ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จำเป็นต้องเข้าใจ อนัตตา หรือไม่ครับ หรือเพียงแค่ภาวนา ก็เพียงพอ  (อ่าน 4771 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

อัจฉริยะ

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 123
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือโดยรวมก็ไม่เข้าใจว่า อนัตตา เกี่ยวกับกรรมฐาน ส่วนไหน แล้วเราจำเป็นต้องเข้าใจ อนัตตา อย่างไร?
อนัตตา กับ สุญญตา เหมือนกันหรือไม่ ครับ หรือ ว่า อนัตตา คือ พระอรหันต์
แล้วพระอรหันต์ ทุกรูป ต้องรู้จักอนัตตาทุกรูป ทุกองค์หรือไม่ครับ
   :smiley_confused1: :c017: :s_hi:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ดูคำถามแล้วก็งงๆเหมือนกัน
แต่เท่าที่รู้ ถ้าเราพิจารณาอนัตตาก่อน อนิจจัง หรือทุกขัง มันจะเข้ากระแสธรรมง่ายกว่า
เพราะเราไม่ได้ยึดตัวกูของกู หรืออื่นๆด้วย ทำให้คลายความยึดมั่น ลดมานะทิฎฐิ
แล้วจะเห็นธรรมง่ายกว่า(ลองหาอ่านของท่านพุทธทาส) แม้แต่ของลพ.ฤาษี ท่านก็ให้พิจารณาว่าไม่ใช่เรา ไม่ได้เป็นเรา ไม่ได้เป็นของเราก่อนที่จะนั่งกรรมฐาน
ทีนี้ ผู้ที่ชอบทำบุญมากๆ เคยได้ยินมาว่า การที่จะเข้านิพพาน ตัวที่จะต้องพิจารณามากที่สุดคือทุกข์ ดังนั้นกว่าเราจะผ่านได้ก็จะต้องเจอแต่ทุกข์
ส่วนผมก็ชอบทำบุญ แต่เลือกอนัตตาก่อน
อาจจะไม่ตรงคำถามนะครับ ขอเป็นว่าให้ข้อมูลไว้พิจารณาเล่นๆ
บันทึกการเข้า

นิรมิต

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 89
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมคิดว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ ทีจะเข้าใจครับ เพราะดูจากที่พระอาจารย์ตอบ ๆ เรื่อง อนิจจสัญญาก่อน แสดงว่าท่านต้้องการให้ทำความเข้าใจเรื่องนี้ก่อน จึงเว้นเรื่อง อนัตตสัญญา ไว้

   เพราะคำว่า ธรรมใด ๆ ไม่ควรยึดมั่น ถือมั่น นั้นไม่เหมาะแก่ปุถุชน คนทั่วไป นะครับ

 ดังนั้นถ้าจะอธิบายหรือกล่าวเรื่องนี้ อย่างผ่าน ๆ นั้นผมว่าไม่สมเหตุสมผล ในการภาวนาครับ

  :coffee2: :67:
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7249
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ก็ลองแนะนำกันไปก่อนนะจ๊ะ เพราะว่าจะนำไว้อธิบายทีหลังจาก จบเรื่อง อนิจจสัญญา นะจ๊ะตามที่ตั้งใจไว้เป็นอย่างนั้น

 เจริญธรรม

 ;)
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
นมัสการ ครับ ความจริงหัวข้อนี้หลังจากที่ผมได้อ่านคำถามแล้ว คิดว่าพระอาจารย์จะตอบเป็นข้อแรก ครับแต่ก็เรื่องนี้ยังไม่ตอบผิดความคาดหมายผมมากครับ ทั้ง ๆ ที่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องเด่น ที่น่าตอบมาก เพราะไปตามสำนักต่างๆ ก็มักจะตอบเรื่อง อนัตตาเป็นเรื่องแรก

   สาธุ สาธุ สาธุ  :25:
บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมไม่มีความรู้ในส่วนลึกๆ
แต่ที่เคยทำมา ข้อที่เราจะได้แน่ๆคือ ลดมานะทิฎฐิของเราเอง เวทนาที่เจอจะเบาบางลง
แล้วจะเข้าใจธรรมง่ายขึ้น
มีเพื่อนผมคนนึง กรรมฐานเขาดีมาก เข้าออกฌานได้สบายๆ แต่เขาไปยึดหมดว่าเป็นเรา เราเก่งแล้ว
ดังนั้นเมื่อคนอื่นพูดอะไรไป เขาจะไม่เชื่อ จึงติดอยู่ตรงมานะนี่แหละ
แต่หากเรามองกลับกัน ถ้าเราไม่ต้องการที่จะติดอยู่ตรงนั้น ก็ลองพิจารณาเสียก่อนจะได้มีมานะทิฎฐิน้อยลง
ผมไม่ได้มาค้านกรรมฐานแบบมัชฌิมา แต่ให้ความรู้เพิ่มเติม ส่วนรายละเอียดต้องไปหาเอาเอง
บันทึกการเข้า

ประสิทธิ์

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +14/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 639
  • จิตว่าง ก็เป็นสุข
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คิดว่าประเด็น น่าจะอยู่ที่เป้าหมาย ในการภาวนามากกว่าครับ เพราะอนัตตา ถ้าเราภาวนาไปตามขั้นตอนในที่สุดก็จะต้องถึง เพราะจัดเป็นเขั้นสุดท้าย ครับ ส่วนการละทิฏฐิมานะ น่าจะละได้ที่ อนิจจตา นะครับ เพราะอนิจจตา ทำลาย อัสสมิมานะ โดยตรง ครับ

   :s_hi:

บันทึกการเข้า
ใครชอบ ใครชัง ช่างเถิด
ใครเชิด ใครชู ช่างเขา
ใครด่า ใครบ่น ทนเอา
ใจเรา ร่มเย็น เป็นพอ

:;

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การมีสติตามรู้อยู่ใน อารมณ์อันเป็นขันธ์ ๕ เช่นนี้อยู่เนืองๆ ก็จะเป็นการบ่มสติและอินทรีย์ ๕
ให้มีความเจริญต่อไปเป็นลำดับ เพื่อรู้ใน รูปนาม และเหตุปัจจัยตามเป็นจริง เมื่อมีปัญญา
รู้ชัดมากขึ้นไปเป็นลำดับ ก็จะดำเนินไปสู่หลักธรรมเบื้องสูง คือการรู้ในสภาวะสามัญญลักษณะ
ของรูปนามทั้งหลายตามเป็นจริง ที่ตั้งอยู่ในความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน
บันทึกการเข้า