สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 11, 2012, 10:54:41 am



หัวข้อ: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 11, 2012, 10:54:41 am

         ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)




[๔๙๘]    แต่ควรถามอย่างนี้ว่า
            ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
           อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
           และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
          นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน
            [๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
             ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
             อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
           แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
            ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
            ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
           ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
           นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”           
[๕๐๐]    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว 
บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะมีใจยินดีชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล



(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
(๒) ท่าข้าม ในที่นี้หมายถึง กรรมฐาน ๓๘ ประการ (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๗)
(๓) จริมกวิญญาณบ้าง อภิสังขารวิญญาณบ้าง (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๗)



การจะเข้าใจใน ธาตุ ในอุปาทายรูป และ นามรูป อยู่ที่ความฉลาดในสมาธิ ดังนั้นท่านที่ภาวนาชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วในสมาธิ จักเข้าถึงธาตุ คือ ธรรม มน ยถาภูตญาณ  ทัศนะ  มรรค ผล และ นิพพาน

(http://www.madchima.net/images/168_card_30.jpg)





หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 11, 2012, 01:34:58 pm
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: DANAPOL ที่ มิถุนายน 11, 2012, 02:02:17 pm
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

เห็นด้วยครับ เรื่องนี้ผมเองก็อ่านแล้วก็ยังมึน ๆ นะครับ จะให้ดีพระอาจารย์ควรจะบรรยายให้เกิดความเข้าใจมากกว่านี้ นะครับ ผมว่าไม่ใช่เรื่องที่ศิษย์ทั่วไปจะอ่านได้ ง่ายๆ แล้วนะครับ

 ขอบคุณมากครับ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 11, 2012, 08:36:48 pm
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

  คีย์เวิร์ด..น่าจะอยู่ตรงนี้..ขอรับ
  "ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป"

  เอ..มีใครได้ฌาน..บ้างหรือยัง.??
  อย่าซีเรียสนะครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น

   :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มิถุนายน 11, 2012, 10:50:11 pm
ความน้อยใจคือ มานะสังโยชน์เป็นกิเลส .....ทํากรรมฐานนี้แล้วก็ตั้งใจ ตั้งใจ และอย่าลืมตั้งมั่น ในพระพุทธองค์ ใจจะได้อิ่ม และก็ไม่มีศิษย์อื่นนะ เราเป็นศิษย์กรรมฐานเดียวกัน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ....ต้นตํารับ วัดราชสิทธาราม มูลนิธิสถาบันกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ (ฝั่งธน)...สมเด็จพระสังฆราช(สุก) ไก่เถื่อน.....มีศรัทธา ปณิธาน ว่ากรรมฐาน ไปตามลําดับ พอกพูนอุเบกขาที่เกิดไปตามลําดับ..เช่นกัน


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 12, 2012, 02:27:24 am
[๔๙๘]   
ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน

เข้าใจกันอย่างนี้ก่อนนะครับว่า ธาตุชุมนุมไม่อาจกล่าวแยกส่วนกับอุปาทายรูปด้วยเนื่องกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนรูปทรงสัมผัสเห็นมีวิญญาณธาตุตัวรู้อารมณ์กำกับอยู่จึงเรียกรวมว่า "นามรูป" ???

[๔๙๙]   
ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”        

จากกระทู้ที่ยกอ้างข้างต้นกล่าวถึง พระนิพพาน ด้วยอย่าหมายสำคัญเอาว่าธาตุชุมนุมอันเนื่องอยู่ด้วยอุปาทายรูป

นี้นั้นอันคุ้นปากกล่าวว่า นามรูป มีอยู่ เพราะอภิสังขารวิญญาณ(ธาตุรู้ในความปรุงขึ้นเอง)นั้น ดับมอดสิ้นเชื้อ ชื่อ

ว่า ธาตุ + อุปาทายรูป = นามรูป ก็ดับมอดสิ้นเชื้อเฉกเช่นกัน หากแต่มีสมาธิกรรมฐานอันผู้ฉลาดรู้ใช้เอาเป็น
ยานพาหนะก้าวล่วงหน่วงลำดับย่อมถึงซึ่งกะลาหงายได้เอง ครับ!
  :86:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ มิถุนายน 12, 2012, 07:00:20 am
อนุโมทนา สาธุ ได้คำใบ้ ชี้ทางจากทุกท่านอ่านแล้ว พอจะเข้าใจบ้างนิดหน่อย แต่ไม่รู้จถูกหรือไม่ ?

 คือผมเข้าใจว่า 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป

   ถูกผิดอย่างไร ? ก็ขอให้พี่น้องชาวกรรมฐาน ช่วยกันแนะนำกันต่อนะครับ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ปอง ที่ มิถุนายน 12, 2012, 07:32:44 am
อ่านเหมือนกัน คะ แต่ก็รู้สึกว่า จะไม่เข้าใจ มีศัพท์ที่ยังไม่รู้อีกหลายศัพท์ คะ

  1.วิญญาณ ( นิพพาน )

  2.ธาตุ

  3.อุปาทายรูป

  4.นามรูป

   5.จริมกวิญญาณ อภิสังขารวิญญาณ

 ไม่ทราบคำศัพท์เลย สักนิด ช่วยอธิบาย ที่ละศัพท์ได้บ้างหรือไม่คะ

  :c017: :c017: :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ประสิทธิ์ ที่ มิถุนายน 12, 2012, 07:44:05 am
จากที่อ่านมาตั้งแต่เมื่อวานหัวข้อธรรมส่วนนี้ ไม่ใช่เป็นธรรมพื้น ๆ สำหรับมือใหม่ในการภาวนานะครับ ต้องมีการภาวนาจริง ๆ นะครับ เพราะว่าพระอาจารย์ เริ่มต้นด้วย

   ความฉลาดในสมาธิ  และ ยังมีข้อความระบุว่า
 
 เข้าใจธาตุ เข้าถึงธาตุ ต้องมีความฉลาดในสมาธิ
จากข้อความแสดง ว่าผู้ที่จะเข้าใจในหัวข้อนี้ต้องมี สมาธิ หรือ ได้ผลสมาธิ ด้วย ดังนั้นท่านใดที่ยังไม่ได้สมาธิ หรือไม่มีสมาธิ ก็คือจบข่าว นะครับ


(http://www.madchima.net/images/168_card_30.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ มิถุนายน 12, 2012, 10:41:09 am
คงต้องทำความเข้าใจ ด้วยการภาวนา ส่วนเรืองคำศัพท์ คิดว่า ท่านทั้งหลายก็คงจะหาคำอธิบายได้โดยไม่ยากครับ แต่อย่างไร ถ้าไม่เข้าใจ ก็ คัดคำขึ้นมา ให้เพื่อน ๆ ช่วยอธิบายก็ดีนะครับ

   สำหรับบทความนี้ ผมเองก็กำลังทำความเข้าใจ คิดว่าพระอาจารย์คงเจาะจงเฉพาะกลุ่มมากกว่านะครับ ตอนนี้เพราะดูหัวข้อธรรมลึกซึ้ง ถ้าไม่ปฏิบัติภาวนามาก่อนเพียงอ่านก็คงจะไม่เข้าใจกันนะครับ

   อนุโมทนา สาธุ ครับ

   :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ มิถุนายน 12, 2012, 11:04:21 am
เราอ่านเป็น สิบรอบ แล้วก้ไม่เข้าใจ คะ

 แต่ก็อนุโมทนา คะ คาดว่า ธรรมบทนี้ ไม่ใช่ ธรรมทั่วไป ที่เข้าใจได้ง่าย ๆ คะ

 สาธุ สาธุ สาธุ


  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: pinmanee ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:22:20 pm
อนุโมทนา สาธุ ได้คำใบ้ ชี้ทางจากทุกท่านอ่านแล้ว พอจะเข้าใจบ้างนิดหน่อย แต่ไม่รู้จถูกหรือไม่ ?

