ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ  (อ่าน 28745 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

นัยนา

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 191
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 11:19:28 am »
0








คือสงสัยเรื่อง สีจีวรของพระ ทำไมมีมากสี บางครั้งก็ยังเจอสีม่วงด้วย ผิดถูกวินัย หรือ ป่าวคะ

อยากให้ คุณลุง คุณป้า ช่วยขยายอธิบายให้ หนู ทราบหน่อยคะ
 :25:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:11:56 pm »
0
จีวร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


จีวร เป็นชื่อเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้สอย ใช้เรียกทั้งผ้านุ่งผ้าห่ม เช่น คำว่า ไตรจีวร หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม

จีวรเป็นปัจจัยหรือบริขารของพระสงฆ์อย่างหนึ่งในจำนวน 4 อย่าง นอกจากนี้คำว่า "จีวร" ยังใช้หมายถึงเฉพาะผ้าห่มของพระสงฆ์อย่างเดียวก็ได้ เช่น พูดว่า

"วันนี้พระคุณเจ้าห่มจีวรใหม่มาบิณฑบาต ดูงามเหลือเกิน"

"ผ้าจีวรของท่านพระครูเก่าแล้ว ควรหาจีวรไปถวายท่านสักผืน"

จีวร ที่ใช้ในความหมายว่าผ้าห่มอย่างเดียว มีชื่อเรียกเฉพาะว่า อุตราสงค์

การห่มจีวร

ลายคันนาบนจีวร
จีวรของพระสงฆ์ ประกอบด้วยผ้า ที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆมาต่อกัน จึงมีลักษณะเป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ

ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆที่เย็บต่อกันนั้น ปรากฏลวดลายเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์ ดังปรากฏข้อความในพระวินัยปิฎก ว่า

"อานนท์เธอเห็นนาของชาวมคธ ซึ่งเขาพูนดิน ขึ้นเป็นคันนาสี่เหลี่ยม พูนคันนายาวทั้งด้านยาวและด้านกว้าง พูนคันนาคั่นในระหว่างๆ ด้วยคันนาสั้นๆ พูนคันนาเชื่อมกันทาง ๔ แพร่ง ตามที่ซึ่ง คันนากับคันนา ผ่านตัดกันไปหรือไม่? ...เธอสามารถแต่งจีวรของภิกษุทั้งหลาย ให้มีรูปอย่างนั้นได้หรือไม่?"

พระอานนท์ตอบว่า "สามารถ พระพุทธเจ้าข้า."


ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ทักขิณาคิรีชนบทตามพระพุทธาภิรมย์ แล้วเสด็จ กลับมาพระนครราชคฤห์อีก ครั้งนั้นท่านพระอานนท์แต่งจีวรสำหรับภิกษุหลายรูป ครั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคได้กราบทูลว่า

"ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงทอดพระเนตรจีวรที่ข้าพระพุทธเจ้าแต่งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า."

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า

"ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานนท์เป็นคนฉลาด อานนท์ได้ซาบซึ้ง ถึงเนื้อความแห่งถ้อยคำที่เรากล่าวย่อ ได้โดยกว้างขวาง ...จีวรจักเป็นผ้าที่ตัดแล้ว เศร้าหมองด้วยศัสตรา สมควรแก่สมณะ และพวกศัตรูไม่ต้องการ"


ไตรจีวร
หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้ว ให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง

ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือ ผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่า ภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ (รูปใดมีมากกว่านี้ เป็นอาบัติ)

อติเรกจีวร คือ จีวรที่มีเกินกว่าผ้าที่อธิษฐานเป็นไตรจีวร ตามพระวินัย ภิกษุสามารถเก็บไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน และสามารถทำเป็น วิกัปอติเรกจีวร คือ ทำให้เป็นสองเจ้าของ เพื่อจะได้ไม่ต้องอาบัติ เพราะเก็บไว้เกินกำหนด

ความเป็นมาของเรื่องอติเรกจีวรนี้ เนื่องจากมีผู้ถวายจีวรแก่พระอานนท์ แล้วท่านประสงค์จะเก็บไว้ ถวายพระสารีบุตร ซึ่งขณะนั้นอยู่ต่างเมือง ประมาณ 10 วัน จึงจะเดินทางมาถึง พระอานนท์ได้เข้าไป ทูลถามพระพุทธองค์ว่า จะปฏิบัติอย่างไร กับอติเรกจีวรดี จึงทรงมีพุทธบัญญัติ ให้เก็บรักษาอติเรกจีวร ไว้ได้ไม่เกิน 10 วัน


ผ้าที่ใช้ทอจีวร
สมัยต่อมา มีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุทั้งหลายไม่แน่ใจว่า จีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลเรื่องนั้นต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ

    * จีวรทำด้วยเปลือกไม้
    * ทำด้วยฝ้าย
    * ทำด้วยไหม
    * ทำด้วยขนสัตว์
    * ทำด้วยป่าน
    * ทำด้วยของเจือกัน


สีจีวร
ไม่ได้มีกล่าวไว้แน่นอน แต่มีการกำหนดห้ามในสีต่าง ที่แวววาว เช่นสีแดง สีเขียว สีเหลือง สีขาว สีดำ แต่มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าที่ทรงอุทรงเมื่อครั้งพระสงฆ์มาประชุมกันเป็น จำนวนมากว่า "ภิกษุเหล่านี้ ดูช่างงดงามราวกับผ้ากัมพล (ผ้าสักหลาดหรือผ้าขนสัตว์) ที่มีสีเพียงดังสีใบไม้แห้ง (ปัณฑุปลาโส ใบไม้แห้ง)


ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/จีวร
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2011, 05:20:41 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:14:50 pm »
0

ความหลากหลายของสีจีวรพระ

เรื่องของจีวรพระ เป็นเรื่องแปลกมากเลย ควรจะเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ก็ไม่เป็น คือมีทั้งสีเหลือง เหลืองส้ม เหลืองอ่อน สีกรัก กรักทอง แก่นขนุน สีแดง กรักแดง แดงแบบฝาง แดงแปร๊ดไปเลยก็มี ถามว่าอันไหนถูก ก็ถูกทั้งนั้น ถ้าเป็นพม่าห่มสีแดง ไปดูในอภิสมาจาร สิ่งที่ท่านอนุญาตให้ใช้ โดยเฉพาะจีวร จีวรนี่ไม่ได้อยู่ในอภิสมาจารหรอก จะอยู่ในศีล

ในปาฏิโมกข์เลย ท่านอนุญาตไว้ว่า ให้เป็นผ้าที่ย้อมด้วยน้ำฝาด สีเหลือง คือเหลืองขมิ้น สีกรัก คือสีแก่นขนุน สีเหลืองเจือแดงเข้ม ตกลงทุกสีใช้ได้ แต่ถ้าหากพระออกป่า ท่านก็มักจะใช้สีกรัก เพราะว่าเปื้อนยากหน่อย ถ้าเป็นสีเหลืองเปื้อนง่าย ก็เลยมีการแยกแยะกันอีก

ปัจจุบันถ้าอยู่ในกรุงเทพฯ บางทีเขาแยกพรรษาด้วยสีจีวร ห่มจีวรเหลือง ท่านถือเป็นพระใหม่ไปเลย ตั้งแต่ ๑-๕ พรรษา ห่มสีพระราชนิยม ก็เป็นพระปานกลาง เรียกว่า “มิชฌิม” ตั้งแต่ ๕-๑๐ พรรษา ถ้าเป็นพระเถระ ตั้งแต่ ๑๐ พรรษาขึ้นไป เขาจะห่มจีวรที่เป็นสีกรักเขียวๆ ที่เรียกว่า “สีแก่นขนุน” ขณะ เดียวกัน ก็ไม่ได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน บางทีก็สีโน้นบ้าง สีนี้บ้าง วัดเดียวลายไปหมดก็มี บางวัดก็บังคับว่า ถ้าเป็นวัดเขาต้องห่มสีนี้ ปัจจุบันนี้ทางทองผาภูมิก็จะมีอยู่ ๔ สีด้วยกัน

สีพระราชนิยมส่วนหนึ่ง เป็นสีที่ในหลวงท่านบอกว่า เหมาะ ดูแล้วสบายตาดี ไม่ใช่สีส้มแปร๊ดเลย ขณะเดียวกัน ไม่ใช่ดำมืดจนเกินไป แล้วก็มีสีกรัก แบบแก่นขนุนเขียวๆ ของพระปฏิบัติ พระป่า พระป่าสายปฏิบัติทางด้านทองผาภูมิก็มีหลายวัด อย่างวัดเวฬุวัน จะเป็นสายของหลวงปู่มั่น วัดป่าภูริทัตตวนาราม ของหลวงปู่มั่น วัดเขาถ้ำสหกรณ์นิคม ของหลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง หลวงพ่อชาเป็นมหานิกายในดงธรรมยุต

เพราะฉะนั้นวัดเขาถ้ำนี่เป็นวัดมหานิกาย ไม่ใช่ธรรมยุต (ไม่ชัด) สายวัดสังฆทานเขา ๔ วัดนี้ท่านจะห่มสีเขียวๆ เข้มแก่นขนุน จะมีวัดท่าขนุน วัดพุทธบริษัท วัดห้วยสมจิต จะห่มสีน้ำ แล้วก็มีหลายวัดที่เจ้าคณะอำเภอ ท่านบังคับบัญชาตามใจได้ จะห่มสีเหลืองอ๋อยไปเลย จะมีวัดเดียวคือ วัดพุทธโธภาวนา พุเย ท่านจะห่มสีกรักแดง ตามแบบของอาจารย์ท่านคือ หลวงพ่อภาวนาพุทโธที่สึกไปแล้ว

กลายเป็นว่าอย่างน้อยๆ ปัจจุบันนี้ทองผาภูมิมีอยู่ ๔ สี แต่ถ้านับพระจีนไปด้วยก็ ๕ สี ทองผาภูมิมีวัดจีนอยู่เหมือนกัน วัดจีนจะอยู่เลยทางบ้านสะพานลาวไป มีอยู่วัดหนึ่ง แล้วก็ทางบ้านพุถ่องเข้าไปจะเป็นพุทธสถานฉงเต๋อ นั่นก็วัดหนึ่ง ผ้าไม่ทำให้หมดกิเลสหรอก หมดกิเลสอยู่ที่การปฏิบัติ

อาตมาสมัยก่อนที่อยู่วัดท่าซุงก็ห่มสี เหลือง แล้วไปงานวัดหนึ่ง เขาไม่ให้ขึ้นศาลา ทั้งๆ ที่เราได้รับการนิมนต์อย่างถูกต้อง เพราะเขารังเกียจสีเหลือง เราก็เลยสบายนั่งอยู่ข้างล่าง ทำเอาท่านที่นิมนต์วิ่งมาประเภทเดือดเนื้อร้อนใจเป็นอย่างยิ่ง บอกไม่นึกเลยเขาจะทำกันอย่างนี้ บอกเขาว่าไม่เป็นไรหรอกคุณ

คือท่านเป็นพระด้วยกัน นั่งข้างบนนั่งข้างล่างก็รับเท่ากัน แล้วผมนั่งข้างล่างผมไม่ต้องสวด สบายดีซะด้วย แล้วอย่างไรที่เรานั่งอยู่ก็โต๊ะอาหารอยู่แล้ว ถึงเวลาไม่ต้องขยับไปไหนได้กินแหงๆ อยู่แล้ว (หัวเราะ) มองโลกในแง่ดีใช่ไหม ? อะไรเกิดขึ้นกับเราดีทั้งหมด หาประโยชน์จากมันให้ได้ (หัวเราะ) ทำใจอย่างนี้ได้ไหม ? อย่าไปแบกเอาไว้


