ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
หน้า: [1] 2 3 ... 10
 1 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:36:59 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 2 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 04:27:23 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 3 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:57:31 pm 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 4 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 01:33:44 pm 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 5 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 11:18:00 am 
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้

 6 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 09:37:04 am 
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1
ดันกระทู้ 

 7 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 08:29:48 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



การสวดมนต์ไหว้พระ

การสวดมนต์ไหว้พระเป็นการสร้างมนต์ชีวิตไว้ประจําตัว เป็นการดํารงชีวิตอยู่อย่างไม่ประมาทและสร้างพลังจิต ยังความมั่นคงให้เกิดขึ้นกับตนเองในการดํารงชีวิตประจําวันให้มีสติระลึกอยู่เสมอในการที่จะประพฤติชอบ ในกรอบของศีลธรรม อันเป็นการนําความสุขความเจริญมาสู่ตนเอง เป็นชีวิต ที่มั่นคง และจักส่งผลให้เกิดความมั่นคงทั้งต่อตนเองและประเทศชาติ

ประเภทของการสวดมนต์

การสวดมนต์มีอยู่ ๒ แบบ คือ

    ๑. การสวดมนต์เป็นบทๆ เป็นคําๆ เรียกว่า แบบบทภาณะ เช่น แบบที่พระสงฆ์สวดกันอยู่ทั่วไปในวัดหรือในงานพิธีต่าง ๆ

    ๒. การสวดแบบใช้เสียงตามทํานองของบทประพันธ์ ฉันทลักษณ์ต่างๆ เรียกว่า แบบสรภาณะ เช่น แบบที่พระสงฆ์สวดในงานพิธีรับเทศน์หรือ ในเทศกาลพิเศษ เช่น การสวดในวันวิสาขบูชา วันมาฆบูชา เป็นต้น วิธีสวดแบบ สรภาณะ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สรภัญญะ” (อ่านว่า สะ-ระ-พัน-ยะ) และ ต่อมาได้วิวัฒนาการให้พระสงฆ์เทศน์เป็นทํานองแหล่ขึ้น ในบททํานองร่ายยาว เช่น ในเรื่องพระเวสสันดรชาดกจนถึงปัจจุบัน

    การสวดมนต์ทํานองสรภัญญะด้วยภาษาบาลี มีมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ส่วนการสวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัย ทํานองสรภัญญะ ที่เป็นภาษาไทย สันนิษฐานว่า น่าจะมีขึ้นประมาณรัชกาลที่ ๕ ด้วยเหตุผลว่า คําประพันธ์ สวดมนต์สรรเสริญพระรัตนตรัยที่เป็นภาษาไทย (คือ องค์ใดพระสัมพุทธ ฯลฯ ญ ภาพนั้นนิรันดร, ธรรมะคือคุณากร ฯลฯ ด้วยจิตและกายวาจา และสงฆ์ใด สาวกศาสดา ฯลฯ จึงดับและกลับเสื่อมสูญ) ที่เป็นบทฉันทลักษณ์ต่างๆ ซึ่งใช้สวดในปัจจุบันนี้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เป็นผู้ประพันธ์


