ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 707
41  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม เมื่อ: เมษายน 01, 2024, 05:34:21 am
.



ประชากรสามกลุ่มวัยได้อะไร.? จากการสวดมนต์

โดย เจตพล แสงกล้า นักวิจัยโครงการ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
และ ภาณี วงษ์เอก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล




บทคัดย่อ

บทความนี้นนำเสนอมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์
การอธิษฐานขอพร และการนำประโยชน์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยสัมภาษณ์เชิงลึกประชากรสามกลุ่มวัยที่เข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี (2557) และเป็นผู้ที่สวดมนต์ทุกวันหรือเกือบทุกวันในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 29 ราย (วัยรุ่น 8 ราย วัยแรงงาน 13 ราย และผู้สูงอายุ 8 ราย) ผลการศึกษาพบว่า

บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ของประชากรทั้งสามวัยคล้ายคลึงกันใน 3 มิติ คือ
    - การได้รับการปลูกฝังและถ่ายทอดจากครอบครัว
    - เหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในช่วงชีวิตที่ทำให้สนใจการสวดมนต์ และ
    - การเรียนรู้หลักธรรมที่เริ่มจากความสนใจและตั้งใจศึกษาหลักธรรมด้วยตนเอง

    ทุกกลุ่มวัยเห็นว่า การสวดมนต์เป็นสิ่งที่ดีต้องสวดด้วยความศรัทธา และเชื่อว่ามีคุณค่าทางด้านจิตใจที่จะเกิดผลดีต่อตนเอง ผู้สวดมนต์ส่วนใหญ่ขอพรให้ครอบครัวเป็นลำดับแรก ให้มีความสุข สุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนนาน
    วัยรุ่นและวัยแรงงานส่วนหนึ่งสะท้อนมุมมองในเรื่องการเรียนและการทำงานว่า การขอพรเพียงอย่างเดียวไม่ช่วยให้สำเร็จได้ หากต้องลงมือกระทำด้วย
    ผู้สวดมนต์ทั้งสามวัยเห็นว่า ประโยชน์สำคัญที่ได้รับจากการสวดมนต์ คือ การมีสติในขณะสวดมนต์ ทำให้จิตใจสงบและเป็นสุข และผู้สวดมนต์ทุกกลุ่มวัยนำประโยชน์จากการสวดมนต์มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม

    การสวดมนต์จึงเป็นกิจกรรมที่เหมาะสำหรับทุกคนและทุกวัย

@@@@@@@

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา ถือได้ว่าเป็นประเพณีเพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล สำหรับในประเทศไทย การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนาเริ่มในสมัยสุโขทัย (สุภาพรรณ, 2529) เป็นธรรมเนียมประเพณีที่ชาวสุโขทัยพึงปฏิบัติกันทุกๆ วันพระ วันสำคัญทางศาสนา รวมถึงงานมงคลเฉลิมฉลองต่างๆ (ทัศนา, 2552)

ในสมัยอยุธยา การสวดมนต์มีความแตกต่างจากสมัยสุโขทัย โดยมีการผสมผสานคติความเชื่อและการปฏิบัติของศาสนาพราหมณ์กับพระพุทธศาสนาเข้าด้วยกัน โดยศาสนาพราหมณ์จะมีพิธีสวดที่ส่งเสริมอำนาจบารมีของกษัตริย์ให้ดูน่าเกรงขาม ควรเคารพยกย่อง เช่น พระราชพิธีราชาภิเษกและพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ส่วนพระพุทธศาสนา มีการนำเอาพุทธมนต์ในพระไตรปิฎกมาสวด เพื่อปลุกใจและสร้างความกล้าหาญในการสู้รบศึกสงครามแก่ประชาชน บางครั้งปรากฏในรูปของการปลุกเสกมนต์คาถา

มาถึงพิธีสวดมนต์ในสมัยกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์พบว่า มีความสอดคล้องกับคติความเชื่อกับพิธีสวดเช่นเดียวกับในสมัยอยุธยา ในรัชกาลที่ 2 มีการสังคายนาบทสวดมนต์ แปลพระปริตรทั้งหลายออกเป็นภาษาไทย ผลจากการแปลบทสวดเป็นภาษาไทย ทำให้ประชาชนรู้ความหมาย บทสวดที่มีสาระและถูกต้องตามหลักพุทธธรรม การสังคายนานี้ก่อให้เกิดประเพณีสวดมนต์แปลขึ้นเป็นครั้งแรก สวดทั้งคำบาลีและคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งต่อมาเป็นธรรมเนียมนิยมและปฏิบัติต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน(ทัศนา, 2552)

งานวิจัยเชิงปริมาณเกี่ยวกับการสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556 – 2557 กรณีศึกษา 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ขอนแก่น พะเยา และสงขลา ศึกษาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์โดยทั่วไป และการเข้าร่วมกิจกรรมสวดมนต์ข้ามปีของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 2,741 ราย ในภาพรวม พบว่า

ผู้เข้าร่วมสวดมนต์เกือบทุกคน(ร้อยละ 99.2) คิดว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และเมื่อถามว่าการสวดมนต์มีประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างไร มีข้อค้นพบที่น่าสนใจ คือ
    • การสวดมนต์ช่วยให้มีสติปัญญามากที่สุดถึงร้อยละ 72.9
    • ช่วยให้มีจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ ร้อยละ 69.4
    • มีความเป็นสิริมงคล ร้อยละ 54.9
    • จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา ร้อยละ 48.7 และ
    • เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ร้อยละ 44 (รศรินทร์ ภาณี ณัฐจีรา และเจตพล, 2557)

อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษานี้สะท้อนได้เพียงภาพรวมกว้างๆ ไม่สามารถตอบคำถามในเชิงลึก หรืออธิบายเหตุผลและนัยความหมายของการสวดมนต์ได้

งานวิจัยข้างต้น จึงได้ศึกษาเชิงคุณภาพเพิ่มเติมในประเด็นบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์ การอธิษฐานขอพร ตลอดจนการนำประโยชน์และอานิสงส์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเน้นเปรียบเทียบประชากรสามกลุ่มวัย (วัยรุ่น วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ) เฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ทำการศึกษาเชิงปริมาณเกี่ยวกับการสวดมนต์ข้ามปี พ.ศ. 2556 – 2557


@@@@@@@

วัตถุประสงค์ในการศึกษา

อาศัยข้อมูลจากโครงการวิจัยข้างต้น บทความนี้ต้องการนำเสนอมุมมองบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการสวดมนต์ รูปแบบการสวดมนต์ การอธิษฐานขอพร ตลอดจนการนำประโยชน์และอานิสงส์จากการสวดมนต์ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน ของประชากรสามกลุ่มวัย คือ วัยรุ่น วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ





ทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการสวดมนต์

การสวดมนต์เป็นการนำพระธรรมคำสอน สาระ หรือแก่น หรือหลักของพระพุทธศาสนามาสวดเพื่อก่อให้เกิดสติปัญญา สู่การปฏิบัติเพื่อมุ่งหวังผลอันสูงสุดคือการดับทุกข์ตามคติความเชื่อ (พินิจ, 2548) ดังนั้น การที่ผู้สวดมนต์จะได้รับประโยชน์หรืออานิสงส์จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของเนื้อหาคำสอนที่อยู่ในบทสวดหรือข้อธรรมนั้นๆเป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม อัครเดช ญาณเตโช (ม.ป.ป.) มีความเห็นว่า การสวดภาษาบาลีโดยไม่รู้ความหมาย ไม่ได้หมายความว่าจะไร้ผลแต่ช่วยให้ผู้สวดมนต์มีจิตใจที่สงบเย็นขึ้นมาได้ และหากสวดโดยรู้ความหมายและสาระสำคัญของบทที่สวดจะยิ่งทำให้ผู้สวดมนต์เกิดความศรัทธาเชื่อมั่นในบทสวดมากขึ้น ย่อมส่งผลให้ได้รับอานิสงส์จากการสวดมนต์ 2 ด้านพร้อมๆ กัน คือ ความสงบของจิตใจ และแสงสว่างทางปัญญา สามารถนำหลักธรรมในบทสวดมนต์ไปปฏิบัติตามได้จากการทบทวนวรรณกรรม

ประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์ แบ่งเป็น 2 ประเด็นหลัก ได้แก่
    1) การปรับใช้การสวดมนต์ตามความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา
    2) การปรับใช้ในการสร้างเสริมสุขภาพ
โดยสวดมนต์เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ดังนี้


@@@@@@@

การปรับใช้การสวดมนต์ตามความเชื่อและความศรัทธาทางศาสนา

ประโยชน์หรืออานิสงส์ที่เกิดจากการสวดมนต์ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประการ (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี,ม.ป.ป.)
    ประการแรก คือ ประโยชน์ที่เกิดกับจิตของผู้สวดมนต์เอง
    ประการที่สอง คือ ประโยชน์ที่เกิดในจิตของผู้อื่นที่ได้ยินเสียงสวดมนต์

    1) ประโยชน์ที่เกิดกับจิตของผู้สวดมนต์เอง เสียงในการสวดมนต์ของผู้สวดจะกลบเสียงภายนอกไม่ให้
เข้ามารบกวนจิต ซึ่งจะทำให้ผู้สวดเกิดความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ โดยผู้สวดต้องสวดเสียงดังให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่นใจอยู่กับเสียงสวดมนต์ จะทำให้เกิดสมาธิ เพราะขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูง เพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจ ทำให้เกิดความเกียจคร้าน ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น (สุภาพ, 2554)

เมื่อจิตเป็นสมาธิความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้นและเกิดปัญญาเข้ามาในจิตใจของผู้สวด ถ้าผู้สวดมนต์รู้คำแปลและความหมายจะทำให้มีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงามจิตใจจะบริสุทธิ์ขึ้นอ่อนโยนมีเมตตา เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด และย่อมทำให้ผู้สวดได้ความรู้และปัญญา (จุฑาทิพย์, 2552)

    2) ประโยชน์ในจิตของผู้อื่นที่ได้ยินเสียงสวดมนต์ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอยได้ความรู้
เกิดปัญญามีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยการให้ทาน (สมเด็จพระพุฒาจารย์ พรหมรังสี, 2557)

ยิ่งกว่านั้น การสวดมนต์ยังเป็นการสร้างความสุข และเกิดความสามัคคีในครอบครัว หากครอบครัวใดที่สวดมนต์เป็นประจำจะมีความสงบสุข เกิดสิริมงคลกับครอบครัว (สุภาพ, 2554)

@@@@@@@

การปรับใช้การสวดมนต์ในการสร้างเสริมสุขภาพ

นอกจากประโยชน์หรืออานิสงส์ดังกล่าวแล้ว ปัจจุบันยังมีผู้ศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวกับประโยชน์ของการสวดมนต์ โดยใช้การสวดมนต์บำบัดเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ เพราะการสวดมนต์ทำให้มีสุขภาพจิตดีอันส่งผลต่อการมีสุขภาวะที่ดีของผู้สวดมนต์ (พินิจ, 2548)

นอกจากนี้ จากการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์ พบว่า มีการนำ
ประโยชน์หรืออานิสงส์ของการสวดมนต์มาใช้ในการบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดังรายละเอียดผลการศึกษาต่อไปนี้

ผลการวิจัยกึ่งทดลองการสวดมนต์เพื่อบำบัดความวิตกกังวลและความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็ง
เต้านม โดยการติดตามผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะรับการรักษา จำนวน 10 ราย พบว่า

    - คะแนนเฉลี่ยความวิตกกังวลของผู้ป่วยก่อนสวดมนต์เท่ากับ 61.3 คะแนน (SD = 2.79) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังสวดมนต์ซึ่งเท่ากับ 53 คะแนน(SD = 3.43) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่า การสวดมนต์มีผลในการช่วยลดความวิตกกังวล ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

    - ส่วนคะแนนเฉลี่ยความผาสุกทางจิตวิญญาณหลังสวดมนต์เท่ากับ 53.4 คะแนน(SD = 0.84) สูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนสวดมนต์ ซึ่งเท่ากับ 51.3 คะแนน (SD = 2.58) และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยให้เกิดการผ่อนคลายทำให้รู้สึกเป็นสุขสงบ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการสวดมนต์ช่วยลดความวิตกกังวลและเพิ่มความผาสุกทางจิตวิญญาณในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมได้ (พรทิพย์ และทิตยา, 2555)

จากผลการวิจัยกึ่งทดลองโปรแกรมการจัดการอาการ ที่เน้นการสวดมนต์ช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็ง
ระยะสุดท้ายจำนวน 60 ราย โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง (ผู้ป่วยที่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์) และกลุ่มควบคุม (ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับโปรแกรมการจัดการอาการ) พบว่า

      ค่าเฉลี่ยอาการปวดภายหลังการทดลองของทั้ง 2 กลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยอาการปวดภายหลังการทดลอง 4 วันและ 7 วัน ของกลุ่มทดลอง น้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
      ยิ่งกว่านั้น อาการปวดของกลุ่มทดลองภายหลัง 4 วันและ 7 วัน พบว่า ลดลงจากก่อน

การทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แสดงว่าโปรแกรมการจัดการอาการที่เน้นการสวดมนต์ช่วยลดอาการปวดของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ (เบญมาศ และสุรีพร, 2555)


(ยังมีต่อ)
42  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาจำนวน 184 วัด (เช็ครายชื่อ) เมื่อ: มีนาคม 31, 2024, 07:37:07 am
.


ในหลวงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานวิสุงคามสีมาจำนวน 184 วัด (เช็ครายชื่อ)

วันที่ 30 มีนาคม 2567  ราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 141 ตอนพิเศษ 88 ง. วันที่ 27 มีนาคม 2567 ได้ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา ความว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานวิสุงคามสีมา งวดที่ 2 ประจำปี 2566 ให้แก่วัดที่มีชื่อในบัญชีแนบท้ายประกาศนี้จำนวน 184 วัด ตามเขตที่กำหนดไว้ในบัญชีนั้นและให้นายอำเภอท้องที่ปักเขตให้ถูกต้องตามที่กำหนดไว้ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานวิสุงคามสีมา ประกาศ ณ วันที่ 21  มีนาคม พ.ศ. 2567   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการสมศักดิ์ เทพสุทิน รองนายกรัฐมนตรี

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/24696.pdf


























ขอบคุณ : https://thebuddh.com/?p=78656
43  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รุ่งโรจน์ หวั่น ‘อโยธยา’ ถูกบังคับสูญหาย ซัดรัวหลักฐานพรึบ เก่ากว่าสุโขทัยแน่ เมื่อ: มีนาคม 31, 2024, 06:59:59 am
.



รุ่งโรจน์ หวั่น ‘อโยธยา’ ถูกบังคับสูญหาย ซัดรัวหลักฐานพรึบ เก่ากว่าสุโขทัยแน่


เมื่อวันที่ 30 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายนนี้ โดยบรรยากาศการจัดงานวันที่ 3 เป็นไปอย่างคึกคักเนื่องจากเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์

บรรยากาศตั้งแต่เวลา 11.00 น. ที่บูธสำนักพิมพ์มติชน ‘J47’ ในวันที่ 3 ของงาน มีผู้คนแวะเวียนมาเลือกซื้อ เลือกอ่านหนังสือเป็นจำนวนมาก โดยสำนักพิมพ์มติชน มีหนังสือแนวประวัติศาสตร์ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม และจิตวิทยาพัฒนาบุคคล เป็นแม่เหล็กดึงดูดให้นักอ่านมาหาซื้ออ่านเป็นจำนวนมาก

เวลา 13.00 น. เริ่มกิจกรรมแจกลายเซ็นนักเขียน ‘Read up Sign’ ตลอดช่วงบ่าย ที่บูธสำนักพิมพ์มติชน นำโดย นายสรกล อดุลยานนท์ หรือ หนุ่มเมืองจันท์, รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล เจ้าของผลงานดัง ‘อโยธยาก่อนสุโขทัย ต้นกำเนิดอยุธยา’ และน.ส.วรรณพร เรียนแจ้ง ผู้แปลหนังสือ เดินทางมาพบปะแฟนหนังสือ The Museum of Other People พิพิธภัณฑ์แห่งผู้เป็นอื่น พร้อมแลกเปลี่ยนบทสนทนาอย่างเป็นกันเอง




จากนั้นเวลา 18.00 น. เริ่มเวที Matichon’s Special talk “อโยธยาเก่าแก่กว่าสุโขทัยจริงหรือ?” นำพูดคุยโดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล เจ้าของผลงาน ล้อมวงไปด้วยนักอ่านอย่างอบอุ่น

ในตอนหนึ่งของช่วงทอล์ก รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวว่า เรื่องราวของอโยธยาหายไป แล้วสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก เกิดขึ้นหลังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเสนอว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือ พระเจ้าอู่ทอง เสด็จมาจากเมืองอู่ทอง ประกอบกับการยึดมั่นว่าสุโขทัยเป็ยราชธานีแห่งแรก อโยธยาก็เงียบหายไป ตั้งแต่ช่วง ร.6-7 และช่วงสมัยครามโลก

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวอีกว่า จนมาถึงสมัยรัฐบาลจอมพล. ป พิบูลสงคราม ครั้งที่ 2 ตอนปลาย ก็เริ่มมีการพูดถึงอโยธยาอีกครั้ง โดยการเขียนของนายธนิต อยู่โพธิ์ ก็ได้ทำให้นายจิตร ภูมิศักดิ์ ได้สืบสานงานต่อ รวมถึงงานของอาจารย์ศรีศักร วัลลิโภดม ที่มีการเอาหลักฐานโบราณวัตถุมาพูดขึ้นอีก

“ทั้งนี้ทั้งนั้นเหตุผลที่ว่า นักวิชาการกระแสหลักนั้น ยังยึดติดกับสุโขทัยเป็นราชธานีแห่งแรก และที่มาของพระเจ้าอู่ทอง ก็เลยทำให้ไม่กล้าออกมาอภิปรายถกเถียง

ดังนั้นอโยธยาจึงถูกนักวิชาการกระแสหลัก เรียกว่า เมืองในจินตนาการ เหมือนความหวานชื่น เมื่อหลับตื่นก็หายไป ไม่มีตัวตนจริง แต่ทีนี้พอเอาเข้าจริงแล้วมันต้องกลับไปทบทวนใหม่ว่า เรารู้ส่าสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแรก และสมเด็จพระรามาธิบดีที่1 ก็ไม่ได้มาจากเมืองอู่ทอง เรื่องอโยธยาก็มีสิทธิเอากลับมาทบทวนว่า มันมีจริงหรือเปล่า อย่าให้มันเป็นแค่เมืองในความฝัน” รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าว




เมื่อถามถึงความสำคัฐของ ‘วัดสมณโกฏฐาราม’ บนปกหนังสือ

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า วัดสมณโกฏตามเอกสารคำให้การของวัดประดู่ทรงธรรม บอกว่าพระมหาธาตุที่เป็นหลักของพระนคร มาพระปรางค์อยู่ 5 แห่ง 1.วัดราชบูรณะ 2.วัดมหาธาตุ 3. วัดพระราม ซึ่ง 3 วัดนี้อยู่ในเกาะเมือง

“ระบุชัดแน่ว่าวัดมหาธาตุ พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 สร้าง และ วัดราชบูรณะ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 สร้าง ส่วนวัดพระราม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสร้างอยู่บนตำแหน่งศูนย์กลางของเมือง วัดสมณโกฏก็ต้องเข้ากับกรณีเหล่านั้น และที่สำคัญภาพจากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ วัดสมณโกฏ มีพระปรางค์ที่ใหญ่มาก คนยืนอยู่ตัวกระจึ๋งเดียว พร้อมแสดงตำแหน่งพระปรางค์อย่างเด่นชัด

หลายอย่างในการกำหนดอายุโบราณสถานอธุธยามีปัญหามาก เพราะว่าเราไปติดกับปัญหาว่าก่อนหน้า พ.ศ.1893 มันไม่มีอะไร เรามองเหมือนว่าอยุธยาเกิดจากกระบอกไม้ไผ่ พอถึงพ.ศ.1893 มีจานบินอยู่หนองโสน มันไม่ใช่อย่างนั้น มันต้องมีอยู่ก่อน” รศ.ดร.รุ่งโรจน์ชี้

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า มีการกำหนดว่าอะไรก็ตามที่ใกล้เคียงดับวัดมหาธาตุ ลพบุรี อันนั้นจะต้องเก่า แต่เก่าได้สูงสุดได้แค่พ.ศ. 1893 ทำไมใกล้เคียงกว่านั้นไม่เป็น ทำไมใกล้เคียงมากไม่เป็นพ.ศ. 1850 เพราะฉะนั้นอะไรหลายชิ้น มีความใกล้เคียงกับวัดมหาธาตุ ลพบุรีเยอะ อะไรก็ตามกำหนดไม่เกินพ.ศ 1893 ที่เป็นเพดานกำหนดสำคัญ

เมื่อถามว่าจากการค้นคว้าหลักฐาน พบว่า ‘อโยธยา’ เป็นรากฐานสำคัญของอยุธยาหรือไม่

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า เอกสารก่อนพ.ศ. 1893 มีสำคัญอยู่ 4 ชิ้น 1. โองการแช่งน้ำ และพระอัยการ ซึ่งหมายถึงกฎหมายอีก 3 ฉบับ กล่าวคือ โองการแช่งน้ำเป็นเรื่องราวมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีการใช้ภาษาไท-ลาวเกิดขึ้น แสดงว่ากลุ่มผู้มีอำนาจใช้ภาษากลางในภาษาราชการ

“โองการแช่งน้ำเป็นตัวที่บ่งบอกว่า ระบบกษัตริย์ในอโยธยา พัฒนาไปกว่าระบบวงศ์พระร่วง หัวเมืองแม่น้ำปิง วัง เพราะระบบกษัตริย์เหล่านี้บอกว่า เกิดจากฤาษี หรือ พญานาค แต่อโยธยาบอกว่าสืบมาจากองค์สมมุติไปเลย เป็นกษัตริย์องค์แรกตามคัมภีร์อคัญญสูตรดูศักดิ์สิทธิ์กว่า ฉะนั้นโครงสร้างเหล่านี้เป็นโครงสร้างที่เก่าแก่มา เพียงแต่ว่าเรายึดติดว่าไม่มีเมืองก่อน 1893 แล้วอันนี้ล่ะ หมายความว่าอย่างไร” รศ.ดร.รุ่งโรจน์ชี้

หลักฐานที่ชี้ว่าเมืองอโยธยาเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดจากการค้าขายกับเรือสำเภา?

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงพ.ศ. 1500-1600 รางวงศ์ซ่งส่งเรือสำเภามาค้าขายเอง ศูนย์กลางเดิมจากลพบุรี มาหาแหล่งใหม่ที่สำเภาจีนเข้าได้ก็เลยมาเป็นศูนย์รวมที่อโยธยา เราจะพบตัวอย่างพระพุทธรูปหินทราย แพตเทิร์นที่เราเรียกว่าอู่ทอง กระจายตัวอยู่ตามชุมชนที่รองรับการค้าสำเภากับจีน

เมื่อถามว่าอโยธยาทำไมเก่ากว่าสุโขทัยได้?

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ตนชี้ว่าอโยธยาเป็นศูนย์กลางที่เก่าแก่กว่าสุโขทัย คือ สุโขทัยเป็นชุมชนอยู่แล้ว แต่ความเป็นเซ็นเตอร์เกิดที่อโยธยาแล้วขึ้นไปที่สุโขทัย

“อโยธยาประกาศใช้กฎหมายอย่างเป็นทางการปี 1776 โครงสร้างภาษามีความซับซ้อนมาก โดยเฉพาะที่หลายท่านไปตรวจสอบ ช่วงพีเรียดร่วมสมัยจารึกของพระมหาธรรมราชา พระยาลิไท กษัตริย์สุโขทัยยังเป็นพ่อขุนบางกลางหาว เพิ่งได้เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ แต่อยุธยาเป็นสมเด็จพระรามาธิบดีไปเรียบร้อยแล้ว” รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าว




รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า เนื้อหาข้างในพูดถึงว่าอโยธยาเป็นเซ็นเตอร์ก่อนสุโขทัย ถ้าจะบอกว่าสุโขทัยเจอเครื่องถ้วยซ่ง งั้นบ้านเชียงก็เก่ากว่าอโยธยาเพราะเจอเครื่องถ้วยเหมือนกัน แต่สุโขทัยไม่เคยแสดงอะไร ที่แสดงความเป็นเซ็นเตอร์เก่ากว่าอโยธยา

เมื่อถามว่าการพัฒนาพื้นที่อโยธยากับการอนุรักษ์ จะสามารถอยู่ร่วมกันได้หรือไม่?

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า การพัฒนาก็จะต้องควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ เพียงปัญหามีอยู่ว่า ถ้าเราคิดว่ามันไม่มี เราก็เลยละเลย เปรียบเสมือนว่ามันหาย เหมือนถูกบังคับให้สูญหาย สะกดจิตกันเองให้มันหายไป

“เอาง่ายๆหนังสือเล่มนี้บอกว่า อโยธยาเป็นต้นกำเนิดอยุธยา อยูธยาเป็นต้นกำเนิดกรุงธนบุรี ธนบุรีต้นกำเนิดรัตนโกสินทร์ ซึ่งอโยธยาเป็นตัวรัฐที่ใช้ภาษาไทในทางการที่มีความเก่าแก่ และลักษณะแบบแผนสำนวนภาษา ก็สืบต่อมาถึงช่วงรัตนโกสินทร์” รศ.ดร.รุ่งโรจน์ชี้

รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวทิ้งท้ายว่า คำนำในหนังสือตนเขียนชัดว่า ไม่ได้คัดค้านรถไฟความเร็วสูง ซึ่งตอนนั้นพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ก็บอกแล้วว่า จะให้มีการสร้างหลายแนวทางเลือก แต่ทำไมยังอุตส่าห์ตัดทางเข้าสู่ตัวเมืองอโยธยา ต้นทาง ที่เป็นรากเหง้าของประวัติศาสตร์







ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_4501695
วันที่ 30 มีนาคม 2567 - 21:31 น.   
44  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดประวัติ “สามเณรนนท์” วัดโมลีฯ อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์​ สอบได้ ป.ธ.9 เมื่อ: มีนาคม 31, 2024, 06:25:53 am
.



เปิดประวัติ “สามเณรนนท์” วัดโมลีฯ อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์​ สอบได้ ป.ธ.9

สามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน อายุ 17 ปี หรือ "สามเณรนนท์" วัดโมลีโลกยาราม สามเณรอายุน้อยสุดในประวัติศาสตร์ ที่สอบได้ป.ธ.9 พบสถิติสุดยอดสอบบาลีผ่านทุกปี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการสอบประโยคบาลีสนามหลวง ประจำปี พ.ศ. 2567 ซึ่งได้มีการประกาศผลสอบที่วัดสามพระยา ซึ่งปีนี้มีผู้สอบได้เปรียญธรรม (ป.ธ.)​ 9 ประโยค จำนวน 76 รูป ในจำนวนนี้เป็นสามเณร 14 รูป นั้น หนึ่งในรายชื่อสามเณร พบว่ามีชื่อสามเณรภานุวัฒน์ กองทุ่งมน หรือ “สามเณรนนท์” อายุ 17 ปี วัดโมลีโลกยาราม รวมอยู่ด้วย ถือว่าเป็นสามเณรที่มีอายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์คณะสงฆ์ไทยที่สามารถสอบได้ ป.ธ.9

สำหรับประวัติสามเณรภานุวัฒน์ เป็นชาวอ.บัวใหญ่ จ.นครราชสีมา สังกัดสำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพฯ บวชตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ที่สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม
    อายุ 10 ปี สอบไล่ได้ประโยค 1-2
    อายุ 11 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 3
    อายุ 12 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 4
    อายุ 13 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 5
    อายุ 14 ปี สอบไล่ได้ป.ธ. 6
    พ.ศ. 2565 ก็สอบไล่ได้ป.ธ. 7
    พ.ศ. 2566 อายุ 16 ปี สอบไล่ได้ป.ธ.8

ด้านพระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ ปิยสีโล) เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม กล่าวว่า ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดียิ่ง ที่สำนักเรียนได้สร้างประวัติศาสตร์ของวัดเป็นครั้งแรกที่พระภิกษุ-สามเณร สามารถสอบได้ ป.ธ.9 เป็นจำนวนถึง 25 รูป ถือว่ามากที่สุด ในประวัติศาสตร์การสอบของวัดโมลีฯ อีกทั้งมีสามเณรสอบได้ ป.ธ.9 ถึง 9 รูป โดยเฉพาะสามเณรภานุวัฒน์ ที่มีอายุเพียง 17 ปี ถือว่ามีอายุน้อยที่สุด ขอแสดงความยินดีเป็นอย่างยิ่ง





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3303962/
30 มีนาคม 2567 , 18:37 น. | การศึกษา-ศาสนา
45  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: "นวัคคหายุสมธัมม์" ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกําหนดด้วยองค์เก้า เมื่อ: มีนาคม 30, 2024, 10:40:54 am
.

พิธีนวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ณ พระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิต มหาสีมาราม 16 ธันวาคมที่ผ่านมา


นวัคคหายุสมธัมม์ ธรรมเป็นเครื่องเสมออายุด้วยนพเคราะห์ พระนิพนธ์สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว)

ตามที่ สำนักพระราชวัง ออกแถลงการณ์ลงวันที่ 15 ธันวาคม พุทธศักราช 2565 เรื่อง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา ทรงพระประชวร ความทราบแล้วนั้น

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงมีพระบัญชาโปรดให้สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม แจ้งวัดทุกวัดทั่วราชอาณาจักร และวัดไทยในต่างประเทศ ให้คณะสงฆ์พร้อมด้วยพุทธศาสนิกชนร่วมกันเจริญพระพุทธมนต์และเจริญจิตตภาวนาเป็นพิเศษ ต่อจากการสวดมนต์ทำวัตรเช้าและทำวัตรเย็น เพื่อถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา เป็นประจำทุกวัน

วัดวาอารามทั่วประเทศ รวมถึงวัดไทยในต่างแดน ต่างร่วมประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคล ขอทรงหายจากพระอาการประชวรโดยเร็ววัน

16 ธันวาคมที่ผ่านมา ณ พระอุโบสถวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าไตร และสังฆทานถวายในการที่คณะสงฆ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามโดย พระเดชพระคุณพระพรหมวัชราจารย์ ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) โดย อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานพิธีฝ่ายฆราวาส ร่วมกันจัดพิธีนวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัยแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภาฯ

นวัคคหายุสมธัมม์ (อ่าน นะ-วัก-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทำ) แปลว่า ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกำหนดด้วยองค์เก้า หรือธรรมเป็นเครื่องเสมออายุด้วยนพเคราะห์ เป็นบทเฉพาะที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ปฐมเจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม ทรงพระนิพนธ์ขึ้นโดยรวบรวมพระธรรมต่างๆ ในหลายพระสูตร อันมีข้อธรรมเท่าจำนวนเกณฑ์กำลังเทวดานพเคราะห์ตามหลักโหราศาสตร์ไทย เมื่อคราวบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ 50 ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ พุทธศักราช 2412 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วิทยานิพนธ์เรื่อง ‘วิเคราะห์การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์’ โดย พระมหารังสี ปี่แก้ว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ จะทรงบำเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษาครบ 50 ปี ใคร่จะทรงทำพิธีพิเศษ จึงได้ตรัสปรึกษาสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) เพื่อจัดพิธีขึ้นใหม่



สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ทรงนิพนธ์ ‘นวัคคหายุสมธัมม์’


คณะสงฆ์ 5 รูป วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เจริญพระพุทธมนต์ นวัคคหายุสมธัมม์


อิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม ประธานฝ่ายฆราวาส จุดเทียนในพิธี

สมเด็จพระสังฆราชสา ซึ่งได้รับการยอมรับว่ามีความรู้แตกฉานในพระธรรมวินัย จึงทรงจัดรูปแบบพิธีสวดนพเคราะห์ขึ้นถวายใหม่ เรียกว่า ‘นวัคคหายุสมธัมม์’ โดยให้พระสงฆ์ 5 รูป สวดพระธรรมต่างๆ ที่มีข้อธรรมเท่าจำนวนเกณฑ์กำลังของเทวดานพเคราะห์เฉพาะองค์ๆ คือ
     อนุตตริยะ 6 สำหรับวันอาทิตย์
     จรณะ 15 สำหรับวันจันทร์
     มรรค 8 สำหรับวันอังคาร
     อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 รวม 17 สำหรับวันพุธ
     ทสพลญาณ 10 สำหรับวันเสาร์
     สัญญา 10 อนุปุพพวิหาร 9 รวม 19 สำหรับวันพฤหัสบดี
     สติปัฏฐาน 4 สัมมัปปธาน 4 อิทธิบาท 4 รวม 12 สำหรับพระราหู
     สัปปุริสธรรม 7 อริยทรัพย์ 7 สัมมาสมาธิปริกขาร 7 รวม 21 สำหรับวันศุกร์
     และอาฆาตวัตถุปฏิวินย 9 สำหรับพระเกตุ

การเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ จึงเป็นธรรมเนียมที่มีปฏิบัติครั้งแรกในคราวนั้นเอง

ครั้นเมื่อ พ.ศ.2421 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 25 พรรษา มีพระราชปรารภว่าจะทรงจัดพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาให้พิเศษกว่าที่เคยทำมาแต่ก่อน สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบำราบปรปักษ์ จึงกราบบังคมทูลให้ทรงทำพิธีสวดนวัคคหายุสมธัมม์ จึงเป็นธรรมเนียมที่มีการสวดถวายในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สำหรับสถานที่ประกอบพิธีในช่วงแรกมักถูกกำหนดให้กระทำ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภายในพระบรมมหาราชวัง โดยเป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และในโอกาสสำคัญของพระบรมวงศานุวงศ์


นวัคคหายุสมธัมม์ ฉบับพิมพ์ พ.ศ.2471 (ภาพจากเพจ ‘จตุรเวทวิทยาคม’)


สมุดไทย ‘บูชานพเคราะห์ ว่าด้วยคำบูชา’ สมัยรัชกาลที่ 6 (ภาพจากวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์)


สมุดไทย ‘ตําราโหราศาสตร์ มีประกาศเทวดาเป็นวัน’ ปรากฏพระนาม สมเด็จพระบุรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระบําราบปรปักษ์ (ภาพจากวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์)

พิธีในยุคแรกใช้เวลายาวนานราว 4-5 ชั่วโมง กระทั่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงพระดำริตัดทอนข้อความที่มีเนื้อหาซ้ำกันออกไป คงไว้แต่หัวข้อธรรม ปัจจุบันจึงใช้เวลาสวดราว 1-2 ชั่วโมง

ย้อนกลับไปที่ความหมายของคำว่า นวัคคหายุสมธัมม์ มีที่มาจากศัพท์ 5 คำ ได้แก่
    1. นว แปลว่า ใหม่ จำนวนเก้า
    2. คห แปลว่า เรือน, ยึด
    3. อายุ แปลว่า เวลาที่ดำรงชีวิตอยู่
    4. สม แปลว่า เหมาะสม, ควรแก่, เข้ากันกับ, เสมอ, รับกัน, พอดีกัน
    5. ธมม แปลว่า คุณความดี, คำสั่งสอน, หลักประพฤติปฏิบัติ, ความจริง

ทั้งนี้ นวคห มีความหมายตรงกับคำว่า นวรห หรือ นวารห มาจากศัพท์เต็มว่า นวรหคุณ หรือ นวารหาทิคุณ หมายถึง พุทธคุณ 9 หรือคุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ

นอกจากนี้ นวคห ยังมีอีกความหมายหนึ่งว่า นวเคราะห์ หรือดาวพระเคราะห์ทั้ง 9

เนื้อหาและข้อธรรมส่วนใหญ่ในบทเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ มุ่งเน้นคุณธรรมที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ ควรประพฤติให้เกิดมีในตน และชักนำให้บุคคลเข้าสู่เขตบุญพุทธศาสนา

                                         พรรณราย เรือนอินทร์




ตัวอย่างช่วงตอนต้นของ ‘นวัคคหายุสมธัมม์’

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหันตัสสะ ตาทิโน
วิสุทธิเทวะภูตัสสะ สัมมา สามัญจะ โพธิโน
นะโม ธัมมัสสะ เตเนวะ สุอักขาตัสสะ สัพพะโส
ราคัสสะ เจวะ โทสัสสะ โมหัสสะ จาภิฆาฏิโน

นะโม สุปุญญักเขตตัสสะ สังฆัสสะ ธัมมะธาริโน
สัตถุสาสะนะการิสสะ สัจจาภิสะมิตาวิโน
อุตตะมัง วันทะเนยยานัง วันทันตา ระตะนัตตะยัง
เจโตปะสาทะสัมภูตัง ยัง ปุญญัง ปะสะวามะ เส

หัญญันตูปัททะวา สัพเพ ตัสสานุภาวะสิทธิยา
สะมิชฌันตุ จะ สังกัปปา อัมหากัง ธัมมะนิสสิตา
เย เต นะวัคคะหา นามะ คะหัญญูภิวะวัตถิตา
ระวิ จันโท ภุมโม วุโธ โสโร ชีโว จะ ราหุ จะ

สุกโร เกตุติญาเยนะ โหระสัตถานุโลมินา
เตสัง อายุสะเม ธัมมะ- ปะริยาเย กะถัญจิปิ
ภะณิสสามะ, มะยันทานิ กะมะนิกเข ปะตันติยาฯ








Thank to : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_3733630
ผู้เขียน : พรรณราย เรือนอินทร์ | วันที่ 21 ธันวาคม 2565 - 10:41 น.   