 คือผมเข้าใจว่า 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป

   ถูกผิดอย่างไร ? ก็ขอให้พี่น้องชาวกรรมฐาน ช่วยกันแนะนำกันต่อนะครับ

 :25: :25: :25:

ขอให้ศิษย์พี่น้อง ทุกท่านช่วยอธิบาย ตรงส่วนนี้ด้วยคะ จะได้ทำความเข้าใจตามด้วยคะ

 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: naka-54 ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:24:51 pm
น่าสนใจ มากคะ เพราะคิดว่าน่าจะเป็น บททดสอบที่พระอาจารย์ออกมาให้ศิษย์กรรมฐาน ได้ทดสอบความเห็นจริงในกรรมฐาน คะ

 สาธุ สาธุ

  :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: bangsan ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:38:59 pm
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ทุกท่านแม้จะอ่านกันยังไม่เข้าใจ ผมเองก็พยายามทำความเข้าใจ
นั่นแสดงให้เห็นว่า ใจในการภาวนา ส่วนนี้น่าจะเหมือนกัน นะครับ

                 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                        เพราะสมาธิ เป็น มรรคองค์สุดท้ายที่คนปัจจุบัน ภาวนาไม่ค่อยจะกันผ่านครับ จึงได้ไปเลือกฝึกสติ ให้เป็นสมาธิกัน ซึ่งใช้เวลามากกว่าการฝึกสมาธิโดยตรง ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า ความสมบูรณ์ของมรรค คือความสมบูรณ์ของผู้ที่จะได้ธรรมจักษุ ครับ ดังนั้นพวกเราคงหนีเรื่องสมาธิ ไม่ได้ครับ
                       
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                     การเข้าถึงธาตุ มีในกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ อันนี้ผมว่ามาถูกทางแล้วนะครับ เพราะว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนพระโอรสของท่าน ก็คือ เรื่องธาตุ นี้เป็นเรื่องแรกเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น จูฬราหุโรวาทสูตร หรือ มหาราหุโรวาทสูตร ผมว่าธาตุเป็นเรื่องแรกที่เราควรทำความเข้าใจครับ เพราะในขันธ์ 5 เรียกว่า รูป ก็ปรากฏเป็นส่วนแรกนะครับ และปัญหาจริง ๆ ที่เราเป็นทุกข์กันนั้นก็มาจากธาตุ ทั้งสิ้นใช่หรือไม่ครับ

                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                     อุปาทายรูป คือ อะไร ?

                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                     ตรงนี้เริ่มไม่เข้าใจ เหมือนกันครับ ?
                         
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                     แล้วทำไม วิญญาณ จึงเป็นนิพพานไปได้ ละครับ อย่างนี้จัดเป็นบัญญัติใหม่หรือไม่ ครับ เห็นในทางอภิธรรม ให้ความหมายของนิพพานมี 28 แบบ แต่ไม่มี วิญญาณ

                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป
                      อันนี้อาจจะผิดนะครับ น่าจะใช้คำว่า นิพพาน มีได้ เพราะ นามรูปดับ นะครับ พิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท ดูก็คือ อวิชชา ไป สังขาร ไป นามรูป ดังนั้น เพราะนามรูปดับ สังขารดับ อวิชชาดับ นิพพานครับ

      อนุโมทนาครับ ผมว่าพระอาจารย์ออกข้อธรรมทดสอบเราอยู่นะครับ ตอนนี้

 :25: :25: :25:
                         


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:45:58 pm
เท่าที่อ่านก็แสดงให้เห็นว่าสมาชิกธรรมทุกท่าน มีความเข้าใจกันส่วนนี้แต่ไม่ร้อยเปอร์เซ้นต์ ใช่หรือไม่คะ คิดว่าน่าจะใช้สมาธิ ภาวนาเพิ่มขึ้นในส่วนนี่้

  แต่เราก็ขอตอบตรง ๆ ว่าไม่เข้าใจเหมือนกันคะ

 สาธุ สาธ


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:47:49 pm
เห็นด้วยคะ ปกติพระอาจารย์จะออกบทความที่อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ๆนะคะ
วันนี้ เช่นกันคะคงต้องไปทำความเข้าใจกับศัพท์ทางธรรมเพิ่มขึ้น

โดยเฉพาะตอนนี้ สนใจคำว่า อุปาทายรูป คะ ดูเหมือนจะเป็นเงื่อนไขเชื่อมทั้ง สองส่วนอยู่นะคะ

 สาธุ

 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: Namo ที่ มิถุนายน 12, 2012, 12:48:59 pm
นับว่าเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม ทุกท่านแม้จะอ่านกันยังไม่เข้าใจ ผมเองก็พยายามทำความเข้าใจ
นั่นแสดงให้เห็นว่า ใจในการภาวนา ส่วนนี้น่าจะเหมือนกัน นะครับ

                 1. สิ่งแรกก็คือ สมาธิ มีความสำคัญมาก
                        เพราะสมาธิ เป็น มรรคองค์สุดท้ายที่คนปัจจุบัน ภาวนาไม่ค่อยจะกันผ่านครับ จึงได้ไปเลือกฝึกสติ ให้เป็นสมาธิกัน ซึ่งใช้เวลามากกว่าการฝึกสมาธิโดยตรง ครูอาจารย์ท่านกล่าวว่า ความสมบูรณ์ของมรรค คือความสมบูรณ์ของผู้ที่จะได้ธรรมจักษุ ครับ ดังนั้นพวกเราคงหนีเรื่องสมาธิ ไม่ได้ครับ
                       
                 2. การเข้าถึงธาตุ เป็นเรื่องที่ต้องภาวนา ให้ถึง ไม่ใช่ไปเรียนรู้หรือจำให้ถึง
                     การเข้าถึงธาตุ มีในกรรมฐาน มัชฌิมาแบบลำดับ อันนี้ผมว่ามาถูกทางแล้วนะครับ เพราะว่า พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสสอนพระโอรสของท่าน ก็คือ เรื่องธาตุ นี้เป็นเรื่องแรกเลยนะครับ ไม่ว่าจะเป็น จูฬราหุโรวาทสูตร หรือ มหาราหุโรวาทสูตร ผมว่าธาตุเป็นเรื่องแรกที่เราควรทำความเข้าใจครับ เพราะในขันธ์ 5 เรียกว่า รูป ก็ปรากฏเป็นส่วนแรกนะครับ และปัญหาจริง ๆ ที่เราเป็นทุกข์กันนั้นก็มาจากธาตุ ทั้งสิ้นใช่หรือไม่ครับ

                 3. นามรูป เนื่องด้วยอุปาทายรูป
                     อุปาทายรูป คือ อะไร ?

                 4. อุปาทายรูป มีนับเนื่อง จาก จริมกวิญญาณ หรือ อภิสังขารวิญญาณ
                     ตรงนี้เริ่มไม่เข้าใจ เหมือนกันครับ ?
                         
                 5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ
                     แล้วทำไม วิญญาณ จึงเป็นนิพพานไปได้ ละครับ อย่างนี้จัดเป็นบัญญัติใหม่หรือไม่ ครับ เห็นในทางอภิธรรม ให้ความหมายของนิพพานมี 28 แบบ แต่ไม่มี วิญญาณ

                 6. นิพพานมีได้ เพราะเข้าถึง นามรูป
                      อันนี้อาจจะผิดนะครับ น่าจะใช้คำว่า นิพพาน มีได้ เพราะ นามรูปดับ นะครับ พิจารณาจากปฏิจจสมุปบาท ดูก็คือ อวิชชา ไป สังขาร ไป นามรูป ดังนั้น เพราะนามรูปดับ สังขารดับ อวิชชาดับ นิพพานครับ

      อนุโมทนาครับ ผมว่าพระอาจารย์ออกข้อธรรมทดสอบเราอยู่นะครับ ตอนนี้

 :25: :25: :25:
                       
ขอบคุณมากคะที่ทำให้อ่านง่ายขึ้นคะ



หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: keyspirit ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:03:04 pm
อ่านเหมือนกัน คะ แต่ก็รู้สึกว่า จะไม่เข้าใจ มีศัพท์ที่ยังไม่รู้อีกหลายศัพท์ คะ

  1.วิญญาณ ( นิพพาน )

  2.ธาตุ

  3.อุปาทายรูป

  4.นามรูป

   5.จริมกวิญญาณ อภิสังขารวิญญาณ

 ไม่ทราบคำศัพท์เลย สักนิด ช่วยอธิบาย ที่ละศัพท์ได้บ้างหรือไม่คะ

  :c017: :c017: :c017:


    วิญญาณ เป็น นิพพาน น่าจะหมายถึง นิพพานอายตนะ หรือ อายตนะนิพพาน
  กระทบกับ รูป  วิญญาณ เกิดแล้วรู้แจ้ง ( นิพพาน ) ว่าเป็นเพียงสักว่ารูป อย่างนี้ มั้งครับ
     อันนี้น่าจะอยู่ใน ธาตุ 18     

    ธาตุ  มี ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมกันเรียกว่า รูป อากาศธาตุ มนธาตุ นิพพานธาตุ 
    คำว่า ธาตุ หมายถึงสิ่งทรงไว้โดยธรรมชาติ

    อุปาทายรูป หมายถึง รูปที่มีใจครอง คือ อย่างไรต้องรอท่านอื่นมาอธิบายเพิ่มเติมนะครับ

    นามรูป จะปรากฏ ก็ คือ บันธํ์ 5

   ถูกผิดอย่างไร ก็ขอให้เพื่อน ๆ ช่วยกันอธิบายต่อนะครับ

   :25:
     


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kosol ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:05:41 pm
เรื่องนี้พยายาม อ่าน มาตั้งแต่เช้าแล้วก็ยังไม่เข้าใจเลยคะ
 เรื่องนี้พระอาจารย์โพสต์ให้ศิษย์ ที่ปฏิบัติเก่ง ๆ อ่านใช่หรือไม่คะ

 สาธุ

  :25:

  คีย์เวิร์ด..น่าจะอยู่ตรงนี้..ขอรับ
  "ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป"

  เอ..มีใครได้ฌาน..บ้างหรือยัง.??
  อย่าซีเรียสนะครับ แค่คุยเป็นเพื่อนเท่านั้น

   :25:

ช่วยขยายเรื่อง ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ ได้หรือไม่ครับ

สาธุ

  :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: เท่ากับผลรวม ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:10:21 pm
ผมได้อ่านหัวข้อนี้ตั้งแต่เมื่อวาน แล้วสนใจมากครับ มีความรู้สึกว่าพระอาจารย์ กำลังบอกใบ้เรื่องการปฏิบัติเฉพาะอะไรสักอย่าง ผมเองก็นั่งวิเคราะหืมาตั้งแต่เมื่อวาน ซึ่งพอจะจับใจความจากที่เพื่อน ก็น่าจะเห็นแบบเดียวกับผมนะครับ ก็คือ การทำความเข้าใจเรื่อง ธาตุ  รูป อุปาทายรูป นามรูป  ผมว่าหัวข้อนี้ เป็นโจทย์ และ เฉลยที่พระพุทธเจ้า ได้เฉลยลงมาแล้ว แต่ถึงเฉลย โดยพระพุทธเจ้า ก็อาศัยคำใบ้หรือสูตรที่พระอาจารย์ นำไว้ตอนต้น

 คือเรื่อง ความฉลาดในสมาธิ ได้กล่าวเป็นลำดับเลยนั่นหมายความ ต้องมีความสำคัญในความฉลาดทุกส่วน หรือส่วนนี้จะเกี่ยวกับ ยถาภูตญาณทัศศนะ ที่เรากำลังติดกันอยู่ ผมว่าพวกเราช่วยกันวิจัยกันในหัวข้อนี้มาก ๆ ก็ดีนะครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:14:03 pm
ตามอ่านคะ คิดว่าไม่ใช่เรื่องที่เรา จะเข้าใจได้ง่าย ๆ เลยคะเพราะสังเกตุจากหัวข้อและบทเฉลย แล้วอ่านก็ยังไม่เข้าใจ คือไม่เข้าใจคำศัพท์ด้วยคะ

  จะติดตามตอนต่อไปอยู่นะคะ

   :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: เท่ากับผลรวม ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:24:26 pm
[๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
             ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
             อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ(๑)ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
           แต่มีท่าข้าม(๒)โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
            ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
            ในวิญญาณ นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
           ในวิญญาณนี้เช่นเดียวกัน  เพราะจริมกวิญญาณ(๓)ดับไป
           นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”   



    ทำการวิเคราะห์ หมายถึง ธาตุทั้ง 4 มี ดิน ไฟ ลม น้ำ ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายความ ในนิพพาน  ไม่มี ธาตุทั้ง 4 นิพพาน จึงเป็นธรรมที่มองเห็นไม่ได้ ไม่มีที่สุด แต่ นิพพาน นั้นมี ท่าข้าม ( เส้นทางการปฏิบัต ) อยู่โดยรอบด้าน ไม่ใช่ด้านเดียว กล่าวถึงกรรมฐาน 38 ประการ ( คิดว่าน่าจะเป็น 40 ประการมากกว่า ) โดยกรรมฐาน นั้น อาศัยอุปาทายรูป (รูปที่มีใจครอง ) ที่ยาว ที่สั้น ละเอียด หยาบ งาม และ ไม่งาม แต่ อุปาทายรูป ก็ตั้งอยู่ไม่ได้ใน วิญญาณ ( นิพพาน ) หมายถึง นิพพาน ก็ไม่มีอุปาทายรูป เช่นเดียวกับธาตุ  นามและรูป (ขันธ 5 ) อาศัยวิปัสสนา ย่อมดับสนิท ใน วิญญาณ (นิพพาน ) เพราะ จริมกวิญญาณ การแล่นไปด้วยความรู้สีกสัมผัสปรุงแต่งอย่างยิ่ง ( อภิสังขารวิญญาณ )ย่อมดับสนิทในที่นั้น นั่นหมายถึง

     ธาตุ ทั้ง 4  อุปาทายรูป  นามรูป อันมีเหตุปรุงแต่ง ด้วย สังขารทั้งหลายทั้งปวง ย่อมดับสนิทไม่มีเหลือใน นิพพาน จึงกล่าวได้ว่า ไม่มีรูป ไม่มีธาตุ ไม่มีนามรูป เป็นเพียงแต่สักว่าธาตุ ตามธรรมชาติเท่านั้น ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป้นตัวเป็นตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา อย่างนี้ควรที่เราทั้งหลายจะได้ทำความเข้าใจในเรือ่งธาตุ เพื่อคามรู้แจ้งเห็นจริง ด้วยสมาธิ

    ( ปล. ผมลองทำสมาธิ เข้าอารมณ์ ละเอียดแล้ว เจริญ นามรูป และพิจารณาบทธรรมนี้ ก็มีความเข้าใจเพียงเท่านี้นะครับ )

   ขอท่านผู้รู้ทั้งหลาย โปรดแนะนำเพิ่มเติมกันด้วยนะครับ

  :s_hi: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: tasawang ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:28:04 pm
ถ้าผมจำไม่ผิด เคยมีกระทู้ว่าด้วยเรื่อง ธาตุ ที่มีผุ้ยกข้อความในคู่มื่อกรรมฐาน กล่าวเรื่องธาตุ และพระอาจารย์เคยอธิบายไว้ ตั้งแต่ เรื่อง รูป คือหทัยรูป เป็น อายตนะรูป อุปาทายรูป อะไรประมาณนี้แหละ ถ้าได้อ่านหรือค้นเจอตรงนั้นเอามาช่วย น่าจะเข้าโจทก์ นี้โดยไวนะครับ

  ผมว่า ความสำคัญอยู่ที่ ความฉลาดในสมาธิ จะเห็นคำตอบเรื่อง รูป เรื่อง ธาตุ หรือไม่

  ถ้าลำดับไม่ผิด น่าจะมีผู้ถามเรื่องการสัมปยุตธาตุ และ สัมปยุตธรรม น่าจะเป็นเหตุที่พระอาจารย์ออกบทความธรรมบทนี้มาให้ได้อ่านกันในเมื่อวานนะครับ