อานิสงส์ของการสวดมนต์

    ๑. ขจัดนิวรณ์ อันเป็นอุปสรรคต่อการทําความดี ก่อให้เกิด ความสดชื่นแจ่มใส จิตใจเบิกบาน
    ๒. ได้ศึกษาคําสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามหลักไตรสิกขา เพราะในขณะสวดมนต์มีกาย วาจาปกติ (มีศีล) มีใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับ บทสวดมนต์ (มีสมาธิ) ได้รู้คุณความดีของพระรัตนตรัยตามคําแปลของบทสวด (มีปัญญา)
    ๓. ตัดรากเหง้าแห่งความเห็นแก่ตัว เพราะขณะสวดมนต์จิตจดจ่อ
อยู่ที่บทสวด ไม่คิดถึงตัวเอง ความโลภ ความโกรธ ความหลง จึงไม่ได้โอกาส เข้ามาแทรกในจิตได้
    ๔. จิตไม่ขุ่นมัว เกิดสมาธิมั่นคง เพราะขณะสวดมนต์ผู้สวดจะต้อง สํารวมใจแน่วแน่ ด้วยเกรงว่าจะสวดผิด จิตจึงเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นย่อมเกิดขึ้น
    ๕. ได้เสริมส่งปัญญาบารมี การสวดมนต์ได้รู้คําแปล รู้ความหมาย ย่อมทําให้ผู้สวดได้ปัญญาบารมี ทําให้คําสอนมั่นคง ไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม
    6. สืบสานความดีสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะการสวดมนต์ ผู้สวดย่อมได้รู้แนวทางปฏิบัติในการดําเนินชีวิตที่ดี เมื่อปฏิบัติตามย่อมได้รับผล เป็นความสะอาด สว่าง สงบของจิตใจ นั่นคือพระพุทธศาสนามั่นคงอยู่กับผู้สวดมนต์ และถือได้ว่าได้ปฏิบัติบูชาสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวต่อไปโดยแท้จริง
    ๗. ทําหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกาให้สมบูรณ์ ผู้สวดมนต์ย่อมได้ชื่อว่า ได้ทําหน้าที่ของอุบาสกอุบาสิกาให้สมบูรณ์ เป็นแบบอย่างให้ผู้อื่นปฏิบัติตาม เกิดความสามัคคีในสังคมและหมู่คณะ



ขอบคุณที่มา : หนังสือแบบฝึกสวดมนต์หมู่สรรเสริญพระรัตนตรัย



 :25: :25: :25:

สรภัญญะ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สรภัญญะ (คำอ่านภาษาไทย: /สะระพันยะ/ หรือ /สอระพันยะ/) คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ มักใช้สวดบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา

การสวดฉันท์ทำนองสรภัญญะมีมานานตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ก่อนหน้านั้นนิยมสวดฉันท์ภาษาบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และผู้สวดส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ ทำนองสรภัญญะไม่แพร่หลายนัก ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ป.ธ.8 องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชกาลที่ 5 แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นฉันท์ภาษาไทย เรียก "คำนมัสการคุณานุคุณ" มี 5 ตอน คือ

    - บทสรรเสริญพระพุทธคุณ
    - บทสรรเสริญพระธรรมคุณ
    - บทสรรเสริญพระสังฆคุณ
    - บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และ
    - บทสรรเสริญอาจาริยคุณ ตามลำดับ

บทประพันธ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้สวดกันโดยทั่วไป และเนื่องจากบาทแรกเริ่มว่า "องค์ใดพระสัมพุทธ" จึงมักเรียว่า "บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ"

นอกจากบทสรรเสริญพระรัตนตรัยแล้ว ทำนองสรภัญญะยังใช้สวดคาถาบทอื่นอีก เช่น บทแปลคาถาพาหุงซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเริ่มว่า "ปางเมื่อพระองค์ปรมพุทธ"




ขอบคุณที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/สรภัญญะ


.



ขับร้องสรภัญญะ

ความเป็นมา (ภูมิหลัง/ความเชื่อ)

สรภัญญ์ คือ ทำนองสำหรับสวดฉันท์ เป็นทำนองแบบสังโยค คือ สวดเป็นจังหวะหยุดตามรูปประโยคฉันทลักษณ์ มักใช้สวดบูชาพระรัตนตรัยในพระพุทธศาสนา การสวดฉันท์ทำนองสรภัญญะมีมานานตั้งแต่สมัยรัชการที่ ๔ ก่อนหน้านั้นนิยมสวดฉันท์ภาษาบาลี มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา และผู้สวดส่วนใหญ่เป็นพระสงฆ์ทำนองสรภัญญะไม่แพร่หลายนัก