เอกสารอ้างอิง :-
-‘วิเคราะห์การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์’ โดย พระมหารังสี ปี่แก้ว วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พุทธศาสนศึกษา) คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2562.
-บทเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ เฉลิมพระเกียรติและถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ทุกวันอาทิตย์ของสัปดาห์ที่ 4 ของเดือน จัดพิมพ์โดย สำนักงานโครงการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชประดิษฐฯ พระมหาอนุลักษ์ ชุตินันโท บรรณาธิการ, พิมพ์ครั้งที่ 7 พฤษภาคม 2565
46  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "นวัคคหายุสมธัมม์" ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกําหนดด้วยองค์เก้า เมื่อ: มีนาคม 30, 2024, 10:16:03 am
.



แบ่งปันความรู้ทางศาสนาสู่สาธารณะ "นวัคคหายุสมธัมม์"
โดย นางสาวกัญญา แก้วคำฟุ่น นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี โปรดเกล้าฯพระราชทานผ้าไตร และสังฆทานถวายในการ คณะสงฆ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยพระเดชพระคุณพระพรหมวัชราจารย์ ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนา จัดพิธีนวัคคหายุสมธัมม์ ถวายพระพรชัย แต่เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชชิดา ในโอกาสที่ทรงพระประชวร เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๕๕ เวลา ๑๕.๓๐ น. ณ วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

เพื่อให้ พุทธศาสนิกชนที่เป็นพสกนิกรภายใต้พระบรมโพธิสมภารได้แสดงออกถึงความจงรักภักดี และสํานึกในพระมหา กรุณา คุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อว่าสามารถช่วยป้องกันภัยอันตรายจากโรคภัยต่างๆ และทําให้เกิด ความสุขสวัสดี เมื่อผู้สวดมนต์ สวดด้วยความเคารพศรัทธาพร้อมกับแผ่เมตตาและทําใจให้สงบเป็นสมาชิก็จะทําให้ พระปริตรนั้นมีพลังและอานุภาพยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมการศาสนายังได้ประสานไปยังองค์การทางศาสนา ร่วมกันจัดพิธีทางศาสนาถวายพระพรแด่พระองค์ ณ ศาสนสถาน ตามหลักศาสนบัญญัติ ของแต่ศาสนาอีกด้วย

    นวัคคหายุสมธัมม์ อ่านว่า นะ-วัก-คะ-หา-ยุ-สะ-มะ-ทำ แยกศัพท์เป็น นว + ศห + อายุ + สม + ธัมม์ 
    นวัคคหายุสม + ธัมม์ = นวัคคหายุสมธัมม์ แปลว่า ธรรมที่เสมอด้วยอายุแห่งการกําหนดด้วยองค์เก้า หรือธรรมเป็นเครื่องเสมออายุด้วยนพเคราะห์

@@@@@@@

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาบําราบปรปักษ์ จะทรงบําเพ็ญพระกุศลฉลองพระชันษา ครบ ๕๐ ปี ใครจะทรงทําพิธีพิเศษ จึงได้ตรัส ปรึกษาเพื่อจัดพิธีขึ้นใหม่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (ลา ปุสฺสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงจัดรูปแบบพิธีสวดนพเคราะห์ขึ้นถวายใหม่ เรียกว่า “นวัคคหายุสมธัมม์ "

โดยให้พระสงฆ์ ๕ รูป สวดพระธรรมต่างๆ ที่มีข้อธรรมเท่าจํานวนเกณฑ์กําลังของเทวดานพเคราะห์เฉพาะองค์ๆ คือ
     - อนุตริยะ ๖ สําหรับวันอาทิตย์
     - จรณะ ๑๕ สําหรับวันจันทร์
     - มรรค ๘ สําหรับวันอังคาร
     - อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ รวม ๕๔ สําหรับวันพุธ
     - ทศพลญาณ ๑๐ สําหรับวันเสาร์
     - สัญญา ๑๐ อนุปุพพวิหาร ๙ รวม ๑๙ สําหรับวันพฤหัสบดี
     - สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ รวม ๑๒ สําหรับพระราหู
     - สัปปุริสธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ สัมมาสมาธิปริกขาร ๗ รวม ๒๑ สําหรับวันศุกร์
     - และอาฆาตวัตถุปฏิวินัย ๙ สําหรับพระเกตุ

เมื่อวิเคราะห์ดูจํานวนข้อธรรมแล้วจะพบว่า เท่ากับจํานวนกําลังวันของดาวแต่ละดวง น่าจะมิได้ทรงมุ่งให้ใช้บทสวดเป็นมนต์คาถาถอดถอนพระเคราะห์อย่างเดียว แต่มุ่งจะให้นําธรรมะอันเป็นเนื้อหาในบทสวดเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ เพื่อกําจัดเคราะห์และเสริมมงคลด้วยการประพฤติปฏิบัติ มากกว่า ดังนั้น ถ้าจะสะเดาะเคราะห์ให้หมดโดยสิ้นเชิงเหมือนการชําระสิ่งสกปรกออกจากภาชนะ ก็ควรนำหลักธรรมะไปปฏิบัติชําระล้างจิตใจอีกชั้นหนึ่ง


@@@@@@@

การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ในปัจจุบัน ได้ถูกกําหนดให้จัดขึ้นทั่วไป ในพระราชพิธีต่างๆ มักจัดขึ้นเป็นประจําในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ของพระมหากษัตริย์ และพระบรม วงศานุวงศ์ โดยจะถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีดังกล่าว จะสามารถพบเห็นได้ในพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ ทุกวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี หรืองานมหามงคลของ ทางราชสํานักในโอกาสอื่นๆ

พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ได้รับอนุญาตให้ประกอบพิธีเป็นกรณีเฉพาะในงานพระราชพิธีของราชสำนัก โดยมักจัดขึ้นในช่วงเวลาของวันพ่อแห่งชาติ คือ วันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปี จะประกอบพิธี ในช่วงเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ - ๑๗.๓๐ น. ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙

แต่เนื่องจากการเสด็จสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ ๙ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ในปัจจุบันได้ยกเลิกพระราชพิธีเฉลิมพระ ชนมพรรษา ในวันที่ ๕ ธันวาคมของทุกปีลงแล้ว วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ จึงเป็นปีสุดท้ายในการประกอบพิธี เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ และได้ถูกกําหนดให้จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ขึ้นอีกครั้ง ในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร วันที่ ๒๘ กราบของทุกปีแทนธรรมเนียมเต็มที่ได้ปฏิบัติมา




พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ ถูกกําหนดให้ประกอบพิธีในโลกที่เป็นมงคลองราชสํานักไทยเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ เจ้าหน้าที่กลุ่มพิธี กองศาสนูปถัมภ์ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบหน้าที่นี้โดยตําแหน่งทางราชการ

เริ่มตั้งแต่การขออนุญาตประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ การเตรียมกําหนดการ การประสานงานกับบุคลากรฝ่ายอื่นๆ การจัดเตรียมอุปกรณ์ การเบิกสายสิญจน์จากพระมงคลภาณกาจารย์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ผู้หาพิธีจับสายสิญจน์เพื่อใช้ในพระราชพิธีของหลวง การจัดเตรียมสถานที่ รวมถึงการออกฎีกา นิมนต์พระภิกษุผู้ประกอบพิธี

โดยจะนําบัญชีรายนามพระสงฆ์จํานวน ๕ รูป มีพระราชาคณะเป็นหัวหน้า พร้อมด้วย พระครูสัญญาบัตร พระครูฐานานุกรม หรือพระเปรียญธรรม จากวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เสนออธิบดี กรมการศาสนา หรือผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิบดีกรมการศาสนา เป็นผู้มีอํานาจลงนามในฎีกานิมนต์เท่านั้น และมอบให้เจ้าหน้าที่ดําเนินการวางฎีกานิมนต์ไปถวายพระสงฆ์ผู้มีรายนามดังกล่าวต่อไป

ระเบียบเช่นนี้ยึดถือปฏิบัติมา ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๕ เนื่องจากสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ทรงนิพนธ์บทเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ขึ้นใหม่ ซึ่งกําหนดให้พระครูฐานานุกรมในสมัยนั้น คือ พระครูปลัดอวาจีคณานุสิชฌน์ (พระครูปลัดขวา) พระครูปลัดอุทิจยานุสาสน์ (พระครูปลัดซ้าย) รับหน้าที่เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์

และเนื่องด้วยวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามอยู่ใกล้พระบรมมหาราชวัง มีความเกี่ยวเนื่องสนิท สนมคุ้นเคยทางราชสํานัก ปฏิบัติจริยวัตรที่แสดงออกถึงความใกล้ชิด พระสงฆ์ภายในพระอารามเองก็มีความรู้ ความเข้าใจเข้าใจในขนบธรรมเนียมงานพระราชพิธี “กรมสังฆการีธรรมการ” (ปัจจุบัน คือ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม) จีงนิมนต์พระสงฆ์วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จํานวน ๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ เป็นการเฉพาะ


@@@@@@@

พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์กําหนดให้มีผู้ประกอบพิธี ๒ ฝ่าย คือ
    - ฝ่ายพระสงฆ์กําหนดให้ นิมนต์พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์จากวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม จํานวน ๕ รูป เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์
    - ส่วนฝ่ายฆราวาสกำหนดให้คณะโหรพราหมณ์ประกอบพิธีบูชาเชิญเทวดานพเคราะห์ทีละองค์ โดยสวดสลับกันไปมาตามลำดับพิธีของฝ่ายตนเอง โดยแบ่งขั้นตอนการประกอบพิธีออกเป็น ๒ ส่วน สลับไปมาเช่นกัน

"ในสมัยแรก" พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์มักถูกกําหนดให้ประกอบพิธีในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง เนื่องจากเป็นพระราชพิธี จึงได้รับการอุปถัมภ์จากราชสํานักอยู่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ เพราะถือว่าพิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์เป็นส่วนหนึ่งของพระราชพิธีเฉลิม พระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งจะต้อง เนินการจัดงานดังกล่าวอยู่เป็นประจําทุกปี และในโอกาสสําคัญของพระบรมวงศานุวงศ์พระองค์อื่นๆ

พิธีเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ยุคแรกใช้เวลานาน ในการประกอบพิธี เนื่องจากบทสวดที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (สา ปุสสเทโว) สมเด็จพระสังฆราช ได้นิพนธ์ ขึ้นใหม่มีจํานวนมาก ใช้เวลาสวดนาน ๔-๕ ชั่วโมง จนกระทั่งในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงดําริตัดทอนความที่มีเนื้อหาซ้ำกันออกไป คงไว้แต่ข้อพระธรรมเท่านั้น ในปัจจุบันพระสงฆ์สวดบทสวดในคัมภีร์เจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ใช้เวลา ราว ๑-๒ ชั่วโมงเท่านั้น

"นวัคคหายุสมธัมม์" เป็นคําศัพท์ที่ทั้งพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนไม่คุ้นชื่อมากนัก โดยกรมการศาสนา มีภารกิจสนองงานได้เบื้องพระยุคลบาทในฐานะเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับสงฆ์ (สังฆการี) ถือปฏิบัติภารกิจ ดังกล่าวนี้ในพระราชพิธีที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวาย พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาหรือพระราชพิธีอื่นๆ เพื่อบํารุงขวัญและกําลังใจให้พุทธศาสนิกชน ที่เป็นพสกนิกรภายใต้พระบรมโพธิสมภาร ได้แสดงออกถึงความจงรักภักดีและสํานึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์








ขอขอบคุณที่มา :-
บทความ : แบ่งปันความรู้ทางศาสนาสู่สาธารณะ "นวัคคหายุสมธัมม์" โดยนางสาวกัญญา แก้วคำฟุ่น นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการพิเศษ , กรมการศาสนา
URL : https://e-book.dra.go.th/ebook/2566/E-book_navakakha/mobile/index.html

แหล่งอ้างอิงข้อมูล :-
- กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๔) พระพิธีธรรม กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด
- กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (๒๕๕๔), ศาสนพิธีในพระราชพิธี (เล่ม - กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จํากัด
- พระมหาสี ปี่แก้ว (๒๕๖๒) วิเคราะห์การสวดนพเคราะห์ด้วยการเจริญพระพุทธมนต์นวัคคหายุสมธัมม์ วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
47  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / "ศรีเทพ" เมืองศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ดินแดนต้องห้าม เมื่อ: มีนาคม 30, 2024, 07:23:47 am
.



"ศรีเทพ" เมืองศักดิ์สิทธิ์ ปาฏิหาริย์ดินแดนต้องห้าม

“เมืองศรีเทพ” กรมศิลปากร ระบุไว้ว่า เป็นเมืองโบราณในตำบลศรีเทพ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดอยู่ในเขตที่สูงถูกเชื่อมโยงเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสินค้า วัฒนธรรมระหว่างพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ...มีความสำคัญมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์

รวมไปถึงวัฒนธรรมเขมรโบราณ (พุทธศตวรรษที่ 8-18) โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 2,889 ไร่ หรือประมาณ 4.7 ตารางกิโลเมตร ลักษณะเป็นเมืองที่มีคูน้ำคันดินล้อมรอบแบบเมืองในวัฒนธรรมทวาราวดี ที่ยังคงสามารถรักษารูปแบบแต่เดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์มากที่สุด โดยไม่ถูกเปลี่ยนแปลงแห่งหนึ่งของประเทศไทย

สิ่งที่น่าสนใจคือ “ที่ตั้ง” ของ “เมืองศรีเทพ” นั้น แตกต่างจากเมืองอื่นๆในอดีต ซึ่งปกติแล้วเมืองที่มีความเจริญจะตั้งอยู่ใกล้แม่น้ำหรือไม่ไกลทะเล แต่เมืองศรีเทพกลับอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน






แล้วเหตุใดถึงเจริญรุ่งเรืองได้? และในช่วงสมัยเดียวกันก็ยังเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดด้วย เมื่อประมาณพันปีที่ผ่านมา ผศ.ดร.กังวล คัชชิมา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรและผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญา พุทธศาสนา ภาษาศาสตร์ (เขมร) ตั้งข้อสังเกต

“เมืองศรีเทพ” มาก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งเดิมทีที่ตรงนี้ก็มีคนอาศัยอยู่ก่อนประมาณ 1,700-1,800 ปีก่อน แต่ปัญหาของเมืองศรีเทพนั้น ไม่ค่อยมีการเขียนจารึกไว้...เท่าที่ดูซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ก็เชื่อว่าผู้คนที่อาศัยมีอารยธรรมและเทคโนโลยีอยู่พอสมควร

เช่น การขนหินจากที่อื่นที่ไม่ใช่ประเทศไทย การสร้างเครื่อง ประดับต่างๆ ฯลฯ

@@@@

อัตลักษณ์ของเมืองศรีเทพ คือ “องค์สุริยเทพองค์ใหญ่” มีหลายองค์ ซึ่งที่น่าแปลกคือที่ผ่านมาไม่เคยค้นเจอในแถบบ้านเราเลย ที่สำคัญคืออารยธรรมที่ปรากฏมีลักษณะแบบ “เอเชียกลาง” สิ่งที่เห็นได้คือชุดที่ใส่ โดยมีอารยธรรมโบราณและมีการผสมผสาน

ผศ.ดร.กังวล บอกอีกว่า ที่แปลกที่สุดที่มีปรากฏเฉพาะในเมืองศรีเทพคือ พระพิมพ์ดินเผา ชุดหนึ่งที่มีชื่อของ “หลวงจีน” รูปหนึ่งสลักไว้ด้านหลังองค์พระที่สร้างขึ้น หลังจากทางเข้ามาในเมืองศรีเทพ

คาดว่าน่าจะสร้างช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-14 หรือประมาณ 1,200 กว่าปีก่อน




นี่คือความชัดเจนที่เห็นได้ว่ามีคนต่างชาติเดินทางเข้ามาในเมืองศรีเทพ ซึ่งนอกจากจะมีอารยธรรมทางอินเดียมาแล้วยังมีคนจีนเข้ามาด้วย การมีหลวงจีนปรากฏในเมืองศรีเทพ สำคัญอย่างไร...ที่ผ่านมาเราอาจจะทราบว่ามี “พระถังซัมจั๋ง” ไปทางอินเดีย หลวงจีนอี้จิง หลวงจีนฟาเหียนเดินทางไปทะเล ไปอินโดฯก่อนไปอินเดีย แต่ทำไมหลวงจีนองค์นี้ ต้องตะเกียกตะกายเดินทางมา ที่ศรีเทพ

แปลว่าที่ตรงนี้ต้องเป็น...แหล่งศักดิ์สิทธิ์

หรือมีความสำคัญมากในภูมิภาคหรือเปล่า และจากการสำรวจเขาคลังนอก มีการระบุว่า มีความคล้ายกับ “นาลันทา” ซึ่งเป็นวิทยาลัยสงฆ์แห่งแรกในอินเดียเลย หรือนี่อาจจะเป็นเหตุผลคล้ายกับของพระถังซัมจั๋ง ก็เดินทางไปอินเดีย นี่เป็นข้อสันนิษฐาน...

แปลว่า “ศรีเทพ” ก็ไม่ใช่เมืองแห่งการค้าขาย และก็ไม่แน่ใจว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ สำคัญในทางพุทธศาสนาหรือไม่ สาเหตุที่ไม่มีความชัดเจนทางใดทางหนึ่ง เพราะไม่มี “จารึก”บ่งบอก




พุ่งเป้าไปที่ที่ตั้งของเมือง รูปลักษณ์ สิ่งแวดล้อม ส่วนประกอบต่างๆอย่างเขาถมอรัตน์ ก็อาจจะหมายถึง “ดินแดนศักดิ์สิทธิ์” นี่แหละ...เพียงแต่ว่าสิ่งที่ขาดคือ “จารึก” ที่เขียนบอกอย่างชัดเจน

น่าสนใจด้วยว่า...ถ้ำบนยอดเขาถมอรัตน์ก็เป็นสถานที่ซึ่งรวมรูปเคารพทั้งพระโพธิสัตว์...รูปเคารพของศาสนาพุทธในคติแบบมหายาน และพระพุทธรูป เสาธรรมจักร สถูปจำลอง ซึ่งเป็นคติแบบเถรวาท

การผสมผสานคติความเชื่อทั้งสองรูปแบบนี้นับได้ว่าเป็นลักษณะเด่นประการหนึ่งของคติความเชื่อแบบ “ศรีเทพ”...เป็นสังคมที่มีการผสมผสานแนวคิดทั้งสองแบบเข้าด้วยกัน

@@@@

ศิลปวัฒนธรรม (10 ม.ค.67) อนุชิต อุ่นจิต เขียนถึง “เมืองศรีเทพ” ไว้ว่า เมืองโบราณแห่งนี้มีลักษณะเป็น...เมืองซ้อนเมือง แล้วมีเนินดินสูงล้อมรอบคล้ายกำแพงเมือง ด้านนอกของเนินดินเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง การขุดค้นเมืองโบราณแห่งนี้เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2521 โดยกรมศิลปากร

และ...เป็นที่น่าแปลก ที่ว่าภายในพื้นที่บริเวณเขตเมืองโบราณนั้น ไม่มีชาวบ้านคนไหนเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ภายในเลย แต่กลับสร้างบ้าน ตั้งถิ่นฐานอยู่รอบนอกเขตเมืองโบราณเท่านั้น






ชาวบ้านเล่าว่า พื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อว่า...เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่อยู่ของเทพเทวดา เมืองโบราณแห่งนี้...เทพเทวดาได้สร้างเอาไว้ก่อนจะขึ้นไปอยู่บนสวรรค์ ในสมัยก่อนจึงไม่มีใครกล้าเข้าไปอยู่อาศัย

ทั้งยังมีความเชื่อด้วยว่า...หากใครเข้าไปอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณแห่งนี้ ก็จะเกิดอาเพศกับตนเองและครอบครัว

บางคนอาจล้มป่วยโดยไม่มีสาเหตุ หรือบางคนถึงขั้นเสียสติ เมื่อเข้าไปอยู่อาศัยในสถานที่แห่งนี้ ชาวบ้านในพื้นที่ทำได้เพียงอาศัยพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ประกอบอาชีพเท่านั้น ซึ่งในสมัยก่อนก็จะมีการประกอบอาชีพการเกษตร ล่าสัตว์ เก็บของป่า ...พิธีกรรมความเชื่อสำคัญในสมัยก่อนชาวบ้านจะไปกราบไหว้ นำเครื่องเซ่นไหว้ไปไหว้ศาลที่ตั้งไว้บนเนินดินบริเวณขอบเมืองโบราณหรือเนินที่กรมศิลปากรเชื่อว่าน่าจะเป็นกำแพงเมือง

และ...หลังจากเมืองโบราณเปลี่ยนเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพแล้ว ได้มีการอัญเชิญศาลแห่งนี้ลงมาไว้ด้านล่าง โดยเทวรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในศาล ชาวบ้านเรียกกันว่า...“เจ้าพ่อศรีเทพ”




ชาวอำเภอศรีเทพจะจัดพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อศรีเทพเป็นประจำทุกปี ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 เพื่อความเป็นสิริมงคลและความเจริญรุ่งเรืองของชาวอำเภอศรีเทพ โดยเครื่องบวงสรวงประกอบด้วยข้าวต้มมัด ขนมจีนน้ำยา และอาหารท้องถิ่นของชาวอำเภอศรีเทพ

หลังเสร็จสิ้นพิธีบวงสรวงจะได้มีการแจกจ่ายข้าวต้มมัดแก่ผู้ร่วมงาน ซึ่งถือว่าผู้ได้รับประทาน ข้าวต้มมัดจะมีความเจริญรุ่งเรือง มั่งมีศรีสุข และมีความรักความสามัคคีกลมเกลียวกัน

“ศรัทธา” นำมาซึ่ง “ปาฏิหาริย์” เชื่อไม่เชื่ออย่างไรโปรดอย่าได้ “ลบหลู่”.

                                รัก-ยม




Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/2772850
24 มี.ค. 2567 06:49 น. | ไลฟ์สไตล์ > วัฒนธรรม > รัก-ยม
48  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่อง ‘สงกรานต์ไทย’ ย้อนรอยความเชื่อโบราณ-ที่มาการเล่นสาดน้ำ เมื่อ: มีนาคม 30, 2024, 07:04:38 am
.



ส่อง ‘สงกรานต์ไทย’ ย้อนรอยความเชื่อโบราณ-ที่มาการเล่นสาดน้ำ

วงเสวนา ส่อง ‘สงกรานต์ไทย’ ย้อนรอยความเชื่อโบราณ และที่มาการเล่นสาดน้ำ

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ห้องประชุมอาคารดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สโมสรศิลปวัฒนธรรม จัดเสวนาส่อง “สงกรานต์ไทย” โดยมี ผศ.คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และนายศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี ร่วมเสวนา




โดย ผศ.คมกฤช กล่าวว่า คำว่า “สงกรานต์” หรือ “สังกรานติ (สํกฺรานฺติ)” มาจากภาษาสันสกฤต หรือภาษาแขกของอินเดีย มีความหมายว่า การเคลื่อนหรือย้ายของพระอาทิตย์ ซึ่งความเชื่อคนโบราณ แบ่งท้องฟ้าออกเป็น 12 ช่องตามกลุ่มดาวจักรราศี ดังนั้น “วันสงกรานต์” หมายถึงวันที่ดวงอาทิตย์ เคลื่อนย้ายจากราศีหนึ่งไปสู่อีกราศีหนึ่งในกลุ่มดาวจักราศีทั้ง 12 กลุ่ม เพราะฉะนั้นในรอบ 1 ปี จึงมีวันสงกรานต์ถึง 12 วัน ในช่วงวันที่ 14-15 ของทุกเดือน ตามสุริยคติ เช่น พระอาทิตย์ย้ายเข้าราศีมังกร ก็เรียก มกรสังกรานติ (มกรสงกรานต์) เข้าราศีเมษก็เรียก เมษสังกรานติ (เมษสงกรานต์) ซึ่งเป็นความเชื่อแบบโบราณ

โดยตามความเชื่อของพราหมณ์ ถือเอาสงกรานต์ใหญ่สองสงกรานต์ว่าสำคัญกว่าสงกรานต์อื่นๆ คือ มกรสงกรานต์ และเมษสงกรานต์ มกรสงกรานต์ หรือมกรสังกรานติ คือสงกรานต์ที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าราศีมังกรในช่วงวันที่ 14-15 มกราคมของทุกปี เพราะเป็นช่วงที่ดวงอาทิตย์ย้ายเข้าราศีมังกร เท่ากับได้ย้ายจากวงโคจร (อายน) ด้านใต้ (ทักษิณายัน) ซึ่งกินเวลาครึ่งหนึ่งของปี มาสู่วงโคจรด้านเหนือ (อุตรายัน) วงโคจรด้านเหนือของดวงอาทิตย์คือช่วงเวลาของฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงอบอุ่นของโลกอันเหมาะแก่การเพาะปลูก ผิดกับวงโคจรด้านใต้ที่หนาวเย็น สะท้อนถึงความมืดและความตาย ถือกันว่าทักษิณายันเป็น “กลางคืน” ของเทวดา ส่วนอุตรายันเป็น “กลางวัน” ของเทวดา เพราะหนึ่งปีมนุษย์เท่ากับหนึ่งวันของเทวดา




ทั้งนี้ เมื่อไปดูสงกรานต์ เดือนมกราคมของอินเดียใต้ จะไม่มีการสาดน้ำ แต่จะมีพิธีบูชาเทพที่เทวสถานแล้ว ในอินเดียภาคใต้จะเรียกเทศกาลนี้ว่า “ไทปงคัล” “ปงคัล” คือข้าวหุงอย่างเทศใส่นมเนย ส่วน “ไท” คือชื่อเดือนยี่ของทมิฬ ชาวบ้านจะตื่นมาหุงข้าวปงกัลป์ถวายพระสุริยเทพ ส่วนข้าว “ปงคัล” ของทมิฬ ก็คืออย่างเดียวกับ “ข้าวเปียก” หมายถึงข้าวกวนกับกะทิและนม ซึ่งใช้ถวายพระเป็นเจ้าในพระเทวสถานเฉพาะในพระราชพิธีตรียัมปวายเท่านั้น โดยไม่มีการสาดน้ำ

ส่วนส่งกรานต์เดือนเมษายน ของประเทศไทยนั้น ตรงกับช่วงที่พระอาทิตย์โคจรเข้าสู่ราศี เมษสงกรานต์สำคัญ เพราะเป็นช่วงเวลาที่พระอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งสูงสุดคือจอมฟ้า ตรงเหนือศีรษะเราพอดี อันเป็นตำแหน่งที่พระอาทิตย์มีกำลังสูงสุดในทางโหราศาสตร์อินเดียถือว่า ราศีเมษ เป็นราศีที่สถิต “ลัคนา” หรือตำแหน่งอ้างอิงทางโหราศาสตร์ของโลก การที่ดาวใหญ่อย่างดวงอาทิตย์ย้ายเข้าในราศีลัคนาโลก จึงเป็นเรื่องใหญ่โต และยังใกล้เริ่มต้นเพาะปลูกอีกด้วย แขกพราหมณ์อินเดียใต้ ต่างถือว่าเมษสงกรานต์เป็นปีใหม่ของตน เรียกชื่อเทศกาลออกไปต่างกัน โดยอินเดียในแต่ละภูมิภาคไม่ได้นับปีใหม่ตรงกัน เพราะความแตกต่างของภูมิอากาศ




โดยสงกรานต์ของแขกพราหมณ์ไม่มีสาดน้ำหรือรดน้ำเป็นกรณีพิเศษ แต่จะมีรดน้ำเทวรูปในเทวสถาน ซึ่งก็ทำกันเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ใช่พิธีที่แยกออกมา

การที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายทำให้เกิดฤดูกาล ส่วนมาเป็นสงกรานต์ของ ประเทศไทยได้อย่างไรนั้น สงกรานต์ในระดับราชสำนัก ที่รับมาจากพรามหณ์ จะมีความเข้มข้นค่อนข้างมากในเรื่องของพิธีกรรม ส่วนระดับชาวบ้านอาจจะมีความแตกต่างกับอินเดีย แต่ที่อาจจะคล้ายกัน คือของไทยมีการสาดน้ำ แต่ของประเทศอินเดียจะมีการสาดผงสีใส่กันในเทศกาลโฮลี เป็นเรื่องของการเจริญพืชพันธ์ แต่ที่สันนิษฐานว่า ไม่เหมือนกับสงกรานต์ไทย โดยโฮลี ถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการสิ้นสุดฤดูหนาว ย่างเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ดังนั้น นอกจากจะเล่นสาดสีกันแล้ว ก็จะมีการร้องรำทำเพลงและเต้นรำกันเป็นที่สนุกสนาน ซึ่งตามความเชื่อแล้ว เทศกาลโฮลี เป็นการเผานาง โหลิกา หรือการไล่ความร้อน ซึ่งไม่มีการใช้น้ำ อีกทั้งยังเป็นคนละช่วงเวลา ที่ไม่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ และไม่ได้เป็นที่มาของการสาดน้ำในสงกรานต์ประเทศไทย




ส่วนพิธีกรรมที่เกี่ยวกับน้ำนั้น ตามประเพณีของไทยมี แต่จะมีเฉพาะพระราชพิธีของพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีปรากฎอยู่ในพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือนเกิดขึ้น ของรัชกาลที่ 5 ส่วนการเล่นสาดน้ำนั้น มาจากของไทยเอง จนปัจจุบัน ถึงกับเรียกว่า Water Festival เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว แม้ที่ผ่านมา จะเคยมีการพูดคุยว่า อยากให้อนุรักษ์ประเพณีสงกรานต์แบบดั่งเดิม แต่ส่วนตัว ก็อยากให้เป็นไปตามยุคสมัย ภายใต้กฎหมาย เพื่อให้ประชาชนได้สนุกกับสงกรานต์แบบพอเหมาะพอดี

ด้านนายศิริพจน์ กล่าวว่า เรื่องวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รับมาอินเดีย จะมาเป็นชุดทั้งประเพณี และหลักการความเชื่อทางศาสนา ซึ่งจะมีเรื่องพิธีกรรมที่สัมพันธ์กับฤดูกาล ภูมิอากาศ และการเพาะปลูก เห็นได้จากกฎหมายตราสามดวงวง ซึ่งนับ 1 ปี เป็น 1 รอบของการเพาะปลูก โดยช่วงเดือนเมษายน ของประเทศไทย ตรงกับหน้าร้อนที่ ไม่มีการเพาะปลูก ดังนั้น จึงเป็นช่วง ตรงกับช่วงที่มีการไหว้ผีบรรพบุรุษเพื่อคุ้มครองให้เดือนถัดไปที่จะมีการแรกนา เป็นไปด้วยดี มีความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้สงกรานต์ของไทย นอกจากไหว้เทพและยังมีการไหว้ผีบรรพชนด้วย

ส่วนการสาดน้ำในประเพณีไทยมาจากไหน นั้น จากข้อมูลในสมัยร.4 ที่มีการออกประกาศในเรื่องประเพณีสงกรานต์ ก็ยังไม่มีการสาดน้ำ จนกระทั่งต้องมีการออกประกาศห้ามกระทำในเรื่องต่าง ๆ แต่ก็ยังไม่มีการประกาศในเรื่องสาดน้ำ ส่วนการสาดน้ำมีความเป็นมาอย่างไรนั้น มองว่า เป็นความพยายามแหกออกจากกฎเกณฑ์สังคม ซึ่งการสาดน้ำก็เป็นหนึ่งในการแหกกฎที่ไม่สามารถทำได้ในวิถีปกติ รวมถึงยังมีเรื่องเล่าสัปดนซึ่งไม่สามรถทำได้ในวิถีชีวิตปกติเช่นเดียวกัน





Thank to : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4497898
วันที่ 28 มีนาคม 2567 - 17:02 น.   
49  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘ปีเตอร์ แจ็กสัน’ ชี้ ศาสนาไทย รสหลากหลาย นักวิชาการแค่ ‘ไม่เก็ท’ เมื่อ: มีนาคม 30, 2024, 06:57:13 am
.



‘ปีเตอร์ แจ็กสัน’ ชี้ ศาสนาไทย รสหลากหลาย นักวิชาการแค่ ‘ไม่เก็ท’ ความเชื่อเปลี่ยนตามเจน

เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ชั้น LG ฮอลล์ 5-7 สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) พร้อมด้วยพันธมิตรสำนักพิมพ์ ร่วมจัดงาน ‘สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 52 และสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 22’ ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม-8 เมษายนนี้

บรรยากาศเวลา 17.30 น. พบประชาชนร่วมรอฟังเสวนา “พุทธพาณิชย์ ชีวิตไทยไทย” โดยศาสตราจารย์ ดร.ปีเตอร์ เอ. แจ็กสัน เป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการแจกลายเซ็น การถ่ายรูป แก่แฟนคลับ ที่เลือกซื้อหนังสือภายในบูธสำนักพิมพ์มติชน J47 พร้อมทั้งมีการเลือกซื้อหนังสือที่ตนเองสนใจ ทั้งในแนวประวัติศาสตร์ พระพุทธศาสนา จิตวิทยาพัฒนาตนเอง และศิลปวัฒนธรรม เป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้ทางสำนักพิมพ์ยังมีโปรโมชั่นส่วนลดพิเศษกว่า 15-20% พร้อมรับของแถมสุดเก๋ไก๋เมื่อซื้อหนังสือครบ 500 บาท ขึ้นไปอีกจำนวนมาก




เวลา 18.00 น. ปีเตอร์ แจ็กสัน มาร่วมเวที Book Talk “พุทธพาณิชย์ ชีวิตไทยไทย” ในเรื่องของทุนนิยมที่สอดแทรกในชีวิตประจำวัน ไม่เว้นแม้แต่ความเชื่อทางศาสนา

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า หนังสือ Capitalism Magic Thailand จุดเริ่มต้นที่ผมมาประเทศไทย มีความสนใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ผมเก็บข้อมูลพระพุทธศาสนา ปริญญาเอกเก็บข้อมูลกับพุทธทาสภิกขุ อาจารย์ต่างประเทศหลายคนก็มีจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนาที่นี้

“สมัยเศรษฐกิจบูมๆ ของประเทศไทย ช่วง30-40ปีที่แล้ว ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ในวัดที่คนไทยสนใจ เกี่ยวกับความเชื่อ คนไทยมักมองหาองค์เทพใหม่ๆ เพื่อหาความสำเร็จทางธุรกิจ มีองค์เทพใหม่ๆ ที่คนไม่เคยบูชามาก่อน” ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวต่อว่า ผมเคยอ่าน บทความของ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์ เรื่องราวของเจ้าแม่กวนอิม เป็นบทความที่น่าสนใจมาก มีโอกาสที่น่าจะเปลี่ยนพฤติกรรมความเชื่อทั้งรูปแบบเก่า และมาเป็นรูปแบบใหม่ แม้จะเป็นนักธุรกิจ หรือคนค้าขาย เราต้องการความช่วยเหลือจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อความสำเร็จในชีวิต อาจารย์ในต่างประเทศมักมองข้ามสิ่งนี้ เพราะเขาคิดว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์มักเกินขึ้นในวัดเท่านั้น




ช่วงนั้นพระที่ดังมากก็คือ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา มีทั้งการปลุกเสก เครื่องรางของขลังจำนวนมาก ซึ่งเป็นความเชื่อการนับถือ เครื่องรางของขลัง ของพ่อค้า แม่ค้าจำนวนมาก

เมื่อถามว่า ในหนังสือ Capitalism Magic Thailand เล่าถึงเรื่องใดบ้าง ?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า ในหนังสือ Capitalism Magic Thailand ได้รวบรวมราชพิธี ทั้งความเชื่อจากเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่ทำพิธีปลุกเสกพระเครื่อง เทพใหม่ๆ อาทิ เทพทันใจ ประเทศพม่า ที่คนไทยก็นับถือเช่นกัน ตนพยายามรวบรวมข้อมูลว่ามีความหลากหลายอะไรบ้าง ความสัมพันธ์เศรษฐกิจสมัยใหม่ต่างๆ

สร้างไอเดียหลากหลายรูปแบบ ทั้งความเชื่อ เศรษฐกิจ ทั้งความเชื่อคนไทย คนจีน เกี่ยวกับเจ้าแม่กวนอิม องค์เทพฮินดู จตุคามรามเทพ สงสัยว่าทำไมองค์เทพต่างๆ ถึงมาดังในช่วงนี้เพราะอะไรบ้าง ทั้งสื่อมวลชนก็มีความสนใจในประเด็นนี้




“เมื่อก่อนมีความคิดว่า ถ้าระบบทุนนิยมเข้ามาจะมีความคิด หรือว่าความเชื่อกับศาสนา ในความเชื่อเดิม อาจจะหายไป แต่ใน30-40 ปี ที่แล้ว แสดงให้เห็นว่า ไม่ใช่เลย แม้ว่าศาสนามีความเปลี่ยนแปลง แต่ความเชื่อไม่ได้หายไปเลย และยังขยายตัวมากขึ้นตามสถานการณ์อีกด้วย

อีกทั้งเป็นการสร้างโอกาสให้ความเชื่อรูปแบบใหม่เข้ามา ไม่ว่าใครก็สามารถสนใจเรื่องความเชื่อใหม่ๆได้ ทุกชนชั้นเช่นกัน”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

เมื่อถามว่า ทำไมความเชื่อต่างๆ อยู่ๆ ถึงบูมขึ้นมาในประเทศไทย เกิดปรากฏการณ์อะไร

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า ยกตัวอย่าง พระเครื่อง เหมือนเป็นสิ่งที่คนไทยติดตัวเอาไว้ เพื่อป้องกัน ไม่ให้สิ่งไหนมาทำอะไรเราได้ แต่ความคิดในสมัยนี้ พระเครื่องมีความเชื่อมากกว่านั้น ทั้งการขอสิ่งศักดิ์สิทธิ์จากพระเครื่องในเรื่องของธุรกิจ การขอพรทางด้านการศึกษา สิ่งที่ความเชื่อนั้นบูมขึ้นมาก็คือ ความคิดของคนสมัยใหม่ ที่จะเป็นสิ่งที่เป็นที่พึ่งของเขาได้นั้นเอง




เมื่อถามว่า ในหนังสือมีการใช้คำว่า “ลัทธิบูชาความมั่งคั่ง” ทำไมถึงใช้คำนี้?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า สมัยก่อนไม่รู้จะเรียกว่าอะไร ความเชื่อและพฤติกรรมแบบนี้ คนเรามักเน้นความสำเร็จ ตนเคยไปที่ หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ จังหวัดนครราชสีมา ผมประทับใจมากที่พระเครื่องที่หลวงพ่อคูณปลุกเสก จะมีชื่อทุกรุ่น และกำไลก็มีชื่อ ตนคิดว่านี่คือสิ่งที่เป็นความสำเร็จทางธุรกิจ

“ในช่วงที่เศรษฐกิจบูม ผมมาเมืองไทยก่อนในช่วงนั้น จากเมืองที่เป็นเกษตรกรรม แต่ตอนนี้เป็นอุตสาหกรรมแล้ว คนสมัยก่อนอาจจะคิดว่าพิธีการมันเกิดขึ้นแต่ในหมูบ้านเล็กๆ เท่านั้น แต่ในปัจจุบัน กับเข้ามาในเมืองมากขึ้น นั้นแปลว่าความเชื่อในหมู่บ้าน ชนบท ก็ส่งผลต่อคนมนเมืองหลวงเหมือนกัน ซึ่งนักกิจกรรมต่างๆ ก็สนใจเรื่องเช่นนี้ด้วย”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าว

เมื่อถามว่า ปรากฏการณ์ในสื่อที่เห็นได้มากมาย ที่คนชอบมาแสดง อภินิหาร ความเชื่อต่างๆ คิดเห็นอย่างไร ?

