ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ทำงานไปด้วย ฟังธรรมไปด้วย เป็นการไม่เคารพพระธรรมหรือไม่  (อ่าน 4588 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

มะยม

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 74
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
วันก่อนได้ฟัง รายการ RDN ว่าการฟังธรรม โดยความเคารพ นั้นต้องตั้งสติ แล้วฟังด้วยความตั้งใจ

แม้แต่พระพุทธเจ้า ก็เคารพธรรม

  ที่นี้เวลาตัวเองฟังธรรม ก็มักทำงานไปด้วย พูดคุยไปบ้าง อ่านหนังสืออยุ่ บ้าง

 อย่างนี้จัดเป็นการไม่เคารพธรรม ใช่หรือไม่ ครับ

 ถ้าอย่างนั้น เราควรทำอย่างไรดี ปิดเสียงรายการไปแล้วทำงานไป หรือ เปิดฟังไป ทำงานไปดี ครับ

  :smiley_confused1: :c017:
บันทึกการเข้า

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ในการฟังธรรมของพระพุทธองค์ จริงอยู่ในสังคมปัจจุบันนี้นับว่าน้อยมากที่คนเราจะมีโอกาสไปฟังธรรมที่วัดอาจจะยุ่งด้วยการทำมาหาเลี้ยงชีพ หรืออะไรหลายอย่างที่เป็นปัจจัยให้ห่างไกลจากพระธรรม ดังนั้นการรับเอาโอกาสที่พอจะหยิบฉวยเสียงแห่งธรรมเอาประดับไว้ในกระแสจิตของเราจากคลื่นวิทยุหรือจากสื่อต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ดีและเป็นมงคลแก่ชีวิตแก่จิตวิญาณของเรา ดิฉันขอเสนอถ้าอยากฟังธรรมในขณะที่ต้องทำงานไปด้วยนั้นขอให้เราดูสภาวะของงานก่อนว่าเอื้ออำนวยขนาดไหน และจะเป็นการรบกวนเพื่อนร่วมงานหรือเปล่า ถ้าเพื่อน ๆ OK.
หรือทางสะดวก คุณก็น้อมจิตอาราธนาธรรมและรับฟังธรรมนั้นโดยความเคราพ ถ้าคิดจะคุยกันก็อย่าฟังธรรมเพราะจะเป็นการปรามาสต่อพระธรรมเจ้าได้
 ;) ;) ;)
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การแสดงธรรมในลักษณะแคนนอน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 10:39:39 am »
0

โปรดปริพาชกทีฆนขะ


     วันนี้ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่เรียกกันว่าแบบลักษณะแคนนอน ระบบตีวัวกระทบคราด หรือว่ายังไงก็ได้ ว่าแต่ไม่ใช่เป็นเจตนาเช่นนั้น ความจริงแล้วเป็นเรื่องของความเข้าใจของผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ คือพระสารีบุตร อัครสาวกฝ่ายขวา ทำหน้าที่พัดขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมกับปริพาชกทีฆนขะ

ปรากฏว่าขณะที่พระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่นั้น พระสารีบุตรผู้ทำหน้าที่พัดอยู่ข้างหลัง ก็เกิดแวบขึ้นในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงจนกระทั่งได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ นี่เรียกว่าเทศน์กับองค์ข้างหน้า แต่องค์ข้างหลังบรรลุ นี่เป็นการแสดงธรรมในลักษณะแคนนอน

ที่มา  http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/indexpic60.htm
ขอบคุณภาพจาก www.rmutphysics.com


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

๔. ทีฆนขสูตร
เรื่องทีฆนขปริพาชก

             [๒๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ถ้ำสุกรขาตาเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์.
ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อทีฆนขะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค
ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว.
ได้กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ความจริงข้าพเจ้ามีปกติกล่าวอย่างนี้ มีปกติเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา.

       พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อัคคิเวสสนะ แม้ความเห็นของท่านว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรานั้น ก็ไม่ควรแก่ท่าน.


..........ฯลฯ...................ฯลฯ...............