ต่อมา พระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) ป.ธ.๘ องคมนตรีและเจ้ากรมพระอาลักษณ์ในรัชการที่ ๕ แปลบทสรรเสริญคุณต่าง ๆ เป็นฉันท์ภาษาไทย เรียก "คำนมัสการคุณานุคุณ" มี ๕ ตอน คือ บทสรรเสริญพระพุทธคุณ บทสรรเสริญพระธรรมคุณ บทสรรเสริญพระสังฆคุณ บทสรรเสริญมาตาปิตุคุณ และบทสรรเสริญอาจาริยคุณตามลำดับ บทประพันธ์นี้ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน ใช้สวดกันโดยทั่วกัน และเนื่องจากบาทแรกเริ่มว่า "องค์ใดพระสัมพุทธ" จึงมักเรียกว่า บทสวดองค์ใดพระสัมพุทธ"

ประวัติสรภัญญ์ เป็นทำนองสวดทำนองหนึ่ง มีจุดกำเนิดมาจากการสวดทางพุทธศาสนา เป็นทำนองเทศน์ในตอนแรก เทศน์โปรดพุทธศาสนิกชน ต่อมาจึงฝึกให้ฆารวาสร้อง การร้องในภาคอีสาน มีกันแพร่หลายในเทศกาลเข้าพรรษา ซึ่งเป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการทำงาน และรอช่วงการเก็บเกี่ยวมาถึง ชาวบ้านใช้เวลานี้ไปร่วมทำบุญที่วัด เช่น จัดทำดอกไม้ ในสมัยก่อนจัดทำน้ำมันพืช เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงจุดให้มีแสงสว่างพอที่พระสงฆ์จะใช้เวลากลางคืน

นอกจากนี้มีสตรีจับกลุ่มกันร้องสรภัญญ์โดยมีรุ่นเก่าเป็นครูฝึก ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษาหมู่บ้านต่าง ๆ จะมีประเพณีทอดเทียน ทอดสาด หมู่บ้านที่เป็นเจ้าภาพจะเชิญหมู่บ้านต่าง ๆ ส่งคณะสรภัญญ์เข้าประกวดกันจะประกอบด้วยสตรีอายุประมาณ ๑๕ ปี ขึ้นไป จำนวน ๑๐-๒๐ คน คนที่มีเสียงไพเราะที่สุดจะเป็นหัวหน้า และจากผลดังกล่าวชาวบ้านเกิดความรักความสามัคคีกันในหมู่คณะและเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีด้วย เพื่อให้คงอยู่คู่ชุมชนตราบนานเท่านาน

บทร้องสรภัญญ์ จะมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องราวทางพระพุทธศาสนา สรรเสริญบูชาพระรัตนตรัย เล่าเรื่องพุทธประวัติ บทสวดคุณของบิดามารดา บทสวดไหว้ครู

 



ขอบคุณ : https://www2.m-culture.go.th/sisaket/ewt_news.php?nid=973&filename=index
วันที่ 24 พ.ย. 2560

 8 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 07:51:53 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.

ขอบคุณภาพจาก : https://www.pinterest.ca/


สาธยายธรรม กับ สวดมนต์ เหมือนหรือต่างกันอย่างไร.?

สาธยายธรรมกับสวดมนต์ โดยทั่วไปสำหรับชาวพุทธ มีความหมายไม่ต่างกัน แต่ในรายละเอียด(โดยเฉพาะบาลี)มีความหมายต่างกัน ดังนี้






บาลีวันละคำ : สาธยาย

สาธยาย อ่านว่า สา-ทะ-ยาย และ สาด-ทะ-ยาย

บาลีเป็น “สชฺฌาย” อ่านว่า สัด-ชา-ยะ
“สชฺฌาย” รากศัพท์มาจาก ส (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + อ ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น ย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อ (อะ) ที่ –ฌ เป็น อา : ส + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > ย = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน”

“สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)
“สชฺฌาย” สันสกฤตเป็น “สฺวาธฺยาย”

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า (สะกดตามต้นฉบับ)
“สฺวาธฺยาย : (คำนาม) การอัธยายมนตร์เงียบๆ หรือสังวัธยายมนตร์ในใจ ; เวทหรือพระเวท ; การอัธยายหรือศึกษาพระเวท ; inaudible reading or muttering of prayers ; the Vedas or scripture ; perusal or study of the Vedas.”

@@@@@@@

“สชฺฌาย” ในภาษาไทยใช้อิงรูปสันสกฤตเป็น “สาธยาย”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า
“สาธยาย : (คำนาม) การท่อง, การสวด, การทบทวน, เช่น สาธยายมนต์, (ภาษาปาก) การชี้แจงแสดงเรื่อง เช่น สาธยายอยู่นั่นแหละ ไม่รู้จักจบเสียที. (ส. สฺวาธฺยาย; ป. สชฺฌาย).”

สชฺฌาย > สฺวาธฺยาย > สาธยาย หรือการท่องจำเป็นขั้นตอนแรกๆ ในกระบวนการศึกษาตามวัฒนธรรมของชาวชมพูทวีป คือขั้นการรับรู้และซึมซับข้อมูล ต่อจากนั้นไปจึงเป็นการวิเคราะห์ แยกแยะข้อมูล สังเคราะห์ ประมวลข้อมูล แล้วสรุปผลลงเป็นหลักวิชาแล้วนำไปใช้ตามประสงค์

และสุดท้ายก็วนกลับไปที่ “สาธยาย” อีก คือการทบทวนเพื่อมิให้ลืมเลือนกฎหรือสูตรของวิทยาการนั้นๆ รวมทั้งเป็นการสรุปความก้าวหน้าหรือข้อบกพร่องไปด้วยในตัว


@@@@@@@

ควรเข้าใจให้ตรงกัน

   ๑. นักคิดบางสำนักในบ้านเราโจมตีวิธีท่องจำว่าเป็นการสอนคนให้เป็นนกแก้วนกขุนทอง คิดอะไรไม่เป็น จึงสอนนักเรียนโดยไม่ให้มีการท่องจำ

   ๒. ตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตประเภท “ปัญจโวการภพ” (ปัน-จะ-โว-กา-ระ-พบ) คือ มีองค์ประกอบ 5 ส่วน ได้แก่
       (1) ร่างกาย (corporeality)
       (2) ความรู้สึก (feeling; sensation)
       (3) ความจำ (perception)
       (4) ความคิด (mental formations; volitional activities)
       (5) ความรู้เข้าใจ (consciousness)

   ๓. วิธีสาธยายหรือท่องจำเป็นการใช้งานตามธรรมชาติของชีวิต และเป็นเพียงขั้นตอนหนึ่งเท่านั้นของกระบวนการศึกษา ไม่ใช่ทั้งหมดของการศึกษา และไม่ใช่จบลงเพียงแค่ท่องจำ แต่ยังจะต้องส่งต่อไปยังความคิด ความรู้เข้าใจต่อไปอีก

   ๔. การจะให้เกิดผลคือจำข้อมูลได้ การ “สาธยาย-ท่องจำ” นับว่าเป็นวิธีตามธรรมชาติของมนุษย์สากล สำหรับมนุษย์ที่รังเกียจวิธีนี้ก็มีสิทธิ์ที่จะคิดค้นวิธีอื่นได้อีก แต่จะไม่ให้มนุษย์ต้องจำอะไรเลยนั้นคือผิดธรรมชาติ

อุปมาอุปไมย

    "การสาธยายเป็นกระบวนการเก็บข้อมูลความรู้ไว้ในสมอง เมื่อถึงเวลาต้องการ ก็เปิดออกมาใช้ได้ทันที ฉันใด การทำบุญก็เป็นกระบวนการเก็บเสบียงไว้ในใจ เมื่อถึงเวลาต้องจากไป ก็พร้อมเดินทางได้ทันที ฉันนั้น"




