ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รวมข้อความสั้น จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม บันทึกการภาวนาของธัมมะวังโส  (อ่าน 127817 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 7 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ผู้ที่ไม่รู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมหวังให้คนอื่นมาเข้าใจตน เห็นใจตน และคิดลบอยู่เสมอ จึงบ่นนั้นบ่นนี่ไปทุกเรื่องยามที่ตกอับยากจน หรือรับความลำบาก นี่เรียกว่า ตายังบอด มองไม่เห็นตามความเป็นจริง ของโลก ของชีวิต ของสังคม ของกายใจตน
แต่ผู้มีปัญญาย่อมมองเห็นตามความเป็นจริงว่า ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตนก่อนเสมอ การจะภาวนาก็ต้องนำตนมาภาวนา การจะไปสู่มรรคผล นิพพาน ก็ต้องรักษาตนให้มั่นคงในการภาวนา ถึงแม้กัลยาณมิตรที่ดีงามเพรียบพร้อมเป็นอริยะแล้วก็ตาม การภาวนาก็ต้องเกิดจากตนเป็นผู้ภาวนา เมื่อมองเห็นความเป็นจริงตามความจริงอย่างนี้ เขาไม่จะเสียเวลามาร่ำไร รำพัน ปริวิตกต่อทุกข์ ที่เกิดขึ้นแต่ จะรีบขยันเพื่อละจากทุกข์ที่ปรากฏแล้วนั่นเอง คนมองเห็นตามความเป็นจริงจึงมองโลกอย่างบวกเสมอๆ
ดังนั้นการมองเห็นตามความเป็นจริงนั้น เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ สำหรับผู้ที่ รักตน หวังคุณธรรมเบื้องสูงมีปลายทาง คือ พระนฤพาน แล้ว ไซร้ กพึ่งเจริญ สติ ดูลมหายใจเข้า ดูลมหายใจออก ระลึกถึง พุทโธ ๆๆๆ อย่างนี้ อย่าได้ขาด ถ้านึกอะไรไม่ได้ ก็นึกถึงครูอาจารย์ ที่เป็นกัลยาณมิตร เมื่อนึกถึงแล้วก็ให้นึกถึงคำสอนที่กัลยาณมิตรท่านถ่ายทอดไว้เสมอ ๆ ๆ นำมาปรับปรุงจิตใจให้เห็นตามความเป็นจริง
สำหรับ ศิษย์ไก่เถื่อน แล้วถ้านึกถึงหลวงปู่ ยังคิดอะไรไม่ออก ก็ให้ว่า คาถา พญาไก่แก้ว หลาย ๆ จบ เดี๋ยวก็จะเห็นความจริงเองว่า ควรจะทำอะไร ...."


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
มอบธรรมเป็น สมณาคุณ( สมณะ+คุณ) แก่ผู้มีบุญ หลังออกกรรมฐานครั้งที่ 8 เช้านี้

"อะไรเป็นเหตุ เป็นปัจจัยที่สำคัญ ต่อการปหานกิเลส คำตอบก็คือ สัมปชัญญะ ที่เรียกว่า ตัว รู้ นั่นแหละ เป็นเหตุปัจจัยที่สำคัญ ในการดักกิเลสแบบ ปัญญาวิมุตติ ถ้าตัวรู้ มันมีกำลังมาก มันจะคอยดัก สิ่งที่เข้ามากระทบ ตลอดเวลา มันจะดักว่า
     ตา กระทบกับ รูป สักว่า นั่นคือ รูป ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า รูป ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     หู กระทบกับ เสียง สักว่า นั่นคือ เสียง ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า เสียง ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     จมูก กระทบกับ กลิ่น สักว่านั่น คือ กลิ่น ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า กลิ่น ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     ลิ้น กระทบกับ รส สักว่านั่น คือ รส ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า รส ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     กาย กระทบกับ สิ่งที่สัมผัส สักว่านั่นคือ สิ่งที่สัมผัส ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า สิ่งที่สัมผัส ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
     ใจ กระทบกับ ธรรมารมณ์ สักว่านั่นคือ ธรรมารมณ์ ไม่ใช่ เรา ไม่ใช่ของเรา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตนของเรา
     ว่างจาก เรา เป็นสักว่า ธรรมารมณ์ ยึดมั่นถือมั่นไม่ได้
      ตัวรู้ ของ ผู้มีปัญญาวิมุตติ ก็จักเป็นอยู่อย่างนี้ จน สัญญาที่มีอยู่ รู้ละ และ ปล่อยว่าง เรียกว่า การค่อยคลายจากความยึดมั่นถือมั่น ( อุปาทาน ) ก็จะค่อยเป็นไปด้วยการ ปหานกิเลส ไปครั้งละนิดละหน่อย เมื่อมีภูมิธรรมมาก ๆ มันก็จะเกิดสภาวะ ปัญญาวิมุตติ อย่างมีกำลัง 2 - 3 ครั้งแล้วก็เข้าผลสมาบัติ สำหรับส่วนนี้อาศัย นิพพิทา เป็นหลัก

     สำหรับ ผู้ที่ได้ ฌานโลกียะ ย่อมไม่มีเวลาเข้าไปใช้ตัว รู้ เหตุเพราะว่า สภาวะ ว่างจากนิวรณ์นั้น เป็นสภาวะไม่มีกิเลส ทำให้ตัวรู้ นี้ไม่มีความเกี่ยวข้องในการดักอารมณ์อย่างปัญญาวิมุตติ ด้วย สมาธิ เกิดจากองค์แห่งความรู้ในเบื้องต้นแล้ว เมื่อจิตเข้า ฌานวิถีตามลำดับ สภาวะดับกิเลสจะเกิด ต้องอาศัยความปรารถนา ในการละกิเลสก่อนเข้าสมาธิ  คือ ต้องทำการอธิษฐานไว้ก่อน เข้า ฌานวิถี ดังนั้นผู้ที่เข้า ฌานวิถี ด้วยอารมณ์ หน่วงสมาบัติ จึงอยู่แค่สมาบัติ 4 หรือ 8 จึงไม่สามารถไปต่ออารมณ์ในการดับกิเลส นั้นได้ ดังที่หลายท่านมักพูดให้ได้ยินว่า ติดสมาบัติ แท้ที่จริงไม่ใช่ติดสมาบัติ แต่ไม่ได้อธิษฐาน นิพพานเป็นองค์ธรรมสภาวะก่อนเข้า ฌาน พระพุทธเจ้าท่านเรียนกับ อาฬารดาบส และอุทกดาบส ท่านรู้เพราะว่าหลังออกจากฌาน กิเลสยังมีอยู่ แต่ในฌาน ไม่มีกิเลส ท่านจึงรู้ว่าการเข้าฌาน 4 และ 8 นั้นยังไม่สามารถดับกิเลส จึงอำลาทั้งสองสำนัก มาแสวงหา วิมุตติต่อจาก ฌาน 4 และ 8  ดังนั้นผู้ที่หวัง นิพพาน ต้องตั้งความปรารถนาใน นิพพาน นั้น ก่อนเข้า สมาบัติ ดังนั้นพระสาวกผู้ปรารถนา นิพพาน ย่อมอธิษฐานการเข้านิพพาน เป็นอารมณ์ เมื่อกระทำ ฌานวิถี แม่เข้าลำดับองค์แห่งฌาน ไปตามลำดับ เมื่อจิตเข้า เอกัคคตา ความปรารถนาในพระนิพพาน จะเป็นเอกัคคตา เป็นสภาวะ อสังขารวิเสส ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง โดยที่ไม่ต้องดักสภาวะอย่าง ปัญญาวิมุตติ แต่ความรู้ชัดนั้น เป็น วิราคะ โดยไม่ต้องนึกหน่วง สภาวะใด ๆ

    สำหรับพระอริยะสาวกตั้งแต่พระโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหัตตมรรคนั้น เมื่อเข้าฌานวิถี จัดเป็น วิเสสสมาบัติ ตั้งแต่เริ่มต้น องค์แห่ง วิเสสสมาบัติ มี ผลสมาบัติเป็นอารมณ์ นั่นคือ อุปสมานุสสติ ซึ่งเป็นกรรมฐานคุณธรรม ของ พระอริยะบุคคลตั้งแต่ พระโสดาบัน เป็นต้นไป
ความแตกต่างของการเข้าสู่ วิถีการดับกิเลส ทั้งสามแบบนี้ถึงแม้ว่าจะพูดต่างกันแต่ ก็เป็นเรอบเดียวกัน ในปฏิจสมุบาท เพียงแต่ดับกิเลสตรงจุดที่ต่างกัน สำหรับพระวิปัสสกนั้น เข้าปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ แต่เกิดจากปัญญา มองเห็นตามลำดับ ของปฏิจสมุปบาท
ส่วนเจโตวิมุตติ จะสามารถเข้า ปฏิจจสมุปบาทได้สามรอบ ก่อนการประหานกิเลสในรอบที่สาม เป็นเช่นนี้ทุกองค์....

อ่านเรื่องการเข้า สมาบัติ 8 ของพระพุทธศาสนา ตามที่พระพุทธเจ้าสอนตรงนี้ จะได้ไม่เข้าใจผิด
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=15517.msg67774#msg67774

"

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของธัมมะวังโส

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 30, 2016, 08:03:47 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วิเวกธรรมก็มีลำดับ ไม่ใช่คิดว่า จะทำอุปธิวิเวกเลยจะทำได้

"วิเวกมีสามอย่าง แต่ละอย่าง สนับสนุนซึ่งกันและกัน
1.กายวิเวก  หมายถึง ความสงัดกาย ภายนอก เช่นความสำรวมระวังอินทรีย์เป็นต้น
2.จิตตวิเวก หมายถึง ความสงัดจิต ภายใน เช่นการฝึกอบรมสติ สมาธิ บ่มพละให้แก่กล้า
3.อุปธิวเวก หมายถึง ความสงัดจากกิเลส ด้วยการรวม กายวิเวก และ จิตตวิเวก เพื่อประหารกิเลส มีการปัจจเวกปัจจัย การแผ่เมตตา การถือสันโดษ และ ธุดงค์

สิ่งที่ฉันมาทำตอนนี้ก็คือ อุปธิวิเวก ไม่ใช่กายวิเวก หรือ จิตตวิเวก แต่เป็นการมาดัดตนเอง บ่มอินทริย์และพละให้ตั้งมั่นเป้าหมาย เพื่อการภาวนา มีจุดหมายคือการไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป ใครที่คิดแบบฉัน ๆ อนุโมทนาสาธุ เพราะความคิดอย่างนี้ถึงแม้ยังไม่ได้ลงมือทำแสดงว่ามีนิพพิทา เห็นโลกตามความเป็นจริงบ้างแล้ว แต่ความคิดมันก็เป็นเพียงความคิด พระที่คิดแบบนี้ก็มีเยอะนะ แม้ฉันเองเคยคิดอย่างนี้หลายครั้งหลายหน แต่ไม่เคยได้ลงมือทำ

วันนี้ได้ลงมือทำและยอมรับความลำบาก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามมาแต่ตอนนี้ สบายใจ เพราะเส้นทางที่เดินนั้นได้ให้สิ่งที่พอใจแล้ว

ดังนั้นใครที่คิดจะทำอุปธิวิเวกนั้น ต้องสร้างกายวิเวก และ จิตตวิเวกก่อนไม่ใช่โดดมา อุปธิวิเวกเลย สมัยก่อนฉันก่อนก็สงสัย ทำไมจิตถึงฟุ้งซ่านมาก เวลาอย่ป่า อยู่เขา นั่นเพราะว่า กายวิเวก และ จิตวิเวก ยังฝึกมาไม่ดีพอ เวลาไปอยู่คนเดียว เงียบ ๆ ในป่า ในเขา สักวันสองวันสักอาทิตย์ จึงได้ฟุ้งซ้าน เดินเพล่นพล่านสุดท้ายก็เอาดีไม่ได้ ต้องออกมา ศิษย์คนไหนถ้าคิดจะทำอุปธิวิเวกแล้ว พึงทำกายวิเวก และจิตตวิเวก ให้ดีก่อนให้ได้ก่อน เวลาไปอยู่ตามลำพัง จะได้ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่เสียเวลา"


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ธดงค์ มี ความสำคัญที่สัจจะ
« ตอบกลับ #163 เมื่อ: กันยายน 30, 2016, 01:18:30 pm »
0
"การทำอุปธิวิเวก อาศัยสัจจะ ฉันกำหนดเขตการเป็นอยู่ในชีวิต เพียง 21 ตรว.จะไม่ก้าวเท้าออกไปนอกเขต นั่นหมายความว่า ฉันไม่ได้มีกำแพงมากั้นเขต แต่มีกำแพงใจ ไว้กั้นเขต หมายความว่าฉันจะเดินออกนอกเขตวันไหนก็ได้ ถ้าต้องการ แต่กำแพงใจที่สะกัดไว้ นั้นต้องอาศัยการบ่มเพาะ กายวิเวกและ จิตตวิเวกมาก่อน มันถึงจะทำได้ ดังนั้น อุปธิวิเวก ต้องอาศัยกำลังใจ ความอดทน ความมุ่งมั่น ความฉลาด เป็นตัวผลักดัน นั่นก็คือ การบ่มอินทรีย์ 5 และ พละ 5 มาก่อนมันถึงจะทำได้ อุปสรรคสำคัญสำหรับ พระอย่างฉัน ก็คือ การละลาภสักการะ และ ยศ ชื่อเสียง และ สุข ดังนั้นการขัดเกลา ก็คือ การปัจจเวกขณปัจจัย 4 การถือสันโดษ และ การเข้าธุดงค์ ใน ธุดงค์ 13 ข้อนั้นฉันเลือก
1. การถือครองผ้า 3 ผืน ไม่รับผ้า 3 ผืน เพิ่มเป็นเวลา 2 ปี ดังนั้นไม่เปิดโอกาสให้ใครถวายผ้า และ ไม่รับผ้าไตรใหม่ เป็นเวลา 2 ปี (ข้อที่ 2 )
2.การถือบริโภคในบาตรเป็นวัตร และ ฉันภัตร วันละครั้ง หรือสองสามวันต่อหนึ่งครั้ง ( ข้อที่ 6 และ 7 )
3.การอยู่เสนาสนะแห่งเดียว ด้วยขอบเขตน์จำกัด ( ข้อที่ 12 )
4.การอยู่ เนสัชชิกธุคงค์ ( ข้อที่ 13 )
ดังนั้นการเข้าอยู่ อุปธิวิเวกของฉันอาศัย ธุดงค์สมาทาน 5 ข้อนี้เป็นประจำเป็นหลัก ในพรรษา ทำอย่างเข้มข้น นอกพรรษาเว้น ข้อที่ 4
"
ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทางของธัมมะวังโส
จากภาพเห็นกุฏิวัดเขาช่องลม เขาทำให้พระอยู่ หรูนะ มีห้องน้ำภายนอกไม่ไกล และทางเดินจงกรม อย่างในภาพ ท่านใดได้เสนาสนะอย่างนี้ ก็ขอให้ตั้งมั่นในการภาวนา ให้เยี่ยมนะ อนุโมทนา สาธุ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


