ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร  (อ่าน 21522 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 12:14:06 pm »


    เรื่องนี้ผมจดๆจ้องๆอยู่นาน เนื่องจากพระอาจารย์เคยสอบปัญญาผม โดยการถามเรื่องนี้สองสามครั้ง ก่อนอื่นก็ต้องยกเอาข้อธรรม"ปฏิสัมภิทา 4" ในพจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มาแสดง  ข้อธรรมนี้ปรากฏอยู่ในพระสูตรและในพระอภิธรรม ท่านใดต้องการอ่านพระสูตรหรือพระอภิธรรม ขอให้คลิกที่อ้างอิงได้เลย ผมวางลิงค์ไว้ให้แล้ว

   ปฏิสัมภิทา 4 (ปัญญาแตกฉาน)
   1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล)
   2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้)
   3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้)
   4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์)

อ้างอิง :-
องฺ.จตุกฺก. 21/172/216
ขุ.ปฏิ. 31/268/175
อภิ.วิ. 35/784/400.



ask1 ans1 ask1 ans1

ยังมีต่อ..โปรดติดตาม.......
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ปัจจุบันมี "ผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทา" อยู่หรือไม่.?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 12:57:56 pm »



ในยุคปัจจุบันยังมีผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทาหรือไม่.?

ถามโดย คุณ kchat : ในยุคปัจจุบันยังมีผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทาหรือไม่ มีกล่าวถึงในพระไตรปิฎกหรือไม่ อย่างที่ได้ทรงแสดงไว้ว่า ในยุคพันปีที่สอง ยังมีพระอรหันต์ที่ไม่มีปฏิสัมภิทา สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลสามารถที่จะได้ปฏิสัมภิทาในยุคนี้จะเป็นไปได้หรือไม่

ตอบโดย คุณ study : ปฏิสัมภิทา คือ ความรู้แตกฉานในธรรม ๔ อย่างได้แก่ ในเหตุ ๑ ในผล ๑ ในภาษา ๑ ในปฏิภาณ ๑ ผู้ที่ถึงพร้อมบริบูรณ์จริงๆ ต้องเป็นผู้ที่ได้สะสมปัญญามามาก เช่น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระมหาสาวก ๘๐ รูปในสมัยครั้งพุทธกาล เป็นต้น และในอรรถกถาท่านกล่าวว่า พระอริยบุคคลทั้งปวงมีปฏิสัมภิทา แต่มีระดับแตกต่างกันตามปัญญา ส่วนปุถุชนไม่มีปฏิสัมภิทา โปรดอ่านข้อความโดยตรงจากอรรถกถา

ตอบโดย คุณ study : พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 12
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
.ทางคืออุบายเป็นเครื่องบรรลุปฏิสัมภิทา(ปฎิสัมภิทามรรค)

ตอบโดย คุณ prapan : ปฏิสัมภิทา มี ๔ คือ
     ๑. อรรถปฏิสัมภิทา    ปัญญาแตกฉานในอรรถ,               
     ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา    ปัญญาแตกฉานในธรรม,                 
     ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา    ปัญญาแตกฉานในนิรุตติ,
     ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ.
ผมคิดว่าในพ.ศ. 2549 นี้ไม่มีแล้วครับ ในโลกมนุษย์นี้  แต่ถ้าเป็นพรหมโลกที่ มีพระอรหันต์สำเร็จแล้วแต่ยังไม่นิพพาน ก็อาจมีนะครับ เพราะว่าพรหมโลกอายุยืนยาวมาก หากท่านที่เป็นอรหันต์แต่ยังไม่นิพพานน่าจะยังอยู่บนนั้น อาจมีที่มีปฏิสัมภิทา


ตอบโดย คุณ wannee.s : พระมหาโกฎฐิตเถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้บรรลุปฎิสัมภิทา
    ขอให้อ่าน ประวัติพระมหาโกฏฐิตเถระ ในอรรถกถาสูตรที่ ๑๐
    พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439
    เชิญคลิกได้ที่นี่ http://www.tripitaka91.com/91book/book32/401_450.htm

    หรืออีกที่หนึ่ง ที่เว็บ http://www.84000.org/
    พระมหาโกฏฐิตเถระ เอตทัคคะในทางผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔
    เชิญคลิกที่นี่ http://www.84000.org/one/1/39.html


 


ตอบโดย คุณ werayut.s : สวัสดีครับคุณ Kchat,
    ตามที่คุณ Kchat ถามว่าในยุคพันปีที่สอง ยังมีพระอรหันต์ที่มีปฏิสัมภิทาหรือไม่ ตามความเห็นของผมจากที่ได้อ่านในพระสูตรอังคุตรนิกาย เอกนิบาตเล่ม 1 ภาค 1 พระอรหันต์น่าจะมีอยู่ในยุค 1000 ปีแรก หลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานเท่านั้นนะครับ

    จากข้อความที่ท่านกล่าว พอจะสรุปย่อๆ ดังนี้
    1. ในยุคแรก เป็นการอันตรธานของอธิคม คือ เริ่มเสื่อมตั้งแต่ปฏิสัมภิทาก่อน แล้วหมดผู้ที่มีอภิญญาต่อมาจึงถึงการเสื่อมของวิชชา 3 จนกระทั่งไม่มีพระอรหันต์  พระอนาคามี พระสกทาทาคามี เหลือแต่พระโสดาบัน และเมื่อพระโสดาบันองค์สุดท้ายสิ้นชีวิต ท่านเรียกว่าอันตรธานแห่งอธิคม
    2. ในยุคที่ 2 ท่านเรียกว่า ปฏิปัตติอันตรธาน คือ พระภิกษุไม่สามารถทำให้ฌาน วิปัสสนา มรรค ผล นิพพานบังเกิดได้ จึงพากันรักษาเพียงปาริสุทธิศีล จนในตอนท้ายๆของยุค รักษาได้เพียงศีลปาราชิกเท่านั้น เมื่อภิกษุองค์สุดท้าย ที่ยังรักษาศีล อยู่ได้เสียชีวิตถือว่าหมดยยุคของ ปฏิปัตติอันตรธาน
    3. ในยุคที่ 3 ท่านเรียกว่าปริยัตติอันตรธาน คือ ยังมีบาลีและอรรถกถาอยู่ แต่ผู้คนศึกษาให้เข้าใจน้อยลง   ไม่สงเคราะห์พระภิกษุ ไม่เข้าใจในอรรถ จำได้แต่บาลี ต่อมาเริ่มลืมบาลี พระอภิธรรมถูกลืมก่อน เหลือพระสูตรน้อยลงจนเหลือแต่เรื่องราวชาดกเท่านั้น จนกระทั่งเหลือคาถา 4 บทสุดท้าย แล้วก็สิ้นสุดยุค ปริยัติติอันตรธาน
    4. ในยุคที่ 4 ท่านเรียกว่า ลิงคอัตรธาน หรืออันตรธานแห่งเพศ คือ เป็นยุคสมัยที่ไม่มีผู้ใดเข้าใจธรรมแล้ว  แต่ยังมีภิกษุที่ถือบาตรและภาชนะเที่ยวไป ไม่มีการนุ่งห่มจีวรให้ถูกต้อง นานๆ เข้าพระภิกษุเหล่านี้ก็ตัดจีวรให้สั้นเข้าเหมือนชาวบ้าน และต่อมาก็ใช้ผ้ากาสายะผูกเข้าที่ข้อมือ หรือมัดไว้ที่ผมเป็นเครื่องหมายว่าเป็นภิกษุ พากันมีลูกเมียทำการงานเหมือนชาวบ้าน จนกระทั่งไม่เห็นประโยชน์ของการทำเครื่องหมายแห่งเพศบรรพชิต โยนผ้าทิ้งเสียเรียกว่า สิ้นยุคของ ลิงคอันตรธาน
    5. ยุคสุดท้ายที่พระพุทธศาสนาจะอยู่ในโลกนี้ ท่านเรียกว่า ธาตุอันตรธาน ท่านอธิบายว่าเมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ที่โพธิบัลลังก์ เรียกว่า กิเลสปรินิพพาน เมื่อพระพุทธองค์ดับขันธ์ที่ กรุงกุสินารา ท่านเรียกว่า ขันธ์ปรินิพพาน
    ต่อมาเมื่อศาสนาเสื่อมลงจนใกล้ครบ 5,000 ปี หลังจากนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับการสักการะ ด้วยกำลังอธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็เคลื่อนย้ายไปอยู่ในที่ๆ มีการสักการะ แล้วไปรวมอยู่ที่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว
    จากนั้นจะแสดงปาฏิหาริย์ เรียกว่า ธาตุปรินิพพาน มีเทวดาในหมื่นจักรวาลมาประชุมกันหมด มีเปลวเพลิงที่สรีรธาตุ พลุ่งไปถึงพรหมโลก หมู่เทพยดาพากันมาสักการะ พระสรีรธาตุก็อันตรธานไป เป็นอันสิ้นยุคพระศาสนา


     :96: :96: :96: :96:

    มาถึงตอนนี้เราคงพอทราบแล้วว่าเราอยู่ในกาลสมัยใด โลกหมดยุคผู้มีปัญญา ขั้นพระอรหันต์หรือยัง การสำเร็จและเป็นผู้มีปฎิสัมภิทาคงจะมีอยู่ในคัมภีร์เพื่อศึกษาเท่านั้น แล้วคงไม่ต้องสงสัยว่าทำไมจึงมีผู้สนใจคำสอนตามพระไตรปิฎกน้อยเหลือเกิน           
     อนุโมทนาครับ


ขอขอบคุณที่มา เว็บบ้านธัมมะ
กระดานสนทนา กระทู้สนทนาธรรม 2549
หัวข้อ "ในยุคปัจจุบันยังมีผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทาหรือไม่"
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/1050



ans1 ans1 ans1 ans1

ยังมีต่อ...โปรดติดตาม.....
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2015, 01:08:42 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2015, 01:55:17 pm »
 st11 st12 st12 gd1

 เรื่องนี้ ยอดเยี่ยม ถ้าได้ฟังพระอาจารย์ ในสถานี ซึ่งนานมากแล้ว ผมได้ฟังแล้ว รู้สึกไม่อยากเกิดอีกต่อไปเลย

  :13: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
บุคคลต่ำกว่าอรหันต์มี "ปฏิสัมภิทา" ได้หรือไม่.?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2015, 07:47:40 am »


ปฏิสัมภิทา ๔ มีในบุคคลที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ไหม.?

