ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ลมปราณ กับ สมาธิ เกี่ยวข้องกันอย่างไร สนับสนุนคุณธรรมขั้นสูงหรือไม่คะ  (อ่าน 12648 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sunee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 301
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เคยได้ยินว่า ธรรมแนว ลมปราณ
              ธรรมแนว สมาธิ

    ไม่ทราบว่าทั้งสองประการนี้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในวิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเป็นแบบไหนคะ
และแนวลมปราณ กับ แนวสมาธิ ช่วยในการ บรรลุธรรมอย่างไรคะ

ขอบคุณมากคะ

 :c017: :c017: :c017:
บันทึกการเข้า

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลมปราณ เป็น ส่วนหนึ่ง ที่เกิดจาก สมาธิ ใช่หรือไม่คะ
เห็นหนังกำลังภายในเวลาเดินลมปราณ ก็จะ้ต้องนั่งสมาธิ กำหนดจิตขึ้นมา

  ความเชื่อเรื่องลมปราณ กำลังภายในนั้น ปรากฏอยู่ ในหนังจีนมากคะ

   :49: :character0029: :49:
บันทึกการเข้า

juntra

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 108
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ลมปราณ นี้หมายถึง กำลังภายใน หรือ ว่า ลมหายใจเข้า ออกคะ

  สมาธิ ทีมีกับการใช้ลมปราณ โดยตรง ก็มี

     ชี่กง

     ไท่จี๋

     โยคะ

จักรา7


สนใจข้อมูลก็ดุจากลิงก์ รูปภาพเลยนะคะ

  :88:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

มหาธรรม เรื่อง ทำไมจึงควรฝึกลมปราณเพื่อการปฏิบัติธรรม

ลมปราณมีจริงหรือแค่อิงนิยาย?
     มนุษย์ทุกคนมีลมปราณอยู่แล้ว แต่เมื่อตายลงจะสูญสิ้นลมปราณ ดังนั้น ถ้ายังมีชีวิตอยู่ก็มีลมปราณกันอยู่แล้วทั้งนั้น ถ้าอยากรู้ว่าลมปราณมีจริงหรือไม่อย่างไร ให้ทดลองสังเกตการเคลื่อนไหวของพลังละเอียดภายในร่างกายดู ซึ่งคิดว่านักปฏิบัติจิตที่ชำนาญในการดูเวทนาละเอียดน่าจะจับได้ไม่ยาก เช่น บ้างรู้สึกเหมือนปะจุไฟฟ้าแล่นตามร่างกาย, บ้างรู้สึกเหมือนไอเย็นแผ่ซ่านไป, บ้างรู้สึกร้อนผ่าวขึ้นใบหน้า, บ้างรู้สึกเหมือนน้ำไหลไปมา, บ้างรู้สึกเหมือนลมเคลื่อนอยู่ตามส่วนต่างๆ ฯลฯ

     เหล่านี้ ล้วนเป็นลักษณะของลมปราณที่เราจะสามารถสังเกตได้เอง แต่ถ้าอยากใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์พิสูจน์ เดี๋ยวนี้มีแล้วชื่อกล้องเคอเลี่ยนใช้ถ่ายภาพออร่าหรือพลังภายในสิ่งมีชีวิต เอาเป็นว่าจะไม่อธิบายมากไปกว่านี้ ถ้าไม่มีศรัทธาก็ไม่มีอะไรต้องอ่านต่อ แต่ถ้าท่านไหนพอเข้าใจเรื่องนี้ ก็ขอให้อ่านต่อไป เพราะอธิบายมากเกินไปจะเสียเวลาแก่ทุกท่าน ใครยังไม่พร้อมจะอ่านก็ไม่ต้อง


 
ทำไมต้องสนใจและฝึกลมปราณ?
     คนเราทุกคนมีลมปราณกันทั้งนั้น จึงไม่ต้องไปแสวงหาลมปราณ หรือพยายามทำให้มีลมปราณ มีกันแล้วทั้งนั้นทุกคน แต่ที่ต้องมาฝึกมาเรียนรู้ เพราะมีแล้วแต่ไม่รู้จักบริหาร ไม่รู้จักใช้ ทำให้เกิดลมปราณเสียภายในสะสมในร่างกายมากมายก็มี, ทำให้ลมปราณติดขัดก็มี, ทำให้ลมปราณไม่ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ก็มี ฯลฯ


     ลมปราณเป็นพลังงานแฝงของคนเรา ถ้าคนเรารู้จักวิธีดึงพลังงานแฝงมาใช้ แม้คนที่ดูโง่ เรียนอะไรไม่ได้เลย อาจกลายเป็นคนฉลาดในพริบตา, คนที่ดูไม่มีเรี่ยวแรงอะไร อาจล้มคนที่มีพลังมากกว่าได้เหมือนกัน, คนที่ไม่มีความสามารถใดๆ อาจกลายเป็นอัจฉริยะก็ได้
 
    นี่คือ สาเหตุที่ต้องมาเรียนรู้เรื่องลมปราณกัน เพื่อ
         ๑ ไม่ให้ดูถูกเพื่อนมนุษย์ที่อาจดูไม่มีความสามารถใดๆ
         ๒ ไม่ให้ดูถูกความสามารถแฝงของตนเอง
         ๓ เพื่อดึงเอาความสามารถแฝง และพิเศษของตนขึ้นมาใช้
         ๔ เพื่อพัฒนาความสามารถไปสู่ปัญญารู้แจ้งสรรพสิ่ง
         ๕ เพื่อทำคุณทำประโยชน์ให้แก่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ด้วยกัน


     ดังนั้น ทุกคนจึงไม่ควรพลาดที่จะรู้ว่าตนเองมีความสามารถพิเศษอะไร อย่าปล่อยให้สังคมตีตราเราว่าเราเป็นคนเหลวไหลไม่มีความดีงามอะไร เราได้คุ้นหาความสามารถพิเศษในตัวเองที่ซ่อนอยู่ออกมาหรือยัง ไม่ยาก เรามาให้คนที่มีความสามารถในการจับลมปราณดูก่อน เขาจะบอกเราว่าเรามีปราณแบบใด ปราณแบบนั้นมีคุณสมบัติแฝงอะไร เมื่อเราทราบแล้ว พัฒนาความสามารถแฝงต่อไป เมื่อถึงเวลาก็เอามาใช่ได้ทันที

     ในหนังจีนกำลังภายในนั้นมันเว่อร์เกิน แต่ในความเป็นจริงมันมีอยู่จริง คนที่ดูเหลวไหล ไม่ได้เรื่อง ทำอะไรไม่สำเร็จเลย มาฝึกลมปราณแล้วกลายเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์จีนนั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเรามักพบว่าพวกเขาไม่รู้จักวิธีใช้และมักดึงออกมาใช้ได้ในยามคับขันจริงๆ

     สิ่งเหล่านี้ล้วนมาจากการฝึกลมปราณกันก่อนทั้งนั้น เพราะประเทศจีนโบราณนับถือลัทธิเต๋า และวิธีการฝึกจิตก็ใช้การฝึกลมปราณทั้งสิ้น แม้การนั่งสมาธิ ก็ทำเพื่อเดินลมปราณ, ทะลวงลมปราณเป็นต้น

     แต่ละคนมีความสามารถแฝงที่ลึกล้ำทั้งสิ้น ขอย้ำ อย่าดูถูกตัวเอง และจงมาพัฒนาความ สามารถแฝงของตนเอง ให้ออกมาใช้ประโยชน์ให้ได้

     จุดเริ่มต้น คือ หาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้จริงเรื่องนี้ ขอให้เขาตรวจลมปราณให้ เขาจะบอกได้ว่าลมปราณของท่านนั้นเป็นประเภทไหน มีคุณสมบัติใด ควรพัฒนาอย่างไร และจะก้าวไกลไปได้ถึงไหน ซึ่งครูแบบนี้หายากมากๆ ในสมัยโบราณ คนที่เก่งด้านลมปราณจริงๆ ก็ทราบแต่เรื่องที่ตนเองฝึกอย่างเดียว เหมือนกบในกะลา เช่น ฝึกลมปราณธาตุไฟ ก็รู้แต่เรื่องลมปราณธาตุไฟ


 
การฝึกลมปราณคืออะไร?
     คือ การทำให้ลมปราณภายในร่างกายดี ดีอย่างไร ก็คือ
       ๑ มีระบบที่ดี
       ๒ ไหลเวียนดี
       ๓ ระบายดี
       ๔ ดึงออกมาใช้ได้ง่าย
       ๕ เก็บกักไว้ได้ง่ายและมาก
       ๖ ดูดซับเพิ่มขึ้นได้เรื่อยๆ
       ๗ ซ่อมแซมหรือฟื้นฟูสภาพได้เร็ว
       ๘ พัฒนาให้ดีขึ้น เพิ่มคุณสมบัติได้มากขึ้น ฯลฯ



การฝึกลมปราณเป็นเดรัจฉานวิชชาหรือไม่ ?
     กิจกรรมทุกอย่างในโลกนี้ มีทั้งดีและมีดีควบคู่กัน การฝึกลมปราณก็เหมือนกัน มีทั้งที่ดีและไม่ดี อย่างไรหรือ ดีก็คือเจริญขึ้นไปสู่ความสงบ, เรียบง่าย, สมถะและพ้นความทุกข์ความวุ่นวายทางโลก ส่วนไม่ดี ก็คือ ไปสู่ความไม่สงบ, กระทบกระทั่ง, เอาชนะคะคาน, ฟุ้งเฟ้อ, เห่อเหิม, หลงโลกหลงตัวเอง และทำให้ชีวิตสับสนวุ่นวาย