เป็นเหมือนเปลี่ยนแปลงความเชื่อ เมื่อ 40-50 ปีที่แล้ว มีมาตั้งนานแล้ว ในหมู่บ้านตามชนบท อาจจะมีทั้งผู้หญิง และผู้ชายที่เป็นทั้งคนทรงเจ้า ผมสังเกตว่า คนทรงเจ้า มักทรงเจ้าเป็น เจ้าแม่กวนอิม เทพอาจารย์ มีความหลากหลายทั้งพฤติกรรม และความเชื่อ และเป็นสิ่งตรงข้ามกับคำว่าสังคมสมัยใหม่

สิ่งที่น่าสนใจคือ อาทิ วัดแขก จะมีงานทุกปี งานนวราตรี จะมีคนมาบูชาองค์พระพิฆเนศ คนที่จะมาร่วมงานมักมากขึ้นทุกปีขยายขึ้น10เท่า จากเมื่อก่อน เป็นการขยายความเชื่อ คนที่เป็นองค์เทพจากทั่วประเทศก็เข้ามากรุงเทพฯ เพื่อที่จะมาร่วมงาน

และเทศกาลกิเจ จังหวัดภูเก็ต ก็มีความเชื่อจากคนในพื้นที่ต่างๆ เป็นความเชื่อที่มีความหลากหลาย ทั้งองค์เทพ หรือพระเครื่องก็ได้ เป็นสิ่งที่ใกล้ตัว และทุกชนชั้นก็จะเข้ามามีบทบาทด้วยเช่นกัน




เมื่อถามว่า คำว่าร่างทรง มีคำว่า “การทรงเจ้า” ขึ้นมา ทำให้ความเชื่อมากขึ้นจริงหรือไม่?

ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวว่า เห็นด้วย คำว่า ร่างทรง ในชนบทโบราณ มักใช้คำว่าผีเข้า เป็นคำที่ไม่น่ากลัว ถ้าเราพูดว่าเทพเจ้าเข้า เหมือนยกระดับคำว่าร่างทรง เพราะคำว่าเทพ เป็นคำที่สูงกว่าผี ไม่ใช่พฤติกรรมอย่างเดียว เป็นเหมือนการยกระดับ พิธีกรรม ความเชื่อไสยศาสตร์ ถ้าเรายกระดับภาษาไปด้วย ก็จะทำให้มีคนสนใจมากขึ้น ความเชื่อมักตามมาด้วยบารมีที่มากขึ้น อาจจะเรียกว่าเป็นการเสริมบารมี องค์เทพก็เสมือนฐานนะของวิญญาณที่ค่อยช่วยเหลือในสมัยนี้ได้

เมื่อถามว่าการเปลี่ยนรูปลักษณ์ ของขลังให้เป็นสิ่งที่น่ารักมากขึ้น ความขลังจะมีอยู่ไหม?

การมูเตลูมักจะเกิดขึ้นในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ทุกคนต้องหาที่พึ่งจากคนทรงเจ้า จากอินเตอร์เน็ตต่างๆ สิ่งเหล่านี้มักมาตามเศรษฐกิจด้วย แต่ก็มีคำถามว่า ความเชื่อยังอยู่ไหม บางคนก็คงเชื่ออยู่ บางคนบอกว่าคนที่มาขายของแบบนี้อาจจะเน้นความน่ารักของ แต่ผมว่าอยู่ที่ความเชื่อว่าคนที่นับถือสิ่งเหล่านั้น ว่านับถือจริงไหม บางคนก็ไม่เชื่อ บางคนก็เชื่อ

ของขลังมักเข้ามากับเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจมักจะเข้ามากับคนรุ่นใหม่ กับนักศึกษา กับคนที่ไม่เข้าวัด แสดงว่า ความเชื่ออาจะเปลี่ยนตามรุ่น

“ความหลากหลายของประเทศไทย เป็นสิ่งที่สร้างรสชาติ เหมือนอาหารไทย ที่ต้องมีหลายอย่างในหนึ่งมื้อ หวาน เค็ม เผ็ด ต้องครบ เหมือนกับ ความหลายหลายในโต๊ะบูชาของคนไทย ก็มีทั้งองค์เทพในไทย ในจีน หรืออินเดียได้ ความเชื่อของประเทศไทยมีความหลากหลายมาก แต่ก็เป็นปัญหาของนักวิชาการ ที่ไม่สามารถเข้าถึงปัญหาของความหลากหลายเหล่านี้ได้ เราต้องสร้างไอเดียที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม”ปีเตอร์ แจ็กสัน กล่าวทิ้งท้าย






Thank to : https://www.matichon.co.th/book/news_4500339
วันที่ 29 มีนาคม 2567 - 21:29 น.   
50  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 10:29:24 am
.



อานิสงส์ของการสวดมนต์
โดยท่านเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์(โต) พรหมรังสี

เทศนาโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ดังปรากฏในงานของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี จางวางมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4 ที่ได้นิมนต์เจ้าประคุณสมเด็จโตมาเทศน์ที่บ้าน ครั้นพลบค่ำ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตพร้อมลูกศิษย์ได้เดินทางจากวัดระฆังมายังบ้านของท่านเจ้าพระยาสรรเพชรภักดี

ซึ่งในขณะนั้น มีอุบาสกอุบาสิกานั่งพับเพียบเรียบร้อยกันเป็นจำนวนมาก ด้วยต้องการสดับรับฟังการเทศน์ของท่านเจ้าประคุณ ณ ที่เรือนของท่านเจ้าพระยา เจ้าประคุณสมเด็จโตได้ขึ้นนั่งบนธรรมาสน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงกล่าวบูชาพระรัตนตรัย เมื่อจบแล้ว ท่านจึงเทศน์ “เรื่อง อานิสงส์ของการสวดมนต์”

ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กล่าวว่า ยังมีคนส่วนใหญ่เข้าใจว่า การสวดมนต์มีประโยชน์น้อย และเสียเวลา
มากหรือฟังไม่รู้เรื่อง ความจริงแล้วการสวดมนต์มีประโยชน์อย่างมากมาย เพราะการสวดมนต์เป็นการ
กล่าวถึงคุณงามความดีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า พระองค์ท่านมีคุณวิเศษอย่างไร พระธรรมคำสอนของพระองค์มีคุณอย่างไร และพระสงฆ์ อรหันต์ อริยะเจ้ามีคุณเช่นไร

การสวดมนต์ด้วยความตั้งใจจนจิตเป็นสมาธิ แล้วใช้สติพิจารณาจนเกิดปัญญาและความรู้ความเข้าใจ ประโยชน์สูงสุดของการสวดมนต์ นั่นคือ จะทำให้ท่านเป็นผล จนสาเร็จเป็นพระอรหันต์

@@@@@@@

ที่อาตมากล่าวเช่นนี้ มีหลักฐานปรากฏในพระธรรมคำสอนที่กล่าวไว้ว่า โอกาสที่จะบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มี 5 โอกาสด้วยกัน คือ
    • เมื่อฟังธรรม
    • เมื่อแสดงธรรม
    • เมื่อสาธยายธรรม นั่นคือ การสวดมนต์
    • เมื่อตรึกตรองธรรม หรือเพ่งธรรมอยู่ในขณะนั้น
    • เมื่อเจริญวิปัสสนาญาณ

การสวดมนต์ในตอนเช้าและในตอนเย็นเป็นประเพณีที่ปฏิบัติกันมา ตั้งแต่สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าทรงประกาศพระพุทธศาสนา บรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย ต่างพากันมาเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ โดยแบ่งเวลาเข้าเฝ้าเป็น 2 เวลา นั่นคือ ตอนเช้าเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม ตอนเย็นเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรม

การฟังธรรมเป็นการชำระล้างจิตใจ ที่เศร้าหมองให้หมดไป เพื่อสำเร็จสู่มรรคผลพระนิพพาน การสวดมนต์นับเป็นการดีพร้อม ซึ่งประกอบไปด้วยองค์ทั้ง 3 นั่น คือ
    • กาย มีอาการสงบเรียบร้อยและสำรวม
    • ใจ มีความเคารพนบนอบต่อคุณพระรัตนตรัย
    • วาจา เป็นการกล่าวถ้อยคำสรรเสริญถึงพระคุณอันประเสริฐ ในพระคุณทั้งสาม พร้อมเป็นการขอขมาในการผิดพลาด(หากมี) และกล่าวสักการะเทิดทูนสิ่งสูงยิ่ง ซึ่งเราเรียกได้ว่าเป็นการสร้างกุศล ซึ่งเป็นมงคลอันสูงสุดที่เดียว


@@@@@@@

อาตมาภาพ ขอรับรองแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าหากบุคคลใดได้สวดมนต์เช้าและเย็นไม่ขาดแล้ว บุคคลนั้นย่อมเข้าสู่แดนพระอรหันต์อย่างแน่นอน การสวดมนต์นี้ ควรสวดมนต์ให้มีเสียงดังพอสมควร ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์แก่จิตตน และประโยชน์แก่จิตอื่น

ที่ว่าประโยชน์แก่จิตตน คือ เสียงในการสวดมนต์จะกลบเสียงภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนจิต ก็จะทำให้เกิด
ความสงบอยู่กับบทสวดมนต์นั้นๆ ทำให้เกิดสมาธิและปัญญา เข้ามาในจิตใจของผู้สวด

ที่ว่าประโยชน์แก่จิตอื่น คือ ผู้ใดที่ได้ยินได้ฟังเสียงสวดมนต์จะพลอยได้เกิดความรู้เกิดปัญญา มีจิตสงบลึกซึ้งตามไปด้วย ผู้สวดก็เกิดกุศลไปด้วยโดยการให้ทานโดยทางเสียง เหล่าพรหมเทพที่ชอบฟังเสียงในการสวดมนต์ มีอยู่จำนวนมาก ก็จะมาชุมนุมฟังกันอย่างมากมาย

เมื่อมีเหล่าพรหมเทพเข้ามาล้อมรอบตัวของผู้สวดอยู่เช่นนั้น ภัยอันตรายต่างๆ ที่ไหนก็ไม่สามารถกล้ำกลายผู้สวดมนต์ได้ ตลอดจนอาณาเขตและบริเวณบ้านของผู้ที่สวดมนต์ ย่อมมีเกราะแห่งพรหมเทพและเทวดาทั้งหลายคุ้มครองภัยอันตรายได้อย่างดีเยี่ยม

    "ดูก่อน ท่านเจ้าพระยาและอุบาสก อุบาสิกาในที่นี้ การสวดมนต์เป็นการระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ เมื่อจิตมีที่พึ่งคือ คุณพระรัตนตรัย ความกลัวก็ดี ความสะดุ้งกลัวก็ดี และความขนพองสยองเกล้าก็ดี ภัยอันตรายใดๆก็ดี จะไม่มีแก่ผู้สวดมนต์นั่นแล.."

    “…กรรมเก่าไม่มีใครลบล้างได้ กรรมปัจจุบันจะช่วยเจ้าเอง…”
        {คำสอนของสมเด็จพระพุฒจารย์(โต พรหมรังสี)}





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : จากหนังสือ บทสวดมนต์ | https://www.dra.go.th/
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/109212359705607817/
51  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 10:04:06 am
.



ประโยชน์ของการสวดมนต์

สวดมนต์ ๑ ครั้ง เกิดผลดีแก่ชีวิต ๑๓ ประการ

    ๑. ได้สะสมคุณงามความดี คือบุญกุศลให้เกิดมีในจิตใจมากขึ้น
    ๒. ได้พักกายพักใจจากเรื่องวุ่นวาย ให้รู้สึกผ่อนคลาย นิ่งสงบ
    ๓. ได้ใกล้ชิดกับพระรัตนตรัยดลให้กล้าหาญในการละชั่วทําดีมากขึ้น
    ๔. ได้ขัดเกลากิเลสคือโลภ โกรธ หลง ในใจให้เบาบางเจือจางลง

    ๕. ได้เรียนรู้ เข้าใจในหลักธรรม ฉลาดสามารถแก้ทุกข์ให้กับตนได้
    ๖. จิตใจอ่อนโยน มีเมตตา ให้อภัยได้ง่าย สุขง่าย ทุกข์ยาก
    ๗. มีสติยับยั้งในบาปอกุศล คิด พูด ทํา ในสิ่งที่เป็นกุศลได้ง่าย
    ๘. เมื่อทําดีแล้วก็เกิดความภูมิใจ ชื่นใจ และนับถือตนเองยิ่งขึ้น
    ๙.  เวลาท่าสมาธิ จิตจะสงบตั้งมั่นได้เร็ว

  ๑๐. ทําให้มารดาบิดา บุตรธิดา ได้รับส่วนบุญส่วนกุศลไปกับตนด้วย
  ๑๑. ช่วยรักษาพระธรรมในรูปแบบของพุทธภาษา (ภาษาบาลี)
  ๑๒. หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ทําสิ่งใดสําเร็จผลได้ง่าย
  ๑๓. เป็นทางนําไปสู่วิมุตติ คือความหลุดพ้น ดังปรากฏในวิมุตตายตนสูตร (1-) ว่า ทางแห่งวิมุตติมี ๕ อย่าง คือ หลุดพ้นด้วย
       (๑) การฟังธรรม
       (๒) การแสดงธรรม
       (๓) การสาธยายธรรม (สวดมนต์)
       (๔) การคิดพิจารณา ธรรม
       (๕) การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

____________________________________________
(1-) พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๓ หน้าที่ ๒๐๔ ข้อที่ ๓๐๒ : ๒๕๓๘


ที่มา : หนังสือ บทเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อความเป็นสิริมงคล
จัดพิมพ์โดย มหาเถรสมาคม สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งขาติ


.



อานิสงส์การสวดมนต์ 13 ประการ

ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือ ผลความดีมากมาย ดังต่อไปนี้

    1. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง

    2. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    3. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย

    4. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น

    5. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง

    6. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ

    7. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข

    8. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น

    9. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู

  10. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่

  11. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

  12. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียดยิ้ม เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้

  13. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย

   จากหนังสือสวดมนต์พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย



ขอบคุณที่มา : เฟซบุ้ค เห็นทุกข์เห็นธรรม | 25 มีนาคม 2022
https://www.facebook.com/DharmaBuddhismEnlighten/posts/1773391076189049


.


                                             
อานิสงส์ของการสวดมนต์ ๑๔ ประการ

    ๑. ทำให้มีสุขภาพดี การสวดมนต์ด้วยการออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่นกระปรี้กระเปร่า

    ๒. คลายความเครียด ในขณะสวดมนต์จิตจะจดจ่อกับบทสวด สมองจะปลอดโปร่ง ไม่คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    ๓. เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัย บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย เมื่อสวดมนต์ไปก็เท่ากับว่าได้เพิ่มพูนศรัทธาความเชื่อเลื่อมใสในพระรัตนตรัยให้มั่นคงยิ่งขึ้น

    ๔. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะที่สวดมนต์ต้องใช้ความอดทนอย่างสูงเพื่อเอาชนะความปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย รวมทั้งอารมณ์ฝ่ายต่ำที่จะเข้ามากระทบจิตใจทำให้เกิดความเกียจคร้าน ดังนั้น ยิ่งสวดบ่อยๆ ความอดทนก็จะเพิ่มมากยิ่งขึ้น

    ๕. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะที่สวดมนต์จิตจะจดจ่ออยู่กับบทสวดไม่วอกแวกวุ่นวายไปในที่อื่น จึงมีความสงบเกิดสมาธิมั่นคง สะอาดบริสุทธิ์ผ่องใส งดงาม แม้เพียงระยะเวลาน้อยนิด ก็เป็นบุญกุศลประมาณค่าไม่ได้

    ๖. เพิ่มพูนบุญบารมี ขณะที่สวดมนต์จิตใจจะสะอาด ปราศจากกิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงเป็นบ่อเกิดแห่งบุญบารมี เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่ต้องการได้

    ๗. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาเป็นการมอบความรักความปรารถนาดีให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย เพื่อลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธให้เบาบางลงไป พบแต่ความสุขสงบ

    ๘. เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต การสวดมนต์เป็นการทำความดีทั้งทางกายคือการสละเวลามาทำ ทางวาจาคือการกล่าวคำสวดที่ถูกต้อง และทางใจคือการตั้งใจทำด้วยความมั่นคง ย่อมเกิดสิริมงคลแก่ผู้สวดภาวนาทุกประการ

    ๙. เทวดาคุ้มครองรักษา ผู้ที่สวดมนต์เป็นประจำย่อมเป็นที่รักของเทวดา จะทำอะไรก็ตามหรือแม้แต่จะเดินทางไปที่ไหนๆ ก็ปลอดภัยจากอันตราย ประสบความสำเร็จเหมือนมีเทวดาให้พร

  ๑๐. สติมาปัญญาเกิด การสวดมนต์เป็นการสั่งสมคุณความดี ทำให้มีสติและมีจิตสำนึกที่ดีในการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะถ้าสวดพร้อมกับคำแปลก็จะเกิดสติปัญญานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

  ๑๑. มีผิวพรรณผ่องใสจิตใจชื่นบาน การสวดมนต์ด้วยการเปล่งเสียงเป็นการกระตุ้นเซลล์ผิวหนัง จะทำให้มีผิวพรรณผ่องใสใจเป็นสุข เพราะขณะที่สวดมนต์จิตจะตั้งมั่นในบุญกุศล ไม่คิดไปในเรื่องอื่นที่ทำให้ใจเศร้าหมอง

  ๑๒. พิชิตใจผู้คนให้รักใคร่ การสวดมนต์เป็นประจำจะทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้ที่เป็นมิตรอยู่แล้วก็รักใคร่กลมเกลียวกันมากยิ่งขึ้น แม้คนที่เคยเป็นศัตรูคู่อาฆาตกันก็จะหันกลับมาคืนดีในที่สุด

  ๑๓. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตราย การสวดมนต์เป็นประจำ จะทำให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ในยามมีภัย ประสบวิบากกรรมร้ายจะมีมาถึงตัว เพราะจะทำให้มีสติอยู่ตลอดเวลา

  ๑๔. ครอบครัวเป็นสุขสดใส การสวดมนต์เป็นการสร้างความสุข และเกิดความสามัคคีในครอบครัว หากครอบครัวใดที่พ่อบ้านแม่เรือนสวดมนต์และสอนลูกหลานให้สวดมนต์เป็นประจำ จะมีความสงบสุข ไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง ส่งผลให้สังคมมีความสงบสุข



Thank to : https://www.vstarproject.com/vstarproject/page/news.php?nId_blog=577
4 ก.ค. 60 | โดย น.ส.นริสรา น้อยแสง | Bitly แก้ไข






อานิสงส์การสวดมนต์ 15 ประการ

ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือผลความดี มากมายดังต่อไปนี้

    1. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง

    2. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย

    3. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย

    4. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น

    5. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง

    6. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ

    7. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข

    8. เกิดความเป็นสิริมงคล การสวดมนต์เป็นการทำความดีไปพร้อมกันทั้งทางกาย วาจา ใจ การทำดี พูดดี คิดดี ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง

    9. เทวดารักษา ผู้ที่ประกอบกรรมดี ทางกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา และการที่เราได้แผ่เมตตาให้แก่เทวดานั้น ก็ยิ่งจะเป็นที่รักของเทวดามากขึ้น

  10. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น

  11. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู

  12. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่

  13. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง

  14. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียดจัญไร เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้

  15. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย

   จากหนังสือ “พุทธฤทธิ์ พิชิตภัย" เลี่ยงเชียง




ขอบคุณที่มา : เฟซบุ้ค อมตะธรรม ประเทศไทย | 9 สิงหาคม 2022
https://www.facebook.com/amatatum/photos/a.416051701814506/5663040090448948/?paipv=0&eav=AfaP3sDDepEfdXm_dryaVDmDWB2Elw7o7xUelT0X5SSWSn7NF2QBAAcRMrLpTy6XG_4&_rdr
52  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 09:34:50 am
.



สวดมนต์ก่อนนอน อานิสงส์ 9 ประการช่วยให้จิตใจสงบชีวิตดี พร้อมบทสวดมนต์

สวดมนต์ก่อนนอน บทสวดมนต์ก่อนนอน สร้างอานิสงส์ 9 ประการแก่ผู้กระทำ ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น เป็นผู้มีสติปัญญาที่ดี จิตใจสงบนอนหลับสบาย สวดมนต์ก่อนนอนถือเป็นกิจวัตรที่ถ้าหากใครได้ทำแล้วนั้นย่อมส่งผลดีต่อตัวผู้กระทำเอง เป็นการสร้างกุศลด้วยการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายแด่พระพุทธเจ้า ช่วยให้จิตใจมีความสุข ร่างกายจึงหลั่งสารความสุขให้ชีวิตสดใส

นอกจากนี้ การสวดมนต์ก่อนนอน ยังช่วยปัดเป่าภัยอันตรายทั้งหลาย แถมช่วยให้คนคนนั้นเป็นผู้มีสมาธิ สติปัญญาที่ดี เป็นที่รักที่โปรดปรานของเหล่าเทวดาทั้งหลายทั้งปวง ช่วยให้มีจิตใจสงบ ช่วยให้นอนหลับง่าย ตื่นมาพร้อมความสดใส

@@@@@@@

9 อานิสงส์ของการสวดมนต์

    1. มีจิตใจสงบช่วยให้นอนหลับง่ายตื่นมาพร้อมความสดใส
    2. เป็นที่รักที่โปรดปรานของเทวดาทั้งหลายทั้งปวง
    3. เป็นผู้มีสมาธิ สติบัญญาที่ดี
    4. ปัดเป่าภัยอันตรายทั้งหลาย
    5. จิตใจมีความสุข ส่งผลให้ร่างกายหลั่งสารความสุขให้ชีวิตสดใส
    6. ได้กุศลจากการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายแด่พระพุทธเจ้า
    7. เกิดสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัว ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย
    8. ได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จากกรรมดีและการแผ่เมตตา
    9. ขจัดความขี้เกียจในจิตใจ การสวดมนต์ก่อนนอน หากทำทุกวันจนเป็นกิจวัตรสำเร็จในทุกวันจะช่วยให้ มีความอดทน สามารถทำสิ่งอื่นสำเร็จด้วยได้

 



สวดมนต์ก่อนนอน

กราบบูชาพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
กราบครั้งที่ 1 กราบพระพุทธ
กราบครั้งที่ 2 กราบพระธรรม
กราบครั้งที่ 3 กราบพระสงฆ์

คำบูชาพระรัตนตรัย (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)
อิมินา สักกาเรนะ พุทธัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ ธัมมัง อะภิปูชะยามิ
อิมินา สักกาเรนะ สังฆัง อะภิปูชะยามิ

บทสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ ฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ ฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิ ฯ (กราบ)

บทสวดมนต์ นะโม สรรเสริญพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


 st12 st12 st12

บทสวดมนต์ อาราธนาศีล 5
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยังภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ

บทสวดมนต์ ไตรสรณคมน์
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

บทสวดมนต์ สมาทานศีล 5
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

บทสวดมนต์ อธิษฐานรักษาศีล 5
ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐานว่า ต่อแต่นี้ไปข้าพเจ้าจะขอรักษาศีล 5 ให้บริสุทธิ์ดังเดิม

บทสวดมนต์ก่อนนอน ศีล 5
อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ (กล่าว 3 จบ)


 st12 st12 st12

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาแก่ตนเอง
กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ปราศจากเวร
อัพยาปัชโฌ โหมิ ปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
อะนีโฆ โหมิ ปราศจากความทุกข์การทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจรักษาตนให้พ้นจากทุกภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด

บทสวดมนต์ บทแผ่ส่วนกุศล
อิทัง เม มาตาปิตูนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ มาตาปิตะโร
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่บิดามารดาของข้าพเจ้า ขอให้บิดามารดาของข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตะโย
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอให้ญาติทั้งหลายของรข้าพเจ้ามีความสุข
อิทัง เม คุรูปัชฌายาจริยานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ คุรูปัชฌายาจริยา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้ครูอุปัชฌาย์อาจารย์ของข้าพเจ้ามีความสุข

อิทัง สัพพะเทวะตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เทวา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เทวดาทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเปตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เปตา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เปรตทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เปรตทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะเวรีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ เวรี
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวง ขอให้เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายทั้งปวงมีความสุข
อิทัง สัพพะสัตตานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ สัพเพ สัตตา
คำแปล : ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ขอให้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงมีความสุขทั่วหน้ากันเทอญ.




Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/192881
23 ต.ค. 66

.



บทสวดมนต์ก่อนนอน อานิสงส์ของการสวดมนต์

บทสวดมนต์ก่อนนอน นับเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขขึ้นได้ โดยที่ในแต่ละวันเราต้องพบเจอกับเรื่องราวมากมาย ทั้งเรื่องที่ทำให้ชีวิตเป็นสุข ไปจนถึงเรื่องราวแย่ๆ ที่ทำให้ชีวิตวุ่นวาย เมื่อกลับถึงบ้านเราต่างก็ต้องการเวลาพักผ่อน อยากนอนหลับสบายเพื่อลืมเรื่องราวแย่ๆ

การท่องบทสวดมนต์ก่อนนอนจะช่วยให้เรามีสมาธิ จิตใจสงบ ผ่องใส อีกทั้งยังเป็นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้ทำมาในแต่ละวันให้กับเพื่อนมนุษย์ หรือสรรพสัตว์ต่างๆ บนโลก เมื่อเรามีสมาธิ จิตใจเย็นลง จะทำให้เรานอนหลับสบาย ตื่นเช้ามาจะรู้สึกสดใส พร้อมที่จะสู้ไปกับงาน หรือการเรียนได้อย่างมีความสุข

ซึ่งในบทสวดมนต์นั้นไม่ว่าจะเป็นบทใดก็ตามล้วนแล้วแต่มีอานุภาในตัวเองอยู่มากมาย อีกทั้งยังแฝงไปด้วยข้อคิดดีๆ ที่จะเป็นหลักนำทางให้เราดำเนินชีวิตในทุกๆ วันไปได้อย่างราบรื่น

ฉะนั้น การสวดมนต์ก่อนนอนถือว่าเป็นเรื่องที่ดี ยิ่งปฏิบัติทุกวันก็จะส่งผลที่ดีในเรื่องของสมาธิ ปัญญา ทำให้ใจของเราสามารถพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างละเอียด รอบคอบ และใจเย็นมากขึ้น

การสวดมนต์นั้น ต้องถือว่าเป็นเรื่องที่ง่ายสำหรับทุกคนในยุคนี้ สะดวกมากในทุกเพศ ทุกวัยและไม่ใช่เรื่องของคนแก่ อีกต่อไปเหมือนที่เคยเป็นและเราเข้าใจผิดกันอย่างนั้น บทสวดมนต์ต่างๆ มีการเผยแพร่ออกมามากมายในรูปแบบต่างๆ ที่เห็นกันและได้ยินกันจนเคยชินมากมาย

จนกระทั่งในปัจจุบัน การสวดมนต์เข้ามามีบทบาทในชีวิตมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มเด็กหรือวันรุ่น ก็หันมาสนใจการสวดมนต์กันมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการสวด สวดมนต์ก่อนนอนด้วยบทสวดตามปกติ จนไปถึง คาถาชินบัญชร บทสวดยอดพระกัณฑ์พระไตรปิฎก และบทสวดอื่นๆ อีกมากมาย

แต่สำหรับบางคนที่กำลังเริ่มจะสวดมนต์ ยังไม่เคยทราบว่านอกการได้สติ ได้จิตใจที่สงบสุขมาแล้ว สิ่งทีเราสวดมนต์นอกเหนือจากนั้นคือ "อานิสงค์จากการสวดมนต์" หรือผลที่ได้รับจากการสวดมนต์ว่ามีอะไร





อานิสงค์จากการสวดมนต์

    1. สวดมนต์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นบุญที่ได้กล่าวคำศักดิ์สิทธิ์ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ บทสวดพุทธมนต์นั้น มาจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าที่ได้ทรงสอนสั่งสาวกและมีการจำและท่องสืบกันมา จนถึงมีการจดบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ผู้ที่ได้มีโอกาสสวดมนต์ในชีวิต เป็นการเปล่งคำศักดิ์สิทธิ์ถวายเป็นพุทธเจ้า เป็นการบูชาพระพุทธเจ้าและย่อมได้บุญกุศล

    2. เกิดผลดีต่อร่างกาย คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้น ทางการแพทย์สมัยใหม่รับรองแล้วว่า การสวดมนต์ทำให้เกิดความสุขได้จริงในจิตใจ ส่งผลต่อร่างกายให้หลั่งสารความสุขออกมา ร่างกายก็จะแข็งแรง ใบหน้าสดใส ครูบาอาจารย์ในสมัยโบราณถึงปัจจุบันทราบถึงเคล็ดลับลับสำคัญ ให้สังเกตว่าท่านจะมีอายุยืนมาก และบรรพบุรุษของเรานั้น ท่านสวดมนต์เป็นประจำอายุท่านจึงยืนยาว ไม่เหมือนคนในปัจจุบันที่ห่างเหินการสวดมนต์มาก อายุจึงสั้น

   3. เป็นการบำเพ็ญภาวนาอย่างหนึ่ง ทำให้มีสมาธิจิตใจ แจ่มใส การสวดมนต์เป็นการสร้างสมาธิวิธีการหนึ่ง เมื่อจิตที่มีสมาธิย่อมแจ่มใส มีกำลัง คิดอ่านแก้ไขปัญหาอะไรก็จะทำได้ง่ายเพราะมีสติกำกับอยู่

    4. เป็นที่โปรดโปรนของเหล่าเทพเทวดาและดวงจิตวิญญาณทั้งปวง แม้ผู้ใดไม่ว่าจะเป็นพรหมเทพเทวดา สรรพสัตว์ทั้งหลาย ดวงจิตวิญญาณทั้งหลาย เมื่อได้ยินบทสวดนั้นจะพบกับความเย็นสบาย คลายทุกข์ ทำให้นิยมชมชอบคนที่สวดด้วย และเมื่อยินก็จะช่วยปกป้องรักษาคนที่สวด

    5. เกิดบุญจากการแผ่เมตตา เมื่อสวดมนต์เสร็จสิ้น มีการแผ่เมตตาแก่ตนเองและเหล่าสรรพสัตว์ย่อมเกิดอานิสงส์บุญเกิดขึ้น

    6. ได้รับพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คนที่สวดมนต์เป็นประจำนั้นย่อมได้รับการอวยพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์เสมอ เพราะเป็นผู้สร้างกรรมดีจากการสวดมนต์และแผ่เมตตา

    7. สร้างสิริมงคลต่อตนเอง และครอบครัว ปัดเป่าภัยพิภัย โรคร้ายได้จริง ทุกบทสวดมนต์นั้นมาจากอักขระที่ศักดิ์สิทธิ์ มีอำนาจดลบันดาลให้สิ่งอัปมงคลนั้นออกไปจากชีวิต และสร้างสิริมงคลให้กับคนที่สวด ยิ่งสวดมากก็จะมีสิริมงคลมากขึ้น ทำอะไรก็สำเร็จโดยง่าย

    8. สามารถแผ่บุญไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ บทสวดมนต์ทุกบทนั้น สมารถแผ่บุญกุศลไปช่วยผู้อื่นที่เดือดร้อนได้ทุกเรื่อง ยิ่งเป็นสายเลือดเดียวกันจะยิ่งเร็วขึ้น เพราะมีทั้งบุญและกรรมผูกพันกันมา อานิสงส์ที่ดังที่กล่าวมาข้างต้นคงพอจะทำให้ทุกท่านเข้าใจ เรื่อง อานิสงส์ หรือ ประโยชน์ที่จะรับจากการสวดมนต์ไหว้พระ นั่งสมาธิ ตลอดจนการแผ่เมตตาเป็นอย่างดีแล้วอย่างไรก็ดีนี่เป็นเพียงประโยชน์เบื้องต้นเท่านั้นความจริงแล้วมีอานิสงส์ที่จะได้รับทางอ้อมทางลึกอีกมากมายกว่านี้นักแต่เป็น "ปัจจัตตัง" หรือรู้ได้เฉพาะตัวของแต่ละคนไป โปรดจำไว้เสมอว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นต้องปฏิบัติเองถึงจะได้

    9. เป็นพื้นฐานไปสู่การก่อนปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานชั้นสูงต่อไป เมื่อทุกท่านทราบถึงการที่จะต้องทำอย่างไรก่อนถึงจะเริ่มต้นการสวดมนต์ ที่ครบถ้วนทุกประการแล้ว ต่อไปนี้จะขอนำทุกท่านพบกับวิธีการสวดให้ชีวิตดี สวดให้สุข สวดให้รวย กันในลำดับต่อไป


@@@@@@@

บทสวดมนต์ก่อนนอนเป็นบทสวดที่ก่อให้เกิดอานิสงค์กับผู้ที่สวด ทำให้จิตใจสงบ นอนหลับง่าย ตื่นมาสดชื่นเบิกบาน ดังนั้นการสวดมนต์ก่อนนอนทุกๆ คืนเป็นประจำ เป็นเรื่องที่พุทธศาสนิกชนควรยึดถือปฏิบัติ




Thank to : https://www.sila5.com/blog/blog/detail/var/44u25413
13 มีนาคม 2561
53  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงส์การสวดมนต์ ในหลากหลายมุม เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 09:15:08 am
.



อานิสงส์การ "สวดมนต์" ดีต่อชีวิต อย่างไร.?

ไม่ว่าจะเหตุผลใดที่ "สวดมนต์" แต่เรื่องนี้มีอานิสงส์ทั้งทางโลกและทางธรรม จะเรียกว่า ดีต่อใจ ดีต่อชีวิต และดีต่อสัตว์โลกก็ว่าได้

การสวดมนต์ มีมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ สำหรับชาวพุทธถือว่าเป็นเรื่องสำคัญของชีวิต โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ สามเณร นักบวช นักบุญทั้งหลาย จะขาดข้อวัตร กิจวัตรส่วนนี้ไม่ได้เลย

โดยเฉพาะบทสวดตามวิถีพุทธ โดยมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นองค์ศาสดา ได้กลั่นกรองคำสาธยายที่มีแต่ความเป็นสิริมงคล พร้อมด้วยพลานุภาพแห่งบุญกุศลในทุกถ้อยคำผ่านภาษาบาลี มีอานิสงส์พาชีวิตไปสู่ที่สูง ห่างไกลโรคภัย ป้องกันอุปสรรคอันตราย และสูงสุดคือตัดกิเลสให้ขาดสะบั้น จนมีดวงตาเห็นธรรม


@@@@@@@

บทสวดมนต์อันประเสริฐ

การสวดมนต์ จึงเป็นการทำสมาธิ ระหว่างการสวดมนต์ ใจจะจดจ่ออยู่กับบทสวดนั้นๆ หากเป็นบทสวดมนต์แปลจากภาษาบาลีเป็นไทย ยิ่งทำให้เข้าใจความหมายมากขึ้น ก็จะเข้าใจธรรมะอันลึกซึ้งได้ง่ายขึ้น

บทสวดแต่ละบทจะเรียกว่า พระปริตร แปลว่า เครื่องคุ้มครองอันประเสริฐ ประกอบด้วยบทพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มีทั้งบทสรรเสริญคุณแห่งพระรัตนตรัย, บทอวยชัยให้พร บางบทนำมาจากพระไตรปิฎก บางบทเป็นบทที่แต่งขึ้นใหม่ในภายหลัง ในแต่ละบท แต่ละบาท ล้วนแล้วแต่มาจากพระโอษฐ์ อันประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณของพระพุทธเจ้า

สวดมนต์เสมือนเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

พระเทพโพธิวิเทศ (ท่านเจ้าคุณวีรยุทธ์ วีรยุทโธ) เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย กล่าวถึงการสวดมนต์ว่า พลังของการสวดมนต์ในพุทธสังเวชนียสถาน เสมือนเรานั่งอยู่แวดล้อมด้วยองค์พระอรหันต์และเทวดา

   “การนำพระธรรมที่เป็นคำสอนจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้ามาสวด และสาธยายเป็นกิจวัตร ก็ขึ้นชื่อว่าปฏิบัติต่อพระบรมพระศาสดาด้วยการเข้าเฝ้าพระองค์ด้วยทุกประการ ขอท่านทั้งหลายจงสวดมนต์เสมือนหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าทุกวัน”

@@@@@@@

ดร.พระมหาอ้าย ธีรปัญโญ วัดนาคปรก กล่าวถึงอานิสงส์ของการสวดมนต์ในทางธรรมไว้ว่า "ผลประโยชน์ของการสวดมนต์นั้นมีมากมาย แต่สรุปง่ายๆ ตามที่ครูบาอาจารย์บอกตรงกัน ก็คือ
    1. ไล่ความขี้เกียจ
    2. ได้รู้ความหมาย
    3. จิตเป็นสมาธิ
    4. ได้ปัญญา เข้าใจแก่นสาระของธรรม และ
    5. เปรียบเสมือนได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

    “สำหรับผู้เริ่มต้น ก็ให้เริ่มจากนะโม 3 จบให้ได้ก่อน แล้วค่อยต่อพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ แล้วต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ 3 บทนี้ จำให้ติดปาก ไม่ใช่การอ่านมนต์ เพราะถ้าอ่าน มันไม่มีอะไรเคลื่อนไหว สมองก็อยู่ที่เดิม ส่วนสถานที่นั้น สวดมนต์ที่ไหนก็ได้ ขอให้สวดด้วยใจก็พอแล้ว”


@@@@@@@

นายแพทย์วิโรจน์ ตระการวิจิตร ผู้อำนวยการสายงานแพทย์ โรงพยาบาลนครธน ผู้นำเอาธรรมปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา เคยเล่าถึงอานิสงส์การสวดมนต์ในทางการแพทย์ว่า

ปัจจุบันมีผลวิจัยออกมามากมายเกี่ยวกับการสวดมนต์ที่มีผลต่อสมองและร่างกาย ในวงการแพทย์ การสวดมนต์ ทำสมาธิ เจริญอานาปานสติ จะได้ผลอยู่ 3 อย่างหลักๆ คือ
    1. เกิดภูมิต้านทานโรค โดยสร้างมาจากเซลล์สมองตัวหนึ่ง
    2. ระบบฮอร์โมน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงในสมองจะสร้างสมดุลให้กับร่างกาย
    3. หัวใจและหลอดเลือด ความดันลดลง เป็นโรคหัวใจลดน้อยลง

    “เพียงแค่สวดมนต์และทำสมาธิ วันละ 12 นาที นาน 8 สัปดาห์ จะมีเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อเซลล์สมองของเราทันที”





สวดมนต์เพื่ออะไร.?

    • สวดเพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า
      บทสวดบางบทที่ใช้สวดนั้น เช่น บทอิติปิ โส ฯลฯ ภควาติฯ ชาวพุทธในสมัยพุทธกาล ผู้ที่มีจิตเลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้านิยมใช้สวดเพื่อสรรเสริญคุณพระพุทธเจ้า

    • สวดเพื่อเป็นต้นทุนเจริญศรัทธา
      การสวดมนต์ก็เพื่อเพิ่มพูน พอกพูน เติมเต็มพลังแห่งศรัทธา ความเชื่อ ความเลื่อมใสที่มีต่อคุณพระรัตนตรัย ที่นับถือเคารพบูชาเป็นสรณะ

    • สวดเพื่อแผ่จิตเมตตา
      บทสวดมนต์แต่ละบทเป็นเสมือนตัวเชื่อมต่อส่งสัญญาณ แปรสภาพให้เป็นพลังงานพิเศษ เหมือนพลังงานทั่วไป ผ่านกระแสเสียงกระแสจิตจากจิตสู่จิต ก่อให้เกิดเป็นบุญเป็นกุศล เป็นความรักความปรารถนาดี ความเมตตาปรานี ความสุข ความปลอดภัยส่งให้ มอบให้ อุทิศให้ แผ่ให้ เพื่อนร่วมโลกร่วมแผ่นดินทั้งมิตรและศัตรู ไม่เลือกชนชั้นวรรณะภาษา ขอให้อยู่ดีมีสุข

    • การสวดมนต์เป็นการทำสมาธิ
      ขณะสวดมนต์ จิตย่อมจดจ่อในบทสวด หรือที่จำไม่ได้ก็ใช้สายตาเพ่งมองตัวหนังสืออ่านบทสวดแต่ละอักขระ แต่ละวรรค แต่ละบท แต่ละตอน จิตในขณะนั้นย่อมรวมตัว ดับความฟุ้งซ่านลง เกิดเป็นสมาธิได้

    • เพื่อฝึกความอดทน
      เวลาที่สวดมนต์ ต้องใช้เวลานานพอสมควร ผู้สวดจึงต้องมีความอดทนอดกลั้นสูง ข่มทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นในขณะสวดไปจนจบ ไม่ใช่เป็นเรื่องธรรมดา การฝืนกาย ฝืนใจ บังคับกาย บังคับใจในขณะนั้น ย่อมทำให้ขันติธรรม

    • เพื่อรักษาพระธรรม
      บทสวดมนต์บางบท เป็นพระพุทธพจน์ที่สำคัญ เช่น บทพระธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นต้น เป็นหลักธรรมสำคัญ ที่จะต้องจดจำให้ได้ เพื่อรักษาไว้ โดยปกติแล้ว บทสวดมนต์แต่ละบท ที่จะนำมาสวดนั้นผู้สวดจะต้องท่องจำให้ได้ขึ้นใจ แล้วนำมาสวดสาธยาย เพื่อเป็นการทบทวนอยู่เป็นประจำ เพื่อกันลืม

    • เพื่อกำจัดบาปอกุศล
      ในการสวดมนต์แต่ละครั้ง ต้องข่มซึ่งนิวรณ์ธรรม มีกามฉันทะ ความติดในสุข พยาบาทความหงุดหงิดไม่พอใจ ความฟุ้งซ่านรำคาญ ความง่วงซึม หดหู่ ความลังเลสงสัย และกำจัดอกุศลธรรมต่างๆ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ความเห็นผิด ความถือตัวถือตน ความเกียจคร้านให้เบาบางจางหายหมดไปได้

    • เพื่อเป็นมงคลแก่ชีวิต
      ขณะสวดมนต์ จิตเป็นสมาธิตั้งมั่น ตั้งใจสวด สวดด้วยความสงบ เรียกว่า สมาธิ ขณะสวดจิตน้อมนึกพิจารณาไปตาม เห็นความเป็นจริงของชีวิต

    • สวดมนต์ช่วยเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ
      ตามหลักวิทยาศาสตร์และทางการแพทย์ มีข้อควรสังเกตว่า คนที่ชอบสวดมนต์อยู่เป็นประจำ เวลามีทุกข์ ประสบปัญหาชีวิต มักทุกข์ไม่นานนัก แก้ไข หาทางออกได้รวดเร็ว ต่างจากคนที่ไม่ชอบสวดมนต์ ทุกข์ก็จะทุกข์อยู่นานหาทางออกไม่ได้.






ขอขอบคุณ :-
ข้อมูลบางส่วนจาก : https://www.watphramahajanaka.org/
website : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/985468
By ป้อมยาม | จุดประกาย | 30 ม.ค. 2022 เวลา 16:00 น.
54  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 13 บทสวดและคาถา | ท่องไว้ ใช้ในชีวิตประจำวัน และโอกาสพิเศษ เมื่อ: มีนาคม 29, 2024, 07:03:23 am
.



13 บทสวดและคาถา | ท่องไว้ ใช้ในชีวิตประจำวัน และโอกาสพิเศษ

ชีวิตบางทีก็ต้องการที่พึ่งทางใจ ไม่รู้จะหันหน้าไปทางไหน สังคมไทยเราก็มีอำนาจศักดิ์สิทธิ์นี่แหละเป็นที่พึ่ง คนไทยอย่างเรา ยกมือไหว้ซักหน่อย ท่องคาถาสักนิด ยังไงของแบบนี้ก็ขอเชื่อไว้ก่อนแล้วกัน

แม้ว่าเราจะก้าวเข้าสู่โลกสมัยใหม่แล้ว แต่ความเชื่อทั้งหลายก็ยังดำรงอยู่ ไม่ว่าโลกจะทันสมัยและก้าวไกลไปแค่ไหน เรา – มนุษย์ตัวเล็กๆ – ต่างเผชิญชะตาชีวิตไปอย่างยากลำบาก การจะมีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ ความเป็นมงคลบางอย่างที่เราสมาทานไว้เพื่อช่วยนำพาเราผ่านความยากลำบากและเหตุการณ์ที่อาจไม่คาดฝันในแต่ละวันไป ไม่แน่ใจว่าพลังเหนือธรรมชาติมีจริงแค่ไหน แต่ด้วยความเชื่อแบบโบราณก็มองว่า คาถา บทสวดอันประกอบด้วยคำ และความอันเป็นมงคล อ้างอิงตกทอดมาจากครั้งโบราณอย่างน้อยก็ทำให้จิตใจสงบ เป็นขวัญและกำลังใจ ช่วยเพิ่มพูนสติพร้อมรับมือกับสิ่งที่กำลังจะมาถึง

The MATTER ชวนไปสำรวจและรวบรวมคาถาต่างๆ ที่มีจุดหมายเพื่อการเฉพาะ เหมาะกับเหตุการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวันร่วมสมัย เรามีคาถาที่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือน คาถาเจ้านายรัก คาถาสมัครงาน หรือบางวันเดินตามท้องถนนเราก็มีคาถาใช้ป้องกันสุนัข ป้องกันงู เดินทางไกลๆ เราก็มีคาถาป้องกันไฟไหม้ คาถาเพื่อความปลอดภัยเวลาเดินทางทางน้ำ เรื่อยไปจนถึงเรื่องสุขภาพ ครอบคลุมทุกความต้องการและทุกเหตุการณ์ในชีวิต

@@@@@@@

คาถาเจ้านายเมตตา




มนุษย์เงินเดือนฟังทางนี้ ใครรู้สึกไม่มั่นใจว่าเจ้านายโอเคกับเราไหม หรืออยากให้เจ้านายรักต้องบริกรรมคาถาดังกล่าวก่อนออกจากบ้าน ตามตำราบอกว่าให้ภาวนาท่องคาถาข้างต้นสามจบก่อนออกจากบ้านให้คุณเจ้านายเมตตา แต่ในขณะสวดมนต์ก่อนออกจากบ้านก็ถือโอกาสตั้งสติก่อนสตาร์ท ว่าไปทำงานวันนี้จะพูดจาสื่อสารยังไงให้มีประสิทธิภาพ ถ้าบุญยังมี เจ้านายก็น่าจะโอเคตามสภาพการทำงานของเราเนอะ

คาถาสมัครงาน




ทำนองเดียวกันกับคาถาก่อนหน้า เวลาเราจะออกไปสมัครงานเราก็ตื่นเต้นและตื่นกลัว การที่เรามีที่พึ่งสักหน่อย เชื่อโชคลางซักนิดก็ถือว่าไม่ผิด ดังนั้นเชิญสวดบทก่อนหน้า ถือเป็นกุศโลบายเพื่อเพิ่มกำลังใจ รวบรวมสติสมาธิก่อนออกไปสร้างความประทับใจครั้งแรกเพื่อรับเข้าทำงาน

คาถาขับรถ




ตั้งสติก่อนสตาร์ทที่แท้จริง การขับรถเป็นกิจกรรมที่เราทำทุกวัน และเป็นกิจกรรมที่ต้องการสติและความใจเย็น การปริ๊นต์คาถาภาษาบาลีไว้ที่รถก็อาจจะพอช่วยให้จิตใจเราสงบร่มเย็นขึ้น นึกภาพถ้าหงุดหงิดมากๆ เวลามีคนขับรถแย่ๆ อยากจะแซง อยากจะปาด หันไปเห็นคาถาขับรถก็ถือโอกาสบริกรรมให้ใจเย็น ให้มีสติ ขับขี่ปลอดภัยเนอะ แต่ถ้าบริกรรมไปแล้วเสียสมาธิจากพวงมาลัย ก็อย่าดีกว่าเนอะ สวดก่อนขึ้นรถพอ

คาถาใจอ่อน




ทีเด็ดลูกหนี้ หรือใครที่กำลังจะออกไปเจอคนที่อยากให้ใจอ่อน อ่อนใจ ตามตำราบอกว่าคาถานี้ใช้สำหรับท่องก่อนที่เราจะไปต่อรองกับเจ้าหนี้ อานุภาพของคาถาจะช่วยให้อีกฝ่ายใจอ่อน ยอมผ่อนปรนให้เรา แต่เรื่องเงินเรื่องใหญ่ มีหนี้ต้องใช้ ไม่แน่ใจว่าคาถาจะมีพลังมากกว่าเรื่องเงินและผลประโยชน์ได้แค่ไหน

คาถาป้องกันงูและสัตว์ร้าย – ขันธปริตร




ขันธปริตรเป็นส่วนหนึ่งของพระสูตรที่พูดถึงและเป็นการแผ่เมตตาถึงพญางูสี่ตระกูลตามความเชื่อแบบพุทธ ในพระสูตรพูดถึงพระภิกษุรูปหนึ่งที่ถูกงูกัด พระพุทธเจ้าไขว่าที่ถูกกัดเพราะไม่ได้แผ่เมตตาให้พญางูทั้งสี่ตระกูลคือ ตระกูลวิรูปักษ์ ตระกูลเอราปถ ตระกูลฉัพยาบุตร และตระกูลกัณหาโคมดม คาถาที่ใช้แผ่เมตตาก็คือคาถาขันธปริตรนี้ คนไทยจึงเชื่อว่าอานิสงส์ของการสวดคาถานี้ให้ผลเรื่องป้องกันงูและสัตว์ร้าย นิยมสวดขึ้นที่ท่อนอัปปะมาโณเพราะเชื่อว่าถ้าขึ้นแต่ต้นจะทำให้ผีมาอาละวาด แต่ถ้าเกิดเจองูขึ้นมาจริงๆ ก็ถอยให้ห่าง แล้วเรียกผู้เชี่ยวชาญมาจัดการ …ติดต่อศูนย์เอราวัณโทร 1646

คาถากันสุนัข




หมาจรจัดเป็นปัญหาที่เราเจอได้ตลอด เราเดินตามตรอกซอกซอย หรือบางทีอยากจะไปออกกำลัง ไปวิ่งไปขี่จักรยานตามท้องถนน เวลาเจอหมาก็กลัวๆ นอกจากคาถาแล้ว ข้อแนะนำเบื้องต้นของสัตวแพทย์บอกว่าถ้าเจอหมาดุทำท่าจะเล่นงานเรา สิ่งที่ควรทำคืออย่าตกใจ อย่ากระโตกกระตาก อย่าวิ่ง พยายามเบนความสนใจด้วยสิ่งอื่น ถ้าโดนจู่โจมจริงๆ ก็เก็บคองอเข่า ถ้าถูกกัดก็ไปพบแพทย์เพื่อรับวัคซีนต่อไป

คาถาป้องกันไฟ – วัฏฏกปริตร




วัฏฏกปริตร อ้างอิงนิทานชาดกวัฏฏกชาดก ชาดกหมายถึงพระชาติที่บำเพ็ญพรตเป็นพระโพธิสัตว์ มีพระชาติหนึ่งเสวยพระชาติเป็นนกคุ่ม แล้วเจอปัญหาไฟป่าจึงมีการทำพระปริตรเพื่อปกป้องตัวเองจากไฟป่า เนื้อความของคาถาเป็นการอาราธนาคุณของพระพุทธเจ้าในมาปกป้องตัวเองจากไฟป่า ดังนั้นจึงเชื่อว่าคาถานี้เป็นคาถาที่ให้คุณเรื่องการป้องกันไฟ

คาถาต้านคลื่น (พระเจ้าห้ามสมุทร)




ขึ้นรถ ลงเรือก็ต้องไปด้วยความระมัดระวัง บางคนกลัวเรือ เราก็มีคาถาเพื่อการเดินทางทางน้ำ ตามตำราบอกว่าให้สวดสามจบและเสกออกไประหว่างเดินทางเพื่อให้เดินทางอย่างปลอดภัย รอดพ้นจากคลื่นลมมรสุมต่างๆ หลังจากสวดครบสามจบแล้ว ก็มองหาเสื้อชูชีพ ทางออกฉุกเฉิน และตรวจสอบสภาพอากาศไปพร้อมๆ กัน

คาถาต่อสู้




เรามีตำนานเหล่าเสือ มีนักสู้นักรบที่มีการใช้พลังอาคมเข้าร่วมเพื่อปลุกขวัญและกำลังใจ สำหรับใครที่อาจจะต้องเผชิญหนาการต่อยตีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เราก็มีคาถาต่อสู้ ใช้ภาวนาตอนที่เผชิญหน้ากับศัตรู ให้รอดพ้นจากภัยอันตราย

คาถาหมัดหนัก




คาถานี้เป็นคาถาเฉพาะ ใช้เพื่อเพิ่มพลังการต่อยของเราให้หมัดเราหนักมากขึ้น คาถานี้ไม่จำกัดว่าต้องเป็นนักมวยแต่อย่างไร แต่ถ้าอยากหมัดหนักก็อาจจะต้องมีการฝึกซ้อมและฝึกฝนกล้ามเนื้อประกอบด้วย

คาถารักษาไข้




เวลาป่วยๆ อยากหายเร็วๆ คาถารักษาไข้เป็นทางเลือกหนึ่ง แต่คาถานี้ระบุว่าเป็นการรักษาร่วม คือใช้ร่วมกับยาที่กินอยู่อาจช่วยฟื้นพลังใจให้หายเร็วขึ้น อย่าดูถูกพลังของจิตใจและพลังของ Placebo effect ใช้ภาวนาเมื่อเวลาที่ไม่สบายกับยาที่ใช้ทานอยู่จะช่วยให้หายป่วย หายเจ็บไข้ ได้เร็วขึ้น

บทสวดสำหรับคุณแม่ให้คลอดลูกง่าย – อังคุลิมาละปะริตตัง




อังคุลิมาละปะริตตัง แปลตรงตัวคือปริตรของพระองคุลิมาล ก็เป็นประวัติของพระองคุลิมาลที่หลังจากกลับใจบวช ขณะที่เป็นภิกษุก็ได้ไปเจอหญิงท้องแก่ที่คลอดลูกไม่ได้ ในพระสูตรพระองคุลิมาลจึงตั้งจิตตามคาถามีเนื้อความอำนวยพรให้หญิงท้องแก่นั้นคลอดได้โดยง่าย มนต์บทนี้จึงเชื่อกันว่ามีคุณด้านเกี่ยวกับการคลอด ป้องกันการแท้งลูก ก็เป็นกำลังใจให้คุณแม่ๆ เนอะ
 
คาถาครอบจักรวาล




คาถาข้างต้นเป็นแค่ส่วนหนึ่ง แต่ถ้ารู้สึกว่าเลือกไม่ถูก คาถาครอบจักรวาล เป็นคาถามงคลรวมครบจบในคาถาเดียว

 




Thank to : https://thematter.co/social/13-pray-for-specific-purpose/38788
Posted On 8 November 2017 , vanat putnark

อ้างอิงข้อมูลจาก :-
- myhora.com
- wikihow.com
- watpamahachai.net
- wattongnai.com
- theasianparent.com
55  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 11:05:17 am
.



๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ

[๕๖] สมัยนั้นแล ท่านพระผัคคุณะ อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระผัคคุณะอาพาธ มีทุกข์ เป็นไข้หนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จเข้าไปเยี่ยมท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่เถิด”
     พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยพระอาการดุษณี
             
ครั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น(๑-) เสด็จเข้าไปหาท่านพระผัคคุณะถึงที่อยู่ ท่านพระผัคคุณะได้เห็นพระผู้มีพระภาคกำลังเสด็จมาแต่ไกล จึงลุกขึ้นจากเตียง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกับท่านพระผัคคุณะว่า
    “อย่าเลยผัคคุณะ เธออย่าลุกจากเตียงเลย อาสนะที่ภิกษุอื่นปูลาดไว้ยังมีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น”

     พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้ ได้ตรัสถามท่านพระผัคคุณะดังนี้ว่า
    “ผัคคุณะ เธอยังสบายดีหรือ ยังพอเป็นอยู่ได้หรือ ทุกขเวทนาทุเลา ไม่กำเริบหรืออาการทุเลาปรากฏ อาการกำเริบไม่ปรากฏหรือ(๒-)”

         
     @@@@@@@
                                         
ท่านพระผัคคุณะกราบทูลว่า
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรงใช้เหล็กแหลมที่คมแทงศีรษะ ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงศีรษะของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

     เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง พึงใช้เชือกหนังที่เหนียวรัดที่ศีรษะ ฉันใด ความเจ็บปวดในศีรษะของข้าพระองค์ก็มีประมาณยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบายจะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ชำนาญพึงใช้มีดแล่เนื้อที่คมกรีดท้อง ฉันใด ลมอันแรงกล้าก็เสียดแทงท้องของข้าพระองค์ ฉันนั้นเหมือนกันข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้นไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ

    เปรียบเหมือนคนที่แข็งแรง ๒ คนพึงจับแขนคนที่อ่อนแอกว่าคนละข้าง ย่างให้ร้อนบนหลุมถ่านเพลิง ฉันใด ความเร่าร้อนในกายของข้าพระองค์ก็มีมากยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์ไม่สบาย จะเป็นอยู่ไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์มีแต่กำเริบหนักขึ้น ไม่ทุเลาลงเลย อาการกำเริบปรากฏ อาการทุเลาไม่ปรากฏ(๓-)”
             
    @@@@@@@

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคได้ทรงชี้แจงให้ท่านพระผัคคุณะเห็นชัด ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากพุทธอาสน์จากไป

ครั้งนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว ในเวลามรณภาพ อินทรีย์(๔-)ของท่านผ่องใสยิ่งนัก

ต่อมาท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
     “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ท่านพระผัคคุณะได้มรณภาพแล้ว และในเวลามรณภาพอินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก”





อานิสงส์การฟังธรรม

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานนท์ อินทรีย์ ของผัคคุณภิกษุจักไม่ผ่องใสได้อย่างไร แรกทีเดียวจิตของผัคคุณภิกษุยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์(สังโยชน์เบื้องต่ำ) ๕ ประการ แต่เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของผัคคุณภิกษุจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ

     อานนท์ การฟังธรรมตามกาล การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้


     @@@@@@@

     อานิสงส์ ๖ ประการ อะไรบ้าง คือ

     ๑. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๑ ในการฟังธรรมตามกาล
             
     ๒. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่านกลาง มีความงามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๓. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตยังไม่หลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคต ทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่ตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรม ตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตามตรองตามเพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ได้เรียนมา จิตของเธอจึงหลุดพ้นจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล

     @@@@@@@

     ๔. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม(๕-) ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอได้เห็นตถาคตตถาคตย่อมแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๕. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นตถาคตแต่เธอได้เห็นสาวกของตถาคต สาวกของตถาคตแสดงธรรมที่มีความงามในเบื้องต้น ฯลฯ ประกาศพรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแก่เธอ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๕ ในการฟังธรรมตามกาล

     ๖. ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีจิตหลุดพ้นแล้วจากโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ แต่จิตของเธอไม่น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในเวลาใกล้ตาย ในเวลานั้น เธอไม่ได้เห็นทั้งตถาคตทั้งไม่ได้เห็นสาวกของตถาคต แต่เธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมา ตามที่ตนได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตาม ตรองตาม เพ่งตามด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ตนได้สดับมาตามที่ตนได้เรียนมา จิตของเธอจึงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๖ ในการพิจารณาเนื้อความตามกาล”
             
    อานนท์ การพิจารณาเนื้อความตามกาลมีอานิสงส์ ๖ ประการนี้แล

                                   ผัคคุณสูตรที่ ๒ จบ


เชิงอรรถ :-
(๑-) ดูเชิงอรรถที่ ๑ ข้อ ๑๗ (โสปปสูตร) หน้า ๔๓๙ ในเล่มนี้
(๒-) ดู สํ.สฬา. ๑๘/๗๔/๖๖
(๓-) ดู ม.มู. ๑๒/๓๗๘/๓๓๙-๓๔๐, สํ.สฬา. (แปล) ๑๘/๘๗/๘๑
(๔-) อินทรีย์ ในที่นี้หมายถึงอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)
(๕-) ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันยอดเยี่ยม ในที่นี้หมายถึง นิพพาน (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๕๖/๑๓๘)




ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/536350636891090161/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๒ หน้า : ๕๓๙ - ๕๔๒ ,
, พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๒. ผัคคุณสูตร ว่าด้วยพระผัคคุณะอาพาธ
URL : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=307


 :25: :25: :25:

อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒   
           
พึงทราบวินิจฉัยในผัคคุณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมญฺโจปิ ได้แก่ แสดงอาการลุกขึ้น.
บทว่า ปฏิกฺกมนฺติ ได้แก่ ทุเลาลง.

บทว่า โน อภิกฺกมนฺติ ได้แก่ ไม่กำเริบ.
บทว่า สีสเวฐนํ ทเทยฺย ได้แก่ พันศีรษะแล้วเอาไม้ขันเวียนรอบ (ศีรษะ).
บทว่า อินฺทฺริยานิ วิปฺปสีทึสุ ความว่า ในเวลาใกล้ตายนั้น อินทรีย์ ๖ ผ่องใส.

บทว่า อตฺถุปปริกฺขาย ได้แก่ ด้วยการใคร่ครวญถึงประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ คือเหตุและมิใช่เหตุ.
บทว่า อนุตฺตเร อุปธิสงฺขเย ได้แก่ ในนิพพาน.
บทว่า อธิมุตฺตํ โหติ ได้แก่ น้อมไปด้วยอรหัตผล.

               จบ อรรถกถาผัคคุณสูตรที่ ๒             



ขอบคุณที่มา : อรรถกถา อังคุตตรนิกาย ฉักกนิบาต ทุติยปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๑ | ๒. ผัคคุณสูตร
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=327
56  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 10:08:48 am
.



อานิสงส์ในการฟังธรรม และใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรม
จาก ผัคคุณสูตร พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อานิสงส์ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร ๖ ประการ คือ

    @@@@@@@

จิตของภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยังไม่หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นตถาคต ตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคตเลย แต่ได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรอง เพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมา เมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจ ซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมหลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๓. ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร


    @@@@@@@

จิตของมนุษย์ในธรรมวินัยนี้ ได้หลุดพ้นจากสังโยชน์อันเป็นไปในส่วนเบื้องต่ำ ๕ แต่จิตของเธอยังไม่น้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอได้เห็นพระตถาคต พระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นพระตถาคต แต่เธอได้เห็นสาวกของพระตถาคต สาวกของพระตถาคตย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕. ในการฟังธรรมโดยกาลอันควร

    • ในเวลาใกล้ตาย เธอไม่ได้เห็นพระตถาคต และไม่ได้เห็นสาวกของพระตถาคตเลย แต่เธอย่อมตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมา ได้เรียนมาเมื่อเธอตรึกตรองเพ่งด้วยใจซึ่งธรรมตามที่ได้ฟังมาได้เรียนมาอยู่ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลส อันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๖. ในการใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมโดยกาลอันควร

    @@@@@@@

    "ตถาคต สาวกของพระตถาคต ย่อมแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่เธอ จิตของเธอย่อมน้อมไปในนิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสอันหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เพราะได้ฟังธรรมเทศนานั้น" พุทธพจน์






ขอขอบคุณ :-
ภาพ : https://www.pinterest.ca/pin/631981760239855321/
ที่มา : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ สุคติ สุคโต สำหรับแจกเป็นธรรมานุเคราะห์ จัดทำถวายพระศาสนาโดย
โครงการแสงธรรมแห่งพระไตรปิฎก มูลนิธิอุทยานธรรม ผู้กอปรกิจ และเจ้าภาพทุกท่าน E-Mail : tripitaka@uttayarndham.org
57  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เขม้นมอง “ผ้าขาวม้า” ไทยหรือเทศ.? เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 07:38:34 am
.



เขม้นมอง “ผ้าขาวม้า” ไทยหรือเทศ.?

คําว่า “ผ้าขาวม้า” หรือ “ผ้าขะม้า” มักได้ยินคนไทยส่วนใหญ่อ้างว่าเป็นหนึ่งในอัตลักษณ์ที่สะท้อนถึงความเป็นไทย มีจิตวิญญาณ “ไทยแท้” เสียยิ่งกว่าภาพลักษณ์ของ “ตุ๊กตุ๊ก” และ “สุวรรณเจดีย์” เสียอีก

จนเชื่อกันว่า หากดีไซเนอร์สามารถดึงเอาหัวใจของผ้าขาวม้าออกมาปอกเปลือกแต่งองค์ทรงเครื่องใหม่ให้กิ๊บเก๋ร่วมสมัย ออกแบบให้สาวงามผู้เข้าประกวดเวทีนางงามระดับจักรวาลใส่อย่างเหมาะสม ย่อมทำให้คนทั่วโลกตื่นตะลึง

แถมไม่ต้องได้รับคำวิจารณ์เสียดสีอย่างเสียๆ หายๆ เหมือนอย่างความพยายามที่จะฝืนไปใช้สัญลักษณ์อื่นใด ที่ดูอ่อนไหวบอบบาง อาจไปกระทบกระเทือนเรื่องศาสนา หรือสุนทรียศาสตร์เอาได้

คำถามมีอยู่ว่า ตุ๊กตุ๊กก็ดี สุวรรณเจดีย์ก็ดี รวมทั้งผ้าขาวม้านั้น ตกลงแล้วเป็นวัฒนธรรมเฉพาะเพียงแค่ของสยามประเทศชาติเดียวเท่านั้นเองล่ะหรือ





ใกล้ตัวสุด ผ้าขะม้า แผลงจากผ้าขอขมา

หากมองรากศัพท์ที่มาและความหมายของ “ผ้าขาวม้า” แบบลากให้ใกล้ตัว โยงหาความเป็นไทยมากที่สุด ก็อาจฟันธงไปเลยว่า ผ้าขาวม้า หรือ “ผ้าขะม้า” แผลงมาจาก “ผ้าขอขมา” โดยอิงกับประเพณีของคนดีศรีสยามในช่วงเทศกาลสงกรานต์ว่า คนไทยต้องซื้อหา “ผ้าขะม้า” ไปไหว้ผู้ใหญ่เพื่อ “กราบขอขมา”

ผ้าขมาใช้สำหรับไหว้ผู้ใหญ่ (ชาย) ในการรดน้ำดำหัว และยังใช้เป็นผ้าไหว้ในพิธีแต่งงานกับโอกาสต่างๆ ที่จะ “ขอขมา” ผู้ใหญ่ ด้วยเป็นของหาง่ายและได้ใช้ประจำวัน

แนวคิดนี้ สอดคล้องกับข้อมูลในหนังสือเรื่อง “ผ้าทออีสาน ฉบับเชิดชูเกียรติแม่ครูช่างแถบอีสานใต้” มีการอธิบายผ้าขะม้าในกัมพูชา เว่า “ผ้ากรรมา” เป็นผ้าที่มอบให้ผู้ใหญ่เพื่อขอล้างกรรม ทำให้มีผู้เชื่อต่อว่า “ผ้ากรรมา” คงแผลงเป็น “ผ้ากำมา” เมื่อเข้าสู่ราชสำนักอยุธยา ครั้นพอเข้าสู่สมัยรัตนโกสินทร์จึงกลายเสียงเป็น “ผ้ากำม้า” และค่อยๆ แผลงเป็น “ผ้าขะม้า” หรือ “ผ้าขาวม้า” ในที่สุด

นี่คือทฤษฎีแรก ขนาดที่เชื่อว่าผ้าขะม้าเป็นของไทยแท้แล้วเชียว ก็ไม่วายยังอุตส่าห์ถูกโยงดึงไปเกี่ยวข้องกับกัมพูชาอีกจนได้





อีสาน-ล้านนา-ปักษ์ใต้

เรียกนามตามกรรมต่างวาระ ในเมื่อเปิดประเด็น เสนอมุมมองว่า “ผ้าขะม้า” มีความเกี่ยวข้องกับการ “ขอขมา” ผู้ใหญ่ ดังนั้นมิอาจมองข้าม “ภาษาพื้นถิ่น” ของแต่ละภูมิภาคไปได้เลย ลองหันมาพินิจทีละภาษา บนพื้นฐานของการตั้งสมมติฐานว่า ผ้าขะม้าเกี่ยวข้องกับการไปไหว้สา สมมา สูมาคารวะ ดำหัว ผู้ใหญ่หรือไม่ และกลุ่มชนแต่ละภาคเรียกกันอย่างไร

ทางอีสานเอิ้น “ผ้าอีโป้”

บางพื้นที่เรียก “ผ้าด้าม” หรือ “ผ้าแพรด้าม” เป็นคำเรียกที่เก่ามาก ยังเหลือแถบกาฬสินธุ์ ในชีวิตจริงไม่มีใครเรียก “ผ้าขะมา” หรือ “ผ้าสุมมา” แต่อย่างใด

ฝ่ายล้านนาเรียก “ผ้าต่อง” หรือ “ผ้าหัว” สะท้อนวัฒนธรรมการโพกศีรษะที่พบในชนชาติไท/ไตแทบทุกกลุ่มทั้งหญิงและชาย

อ.ศักดิ์ รัตนชัย ปราชญ์เมืองนครลำปาง วัยย่าง 90 ปี เล่าว่า “ผ้าขะม้าของชาวลำปางในอดีตเป็นผ้าทอแบบมีลายทางเดียว ไม่เป็นตาหมากรุก จึงเชื่อว่า “ผ้าขะม้า” ไม่ใช่วัฒนธรรมดั้งเดิมของล้านนาโบราณ ลายผ้ารูปแบบชุดนักรบล้านนาคราวกอบกู้เมืองลำปางสมัย “หนานทิพย์ช้าง” เมื่อ พ.ศ.2275 เป็นเสื้อสีขาว มีผ้าคาดเอว (แต่ไม่ได้เรียกว่าผ้าขาวม้า) ยุคนั้นลำปางจะเรียกอย่างไรไม่ทราบ แต่ภาษาทางเชียงใหม่เรียกผ้าต่อง

ผ้านุ่งปิดส่วนล่างที่ม้วนถลกขึ้นมาพันขัดง่าม ลอดหว่างขาแบบโจงกระเบน แต่ดึงติ้วกว่าชิดแน่น เหมือนขี่ม้าก้านกล้วย คล้ายถกเขมรโชว์แก้มก้นนั้น เรียกผ้า “เค็ดม่ำ/เฟ็ดม่าม/เก๊นม่าม” แล้วแต่สำเนียงซึ่งเป็นภาษาที่มีอิทธิพลพม่าเข้ามาปะปน แต่ปัจจุบันไม่มีใครนิยมเรียกว่าเค็ดม่ำอีกแล้ว มักเรียกการนุ่งผ้าแบบถกเขมรโดยรวมว่า “ผ้าต้อย/ผ้าต่อง” มากกว่า”

ปักษ์ใต้เรียก “ผ้าชักอาบ” บ้างเรียก “ผ้าชุบ” มาจากวิธีการใช้ชุบน้ำเช็ดหน้าเช็ดตัว

พบว่า ในวัฒนธรรมพื้นถิ่นทั้งสามภาค ไม่มีคำเรียกใดที่ใกล้เคียงกับคำว่า “ผ้าขาวม้า/ผ้าขะมา/ผ้าสมมา/ผ้าสุมา” แต่อย่างใดเลย

อนึ่ง ในวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร เล่มหนึ่ง มีการอธิบายว่า สมัยอยุธยารับอิทธิพลรูปแบบ “ผ้าเคียนหัว” จากสุโขทัยมาใช้ แต่รับชื่อมาจากเขมร แผลงผ้ากรรมา เป็นผ้ากำมา แต่วัตถุประสงค์เริ่มจากพันหัว หากเปิดพจนานุกรมจะมีคำอธิบายว่า ผ้าขะม้า เรียกอีกอย่างได้ว่า “ผ้าเคียนพุง” เป็นอีกคำหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นภาษาที่อธิบายถึงวิธีการใช้งาน

สรุปว่า “ผ้าขะม้า” สามารถใช้ได้ทั้ง “เคียนพุง” และ “เคียนหัว”

ประโยชน์ของผ้าขะม้ามีมากมาย ในวัฒนธรรมล้านนา ใช้รักษาโรค มีท่ารัดอก ท่าตั้งวงแขน ขา ทำให้ร่างกายได้รับการผ่อนคลาย เรียก “วิถีแห่งผ้าต่อง”

โดยการใช้สอยในอีสานนั้น เป็นผ้าโพกหัว พัดวี อู่นอนลูกหลาน ปัดไล่แมลง เช็ดให้แห้งให้สะอาด เคียนเอว ห่มนั่งห่มนอน เบี่ยงบ้ายในยามอยู่ในพิธีบุญ นุ่งอาบน้ำ ห่อของ เป็นผ้าสารพัดประโยชน์ในวิถีเกษตรกร ส่วนในทางพิธีกรรมนั้น ถือเป็นของสมมา ของฝากของต้อน

ทางปักษ์ใต้ชุมชนลุ่มน้ำปากพนังเรียกว่า “ผ้าขาม้า” มีที่มาจากเวลาชิงเปรต เทศกาลงานบุญเดือนสิบ

แน่นอนว่า ภาษาถิ่น ทั้งอีสาน ล้านนา ปักษ์ใต้ในปัจจุบัน จะเรียก ผ้าขะม้า ว่าอะไรก็ได้ แล้วแต่สะดวก ขึ้นอยู่กับหน้าที่ใช้สอยในแต่ละพื้นถิ่น แต่ในเมื่อ “ผ้าขะม้า” เป็นของกลาง มิใช่ของภาคใดภาคหนึ่ง จึงควรช่วยกันสืบค้นว่า “ผ้าขะม้า” มีที่มาอย่างไรกันแน่





มอญม่านมลายู พี่น้องอุษาคเนย์

ภาษามอญเรียก “ผ้าขะม้า” ว่าอย่างไร อาจจะช่วยเป็นเครื่องมือในการคลำทางด้านนิรุกติศาสตร์มากยิ่งขึ้น อ.องค์ บรรจุน ผู้เชี่ยวชาญภาษามอญ บอกรียกว่า “ยาดกะบอย” ภาษามอญค่อนข้างห่างไกลผิดกับภาษาเขมร ที่เรียก ผ้ากรรมา แต่ในวัฒนธรรมมอญ กลับมีการใช้ผ้าขะม้าอย่างน่าสนใจ

โดยเฉพาะคำพูดที่ได้ยินจนชินหูว่า “นุ่งผ้าตาหมากรุกของรามัญฯ” แสดงให้เห็นว่า ผ้านุ่งชายมอญจะทอเป็นลายตาราง ซึ่งยังคงใช้มาจนถึงทุกวันนี้ ต่างกันที่มอญในไทย ใช้ลายตารางตาใหญ่คล้ายกับลายผ้าขะม้าในหลายวัฒนธรรมในไทย แต่มอญในพม่า ใช้โสร่งแดงลายตารางตาเล็ก ซึ่งเป็นการสร้างอัตลักษณ์ขึ้นมาใหม่หลังจากถูกวัฒนธรรมพม่ากลืนไป (อ้างอิงจากข้อมูล ของ อ.องค์ บรรจุน)

ปกติ ชายชาวมอญในไทยจะใช้ผ้าขะม้าในโอกาสต่างๆ กัน อาทิ
เข้าวัด – ใช้นุ่งเฉวียงบ่า เป็นผ้าสไบ อาจใช้เป็นผ้าปูกราบด้วย
งานพิธีที่เป็นทางการ – พับให้แคบ พับครึ่ง แล้วพาดบ่า โดยให้ชายผ้าอยู่ข้างหลัง
งานรื่นเริง – คล้องบ่า ห้อยไหล่ โดยให้ชายสองข้างห้อยอยู่ด้านหลัง เป็นสองชาย
ทำงานใช้แรง – มัดเอว

เมื่อเปรียบเทียบดูกับวัฒนธรรมไท/ไต และชาติพันธุ์อื่นในอุษาคเนย์ พบว่าผ้าขาวม้าปรากฏอยู่ทั่วไป เป็นผ้าอเนกประสงค์ ใช้ได้สารพัดประโยชน์ คำเรียกจึงมีหลากหลายตามหน้าที่ใชสอย รูปแบบก็แยกย่อย

ทว่า สิ่งหนึ่งที่ยังคงอยู่ไม่เคยเปลี่ยนคือ ลายตารางหมากรุก หรือศัพท์ผ้าทอเรียก “ตาโก้ง/ตาแสง” คำว่า “ผ้าลายตาโก้ง” ไม่เกี่ยวข้องกับชื่อ “เมืองตะโก้ง” ในพม่า แต่อย่างใด แต่เป็นคำไทย หมายถึงผ้าลายตาๆ ส่วนโก้งก็คือลายด่าง เช่น พูดว่า “เสื้อโก้งเสื้อลาย” คำว่า “ตาแสง” ก็ใช้เรียกลวดลายตาสี่เหลี่ยม เช่น “รั้วตาแสง” คือรั้วไม้ไผ่ลายตาราง

มีผู้เชี่ยวชาญภาษาชวาเสนอว่า ในภาษาอินโด มีคำว่า Garis-การีส แปลว่า ขูด ขีด เขียน (คล้ายคำว่า กา) กับอีกคำ Mata-มาตา แปลว่าดวงตา รวมสองคำเป็น Garismata ก็คือ การขีดเขียนตาสมัยนี้ หรืออีกนัยคือการขีดตารางก็ว่าได้

คำว่า Garis ยังแตกหน่อออกไปเป็น Keris-เคอริส หรือกริชในภาษาไทย มีคมสองด้านยาวเรียวแหลม และปลอกหรือซองใส่กริชเรียก Sarung-ซารุง ซึ่งยังใช้ในความหมายของซารุงหรือผ้าโสร่ง ผ้าตารางหมากรุก ในแบบเดียวกับผ้าขะม้า ที่น่าจะหดสั้นจากคำยาว “การีสมาตา” เป็น “กามา”



ฮากามะ


“ผ้าก่าม่า” “ฮากามะ” ของญี่ปุ่น

อีกทฤษฎีหนึ่ง มีโอกาสไปฟังการบรรยายของ อ.จิราภรณ์ อรัณยะนาค อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์โบราณวัตถุของกรมศิลปากร จัดโดย “มิวเซียมสยาม” ท่านบอกว่า พบผ้าขาวม้าผืนเก่าแก่มากในประเทศญี่ปุ่น ทำเป็นตารางหมากรุกเหมือนของเรา มีอายุร่วมสมัยกับกรุงศรีอยุธยา ญี่ปุ่นเรียกผ้านั้นว่า “ผ้าก่าม่า”

ผ้าก่าม่ามีลักษณะการนุ่งร่วมกับ “ฮากามะ” (Hakama) ที่เป็นกางเกงขายาวอัดพลีทบานคล้ายกระโปรง ส่วนผ้านุ่งพันแบบกางเกงชั้นใน คล้ายนุ่งเค็ดม่ำของคนล้านนา/พม่าและถกเขมร เปิดแก้มก้นคล้ายนักมวยปล้ำซูโม่นุ่งกัน เรียกว่า ฟุนโดชิ (Fundoshi)

น่าสนใจยิ่งนัก เนื่องจากญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับสยามมาตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ตกลงใคร “รับ” หรือ “ส่ง” อิทธิพลผ้าขะม้าให้ใครกันแน่ ญี่ปุ่นรับ “ผ้าก่าม่า” จากอยุธยา หรืออยุธยารับ “ผ้าขะม้า” จากญี่ปุ่น

ผู้รู้บางท่านบอกว่า ญี่ปุ่นรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากอยุธยาไปมากโดยผ่านทางริวกิว (หรือโอกินาว่า อดีตเป็นประเทศหนึ่ง) ตัวอย่างที่ชัดคือ เหล้าสาเก เพราะแต่เดิมในญี่ปุ่นมีแต่เหล้าทำจากมันฝรั่ง

@@@@@@@
 
หรือจะจบลงด้วยทฤษฎีเปอร์เซียน

ในภาษาเปอร์เซียน หรืออิหร่าน มีคำว่า “คะมัร” ซึ่งแปลว่า “เอว” ส่วน ผ้าคะมัร=ผ้าคาดเอว ดังนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาเปอร์เซียนจึงเชื่อว่า ขาวม้า/ขะม้า มาจากคำว่า คะมัร ในภาษาเปอร์เซียน

ยังมีคำภาษาไทยอีกมากที่มีที่มาจากเปอร์เซีย อาทิ
ฉัตร : (ชัทร)
กะหล่ำ : (คะลัม)
หลาบ : (โกลอบ) ฯลฯ

อาจเป็นไปได้ว่า คะมัร ของเปอร์เซียอาจเป็นรากศัพท์ “ตัวแม่” ที่ส่งอิทธิพลทางภาษาให้แก่ กามัร กรรมา การีสมาตา ก่าม่า เค็ดม่ำ ขมา ขาม้า ขาวม้า ให้แก่ประชาคมเอเชียนานาชาติพันธุ์ที่เข้ามาปะทะสังสรรค์กันแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโน้นแล้ว

ที่มาและรากศัพท์ของ “ผ้าขะม้า-ผ้าขาวม้า” คงต้องสืบค้นกันต่อไป ฟังดูเหมือนง่าย แต่กลับไม่ง่ายเหมือนที่คิด เพราะพอสืบสาวเอาเข้าจริงๆ แล้วมีข้อมูลทะลักมหาศาล มึนหัวพอสมควร

การสืบค้นเรื่อง “ผ้าขะม้าของคนเอเชีย” ไม่ได้ง่ายดาย เหมือนการได้มาซึ่งภรรยาหลายคน ของอดีตนายกรัฐมนตรีไทยผู้หนึ่งซึ่งมีฉายาว่า “จอมพลผ้าขะม้าแดง”






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 มิถุนายน 2559
คอลัมน์ : ปริศนาโบราณคดี
ผู้เขียน : เพ็ญสุภา สุขคตะ
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_5028
58  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 สิ่ง “เขมร-ไทย” ในประเด็นตามหา เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 07:14:43 am
.



5 สิ่ง “เขมร-ไทย” ในประเด็นตามหา

หลังทวงคืนปราสาทเขาพระวิหารกับศาลโลกเมื่อ 6 ทศวรรษก่อน ตอกย้ำความสำเร็จบนเวทีนานาชาติ ตอกย้ำความสำเร็จแต่ครั้งประเดิมคืนเอกราชจากฝรั่งเศสแล้วอย่างยิ่งยวดโดยมิโอ้อวดประวัติศาสตร์เลยนั้น เป็นความจริงทีเดียวสมัยสีหนุราช

แต่แล้วความภาคภูมิใจทั้งหมดก็ถูดลดเลือนโดยระบอบเขมรแดงและสงครามกลางเมือง ที่สุดจะเยียวยาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ กลับสู่ยุคใหม่ทั้งหมดฟื้นฟูระบอบกษัตริย์และการปกครองในปี พ.ศ.2536 แต่ความขัดแย้งก็ยังไม่สิ้น จนปี 2546 เมื่อสมเด็จฯ ฮุน เซน ชนะเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลแต่เพียงพรรคเดียว

ก่อนหน้านั้นเขาหลงทางไปกับนโยบายโยนบาปตามแนวพรมแดนเพื่อแสวงหาวิถีรักชาติจากประชาชนกัมพูชา และพบว่ามันไม่อาจยั่งยืน แต่นั้นมาเขาก็หันไปหาความสำเร็จแนวใหม่ นั่นคือแนวรบทางวัฒนธรรม และช่างบังเอิญว่า เมื่อกัมพูชากลับมาสู่ความสงบเรียบร้อยของความเป็นประเทศแล้ว ความถวิลหาวัฒนธรรมแห่งอดีตที่ยิ่งใหญ่ก็ตามมา โดยเฉพาะระหว่างปี 2513-2518 ที่ทำให้ขนบจารีตเขมรหลายอย่างได้บัดบ่งสูญหาย และช่างบังเอิญกระไร ที่ประดาเรื่องทั้งหมดดูจะมีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับไทย จนคล้ายเป็นเรื่องเดียวกัน

@@@@@@@

1. ระบำราชสำนัก : ละครรำสยาม

ไม่มีใครสนใจว่า จุดเริ่มต้นของต้นทุนวัฒนธรรมที่คนทั้งโลกจะรำลึกถึงกัมพูชานี้มาจากที่ใด

สำหรับระบำราชสำนักกัมพูชา ที่เดิมทีนักวิจัยฝรั่งเศสลงความเห็นว่า ราชสำนักกัมโพชรับมาจากสยาม และถูกบันทึกความสำคัญอย่างยิ่งยวดคราวที่พระบาทสีโสวัฒถิ์ (2447-2470) นำไปแสดงในฝรั่งเศส

คราบไคลในความเป็นสยามของนาฏศิลป์แขนงนี้ก็ดูจะหายไป และพัฒนาต่อยอดในแบบฉบับระบำอัปสราในอีก 2 รัชกาลถัดมา นี่คือสิ่งที่ทำให้ระบำราชสำนักของกัมพูชาโดดเด่นไปด้วยอัตลักษณ์เฉพาะตน จนยูเนสโก-องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกตั้งแต่ปี 2553 และนับแต่นั้นมา ระบำราชสำนักกัมพูชาก็กลายเป็นโมเดลแห่งความสำเร็จทางวัฒนธรรม


@@@@@@@

2. โขลเรียมเกร์ : โขนรามเกียรติ์

จุดบ่งชี้ที่เริ่มทำให้เห็นว่า ความสำเร็จจากชัยชนะในระบำเขมรอาจเป็นเรื่องง่ายเกินไปเพราะอยู่ในยุคที่ไร้คู่ต่อกร แต่สำหรับละครโขนรามเกียรติ์หรือละครโขลเรียมเกร์เขมรนั้นไม่ใช่ นี่คือจุดเริ่มต้นของการตามหาสิ่งที่สูญหายทั้งภายในประเทศเองและระดับนานาชาติ รวมทั้งความหมายของประเด็นชนชั้นล่าง-รวมทั้งศิลปินพื้นบ้านซึ่งเป็นผู้ก่อการการแสดงโขลในรูปแบบนานามาแต่ต้น

ก่อนหน้านั้น วัฒนธรรมโขลถือเป็นการแสดงชั้นสูงและถูกกีดกันจากราชสำนักผู้ปกครอง ทำให้โขลเขมรถูกจำกัด และแทบไม่มีตัวตนเชิงสาธารณะนอกจากบทร้องเรียมเกร์ของศิลปินพื้นบ้าน ที่พบก่อนปี พ.ศ.2518 โดยนักวิชาการฝรั่งเศส และยุคเขมรสาธารณรัฐหลังโค่นล้มกษัตริย์ไปแล้ว หลักฐานหลงเหลือของบทร้องเรียมเกร์โดยศิลปินพื้นบ้านคนสุดท้ายเพิ่งจะค้นพบเมื่อไม่นานนี้ คือบทร้องเรียมเกร์ของตาครุด

แต่อาจจะด้วยการถูกกดทับแสนนานหรือไม่ที่ทำให้เรียมเกร์เขมรมีลักษณะการเติบโตที่แตกต่างจากพื้นบ้านและการกลับมารื้อฟื้นอีกครั้งก็เกิดขึ้นโดยศิลปินท้องถิ่น โดยเฉพาะในลักษณะของความเป็นวัฒนธรรมจากฐานรากของชุมชนอย่างเป็นองค์รวม

ยูเนสโกขึ้นทะเบียนโขลเรียมเกร์ว่าเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมอันจับต้องไม่ได้ สาขาอนุรักษ์/เสี่ยงการสูญหาย และขึ้นทะเบียนโขนไทยไว้ในสาขาเอกลักษณ์ชาติ แต่ประเด็นวิวาทะก็ยังเป็นดราม่า อันเกิดจากวัฒนธรรมร่วมสมัยแต่ไม่ร่วมชาติในบางครั้ง

@@@@@@@

3. มวยไทย : กบัจคุน

กบัจคุนเป็นชื่อเดียวกับ “มวยไทย” ตามที่ชาวเขมรเรียก ก่อนหน้านั้นจากหลักฐานบุน จันมุล (บุนจันทร์ มุล) ที่ขณะนั้นชาวเขมรโดยรวมเรียกขานตัวเองว่ากัมปูเจีย นักเขียนและนักต่อสู้แนวทางซึง งอกทันห์ ท่านนี้ยอมรับศิลปะมวยไทยแต่ไหนแต่ไร และเคยไปดู “ประฎาล” ศิลปะการต่อสู้ด้วยมือเปล่าระหว่างไทยกับเขมรราวครั้งหนึ่งที่พระตะบอง จันมุลเห็นว่ามีความสูสีกันมากและไทยขณะนั้นดูจะมีชั้นเชิงและชื่อเสียงมากกว่าเขมรนิดหน่อย โดยเฉพาะด้านเทคนิค

บุน จันมุล ลาโลกไปราว 30 ปี ประฎาลที่เขารู้จักก็ถูกยกระดับให้เป็น “กบัจคุน” กบัจคุนโบราณ คุนเขมร โบกะตอ หรือชื่ออะไรต่างๆ ดังที่รัฐกัมพูชาพยายามผลักดัน และแม้ชาวเขมรทั่วไปก็ยังติดปากเรียกประฎาล

แน่นอน วัฒนธรรมกีฬาสำหรับกัมพูชาแล้ว มิใช่แต่ความสนุก บันเทิงหรือท่องเที่ยว แต่เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองและความมั่นคงที่จำเป็นต้องปลุกเร้าให้เกิดอัตลักษณ์แห่งความเป็นชนชาติอีกด้วย เพียงแต่ว่า ตอนที่เห็นคุณค่าเช่นนั้น กัมพูชาอยู่ในช่วงอันมืดมน และใครจะไปรู้ล่ะว่า ศิลปะการต่อสู้แขนงนี้นับวันจะกลายเป็นอัตลักษณ์แห่งความเป็นชาติและอนาคต ตลอดจนมิติความเป็นสากลที่นับวันจะมีมูลค่ามหาศาล!

และเหตุนั้น กบัจคุนจึงเป็นเหมือนคู่ต่อกรตลอดกาล ตราบใดก็ตามที่ประเด็นมวยไทยถูกกล่าวขานบนเวทีนานาชาติ และความสำเร็จของมวยไทยที่ชาวโลกขานรับอย่างมากมาย แต่ตราบใดที่คำว่า “มวยไทย” ยังไม่สามารถพิสูจน์ว่าเป็น “อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมเฉพาะตน” ไปได้ ความหมายของคำว่ามวยไทยบนเวทีนานาชาติก็ไม่อาจสง่างาม สำหรับเวทีกลางแห่งสากล

ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเดียวกันที่ว่า ทั้งโขลเรียมเกร์และระบำเขมรโบราณ ต่างเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจสำหรับไทยอย่างเห็นได้ เช่นเดียวกับกบัจคุนกับมวยไทย และความพยายามยกระดับกบัจคุนเทียบเท่ากับศิลปะการต่อสู้ที่รุ่งเรืองสมัยพระนคร-นครธมยังคงดำเนินไป เช่นเดียวกับกองทัพกัมพูชาที่บรรจุให้ศิลปะแขนงนี้เป็นนโยบายเอกแห่งการฝึกซ้อมและธำรงวินัย


@@@@@@@

4. พระแก้วมรกต : พระแก้วมรกต

มานานระยะหนึ่งแล้วที่หลักฐานเถรวาทกัมพูชาอ้างถึงพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต ว่าเป็นรัตนสมบัติ หรือ “ปฏิกภรณ์” ของฝ่ายตนนั้น

นับไปก่อนหน้า แต่ครั้งฝรั่งเศสสร้างพระราชวังจตุรมงคลและปราสาทพระที่นั่งเทวาวินิจฉัยถวายแก่กษัตริย์นโรดม (2403-2447) ตามพระองค์ร้องขอ ซึ่งแทบจะจำลองเอาพระที่นั่งอัมรินทร์วินิจฉัยไปไว้ที่กรุงพนมเปญเสียทั้งหมด รวมทั้งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มองความสัมพันธ์ชาวเขมรต่อพระแก้วมรกตที่ออกจะคลุมเครือนั้น

แต่ให้สงสัยว่า เหตุใดกษัตริย์เขมรจึงเจตนาสร้างพระรัตนารามเพื่อประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรไว้ ณ เขตพระราชฐานด้วยฉะนี้.? แม้โดยที่จริงแล้ว ราชสำนักกัมโพชเวลานั้น(และจนบัดนี้) ไม่เคยมีหรือครอบครองพระแก้วมรกตแต่อย่างใด.? และใช่แต่พระแก้วมรกตเท่านั้นที่นักวิชาการเขมรบางฝ่ายทวงถาม แต่ยังรวมถึง 1 ใน 5 ของเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์ที่ใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของไทย

@@@@@@@

5. พระขรรค์กัมโพช : พระขรรค์แสงชัยศรี

เล่ากันว่า พระขรรค์แสงชัยศรีในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกรัชกาลที่ 10 ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นพระขรรค์เก่าแก่ยุคขอมโบราณสมัยรัชกาลพระบาทชัยวรมันที่ 7 เลยทีเดียว ตกทอดมาถึงไทย จากที่ชาวประมงเขมรงมพบได้ในบารายและนำไปถวายเจ้าเมืองเสียมเรียบ และถูกนำไปถวายแด่กษัตริย์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ กระทั่งพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เมื่อ 5 พฤษภาคมของปีกลาย

ทันใดนั้น ความพยายามจะกล่าวถึงพระขรรค์ของเขมรได้เกิดขึ้นอีกครั้งในหมู่ชาวเขมรบางกลุ่มและเงียบหายไปเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง เป็นที่ทราบว่า การสืบสันตติวงศ์แห่งระบอบกษัตริย์และสิ่งอันบ่งบอกถึงราชประเพณีได้ถูกระบอบเขมรแดงทำลายไปจนสิ้น

สำหรับเครื่องเบญจราชกกุธภัณฑ์และพระขรรค์ประจำราชวงศ์ และพระบาทนโรดม สุระมฤทธิ์ คือองค์สุดท้ายที่ได้ทำพิธีดังกล่าวอย่างเต็มพระยศ เมื่อ 6 มีนาคม พ.ศ.2499 เช่นเดียวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษก วันที่ 29 ตุลาคม 2547 โดยกษัตริย์เขมรองค์ปัจจุบัน คือพระบาทนโรดม สีหมุนี ที่เรียบง่าย ปราศจากพระขรรค์ เครื่องราชกกุธภัณฑ์และอำนาจใดๆ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 3 - 9 กรกฎาคม 2563
คอลัมน์ : อัญเจียแขฺมร์
ผู้เขียน : อภิญญา ตะวันออก
เผยแพร่ : วันอังคารที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2567
URL : https://www.matichonweekly.com/column/article_323091
59  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ตะลึง เปิดกุฏิหลวงปู่อำคา เกจิดังเมืองอุบลฯ พบเงินสดร่วม 10 ล้าน เร่งหาพินัยกรรม เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:51:34 am
.



ตะลึง.!! เปิดกุฏิหลวงปู่อำคา เกจิดังเมืองอุบลฯ พบเงินสดร่วม 10 ล้าน เร่งหาพินัยกรรม

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดบ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี คณะกรรมการวัด และสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกันเปิดกรุกุฏิหลวงปู่อำคา อินทรสาโร หรือพระครูอินทรสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย เพื่อตรวจสอบทรัพย์สิน หลังเจ้าอาวาสมรณภาพ เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

โดยมีตำรวจ ลูกศิษย์และชาวบ้านร่วมเป็นสักขีพยาน ปรากฏว่าทุกคนต้องตะลึง เมื่อพบเงินสด ทั้งแบงก์เก่า-ใหม่และเงินเหรียญ เกือบ 10 ล้านบาท หลังตรวจนับทรัพย์สินทั้งหมด ได้ส่งมอบให้เจ้าคณะตำบล และคณะกรรมการวัดที่รับผิดชอบ นำมาคัดแยก




ด้านสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดอุบลราชธานี ระบุว่าต้องตรวจสอบว่าเงินทั้งหมดพระครูอินทสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดที่มรณภาพได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือเขียนเป็นพินัยกรรมไว้หรือไม่ ถ้ามีพินัยกรรมก็ต้องให้ระบุตามพินัยกรรมของท่าน ถ้าในกรณีที่ท่านไม่ได้ระบุเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ ทรัพย์สินที่เจอหลังจากที่มรณภาพก็จะตกเป็นของวัดที่สังกัดอยู่เป็นวัดสุดท้าย ก่อนที่ท่านจะมรณภาพ ทั้งนี้ เพื่อนำเงินมาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่อไป



นางบุญฮู้ จันทร์กอง อายุ 71 ปี เปิดเผยว่า คณะกรรมการวัดตรวจสอบภายในกุฏิเจ้าอาวาสพบเงินสดแบงก์เก่า-ใหม่และเงินเหรียญ เกือบ 10 ล้านบาทเก็บไว้ในกระติกน้ำ ในกล่องพลาสติก ในถังน้ำ เก็บเงินวันแรกได้ประมาณ 6-7 ล้านบาท ต่อมาค้นภายในกุฏิก็พบอีกเป็นเงินเหรียญ ก็มีรวมแล้วประมาณ 10 ล้านบาท เงินทั้งหมดเจ้าอาวาสไม่ได้สั่งเสียไว้





ทั้งนี้ หลวงปู่อำคา อินทรสาโร หรือพระครูอินทรสารโสภณ เจ้าอาวาสวัดบ้านตำแย ตำบลไร่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้ละสังขารอย่างสงบที่โรงพยาบาล ๕๐ พรรษา มหาวชิราลงกรณ จังหวัดอุบลราชธานี สิริอายุ 91 ปี 70 พรรษา หลวงปู่อำคา เป็นทายาทธรรมหลวงปู่บุญมี โชติปาโล




ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4493130
วันที่ 26 มีนาคม 2567 - 13:40 น.   
60  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขปริศนาเช็งเม้ง “สีตัวอักษรที่ฮวงซุ้ย” หมายความว่าอะไร.!? เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:38:52 am
.



ไขปริศนาเช็งเม้ง “สีตัวอักษรที่ฮวงซุ้ย” หมายความว่าอะไร.!?

เคยสังเกตไหมว่า สีตัวอักษรที่จารึกไว้ที่ฮวงซุ้ย มีทั้งสีแดง สีเขียว และบางครั้งเป็นสีทอง สีเหล่านี้หมายความว่าอะไรกันนะ

ในประเทศไทย วันเช็งเม้ง 2567 ตรงกับวันที่ 5 เมษายน จะเป็นช่วงที่มีการเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษ ซึ่งจริง ๆ แล้วจะกำหนดไว้ที่ประมาณ 7 วัน คือตั้งแต่วันที่ 2 - 8 เมษายนของทุกปี แต่หลายครอบครัวก็เริ่มเดินทางไปไหว้บรรพบุรุษกันตั้งแต่เดือนมีนาคมแล้ว

และหากเราสังเกตที่ฮวงซุ้ย ก็จะมีตัวอักษรจีนสลักอยู่บนแผ่นหินที่ฮวงซุ้ย เรียกว่า 石碑 “เจียะปี” โดยตัวอักษรเหล่านั้น มีความหมายอยู่มากมาย รวมถึงความหมายของการใช้สีตัวอักษรด้วย



ความหมายของตัวอักษรจีนบนฮวงซุ้ย


ตัวอักษรจีนบนฮวงซุ้ย (เจียะปี) คืออะไร.?

ลูกหลานส่วนมากได้เห็นตัวอักษรจีนเหล่านี้ ก็อาจจะต้องสงสัยว่าตัวอักษรจีนมากมายขนาดนี้ แปลความหมายออกมาว่าอย่างไร วันนี้มาไขข้อสงสัยกัน

    • ตัวอักษรบนสุด ที่เขียนว่า 祖 หมายถึง บรรพชน บรรพบุรุษ
    • ตัวอักษรแถวริมขวาสุด (แถวสุดท้าย) จะเป็นการระบุที่อยู่ ภูมิลำเนาเดิมที่ประเทศจีน
    • ตัวอักษรแถวริมซ้ายสุด (แถวแรก) จะเป็นวัน เดือน ปี ที่สร้างฮวงซุ้ยนี้ขึ้น
    • ตัวอักษรแถวขวา (แถวที่สาม) เขียนว่า 考 เป็นสรรพนามคำขึ้นต้นชื่อของฝ่ายชายที่นอนอยู่ในฮวงซุ้ย แล้วตามด้วยชื่อ
    • ตัวอักษรแถวซ้าย (แถวที่สอง) เขียนว่า 妣 เป็นสรรพนามคำขึ้นต้นของฝ่ายหญิง แล้วตามด้วยชื่อ

เหตุผลที่มีทั้งชื่อฝ่ายชาย และฝ่ายหญิงอยู่ในฮวงซุ้ยเดียวกันนั้น เพราะคนจีนนิยมซื้อฮวงซุ้ยคู่

    • หลังจากสรรพนาม ชื่อ แล้วจึงตามด้วยแซ่ (นามสกุล)
    • ส่วนบรรทัดสุดท้ายของทั้งแถวขวา และซ้าย คือการแยก นาย และนาง นั่นเอง

แต่สิ่งที่ไม่สังเกตเห็นไม่ได้เลย คือทำไมต้องมีทั้งตัวอักษรสีแดง และสีเขียว.!?


@@@@@@@

สีตัวอักษรบนฮวงซุ้ย (เจียะปี) หมายถึงอะไร.?

แท้จริงแล้ว ตัวอักษรแต่ละสี บ่งบอกถึงการเสียชีวิต และการมีชีวิตอยู่ นั่นคือ

        • สีแดง หมายถึง ยังมีชีวิตอยู่
        • สีเขียว หมายถึง เสียชีวิตแล้ว

คนจีนมักสร้างฮวงซุ้ยไว้ล่วงหน้า จะมีการสลักชื่อไว้เรียบร้อยแล้ว แต่มักจะใช้สีแดงไว้ก่อน หากมีการเสียชีวิต ก็จะมาเขียนทับด้วยสีเขียวนั่นเอง

แต่ในปัจจุบัน ก็มีการใช้สีทองล้วนมากขึ้น ไม่ว่าจะเสียชีวิตแล้วหรือยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม

 




Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/ไลฟ์สไตล์/220299
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 26 มี.ค. 2567 ,15:12น.
ขอบคุณข้อมูล : ศูนย์ภาษาจีนฟิวเจอร์ซี, กินอยู่เป็น
61  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร สรีระสังขาร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิดัง ร่างไม่เน่าเปื่อย เมื่อ: มีนาคม 27, 2024, 06:30:37 am
.



พิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร สรีระสังขาร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิดัง ร่างไม่เน่าเปื่อย

ศิษยานุศิษย์ แห่ร่วมพิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวร "หลวงพ่อจันทร์" พระเกจิร่างไม่เน่าเปื่อย ฮือฮา เห็นคล้ายตัวเลขที่ใบหน้าของท่าน

วันที่ 25 มี.ค.2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ วัดวังเวิน ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ คณะศิษยานุศิษย์ได้จัดพิธีทำบุญสวดทักษิณาเปลี่ยนผ้าไตรจีวรอุทิศถวายแด่ พระครูพัชรกิตติญาณ หรือ หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ อดีตเจ้าอาวาสวัดวังเวิน ต.หล่มเก่า อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์ เนื่องในวันครบรอบ 11 ปี วันมรณภาพ




พิธีเริ่มในเวลา 12.09 น. พระสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ได้ร่วมประกอบพิธีขอขมาต่อดวงวิญญาณหลวงพ่อจันทร์กิตติญาโณ เสร็จแล้วได้นำร่างที่ไม่เน่าเปื่อยของหลวงพ่อออกมาด้านนอกโลงแก้ว พร้อมทั้งให้คณะศิษย์ได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด จากนั้นได้ประกอบพิธีเปลี่ยนผ้าไตรจีวรของหลวงพ่อ และได้นำร่างของท่านบรรจุไว้ในโลงแก้วเช่นเดิม



ประวัติ พระครูพัชรกิตติญาณ หรือ หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ ท่านเป็นศิษย์ หลวงพ่อทบ เกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์ ท่านได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความเมตตา เมื่อครั้งยังไม่มรณภาพท่านชอบช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยากเป็นที่พึ่งทางใจของชาวบ้านทั้งในยามเจ็บป่วยและในยามที่เดือดเนื้อร้อนใจก็จะมาให้ท่านประพรมน้ำมนต์ให้

หลวงพ่อจันทร์ กิตติญาโณ เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2467 และได้มรณภาพวันที่ 25 มี.ค.2556 ตรงกับวันจันทร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 3 ปีมะโรง เวลา 18.00 น. รวมสิริอายุ 89 ปี 68 พรรษาแต่ร่างไม่เน่าเปื่อย ผิวหนังยังคงมีสีเหลืองคล้ายคนปกติทั่วไป คณะศิษย์จึงได้บรรจุร่างของท่านไว้ในโลงแก้วเพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้กราบสักการะบูชา




ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในขณะที่นำร่างของท่านออกมาจากโลงแก้ว และให้ผู้ร่วมพิธีได้กราบสักการะอย่างใกล้ชิด ได้มีผู้สังเกตเห็นคล้ายตัวเลข 135 ที่ใบหน้าของท่าน ต่างก็บอกต่อๆ กันไปเพื่อที่จะเป็นแนวทางในการเสี่ยงโชค งวดวันที่1 เมษายน 2567

 



Thank to : https://www.amarintv.com/news/detail/211654
26 มี.ค. 67
62  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน หรือเอากิเลสออกก่อน เมื่อ: มีนาคม 24, 2024, 07:31:18 am
.



เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน หรือเอากิเลสออกก่อน
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : ท่านอาจารย์ครับ ระหว่างเรียนธรรมให้เข้าใจก่อน กับเอากิเลสออกก่อน เราควรโฟกัสอะไรก่อนครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ :-

1st เอากิเลสออกก่อน เพราะ
    ๑. สุขสบายก่อน
    ๒. บริสุทธิ์ หมดจด ปลอดภัยก่อน
    ๓. เมื่อกิเลสออกแล้วฟังธรรมก็แจ่มแจ้งทันที
เวลาคนไปฟังธรรมกับพระพุทธเจ้า ถ้ามีพวกกิเลสเบาบาง จะทรงสอนให้เอากิเลสออกทันที ออกได้ก็บรรลุธรรมทันที ดังนั้นเอากิเลสออกก่อนเสมอ ถ้ายังเหลืออีก ค่อยเข้าสู่กระบวนการปฏิบัติอื่นๆ ต่อไป


2nd เรียนธรรมเฉพาะที่จะเอากิเลสออกได้ก่อน เพราะ
    ๑. ธรรมะทั้งหมดพระพุทธองค์ทรงให้ไว้เพื่อละ สลาย เป็นอิสระจากกิเลส
    ๒. การปฏิบัติธรรมให้ได้ผล ต้องแม่นยำตรงสู่ผล ไม่มาก ไม่น้อย ไม่มั่ว จึงจะปฏิบัติง่าย สำเร็จเร็ว
    ๓. พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้ธรรมะบทหนึ่ง ที่บุคคลประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมดีแล้ว ก็บรรลุธรรมได้

หากเรียนธรรมะก่อนเอากิเลสออก
    ๑. เข้าใจธรรมเป็นจุด ๆ ยึดถือเป็นจุด ๆ เชื่อมโยงธรรมทั้งปวงไม่ได้
    ๒. สัญญาขันธ์จะบวม
    ๓. ฟุ้งซ่านในธรรม
    ๔. เอาธรรมะมาสร้างทิฏฐิ
    ๕. เมามันไปกับการสอบ มานะเกิดขึ้น
    ๖. เข้าสภาวะยาก
    ๗. ติดขั้นตอนเกินจำเป็น ทำให้ปฏิบัติยาก
    ๘. รู้แล้วอยากบอกให้คนอื่นรู้ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่บรรลุธรรม
    ๙. เป็นเหมือนภิกษุใบลานเปล่า
  ๑๐. เอาตัวไม่รอด
  ๑๑. วนเวียนอยู่ในวัฏฏะดังเดิม


การเรียนธรรมที่เหมาะแก่การปฏิบัติ
คือ การปฏิบัติธรรมเป็นหลักจริงจังอย่างสายกลาง แล้วศึกษาธรรมประกอบทีละบท หรือทีละพระสูตร ศึกษาธรรมใด ก็นำมาปฏิบัติทันที จะได้วิธีปฏิบัติธรรมหลากหลายขึ้น เพิ่มโอกาสบรรลุธรรมมากขึ้น มีโอกาสสำเร็จปริญญาแท้ทางธรรมมากขึ้น คือ
    - โสดาปัตติมรรค
    - โสดาปัตติผล
    - สกทาคามิมรรค
    - สกทาคามิผล
    - อนาคามิมรรค
    - อนาคามิผล
    - อรหัตตมรรค
    - อรหัตตผล
เช่นนี้จึงชื่อว่า ศึกษาธรรมเพื่อปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุธรรมจริง ตามพระพุทธองค์

ความจริงที่ควรแจ่มแจ้ง
ธรรมปริยัติ เพื่อความเข้าใจ มุ่งสัมมาธรรม
ธรรมปฏิบัติ เพื่อสภาวะจิตและวิหารธรรมที่เลิศ มุ่งวิมุตติ
ธรรมปฏิเวธ เพื่อความบริสุทธิ์บริบูรณ์ อมตะ ว่างอย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่ง เป็นที่พึ่งให้จักรวาลได้


     

 
ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/868350371889428061/
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6581/เรียนธรรมให้เข้าใจก่อน-หรือเอากิเลสออกก่อน
25 May 2023
63  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘พระพรหมบัณฑิต-พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’ เมื่อ: มีนาคม 24, 2024, 07:14:42 am
.



‘พระพรหมบัณฑิต-พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’

‘พระพรหมบัณฑิต – พวงเพ็ชร’ เตรียมความพร้อม ไทยเป็นเจ้าภาพ ‘วิสาขบูชาโลก’ 19-20 พ.ค. ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา

เมื่อวันที่ 23 มีนาคม นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ากราบ พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เจ้าอาวาสวัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะประธานสภาสากลวันวิสาขบูชาโลก (ICDV) และประธานสมาคมมหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนานานาชาติ (IABU) และหารือการเตรียมจัดงานวิสาขบูชาโลก ประจำปี 2567 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ

ด้าน พระพรหมบัณฑิต เปิดเผยว่า ที่ประชุมฯ ในวันนี้ได้ร่วมกันสรุปกำหนดการการจัดงานวันวิสาขบูชาโลก และการจัดประชุมวิสาขบูชาโลกนานาชาติ “ในหัวข้อเอกภาพของการทำงานร่วมกัน” ซึ่งประเทศไทยได้รับเกียรติในการให้เป็นเจ้าภาพในปีนี้ (2567) โดยมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคมนี้ และมีการหารือกันเนื่องในโอกาสที่ปีนี้เป็นปีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงได้มีกำหนดเชิญผู้นำทางศาสนา และพุทธศาสนิกชนจากนานาประเทศมาเข้าร่วมงานถึง 73 ประเทศ




โดยจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆ การเจริญพระพุทธมนต์ และกิจกรรมถวายพระพรชัยมงคล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วย ซึ่งการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือที่ดีจากรัฐบาล ในการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ รวมถึงงบประมาณสนับสนุน

ขณะที่ นางพวงเพ็ชร กล่าวว่า ในนามของรัฐบาล น้อมรับการทำงานให้พระพุทธศาสนาและรับใช้มหาเถร สมาคมอย่างเต็มที่ ในฐานะที่ตนกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาเเห่งชาติและกรมประชาสัมพันธ์ จะประสานการจัดงานให้ประสบผลสำเร็จ และสนับสนุนด้านการประชาสัมพันธ์อย่างเต็มที่เพื่อให้การจัดงานวิสาขบูชาโลก ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ออกสู่สายตาคนทั้งโลกอย่างยิ่งใหญ่ ให้ทั่วโลกได้เห็นว่าประเทศไทยเหมาะสมที่จะเป็นศูนย์กลางทางพระพุทธศาสนา

ประกอบกับปีนี้เป็นปีมหามงคลของปวงชนชาวไทย เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนร่วมเป็นเจ้าภาพที่ดี ต้อนรับคณะผู้เข้าร่วมงานวิสาขบูชาโลก และเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ร่วมสืบสานและน้อมนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนามาใช้ในชีวิตประจำวัน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว






Thank to : https://www.matichon.co.th/education/religious-cultural/news_4488619
วันที่ 23 มีนาคม 2567 - 17:42 น.
64  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง | จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 07:36:41 am
.



ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : อาจารย์ครับ มีพุทธภาษิตอยู่บทหนึ่ง ที่เหมือน ๆ จะเข้าใจง่าย แต่ก็เข้าใจยาก คือ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน แต่โลกทุกวันนี้อยู่กันแบบแบ่งงานกันทำ แบ่งความเชี่ยวชาญกันเก่ง แล้วพึ่งพาอาศัยกัน ครั้นเราจะไปทำเองทุกอย่างก็เป็นไปไม่ได้ เลยทำให้ภาพตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน มันเลือนลางไป จึงขอเรียนถามอาจารย์ว่า ขอบข่ายของ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" มีแค่ไหนครับ

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ : พระพุทธเจ้าไม่ตรัสอะไรเล่นๆ สิ่งที่พระองค์ตรัสเป็นสัจธรรมเสมอ

ใครเป็นที่พึ่งให้เราได้บ้าง.?

ลองดูความเป็นจริง มีใครในโลกบ้างที่เป็นที่พึ่งให้เราได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกสถานการณ์ ทุกผลที่พึ่งได้ หากซื่อตรงต่อความจริงและตนเอง ก็จะพบว่า ไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงให้ "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

ขอบเขต "อัตตาหิ อัตตโน นาโถ" ที่ได้ผล

ในจักกวัตติสูตร ทรงให้ เธอจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นเกาะ โดยกำหนดรู้ กายในกายภายในตน กำหนดรู้ กายในกายภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งกายนี้และกายอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในกายและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ เวทนาในเวทนาภายในตน กำหนดรู้ เวทนาในเวทนาภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งเวทนานี้และเวทนาอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในเวทนาและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ จิตปรุงแต่งในจิตภายในตน กำหนดรู้ จิตปรุงแต่งในจิตปรุงแต่งภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งจิตปรุงแต่งนี้และจิตปรุงแต่งอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในจิตปรุงแต่งและในโลกทั้งปวง

กำหนดรู้ ธรรมประกอบในธรรมประกอบภายในตน กำหนดรู้ ธรรมประกอบในธรรมประกอบภายในคนอื่น เห็นความไม่เที่ยงแห่งธรรมประกอบนี้และธรรมประกอบอื่น ๆ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในธรรมประกอบและในโลกทั้งปวง

สรุป : ที่พึ่งหลักของทุกคน คือ รู้อิสระที่ไม่ถือมั่นในกาย เวทนา จิตปรุงแต่ง ธรรมประกอบ และอะไร ๆ ในโลกทั้งปวง

 




ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/941533865877205173/
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6576/ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน
19 May 2023





การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง

[๘๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา แคว้นมคธ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย” ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
             
    “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ(๑-) มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่เถิด"           
    "ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างไร.?"

    คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๒. พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๓. พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
    ๔. พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกได้
             
    "ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ เป็นอย่างนี้แล"


เชิงอรรถ :-
(๑-) มีตนเป็นเกาะ ในที่นี้หมายถึง ทำตนให้พ้นจากห้วงน้ำ คือ โอฆะ ๔ เหมือนกับเกาะกลางมหาสมุทรที่น้ำท่วมไม่ถึง (ที.ม.อ. ๑๖๕/๑๕๐, ที.ม.ฏีกา ๑๖๕/๑๘๐) , ดูเทียบ ที.ม. (แปล) ๑๐/๑๖๕/๑๑๑ , สํ.ม. (แปล) ๑๙/๓๗๙/๒๓๔






ขอขอบคุณ
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/337488565841817888/
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๑ หน้า : ๕๙-๖๐
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๑ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค , ๓. จักกวัตติสูตร ว่าด้วยพระเจ้าจักรพรรดิ , การมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง
URL : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=11&siri=3
65  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มุมน่าสะพรึงกลัวของ “พระนเรศวร” จากบันทึกวัน วลิต กับงานเขียนโต้ของคึกฤทธิ์ เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 07:00:47 am
.

ภาพประกอบเนื้อหา - พระนเรศ และพระเอกาทศรถ ในภาพยนตร์ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคยุทธนาวี (ภาพจากคลิป "ตัวอย่าง ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 3 ยุทธนาวี (Official Tr.)" จาก Youtube : Sahamongkolfilm International Co.,Ltd)


มุมน่าสะพรึงกลัวของ “พระนเรศวร” จากบันทึก วัน วลิต กับงานเขียนโต้ของคึกฤทธิ์

วัน วลิต หรือ เยเรเมียส ฟาน ฟลีต (Jeremais van Vliet) เป็นพ่อค้าชาวดัตช์ ของบริษัทอินเดียตะวันออกของดัตช์ เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยาในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้เขียนบันทึกเกี่ยวกับกรุงศรีอยุธยา 3 เล่ม เล่มที่เป็นพงศาวดารเขียนขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2183

วัน วลิต เขียนบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้คนในกรุงศรีอยุธยา บันทึกของเขามีความน่าสนใจตรงที่เนื้อหามีรายละเอียดค่อนข้างมากและสามารถอธิบายได้เป็นฉาก ๆ ได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวร หรือ พระนเรศวร ที่ วัน วลิต ให้ข้อมูลแตกต่างจากพงศาวดารหรือหลักฐานชิ้นอื่นแทบจะสิ้นเชิง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นว่า วัน วลิต น่าจะได้ไต่ถามเรื่องราวจากคนที่เคยอยู่ร่วมสมัยเหตุการณ์มาประกอบการเขียน แต่โดยนิสัยของคนโบราณในการเล่าเรื่องให้ชาวต่างชาติฟังนั้น อาจต่อเติมอะไรต่อมิอะไรเข้าไปเพื่อแสดงพระบรมเดชานุภาพของสมเด็จพระนเรศวร เพื่อแสดงความเด็ดเดี่ยว และพระราชอำนาจอันน่าสะพรึงกลัว ซึ่งในมุมมองของคนโบราณเห็นว่า เป็นพระเกียรติยศ

แนวคิดของคนโบราณย่อมตรงกันข้ามกับมุมมองของคนยุคปัจจุบัน ซึ่งเรื่องราวที่ วัน วลิต บันทึกนั้น จะเอามาตำหนิติเตียนด้วยมาตรฐานของคนสมัยนี้ว่า ผิดถูกชั่วดี เห็นจะไม่ถูกต้องนัก

@@@@@@@

ถลกหนัง

“หลังจากได้ชัยชนะพระมหาอุปราชาและกองทัพพะโค พระเจ้าแผ่นดินสยามก็ทรงรวบรวมกองทัพ ประกอบด้วยทหารจำนวนมากพอสมควรยกไปโจมตีกัมพูชา โดยมีออกญาจักรีและออกญากลาโหมเป็นทัพหน้า และสมเด็จพระนเรศพระราชโอรสเป็นทัพหลัง

เมื่อยกทัพมาถึงพรมแดนกัมพูชา ออกญาจักรีก็ฉวยโอกาสเข้ายึดเมืองชายแดน โดยคิดว่าจะทำความดีถวายต่อพระเจ้าแผ่นดินและพระราชโอรส เมื่อพระนเรศเสด็จมาถึงก็ทรงพระพิโรธในการกระทำของออกญาจักรี มีรับสั่งให้ถลกหนังทั้งเป็น ทรงตรัสว่า

‘พระเจ้าแผ่นดินพระราชบิดาของเราและตัวเรา เป็นผู้สั่งเจ้ามาที่นี่ แต่ไม่ได้สั่งให้เจ้าเข้าโจมตี และเอาชีวิตทหารของเรามาเสี่ยงอันตรายเช่นนี้ เจ้าพยายามจะทำความดีความชอบแข่งกับเรา เพื่อว่าเมื่อได้รับชัยชนะแล้ว ทั้งเราและเจ้าจะได้เป็นผู้มีชัยชนะเหมือนกันทั้งสองคน ด้วยเหตุนี้เจ้าจึงต้องตาย'”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายว่า การสงครามที่ปรากฏชื่อออกญาจักรีและออกญาโหม เกิดขึ้นในคราวสงครามที่เมืองชายฝั่งด้านอ่าวเมาะตะมะ ไม่ใช่ที่เขมร ส่วนเรื่องการถลกหนังไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ การที่ถลกหนังออกญาจักรีนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานในพงศาวดารหรือหลักฐานอื่นใดเลย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ชี้ว่า ศัพท์ชาวบ้านเรียกการเฆี่ยนว่า “ถลกหลัง” นั่นเพราะเมื่อผู้ใดถูกเฆี่ยนหลังแล้ว หนังก็จะขาดหรือถูกถลกออกมาตามรอยหวายที่เฆี่ยนลงบนหลัง จึงเรียกการเฆี่ยนว่า ถูกถลกหลัง

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “บางที วัน วลิต จะไปคุยกับคนไทยได้ยินคำว่าถลกหลังแล้วฟังผิดว่า ถลกหนัง เลยเขียนความไปตามนั้นก็ได้” ดังนั้น ตามข้อสันนิษฐานนี้ การถลกหนังออกญาจักรีจึงอาจเป็นการเฆี่ยนมากกว่า


@@@@@@@

เผาทั้งเป็น

“ทรงมีกระแสรับสั่งให้เตรียมเรือ และเสด็จพร้อมทั้งขุนนางไปยังเพนียด (ซึ่งเป็นโรงช้างและสถานที่ราชาภิเษก) เพื่อประกาศสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน และให้ขุนนางสาบานว่าจะจงรักภักดี ต่อพระองค์ตลอดไป

เมื่อเสด็จถึงเพนียด ฝีพายของพระนเรศเทียบเรือผิด พระองค์ก็ทรงเสด็จขึ้น ไม่ได้ทรงลงพระอาญาในเวลานั้น ได้ทรงราชาภิเษกถูกต้องตามราชประเพณี เมื่อพระชนมายุได้ 35 พรรษา และทรงพระนามว่า พระนเรศราชาธิราช

หลังจากพิธีราชาภิเษกแล้ว พระองค์มีรับสั่งให้เผาฝีพายเรือของพระองค์ และฝีพายเรือหลวงลำอื่น ๆ (ประมาณ 1,600 คน) เสียทั้งเป็น ณ สถานที่นั้น ทรงมีรับสั่งกับคณะขุนนางว่า พระองค์ทรงปรารถนาให้คณะขุนนางจดจำการลงพระอาญาครั้งนี้ไว้เป็นเยี่ยงอย่างการปกครองของพระองค์ และจากนั้นพระองค์ก็เสด็จกลับพระราชวัง“

เรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ตั้งข้อสังเกตว่า หากเผาฝีพายจำนวนมากเช่นนั้น แล้วสมเด็จพระนเรศวรจะเสร็จพระราชดำเนินกลับพระราชวังหลวงได้อย่างไร อีกทั้ง หากให้ขุนนางลงทำหน้าที่แทนฝีพาย พอถึงพระราชวังหลวงก็คงต้องรับพระราชอาญา เพราะจะให้พายเรือให้ดีเท่าฝีพายคงจะเป็นไปไม่ได้แน่นอน

อย่างไรก็ตาม พระราชพงศาวดาร ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์ มีบันทึกเรื่องทำนองนี้ไว้ว่า “ศักราช 955 มะเสงศก… เสด็จเถลิงพระมหาปราสาท ครั้งนั้นทรงพระโกรธแก่มอญ ให้เผามอญเสียประมาณ 100”  ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ วิเคราะห์ว่า พงศาวดารมิได้กล่าวถึงต้นเหตุที่ทำให้ทรงพระพิโรธ อาจเพราะมอญเผาอิฐที่จะสร้างพระมหาปราสาทไม่ได้ขนาด หรือมอญคอยแต่นับอิฐแบบมอญว่า “หนึ่งแผ่นอิฐมอญ สองแผ่นอิฐมอญ สามแผ่นอิฐมอญ…” จนเป็นเหตุให้ล่าช้าเหลืออดเหลือทนเสียประมาณ แต่เชื่อว่าวัน วลิต น่าจะฟังเรื่องนี้มาผิดเป็นแน่

นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่วัน วลิต บันทึก เกิดขึ้นหลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ซึ่งเป็นพระราชพิธีมงคล การจะเผาคนนับพันจึงไม่น่าจะเป็นไปได้



จิตรกรรมโคลงภาพพระราชพงศาวดารตอน “สงครามยุทธหัตถีระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราชกับสมเด็จพระมหาอุปราชา” เขียนโดย หลวงพิศณุกรรม (เล็ก) ในสมัยรัชกาลที่ ๕ (ภาพจากหนังสือ “จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชสำนัก เล่ม ๒”)


เฉียบขาด

“เรื่องต่าง ๆ เกี่ยวกับพระองค์ และประจักษ์พยานทั้งหลายซึ่งยังมีชีวิตอยู่ ได้รายงานว่า ในระยะ 20 ปี ที่อยู่ในราชสมบัติ พระองค์ทรงฆ่าคนตามกฎหมายมากกว่า 80,000 คน ทั้งนี้ไม่รวมพวกที่เสียชีวิตในการรบ ไม่ว่าจะเป็นบนหลังช้าง หลังม้า ในเรือพาย หรือแม้ในขณะประทับ ณ พระราชบัลลังก์

ขณะที่ออกขุนนางปรากฏว่า ไม่มีครั้งใดเลยที่พระองค์จะปราศจากอาวุธ ทรงมีกระบอกลูกธนูบนพระเพลา และมีคันธนูอยู่ในพระหัตถ์ เมื่อพระองค์ทอดพระเนตรเห็นผู้ใดทำผิด แม้ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ไม่เป็นที่สบพระทัย พระองค์จะทรงยิงธนูไปที่ผู้นั้น และรับสั่งให้ผู้นั้นนำลูกธนูมาถวาย

พระองค์จะตรัสสั่งให้เฉือนเนื้อบุคคล (แม้แต่ขุนนาง) ที่กระทำผิดแม้ว่าจะน้อยนิดเสมอ และทรงให้บุคคลผู้นั้นกินเนื้อของตนเอง เฉพาะพระพักตร์ และทรงให้บางคนกินอุจจาระของตนเองบ่อยครั้ง ที่ตรัสว่า

‘นี่เป็นวิธีที่จะปกครองพวกเจ้าชาวสยาม เพราะว่าเจ้าเป็นพวกที่มีธรรมชาติที่ดื้อดึง น่าขยะแขยง ในอาณาจักรที่แสนเลวนี้ แต่ข้าจะปฏิบัติเช่นนี้ต่อเจ้าจนกว่าจะทำให้เจ้าเป็นชนชาติที่น่านับถือได้ เจ้าเป็นเหมือนหญ้าที่ขึ้นบนท้องทุ่งที่อุดมสมบูรณ์ ถ้าตัดให้สั้นได้เท่าไร เจ้าก็จะขึ้นได้สวยงามมากเท่านั้น ข้าจะหว่านทองไว้ในท้องถนนสายต่าง ๆ เป็นเวลาหลายเดือน ใครก็ตามที่มองทองเหล่านี้ด้วยความละโมภจะต้องถูกฆ่าตาย'”

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า เรื่องการปกครองด้วยความเฉียบขาดของสมเด็จพระนเรศวรนั้นน่าจะเป็นความจริง เพราะการปกครองของกรุงศรีอยุธยาเริ่มอ่อนแอมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ เกิดการแตกสามัคคีจนต้องเสียกรุง โจรผู้ร้ายชุกชุมทั่วพระราชอาณาจักร ราษฎรหาความสุขมิได้ สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องทรงปกครองโดยเฉียบขาด ลงโทษผู้กระทำความผิดอย่างรุนแรงเพื่อให้เป็นเยี่ยงอย่าง

สำหรับการประหารชีวิตกว่า 80,000 คน นั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เชื่อว่า อาจจะเกิดขึ้นจริงหรือไม่จริงก็ได้ ส่วนเรื่องพระแสงติดพระองค์นั้น เป็นราชประเพณีโดยธรรมเนียมที่เจ้าพนักงานต้องทอดพระแสงไว้เสมอ เรื่องยิงธนู ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายว่า นั่นมิใช่การลงพระราชอาญา ถ้าเป็นในระหว่างเสด็จออกว่าราชการ น่าจะเป็นการปลุกผู้ที่แอบงีบให้ตื่น เพราะขุนนางหมอบเฝ้า อาจก้มหน้าก้มตาแล้วหลับไปเลย

พระราชอาญาให้คนกินเนื่อของตน หรือกินอุจจาระของตนนั้น ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เรื่องคอร์รัปชันว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าลงพระราชอาญาแบบนี้แก่ขุนนางตำแหน่งใหญ่ ๆ ผู้กินไม่อื่มก็น่าจะเห็นพระราชหฤทัยอีกเช่นเดียวกัน”


@@@@@@@

กลัวไม่ได้กลับบ้าน

“ขุนนางทั้งหลายรับราชการอยู่ด้วยความหวาดกลัวพระเจ้าแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง เมื่อมีรับสั่งให้เข้าเฝ้า ขุนนางจะจัดบ้านช่อง เหมือนกับว่าตนจะไปตาย เพราะว่าขุนนางกลัวอยู่เสมอว่าตัวจะไม่ได้กลับมาเห็นบ้านอีก”

ในเรื่องนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องยืนยันข้อความในพงศาวดารพม่า ที่ขุนนางพม่ากราบทูลพระเจ้าหงสาวดีว่า คนไทยกลัว พระนเรศวร ยิ่งกว่ากลัวตาย” ซึ่งทำให้เห็นว่า ในประเด็นนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เห็นพ้องตามบันทึกของวัน วลิต

ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ อธิบายสรุปว่าวัน วลิต ได้บันทึกเรื่องราวของสมเด็จพระนเรศวรอย่างชาวต่างชาติเขียน ไม่มีเหตุที่จะยกย่องพระเกียรติยศ บางครั้งก็เขียนไปในทางเสื่อมเสีย เพราะคงจะได้ฟังจากคำบอกเล่าของคนในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ซึ่งเป็นคนที่อยู่ใต้ราชวงศ์ใหม่ อาจเล่าเรื่องราวบางประการให้วัน วลิต ฟังเพื่อเป็นการลบหลู่ราชวงศ์เดิม ส่งเสริมราชวงศ์ใหม่ก็เป็นได้

อ่านเพิ่มเติม :-

   • สมเด็จพระนเรศวรฯ กับคนไทใหญ่ ความสัมพันธ์ชั้นเจ้าที่ต่างเล็งขับไล่พม่า
   • ชนไก่ กีฬาพื้นบ้านที่เล่ากันว่าสมเด็จพระนเรศวรทรงชนะพระมหาอุปราช






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : เสมียนอารีย์
เผยแพร่ : วันเสาร์ที่ 23 มีนาคม พ.ศ.2567
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรกเมื่อ  11 พฤศจิกายน 2563
URL : https://www.silpa-mag.com/history/article_57966

อ้างอิง :-
- พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวัน วลิต พ.ศ. 2182. (2546). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : มติชน.
- คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. (2533). กฤษดาภินิหาร อันบดบังมิได้. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สยามรัฐ.
66  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พิธีบำเพ็ญกุศล พระเทพกิตติปัญญาคุณ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี เมื่อ: มีนาคม 23, 2024, 06:50:34 am
.



พิธีบำเพ็ญกุศล พระเทพกิตติปัญญาคุณ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี

พิธีบำเพ็ญกุศลและพระราชทานเพลิง พระเทพกิตติปัญญาคุณ พระนักเทศน์ อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ หลังเก็บสรีระสังขารนาน 19 ปี

ขอเชิญศิษยานุศิษย์ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทานเพลิงศพ พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ พระนักเทศน์ น้ำเสียงนุ่มนวลชวนฟัง โดยเฉพาะด้านพระอภิธรรมและพระสูตรเป็นเลิศ ในยุค 2500-2525 ท่านมรณภาพ เมื่อวันที่ 21 ม.ค.2548 จนถึงบัดนี้ รวมระยะเวลา 19 ปี 1 เดือน

พระเทพกิตติปัญญาคุณ หรือ กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกฺขุ ที่ผู้คนทั้งประเทศรู้จัก ในฐานะอดีตผู้อำนวยการจิตตภาวันวิทยาลัย จ.ชลบุรี ผู้ก่อตั้งจิตภาวันวิทยาลัย มีชื่อเสียงในฐานะวิทยาลัยเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งแรกของประเทศไทย




พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตติศักดิ์ เจริญสถาพร) เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2479 ที่ต.บางไทรป่า อ.บางเลน จ.นครปฐม เป็นบุตรของนายเตียวยี่-นางเง็กเล้า เจริญสถาพร มีพี่น้องทั้งหมด 8 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3

พระเทพกิตติปัญญาคุณ อุปสมบทเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2500 ณ วัดปากน้ำ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร หลังจากอุปสมบทแล้ว ท่านได้ศึกษาปริยัติธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอกจากสำนักเรียนวัดปากน้ำ ต่อมาไปเรียนอภิธรรมที่โรงเรียนพระอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัย วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์




นอกจากนี้ ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นครูสอนอภิธรรม และย้ายไปอยู่วัดมหาธาตุฯ รวมถึงได้ศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ เช่น มูลกัจจายน์ วิสุทธิมรรค อภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น กับพระเตชินทะ ธัมมาจริยะ อภิธัมมกถิกาจริยะชาวพม่า และพระครูประกาศสมาธิคุณ (สังเวียน ญาณเสวี) และเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์อินทวังสะ กัมมัฎฐานาจริยะชาวพม่า เป็นต้น

ด้วยการศึกษาทางธรรมอย่างจริงจัง ทำให้ ท่านมีความรู้ ในพุทธศาสนาอย่างแตกฉาน สามารถเทศนาสั่งสอนญาติโยมอันเป็นกิจหนึ่งที่สงฆ์พึงปฏิบัติได้เป็นอย่างดี เทศนาของท่านซึ่งเป็นคำสอนหนึ่งที่ยังคงได้รับการเผยแพร่มาจนถึงปัจจุบันก็คือ “ฝึกตายทุกวัน”




บทบาทสำคัญและผลงานของท่านที่ปรากฏเป็นรูปธรรม คือ การก่อตั้งวิทยาลัยการเผยแพร่พระพุทธศาสนา หรือที่รู้จักกันในชื่อ “จิตตภาวันวิทยาลัย” ตั้งอยู่ที่จังหวัดชลบุรี เพื่อใช้เป็นสถานที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งท่านทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการคนแรก ผลิตพระสงฆ์สามเณร พระหน่วยพัฒนาการทางจิตให้ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ซึ่งปัจจุบันหลายท่านเป็นเจ้าอาวาส เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ และเจ้าคณะตำบลมากมาย และท่านได้สร้างอุโบสถกลางทะเล ซึ่งถือเป็นของใหม่ในยุคนั้น รวมทั้งการสร้างโรงพยาบาลสงฆ์จากการระดมทุนของท่าน เพื่อรักษาประชาชนที่ยากไร้

บรรดาศิษย์ยานุศิษย์ของท่านได้เก็บสรีระสังขารของท่านไว้เป็นอนุสรณ์นานถึง 19 ปี ก่อนที่จะมีหมายรับสั่งที่ 2970 โปรดเกล้าฯ ให้พระราชทานเพลิงศพพระเทพฯ กิตติปัญญาคุณ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา




ทั้งนี้ กำหนดพิธีบำเพ็ญกุศลสวดพระอภิธรรม ตั้งแต่วันที่ 21-23 มีนาคม พ.ศ.2567 เวลา 18.30 น. ณ ตำหนักสมเด็จพระสังฆราช วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร และพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม เวลา 15.00 น ณ วัดสระเกศวรมหาวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

จึงขอเรียนเชิญศิษย์ยานุศิษย์และพุทธศาสนิกชน ร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลออกเมรุพระราชทนเพลิงศพ พระเทพกิตติปัญญาคุณ (กิตฺติวุฑฺโฒ ภิกขุ) อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว




Thank to : https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_8151429
ทุกทิศทั่วไทย | 22 มี.ค. 2567 - 14:35 น.
67  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ -ปลัดมหาดไทย ประชุมขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 10:06:12 am
.



สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ -ปลัดมหาดไทย ประธานประชุมขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พร้อมบรรยายพิเศษ “ขอพระสงฆ์เป็นหลักชัย ทำให้ญาติโยมมีดวงตาเห็นธรรม”

วันที่ 21 มี.ค. 67 เวลา 09.00 น. ที่อาคารปฏิบัติธรรมพระธรรมรัตนาภรณ์ วัดสายสุวพรรณ ต.คลองสี่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข พิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ พัดยศ และเกียรติบัตร วัดต้นแบบ ประจำปี 2566

โดยได้รับเมตตาจากพระมหาเถระ พระเถระ พระสังฆาธิการ ร่วมพิธี โดนมี นางยุพา ทวีวัฒนะกิจบวร ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ อธิบดีกรมการปกครอง นายขจร ศรีชวโนทัย อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นายภาสกร บุญญลักษม์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พุทธศาสนิกชน และภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ร่วมในงานเป็นจำนวนมาก

@@@@@@@

สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กล่าวประทานโอวาทเปิดการประชุม ความว่า โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เป็นหนึ่งในงานปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาโดยมุ่งพัฒนาวัดและชุมชนให้สะอาด ร่มรื่น เรียบร้อย สวยงาม เป็นสถานที่สัปปายะ เหมาะสมกับการเรียนรู้และการพัฒนาจิตใจของประชาชน โดยโครงการนี้ได้ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งวันนี้ถือว่าเป็นวันพิเศษอีกวันหนึ่ง ที่คณะสงฆ์จะได้มาประชุมร่วมกันเพื่อขับเคลื่อนทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ร่มเย็น และมีความสุข ซึ่งมีภาคีเครือข่ายจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคศาสนา ภาคประชาชน

โดยโครงการนี้จะขับเคลื่อนไปได้ด้วยดีเพื่อก่อให้เกิดผลสำเร็จ ทำให้สังคมเกิดความสงบสุข ผู้คนไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เฉกเช่นเดียวกับโครงการหมู่บ้านศีลธรรมหรือหมู่บ้านรักษาศีล 5 ซึ่งคณะสงฆ์ได้มีโครงการขึ้นมาเพื่อยังผลให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ และเจริญรุ่งเรืองในพระพุทธศาสนา มีผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ โดย

ทั้งหมดที่กล่าวนี้ล้วนเป็นงานหลักของคณะสงฆ์เพื่อตอบแทนบุญคุณพุทธศาสนิกชนที่ได้อุปถัมภ์ค้ำชูพระพุทธศาสนา ทำให้คณะสงฆ์มีที่อยู่อาศัย มีความมั่นคงทางอาหาร ยา และเครื่องนุ่งห่ม คณะสงฆ์จึงดำริโครงการเหล่านี้เพื่อทดแทนบุญคุณที่ได้อุดหนุนค้ำชูพระพุทธศาสนา ผลความสุขจะได้สืบทอดไปสู่ความร่มเย็นเป็นสุขของประเทศชาติที่ทุกท่านอยู่ด้วยมิตรไมตรีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่สามัคคีกัน

และเราทุกท่านมุ่งหวังในการพัฒนาชาติด้วยหลักธรรมทางศาสนา หากทุกคนปฏิบัติและยึดถือศีล 5 หรือศีล 8 ได้อย่างแท้จริง สังคมและประเทศชาติจะเกิดความเจริญ สงบสุขร่มเย็น ประเทศไทยก็จะเป็นประเทศที่น่าอยู่ของโลก โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข จึงเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนและดำเนินการมาตามลำดับร่วมกับภาคีเครือข่าย




“โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทรวงมหาดไทย ที่เข้ามาช่วยกันทำหน้าที่ในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” เป็นพันธกิจที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีของกระทรวงมหาดไทย ได้พระราชทานค่านิยมนี้สืบทอดต่อกันมา เช่นเดียวกับคณะสงฆ์ที่มีหน้าที่ต้องดูแลอบรมประชาชนให้ปฏิบัติตนเป็นคนดี ทุกท่านในที่นี้ก็มีหน้าที่เช่นเดียวกัน หากทุกคนทำหน้าที่ของเราอย่างสมบูรณ์ เราก็จะสร้างสังคมที่คนดีมีระเบียบวินัย เป็นที่ต้องการของสังคม และที่สำคัญกว่านั้นคือการเป็นคนดี ดังที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงมีพระราชดำรัสที่ต้องสร้างคนดีให้เพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น วัตถุประสงค์หลักของโครงการนี้ คือ การสร้างคนดีนำไปสู่การมีสังคมที่เจริญและสงบสุข ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสืบสาน รักษา และต่อยอด ในการทำความดี ในฐานะพสกนิกรไทยของพระองค์จึงขอฝากทุกท่านในการทำความดี หากทุกภาคส่วนร่วมกันจะผลักดันให้โครงการนี้สำเร็จเรียบร้อยด้วยความดีงาม ขอให้คณะสงฆ์ทุกท่านเป็นกำลังสำคัญในการบำรุงพระพุทธศาสนาต่อไป ขอให้ทุกท่านมุ่งมั่นดำเนินการโครงการนี้ต่อไปเพื่อบำรุงพระพุทธศาสนาในฐานะพุทธศาสนิกชนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า




โอกาสนี้ นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย บรรยายพิเศษ เรื่อง “ความร่วมมือภาครัฐกับคณะสงฆ์ในการขับเคลื่อนกิจการพระพุทธศาสนา” โดยกล่าวว่า กระทรวงมหาดไทยได้ร่วมสนองงานร่วมกับคณะสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้สนองงานร่วมกับเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม มาโดยตลอด

ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่พวกเราจำเป็นต้องช่วยกัน ดังที่พระคุณท่านได้ประทานโอวาทไปตอนต้นแล้วนั้น คือ การที่ทุกคนจะช่วยกัน “สืบสาน รักษา และต่อยอด” แนวพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระผู้ทรงคุณอันประเสริฐยิ่ง และสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ดังพระปฐมบรมราชโองการในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2562 ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” และพระราชดำรัส “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

ซึ่งเป้าหมายของการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีความสุขเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นเรื่องที่เกื้อกูลกัน ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความสุขอันดับที่ 58 ของโลก และเป็นอันดับที่ 7 ของเอเชีย ซึ่งประเทศที่มีความสูงที่สุดอันดับ 1 ของโลก คือ ประเทศฟินแลนด์ ที่ทุกพื้นที่ของประเทศมีความมั่นคงทางอาหาร มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย ประชาชนก็มีความสุข อันสอดคล้องกับแนวทางของการดำเนินโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยกระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมกันขับเคลื่อนร่วมกับมหาเถรสมาคม เพราะเรามีหน้าที่ในการบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ตลอด 132 ปีที่ผ่านมา มีเป้าหมายสูงสุด คือ สนองพระราชปณิธานในการทำให้ประเทศชาติมั่นคงและประชาชนมีความสุข




“กระทรวงมหาดไทยมีกลไกในระดับพื้นที่ มีผู้นำใน 76 จังหวัด 878 อำเภอ 7,849 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เราขับเคลื่อนร่วมกับผู้นำภาคศาสนาในพื้นที่ ทำให้ฝ่ายบ้านเมืองได้จับคู่กับฝ่ายศาสนาด้วยการทำให้เกิด “ผู้นำภาคศาสนาประจำอำเภอ ประจำตำบล”

โดยล่าสุด เมื่อวานนี้ (20 มี.ค. 67) มหาเถรสมาคมได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 8/2567 รับทราบโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 โดยขอความเมตตาจากพระสังฆาธิการให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล 1 พระ 1 ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็น ”หมู่บ้านยั่งยืน” อันสอดคล้องกับโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุขนี้ ที่เราชาวมหาดไทยได้สนองงานร่วมกับมหาเถรสมาคม

เพื่อทำให้เกิดหมู่บ้าน 5 ส ด้วยการบริหารจัดการขยะ การจัดทำถังขยะเปียกลดโลกร้อน รวมถึงการจัดตั้งธนาคารขยะรีไซเคิล โดยให้ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนนำขยะรีไซเคิลมาขายเป็นเงินกองทุนสวัสดิการของชุมชน

ซึ่งสิ่งที่เป็นเครื่องยืนยันว่างานจะสำเร็จได้ เราต้องทำงานตามหลักการทำงานที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงทำให้เห็นเป็นแบบอย่าง ตาม 4 กระบวนการสำคัญ คือ ร่วมพูดคุย ร่วมคิด ร่วมทำ และร่วมรับประโยชน์ โดยใช้กลไก “บวร” บ้าน วัด ราชการ และ 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันสู่พี่น้องประชาชน และทั้งหมดอยู่ในโครงการนี้” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าว




นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวต่อไปอีกว่า กระทรวงมหาดไทยน้อมนำแนวทางการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ตลอดจนการขับเคลื่อนโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข โดยใช้กลไกผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ กำนันผู้ใหญ่บ้าน ภาคีเครือข่ายทั้ง 7 ภาคีเครือข่าย ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ร่วมลงนามบันทึกความร่วมมือ โดยเฉพาะผู้นำด้านศาสนา 3 โครงการสำคัญ คือ
    1) โครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ร่วมกับ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม
    2) บทบาทในการเกื้อหนุนระหว่างวัดและชุมชนให้มีความสุขอย่างยั่งยืน ร่วมกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และ
    3) โครงการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ โดยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา “หมู่บ้านรักษาศีล 5 ขยายผลสู่ หมู่บ้านศีลธรรม” ร่วมกับสมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี เจ้าคณะใหญ่หนกลาง กรรมการมหาเถรสมาคม ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

ซึ่งทั้งหมดเป็นเนื้อเดียวกัน คือ “ชีวิตของพี่น้องประชาชน” จึงคาดหวังอย่างยิ่งว่าคณะสงฆ์จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยฝ่ายบ้านเมืองอย่างจริงจัง ด้วยเมตตาทำให้เกิดพระสงฆ์ผู้รับผิดชอบประจำตำบล ในการไปร่วมมือขับเคลื่อนทำให้เกิดสิ่งที่ดีต่อสังคมและประเทศชาติได้ดียิ่งขึ้นไป ไปช่วยกันทำให้โครงการนี้ได้ขยายผลไปสู่ทุกครัวเรือนทุกหมู่บ้านเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้หมู่บ้านศีลธรรมเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ขยายผลไปสู่การขับเคลื่อนหมู่บ้านยั่งยืน ตามพระดำริสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา ตามที่มหาเถรสมาคมได้มีมติรับทราบแล้วเมื่อวานนี้




“หมู่บ้านยั่งยืน คือ มีความมั่นคงทางอาหาร มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย บ้านเรือนมีความสะอาดเรียบร้อย ถูกสุขลักษณะ ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม มีการส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มช่วยเหลือผู้ยากไร้ ผู้พิการ ร่วมทำสิ่งที่ดี ด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของฝ่ายสาธารณสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และสิ่งสำคัญคือการถ่ายทอดวัฒนธรรมประเพณีสิ่งดีงามไปสู่รุ่นลูกหลาน รู้จักเข้าวัดทำบุญประกอบศาสนกิจ ซึ่งสอดคล้องกับหมู่บ้านศีลธรรม และโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข

ซึ่งทั้งหมดมีเป้าหมายเดียวกันดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือ การทำให้เกิดคนดีมากขึ้น และการส่งเสริมให้คนดีมาเป็นผู้นำของสังคม” นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวเพิ่มเติม




นายสุทธิพงษ์ฯ กล่าวในช่วงท้ายว่า ประเทศชาติเรามีความหวัง ด้วยการที่คณะสงฆ์ทุกท่านมาเป็นหลักชัย ทำให้ญาติโยมมีดวงตาเห็นธรรม ผลักดันขับเคลื่อนให้ข้าราชการมีกำลังใจและภาคภูมิใจที่ได้ทำหน้าที่ข้าราชการที่ดีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอฝากผู้นำของกระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ ไว้กับคณะสงฆ์และพระเถระทุกท่าน และได้โปรดเมตตาในการร่วมกันแก้ไขในสิ่งผิด สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการทำให้ “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข แก้ไขในสิ่งผิด สืบสานในพระราชปณิธาน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

นอกจากนี้ ขอฝากไปยังฆราวาสทุกท่าน ช่วยกันขับเคลื่อนทำให้พระสงฆ์และฆราวาสได้ร่วมมือกันทำสิ่งที่ดี เป็นกำลังใจให้ฝ่ายบ้านเมือง ฝ่ายญาติโยม ประเทศชาติจะมีความมั่นคงและสงบสุขได้ ด้วยความรักและความสามัคคี ความตั้งใจ และที่สำคัญคือ “Passion” หรืออุดมการณ์ในการ Change for Good ทำให้เกิดสิ่งที่ดีขึ้นกับประเทศไทย ขอให้พวกเรานำเอากำลังใจและพรของเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ไปทำให้สำเร็จและเกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน





ขอบคุณที่มา : https://thebuddh.com/?p=78417
68  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ส่องมติ “มหาเถรสมาคม” ประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๗ เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:37:13 am
.



ส่องมติ “มหาเถรสมาคม” ประชุมครั้งที่ ๘/๒๕๖๗

วันพุธที่ ๒๐ มีนาคม ๒๕๖๗ เมื่อเวลา ๑๔.๐๐ น. ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหารกรุงเทพมหานคร เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงลาการประชุม ทรงมีพระบัญชาให้ สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นประธานในการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘/๒๕๖๗ โดยมีกรรมการมหาเถรสมาคมเข้าร่วม

การนี้ นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กราบทูลถวายเปิดการประชุม พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม

โดยหลังการประชุมเสร็จสิ้น นายพงศ์พล โยธินทวี รองโฆษกสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้แถลงข่าวการประชุมมหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๘ ประจำปีพุทธศักราช ๒๕๖๗ โดยมีวาระการประชุมมหาเถรสมาคม อาทิ


@@@@@@@

๑. พิจารณาเสนอแต่งตั้งพระครูวิบูลกาญจโนภาส (สมบัติ) ฉายา ปริปุณฺโณ อายุ ๖๖ พรรษา ๔๖ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ. ๔, พธ.ม., รป.ด. วัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร ให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดพระแท่นดงรังวรวิหาร

๒. พิจารณาเสนอแต่งตั้งผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ตำบลบ้านใต้ อำเภอเมืองกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน ๓ รูป ดังนี้
    - พระมานิตย์ ฉายา ธมฺมมานิโต อายุ ๔๕ พรรษา ๒๕ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ประโยค ๑-๒ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในหน้าที่ฝ่ายเผยแผ่
    - พระมหาเจษฎา ฉายา ญาณวิสุทฺโธ อายุ ๓๔ พรรษา ๑๔ วิทยฐานะ น.ธ.เอก, ป.ธ.๓, พธ.บ. วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะ ในหน้าที่ฝ่ายปกครอง
    - พระมหาบัลลังก์ ฉายา ภูริปญฺโญ อายุ ๒๙ พรรษา ๑๐ วิทยฐานะ ป.ธ.๗ วัดไชยชุมพลชนะสงคราม เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไชยชุมพลชนะสงคราม ในหน้าที่ฝ่ายสาธารณูปการ

๓. รับทราบโครงการบรรพชาอุปสมบทเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องใน โอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ ระหว่างวันที่ ๑๔ กรกฎาคม – ๓ สิงหาคม ๒๕๖๗ ผู้เข้าบรรพชาอุปสมบทเป็นบุคลากรของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน แบ่งเป็น
    - ในส่วนกลาง (กรุงเทพมหานคร) จำนวน ๗๓ คน กำหนดจัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ได้แก่ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรุงเทพมหานคร
   - และในส่วนภูมิภาคทุกจังหวัด ๆ ละ ๗๓ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๕,๖๒๑ คน จัดพิธี ณ วัดในจังหวัดต่าง ๆ ที่กำหนด โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินโครงการฯ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ




๔. พิจารณาขออนุมัติจัดตั้งสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา จำนวน ๒ แห่ง ดังนี้
    - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา แห่งที่ ๗ ตั้งอยู่ที่ วัดดอน ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา
    - สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดพังงา แห่งที่ ๘ ตั้งอยู่ที่ วัดสวนวาง ตำบลแม่นางขาว อำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา

๕. พิจารณาขอความเห็นชอบบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้าง เพื่อขอยกวัดร้างขึ้นเป็นวัดมีพระภิกษุอยู่จำพรรษา จำนวน ๒ วัด ดังนี้
    - วัดพระธาตุม่อนทรายเหงา (ร้าง) จังหวัดลำปาง
    - วัดธาตุไทรงาม (ร้าง) จังหวัดอุดรธานี

๖. รับทราบโครงการหมู่บ้านยั่งยืน (Sustainable Village) เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๗ โดยขอความเมตตาจากพระสังฆาธิการให้มีพระผู้รับผิดชอบประจำตำบล ๑ พระ ๑ ตำบล ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาหมู่บ้านให้ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เป็นหมู่บ้านยั่งยืน


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
URL : https://thebuddh.com/?p=78390
69  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ธรรมนาวา “วัง” แด่..กรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:28:07 am
.



ในหลวงพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์ ธรรมนาวา “วัง” แด่..กรรมการมหาเถรสมาคม

วันพุธที่ 20  มีนาคม 2567 เวลา 14.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อมคติธรรม ธรรมนาวา “วัง”

ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ แบบวิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหลักอริยสัจ 4 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลอากาศตรีสุพิชัย สุนทรบุระ รองเลขาธิการพระราชวัง อัญเชิญ ธรรมนาวา “วัง”  ผ้าไตร และเครื่องไทยธรรม พระราชทานถวายแด่ กรรมการมหาเถรสมาคม ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร”

สำหรับธรรมนาวา “วัง” หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานภาพวาดฝีพระหัตถ์พร้อมคติธรรม ธรรมนาวา “วัง” ซึ่งประกอบด้วยหลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ แบบวิธีระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย และหลักอริยสัจ 4

















ขอขอบคุณ :-
ภาพข่าว : สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
URL : https://thebuddh.com/?p=78373
70  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 09:21:17 am
.



ปลื้มปีติ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฎิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรฯ” ประดิษฐาน ณ. “รมณียพุทธอุทยาน” มจร

วันที่ 21 มีนาคม 2567  เวลา 09.00 น.ณ มณฑลพิธีหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตำบลลำไทร  อำเภอวังน้อย  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน องค์ประธานในพิธีประดิษฐานพระพุทธปฏิมาพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา

โดยมี พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม และพระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร รองเจ้าคณะภาค 15 ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานสร้างพระพุทธปฏิมาพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา ปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน”

พร้อมด้วย ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต นางสาวเพ็ญศรี ชั้นบุญ  ประธานคณะทำงานสร้าง พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา คณบดี คณาจารย์ ผู้บริหาร  ผู้อบรมพระธรรมทูต นิสิต และประชาชน ถวายการต้อนรับ






สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้กล่าวสัมโมทนียกถา ตอนหนึ่งว่าศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์  ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต เป็นปูชนียบุคคลของมหาจุฬา ฯ เป็นที่เคารพนับถือของลูกศิษย์ เป็นแบบอย่างที่ดี ไม่เฉพาะให้กับชาวมหาจุฬาฯ ลูกศิษย์เท่านั้น เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับชาวพุทธทั่วไปด้วย

อาจารย์จำนงค์ เป็นผู้ทำให้มหาจุฬาฯ มีชีวิต หากนับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงสถาปนามหาจุฬา ฯ เมื่อวันที่  13 กันยายน 2439 ตอนนั้นมหาจุฬาฯ มีแต่ชื่อและสถานที่ ยังไม่มีชีวิต 50 ปีต่อมา คือ พ.ศ. 2490 พระพิมลธรรม ช้อย ทานทตฺโต อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ สังฆมนตรีฝ่ายปกครอง ประชุมร่วมกับพระสงฆ์จำนวน 37 รูป ต้องการฟื้นฟูมหาจุฬาฯ เปิดการศึกษา อาจารย์จำนงค์ จึงสมัครเป็นพระนิสิตรุ่นแรก พร้อมกับพระนิสิตอีก 7  รูป ความเป็นมหาจุฬาฯ จึงเกิดขึ้น มีชีวิต

ผู้พูด (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) เข้าเรียนปี พ.ศ.2499 ยุคนั้นฝ่ายบ้านเมืองก็ไม่เอา ฝ่ายบ้านเมืองบางคนพูดจนกระทั้งว่า อย่าว่าแต่ฝ่ายบ้านเมืองไม่เอามหาจุฬาฯ เลย แม้แต่คณะสงฆ์ก็ไม่เอา ซึ่งก็เป็นจริง เพราะเจ้าอาวาสบางวัดมีกฎเกณฑ์ว่าใครเรียนมหาจุฬาฯ ต้องไล่ออกหรือห้ามอยู่วัดนี้ ชาวมหาจุฬาฯ ก็ดิ้นรน

จนปี พ.ศ. 2512 มหาเถรสมาคม จึงมีมติยอมรับว่า มหาจุฬาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาของคณะสงฆ์ และก็มีพยายามเรื่อยมาอยากให้ฝ่ายบ้านเมืองรับรอง จนถึงปี 2540 รัฐบาลจึงรับรองให้มหาจุฬาฯ เป็น มหาจุฬาฯ โดยสมบูรณ์ ซึ่งก็มีอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ นี่แหละเป็นส่วนสำคัญผลักดันจนสำเร็จ




“เมื่อเราเอาปี 50 ปีเป็นตัวกำหนด ปี 2439 เป็นปีสถาปนา ปี 2590 มหาจุฬา ฯ เปิดเรียน ทำให้มีชีวิต นับต่ออีกมา 50 ปี คือ พ.ศ. 2540 มหาจุฬา ฯ ฝ่ายบ้านเมืองรับรองมีพระราชบัญญัติ หลังจากมีชีวิตแล้ว ก็ฝั่งรากฐาน และพัฒนาจนมั่นคงเจริญก้าวหน้า อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ จึงมีปณิธาน มีดำริคิดจะสร้างพระพุทธปฎิมา ประกาศให้ชาวโลกรู้ถึงความเจริญก้าวหน้าของมหาจุฬา ฯ จึงสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา พร้อมกับปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน”



ส่วนนางสาวเพ็ญศรี ชั้นบุญ  ประธานคณะทำงานสร้างพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา และสร้างฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา กล่าวว่า “เจ้าประคุณประสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ประทานนามพระพุทธปฏิมาองค์นี้ว่าพระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินฺธรบวรศาสดา เป็นพระพุทธรูปมีขนาดหน้าตักความกว้าง 5 เมตร  ความสูง 6 เมตร 30 เซนติเมตร  มีน้ำหนัก 4.5 ตัน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาที่หล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์ฯ

ดำเนินการในนามคณะศิษยานศิษย์ศาสตราจารย์พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต รับเป็นเจ้าภาพเงินจำนวนเงิน 40 ล้านบาท และอีกส่วนเป็นงบประมาณของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์และพัฒนาพื้นที่ให้เป็นรมณียพุทธอุทยานอีกจำนวนเงิน 30  ล้านบาท สิ้นงบประมาณในการสร้างทั้งหมด  รวมเป็นจำนวน 70 ล้านบาท”

















ขอบคุณที่มา : https://thebuddh.com/?p=78395
71  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ในหลวงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน “หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์” ฉบับธรรมนาวา “วัง” เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 08:17:17 am
.



ในหลวง พระราชทาน ‘หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์’ ฉบับธรรมนาวา ‘วัง’ แก่พสกนิกรไทย


เมื่อวันที่ 21 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชอนุสรณ์คำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่ง แห่งองค์พระบรมศาสดาสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระราชฐานะพุทธมามกะและองค์อัครศาสนูปถัมภก ได้ทรงบำเพ็ญเพียรพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ เพื่อทำนุบำรุง เจือจุน ให้พระพุทธศาสนา อันมีพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์เป็นพระศาสดา ได้ธำรงคงอยู่ให้พุทธบริษัททั้งหลายได้รับประโยชน์

โดยการศึกษา(ปริยัติ) น้อมนำพระธรรมคำสอนลงมือทำ(ปฏิบัติ) เพื่อเข้าถึง(ปฏิเวธ) ซึ่งสาระแก่นแท้ของพระศาสนา คือ ความสิ้นทุกข์




จึงได้ทรงเล็งเห็นความสำคัญในการพระราชทานเผยแพร่หลักธรรมอันทรงคุณค่าที่พุทธศาสนิกชน ตลอดจนประชาชนพลเมืองชาติ ทุกหมู่เหล่า ให้ได้ศึกษาหลักการวิธีปฏิบัติ อันได้ชื่อว่า เป็นการปฏิบัติตามพระธรรม คำสอน

เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ที่ชื่อว่า “พุทธะ” คือสัจธรรมที่เป็นความรู้ อย่างผู้รู้แจ้งด้วยปัญญา ผ่านหลักสัจธรรมความเป็นจริงตามธรรมชาติ ที่พระพุทธองค์นำมาบอกสอน ที่ชื่อว่า “ธรรมะ” ด้วยการเป็นผู้น้อมนำประพฤติปฏิบัติจนสามารถรู้ตาม เห็นตาม ที่ชื่อว่า”สังฆะ”

อันพุทธะ ธรรมะ สังฆะนี้ เป็นสรณะที่พึงยึดเป็นพลังทางใจ พลังทางสติปัญญา อย่างแท้จริง ตามแนวทางการปฏิบัติธรรมนาวาของ พระจารุวณฺโณ ภิกฺขุ (พระอาจารย์ต้น)




จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นธรรมทาน เพื่อประโยชน์สุข อันพึงจะได้รับจากพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงผ่านหลักการปฏิบัติอย่างถูกต้องตรงตามพุทธบัญญัติ แก่พุทธบริษัท และประชาชนทุกหมู่เหล่า ถวายเป็น พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา มาตาปิตุบูชา อาจริยบูชา ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้า ทุกๆพระองค์



โดยหลักปฏิบัติเป็นภาพฝึพระหัตถ์การ์ตูนสีสันสดใส พร้อมคำอธิบายต่างๆ อาทิ
    - การระลึกพระรัตนตรัย,
    - การทักอารมณ์,
    - แบบวิธีระลึกพระรัตนตรัยในขณะเดินจงกรม,
    - พิจารณากาย 6 ขั้นตอน,
    - การเรียนรู้ขันธ์ 5 ด้วยการกำหนดดูลักษณะขันธ์ 5 เกิด-ดับ,
    - การกำหนดขันธ์ 5 ลงสู่อริยสัจ 4,
    - ท่องบทธาตุกัมมัฏฐาน 4
















ทั้งนี้ สามารถดาวโหลด หลักปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ได้ทางเว็บไซต์ หน่วยรายการในพระองค์  https://www.royaloffice.th/2024/03/20/ธรรมนาวา-วัง-2567/





Thank to :-
ภาพ : https://www.royaloffice.th/2024/03/20/ธรรมนาวา-วัง-2567/ 
ข่าว : https://www.matichon.co.th/court-news/news_4484243
วันที่ 21 มีนาคม 2567 - 12:37 น.   
72  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 07:00:37 am




“สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” ประธานอัญเชิญพระพุทธปฏิมาทองสำริด ประดิษฐานหน้า มจร

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน เป็นประธานพิธีอัญเชิญพระพุทธปฏิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ประดิษฐานบนฐานชุกชี หน้า มจร

เมื่อวันที่ 21 มี.ค. ที่ “รมณียพุทธอุทยาน” บริเวณหน้ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร)​ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา มีพิธีอัญเชิญพระพุทธปฏิมา “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ประดิษฐานบนฐานชุกชี

โดยมี สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน เป็นประธานในพิธี พร้อมด้วย พระพรหมวชิราธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี พระเทพปวรเมธี รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ร่วมพิธี






ทั้งนี้ น.ส.เพ็ญศรี ชั้นบุญ ประธานคณะทำงานสร้าง “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” และสร้างฐานชุกชีที่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมา ​กล่าวว่า ตามที่ มจร ได้จัดงานวันจำนงค์ ทองประเสริฐ ในวันที่ 2 พ.ค. ของทุกปี ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันอายุวัฒนมงคลของ ศ.พิเศษ จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต คณะศิษยานุศิษย์ได้ปรารภในการสร้างพระพุทธปฏิมา เป็นอนุสรณ์ในมงคลสมัยคล้ายวันเกิดของ ศ.พิเศษ จำนงค์ ผู้เป็นปูชนียบุคคลของ มจร โดยความเห็นชอบของพระพรหมบัณฑิต อุปนายสภามหาวิทยาลัย ประธานมูลนิธิจำนงค์ ทองประเสริฐ พระธรรมวัชรบัณฑิต อธิการบดี และคณะผู้บริหาร มจร เพื่อประดิษฐานไว้ ณ รมณียพุทธอุทยาน มจร ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

สำหรับมงคลนาม “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินฺธรบวรศาสดา” ได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ในการตั้งชื่อพระพุทธปฏิมาองค์นี้ ซึ่งมีขนาดหน้าตักความกว้าง 5 เมตร ความสูง 6 เมตร 30 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 4.5 ตัน เป็นพระพุทธปฏิมาปางปฐมเทศนาที่หล่อด้วยทองสำริดทั้งองค์ นอกจากนี้ ยังได้รับอนุมัติงบประมาณรายได้ของ มจร เพื่อปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านหน้า มจร และพัฒนาพื้นที่ให้เป็น “รมณียพุทธอุทยาน” ด้วย






สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ กล่าวสัมโมทนียกถาตอนหนึ่ง ว่า เราทั้งหลายที่มาร่วมกันในการอัญเชิญ “พระพุทธมหาจุฬาลงกรณชุตินธรบวรศาสดา” ครั้งนี้ ต่างเป็นพุทธมามกะ ซึ่งหากกล่าวถึงความหมายง่ายๆ หมายถึง ผู้ที่รับพระพุทธเจ้ามาเป็นของเรา หรือหากกล่าวถึงความหมายของพุทธมามกะในอีกความหมาย คือการที่พระพุทธเจ้ายอมรับเป็นสาวกของพระองค์ ซึ่งต้องประพฤติดีปฏิบัติชอบ ต้องศึกษาหลักตามไตรสิกขา จึงจะถึงความสมบูรณ์ในการเป็นพุทธมามกะ

การได้มาร่วมอัญเชิญพระพุทธรูปดังกล่าวประดิษฐานแล้ว ถือว่าเป็นพระประธานของ มจร เราทั้งหลายก็ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ มจร ทั้งหมด และต้องช่วยกันบริหาร มจร ให้ก้าวไปข้างหน้าด้วยดี เพราะ มจร ถือได้ว่าเป็นฐานสำคัญในการทำให้พระพุทธศาสนาเจริญก้าวหน้า และยังเป็นการประกาศถึงความเจริญมั่นคงของ มจร โดยมีพระพุทธรูปนี้เป็นสิ่งยืนยันด้วย






ขอบคุณที่มา : https://www.dailynews.co.th/news/3277707/
21 มีนาคม 2567 | 16:53 น. | การศึกษา-ศาสนา
73  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า เมื่อ: มีนาคม 22, 2024, 06:31:50 am
.



ไขความลับ เมืองโบราณจมแม่น้ำโขง ปริศนา "พระเจ้าล้านตื้อ" หลังลาวพบพระล้ำค่า

"พระเจ้าล้านตื้อ" พระพุทธรูปโบราณที่ศรัทธาของคนไทย-ลาว สองฝั่งโขง มีตำนานจมอยู่ก้นบาดาล ล่าสุดการขุดค้นพบพระโบราณจำนวนมาก ริมฝั่งแม่น้ำโขง ณ เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม จ.เชียงราย เป็นจิ๊กซอว์สำคัญทางประวัติศาสตร์ล้านนา ยืนยันถึงเกาะดอนแท่น เมืองโบราณกลางลำน้ำ ก่อนจมสลายไปพร้อมพระพุทธรูปล้ำค่า ที่ยังหาไม่เจอ

เมื่อวันที่ 16 มี.ค. 67 ลาวขุดพบพระพุทธรูปในแม่น้ำโขง เมืองต้นผึ้ง ตรงข้าม อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ประชาชนคนลาว แห่ชมพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ ขนาดเล็กอีกจำนวนมาก หลังจากนั้นมีการขุดค้นหาต่อเนื่อง และพบพระจมอยู่ใต้แม่น้ำมาเป็นเวลานานจำนวนมาก




การขุดค้นพบพระโบราณในประเทศลาว สะท้อนถึงภาพประวัติศาสตร์ล้านนาโบราณ ที่เชื่อมโยงกับไทย โดยสันนิษฐานว่าบริเวณดังกล่าวในอดีต มีเกาะดอนแท่น ยื่นออกไปกลางลำน้ำโขง ทีมข่าวเจาะประเด็น ไทยรัฐ ออนไลน์ สอบถามไปยัง พระครูโสภณกวีวัฒน์ (ธนจรรย์ สุระมณี) ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อ.เมือง จ.เชียงใหม่ นามปากกา ส.กวีวัฒน์ ผู้ที่ศึกษาประวัติศาสตร์ล้านนา ให้ข้อมูลว่า พระที่ขุดค้นพบเป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบเชียงแสน เดิมสมัยโบราณ พื้นที่นี้มีเกาะดอนแท่น ที่ยื่นออกไปกลางแม่น้ำโขง มีการสร้างวัดและวังอยู่บนพื้นที่ตั้งแต่ "พญาแสนพู” ราชวงศ์มังราย



โดยมีตำนานประวัติศาสตร์เล่าว่า เมื่อกาลเวลาผ่านไป น้ำในแม่น้ำโขงไหลเชี่ยวและเปลี่ยนทิศทาง จนทำให้ เกาะดอนแท่น จมหายไปในแม่น้ำ สิ่งปลูกสร้างโบราณและพระพุทธรูปจำนวนมากจมหายไปพร้อมกัน โดยเฉพาะพระพุทธรูปสำคัญคือ “พระเจ้าล้านตื้อ” เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีหน้าตักกว้างกว่ารถสิบล้อจะขนได้ แม้ที่ผ่านมาเคยมีผู้นำระดับประเทศของไทย พยายามค้นหา และกู้ขึ้นมาจากแม่น้ำโขง แต่ไม่สามารถทำได้ เพราะอาจมีปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน



สำหรับพุทธลักษณะของ พระเจ้าล้านตื้อ มีความงดงาม ตามแบบลักษณะสำคัญของพระพุทธรูป ศิลปะล้านนา ที่เรียกว่า พระพุทธรูปสิงห์แบบเชียงแสน ที่มีการแบ่งประเภทที่เรียกว่า "พระพุทธรูปสิงห์ 1” มีลักษณะประทับนั่งขัดสมาธิเพชร เห็นฝ่าพระบาททั้งสองข้าง พระพักตร์กลม อมยิ้ม ขมวดพระเกศาใหญ่ รัศมีดอกบัวตูม พระวรกายอวบอ้วน ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ซึ่งพบได้ยาก และช่างรุ่นต่อไม่ไม่นิยมทำขึ้นใหม่



“เกาะดอนแท่น ยุคสมัยพญาแสนพู ราชวงศ์มังราย เคยสร้างวังประทับที่นั่น เมื่อตอนสวรรคตก็เก็บร่างไว้อยู่นาน เพราะกลัวว่าบ้านเมืองจะปั่นป่วน พระพุทธรูปที่ค้นพบก็ยืนยันถึงศิลปะยุคเดียวกัน แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ที่อยู่ในยุคหลัง ซึ่งผสมผสานความเป็นขอม”




การขุดค้นพบพระพุทธรูปโบราณในฝั่งลาว ถือเป็นการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ด้านพุทธศาสนาทั้งสองประเทศ อาตมายังคาดหวังให้ไทย และลาวร่วมมือกันค้นหา พระเจ้าล้านตื้อ ที่จมอยู่ในแม่น้ำโขง เพื่อกู้ขึ้นมาเชื่อมต่อประวัติศาสตร์ร่วมกันของทั้งสองมิตรประเทศ.





Thank to : https://www.thairath.co.th/scoop/interview/2772121
20 มี.ค. 2567 18:20 น. | สกู๊ปไทยรัฐ > Interview > ไทยรัฐออนไลน์
74  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙) เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 10:28:57 am
.

                                                 
             
‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสมาบัติ (๙)

๕. ฌานสูตร ว่าด้วยฌาน

[๓๖] ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวว่า
       ๑. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้(๑-) เพราะอาศัยปฐมฌาน
       ๒. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน
       ๓. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน
       ๔. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน
       ๕. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน
       ๖. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน
       ๗. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน
       ๘. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตน-ฌาน
       ๙. อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยสัญญาเวทยิตนิโรธ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายบรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
    เธอย่อมพิจารณาเห็น(๒-) ธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรคเป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น(๓-)
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุ(๔-) ว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน‘(๕-) เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย(๖-)
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก(๗-)


______________________________________________
เชิงอรรถ :-
(๑-) อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ ในที่นี้หมายถึงสภาวะที่เรียกว่า “อรหัต” (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๒-) พิจารณาเห็น ในที่นี้หมายถึงเห็นด้วยวิปัสสนาอันแรงกล้า (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๓-) ธรรมเหล่านั้น ในที่นี้หมายถึงขันธ์ ๕ (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๔-) อมตธาตุ หมายถึงนิพพาน (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๕-) ดู ม.ม. ๑๓/๑๓๓/๑๐๘, ขุ.ม. (แปล) ๒๙/๑๕๐/๔๐๕-๔๑๑, ขุ.จู. (แปล) ๓๐/๖๕/๒๔๕-๒๔๘
(๖-) หมายถึงดำรงอยู่ในปฐมฌานเจริญวิปัสสนาอันแรงกล้าแล้วบรรลุอรหัตตผล (องฺ.นวก.อ. ๓/๓๖/๓๐๙)
(๗-) ดู องฺ.ทสก. (แปล) ๒๔/๑๖/๔๒๗)

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน สงัดจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ
     เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในปฐมฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยปฐมฌาน’


    @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยทุติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยตติยฌาน’
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่  เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีตคือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น ฯลฯ

     เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยจตุตถฌาน’




   
     เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน‘
     เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
     เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
     เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
     เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
     เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
     ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวงความสิ้นไปแห่งตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
     หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

     ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
     ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรลุอากาสานัญจายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุดมิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตตสัญญา เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ ที่มีอยู่ในอากาสานัญจายตน-ฌานนั้น ฯลฯ

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากาสานัญจายตน-ฌาน’
             
     @@@@@@@

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ’อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยวิญญาณัญจายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น ฯลฯ

    เรากล่าวไว้เช่นนี้แลว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน‘
    เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้
    เพราะอาศัยเหตุนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น โดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้น ย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    ภิกษุทั้งหลาย นายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู พยายามยิงลูกศรไปที่หุ่นหญ้า หรือกองดิน สมัยต่อมา เขาเป็นผู้ยิงลูกศรได้ไกล ยิงไม่พลาด และทำลายกายขนาดใหญ่ได้ แม้ฉันใด
    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ล่วงวิญญาณัญจายตน-ฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตน-ฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณที่มีอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง เป็นทุกข์
    เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร เป็นสิ่งคอยก่อความเดือดร้อน เป็นที่ทำให้ขัดข้อง
    เป็นดังคนฝ่ายอื่น เป็นสิ่งที่ต้องแตกสลาย เป็นของว่างเปล่า เป็นอนัตตา
    เธอย่อมทำจิตให้กลับจากธรรมเหล่านั้น
    ครั้นแล้ว จึงน้อมจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า ‘ภาวะที่สงบ ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิกิเลสทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาความคลายกำหนัด ความดับ นิพพาน’ เธอดำรงอยู่ในอากิญจัญญายตน-ฌานนั้นย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
    หากยังไม่บรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ก็จะเป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการสิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้น จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก

    เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้นว่า ‘อาสวะทั้งหลายสิ้นไปได้ เพราะอาศัยอากิญจัญญายตน-ฌาน”


    @@@@@@@

    ภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามานี้แล สัญญาสมาบัติ มีอยู่เท่าใด สัญญาปฏิเวธก็มีอยู่เท่านั้น

    ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ ๒ ประการนี้ คือ เนวสัญญานาสัญญายตน-สมาบัติ และสัญญาเวทยิตนิโรธ ต่างก็อาศัยกันและกัน
    เรากล่าวว่า ภิกษุผู้ได้ฌาน ฉลาดในการเข้าสมาบัติ ฉลาดในการออกจากสมาบัติ เข้าออกแล้ว พึงกล่าวอายตนะ ๒ ประการนี้ไว้โดยชอบ

                 ฌานสูตรที่ ๕ จบ




ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๕๐๘-๕๑๒
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
website : https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=23&siri=199
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/





อรรถกถาฌานสูตรที่ ๕     
         
ฌานสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ได้แก่ พระอรหัต.
บทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ ความว่า ธรรมดารูปใดย่อมเป็นไปในขณะปฐมฌานนั้นด้วยวัตถุก็ดี ด้วยมีจิตเป็นสมุฏฐานก็ดี.
พึงทราบเวทนาเป็นต้นด้วยสามารถสังยุตตเวทนา (เวทนาที่ประกอบกันเป็นต้น).
บทว่า เต ธมฺเม ได้แก่ ธรรม คือเบญจขันธ์มีรูปเป็นต้นเหล่านั้น.

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อนิจฺจโต พึงทราบความต่อไปนี้
    ชื่อว่าโดยเป็นของไม่เที่ยง เพราะอาการมีแล้วไม่มี.
    ชื่อว่าโดยเป็นทุกข์ เพราะอาการบีบคั้น.
    ชื่อว่าโดยเป็นโรค เพราะอาการเสียดแทง.
    ชื่อว่าโดยเป็นฝี เพราะเจ็บปวดภายใน.
    ชื่อว่าโดยเป็นลูกศร เพราะเสียบเข้าไปและเพราะเชือดเข้าไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นความลำบาก เพราะทนได้ยาก.
    ชื่อว่าโดยอาพาธ เพราะถูกเบียดเบียน.
    ชื่อว่าโดยเป็นอื่น เพราะไม่ใช่เป็นของตน.
    ชื่อว่าโดยเป็นของทำลาย เพราะผุพังไป.
    ชื่อว่าโดยเป็นของสูญ เพราะไม่เป็นเจ้าของ.
    ชื่อว่าโดยเป็นอนัตตา เพราะไม่อยู่ในอำนาจ.

บทว่า สมนุปสฺสติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า.
บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยธรรมคือเบญจขันธ์เหล่านั้น.
บทว่า ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ กลับไปด้วยความเบื่อหน่าย.
บทว่า อมตาย ธาตุยา ได้แก่ นิพพานธาตุ.
บทว่า จิตฺตํ อุปสํหรติ ได้แก่ เห็นด้วยวิปัสสนาญาณอันแก่กล้า คือเห็นอานิสงส์ด้วยญาณแล้วหยั่งลง.             
บทว่า สนฺตํ ได้แก่ ชื่อว่าสงบ เพราะสงบจากกิเลสอันเป็นข้าศึก.
บทว่า ปณีตํ ได้แก่ ไม่เดือดร้อน.
บทว่า โส ตตฺถ ฐิโต อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแก่กล้า ย่อมบรรลุพระอรหัต.

@@@@@@@

พึงทราบอีกนัยหนึ่ง บทว่า โส เตหิ ธมฺเมหิ ความว่า เพราะในบทว่า อนิจฺจโต เป็นต้น ท่านกล่าวถึงอนิจจลักษณะด้วยสองบท คือ อนิจจโต ปโลกโต กล่าวถึงทุกขลักษณะด้วยหกบทมีบทว่า ทุกฺขโต เป็นต้น กล่าวถึงอนัตตลักษณะด้วยสามบท คือ ปรโต สุญฺญโต อนตฺตโต ฉะนั้น ภิกษุนั้นยกขึ้นสู่พระไตรลักษณ์อย่างนี้ด้วยธรรม คือเบญจขันธ์ในภายในสมาบัติที่ตนเห็นแล้วเหล่านั้น.

บทว่า จิตฺตํ ปติฏฺฐาเปติ ได้แก่ รวบรวมน้อมนำจิตเข้าไป.
บทว่า อุปสํหรติ ความว่า ภิกษุน้อมเข้าไปซึ่งวิปัสสนาจิตโดยอสังขตธาตุ อมตธาตุอย่างนี้ว่า นิพพานสงบ ด้วยที่อยู่ ด้วยการสรรเสริญ ด้วยปริยัติและด้วยบัญญัติ. ภิกษุย่อมกล่าวถึงนิพพานอันเป็นมรรคจิตอย่างนี้ว่า นี้สงบ นี้ประณีตด้วยทำให้เป็นอารมณ์เท่านั้น. อธิบายว่า โดยประการนี้ภิกษุแทงตลอดธรรมนั้น น้อมจิตเข้าไปในธรรมนั้นดังนี้.

บทว่า โสตตฺถ ฐิโต ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในวิปัสสนาอันมีพระไตรลักษณ์เป็นอารมณ์นั้น.
บทว่า อาสวานํ ขยํ ปาปุณาติ ความว่า ภิกษุเจริญมรรค ๔ ตามลำดับแล้วบรรลุพระอรหัต.
บทว่า เตเนว ธมฺมราเคน ได้แก่ ฉันทราคะในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา.
บทว่า ธมฺมนนฺทิยา เป็นไวพจน์ของบทว่า ธมฺมราเคน นั้นนั่นเอง.
จริงอยู่ ภิกษุเมื่อสามารถจะครอบงำฉันทราคะในสมถะและวิปัสสนาได้โดยประการทั้งปวง ย่อมบรรลุพระอรหัตได้ เมื่อไม่สามารถก็เป็นพระอนาคามี.

บทว่า ติณปุริสรูปเก วา ได้แก่ มัดหญ้าเป็นรูปคน.
    ชื่อว่า ทูเรปาติ เพราะยิงลูกศรให้ตกไปไกล.
    ชื่อว่า อกฺขณเวธี เพราะยิงไม่พลาด.


@@@@@@@

ในบทว่า ยเทว ตตฺถ โหติ เวทนาคตํ นี้ ไม่ถือเอารูป.
    ถามว่า เพราะเหตุไร.
    ตอบว่า เพราะเลยไปแล้ว.

จริงอยู่ ภิกษุนี้เข้าถึงรูปาวจรฌานในภายหลัง ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว แม้เข้าถึงอรูปาวจรสมาบัติ ภายหลังพิจารณารูปอันล่วงเลยรูปไปแล้วด้วยอรูปาวจรสมาบัตินั้นด้วยสมถะ ครั้นล่วงเลยรูปไปแล้ว ในบัดนี้ย่อมพิจารณาอรูป ด้วยเหตุนั้นรูปจึงล่วงเลยไปแล้วด้วยอรูปนั้นแม้ด้วยวิปัสสนา. ก็ในอรูปย่อมไม่มีรูปแม้โดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น แม้ท่านหมายถึงรูปนั้น แต่ในที่นี้ก็ไม่ถือเอารูป.

   ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรจึงไม่ถือเอาเนวสัญญานาสัญญายตนะเล่า.
   ตอบว่า เพราะเป็นของสุขุม.

จริงอยู่ ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น แม้อรูปขันธ์ ๔ ก็สุขุม ไม่เหมาะที่จะพิจารณา.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อิติ โข ภิกฺขเว ฯเปฯ อญฺญาปฏิเวโธ.
               
ข้อนี้มีอธิบายดังนี้ ชื่อว่า สจิตตกสมาบัติมีอยู่ประมาณเท่าใด การแทงตลอดถึงพระอรหัต ย่อมมีแก่ผู้พิจารณาธรรมอันยิ่งประมาณเท่านั้น เขาย่อมเข้าถึงพระอรหัต แต่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ท่านไม่กล่าวว่าเป็นสัญญาสมาบัติ เพราะความเป็นของสุขุม.

บทว่า ฌายี เหเต ความว่า อายตนะสองเหล่านี้อันผู้เพ่งคือผู้ยินดีในฌานควรกล่าวถึงโดยชอบ.
บทว่า วุฏฺฐหิตฺวา ได้แก่ ออกจากสมาบัตินั้น.
บทว่า สมฺมทกฺขาตพฺพานิ ได้แก่ พึงกล่าวโดยชอบ.
บุคคลพึงกล่าว พึงชม พึงสรรเสริญเนวสัญญายตนสมาบัติและสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติอย่างเดียวว่า สงบประณีต ดังนี้.

               จบอรรถกถาฌานสูตรที่ ๕           
   




ขอขอบคุณ :-
อรรกถา อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต ปัณณาสก์ มหาวรรคที่ ๔ , ๕. ฌานสูตร
website : https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=240
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/
75  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 07:56:59 am
.



เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน



๙. ฌานสังยุต
๑. คังคาเปยยาลวรรค หมวดว่าด้วยคังคาเปยยาล
๑-๑๒. ฌานาทิสูตร ว่าด้วยฌาน เป็นต้น


[๙๒๓-๙๓๔] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ฯลฯ
             
“ภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ ประการนี้ ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสใน ภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
    ๓. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’
    ๔. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว บรรลุจตุตถฌาน ที่ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่
    ฌาน ๔ ประการนี้

    ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน หลากไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน
                                               
    ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
    ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตกวิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
    ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
    ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
    ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญฌาน ๔ ประการ ทำฌาน ๔ ประการให้มาก ย่อมน้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน อย่างนี้แล”

                ฌานาทิสูตรที่ ๑-๑๒ จบ


@@@@@@@

๕. โอฆวรรค หมวดว่าด้วยโอฆะ
๑-๑๐. โอฆาทิสูตร ว่าด้วยโอฆะ เป็นต้น


[๙๖๗-๙๗๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้ อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
    ๑. รูปราคะ     
    ๒. อรูปราคะ
    ๓. มานะ      
    ๔. อุทธัจจะ
    ๕. อวิชชา
อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้

     ฌาน ๔ ประการ อะไรบ้าง คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
     ๑. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
     ๒. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
     ๓. ... บรรลุตติยฌาน ฯลฯ
     ๔. ... บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญฌาน ๔ ประการนี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการนี้
             
     ข้อความที่เหลือพึงให้พิสดารอย่างนี้ (พึงเพิ่มข้อความให้พิสดารเหมือนมัคคสังยุต)

              โอฆวรรคที่ ๕ จบ





ขอขอบคุณ :-
ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑๙ หน้า : ๔๔๘-๔๕๑
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ , พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
website : https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=298
ภาพจาก : https://www.pinterest.ca/pin/1125968651156557/
76  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 07:10:04 am
.



เปิดรับสมัคร “ผู้ช่วยนักโบราณคดี” ขุดค้นวัดจักรวรรดิ กรุงเทพฯ 2 อัตรา

กองโบราณคดี กรมศิลปากร ร่วมกับมูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ดำเนินโครงการศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ กรุงเทพฯ  เปิดรับสมัคร "ผู้ช่วยนักโบราณคดี" วุฒิปริญญาตรี สาขาวิชาโบราณคดี จำนวน 2 อัตรา ปฏิบัติงานระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2567  โดยทำงานร่วมกับอาสาสมัคร 

    เปิดรับสมัครด่วนตั้งแต่บัดนี้ จนถึงวันที่ 5 มีนาคม 2567
    อ่านรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://forms.gle/x1v58uFfxJCQrEKp9




ขอบคุณที่มา : https://www.finearts.go.th/promotion/view/47572-เปิดรับสมัคร--ผู้ช่วยนักโบราณคดี--ขุดค้นวัดจักรวรรดิ-กรุงเทพฯ-2-อัตรา
77  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:52:31 am
.



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

กรมศิลปากร ประกาศรับอาสามัคร เข้าร่วมขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร พร้อมสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ ถึง 12 เม.ย. 67

กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับ มูลนิธิสุทธิรัตน์ อยู่วิทยา ดำเนินโครงการ ศึกษาโบราณคดีวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร และพัฒนาการชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ ระยะแรก ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม – 12 เมษายน 2567

นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า การดำเนินงานระยะแรกนี้ จะเป็นการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพื้นที่โบราณสถาน หรือเขตพุทธาวาสของวัดจักรวรรดิราชาวาส ซึ่งทางวัดเป็นฝ่ายขอให้กรมศิลปากรเข้ามาดำเนินงานโบราณคดี



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

เพื่อนำข้อมูลหลักฐานทางโบราณคดีไปใช้ในการออกแบบบูรณะโบราณสถานและการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในพื้นที่โบราณสถานวัดจักรวรรดิราชาวาส และเพื่อรักษาศาสนสมบัติและมรดกวัฒนธรรมให้ยั่งยืน

โดยรูปแบบการดำเนินงาน จะเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน และการแบ่งปันองค์ความรู้สู่สังคมในวงกว้าง เปิดโอกาสให้อาสาสมัคร ซึ่งเป็นประชาชนทั่วไป ได้เข้ามาร่วมสำรวจและขุดค้นทางโบราณคดี ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยให้นักโบราณคดีรุ่นใหม่ได้เข้ามาฝึกฝนและเรียนรู้ประสบการณ์จริงในการทำงานภาคสนามทางโบราณคดี

ส่วนการสำรวจชุมชนประวัติศาสตร์ย่านสัมพันธวงศ์ มุ่งเน้นศึกษาความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่สะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนประวัติศาสตร์เมืองบางกอก โดยเฉพาะชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลย่านสำเพ็ง เยาวราช และตลาดน้อย เพื่อเป็นทุนทางวัฒนธรรมและเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณภาพของสังคมในย่านประวัติศาสตร์อย่างยั่งยืน



กรมศิลปากร รับอาสาสมัคร ขุดค้นทางโบราณคดี วัดจักรวรรดิราชาวาส

สำหรับวัดจักรวรรดิราชาวาส วรมหาวิหาร หรือวัดสามปลื้ม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร มีประวัติสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์

ต่อมา พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงสถาปนาให้เป็นพระอารามหลวง เป็นวัดที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ควบคู่กับชุมชนบางกอกและสำเพ็งมายาวนาน มีปูชนียวัตถุสถานที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์กรุงรัตนโกสินทร์หลายประการ

เช่น วิหารพระนาก พระอุโบสถ พระวิหารกลาง พระปรางค์และมณฑปประดิษฐานรอยพระพุทธบาท รวมถึงรูปเหมือนพระพุฒาจารย์มา หรือท่านเจ้ามา และรูปเหมือนเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นต้น






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : กรมศิลปากร
website : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/219850
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 20 มี.ค. 2567 ,16:28น.
78  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แนะผู้เข้าอบรม “พระธรรมทูตสายต่างประเทศ” ยึดหลัก “สาราณียธรรม 6 ประการ” เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:45:25 am
.



แนะผู้เข้าอบรม “พระธรรมทูตสายต่างประเทศ” ยึดหลัก “สาราณียธรรม 6 ประการ”

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนฯ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ กล่าวให้โอวาทเปิดโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 30

สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ปสฤทธ์ เขมงฺกโร) กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ กล่าวให้โอวาทในพิธีเปิดโครงการอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ 30 ที่อาคาร มวก. 48 พรรษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า งานพระธรรมทูตนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า เป็นงานที่ต้องใช้ความวิริยะอุตสาหะ ความเสียสละ และความหนักแน่นอดทน เพราะเป็นงานที่ต้องปฏิบัติศาสนกิจในความหลากหลายของกฎหมาย วัฒนธรรม จารีต ประเพณี แต่ถึงอย่างไร ต้องตระหนักในพระธรรมวินัยเป็นที่สุด สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ พระราชทานพระราโชบายไว้เป็นแนวทางการดำเนินงานของคณะสงฆ์ว่า

“พัฒนาความรู้ และคุณภาพพระสงฆ์ ให้เป็นหลักทางใจของประชาชน ให้พระมีความสำนึก และเป็นประโยชน์ในสังคมไทย” พระราโชบายนี้ เป็นคติเตือนใจที่สำคัญมาก ที่จะต้องประพฤติตนในพระธรรมวินัยให้สมบูรณ์ เพิ่มพูนปณิธานและความเพียรอันแน่วแน่ ที่จะพัฒนาตน พัฒนาความรู้ พัฒนาจิตใจ ให้สมดุล มส.สนองพระราโชบาย ให้ความสำคัญกับงานพระธรรมทูต ส่งเสริม สนับสนุน และกำกับดูแลให้พระธรรมทูต ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในนานาอารยประเทศเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่มหาชนในประเทศนั้นๆ ตามพระพุทธประสงค์ ตามพระธรรมวินัย และตามหลักของบุรพาจารย์




สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวต่อไปว่า ขอปรารถสารัตถธรรมถวายคำแนะนำแนวทางในการเข้ารับการอบรมนั้น พึงตระหนักในพระพุทธพจน์ บทที่ว่า
    “สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร พึงสำรวมในที่ทั้งปวง เป็นดี” และ
     “ธมฺมํ จเร สุจริตํ พึงทำดีให้สุจริต” ทำให้เหมาะ ทำให้ดี ทำให้ถูกต้อง

พระพุทธศาสนานั้น เป็นศาสนาที่ส่งเสริมให้บุคคลจัดการวิถีชีวิตของตนอย่างสอดคล้องกับวิถีธรรมชาติให้มากที่สุด การศึกษาและปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จัดเป็นอุปนิสัย คือปัจจัยเครื่องอาศัยของพระธรรมทูต เพราะการฝึกอบรมนั้นต้องเจริญพระกัมมัฏฐาน รักษาเสนาสนะ สมณบริขาร สถานที่ที่เกื้อกูลต่อการเจริญสมณธรรม เอื้อประโยชน์ต่อการแสวงความรู้ และความสงบสุขทางใจ การอบรมพัฒนาด้วยการภาวนาทางจิต นำพาชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ จักเป็นอุปกรณ์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ และปัญญา การอบรมตลอดหลักสูตร ระยะเวลา 3 เดือน

ขอน้อมนำพระพุทธศาสนี ที่หมู่คณะใดน้อมนำไปปฏิบัติแล้วจักเกิดความสามัคคีปรองดอง เกื้อกูล มีน้ำใจไมตรี เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ไม่ทะเลาะวิวาทกันนั้น ซึ่งเราทั้งหลายทราบประจักษ์อยู่แล้ว คือ หลักสาราณียธรรม 6 ประการ ประกอบด้วย
    - เมตตากายกรรม
    - เมตตาวจีกรรม
    - เมตตามโนกรรม
    - สาธารณโภคี
    - สีลสามัญญตา และ
    - ทิฐิสามัญญตา

ธรรมมทั้ง 6 ประการนี้ มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน จึงเป็นโอกาสให้ทุกรูปได้น้อมนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินการและเข้ารับการอบรมตลอดโครงการ ตามหน้าที่ของตน ให้ได้ครบถ้วนทั้ง 6 ประการ เพื่อความวัฒนาสถาพรของคณะสงฆ์และพระบวรพุทธศาสนายิ่งขึ้นไป






สมเด็จพระมหาธีราจารย์ กล่าวอีกว่า การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน จะบริบาลให้ทุกรูป อุดมด้วยปสาทะ ศรัทธา และมีสัมมาปัญญา ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาจารย์ จึงทรงนำหลักเจริญ “มหาสติปัฏฐาน 4” คือการเจริญสติไปในกาย ในเวทนา ในจิตและในธรรม นำเป็นหลักปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่ออบรมสติให้บริสุทธิ์สะอาดปราศจาก “มิจฉาสติ” ไม่วิปริตบกพร่อง แต่เป็น “สัมมาสติ” ที่ถูกต้องบริสุทธิ์ จนบังเกิด “อัปปมาทธรรม” คือ ความไม่ประมาท ขึ้นใน “ปัญญา”

ปราชญ์จึงกล่าวว่า สติ คือ ความไม่ประมาท และความไม่ประมาท คือบ่อเกิดแห่ง “ปัญญา” ผู้เข้ารับการอบรมพระธรรมทูต พึงตั้งใจเจริญปัญญาให้อุดมด้วย “สัมมาปัญญา” ซึ่งตรงกับหลักวิทยาศาสตร์ สามารถยังผู้ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มิให้ตกไปสู่ที่ชั่วให้ได้รับผลสมกับการปฏิบัติ คือ ให้พ้นทุกข์ ประสบสันติสุขสวัสดีได้อย่างแท้จริง





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3275143/
20 มีนาคม 2567 | 19:32 น. | การศึกษา-ศาสนา
79  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จะต้องเข้าฌานสี่ก่อน แล้วจึงวิปัสสนา ใช่ไหม.? เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 06:32:25 am
.



จะต้องเข้าฌานสี่ก่อน แล้วจึงวิปัสสนา ใช่ไหม.?
โดย อาจารย์ไชย ณ พล

Q ถาม : ท่านอาจารย์ครับ การวิปัสสนาต้องเข้าฌานสี่ตามสามัญญผลสูตรก่อนใช่ไหมครับจึงวิปัสสนาได้

A อาจารย์ไชย ณ พล ตอบ : ขึ้นอยู่กับระดับวิปัสสนา แท้จริงแล้ว สมถะ วิปัสสนา วิราคะ จะร้อยเรียงผสานกันหมุนวนไปตลอดทางบรรลุธรรม พอเราพบกัลยาณมิตร เกิดความเข้าใจสนใจ (วิปัสสนา) ศรัทธาในธรรม (สมถะ) แรกเริ่มเกิดขึ้นแล้ว

@@@@@@@

จากนั้นวิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ เรื่องความดีที่ไม่ดีจริง ความดีที่ดีจริง แล้วมองภาพรวมอริยสัจ วิปัสสนาเบื้องต้นบังเกิดแล้ว ถึงจะเบื้องต้น แต่สัมมาทิฎฐิเป็นประธานแห่งมรรค เพราะหากไม่มีสัมมาทิฏฐิ มรรคตัวอื่น ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น และสัมมาทิฏฐิจะประคองการหมุนธรรมจักรให้ดำเนินไปตลอดทาง จึงเป็นประธานแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาดำริ ตั้งใจออกจากกามและการเบียดเบียน ลดกิจกรรมบาปออกจากชีวิตมากมาย ตรงนี้ได้ทั้งศีล ชีวิตสมถะ และวิปัสสนาเลือกเฟ้น อะไรควรเก็บไว้ อะไรควรเอาออกไปจากสารบบชีวิตเด็ดขาด (วิราคะ)

จากนั้น สัมมาวาจา ทั้งให้สัญญากับตัวเอง ว่านี่เป็นมาตรฐานของเรา ทั้งประกาศให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ เขาจะได้เคารพสิทธิ์ของเรา ทั้งขัดเกลาวาจาว่าจะไม่โกหก ไม่ส่อเสียดให้ใครเกลียดกัน ไม่หยาบคาย ไม่เพ้อเจ้อ ได้ทั้งศีล สัมปชัญญะกำกับตัวเอง วิปัสสนาเลือกเฟ้นถ้อยคำที่เหมาะสม วิราคะถ้อยคำที่ไม่เหมาะสม ทำได้ก็ได้สมถะในใจ สมถะในความสัมพันธ์ ความสัมพันธ์จะดีขึ้นทันตาเห็น

จากนั้น สัมมากัมมันตะ จัดมาตรฐานพฤติกรรมใหม่ ไม่ฆ่าชีวิตอื่น ไม่ลัก ไม่ยักยอก ไม่ฉกฉ้อทรัพย์ของใคร ไม่ประพฤติผิดในกาม ได้ทั้งศีล สัมปชัญญะกำกับตัวเอง วิปัสสนาเลือกเฟ้นการกระทำที่เหมาะสม กล้าปฏิเสธสิ่งที่ไม่เหมาะสม (วิราคะ) ทำได้ก็ได้สมถะในใจ สมถะในความสัมพันธ์ ชีวิตและโอกาสการงานจะดีขึ้นมาก

จากนั้น สัมมาอาชีวะ จัดมาตรฐานอาชีพเพื่อการดำรงอยู่ใหม่ อาชีพใดทำแล้วเป็นกุศล ไร้บาป จึงทำ หากมีบาปปนแม้เล็กน้อย ไม่ทำ แม้ระหว่างประกอบกิจการ ก็ใช้กลยุทธ์ที่เป็นกุศลเท่านั้น กลยุทธ์บาปไม่ทำ ตรงนี้ต้องใช้วิปัสสนามาก และอธิโมกข์กล้าตัดสินใจวิราคะจนเป็นธรรมต่อ stakeholder ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมาก จนได้ Trust ความเชื่อถือได้ทางอาชีพสูง ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของความสำเร็จทุกวิชาชีพ จะทำให้ทำน้อยแต่ได้ผลมาก ไม่ต้องทำมากแต่ได้ผลน้อยเหมือนเก่าก่อน ได้ธุรกิจสมถะ ทีมงานสมถะ (มีแต่คนที่ใช่) ชีวิตสมถะอีกมากโข




จากนั้น สัมมาวายามะ เมื่อสะอาดพอควรแล้วจะเริ่มเห็นผลบุญผลบาปชัด ก็เพียรชอบ
    ๑) ในการป้องกันบาปที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
    ๒) เพียรขจัดบาปแม้เล็กน้อยที่หลงเหลืออยู่ออกไป
    ๓) เพียรเจริญบุญที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
    ๔) เพียรรักษาบุญที่เกิดขึ้นแล้วให้งอกงามภิญโญ เป็นการขัดใสชีวิตจิตใจในทุกระบบ ใช้ทั้งวิปัสสนา วิราคะ และสมถะยินดีในสิ่งที่ประเสริฐกว่า สัมมาวายามะนี้จะเป็นหัวหน้าระบบ Quality Control คุณภาพคุณธรรมตลอดทางแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาสติ ปฏิบัติมาถึงตรงนี้แล้ว สติเริ่มอยู่กับเนื้อกับตัวมั่นคงมากขึ้น ก็พิจารณา (วิปัสสนา)
    ๑) กายในกายภายใน (ตน) กายในกายภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๒) เวทนาในเวทนาภายใน (ตน) เวทนาในเวทนาภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๓) จิตในจิตภายใน (ตน) จิตในจิตภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)
    ๔) ธรรมในธรรมภายใน (ตน) ธรรมในธรรมภายนอก (คนอื่น) จนเห็นเป็นอนิจจังไม่เที่ยงไปตลอดชีวิต จึงวิราคะ ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก ได้จิตที่สมถะตั้งมั่น สติเต็มอยู่ภายใน (mindfulness)

สัมมาสตินี้เป็นหัวหน้าในการรักษาจิต ทำหน้าที่กั้นกระแสไม่ให้ไหลไปภายนอก ป้องกันกระแสภายนอกไม่ให้เข้ามารบกวนภายใน ทรงสติเต็มตื่นรู้อยู่ภายใน (mindfulness) ไปตลอดทางแห่งมรรค

จากนั้น สัมมาสมาธิ เมื่อมีสติดีแล้วจึงเข้าสมาธิได้ หากสติยังไม่ดีจะเข้าสมาธิไม่ได้ ได้แค่สมากระท่อนกระแท่น เข้าได้แล้วก็ปฏิบัติการสมาธิ อันคือกระบวนการลอกขันธ์
    ก่อนเข้าฌาน ๑ ลอกกามฉันทะ พยาบาท ฟุ้งซ่าน หดหู่ ลังเลสงสัยออก
    ฌาน ๑ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา (สติตั้งมั่นเป็นหนึ่ง)
    ฌาน ๒ ลอกวิตก วิจารออก เหลือแต่ปีติ สุข เอกัคคตา
    ฌาน ๓ ลอกปีติออก เหลือแต่สุข เอกัคคตา และอุเบกขา
    ฌาน ๔ ลอกสุขออก เหลือแต่อุเบกขา และสติบริสุทธิ์อยู่
    ธรรมชาติของสติเริ่มบริสุทธ์ตั้งแต่ฌาน ๔ เป็นต้นไป




ในฌาน ๔ นี้ พระพุทธเจ้าให้วิปัสสนาในฌานเลย ด้วยการใช้สติบริสุทธิ์กอปรอุเบกขา ส่องดูความเป็นจริงแห่งอดีตชาติ เรียก บุพเพนิวาสานุสติญาณ แล้ววิปัสสนาว่า ตนมีวิวัฒนาการความเป็นมาอย่างไร แต่ละชาติเป็นอย่างไร เกิดตระกูลใด คุณสมบัติเด่นอะไร คุณสมบัติด้อยอะไร ชีวิตความเป็นอยู่เป็นอย่างไร ผลสุดท้ายก่อนตายเป็นทุกข์หรือเป็นสุข จากนั้นไปเกิดที่ไหนต่อ เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน จนเห็นชัดว่าชาติไม่เที่ยง เกิดทุกชาติทุกข์ทุกชาติ แม้เกิดในชาติที่อายุขัยสูง ๆ ชีวิตแสนสุขสบาย ก็จะทุกข์เพราะโรคหิวและโรคตาย

ต่อไปทรงสอนให้วิปัสสนากลไกกรรมกำกับความเป็นไปของสัตว์โลก เรียก จุตูปปาตญาณ เราก็ตาม ใครก็ตาม ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบัน ทำกรรมใดแล้วได้ผลเป็นอย่างไร ทั้งกรรมดีโดยเจตนา กรรมดีโดยไม่เจตนา กรรมชั่วด้วยเจตนาเบียดเบียน กรรมชั่วด้วยอารมณ์ฉันทราคะ กรรมชั่วด้วยอารมณ์ปฏิฆะ กรรมประมาทเลินเล่อ กรรมทั้งดีทั้งชั่วแอบแฝงปนกันอยู่ จะเห็นชัดซึ่งข่ายใยกรรมที่ครอบงำสัตว์โลกยั้วเยี้ยเหลือประมาณ เป็น matrix ทิพย์ของแท้ จนปรารถนาจะออกจากสังกะตังแห่งกรรมสู่อิสรภาพ

ต่อไปทรงสอนให้วิปัสสนาดับพลังผูกมัดไว้ใน matix กรรม และภพชาติอันเป็นไปตามกรรม เรียก อาสวักขยญาณ คือ
    ๑. ดับกามาสวะ (สายสวะผูกมัดคือกาม)
    ๒. ดับทิฏฐาสวะ (สายสวะผูกมัดคือความคิดเห็น)
    ๓. ดับภวาสวะ (สายสวะผูกมัดคือความเป็น)
    ๔. ดับอวิชชาสวะ (สายสวะผูกมัดคืออวิชชา ไม่รู้อดีต อนาคต และทั้งสอง ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ไม่รู้อริยสัจ) การรู้อริยสัจตั้งแต่ในสัมมาทิฏฐิจะมาแจ่มกระจ่างแจ้งด้วยญาณนี้
    ดับอาสวะสี่พลังพันธนาการนี้ได้ ก็บรรลุธรรม สำเร็จอรหันต์เลย หากยังดับไม่สนิทสิ้นเชื้อ ไม่ถึงอรหันต์ ก็จักพึงถึงอนาคามี ก็ลอกขันธ์ต่อไป


@@@@@@@

ฌาน ๕ ลอกรูปสัญญาและนานัตตสัญญาออก เหลือแต่ธาตุว่าง เรียก อากาสานัญจายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ 

ฌาน ๖ ลอกอากาสานัญจายตนะออก เหลือแต่วิญญาณธาตุ เป็นธาตุธรรมชาติยิบสว่างรู้ที่ใจ เรียก วิญญาณัญจายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ

ฌาน ๗ ลอกวิญญาณัญจายตนะออก เหลือแต่อากิญจัญญายตนะธาตุ เป็นธาตุไร้เวิ้งว้าง เรียก อากิญจัญญายตนะ ในชั้นนี้ วิปัสสนาอนัตตา แล้ววิราคะตรง ๆ

ฌาน ๘ ลอกอากิญจัญญายตนะออก เหลือแต่เนวสัญญานาสัญญายตนะธาตุ เป็นธาตุสงัดที่แม้มีสัญญาอยู่คู่กับอทุกขมสุขเวทนาประณีต แต่ทั้งสัญญาและเวทนาสงบระงับไม่ทำงานอยู่ (สังขารระงับเพราะปัจจัยตัวปรุงสังขารทั้งสองสงบ) เรียก เนวสัญญานาสัญญายตนะ ในชั้นนี้วิปัสสนาไม่ได้ ไม่บรรลุธรรม แต่เป็นสะพานสู่สภาวะต่อไปที่บรรลุธรรมชั้นยอดได้

ฌาน ๙ ดับซากสัญญาและเวทนาแสนสงบที่เหลือหมด เข้า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ รู้แต่ภายใน ไม่รู้อะไรภายนอกเลย ผู้ที่จะได้ฌานนี้ต้องได้อนาคามีจิต และเป็นที่ที่พระอรหันต์นิยมพักลึกกันในสภาวะนี้ 

พระอนาคามีที่ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ ๆ เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์สำเร็จอรหันต์เลย เพราะทะลุปรุโปร่งนิโรธจนสุดแล้ว ท่านที่ไม่สำเร็จอรหันต์อาจเป็นเพียงเพราะติดอธิษฐานแห่งธรรมกิจอย่างใดอย่างหนึ่งไว้

ส่วนพระอนาคามีที่ไม่ได้เข้านิโรธ ส่วนใหญ่เพราะปฏิบัติเพลิน ลืมตรวจสอบสภาวะ จึงไม่รู้ว่าตนสำเร็จอนาคามีแล้ว จึงไม่ได้ใช้สิทธิ์อันควร เมื่อละสังขารก็จะไปอยู่ปฏิบัติต่อด้วยกันกับพระอนาคามีรุ่นพี่ที่สุทธาวาสพรหม และสำเร็จอรหันต์ในชั้นนั้นเลย





สรุป

สมถะ วิปัสสนา วิราคะ จะใช้ร้อยเรียงหมุนธรรมจักรไปด้วยกันตลอดทางแห่งการบรรลุธรรม ไม่มีแยกจากกัน มีแต่บริบูรณ์ขึ้น สมถะลึกขึ้น วิปัสสนาสัจจะได้ใหญ่ขึ้น วิราคะเด็ดขาดมากขึ้น บรรลุธรรมสูงขึ้น เท่านั้น

    อนึ่ง มรรคทุกขั้นมีผู้บรรลุธรรมได้หมด เช่น
    - ท่านพระอัญญาโกณทัญญะบรรลุโสดาบันในสัมมาทิฏฐิมรรค
    - พระเจ้าสุทโธทนะบรรลุโสดาบันในสัมมาดำริมรรค
    - เจ้าอาวาสท่านหนึ่งรู้มากแต่ปากไม่ดี ศิษย์หนีหมด มากราบพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ทรงให้เจริญสัมมาวาจาด้วยเมตตา ศิษย์หลั่งไหลมามาก ท่านก็ปฏิบัติเคร่งครัดจนบรรลุธรรมในสัมมาวาจามรรค
    - ท่านองค์คุลีมาลบรรลุโสดาบันในสัมมากัมมันตะมรรค
    - ท่านจิตตคฤหบดีบรรลุถึงอนาคามีในสัมมาอาชีวะมรรค รักษาอุโบสถเคร่งครัด ปฏิบัติธรรมต่อเนื่อง ทำธุรกิจการค้าด้วย ศึกษาธรรมด้วย แบ่งปันธรรมด้วย
    - ท่านพระราหุลบรรลุอริยผลโดยลำดับหลายปีโดยมีสัมมาวายามะมรรคเป็นแกน
    - ชาวกุรุบรรลุอริยธรรมกันหลายระดับด้วยสัมมาสติมรรค

พระอรหันต์ส่วนใหญ่สมัยพุทธกาลบรรลุอริยสภาวะธรรมด้วยวิปัสสนาและวิราคะในสัมมาสมาธิ การบรรลุอรหันตธรรมทั้งหมดไม่ว่าด้วยมรรคใด ล้วนบรรลุในสมาธิฌานใดฌานหนึ่งเป็นฐานทั้งสิ้น การบรรลุอรหัตตผลนอกฌานไม่มี (อัฏฐกนาครสูตร)


@@@@@@@

โอกาสบรรลุธรรมมีมากมายเหลือเกิน ถ้าไม่บล็อกจิตว่าการบรรลุธรรมเป็นเรื่องยาก แล้วดูโลกแห่งการบรรลุธรรมจริง จะพบว่าเป็นเรื่องง่าย

    การบรรลุธรรมยากสำหรับสองพวก คือ
    ๑) พวกที่คิดว่ายาก ต้องพลิกจิตจากความเห็นเข้าสู่ความจริงก่อน จึงจะบรรลุได้
    ๒) พวกที่ติดกรรมมหาโจรห้า ต้องแก้ไขแบบพลิกพฤติกรรมเป็นตรงข้ามแบบเอกอุก่อน จึงจะบรรลุได้

    การบรรลุธรรมเป็นไปไม่ได้สำหรับสองพวกเท่านั้น คือ
    ๑) พวกอาภัพไม่มีโอกาสได้ฟังอริยสัจเลยจนตายไปก่อน
    ๒) พวกทำอนันตริยกรรม ๕ นอกนั้นบรรลุธรรมได้หมด

พระผู้มีพระภาคทรงสอนว่า การบรรลุธรรมที่ปฏิบัติง่ายสำเร็จเร็วจะปรากฏขึ้นเมื่อบุคคลประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม คือ
    ๑. ปฏิบัติธรรมแม่น ตรงสู่ผล (ไม่ปฏิบัติเอามันส์ หรือเอาโชว์)
    ๒. ปฏิบัติธรรมเหมาะกับสภาวะของตน (ไม่พยายามก๊อบปี้ท่านอื่น)

รู้อริยสัจแล้ว ปฏิบัติให้ได้อริยผลกันนะ อย่าให้เสียชาติเกิดไปฟรี ๆ ใครยังไม่เข้าอริยผลเต็มตัว ชาติหน้าจะไม่ได้เจอสังคมอย่างนี้อีกแล้ว

 

 


ขอขอบคุณ :-
ภาพ : pinterest
ที่มา : https://uttayarndham.org/dhamma-sharing/6569/จะต้องเข้าฌานสี่ก่อนแล้วจึงวิปัสสนาใช่ไหม
15 May 2023
80  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย เมื่อ: มีนาคม 21, 2024, 05:52:06 am
.



พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย

เรื่องของคุณไสยใครว่าไม่มีจริง.. คุณไสย ไม่ใช่แค่ความเชื่อแต่เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงคู่โลกใบนี้.. ใครหลายคนอาจเคยได้ยินได้ฟังแบบเป็นแค่เรื่องเล่า เขาว่ากันว่าบางคนก็อาจไม่เชื่อด้วยซ้ำว่าเรื่องคุณไสยสามารถให้คุณให้โทษต่อมนุษย์ได้

คุณไสย เกิดจากอำนาจพลังสมาธิชั้นสูงของผู้ที่ปฏิบัติแล้วได้ฌาน เพียงแต่ว่าผู้ปฏิบัติท่านนั้นเอาสมาธิที่ได้ใฝ่ไปทาง มิจฉาสมาธิ อันหมายถึง มิใช่สมาธิที่เพื่อจะไปต่อยอดให้เป็นสัมมาสมาธิอย่างที่พระพุทธเจ้าสอน

ดังนั้นอำนาจพลังสมาธิที่เกิดจากมิจฉาสมาธิจึงมีมากไม่แพ้ กับพลัง สมาธิแบบสัมมาสมาธิ ดังนั้นผู้ที่ฝ่ายไปทางด้านคุณไสยเมื่อปฏิบัติสมาธิได้ลึกจนถึงเข้าฌาน ก็สามารถบันดาลดลสิ่งต่างๆให้เกิดพลังงานแฝง แล้วส่งไปสู่ผู้คนได้ อาทิ ลมเพลมพัด หรือ แม้แต่เรื่องคุณไสยเสน่ห์ยาแฝด

ในยุค พ.ศ. 2460 ผู้ที่ได้ฌานระดับลึกๆ แต่เป็นมิจฉาสมาธิค่อนข้างมีมากโดยเฉพาะบุคคลที่เป็นฆราวาสเพื่อทำคุณไสย ก็ทำให้ใครหลายคน อาจจะได้รับรู้ข้อมูลผ่านภาพยนตร์เป็นต้น แม้แต่สายพระเกจิคณาจารย์ ที่ปลุกเสกเลขยันต์ นั่นก็ยังเป็นมิจฉาสมาธิรูปแบบหนึ่ง เพียงแต่พึงอาศัยพลังงานเข้าไปสถิตในวัตถุต่างๆ ที่เราเรียกว่าวัตถุมงคล นั่นก็มิใช่สัมมาสมาธิตามที่พระพุทธเจ้าสอนเช่นกัน เพียงแต่เพิ่งหวังผลลัพธ์ไปในทางที่เป็นคุณเป็นกุศล มากกว่าการเป็นลบ

@@@@@@@

พระภิกษุในครั้งพุทธกาล บางรูปก็งดงาม และทำให้สีกาทั้งหลายเห็นก็พึงปรารถนาที่จะได้มาเป็นคู่ครอง ยิ่งสังคมอินเดียสมัยก่อน ผู้หญิงจะต้องเป็นผู้ไปสู่ขอผู้ชาย เพื่อแต่งงานอยู่กินด้วยซ้ำ ดูเหมือนผู้หญิงจึงชื่นชอบผู้ใดถ้าไม่ได้เล่ห์ก็ใช้กลอยู่เสมอ

คราวหนึ่งพระภิกษุรูปงาม รูปหนึ่งป่วย เป็นไข้อย่างรุนแรง เพราะถูกเสน่ห์ยาแฝดซึ่งเป็นคุณไสยชนิดหนึ่ง ซึ่งมีผลค่อนข้างแรงมากขนาดเป็นพระภิกษุก็แทบจะเอาตัวไม่รอดเช่นเดียวกันแต่ก็ต้องเข้าใจว่าพระภิกษุธรรมดาๆ ก็คือมนุษย์ หนึ่งคนนั่นเอง ที่น้อมตัวเองเข้าไปศึกษาธรรมะ

เพื่อนพระภิกษุด้วยกันจึงไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้วกราบทูลว่ามีพระภิกษุที่เป็นสหธรรมิก โดนคุณไสยมีอาการกระสับกระส่าย ป่วยอย่างรุนแรง พระพุทธเจ้า จึงแนะนำ วิธีการแก้คุณไสยนั้น ดังนี้

    "ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุ ดื่มน้ำละลายดินรอยไถติดผาล"

        ความนี้ปรากฏในพระไตรปิฏก วินัยปิฏกเล่ม ๕ มหาวรรค ภาค๒


@@@@@@@

นี่คือ วิธีการแก้คุณไสยประเภทเสน่ห์ยาแฝด คำว่าดินรอยไถติดผาล ก็คือ ดินที่อยู่ใต้รอยไถนั่นเอง ทีนี้การที่จะนำดินชนิดนี้ไปละลายน้ำดื่ม ไม่ใช่หยิบไปเป็นก้อน แต่ให้หยิบ ดินใต้รอยไถนั้น ที่ติดผาลแค่เพียงเศษๆ อาจจะหยิบมาแค่ปลายเล็บจิกก็ได้ แล้วนำเอามาละลายน้ำ ก่อนดื่มก็ให้ระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ แล้วดื่ม ทำครั้งแรกอาจดื่มแล้วยังไม่หายดี ก็ให้ดื่มหลายๆ ครั้ง แต่ไม่เกินสามครั้งดีแน่

นี่คือ วิธีที่ออกมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้าและปรากฏในพระไตรปิฎก ถ้าเราคิดแบบปราชญ์ชาวบ้านนั้น แปลความได้ว่า "ผาล" เป็นตัวพลิกหน้าดินที่เดินไถไป ผาลพลิกหน้าดินก็คล้ายการพลิกชีวิตนั่นแล จากที่ไม่ดีให้ดีขึ้น

ใครที่เคารพนับถือพระพุทธเจ้า แล้วถ้าเกิดทราบว่ามีผู้ใดใครที่โดนคุณไสยในลักษณะต่างๆ ก็ลองนำเอาวิธีนี้ไปใช้ อาจจะทำให้ชีวิตของเขาพลิกเปลี่ยนดีขึ้น แต่อย่าลืมทุกครั้งที่ นำไปทำให้น้อมระลึกนึกถึงพระพุทธเจ้า เพราะนี่เป็นวิธีที่พระองค์ท่านแนะนำ






Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/591338
21 มีนาคม 2567 | พระพุทธเจ้าแนะวิธีถอนคุณไสย | คอลัมน์ ทำมา ธรรมะ โดย ราชรามัญ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 707