มอบธรรม วันธรรมสวนะ เป็นกำนัลแด่ผู้ร่วมทาง
"มรณา นุสสติ เป็นกรรมฐาน ที่ทำให้รู้จักพอ ละตัณหาได้ระดับหนึ่ง
สำหรับกรรมฐานนี้ จะมั่นคงมีได้ตั้งแต่ระดับพระโสดาบัน คนธรรมดาใช้กรรมฐานก็เพียงเตือนสติ แต่ไม่สามารถสละกิเลสได้ และใช้เป็นบาทวิปัสสนา แค่ทำให้รู้สึกสลด รู้จักคิดบ้างเป็นบางครั้ง ถ้าเจริญในปุุถุชนมากไป จะทำให้รู้สึกท้อแท้ ก็มีโทษของกรรมฐานอยู่ ซึ่งไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ของการเจริญ มรณานุสสติ ดังนั้นผู้เจริญ มรณานุสสติ นั้นควรเป็นผู้มุ่งมั่นกับพระนิพพาน เป็นหลักเป็นกรรมฐานที่ใช้คู่กับ อุปสมานุสสติ สรุปง่าย ๆ ก็คือ เป็นกรรมฐานที่เฉพาะพระอริยะเท่านั้นที่จะตั้งมั่นได้ สำหรับพระโสดาบัน มรณานุสสติตั้งมั่นอย่างน้อยวันละครั้ง ถ้าเป็นพระอริยะบุคคลระดับพระอรหันต์ก็คือทุกวินาที คือเตรียมพร้อมที่จะตาย นั่นเอง ทำนองนั้นแหละ

"อยู่ก็สร้างกุศลต่อไป ตายแล้วก็เอาไปเผา"

โอ้ เอ๋ย อนิจจา เป็นนักปราชญ์ ฉลาดล้ำ บุญทาน ไม่รู้จักทำ ฉลาดล้ำ แต่เรื่องวน ภาวนา ไม่เคยสน ไม่เคยยล พิศมัย มองหา แต่ศิวิไลซ์ พิศมัย แต่เงินตรา ชีวิต ที่โลดแล่น ตั้งกำแพง ถือยศถา แสวงหา ศักดินา เพลินมายา หลงลืมตน ทุกวัน หาคำหวาน มัวสำราญ สรรเสริญ หลงผิด เป็นทุนเติม ให้ห่างเหิน จากวัดวา
สุดท้าย วันมาถึง มารำพึง และโหยหา ว่าคำ พระสัมมา พุทโธจ๋า ไม่อยากตาย สี่เท้า มันรู้ทัน ไฉนปราชญ์ ไม่รู้แก้ หลงแก่ พัลวัน จะจากกัน พร่ำอาวรณ์ บ้านจ๋า ยศของฉัน มารำพัน อย่างโหยหา มรณา ที่เข้ามา บ่ได้มี สิ่งใดไป ยามเป็น ไม่ฉลาด ยามจำจาก จึงต้องเหงา ทิ้งร่าง เหมือนดั่งเงา ตั้งให้เขา ดำเนินการ เหลือกาย ซ่อนในโลง เพียงนอนเฉย อย่างอับเฉา โอ้หนอ นะคนเรา มีสิ่งใด ติดตามตัว
มีเหรียญบาท ยัดใส่ปาก สัปเหร่อ ยังควัก ไม่ให้เจ้ากลืน คิดแล้ว มันน่าขมขื่น เหลือผ้าสองผืน พอปิดกาย บางครั้ง คนเผลอ สัปเหร่อ ยังแก้ เอาผ้าม่วง ผ้าแพร ไปเที่ยว เร่ขาย ต้องนอน แต่งชุดเดียว ทั้งวันเกิด วันตาย ต้องไป นอนเปลือยกาย อยู่บนเชิงตะกอน"


ข้อความบางส่วน จาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทางของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ถ้าไม่นั่งหลับหู หลับตา ไม่มีทางบรรลุ คุณธรรม
« ตอบกลับ #165 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2016, 06:21:11 am »
0


"สมัยก่อน ฉันมีความคิดว่า การภาวนานั้นไม่มีความจำเป็นต้องไปนั่งหลับตาปิดหู นั่งนิ่ง เพราะผู้ภาวนา ควรจะทำภาวนาได้ทุกอิริยบถในการภาวนา ดังนั้น เวลาใครชวนทำสมาธิ ก็มักจะคิดว่า พวกหินทับหญ้า พวกเสียเวลา ปล่อยเวลาไร้ประโยชน์ พวกขี้เกียจงาน เอาแต่เดินกลับไปกลับมา แล้วก็มานั่งนิ่ง สู้ทำงานศาสนา เผยแผ่สอนธรรม ไม่ได้ สู้มานั่งเขียนตำรา พัฒนาวัด หมู่บ้าน ชาติบ้านเมือง จะดีกว่า ตอนนั้นฉันก็ตามครูอาจารย์เข้าร่วมเป็นกลุ่มนักพัฒนา ในสายเหนือ โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง โดยในขณะนั้น ก็มีเหล่าครูอาจารย์ สอนธรรมแนะนำธรรมที่มีชื่อเสียงไม่ต่ำกว่า 50 รูปที่รู้จักมักคุ้นกัน เลยทำให้ส่วนตัวตอนนั้นพัฒนาชีวิตการภาวนาออกไปทาง สติมากกว่า และเห็นว่า การภาวนาแบบสมาธิ เป็นเรื่องขัดใจ ผ่านมาหลายสิบปี ชีวิตทีเดินตามกระแสสายสติ มั่นคงในศีล ก็ไม่ได้พัฒนาอะไรได้นอกจากคำว่ายอมรับ และพยายามไม่เห็นแก่ตัว แต่ มักจะถูกเบียดเบียนเป็นประจำจากคนเห็นแก่ตัว แต่ตอนนั้นก็มองโลกสวยและมีความเชื่อว่า คนทุกคนล้วนเป็นคนดีมาก่อน แต่ประสบการณ์ชีวิตที่ผ่านมา กลับให้คำตอบว่า สิ่งที่เราคิดและเดินตามแนวทาง สายสตินั้น ไม่สามารถทำให้ไปถึงแก่น ของ พุทธศาสนาได้เลย เหมือนคนประมาท หลอกตัวเองอยู่ด้วย ความเข้าใจที่ชื่อว่า ปัญญา ประมาณนั้น สิ่งที่ทำมาตลอด 35 ปีกลายเป็นเรื่องไร้สาระ เพราะว่า เราดีขนาดไหน สังคมก็ยิ่งเบียดเบียนเรามากขึ้น สังคมทุกวันนี้ เป็นไปด้วยการเอื้อหมู่ พวกพ้อง ไม่ได้รักในคุณธรรมตามหลักศาสนาจริง ฉันมีประสบการณ์ ทุกหักหลัง บ่อยมาก เมื่อถึงกรณีที่ต้องตัดสินความถูกต้อง ผู้ใหญ่ก็เลือกข้าง ญาติมิตรสหาย คนให้ผลประโยชน์ เพื่อนก็วิ่งเข้าข้างคนหายศ มียศ มีเกรียติอย่างที่เขาคิด ถูกหลอกใช้เป็นประจำ ด้วยคำสวยหรู คำหวาน คำชม คำสุภาพ จนถึงจุดหนึ่งบรรดาผู้ใหญ่ เคยเรียกพูดเป็นการส่วนตัวว่า ผมไม่สามารถเข้าข้างคุณได้ ด้วยส่วนคุณธรรม นั้นผมก็นับถือคุณ แต่คุณน่าจะเอาตัวรอดได้ แต่คนที่ยังไมมีคุณธรรมยังต้องอยู่ กับหมู่คนที่ต้องให้กำลังใจ ข้อความมันหนักอยู่เหมือนกัน จะเขียนให้เป๊ะแบบเขา เดี๋ยวเจ้าตัวมาอ่านแล้วจะสะดุ้งกัน ฉันถูกปลูกฝังให้เชื่อว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ทีเห็นคือคนที่ ทำดี เดือดร้อน เพราะคนไม่ดี ประจำ แต่ คนที่ทำชั่ว จะมีความสุขสบาย ตอนนั้นครูอาจารย์ สายสติก็จะสอนให้เรามองเห็นธรรมว่า ทำดีก็ดีคือสุขใจ ทำชั่วก็ชั่วเพราะทุกข์ใจ ซึ่งมันไม่ต่างอะไรกับคำพูดที่ปลอบใจ ตัวเองเท่านั้น เพราะสุดท้ายมันก็เหมือนเป็นคำหลอกให้เรา ยึดมั่นในความดี และมองปล่อยให้คนชั่ว มันทำชั่วได้ตามใจมัน นี่เรียกว่า คิดแบบคนโลกสวยและ โลกให้ผลตอบแทนคนดีแบบ นี้เสมอมา จนคนดีก็ไม่มีที่ยืน ใช่ไหม ?
ที่เล่าตรงนี้เพื่อชี้แจงข้อผิดพลาดของฉัน ในการมองโลกสวย และไม่ได้เดินตามอริยะมรรค จนกระทั่งวันหนึ่ง ลมหายใจเข้าและลมหายใจออกของฉันได้ดับลง ในตอนนั้นไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งเลย ไม่มีอะไรช่วยฉันได้เลยขณะนั้น สิ่งที่นึกได้ตอนนั้น ก็คือคุณงามความดี ที่ได้สร้างสั่งสมไว้ นำมาเป็นแสงสว่างพร้อมการอธิษฐานระลึกถึงคุณแห่งพระพุทธเจ้า คือคำว่า " อรหัง " ตอนนั้นไม่มีบทใดที่สติ ฉันจะนึกได้ นึกได้แต่ เพียงคำว่า อรหัง อรหัง อรหัง มันเหมือนคำกระซิบข้างหูของคนที่กำลังจะตายจะได้ยินคำพูดนี้เหมือนเป็นการชี้ช่องทาง เตือนใจ ( เหตุการณ์ทีเกิดระหว่างนั้นจะไม่ขอเล่า แต่จะขอเล่าหลังจากการได้ลมหายใจเข้า และออก กลับมาอีกครั้ง )
ในโอกาสที่มีลมหายใจเข้า และหายใจออกกลับมาอีกครั้งนั้น ฉันได้ทบทวน คำว่า "อรหัง" เหมือนเป็นจุดหมายปลายทาง ให้ฉันยุติเรืองราวทั้งหมด ในชีวิตฉัน ยุติการเดินทาง ไหลไปตามโลก ความคิดจากการมองโลกสวย กลับกลายมามองตามความเป็นจริง และยอมเข้ารับการทดสอบ เป็นเวลา 7 เดือน จึงเข้าใจใน มรรคสมังคี ที่สำคัญที่เราทิ้งและละเลย ไปในคือเรื่อง สมาธิ คือองค์มรรคสุดท้าย
การภาวนา หลังจากผ่านการทดสอบ 7 เดือนนั้น ครูอาจารย์ท่านก็ถ่ายทอดเรื่องการฝึกกรรมฐาน เน้นเรื่องสมาธิ เพียงเรื่องเดียวที่บอกว่าฉันขาดไป ฉันจึงกลายกลับมาเป็นผู้มาเดินกลับไปกลับมา และมานั่งหลับหูหลับตา มากขึ้น จนถึงที่สุดแน่ใจใน ธรรมสภาวะที่ปรากฏขึ้นในมรรคสมังคี หลายต่อ หลายครั้ง เป็นไปตามลำดับ เกิดขึ้นในธรรมสภาวะ ที่ปรากฏในคำว่า ในภายใน ในภายนอก
ดังนั้นฉันไม่ตำหนิคนที่มีความคิดลักษณะเดียวกับฉันที่มีในเริ่มต้น หมิ่นเรื่องการ นั่งหลับหู หลับตามองเห็นว่า การทำมรรคสมังคีเป็นเรือ่งของคนขี้เกียจ มันไม่ต่างอะไรจากความคิดของฉันในครั้งแรก
เมื่อทบทวนการตรัสูรู้ของพระพุทธเจ้า แล้ว ฉันก็เห็นว่า ตนเองนั้นมีความอวดดีเกินไป จึงทำให้เสียเวลาไปถึง 35 ปี เพราะความอวดดีที่อวดเก่งเกินกว่าพระพุทธเจ้าไปหลงเข้าใจว่า การบรรลุธรรมถึงที่สุดแห่งพรมหจรรย์ จะสามารถทำได้ด้วยการไม่หลับหูหลับตา นั้น เป็นการไม่สมควรเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระพุทธเจ้า ทานเป็นพระพุทธเจ้าได้ ก็เพราะว่า ท่านหลับหูหลับตาในคืนตรัสรู้ และเข้าธรรม สภาวะ ที่ชื่อว่า อรหัง ไปตามลำดับ นั่นเอง
เตือนศิษย์ทั้งหลาย อย่าอวดเก่งกันนักเลย ฉันพลาดมาแล้ว และไม่อยากให้ใครได้พลาดอีก ถ้ายังไม่มาหลับหู หลับตา ปิดห้าทาง ดักหนึ่งทาง ไม่มีทางที่จะบรรลุ คำว่า "อรหัง" ได้ เพราะ พระอรหันต์ ทั้งหลายล้วนแล้วแต่ก็ต้องหลับหู หลับตาเช่นเดียว กับพระตถาคตเจ้า เช่นกัน พระโมคคัลลานะ ผู้มีฤทธิ์มาก ก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเป็นเวลา 7 วัน พระสารีบุตร ผู้มีปัญญามากก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเป็นเวลา 15 วัน ไมมีใครเก่งกว่านี้แล้ว พระจูฬปันถก ที่ว่าโง่ ๆ พระพุทธเจ้าก็ให้นั่งหลับหูหลับตา 4 ชม. ถ้าไม่ยอมหลับหู หลับตา นั่งลูบผ้า จะได้ มโนมิยิทธิ ได้อย่างไร พระองคุลีมาลที่ก่งกาจฆ่าคนเป็นจำนวนมาก ก็ต้องนั่งหลับหู หลับตาเช่นกัน
การหลับหู หลับตา คือปฏิเวธของพระอริยะบุคคล เรียกว่าอริยะผล คือ ผลสมาบัติ จะไปลืมตา เปิดหูนั้นทำไม่ได้ ไม่มีองค์ไหนทำได้ นอกเสียจากจะเดินจงกรมละสังขาร อย่างพระอรหันต์ อย่างนั้นเป็นไปได้อยู่ การเข้านิโรธสมาบัติ สุญญาตาสมาบัติ สัญญาเวทยิตนิโรธ ต้องใช้การหลับหู หลับตากระทำทั้งนั้น โปรดใคร่ครวญให้ดี จะได้ไม่หลงทาง
คำครูสอนเบื้องต้น
ลืมตามองเห็นโลก
หลับตามองเห็นตน
ลืมตามองเห็นปัจจุบัน( ไม่มีอดีต ไมมีอนาคต)
หลับตามองเห็นทั้งสามกาล (อดีต ปัจจุบัน อนาคต)
ลืมตาก็มีจะมีสติ เฉพาะหน้า
หลับตา ก็จะเห็นธรรมภายใน
ลืมตา จะได้ความสังเวช
หลับตา จะได้ยถาภูตญาณทัศศนะ
ลืมตา ก็ยังอยู่ในโลก
หลับตา ก็จะพ้นจากโลก.......
"
ข้อความบางส่วนจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และการเดินทาง ของ ธัมมะวังโส
( ความหมายภาพ พระพุทธรูปที่สำคัญอีกองค์ อยู่ที่เมืองสองแคว เมืองพิษณุโลก นั่นก็คือ พระพุทธชินราช ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ( ชนะมาร ) ที่มีความงดงาม ทางศิลปะของคนไทยชาวสยาม ที่ได้แสดงความมุทิตา ให้คนที่ยลถึงพระพุทธรูป ( ฉายาพระพุทธเจ้า )ได้เห็นถึงความเมตตา และ ความบริสุทธิ์ ตลอดถึงพระมหากรุณา เป็นที่ปรากฏแก่ผู้ ทัศศนา พระพุทธรูปองค์นี้ )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สำนักสอนที่น่ากลัว คือ สอนผิดปนถูก
« ตอบกลับ #166 เมื่อ: ตุลาคม 25, 2016, 12:46:40 pm »
0
"ถ้าสอนผิด ก็สามารถ ระบุได้ว่าผิด สำนักอย่างนี้ไม่น่ากลัว
ถ้าสอนถูก ก็สามารถ อนุโมทนา ว่าถูก สำนักอย่างนี้น่านับถือ
แต่ที่ลำบากใจก็คือ มีทั้งสอนผิด และสอนถูก ปนกันนี่แหละ ที่ทำให้แก้ไขได้ยาก เพราะถูกก็ไปรับรองส่วนที่ผิด ด้วยภาพพจน์ สวนผิดก็ไปทำลายส่วนถูก เพราะทำให้เกิดรูปแบบที่ผิด สำนักอย่างนี้ นับว่าเป็นอันตรายมากกว่า สำนักที่สอนผิด
เพราะสอนถูกก็ต้องอนุโมทนา สาธุ สนับสนุน
สอนผิดก็ต้องตำหนิ และไม่ทำตาม ไม่สนับสนุน
ดังนั้นบางครั้งเราจึงต้องมีสองสถานะ ในที่เดียวกัน
อย่างไรเรียกว่า สอนผิด
คำสอนใดขัดต่อหลัก พระอริยมรรค มีองค์ 8 ไม่ชักนำไปสู่ อุปสมะ ไม่มีเนื้อหา อริยสัจ 4 มีแนวทางไปทางความงมงาย ไม่มีการละดับกิเลส คำสอนนั้น คือ มิจฉาทิฏฐิ มี 62 ประการ เป็นคำสอนที่ผิด
อย่างไรเรียกว่า สอนถูก
ตำสอนใดเป็นไปเพื่อการละกิลส ประกอบด้วย ธรรม 37 ประการ คือ ปธาน 4 อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 พละ 5 อินทรีย์ โพชฌงค์ 7 อริยมรรค มีองค์ 8 มีแนวทางเป็นเป็นไปเพื่อการละดับกิเลส พ้นจาก ทิฏฐิ 62 เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ เป็นคำสอนที่ถูก
"
ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และ การภาวนา ของ ธัมมะวังโส