     การฝึกทุกอย่างไม่มีดีและไม่ดีในตัวมันเองหรอก มีแต่เรานี่แหละที่ทำให้มันดีหรือไม่ดี เช่น การฝึกสมาธิบ้างคิดว่าดี แต่ในบางคนกลับเอาสมาธิไปทำร้ายคนก็มี ในขณะเดียวกันเดรัจฉานวิชชาก็คือธรรมชาติ เพราะในธรรมชาตินี้มีทั้งขาวและดำ มีทั้งสัตว์นรก, เปรต, อสูร, เทวดา ฯลฯ ดังนั้น สัตว์นรก, เปรต, อสูร, เดรัจฉานก็เป็นเวไนยสัตว์เหมือนกัน มีชีวิตจิตใจเหมือนกัน ควรได้รับการเมตตาเหมือนกัน

     ไม่ใช่ไปจ้องจับผิดมองว่าเขาเลวเพราะเขาเกิดมาเป็นอย่างนั้น การไปมองเสือที่ฆ่าสัตว์กินว่าเลว แล้วพยายามช่วยเหยื่อของเสือให้หลุดพ้นไปจากการล่านั้น เป็นความเมตตาที่ไม่เข้าใจโลก ไม่เข้าใจธรรมชาติ เป็นคนดีกำมะลอ ไม่ได้ดีจริง คนเราถ้าดีจริง ก็ต้องยอมรับสัตว์ทุกชนิดได้หมดว่าควรได้รับความเมตตาทั้งนั้น

     ไม่แบ่งแยก ไม่เหยียบย่ำสัตว์ชั้นต่ำเพื่อให้ตนเองดูสูงขึ้น-ดูเป็นคนดี ไม่เล่นงานสัตว์ที่เกิดในภพต่ำเพื่อทำตัวเองให้เป็นฮีโร่ อนึ่ง สัตว์ชั้นต่ำ ก็มีวิชชาของตัวเอง ถ้าเขาไม่ฝึกวิชชาของเขา เขาก็พัฒนาตัวเองไปต่อไม่ได้ แต่ถ้าคนที่มีจิตใจสูงมาฝึกวิชชาชั้นต่ำเช่นนี้

     ถ้าหากอยากได้ฤทธิ์ จึงเรียกว่าใฝ่ต่ำ ทำให้เสื่อมลง เนื่องจากวิชชาชั้นสูง ไม่เน้นฤทธิ์ แต่วิชชาชั้นต่ำมีฤทธิ์เยอะมาก ฝึกง่ายและได้ผลเร็วกว่า แต่นำหายนะมาสู่ตัวในท้ายที่สุด การฝึกเดรัจฉานวิชชาไม่ใช่ว่าจะเลวเสมอไป 

     ในคนที่มีจิตใจเป็นสัตว์ชั้นต่ำจะฝึกวิชชาชั้นสูงของพระพุทธเจ้าไม่ได้ เราจะรอให้มวลสัตว์มีจิตใจสูงขึ้นเองนั้น ก็ทำไม่ได้ เราต้องยอมลดตัวลงไปโปรดสัตว์ชั้นล่าง ช่วยแนะนำเขาในการฝึกเดรัจฉานวิชชาเพื่อให้เขาหลุดพ้นจากความเป็นเดรัจฉานวิชชา ไม่ใช่ให้จมปลักอยู่ในนั้นตลอดไป และไม่ใช่ละเลย, ทอดทิ้ง หรือเหยียบย่ำ, ดูหมิ่นดูแคลนวิชชาคนอื่น เพื่อแสดงตนว่าสูงส่ง



ลมปราณในแต่ละคนมีชนิดใดบ้าง?
     ลมปราณสามารถจำแนกชนิดได้หลากหลายวิธี เช่น แยกโดยการพิจารณาธาตุก็ได้ แยกโดยการพิจารณาจิตวิญญาณก็ได้ แยกโดยการพิจารณาคุณสมบัติพิเศษของลมปราณก็ได้ ฯลฯ

     แต่ในคนๆ หนึ่งอาจไม่ได้มีลมปราณชนิดเดียวและมักไม่มีชนิดเดียวส่วนใหญ่จะปนๆ กัน ไม่บริสุทธิ์เป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคนที่ฝึกลมปราณแล้ว อาจปรับภายในให้มีลมปราณเพียงแค่บางชนิด เช่น ลมปราณชนิดเดียวไปเลย หรือแบบทวิภาค คือ แบบสองชนิดคู่ตรงข้ามกัน ซึ่งฝึกยากขึ้นมาก หรือหลายชนิดอยู่ร่วมกันอย่างมีระบบ ซึ่งฝึกยากเหนือชั้นขึ้นไปอีก

     การฝึกลมปราณหนึ่งชนิด ย่อมหมายถึง ได้คุณสมบัติพิเศษหนึ่งอย่างด้วย เมื่อฝึกหลายชนิดย่อมได้คุณสมบัติพิเศษหลายอย่างตามมาด้วย แต่การจะมีคุณสมบัติพิเศษหลายอย่างได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นคนส่วนใหญ่จึงฝึกลมปราณแต่เพียงชนิดเดียว ในคนทั่วไป ควรตรวจวัดลมปราณก่อนว่าเอนไปส่วนใหญ่ทางสายไหน ก็ให้ฝึกแต่สายนั้นไป ก็จะก้าวหน้ารวดเร็วและง่ายกว่า ก่อนที่จะเลือกฝึกลมปราณต่อไป



การฝึกลมปราณช่วยในการปฏิบัติธรรมได้จริงหรือ?
     ในสมัยพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์ชีพอยู่ การฝึกลมปราณก็เป็นวิธีหนึ่งของการฝึกจิต คนในชมพูทวีปเรียกว่า “โยคะ” คือ การหลอมรวมทั้ง กาย, จิต และวิญญาณเป็นหนึ่งเดียว กับเทพเจ้านั่นเอง การหลอมรวมได้นั้นต้องอาศัยความรู้เรื่องลมปราณ แต่พวกเขาไม่ได้มีศัพท์เรียกตรงๆ เขาเรียกรวมๆ ว่าวิญญาณ

     ในครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาครั้งแรก ก็ได้ถ่ายทอดลมปราณธรรมจักรให้แก่ปัจญวัคคี แต่มีเพียงรูปเดียวที่สำเร็จ ต่อมาท่านก็ยังถ่ายทอดลมปราณเก้าเอี๊ยงเพื่อรักษาโรคให้แก่ท่านคิริมานนท์ฝ่ายทางพระอานนท์ อีกด้วย

     ดังนั้น นี่ไม่ใช่ของใหม่ มีมานานแล้ว และพระพุทธศาสนาของเราก็ใช้มานานแล้วด้วย แต่น้อยคนนักที่จะปฏิบัติได้ แม้ปัญจวัคคีห้าคน ยังสำเร็จแค่คนเดียว ที่เหลือสำเร็จได้ด้วยปัญญาทั้งนั้น ดังนั้น ท่านจึงไม่ค่อยเผยแพร่และย่อเป็นอานาปานสติแทน

           -จบ-   


อ้างอิง
รวมบทความมหาธรรม เรื่อง ลมปราณและสาเหตุที่ต้องฝึกลมปราณ โพสต์โดย physigmund_foid 
http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/03/24/entry-1
ขอบคุณภาพจาก http://1.bp.blogspot.com/,http://www.pendulumthai.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 01:26:46 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

มหาธรรม เรื่อง ความสัมพันธ์ของลมปราณและจิตวิญญาณ

    ลมปราณ คือ วิญญาณนาหาร คำว่าวิญญาณขันธ์คือ ส่วนที่ประกอบเป็นกายทิพย์ทั้งหมด ไม่นับรวมจิต กายทิพย์หนึ่งกายเรียก “กายทิพย์” กายทิพย์ทุกกาย รวมกันในกายสังขารเรียกว่า “วิญญาณขันธ์” โดยวิญญาณขันธ์นั้นมีการหล่อเลี้ยงด้วยอาหาร ทำให้กายทิพย์ยังคงดำรงอยู่ได้ อาหารของกายทิพย์คือ “ลมปราณ” เหมือนลูกโป่งที่พองตัวได้ เพราะมีอากาศอัดอยู่ อากาศในลูกโป่งเปรียบดังลมปราณ ส่วนลูกโป่งเปรียบเหมือนกายทิพย์

    ดังนั้น ลมปราณก็คือ “วิญญาณนาหาร” นั่นเอง คือ อาหารที่หล่อเลี้ยงวิญญาณ ทำให้มีกายทิพย์มีชีวิตินทรีย์อยู่ต่อไป คำว่า “วิญญาณนาหาร” นี้ มีในไตรปิฎก ในหมวดอาหาร แต่เราอาจไม่ได้ให้ความสำคัญกับคำว่าอาหารและวิญญาณนาหารมากนัก

    ผู้เขียนศึกษาเรื่องอาหารมาก เพราะอาหารเป็นตัวบ่งบอกชนิดของจิตวิญญาณได้เช่น วิญญาณเสือกินอาหารอย่างหนึ่ง, วิญญาณวัวกินอาหารอย่างหนึ่ง เมื่อวิญญาณเหล่านี้ เข้าแทรกในกายมนุษย์ จะทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมการกินเปลี่ยนไปได้ มีรสนิยมความชอบไม่ชอบเปลี่ยนไปได้

    อาหารมีหลายข้อธรรมย่อย ที่น่าศึกษามาก คือ อาหารละเอียด เช่น พวกพลังทิพย์ ซึ่งเป็นอาหารของวิญญาณ จึงเรียกว่า “วิญญาณนาหาร” เช่น พวกอสูรมังกร จะไปดูดซับพลังทิพย์ หรือลมปราณต่างชนิดกัน ถ้ามังกรดำจะดูดซับพลังดำ, มังกรแดง ดูดซับพลังธาตุไฟ, มังกรเขียว ดูดซับพลังธาตุน้ำ, มังกรทอง ดูดซับพลังขาวของพรหม เป็นต้น

    การเรียนรู้เรื่องอาหารของวิญญาณนี้ ทำให้เราสามารถเปลี่ยนวิญญาณ คือ ให้วิญญาณสลายแล้วเกิดใหม่ได้ เหมือนการตายของชูชก คือ กินพลังให้มากๆ มันจะตายเอง แล้วเกิดใหม่ โดยอาศัยพลังปราณหล่อหลอมกายทิพย์ใหม่ ถ้าจิตวิญญาณดวงหนึ่ง สลายในกายสังขารเรา จิตไม่จุติออกจากร่าง เราสามารถใช้พลังปราณในกาย หลอมเป็นกายทิพย์ใหม่ได้

    เช่น ถ้ามารแทรกเรา เราทำให้มารสลายวิญญาณได้ในกายเรา เราก็ใช้พลังปราณสีขาวของเราหล่อหลอม เลี้ยงวิญญาณขันธ์ขึ้นมาใหม่ ทำให้วิญญาณที่สลายไปเกิดใหม่ จากเดิมเป็นมาร อาจได้เป็นโพธิสัตว์ หรือพรหมก็ได้ ด้วยเทคนิคทางการฝึกจิตแบบนี้ ทำให้สามารถโปรดจิตวิญญาณที่มีปราณเสียได้มาก ถ้าเราฝึกลมปราณสะสมไว้ตลอด เราจะใช้ลมปราณเหล่านี้ เป็น “วิญญาณนาหาร” หล่อเลี้ยงให้กำเนิดวิญญาณใหม่ๆ ที่ดีขึ้นได้ จากอสูรที่มาแทรกอยู่ในกายเรา ก็อาจเกิดใหม่เป็นพระโพธิสัตว์ได้


 
การฝึกลมปราณเพื่อเป็นวิญญาณนาหาร ก่อกำเนิดจิตวิญญาณชั้นสูง
  ในคนที่มีจิตวิญญาณเป็น มาร, อสูร, เปรต, สัตว์นรก จะไม่พร้อมรับธรรมะของพระพุทธ ศาสนา ปกติแล้ว พระโพธิสัตว์จะโปรดคนที่มีจิตวิญญาณแบบนี้ให้ดีขึ้นก่อน เมื่อมีจิตที่ดีพร้อมรับธรรมแล้ว เขาจึงได้พบพระพุทธเจ้า หรือพระพุทธศาสนาในภายหลัง

    ดังนั้น การหาวิธีปฏิบัติธรรมที่เหมาะสมสำหรับเขาเหล่านี้ ก่อนที่จะได้ฝึกจิตแบบพุทธศาสนานั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ขอให้เข้าใจว่าคนบางคนนั่งสมาธิไม่ได้จริงๆ เพราะจิตวิญญาณเขา ไม่ใช่พรหม เป็นพวกมารก็มี, อสูรก็มี ฯลฯ เขาจะต้องซ่อมแซม คือ ฟื้นฟูสภาพลมปราณก่อน จึงจะมี “วิญญาณนาหาร” ที่พร้อมก่อเกิดจิตวิญญาณที่ดีได้ใหม่

    เช่น คนในกรุงเทพที่มีการแข่งขันกันสูงมาก จนมีจิตเป็นมาร และยากเกินกว่าที่จะสอนธรรมให้ได้ถึงจิตแท้จริง ได้แต่เหมือนเรียนปริญญา คือ ได้แต่ปริยัตินั้นไม่ใช่มรรคผลที่แท้จริง แบบนี้จึงต้องหาวิธีปรับจิตวิญญาณให้พร้อมก่อน คือ การฝึกลมปราณ ทำให้ลมปราณเสียหรือลมปราณดำ กลายเป็นลมปราณที่ดีพร้อมรับธรรมก่อน เหมือนคนจิตหม่นหมอง ถ้าฟังธรรมว่ามีแต่ความไม่เที่ยง เขาอาจฆ่าตัวตายได้

     ดังนั้น การเตรียมพร้อมให้จิตผ่องใสก่อน ค่อยเข้าสู่การพิจารณาสัจธรรมจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น ดังนั้น การฝึกลมปราณจึงมีความสำคัญที่จะต้องนำมาเผยแพร่ด้วยประการฉะนี้ อนึ่ง ผู้มีลมปราณที่ดีสีขาวมาก สามารถโปรดจิตวิญญาณได้มาก จิตวิญญาณหนึ่งดวง อาศัยลมปราณหล่อเลี้ยงไม่มาก

     เมื่อจิตวิญญาณออกจากร่างเรา เราจะเสียลมปราณไม่มาก ไม่ถึง ๑๐% ของลมปราณทั้งหมด เพราะจิตวิญญาณนั้นบางเบามาก แต่ในกายสังขารของมนุษย์ ดูดซับและเก็บสะสมลมปราณได้มากมาย จึงสามารถใช้เป็นแหล่ง “วิญญาณนาหาร” ให้จิตวิญญาณได้มากมาย อนึ่ง จิตวิญญาณบางดวงเช่น อสูร ก็ดูดซับพลังปราณมนุษย์ ทำให้มนุษย์อ่อนแอลง และป่วยไข้ได้
          -จบ-



มหาธรรม เรื่อง วิชชาอาภรณ์วิวาห์

    วิชชาอาภรณ์วิวาห์ ปรากฏในวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง ลักษณะคือ ผู้ฝึกวิชชาไม่สามารถใช้พลังนั้นได้ ต้องถ่ายทอดให้ผู้อื่นไป จึงจะใช้ได้ ดุจบุคคลย่อมตัดชุดวิวาห์ให้ผู้อื่นใส่ ผู้ใส่ไม่อาจตัดเย็บได้เอง คำว่า “วิชชาอาภรณ์วิวาห์” นี้เป็นแค่สมมุติบัญญัติทางโลกที่เขาใช้มาในงานวรรณกรรมเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้ว วิชชาแบบนี้มีหรือไม่

     ตอบว่า มี คือ การฝึกอิทธิฤทธิ์บางอย่างของคนบางคน ไม่อาจใช้อิทธิฤทธิ์นั้นได้ด้วยตัวเอง สามารถถ่ายทอดความสามารถนั้นให้แก่ผู้ที่มีบุญบารมีถึงพร้อมได้ บางท่านอาจรู้สึกขัดๆ ว่ามีหรือที่อิทธิฤทธิ์จะโอนย้ายถ่ายทอดกันได้ ก็ขออธิบายว่าทำได้จริง

    เพราะอิทธิฤทธิ์มาจากพลังงานละเอียด เป็นพลังออร่าในกายคน เหมือนพลังงานทั่วไปที่สามารถถ่ายเทได้ เหมือนคนที่ปลุกเสกของ เอามากำไว้ในมือ พลังก็ถ่ายออกไปยังของนั้น หรือพระสงฆ์ดังๆ เวลาตายแล้ว คนแย่งกันเอาของที่ท่านชอบใช้บ่อยๆ เพราะถือว่าศักดิ์สิทธิ์ ก็เพราะออร่าหรือพลังชีพนี่แหละที่ถ่ายเข้าไปอยู่ในสิ่งของเครื่องใช้นั้นๆ นี่คือ สิ่งที่ยืนยันได้ว่าพลังงานและอิทธิฤทธิ์ถ่ายทอดให้กันได้ด้วยวิธีถ่ายลมปราณผ่านร่างกาย ดังนี้ สิ่งที่เข้าข่ายวิชชาอาภรณ์วิวาห์จึงไม่ยากเกินไปที่จะมีได้ เกิดได้ ในบทความนี้ จะเล่าต่อไปนี้


 
เหตุใดผู้ฝึกวิชชาใช้อิทธิฤทธิ์ของตนเองไม่ได้
     ๑) เพราะไม่อยากก่อกรรม เตรียมตัวเข้านิพพานในเร็ววันนี้แล้ว ถ้าใช้อิทธิฤทธิ์ก็มีกรรม ทำให้ไม่สามารถนิพพานได้เร็วดังใจปรารถนา อย่างนี้มีฤทธิ์ก็ไม่ได้ใช้
     ๒) เพราะปัญหาสุขภาพ หรือร่างกายไม่เอื้ออำนวย เช่น ฝึกได้สำเร็จเมื่อชราภาพมากแล้ว ไม่เหมาะที่จะออกรบแล้ว สามารถถ่ายพลังให้คนหนุ่มรับไปทำได้
     ๓) เพราะติดการบำเพ็ญบารมี เช่น ได้ให้สัจจะวาจาไว้ว่าจะไม่ใช้วิชชานี้ หรือถูกครูบาอาจารย์ห้ามไว้ว่าไม่ให้ใช้ แต่แอบฝึกจนสำเร็จ ก็ต้องถ่ายทอดให้คนอื่นไป
    ๔) เพราะเหตุจากวิชชานั้นๆ เอง เช่น พลังธาตุไฟที่หากใช้แล้วตนเองอาจมีผลเสียบางอย่าง แต่ผู้อื่นใช้ได้ไม่เป็นไร เพราะร่างกายคนมีธาตุต่างกัน นี่ก็ต้องถ่ายไป


 
เหตุใดผู้รับพลังปราณจึงมีอิทธิฤทธิ์ได้ทันที
    ๑) เพราะใจเปิดรับ ถ้าไม่มีใจเปิดรับเลย พลังบางอย่างก็ยากที่จะแทรกเข้าร่างได้ เช่น ถ้าคนใจร้อนมากๆ เราจะถ่ายพลังเย็นให้ ก็รับไม่ได้ จึงต้องเปิดใจรับก่อน
    ๒) เพราะร่างกายเปิดรับได้ เช่น จักระเปิดหมดแล้ว ประตูลมปราณเปิดรับเต็มที่แล้ว หรือร่างกายพร้อมที่จะรับพลังลมปราณจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งที่ถ่ายให้ได้
    ๓) เพราะบุญถึงพร้อม เช่น วิบากกรรมดีซัดเข้ามาพอดี อาจจะสักสองสามปี ที่จะได้เสวยบุญด้วยการได้ฤทธิ์มาแบบไม่ต้องฝึก แต่แบบนี้จะไม่เที่ยง สูญสลายง่าย
    ๔) เพราะบารมีถึงพร้อม เช่น ได้บำเพ็ญเพียรสร้างบุญบารมีมาอย่างดี จนร่างกายพร้อมที่จะได้รับพลังอิทธิฤทธิ์แล้ว ก็สามารถที่จะรับพลังลมปราณเหล่านั้นได้



เคล็ดของวิชชาอาภรณ์วิวาห์
    ๑) ฝึกวิชชาให้ถึงที่สุดจนล้น และจะพบว่าเมื่อล้นแล้วร่างกายจะใช้วิชชานั้นๆ ไม่ได้อีกต่อไป เพราะฝึกมากเกิน ไม่เช่นนั้นแล้ว ร่างกายจะทรุดโทรมได้ ต้องถ่ายออก
    ๒) ให้เลือกกายสังขารของศิษย์ที่พร้อมรับพลัง ตามหลักสี่ข้อข้างต้น ถ้าเลือกได้ให้เลือกกายสังขารที่มาจากจิตภาคแบ่งเดียวกับผู้ถ่ายทอด แบบนี้จะเหมาะสมที่สุด
    ๓) ให้ฝึกถ่ายทอดลมปราณให้คนอื่นตามปกติ แล้วสอนเขาหรือพูดกับเขาเพื่อนำจิต ให้เปิดรับพลังนั้นๆ เช่น พลังเย็นต้องพูดให้เขาใจเย็น เป็นคนใจเย็นจึงจะได้ผล
   ๔) เมื่อถ่ายเทลมปราณให้ผู้อื่นแล้วจะสูญเสียลมปราณไปมาก ให้เก็บตัวเพื่อฟื้นฟูสภาพจนกว่าจะมีพลังกลับคืนดังเดิม จึงจะสามารถถ่ายทอดพลังได้อีก

          -จบ-



มหาธรรม เรื่อง วิชชาไหมฟ้าปาฏิหาริย์

    วิชชาไหมฟ้าปาฏิหาริย์ ปรากฏในวรรณกรรมชิ้นหนึ่ง ลักษณะคือ ผู้ฝึกวิชชาไม่สามารถบังคับพลังนั้นได้ มักฝึกแล้วเสื่อม หรือได้บ้าง เสื่อมบ้าง สลับกันไป ไม่ค่อยแน่นอน ในที่สุด เมื่อไม่กลัวความเสื่อมก็ผ่านด่านสุดท้ายของการฝึกได้ และมีความสามารถเพิ่มขึ้น คำว่า “ไหมฟ้าปาฏิหาริย์” นี้เป็นแค่สมมุติบัญญัติทางโลกที่เขาใช้มาในงานวรรณกรรมเท่านั้น แต่ความจริงแล้ววิชชาแบบนี้มีหรือไม่

    ตอบว่า มี คือการฝึกอิทธิฤทธิ์ของบางคนจะมีช่วงหนึ่งที่ฝึกแล้วกลับกลายเป็นสูญเสียอิทธิฤทธิ์จากเดิมที่มีพลังความสามารถพิเศษก็เสื่อมลงได้เป็นธรรมดาแต่ถ้ายังมุ่งมั่นฝึกใหม่ก็สามารถมีความสามารถเพิ่มขึ้นจากเดิมได้ เพราะคิดข้ามขั้น หรือมองข้ามขั้นจากเดิมไปได้นั่นเอง

    ในการฝึกฤทธิ์ทุกอย่างย่อมมีมุมมองของมันเอง เช่น การฝึกฤทธิ์ที่เกี่ยวกับธาตุไฟ ก็จะมีมุมมองแต่ธาตุไฟ นั่นทำให้ความสามารถมีจำกัด แต่เมื่อเรากล้าที่จะสลายหรือยอมสูญเสียพลังธาตุไฟดู แล้วจึงฝึกอย่างอื่นใหม่ เราจะพบว่าในโลกนี้ไม่ได้มีธาตุไฟแต่อย่างเดียว สรรพสิ่งมีของคู่ตรงข้าม และเพราะเหตุนี้เองเราจึงข้ามขั้น ขีดจำกัดของวิชชาเดิมได้ อุปมาดั่ง หนอนไหมที่ลอกคราบจากดักแด้แล้วกลายเป็นผีเสื้อที่โบยบินไปอย่างอิสระ จึงเรียกว่าไหมฟ้าปาฏิหาริย์

     ในความเป็นจริง ถ้าเราฝึกอิทธิฤทธิ์แล้วไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางจิตวิญญาณภายใน ก็จะไม่ส่งผลต่อการเสื่อมสลายลงของอิทธิฤทธิ์ แต่ถ้าจิตวิญญาณสลายแล้วเกิดใหม่ เช่น จากจิตวิญญาณมาร สลายลง แล้วเกิดใหม่เป็นกุมาร อย่างนี้ อิทธิฤทธิ์จะลดลงแน่นอน ในคนบางคนอยู่ในองค์กรได้สบาย พูดอะไรคนก็เชื่อ ผิดพลาดไปคนก็ให้อภัย มีแต่คนยอมรับแม้ว่าไม่มีความสามารถอะไรเป็นพิเศษ

    แต่พอจิตวิญญาณสลายแล้วเกิดใหม่ ทำให้สิ้นฤทธิ์ กลายเป็นทำอะไรก็ผิดไปหมดก็มี ลองสังเกตในชีวิตจริงของท่านดู มีไหมที่เกิดเหตุแบบนี้ นี่แหละเข้าข่ายสิ้นฤทธิ์ คนเรามีฤทธิ์กันได้โดยธรรมชาติ เพราะอิทธิฤทธิ์เป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง มีเกิดได้เอง เสื่อมได้เอง เด็กบางคนมีฤทธิ์มากตั้งแต่เกิด พ่อแม่สอนไม่ได้ ยอมให้ทุกอย่าง

     นี่เรียกว่ามีฤทธิ์เหมือนกัน ฤทธิ์มีหลายแบบ ไม่ใช่มีแต่เรื่องเอาไปต่อยตีกัน เช่น ฤทธิ์ที่ทำให้คนนิยมชมชอบ (เมตตามหานิยม), ฤทธิ์ที่ทำให้คนรอบข้างโง่ลงจะได้ครอบงำได้ง่าย (พลังครอบงำ) ฯลฯ สิ่งเหล่านี้มีอยู่ ถ้าเพียงเราสังเกตดีๆ จะพบว่ามีอยู่เกลื่อนกลาด เพราะฤทธิ์ ไม่ใช่อภิญญา ไม่ใช่ความรู้ยิ่งในทางพุทธศาสนาที่จะต้องไปฝึกให้ถูกวิธี ฤทธิ์มีได้เอง และเสื่อมได้เองดังที่กล่าวมานั้น 

     แม้ว่าฤทธิ์จะเสื่อมลงเพราะการเกิดดับของจิตวิญญาณภายใน ที่เรียกว่าตายก่อนตาย หรือดับก่อนดับนั้น ทำให้ต้องเริ่มฝึกฤทธิ์ใหม่ แต่ถ้าฝึกวิชชาใหม่ที่ถูกต้องและดีกว่าเดิม ก็จะข้ามขั้นและสามารถมีฤทธิ์สูงขึ้นและดีขึ้นได้ เช่น จากเดิมมีฤทธิ์เพราะจิตข้างในเป็นมาร แต่เมื่อสลายจิตมารแล้วกลายเป็นกุมารมีฤทธิ์น้อย

     เมื่อเริ่มฝึกใหม่ในทางสายขาว ก็อาจสำเร็จฤทธิ์เป็นโพธิสัตว์ คือ จิตกุมารสลายขึ้นกายโพธิสัตว์ ทำให้มีฤทธิ์เพิ่มขึ้นได้ การข้ามขั้นแบบนี้ ขอยืมสมมุติบัญญัติทางโลกเรียกว่า “ไหมผ้าปาฏิหาริย์” ก็แล้วกัน คือ การฝึกฤทธิ์ให้ถึงที่สุดจนจิตวิญญาณสลายแล้วเกิดใหม่ แล้วฝึกใหม่ต่อไป ก็จะทำให้มีฤทธิ์เพิ่มขึ้น แต่เป็นอิทธิฤทธิ์แบบใหม่ที่ดีและเหนือชั้นกว่าเดิม แก้ปัญหาขีดจำกัดของวิชชาต่างๆ ที่ตนเคยฝึกได้ทั้งหมด (อนึ่ง วิชชาสายฤทธิ์ทุกอย่าง เมื่อฝึกถึงจุดหนึ่งก็มีขีดจำกัดกันทั้งนั้น จะฝึกต่อไปให้มากขึ้นไม่ได้อีก)

     ในการฝึกฤทธิ์แบบนี้ ถ้าเริ่มจากจิตชั้นต่ำเช่น ถ้าในกายมีจิตวิญญาณเป็นเปรต ก็สามารถฝึกได้เหมือนกัน แต่ฤทธิ์จะไม่มากนัก มีแค่ระดับเปรต ให้ฝึกฤทธิ์จนจิตวิญญาณสลายไป จากเปรต, ไปมาร, ไปกุมาร, ไปโพธิสัตว์ แล้วจะได้อิทธิฤทธิ์สูงสุดเมื่อได้กายทิพย์ยูไล เมื่อฝึกวิชชาหนึ่งๆ แล้วฤทธิ์ไปถึงขีดจำกัดแล้ว ให้ทำการสลายจิตวิญญาณ ซึ่งไม่ยากเลย

    เช่น ถ้าจิตเป็นเปรต เพราะความตระหนี่ถี่เหนียว ให้สลายความตระหนี่ถี่เหนียวเสีย ก็จะสลายจิตเปรตได้ เวลาจิตวิญญาณสลายนั้น เราจะสะเทือนใจมาก เช่น อาจโดนด่าโดนตำหนิจุดอ่อนอย่างแรง จนร้องไห้ออกมาเป็นพักๆ เลยก็มี แต่เมื่อคิดได้ เปลี่ยนความคิดได้โดยสิ้นเชิง จุดนั้นคือ จุดที่จิตวิญญาณสลายแล้วเกิดใหม่ ก็จะทำให้การฝึกฤทธิ์ข้ามขีดจำกัดของตนได้
         -จบ-



มหาธรรม เรื่อง วิชชาลับเนตรพิฆาต

    ลมปราณสามารถแผ่ออกจากอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายได้มากมาย สำหรับผู้ฝึกเปิดตาทิพย์ จะเพ่งกระแสปราณออกจากตาที่สาม ไปยังเป้าหมายเหมือนเรดาร์เพื่อการหยั่งรู้ เวลาใช้ควรปิดตาสองข้างก่อน เพราะแสงจากภาพของตาทั้งสองข้างอาจรบกวนภาพจากตาที่สาม ทำให้ต้องหลับตาก่อนเปิดตาที่สาม แต่สำหรับบางท่าน ที่ฝึกเพ่งกระแสปราณออกทางตาเนื้อทั้งสองข้างแทนก็มี

     เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะมีปัญหาในการเพ่งออกจากตาที่สาม เช่น เคยเกิดเป็นฤษี บำเพ็ญบารมีมาแบบพระศิวะ ถ้าเปิดตาที่สามจะเกิดภัยแก่โลกมนุษย์ คือ พวกไฟสงคราม เป็นต้น ดังนั้น คนประเภทนี้ ไม่อาจจะฝึกเปิดตาที่สามได้ และจะถูกขัดขวางทำให้ไม่สามารถเปิดตาที่สามได้สำเร็จ

     ทางเลือกใหม่คือการฝึกเพ่งจากตาเนื้อแทน ซึ่งจะไม่ได้ภาพนิมิตแบบตาที่สาม แต่ได้เป็นกระแสการหยั่งรู้ได้ เช่น การเพ่งมองตาคน สามารถอ่านวาระจิตของคนได้ นี่เป็นวิชชาลับอย่างหนึ่ง ในสมัยโบราณ ฮ่องเต้จีนจะสวมมงกุฎร้อยลูกปัดปิดพระเนตรไว้ เพื่อปกป้องไม่ให้คนประเภทนี้ ใช้วิชชาลับเนตรพิฆาต ก็จะไม่ถูกคนอ่านความคิดจากการมองที่สายตาได้ อนึ่ง เรื่องราวของวิชชาลับเนตรพิฆาต ยังมีอีกมากมายเหลือจะพรรณนา ดังจะเล่าต่อไปในบทความนี้



การฝึกเนตรพิฆาต
     ๑) ให้ฝึกเหมือนเพ่งกสิณ แต่ไม่ให้หลับตา ให้ฝึกด้วยการลืมตา สำหรับโยคีโบราณใช้การลืมตาสองข้างฝึกก่อนที่จะหลับตาและเพ่งต่อด้วยตาที่สาม เช่น การลืมตาเพ่งดวงจันทร์, ดวงอาทิตย์ตอนเช้าๆ, หรือแสงอาทิตย์เรืองๆ ที่ส่องผ่านใบไม้ ฯลฯ การฝึกเพ่งทำได้เหมือนการเพ่งกสิณ แต่จะไม่หลับตา และต้องเพ่งให้นาน
     ๒) เวลาเพ่งแล้ว จะเห็นภาพมีสีเปลี่ยนไปทั้งๆ ที่ลืมตาอยู่ได้ เช่น จากแสงเรืองๆ สีเขียวเปลี่ยนเป็นสีแดง นอกจากนี้ยังทำให้ย่อขนาด, ขยายขนาดได้เหมือนกสิณ แต่ไม่ต้องหลับตา อาศัยแสงเรืองๆ ที่ติดตาเนื้อที่เปิดอยู่นี้เหมือนดวงกสิณแทน
     ๓) อนึ่ง ไม่ควรเพ่งสิ่งที่มีแสงสว่างมากเกินไป ควรเลือกสิ่งที่มีแสงพอประมาณ ไม่น้อยหรือมากเกินไปเช่น ถ้าจะใช้แสงจากดวงอาทิตย์ ก็ให้ส่องผ่านใบไม้เห็นเป็นสีเขียวเรือง อย่างนี้ พอใช้ได้ และไม่ควรเพ่งนานเกินไป ควรพักสายตาบ้างด้วย
    ๔) ให้ฝึกมองตาคน แล้วกำหนดที่ใจ เมื่อเราฝึกกำหนดสีและย่อขนาด, ย้ายนิมิตด้วยตาเนื้อได้แล้ว ให้ลองกับคนด้วยกัน เช่น มองตาแล้วสื่อความรักบอกเขา ดูว่าเขารู้ไหม, สื่อสารโดยใช้ตาไม่มีการพูด ดูว่าเขาเข้าใจตรงหรือไม่, การอ่านใจคนโดยใช้การมองตา ดูว่าแม่นยำดีหรือไม่, การขับลมปราณออกทางตาแล้วส่งเข้าไปในตัวคน ดูว่าผลเป็นอย่างไร เช่น เขาใจร้อน เรามองให้เขาเย็นลงได้ไหม


    การฝึกเนตรพิฆาตไม่ควรให้ใครรู้มาก และเวลาใช้ ต้องใช้ไม่ให้เขารู้ตัวมากเกินไป ถ้าเขารู้ว่าเรามีเนตรพิฆาต เขาจะหลบสายตาเรา ไม่ยอมให้เราเพ่งมองตาเขา และเราจะทำการต่อไปไม่ได้ ดังนั้น การฝึกเนตรพิฆาตจึงเป็นวิชชาลับ และต้องใช้อย่างลับๆ และมีชั้นเชิง

    ในอดีตตา (พ่อของแม่)ของผู้เขียนมักใช้สายตามองคน ทำให้คนทั้งหลายเงียบและสงบได้โดยไม่ต้องพูด ผู้เขียนไม่ทราบว่ามันคืออะไร แต่สงสัยอยู่ในใจอยู่นาน และได้ลองเล่นสายตากับคนอื่น ก็ค้นพบว่ามีบางอย่างที่สามารถส่งผ่านสายตาไปมาระหว่างกันได้ ในคนที่รักกันจะเห็นได้ชัด เวลาจ้องตากัน

     แต่สำหรับผู้ฝึกเนตรพิฆาตแล้ว ผู้ฝึกย่อมบังคับ, ควบคุม และใช้ประโยชน์จากเนตรพิฆาตได้มากกว่าผู้ไม่ฝึก การยกตัวอย่างคนรักจ้องตากัน จึงเป็นตัวอย่างง่ายๆ ที่ยืนยันได้ว่าเนตรพิฆาตมีอยู่จริง ฝึกได้จริง มีผลจริง และใช้งานได้จริง นี่เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในคนทุกคน แล้วแต่ว่าใครจะหันไปฝึกให้มีความชำนาญมากขึ้นเท่านั้นเอง

     สำหรับเนตรพิฆาตนี้ หากฝึกผสมกับลมปราณ เพ่งให้ออกมาสู่ตัวคนแล้ว จะได้ผลมาก เช่น ลมปราณธาตุน้ำ เพ่งให้ใจคนเย็นลงได้ โดยไม่ต้องพูดมาก, ลมปราณธาตุดิน เพ่งให้เหยื่อหนักแน่น, สงบนิ่งได้ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีลมปราณที่ร้ายกาจอื่นๆ ที่สามารถทำให้เหยื่อป่วย หรือเจ็บไข้ได้ป่วยได้ด้วย
        -จบ-


อ้างอิง
รวมบทความมหาธรรม เรื่อง ลมปราณและสาเหตุที่ต้องฝึกลมปราณ โพสต์โดย physigmund_foid
http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/03/24/entry-1
ขอบคุณภาพจาก http://www.spe-ut.net/,http://img83.imageshack.us/,http://upload.wikimedia.org/,http://www.oknation.net/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 23, 2012, 02:02:03 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ในครั้งที่พระพุทธเจ้าทรงเทศนาครั้งแรก ก็ได้ถ่ายทอดลมปราณธรรมจักรให้แก่ปัจญวัคคี แต่มีเพียงรูปเดียวที่สำเร็จ

เอามาจากไหน งง!   มีระบุบอกไว้ที่ไหน  (เอาอีกแล้ววว)
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


มหาธรรม เรื่อง เซียนกับโสดาบัน แยกกันได้ไฉน?

     ในปัจจุบัน มีคนที่ศึกษาธรรมเองไม่มีครูสอน ไม่มีใครทำลายสักกายทิฐิให้ แม้จะรู้ธรรมมาก แต่ธรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเพราะญาณหรือการหยั่งรู้ของตนเลย เกิดเพราะไปอ่านมา จึงมีความเข้าใจเท่านั้น เขาเหล่านี้จะบรรลุ “เซียน” มีกายทิพย์แบบต่างๆ เช่น กายทิพย์เซียน, กายทิพย์โพธิสัตว์ ฯลฯ

     ส่วนโสดาบันนั้น จะมีคนทำลายสักกายทิฐิให้ เมื่อก่อนจะถูกทำลายสักกายทิฐินั้น เขาจะทุกข์มาก จนยอมจำนนให้คนอื่นสอนตนอย่างไรก็ได้ จนถูกทำลายความถือตัวถือตนสิ้นลงไป เหตุเพราะทุกข์จนยอมจำนนและถูกผู้อื่นทำลายสักกายทิฐิให้ แล้วจิตเข้าถึงภาวะนิโรธตรงต่อนิพพานนั้นเอง แม้ไม่อาจไถ่ถอนกิเลสได้เลย ก็นับเป็น “โสดาบัน” ซึ่งหลังจากนี้ไป เขาจะมีความคิด, พฤติกรรมใหม่ ความถือเนื้อถือตัวไม่มีเหลือเลย และทำตัวธรรมดามาก บ้างเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตนไปเลย เพราะเคยผ่านความโง่, ความหลง, ความผิดพลาดมาแล้ว รู้ซึ้งแก่ใจแล้วว่าตนเองไม่ดีก็มี ตนทุกข์จนต้องไปขอธรรมคนอื่นมาแล้ว

     ดังนี้ พระโสดาบัน จึงไม่ใช่คนถือตัวจริงๆ และมีความอ่อนน้อมถ่อมตนนัยๆ ด้วย ไม่ใช่ผู้แข็งกร้าวต่อใครๆ เหมือนถูกหลอมด้วยไฟใหม่มาแล้วนั่นเอง แต่เซียนจะไม่ใช่แบบนี้ แม้เขารู้ธรรมมาก เก่งมาก เข้าใจมาก เทศน์ได้ดีมาก แต่เขายังไม่ได้ละสักกายทิฐิ เขาไม่ได้เข้าถึงธรรมด้วยทุกข์

     ดังนั้น อริยสัจสี่ไม่ได้มีแก่เขาจริงๆ เขาเข้าถึงธรรมยามยังมีสุข ไม่ใช่ยามตกทุกข์จนต้องยอมจำนนต่อผู้มีธรรม ก็หาไม่ ดังนั้น ความถือตัวตนยังมีอยู่ มีสักกายทิฐิอยู่ แบบนี้ยังไม่ใช่พระอริยบุคคล

     บางท่านมีดวงจิตสองดวง ดวงหนึ่งเป็นมัญชุศรีโพธิสัตว์ บรรลุโพธิจิตแบบเซียน ไม่ได้โสดาบัน เป็นปุถุชนโพธิสัตว์ ยังทำงานทางโลกอยู่เต็มตัว ไม่คิดปลีกตัวหรือละทิ้งเรื่องทางโลก หรือสมบัติพัสถานใดๆ ส่วนอีกดวงจิตหนึ่งเป็นพระศิวะ ทำให้ดูเป็นคนไม่ถือตัว มีจิตสงบ, สันติสุขอยู่ตลอด ภาวะแบบนี้ ทำให้หลอกตัวเองได้มากว่าบรรลุธรรมตรงตามหลักของพระพุทธศาสนาแล้ว

     เพราะมีทั้งธรรมะมาก รู้ธรรมะมาก ทั้งความไม่ถือเนื้อถือตัวแบบพระศิวะ ทั้งจิตที่สุขสงบ เยือกเย็น เวลาพูดอะไรดูน่าเชื่อถือ บุคลิกดี ดูมีสง่าราศี พูดช้า, เย็น, หนักแน่น, น่าเชื่อถือศรัทธา ไม่มีอารมณ์โกรธให้เห็นได้ชัด แบบนี้ เป็นตัวหลอก ทำให้หลงว่าบรรลุธรรมตามหลักพุทธศาสนา

    การจะไม่ถูกหลอก ให้ตรวจดูที่เรื่องอริสัจสี่ ว่าจิตของเขาตรงตามกระแสอริยสัจสี่ไหม ถ้าจิตไม่เข้าอริยสัจสี่ ก็ไม่บรรลุเป็นอริยบุคคลได้ คือ แม้แต่โสดาบันก็ยังไม่ได้ คนเราจะบรรลุธรรมแท้จริง ต้องเข้าทางทุกข์เท่านั้น ทางอื่นนับว่าหลงสุขหมด ถ้ามีสุขอยู่ก็หลงอยู่ หลงโลก หลงภพ ไม่ตื่นออกมาจากภาวะทุกขังได้แท้จริง เมื่อทุกข์อย่างแท้จริงนั่นแหละ จึงจะตื่นออกจากความฝันและเข้าสู่กระแสอริยสัจสี่ จนบรรลุตั้งแต่โสดาบันขึ้นไปได้ อันนี้ เนียนมาก

     แต่ให้ตรวจเช็คที่อริยสัจสี่ จะชัดที่สุด ไม่มีทางเลยที่คนที่ไม่ทุกข์ ไม่เดือดเนื้อร้อนใจ จะได้บรรลุโสดาบัน คนที่ไม่ทุกข์ไม่เดือดเนื้อร้อนใจจะบรรลุเพียงเซียนเท่านั้นไม่ใช่โสดาบันเช่น พระเทวทัต ก็บรรลุเซียน และมีจิตมารแทรกอยู่ด้วยจึงเป็นเซียนถ่อย (สายดำ) มีอภิญญาห้า เป็นต้น

     บุคคลจะเข้าถึงพระพุทธศาสนาได้แท้จริง ผ่านทางพระอริยบุคคลเท่านั้น จึงสามารถต่อสายธรรมตรงกับพุทธศาสนาได้ ถ้าไปหาเซียน มีครูเป็นเซียน ก็จะบรรลุเซียน แม้รู้ธรรมของพระพุทธเจ้ามากก็ไม่ต่างจากพระเทวทัตที่สำเร็จอภิญญาห้าแต่ไม่ใช่พระอริยบุคคลที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา หลายคนในปัจจุบัน สำเร็จเซียนแต่ไม่ใช่เซียนสายฤทธิ์เป็นเซียนสายปัญญา ทำให้มีปัญญามาก ได้ปฏิสัมภิทาญาณสี่ แต่ไม่ได้อาสวขยญาณ ทำให้เทศน์ธรรม เข้าใจธรรม พูดธรรมได้มาก

     แต่นี่ก็ไม่ต่างอะไรกับพระเทวทัตนัก ดีกว่าตรงที่ไม่ทำร้ายพระพุทธเจ้าเราเท่านั้น แต่คนที่บรรลุเซียนแบบนี้ เขาไม่ได้เข้าใจในพุทธศาสนาจริง เขาจะทำลายศาสนาได้ เช่น บางคนไม่มีมารแทรก แต่มีฤษี มีพระศิวะแทรก เขาจะทำลายให้พระสงฆ์ที่ผิดศีลต้องสึกหมด ทั้งๆ ที่ในพุทธศาสนาเรามีเมตตา ว่าถ้าไม่ผิดศีลปาราชิกสี่ ก็ไม่ถึงขั้นสึก เราอยู่กันมาแบบนี้ แต่เขาไม่เข้าใจ ก็บีบเราว่า เขาเป็นพราหมณ์ เป็นฤษี มีศีลเคร่งครัดกว่าพระสงฆ์เรา จึงต้องทำลายล้างพระสงฆ์ที่ผิดศีลออกไป อันนี้ เขาไม่เข้าใจเราจริงๆ เอาศีลและความเป็นฤษีมาตีค่าเราแทน

-จบ-



มหาธรรม เรื่อง สัมมาสมาธิ กับ สมาธิแบบอื่น ต่างกันไฉน?

