โกธะ อยู่ในเรื่อง ศีล
          - พยาบาท อยู่ในเรื่่อง สมาธิ
          - ปฏิฆะ อยู่ในเรื่อง ปัญญา


     ขอคุยเท่านี้ครับ

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 20, 2013, 09:48:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

KIDSADA

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 439
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
หากยกเอาสิกขา ๓ มาพูด อาจเทียบได้ดังนี้
          - โกธะ อยู่ในเรื่อง ศีล
          - พยาบาท อยู่ในเรื่่อง สมาธิ
          - ปฏิฆะ อยู่ในเรื่อง ปัญญา

     ขอคุยเท่านี้ครับ


  ประโยคโดนใจ มาก ๆๆๆๆๆๆ

      thk56
บันทึกการเข้า
เราชอบ ป่วนแก็งค์ อ๊บ อ๊บ