ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การทำบุญต้องหวังผลบุญ ถ้าไม่หวังผลบุญ จะทำบุญเพื่ออะไร  (อ่าน 5905 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

colo

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 44
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่ค่อยจะเข้าใจกับคำว่า ทำบุญอย่าหวังผลบุญ

 ส่วนตัวคือเวลาทำบุญ ก็ต้องหวังได้ผลบุญ แต่บางครั้งพอฟัง พระบ้าง เพื่อน ๆ บ้างบอกว่า ทำบุญเพราะต้องการผลบุญจะไม่ได้ผลบุญ หรือได้บุญน้อย แล้วคืออะไร กันไม่เข้าใจ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นไปได้คะ

 ท่านผู้รู้ธรรม โปรดช่วยอธิบายให้เข้าใจ ด้วยคะ

  :49: :s_hi: :c017: :smiley_confused1: :25:
บันทึกการเข้า

modtanoy

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +0/-5
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 213
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
จขกท ได้บุญไปบ้างแล้วล่ะคะ
ทำบุญไม่ได้ยากเย็นขนาดนั้นนะจ๊ะ เอาแค่เราอ่านข้อความที่ จขกท พิมพ์มา
แล้วนึกยินดีที่เจอคนปฏิบัติธรรมเพิ่มอีกคนหนึ่ง

เราอนุโมทนาด้วยคะ เพียงแค่นี้เราเองก็ยังได้บุญด้วยเหมือนกัน
ถ้าจขกท ไม่แน่ใจจริงๆ หรือไม่เชื่อจริงๆ ว่าตนเองจะได้บุญ

งั้นก็ลองเริ่มต้นที่คอยอนุโมนาบุญที่คนอื่นทำก่อนก็ได้นะจ๊ธ ขอให้เจริญในธรรมนะคะ

บันทึกการเข้า

indy

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 101
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ตอบยากจัง
เป็นคำถามที่ผมเคยมีมาแล้วเหมือนกัน แต่ตอนนั้นแทบจะไม่หวังผลบุญเลย
แต่ก็มีท่านผู้รู้ท่านหนึ่งมาทักว่า ทำไปเรื่อยๆอย่างนี้ไม่มีจุดประสงค์ เลื่อนลอย ดูเหมือนกับว่าเราขาดความตั้งใจหรือขาดความแน่วแน่ อะไรทำนองนั้น ก็เลยคิดว่าเราต้องเพิ่มความตั้งใจอีกนิดนึง
บันทึกการเข้า

fasai

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 540
  • ทางสายกลาง
  • Respect: +1
    • ดูรายละเอียด
0
บุญ จะทำหวัง หรือ ไม่หวัง ก็ต้องได้ผลบุญอยู่แล้วคะ จะมาก จะน้อย อยู่ที่ศรัทธา ความตั้งใจ องค์ประกอบ บริสุทธิ์ เจตนา คะ

  :49:
บันทึกการเข้า
ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นไปตามกรรม
ใครสร้างกรรมอย่างไร ก็รับผลกรรมอย่างนั้น

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


1.4.1 บุญ คือ สิ่งที่เป็นเครื่องกำจัดกิเลส ซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญของชีวิต

      ความหมายของบุญ  คือ เป็นเครื่องชำระล้างใจให้ใสสะอาด ให้ห่างไกลจากกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งหลาย

      ทางมาแห่งบุญ หรือวิธีการเพื่อให้ได้บุญมาขจัดอุปสรรคของชีวิต เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ  คือ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หรือเรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ เป็นหนทางในการทำความดี หรือเป็นทาง มาแห่งบุญนั่นเอง มี 3 ประการ  คือ
                 1. ทานมัย              บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน เพื่อกำจัดความโลภ
                 2. ศีลมัย                บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล เพื่อกำจัดความโกรธ
                 3. ภาวนามัย          บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา เพื่อกำจัดความหลง



      ผลที่ได้จากการบำเพ็ญบุญ
      ผลที่ได้จากการบำเพ็ญบุญ ด้วยการทำทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา อาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
                1. ความสุขใจ อย่างน้อยที่สุดความรู้สึกสบายใจ สุขใจ ย่อมเกิดกับผู้นั้น
                2. นิสัยที่ดี เมื่อทำมากเข้า ความดีนี้ย่อมติดเป็นนิสัยประจำตัว
                3. ได้บุญ นี้ถือเป็นผลในส่วนละเอียดที่สัมผัสได้ด้วยใจที่สะอาดบริสุทธิ์


      ดังนั้น บุคคลใดสั่งสมบุญได้มาก อุปสรรคในชีวิตก็จะน้อย หากบุญน้อย อุปสรรคในชีวิตก็มาก บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ คือ มีความเชื่อมั่นในบุญ ย่อมเป็นผู้ที่รักในการสั่งสมบุญอย่างสม่ำเสมอ ทำทั้งทาน ศีล ภาวนา เป็นประจำ เพราะมั่นใจว่าทั้ง 3 ประการนี้เป็นทางมาแห่งบุญ



อ้างอิง
หนังสือวิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=383&page=12
ขอบคุณภาพจาก http://www.livekalasin.com/





2.4 ทำบุญ กับ ทำทาน        

     คนทั่วไปมักใช้สำนวน "ทำบุญ ทำทาน" ไปคู่กัน หรือใช้แทนกันจนคุ้นเคย
     โดยเวลาถวายของแด่พระภิกษุสงฆ์ เรามักใช้คำว่า "ทำบุญ" เพราะจิตใจของผู้ให้มีความศรัทธา ต้องการบุญกุศล จึงให้เพื่อชำระใจของตนให้ใสสะอาดบริสุทธิ์
     แต่เมื่อให้ของแก่คนยากจน หรือคนที่ต่ำกว่า ด้อยกว่าตน ก็มักใช้คำว่า "ทำทาน" แทน เพราะจิตใจของผู้ให้มุ่งไปในทางสงเคราะห์ หรืออนุเคราะห์แก่คนยากจน


     "บุญ" คือสิ่งที่เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจแล้ว จะทำให้จิตใจใสสะอาด ปราศจากความเศร้าหมอง ขุ่นมัว

     บุญทำให้ใจมีคุณภาพดีขึ้น คือ ใจจะตั้งมั่นไม่หวั่นไหว มีความบริสุทธิ์ สะอาด โปร่งโล่ง สบาย สงบ สว่างไสว เป็นสุข และบุญที่เกิดขึ้นนั้น ยังสามารถสะสมเก็บไว้ในใจได้อีกด้วย

     ในทางพระพุทธศาสนา มีวิธีทำบุญด้วยกันถึง 10 วิธี (บุญกิริยาวัตถุ) ดังต่อไปนี้ คือ
            1. ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้
            2. สีลมัย บุญที่สำเร็จด้วยการรักษาศีล
            3. ภาวนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการเจริญสมาธิภาวนา
            4. อปจายนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน
            5. เวยยาวัจจมัย บุญที่สำเร็จด้วยการให้ความช่วยเหลือ ขวนขวายในกิจการงานที่ถูกที่ควร
            6. ปัตติทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการอุทิศส่วนบุญกุศลให้แก่ผู้อื่น
            7. ปัตตานุโมทนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการอนุโมทนา (แสดงความยินดี) ในการทำบุญกุศล หรือการทำความดีของผู้อื่น                   
            8. ธัมมัสสวนมัย บุญที่สำเร็จด้วยการฟังธรรม
            9. ธัมมเทสนามัย บุญที่สำเร็จด้วยการแสดงธรรม
           10. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญที่สำเร็จด้วยการทำความเห็นให้ถูกต้องดีงาม ตรงตามความเป็นจริง (สัมมาทิฏฐิ)


    การทำบุญทั้ง 10 วิธีนั้น สามารถย่อให้ง่ายขึ้นเป็นบุญกิริยาวัตถุ 3 ประการ คือ ทาน ศีล และภาวนา ก็ได้ โดย
           ทาน ประกอบด้วย ทานมัย (ข้อ 1), ปัตติทานมัย (ข้อ 6), ปัตตานุโมทนามัย (ข้อ 7)
           ศีล ประกอบด้วย สีลมัย (ข้อ 2), อปจายนมัย (ข้อ 4), เวยยาวัจจมัย (ข้อ 5)
           ภาวนา ประกอบด้วย ภาวนามัย (ข้อ 3), ธัมมัสสวนมัย (ข้อ 8) และ ธัมมเทสนามัย (ข้อ 9)


           ส่วนทิฏฐุชุกัมม์ (ข้อ 10) สามารถจัดเข้าได้ทั้งทาน ศีล และภาวนา

           ดังนั้น การทำทานหรือการให้ (ทานมัย) จึงจัดเป็นหนึ่งในวิธีการทำบุญ หรืออาจกล่าวได้ว่า การทำทาน เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดบุญขึ้นในใจของผู้ให้นั่นเอง



อ้างอิง
หนังสือวิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=384&page=7
ขอบคุณภาพจาก http://www.chaobuddha.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


2.5 วัตถุประสงค์ของการให้ทาน          

เหตุที่ให้ทาน       
     พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุที่ทำให้คนทำทานไว้หลายประการด้วยกัน เช่น ใน ปฐมทานสูตร ตรัสถึงเหตุที่บางคนให้ทานไว้ 8 ประการ คือ
        (1) บางคนให้ทานเพราะหวังอยากได้
        (2) บางคนให้ทานเพราะความกลัว
        (3) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเขาเคยให้แก่เรามาก่อน
        (4) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเขาจะให้เราตอบแทน
        (5) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าทานเป็นความดี
        (6) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเราหุงหากินได้ แต่คนเหล่านี้หุงหากินไม่ได้ การไม่ให้แก่คนเหล่านี้ เป็นสิ่งไม่สมควร                       
        (7) บางคนให้ทานเพราะคิดว่ากิตติศัพท์อันดีงามย่อมขจรขจายไป
        (8) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น

     
 
     ส่วนใน ทานวัตถุสูตร  ตรัสถึงเหตุอีก 8 ประการ คือ
        (1) บางคนให้ทานเพราะชอบพอกัน
        (2) บางคนให้ทานเพราะความโกรธ
        (3) บางคนให้ทานเพราะความหลง หรือโง่
        (4) บางคนให้ทานเพราะความกลัว
        (5) บางคนให้ทานเพราะนึกว่าบิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เคยให้มา เคยทำมา เราไม่ควรทำให้ เสียวงศ์
ตระกูลดั้งเดิม
        (6) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าเมื่อตายจะได้ไปสุคติโลกสวรรค์
        (7) บางคนให้ทานเพราะคิดว่าจิตใจย่อมเลื่อมใส ความเบิกบานใจ ความดีใจ ย่อมเกิดขึ้นตามมา
        (8) บางคนให้ทานเพื่อยกระดับจิตใจให้ดีงาม มีคุณภาพสูงขึ้น


    ในบรรดาเหตุของการให้ทานทั้งหลายเหล่านั้น
    ทานบางอย่างเรา ไม่จัดเป็นการให้ทานที่ถูกต้อง
    ตรงตามวัตถุประสงค์ของการทำทาน ในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง
    เช่น การให้เพราะหวังอยากได้ เนื่องจากเป็นการให้ด้วยใจที่ไม่บริสุทธิ์





       วัตถุประสงค์ของการให้ทาน
       อาจแบ่งตามลักษณะของการให้ ที่ประพฤติปฏิบัติตามกันมาได้ 4 อย่าง คือ


           1. การให้เพื่อชำระกิเลส คือความตระหนี่ในใจของผู้ให้ เรียกว่า บริจาคทาน หมายถึง การให้ ด้วยการเสียสละเพื่อกำจัดความขุ่นมัวแห่งจิต โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้รับจะเป็นใครก็ตาม การให้แบบนี้ได้บุญ มากที่สุด ยิ่งเรามีใจที่บริสุทธิ์ และให้แก่ผู้ที่บริสุทธิ์มาก ก็จะยิ่งได้บุญมาก

           2. การให้เพื่อตอบแทนคุณความดี เรียกว่า ปฏิการทาน หมายถึงการให้เพื่อตอบแทน หรือบูชาคุณความดีแก่ผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า หรือผู้ที่มีอุปการะแก่ตน การให้แบบนี้ ผู้ให้อาจจะไม่นึกถึงบุญ แต่นึกถึงเฉพาะคุณความดีของท่าน เช่น การให้สิ่งของแด่พ่อแม่ ครูบาอาจารย์ และบุคคลต่างๆ เป็นต้น  การให้เพื่อบูชาคุณความดีอย่างนี้ หากผู้ให้ได้นึกถึงบุญไปด้วย จะทำให้มีผลานิสงส์มากยิ่งขึ้น

           3. การให้เพื่อสงเคราะห์ เรียกว่า สังคหทาน หมายถึง การให้เพื่อผูกมิตร ยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน ในกลุ่มคนที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับตน ไม่ว่าจะเป็นโดยส่วนตัว หรือโดยหน้าที่การงานก็ตาม โดยมุ่งที่จะให้เกิดคุณประโยชน์แก่ผู้รับเป็นสำคัญ

           4. การให้เพื่ออนุเคราะห์  เรียกว่า อนุคหทาน หมายถึงการให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลแก่คนยากจน ด้วยจิตเมตตาสงสาร เมื่อเห็นเขาตกทุกข์ได้ยาก ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร จะมีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับ ตนหรือไม่ก็ตาม ก็อนุเคราะห์ช่วยเหลือกันตามกำลัง



อ้างอิง
หนังสือวิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=384&page=8
ขอบคุณภาพจาก http://learners.in.th/,http://gotoknow.org
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 20, 2012, 12:39:19 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



3.2 องค์ของการทำทานที่ได้บุญมาก

     องค์ของการทำทาน หรือเรียกว่า ทานสมบัติ ในทางพระพุทธศาสนามุ่งสอนในเรื่องของการให้ เพื่อทำให้ใจของเราสะอาดบริสุทธิ์ ยิ่งมีความบริสุทธิ์สะอาดมาก ก็จะได้ผลคือบุญมาก โดยผู้ให้จะต้องทำให้ครบด้วยองค์ทั้ง 3 ที่เรียกว่าทานสมบัติ 3 ข้อ คือ
           1. วัตถุบริสุทธิ์
           2. เจตนาบริสุทธิ์
           3. บุคคลบริสุทธิ์



      3.2.1 วัตถุบริสุทธิ์  หมายถึง สิ่งของที่จะทำทาน จะเป็นอะไรก็ตาม จะซื้อเขามาหรือขอเขามาก็ได้ แต่ต้องเป็นสิ่งของที่เราทำมาหาได้โดยสุจริต ไม่ได้ลักขโมย คดโกง เบียดเบียน หรือหลอกลวงเขามา ถ้าเป็นของซื้อ เงินที่ซื้อจะต้องเป็นเงินที่เราทำมาหากินได้โดยสุจริตธรรม และที่สำคัญของที่ให้นั้นต้องไม่น้อมนำให้เกิดอกุศลใดๆ เช่น ต้องไม่ให้สิ่งเสพติด อาวุธ หรือสื่อยั่วยุทางกามารมณ์ เป็นต้น ทานนี้จึงจะชื่อว่าบริสุทธิ์





      3.2.2 เจตนาบริสุทธิ์ หมายถึง เจตนาของผู้ที่ให้ จะต้องให้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ มุ่งให้เกิดความ  ดีงาม ให้ใจใส ใจสะอาด ไม่ได้ให้เพื่ออวดมั่งมี อวดรวย อวดดี หรือโอ้อวดอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นต้น เพราะการให้เช่นนั้น จะเป็นการให้ที่มีเจตนาเห็นแก่ตัว ทำไปแล้วใจจะไม่สบาย ใจไม่บริสุทธิ์ ในข้อนี้จึงสนับสนุนและชี้ให้เห็นว่า การให้สังฆทานเป็นการทำทานที่มีผลสูงสุด เพราะผู้ให้ตัดเจตนาเห็นแก่ตัวออกไปทั้งหมด ซึ่งตรง กับวัตถุประสงค์ของการทำทานอย่างแท้จริง

           เจตนาจะบริสุทธิ์เต็มที่ ผู้ให้ต้องรักษาใจให้มีความบริสุทธิ์ให้ได้ทั้ง 3 กาล คือ

           - ปุพพเจตนา หมายถึง เจตนาก่อนที่จะทำทาน เช่น ตั้งใจว่าพรุ่งนี้เช้าจะตักบาตร ก็มีความดีใจ ปลื้มใจ ปีติใจว่าเราจะได้ทำบุญด้วยการให้ทาน หรือนึกถึงความโชคดีของเราที่มีโอกาสได้ให้ทานในคราวนี้ เพราะในบางทีที่เราไม่มีไทยธรรม ก็ให้ทานไม่ได้ บางทีมีไทยธรรม แต่กลับไม่มีศรัทธา ก็ให้ทานไม่ได้ หรือบางทีมีทั้งไทยธรรม มีทั้งศรัทธา แต่กลับไม่มีปฏิคาหก (ผู้รับทาน) ก็ให้ทานไม่ได้ แต่ในคราวนี้ เรามีความพร้อมทั้งไทยธรรม ทั้งศรัทธา และมีปฏิคาหกมารับทานของเรา คิดดังนี้ ใจก็มีความชุ่มชื่นยินดีที่จะได้ให้ทานนั้น

           - มุญจนเจตนา หมายถึง เจตนาในขณะกำลังให้ เช่น ในเวลาตักบาตร ก็มีใจเลื่อมใส คือเลื่อมใส ทั้งในคุณธรรมความดีงามของพระภิกษุผู้มารับทานของเรา และเลื่อมใสเพราะเคารพในทานที่เราให้ด้วย อาการนอบน้อม ยินดีที่ได้ทำ เต็มอกเต็มใจถวายทานนั้น ทั้งไม่ยอมให้อารมณ์ขุ่นมัวเกิดขึ้นในขณะที่ทำเลย

           - อปราปรเจตนา หมายถึง เจตนาหลังจากที่ให้ทานแล้ว เช่น หลังจากตักบาตรเรียบร้อยแล้ว ก็มีแต่ความแช่มชื่นเบิกบานใจ ครั้นตามระลึกนึกถึงการให้ทานเมื่อไร ก็ปลาบปลื้มยินดี มีแต่ความสุขใจ ว่าเราได้ทำทานกุศลที่ยิ่งใหญ่ โดยไม่มีความร้อนใจ หรือนึกเสียดายสิ่งที่ให้ไปแล้วเลย

     การรักษาเจตนาให้สะอาดบริสุทธิ์ทั้ง 3 กาลนี้เป็นสิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง เพราะในความเป็นจริงแล้ว  ผู้ให้ที่ยังตัดความตระหนี่ออกจากใจไม่ได้เด็ดขาด หรือคาดหวังบางสิ่งบางอย่างจากการให้ทานมากเกินไป ย่อมมีโอกาสที่ใจจะหวั่นไหว จนทำให้บุญที่ควรจะได้ตกหล่นไปอย่างน่าเสียดายเหมือนกัน เช่นในบางครั้งได้ผู้ รับทานที่ไม่มีศีล หรือมีกิริยาอาการไม่น่าเลื่อมใส ผู้ให้อาจเกิดความเศร้าเสียใจ นึกเสียดายของที่จะให้ไป หรือไม่พอใจที่ต้องให้กับคนเหล่านั้น เป็นต้น

    ดังนั้น จึงต้องระวังรักษาจิตเจตนานี้ให้บริสุทธิ์มั่นคงทั้ง 3 กาล
     เพื่อให้เป็นทานที่บริบูรณ์ และ เกิดบุญอย่างเต็มที่

                        ทายก (ผู้ให้) ก่อนแต่จะให้ทาน เป็นผู้ดีใจ
                        กำลังให้ทานอยู่ย่อมยังจิตให้เลื่อมใส
                        ครั้นให้ทานแล้วย่อมปลื้มใจ
                        นี้เป็นยัญสมบัติ (ความบริบูรณ์ของทาน)





      3.2.3 บุคคลบริสุทธิ์  หมายถึง บุคคลสองฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับทานนั้น คือ ผู้ให้และผู้รับ ต้องเป็น คนที่บริสุทธิ์ ทายก (ผู้ให้) ต้องเป็นผู้มีศีลธรรม ฉะนั้นก่อนถวายทาน จึงมีประเพณีสมาทานศีลก่อน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งปฏิคาหก (ผู้รับ) ต้องมีศีลาจารวัตรงดงาม มีคุณธรรมสูง ดังที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ ตรัสถึงความสำคัญของผู้ให้และผู้รับไว้ใน ทักขิณาวิภังคสูตร ว่า

                                 ผู้ใดมีศีล ได้ของมาโดยธรรม
                                 มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                                 ให้ทานในคนมีศีล
                                 เรากล่าวทานของผู้นั้นแลว่า มีผลไพบูลย์
                                 ผู้ใดปราศจากราคะแล้ว ได้ของมาโดยธรรม
                                 มีจิตเลื่อมใสดี เชื่อกรรมและผลของกรรมอย่างยิ่ง
                                 ให้ทานในผู้ปราศจากราคะ
                                 ทานของผู้นั้นนั่นแล เลิศกว่าอามิสทานทั้งหลาย