    สมาธิส่วนใหญ่ที่เจริญกันไม่ใช่สัมมาสมาธิ อนึ่ง สมาธิแบบต่างๆ มีดังต่อไปนี้

สมาธิแบบต่างๆ
     ๑) มิจฉาสมาธิ คือ สมาธิที่ใช้ไปในทางก่อกรรมทำเข็ญ เช่น การทำสมาธิเพื่อทำคุณไสย การใช้เวทย์มนต์คาถาทำร้ายผู้อื่น แม้มีสมาธิแต่เป็นสมาธิที่ดำ คือ มีพลังจิตสีดำ ไม่ทำให้หลุดพ้น หรือการเก็บกด การกดซ่อนอารมณ์ทำให้จิตนิ่งลงได้ มีสมาธินิ่งอยู่ได้ แต่ทำให้พลังจิตมีสีดำ มีความโกรธแค้นหรือมิจฉาทิฐิซ่อนเก็บไว้ อย่างนี้เป็นมิจฉาสมาธิ เช่น ในคนที่มีจิตมิจฉาทิฐิ, พราหมณ์ที่มีมิจฉาทิฐิ, คนที่มีพลังจิตภาคดำ, คนที่เล่นคุณไสยดำ ฯลฯ

     ๒) สมาธิแบบพรหม คือ สมาธิที่มีการกำหนดจิตให้ผ่องใส มีพลังจิตสีขาวรอบ ไม่ดำ แต่เพราะมีการกำหนด จึงไม่ใช่ธรรมชาติ จิตสร้างภาวะความสงบสุขขึ้นมาเอง จิตสร้างภพขึ้นมาเอง จึงไม่ได้เป็นการทำเพื่อหลุดพ้นจากภพชาติ แต่กลับเป็นการสร้างภพชาติใหม่ๆ ให้เกิดขึ้น ดังนี้ จึงไม่ตรงนิพพาน ไม่หลุดพ้น นับเป็นสัมมาสมาธิไม่ได้

     โดยการกำหนดจิตนี้ จะมีสองลักษณะ คือ แบบกำหนดเป็น “รูปธรรม” เช่น สีแดง, ดวงกสิณ ฯลฯ เรียกว่า “รูปฌาน” และแบบที่กำหนดเป็น “นามธรรม” เช่น เป็นความว่าง, เป็นอากาศ, ภาวะไร้ตัวตน ฯลฯเรียกว่า “อรูปฌาน” เจริญแล้ว ทำให้จิตสุขสงบ แต่ไม่หลุดพ้นการเวียนว่ายตายเกิด ทำให้ไปเกิดในพรหมโลก มีการสร้างสมาธิขึ้น, รักษาสมาธิไว้ และทำลายสิ่งรบกวนสมาธิ การสร้าง, รักษา และทำลายนี้เอง ทำให้ยังวนเวียนอยู่ในภพพรหมโลก ไม่หลุดพ้นได้

     ๓) สมาธิแบบสุขาวดี คือ สมาธิที่มีการกำหนดจิตให้ผ่องใส มีพลังจิตขาวรอบ ไม่ดำ โดยเพ่งเล็งตรงไปที่พระพุทธเจ้า หรือพุทธะ (ยูไล) เช่น การใช้พระนามพระพุทธเจ้า เป็นเครื่องกำหนดสมาธิ, การใช้คำบริกรรมว่า “พุทธ โธ” การฝึกสมถกรรมฐานในทางพุทธศาสนาต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ไม่นิพพาน แต่จะจุติยังสุขาวดีโลกธาตุ ไปยังสวรรค์ที่มีพระยูไล หรือพุทธะประทับรออยู่ทั้งสิ้น ไม่นิพพานเลย

    บางท่านใช้สมถกรรมฐาน ในทางพุทธแล้ว ได้เห็นสวรรค์, นรก ก็ศรัทธาคำสอนของพระพุทธเจ้า เข้าถึงภาวะนิโรธ แล้วทำนิพพานให้แจ้งได้ แต่เพราะอาศัยสมาธิแบบนี้ จึงทำให้ไม่หลุดพ้นจากสุขาวดีโลกธาตุ จิตยังคงศรัทธาตรงต่อพระพุทธเจ้า แต่ปัญญาไม่เบ่งบานเต็มที่ คือ รู้ว่านิพพานคืออย่างไร

    แต่ไม่ทราบมรรควิธีทำให้นิพพานโดยละเอียด ไม่ทราบว่าการเจริญมรรคแปด ที่แท้จริง เช่น สัมมาสมาธิ คือ อะไร ทำให้ไม่นิพพาน แต่จุติยังสุขาวดีโลกธาตุแทน พระสงฆ์ส่วนใหญ่ของไทย เกือบ ๙๙% ที่ได้บรรลุมรรคผล จะบรรลุแบบนี้ คือ สมาธิแบบสุขาวดี และได้จุติที่สุขาวดี สำเร็จธรรมแบบ “อรหันตโพธิสัตว์” ไม่ใช่ “อรหันตสาวก” แบบในอดีต

    ๔) สัมมาสมาธิ คือ สมาธิที่ไม่มีการกำหนดจิตให้ผ่องใส ก็มีพลังจิตขาวรอบได้ ไม่ดำ โดยเพ่งเล็งตรงไปที่สัจธรรมความจริง เช่น อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา เช่น การเจริญสมาธิแบบสุขาวดี หรือกรรมฐานทั้งสี่สิบกอง กองใดกองหนึ่งเป็นฐานก่อน (สมถะ)

    จากนั้น ก็ปล่อยวางการเจริญกรรมฐานนั้นลง หยุดการเจริญลง ก็พบว่ากรรมฐานนั้นไม่เที่ยง ในฉับพลันนั้นเอง ก็เข้าสู่ภาวะนิโรธ และบรรลุฉับพลัน โดยไม่ต้องกำหนด ไม่ตั้งใจ ไม่หมาย ไม่มีนิมิต ไม่มีการสร้าง, รักษา หรือทำลายอะไรเลย ก็พบว่า สมาธินี้ เป็นธรรมะ เป็นธรรมชาติ ไม่ต้องสร้าง ก็เกิดขึ้นเอง แล้วดับไปเอง ไม่ต้องรักษา เพราะมันเกิดเองได้ ดับเองได้ ไม่ต้องทำลายกิเลส หรือสิ่งรบกวนสมาธิ เพราะการดับไปเป็นของธรรมดา

     หากเริ่มต้นจากสมถกรรมฐาน คือ กำหนดจิต แล้วละวางการกำหนดลง ฉับพลันนั้นเห็น อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตาได้ นั่นนับเข้าเป็น “สัมมาสมาธิ” หรือบางท่านเจริญ สัมมาสติก่อน ต่อเนื่องจนเกิดสัมมาสมาธิเพราะความต่อเนื่องของสัมมาสตินั้นเช่นสติระลึกรู้ตลอดถึงภาวะไม่เที่ยงเกิดแล้วดับไปของความคิดอารมณ์ต่างๆ ยาวนานจนเกิดสมาธิ แบบนี้เป็นสัมมาสมาธิ เกิดได้จากสัมมาสติ ตรงตามหลักของมรรคมีองค์แปด ทำให้หลุดพ้นนิพพานได้
     -จบ-



มหาธรรม เรื่อง พลังแสงธรรมพระยูไล (หรือแสงทิพย์อริยทรัพย์)

    พระยูไลมีเทคนิคในการโปรดสัตว์มากมายหลายวิธี เช่น การใช้ดวงแก้วคุ้มกันไม่ให้ถูกพลังแทรกในขณะปฏิบัติธรรม, การใช้ดอกบัวทิพย์เข้าไปหมุนสร้างพลังลมปราณให้คน, การใช้เจดีย์บุ่นเซียงดึงจิตวิญญาณร้ายเข้าไปทรมานก่อน เมื่อยอมจำนนแล้วจึงโปรดทีหลัง ฯลฯ

     มีอีกวิธีหนึ่ง ที่ได้ผลมากและมีปัญหาน้อย คือ “แสงธรรมพระยูไล” อนึ่ง ในการใช้ดวงแก้วถ้าใช้นานไปจะกลายเป็นคนไม่สังคมโลก เป็นปัจเจกชนได้ และมีเกราะหุ้มตัวทำให้ไม่เปิดใจรับฟังใคร, ถ้าใช้พลังดอกบัวทิพย์ จะมีกรรมต่อจิตวิญญาณ ทำให้จิตวิญญาณพัวพันไม่ยอมเลิก (หมุนเหวี่ยงจิตวิญญาณที่ขวางการปฏิบัติธรรมออก ทำให้เขาโกรธแล้วกลับมาอีกเนืองๆ), ถ้าใช้เจดีย์บุ่นเซียงจะทำให้ตัวเองมีอาการป่วยออดๆ แอดๆ ได้ เพราะกักสัตว์ร้ายในตัวเอง ก็ต้องโดนตัวเองไปด้วย