  [๒๗๔] ก็โดยสมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งถวายอยู่งานพัด ณ เบื้องพระปฤษฎางค์พระผู้มีพระภาค.
ได้มีความดำริว่า ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคตรัสการละธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย
ได้ยินว่า พระสุคตตรัสการสละคืนธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งแก่เราทั้งหลาย

เมื่อท่านพระสารีบุตรเห็นตระหนักดังนี้ จิตก็หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน

ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ทีฆนขปริพาชกว่า
สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา.




อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓  บรรทัดที่ ๔๖๖๑ - ๔๗๖๘.  หน้าที่  ๒๐๔ - ๒๐๘.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=13&A=4661&Z=4768&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=13&i=269
ขอบคุณภาพจาก www.chaoprayanews.com
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2011, 10:42:04 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
9 จรรยาบรรณของผู้ฟังธรรมที่ดี
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 15, 2011, 10:51:30 am »
0

9 จรรยาบรรณของผู้ฟังธรรมที่ดี

     ผู้ฟังธรรมที่ดี จึงควรมีจรรยาบรรณของผู้ฟัง ดังนี้
     1. ไม่พูดมากขณะฟัง
     2. ไม่พูดเรื่องที่คนอื่นเขาพูดมากแล้ว
     3. ไม่พูดถึงคนอื่นในแง่ร้าย
     4. ใช้สติปัญญาขณะฟัง
     5. ยอมรับความจริงว่ายังไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่ฟัง


     6. ไม่ลบหลู่ดูถูกดูหมิ่นผู้เทศน์หรือผู้แสดงธรรม
     7. ไม่มีจิตคิดแข่งดี คือไม่คิดยกตนว่าสามารถพูดได้ดีกว่าผู้แสดง
     8. ไม่มีจิตกระด้าง คอยจ้องจับผิดผู้แสดงธรรม
     9. ไม่ฟังแบบเสียไม่ได้

     เมื่อมีจรรยาบรรณเช่นนี้ ก็จะได้รับประโยชน์จากการฟังธรรมในพระพุทธศาสนาอย่างแน่นอน


อ้างอิง
จากส่วนหนึ่งของหนังสือคู่มือพุทธศาสนิกชน
จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 117 สิงหาคม 2553 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

ที่มา http://board.palungjit.com/f14/5-อานิสงส์ของการฟังธรรม-289872.html
ขอบคุณภาพจาก http://lampatao.files.wordpress.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ภาพจากwww.siamfishing.com

  โดยส่วนตัว เวลาผมเข้าครัวทำกับข้าว ผมจะเปิดวิทยุฟังเทศน์

 ทำไปฟังไป มีอะไรสะดุดใจก็จดจำ บางครั้งก็วิจัยธรรมะไปด้วย(ธัมมะวิจยะ)

 ตั้งแต่เริ่มลงมือทำ กินข้าว ล้างจาน ทำความสอาด ผมก็ฟังของผมไปเรื่อย

 การฟังแบบนี้ ทำให้ผมมีข้อมูลต่างๆมาตอบกระทู้ได้ หลายเรื่องครับ

 ถ้าถามว่า ผมเข้าเคารพพระธรรมรึเปล่า ตอบว่า เคารพมากครับ



  ที่สำคัญ ขอให้แยกการฟังธรรมต่อหน้าครูบาอาจารย์ ออกไปอีกกรณีหนึ่ง

 เพราะกรณีนั้น ต้องทำตาม วัฒนธรรม ขนบทำเนียม ประเพณี ที่ถือปฏิบัติกันมา

 ซึ่งการกระทำเหล่านั้น เน้นการแสดงออกเชิงสัญญลักษณ์  ที่ประจักษ์แก่ตาแล้วดูดี

 แต่การที่จะประจักษ์แก่ใจนั้น เป็นเรื่องยาก


  ;) :49: :25: :welcome:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2011, 06:53:13 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
"ปลาตื่นระรื่นธรรม"

อ่านก็ดี ฟังก็ดี วิจยะธรรม      
จิตน้อมนำ กระทำดี สติรั้ง
ไม่ประมาท ขลาดคราดเคลื่อน เลือนพลาดพลั้ง      
ย้ำกำลัง ระลึกดี ชีพยาวยืน.


                                                           ธรรมธวัช.!



http://www.dhamma-ngam.com/new/index.php?option=com_content&view=article&id=219:2011-05-31-10-59-25&catid=56:2010-08-29-07-32-08
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 15, 2011, 12:34:42 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา