ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เวียงเล็ก ขุมกำลังอู่ทอง คลองคูจาม สำเภาล่ม อยุธยา  (อ่าน 2052 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คลองคูจาม ย่านสำเภาล่ม ใกล้วัดพุทไธศวรรย์ มีถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาตัดผ่าน (ซ้าย) มีถนนลาดยางตัดขนานคลองคูจามตลอดสายลงไปทางทิศใต้เกือบถึงคลองตะเคียน


เวียงเล็ก ขุมกำลังอู่ทอง คลองคูจาม สำเภาล่ม อยุธยา

คลองคูจาม น่าจะเป็นคลองขุดแนวเกือบตรงแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ข้างวัดพนัญเชิงด้านตะวันออก ลงทางทิศใต้ เชื่อมคลองตะเคียน พงศาวดารบอกว่า เมื่อเจ้านครอินทร์ จากสุพรรณภูมิยึดได้อยุธยา พ.ศ. 1952 (ราว 600 ปีมาแล้ว) จึงให้พระรามราชา เชื้อสายรามาธิบดีเมืองละโว้ “ไปกินเมืองปท่าคูจาม” น่าจะหมายถึงเมืองฟากข้างโน้นหรือเมืองฝั่งโน้น

ปท่า กร่อนจาก ประท่า แปลว่า ฟากข้างโน้น, ฝั่งโน้น (พจนานุกรมฉบับมติชน)
จ.สงขลา มี อ.ปละท่า ชื่อเดิมของ อ.สทิงพระ น่าจะเป็นคำเดียวกันและความหมายเดียวกับ ประท่า เพราะสทิงพระอยู่คนละฟากทะเลสาบกับเมืองสงขลา

จาม หมายถึง มุสลิมพูดตระกูลภาษาชวา-มลายู ชำนาญเดินเรือทะเล มีเอกสารระบุว่า ในยุคอยุธยามีอาสาจาม (เทียบเท่ากองทัพเรือ)

ถ้าพิจารณาจากตำนานพงศาวดารอันเป็นที่รู้กันว่าก่อนสถาปนาอยุธยา พ.ศ.1893 สมเด็จพระรามาธิบดี (ที่ถูกเรียกว่าพระเจ้าอู่ทอง) สร้างตำหนักที่ประทับชั่วคราวอยู่เวียงเล็ก (ไม่ใช่เวียงเหล็ก) ไว้บริเวณนี้ (ปัจจุบัน คือ วัดพุทไธศวรรย์) แล้วขุดคลองคูจาม (ชื่อเรียกสมัยหลัง)

น่าสงสัยว่าย่านคลองคูจาม คือหลักแหล่งขุมกำลังทางเศรษฐกิจการเมืองของวงศ์ละโว้ มีอาณาบริเวณเท่ากับเมืองหนึ่งในยุคโน้น ตำนานพงศาวดารจึงให้ความสำคัญย่านนี้เรียกเวียงเล็ก (หมายถึงขอบเขตขนาดไม่กว้างขวางใหญ่โต) เจ้านครอินทร์ให้รามราชาไปกินเมืองฝั่งโน้น (คลองคูจาม) น่าจะหมายถึงกลับไปอยู่บ้านเดิมของบรรพชนละโว้ เหมือนกรณีพะงั่วครองอยุธยาแล้วให้ราเมศวร (โอรสรามาธิบดี) กลับไปละโว้



ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
วันที่ : 1 มี.ค. 59
ที่มา : มติชนออนไลน์
http://www.matichon.co.th/news/55071
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28415
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
คลองคูจาม ในประวัติศาสตร์ต้นอยุธยา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 27, 2016, 08:18:52 am »
0

เวียงเล็กของพระรามาธิบดี (อู่ทอง) ยกให้สร้างเป็นวัดพุทไธศวรรย์ มีพระปรางค์แบบขอม อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเกาะเมืองอยุธยาด้านทิศใต้ (ที่นี่ไม่เคยมีกระบี่กระบองสำนักดาบ)


คลองคูจาม ในประวัติศาสตร์ต้นอยุธยา

คลองคูจาม (ต. สำเภาล่ม อ. เมือง จ. พระนครศรีอยุธยา) อยู่ใกล้วัดพุทไธศวรรย์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านตรงข้ามวัดพนัญเชิง ผมยังวนเวียนกลับมาคลองคูจามอีก มีความเป็นมาอย่างย่อที่สุด ดังนี้

พระรามาธิบดี (ถูกสมมุติเรียกตามตำนานว่าอู่ทอง) เป็นเชื้อสายวงศ์ละโว้ (ขอม พูดภาษาเขมร เครือญาติใกล้ชิดกับกษัตริย์กัมพูชา) มีโอรสชื่อพระราเมศวร ต่อมาเป็นพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา

พระราเมศวร มีโอรสชื่อพระรามราชา เป็นพระเจ้าแผ่นดินอยุธยา พระรามราชา ขัดแย้งกับเสนาบดี (ขุนนาง) จะเข้าควบคุมกุมจับ แต่เสนาบดีหนีข้ามไปอยู่ฟาก “ปท่าคูจาม” เสนาบดี (ของพระรามราชา) นัดหมายเจ้านครอินทร์พระเจ้าแผ่นดินสุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ยกไพร่พลยึดอยุธยา แล้วให้พระรามราชา “ไปกินเมืองปท่าคูจาม”

ปท่าคูจาม ต้องมีความสำคัญมากในยุคนั้น เพราะเมื่อขัดแย้งทางการเมืองก็มักหนีไปที่นั่นแล้วปลอดภัย สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ อ้างพระราชวินิจฉัย ร.5 ว่า ปท่าคูจาม มาจาก “ปละท่าคูจาม” หมายถึง ฟากข้าง, ฝ่ายข้าง  [อธิบายฯ ในพระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา กรมศิลปากร จัดพิมพ์ พ.ศ. 2542 หน้า 212]

ปท่า ไม่ใช่ชื่อสถานที่ แต่เป็นคำบอกตำแหน่งว่าอยู่ตรงไหน.? คำนี้กร่อนจาก ปละท่า แปลว่า ฝั่งโน้น, คนละฝั่ง หรือ ฟากข้างโน้น, ฝ่ายข้างโน้น บางทีเขียน “ประท่า” ก็ได้

คูจาม เป็นชื่อสถานที่ หรือบอกลักษณะสถานที่ ว่าเป็นคูน้ำที่ขุดขึ้นแสดงขอบเขตของเวียงที่มีพวกแขกจาม (มุสลิม) ตั้งบ้านเรือนสองฟาก ปัจุจบันเรียกคลองคูจาม

ปท่าคูจาม สอดคล้องเข้ากันได้กับเวียงเล็ก ที่ประทับชั่วคราวของพระรามาธิบดี ที่ขุดคูน้ำแสดงขอบเขตไว้ ตำนานบอกว่าเมื่อจะสถาปนาอยุธยา พระรามาธิบดีมีตำหนักอยู่เวียงเล็ก (มักเรียกสมัยหลังว่า เวียงเหล็ก) อยู่ฟากตรงข้ามวัดพนัญเชิง ซึ่งเป็นย่านพ่อค้าจีน

เวียง หมายถึง บริเวณที่มีคูค่ายเป็นขอบเขต เวียงเล็ก คือ บริเวณที่มีคูค่ายเป็นขอบเขตไม่กว้างขวางใหญ่โตนัก [เวียงเหล็ก คือ บริเวณที่มีคูค่ายมั่นคงแข็งแรงเสมือนเหล็ก (เป็นคำยอยศ แต่อาจไม่จริงตามนั้นทั้งหมด)]


ถนนเลียบคลองคูจาม บริเวณ หมู่ 9 บ้านดงตาล ต.สำเภาล่ม ซ้ายมือคือวัดท่าหอย ขวามือคือวัดเตว็ด


ท้องถิ่นคูจาม

ความเป็นมาของบริเวณคลองคูจามที่อยุธยา ถือเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สังคมของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งต้องใช้ทั้งหลักฐานประวัติศาสตร์และโบราณคดี เพื่อสร้างคำอธิบาย ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์สังคม หรือประวัติศาสตร์สังคมต้องมีประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอยู่ด้วยเป็นเนื้อเดียวกัน จะแยกกันมิได้

อยุธยา เคยเป็นราชธานีของราชอาณาจักรสยามแห่งแรก แต่ปัจจุบันเป็นท้องถิ่นหนึ่งของไทย ดังนั้น อยุธยาจึงมีทั้งประวัติศาสตร์ราชธานีและประวัติศาสตร์ท้องถิ่นทับซ้อนกัน


ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ
ที่มา : คอลัมน์สยามประเทศไทย มติชนรายวัน
เผยแพร่ : 7 มี.ค. 59
http://www.matichon.co.th/news/62301
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

paisalee

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 382
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เป็นประเด็นน่าติดตาม ครับเรื่องนี้ ประวัติศาสตร์

 like1 thk56 st12
บันทึกการเข้า
บุญที่้ข้าพเจ้าได้ทำวันนี้ ขออุทิศให้แก่ บิดาและน้องชายที่ล่วงลับ มารดาที่ยังมีชีวิตอยู่

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

         ขอบคุณที่ไปหามาให้อ่านกันนะครับ

                 ขออนุโมทนาสาธุในบุญของท่าน
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา