ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชรค่ะ  (อ่าน 14309 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อยากทราบความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชร เห็นมีคนบอกว่าเป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มากศักดิ์สิทธิ์อย่างไรค่ะ
ขอบคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


   
คาถาชินบัญชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

    พระคาถานี้เป็นคาถาศักดิ์สิทธิ์ตกทอดมาจากลังกา
    ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯค้นพบในคัมภีร์โบราณและได้ดัดแปลงแต่งเติมให้ดีขึ้นเป็นเอกลักษณ์พิเศษ
    ผู้ใดสวดภาวนาพระคาถานี้เป็นประจำสม่ำเสมอจะทำให้เกิดความสิริมงคลแก่ตนเอง
    ศัตรูไม่กล้ากล้ำกราย มีเมตตามหานิยม ขจัดภัยตลอดจนคุณไสยต่างๆ
    ก่อนเจริญภาวนาให้ตั้งนะโม ๓ จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่โตและตั้งคำอธิษฐานแล้วเริ่มสวด



    เริ่มสวด นโม 3 จบ

    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ


    นึกถึงหลวงปู่โตแล้วตั้งอธิษฐาน

    ปุตตะกาโมละเภปุตตัง ธะนะกาโมละเภธะนัง
    อัตถิกาเยกายะญายะ เทวานังปิยะตังสุตตะวา
    อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
    มรณังสุขัง อะระหังสุคะโต นะโมพุทธายะ



    เริ่มบทพระคาถาชินบัญชร

         ๑.ชะยาสะนากะตา พุทธา       เชตวา มารัง สะวาหะนัง
            จะตุสัจจาสะภัง ระสัง         เย ปิวิงสุ นะราสะภา.

         ๒.ตัณหังกะราทะโย พุทธา      อัฏฐะวีสะติ นายะกา
            สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง       มัตถะเกเต มุนิสสะรา.

         ๓.สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง        พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
            สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง      อุเร สัพพะคุณากะโร.

         ๔.หะทะเย เม อะนุรุทโธ        สารีปุตโต จะทักขิเณ
            โกณฑัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง    โมคคัลลาโน จะ วามะเก.

         ๕.ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง       อาสุง อานันทะ ราหุโล
            กัสสะโป จะ มะหานาโม      อุภาสุง วามะโสตะเก.

         ๖.เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง        สุริโย วะ ปะภังกะโร
            นิสินโน สิริสัมปันโน          โสภิโต มุนิปุงคะโว


         ๗.กุมาระกัสสโป เถโร           มะเหสี จิตตะ วาทะโก
            โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง       ปะติฏฐาสิคุณากะโร.

         ๘.ปุณโณ อังคุลิมาโร จะ          อุปาลี นันทะ สีวะลี
            เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา        นะลาเต ติละกา มะมะ.

         ๙.เสสาสีติ มะหาเถรา            วิชิตา ชินะสาวะกา
            เอเตสีติ มะหาเถรา            ชิตะวันโต ชิโนระสา
            ชะลันตา สีละเตเชนะ           อังคะมังเคสุ สัณฐิตา.

        ๑๐.ระตะนัง ปุระโต อาสิ            ทักขิเณ เมตตะ สุตตะกัง
            ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ         วาเม อังคุลิมาละกัง

        ๑๑.ขันธะโมระปะริตตัญจะ         อาฏานาฏิยะ สุตตะกัง
            อากาเส ฉะทะนัง อาสิ           เสสา ปาการะสัณฐิตา

        ๑๒.ชินา นานาวะระสังยุตตา         สัตตัปปาการะ ลังกะตา
            วาตะปิตตาทะสัญชาตา          พาหิรัช ฌัตตุปัททะวา.

        ๑๓.อะเสสา วินะยัง ยันตุ            อะนันตะชินะ เตชะสา
            วะสะโต เม สะกิจเจนะ          สะทา สัมพุทธะปัญชะเร.

        ๑๔.ชินะปัญชะระมัชฌัมหิ           วิหะรันตัง มะฮี ตะเล
            สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ        เต มะหาปุริสาสะภา.

        ๑๕.อิจเจวะมันโต            สุคุตโต สุรักโข
            ชินานุภาเวนะ           ชิตุปัททะโว
            ธัมมานุภาเวนะ          ชิตาริสังโฆ
            สังฆานุภาเวนะ          ชิตันตะราโย
            สัทธัมมานุภาวะปาลิโต   จะรามิ ชินะ ปัญชะเรติ.



        คำแปล
     ๑.พระพุทธเจ้าและพระนราสภาทั้งหลาย ผู้ประทับนั่งแล้วบนชัยบัลลังก์
        ทรงพิชิตพระยามาราธิราชผู้พรั่งพร้อมด้วยเสนาราชพาหนะแล้ว เสวยอมตรสคือ
        อริยะสัจธรรมทั้งสี่ประการ เป็นผู้นำสรรพสัตว์ให้ข้ามพ้นจากกิเลสและกองทุกข์

     ๒.มี ๒๘ พระองค์คือ พระผู้ทรงพระนามว่า ตัณหังกรเป็นต้น พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

     ๓.ข้าพระพุทธเจ้าขออัญเชิญมาประดิษฐานเหนือเศียรเกล้า
        องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
        พระธรรมอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง
        พระสงฆ์ผู้เป็นอากรบ่อเกิดแห่งสรรพคุณอยู่ที่อก

     ๔.พระอนุรุทธะอยู่ที่ใจพระสารีบุตรอยู่เบื้องขวา
        พระโมคคัลลาน์อยู่เบื้องซ้าย พระอัญญาโกณทัญญะอยู่เบื้องหลัง

     ๕.พระอานนท์กับพระราหุลอยู่หูขวา
        พระกัสสะปะกับพระมหานามะอยู่ที่หูซ้าย

     ๖.มุนีผู้ประเสริฐคือพระโสภิตะผู้สมบูรณ์ด้วยสิริดังพระอาทิตย์ส่องแสง
        อยู่ที่ทุกเส้นขน ตลอดร่างทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

     ๗.พระเถระกุมาระกัสสะปะผู้แสวงบุญทรงคุณอันวิเศษ
        มีวาทะอันวิจิตรไพเราะอยู่ปากเป็นประจำ