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถึงคนที่เป็นเช่นฉัน ที่มีประสบการณ์ตรงนี้มาแล้วเหมือนกัน

ถ้าคุณได้ผ่านเหตุการณ์ ที่ลมหายใจเข้าหรือออก หมดไป หรือ สภาวะจิตที่ไม่รู้สึกตัว เป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี คุณจะเข้าใจได้เลยว่า เมื่อคุณมีลมหายใจเข้า และออกอยู่นั้น มันมีอะไรสำคัญ และการได้รับลมหายใจเข้า และออกกลับมา และ สติสัมปชัญญะกลับมา คุณก็จะทราบในหน้าที่ ๆ ที่ควรทำหลังจากได้โอกาส มีไม่กี่คนทีจะมีโอกาสพิเศษอย่างนี้

หลายคน มีอุดมการณ์ อุดมคติ ความหวัง ความรัก ความโกรธ ความหลง อีกสาระพัดอารมณ์ทีมันประดังในชีวิต อารมณ์ใด ๆ ล้วนแล้วแต่ไม่มีความหมายใด ๆ เลย เมือไม่มีลมหายใจเข้า และออกไม่มีสติสัปชัญญะต่อไป แม้สังขารร่างกาย ก็จะปรากฏอยู่เพียงดังท่อนไม้แลท่อนฟืน เท่านั้น

ฉันเป็นผู้ผ่านเหตุการณ์ นั้นมาแล้ว ทุกวันนี้จึงไม่มีนิมิตหมายอะไรในอารมณ์ ว่าเป็นเจ้าของอะไรเลย ชื่อเสียง เงินทอง ตลอดถึงคนรัก ล้วนแล้วไม่สามารถนำไปได้ ไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรแม้แต่กาย อันรักแล้วรักยิ่ง ก็เช่นกัน

เมื่อถึงเวลาที่สัตว์ทั้งหลายต้องถึงการแตกดับ แล้วก็จะไม่มีอะไรป้องกันได้ คงจะมีไม่กี่คนที่ได้สัมผัส โลกหลังความตาย แล้วได้กลับมา ดังนั้นเมื่อได้โอกาสตรงนี้แล้วอย่าได้ใช้โอกาสที่มีให้สูญหายไป

จงเรียนรู้ธรรมที่จำเป็น และ ตระหนักถึงผลกรรมที่เวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่มีที่สิ้นสุดให้มาก เพื่อจะได้เลิกอาลัยอาวรณ์ ต่อโลกนี้เสียที จริงอยู่ไม่มีใครเข้าใจพวกคุณได้เหมือนคนที่มีเหตุการณ์เช่นเดียวเหมือนกับคุณ เท่านั้นจึงจะเข้าใจอารมณ์นี้ได้ สภาวะที่มันหมดทุกอย่าง ไม่มีอะไรนำไปได้ ไม่ว่ายศ สุข สมบัติ คนรัก ตอนนี้มัน มีเพียงแต่แสงสว่างที่เรียกว่า กรรมดี ชี้นำทาง เท่านั้น และแสงสีดำที่เรียกว่า กรรมชั่ว นำทาง จะไปด้วยแสงอะไร ก็อยู่ที่ใจคุณตอนนี้ จะเลือก กรรมดี หรือ กรรมชั่ว หรือ เลือกไม่เกิด ต่อไป สำหรับฉันนั้น เลือก การไม่เกิด เพราะไม่อยากวุ่นวายกับ โลกนี้ต่อไปแล้ว ฉันจึงไม่แคร์ใครจะมองฉันว่าบ้า ทำเรื่องบ้า ๆ คือการเดินตามอริยะมรรคอย่างจริงจัง นั่นเอง เป็นกำลังใจให้กับทุกท่าน....

ข้อความบางส่วน จากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดืนทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส



( ความหมายภาพ เป็น สังขารของท่าน เว่ยหล่าง ทีเจดีย์เมืองโซกาย ปัจจุบันสังขารนี้มีอายุมากมากถึงพันปี ที่ยกมาเพื่อต้องการแสดงให้เห็นว่า ฉันไม่มีอคติ กับหลักสอนที่สอนถูกนะ หากหลักธรรมมีการประพฤติถูกต้องตามมรรคสมังคี จะนิกายไหน แบบไหน ชุดไหน ก็สามารถสำเร็จธรรมได้ทั้งนั้น ในส่วนปรมัตถ์เหมือนกันหมด )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"โมฆะบุรุษ ในสมัยพุทธกาล ถือว่าเป็นคำด่าอย่างสุภาพ ที่แรงมาก นะ จะเห็นว่าองค์พระศาสดา พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านจะตรัสเรียกคนที่พอจะโปรดได้ ว่า เป็น โมฆะบุรุษ หรือจะพูดให้แรงก็หมายความว่า เกิดมาเสียชาติเกิด กว่าจะเกิดมาเป็นคนได้ก็แสนยาก แต่ทั้งที่มีสาระรู้สาระ แต่กลับไม่เอาสาระ

โมฆะบุรุษ มีความหมาย ว่า บุรุษว่าง หรือ บุรุษไร้สาระ ไม่มีเป้าหมาย ตามความหมายก็คือ อยู่ไปวันๆ แบบรกโลก ไม่ได้ทำประโยชน์อะไร แถมทำแต่เรื่องไร้สาระ ก็ประมาณนี้

ถ้าถูกว่าเป็น โมฆะบุรุษ อย่าพึงเสียใจ แต่จงรีบพิจารณาตนและกลับตัวให้ได้ มีพระอรหันต์เก่ง ๆ หลายองค์ เมื่อถูกเรียกอย่างนี้ ก็ได้ขวนขวายปฏิบัติภาวนา อย่างจริงจัง

ในสมัยคร้งพุทธกาล ก็มี ผู้ที่ถูกกล่าวเรียกว่า กลุ่มแรก คือ กลุ่มอุรุเวลกัสสปะ ถือว่าเป็นกำลังสำคัญเลยในครั้งนั้น ชฏิลไม่ใช้น้อยกลุ่มแรก สุดท้ายก็กวาดทั้งสามพี่น้อง เป็น 500 ชฏิล

ดังนั้นใครรู้ตัวเองเป็น โมฆะบุรุษแล้ว เปลี่ยน ทิฏฐิได้ทัน ก็ยังไม่ชื่อว่าเสียมรรคผล ....."

ข้อความบางส่วน จากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และภารภาวนา ของ ธัมมะวังโส



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 29, 2016, 12:53:08 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การได้พบพระอริยะ เป็นบุญอันประเสริฐ
« ตอบกลับ #169 เมื่อ: พฤศจิกายน 11, 2016, 12:36:01 pm »
0


สมณานัญจ ทัสสะนัง การได้เห็นสมณะ
ในโลกนี้ไม่มีเรื่องบังเอิญ ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแต่กรรมสั่งสมกันมา จึงได้เป็นพ่อแม่พี่น้อง ครูอาจารย์ เพื่อน ๆ ตลอดถึงเป็นพุทธมามกะนั้น เกิดมาจากกรรมที่ได้สั่งสมกันมา มากบ้างน้อยบ้างเป็นไปตามวาสนา ผู้มีปัญญาไม่ค่อยทำบุญ เกิดมาก็มีปัญญามาก แต่ยากจน ส่วนคนทำบุญ ไม่ค่อยศึกษาธรรม เกิดมาก็มีฐานะพออยู่ พอกิน แต่ไม่มีปัญญาแทงตลอดในธรรม ก็เกิดจากกรรมที่ตนเองสร้างไว้ ส่วนหนึ่ง ดังนั้นใครรู้เหตุ รู้ผลอันนี้แล้ว ก็ต้องทำให้ครบ ชาติต่อไปจะได้ไม่ลำบากไม่ยากจน และ อับปัญญา
ทาน ศีล ภาวนา เป็นสิ่งที่ต้องทำไปด้วยกัน

หากยังคิดจะโลดแล่น ใน วัฏจักรสงสารแล้ว อย่าได้ประมาท ในธรรมสามอย่างนี้

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส

( ความหมายภาพ ตอนนั้นฉันได้ช่วย หลวงพ่อท่านปลูกบัวในบ่อ ตามใกล้ต้นไทรน้ำ ตอนที่ปลูกก็ไม่เห็นความสวยงามของต้นบัวเลย แต่พอผ่านมาสามเดือน ฉันจึงได้เห็นดอกบัวแข่งกันบานประมาณนี้ ตอนนั้นที่มองเห็นก็ชื่นชมเป็นวันผ่านไปสามวัน ดอกบัวเหล่านั้นก็เหี่ยวเฉาไปตามกาลเวลา ดังนั้นบัวที่บาน ก็ บานไม่ได้ กว่าจะบาน ก็ต้องอาศัยเวลา จะเห็นบัวบานอย่างนี้ไม่ได้บ่อย เพราะว่ากระถางทีปลูกนั้น มีหอยปูปลาเต่า คอยทำลายอยู่ด้วย ดังนั้น ฉันจึงไม่ค่อยเห็นบัวบานสวยแบบนี้เลย นาน ๆ ครั้งจึงได้เห็น
ฉันใดฉันนั้น ช่วงแห่งกาลที่จะมีพระอริยะปรากฏ ย่อมยาวนานมาก เมื่อปรากฏพระอริยะยอมมีช่วง หนึ่งที่จะต้องดับหายไปตามกาลเวลาเช่นกัน ท่านใดได้พบพระอริยะจงอาศัยเวลาช่วงนั้นเป็นที่ยังใจของท่านให้เบิกบานเถิด )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2016, 07:06:37 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
« ตอบกลับ #170 เมื่อ: พฤศจิกายน 13, 2016, 09:05:26 am »
0


การปล่อยวาง เป็นคุณสมบัติ ทางจิต แต่ไม่ใช่การปล่อยละเลยจนเว้นจากกิจที่ควรทำ กลายเป็นการปล่อยเนื้อ ปล่อยตัว และทอดทิ้งธุระกันไป ดังนั้นการปล่อยวางเป็นสิ่งที่ควรทำกับจิต เมื่อมีความรู้สึกในปัจจุบันว่า ทุกข์ กำลังจะทุกข์ หรือทุกข์แล้ว ดังนั้นการปล่อยวาง ก็คือการละจากปัญหา ที่ทำให้ทุกข์ หมายถึงความยึดมั่น ถือมั่น ว่านั่นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตน ของเรา อันนี้เป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้ภาวนา ถึงแม้จะกล่าวอย่างนี้เรื่องการปล่อยวางขณะที่ต้องเผชิญกับการกระทบอยู่นั้นก็ไม่ใชเป็นเรื่องที่ง่าย หลายคนจึงใช้วิธีการทำลายสติ เพื่อไปทำลายความจำกัน เช่น ดื่มสุรายาเมา เพื่อจะให้ความจำเลอะเลือน ซึ่งเป็นวิธีแก้ปัญหา แบบชาวบ้าน ไม่ถูกทาง เพราะคนเราดำรงอยู่ได้ก็ต้องมีสติ และอาศัยความจำ ถ้าไม่มีสติและความจำ ก็จะกลายเป็นหุ่นไม้ เป็นคนอัลไซเมอร์

บัณฑิตคนที่มองเห็นธรรม จึงกล่าวว่า
อกุศล นั้นจำได้ง่ายกว่า กุศล
ส่วน กุศล จำได้ยากกว่า อกุศล

ถ้าตั้งคำถามวันนี้ถามว่า คุณทำกุศลไปกี่ครั้ง ตั้งแต่ตื่นขึ้นมา ?
ส่วนใหญ่จะตอบไม่ได้ แต่ถ้าเปลี่ยนเป็ถามว่า
วันนี้คุณสร้างอกุศลไปกี่ครั้ง มันแว่บขึ้นมามากมายใช่ไหม ?
เพราะกุศล นั้นจำได้ยากต้องอาศัย สติ
ส่วนอกุศล มันจำได้ง่าย เพราะมันอาศัย ความสะใจ ( ปมาท)

ดังนั้นบางคนตื่นเช้ามา ก็พิมพ์ข้อความกระทบกระเที่ยบ ส่อเสียดบุคคลอื่น ๆ แต่เช้า ก็เพราะว่า มันมีความสะใจ ใช่หรือป่าว ?

