ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: " ไม่เอาอรรถกถา กับ เอาอรรถกถา "...ดีหรือไม่ดีอย่างไร.?  (อ่าน 4655 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

๗. อาณิสูตร
   
     [๖๗๒] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ... พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่าทสารหะได้มีแล้ว
     เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมาโครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว
     อันลึกมีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
     จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา


     แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้
     มีอักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก
     เป็นสาวกภาษิต อยู่ จักปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ
     จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ


     [๖๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก
     เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน ฉันนั้นเหมือนกัน
     เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
     เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่
     พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้
     และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
          จบสูตรที่ ๗


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ บรรทัดที่ ๗๐๔๖ - ๗๐๖๖. หน้าที่ ๓๐๒.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=16&A=7046&Z=7066&pagebreak=0             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672
ขอบคุณภาพจาก http://4.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 12:04:39 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
   
              [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ
              บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑
              บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑


     ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน
     ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง


     อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง

     อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ





     
     ดูกรภิกษุทั้งหลายก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน
     ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง


     อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง

    และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย
     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน

     ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๘๔๑ - ๑๙๙๐.  หน้าที่  ๗๙ - ๘๕.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1841&Z=1990&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=287
ขอบคุณภาพจาก http://gallery.palungjit.com/,http://www.tourtumboon.com
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๕ อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต

อุตตรสูตร

      [๙๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระอุตตระอยู่ที่วิหารชื่อว่า วัฏฏชาลิกา ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ ณ มหิสพัสดุชนบท ณ ที่นั้นแล ท่านพระอุตตระกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า
      ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นความวิบัติของตนโดยกาลอันควร


      ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นความวิบัติของคนอื่นโดยกาลอันควร
      ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้ว ที่ภิกษุพิจารณาเห็นสมบัติของตนโดยกาลอันควร
      ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เป็นความดีแล้วที่ภิกษุพิจารณาเห็นสมบัติของผู้อื่นโดยกาลอันควร ฯ

      ก็สมัยนั้นแล ท้าวเวสสวัณมหาราชออกจากทิศเหนือผ่านไปทางทิศใต้ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้สดับคำที่ท่านพระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายในวัฏฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ ณ มหิสพัสดุชนบท อย่างนี้ ... ได้หายจากวัฏฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ ณ มหิสพัสดุชนบท ไปปรากฏในเทวดาชั้นดาวดึงส์ เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะจอมเทพถึงที่ประทับ

     ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์โปรดทรงทราบว่า ท่านพระอุตตระนี้ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุในวัฏฏชาลิกาวิหารอย่างนี้ ... ลำดับนั้น ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงหายจากเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏต่อหน้าท่านพระอุตตระ ในวัฏฏชาลิกาวิหาร ใกล้ภูเขาสังเขยยกะ ณ มหิสพัสดุชนบท เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น แล้วเสด็จเข้าไปหาท่านพระอุตตระถึงที่อยู่ อภิวาทแล้ว ประทับยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง



   
     ครั้นแล้วได้ตรัสถามท่านพระอุตตระว่า
     ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ท่านพระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ...จริงหรือ
     ท่านพระอุตตระ ถวายพระพรว่า จริงอย่างนั้น มหาบพิตร ฯ
     ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำนี้เป็นปฏิภาณของพระคุณเจ้าเอง หรือว่าเป็นของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ฯ


     อ. ดูกรมหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจะทำข้ออุปมาให้มหาบพิตรทรงสดับ ซึ่งวิญญูชนบางพวกจะรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้ด้วยข้ออุปมา
     ดูกรมหาบพิตร เปรียบเหมือนข้าวเปลือกกองใหญ่ซึ่งมีอยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคมนัก ชนหมู่มากขนข้าวเปลือกออกจากกองนั้นด้วยกระเช้าบ้าง ด้วยตระกร้าบ้าง ด้วยห่อพกบ้าง ด้วยกอบมือบ้าง
     ดูกรมหาบพิตร บุคคลผู้หนึ่งเข้าไปถามชนหมู่ใหญ่นั้นอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายขนข้าวเปลือกนี้มาจากไหน
     ดูกรมหาบพิตร มหาชนนั้นจะตอบอย่างไร จึงจะตอบได้อย่างถูกต้อง ฯ


     ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มหาชนนั้นพึงตอบให้ถูกต้องได้อย่างนี้ว่า พวกเราขนมาจากกองข้าวเปลือกกองใหญ่โน้น ฯ
     อุ. ดูกรมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล คำอันเป็นสุภาษิตทั้งหมด ล้วนเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
     ดังนั้น อาตมภาพจึงชักเอาข้าวเปลือกมาถวายพระพร โดยเทียบเคียงสุภาษิตอันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคนั้น ขอถวายพระพร ฯ


     ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วที่ท่านพระอุตตระได้กล่าวไว้เป็นอย่างดีดังนี้ว่า
     คำอันเป็นสุภาษิตทั้งหมดล้วนเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
     ดังนั้น อาตมภาพจึงชักเอาข้าวเปลือกมาถวายพระพร โดยเทียบเคียงสุภาษิตอันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคนั้น
ฯลฯ



อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๓  บรรทัดที่ ๓๓๓๓ - ๓๔๐๔.  หน้าที่  ๑๔๔ - ๑๔๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=23&A=3333&Z=3404&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=23&i=98
ขอบคุณภาพจาก http://golfreeze.packetlove.com,http://www.rmutphysics.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


อรรถกถา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อรรถกถา (อ่านว่า อัดถะกะถา) คือ คัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกของโบราณจารย์ที่ได้ไขความในพระไตรปิฎกไว้ เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา

คัมภีร์อรรถกถา แต่งโดย พระอรรถกถาจารย์ ซึ่งมีเป็นจำนวนหลายท่านมาก และอรรถกถาจารย์ได้แต่งหนังสืออรรถกถาอธิบายไว้หมดครบทั้งหมด ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาเป็นหนังสือที่แต่งอธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง เป็นหนังสือที่มีอุปการะแก่ผู้ศึกษาพระไตรปิฎกรุ่นหลัง ๆ เป็นอย่างยิ่ง

ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง



คัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบัน
เป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆษาจารย์ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี


ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในทางประวัติศาสตร์
    ความเป็นมาของคัมภีร์อรรถกถาในเชิงประวัติศาสตร์ แบ่งได้เป็น 2 มติ คือ
    มติแรกเห็นว่าอรรถกถามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
    มติหลังเห็นว่าอรรถกถาเริ่มมีในสมัยสังคายนาครั้งที่ 3 ในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พ.ศ. 236 (ตามข้อความในคัมภีร์มหาวงศ์และสัทธัมมสังคหะ)


    แต่อย่างไรก็ตามในช่วงหลัง คัมภีร์อรรถกถาภาษาบาลีดั้งเดิมได้สูญหายจากประเทศอินเดียไป เหลือเพียงคัมภีร์อรรถกถาภาษาสิงหล ซึ่งพระมหินทะเถระได้นำอรรถกถาในภาษาบาลีมาเผยแพร่ในเกาะลังกาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (พ.ศ. 236)

    ดังนั้นในปี พ.ศ. 945 พระพุทธโฆษาจารย์ พระสงฆ์ชาวอินเดีย
    จึงได้รับอาราธนามาที่เกาะลังกา เพื่อแปลคัมภีร์อรรถกถากลับคืนสู่ภาษาบาลี
    ซึ่งคัมภีร์อรรถกถาที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงเป็นผลงานการแปลของท่านพระพุทธโฆษาจารย์



ที่มา th.wikipedia.org/wiki/อรรถกถา
ขอบคุณภาพจาก http://farm8.staticflickr.com,http://upload.wikimedia.org/





อรรถกถา ปกรณ์ที่พระอาจารย์ทั้งหลายในภายหลังแต่งแก้อรรถแห่งบาลี, คัมภีร์อธิบายความในพระไตรปิฎก

อรรถกถาจารย์ อาจารย์ผู้แต่งอรรถกถา

อรรถกถานัย เค้าความในอรรถกถา, แนวคำอธิบายในอรรถกถา, แง่แห่งความหมายที่แสดงไว้ในอรรถกถา

ปกรณ์ คัมภีร์, ตำรา, หนังสือ



ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.vcharkarn.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 01:08:17 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


กระทู้ของคุณณัฐวุฒิ  : ไม่เอาอรรถกถา
     ในปัจจุบัน มีพระบางรูปสั่งสอนญาติโยม ด้วยพุทธวจนแท้ แต่ไม่เชื่ออรรถกถาเลย เพราะเชื่อว่า ปัญญาแม้พระสารีบุตรก็ไม่อาจจะเป็นคำสอนได้ อ้างถึงพระพุทธวจนบทหนึ่งซึ่งกล่าวว่า

    "สุตตันตะ (ตัวสูตรส่วนที่ลึกซึ้ง)เหล่าใด ที่เป็นคำของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้งอเป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา, เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่; เธอจักไม่ฟังด้วยดี จักไม่เงี่ยหูฟัง จักไม่ตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ ตนควรศึกษาเล่าเรียน.
     ส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก, เมื่อมีผู้นำสูตรที่นักกวีแต่งขึ้นใหม่เหล่านั้นมากล่าวอยู่;เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึงและจักสำคัญไปว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน. "


    ดังนี้ จึงทำให้พระรูปนั้นเชื่อว่าคำของสาวกทั้งหลาย แม้พระธรรมเสนาบดี ก็ไม่ควรใส่ใจ
เมื่อกล่าวอย่างนี้ใคร่ขอความเห็นทางวิทยากร ว่า
    อรรถกถาหมายถึงอะไร และมีความสำคัญอย่างไรต่อพระพุทธศาสนาครับ





ความคิดเห็นที่ 1  โดยคุณkhampan.a
    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    สิ่งสำคัญที่สุด คือ การตั้งใจฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ และตั้งจิตไว้ชอบในการศึกษาว่า ศึกษาเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น

   จะเห็นได้ว่า พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้จากการที่พระอริยสาวกทั้งหลายเห็นประโยชน์ของพระธรรมช่วยกันรักษาพระธรรมวินัยให้คงอยู่อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่มีโอกาสได้ศึกษาอย่างแท้จริงนั้น เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกโดยตลอด

   กล่าวได้ว่า พระไตรปิฎกและอรรถกถา เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกทั้งหมด   
   สำคัญอยู่ที่ว่าผู้นั้นจะศึกษาโดยละเอียดหรือไม่?   
   หรือว่า จะปฏิเสธในทันทีทันใด เป็นเรื่องของแต่ละบุคคลจริง ๆ ซึ่งสะสมมาแตกต่างกัน


   หลักแห่งการติดสินว่าเป็นพระธรรมวินัยเป็นคำสั่งสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่     
   พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงไว้ว่า ธรรมเหล่าใด เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว พึงทรงจำธรรมเหล่านี้ไว้ว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของศาสดา

    ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับผู้ศึกษาจริง ๆ การที่จะปฏิเสธอรรถกถถา ย่อมเป็นการไม่สมควร
    เพราะอรรถกถาส่วนหนึ่งมาจากปกิณณกเทศนาของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า และส่วนหนึ่งก็มาจากพระอรหันต์สาวกมีท่านพระสารีบุตรเป็นต้นท่านอธิบายไว้ 
    เป็นการอธิบายพระบาลี คือ พระพุทธพจน์ให้เข้าใจยิ่งขึ้น อันเป็นการอธิบายของพระอริยสาวกผู้ที่ประกอบด้วยปัญญา ที่ควรค่าแก่การศึกษาพิจารณาไตร่ตรองเป็นอย่างยิ่ง ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นได้ศึกษาโดยละเอียดหรือยัง?





    สำหรับพระสูตรที่ปรากฏในคำถามนั้น (อาณีสูตร)ในอรรถกถา ก็ได้ขยายความไว้ว่า
    สาวกภาษิต ในพระสูตรนี้ เป็นการกล่าวข้อความที่ไม่ใช่พระธรรมวินัย เป็นข้อความที่มี ในลัทธิภายนอก     
    ไม่ได้หมายถึงคำกล่าวของพระอริยสาวก ซึ่งเป็นคำกล่าวที่กล่าวคล้อยตามพระพุทธพจน์, เมื่อไม่ได้ศึกษาพระธรรมคำสอนที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง แต่ไปสนใจในถ้อยคำหรือข้อความที่ผู้ไม่เข้าใจพระธรรรมได้กล่าวไว้ ด้วยถ้อยคำที่สละสลวย ซึ่งไม่ใช่คำสอนในทางพระพุทธศาสนา ก็ย่อมเป็นเหตุให้พระธรรมอันตรธาน


     ดังข้อความบางตอนจากคำบรรยายของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ว่า
  "พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่า ไม่ว่าจะเป็นผู้ใดและกล่าวในสมัยใด ถ้าคิดว่าเป็นสิ่งที่ ไม่ควรเล่าเรียน ไม่ควรศึกษา ไม่ควรเงี่ยโสตลงสดับ ก็จะเป็นเหตุให้พระธรรมอันตรธาน   
   แต่ว่าถ้าผู้ใดกล่าวพระสูตรที่นักปราชญ์รจนาไว้ เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต คือ เป็นความเข้าใจของสาวก โดยที่ไม่มีในพระธรรมวินัยและก็ผู้นั้นก็คิดว่าเป็นสิ่งที่ควรเล่าเรียน ควรศึกษา ควรเงี่ยโสตลงสดับ ถ้าเป็นอย่างนี้ ก็เป็นเหตุให้พระธรรมวินัยอันตรธาน"


    พระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทั้งหมด เป็นเรื่องของการละตั้งแต่ต้น ถ้าคำสอนใดหรือหนทางไหนสอนเพื่อที่จะให้ได้สิ่งนั้นสิ่งนี้ สอนให้ติดข้องนั่น ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน รวมไปถึงคำสอนใดที่สอน ให้กระทำอะไรด้วยความเห็นผิด ด้วยความไม่รู้ หลงงมงาย   
    นั่นก็ไม่ใช่คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน พระธรรมทั้งหมด ต้องเป็นไปเพื่อความเข้าใจ
ถูกเห็นถูก และขัดเกลาละคลายกิเลสเท่านั้น ครับ


    ขอเชิญคลิกอ่านข้อความในอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
    http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=16&i=672



ที่มา http://dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21251
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/,http://www.oceansmile.com/,http://statics.atcloud.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 10, 2012, 02:01:33 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ความคิดเห็นที่ 2 และ 3  โดยคุณ paderm

    ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
    ในความเป็นจริง อรรถกถา ก็เป็นพระธรรมของพระพุทธเจ้านั่นเองครับ เพียงแต่ว่ากล่าวโดยพระสาวก เมื่อพระพุทธเจ้าทรงรับรองคำนั้น ก็ชื่อว่า เป็นพระพุทธพจน์แล้ว
    ดังนั้น อรรถกถาที่อธิบายเพิ่มเติม ก็เป็นคำที่สาวกของพระพุทธเจ้า ไม่ได้แต่งขึ้นใหม่


    ดังพระสูตรที่อ้างถึง ที่มีคำว่า นักกวีแต่งขึ้นใหม่ แต่ อรรถกถา เป็นการอธิบายพระธรรม ตามแนวของพระพุทธเจ้า คือ ตามพระบาลี ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อยู่แล้ว ไม่ได้แต่งให้นอกเหนือจากคำสอนของพระองค์   

    แต่ที่พระสาวกผุ้มีปัญญา ได้อธิบายเป็นอรรถกถา ก็เพื่อความละเอียด
    เพื่อความเข้าใจของสาธุชนรุ่นหลัง ให้เข้าใจได้ถูกต้องไม่เผิน ในพระพุทธพจน์ที่ลึกซึ้งสุดประมาณ ยากต่อการเข้าใจกับหมู่สัตว์ผู้มากไปด้วยความไม่รู้ ครับ


    ดังนั้น ไม่ใช่ว่าเราจะยึดติดกับพยัญชนะว่า ถ้าพูดหรือกล่าวคำใดคำหนึ่ง ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎก ก็จะเป็นการสรุปว่า เป็นคำที่แต่งขึ้นทั้งหมด และเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ไม่ใช่ครับ
   แต่จะต้องดูอรรถ ความหมายของคำนั้นว่า เป็นไปแนวทางเดียวกับ พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าหรือไม่ เช่น พูดว่า ระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ที่กำลังปรากฎ ก็อาจสำคัญว่า ไม่มีในพรไตรปิฎก เป็นกวีใหม่แต่งขึ้น


    แต่ในความเป็นจริงแล้ว แม้จะไม่มีคำนี้ในพระไตรปิฎก แต่ข้อความนั้นถ้อยคำนั้นกำลังแสดงอรรถความหมายที่สอดคล้อง และเป็นไปเช่นเดียวกับพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงในพระไตรปิฎก นั่นคือ
    การเจริญสติปัฏฐาน ที่รู้ความจริงที่เป็น จิต เจตสิกรูป   
    แม้ไม่ใช้คำว่า จิต เจตสิก รูป แต่ใช้คำว่า  สิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฎ
    ก็เป็น อรรถความหมายเดียวกัน กับ จิต เจตสิก รูปนั่นเอง เพราะ เป็นการแสดงถึงสิ่งที่มีจริงอยู่ครับ
 





    ดังนั้น การจะปฏิเสธ ถ้อยคำของใคร ผู้ใดนั้น ก้จะต้องศึกษาพระธรรมอย่างละเอียดให้เข้าใจถูกต้อง และเมื่อเข้าใจพระธรรมแล้ว เมื่อได้ยินคำใด จากผู้ใด ก็ย่อมรู้ถึงคำนั้นคือ ไม่ได้ติดที่พยัญชนะ ว่าจะต้องตรงตามพระไตรปิฎก จึงจะเป็นพระพุทธพจน์

    แต่ถ้อยคำนั้น สื่อความหมาย เป็นไปแนวทางเดียวกับพระธรรมหรือไม่ เมื่อความหมายอรรถเป็นไปแนวทาเงดียวกัน คำนั้น ก็ชื่อว่าคล้อยตามพระพุทธพจน์ เป็นพระดำรัสของพระพุทะเจ้าด้วย
    เพราะว่า อาศัย พระพุทธพจน์ ที่ได้ศึกษาเข้าใจ มาอธิบายเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจละเอียดเพิ่มขึ้น ครับ


    อรรถกถา ก็เช่นกันที่ แต่งขึ้น โดยพระสาวกผู้มีปัญญา ท่านเหล่านั้นก็ยึดหลักพระธรรมของพระพุทธเจ้าเพราะท่านได้ศึกษาเข้าใจแล้ว  จึงอธิบายพระพุทธพจน์เพิ่มเติมให้มีความเข้าใจพระธรรมละเอียดเพิ่มขึ้น และที่สำคัญ พระสาวกทั้งหลาย หากได้อ่านรายละเอียด ท่าจะกล่าวเสมอว่า ท่านได้อธิบายแต่งอรรถกถาเพิ่มเติมโดยยึดแนวหลัก  คือ  พระพุทธพจน์เดิม ไม่ได้แต่งนอกเหนือไป จากนี้

    และเมื่อพระสาวกกล่าวธรร แล้ว มีคนเลื่อมใส และผู้นั้นถามพระสาวกว่า คำนี้เป็นคำของท่านหรือไม่ ท่านก็กล่าวว่า ไม่ใช่คำของท่าน แต่เป็นคำของพระพุทธเจ้านี่ก็แสดงถึง คำที่กล่าว แม้สาวกกล่าว ก็กล่าวมาจากความเข้าใจของตนเอง ที่ได้ศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ท่านพระอรรกถาจารย์ มีพระสาวกรุ่นหลังก็เช่นเดียวกัน




พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔- หน้าที่ 318

   ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า  ท่าน.พระอุตตระแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้...จริงหรือ   
   ท่านพระอุตตระถวายพระพรว่า  จริงอย่างนั้น  มหาบพิตร.                 
   ส.  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำนี้เป็นปฏิภาณของพระคุณเจ้าเองหรือที่เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.


  อ.  ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าอย่างนั้น อาตมภาพจะทำข้ออุปมาให้มหาบพิตรทรงสดับ ซึ่งวิญญูชนบางพวกจะรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้ด้วยข้ออุปมา   
   ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนข้าวเปลือกกองใหญ่ซึ่งมีอยู่ไม่ไกลบ้านหรือนิคมนัก ชนหมู่มากขนข้าวเปลือกออกจากกองนั้นด้วยกระเช้าบ้าง ด้วยตะกร้าบ้าง ด้วยห่อพกบ้างด้วยกอบมือบ้าง   
   ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้หนึ่งเข้าไปถามชนหมู่ใหญ่นั้นอย่างนี้ว่า
   ท่านทั้งหลายขนข้าวเปลือกนี้มาจากไหน
   ดูก่อนมหาบพิตร  มหาชนนั้นจะตอบอย่างไร จึงจะตอบได้อย่างนี้ถูกต้อง.


   ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  มหาชนนั้นพึงตอบให้ถูกต้องได้อย่างนี้ว่าพวกเราขนมา จากกองข้าวเปลือกกองใหญ่โน้น.
   อุ.  ดูก่อนมหาบพิตร ฉันนั้นเหมือนกันแล คำอันเป็นสุภาษิตทั้งหมดล้วนเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
   ดังนั้น อาตมภาพจึงชักเอาข้าวเปลือกมาถวายพระพร โดยเที่ยบเคียงสุภาษิตอันเป็นพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ขอถวายพระพร.
   ส. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ฯลฯ

   ...........................................................................

  เพราะฉะนั้น แทนที่จะปฏิเสธ หรือ ยอมรับสิ่งใดทันที ก็ควรจะศึกษา อรรถความ หมายของคำนั้น ถ้อยคำนั้น ว่าถูกต้องตรงตามแนวของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหรือไม่เพราะ การพิจารณาใคร่ครวญก่อนตัดสินนั้นเป็นสิ่งที่สมควรถ้อยคำใด มี อรรถกถา  เป็นต้น ที่ทำให้เข้าใจพระธรรมเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือ มีโทษ กับพุทธศาสนิกชน ผู้ที่ใคร่จะอบรมปัญญา เข้าใจพระธรรม


ที่มา http://dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=21251
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/,http://www.dmc.tv/ลhttp://www.phuttha.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

chutina

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 99
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา กับ จขกท. ด้วยจ้า ที่นำเรื่องดี ๆ มาให้อ่านกันในวันนี้
 :c017: :25: :25:
บันทึกการเข้า