ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: บาลีวันละคำ‬ ดูก่อนภราดา  (อ่าน 3040 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บาลีวันละคำ‬ ดูก่อนภราดา
« เมื่อ: กรกฎาคม 13, 2016, 05:50:53 pm »
0
‪บาลีวันละคำ‬
ดูก่อนภราดา
อ่านว่า ดู-ก่อน-พะ-รา-ดา
(๑) “ดูก่อน”
เป็นคำไทย หนังสือเก่าสะกดเป็น “ดูกร” เป็นเหตุให้มีผู้อ่านคำนี้ว่า ดู-กะ-ระ แล้วก็ยอมรับกันไปแล้วว่าเป็นคำอ่านที่ถูก
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“ดูกร : คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 แก้ไขบทนิยามใหม่เป็นดังนี้ -
“ดูกร : คำกล่าวเรียกผู้ที่จะสนทนาด้วย เป็นคำที่ผู้ใหญ่พูดกับผู้น้อย เช่น ดูกรเจ้าชาลีลูกรัก (ม. ร่ายยาว กุมาร)”
คำว่า “ดูกร” พจน.บอกคำอ่านไว้ว่า ดู-กะ-ระ และ ดู-กอน
“ดูกร” ก็คือ “ดูก่อน” ในภาษาไทยนั่นเอง มีความหมายว่า ขอให้ละกิจอื่นๆ เสียก่อนแล้วหันมาดูทางนี้ หรือ ขอให้มาดูทางนี้ก่อน แล้วจึงค่อยไปสนใจทางอื่น
“ดูก่อน” นั่นเองโบราณท่านสะกดเป็น “ดูกร” คือต้องอ่านว่า ดู-ก่อน
ถ้ารู้หลักอักขรวิธีของโบราณ เราก็จะไม่อ่านผิดเป็น ดู-กะ-ระ ดังที่อ่านกันเดี๋ยวนี้ไปได้เลย
“ดูก่อน” ตรงกับคำอังกฤษ (ตามพจนานุกรม สอ เสถบุตร) ว่า -
Look here
Hear me
Listen to me
ความหมายก็ตรงกันด้วย คำนิยามตาม พจน.42 ที่ว่า “คำกล่าวขึ้นต้นข้อความกับผู้ที่จะพูดด้วยให้สนใจฟัง” จึงนับว่าตรงกับความจริง (แต่ พจน.54 ตัดคำนิยามนี้ออกไป โปรดดูข้างต้น)
........
ดูเพิ่มเติมที่ลิงก์ข้างล่างนี้ -
https://www.facebook.com/tsangsinchai/posts/660379684055772
........
(๒) “ภราดา”
บาลีเป็น “ภาตา” รากศัพท์มาจาก ภาสฺ (ธาตุ = พูดชัดเจน) + ราตุ ปัจจัย, ลบ สฺ ที่สุดธาตุ (ภาสฺ > ภา) และลบ รา (ราตุ > ตุ)
: ภาสฺ + ราตุ = ภาสราตุ > ภาราตุ > ภาตุ แปลตามศัพท์ว่า “ผู้พูดได้ก่อน” (หมายถึงพี่ชาย) และ “ผู้พูดได้ทีหลัง” (หมายถึงน้องชาย)
“ภาตุ” จึงหมายถึงพี่ชายก็ได้ น้องชายก็ได้
“ภาตุ” (ปุงลิงค์) แจกด้วยวิภัตตินามที่หนึ่ง (ปฐมาวิภัตติ) เอกพจน์ คือ “สิ” แปลง อุ ที่ (ภา)-ตุ กับ สิ เป็น อา
: ภาตุ + สิ = ภาตุสิ > (ภาตุ < ภาต + อุ : อุ + สิ = อา : ภาต + อา = ) ภาตา
ภาตุ > ภาตา ในบาลี เป็น “ภฺราตฺฤ” ในสันสกฤต และเป็น brother ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาไทย รูปคำที่พบบ่อยๆ คือ ภราดร, ภราดา
ลองเทียบรูปและเสียง:
ภาตุ > ภาตา > ภฺราตฺฤ > ภราดร, ภราดา > brother
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ภราดร, ภราดา : (คำนาม) พี่ชาย, น้องชาย. (ส. ภฺราตฺฤ; ป. ภาตา, ภาตุ).”
ในวรรณกรรมเรื่อง กามนิต นิยมใช้คำว่า “ภราดา” เป็นคำร้องเรียก (exclamation, address) เช่น:
ดูก่อนภราดา สรุปเรื่องที่เล่ามาแล้วคือ ข้าพเจ้าได้ไปหาคู่รักทุกคืน ....
(กามนิต บทที่เจ็ด : ในหุบเขา)
...............
ดูก่อนภราดา!
: ถ้ามองกันด้วยรู้สึกว่าเป็นพี่น้อง
โลกทั้งผองก็สุขยิ่งกว่าสวรรค์
: ถ้ามองกันด้วยความรังเกียจเดียดฉัน
โลกก็ร้อนยิ่งกว่าไฟนรก

นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
บันทึกการเข้า