ซึ่งแตกต่างจากบัณฑิต เพราะบัณฑิตจะพยายามหาข้อความที่เป็นธรรม ที่ทำให้ผู้อ่านมีความสุข มีความสบายใจ มีปัญญา ดังนั้่นใครเจริญจิตแบบนี้ทุกวัน ย่อมผ่องใส ส่วนคนใดพูดคิดทำ ด้วยความสะใจ มันก็จะเศร้าหมองที่ตนเอง ที่ใจของตนเองนั่นเอง

คนที่มีลักษณะ ชอบใช้ความคิดหนีปัญหาด้วยการลืมความจำก็จะเป็นคนอัลไซเมอร์ ในตอนปลาย ๆ ของชีวิต ส่วนคนที่มีจิตปล่อยวางด้วย สติ และ จำกุศลไว้ คนเหล่านี้จะเป็นผู้มีความจำถึงที่สุดแห่งชีวิต

ดังนั้นท่านใด ใช้วิธีปล่อยวางแบบผิด ไปทำลายความจำก็ต้องมีชะตากรรมที่อนาถในเบื้องปลาย ตอนนี้ใครยังมีความจำที่สามารถประคองสติได้ ก็จงหมั่นฝึกฝนการภาวนา พระกรรมฐานให้มากขึ้น เถิด เพราะการฝึกจิต ย่อมนำมาซึ่งความสุข นั่นเอง

ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทืกการเดินทาง และการภาวนา ของธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เก่งขนาดไหน ก็ ไม่พ้น พยาธิ และ มรณะ
« ตอบกลับ #171 เมื่อ: พฤศจิกายน 19, 2016, 12:45:21 pm »
0


เก่งขนาดไหน ก็ ไม่พ้น พยาธิ และ มรณะ
แม้แต่พระพุทธเจ้า พระองค์ก็ยังทรงประชวร ด้วย โรคท้องก่อนดับขันธปรินิพพาน ถ้ามองตามความเป็นจริง ที่ฉันป่วยอยู่นี้ ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที คนมีชีวิตกายเนื้อ กายหยาบ จะต้องรับอยู่แล้ว เพียงแต่ความทุกข์ร้อนในจิตไม่มี เวลาเจ็บไข้ได้ป่วย เราก็นั่งนอนยืนเดินดูอาการป่วย มันปวดก็กำหนดรู้ว่า ปวดอย่างนี้เป็นอย่างนี้ และก็ให้จิตตัด
ความรู้สึกทุกข์ ให้เป็นอุเบกขา
ถึงจะพูดอย่างนี้เวลาทำก็ไม่ใช่ จะทำได้ทุกครั้ง เพราะการไปถึงอุเบากขา ต้องเข้า โพชฌงค์ 7 ขนาดพระพุทธเจ้า เวทนาเกิดมาก ๆ พระองค์ก็ยังลืม ต้องให้พระจุนทะมาสาธยาย บทโพชฌงค์ในการเดินจิตถึงจะทำได้
ดังนั้นคนที่ไม่เคยฝึกฝนสมาธิ ภาวนามาก่อน อย่าหวังเลยว่าคุณจะหยุดเวทนาได้ มันเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาเจ็บ เวลาปวดก็ได้แต่นอนร้องครวญครางเป็นทุกข์ ซึ่งแตกต่างจากพระอริยะ ท่านก็เจ็บก็ปวดแต่ก็ได้แต่ พิจารณาเวทนาที่เกิดเท่านั้น
ดังนั้นพระปฏิบัตภาวนาได้ เขาจึงเก้บอาการไว้ได้ไม่ทำให้ใครเป็นห่วง ขนาดป่วยเจียนตาย ก็ยังทำงานได้คุยได้ ถึงแม้ว่ากายจะยอบแยบ มีเวทนาสูงก็ยังดำรงค์ขันธ์อยู่ได้ โดยมีความทุกข์น้อยที่สุดหรือไม่มี ไปตามลำดับชั้นอริยะ
เจริญธรรม/ เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วลาที่เราอยู่ในน้ำ เราไม่ค่อยรู้สึก ว่าน้ำนั้นเย็น หรือร้อน หรอกเป็นเพราะว่า เราแช่อยู่ ฉันใด
สภาวะที่ท่านมีจิตสงบประณีต เพราะใจเป็นกุศล ย่อมทำให้ท่านไม่รู้สึกถึงความแตกต่างในเวลาอยู่ในกุศล ฉันนั้น
ดังนั้นหลายท่านจึงเข้าใจว่าตนเอง ภาวนาไม่ได้ หรืออ่อนในการภาวนา ทั้งๆ ที่หลายท่านที่เป็นศิษย์ตอนี้ สภาวะจิตมีการหักล้างกิเลสได้ไวขึ้นกว่าเมื่อก่อน จนบางท่านมีจิตที่ประณีตถึงขั้นไม่หวั่นไหว แล้วก็มีแต่ ท่านก็พูดให้ฉันฟัง ผมยังไม่ได้อะไรเลย
จึงอยากให้ท่านย้อนกลับไปก่อนมาพบอาจารย์กันดูสิว่า นิสัยใจคอ ความเยือกเย็น ความเข้าใจอรรถธรรม ความระงับโทสะ โมหะ ราคะนั้น มีน้อยลงไปหรือ ว่า มีมากขึ้นกันแน่
ท่านก็จะรู้คำตอบของท่านกันเอง ด้วยตนเองทันทีว่า ท่านได้หรือไม่ได้ อะไรจากการมาภาวนาศึกษา ตามพระอาจารย์
เอหิปัสสิโก พระธรรมเป็นสิ่งที่ตนจักรู้ได้ด้วยตนเอง
เจริญธรรม / เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อะไร ที่ช่วยได้ ในการภาวนา
การไม่ยอมแพ้ ไงละ ช่วยได้ในการภาวนา

การภาวนา ที่ให้ได้สมาธิ แท้ ๆ ก็ต้องอาศัย มานะ ด้วย แต่ มานะ จะต้องไปละในเบื้องปลาย เบื้องต้นต้องใช้
ทำไมคนเล่นเกมส์เล่นได้ทั้งวันคืน
ทำไมคนเล่นไพ่ ได้ทั่งวันทั้งคืน

เพราะความไม่ยอมแพ้ เพราะความเพลิดเพลิน เป็นแรงขับให้จิต ไม่ละความพยายาม เบื้องต้นนับว่าดี ถ้ามีในการภาวนา

ทำไม่ได้ในนาทีนี้ ก็ทำในนาทีต่อไป ทำไม่ได้ในนาทีต่อไป ก็พยายามทำต่อไป ถ้ามันเบือ่ก้เปลี่ยนลักษณะ เป็น ยืนบ้าง เดินบ้าง นอนบ้างก็ได้ และกลับมานั่ง เพราะท่านั่งเป็นท่าสากล
ดังนั้นต้องอาศัย มานะ ( ไม่ยอมแพ้ ) ช่วยในการภาวนาบ้าง

( ความหมายภาพ แม่ไก่ ไม่ได้เป็นสัตว์ร้าย หรือ สัตว์ที่สำคัญอะไร เนื้อหนังก็เป็นอาหาร ชีวิตก็ไม่ได้สุขสบายอะไร ต้องคุ้ยเขี่ยหากินเช่นกับสัตว์อื่น เช่นกัน แต่แม่ไก่ ไม่เคยยอมแพ้ เวลาเลี้ยงลูก จะกี่ตัว กี่ตัว มันก็คุ้ยให้กินก่อน เวลามีภัย จะหมู กา ไก่ ก็สู้ไม่ถอย ฉันใด

กรรมฐาน ก็คือ หนทาง (มรรค) ไปสู่เป้าหมาย วิธีการที่ถูกต้อง ยอ่มคุ่มครองบุคคลที่ภาวนาไม่ให้ผิด ไม่ให้หลงทาง ถ้าผู้ปฏิบัติไม่ได้ไปคิดค้นเติมแต่งอะไรใหม่เข้าไป กรรมฐานก็ย่อมพาถึงจุดหมายได้ฉันนั้น
)


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
สุญญัง สู่ สุญญัง
« ตอบกลับ #174 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2016, 01:47:40 pm »
0
การปรากฏ มีอยู่ ของธัมมะวังโส ขณะนี้ไม่ได้มีความสำคัญอะไร ต่อโลก ต่อ ชาติ ต่อ กลุ่มคน ใด ๆ เลย เพราะโลกนี้ มีฉัน หรือ ไม่มีฉันก็ได้
แต่การปรากฏอยู่ของฉัน มีประโยชน์เพียงท่านที่ตาม ในการภาวนาเท่านั้น ซึ่งสักวันฉันก็ต้องจากไป จากโลกนี้ เหมือนดั่งหมอกควัน
ฉันจึงไม่เคยหลงตัวเอง หรือ ความสามารถของตัวเอง ว่า
วิเศษวิโศกว่าใครๆ ใด ๆ เลย เพราะความเป็นจริง
มันเป็น สุญญัง สู่ สุญญัง เท่านั้น
รุปายตนะ สุญญัง
สัททายตนะ สุญญัง
ชิวหายตนะ สุญญัง
คันธายตนะ สุญญัง
โผฏฐัพพายตนะ สุญญัง
ธรรมายนตนะ สุญญัง


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
10 ข้อ สำหรับผู้ภาวนาใหม่
« ตอบกลับ #175 เมื่อ: ธันวาคม 07, 2016, 09:53:14 am »
0
การภาวนา ใหม่ สำหรับผู้ภาวนาใหม่ พึงสังวรดังนี้
1. อย่าคิดว่าทำไม่ได้ ให้ดำรง ศรัทธาว่าต้องมีสักวันทำได้
2. อย่าได้ขยาด กาารตกภวังค์ การตกภวังค์ ทำให้เรามีประสบการณ์
3. อย่าได้กลัวว่าจะหลับ ในการภาวนา ถ้ามันหลับได้ก็ถือว่าดีไม่ต้องไปกินยานอนหลับ
4. ทุกอย่างมันอยู่ที่ศีล ที่มันพร่องก็เพราะว่า ศีลพร่อง สมาธิ ต้องการศีลอุโบสถ
5. ปิดวาจา เสียบ้าง อย่ามัวแต่ส่งสายตาไปข้างนอก เอียงหูคอยฟังเรื่องชาวบ้าน หรือ พูดมากเป็น คุ้ง เป็น แคว
6. บันทึกอารมณ์ ในกระดาษไว้บ้าง
7. ทุก 15 วันควรแจ้งกรรมฐาน กับครูอาจารย์ นอนที่สุดก็ควร 1 เดือน ต้องแจ้งอารมณ์บ้าง
8.อย่าขาดการแผ่เมตตา
9.อย่าขาดการสวดพระคาถา พญาไก่แก้ว
10.การขอขมา และ ขั้นตอนการเข้า การออก อย่าได้ลืมหลง
เท่านี้ก็จะสามารถพัฒนา สมาธิ ให้สูงขึ้นเป็น อริยสมาธิ ได้


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
เป้าประสงค์การ เจริญกรรมฐาน ของแต่ละคนต่างกันไป
บางท่าน ก็ทำเพื่อให้จิตมีกุศลบ้าง
บางท่านก็ทำเพื่อให้เกิดความสงบใจบ้าง
บางท่านก็ทำตามเขาไปอย่างนั้นบ้าง
บางท่านก็ทำเพื่อให้มีความสุขในปัจจุบัน
บางท่านก็ทำเพื่อให้มีโชค
บาง่ท่านก็ทำเพื่อไปสู่การสิ้นทุกข์
บางท่านก็ทำเพื่อไปสู่การไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป
ท่านจะเจริญกรรมฐานเพื่ออะไร ในส่วนตัว อนุโมทนาทั้งหมด เพราะการพูดตักเตือนท่านไม่สามารถทำได้กับทุกคน จะบอกท่านละ ตรงนี้ เจริญสติ ระลึกความตาย หรือ กระทำความเพียร ให้ทุกคนก็ไม่ได้คงถ้าจะพูดสอนโดยส่วนรวมก็คงพุดได้เป็นกลาง ๆ เท่านั้น
เพราะความเป็นจริง ครูอาจารย์ได้วิมุตติ ลูกศิษย์จะได้หรือไม่ได้มันก็อยู่ที่ความปรารถนา ของเขาเท่านั้นที่เป็นตัว ทำให้เขาเจริญกรรมฐานในแบบของเขา
ดังนั้นใครใคร่เป็นเทวดา ฉันก็อนุโมทนา
ใครใคร่เป็นพรหม ฉันก็อนุโมทนา
ใครใคร่เป็นโพธิสัตว์ ฉันก็อนุโมทนา
แม้ที่สุดใครใคร่ จะเป็นพระอริยะ ฉันยิ่งอนุโมทนา
เพราะพระธรรมกรรมฐานย่อมให้ความสุขแก่ทุกระดับ ไม่ใช่ให้ความทุกข์กับผู้ภาวนา
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสว่า อะไรเป็นเหตุยั้งคนให้มีเป้าหมายต่างกัน พระองค์ตรัสแสดงว่าไว้ ตัณหาอุทปาทิ การเกิดแห่งตัณหา เป็นเครืองฉุดรั้งคนให้ติดในบ่วง 3 ประการ นั่นเอง
เจริญธรรม ยามเช้า




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 26, 2016, 05:59:15 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปรัชญา หรือ ศาสนา ท่านเลือกกันได้
« ตอบกลับ #177 เมื่อ: ธันวาคม 08, 2016, 09:56:59 am »
0
ปรัชญา เป็นเพียงคำคมบาดใจ
ศาสนา เป็นหลักที่พึ่งให้กับใจ

ลักษณะของคนแสดงธรรมในปัจจุบันในเฟคนั้น มีอยู่สองแบบ แต่แบบที่เห็นมาก ๆ ก็คือ แบบปรัชญา

หลายคน คงจะเจอข้อความ ลักษณะเชือดเฉือนบาดใจ แล้วก็อุทานในใจว่า ใช่ มัน ต้องอย่างนี้ แล้วจากนั้นก็แชร์ พลัส กันไปเรื่อย ๆ ซึ่งลักษณะของปรัชญา เป็นลักษณะคำพูดให้คิด และให้คิดตามเหมือนกันตามอุปนิสัย ของคนออกปรัชญา ดังนั้นลักษณะ จึงเหมือนคำคม กรีดใจ แต่ไม่ได้พัฒนาอะไร เลยเพราะเป้าประสงค์ มีเพียงสัญญลักษณ์ว่าคิดได้ แต่ทำไม่ได้ หรือคิดแนวออกปฏิเสธ

ส่วนการสอนแบบศาสนา มุ่งหมายให้คนอ่านมีความสุขทันที ไม่ใช่อ่านแล้วทุกข์ และมีข้อปฏิบัติ เพื่อให้ทุกคนไปถึงความสุขตามระดับของตน ในลักษณาการของศาสนา ควรจะเป็นอย่างนั้น โดยที่ศาสนามีหลักการเสมอกัน 2 อย่างคือสอนให้คนเป็นคนดี และสอนให้ละความชั่ว

สำหรับพุทธศาสนา นั้นเป็นวิธีการสอนไปสู่ความสุข อันมีกุศลอย่างเดียว เริ่มตั้งแต่ กุศลความเป็นเทวดา มีความละอายใจ เกรงกลัวต่อบาป กุศลความเป็นพรหม มีสมาธิเป็นอารมณ์เป็นสุข กุศลความเป็นโพธิสัตว์ มีความเมตตากรุณาต่อสรรพสัตว์ต้องการให้สรรพสัตว์มีความสุข กุศลความเป็นอริยะ มีความพ้นจากสังสารวัฏเป็นรางวัล

ดังนัั้นท่านจะเลือกแบบไหน ?
ไมีมีใครว่าท่านได้ เพราะมันเป็นสิทธิเสรีภาพในการนับถือของแต่ละบุคคล บังคับกายได้ แต่บังคับจิตใจไม่ได้

ขอให้ท่านทั้งหลายยึดมั่นในคุณงามความดี ให้มากหน่อย อย่ามัวแต่สะใจ ทำความสะใจ ที่เห็นคนตกทุกข์ ได้ยากแล้วกระหน่ำซ้ำเติม กันลงไป ซึ่งไม่ใช่วิสัยของมนุษย์

