ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปีติธรรม ใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ  (อ่าน 5040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
ปีติธรรม ใน มูลกรรมฐาน กัจจายนะ
« เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2016, 03:22:53 am »
0


แม่บท วิเวกชํ
 วิเวกชนฺติ   เอตฺถ ฯ   
 วิวิตฺติ   วิเวโก  นีวรณวิคโมติ  อตฺโถ วิวิตฺโต   วา   วิเวโก   นีวรณวิวิตฺโต   ฌานสมฺปยตฺตธมฺมราสีติ อตฺโถ ฯ ตสฺมา วิเวกา ตสฺมึ วา วิเวเก ชาตนฺติ วิเวกชํ ฯ

  ความสงัดชื่อว่า วิเวก ในคำนี้ว่า วิเวกชัง หมายความว่า ปราศจากนิวรณ์ หรือ
  สภาวะธรรมใดสงัดแล้ว หมายถึง กองธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน สงัดจากนิวรณ์ ( มีปีติและสุข ) ชื่อว่า วิเวก
 หมายความว่า เกิดแต่วิเวกนั้น หรือ เกิดในวิเวกนั้น

 


แม่บท ปีติสุขํ
       1. ปีติสุขนฺติ   เอตฺถ ฯ  ในคำนี้ว่า ปีติและสุข ( ปีติสุขัง )
       2. ปีนยตีติ  ปีติ ฯ ผู้ภาวนากุศลกรรรมฐาน พึงทราบว่า ธรรมชาติใดชื่อว่าปีติ
             2.1  สา  สมฺปิยายนลกฺขณา  มีความหมายอิ่มเอิบ ยินดี โดยลักษณะ
             2.2  กายจิตฺตปีนนรสา มีความอิ่มเอิบกายและจิต เป็นรส
             2.3  ผรณรสา  วา  มีความซาบซ่านเป็นรส
             2.4  โอทคฺยปจฺจุปฏฺฐานา ฯ  มีความเบิกบานยินดีเป็นที่ปรากฏ
       3.สา  ปเนสา
          3.1 ขุทฺทกาปีติ  ชื่อว่า ปีติเล็กน้อย
          3.2 ขณิกาปีติ   ชื่อว่า ปีติชั่วขณะ
          3.3 โอกฺกนฺติกาปีติ   ชื่อว่า ปีติเป็นพักๆ
          3.4 อุพฺเพงฺคาปีติ   ชื่อว่า ปีติโลดโผน
          3.5 ผรณาปีตีติ ปญฺจวิธา   โหติ ฯ ชื่อว่า ปีติซาบซ่าน เป็นที่สุดของปีติทั้ง 4 ชื่อ   
              3.1.1  ตตฺถ   ขุทฺทกาปีติ   สรีเร   โลมหํสนมตฺตเมว กาตุํ   สกฺโกติ ฯ
                       ขุททกาปีติ ย่อมเกิดขึ้นในกายมี ขนลุกชูชัน
              3.1.2  ขณิกาปีติ  ขเณ  ขเณ  วิชฺชุปฺปาทสทิสา  โหติ ฯ
                       ขณิกาปีติ เกิดขึ้นรวดเร็วดั่งเช่นสายฟ้าทั้งเกิดและดับไป
              3.1.3  โอกฺกนฺติกาปีติ   สมุทฺทตีรํ   วีจิ   วิย  กายํ  โอกฺกมิตฺวา  โอกฺกมิตฺวา ภิชฺชติ ฯ   
                       โอกันติกาปีติ เมื่อหยั่งลงสู่กายก็สลายไป ดุจคลื่นกระทบฝั่ง
              3.1.4  อุพฺเพงฺคาปีติ   พลวตี   โหติ   กายํ   อุทฺธคฺคํ   กตฺวา อากาเส ลงฺฆาปนปฺปมาณปฺปตฺตา
                       อุพเพงคาปีติ มีกำลังอย่างแรง ทำกายให้ลอยได้ในอากาส แล้วแล่นไปในอากาสขณะปีตินั้นอยู่
              3.1.5  ผรณาปีติยา   ปน   อุปฺปนฺนาย  สกลสรีรํ  ธมิตฺวา  ปูริตวตฺถิ  วิย มหตา   อุทโกเฆน   ปกฺขนฺตปพฺพตกุจฺฉิ   วิย  จ  อนุปริปฺผุฏํ  โหติ - ผรณาปีติ เกิดขึ้นแล้ว ทั่วทั้งสรีระนั้นแผ่ซ่านอย่างต่อเนื่อง ( ดุจดั่งสายน้ำตก ที่หล่นกระทบกับกาย ที่อยู่ภายใต้น้ำตกนั้น ) เหมือนภูเขาที่ห้วงน้ำใหญ่พุ่งเข้าประทบ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:04:39 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0



แม่บท - กตมนฺตํ รูปํ รูปายตนํ

   กตมนฺตํ รูปํ รูปายตนํ
   ยํ รูปํ จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย วณฺณนิภา สนิทสฺสนํ สปฺปฏิฆํ นีลํ ปีตกํ โลหิตกํ โอทาตํ กาฬกํ มญฺเชฏฐกํ หริ หริวณฺณํ อมฺพงฺกุรวณฺณํ ทีฆํ รสฺสํ อณณ ถูลํ วฏฏํ ปริมณฺฑลํ จตุรํสํ ฉฬํลํ อฏฐํสํ โสฬสํสํ นินฺนํ ถลํ ฉายา อาตโป อาโลโก อนฺธกาโร อพฺภา มหิกา ธูโม รโช จนฺทมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา สุริยมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา ตารกรูปานํ วณฺณนิภา อาทาสมณฺฑลสฺส วณฺณนิภา มณิสงฺขมุตฺตาเวฬุริยสฺสวณฺณนิภา ชาตรูปรชตสฺส วณฺณนิภา ยํ วา ปนญฺญมฺปิ
   อตฺถิ รูปํ จตุนฺนํ มหาภูตานํ อุปาทาย วณฺณนิภา สนิทสฺสนํ สปฺปฏิฆํ ยํ รูปํ สนิทสฺสนํ สปฺปฏิฆํ จกฺขุนา อนิทสฺสเนน สปฺปฏิเฆน ปสฺสิ วา ปสฺสติ วา ปสฺสิสฺสติ วา ปสฺเส วา รูปํเปตํ รูปายตนํเปตํ รูปธาตุเปสา อิทนฺตํ รูปํ รูปายตน


   รูปที่เรียกว่า  รูปายตนะ  นั้น  เป็นไฉน  ?
รูปใด    เป็นสี    อาศัยมหาภูตรูป     เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้ ได้แก่  สีเขียวคราม   สีเหลือง  สีแดง  สีขาว  สีดำ   สีหงสบาท  สีคล้ำ   สีเขียวใบไม้  สีม่วง   ยาว   สั้น    ละเอียด   หยาบ   กลม  รี  สี่เหลี่ยม   หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม    สิบหกเหลี่ยม    ลุ่ม    ดอน    เงา   แดด   แสงสว่าง   มืด   เมฆหมอก   ควัน   ละออง   แสงจันทร์   แสงอาทิตย์   แสงดาว   แสงกระจก   แสงแก้วมณี   แสงสังข์   แสงมุกดา    แสงแก้วไพฑูรย์    แสงทอง   แสงเงิน   
     หรือ รูปแม้อื่นใด   เป็นสี   อาศัยมหาภูตรูป  ๔  เป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้   มีอยู่, รูปใด   อันเป็นสิ่งที่เห็นได้และกระทบได้  กระทบแล้ว   หรือกระทบอยู่  หรือจักกระทบ    หรือพึงกระทบ     ที่จักขุ    อันเป็นสิ่งที่เห็นไม่ได้แต่กระทบได้
นี้เรียกว่า  รูปบ้าง  รูปายตนะบ้าง  รูปธาตุบ้าง  รูปทั้งนี้เรียกว่า  รูปายตนะ.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:06:13 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ความรู้ชัด ชื่อว่า ปัญญา
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20895.0


รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ( หมายถึง เป็นเอกเทศโดยส่วนเดียว จากขันธ์ทั้ง 5 )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20904.0


รูปขันธ์ เป็น เอกวิธโกฏฐาส ส่วนที่ 2 อุปาทายรูป
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=20921.0

  ส่วนนี้เป็นการอธิบาย ที่ตั้งธาตุ ทั้ง 5 โดยการแบ่งธาตุ ทั้ง 5 ออกเป็น สองส่วนตามประเภท
   1. มหาภูตรูป จับต้องได้ มีคุณและโทษ ในตัว ปรากฏ ด้วยสภาวะ และ รูปสภาวะ เป็นรูปายตนะ มหาภูตรูป มี 4 ธาตุ คือ
      1.1 ดิน ปฐวีธาตุ
      1.2 ไฟ เตโชธาตุ
      1.3 น้ำ อาโปธาตุ
      1.4 ลม วาโยธาตุ
 
   2.อุปาทายรูป จับต้องไม่ได้ มีเหมือนไม่มี มี 23 ประการ ( อ่านเพิ่มเติมจากลิงก์ ด้านบน )
    ในกองกรรมฐาน เน้น 2 ประการ คือ
       2.1 หทัยวัตถุ
       2.2 อากาสธาตุ
     ดังนั้น อุปาทายรูป  จัดเป็น อากาสธาตุ

แม่บท- สงฺขารกฺขนฺธสงฺคหิตา   ปีติ   เวทนากฺขนฺธสงฺคหิตํ   สุขํ ฯ

   ธาตุทั้ง 5 ประการนี้ เป็นที่ปรากฏของ ปีติสุข
   ปีติ  จัดเป็นสังขาร   ส่วน สุข จัดเป็น เวทนา ขันธ์
   มนายตนะธาตุ จัดเป็น สัญญาขันธ์
   มโนธาตุ ธรรมธาตุ วิญญาณธาตุ จัดเป็น วิญญาณขันธ์

    เมื่อผู้ภาวนา พระกรรมฐาน มีพระพุทธะ เป็นอารมณ์ ย่อมยัง ปีติทั้งห้า ให้เกิดขึ้น
    ปีติที่เกิด เรียกว่า ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ( วิเวกชํปิติสุขํ )
   
    แม่บท-วิภงฺเค  ปน  อิทํ  สุขํ  อิมาย  ปีติยา  สหคตนฺติ อาทินา นเยน วุตฺตํ
    ( ๑. อภิ. วิ. ๓๕/๓๔๙ ฯ ๒. อภิ. วิ. ๓๕/๓๔๙ ฯ ๓. อภิ. วิ. ๓๕/๓๔๐ ฯ  )

    พระผู้มีพระภาคตรัสไว้โดย นัยว่า  สุขนี้สหรคตด้วยปีติ นี้

 


ไฟล์วีดีโอ บรรยายการตั้งฐานจิต อย่างถูกต้อง เรียนรู้ธรรรมสองส่วน
http://cloudbox.3bb.co.th/share3/MTU5Mzd8MzZjOGQyYjNlMGEyOTI1MWU3NGZhYjdiZmU1OTMxYWJ8MzAyNTU=

รหัส ให้ขอรหัสทางข้อความส่วนตัว สงวนให้ศิษย์สายตรง เท่านั้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 10:05:00 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


แม่บท- เต ตตฺถโหนฺติ มโนมยา ปีติภกฺขา สยมฺปภา อนฺตลิกฺขจรา สุภฏฐายิโน จิรํ ทีฆมทฺธานํ ติฏฐนฺติ

เพราะสัตว์ผู้นั้นอยู่ในวิมานแต่ผู้เดียวเป็นเวลานานจึงเกิดเบื่อหน่ายว่า โอหนอ  แม้สัตว์เหล่าอื่นพึงมาเป็นอย่างนี้บ้าง    ต่อมา    สัตว์เหล่าอื่นจุติจากชั้นอาภัสสรพรหมโลกเพราะสิ้นอายุหรือสิ้นบุญ    ย่อมเกิดที่วิมานพรหมเป็นผู้อยู่ร่วมกับสัตว์นั้น    แม้สัตว์พวกนั้นนึกคิดอะไรก็สำเร็จได้ตามปรารถนา    มีปีติเป็นอาหาร    มีรัศมีซ่านออกจากร่างกาย    เที่ยวสัญจรไปในอากาศ    อยู่ในวิมานอันงดงาม    สถิตอยู่นานแสนนาน
(  พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  สีลขันธวรรค  ๑.พรหมชาลสูตร )