    ส่วนการใช้พลังแสงธรรมนั้น จะไม่มีปัญหานี้ แต่มักถูกพลังตรงข้ามเล่นงาน คือ จิตวิญญาณที่มีพลังมืดทั้งหลาย จะมีพลังตรงกันข้ามกับพลังแสงธรรม (มืดกับสว่าง) ดังนั้น จึงมักถูกวิญญาณที่มาจากความมืดรบกวนบ่อยๆ ดังนั้น พระยูไลที่สำเร็จวิชชานี้ ถ้ายังมีสังขารบนโลก จึงต้องพบกับซาตานและคนในโลกมืดเช่น พ่อค้ายาบ้า, มาเฟีย, ยากูซ่า, เบื้องหลัง ฯลฯ ซึ่งพวกเขามีธุรกิจมืด หรืออยู่ในโลกสองแบบ ด้านหนึ่งเป็นคนธรรมดา ด้านหนึ่งทำสิ่งเร้นลับ



การฝึกพลังแสงธรรม
     ๑) การแผ่เมตตา (อัปมัญญาฌาน) แบบนี้ก็สามารถช่วยในการฝึกพลังแสงธรรมได้
     ๒) การยอมรับพลังดำเข้าตัว และฝึกที่จะเปลี่ยนพลังดำให้กลายเป็นขาว (ทองเลน)
     ๓) การถ่ายพลังที่ดีให้แก่ผู้อื่น คือ การฝึกถ่ายพลังปราณรักษาโรคในกายคนก็ได้


    ฝึกสามอย่างนี้ควบคู่กันจะถึงสูงสุดของวิชชา ก็จะสำเร็จกายพุทธะ คือ ได้กายพระยูไล และมีความสามารถพิเศษ คือ “แสงธรรมพระยูไล” สามารถใช้แสงธรรมนี้ ถ่ายเข้าตัวคนเป็นคนๆ ไป เพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมหลุดพ้นจากความเป็นจิตวิญญาณชั้นต่ำ เช่น สัตว์จากอบายภูมิสี่ได้เร็วขึ้น, ง่ายขึ้น, ลัดสั้นขึ้น

    มนุษย์บางคนไม่สำเร็จวิชชานี้โดยตรง แต่ใช้การเปิดร่างประทับทรง เชิญพระยูไลลงมาโปรด ท่านก็จะประทานแสงทิพย์นี้ ถ่ายลงสู่ตัวมนุษย์ ทำให้หลุดพ้นได้ง่ายและรวดเร็ว โดยเฉพาะสัตว์ที่โปรดได้ยาก เช่น มารและอสูร ส่วนจิตวิญญาณที่ดีแล้ว โปรดได้ง่ายทั้งหลาย ไม่จำเป็นต้องใช้พลังแสงธรรมช่วยก็ได้

    การฝึกแสงธรรมให้สำเร็จเป็นของยากพอควร คนที่ฝึกถ่ายพลัง, ถ่ายออร่ารักษาคน มักสำเร็จแสงธรรมแบบนี้ และได้กายทิพย์เป็นพระยูไลไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ประจำสุขาวดีตะวันออก อยู่บนโลกยากจนไม่มีที่อยู่ แต่จะมีคนสร้างสถานธรรมให้ จากโลกไปก็จะเป็นเช่นนี้คือ สุขาวดีนั้น พระยูไลตะวันตกเป็นผู้สร้าง, ผู้รักษา และผู้ทำลายสิ่งชั่วช้า แต่ฝ่ายตะวันออกไม่ได้ทำกิจทั้งสามนี้ จะทรงโปรดสัตว์, ปกครองโลก และสอนให้สัตว์ควบคุม ดูแลสมดุลกันเองมากกว่า

    อนึ่ง การสำเร็จพระยูไลฝ่ายตะวันตกนั้นง่าย แต่การสำเร็จพระยูไลฝ่ายตะวันออกนั้นยากกว่า เพราะไม่ค่อยมีตัวช่วย ต้องใช้ตัวเองเดี่ยวๆ จึงจะสำเร็จได้ (พระยูไลฝ่ายตะวันตก ถ้ารวยเป็นเศรษฐี ก็ใช้เงินช่วยทำงานได้ แต่ฝ่ายตะวันออก ไม่สามารถใช้วิธีนี้ได้) นอกจากนี้ การฝึกพลังแสงธรรมยิ่งยากกว่าการฝึกของทิพย์ชนิดอื่นๆ ได้ช้า และต้องบำเพ็ญบารมีนานกว่า

    กล่าวคือ จะต้องถ่ายพลังปราณให้คนอื่น คนแล้วคนเล่า มากมาย จนตัวเองไม่มีเรี่ยวแรง ไม่เหลือพลัง ต้องกลับไปฟื้นฟูพลังใหม่ครั้งแล้ว ครั้งเล่า จนกว่าจะสำเร็จได้ สภาพของตนเองก็จะมีฤทธิ์มากช่วงหนึ่ง พอถ่ายทอดให้คนอื่นแล้วก็สิ้นฤทธิ์ไปช่วงหนึ่ง ฤทธิ์จะขึ้นๆ ลงๆ อยู่อย่างนี้ หลายครั้งหลายครา จนเมื่อวิริยะมากถึงที่สุด เต็มเปี่ยมแล้ว ก็บรรลุเป็นพระยูไลพร้อมด้วยพลังแสงธรรมนี้

    อนึ่ง ในช่วงที่ฝึกปรือบำเพ็ญอยู่นั้น จะมีพวกเรื่องลับๆ, การทำงานลับๆ, สายลับ, นิกายลับ, หรือองค์กรลับ ฯลฯ เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยมาก ต้องเก็บตัวอยู่นานมาก เหมือนอยู่ในโลกมืดนานพอควร กว่าจะสำเร็จและออกมาได้ พลังแสงเป็นของตรงข้ามกับความมืด ดังนี้ จึงมักถูกพวกพลังมืดครอบงำอยู่นาน กว่าจะผ่านด่านและสำเร็จพลังแสงธรรมได้
          -จบ- 



อ้างอิง
รวมบทความมหาธรรม เรื่อง ลมปราณและสาเหตุที่ต้องฝึกลมปราณ โพสต์โดย physigmund_foid
http://www.oknation.net/blog/buddhabath/2010/03/24/entry-1
ขอบคุณภาพจาก https://lh5.googleusercontent.com/,http://www.training.pwa.co.th/,http://www.pratique-du-yoga.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 :c017: ท่านผู้ตอบโดยเฉพาะ คุณ nathaponson  ที่สรรหาเกร็ดความรู้มาให้อ่าน ๆ แล้วจะเชื่อหรือไม่ ก็เป็นไปดุลยพินิจของแต่ละท่าน แต่อย่างน้อยก็มีสาระอีกแงุ่มุมหนึ่ง คือ เห็นความสำคัญของพลังจิตกันมากขึ้น ผมว่าเรื่องพลังจิต มีหลาย ๆ ประเทศสนใจกันเป็นอย่างมาก

   ทราบว่า สถาบันค้นคว้าเรื่องพลังจิต มีอยู่ 3 ประเทศ คือ

   โซเวียต
   อเมริกา
   จีน
      และทิ้งท้ายที่ ญี่ปุ่น
   มีการรวบรวมคนที่ความชำนาญด้านพลังจิตมารวมกัน

   และภาพยนต์ต่าง ๆ ที่สร้างกันมาในช่วงหลัง นี้ผมก็เห็นอิงเรื่องพลังจิต กันหลายเรื่อง ครับ
 อาทิ เรื่อง จัมเปอร์  ( มันส์มาก )

   
 
   next นัยย์ตาอนาคต  ( มันส์)
 

   push โครตคนเหนือมนุษย์ ( มันส์ )
   

  คือในแนวฝรั่งนั้น จะไม่อิงเรื่องศาสนา ครับ คือทุกคนจะมีพลังจิต เรียกว่าพลังพิเศษซ่อนเร้นอยู่ในตนเองส่วนใดส่วนหนึ่ง รอการเปิดกำลังด้านนี้ออกมาใช้

   สำหรับคนจีน นั้น พลังจิตพิเศษ นี้สื่อสารกันเป็นที่เข้าใจกันว่า  กำลังภายใน
 ซึ่งมักจะมีอยู่ ในวิชายุทธ  ทุกวิชาต้องอาศัยการสำรวมจิตให้มีฤทธิ์ ที่ผมชอบก็มี

  ฝ่ามือยูไล
  ฝ่ามืออรหันต์
  ดรรชนีวชิระ
  คัมภีร์นพเก้า
  คัมภีร์เปลี่ยนเส้นเอ็น
  ระฆังทองคงกระพัน
 
  หอกแทงไม่ทะลุ ไม่สะทกสะท้าน
 

 สว่านเจาะไม่เข้า





ขอบคุณภาพประกอบที่มาจากหลายส่วน นะครับ




 
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
เคยได้ยินว่า ธรรมแนว ลมปราณ
              ธรรมแนว สมาธิ

    ไม่ทราบว่าทั้งสองประการนี้ เกี่ยวข้องกันอย่างไร ในวิชากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเป็นแบบไหนคะ
และแนวลมปราณ กับ แนวสมาธิ ช่วยในการ บรรลุธรรมอย่างไรคะ

ขอบคุณมากคะ

 :c017: :c017: :c017:

    เรื่องที่คุณสุนีย์ต้องการทราบ พระอาจารย์เคยพูดถึง แต่ผมจำไม่ได้
    เอาไว้มีเหตุและปัจจัยเหมาะสม จะถามมาเล่าสู่กันฟัง

     :49:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