ดังนั้นตื่นมาตอนเช้า รับข่าวสารแล้ว ต้องฝึกใจให้มีเมตตา กันบ้างนะจ๊ะ

เจริญธรรมยามเช้า


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ไม่ภาวนา พุทโธ จะมี พุทโธ ได้อย่างไร ?
« ตอบกลับ #178 เมื่อ: ธันวาคม 13, 2016, 10:26:59 am »
0
พุทโธ ไม่ได้อยู่ที่ใจ
และ ไม่เคยอยู่ที่ใจใครมาก่อน
ดังนั้น พุทโธ อยู่ที่การภาวนา
ถ้าไม่ภาวนา พุทโธ ก็มีไมได้
ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า
มีใจประเสริฐสุด สำเร็จแล้วด้วยใจ
ผู้ไม่ภาวนา พุทโธ ไม่นึกถึง พุทโธ
ไม่มีทาง ที่จะมี พุทโธ


( ความหมายภาพ ไก่ แม้มีปากเล็กนิดเดียว แต่ก็มีความพยายาม คุ้ยเขี่ย หาอาหารให้เพียงพอ พุทโธ แม้มีครั้ง สอง ครั้ง สามครั้ง เมื่อ ถึงที่สุด ย่อมสมบูรณ์ ด้วย การนึก ท่อง บ่น จำ คิดถึง บริกรรม นั่นเอง )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 13, 2016, 10:29:32 am โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เราภาวนา กรรมฐาน ทำไม ?
« ตอบกลับ #179 เมื่อ: ธันวาคม 28, 2016, 01:25:44 pm »
0
เราภาวนา กรรมฐาน ทำไม ?
เบื้องต้น ก็ เตรียมจิตรับมือ กับเหตุการณ์ไม่คาดหมาย ที่เรียกว่า ความทุกข์นั่น เล่า จึงต้องฝึกฝนภาวนา
ความทุกข์ มีอะไรบ้าง
ความโศรก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ความไม่สมหวัง ความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น ความอุปายาสทั้งปวง
ว่าโดยย่อขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์
การฝึกกรรมฐาน ก็เพื่อพัฒนาจิต ที่มันติดกับโลก ให้พ้นจากโลก ก็คือพ้นจากทุกข์
ดังนั้นไม่ว่าจะแก่ จะเจ็บ หรือ ตาย ตลอด ปัญหานานาประการ เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่สามารถทำจิตใจของ มุนี ( ผู้สงบ ) ให้เป็นทุกข์ ได้เลย เพราะ มุนี ย่อมเห็นเบื้องต้นว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อย่างนี้นี่เอง
เจริญธรรม / เจริญพร
( ความหมายภาพ พระโสดาบัน เป็นดอกบัวที่ยังบานไม่หมด แต่ถึงกระนั้น ก็ไม่กี่เพลา ก็พ้นจากโลกได้ )


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


กว่าจะหาเงินมาได้แต่ละบาท บางคนทำงานทั้งวันได้แค่150- 300 บาท ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ บางคนต้องอดมื้อกินมื้อ ถึงจะมีเงินเก็บได้ บางคนค่าแรง 300 มีลูก 4 คน เมีย 1 คน แม่ 1 คนต้องดูแล ทุกคนก็ต้องมีความตั้งใจและรู้จักอดออม เพื่อความอยู่รอด ชีวิตก็ต้องแตกต่างกันไป ตามบุญตามกรรมที่ตนได้สร้างมาจากอดีต วันนี้ที่ฐานะแย่ ก็เพราะว่าไม่เคยใส่ใจในผลบุญ ผลทานมาก่อนนั่นเอง

ฉันเป็นพระที่ซือ้อาหารฉัน ขณะที่ไม่มีรายได้ รู้ดีว่า อย่างไม่ใช้เลยก็วันละ 20 บาท ดังนั้นฉันรู้คุณค่าของปัจจัยที่ ญาตโยม แต่ละท่านเสียสละมาช่วยเหลือธรรมทาน ฉันไม่เคยหมิ่นว่า ทำน้อย หรือ ทำมาก คนมีน้อยก็ทำน้อย คนมีมากก็ทำมาก ก็เป็นกุศลแก่ตนเอง

ดังนั้นท่านทั้งหลายอย่าได้หมิ่นบุญทานของตนเองเลย ว่า น้อย หรือ มาก ขอให้ท่านนึกถึงความปีติที่ท่านได้สละทรัพย์ฝังดิน เป็นเสบียงแก่ชีวิต ที่มีอยู่ข้างหน้า ถึงแม้ว่าจะนึกไม่ออกว่ามันเป็นอย่างไรในชาติต่อไป ก็ขออย่าให้ประมาท ต่อการทำบุญ หรือหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าไม่ควรทำ อย่าคิดว่าเป็นเรื่องรำคาญ จงคิดถึงปิีติที่ได้เกิดมาเป็นคนมีโอกาสได้สร้างทาน ไม่ว่าจะแก่ตนเอง หรือ คนอื่นๆ ก็ขอให้มีปีติก่อนทำและหลังทำ เมื่อนึกได้ นั่นแหละคือกรรมฐาน เรียกว่า เทวตานุสตติ และ จาคานุสสติ เป็นกรรมฐานที่ควรกระทำไว้เสมอ ๆ พอกับการเจริญ เมตตานุสสติ และ มรณานุสสติ

เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
วิเวกสัปปายะ ก็เพื่อ ขัดเกลาตนให้ละอนุสัย กิเลส
« ตอบกลับ #181 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2017, 01:00:54 pm »
0
วิเวกสัปปายะ ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง
อยู่แต่พอให้จิต คลายกิเลส ดัดนิสัย ทำลายอนุสัย
ตาเห็นรูป สักว่านั่นคือรูป
หูฟังเสียง สักว่านั่น คือเสียง
จมูกดมกลิ่น สักว่านั่นคือกลิ่น
ลิ้นลิ้มรส สักว่านั่นคือรส
กายกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง สักว่านั่นคือการกระทบเย็นร้อนอ่อนแข็ง
ใจกระทบอารมณ์ สักว่า นั่นคือธรรมารมณ์
ว่างจากเรา ว่างจากของเรา ว่างจากตัวจากตนของเรา
เป็นเพียงแต่สักว่า ธาตุตามธรรมชาติ ที่เกิดดับ เกิดดับ เท่านั้น
ใจรู้อยู่อย่างนี้ ยังไม่เรียกว่าสูง เพราะยังมีมานะ ว่าเรารู้อยู่
จึงต้องวางจิตวิเวกเป็นสุญญตา เป็นปหิตา และ เป็นอัปปณิหิตาสมาบัตินั่นเอง
ใจที่รู้ ก็เป็นสภาพรู้ สิ่งที่เห็นก็เป็นเพียงสภาวะที่เห็น มีแต่ความเกิดความตั้งอยุ่ ความดับไปที่แปรปรวน จิตที่รู้ไม่ได้แปรปรวน เป็นแต่เห็นดั่งสายน้ำที่ไหลพัดออกสู่ทะเล ที่ไม่มีจุดหมายปลายทางเป็นเพียงแต่ว่า ธาตุเกิด ธาตุดับ ที่นับไม่ทันเท่านั้น
การนับไม่ได้มีความจำเป็น เพราะพ้นจากสภาวะด้วยการรู้ สิ่งที่รู้ก็คือ รู้ว่าทุกข์คืออย่างไร รู้ว่าทุกข์เกิดแล้วอย่างไร รู้ว่าทุกข์มีหน้าที่อย่างไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกช์คืออะไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร รู้ว่าเหตุแห่งทุกข์ได้เกิดแล้วกับเราอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์เป็นอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์เกิดขึ้นแล้วอย่างไร รู้ว่าความสงบระงับจากทุกข์มีหน้าที่อย่างไร รู้ว่าหนทางไปสู่สภาวะพ้นจากทุกข์คืออย่ารงไร รู้ว่าหนทางไปสู่สภาวะพ้นจากทุกข์ทำได้แล้วอย่างไร รู้ว่ามรรคสมังคีที่สุดในลัญจกร นั้นเกิดขึ้นตั้งอยู่อย่างไร การไหล การหมุน การเวียน การเกิด การดับ การตั้งอยู่แห่งพรหมจรรย์ มีอะไรเป็นมูล มีอะไรเป็นราก เป็นเหง้า กิจแห่งพรหมจรรย์ มีอยู่ หรือ ไม่มีอยู่ สภาวะที่รู้ พ้นจากการปรุงแต่ง เข้าสู่ สภาวะ อนุโลม 3 ครั้ง ปฏิโลม 3 ครั้ง ก็ทำลายกงล้อแห่งเวลา ไม่มีกาลต่อไป .......


ข้อความบางส่วนจากหนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทางและการภาวนา ของธัมมะวังโส

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อัศจรรย์ของข้าพเจ้าในชีวิตนี้ ที่สุดก็คือ วิชากรรมฐาน หรือ อริยมรรค เพราะการได้ วิชากรรมฐานที่ถูกต้อง ย่อมทำให้จิตของผู้ภาวนา ได้ถึง ธรรมแก่นสารที่สุด เรียกว่า อริยผล นั่นเอง โชคดีที่ข้าพเจ้าได้ครูอาจารย์ มากสามารถ มาถ่ายทอดวิชากรรมฐาน และเป็นมหาลาภอย่างยิ่งคือ ข้าพเจ้ายังมีกายที่ยังสามารถทำตามวิชากรรมฐานได้

การปฏิบัติตามวิชากรรมฐาน จึงต้องมีแบบแผนตามที่พระพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสอนไว้ และกรรมฐาน กองแรกคือ พุทธานุสสติกรรมฐาน กองที่สอง คือ อริยสัจ กองที่ 3 คือ มรรคสมังคี กองที่ 4 คือพระอนัตตา ดังนั้นแค่ เดินได้ 4 กองนี้ ก็มีที่สุดแห่งพรหมจรรย์ เช่นกัน

เจริญธรรม / เจริญพร



บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
คุณกำลังมีความสัมพันธ์ กับ ฉัน ตอนนี้ แบบไหน ?

1.คนศึกษาธรรมทั่วไป / รู้จัก / ไม่รู้จัก
2.ศิษย์ทั่วไป / อุปถัมภ์ / ไวยาวัจกร
3.ศิษย์สายตรงขึ้นกรรมฐานด้วย
4.ศิษย์กัจจายนะ / ศิษย์สืบทอดธรรม

ระยะห่าง ฉันไม่ได้เป็นคนสร้าง คุณเป็นคนสร้างกันเอง เพราะใจของคุณรับเท่าไหน ย่อมกระทำกับมาที่ฉันเท่านั้น ดังนั้นคุณ ก็ศึกษากับฉันได้เท่านั้น ไม่เกินขอบเขตที่ให้ไว้

ดังนั้นจึงมีบางท่านได้รับคำตอบ ชี้แนะมาก บางท่านไม่ได้รับคำตอบชี้แนะ ก็เป็นเพราะเหตุผลอย่างนี้ นั่นเอง เพราะฉันไม่ได้เป็นบุคคลสาธารณะ อันท่านทั้งหลาย อยากจะมาพบก็ได้พบ เพราะหลายสิบปีมานี้ คนที่อยากพบฉันไม่ใช่ว่าจะได้พบ ฉันเป็นพระที่พบได้ยาก ไม่ได้พบได้ง่าย ดังนั้นสมาชิกส่วนใหญ่ ติดตามกันมา 10 ปีแล้วยังไม่ได้พบกัน ก็มีจำนวนมาก

คุณเลือกได้ว่าจะเพิ่มระดับอย่างไร ไม่ใช่ฉันเป็นผู้เลือกระดับให้คุณ


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ไม่เกี่ยวกัน ว่าฉันจะอยู่ที่ไหน เพราะการปฏิบัติภาวนานั้น เป็นเรื่องของตน ฉันจะอยู่ที่ไหน ท่านที่ต้องการภาวนา ก็ต้องภาวนาให้ได้ เพราะสักวันหนึ่ง ฉันก็ต้องจากพวกท่านทั้งหลายไป อย่างเป็นทางการ สิ่งที่ฉันทำวันนี้ ก็มีเพียงข้อความให้ไว้พอเป็นแนวทาง สำหรับท่านที่คิดจะเดินทางตามมา

หลายคนอาจจะลังเล เพราะเกรงว่า หนทางของการภาวนา นั้นจะลำบากลำบน ที่จริงมันก็ใช่ ยิ่งภาวนาสูง ก็ยิ่งลำบาก เพราะว่า จิตยิ่งสูง ก็ยิ่งเย็น คำว่า เย็นก็หมายความ ยิ่งหนาว ยิ่งเปล่าเปลี่ยวอ้างว้าง เหมือนคนปีนเขา เอเว่อร์เรสต์ ที่หาคนไปสู่ยอดด้วยกันได้ยาก

ดังนั้นหลายสภาวะ ที่ฉัน ต้องเข้าสู่ ความอ้างว้าง โดดเดี่ยว หัวเดียว กระเทียมลีบ มองหาที่ปรึกษาไม่ได้ เพราะว่า ธรรมภาวนามาถึงระดับสูง ที่ต้องทิ้งโลก เหลือ เพียงมุ่ง ปรมัตถ์ ครั้นพอเข้าปรมัตถ์ แม้อยู่ในโลก ก็ชื่อว่า ไม่ติดโลก เพราะกลไกของโลก ที่ประกอบด้วยตัณหา นั้นไม่มีสำหรับผู้ภาวนา ขั้นสูง

ดังนั้นเมื่อเข้าสู่สภาวะ ที่สูงยิ่งขึ้นไป ขึ้นไป จึงไม่มีใครเดินตามมาด้วย ดังนั้นอย่าได้มัวมองใครจะตามหรือไม่ ตาม เลย สำหรับผู้ภาวนาขั้นสูง ที่มีความจิตมุ่งหมาย ละภพชาติ ในปัจจุบันนี้ ไม่ต้องการเกิดอีกต่อไป สำหรับฉันก็คือประเภทนี้

ดังนั้น ฉันมามัวเสียเวลา พูดคุยกับคนที่ไม่รู้เรื่อง มาอธิบายเหตุผลกับคนที่ไม่สนใจเรื่อง การดับกิเลสเลย พูดตรง ๆ ก็อย่างนั้น ใครจะแสวงหาลาภยศ ก็เชิญตามสบาย สำหรับฉันขอเป็นคนโง่ ที่ไม่เอา และไม่อยากมีอะไรทั้งนั้น ไม่ได้ต้องการให้ใครมาจดจำฉัน ในรูปลักษณ์ต่าง ไม่มีความหมายอะไรเลย แม้การยกย่องฉัน ก็เท่านั้น เพราะท้ายที่สุด ฉันก็ต้องจากไป อย่างเลขศูนย์ คือ ไม่มีอะไรเลย

ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงอย่าท้อแท้ ที่ได้เดินมาสู่หนทางแห่งอริยะมรรค นี้เลย


ข้อความบางส่วนจากหนังสือ เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการเดินทาง และการภาวนาของ ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
เรื่องภายนอก เรื่องภายใน ต้องแยกกัน จัดเวลาให้เป็น
« ตอบกลับ #186 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2017, 12:55:05 pm »
0
เรื่องภายนอก เรื่องภายใน ต้องแยกกัน จัดเวลาให้เป็น บางคนเอามายุ่งรวมกัน จนเรื่องภายในเป็น เรื่องภายนอก เรื่องภายนอก มาเป็นเรื่องภายใน ( ไม่เข้าใจใช่ ไหม ? )
เรื่องภายใน เป็นเรื่องภายนอก
คือ จิตเป็นทุกข์ ( ภายใน ) ก็แสดงออกทางกาย วาจา ด้วยการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เป็นต้น
เรื่องภายนอก เป็นเรื่องภายใน
คือ ภายนอกเป็นสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ เช่น ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ก็ดึงเข้าสู่ใจ ยึดมั่นถือมั่น ให้ใจเป็นทุกข์
สุดท้าย ก็รวมทั้งนอกทั้งในให้เป็นทุกข์ยิ่งขึ้น
เรื่องบางอย่างเราแก้ไม่ได้ บางอย่างก็แก้ได้ สำหรับภายนอก
แต่เรื่องภายในจิต นั้น สามารถแก้ไขได ้เริ่มตั้งแต่ รู้ละ มีสติ สร้างสัมปชัญญะ ปล่อยวาง เห็นตามความเป็นจริง สร้างจิตเมตตา ไม่สร้างเรือน และ ละอวิชชา
ดังนั้นอย่า อีรุงตุงนัง ขังขอบ ให้ตนเอง วนเวียนอยู่ด้วยความคิดที่ไม่ยึดมันเกาะ อยู่ในเรื่องเดิม ๆ วังวนของตัณหา เลย
จะหลุดได้อย่างไร ?
ก็ภาวนา พุทโธ บ้าง เจริญ สติ บ้าง สวดมนต์บ้าง สวดคาถาพญาไก่แก้วบ้าง เจริญกรรมฐานบ้าง เจริญเมตตาบ้าง เท่านี้ทำได้ไหม ?

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
การภาวนา ต้องเข้าใจ สถานะ ด้วย
« ตอบกลับ #187 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 28, 2017, 01:10:44 pm »
0
การภาวนา ต้องเข้าใจ สถานะ ด้วย
คุณภาวนา พุทโธ ก็จะได้ พระโสดาบัน และ พระสกทาคามี แต่ไม่ได้เป็น พระอนาคามี และ เป็นพระอรหันต์ ดังนั้นพุทโธเป็นการภาวนา เบื้องต้น ไม่ใช่ท่ามกลาง หรือ ที่สุด
วันนี้แค่ พุทโธ ยังทำกันไม่ได้ดี เลย จะไป นิพพาน กันได้อย่างไร เพราะเวลาเข้าไป ตัดสมุทเฉทปหาน กิเลสตรง ๆ นั้น คุณไม่มีกำลังใจ ในการภาวนา คุณจะไปรอดกันหรือ ดังนั้น จงอย่าท้อแค่ ภาวนาเริ่มต้น ทุกข์ ในสังสารวัฏ ยังมีรอพวกคุณกันอีกมากมาย หลากเรื่องหลายพันร้อยแสนหมื่นล้านแห่งความทุกข์
ตราบใดที่พวกเธอทั้งหลาย ยังไม่ได้มาเรียน อานาปานสติ จากฉัน ๆ ก็ยังวางใจไม่ได้ว่า พวกเธอทั้งหลาย จะไปถึงจุดแห่ง อรหัตมรรคได้
ปัจจุบัน สอนกันให้หลงทาง เป็น พระอริยะบุคคลด้วยการคิดเอาเอง นับว่าเป็นเรื่องแย่มากในปัจจุบัน แต่สายกัจจายนะนั้น ต้องพิสูจน์ตนด้วย ผลสมาบัติ เท่านั้น

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
กรรมฐาน ไม่ได้อยู่ที่ตำรา และ ครูอาจารย์ เท่านั้น
« ตอบกลับ #188 เมื่อ: มีนาคม 30, 2017, 07:04:33 am »
0
กรรมฐาน ไม่ได้อยู่ที่ตำรา และ ครูอาจารย์ เท่านั้น แต่อยู่ที่ท่านทั้งหลาย ต้องหมั่นทบทวนภาวนาด้วย
ถ้าไม่หมั่นทบทวน ภาวนา มันจะไปสำเร็จ อะไร
มันสำเร็จอะไรไม่ได้ มันมีแต่ความขี้เกียจที่ลอยอยู่
และที่สำคัญ มันเท่ากับ ท่านทั้งหลายได้แค่คิดว่าจะทำ แต่ไม่เคยทำตามทีคิด
พอทำตามที่คิด เจออุปสรรคเล็กบ้าง ใหญ่บ้างก็รู้สึกท้อ แทนที่จะรู้จักฟันฝ่าอุปสรรค เสียบ้างป่วยนิดหน่อย ก็หยุดภาวนา แล้วมันจะได้ผลภาวนาได้อย่างไร
ในฐานะครูอาจารย์ คงเตือนท่านทั้งหลายได้เท่านี้ อายุฉันไม่ได้มีมากนะ หากฉันยังอยู่แล้วยังทำไม่ได้ ถ้าฉันไม่อยู่แล้ว โอกาสที่จะทำได้นั้น สัก 10 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้น
จงรีบขวนขวายภาวนา และแจ้งกรรมฐาน ในขณะที่ครูอาจารย์ ยังมีลมหายใจเข้า และออกอยู่
เจริญพร


บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
วันนี้กาลเวลา ฉันหมดไป ด้วย เรื่องการตอบคำถาม แต่ละท่าน จำนวนมาก ขอให้ทุกท่าน จงตระหนัก ในกุศล แห่งจิต
เมื่อจิต มีกุศล จิตก็จะมีความสุข
ยามใดที่ท่าน มีความสุข ยามนั้นผลแห่งกุศลได้เกิดขึ้น
ยามใดที่ท่าน มีความทุกข์ แสดงว่าท่านขาดกุศล
กุศลทำได้หลายวิธี
1. สวด ท่อง บ่น ในพระคาถา และ พระสูตร
2. ดำริคิด อยู่แต่ใกุศล ฟังธรรมบ้าง พิจารณาธรรมบ้าง
3. ภาวนา พุทโธ ๆๆๆ ให้มากขึ้น
4. เข้าผลสมาบัติ
5. ดำรงในสุขสมาธิ
กาโล ฆสฏิ ภูตานิ สัพพา เนว สหัสตนา
กาลเวลา ย่อมกินสรรพสัตว์ กับทั้งตัวมันเอง
เจริญพร

บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ขออนุโมทนาสาธุ

อัศจรรย์ๆๆครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
แต่ละคน ก็มีความทุกข์ ไปคนละแบบ
บ้างก็ทุกข์ เพราะการทำมาหากิน
บ้างก็ทุกข์ เพราะคนรักจากไป
บ้างก็ทุกข์ เพราะคนที่รักหักหลัง
บ้างก็ทุกข์ เพราะความรับผิดชอบ ต่อครอบครัว
บ้างก็ทุกข์ เพราะความเป็นผู้มียศ มีทรัพย์
บ้างก็ทุกข์ เพราะความเจ็บป่วย
บ้างก็ทุกข์ เพราะความตายทีกำลังจะมาถึง
และอีกสารพันปัญหา ที่แต่ละท่าน ทุกข์ และทะยอย เล่าให้ฉันฟัง ให้ฉันตอบ เพื่อท่าน จะได้ไม่มีความทุกข์ หรือ ระบายความทุกข์
วันหนึ่งของฉันช่วงนี้จึงหมดไปกับการ ปลุกปลอบ ให้กำลังใจคนที่ทุกข์ บ้างก็ยังเหนียวแน่น ในธรรม บ้างก็ขอลาจาก กันไป บ้างยังสาระวนทุกข์เหมือนเดิม
จิตตัง ทันตัง สุขา วหัง
จิตที่ฝึกดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้
หากท่านทั้งหลายไม่ฝึกฝนจิต ไม่ดูลมหายใจเข้าออก ไม่หมั่นภาวนาพุทโธ จิตของท่านเวลาที่เผชิญกับความทุกข์ มันจึงอ่อนแอ ปวกเปียก รันทด หดหู่ มองไม่เห็นทาง อะไร เลย นอกจาก ทุกข์ กลัดอก กลัดใจ ยิ่งขึ้น
ยามจะมี ก็ทุกข์ คนมี ก็ทุกข์ไปอีกแบบ
ยามจะจน ก็ทุกข์ คนไม่มี ก็ทุกข์ไปอีกแบบ
อย่างนี้ไม่จบสิ้น เพราะตัณหา คือ ผู้สร้างภพ ( ทุกข ์ ) นั่นเอง
ดังนั้นควรจะมองตามความเป็นจริง ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา มันเป็นธรรมดา ที่ใคร ๆ ก็ต้องเป็น ต้องมี รักษาจิต ให้แจ่มใส เจ็บ ก็พุทโธ ไปเรื่อย มัวแต่ไปทุกข์มันก็ไม่หายเจ็บ โง่สองชั้น ซวยสองต่อ กายก็เป็นทุกข์ จิตก็เป็นทุกข์ แถมทำให้วิญญาณ เป็นทุกข์ด้วยอีก
เกิดอีก มันก็ทุกข์ อีก แล้วทำไม ไม่เข็ดหลาบจำ มันเป็นซะอย่างนี้ คนเรา หลงตัว กลัวตาย หลงกาย ลืมแก่ หลงผัวหลงเมีย ลืมพ่อลืมแม่ หลงโง่ทำขั่ว ลืมนรกภูมิ
ดังนั้น ถ้าไม่อยากทุกข์ ก็ หาความสุข ด้วยการภาวนาทางจิตกันบ้าง พุทโธ พุทโธ ไป ดูลมหายใจ ดูลมหายใจออก มองเห็นตามความเป็นจริง อย่างน้อยได้สุข ทัศนะ เบื้องต้น หรือ ได้สมาธิ ก็ยังมีสุขสมาธิ เป็นเพื่อน บ้าง ชีวิต มันจะได้ทุเลาลง
บัณฑิต ย่อมกระทำความไม่หวั่นไหว ให้เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ความไม่หวั่นไหว ( อเนญชา ) มิได้เพราะมองเห็นตามความเป็นจริง ว่า สิ่งใด สิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา อย่างนี้ในเบื้องต้น
ความไม่หวั่นไหว จักมีได้ก็ต้อง สวด ท่อง บ่น สาธยาย เจริญสติ ตามดูระลึกรู้ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก มีพุทโธ ๆๆๆๆๆ อย่างนี้ ไปด้วย จักทำให้มีความสุขในเบื้องต้นได้
ขอดวงตาเห็นธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสำเร็จในธรรม จงมีแก่ท่าน
ขอความสวัสดี จงมีแก่ท่าน ในกาลทุกเมื่อเทอญ
เจริญพร

( เกี่ยวกับภาพ ภาพนี้มองเห็น ธรรมสองอย่าง คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป ส่วนความตั้งอยู่ ผู้มองเห็น จักรู้กาลทั้งสาม การรู้จักกาลทั้งสาม จะมีประโยชน์ ในขณะ แห่งอนุโลม และ ปฏิโลม )
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"เมื่อก่อน ที่ฉันเรียนธรรมะ ไปฟังธรรมะ ไปร่วมปฏิบัติ ธรรมที่สวนโมกขบ้าง วัดชลประทาน สวนอิทัปปัจจยตา และหรืออีกหลายที่ ๆ ไป ฉันมักตื่นเต้น เสมอ ๆ มีความยินดี ว่าเราเป็นนักปฏิบัติธรรม นักภาวนา  หลายครั้งที่ใช้วาทะ ว่าเราเป็นผู้ภาวนา และ พยายามให้คนรู้ว่า เราเป็นผู้ปฏิบัติภาวนา เป็นชาวธรรม ไปที่ไหน ต้องกล่าววาทะ ทางธรรม เสมอ ๆ บางครั้งจนลืมที่จะฟัง คนอื่นพูดให้ฟัง มันมีความกระหยิ่ม ยิ้มย่องว่า เรานีเลิศ ด้วยคุณธรรม จึงมีวาทะ ทางธรรมเป็นอย่างมาก พูดครั้งหนึ่ง คนนั่งฟัง เป็นร้อย บางครั้งร่วมพัน ทุกคนฟังฉันพูดอย่างเงียบหลาย ชั่วโมง เป็นเช่นนี้หลายครั้งที่ได้รับนิมนต์ไปบรรยายธรรม แสดงธรรม ไม่ว่าจะเป็นชุมชน หน่วยงานราชการ สถานที่การศึกษา วัด สถานที่จัดกิจกรรม ทางพุทธศาสนา จนฉันติดกับ เหล่ามาร ไม่รู้ตัว และเพลิดเพลิน กับวาทะ ที่เรียกว่า ธรรมะ ในขณะนั้น จนมีความรู้สึกว่า เรารู้มากกว่า คนอื่น พอไปเจอคนที่รู้มาก ก็มีความรู้สึกว่า เรารู้น้อยกว่า คนอื่น พอไปเจอคนที่พอกัน ก็มีความรู้สึกว่า เราเสมอเขา ความรู้สึกเหล่านี้ มันหลอกเราหลายชั้น ด้วยวาทะ บ้าง ด้วยความเข้าใจไปเองบ้าง ยามที่นักรบไม่เคยเข้าสู่สงคราม จริง ๆ ก็คิดว่าตนเองเก่ง เป็นเช่นนี้จริง ๆ พอฉันได้เข้าสถานะ ที่ต้องต่อกรกับกิเลส ตรง ๆ มี ราคะ โทสะ และ โมหะ เหล่านี้ ตอนนั้นฉันจึงรู้ถึงสิ่งที่ฉันไม่เคยรู้มาก่อนว่า แท้ที่จริง ที่ฉันรู้มาตลอดนั้น มันเป็นความหลง เมื่อ ราคะเข้ามา ก็ต้านทานไม่ได้ เมื่อ โทสะ เข้ามาก็ต้านทานไม่อยู่ เมื่อโมหะ ก็ต้านไม่ไหว เมื่อมันมีมาก ๆ ก็ถึงวิกฤต ความรุ่มร้อน นอนก็เป็นทุกข์ นั่งก็เป็นไฟ ยืนอยู่ ทุรนทุราย เดินพลุ่นพล่าน เพราะไฟราคะ โทสะ โมหะ มันแผดเผา สิ่งที่ฉันรู้มาเป็นเพียงแค่คำปลอบใจ สำหรับฉันเท่านั้น จริง อยู่ถึงฉันไมไ่ด้แสดง ออก ว่ามีราคะเข้าบังตาบังใจ ว่าถูกเพลิงโทสะครอบงำ หลงทางเพราะโมหะ แต่ ใจฉันลึก ๆ นั้น รู้สึกถึงความพ่ายแพ้ ต่อเหล่ามาร จนกินไม่ได้ นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย เพราะพลังแห่งมาร สรรพวิชา ทั้งหลาย แทบจะใช้ไม่ได้เลย คำสอนครูอาจารย์ ที่ติดตามฟัง มาหลายปี นึกไม่ออก ว่าต้องใช้อย่างไร ทำอย่างไร แต่อาจจะเพราะมีวาสนาอยู่บ้าง ที่ฉัน นึกออก มีเพียงอย่างเดียว ขณะนั้น  คือ พุทโธ พุทโธ พุทโธ เท่านั้น ไม่มีวิชาอื่น ๆ ที่ฉันจะนึกออก เลยในยามที่ฉันต้องเผชิญเหล่ามารทั้งหลาย ที่มันราวี กลุ้มรุมจิตใจ ที่ร้อนรน กระสับกระส่าย ตอนนั้นฉันทำได้แค่ ฉันนั่งนึก นอนนึก ยืนนึก เดินนึก พุทโธ พุทโธ พุทโธ พุทโธ ไปอย่างนั้น ทั้่งวัน ทั้งคืนเป็นเวลา อยู่หลายวัน จนถึงจุดหนึ่ง ฉันก็รู้ว่า สิ่งที่ฉันรู้มานั้นทั้งหมด เป็นเพียงเหตุปัจจัย ไปสู่เหตุปัจจัยหนึ่ง เมื่อเหตุปัจจัยหนึ่ง เกิด เหตุปัจจัยหนึ่งก็ดับไป เมื่อเหตปัจจัยหนึ่งดับ เหตุปัจจัยสองก็เกิดขึ้น เมื่อเหตุปัจจัยสองเกิด เหตุปัจจัยสองก็ดับไป และ เหตุปัจจัยอื่น ๆ ก็เกิดต่อมา ผลการระลึกถึงพุทโธ ในวันนั้น ทำให้ฉันไม่ค่อยพูด และพูดน้อยลง และไม่เคยเรียกตัวเองว่า ชาวธรรม หรือ นักธรรม หรือผู้ภาวนา ตั้งแต่นั้นมา สิ่งที่ฉันได้ในขณะนั้น คือการวางจิตเป็นกลาง ไม่ดีเลิศ ไม่ต่ำต้อย ไม่เสมอใคร เพราะไม่มีใครจะเปรียบ และไม่ไปเปรียบเทียบกับใคร เพราะ ตัวฉันเองรู้ความจริงว่า ฉันก็เป็นเพียงเหตุปัจจัย ที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ถ้าจะให้ฉันสอนจริง ๆ แล้วก็สอน แค่ พุทโธ นั่นแหละ ไม่มีอะไรมาก ไม่ต้องรู้อะไร มาก ที่จะต้องรู้ คือ จะต้อง รู้ พุทโํธ อย่างต่อเนื่อง ฉันไปที่ไหน ในตอนนี้ล้วนแล้วเป็นเพียงแค่ผู้ฟัง เท่านั้น  ....."




ข้อความส่วนหนึ่งจาก หนังสือเพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม
บันทึกการภาวนา และ การเดินทาง ของธัมมะวังโส
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 02, 2017, 01:22:15 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อย่ามัวแต่หลงเพลิดเพลิน ในเสียงสรรเสริญ ใด ๆ เลย เพราะ มานะสังโยชน์ นั้นทำร้ายสัตว์ที่เกิดมา ให้เวียนว่ายตายเกิดต่อไป ผู้มีปัญญา พึ่งละ มานะทิฏฐิ ว่า นี่เรา นี่เป็นเรา นี่เป็นของเรา นี่เป็นตัวเป็นตนของเรา เสียเถิด
ดูลมหายใจเข้า ดูความสงบตอนหายใจเข้า จดจำไว้
ดูลมหายใจออก ดูความสงบตอนหายใจออก จดจำไว้
ถ้าไม่จดจำ ลมหายใจเข้าที่มีความสงบ ลมหายใจออกที่มีความสงบ ก็ต้องทำบ่อย ๆ เพราะการจดจำลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ นั้นมีความสำคัญ ต่อการเจริญภาวนามากอย่างยิ่ง
พระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสสอนให้เรา รู้ ( ปชานาติ ) ก็คือการจดจำลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ ไม่ว่า จะยาว หรือ สั้น จะหยาบ หรือ ละเอียด ก็เป็นลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่สงบ เป็นเพียงแต่สักว่า ลมหายใจเข้าที่ต้องจดจำ ลมหายใจออกที่ต้องจดจำ
การจดจำของสติ ขณะนั้น มีผลให้เกิด สุขสัญญา( จำได้ว่าสุข ) และ ลหุสัญญา ( จำได้ว่า เบา )
ถ้าใครจำได้ว่า สุข จำได้ว่า เบา เขาก็ควรศึกษาในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก ที่หยาบ ที่กลาง ที่ละเอียด ที่ประณีต ที่ใกล้ ที่ไกล ทั้งภายใน ทั้งภายนอก ทั้งที่เป็นสภาคารมณ์ ( ร่วมกับ การปรุงแต่ง )
ลมหายใจเข้า มีความสงบ ก็เป็นประโยชน์แก่กาย
ลมหายใจออก มีความสงบ ก็เป็นประโยชน์แก่กาย
เมื่อกายได้ประโยชน์ กายก็สงบระงับ ลมหายใจเข้าก็ดับไปกับกายนั้น ลมหายใจออกก็ดับไปกับกายนั้น มีเพียงจิตรู้สุข จิตรู้เบาเฉพาะหน้าในที่นั้น แจ่มแจ้ง
ผู้ภาวนาพึงศึกษา จิตที่แจ่มแจ้ง ในเฉพาะหน้านั้น ๆ ที่มีปราโมทย์ ( ยินดี ) ทีมีปีติ (อิ่มใจพอใจ ) ที่มีสุข ( สุขหนอ) ที่มีอารมณ์เดียว ขณะนั้น อย่างถ่องแท้ พระพุทธเจ้าใช้คำว่า สิกขติ ( ย่อมศึกษา ) สภาวะขณะนั้น เพราะสภาวะ นั้นอาศัยลมหายใจเข้า ลมหายใจออก อย่างนี้ เรียกว่า การเข้าไปศึกษา รู้แจ้ง เห็นจริง ในกองลมทั้งปวง ที่มีเนื่องด้วยกาย ทำแค่นี้ ก็เรียกว่า สติไปในกาย กายมีอยู่สักว่าเป็นเครื่องระลึก จิตมีอยู่สักว่าได้กายเป็นเครื่องระลึก กายนี้ จิตนี้ก็มี กายนี้ไม่มี จิตนี้ก็ไม่มี เมื่อบุคคลตามรู้ ลมหายใจเข้าที่สงบ ลมหายใจออกที่่สงบ ชื่อว่า ปชานาติ เมื่อบุคคลตามดูสภาวะ ที่สงบ อันเกิดที่กายด้วยการเข้าไปประจักษ์ ความจริง ว่า ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็เป็นกองแห่งกาย เพราะมีลมหายใจเข้า เพราะมีลมหายใจออก จึงมีจิตที่สงบ จิตที่สงบมีได้ เพราะความยินดีในกองลม อย่างมีสติ สุขที่เกิด เรียกว่า สุขสัญญา ลำดับที่หนึ่ง ความเบาที่เกิดเรียกว่า ลหุสัญญา ลำดับที่หนึ่ง ........
( ยังมีต่อ )
เจริญธรรม / เจริญพร
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0

สำหรับ ศิษย์ทุกคนฝากไว้ คำสอน ของครูอาจารย์ ในความทรงจำสำหรับ การภาวนา
1. อย่าทิ้ง การสวดเจริญ คาถา พญาไก่แก้ว (อันนี้สำคัญมาก)
2. อย่าทิ้ง การสวด พุทธคุณ ใครสวดเจริญได้ วันละ 108 ขออนุโมทนา กุศล
3. อย่าทิ้ง การภาวนา พุทโธ ถ้ายังไม่ได้ อัปปนาจิต
4. อย่าทิ้ง การดูลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ให้กระทำทุกวัน ไม่ต้องรอจบ พุทธานุสสติ ก่อนถึงจะดู มีเวลาว่างเว้น ไม่ฟุ้งซ่านกับ เรื่องโลก เกินไป ก็หมั่นระลึก ติดตาม ดูลมหายใจเข้าออกให้เป็นนิสสัย
5.อย่าละขาดจากการมี ศีล รักษา ศีล
6.อย่าขาดการทำบุญกับเนื้อนาบุญ
7.ทบทวนกรรมฐานบ้าง ตามโอกาส
8.เว้นการคบคนฟุ้งซ่าน
8 ข้อนี้ เป็น คุณธรรมพื้นฐาน ของศิษย์ ไก่เถื่อน เบื้องต้น
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ถาม ตอนนี้ชีวิตผม พบกับความลำบาก มากครับ มีภาระมากขึ้น จนรู้สึกว่า ภาระที่กระทำ นั้น น่าเบื่อ ต้องการหนีออกไปให้พ้น แต่ก็ทำไม่ได้ เพราะถ้าหนีออกไป คนเกี่ยวข้องก็จะเดือดร้อน กัน ซึ่งทำให้ผมไม่มีเวลาภาวนาอย่างที่ พอจ สอนเลยครับ
ขอบคุณครับ
ตอบ คำถามแบบนี้ ฉันอ่านมาจนบัดนี้ 15 ปีแล้ว ก็ยังมีให้อ่านเรื่อย ๆ อาจจะเป็นเพราะว่าฉัน เป็นศูนย์ย่อยรับเรื่องที่หลายท่านกลัดกลุ้มแล้ว ก็ต้องเล่าสารทุกข์สุขดิบ ให้ฉันฟังกัน ที่จริงคำถามนี้ จากประสบการณ์ แล้ว รู้ว่า พวกท่านไม่ได้ต้องการคำตอบ แต่ที่จริงต้องการให้รู้ พอจ รู้ว่า ตอนนี้ลำบาก เพื่อไปสู่ข้ออ้างอื่น ๆ
ขอตอบคำถามนี้เป็นสองระดับ นะ
ระดับที่ 1 เป็นคำตอบของคนที่ยังเป็นปุถุชน ดำเนินชีวิตอย่างปุถุชน
สำหรับเรื่องของชีวิต และความทุกข์ที่ประดังเข้ามานั้น เป็นไปตามวัย ในวัยเด็ก ก็รับผิดชอบน้อย
ในวัยหนุ่มสาว ก็รับผิดชอบ ขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง
ในวัยทำงาน ก็รับผิดชอบ ขึ้นอีกหน่อย
พอมีครอบครัว ก็ต้องรับผิดชอบ เต็มตัวเพราะบ่วง 3 บ่วง มันถูกสวมทันที ต้องมีภาระในการเลี้ยงดู สามี ภรรยา และต้องเพิ่มไปดูแล อีกครอบครัว ของแต่ละฝ่ายด้วย ถ้ามีฝ่ายใด ฝ่ายหนึ่ง อ่อนมา ภาระก็จะเกิดไปตามที่แบก ถ้าเป็นทั้งสองฝั่ง ก็ต้องแบบหนักมากขึ้น
จะเห็นได้ว่า ทุกข์กลัดกลุ้มมันมีมากขึ้น หนักขึ้น ตรงคำว่า ครอบครัว อันอาศัย ความรัก เป็นที่ตั้ง ชีวิตขาดความอิสระ เพียงเพื่อแลกมา ซึ่งคำว่า ดูแล กตัญญู
ถ้าหากขาดหลักธรรม ยึดเหนี่ยว กันทั้งหมดมีแต่ผู้แบกภาระมีหลักธรรมคนเดียว อันนี้นับว่า หนักหนาสาหัส
ภาระมีไปตามวัย ยิ่งสูงอายุ ก็ยิ่งมีคนเจ็บ คนแก่ และคนตาย ให้เห็นมากขึ้น ให้กระทบมากขึ้น ดังนั้นจึงได้เห็นเรื่องเหล่านี้เป็นประจำ เพราะอายุเรามากขึ้น
หลายท่าน ต้องดูแลตนเอง พยายามหาเลี้ยงปากท้องตนเอง แต่เมื่อคนรอบข้าง เข้าถึงความชรา และความเจ็บ แน่นอน คนที่อยู่รอบตัว ย่อมนึกถึงคนที่สบายและดีที่สุด ที่สมควรมารับภาระ ตามเชื้อสายก็ต้อง ลูก หลาน ญาต มิตร ไปตามลำดับนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้นมากดดัน แต่ละท่านให้ต้องวิธีการที่จะอยู่รอด และ สบายขึ้นไปตามอุปนิสัยของตน
ที่นี้ความลำบาก สบาย หรือ ทุกข์ ที่กลัดกลุ้ม มันก็มีหลายแบบจำแนกไปตามแบบของแต่ละคน
อันดับที่หนึ่ง ไม่มีเงิน ก็ต้องแสวงหาเงิน
อันดับที่สอง ไม่มีคนช่วยแรง ก็ต้องแสวงหาคนช่วยแรง
อันดับที่สาม ไม่มีคนช่วยรักษา ก็ต้องแสวงหาคนช่วยรักษา
อันดับที่สี่ ไม่มีเห็นใจ ก็ต้องหาคนเห็นใจ
จะกี่แบบ กี่ชนิด ก็มีแค่ สี่แบบนี้เท่านั้น
ทุกข์ อันดับที่ 1 - 3 ฉันจะไม่พูดเพราะไม่ใช่ หน้าที่ของฉัน มันเป็นหน้าที่ ของผู้บริหารประเทศชาต ผู้ปกครองประเทศจะทำนุบำรุง ให้ประชาชน มีสุข อยู่ดี กินดี ถ้วนหน้านั้นเป็นเรื่องระดับประเทศ และ เป็นเรื่องส่วนตัวของแต่ละคน
ทุกข์อันดับที่ 4 เป็นทุกข์ที่ พระ ต้องเกี่ยวข้อง เพราะมันเป็นสิ่งที่พระทำได้ บำบัดให้ได้ และชี้ทางสู่การพ้นทุกข์ ด้วย วิถีธรรม
ทุกข์เพราะไม่มีคนเห็นใจ อย่าคิดว่าไม่สำคัญ มันสำคัญมาก มีปัญหามากมายร้อยแปดที่ไม่ได้แก้อะไร เลย และก็แก้ไม่ได้ แต่ทุกข์ เหล่านั้น ถึงแม้จะแก้ไม่ได้ แต่ที่สำคัญคนที่ทุกข์ไม่ได้ต้องการแก้ แต่ต้องการคนรับฟัง และเห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึก ที่เขาทุกข์ กลัดกลุ้ม รุ่มร้อน ภาษาโลก เรียกว่า ได้ระบายอารมณ์ ทีทุกข์ กลัดกลุ้มรุ่มร้อน ดังนั้น ฮอทไลน์ (hotline ) สายด่วน ของแต่ละสาย ของแต่ละเรื่อง จึงมีเกิดขึ้นมาก มีคนใช้บริการมาก จริง ๆ เท่าที่ทราบมา นั้นเป็นเพราะว่า เมื่อคนที่ทุกข์ มีความกลัดกลุ้ม รุ่มร้อน เกิดขึ้นสิ่งสำคัญที่สุด ก็คือ การหาคนที่เขาคิดว่า รับฟังเรื่องของเขา และ อาจจะนำไปสู่ การแก้ปัญหา แต่บางทีก็ไม่ใช่ เพื่อจะแก้ปัญหา เพียงแต่ต้องการขยายความรู้สึก ของตนไปสู่อีกคนหนึ่งให้รับทราบ และรู้สึกว่า ทุกข์ ตาม เห็นอก เห็นใจตามนั่นเอง
วิธีการแก้ปัญหา อย่างนี้ เป็นเรื่องที่ทำโดยธรรมชาต ของปุุถุชน ไม่ต้องสอน ก็ทำกันเป็น ทำเอง จัดการเองได้
แล้วเกี่ยวอะไรกับพระ เล่า ที่มันเกี่ยว ก็เพราะว่า การระบายปัญหา ต่าง ๆ นั้นไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง เพราะการทำแบบนี้เป็นการขยายความทุกข์ ให้มีจำนวนมากขึ้น ถ้ามี 1 คน ขยายความทุกข์กลัดกลุ้มออกไป อย่างนี้ คนรอบข้างก็ต้องรับเรื่องราวที่ทุกข์ และก็ขยายต่อไปด้วย ดังนั้น การขยายความทุกข์ ต้องไม่ต่อเนื่องออกไป จึงจะถูกต้อง แต่เพราะว่า การขยายความทุกข์ที่ไม่ใช่ hotline นั้น มีการถูกขยายไปโดยธรรมชาตตามอุปนิสัยของปุถุชน ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงทรงตรัสแสดงเหตุแห่งทุกข์ เพื่อให้คนที่ทุกข์ ปรับเปลี่ยน ทัศนคติ และวิธีการแก้ไขให้ถูกต้อง
ดังนั้นคำตอบการแก้ปัญหา ระดับที่ 1 ก็คือการเจริญสติ
สติเป็นตั้งแห่งคุณธรรม ทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะทุกข์ เจียนตายอย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญต้องประคองสติ รู้ทุกขณะที่ทุกข์นั้น มีเหตุจากอะไร ดับได้อย่างไร
ทุกข์ ทั้งหลายทั้งปวง มาจากความยึดมั่น ถือมั่น ในความเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา เพราะความรู้สึกว่า นั่นเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ถูกพอกพูนมานานแสนนาน ทั้งอดีต ทั้งปัจจุบันมันก็ยังเป็นแนวนั้นอยู่ ดังนั้นการเจริญ สติ ที่พระพุทธเจ้ามอบให้ 4 กอง ก็คือ สติไปในกาย สติไปในเวทนา สติไปในจิต สติไปในธรรม
สำหรับบุคคลที่ทุกข์ แบบ ปุถุชนนี้ไม่สามารถเจริญ สติ ไปในสามกองหลังไม่ได้เพราะ ยังเหมือนเด็กหัดเดินในสายธรรม จึงต้องพัฒนาการเจริญสติในกาย ให้มากขึ้น พระพุทธเจ้า ได้แบ่งหมวดสายกาย ออกโดยเริ่มที่ อานาบรรพ เป็นบทที่ 1 นั่นก็คือ การตั้งสติไปในลมหายใจเข้า การตั้งสติไปลมหายใจออก เมื่อสติพัฒนามากขึ้น การตั้งสติไปในสัปชัญญะ การรู้ตัวมากขึ้น จนไปสู่ การละความยึดถือ ว่าเป็น อัตตา
สรุปตรงนี้ ก็คือ การตั้งสติ และพัฒนา สติ ให้มากขึ้น เมื่อมีความทุกข์ ความกลัดกลุ้ม รุ่มร้อน ต้องตั้งสติ นับให้ทัน ในลมหายใจเข้า ในลมหายใจออก ในการเดิน ยืน นั่ง นอน ต้องตั้งสติให้มั่นคง และมองให้เห็นความจริง ว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดา การที่ลำบากหรือไม่ลำบาก อยู่ที่บุญกุศลที่ได้สร้างไว้ ทั้งในอดีต และปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้สบาย หรือ ไม่สบาย
ดังนั้นเมื่อตั้งสติได้แล้ว ก็ควรต้องรักษากุศล และ หาโอกาสในกุศล กระทำสิ่งที่ควรทำ คือ การรักษาศีล การให้ทาน และการภาวนาอบรมจิต ให้มีสติมากยิ่งขึ้น
ชีวิตจะมีความสุขได้ ไม่ว่า ภาระที่ท่านแบก จะหนักอย่างไรก็ตาม แม้จะลำบากเจียนตาย แต่ถ้ามีสติ รู้ทันอย่างนี้การสร้างกรรมอกุศลก็จะไม่มี การจะบ่นหรือพร่ำเพ้อคร่ำครวญก็จะไม่มี ทำอย่างนี้เป็นเพียงการเริ่มต้นไม่ใช่ธรรมสุงสุด เป็นคุณธรรมของพระโสดาบันเท่านั้น
เจริญธรรม / เจริญพร