คนบางคนบอกว่า “โลกมีไว้เหยียบ ไม่ได้มีไว้แบก” แบกไว้แล้วจะหนัก คนแบกโลกก็อยู่ต่ำ ถ้าคนค้ำโลกก็อยู่กลาง ถ้าคนวางโลกก็อยู่สูง เพราะฉะนั้นมีก็เหยียบเอาไว้ อย่าไปแบกเอาไว้ แบกมันหนัก เราแก้ไขคนอื่นไม่ได้หรอก คนอื่นเป็นโลก โลกทั้งโลกหนักเกินกว่าที่เราจะแก้ได้ แต่เราแก้ไขตัวเราเองได้

เพราะฉะนั้น ดูที่ตัว แก้ที่ตัว ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด เตือนตัวเองด้วยตัวเอง อย่าไปดูจริยาคนอื่นเขา ถ้า คิดจะจับผิดกัน มีข้อบกพร่องให้จับได้ตลอด ฉะนั้นดูที่ตัวเรา แก้ที่ตัวเรา เอาเฉพาะหน้าของเรา อย่าเอาเรื่องของโลก มาเป็นเรื่องของเรา อย่าเอางานของโลก มาเป็นงานของเรา อย่าเอาภาระของโลก มาเป็นภาระของเรา ปล่อยไว้ตรงนั้น กองไว้ตรงนั้นหละ ถ้ากองผิดกองพลาด ไปกองบนหัวคนอื่น ก็ขอโทษเขามั่ง (หัวเราะ) เยอะเหมือนกัน ประเภทไปกองใส่หัวคนอื่น

อีกไม่กี่วันก็วันมาฆบูชา เพราะฉะนั้นลืมคำสอนของพระพุทธเจ้าไม่ได้นะ ท่านบอกว่า สัพพะปาหัสสะ อะกะระณัง เว้นจากความชั่วทั้งปวง กุสะลัสสูปะสัมปะทา ทำความดีให้ถึงพร้อม สะจิตตะปะริโยทะปะทัง ทำจิตใจให้ร่าเริง เบิกบานอยู่เสมอ ตัวสุดท้ายนี่สำคัญที่สุดสำคัญอยู่ตรงจุดที่กำลังใจของเรา ถ้าเกาะอะไร ถ้าตายไปอย่างนั้น

เพราะฉะนั้นทุกวันต้องรักษาจิตใจของเรา ให้เบิกบานแจ่มใสอยู่เสมอ การที่จะเบิกบานแจ่มใสอยู่ได้ สมาธิต้องทรงตัว ถ้าสมาธิทรงตัว กิเลสรบกวนไม่ได้ จิตใจก็จะผ่องใส ปัญญาก็จะเกิด

สนทนากับพระเล็ก สุธมฺมปญฺโญ
เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๔๖(ต่อ)
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ


ที่มา  http://board.palungjit.com/f61/ความหลากหลายของสีจีวรพระ-237849.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2011, 05:21:27 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:17:49 pm »
0

สีจีวรพระ
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13


การ ชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานรังสรรค์เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 ก.ค.ที่ผ่านมา เกิดเหตุวุ่นวายขึ้น เมื่อมีชายอายุประมาณ 30 ปี เดินเข้ามาในพื้นที่ชุมนุมไปพูดคุยกับสมณะสำนักสันติอโศกกลุ่มหนึ่ง เกี่ยวกับประเด็นการเมือง

ต่อมาเกิดมีปากเสียงกัน เมื่อชายคนดังกล่าวเอ่ยถามขึ้นว่า สมณะรูปดังกล่าวอยู่ศาสนาอะไร ทำไมห่มจีวรสีน้ำตาลเข้ม

สมณะรูปนั้นอธิบายว่านับถือศาสนาพุทธ สามารถห่มจีวรสีอะไรก็ได้ที่ไม่ตรงกับ 7 สีต้องห้าม ตามที่พระไตรปิฎกและกรมการศาสนาระบุ

แต่ชายคนดังกล่าวกระโดดชกสมณะรูปนั้นแล้ววิ่งหลบหนี ก่อนถูกตำรวจจับได้ในที่สุด

แล้วสีจีวรต้องห้ามทั้ง 7 มีอะไรบ้าง?

จีวรเป็นชื่อเรียกผ้าที่พระสงฆ์ใช้สอย ใช้เรียกทั้งผ้านุ่งผ้าห่ม เช่น คำว่า ไตรจีวร หมายถึงผ้า 3 ผืน ซึ่งมีทั้งผ้านุ่งและผ้าห่ม


ประกอบด้วยผ้าที่ตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ มาต่อกัน เป็นผ้าที่เศร้าหมอง คือผู้อื่นมักไม่ต้องการไปตัดเย็บอีก เหมาะสมกับสมณะ

ผ้าสี่เหลี่ยมผืนเล็กๆ ที่เย็บต่อกันนั้นเป็นลายคันนา ออกแบบโดยพระอานนท์

หลังจากพระอานนท์ถวายจีวรที่ตัดแต่งแล้วให้ทอดพระเนตร พระพุทธองค์ทรงพอพระทัย และอนุญาตให้ใช้ผ้า 3 ผืน คือ สังฆาฏิชั้นเดียว จีวร และสบง

ต่อมาทรงอนุญาต ไตรจีวร คือผ้าสังฆาฏิสองชั้น จีวร และสบง ทั้งนี้เพื่อให้พระสงฆ์ ใช้ป้องกันความหนาวเย็น และรับสั่งว่าภิกษุไม่พึงมีจีวรมากกว่านี้ หากรูปใดมีมากกว่านี้เป็นอาบัติ

ต่อมามีจีวรหลายประเภทเกิดขึ้น ภิกษุไม่แน่ใจว่าจีวรชนิดใดที่ทรงอนุญาต จึงกราบทูลต่อพระศาสดา พระพุทธองค์ทรงอนุญาตจีวร 6 ชนิด คือ


1.ทำด้วยเปลือกไม้
2.ทำด้วยฝ้าย
3.ทำด้วยไหม
4.ทำด้วยขนสัตว์
5.ทำด้วยป่าน
6.ทำด้วยของเจือกัน


สีของจีวรแต่เดิมใช้มูลโคหรือดินแดงย้อมจีวร ทำให้สีของจีวรเป็นสีคล้ำ มีการทักท้วง จึงนำความกราบบังคมทูลให้พระองค์ทรงทราบ

พระพุทธเจ้ามีดำรัสว่า

"ภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตน้ำย้อม 6 ชนิดสำหรับย้อมจีวร คือ น้ำย้อมจากรากไม้ น้ำย้อมจากต้นไม้ น้ำย้อมจากเปลือกไม้ น้ำย้อมจากใบไม้ น้ำย้อมจากดอกไม้ และน้ำย้อมจากผลไม้"

เมื่อย้อมเสร็จแล้วจีวรจะออกมาเป็นสีกรัก สีเหลืองหม่น หรือสีเหลืองเจือแดงเข้มเหมือนย้อมด้วยแก่นขนุน

แต่ทรงห้ามไม่ให้ภิกษุย้อมจีวรด้วย ขมิ้น ฝาง แกแล มะหาด เปลือกโลท เปลือกคล้า ใบมะเกลือ คราม ดอกทองกวาว เป็นต้น

สีจีวรที่ต้องห้าม คือ

1.สีเขียวคราม สีเหมือนดอกผักตบชวา

2.สีเหลือง สีเหมือนดอกกรรณิการ์

3.สีแดง สีเหมือนชบา

4.สีหงสบาท สีแดงกับเหลืองปนกัน

5.สีดำ สีเหมือนลูกประคำดีควาย

6.สีแดงเข้ม สีเหมือนหลังตะขาบ

7.สีแดงกลาย แดงผสมคล้ายใบไม้แก่ใกล้ร่วง เหมือนสีดอกบัว


บางแห่งระบุว่าสีต้องห้าม คือ สีดำ สีคราม สีเหลือง สีแดง สีบานเย็น สีแสด และสีชมพู

ถ้าจีวรมีสีตรงตามนี้ให้ภิกษุย้อมใหม่ ถ้าทำลายสีเดิมไม่ออกให้นำไปใช้เป็นผ้าปูลาดสำหรับรองนั่ง หรือใช้งานอื่นก็ได้

ในสมัยพุทธกาล พระภิกษุสงฆ์จะย้อมจีวรด้วยสีธรรมชาติแท้ สีจะไม่ออกมาเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีผิดเพี้ยนแตกต่างกันไปบ้าง

ส่วน ในยุคปัจจุบัน มีการใช้สีจีวรต่างๆ พอแยกออกได้ 2 สี คือ สีเหลืองเจือแดงเข้ม และสีกรักสีเหลืองหม่น ถือว่าถูกต้องตรงตามพระบรมพุทธานุญาตทั้ง 2 สี แต่พระภิกษุสามเณรที่อยู่วัดเดียวกัน ควรจะใช้จีวรสีเดียวกัน

เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และปฏิบัติให้ถูกต้อง


ที่มา
http://www.matichon.co.th/khaosod/vi...MHdOeTB5TlE9PQ==
http://board.palungjit.com/f10/สีจีวรพระ-140840.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2011, 05:22:06 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:24:54 pm »
0

จีวร ที่พระสงฆ์นุ่งห่ม มี Size ขนาดยังไง แล้วเรียกว่าอะไร


ขันธ์
การตัดเย็บจีวร เขาจะต้องตัดเป็นชิ้นเล็กก่อน แล้วจึงนำมาเย็บต่อกันเป็นผืนใหญ่
เหตุเพราะว่าในสมัยพุทธกาล แรกๆ พระภิกษุไปนำผ้าตามป่าช้ามาย้อมเป็นจีวร ช่วงนั้นก็ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ต่อมาเมื่อมีพุทธานุญาตให้รับจีวรที่ชาวบ้านถวายได้ คราวนี้เริ่มมีปัญหา เพราะชาวบ้านชอบทำบุญด้วยของดี ผ้าก็ถวายผ้าเนื้อดี เมื่อพระท่านใช้ท่านก็ต้องถอดซักและตาก ตากแล้วเผลอเข้าหน่อยมันก็หาย มีมือดีโขมยไปเสียแล้ว

พระพุทธเจ้าจึงให้พระอานนท์ออกแบบจีวรภิกษุทุกรูปใช้เหมือนกัน ไม่ว่าได้ผ้ามาชิ้นเล็กชิ้นใหญ่สุดท้ายต้องเหมือนกัน ให้ดูสวยงาม เรียบร้อย ใช้ได้ทุกโอกาส ที่สำคัญคือแม้ดูดี แต่โขมยไม่อยากได้ พระอานนท์เลยออกแบบโดยการตัดผ้าเป็นผืนเล็กๆ แล้วมาเย็บต่อกันเป็นผืนใหญ่ ลักษณะคล้ายคันนา เลยเรียกว่า คัน หรือ ขันธ์

ขันธ์ เป็นการนับชิ้นจีวรทางแนวตั้ง ที่นิยมเย็บกันก็มีตั้งแต่ ๕ ขันธ์ ๗ ขันธ์ และ ๙ ขันธ์ ราคาก็แตกต่างกันไป โดยขันธ์มากก็แพงมากเพราะเสียเวลาตัดเย็บมาก

แล้วควรจะใช้กี่ขันธ์
จีวร ๕ ขันธ์นี่เลี่ยงไปเลย ไม่สวย และไม่ทน ควรเลือก ๗ หรือ ๙ ขันธ์ แล้วแต่ทรัพย์ในกระเป๋า วัดทั่วไปถวายจีวร ๗ ขันธ์ได้ แต่ถ้าเป็นวัดป่าต้อง ๙ ขันธ์เท่านั้น

ขนาด
ยังมีเรื่องขนาดความสูงอีกอย่างหนึ่ง จีวรที่ตัดขายกันมีตั้งแต่ ๑.๕, ๑.๖, ๑.๗, ๑.๘, ๑.๙, ๒.๐ เมตร ยิ่งมากยิ่งแพง ถ้าพระรูปร่างสูงแล้วใช้จีวรสั้น เวลาครองจีวรแล้วจะลอยชายมาก ต้องดูให้พอดีๆ หากคิดอะไรไม่ออกให้ซื้อจีวรขนาด ๑.๖-๑.๗ เมตร เป็นมาตรฐานที่ใช้ได้ ๙๐% อย่าซื้อ ๑.๕ เมตรเด็ดขาด เพราะพระท่านใช้ไม่ได้
แต่ถ้าพระรูปนั้นสูงมากๆ ก็ต้องถามกันตรงๆ ว่าท่านใช้จีวรยาวเท่าไหร่


สีจีวร
นี่ก็เวียนหัว มีหลายสีเหลือเกิน ถ้าจะให้ปลอดภัยก็เลือกสีเหลืองพระราชทานนั่นแหละปลอดภัยที่สุด ส่วนถ้าจะไปถวายพระวัดป่าก็ต้องไปในแนวสีกรัก
แต่ต้องระวังว่าแม้แต่สี กรักก็ไม่เหมือนกันอีก ดังนั้นการถวายผ้าจีวรพระวัดป่า ที่ดีที่สุดคือซื้อผ้าขาวไปถวายเป็นพับ ท่านจะไปตัดเองย้อมเองครับ อย่าห่วงว่าทำให้ท่านลำบาก ถวายผ้าที่ย้อมแล้วสิทำให้ท่านลำบาก เพราะท่านต้องนำไปแจกต่อเพราะสีไม่ตรง
ถวายผ้าแล้วอย่าลืมถวายด้ายด้วยล่ะ

เนื้อผ้า
จะถวายผ้าไตรจีวรทั้งทีต้องพิถีพิถัน ต้องให้พระท่านได้ใช้
ผ้าไตรจีวรแม้จะขนาดเดียวกัน สีเดียวกัน ก็ยังมีหลายราคา แล้วจะเลือกยังไง

- ผ้าโทเร
ไตรจีวร ที่ทำจากผ้าโทเรราคาจะถูกที่สุด ครบชุดไม่ถึงพัน แต่ผ้านี้เนื้อแข็ง ระคายผิว เก็บความร้อน เวลาซักก็แห้งยาก สำคัญนะครับ เพราะพระท่านใช้จีวรชุดเดียว และผ้าชนิดนี้ใช้ปีเดียวก็ขาดแล้วครับ

- ผ้ามิสลิน บางทีก็เรียกมัสลิน
ราคาแพงขึ้นมาอีกนิด ชุดหนึ่งราวๆ ๑,๘๐๐ บาท ถ้าหาเก่งๆ ต่อเก่งๆ ซื้อจำนวนมาก ก็อาจได้ถูกถึง ๑,๔๐๐ บาท ผ้านี้ดีตรงที่เนื้อบาง เบา ห่มแล้วสบาย เวลาอากาศร้อนผ้าจะเย็นๆ เวลาอากาศเย็นก็เก็บไอร้อนจากตัวไว้ได้ดี พระท่านจะชอบมาก ซักแล้วแห้งง่าย แถมทนทานชุดหนึ่งอยู่ได้ถึง ๓ ปี บางวัดเจ้าอาวาสท่านจะรับผ้ากฐินไว้ใช้เองทุกปี พระลูกวัดก็คอยจ้องรับของเก่า เพราะยังใช้ได้อีกตั้ง ๒ ปี แถมดีกว่าใช้ผ้าใหม่ที่เป็นผ้าโทเรเสียอีก

- ผ้าฝ้าย
นี่เป็นสุดยอด ผ้าจีวร เนื้อหนา สำหรับพระในพื้นที่อากาศหนาว โดยเฉพาะพระธุดงค์จำเป็นต้องถวายจีวรแบบนี้เลย เพราะพระธุดงค์มักจะไปอยู่ตามป่าเขาที่หนาว ราคาแพงมาก โดยเฉลี่ยประมาณชุดละ ๒,๘๐๐ บาท แต่ต่อเก่งๆ ก็อาจได้ราคาแถวๆ ๒,๔๐๐ บาท
(ราคาทั้งหมดที่ว่านี้เป็นผ้าไตรจีวรครบชุด ๗ ชิ้นสำหรับถวายกฐินเลยนะครับ)

ผ้าขาว
สำหรับ วัดป่า ลองสังเกตดูดีๆ ว่าพระวัดป่าสายหลวงปู่มั่น ไม่ว่าอยู่วัดไหนก็ใช้จีวรสีเดียวกันเป๊ะ เพราะท่านไม่ยอมให้สีเพี้ยนครับ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยว่าท่านใช้ได้แน่ ก็ถวายผ้าขาวไปเลย ท่านนิยมผ้ามิสลินครับ ชุดหนึ่งใช้ผ้า ๒๕ เมตร หรือจะถวายเป็นพับยาวๆ เลยก็ได้ พับใหญ่ยาวประมาณ ๑๒๕ เมตร (จำไม่ได้แน่) เดี๋ยวท่านไปจัดการตัดเอง เย็บเอง ย้อมเอง ไม่ต้องห่วง

และอย่าลืมถวาย ด้ายเย็บผ้าไปด้วย เลือกด้ายสีขาวที่เป็นผ้าฝ้ายแท้ ๑๐๐% เท่านั้น อย่าถวายด้ายที่เป็นฝ้ายผสม หรือด้ายสังเคราะห์ เพราะย้อมไม่ติด เดี๋ยวจีวรจะเห็นรอยเย็บขาวๆ ต้องเสียเวลามารื้อออกกันอีก

วิธีการ พิสูจน์ผ้าฝ้ายแท้ ใช้วิธีเผาไฟ ด้ายที่มีส่วนผสมของใยสังเคราะห์ไหม้แล้วจะจับเป็นก้อนเล็กๆ แต่ง่ายที่สุดก็ถามคนขายตรงๆ ย้ำกับคนขายว่าสีที่ย้อมจีวรในวัดป่าย้อมผ้าสังเคราะห์ไม่ติด


ที่มา  http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=481d17f3f2d2802f&pli=1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 08, 2011, 05:27:18 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

saieaw

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 271
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ธันวาคม 17, 2010, 10:27:26 pm »
0
ได้ความรู้ มาก ๆ เลย ปกติไม่เคยสนใจ เรื่องจีวรพระ

เห็นแต่พระใส่จีวร สีแปลก ๆ สะดุด ตาก็มีสีบานเย็น ออกสีม่วง

เคยสงสัยเหมือนกัน พึ่งจะเข้าใจวันนี้

 :25:
บันทึกการเข้า

ส้ม

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังแหวกกระแส
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 184
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: จีวรพระที่มีพุทธานุญาต มีกี่สี คะ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กรกฎาคม 09, 2011, 01:33:58 pm »
0
เรื่องของสีจีวร เราจะทราบได้อย่างไร คะว่า ควรจะถวายสีไหน

 สมมุิติ ว่าเราไม่รู้ว่าท่านใช้สีไหน แล้ว นำไปถวาย ท่านไม่ได้ใช้ หรือ ใช้ไม่ได้ อย่างนี้จะได้บุญหรือไม่ ? คะ

 :25:
บันทึกการเข้า
เส้นทางแสนเปรี้ยว จะมีสุขจริงบ้างหรือไม่ ?