อ้างอิง
หนังสือวิถีชาวพุทธ
http://main.dou.us/view_content.php?s_id=385&page=5
ขอบคุณภาพจาก http://www.livekalasin.com/,http://123.242.164.132/,http://mcot-image01.mcot.gtis.co.th/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ไม่ค่อยจะเข้าใจกับคำว่า ทำบุญอย่าหวังผลบุญ

 ส่วนตัวคือเวลาทำบุญ ก็ต้องหวังได้ผลบุญ แต่บางครั้งพอฟัง พระบ้าง เพื่อน ๆ บ้างบอกว่า ทำบุญเพราะต้องการผลบุญจะไม่ได้ผลบุญ หรือได้บุญน้อย แล้วคืออะไร กันไม่เข้าใจ ทำไมจึงเป็นอย่างนั้นไปได้คะ

 ท่านผู้รู้ธรรม โปรดช่วยอธิบายให้เข้าใจ ด้วยคะ

  :49: :s_hi: :c017: :smiley_confused1: :25:

 
    ผมไม่ทราบว่า คำว่า "บญ" ของคุณcolo เป็นบุญประเภทไหน เป็นทาน ศีล หรือ ภาวนา
   ผมจะยกตัวอย่างเรื่อง "ทาน" มาคุยกัน
   เพื่อความเข้าใจ ในเบื้องต้นขอให้อ่านบทความที่ผมโพสต์ก่อน

   การทำทานนั้น เจตนาของผู้ทำทาน ลึกๆแล้วทุกคนหวังผลด้วยกันทั้งนั้น
   การทำทานโดยหวังผลนั้น ควรแยกแยะจุดประสงค์
           1. การให้เพื่อชำระกิเลส
           2. การให้เพื่อตอบแทนคุณความดี
           3. การให้เพื่อสงเคราะห์
           4. การให้เพื่ออนุเคราะห์


   "การให้เพื่อชำระกิเลส คือ ความตระหนี่ในใจของผู้ให้ เรียกว่า บริจาคทาน หมายถึง การให้ ด้วยการเสียสละเพื่อกำจัดความขุ่นมัวแห่งจิต โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้รับจะเป็นใครก็ตาม การให้แบบนี้ได้บุญ มากที่สุด ยิ่งเรามีใจที่บริสุทธิ์ และให้แก่ผู้ที่บริสุทธิ์มาก ก็จะยิ่งได้บุญมาก"

   การทำบุญโดยไม่หวังผล ที่คุณcolo สงสัย น่าจะหมายถึง การให้เพื่อชำระกิเลส

  สุดท้าย มีผู้รู้ท่านหนึ่งยกตัวอย่างขึ้นมา เพื่อให้คำตอบว่า "ยิ่งหวังผลน้อยเท่าไหร่ ยิ่งได้ผลมากเท่านั้น"
       ทำบุญ ๑๐๐ บาท อยากได้คืน ๒๐๐ บาท
       หากนำ ๑๐๐ ต้อง หารด้วย ๒๐๐ ผลลัพธ์ คือ ๐.๕

       หากอยากได้คืน ๑๐๐ เท่ากับ ๑๐๐ หารด้วย ๑๐๐ ผลลัพธ์ คือ ๑
       หากอยากได้คืน ๕๐  เท่ากับ ๑๐๐ หารด้วย ๕๐  ผลลัพธ์ คือ ๒
       หากอยากได้คืน ๒๕  เท่ากับ ๑๐๐ หารด้วย ๒๕  ผลลัพธ์ คือ ๔

       หากไม่อยากได้คืนเลย ความต้องการเท่ากับ ๐ (ศูนย์) ตัวเลขจะเป็นดังนี้
       ๑๐๐ หารด้วย ๐ ผลลัพธ์ออกมาคือ E หรือ infinity
       ตัวเลขที่ออกมาจะมีค่าเป็น "อนันต์" หรือมากมายไม่รู้จบนั่นเอง


   ดังนั้น ยิ่งหวังผลบุญน้อยเท่าไหร่ ผลบุญที่ได้จะมากยิ่งขึ้น ไม่หวังเลย ก็จะได้มากมายไม่รู้จบ

       :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