ถามโดย คุณ natre : ในพระธรรมบทหลายแห่งกล่าวไว้  มีสาวกหลายท่านสำเร็จพระอรหันต์พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔  ผมสงสัยว่า ปฏิสัมภืทา ๔ มีในบุคคลที่ตํ่ากว่าพระอรหันต์ได้ไหม หากมีจะรู้ได้อย่างไร มีอะไรพิสูจน์ครับ 

ตอบโดย คุณ paderm : ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ปฏิสัมภิทา คือ ความรู้แตกฉานในธรรม ๔ อย่าง ได้แก่  ในเหตุ ๑ ในผล ๑ ในภาษา ๑ ในปฏิภาณ ๑ ซึ่งปุถุชนไม่มีปฏิสัมภิทา แต่พระอริยบุคคลเท่านั้นที่มีปฏิสัมภิทา

     พระอริยบุคคลทุกขั้น มีปฏิสัมภิทาญาณ แม้พระโสดาบันก็มีครับ รวมทั้งพระอรหันต์สุกขวิปัสสก แต่ไม่บริบูรณ์เท่ากับพระอรหันต์ที่เป็นมหาสาวก สำหรับพระมหาสาวกทุกท่านมีปฏิสัมภิทาต่างกันได้ คือ มีปัญญาแตกฉานตามการสะสม เช่น ท่านพระสารีบุตรย่อมแตกฉานมากกว่ามหาสาวกท่านอื่นๆครับ

 
     ดังนั้น พระอริยบุคคลทุกขั้นมีปัญญาแตกฉานที่เป็นปฏิสัมภิทา แต่แตกต่างกันไป มีมากมีน้อย ผู้ที่มีมากก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีปฏิสัมภิทา 4 นั่นเองครับ ซึ่งพระอรหันต์ที่เป็นสุกขวิปัสสกดับกิเลสอย่างเดียวแต่ไม่ได้มีฤทธิ์ แต่ท่านก็ต้องอบรมวิปัสสนาจนถึงขนาดดับกิเลสได้ ดังนั้นท่านก็ต้องมีปัญญา แตกฉานบ้าง ในธรรมในอรรถบ้างครับ
     และแม้พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ท่านก็ต้องประจักษ์ความจริงของ สภาพธรรม ดับกิเลสได้บางส่วน และประจักษ์พระนิพพานด้วย เพราะฉะนั้นท่านก็มี ปฏิสัมภิทา ความแตกฉาน ในด้านต่างๆตามสมควร ดังเช่น พระอานนท์ เมื่อยังเป็นพระโสดาบัน ท่านก็เป็นผู้เลิศใน 5 สถาน และมีความแตกฉานในพระธรรมมาก ก็เป็นผู้มีปฏิสัมภิทาเช่นกัน แต่ตามสมควรกับกับความเป็นพระโสดาบันครับ

 
   ดังข้อความในพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20
     "อันธรรมดาว่า การเรียนพระพุทธพจน์แม้มากมาย แล้วบรรลุปฏิสัมภิทา ย่อมไม่มีแก่ปุถุชน, แต่พระอริยสาวกที่จะได้ชื่อว่าไม่บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมไม่มีเลย."

     :96: :96: :96: :96:

     อ่านพระไตรปิฎก พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 20 ได้ที่
     http://www.dhammahome.com/tipitaka/topic/68

     เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ ครับ
     ในยุคปัจจุบันยังมีผู้ที่ได้ปฏิสัมภิทาหรือไม่
     ทางคืออุบายเป็นเครื่องบรรลุปฏิสัมภิทา(ปฎิสัมภิทามรรค)

 


ถามโดย คุณนิรมิต : ขออนุญาติกราบเรียนถามเพิ่มเติมครับ แล้วอย่างกัลยาณปุถุชน ผู้สดับคำสอนของพระพุทธองค์ แล้วมีปัญญาเพิ่มขึ้น ทีละนิดทีละหน่อย จนเข้าใจธรรม ก็ไม่ชื่อว่ามีปฏิสัมภิทา เพราะเหตุไรครับ ขอขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

ตอบโดย คุณ paderm : เรียนคุณนิรมิต ปฏิสัมภิทาเป็นเรื่องของปัญญาเป็นสำคัญ โดยเฉพาะปัญญาที่คมกล้า ซึ่งปัญญามีสองอย่าง โดยนัยกว้างคือโลกียปัญญา คือ ปัญญาที่ยังเป็นไปในวัฏฏะ และโลกุตตรปัญญาที่เป็นปัญญาที่ประจักษ์พระนิพพานถึงการดับกิเลส เพราะฉะนั้นการจะบรรลุเป็นพระอริยบุคคล กว่าจะถึงตรงนั้น หากได้ศึกษาอย่างละเอียด จะต้องผ่านวิปัสนาญาณ 16 ขั้น มีปัญญาที่คมกล้า ประจักษสภาพธรรม จนในที่สุด  ถึงมรรคจิต ผลจิต
    ปัญญามีกำลังเพราะเป็นโลกุตตรปัญญา ซึ่งจะต้องผ่านอริยสัจ 4 วน 3 รอบ คือ สัจจญาณ กิจญาณ และกตญาณ จนถึงการดับกิเลส เพราะเหตุนี้ ท่านที่มีปัญญา ระดับโลกุตตระผ่านอริยสัจ ทำกิจ วน 3 รอบ จึงเป็นผู้มีปัญญา แตกฉานในตัวของสภาพธรรมอย่างแท้จริง แต่ปุถุชนยังไม่ได้ผ่าน อริยสัจทำกิจ วน 3 รอบ จึงไม่ได้ปฏิสัมภิทา และไม่มีปัญญาถึงระดับโลกุตตระครับ
    ปุถุชน จึงไม่มีปฏิสัมภิทา แต่เป็นเพียงพหูสูตครับ ขออนุโมทนา


ขอบคุณที่มา : เว็บบ้านธัมมะ
กระดานสนทนา กระทู้สนทนาธรรม 2555
หัวข้อ "ปฏิสัมภิทา ๔ มีในบุคคลที่ต่ำกว่าพระอรหันต์ไหม.?"
http://www.dhammahome.com/webboard/topic/22120
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 07, 2015, 07:55:53 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ปฏิสัมภิทา ๔ เนื่องด้วยพระสารีบุตร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: พฤษภาคม 16, 2015, 10:23:02 am »


ปฏิสัมภิทา ๔ เนื่องด้วยพระสารีบุตร

ข้อธรรมเรื่องปฏิสัมภิทา ๔ ที่แสดงไว้ใน "พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม" ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) นั้น ท่านเจ้าคุณปยุต ได้ระบุแหล่งอ้างอิงไว้ ๓ ที่ด้วยกัน คือ
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
    - พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์

    เมื่อเข้าไปดูในรายละเอียด ได้ข้อสังเกตว่า ข้อธรรมทั้งสามเล่ม ต่างก็เกี่ยวพันกับพระสารีบุตรทั้งสิ้น

     ask1 ans1 ask1 ans1

    เล่มแรก "พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต"
    พระสูตรนี้เป็นภาษิตของพระสารีบุตรล้วนๆ โดยพระสารีบุตรบอกภิกษุทั้งหลายมีนัยสำคัญว่า "เราบวชได้กึ่งเดือน ได้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ และ หากเราไม่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ พระพุทธเจ้าจะไม่ให้บันลือสีหนาท ต่อหน้าพระพักตร์"
    เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า พระสารีบุตรได้บรรลุอรหันต์หลังจากบวชได้ ๑๕ วัน เมื่อดูพระสูตรนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า พระสารีบุตรบรรลุอรหันต์ พร้อมกับการได้ปฏิสัมภิทา ๔
    ถามว่า การได้ปฏิสัมภิทา ๔ ต้องได้พร้อมการบรรลุอรหันต์หรือไม่.?
    หรืออีกนัยหนึ่ง อรหันต์เท่านั้นที่จะมีปฏิสัมภิทา ๔ ใช่หรือไม่.?
   
    อีกอย่าง พระพุทธเจ้าตรัสยกย่องพระอานนท์เป็น เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก ในขณะที่พระอานนท์เป็นเพียงโสดาบันเท่านั้น
    คำว่า "พหูสูตร" สัมพันธ์กับปฏิสัมภิทา ๔ อย่างไร.?
   
    ปัญหาเหล่านี้นี้จะคุยกันในกระทู้ถัดไป


    เล่มสอง "พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค"
    พระสูตรเล่มนี้เป็นภาษิตของพระสารีบุตรทั้งหมด เป็นการอธิบายปฏิสัมภิทาญาณโดยพิสดาร


    เล่มสาม "พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์"
    พระอภิธรรมนั้นพระพุทธองค์ทรงเทศนาแก่พระมารดาที่ดาวดึงษ์ และนำมาถ่ายทอดให้พระสารีบุตรเป็นองค์แรก ต่อมาศิษย์กรรมฐานในสายพระสารีบุตร ได้ทรงจำพุทธพจน์ในส่วนของพระอภิธรรมสืบต่อๆกันมา จวบจนถึงปัจจุบัน


     :96: :96: :96: :96:

    อนึ่งเป็นที่เชื่อกันว่า อสีติสาวก ๘๐ องค์ เป็นอรหันต์ที่ได้ปฏิสัมภิทา ๔ ทั้งสิ้น และแน่นอนทุกองค์ต้องบรรลุอรหันต์พร้อมกับการได้ปฏิสัมภิทา ๔
    หากท่านใดสงสัยว่า อสีติสาวกมีใครบ้าง ก็ต้องบอกว่า แบ่งเป็นเอตทัคคะ ๔๑ องค์ อีก ๓๙ องค์เป็นภิกษุที่มีชื่อเสียงและบทบามสำคัญปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก เช่น พระอัสสชิ พระยสกุลบุตร พระควัมปติ เป็นต้น



     ขอคุยเท่านี้ก่อนนะครับ ยังไม่จบ โปรดติดตาม........

     :welcome: :49: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด


"พระสร้อย" ได้ปฏิสัมภิทาญาณ รู้หลายภาษา โดยไม่ได้เรียนมาก่อน

    อัชฌาสัยของท่านผู้มีความต้องการในความรู้พิเศษ ที่มีความรู้รอบตัวยิ่งกว่าท่านผู้ทรงอภิญญา ๖ เรียกว่า อัชฌาสัยของท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโต

    ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ แปลว่ามีความรู้พร้อม คือท่านทรงคุณธรรมพิเศษกว่า ท่านเตวิชโช ฉฬภิญโญหลายประการ เช่น


      ๑. มีความสามารถทรงความรู้พร้อม ไม่บกพร่องในหัวข้อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้โดยครบถ้วน แม้ท่านจะย่างเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียว ทั้งๆ ที่ไม่เคยศึกษา คำสอนมาก่อนเลย ตามนัยที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่มาในพระไตรปิฎกว่า มีมากท่านที่มีความเลื่อมใสในสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอฟังเทศน์จบ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ชั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านทรงพระไตรปิฏก คือเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติครบถ้วนทุกประการได้ทันท่วงที
      ๒. มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้อย่างถูกต้อง
      ๓. ย่อความในคำสอนที่พิสดารให้สั้นเข้า โดยไม่เสียใจความ
      ๔. สามารถเข้าใจ และพูดภาษาต่างๆ ได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษามนุษย์หรือภาษาสัตว์

         
      ตามข้อความในข้อ ๔ นี้ เคยพบพระองค์หนึ่งในสมัยปัจจุบันนี้ คือ พ.ศ. ๒๕๐๔ - ๒๕๐๕ ต่อกัน พระรูปนั้นมีชื่อว่า "พระสร้อย" ท่านบอกว่า ท่านเป็นชาวจังหวัดสระบุรี ไม่เคยเรียนหนังสือมาก่อนเลย แม้หนังสือไทยนี้ ปกติท่านก็อ่านไม่ออก

      ท่านว่าเมื่อท่านอายุได้ ๗ ปี มีพระในถ้ำเขตสระบุรีท่านหนึ่ง ไปเยี่ยมโยมท่านที่บ้าน ตัวท่านเองเมื่อเห็นพระรูปนั้นเข้าท่านก็เกิดความรักขึ้นมา เมื่อพระรูปนั้นจะกลับถ้ำ ได้ออกปากชวนท่านไปอยู่ด้วย ท่านก็ขออนุญาตโยมหญิง - ชายจะไปอยู่กับพระรูปนั้น โยมทั้งสองก็อนุญาตด้วยความเต็มใจ

      ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อไปอยู่กับพระรูปนั้นก็ไม่มีโอกาสได้เรียนหนังสือ เพราะในถ้ำนั้นมีพระอยู่ ๒-๓ รูป ท่านบิณฑบาตกลับมาแล้ว ท่านฉันจังหันเสร็จ ต่างก็บูชาพระแล้วนั่งภาวนากันตลอดวันตลอดคืน ไม่ใคร่มีเวลาพูดคุยกัน ท่านก็สอนให้ท่านอาจารย์สร้อยภาวนาด้วย ทำอยู่อย่างนั้นจนครบบวช พระที่ท่านพาไปก็พาออกมาบวชที่บ้าน บวชแล้วก็พากลับมาอยู่ถ้ำ นั่งภาวนาตามเดิม





บิณฑบาตรกับต้นมะฮอกกานี

    ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๓ - ๒๕๐๔ ท่านป่วย ได้เดินธุดงค์มาปักกลดอยู่ที่ บางกะปิ พระนคร ใครจะนิมนต์ท่านเข้าไปในชายคาบ้านท่านไม่ยอมเข้า ต่อมาพลเรือตรีสนิทจำนามสกุลไม่ได้ เจ้ากรมแพทย์ทหารเรือไปพบเข้ามีความเลื่อมใส นิมนต์ให้มารักษาตัวที่กรมแพทย์ทหารเรือ ให้พักอยู่ที่ตึก ๑ เป็นตึกคนไข้พิเศษ

      ปฏิปทาของท่านอาจารย์สร้อยที่มาอยู่ที่กรมแพทย์ทหารเรือก็คือ ตอนเช้าท่านจะต้องออกบิณฑบาตทุกวัน ท่านไม่ได้ไปไกล ออกจากตึก ๑ ไปที่ประตูกรมแพทย์ฯ ที่ตรงนั้นมีต้นมะฮอกกานีอยู่ต้นหนึ่ง เป็นต้นไม้ มีพุ่มไสว สาขาใหญ่มาก ท่านเอาบาตรของท่านไปแขวนที่กิ่งมะฮอกกานี แล้วท่านก็ยืนหลับตาอยู่สักครู่ ไม่เกิน ๑๕ นาที ท่านก็ลืมตาขึ้นแล้ว เอาบาตมา เดินกลับเข้าห้องพักคนป่วย

      ที่ท่านไปยืนอยู่นั้นเป็นทางผ่านเข้าออกของคนไปมาเป็นปกติ
      ไม่มีขาดระยะคนเดินผ่าน ทุกคนเห็นท่านยืนเฉยๆ ไม่เห็นใครเอาอะไรมาใส่ให้
      แต่ทุกครั้งที่ท่านเอาบาตกลับมา จะต้องมีข้าวสุกสีเหลืองน้อยๆ 
      และดอกไม้แปลกๆ ที่ไม่เคยเห็นในภพนี้ติดมาด้วย ๒-๓ ดอกทุกครั้ง
      สร้างความแปลกใจแก่ผู้พบเห็นเป็นประจำ


      บาตรที่ท่านจะเอาไปแขวนนั้น นายทหารเป็นคนจัดให้ นายทหารผู้นั้นยืนยันว่า ผมตรวจและทำความสะอาดทุกวัน ผมรับรองว่า บาตรว่างไม่มีอะไรจริงๆ เมื่อท่านเอาบาตรไปแขวนก็อยู่ในสายตาของพวกผมเพราะไปไม่ไกลห่างจากตึก ๑ ประมาณไม่ถึง ๑๐ เมตร และติดกับยามประตูกรมแพทย์ หมายถึงที่ท่านไปยืนเอาบาตรแขวนต้นไม้

      แต่แปลกที่พวกเราไม่เห็นว่าใครเอาของมาใส่เลย ทุกครั้งที่ท่านเอาบาตรมาส่งให้กลับมีข้าวและดอกไม้ทุกวัน ปกติท่านสอนเตือนให้คณะนายทหารละชั่วประพฤติดีทุกวัน ทำเอานายทหารเลิกสุรายาเมาไปหลายคน

 



รู้ภาษาต่างประเทศ

    วันหนึ่งผู้เขียนได้ไปที่กรมแพทย์ทหารเรือ พอไปถึงพวกนายทหารก็เล่าให้ฟังแล้วคิดในใจว่า ท่านผู้นี้อาจจะไม่ใช่ปุถุชนคนธรรมดา ประเภทไม่เป็นเรื่องเป็นราวอย่างผู้เขียน คิดว่าอย่างน้อยท่าน อาจจะได้ฌานโลกีย์ อย่างสูงอาจเป็นพระอริยะก็ได้ ที่คิดอย่างนั้นไม่ใช่หมายความว่าผู้เขียนมีฌานพิเศษ เป็นเครื่องรู้ ความจริงไม่มีอะไรนอกจากสนใจและสงสัยเท่านั้น

     จึงคุยกับบรรดานายทหารว่าเอาอย่างนี้ซิ  เรามาลองท่านดูสักวิธีหนึ่ง คือลองพูดภาษาต่างๆ กับท่าน ถ้าท่านรู้เรื่องและพูดได้ทุกภาษาแล้ว ฉันคิดว่าพระองค์นี้เป็นพระอริยะขั้นปฏิสัมภิทาญาณ เพราะท่านผู้ได้ปฏิสัมภิทาญาณนั้นต้องเป็นพระอรหันต์ก่อน คุณสมบัติปฏิสัมภิทาญาณจึงปรากฏ ไม่เหมือนเตวิชโชและฉฬภิญโญทั้งสองอย่างนี้ได้ตั้งแต่ฌานโลกีย์ จึงรวบรวมนายทหารที่พูดภาษาต่างประเทศได้ ๖ ภาษา คือ
          ๑. ภาษาอังกฤษ
          ๒. ภาษาฝรั่งเศส
          ๓. ภาษาเยอรมัน
          ๔. ภาษาสเปน
          ๕. ภาษาญี่ปุ่น
          ๖. ภาษามลายู


     ได้ส่งนายทหารที่ชำนาญภาษานั้น ๆ ไปพูดกับท่าน ท่านก็พูดด้วยได้ทุกภาษา
      และพูดได้อย่างเขาเหล่านั้น เล่นเอานายทหารชุดนั้นงงไปตาม ๆ กัน

    เมื่อท่านถูกถามว่าท่านเรียนภาษาต่าง ๆ มาจากไหน ?
      ท่านตอบว่า ท่านไม่เคยเรียนมาก่อนเลย เห็นเขาพูดมาก็มีความเข้าใจ
      และพูดได้ตามต้องการ ท่านว่ามีความรู้สึกเช่นเดียวกับพูดภาษาไทย

 
      เมื่อพบเข้าอย่างนี้ทำให้คิดถึงตำรา คือ พระไตรปิฎก ว่าท่านผู้นี้อาจเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิญาณตามนัยที่ท่านอธิบายไว้ก็ได้  แต่ท่านจะเป็นพระอรหันต์หรือไม่ ผู้เขียนไม่รับรอง