  หลายท่านกล่าวผิดว่า ผู้มี ฌาน เป็นผู้เรียกว่า พรหมเท่านั้น ทำให้เป็นคำพูดที่ผิดไป เพราะมุ่งที่ ปฐมฌาน ขึ้นไปจึงเป็นพรหม แต่ พระพุทธพจน์ได้กล่าวว่า ผู้มีปิติแผ่ซ่าน เกิดขึ้นแล้ว มีปีติเป็นที่อาศัย มีปีติเป็นดั่งอาหารบำรุงจิต ผู้นั้นชื่อว่า พรหม เช่นเดียวกับ พรหมชั้น อาภัสสรพรหม ดังนั้น ผู้ปฏิบัติภาวนา มีพระพุทธเจ้าเป็น อารมณ์ มีปีติเกิดขึ้นแล้ว แผ่ไปครบองค์ทั้ง 5 ตั้งแต่ พระขุททกาปีติ จนถึง พระผรณาปีติ แม้เป็น ขณิกาสมาธิ  ขั้นละเอียด ก็ชื่อว่า เป็นพรหม ถ้ามีจิตที่ดับไปในระหว่างที่ปีติ แล่นอยู่ ย่อมเกิดใน อาภัสสรพรหม อันนี้เป็นขั้นต่ำ

     ดังนั้นผู้ภาวนา พระกรรมฐาน มีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ ก็มี กายทิพย์ ชื่อว่า พรหมแล้ว นั่นเอง


 

 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:08:34 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


แม่บท - วิเวกชํปีติสุขํ สมาธิฌานํ นาม ,  ปีติสมฺโพชฌํ วิมุตฺตานํ นาม

ปีติ เกิดแต่ วิเวก ( มี พระพุทธเจ้า เป็นอารมณ์เดียว ) ปีตินั้น จัดเป็น ปีติในองค์แห่ง ฌาน ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ
ปีติ เกิดแต่ เข้าไปแจ้งชัดสภาวะธรรม อันประกอบด้วย อนิจจลักษณะ และ ทุกขลักษณะ ปีตินี้ เรียกว่า ปีติที่ถึงพร้อมด้วยญาณเพื่อความสิ้นไปแห่ง กิเลส เรียกว่า ปีติสัมโพชฌงค์

แม่บท - ตสฺส อตฺถปฏิสํเวทิโน ธมฺมปฏิสํเวทิโน ปาโมชฺชํ ชายติ ปมุทิตสฺส ปีติ ชายติ ปีติมนสฺส กาโย ปสฺสมภติ ปสฺสทฺธกาโย สุขํ เวเทติ สุขิโน จิตฺตํ สมาธิยติ อิทํ ปฐมํ วิมุตฺตายตนํ

ตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนพรหมจารีบางรูปผู้ตั้งอยู่ในฐานะครูแสดง  แก่เธอ    เมื่อเธอรู้แจ้งอรรถ    รู้แจ้งธรรม    ย่อมเกิดปราโมทย์    เมื่อมี ปราโมทย์    ย่อมเกิดปีติ    เมื่อใจมีปีติ    กายย่อมสงบ    เธอมีกายสงบ ย่อมได้รับสุข    เมื่อมีสุข    จิตย่อมตั้งมั่น    นี้เป็นวิมุตตายตนะประการที่หนึ่ง
( พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  ๑๐.  สังคีติสูตร )


     ปีติ ในทางพระพุทธศาสนา มีสองประการ
     ปีติ ที่เกิดแต่ กายวิเวก และ จิตวิเวก ไม่ประกอบด้วย กฏแห่งธรรม คือ ปราศจาก อนิจจลักษณะ และ ทุกขลักษณะ เป็นปีติที่มุ่งหวังความสงบระงับแห่งจิต มีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า มีความยินดีต่อพระพุทธเจ้า มีความอิ่มใจพอใจ ต่อพระพุทธเจ้า ปีติที่เกิดขึ้นอย่างนี้ชื่อว่า ปีติ อันอาศัยวิเวก จัดเป็น กึ่ง โลกียะธรรม และ โลกุตตระธรรม เป็นได้ทั้งสองอย่างตามสภาวะของผู้ทีเกิดปีติ ขณะนั้น เพราะมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ มีผลขั้นต่ำ คือ อุปจาระสมาธิ และขั้นสูงคือ โสดาปัตติผล

     ปีติ ที่เกิดแต่ อุปธิวิเวก ประกอบด้วยการวิจารณธรรม มีพระอนิจจัง พระทุกขัง มีพระอนัตตา เป็นปริตตารมณ์ เป็นที่สุด ย่อมเข้าสภาวะธรรมไปตามลำดับ ของ โพชฌงค์ ทั้ง 7 ประการ มีผลขั้นต่ำ คือ พระโสดาปัตติผล และสูงสุดที่ พระอรหัตผล มีวิมุตติ เป็นที่สุด


   
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:09:48 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


แม่บท - ตาสุ   ยา   อปฺปนาสมาธิสฺส   มูลํ   หุตฺวา วฑฺฒมานา   สมาธิสมฺปโยคํ   คตา   ผรณาปีติ   อยํ   อิมสฺมึ   อตฺเถ อธิปฺเปตา   ปีติ
(ปีติเป็นรากเหง้า เป็นเค้าโครง เป็นบาทฐาน ไปสู่สมาธิ )


ผรณาปีติใดเจริญขึ้นจนเป็นรากเหง้าแห่งอัปปนาสมาธิได้ ถึงการประกอบเข้ากับสมาธิ ผรณาปีตินี้ท่านประสงค์แล้วในความหมาย  ชือว่า สมาธิ ( ชื่อว่าย่อมทำสมาธิให้สมบรูณ์ 3 ประการ คือ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และ อัปปนาสมาธิ )

ดังนั้นผู้หวังผล ในอัปปนาสมาธิ จึงต้องภาวนาสิ้นสุดที่ ผรณาปีติ เพราะผรณาปีติ ย่อมสำแดง สุขสัญญา และ ลหุสัญญา อันเอื้อประโยชน์อีกมาก ด้วยสามารถแห่งสมาธิ มีปฐมฌาน เป็นต้น มี ปัญจมฌานเป็นที่สุด ใน กามาวจรกุศลจิต ( จิตที่ยังฝักฝ่ายไปในกามภพ ยังมีการเกิดอยู่ )
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:12:24 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


แม่บท - ปีติ สหคตาธมฺมา/ น ปีติสหคตาธมฺมา  / สปฺปีติกา ธมฺมา / อปฺปีติกา ธมฺมา
 ปีติ สหคตาธมฺมา สภาวะธรรมที่เกิดร่วมกันกับปีติ  ( ผู้ภาวนาที่ได้ปีติ )
 น ปีติสหคตาธมฺมา  สภาวะธรรมทีไม่เกิดร่วมกันกับปีติ  ( ผู้ภาวนาที่ยังไม่ได้ ปีติ )
  สปฺปีติกา ธมฺมา   สภาวะธรรมที่มีปีติ ( ผู้มี ปีติ สภาวะธรรม เป็นผลเกิดขึ้นแล้ว )
  อปฺปีติกา ธมฺมา   สภาวะธรรมที่ไม่มีปีติ ( ผู้ไม่มี ปีติสภาวะ ธรรม เป็นผลเกิดขึ้น )

จิตที่เป็นกามาวจรซึ่งเป็นกุศล    สหรคตด้วยโสมนัส    สัมปยุตด้วยญาณ    มีรูปเป็นอารมณ์    มีเสียงเป็นอารมณ์    มีกลิ่นเป็นอารมณ์    มีรสเป็นอารมณ์    มีโผฏฐัพพะเป็นอารมณ์    มีธรรมเป็นอารมณ์    หรือปรารภอารมณ์ใดๆ    เกิดขึ้นในสมัยใด    ในสมัยนั้น

ปิติ ก็เกิดขึ้น หรือสภาวธรรมที่ไม่เป็นรูปซึ่งอิงอาศัยกันเกิดขึ้นแม้อื่นในสภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่าเป็นกุศล

การเกิดปีติ จัดเป็น กามาวจรกุศล ชื่อว่า ความดี ชื่อ ความเพียร ชื่อว่า เป็นหนทางไปสู่ มรรค ผล และ นิพพาน แม้เป็นกามาวจรกุศล แต่เหตุให้เกิด ย่อมเกิดจาก วิเวก และ การเห็นสภาวะธรรม อย่างเนือง ๆ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 06, 2016, 03:15:40 pm โดย ธัมมะวังโส »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