ขอบคุณ : https://dhamtara.com/?p=3311
tppattaya2343@gmail.com | 15 พฤษภาคม 2015






บาลีวันละคำ : สวดมนต์

สวดมนต์ ภาษาบาลีว่าอย่างไร

(๑) “สวด” เป็นคำไทย ตรงกับบาลีว่า “สชฺฌาย”
     “สชฺฌาย” อ่านว่า สัด-ชา-ยะ รากศัพท์มาจาก ส (มี, พร้อม, ของตน) + อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ) อิ (ธาตุ = สวด, ศึกษา) + อ ปัจจัย, แปลง อธิ เป็น อชฺฌ, แปลง อิ เป็น ย, ทีฆะ (ยืดเสียง) อะ ที่ –ฌ เป็น อา (สชฺฌ > สชฺฌา) : ส + อธิ > อชฺฌ = สชฺฌ + อิ > ย = สชฺฌย > สชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสวดพร้อมหมดอย่างยิ่ง” “การศึกษาอย่างยิ่ง (ซึ่งมนตร์) ของตน”

    “สชฺฌาย” หมายถึง การสาธยาย, การสวด, การท่อง (repetition, rehearsal study)

(๒) “มนต์”
     บาลีเป็น “มนฺต” อ่านว่า มัน-ตะ รากศัพท์มาจาก
     (1) มนฺ (ธาตุ = รู้) + ต ปัจจัย : มนฺ + ต = มนฺต แปลตามศัพท์ว่า “สิ่งที่เป็นเหตุให้รู้”
     (2) มนฺต (ธาตุ = ปรึกษา) + อ ปัจจัย : มนฺต + อ = มนฺต แปลตามศัพท์ว่า “การปรึกษา”

@@@@@@@

“มนฺต” ในภาษาบาลีมีความหมาย ดังต่อไปนี้

   1. ความหมายเดิม คือ คำพูดหรือคำตัดสินของเทพเจ้าบนสวรรค์ แล้วกลายมาเป็นประมวลคำสอนที่เร้นลับของศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้แก่คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของพราหมณ์ หรือคัมภีร์พระเวท (a divine saying or decision, hence a secret plan)
   2. คัมภีร์ศาสนา, บทร้องสวด, การร่ายมนตร์ (holy scriptures in general, sacred text, secret doctrine)
   3. ศาสตร์ลี้ลับ, วิทยาคม, เสน่ห์, คาถา (divine utterance, a word with supernatural power, a charm, spell, magic art, witchcraft)
   4. คำแนะนำ, คำปรึกษา, แผนการ, แบบแผน (advice, counsel, plan, design)
   5. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง (a charm, an effective charm, trick)
   6. สูตรวิชาในศาสตร์สาขาต่างๆ (เช่น H2O = น้ำ หรือแม้แต่สูตรคูณ ก็อยู่ในความหมายนี้) (law)
   7. ปัญญา, ความรู้ (wisdom, knowledge, insight, discernment)


@@@@@@@

“มนฺต” ใช้ในภาษาไทยว่า มนต์, มนตร์ (มน) และเข้าใจกันแต่เพียงว่าหมายถึง “คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์”

“สวดมนต์” ตรงกับคำบาลีว่า “มนฺตสชฺฌาย” (มัน-ตะ-สัด-ชา-ยะ)

มนฺต + สชฺฌาย = มนฺตสชฺฌาย แปลตามศัพท์ว่า “การสาธยายมนต์” หรือแปลตรงตัวว่า “สวดมนต์” นั่นเอง

การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนามีมูลเหตุมาจากการสาธยายพระสูตรหรือหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เพื่อมิให้ลืมเลือนอย่างหนึ่ง และเพื่อตรวจสอบข้อความให้ถูกต้องตรงกันอีกอย่างหนึ่ง

   สวดมนต์เพื่อทบทวนความรู้ จะได้เป็นผู้เชี่ยวชาญ
   สวดมนต์เพื่อเจริญสมาธิสติ ธรรมะก็ผลิเบ่งบาน
   สวดมนต์เพื่อขลัง ยังต้องนุงนังไปอีกนาน


(อธิบายเร่งด่วนตามประสงค์ของพระคุณท่าน So Phom)




ขอบคุณ : https://dhamtara.com/?p=3796
tppattaya2343@gmail.com | 29 ตุลาคม 2015

 9 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:30:29 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ณพลเดช ข้องใจวัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่ เก่าแก่กว่า 1,300 ปี เผยเพิ่งขอเป็นวัดได้สำเร็จ

ณพลเดช ข้องใจวัดพระธาตุดอยคำ จ.เชียงใหม่ เก่าแก่กว่า 1,300 ปี เผยเพิ่งขอเป็นวัดได้สำเร็จ ยกเครดิตให้ กมธ.ศาสนาฯ

เมื่อวันที่ 15 เมษายน ที่วัดพระธาตุดอยคำ ต.แม่เหียะ อำเภอเมือง จ.เชียงใหม่ นายณพลเดช มณีลังกา ที่ปรึกษาประจำกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร และที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้าสักการะ พระครูสุนทรเจติยารักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุดอยคำ โดยพระครูสุนทรเจติยารักษ์ ได้อนุโมทนาหลังจากที่กรมอุทยานอนุมัติให้ใช้พื้นที่ป่าสร้างวัดได้

ขณะนี่้ได้ยื่นขอวิสุงคามสีมาแล้ว ตนได้โทรศัพท์ถึงอธิบดีกรมอุทยาน และได้ขอบคุณที่ได้ดำเนินตามกระบวนกฎหมาย ซึ่งวันนี้ก็เป็นวันที่ประสบความสำเร็จ ที่ได้วัดในพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องเพิ่มมาอีกวีดหนึ่ง






นายณพลเดช กล่าวต่อไปว่า วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เป็นวัดสำคัญในจังหวัดเชียงใหม่ มีคนนำดอกมะลิไปไหว้เป็นจำนวนมาก อายุเก่าแก่กว่า 1,300 ปี น่าจะออกโฉนดที่ดินและขอวิสุงคามสีมา ได้มานานแล้ว แต่กลับกลายเป็นว่าเป็นวัดที่ไม่มีวิสุงคามสีมา ภายหลังผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 จ.เชียงใหม่ ก็ได้ให้ความสะดวกและดำเนินการตามกรอบกฎหมาย

ทั้งนี่ได้ที่ดินวัดที่เป็นโฉนดราว 7 ไร่ กำลังอยู่ในขั้นตอนขอวิสุงคามสีมา ซึ่งจะทำให้สามารถ บวชพระ และประกอบศาสนกิจของสงฆ์ได้ตามพุทธวินัยได้ต่อไป อีกทั้งจะสามารถดำเนินกิจกรรมทางประเพณีวัฒนธรรม ที่ได้สืบต่อกันมา

อย่างไรก็ดี ต้องขอให้เครดิตกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎรในชุดก่อน และชุดปัจจุบันที่ทำงานงานอย่างหนัก โดยเฉพาะ ดร.เพชรวรรต วัฒนพงศศิริกุล ที่ทุ่มเทงานอย่างมาก




ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/region/news_4528031
วันที่ 15 เมษายน 2567 - 23:24 น.   

 10 
 เมื่อ: วันนี้ เวลา 05:20:55 am 
เริ่มโดย raponsan - กระทู้ล่าสุด โดย raponsan
.



ไฟเขียว.! โครงการ 'ยกวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง' เฉลิมพระเกียรติ “ในหลวง”

รัฐบาล เห็นชอบ 6 โครงการของสำนักพุทธฯ ร่วมเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567

นายอินทพร จั่นเอี่ยม ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบโครงการในการร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 โดยมีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล เป็นโครงการและกิจกรรมร่วมเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้งหมดจาก 23 หน่วยงาน จำนวน 76 โครงการนั้น

@@@@@@@

นายอินทพร กล่าวต่อไปว่า ในส่วน พศ.มีโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล ประกอบด้วย

    - โครงการยกวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการจัดพิมพ์พระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการเจริญพระพุทธมนต์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธี    มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการปฏิบัติธรรมเจริญจิตภาวนา เจริญปัญญา เจริญสุข เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567
    - โครงการพิธีสาธยายพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567 และ
    - โครงการสามเณรทรงพระปาติโมกข์ เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 ก.ค. 2567





ขอบคุณ : https://www.dailynews.co.th/news/3357982/
19 เมษายน 2567 | 16:10 น. | การศึกษา-ศาสนา

หน้า: [1] 2 3 ... 10