      แต่ก็ต้องมานั่งคิดนอนตรองค้นคว้าหาหลักฐานเป็นการใหญ่ แต่ละเล่มท่านก็เขียนว่า ท่านที่จะได้ปฏิสัมภิทาญาณมีการรู้ภาษาต่าง ๆ เป็นเครื่องสังเกตต้องเป็นพระอรหันต์ก่อน ท่านอาจารย์สร้อยท่านรู้ภาษาอย่างไม่จำกัดได้ ท่านจะเป็นพระอรหันต์ไหมหนอ โปรดช่วยกันค้นคว้าหาเหตุผล มายืนยันด้วย ใครพบเหตุผลหลักฐานก่อนกันก็ควรบอกกันต่อๆไป เพื่อความเข้าใจถูกในผลของการปฏิบัติสมณธรรม


จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
ที่มา www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=230
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 20, 2015, 07:52:26 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2015, 08:45:00 pm »


ในการกล่าวอ้างถึง "ปฏิสัมภิทา" นั้น ข้อที่ว่าด้วย "นิรุกติญาณ" กล่าวคือ การล่วงรู้ทั่วถ้วนในภาษาศาสตร์ของมนุษย์ และกระทั่งสัตว์ เป็นข้อกล่าวในความปรารถนาหนึ่งของข้าพเจ้าอย่างยิ่ง แม้หากจักเป็นผู้ประเสริฐในมรรคผลประการใดแล้วสู่กระแสแห่งการก้าวล่วงพ้นสังสารวัฏฏ์ก็ขอถึงซึ่ง "นิรุกติญาณ" นี้ เป็นสำคัญ มีแก่ตนให้จงได้ ความปรารถนาในแต่ละท่านนั้นควรมีและมาดว่าอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่จริตวาสนา เมื่อทุกท่านได้อ่านมีบ้างใคร บอกกล่าวกันบ้างก็ดี ว่าปรารถนาหรือชื่นชอบในญาณใดให้บังเกิดมีแก่ตน : สวัสดี!
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2015, 05:33:50 am โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: แล้วทำอย่างไรจะได้ล่ะ....ปฏิสัมภิทัปปัตโต.......เนี่ย
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2015, 09:09:07 pm »


ในการกล่าวอ้างถึง "ปฏิสัมภิทา" นั้น ข้อที่ว่าด้วย "นิรุกติญาณ" กล่าวคือ การล่วงรู้ทั่วถ้วนในภาษาศาสตร์ของมนุษย์ และกระทั่งสัตว์ เป็นข้อกล่าวในความปรารถนาหนึ่งของข้าพเจ้าอย่างยิ่ง แม้หากจักเป็นผู้ประเสริฐในมรรคผลประการใดแล้วสู่กระแสแห่งการก้าวล่วงพ้นสังสารวัฏฏ์ก็ขอถึงซึ่ง "นิรุกติญาณ" นี้ เป็นสำคัญ มีแก่ตนให้จงได้ ความปรารถนาในแต่ละท่านนั้นควรมีและมาดว่าอาจจะแตกต่างกันไปตามแต่จริตวาสนา เมื่อทุกท่านได้อ่านมีบ้างใคร บอกกล่าวกันบ้างก็ดี ว่าปรารถนาหรือชื่นชอบในญาณใดให้บังเกิดมีแก่ตน : สวัสดี!
ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 21, 2015, 05:34:10 am โดย ธุลีธวัช (chai173) »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ปฏิสัมภิทา ๔ ในชั้นอรรกถา กล่าวไว้ว่าอย่างไร.?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 08:34:15 am »




พันปีแรก พระสัทธรรมตั้งอยู่ด้วยอำนาจพระขีณาสพ(อรหันต์) ผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา

(ยกมาแสดงบางส่วน)..ครุธรรมเหล่านี้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อกันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง, เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี เพราะเหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

    แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้
.

    ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน.
    เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย,
    เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้.
    แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนาน ฉะนี้แล.


อ้างอิง :-
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นต้น , ภิกขุนิกขันธกวรรณนา [ว่าด้วยครุธรรม ๘]
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=513

อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ภิกขุนีขันธกะ เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=07&A=6118&Z=6271


         

อธิบาย ปฏิสัมภิทา ๔ โดยพิสดาร

     บัดนี้ พึงทราบปฏิสัมภิทาวิภังค์ในลำดับแห่งสิกขาบทวิภังค์นั้นต่อไป.
     คำว่า ๔ เป็นคำกำหนดจำนวน.
     คำว่า ปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ปัญญาอันแตกฉาน.

     อธิบายว่า ก็เพราะข้างหน้านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
     อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นต้น แปลว่า ญาณ(ปัญญา) ในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา
     ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า มิใช่เป็นการแตกฉานของใครๆ เลย นอกจากเป็นการแตกฉานของญาณ (ปัญญา) เท่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงสงเคราะห์เนื้อความนี้ว่า การแตกฉานของญาณ ๔ นี้ลงในบทว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ดังนี้.
               
     ปฏิสัมภิทาในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.
     อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.
     อธิบายว่า ญาณ (ปัญญา) อันถึงความรู้แตกฉานในอรรถ เพื่อสามารถทำการวิเคราะห์ (แยกแยะ) อรรถชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

     จริงอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรม เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ธรรมชาติต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา.

     ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในการกล่าวซึ่งนิรุตติธรรม เพื่อสามารถกระทำวิเคราะห์นิรุตติ (คือภาษาชนิดต่างๆ) ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

     ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในปฏิภาณ (คือไหวพริบในการโต้ตอบได้ฉับพลันทันที) เพื่อสามารถกระทำการวิเคราะห์ปฏิภาณชนิดต่างๆ ให้แจ่มแจ้งด้วยการพิจารณา ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.





     บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงจำแนกแสดงปฏิสัมภิทาทั้งหลายตามที่ทรงตั้งไว้ จึงตรัสคำว่า อตฺเถ ญาณํ อตฺถปฏิสมฺภิทา เป็นอาทิ (แปลว่า ความรู้แตกฉานในอรรถ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา).

อธิบายคำว่าอัตถะ
     บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า อตฺถ เมื่อว่าโดยสังเขป ได้แก่ ผลของเหตุ (ผลอันเกิดแต่เหตุ).               
     จริงอยู่ ผลของเหตุนั้น พึงเป็นของสงบ (คือปราศจากกิเลส) พึงถึงพึงบรรลุได้ด้วยสามารถแห่งเหตุฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า อัตถะ.
     เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้คือ
         ๑. สภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งอันอาศัยกันเกิดขึ้นเพราะปัจจัย
         ๒. พระนิพพาน
         ๓. อรรถแห่งภาษิต
         ๔. วิบาก
         ๕. กิริยา.
     เมื่อพิจารณาอรรถนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในอรรถนั้นๆ ชื่อว่าอัตถปฏิสัมภิทา.


อธิบายคำว่าธัมมะ
     คำว่า ธมฺม เมื่อว่าโดยสังเขปแล้ว ได้แก่ ปัจจัย.
     จริงอยู่ เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัดแจง ย่อมให้ธรรมนั้นๆ เป็นไปด้วย ให้ถึงด้วย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ธัมมะ แต่เมื่อว่าโดยประเภทแล้ว
     บัณฑิตพึงทราบว่า ได้แก่ธรรม ๕ เหล่านี้ คือ
            ๑. เหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอันยังผลให้เกิดขึ้น
            ๒. อริยมรรค
            ๓. ภาษิต (วาจาที่กล่าวแล้ว)
            ๔. กุศล
            ๕. อกุศล.
     เมื่อพิจารณาธรรมนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในธรรมนั้น ชื่อว่าธัมมปฏิสัมภิทา.





อธิบายคำว่าธัมมนิรุตติ (ภาษาของสภาวะ)
       พึงทราบวินิจฉัยในข้อว่า ญาณในการกล่าวซึ่งธัมมนิรุตติ ดังนี้.
     สภาวนิรุตติ (ภาษาอันเป็นสภาวะ) อันใด ย่อมเป็นไปในอรรถด้วย ในธรรมด้วย เมื่อพิจารณากระทำศัพท์ (เสียง) อันเป็นสภาวนิรุตตินั้นในเพราะการกล่าวอันนั้นอยู่ ญาณอันถึงความรู้แตกฉานในคำพูดอันเป็นสภาวนิรุตตินั้น ชื่อว่านิรุตติปฏิสัมภิทา.
     นิรุตติปฏิสัมภิทานี้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่ามีเสียงเป็นอารมณ์ หาชื่อว่ามีบัญญัติเป็นอารมณ์ไม่.
     ถามว่า เพราะเหตุไร?
     ตอบว่า เพราะฟังเสียงแล้วย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่.
     จริงอยู่ ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น เมื่อมีผู้กล่าวว่า ผสฺโส ดังนี้ ย่อมทราบว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ หรือว่าเมื่อผู้อื่นกล่าวว่า ผสฺสา หรือ ผสฺสํ ดังนี้ ก็ย่อมรู้ว่า นี้ไม่ใช่สภาวนิรุตติ ดังนี้.
     แม้ในเวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแหละ.

     ถามว่า ก็ผู้บรรลุปฏิสัมภิทานั้น ย่อมรู้หรือย่อมไม่รู้ ซึ่งเสียงแห่งพยัญชนะที่เป็นนาม อาขยาตและอุปสรรคอื่นๆ
     ตอบว่า ในกาลใดฟังเสียงเฉพาะหน้า ย่อมรู้ว่า นี้เป็นสภาวนิรุตติ นี้ไม่ใช่ ในกาลนั้นจักรู้ได้แม้ซึ่งคำนั้นแต่ต้น ดังนี้.
     แต่ว่า ข้อนี้มีผู้คัดค้านว่า นี้ไม่ใช่กิจของปฏิสัมภิทา ดังนี้แล้วได้ยกเอาเรื่องพระเถระมากล่าวว่า
     ได้ยินว่า พระเถระชื่อว่าติสสทัตตะ ถือเอาสลากอันเป็นวิการแห่งทองที่โพธิมณฑลแล้วปวารณา (คือหมายความว่าเปิดโอกาส หรืออนุญาตให้ภิกษุขอฟังภาษาต่างๆ ตามที่ต้องการ) แก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า ในบรรดาภาษา ๑๘ อย่าง ข้าพเจ้าจักกล่าวด้วยภาษาไหน ดังนี้
      ก็คำปวารณานั้น พระเถระท่านตั้งอยู่ในการศึกษาจึงได้ปวารณา มิใช่ตั้งอยู่ในปฏิสัมภิทาแล้วกล่าวปวารณา.               
     ด้วยว่า พระเถระนั้น ท่านให้บุคคลบอกแล้วๆ ท่านก็เรียนเอาภาษานั้นๆ เพราะความที่ท่านมีปัญญามาก ถัดจากนั้นมาท่านจึงปวารณาอย่างนี้ เพราะตั้งอยู่แล้วในการศึกษาเล่าเรียน.


     
ภาษามคธเป็นภาษาทั่วไปของสัตวโลก
     ก็แลครั้นท่านกล่าวแล้ว จึงกล่าวคำในที่นี้ต่อไปอีกว่า ธรรมดาว่า สัตว์ทั้งหลายก็ย่อมเรียนภาษา ดังนี้.
     จริงอยู่ มารดาและบิดาให้ลูกน้อยนอนที่เตียงหรือที่ตั้งในเวลาที่ลูกยังเป็นทารก แล้วพูดซึ่งกิจนั้นๆ เด็กทั้งหลายย่อมกำหนดภาษาของมารดาหรือของบิดาว่า คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว คำนี้ผู้นี้กล่าวแล้ว เมื่อกาลผ่านไปๆ พวกเด็กย่อมรู้ภาษาแม้ทั้งหมด.

     มารดาเป็นชาวทมิฬ บิดาเป็นชาวอันธกะ เด็กที่เกิดแต่ชนทั้งสองนั้น ถ้าเขาฟังถ้อยคำของมารดาก่อน เขาจักพูดภาษาทมิฬก่อน ถ้าฟังถ้อยคำของบิดาก่อน เขาจักพูดภาษาชาวอันธกะก่อน.
     แต่เมื่อไม่ได้ฟังถ้อยคำของชนแม้ทั้งสอง ก็จักกล่าว (พูด) ภาษาของชนชาวมคธ.
     ทารกแม้ใดเกิดในป่าใหญ่ไม่มีบ้าน คนอื่นชื่อว่ากล่าวอยู่ไม่มีในป่าใหญ่นั้น ทารกแม้นั้น เมื่อจะยังวาจาให้ตั้งขึ้นตามธรรมดาของตน ก็จักกล่าวภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

     ภาษาของชนชาวมคธเท่านั้นหนาแน่นแล้ว (มากมาย) ในที่ทั้งปวง คือ
           ๑. ในนิรยะ (นรก)
           ๒. ในกำเนิดแห่งสัตว์ดิรัจฉาน
           ๓. ในปิตติวิสัย (กำเนิดเปรต)
           ๔. ในมนุษยโลก
           ๕. ในเทวโลก





เหตุที่พระพุทธพจน์เป็นภาษาของชนชาวมคธ
     ในภาษาของสัตว์ทั้งหลาย ภาษา ๑๘ อย่างนอกจากภาษาของชนชาวมคธ มีภาษาของคนป่า ของชาวอันธกะ ของชาวโยนก ของทมิฬตามที่กล่าวแล้วเป็นต้น ย่อมเปลี่ยนแปลงไป
      ภาษาของชนชาวมคธกล่าวคือ เป็นโวหารของพรหม
      เป็นโวหารของพระอริยะตามความเป็นจริง ภาษานี้ภาษาเดียวเท่านั้นไม่เปลี่ยนแปลง.

      แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อจะทรงยกพระไตรปิฎก คือพระพุทธพจน์ขึ้นสู่แบบแผน ก็ทรงยกขึ้นด้วยภาษาของชนชาวมคธนั่นแหละ.

     ถามว่า เพราะเหตุไร.?
     ตอบว่า ก็เพราะเพื่อจะนำมาซึ่งอรรถ (ประโยชน์) ได้โดยง่าย.
     จริงอยู่ การเข้าถึงคลองกระแสแห่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผน ด้วยภาษาแห่งชนชาวมคธย่อมเป็นการมาอย่างพิสดารแก่ผู้บรรลุปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. คือว่า เมื่อกระแสแห่งพระพุทธพจน์นั้นสักว่าผู้บรรลุปฏิสัมภิทาสืบต่อแล้วนั่นแหละ อรรถย่อมมาปรากฏนับโดยร้อยนัยพันนัย.
     ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่า การบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี.
     พระอริยสาวกผู้ไม่บรรลุปฏิสัมภิทาหามีไม่


อธิบายคำว่าปฏิภาณ
    คำว่า ญาเณสุ ญาณํ (แปลว่า ความรู้ในญาณทั้งหลาย) ได้แก่ เมื่อเธอพิจารณากระทำญาณในที่ทั้งปวงให้เป็นอารมณ์แล้ว ญาณอันถึงความรู้แตกฉาน ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ดังนี้.




อริยบุคคลต่ำกว่าอรหันต์มีปฏิสัมภิทา

     อนึ่ง บัณฑิตพึงทราบว่า ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ เหล่านี้ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ (ภูมิ) ๒ อย่าง และย่อมบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ อย่าง.

     ถามว่า ปฏิสัมภิทา ๔ ย่อมถึงการแยกออกในฐานะ ๒ เป็นไฉน.?
     ตอบว่า ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิ และ อเสกขภูมิ.
     ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น.
     ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือ ของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกาเป็นต้น ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.


      :25: :25: :25: :25:

     ถามว่า ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๕ เป็นไฉน.?
     ตอบว่า ด้วยอธิคมะ ด้วยปริยัติ ด้วยสวนะ ด้วยปริปุจฉา ด้วยปุพพโยคะ.
     ในเหตุ ๕ เหล่านั้น พระอรหัต ชื่อว่าอธิคมะ.
     จริงอยู่ เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
     พระพุทธพจน์ ชื่อว่าปริยัติ.
     จริงอยู่ เมื่อเรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์อยู่ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
     การฟังพระธรรม ชื่อว่าสวนะ.
     จริงอยู่ เมื่อฟังธรรมอยู่โดยเคารพ ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
     อรรถกถา ชื่อว่าปริปุจฉา.
     จริงอยู่ เมื่อกล่าวอยู่ซึ่งอรรถแห่งพระบาลีอันตนเรียนมาแล้ว ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์.
     ความเป็นพระโยคาวจรในกาลก่อนคือ ความที่กรรมฐานอันตนบริหารแล้วโดยนัยแห่งการนำกรรมฐานไปและนำกรรมฐานกลับมา (หรณปัจจาหรณวัตร) ในอดีตภพ ชื่อว่าปุพพโยคะ.
     จริงอยู่ เมื่อหยั่งลงสู่ความเพียรมาแล้วในกาลก่อน ปฏิสัมภิทาทั้งหลายก็ย่อมเป็นธรรมบริสุทธิ์....

     (ยกมาแสดงบางส่วน)


อ้างอิง :-
อรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
อรรถกถาปฏิสัมภิทาวิภังค์ วรรณนาสุตตันตภาชนีย์ 
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=777
 
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕  พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๕. ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์
 http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=35&A=10060&Z=10069
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 22, 2015, 08:55:44 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
อยากได้ "ปฏิสัมภิทาญาณ" ทำอย่างไร.?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 10:55:09 am »


๔. อัชฌาสัยปฏิสัมภิทัปปัตโต

อัชฌาสัยของท่านผู้มีความต้องการในความรู้พิเศษ ที่มีความรู้รอบตัวยิ่งกว่าท่านผู้ทรงอภิญญา ๖ เรียกว่าอัชฌาสัยของท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโต ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ แปลว่ามีความรู้พร้อม คือท่านทรงคุณธรรมพิเศษกว่าท่านเตวิชโช ฉฬภิญโญหลายประการ  เช่น
     ๑. มีความสามารถทรงความรู้พร้อม ไม่บกพร่องในหัวข้อธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้ได้โดยครบถ้วน แม้ท่านจะย่างเข้ามาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพียงวันเดียวทั้งๆ ที่ไม่เคยศึกษาคำสอนมาก่อนเลย ตามนัยที่ปรากฏในพระสูตรต่างๆ ที่มาในพระไตรปิฎกว่า มีมากท่านที่มีความเลื่อมใสในสมเด็จ-พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพอฟังเทศน์จบ ท่านก็ได้บรรลุอรหันต์ชั้นปฏิสัมภิทาญาณ ท่านทรงพระไตรปิฏก คือเข้าใจในข้อวัตรปฏิบัติครบถ้วนทุกประการได้ทันท่วงที
     ๒. มีความฉลาดในการขยายความในธรรมภาษิต ที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้โดยย่อให้พิสดารได้อย่างถูกต้อง
     ๓. ย่อความในคำสอนที่พิสดารให้สั้นเข้า โดยไม่เสียใจความ
     ๔. สามารถเข้าใจ และพูดภาษาต่างๆ ได้ทุกภาษา ไม่ว่าภาษามนุษย์หรือภาษาสัตว์....ฯ....


 ask1 ans1 ask1 ans1 ask1 ans1


ปฏิสัมภิทาญาณปฏิบัติ

ปฏิสัมภิทาญาณ หรือปฏิสัมภิทัปปัตโตนี้ เป็นระดับของท่านผู้ทรงคุณพิเศษครอบงำเตวิชโชและฉฬภิญโญทั้งหมด เพราะเหตุนี้ ท่านผู้ทรงปฏิสัมภิทาญาณนี้จึงต้องปฏิบัติในกสิณทั้งสิบได้ครบถ้วน ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในฉฬภิญโญ เมื่อชำนาญในฉฬภิญโญ คือชำนาญในกสิณแล้ว ท่านเจริญในอรูปฌานอีก ๔ คือ