ถาม พอจ ยังไม่ได้ตอบ ในระดับ ที่ 2 ครับ ขอ พอจ ช่วยตอบในระดับนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ
ตอบ การใช้หลักธรรม แก้ปัญหาชีวิต ระดับที่ 1 ใช้ สติ ก็แจงให้รับทราบอ่านไปกันแล้ว แต่วิธีการแก้ปัญหา แบบนี้ ในสายกรรมฐาน จัดว่าอ่อนมาก เป็นเหมือนบุคคลทั่วไป เปรียบเหมือนเด็กหัดเดิน ต้องประคบประหงม แจก คำหอม ยอยก บุคคลระดับนี้ไว้ ด้วย พุทธภาษิต ดังนั้นคนระดับนี้ ประเภทนี้ จึงสนใจแต่เรื่อง การอ่าน การฟัง พระธรรม มาก ๆ ซึ่งก็เห็นทั้งประเทศไทย ไปที่ไหน ก็จะส่งเสริมกันอย่างนี้ ดังนั้นกิจกรรมกับการฝึก สติ จึงมีสำนักการสอน มาก เป็นอย่างยิ่ง
กิจกรรม ที่ส่งเสริม สติ
รักษาศีล ทำบุญ แจกทาน สงเคราะห์ผู้ยากไร้ สวดมนต์ ฝึกสติในอิริยาบถ ภาวนาเล็กน้อย เพียงเพื่อทำให้ชีวิตเหมือนอยู่ในหลักธรรม แต่ ความเป็นจริง ชีวิตก็วนเวียน แหวกว่ายอยู่ในกระแสเช่นเดิม เพราะว่า ไม่ได้ละจาก โลก หรือ ตัณหา กันเลย คนที่แก้ปัญหา แบบนี้ จึงมีจำนวนมาก เป็นเหยื่อ อันโอชะ ของวัด ของกิจการ เพราะ ใครจะไป สำนักไหน ก็ต้องเป็น ศิษย์และ บอกบุญเรี่ยไร เป็นงานหลัก ต่อไปก็คือ งานสร้าง มีสำนักปฏิบัติ มากมายที่ถูกสร้าง แม้แต่วัดเองก็เช่นกัน สร้างกันด้วยเงินเป็น ล้าน ๆ แต่ไม่ได้ใช้สอยประโยชน์ ให้กับ โยคาวจร เลย เป็นเพียงแต่เพียง ที่พักจิต ของคนที่มุ่งเจริญสติ แล้วกลับไปวนเวียนกลับโลก
( พูดมากไม่ได้ ตรงนี้ มันจะกระเทือนความรู้สึก ของ คนที่เป็นอยู่ )
ส่วนวิธีการแก้ปัญหา ระดับที่ 2 นั้น เป็นการแก้ปัญหา ของ โยคาวจร ผู้เจริญกรรมฐาน
ดังนั้น ที่ไม่ได้พูดแนะนำเพราะเห็นว่า ทางฉันยังไม่มีศิษย์ประเภท นี้ เพราะศิษย์ประเภทนี้ จะไม่หวั่นไหวกับเรื่องโลก ไม่นำเรื่อง โลก ๆ มาเสนอเป็นรายงาน พอจ ไม่มาพร่ำเพ้อ คร่ำครวญ เศร้าโศรก กับเรื่อง ของสังสารวัฏ เพราะ โยคาวจร จะพูด จะสอบถาม แต่เรือ่งการภาวนา
ดังนั้นศิษย์ประเภท ฉันยังไม่มี เลย มี ก็ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ยังต้องตักเตือน ทั้งทางตรงและทางอ้อม แต่ ยิ่งตักเตือนก็ยิ่งหายไป เพราะ ว่า คำพูด ของครูอาจารย์ ที่พูดแต่เรื่อง การภาวนา ไม่สนภาวะปัญหา ทางโลก ของศิษย์ นั้นดูเหมือน คนใจดำมาก ๆ เพราะ ไม่ว่าศิษย์ จะตกทุกข์ อย่างไร ครูก็จะแนะนำแต่เรื่องภาวนา
ยกตัวอย่าง
มีลูกศิษย์ มาถึงก็พูดเลยว่า ผมตื่นมาตอนเช้า ก็เจอศัตรู มองหน้าเขม่นกัน ฮึ่ม ๆ ใส่กัน อย่างนี้
เมื่อ พอจ แนะนำว่า ไม่พึงใส่ใจกับเรื่อง พยาบาท ควรมองตามความเป็นจริงว่า กรรมที่เกิดขึ้้นเป็นวิบาก ที่ส่งผล ดังนั้นไม่ควรข้องเกี่ยวกับอารมณ์เหล่านี้ ถ้ามองเห็นเขาแล้วไม่สบายใจ ก็ไม่ควรมอง ถ้าจำเป็นต้องมอง ก็ให้สวดคาถาพญาไก่แก้ว ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วย ก็ให้ระลึกถึงพุทโธ ถ้ามีการกระทบกันให้เรายอมแพ้เสีย อย่าไปสร้างกรรมเพิ่ม
คำตอบ ของศิษย์ ที่ได้รับคำแนะนำแบบนี้ ก็ได้รับการบ่นกลับมาว่า พอจ ไม่ได้เป็นผมนี่ ไม่เข้าใจความรู้สึกผม สุดท้ายเขาก็หนีจากไป ฝึกสติต่อกับ สำนักอื่น ๆ ตามที่เขาเห็นสมควร
ทาง พอจ ไม่ได้สนใจเรื่องการสอน สติ แต่ สนใจเรื่องการสอน สมาธิ เพื่อสู่ความเห็นจริง ไม่ได้คิดมุ่งเอาปริมาณคน ดังนั้นคนที่คัดกรอง เข้ามาแม้แต่เฟสนี้ไม่ได้มีเยอะเพิ่มขึ้น มีแต่น้อยลง เพราะว่า พอจ ต้องการผู้เข้ากระแสธรรม มากกว่า คนที่ยังต้องการแหวกว่าย ดังนั้นใครที่มีลักษณะ แหวกว่ายใน กระแสต่อ พอจ เป็นเพียงเนื้อนาบุญสำหรับเขาเท่านั้น
เนื่องด้วย พอจ ไม่มีเวลามากมายในการสอนทั่วไปแล้ว ตอนนี้มุ่งเอา คนที่จะเป็นแก่นมากกว่า คนที่ต้องการฝึกแบบสติ ก็เชิญไปตามชอบใจ ตามสำนัก และ วัดทั่วประเทศ เขาทำกันอยู่ แล้ว
สรุปก็คือ ในระดับปรมัตถ์ นั้น คนที่ภาวนาตามนี้ ไม่มาเสียเวลากับการคร่ำครวญ พิไรรำพัน ไม่สบายใจ อะไรเลย แต่เขาจะมีจิตมุ่งตรง ต่อพระรัตนตรัย และ พระนิพพาน เป็นกำลังของจิตเขา ใครที่มีลักษณะ เช่นนี้ แม้ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ก็ขออนุโมทนา
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ชีวิตคนเรา มี ขึ้น มี ลง ตามบุญบาปที่กระทำ นี่คือชีวิตที่สามารถ จัดการได้ด้วยหลักธรรม เพราะจัดการที่จิตโดยตรง
ส่วนร่างกายเรานั้น มีลงอย่างเดียว ทำได้เพียงประคับประคอง ไม่สามารถจัดการควบคุมอะไรได้มากนัก
ดังนั้น หลาย ๆ คน อายุมากขึ้น คนรอบข้างเราก็มากขึ้น ภาระที่เกิดขึ้น จากวัยมันจึงมีความลำบากให้เห็น เมื่อก่อนเป้นหนุ่ม เป็นสาว ไม่เห็นกันใช่ไหม
จิตวิญญาณของคนปุถุชน นั้น กว่าจะพร้อมสำหรับ พระธรรม ขั้นสูง ก็ใช้เวลา 50 - 70 จึงจะคิดอ่านมองเห็นธรรม มีคนที่ช้ามากมาย ในวัดตอนนี้ มาตอนสาย จะเดิน จะนั่ง จะยืน จะนอน ก็ร้องโอย ๆ ทำได้ยาก ลำบาก
จิตวิญญาณของผู้สั่งสมบารมี พร้อมจะรู้ตามพระพุทธเจ้า มักจะตื่นพร้อม เมื่อ อายุ 7 ปี จนถึง 29 ปี นี่คือผู้สั่งสมบุญในการเข้าถึงธรรม
กว่าจะสั่งสมประสบการณ์ ชีวิต และเริ่มยอมรับ หลักธรรม ก็มักจะสายเกิน คุณตา คุณยาย ในวัดล้วนแล้ว ก็อย่างนี้ทั้งนั้น ไม่ใช่เข้าไปอยู่วัดแล้ว จะสงบจิตใจกันได้ แต่มันเป็นที่พึ่งทางจิตของคนมีอายุ ที่เหงาหงอย เพราะลูกหลาน ห่างเหิน คนที่โชคดี ก็อยู่ในกลุ่มลูกหลาน ดูแล แต่ความเป็นจริง ในปัจจุบัน คนชรา คนแก่ มักถูกทอดทิ้ง เพราะหนุ่มสาวปัจจุบัน ไม่ศึกษาหลักธรรม ดั่งเช่นเมื่อก่อน ดังนั้นโอกาสที่แต่ละคนจะกลับมาดูแลพ่อแม่ ที่แก่เฒ่า น้อยมาก
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ค่ำคืนที่มีแสงดาว ลมโชยเบาๆ บนยอดเขาที่มองเห็นแต่ความมืดมิด เสียงจิ้งหรีด เรไร ระงมเซ็งแซ่ ร้องเพลงขับขาน เพิ่มความวังเวง ได้ยินเสียงสัตว์เดินไปในป่า มีเสียงหมาหอน จากหมู่บ้านด้านล่าง เป็นระยะ คืนนี้เดือนดับ แรม 3 ค่ำ จึงเห็นดาวบนท้องฟ้า มากสักหน่อย

อากาศเย็นยะเยือก ชวนให้สะพึงกลัว แต่อย่างไร ก็ชินกับบรรยากาศนี้แล้ว ผ่านกันมาหลายปี และหลายครั้ง จึงเดินไปจุดเทียนในโคมผ้า 4 อัน เพื่อกำหนดระยะการเดินจงกรม

เมื่อเริ่มเดิน คราแรกก็ตั้งในอยู่สภาวะบริกรรม อย่างดี แต่ครั้นพอมันเหนื่อย ขึ้นก็รู้สึกน้อยใจในโชคชะตา ว่า ทำไมต้องมายอมลำบากอย่างนี้ ในที่ๆ ห่างกัน แม่ พี่น้อง เพื่อน ครูอาจารย์ พอจิตละมาคิดเรื่องนี้ เดินไป มันก็คิดแต่เรื่องนี้ และก็วุ่นวายจนรู้สึกอยากหยุดเดิน

คิดถึง ทุกคน ไม่ใช่ ไม่คิดถึง
ทั้ง แม่ พี่น้อง เพื่อน ครูอาจารย์ แต่ความคิดถึง มันก็เป็นเพียงความคิดถึง เมื่อคิดถึง สัมปรายภพเบื้องหน้าแล้ว ความคิดถึง ต้องทำให้สงบระงับลง เพราะว่า ถ้าขืน คิดถึงกันมากกว่า นี้ ก็คงจะต้องลอยคอ เคว้งคว้างต่อ อีกในสังสารวัฏ

เมื่อได้สติ ระลึกถึง ความยากลำบาก อันจะต้องเวียนว่ายตายเกิดลอยคอ กับ ความขึ้นลง ของโลกธรรม ที่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน จะหนักจะเบาขึ้นอยู่กับกรรม กิเลส และ วิบาก ของคนรอบข้างและตัวเรา

จึงทำการประจุร่าง และกำหนดธาตุ ในการบริกรรมจงกรมต่อไป นั่นเป็นเพราะสติ สัมปชัญญะ รู้ตัวในอุบายของกิเลส ถ้าจะปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ก็ต้องรู้จักการประจุร่าง ....................

จากหนังสือ บันทึกการเดินทางไกล เพียงหยดหนึ่งแห่งพระธรรม โดย ธัมมะวังโส
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