     ๘.พระปุณณะ พระอังคุลิมาล พระอุบาลี พระนันทะ และพระสีวะลี
        พระเถระทั้ง ๕ นี้ จงปรากฏเกิดเป็นกระแจะจุณเจิมที่หน้าผาก

     ๙.ส่วนพระอสีติมหาเถระที่เหลือผู้มีชัยและเป็นพระโอรส
        เป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงชัย แต่ละองค์ล้วน
        รุ่งเรืองไพโรจน์ด้วยเดชแห่งศีลให้ดำรงอยู่ทั่วอวัยวะน้อยใหญ่

    ๑๐.พระรัตนสูตรอยู่เบื้องหน้าพระเมตตาสูตรอยู่เบื้องขวา
        พระอังคุลิมาลปริตรอยู่เบื้องซ้าย พระธชัคคะสูตรอยู่เบื้องหลัง

    ๑๑.พระขันธปริตร พระโมรปริตร และพระอาฏานาฏิยสูตร
        เป็นเครื่องกางกั้นดุจหลังคาอยู่บนนภากาศ

    ๑๒.อนึ่งพระชินเจ้าทั้งหลาย นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนี้
        ผู้ประกอบพร้อมด้วยกำลังนานาชนิด มีศีลาทิคุณอันมั่นคง
        สัตตะปราการเป็นอาภรณ์มาตั้งล้อมเป็นกำแพงคุ้มครองเจ็ดชั้น

    ๑๓.ด้วยเดชานุภาพแห่งพระอนันตชินเจ้าไม่ว่าจะทำกิจการใดๆ
        เมื่อข้าพระพุทธเจ้าเข้าอาศัยอยู่ในพระบัญชรแวดวงกรงล้อม
        แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอโรคอุปัทวะทุกข์ทั้งภายนอกและภายใน
        อันเกิดแต่โรคร้าย คือ โรคลมและโรคดีเป็นต้น
        เป็นสมุฏฐานจงกำจัดให้พินาศไปอย่าได้เหลือ

    ๑๔.ขอพระมหาบุรุษผู้ทรงพระคุณอันล้ำเลิศทั้งปวงนั้น
        จงอภิบาลข้าพระพุทธเจ้า ผู้อยู่ในภาคพื้น ท่ามกลางพระชินบัญชร
        ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการคุ้มครองปกปักรักษาภายในเป็นอันดีฉะนี้แล

    ๑๕.ข้าพระพุทธเจ้าได้รับการอภิบาลด้วยคุณานุภาพแห่งสัทธรรม
        จึงชนะเสียได้ซึ่งอุปัทวอันตรายใดๆ ด้วยอานุภาพแห่งพระชินะพุทธเจ้า
        ชนะข้าศึกศัตรูด้วยอานุภาพแห่งพระธรรม ชนะอันตรายทั้งปวงด้วยอานุภาพ
        แห่งพระสงฆ์ ขอข้าพระพุทธเจ้าจงได้ปฏิบัติ และรักษาดำเนินไปโดยสวัสดีเป็นนิจนิรันดรเทอญฯ



ที่มา  http://www.84000.org/pray/chinnabanchorn.shtml
ขอบคุณภาพจาก http://www.itti-patihan.com/,http://www.212cafe.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 24, 2012, 10:51:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมดูจากคำแปล ก็ดีมาก สามารถนาปิดได้ทุกทวาร เป้นสิริมงคลดี
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระ คาถาชินบัญชร
สมเด็จพระ พุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี )

กำเนิดพระคาถาชินบัญชร
กำเนิดพระคาถาชิน บัญชร เรียบเรียงโดยคุณปัญญานี้
ได้คัดลอกมาจากหนังสือ พระคาถาชินบัญชร

เมื่อ ครั้งนั้น สมเด็จ (โต) ได้มีโอกาสเดิทางไปยัง จังหวัดกำแพงเพชร ท่านได้เดินทางไปที่วัดเก่าแห่งหนึ่งซึ่งมีกรุโบราณ ที่นั่นท่านได้พบคัมภีร์โบราณผูกหนึ่งฝังอยู่ในเจดีย์หัก สมเด็จจึงนำคัมภีร์ผูกนั้นมาเก็บไว้ที่กุฏิ ขณะนั้นสมเด็จ (โต) ท่านมีจิตดำริที่จะสร้างพระเครื่องเพื่อมอบให้แก่เจ้าปิยะ (ร.5) หรือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อเป็นสมบัติในยุคสมัยครองราชย์ ระหว่างครุ่นคิดสมเด็จ (โต) ท่านก็ได้จำวัดหลับไป

ใน คืนนั้นราวๆประมาณตี 3 สมเด็จ (โต) ได้นิมิตว่าท่านได้ตื่นขึ้น เห็นชายหนุ่มรูปงามรูปหนึ่งมายืนอยู่ที่หัวนอนในชุดนุ่งขาวห่มขาว มีรูปลักษณ์งดงามหาที่ติมิได้เลย สมเด็จ(โต) ท่านก็มองขึ้นตามกำหนดของจิต ทราบว่าหนุ่มรูปงามนี้คงจะไม่ใช่มนุษย์อย่างแน่นอน

สมเด็จ (โต) จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ การที่อาตมาได้มีโอกาสชมท่านนับว่าเป็นขวัญตาเหลือเกิน ท่านมาในสถานที่แห่งนี้ มีสิ่งใดที่อาตมาปฏิบัติผิดพลาดในหลักพระพุทธศาสนาเล่า ? ขอให้ท่านจงประสาทประทานการสอนให้อาตมาแจ่มแจ้งในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธ เจ้าเถิด"

ชายหนุ่มผู้ นั้นจึงกล่าวขึ้นด้วยคำพูดที่เย็นกังวาน "ท่านโต วิธีการที่ท่านดำเนินงานอยู่นี้คล้ายกับองค์สมณะโคดมอยู่ แต่การที่ท่านคิดจะสร้างพระให้เป็นสิ่งที่ระลึกของมนุษย์นั้น สร้างแล้วสิ่งนั้นจะต้องดี ท่านโตเชื่อในเรื่องวิญญาณ เพราะฉะนั้นควรจะปฏิบัติตามกฏของโลกวิญญาณ คือวิธีการตั้งให้ถูกหลักการในการปลุกเสก"

สมเด็จ(โต) ท่านจึงกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขรัวโตนี้รับฟังความคิดเห็นของทุกคนหากแม้นท่านโปรดข้านี้ ขอได้โปรดบอกมาเถิด จะด่าว่าตักเตือนเราก็ไม่ว่า"

หนุ่มรูปงามผู้มี ความสงบแลดูเป็นที่เลื่อมใส จึงได้แนะวิธีการต่างๆในเรื่องทิศทางว่าทิศใดเป็นทิศมงคล ในการวาง เทียน ธูป ดอกไม้ เทียนชัย ให้ตรงตามหลักของกฏระเบียบแห่งโลกวิญญาณ เรียกว่าเทวบัญญัติ หรือพรหมบัญญัติ ระหว่างนั้นสมเด็จ (โต) ยังคุมสติสัมปชัญญะอยู่ทุกเมื่อ จึงได้ถามหนุ่มรูปงามนั้นว่า

"ท่านผู้รูปงามท่านนี้มีนามว่ากระไรหรอ?"

"หม่อมฉันนี้คือลูกศิษย์ องค์พระโมคคัลลานะ หม่อมฉันสำเร็จเป็นอรหันต์เมื่ออายุ 7 ขวบ แต่ด้วยทิ้งสังขารก่อนอายุขัยจึงมิได้สู่แดนอรหันต์ คงยังอยู่ในแดนพรหมโลก เพราะหม่อมฉันไม่อยากติดสตรีมิชอบสตรี เพราะสตรีทำลายพรหมจารีย์ของหม่อมฉัน หม่อมฉันจึงทิ้งสังขารก่อนอายุขัย ทางโลกวิญญาณถือว่าสิ้นก่อนอายุขัย จึงอยู่รูปพรหม ถ้าท่านโตต้องการปรึกษาจากหม่อมฉัน ก็จงระลึกถึงชินนะบัญจะระ" มานพหนุ่มรูปงามกล่าวต่อสมเด็จ (โต) อย่างสำรวม

ต่อ มาไม่ว่าสมเด็จ (โต) จะทำงานสิ่งใด

จึงมักระลึกถึงท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระทีไร ท่านก็ปรากฎร่างทันที

ช่วยเหลือสมเด็จ (โต) ประกอบพิธีต่างๆ

จึงทำให้เครื่องรางของขลังของสมเด็จ (โต) มีความศักดิ์สิทธิ์มาก


สมเด็จ (โต) ท่านปลุกเสกพระสมเด็จรุ่นสุดท้าย 84,000 องค์ เรียกว่าสมเด็จอิทธิเจ ท่านได้แปลคาถาจากคัมภีร์ ซึ่งท่านพบจากกรุวัดที่กำแพงเพชร ซึ่งคัมภีร์นั้นเขียนด้วยภาษาสิงหลได้ความบ้าง มิได้ความบ้าง จับใจความได้ว่าเป็นชื่ออรหันต์แปดสิบองค์ จึงได้ตัดต่อแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อง่ายต่อการสวด จึงแปลใหม่ได้ความว่า "คาถาชินบัญชร" ซึ่งตรงกับชื่อท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ สมเด็จ (โต)

ท่านจึงถือคาถาบทนี้เป็นการเทิดทูนท่านท้าวมหาพรหมชินนะบัญจะระ ที่ท่านได้ช่วยเหลือตลอดมา และพระคาถาบทนี้เป็นบทสวดในการนั่งปลุกเสกพระอิทธิเจรุ่นสุดท้าย ซึ่งสมเด็จ (โต) ท่านนั่งปลุกเสกอยู่เพียงผู้เดียว



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://atcloud.com/stories/84943
http://www.bloggang.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


คาถาชินบัญชร?

นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถาม เรื่องคาถาชินบัญชรไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร

โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒา จารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

เมื่อ ไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961...


(ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส
(กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร
(ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552

เมื่อได้อ่านชินบัญชรใน หนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

ทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่..."



ชิน บัญชรไทย-(ศรี)ลังกา

นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา

การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามี ผลสืบทอดต่อมาจากการสวดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"

ในยุคอาณาจักรต่อมา การสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวกมาประดิษฐานทั่ว สรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย



ที่มา ชินบัญชร

แต่ก็ยังไม่ สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคติความเชื่อมาจากลัทธิ มหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นนี้ของท่าน

นอกจากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)
อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด้วย
ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม
และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้


จาก http://www.dhammakid.com
ขอบคุณภาพจาก http://p.moohin.com/,http://www.matichon.co.th/
ขอบคุณ http://atcloud.com/stories/84943


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร

พระคาถานี้มีอนุภาพศักดิ์สิทธิ์มาก ผู้ใดสวดมนต์หรือภาวนาอยู่เป็นประจำ ไม่ว่าจะ กิน เดิน นั่งนอน หรือภาวนาแม้ยามอาบน้ำ แปรงฟัน หรือทำงาน จะมีอนุภาพดังนี้ คือ

1. หากสวดมนต์อย่างน้อยวันละ 3 จบ อานุภาพจะคุ้มครองผู้นั้นไป 1 วัน กับ 1 คืน

2. เวลานั่งรถ เรือ หรือขับขี่รถ หรือเดินทาง ให้นึกภาวนาไปในใจ จะทำให้คลาดแคล้ว ปลอดภัยจากอุบัติเหตุทั้งปวงได้ชงัดนักเคยพ้นมามากต่อมากแล้ว

3.ผู้สวดมนต์ พระคาถานี้เป็นประจำ จะเป็นเสน่ห์มงคลด้วยประการทั้งปวง ไม่ว่าท่านจะอยู่ในเหตุการณ์ร้ายแรงอย่างใด ให้ภาวนาจะปลอดภัย แม้คนถูกกระทำของใส่คุณ หากเรารู้ตัวแล้วภาวนามิได้ขาด รับรองได้ว่าเขาทำอะไรเราไม่ได้เลย

4. หากภาวนาประจำมิได้ขาดเลยเรามักมีอะไรพิเศษ เช่น อาจฝันรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า หากนอนแล้วภาวนาจนกระทั่งหลับ (ในใจ) คืนนั้นจะนอนหลับสบายเป็นพิเศษ ตื่นขึ้นมาจะมีความสุขปลอดโปร่งแจ่มใสเป็นพิเศษ บางทีกลางคืนจะมีอะไรดีๆ มาสอนเราด้วย

5. ผู้ที่มีอำนาจสมาธิจิตสูง สามารถจะภาวนาพระคาถานี้ ทำน้ำมนต์รักษาโรคบางชนิด ที่แพทย์ปัจจุบันรักษาไม่หายให้หายได้

6. ใครเจ็บไข้อยู่หากมีคนอื่น (แม้มิใช่ญาติ) บนบานกล่าวว่าจะสวดมนต์ให้ร้อยเที่ยว ห้าร้อยเที่ยว หรือหนึ่งพันเที่ยว ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรเขามักจะหายป่วยจริงๆ (เคยทดลองมาแล้วแม้คนต่างศาสนากัน) หากผู้เจ็บป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ที่ไหนก็แล้วแต่หากภาวนาพระคาถานี้อยู่เรื่อยๆจะทำให้เขาหายป่วยเร็วขึ้น มากจนน่าแปลกใจ

7. ผู้ประกอบอาชีพต่างๆ หากยามว่างให้ภาวนาพระคาถาบทนี้จะทำให้อาชีพดีขึ้น เช่น ค้าขายดีขึ้นแม้ปลูกพืช ปลูกผักผลผลิตจะดีขึ้นหรือรายได้ดีขึ้น เด็กๆ นักเรียนหากสวดมนต์บทนี้ได้และสวดประจำบ่อยๆ หรือทุกคืนก่อนนอน จะเรียนเก่ง จำดีอย่างแน่นอนรับรอง

8. ผู้สวดมนต์พระคาถาบทนี้เป็นประจำแล้ว ประกอบอาชีพสุจริตไปด้วย จะทำให้ลดวิบากกรรมตัวเองให้เบาลงกว่าที่จะได้รับจริง หากกุศลส่งก็จะหนุนให้กุศลส่งแรงขึ้น หากใช้ไปนานชั่วชีวิตจะประสบสุขตามกุศลแน่นอน


9. เมื่อร่วมกันสวดอธิษฐานพร้อมๆ กันหลายคน หรือเวลาเดียวกัน จะมีอานุภาพบริสุทธิ์แผ่ออกไปกว้างไพศาลมากทำให้ผู้สวดก็ดี สถานที่บริเวณก็ดี รวมไปถึงประเทศชาติจะได้เจริญ และรอดพ้นจากภัยพิบัติทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นแก่ประเทศ เราได้ ทำให้ประเทศเราเด่นดังในที่สุดได้

(อานุภาพของพระคาถายังมีอีกมาก หากทุกท่านหมั่นสวดมนต์ภาวนา ความเจริญ ความเมตตา หากินคล่องก็จะอยู่กับท่าน)

ผู้ใดได้สวดภาวนาพระคาถาชินบัญชรนี้เป็นประจำอยู่สม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความสิริมงคลสมบูรณ์พูนผล ศัตรูหมู่พาลไม่กล้ำกราย ไปทางใดย่อมเกิดเมตตามหานิยม เกิดลาภผลพูนทวี ขจัดภัยจากภูตผีปีศาจ ตลอดจนคุณไสยต่างๆ ทำน้ำมนต์รดแก้วิกลจริตแก้สรรพโรคภัยหายสิ้น เป็นสิริมงคลแก่ชีวิต มีคุณานุภาพตามแต่จะปรารถนา ดังคำโบราณว่า "ฝอยท่วมหลังช้าง" จะเดินทางไปที่ใดๆ สวด 10 จบ แล้วอธิษฐานจะสำเร็จสมดังใจ



อานุภาพพระคาถาชินบัญชร
โดย เพชรพิษณุ คัดลอกจากหนังสือธรรมะเล่มหนึ่ง

ความอัศจรรย์สิ่งเร้นลับและอานุภาพต่างนี้ๆบางท่านก็ได้ประสบพบเห็นมากับตัวเอง และจากปากของผู้อื่น จะเป็นอานุภาพของพระเครื่องก็ดี พระคาถาต่างๆก็ดี บางครั้งบางคราวเราท่านก็ยากแก่การจะพิสูจน์ได้โดยง่ายและทันต่อเวลาเหมือนวิชาของวิทยาศาสตร์ นอกเสียจากว่าจะประสบพบมาเท่านั้น

จะว่ากันไปแล้วไสยศาสตร์ก็เป็นศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งคล้ายๆอานุภาพต่างๆ และพลังจิต บางท่านก็เชื่ออย่างงมงาย บางท่านก็ไม่เชื่อ ข้าพเจ้าผู้เขียนก็เหมือนกัน ไม่เคยเชื่อเรื่องอย่างงี้มาก่อนเลย จนได้ประสบมากับตัวจึงมีความศรัทธาขึ้นมาทีละน้อย และเรื่องที่ข้าพเจ้าจะเล่าต่อไปนี้ ข้าพเจ้าขอรับรองว่าเป็นเรื่องที่ประสบมา

ในต้นปีพุทธศักราช 2523 ตอนนั้นข้าพเจ้ากำลังจะปลดประจำการ เนื่องจากได้รับใช้ประเทศชาติมาจนครบ 2 ปี ตาม พ.ร.บ. การเป็นทหาร และบังเอิญในปีนั้นข้าพเจ้าก็ได้สอบเพื่อที่จะบรรจุเป็นข้าราชการประจำไว้ และสอบได้

พอพ้นจากเกณฑ์ข้าพเจ้าก็ได้รับการบรรจุประจำการอยู่ในกองทัพแห่งหนึ่ง และในกองทัพนี้ระเบียบวินัยก็อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากเพราะเป็นหน่วยรบ ประกอบกับ ผบ.ท่านเป็นคนฝักใฝ่ในธรรมปกครองผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยความเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

กล่าวคือ ทุกเช้าที่รวมพลท่านจะแจกธรรมะถ้ามีเวลาพร้อมทั้งสวดมนต์ทำสมาธิ และท่านมักจะแจกพระคาถาดีๆอยู่เสมอ สุดแท้แต่ผู้ใดจะจดจำเอาและแถมมีรางวัลให้ทุกครั้งไป

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็เอาพระคาถาชินบัญชร ของหลวงพ่อพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) มาแจกพร้อมกับตั้งรางวัลไว้ให้อย่างงามคือถ้าผู้ใดสามารถท่องบ่นจนจำขึ้นใจได้ภายใน 1 เดือน 2 เดือน 3 เดือน จะมีรางวัลแจกตามลำดับ ให้มารับรางวัลได้ทุกคน

พระคาถานี้ก็ใช่ว่าจะจำกันได้ง่ายๆ เพราะมีความยาวและท่องยาก เนื่องจากเป็นภาษาบาลี ซึ่งเป็นสิ่งที่ท้าทายต่อข้าพเจ้ามาก เพราะก่อนนี้ข้าพเจ้าไม่เคยสนใจเรื่องพระคาถาอาคมอะไรใดๆทั้งสิ้น อันนี้ก็หวังเพียงอยากจะได้รางวัลเท่านั้น ไม่ได้หวังที่จะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นเลย ข้าพเจ้าก็ลองเอาไปท่องดู (เล่นๆ)

ปรากฏว่า ไม่ถึงเดือนข้าพเจ้าก็สามารถท่องและจำได้จนขึ้นใจ จะเป็นด้วยบุญบารมีเก่าหรืออะไรก็สุดจะเดา พอแน่ใจว่าจำได้แน่แล้วข้าพเจ้าก็ได้ท่องให้ ผบ.ท่านฟัง ท่านพอใจและได้มอบรางวัลให้ตามสัญญา ข้าพเจ้าได้รับรางวัลเป็นคนแรกของกองพัน

ข้าพเจ้าเลยคิดเล่นๆว่า คงเป็นเพราะอานุภาพของพระคาถาชินบัญชรแน่ๆ เพียงแต่ท่องจำได้ยังทำให้ได้รับรางวัล ข้าพเจ้าเลยท่องบ่นอยู่ทุกๆวันตั้งแต่นั้นมา เพราะคิดว่าคงจะเป็นของดีมีประโยชน์เป็นแน่


กล่าวกันว่าพระคาถาชินบัญชรนี้มีอานุภาพมากมายเหลือจะพรรณา สุดแล้วแต่ท่านผู้ใดจะนึกคิดใช้ในคราวจำเป็นโดยให้ระลึกถึงเจ้าของพระคาถา และอานุภาพก็เริ่มฉายชัดขึ้นมาอีกครั้งคือ ในคืนวันหนึ่งต้นฤดูฝน ข้าพเจ้าและ ผบ.ร้อยพร้อมคนขับรถได้นั่งรถจี๊ปเล็กออกไปธุระที่นอกหน่วย ข้าพเจ้านั่งข้างหลัง ผบ.ร้อยนั่งข้างหน้าคู่คนขับ

พอออกมาจากหน่วยได้ไม่เท่าไร ฝนก็เริ่มเทลงมาทันที อย่างหนัก จนทำให้มองไม่เห็นถนนหนทางในระยะไกลได้และถนนก็ลื่นเพราะเป็นฝนต้นปี

ในตอนนั้นข้าพเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไรดี ก็เลยเอาพระคาถาชินบัญชรมาท่องเพื่อแก้เซ็ง พอท่องกำลังเพลินๆ ก็ปรากฏสิ่งไม่คาดฝันได้บังเกิดขึ้น

สิ่งนั้นก็คือได้มีรถสิบล้อพุ่งชนข้างหลังรถจี๊บอย่างแรงจนทำให้รถจี๊ปกระเด็นไปหลายเมตร ท่านผู้อ่านลองหลับตานึกถึงสภาพรถว่าจะเป็นสภาพเช่นไร เหมือนช้างชนหมู

ข้าพเจ้ายังคงนั่งงงอยู่บนรถ ส่วนคนขับและผบ.ร้อยหลุดกระเด็นตกจากรถทั้งคู่ไม่รู้ว่าไปกันได้อย่างไร พอข้าพเจ้าหายงง ก็ลงจากรถช่วยพยุง ผบ.ร้อยและคนขับรถส่งโรงพยาบาล ส่วนข้าพเจ้าไม่ได้รับอันตรายแต่อย่างใดเลย

ผบ.ร้อยและคนขับรถนั้นต้องรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเกือบเดือน ซึ่งสภาพตามความเป็นจริงแล้วข้าพเจ้านั่งอยู่ข้างหลัง แล้วรถชนข้างหลัง อันตรายย่อมมีจะมีมากกว่าคนที่อยู่ข้างหน้า อย่างแน่นอนแต่กลับตรงกันข้าม คนนั่งข้างหน้ากลับได้รับอันตรายมาก

ข้าพเจ้าเองก็ไม่ได้มั่นใจเรื่องอานุภาพของพระคาถาชินบัญชรหรอก เพราะคิดว่าอาจจะเป็นการบังเอิญมากกว่า

จนกระทั่งวันหนึ่ง ข้าพเจ้าก็ได้รับคำสั่งให้ไปปฏิบัติการพิเศษที่เขาค้อ อยู่ได้เดือนเศษๆ ผู้บังคับบัญชาท่านจะออกไปทำธุระที่ตัวจังหวัด ระหว่างทางลงจากเขาค้อถึงตัวจังหวัดก็ไม่ไกลนัก แต่เนื่องจากถนนหนทางในสมัยนั้นเป็นป่าทึบต้องขึ้นเขาลงห้วยเสื่ยงอันตรายต่างๆนานัปการ

พอส่งตัวผู้บังคับบัญชาที่ตัวจังหวัดแล้ว ท่านก็ให้ข้าพเจ้าเอารถกลับขึ้นฐานปฏิบัติการที่เขาค้อเพียงลำพังคนเดียวในช่วงบ่ายของปลายเดือนมิถุนายนของวันนั้น อยู่ๆฝนก็ได้ตกลงมาอย่างลืมหูลืมตา ไม่ขึ้นประกอบกับสภาพภูมิประเทศ จึงทำให้อากาศมืดครึ้ม เพราะปรกติอากาศบนเขาค้อจะหนาวเย็นหมอกหนาอยู่ตลอดเวลา บางวันจะไม่มีโอกาสได้เห็น แสงตะวันเลย

ข้าพเจ้าก็พยายามบังคับรถด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่อุบัติเหตุย่อมจะเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ประกอบกับข้าพเจ้าไม่ชำนาญ เส้นทางก็เป็นได้ คือไม่ว่าจะใช้ความพยายามสักเท่าไร รถก็ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เราคิดเสียแล้ว รถส่ายไปส่ายมาเหมือนงูอยู่ตลอดเวลา ในที่สุดความพยายามก็สิ้นสุดลง คือรถได้แหกโค้งและดิ่งลงเหวข้างทางลึกมาก

ก่อนที่ข้าพเจ้าจะหมดสติไปนั้น ข้าพเจ้าก็ได้ระลึกถึงพระคาถาชินบัญชรเป็นอันดับแรก และสิ้นสุดลงในเวลานั้น

ในความรู้สึกของข้าพเจ้าในขณะนั้น เหมือนกำลังฝันไปแต่ก็เหมือนครึ่งหลับครึ่งตื่น ในความสลัวและกำลังมึนงงอยู่นั้นก็ได้มีภิกษุแก่ๆรูปหนึ่ง ท่านได้มาฉุดมือของข้าพเจ้าให้ลุกขึ้นและท่านก็ได้พูดว่า "ลุกขึ้นเถอะลูก ตอนนี้ลูกปลอดภัยแล้วไม่ต้องกลัว"

ข้าพเจ้ารีบลุกขึ้นและมองไปรอบๆบริเวณนั้น แต่ไม่ปรากฏว่าจะพบผู้คนหรือพระภิกษุแก่ๆเลย ทำให้ข้าพเจ้าขนลุกซู่ไปทั้งตัว

และในเวลานั้นข้าพเจ้าก็ได้นึกถึงพระคาถาชินบัญชร ขึ้นมาได้ว่า ตอนที่ข้าพเจ้าจะหมดสติไป ข้าพเจ้าก็ได้นึกถึงพระคาถาชินบัญชร หลวงพ่อพุฒาจารย์โต (โต พรหมรังษี) ท่านคงจะมาช่วยลูกอย่างแน่แท้

(ในขณะนั้นข้าพเจ้าไม่รู้ว่า หลวงพ่อพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ท่านมีรูปลักษณะเช่นไร แต่พอเรื่องที่เกิดขึ้นกับข้าพเจ้าได้ผ่านไปแล้ว ข้าพเจ้าก็ได้เห็นรูปถ่ายของท่าน ซึ่งก็เหมือนในนิมิตของข้าพเจ้าไม่มีผิดเลย)

พอรู้สึกตัวอีกครั้งก็ปรากฏว่าอากาศบริเวณนั้นกำลังจะมืดมิด ไม่ทราบว่าข้าพเจ้าได้หมดสติไปนานเท่าไร ข้าพเจ้าตรวจดูสิ่งของต่างๆ ทุกอย่างอยู่ในสภาพดีพร้อมที่จะใช้งานได้ (นอกจากรถที่อยู่ก้นเหว)

ดูตามร่างกายส่วนต่างๆ ก็อยู่ในสภาพปรกติ ไม่ทราบเหมือนกันว่าข้าพเจ้าได้กระเด็นออกจากรถตั้งแต่เมื่อไร วิทยุติดต่อทางบก.ก็ติดต่อไม่ได้เลย เพราะว่าอยู่ในเหวลึกและระยะไกลเกิน

ข้าพเจ้าเลยอธิษฐานจิตกับหลวงพ่อพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) ว่าหากว่าท่านพ่อช่วยลูกจริงๆ แล้วละก็ ขอให้ลูกได้พบกับหน่วยใดหน่วยหนึ่งที่ใกล้ที่สุดแล้วจะได้ติดต่อทางหน่วยต้นสังกัด

ในความรู้สึกของข้าพเจ้าในตอนนั้น กำลังจะมึดมนหมดหนทางที่จะกลับฐานได้อย่างแน่นอน ก็เหลือเพียงหนทางเดียวเท่านั้น ก็ลองเสี่ยงดู พออธิษฐานจิตเสร็จข้าพเจ้าก็ท่องพระคาถาชินบัญชร ไปตลอดทาง ในระหว่างทางที่ข้าพเจ้ากำลังเดินลัดเลาะขึ้นเขาลงห้วยอยู่นั้น ก็คล้ายกับว่าข้าพเจ้ากำลังเดินกับเพื่อนๆ อีกตั้งหลายคน รู้สึกมีความอบอุ่นขึ้นจนทำให้ลืมเหตุการณ์ไปชั่วขณะหนึ่ง

และในที่สุดข้าพเจ้าก็ได้พบกับหน่วยทหารหน่วยหนึ่งที่กลับจากปฏบัติภารกิจผ่านมา ทำให้ข้าพเจ้าปลื้มปีติเป็นอย่างมาก ข้าพเจ้าก็ได้อาศัยทหารหน่วยนั้นกลับที่ตั้งฐานอย่างปลอดภัย


นี่ถ้าไม่ได้อานุภาพของพระคาถาชินบัญชรในครั้งนี้ป่านนี้ไม่รู้ว่าข้าพเจ้าจะอยู่ในสภาพเช่นไร?