๑. อากาสานัญจายตนะ
ท่านเพ่งอากาศเป็นอารมณ์ โดยกำหนดหมายจิตคิดไว้เสมอว่า ในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นแท่งทึบ ไม่มีอะไรคงสภาพเป็นก้อนเป็นแท่งอยู่ตลอดกาลสมัย ไม่ช้านานเท่าใดก็ต้องอันตรธานสูญไปคล้ายอากาศ ท่านไม่มีความนิยม ในรูปสังขารเห็นสังขารเป็นโทษ เพราะพิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งหลายเป็นแหล่งของความทุกข์ และความชั่วช้าสารเลว สังขารเต็มไปด้วยความทุกข์อันเกิดจากความอยากไม่มีสิ้นสุด

ความร้อน ความหนาว ความป่วยไข้ ทุกขเวทนาอย่างสาหัสจะพึงมีมาก็เพราะสังขารเป็นปัจจัย ท่านมีความเกลียดชังในสังขารเป็นที่สุด กำหนดจิตคิดละสังขารในชาติต่อๆ ไปไม่ต้องการสังขารอีกถือเป็นอากาศธาตุเป็นอารมณ์ คิดว่าสังขารนี้เรายอมเป็นทาสรับทุกข์ของสังขารเพียงชาตินี้ชาติเดียว ชาติต่อ ๆ ไปเราไม่ต้องการสังขารอีกความต้องการก็คือ หวังความว่างเปล่าจากสังขารต้องการมีสภาพเป็นอากาศเป็นปกติ

การเจริญอรูปกรรมฐานนี้  ทุกอย่างจะต้องยกเอากสิณอย่างใดอย่างหนึ่งมาเป็นอารมณ์ก่อนเสมอ คือเข้าฌานในกสิณนั้นๆ จนถึงฌาน ๔ แล้วเอานิมิตในกสิณนั้นมาเป็นอารมณ์ในอรูปกรรมฐาน เช่น อากาสานัญจายตนะนี้ท่านให้กำหนดนิมิตในรูปกสิณก่อนแล้วพิจารณารูปกสิณนั้นให้เห็นเป็นโทษโดยกำหนดจิตคิดว่าหากเรายังต้องการรูปอยู่เพียงใดความทุกข์อันเนื่องจากรูปย่อมปรากฏแก่เราเสมอไปหากเราไม่มีรูปแล้วไซร้ทุกข์ภัยอันมีรูปเป็นเหตุก็จะไม่ปรากฏแก่เรา แล้วก็เพิกคืออธิษฐานรูปกสิณนั้นให้เป็นอากาศ ยึดถืออากาศเป็นอารมณ์ ทำอย่างนี้จนจิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติชื่อว่าได้กรรมฐานกองนี้


๒. วิญญาณัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะนี้ เป็นอรูปฌานที่สอง ท่านผู้ปฏิบัติมุ่งหมายกำหนดเอาวิญญาณเป็นสำคัญคือ พิจารณาเห็นโทษของรูป และมีความเบื่อหน่ายในรูปตามที่กล่าวมาแล้ว ในอากาสานัญจายตนะท่านกำหนดจิตคิดว่า เราไม่ต้องการมีรูปต่อไปอีก ต้องการแต่วิญญาณอย่างเดียว เพราะรูปเป็นทุกข์ วิญญาณต้องรับทุกข์อย่างสาหัสก็เพราะมีรูปเป็นปัจจัยถ้ารูปไม่มี มีแต่วิญญาณ ทุกข์ก็จะไม่มีมาเบียดเบียน เพราะทุกข์ต่างๆ ต้องมีสังขารจึงเกาะกุมได้ ถ้ามีแต่วิญญาณทุกข์ก็หมดโอกาสจะทรมานได้ แล้วท่านก็จับรูปกสิณเป็นอารมณ์ แล้วกำหนดวิญญาณเป็นสำคัญจนตั้งอารมณ์อยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติ ท่านที่ได้ฌานนี้มีประโยชน์ในการตรวจสอบจิตวิญญาณของตนเอง และของผู้อื่นได้อย่างชัดเจน


๓. อากิญจัญญายตนะ
อากิญจัญญายตนะนี้ ท่านพิจารณาว่าไม่มีอะไรเลย หรือไม่มีอะไรเหลือต่างจากอากาสานัญจายตนะ เพราะ อากาสานัญจายตนะยังมีการกำหนดว่ามีอากาศเป็นอารมณ์ อากิญจัญญายตนะนี้ ท่านไม่กำหนดหมายอะไรเลย ไม่ต้องการอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องการรูปและแม้แต่มีวิญญาณ ด้วยท่านคิดว่าแม้รูปไม่มี วิญญาณยังมีอยู่ วิญญาณก็ยังรับสุขรับทุกข์ทางด้านอารมณ์ เพื่อตัดให้สิ้นไปท่านไม่ต้องการอะไรเลยแม้แต่ความหวังในอารมณ์ ปล่อยอารมณ์จากความหวังใดๆ ทั้งหมดโดยกำหนดจิตจับอารมณ์ในรูปกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งในรูปฌานแล้วต่อไปก็เพิกรูปกสิณนั้นเสียกำหนดจิตให้ว่างเปล่าจากอารมณ์เป็นปกติ จนอารมณ์จิตตั้งอยู่ในฌาน ๔ เป็นปกติ


๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
ฌานนี้ท่านว่า มีวิญญาณก็ไม่ใช่ หรือจะว่าไม่มีวิญญาณก็ไม่ใช่ สร้างความรู้สึกเหมือนคนไม่มีวิญญาณ คือไม่ยอมรับรู้อะไรทั้งหมด ใครจะชม หรือนินทาว่าร้ายเอาของดีของเลวมาให้ หรือนำไป หนาว ร้อน หิว กระหาย เจ็บ ป่วย รวมความว่าเหตุของความทุกข์ความสุขใดๆ ไม่มีความต้องการรับรู้ ทำเสมือนกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น

แบบในสมัยนี้เคยพบ อาจารย์กบ วัดเขาสาริกา องค์หนึ่ง ท่านเจริญแบบนี้ วิญญาณท่านมี ท่านรู้หนาวรู้ร้อนแต่ท่านทำเหมือนไม่รู้ ฝนตกฟ้าร้องท่านก็นอนเฉยลมหนาวพัดมาท่านไม่มีผ้าห่มท่านก็นอนเฉย ใครไปใครมาท่านก็เฉย ทำไม่รู้เสียบางรายไปนอนเฝ้าตั้งสามวันสามคืนท่านไม่ยอมพูดด้วย ถึงเวลาออกมาจากกุฎีท่านก็คว้าฆ้องตีโหม่งๆ ปากก็ร้องว่าทองหนึ่งๆๆๆ แล้วท่านก็นอนของท่านต่อไป คนเลื่อมใสมากถึงกับตั้งสำนักศิษย์หลวงพ่อกบขึ้น เดี๋ยวนี้คณะศิษย์หลวงพ่อกบมากมายสามัคคีกันดีเสียด้วย ทำอะไรก็พร้อมเพรียงกันทำน่าสรรเสริญ

ก่อนที่จะกำหนดจิตคิดว่าไม่มีอะไรเป็นจุดหมายของจิต ท่านก็ต้องยกรูปกสิณ จับนิมิต ในรูปกสิณเป็นอารมณ์ก่อนเหมือนกัน การเจริญในอรูปฌานนี้ ท่านผู้อ่านที่ยังไม่เคยได้รูปฌานในกสิณคงจะคิดว่ายากมาก ความจริงถ้าได้ฌานในรูปกสิณแล้วไม่ยากเลยเพราะอารมณ์สมาธิก็ทรงอยู่ขั้นฌาน ๔ เท่านั้นเอง เพราะช่ำชองมาในกสิณสิบแล้วมาจับทำเข้าจริงๆ ก็จะเข้าถึงจุดภายในสามวันเจ็ดวันเท่านั้น เมื่อทรงอรูปฌานได้ครบถ้วนแล้ว ก็ฝึกเข้าฌานออกฌาน ตั้งแต่กสิณมาแล้วเลยเข้าอรูปฌานตามนัยที่กล่าวมาแล้วในบทว่าด้วยอภิญญาหก


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1

สำหรับอภิญญาหรือญาณในวิชชาสามย่อมใช้ให้เป็นประโยชน์ได้ตั้งแต่ทรงฌานโลกีย์ สำหรับปฏิสัมภิทาญาณคือ คุณพิเศษ ๔ ข้อในปฏิสัมภิทาญาณนี้ จะได้ก็ต่อเมื่อสำเร็จอรหัตตผลแล้ว ในขณะที่ทรงฌานโลกีย์อยู่ คุณพิเศษ ๔ อย่างนั้นยังไม่ปรากฏ ปฏิสัมภิทาญาณแปลกจากเตวิชโชและฉฬภิญโญตรงนี้

***ต้องการทราบแนวเตวิชโชและฉฬภิญโญ คลิกที่นี้เลยครับ
     แนวปฏิบัติสำหรับเตวิชโช
     แนวปฏิบัติสำหรับฉฬภิญโญ


จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพระมหาวีระ ถาวโร(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
ที่มา www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=230
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

drift-999

  • ศิษย์ตรง
  • พอพึ่งพาได้
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 239
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 05:17:10 pm »
กระทู้นี้ มีประโยชน์ ด้วยเนือหา มากครับ เคยติดใจ ได้ยินทางสถานี เรื่อง ปฏิสัมภิทา มาครั้งหนึ่ง วันนี้ได้อ่านแบบเต้ม ๆ แล้ว รู้สึก เห็นความสำคัญ ของ พระปฏิสัมภิทา ในยุคนี้จริง ๆ

  thk56 :25: :25:
บันทึกการเข้า

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2015, 07:54:25 pm »

        ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับ "ปฏิสัมภิทา" นั้น...เราควรรู้อะไรบ้าง.?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2015, 12:08:17 pm »

เกี่ยวกับ "ปฏิสัมภิทา" นั้น...เราควรรู้อะไรบ้าง.?

๑. ความหมายของปฏิสัมภิทา
ปฏิสัมภิทา แปลว่า ปัญญาแตกฉาน มี 4 อย่าง
   1. อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ, ปรีชาแจ้งในความหมาย, เห็นข้อธรรมหรือความย่อ ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถแยกแยะอธิบายขยายออกไปได้โดยพิสดาร เห็นเหตุอย่างหนึ่ง ก็สามารถคิดแยกแยะกระจายเชื่อมโยงต่อออกไปได้จนล่วงรู้ถึงผล)
   2. ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม, ปรีชาแจ้งใจหลัก, เห็นอรรถาธิบายพิสดาร ก็สามารถจับใจความมาตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อได้ เห็นผลอย่างหนึ่ง ก็สามารถสืบสาวกลับไปหาเหตุได้)
   3. นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ, ปรีชาแจ้งในภาษา, รู้ศัพท์ ถ้อยคำบัญญัติ และภาษาต่างๆ เข้าใจใช้คำพูดชี้แจ้งให้ผู้อื่นเข้าใจและเห็นตามได้)
   4. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ, ปรีชาแจ้งในความคิดทันการ, มีไหวพริบ ซึมซาบในความรู้ที่มีอยู่ เอามาเชื่อมโยงเข้าสร้างความคิดและเหตุผลขึ้นใหม่ ใช้ประโยชน์ได้สบเหมาะ เข้ากับกรณีเข้ากับเหตุการณ์)


 ask1 ans1 ask1 ans1

๒. ปฏิสัมภิทาเป็นอภิญญาของพระอริยบุคคล
อภิญญา แปลว่า ความรู้ยิ่ง หมายถึงปัญญาความรู้ที่สูงเหนือกว่าปกติ เป็นความรู้พิเศษที่เกิดขึ้นจากการอบรมจิตเจริญปัญญาหรือบำเพ็ญกรรมฐาน อภิญญาในคำวัด หมายถึง คุณสมบัติพิเศษของพระอริยบุคคลซึ่งเป็นเหตุให้มีอิทธิฤทธิ์ต่างๆ

   หากถามว่า ปุถุชนมีปฏิสัมภิทาหรือไม่.?
   ตอบว่า ปุุถุชนไม่สามารถมีปฏิสัมภิทาได้  มีหลักฐานชัดเจนอยู่ในชั้นอรรถกถา อยู่ในอรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ มีข้อความดังนี้
   "ก็การที่บุคคลท่องแล้วๆ เรียนเอาซึ่งพระพุทธพจน์ที่ยกขึ้นสู่แบบแผนด้วยภาษาอื่นมีอยู่ แต่ชื่อว่า การบรรลุปฏิสัมภิทาของปุถุชน เพราะเรียนเอาพุทธพจน์นั้นแม้มาก ย่อมไม่มี."

   ถามต่อไปว่า ปฏิสัมภิทามีในอริยบุคคลทุกระดับหรือไม่.?
   ตอบว่า ปฏิสัมภิทาสามารถมีได้ในอริยบุคคลทุกระดับ ทั้งที่เป็นบรรพชิตและฆราวาส กล่าวคือ ตั้งแต่ระดับโสดาบันผลขึ้นไป มีหลักฐานแสดงไว้ในอรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ มีข้อความดังนี้
    "ในฐานะ ๒ คือ เสกขภูมิ และ อเสกขภูมิ.
     ในฐานะ ๒ นั้น ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น.
     ปฏิสัมภิทาของผู้ถึงเสกขภูมิ คือ ของพระอานันทเถระ ของจิตตคหบดี ของธัมมิกอุบาสก ของอุบาลีคหบดี ของนางขุชชุตตราอุบาสิกา เป็นต้น
     ปฏิสัมภิทาทั้งหลายย่อมถึงการแยกออกในภูมิทั้งสองเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้."





๓. อริยบุคคลประเภท "อุภโตภาควิมุต" เท่านั้น ที่มีปฏิสัมภิทา
ขอนำคัมภีร์อรรถกถา "พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)" มาแสดงดังนี้


อรหันต์ 4, 5, 60
     1. สุกฺขวิปสฺสโก (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน)
     2. เตวิชฺโช (ผู้ได้วิชชา 3)
     3. ฉฬภิญฺโญ (ผู้ได้อภิญญา 6)
     4. ปฏิสมฺภิทปฺปตฺโต (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา)
     พระอรหันต์ทั้ง 4 ในหมวดนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงประมวลแสดงไว้ในหนังสือธรรมวิภาคปริจเฉทที่ 2 หน้า 41 พึงทราบคำอธิบายตามที่มาเฉพาะของคำนั้นๆ

     แต่คัมภีร์ทั้งหลายนิยมจำแนกเป็น 2 อย่าง เหมือนในหมวดก่อนบ้าง เป็น 5 อย่างบ้าง ที่เป็น 5 คือ
       1. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
       2. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ)
       3. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา 3)
       4. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา 6)
       5. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา 4)

     ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น 2 คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น
     พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน 5 ประเภท)
     พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ทั้งนั้น
     แต่ท่านแยกพระอุภโตภาควิมุตไว้เป็นข้อหนึ่งต่างหาก เพราะพระอุภโตภาควิมุตที่ไม่ได้โลกียวิชชาและโลกียอภิญญา ก็มี
     ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้งสี่ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่า และการบรรลุอรหัต.

     พระอรหันต์ทั้ง 5 นั้น แต่ละประเภท จำแนกโดยวิโมกข์ 3 รวมเป็น 15 จำแนกออกไปอีกโดยปฏิปทา 4 จึงรวมเป็น 60 ความละเอียดในข้อนี้จะไม่แสดงไว้ เพราะจะทำให้ฟั่นเฝือ ผู้ต้องการทราบยิ่งขึ้นไป พึงดูในหนังสือนี้ฉบับใหญ่





๔. อสีติสาวกทั้ง ๘๐ รูป เป็นอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทัปปัตตะ
มีข้อความในอรรถกถา วิภังคปกรณ์ ปฏิสัมภิทาวิภังค์ สุตตันตภาชนีย์ กล่าวไว้ว่า
    "ปฏิสัมภิทาของพระมหาเถระแม้ทั้ง ๘๐ รูปถึงประเภทอเสกขภูมิ คือ ได้แก่ปฏิสัมภิทาของพระสารีบุตรเถระ ของพระมหาโมคคัลลานเถระ ของพระมหากัสสปเถระ ของพระมหากัจจายนเถระ ของพระมหาโกฏฐิตเถระ เป็นต้น."


๕. พระธรรมทูตทั้ง ๙ คณะ ที่พระเจ้าอโศกส่งไปเผยแผ่ เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ หรือไม่.?
ไม่มีหลักฐานที่ระบุชัดเจน หากพิจารณาตามอรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ พออนุมานได้ว่า มีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็น "ปฏิสัมภิทัปปัตตะ" ขอให้อ่านข้อความในอรรถกถาดังกล่าว ตามนี้
    "แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจ พระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา เท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้."


    พระธรรมฑูตของพระเจ้าอโศก ออกเดินทางราว พ.ศ.๒๓๖ นั่นหมายถึง อยู่ในพันปีแรก ซึ่งอรรถกถาระบุไว้ว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ด้วยอำนาจ "พระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา" เท่านั้น.
    ดังนั้น จากข้อความของอรรถกถา จึงชวนให้คิดว่า พระธรรมฑูตของพระเจ้าอโศกเป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ

    อีกประการหนึ่ง การออกเผยแผ่พุทธศาสนาในต่างแดน อุปสรรคที่ต้องเจอ นอกจากคติความเชื่อเดิมแล้ว ยังมีภาษาที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะเท่านั้น ที่จะรู้ภาษาต่างๆได้ อีกทั้งผู้ทำการเผยแผ่จำเป็นต้องมีปัญญาแตกฉานในทุกๆด้าน


 ask1 ask1 ans1 ans1

๖. ปัจจุบันยังมีผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ อยู่หรือไม่.?
หากอ้างตาม อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ ที่ว่า
    "แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา เท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้."


    ปัจจุบันอยู่ในพันปีที่สาม "พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี" หากพิจารณาแบบผิวเผิน พูดได้ว่า ไม่มีผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะในยุคนี้
    แต่หากพิจารณาโดยแยบคายแล้ว ไม่มีข้อความใดที่ระบุชัดเจนว่า ในยุคนี้ไม่มีอรหันต์ประเภทปฏิสัมภิทัปปัตตะ ในอรรถกถาเพียงกล่าวว่า "ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี" เท่านั้น
    อีกทั้งพระอนาคามี สามารถมีปฏิสัมภิทาได้เช่นเดียวกับพระขีณาสพ(อรหันต์)

    หากใครจะถามว่า ยุคนี้มีแต่อนาคามีใช่ไหม.?
    ขอตอบว่า ในปรินิพพานสูตร พระพุทธองค์ตรัสไว้ชัดเจนว่า "ลัทธิใดมีมรรค ๘ ลัทธินั้นไม่ว่างจากอรหันต์" ปัจจุบันมรรคมีองค์ ๘ ยังปรากฏอยู่ครบถ้วน

    จากหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ได้กล่าวถึงพระสร้อยที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณ เรื่องนี้ปรากฏอยู่ใน พ.ศ.๒๕๐๔ -๒๕๐๕ ซึ่งเป็นยุคปัจจุบัน เรื่องนี้จึงยืนยันได้ว่า ยุคนี้ยังมีผู้เป็นปฏิสัมภิทัปปัตตะ


๗. อยากรู้อะไรที่มากกว่านี้ ขอให้ถาม
เพื่อนๆ หากไม่เข้าใจอะไร หรือต้องการรู้ข้อธรรมอื่นๆ ถามมาเลยครับ อย่าได้เกรงใจ





 ans1 ans1 ans1 ans1

เหนื่อยมากครับ....ปัญญาของผมยังไม่แตกฉาน การนำเสนอข้อธรรมต่างๆที่ผ่านมา เป็นเหตุให้ผมรู้สึกอึดอัดอย่างยิ่ง อยากบอกว่า นีคือการคุยเป็นเพื่อนเท่านั้น ไม่ปรารถนาให้เพื่อนๆคิดว่า เป็นการแสดงปัญญา ขอจบกระทู้นี้ไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอบพระคุณที่ติดตาม
 :welcome: :49: :25: :c017:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 23, 2015, 12:23:25 pm โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

amorntip

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 16
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2015, 12:59:28 pm »
อ้างถึง
"แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจ พระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทา เท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้."

  ถ้าอย่างนั้น พระพุทธศ่าสนา ก็มีอายุไม่ถึง 5 พันปี สิคะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องอยู่ที่ตัวแปร พระอริยะ บุคคลท่านทำหน้าที่ อย่างนั้นใช่หรือไม่ คะ

  :88: :25: thk56
บันทึกการเข้า
มาหาความรู้ และคนที่รู้ใจ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: พฤษภาคม 23, 2015, 05:49:19 pm »

         ขออนุโมทนาสาธุ ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #15 เมื่อ: พฤษภาคม 24, 2015, 09:25:05 am »




อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ

(ยกมาแสดงบางส่วน)..ครุธรรมเหล่านี้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรีบบัญญัติเสียก่อน เพื่อกันความละเมิด ในเมื่อยังไม่เกิดเรื่อง, เมื่อครุธรรมเหล่านั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้มิได้ทรงบัญญัติ พระสัทธรรมจะพึงตั้งอยู่ได้ห้าร้อยปี เพราะเหตุที่มาตุคามบวช, แต่เพราะเหตุที่ทรงบัญญัติครุธรรมเหล่านั้นไว้ก่อน พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ได้อีกห้าร้อยปี ข้อนี้ก็ฉันนั้นแล จึงรวมความว่า พระสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดพันปีที่ตรัสทีแรกนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

    แต่คำว่า พันปี นั้น พระองค์ตรัสด้วยอำนาจพระขีณาสพผู้ถึงความแตกฉานในปฏิสัมภิทาเท่านั้น. แต่เมื่อจะตั้งอยู่ยิ่งกว่าพันปีนั้นบ้าง
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระขีณาสพสุกขวิปัสสกะ,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจแห่งพระสกทาคามี,
    จักตั้งอยู่สิ้นพันปี ด้วยอำนาจพระโสดาบัน,
    รวมความว่า พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี ด้วยประการฉะนี้
.

    ฝ่ายพระปริยัติธรรม จักตั้งอยู่เช่นนั้นเหมือนกัน.
    เมื่อปริยัติไม่มี ปฏิเวธจะมีไม่ได้เลย,
    เมื่อปริยัติมี ปฏิเวธจะไม่มี ก็ไม่ได้.
    แต่เมื่อปริยัติ แม้เสื่อมสูญไปแล้ว เพศจะเป็นไปตลอดกาลนาน ฉะนี้แล.


อ้างอิง :-
อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ
เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี เป็นต้น , ภิกขุนิกขันธกวรรณนา [ว่าด้วยครุธรรม ๘]
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=513

อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
ภิกขุนีขันธกะ เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=07&A=6118&Z=6271




อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ 

(ยกมาแสดงบางส่วน)...ด้วยบทว่า มหโต ตฬากสฺส ปฏิกจฺเจว ปาลี นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความนี้ไว้ว่า เหมือนอย่างว่า เมื่อเขาไม่พูนคันกั้นสระใหญ่ น้ำสักหน่อยหนึ่งก็ไม่ขังอยู่เลย แต่เมื่อเขาปิดไว้ครั้งแรกนั่นแหละ น้ำใดที่ไม่ขังอยู่ เพราะไม่ปิดกั้นเป็นปัจจัย น้ำแม้นั้นก็พึงขังอยู่ได้ฉันใด.
    ครุธรรมเหล่านี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราบัญญัติเสียก่อน เพื่อประโยชน์จะไม่ให้นางภิกษุณีจงใจล่วงละเมิด ในเมื่อเรื่องยังไม่เกิดขึ้น เพราะเมื่อเราไม่บัญญัติครุธรรมเหล่านั้น
    เพราะมาตุคามบวช พระสัทธรรมพึงดำรงอยู่ได้ ๕๐๐ ปี
    แต่ครุธรรมที่เราบัญญัติไว้เสียก่อน พระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้อีก ๕๐๐ ปี
    รวมความว่าพระสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้เพียง ๑,๐๐๐ ปี ซึ่งได้ตรัสไว้ก่อนดังกล่าวมาฉะนี้.


    ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น   
    ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก
    ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี
    ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี
    ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบัน
    ปฏิเวธสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้


    แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน. เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้
    แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็ไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้ว เพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล.


อ้างอิง :-
อรรถกถา อังคุตตรนิกาย อัฏฐกนิบาต สันธานวรรคที่ ๑ 
๑.โคตมีสูตร วรรคที่ไม่จัดเข้าในปัณณาสก์ สันธานวรรคที่ ๑               
อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๖ โคตมีสูตรที่ ๑
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=141

อ่าน นื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
วรรคที่ไม่ได้สงเคราะห์เข้าในปัณณาสก์ สันธานวรรคที่ ๑ โคตมีสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=23&A=5753&Z=5887




คำถามจาก คุณ amorntip :  ถ้าอย่างนั้น พระพุทธศ่าสนา ก็มีอายุไม่ถึง 5 พันปี สิคะ ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องอยู่ที่ตัวแปร พระอริยะ บุคคลท่านทำหน้าที่ อย่างนั้นใช่หรือไม่ คะ..?

ตอบ : เนื้อความจากอรรถกถาทั้งสองแห่ง ระบุตรงกันว่า พุทธศาสนาจะอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี
     - อรรถกถา จุลวรรค ภาค ๒ ภิกขุนีขันธกะ ระบุว่า "พระปฏิเวธสัทธรรมจักตั้งอยู่ตลอดห้าพันปี"
     - อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑ ระบุว่าว่า "ปฏิเวธสัทธรรมจักดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี"
     
     อนึ่ง ความหมายที่แท้จริงตามเจตนาอรรถกถาจารย์นั้น ไม่มีใครทราบแน่ชัด จะเห็นได้จากการแปลจากภาษาบาลีมาเป็นภาษาไทยนั้น มีสำนวนที่ต่างกัน เนื่องจากภาษาไทยเป็นภาษาที่ดิ้นได้
     หากต้องการอ่านต้นฉบับ เพื่อต้องการหาคำแปลที่ถูกต้อง จำเป็นต้องรู้ภาษาบาลี ทำความเข้าใจกับบาลีโดยตรง จะเป็นการดีกว่า ภาษาบาลีนั้นเป็นภาษาที่ไม่เปลี่ยนแปลง เป็นภาษากลางของทั้งสามภพภูมิ

     แต่ตอนนี้ จะตอบตามความเชื่อส่วนตัวของผม ผมเชื่อในคำอธิบายของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บทั่วไป ขออธิบายแบบนี้ครับ....


 ask1 ans1 ask1 ans1

ขอตอบคำถามของคุณ amorntip ที่ว่า "ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องอยู่ที่ตัวแปร พระอริยะ บุคคลท่านทำหน้าที่ อย่างนั้นใช่หรือไม่ คะ"


     ตัวแปรในแต่ละพันปีนั้น อยู่ที่ระดับของอริยบุคคล(ทั้งสองเพศ บรรพชิตและฆราวาส)
     ในพันปีแรก จะมากด้วยอรหันต์ปฏิสัมภิทา (อริยบุคคลทุกระดับทุกประเภทมีอยู่ครบ)
     พันปีที่สอง จะมากด้วยอรหันต์สุกขวิปัสสกะ แต่ไม่ได้หมายถึง ไม่มีอรหันต์ปฏิสัมภิทา
     พันปีที่สาม จะมากด้วยอนาคามี แต่ไม่ได้หมายถึง ไม่มีอรหันต์ปฏิสัมภิทาและอรหันต์สุกขวิปัสสกะ
     พันปีที่สี่ จะมากด้วยสกทาคามี แต่ไม่ได้หมายถึง ไม่มีอรหันต์ปฏิสัมภิทา อรหันต์สุกขวิปัสสกะ และอนาคามี
     พันปีที่ห้า จะมากด้วยโสดาบัน แต่ไม่ได้หมายถึง ไม่มีอรหันต์ปฏิสัมภิทา อรหันต์สุกขวิปัสสกะ อนาคามี และสกทาคามี

      ปฏิเวธสัทธรรม จะดำรงอยู่ครบ ๕,๐๐๐ ปี
      แม้ปริยัติธรรม ก็จะดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีเช่นกัน
      เมื่อปริยัติธรรมมีอยู่ ปฏิเวธธรรมก็มีอยู่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ลัทธิใดมีมรรค ๘ ลัทธินั้นไม่ว่างจากอรหันต์"
      ดังนั้น เมื่อสิ้น ๕,๐๐๐ ปี ปริยัติธรรมจะสูญสิ้น ปฏิเวธธรรมก็จะไม่มี เมื่อนั้นพุทธศาสนาจะอันตรธาน


      ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

       :welcome: :49: thk56 :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #16 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 08:33:38 pm »
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
    • ดูรายละเอียด
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #17 เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2015, 09:22:42 pm »
 st12 st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: ว่าด้วย "ปฏิสัมภิทา 4" ภาคพิสดาร
« ตอบกลับ #18 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2018, 02:03:12 pm »
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