ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?  (อ่าน 11059 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

เมตตา

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 91
  • ขอให้ทุกชีวิต จงเป็นแต่ผู้มีความสุข เถิด
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 ask1 ask1 ask1

การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
ตกลง คน เรา ต้องการ ธรรม หรือ ต้องการ สุข หรือ ต้องการอะไร ?

 นาน ๆ จะถามที ไม่ ถาม ถี่ อย่างเมื่อก่อน

  :bedtime2: :58: :88:
 
บันทึกการเข้า

ปัญญสโก ภิกขุ

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 403
  • อริยสโก
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กันยายน 26, 2014, 10:13:43 pm »
0
 ans1

         เพราะอาจจะทำให้ผู้รับบรรลุธรรมได้   
 

                                          :welcome:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กันยายน 27, 2014, 07:45:52 pm »
0
ในเรื่อง..วิธีสร้างบุญบารมี..มีอยู่ว่า
   ทําทาน กับ คนไม่มีศิล ๑๐๐ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับคนมีศิล ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ คนมีศิล ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับคนปฏิบัติภาวนา ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ คนปฏิบัติภาวนา ๑๐๐ ครั้งได้ไม่เท่า ทําทาน กับพระโสดาบัน ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระโสดาบัน ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับพระสกทาคามี ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระสกทามี ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับพระอนาคามี ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระอนาคามี ๑๐๐  ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับพระอรหันต์ ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระอรหันต์ ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน กับพระปัจเจกพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระปัจเจกพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า  ทําทาน กับ พระพุทธเจ้า ๑ ครั้ง
   ทําทาน กับ พระพุทธเจ้า ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า .......ทําทาน กับ (การสร้างธรรมทาน ๑ ครั้ง)
   ทําทาน กับ การสร้างธรรมทาน ๑๐๐ ครั้ง ได้ไม่เท่า ทําทาน .... กับ (การให้อภัยทาน ๑ ครั้ง)
          มีหนังสือ...วิธีสร้างบุญบารมี... ของ พระสังฆราช ที่พระสังฆราชท่านทรงเขียนหนังสือไว้เป็นธรรมทาน ได้ไปอ่านเจอมา
 

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2014, 10:13:29 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 06:44:51 pm »
0
 :s_hi:

"ทานใดเป็นไปเพื่อความไม่ก่อเวรไซร้ ชื่อว่าธรรมทาน อคติจะหามีแก่ใจเขาไม่"

:s_good:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2014, 06:49:04 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คำว่า "การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง" มีที่มาอย่างไร.?

"สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ - การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชำนะการให้ทั้งปวง" มาจาก พระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต อยู่ใน "คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔" ขอยกมาแสดงบางส่วน

     [๓๔] ตัณหาย่อมเจริญแก่มนุษย์ผู้ประพฤติประมาท ดุจเคลือเถาย่านทราย ฉะนั้น
     บุคคลนั้นย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่า ฉะนั้น
     ตัณหานี้ลามกซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใดความโศกทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกเชยแล้วงอกงามอยู่ในป่า ฉะนั้น
     บุคคลใดแล ย่อมครอบงำตัณหาอันลามก ล่วงไปได้โดยยากในโลก ความโศกทั้งหลายย่อมตกไปจากบุคคลนั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัว ฉะนั้น ..........ฯลฯ...

     การให้ธรรมเป็นทานย่อมชำนะการให้ทั้งปวง
     รสแห่งธรรมย่อมชำนะรสทั้งปวง
     ความยินดีในธรรมย่อมชำนะความยินดีทั้งปวง
     ความสิ้นตัณหาย่อมชำนะทุกข์ทั้งปวง........ฯลฯ...

____________________________________________________________________     
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_item.php?book=25&item=34


 ask1 ans1 ask1 ans1

ในทานสูตร ได้กล่าวถึง "ความเป็นเลิศของธรรมทาน" ไว้ด้งนี้

   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
   พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗  ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต
   ๙. ทานสูตร
   [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ

_____________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6453&Z=6470
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เหตใด.? การให้ธรรมะเป็นทาน มีอานิสงส์มากกว่า การให้ประเภทอื่นๆทั้งหมด

ปัญหานี้มีคำอธิบายอยู่ใน อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ ขอยกมาแสดงบางส่วน

     พระศาสดาทรงแก้ปัญหา               
     พระศาสดาตรัสว่า "ดีละ มหาบพิตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ บริจาคมหาบริจาค แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็เพื่อตัดความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่พระองค์ถามแล้วเถิด
     บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม,
     บรรดารสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด,
     บรรดาความยินดีทุกชนิด ความยินดีในธรรมประเสริฐ
     ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้ เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต"
     ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
     สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ - ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง
     สพฺพํ รสํ ธมฺมรโส ชินาติ - รสแห่งธรรมย่อม ชนะรสทั้งปวง
     สพฺพํ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ - ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
     ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ - ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง.

             
      :96: :96: :96: :96:

     แก้อรรถ               
     บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพทานํ เป็นต้น ความว่า ก็ถ้าบุคคลพึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อนแด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้นั่งติดๆ กันในห้องจักรวาล ตลอดถึงพรหมโลก.
     การอนุโมทนาเทียวที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วยพระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ; ก็ทานนั้นหามีค่าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่ การแสดงก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับก็ดีซึ่งธรรมเป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.

     อนึ่ง บุคคลใดให้ทำการฟังธรรม อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้. ธรรมทานนั่นแหละที่พระพุทธเจ้าเป็นต้น ให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา โดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท
     ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาต อันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละบ้าง
     (ประเสริฐที่สุด)กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น แล้วถวายบ้าง
     (ประเสริฐที่สุด)กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสน แล้วถวายบ้าง
     (ประเสริฐที่สุด)กว่าการบริจาคที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลาย แล้วทำบ้าง.



     เพราะเหตุไร.?
     เพราะว่า ชนทั้งหลายเมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้ ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่. ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้ เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.


     อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้นผู้ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้ ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้นแสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และทำให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เพราะเหตุแม้นี้ มหาบพิตร ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.
     เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ."

     อนึ่ง รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด โดยส่วนสูงแม้รสแห่งสุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.
     ส่วนพระธรรมรสกล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการนี้แหละประเสริฐกว่ารสทั้งปวง.
     เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า "สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ."

     อนึ่ง แม้ความยินดีในบุตร ความยินดีในธิดา ความยินดีในทรัพย์ ความยินดีในสตรี และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียว อันต่างด้วยความยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยังสัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้.
     ส่วนความอิ่มใจซึ่งเกิดขึ้น ณ ภายในของผู้แสดงก็ดี ผู้ฟังก็ดี ผู้กล่าวสอนก็ดี ซึ่งธรรม ย่อมให้เกิดความเบิกบานใจ ให้น้ำตาไหล ให้เกิดขนชูชัน ความอิ่มใจนั้น ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน, ความยินดีในธรรมเห็นปานนี้แหละ ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง.
     เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า "สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ."

     ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งตัณหา พระอรหัตนั้นประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้ เพราะครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น.
     เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า "ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ."

      st12 st12 st12 st12

     เมื่อพระศาสดาตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ อยู่นั่นแล ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.
     แม้ท้าวสักกะทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดา แล้วทูลว่า
     "พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร พระองค์จึงไม่รับสั่งให้ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้? จำเดิมแต่นี้ไป ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ๆ ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า."

    พระศาสดาทรงสดับคำของท้าวเธอแล้ว รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ตรัสว่า
    "ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี การฟังธรรมตามปกติก็ดี กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา แล้วพึงให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง."


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=34&p=10
อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎกได้ที่ http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1162&Z=1243
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 29, 2014, 10:59:36 am »
0
ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


เหตใด.? การให้ธรรมะเป็นทาน มีอานิสงส์มากกว่า การให้ประเภทอื่นๆทั้งหมด

ปัญหานี้มีคำตอบอยู่ใจ "อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปัญจมวรรค ทานสูตร" ขอยกมาแสดงบางส่วน
           
    บทว่า ธมฺมทานํ ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ (แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า
    ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล
    ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ
    ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
    ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้

    กระทำกรรมและผลของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ธรรมทาน
     ส่วนบุคคลบางพวกชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า
     ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม
     ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม
     ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม
     ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม
     ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม ดังนี้
     แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่า ธรรมทานขั้นสุดยอด.


      ask1 ans1 ask1 ans1

     บทว่า เอตทคฺคํ ตัดบทเป็น เอตํ อคฺคํ แปลว่า (ธรรมทานนี้เป็นเลิศ).
     บทว่า ยทิทํ ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทานที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด.
     อธิบายว่า บุคคลจะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัยธรรมทานอันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือ เป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
     การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง
     รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง
     ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
     ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.





    ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง.
    การไม่บริโภคปัจจัยทั้งหลายเสียเอง แต่ปัจจัย ๔ อันตนพึงบริโภคแล้วแจกจ่ายแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่แก่คนทั่วไป ชื่อว่า อามิสฺสํวิภาโค (แจกจ่ายอามิส).
    ความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายน้อย แสดงอ้างธรรมที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะเผื่อแผ่ธรรมแก่คนทั่วไป ชื่อว่า ธมฺมสํวิภาโค (แจกจ่ายธรรม)

    การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า อามิสานุคฺคโห
(อนุเคราะห์ด้วยอามิส).
    การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่นด้วยธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า ธมฺมานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยธรรม).

     st12 st12 st12 st12

    คำที่เหลือมีนัยกล่าวแล้วทั้งนั้น.
    พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้
    บทว่า ยมาหุ ทานํ ปรมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัส ทานใดว่าเยี่ยม คือสูงสุด โดยความที่จิต (เจตนา) เขต (ปฏิคาหก) และไทยธรรมเป็นของโอฬาร หรือโดยยังโภคสมบัติเป็นต้นให้บริบูรณ์ คือยังโภคสมบัติเป็นต้นให้เผล็ดผล
    อีกอย่างหนึ่ง ตรัสว่าเยี่ยม เพราะย่ำยีคือ กำจัดธรรมที่เป็นปฏิปักษ์อื่นๆ มีโลภะและมัจฉริยะเสียได้.

    บทว่า อนุตฺตรํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัสทานใด ชื่อว่าเว้นจากทานอื่นที่ยอดเยี่ยมกว่า และให้สำเร็จความยิ่งใหญ่ เพราะยังเจตนาสมบัติเป็นต้นให้เป็นไปดียิ่ง และเพราะความเป็นทานมีผลเลิศ โดยความเป็นยอดทาน.


ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=278
ที่มา อ่านเนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6453&Z=6470
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: กันยายน 29, 2014, 11:25:14 am »
0
ask1 ask1 ask1

การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
ตกลง คน เรา ต้องการ ธรรม หรือ ต้องการ สุข หรือ ต้องการอะไร ?

 นาน ๆ จะถามที ไม่ ถาม ถี่ อย่างเมื่อก่อน

  :bedtime2: :58: :88:
 


ans1 ans1 ans1 ans1

ใครจะต้องการอะไรนั้น ควรถามตัวเอง...ความสุขทางโลกและความสุขทางธรรมเกิดจากการได้สดับรับฟังข้อธรรมต่างๆ การจะทำทานต่างๆได้นั้น ต้องเกิดจากความเชื่อ(ศรัทธา) ความเชื่อนั้นมีต้นเหตุมาจากการได้ฟังธรรม ทานต่างๆจะเกิดไม่ได้เลย หากไม่ได้ฟังธรรมเสียก่อน นั่นคือคำตอบว่า ทำไมการให้ธรรมะเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

อย่างไรก็ตาม ขอยกความในอรรถกถา มาอธิบายคำถามที่ว่า เหตุใดธรรมทานจึงชนะการให้ทั้งปวง ดังนี้

     อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
    เพราะว่า ชนทั้งหลายเมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรมแล้วเท่านั้นจึงทำได้ ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่. ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึงฟังธรรมไซร้ เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด.
     อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้นผู้ประกอบด้วยปัญญาซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้ ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้นแสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และทำให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา
     เพราะเหตุแม้นี้ ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด.
     เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า "สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ."


     อรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ ติกนิบาต ปัญจมวรรค ทานสูตร
     บุคคลจะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ ก็เพราะอาศัยธรรมทานอันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ก็ธรรมทานที่เป็นโลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือ เป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง
     ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า การให้ธรรม ย่อมชนะการให้ทั้งปวง



     ขอคุยเป็นเพื่อนเท่านี้ครับ

      :25: :25: :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2014, 11:27:05 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

nongyao

  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 380
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: กันยายน 29, 2014, 04:08:20 pm »
0
 st11 :25:
บันทึกการเข้า
กราบนอบน้อมพระพุทธเจ้าอันเป็นอดีต อนาคต แลปัจจุบัน ด้วยเศียรเกล้า
                 พุทธัง  ธัมมัง  สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
                       
                         ข้าพเจ้าจักขอทำเหตุที่ดี

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #10 เมื่อ: กันยายน 29, 2014, 10:10:04 pm »
0
มีบทความบทความหนึ่ง...ที่มีผู้มาแก้ไข หนังสือชื่อ "วิธีสร้างบุญบารมี" ที่ว่าแต่งโดยพระสังฆราช องค์ที่ สิบเก้า แต่ความจริงพระสังฆราชท่านไม่รู้เรื่องเลย มีผู้แอบอ้าง

    ถ้าเข้า google ให้พิมพ์คําว่า

       "ความเข้าใจผิดเรื่องอภัยทานมีผลเหนือธรรมทาน"

     คํานี้ผิดจากพุทธพจน์ โดยให้ใช้การตรวจสอบ เรียกว่ามหาปเทส๔
  ซึ่งปรากฏใน พระไตรปิฏก เล่มที่10 พระสุตตันตปิฏก เล่มที่2 ทีฆนิกายมหาวรรค

     ขอให้ผู้รู้ไปดึงมาให้อ่านกันหน่อย จะได้ไม่เข้าใจผิดกัน

   
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2014, 10:17:47 pm โดย aaaa »
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #11 เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 01:18:59 am »
0
ความเข้าใจผิดเรื่อง อภัยทาน มีผลเหนือ ธรรมทาน



เรื่องนี้มีที่มาจาก หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี ซึ่งมีผู้เข้าใจผิดคิดว่าสมเด็จพระสังฆราช(องค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินธุ์)เป็นผู้แต่ง โดยมีเนื้อหาดังนี้
(พึงทราบว่า เนื้อหาในหนังสือข้างต้น ที่นำมาแสดงนี้ มีบางส่วนที่ไม่ตรงกับพระพุทธพจน์)

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ

    ๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีบุญวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์ และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี

    ๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้ที่มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพระพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ

    พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น “พระ” แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า “สมมุติสงฆ์” พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น “พระ” ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

    ๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)

    ๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามีแม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นป ระธาน แม้จะได้ถวายสังฆทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม

    ๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายวิหารทาน แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทาน อันเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน

    ๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐หลัง) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ธรรมทาน แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้ได้รู้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจในมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ

    ๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ “อภัยทาน” แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือการไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อละ “โทสกิเลส” และเป็นการเจริญ “เมตตาพรหมวิหารธรรม” อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง “พยาบาท” ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

    อย่างไรก็ดี การให้อภัยทาน แม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่นๆทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า “ฝ่ายศีล” เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

เรื่องนี้ขออธิบาย ว่า เนื้อหาที่ทำตัวเข้มเป็นเนื้อหาที่ผิด เพราะในศาสนาพุทธนั้น คำพูดของพระพุทธเจ้า (พระพุทธพจน์) ถือเป็นหลักสำคัญ ที่อยู่เหนือ คำพูดของพระสาวก (สาวกพจน์) แม้แต่หลักในการตัดสินก็ยังยึด พระพุทธพจน์ในพระไตรปิฎกเป็นหลักใหญ่ (เทียบได้กับรัฐธรรมนูญในแง่กฏหมาย) ส่วนคัมภีร์อื่นๆ ให้ยืดถือเป็นลำดับรองลงมา ตามลำดับ ได้แก่ อรรถกา ฏีกา อนุฏีกา และ คำสอนของอาจารย์ต่างๆ ซึ่งเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของสาวกพจน์ (เทียบได้กับกฏหมายย่อย) ถ้ามีส่วนใดของ คัมภีร์อื่นๆ ที่ค้านกับ พระพุทธพจน์ ให้ถือ พระพุทธพจน์เป็นหลัก คำพูดที่แย้งกับพระพุทธพจน์ให้ตัดสินว่าคำพูดนั้นไม่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย  แม้ว่าคำพูดนั้นจะเป็นจะเป็นของพระที่มีชื่อเสียงแค่ไหน หรือของพระสังฆราช ก็ตาม ย่อมจัดอยู่ใน สาวกพจน์ มิใช่พระพุทธพจน์ จะเอามาหักล้างกับพระพุทธพจน์มิได้

(แต่ความจริงแล้วพระสังฆราชไม่ได้เป็นผู้แต่งหนังสือเล่มที่ผิดเล่มนี้)

ทั้งนี้ ต้องยึดพระพุทธพจน์เป็นหลักเป็นแม่บทเป็นเกณฑ์ในการตรวจสอบ

ซึ่งหลักเกณฑ์ตรวจสอบนี้เรียกเรียกว่า “มหาปเทส ๔” (หรือเรียกว่า มหาประเทศก็ได้)  ซึ่งปรากฏใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค ดังนี้

    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ อานันทเจดีย์ ในโภคนครนั้น ณ ที่นั้น
    พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

    ๑. อาวุโสข้อนี้ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา หรือ
    ๒. สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์ อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้ฟังมาได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา หรือ
    ๓. ภิกษุผู้เป็นเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรมทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา หรือ
    ๔.  ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรมนี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา

    พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย

    ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัยลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่านี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุนี้/ภิกษุสงฆ์นี้/พระเถระเหล่านั้น/พระเถระนั้น (ในที่นี้หมายถึงผู้แต่งหนังสือ) จำมาผิดแล้ว ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย

    ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงใน พระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และ ภิกษุนี้/ภิกษุสงฆ์นี้/พระเถระเหล่านั้น/พระเถระนั้น จำมาถูกต้องแล้ว

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศเหล่านี้ไว้ ฯ”

ซึ่งจุดที่ผิดในหนังสือคือ
1. การอธิบายเรื่อง อภัยทานมีผลเหนือธรรมทาน

ซึ่งหลักฐานในพระไตรปิฎก พบว่าพระพุทธเจ้ากล่าวไว้ชัดเจนใน คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔ ว่า

    “สัพพะ ทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ “
    (การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทานทั้งปวง)

ผลของทานที่ไล่ตามลำดับ 15 ข้อตามหนังสือวิธีสร้างบุญบารมีนี้ แท้จริงแล้วพระพุทธเจ้า มิได้ตรัสถึงผลทาน เหมือนกับ ในหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมี ของสมเด็จพระสังฆราช แต่พระพุทธเจ้าตรัสถึงผลทาน 14 ข้อนี้ในทักขิณาวิภังคสูตร  ดังนี้

(พึงทราบว่าข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อความที่ถูกต้องจากพระพุทธพจน์)

    ดูกรอานนท์ ใน ๑๔ ประการนั้น

    1) บุคคลให้ทานในสัตว์เดียรัจฉาน พึงหวังผลทักษิณาได้ร้อยเท่า
    2) ให้ทานในปุถุชนผู้ทุศีล พึงหวังผลทักษิณาได้พันเท่า
    3) ให้ทานในปุถุชนผู้มีศีล พึงหวังผลทักษิณาได้แสนเท่า
    4) ให้ทานในบุคคลภายนอกผู้ปราศจากความกำหนัดในกาม (พวกนักพรตฤาษีต่างๆ) พึงหวังผลทักษิณาได้แสนโกฏิเท่า
    5) ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง พึงหวังผลทักษิณาจนนับไม่ได้
    จนประมาณไม่ได้
    6) จะป่วยกล่าวไปไยสำหรับการให้ทานในพระโสดาบัน(ว่าจะหวังผลได้มากแค่ไหน)
    7) ให้ทานในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำสกทาคามิผลให้แจ้ง
    8) ในพระสกทาคามี
    9) ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง
    10) ในพระอนาคามี
    11) ในท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง
    12) ในสาวกของตถาคตผู้เป็นพระอรหันต์
    13) ในพระปัจเจกสัมพุทธ และ
    14) ในตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ ฯ

และพระพุทธเจ้าก็ตรัสต่อไปอีกว่า

    “ดูกรอานนท์ ทักษิณาที่ถึงแล้วในสงฆ์แม้ในเวลานั้น (ที่มีภิกษุทุศีลในหมู่สงฆ์) เราก็กล่าวว่า มีผลนับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ แต่ว่าเราไม่กล่าวปาฏิปุคคลิกทาน (ทานจำเพาะเจาะจงบุคคล) ว่ามีผลมากกว่าทักษิณา (ทานที่ไม่จำเพาะเจาะจงบุคคล) ที่ถึงแล้วในสงฆ์โดยปริยายไรๆ เลย ฯ”

สำหรับเรื่องทานนั้น พระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ทานสูตร  ว่า

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ”

ซึ่งอรรถกถาทานสูตรอธิบายเพิ่มเติมว่า

    อามิสทานคือ การบริจาคปัจจัย ๔ ด้วยเจตนาตั้งใจให้

    ส่วนธรรมทาน คือ การที่บุคคลในพุทธศาสนานี้ แสดงหรือแนะนำตามจริง เช่นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ  ธรรมเหล่านี้สมาทานให้บริบูรณ์แล้วย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้, กระทำกรรมและผลของกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่าธรรมทาน

    ส่วนบุคคลบางพวกชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอภิญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม
    ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม ดังนี้ แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่าธรรมทานขั้นสุดยอด

นอกจากนี้ อรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก สโมธานกถา  ยังได้อธิบายความหมายของ
ธรรมทาน ว่าคือ การแสดงธรรมไม่วิปริตแก่ผู้มีจิตไม่เศร้าหมอง

โดยมีรายละเอียดคือ

    การชี้แจงประโยชน์อันสมควร นำผู้ยังไม่เข้าถึงศาสนาให้เข้าถึง ผู้เข้าถึงแล้วให้เจริญงอกงาม ด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายิกและปรมัตถประโยชน์. ในการแสดงธรรมนั้น พึงทราบนัยโดยสังเขปดังนี้ก่อน คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา โทษและความเศร้าหมองของกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม.

    ส่วนโดยพิสดาร พึงทราบประดิษฐานและการทำให้ผ่องแผ้วในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ด้วยสามารถการประกาศคุณของธรรมเหล่านั้นแก่ผู้มีจิตน้อมไปแล้วในสาวกโพธิญาณ คือ การเข้าถึงสรณะ การสำรวมศีล ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความรู้จักประมาณในการบริโภค การประกอบความเพียรเนืองๆ สัทธรรม ๗ การประกอบสมถะ ด้วยการทำกรรมในอารมณ์ ๓๘ การประกอบวิปัสสนา ด้วยหัวข้อคือการยึดมั่นตามสมควรในการยึดมั่นวิปัสสนาในรูปกายเป็นต้น. ปฏิปทาเพื่อความหมดจดอย่างนั้น การยึดถือความถูกต้อง วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ปฏิสัมภิทา ๔ สาวกโพธิญาณ.

    อนึ่ง พึงทราบการประดิษฐาน การทำให้ผ่องแผ้วในญาณทั้งสอง ด้วยการประกาศความเป็นผู้มีอานุภาพมาก ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ในฐานะแม้ ๓ อย่าง โดยหัวข้อประกาศมิสภาวะ ลักษณะและรสเป็นต้นของบารมีมีทานบารมีเป็นต้น ตามสมควรแก่สัตว์ทั้งหลายผู้น้อมไปในปัจเจกโพธิญาณ และในสัมมาสัมโพธิญาณ.  พระมหาบุรุษย่อมให้ธรรมทานแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้

ทั้งนี้อรรถกถาทานสูตรกล่าวว่า

    อามิสทานมีผลน้อยกว่าธรรมทานเพราะ อามิสคือปัจจัย ๔ เป็นเครื่องจับต้องด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น แต่การให้ธรรมทานนั้นทำให้บุคคลจะหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงในวัฏฏะทั้งสิ้นได้และถึงพระนิพพาน และธรรมทานก็ป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง

แล้วอภัยทานจัดอยู่ในหมวดใด?

ในอรรถกถาทานสูตร กล่าวว่า “อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทานนั่นเอง” นอกจากนี้ อรรถกถาเวลามสูตร ยังสรุปว่าอภัยทานก็เป็นเหตุให้เกิดศีล ดังคำพูดที่ว่า “ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่าศีล เพราะตนให้อภัยทานแล้วแก่สัตว์ทั้งปวง”

และบางครั้งเวลากล่าวถึงทานนั้น หมายรวมถึง อามิสทานและอภัยทาน ดังรายละเอียดใน จวมานสูตร ซึ่งในสูตรนี้พระพุทธเจ้าตรัสถึงเทวดาที่กำลังจะจุติ (เคลื่อนจากสภาวะเทวดาไปสู่ภพอื่น) ว่าเพื่อนเทวดาจะอวยพรว่า ให้ไปสู่สุคติคือ โลกมนุษย์ และเมื่อเกิดแล้วขอให้ ทำบุญทำทานรักษาศีล ให้มาก และ มีศรัทธามั่นคงในพุทธศาสนา  และอรรถกถาจวมานสูตร กล่าวไว้ว่า คำว่าทานนั้นหมายถึงอามิสทานและอภัยทานด้วย

ส่วนในอรรถกถา ขุททกนิกาย จริยาปิฎก สโมธานกถา ได้จำแนกทานบารมีที่พระโพธิสัตว์กระทำ เป็น 3 อย่างคือ อามิสทาน, อภัยทาน, และ ธรรมทาน แต่ในจุดนี้ จะไม่ตรงกับพระพุทธพจน์ที่ไว้ใน ทานสูตร ว่า ทานมี 2 อย่างคือ อามิสทาน และ ธรรมทาน ดังนั้น อภัยทานจึงน่าจะจัดเป็นส่วนหนึ่งของธรรมทาน ตามที่อรรถกถาทานสูตรได้กล่าวไว้ว สรุปได้ว่า อภัยทานจัดเป็นธรรมทานในระดับต่ำ ส่วนการให้ธรรมะปฏิบัติเพื่อการพ้นทุกข์จัดเป็นธรรมทานในระดับสูงสุด

ดังนั้น คำพูดที่ว่า อภัยทานมีผลเหนือธรรมทาน ขอพึงทราบว่าเป็นคำพูดที่ผิด เป็นสิ่งที่จำมาผิดแล้ว ดังนั้นพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย  เพราะค้านกับพระพุทธพจน์ ที่ว่า

    “สัพพะ ทานัง ธัมมะ ทานัง ชินาติ “
    (การให้ธรรมเป็นทานชนะการให้ทานทั้งปวง)

อย่างไรก็ตาม ผู้แต่งหนังสือเล่มที่เป็นปัญหา ดังกล่าวนั้นได้ ออก version ใหม่โดยได้ปรับแก้บางส่วนคือ แก้จาก  อภัยทานมีผลเหนือธรรมทาน เป็น  ธรรมทาน มีผลเหนือกว่า อภัยทาน แล้ว แต่ในเนื้อหาของหนังสือก็ยังมีจุดที่ผิดอยู่คือ

2. การอธิบายเรื่อง วิหารทานมีผลเหนือสังฆทาน

ผู้แต่งหนังสือเล่มนี้ ไม่มีความรู้ในพุทธศาสนาดีพอ จึงกล่าวเช่นนี้ เพราะความจริงแล้ว สังฆทานคือการให้โดยไม่เจาะจงผู้รับกับสงฆ์ (ซึ่งก็คือหมู่พระตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไป) ดังนั้น วิหารทานก็เป็นสังฆทานได้เช่นกัน ถ้าให้กับสงฆ์โดยไม่เจาะจงผู้รับ ดังนั้นจึงไม่ถูกต้องที่นำ วิหารทาน มาเปรียบเทียบกับ สังฆทาน

3. การแอบอ้างว่า สมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้แต่งหนังสือ เล่มที่ผิดนี้

ไม่ว่าจะเป็น version เก่า หรือ version ใหม่ก็ตาม ก็ไม่ใช่ หนังสือที่พระสังฆราชพระนิพนธ์ทั้งสิ้น โดยดูจากหลักฐาน ตามที่ พระ ดร. อนิลมาน ธมฺมสากิโย ผู้ช่วยเลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช ท่านได้ชี้แจงไว้ดังนี้

    วิธีสร้างบุญบารมี เป็นพระนิพนธ์ ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณ สังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่ได้รับความนิยมอย่างมากเรื่องหนึ่ง พระนิพนธ์เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี มีพุทธศาสนิกชนมากมายนำไปพิมพ์เผยแพร่แจก ในโอกาสต่าง ๆ มากมาย แต่ปรากฏว่า ฉบับที่แจก กันอยู่นั้นหาได้เป็นพระนิพนธ์ในสมเด็จพระ สังฆราชไม่ แต่มีผู้ประสงค์ดีรวบรวมขึ้นมาและ ถวายพระนามของพระองค์เป็นผู้พระนิพนธ์

    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด ว่ามิได้เป็นพระนิพนธ์
    1. ขึ้นต้นอ้างพจนานุกรมพุทธศาสตร์ของท่าน เจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. ปยุตฺโต) ในการ
    แปลคำว่า “บุญ” ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ไม่เคยอ้างคัมภีร์รุ่นหลัง ส่วนใหญ่พระองค์อ้าง
    ชั้นบาลี และอรรถกถาทั้งนั้น

    2. ในเนื้อเรื่อง พูดถึงอานิสงส์ของทาน ในเชิง หนังสืออานิสงส์ร้อยแปด ดังเช่นข้อความต่อไปนี้

    ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงไม่เคย แสดงพระธรรมเทศนาในรูปแบบนี้ ถ้าได้ อ่านพระนิพนธ์ในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช
    เล่มอื่น ๆ ที่มีมากมาย จะเห็นได้ชัดว่าทั้งสำนวน และเนื้อหา หาได้เป็นพระนิพนธ์ในพระองค์ไม่เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงได้นำพระนิพนธ์ เรื่อง วิธีสร้างบุญบารมี ที่ถูกต้องในสมเด็จพระญาณสังวร  สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัด บวรนิเวศวิหาร มาเผยแพร่แก่สาธารณชน เพื่อจัก ได้ไม่นำคำสอนที่ผิด ๆ ไปใช้หรืออ้างอิงในพระ นามของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช

นั่นคือ สรุปได้ว่า ใครก็ไม่รู้แต่งหนังสือวิธีสร้าง
บุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กันนี้ขึ้นมา แล้วก็
กล่าวอ้างว่าพระสังฆราชเป็นผู้แต่ง โดยที่พระองค์
ไม่รู้เรื่องเลย

ดังนั้นเนื้อหาในหนังสือจึงกลายเป็นสัทธรรมปฏิรูปที่ค้านกับคำสอนของพระพุทธเจ้า และอรรถกถาจารย์ขึ้นมาได้ เพราะผู้แต่งไม่มีความรู้ในธรรมะดีพอ จึงทำให้ข้อความในหนังสือ วิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กัน

“ไม่งดงามในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และ ในที่สุด”  (คือมีข้อมูลที่ขัดแย้งกัน หรือไม่ถูกตามจริง)

ซึ่งต่างจากธรรมะของพระพุทธเจ้า ที่ท่านแสดงไว้ดีแล้ว ดังปรากฏใน ทานสูตร  เรื่อง ธรรมทานเป็นเลิศกว่าทานทั้งปวง หรือ เรื่อง การเรียงลำดับผลของทานนั้น พระพุทธเจ้าก็แสดงไว้ดีแล้วใน ทักขิณาวิภังคสูตร

ดังนั้น จึงขอแจ้งประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า หนังสือวิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่นิยมเผยแพร่กันนั้น

- มีเนื้อหาบางส่วนที่ไม่ถูกต้องตามพระพุทธพจน์
และ
- สมเด็จพระสังฆราชก็ไม่ได้เป็นผู้แต่งหนังสือเล่ม
ที่นิยมเผยแพร่กันนี้   แต่ท่านก็เคยนิพนธ์หนังสือวิธีสร้างบุญบารมีเหมือนกันซึ่งเป็นคนละเล่มกับที่คนส่วนใหญ่นำมาเผยแพร่

ซึ่งท่านสามารถอ่านต้นฉบับหนังสือ “วิธีสร้างบุญบารมี” ของแท้ที่ สมเด็จพระสังฆราช ทรงนิพนธ์ไว้ได้โดย คลิกที่นี่

เนื่องจากชื่อหนังสือเหมือนกัน (แต่เนื้อหาในเล่มไม่เหมือนกัน) จึงทำให้คนเข้าใจผิดว่า หนังสือเล่มที่มีเนื้อหาผิดๆนั้น(ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นผู้แต่ง) เป็นผลงานของพระสังฆราชไปด้วย

สรุปก็คือ

1) ทานแบ่งเป็นสองประเภทคือ อามิสทาน และ ธรรมทาน (ตามพระพุทธพจน์)
2) ธรรมทานเป็นทานที่สูงสุด ชนะทานอื่นๆทั้งปวง
3) อภัยทานจัดเป็นส่วนหนึ่งของธรรมทาน ไม่ใช่เหนือกว่าธรรมทาน
4) ธรรมทาน ในแง่ของการบอกวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อพ้นทุกข์ เหนือว่า ธรรมทานในแง่ของอภัยทาน
5) ผลการให้ทานที่จำเพาะเจาะจงบุคคลไม่ว่าบุคคลนั้นจะบริสุทธิ์แค่ไหนก็ตาม (แม้ผู้รับเป็นพระพุทธเจ้า) ก็ยังน้อยกว่าผลของทานที่ให้โดยไม่เลือกหน้าไม่เจาะจงใครในสงฆ์ หรือ สังฆทาน
6) วิหารทานก็จัดเป็นสังฆทานได้ ถ้าให้แก่สงฆ์ตั้งแต่ 4 รูปขึ้นไปโดยไม่เจาะจง (ไม่ใช่เหนือกว่าสังฆทาน)
7) สมเด็จพระสังฆราช ไม่ได้เป็นผู้นิพนธ์หนังสือ วิธีสร้างบุญบารมีเล่มที่มีเนื้อหาผิดๆ

อ้างอิง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต คาถาธรรมบท ตัณหาวรรคที่ ๒๔
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=25&A=1162&Z=1243

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ทักขิณาวิภังคสูตร

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต  ทานสูตร
http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=6453&Z=6470

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
http://84000.org/tipitaka/read/?10/113-116/144

http://www.sangharaja.org/home/index&#8230

----------------------------------------------------------------------------------

http://drronenv.wordpress.com/2012/05/31/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%AD%E0%B8%A0%E0%B8%B1/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 30, 2014, 01:31:34 am โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #12 เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 01:44:38 am »
0
ยอดเยี่ยม ขออนุโมทนาสาธุ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #13 เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 09:42:36 am »
0
มีบทความบทความหนึ่ง...ที่มีผู้มาแก้ไข หนังสือชื่อ "วิธีสร้างบุญบารมี" ที่ว่าแต่งโดยพระสังฆราช องค์ที่ สิบเก้า แต่ความจริงพระสังฆราชท่านไม่รู้เรื่องเลย มีผู้แอบอ้าง

    ถ้าเข้า google ให้พิมพ์คําว่า

       "ความเข้าใจผิดเรื่องอภัยทานมีผลเหนือธรรมทาน"

     คํานี้ผิดจากพุทธพจน์ โดยให้ใช้การตรวจสอบ เรียกว่ามหาปเทส๔
  ซึ่งปรากฏใน พระไตรปิฏก เล่มที่10 พระสุตตันตปิฏก เล่มที่2 ทีฆนิกายมหาวรรค

     ขอให้ผู้รู้ไปดึงมาให้อ่านกันหน่อย จะได้ไม่เข้าใจผิดกัน

   
 


 ans1 ans1 ans1 ans1
บทความที่กล่าวถึง ถูกโพสต์ไว้แล้วในเว็บมัชฌิมา กระทู้นี้ครับ
"ทานใดมีผลมากกว่า ระหว่าง ธรรมทาน กับ อภัยทาน"
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10164.0

 :25: :25: :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

suchin_tum

  • ไม่กลับมาเกิด
  • ศิษย์ตรง
  • มีเหตุมีผล
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 486
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: การให้ธรรม เป็น ทาน ชนะการให้ทั้่งปวง เพราะอะไร ?
« ตอบกลับ #14 เมื่อ: กันยายน 30, 2014, 10:41:10 am »
0
ขออนุโมทนาสาธุ gd1 st12   st11
 :035: :035: :035: :welcome:
บันทึกการเข้า
ขอน้อมอาราธนากำลังแห่งครูอาจารย์กรรมฐานมัชฌิมาจงมาประสิทธิ์ประศาสตร์