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://bondsnet.dyndns.org/chinnabunchon.txt
http://board.palungjit.com/f129/อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร-74910.html
http://www.itti-patihan.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร

" ในโลกนี้อิทธิพลแพ้ อิทธิฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์แพ้บุญฤทธิ์ บุญฤทธิ์แพ้กรรมวิบากฤทธิ์กรรมลิขิต"

" เราบอกทุกครั้งว่าท่านไม่ต้องเชื่อเราแต่ให้พิจารณา "


พระคาถาชินบัญชรนี้เป็นบทสวดสรรเสริญถึงพระอรหันต์ 80 พระองค์ เพื่อให้ท่านมาสิงสถิตอยู่ในตัวเรา ที่หูเรา ที่จมูกเรา ที่ลิ้นเรา ที่ผมเราเป็นต้น เป็นพระคาถาเรียกว่ากำแพง 7 ชั้น คุ้มครองเรา แต่ต้องไม่เหนือกฎแห่งกรรม ในโลกนี้อิทธิพลแพ้ อิทธิฤทธิ์ อิทธิฤทธิ์แพ้บุญฤทธิ์ บุญฤทธิ์แพ้กรรมวิบากฤทธิ์กรรมลิขิต

ถ้ากฎแห่งกรรมเราทำชั่วมามากเกิดในปัจจุบันชาติ สมมติว่าฆ่าคนมามากท่านจะต้องถูกเขาฆ่าตาย ในเรื่องวิบากกรรมอดีตชาติ แต่ถ้าอดีตชาติท่านไม่ได้สร้างกรรมหนัก เช่น อดีตชาติท่านไม่เคยฆ่าคน ไม่เคยทำลายคน สร้างศีล สร้างแต่สมาธิ ทำแต่บุญกุศลหรือทำแต่ความดี ท่านสวดพระคาถาชินบัญชรทุกวันเช้าเย็น เรากล้าพูดว่าท่านจะเจริญยิ่งขึ้น

พระคาถานี้แปลกพิศดารท่านเชื่อหรือไม่ อันนี้ขอให้ท่านฟังไว้ประดับความรู้เล่นๆ เราบอกทุกครั้งว่าท่านไม่ต้องเชื่อเราแต่ให้พิจารณา มีอยู่ 2 อย่าง เราห้ามเขาไม่ได้ ความคิดคนเรา จะคิดอะไร? เราบังคับเขาไม่ได้ ถ้าบังคับเขาได้โลกนี้จะไม่เกิดศาสนาถึง 10 กว่าศาสนา ไม่เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ลัทธิเสรีประชาธิปไตย ลัทธิเผด็จการ นั่นคือ ความคิดเราห้ามกันไม่ได้

อีกสิ่งหนึ่งเราห้ามเขาให้เขาพูดแต่ความดีไม่ได้ 2 สิ่งนี้ที่ทำให้โลกวุ่น คือ ความคิดกับปากใครจะพูดอะไรเราก็ไปห้ามเขาไม่ได้ ขอให้ท่านฟังไว้เท่านั้น

สวดพระคาถาชินบัญชรแล้วทำไมสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นก็จะเกิด ทำไมเป็นอย่างนั้นถ้าท่านเชื่อเรื่องตายแล้ว ไม่สูญก็ขอบอกว่า พระคาถานี้ถ้าท่านสวดทุกวันเช้าเย็นแล้ว จะร่นภพร่นชาติ สมมติว่าท่านจะต้องเกิดอีก 10 ชาติ เอากรรมวิบากของท่าน 10 ชาติมารวมกันในชาตินี้ ให้ท่านใช้กรรมไปเลย ตายไปแล้วท่านจะได้ขึ้นสวรรค์ อยู่พรหมโลกหรือเทวโลก แล้วแต่กรรมวิบากหนักหรือเบา

อีกทั้ง เป็นกำแพงแก้วป้องกัน ถ้าคนในประเทศไทย ทั้งหมดสวดพระคาถาชินบัญชร ก็เท่ากับ ช่วยป้องกันประเทศ ชาติด้วย พระคาถานี้จะคุ้มครองครอบครัวเรา บารมีจากที่เราสวดจะแผ่ออกไปคุ้มครองประเทศชาติ และสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะเราถือว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นจุดศูนย์รวมของประเทศ ขอให้บารมีไปคุ้มครองพระมหากษัตริย์ก่อน แล้วถึงย้อนมาประเทศชาติ และครอบครัวเป็นที่หลัง นั่น คือเราตั้งสัจจะบารมีของเรา



สำหรับท่านที่มีจิตแน่วแน่สวดพระคาถาชินบัญชร สมมติว่าท่านป่วยเป็นโรคภัยไข้เจ็บธรรมดาเล็กๆ น้อยๆ หรือถูกผีเข้า ผีโป่ง ผีกระสืออะไรพวกนี้ พระคาถานี้รักษาได้ทันที ท่านสวดโดยตั้งทำน้ำมนต์อยู่ข้างหน้า กินเข้าไปรักษาได้ นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชร

เวลาสวดพระคาถาชินบัญชร ควรจะสวดอย่าเร็วนักหรือ ช้านัก เพราะว่าสวดพระคาถานี้เมื่อไร ผีเรือน ผีบ้าน รุกขเทวดา จะมาฟัง มาฟังรับบารมีพระคาถานี้ นี่คือความพิศดารของพระคาถานี้

เดินทางไปที่ไหนเข้าป่า หรือขับรถ จะป้องกันอุบัติเหตุได้ด้วย พระคาถาชินบัญชรทนต่อการพิสูจน์ด้วย ถ้าท่านไม่ใช่กรรมวิบากฤทธิ์อย่างหนัก ท่านสวดพระคาถาชินบัญชรท่านจะค้าขายทำมาหากินในทางสุจริต ขอให้ตอนเช้าใส่บาตรพระ 1 รูป ด้วย เรากล้ารับรองว่ากิจการของท่านจะเจริญรุ่งเรืองขึ้นมา ถ้าวิบากกรรมของท่านไม่หนัก



ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก
http://board.palungjit.com/f129/อานุภาพของพระคาถาชินบัญชร-74910.html
http://bondsnet.dyndns.org/morals01.html
http://www.rattanaamulet.com/
http://www.web-pra.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ขอบคุณมากค่ะ เข้าใจกระจ่างแจ้ง    :c017: :c017:
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
อยากทราบความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชร เห็นมีคนบอกว่าเป็นคาถาที่ศักดิ์สิทธิ์มากศักดิ์สิทธิ์อย่างไรค่ะ
ขอบคุณค่ะ


  หากศึกษาคำแปลของคาถาชินบัญชรแล้ว จะเห็นว่า ความศักดิ์ศิทธิ์ของคาถานี้ เกิดจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ๓ กลุ่ม คือ
  ๑. พระรัตนตรัย
  ๒. อสีติมหาสาวก ๘๐ รูป
  ๓. พระสูตรหรือพระปริตร



กลุ่มแรกพระรัตนตรัย

      เป็นการอัญเชิญพระพุทธเจ้าจำนวน ๒๘ พระองค์มาประดิษฐานอยู่บนศีรษะ
      อาราธนาพระธรรมให้มาอยู่ที่ดวงตาทั้งสอง และอาราธนาพระสงฆ์มาอยู่ที่อก


  รายพระนามของพระพุทธเจ้าทั้ง ๒๘ พระองค์มีดังนี้

๑. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่
๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม
๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ

๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์
๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา
๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด

๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้
๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสภู - ผู้ประทานความสุข
๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากย

________________________
ที่มา http://www.watkhaophrakru.com/webboard/index.php?topic=386.0


กลุ่มที่สองพระอสีติมหาสาวก

    เป็นการอัญเชิญพระอสีติมหาสาวกจำนวน ๘๐ องค์ของพระพุทธเจ้าโคตมะ(พระสมณะโคดม) มาอยู่ตามอวัยวะต่างๆ

     อสีติมหาสาวก พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์ บางทีเรียกอนุพุทธ ๘๐ องค์ มีรายนามตามลำดับอักษร ดังนี้ (ที่พิมพ์ตัวเอน คือท่านที่เป็นเอตทัคคะ ด้วย):
       กังขาเรวต, กัปป, กาฬุทายี, กิมพิละ, กุมารกัสสปะ, กุณฑธาน,
       คยากัสสปะ, ควัมปติ,
       จุนทะ, จูฬปันถก,
       ชตุกัณณิ,
       ติสสเมตเตยยะ, โตเทยยะ,
       ทัพพมัลลบุตร,
       โธตกะ,
       นทีกัสสปะ, นันทะ, นันทกะ, นันทกะ, นาคิตะ, นาลกะ,
       ปิงคิยะ, ปิณโฑลภารทวาช, ปิลินทวัจฉะ, ปุณณกะ, ปุณณชิ, ปุณณมันตานีบุตร, ปุณณสุนาปรันตะ, โปสาละ,
       พาลุกะ (พักกุละ ก็เรียก), พาหิยทารุจีริยะ,
       ภคุ, ภัททิยะ (ศากยะ), ภัททิยะ, ภัทราวุธ,
       มหากัจจายนะ, มหากัปปินะ, มหากัสสปะ, มหาโกฏฐิตะ, มหานามะ, มหาปันถก, มหาโมคคัลลานะ, เมฆิยะ, เมตตคู, โมฆราช,
       ยสะ, ยโสชะ,
       รัฏฐปาละ, ราธะ, ราหุล, เรวตะ ขทิรวนิยะ,
       ลกุณฏกภัททิยะ,
       วักกลิ, วังคีสะ, วัปปะ, วิมละ,
       สภิยะ, สาคตะ, สารีบุตร, สีวลี, สุพาหุ, สุภูติ, เสละ, โสณกุฏิกัณณะ, โสณโกฬิวิสะ, โสภิตะ,
       เหมกะ,
       องคุลิมาล, อชิตะ, อนุรุทธะ, อัญญาโกณทัญญะ, อัสสชิ, อานนท์, อุทยะ, อุทายี, อุบาลี, อุปวาณะ, อุปสีวะ, อุปเสนวังคันตบุตร, อุรุเวลกัสสปะ

___________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

รายนามของอสิีติมหาสาวกที่เอ่ยในคาถานี้ คือ

     ๑.พระอนุรุทธะ เอตทัคคะในทางผู้มีทิพยจักษุญาณ
     ๒.พระสารีบุตร (อัครสาวกฝ่ายขวา) เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา
     ๓.พระโมคคัลลาน์ (อัครสาวกฝ่ายซ้าย) เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์
     ๔.พระอัญญาโกณทัญญะ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู
     ๕.พระอานนท์ เอตทัคคะในทางผู้เป็นพหูสูตร ผู้มีสติ ผู้มีคติ ผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก
     ๕.พระราหุล เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
     ๖.พระกัสสะปะ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์
     ๗.พระมหานามะ อยู่ในกลุ่มปัญจวัคคคีย์ (ไม่ใช่เอตทัคคะ)

     ๘.พระโสภิตะ เอตทัคคะในทางระลึกปุพเพนิวาสานุสติญาณ
     ๙.พระเถระกุมาระกัสสะปะ เอตทัคคะในทางผู้แสดงธรรมอันวิจิตร
    ๑๐.พระปุณณะ(ชิ) เป็นเพื่อนของพระยสะกุลบุตร (ไม่ใช่เอตทัคคะ)
    ๑๑.พระอังคุลิมาล ผู้ตัดนิ้วมนุษย์ได้ ๙๙๙ นิ้ว (ไม่ใช่เอตทัคคะ)
    ๑๒.พระอุบาลี เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย
    ๑๓.พระนันทะ เอตทัคคะในทางผู้สำรวมอินทรีย์
    ๑๔.พระสีวะลี เอตทัคคะในทางผู้มีลาภมาก



กลุ่มที่สามพระสูตรหรือพระปริตร

  ๑.รัตนสูตร ทำให้ได้รับความสวัสดี และพ้นจากอุปสรรคอันตราย
  ๒.เมตตาสูตร ทำให้หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ฝันร้่าย เป็นที่รักของมนุษย์และอมนุษย์ จิตเกิดสมาธิง่ายฯ
  ๓.อังคุลิมาลปริตร ทำให้คลอดบุตรง่าย ป้องกันอุปสรรคอันตราย
  ๔.ธชัคคะสูตร ทำให้พ้นจากอุปสรรคอันตราย และการตกจากที่สูง
  ๕.ขันธปริตร ป้องกันจากอสรพิษ และสัตว์ร้ายทั้งหลาย
  ๖.โมรปริตร ป้องกันภัยจากผู้คิดร้าย
  ๗.อาฏานาฏิยสูตร ป้องกันภัยจากอมนุษย์ ทำให้มีสุขภาพดีและมีความสุข

_____________________________
ที่มา หนังสือพระปริตรธรรม (พระัคันธสาราภิวงศ์ฯ วัดท่ามะโอ)



พระคาถา ชินบัญชร (ฉบับย่อ)

" ชิ นะ ปัญ ชะ ระ ปะ ริต ตัง มัง รัก ขะ ตุ สัพ พา ทา"
:welcome: :49: :25: :)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