   :s_hi:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: intro ที่ มิถุนายน 12, 2012, 01:35:22 pm
ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "


ผมว่า พิจารณาที่หัวข้อที่ตั้งก่อนดีกว่าหรือไม่ครับ

  เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป ก็หมายความว่า ธาตุ กับ นามรูป คืออันเดียวกัน
  รู้ที่ตั้ง ที่ดับ เพราะอุปาทายรูป ส่วนนี้ น่าจะหมายถึง ส่วนที่มีใน ธาตุ ใน นามรูป 
   
    ดังนั้น ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า อุปาทายรูป คือ อะไร ? กันก่อนดีกว่า ใช่หรือไม่ครับ
 
    อุปาทายรูป ตามศัพท์ หมายถึง รูปที่มีใจครอง รูปทีมีใจครอง ก็คือ ธาตุ หรือ นามรูป ที่มีใจครอง ใช่หรือไม่ 

    รู้ที่ตั้ง หมายถึง สมาธิตั้ง ที่ไหน ก็รู้ที่ตั้ง เช่น ตั้ง ฐานจิตที่ 1 พระขุททกาปีติ ธาตุดิน มีใจครองส่วนไหน
    รู้ที่ดับ หมายถึง สมาธิดับ ที่ไหน ก็รู้ที่ดับ การดับ คืออะไร ? ชักงง
   
   น่าจะมาถูกทางบ้างแล้ว

   เพื่อน ๆ ช่วยต่อประเด็นกันต่อไปก็ดีนะครับ วันนี้วันพระช่วยกันเจริญธรรม ตามจดหมายเชิญชวนของ เว็บมาสเตอร์ กันก็ดีนะครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ

   :25: :25: :25:   
   


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มิถุนายน 12, 2012, 03:11:20 pm
พระอาจารย์ได้้สรุปไว้ว่า
   การจะเข้าใจใน ธาตุ ในอุปาทายรูป และ นามรูป อยู่ที่ความฉลาดในสมาธิ
   ดังนั้นท่านที่ภาวนาชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วในสมาธิ
   จักเข้าถึงธาตุ คือ ธรรม มน ยถาภูตญาณ  ทัศนะ  มรรค ผล และ นิพพาน

จะเห็นว่า ท่านเน้นสมาธิ สัมมาสมาธิิตามบาลีแล้ว หมายถึง ฌาน ๔ คือ ปฐมฌาน ทุติย..ตติย..จตุร..
ในบาลี ไม่มีคำว่า ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนสมาธิ แต่บาลีแบ่งสมาธิ เป็น ๙ ระดับ

สมาธิ ๙ ระดับ ก็คือ อนุบุพพวิหาร ๙ นั่นเอง ประกอบด้วย รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ และสัญญาเวทยิตนิโรธ
และในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
ในส่วนสมาธิสังยุต ได้แบ่งออกเป็น ๑๐ สูตร คือ

๑. สมาธิสมาปัตติสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการเข้าสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๒๗ - ๖๗๔๑.  หน้าที่  ๓๐๐.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6727&Z=6741&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6727&Z=6741&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=585 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=585)

๒. ฐิติสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๔๒ - ๖๗๕๕.  หน้าที่  ๓๐๐ - ๓๐๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6742&Z=6755&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6742&Z=6755&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=586 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=586)

๓. วุฏฐานสูตร ผู้ได้ฌานที่ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการออกจากสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๕๖ - ๖๗๖๖.  หน้าที่  ๓๐๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6756&Z=6766&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6756&Z=6766&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=587 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=587)

๔. กัลลิตสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในความเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๖๗ - ๖๗๗๗.  หน้าที่  ๓๐๑ - ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6767&Z=6777&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6767&Z=6777&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=588 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=588)

๕. อารัมมณสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในอารมณ์ในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๗๘ - ๖๗๘๘.  หน้าที่  ๓๐๒.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6778&Z=6788&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6778&Z=6788&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=589 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=589)

๖. โคจรสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในโคจรในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๘๙ - ๖๗๙๘.  หน้าที่  ๓๐๒ - ๓๐๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6789&Z=6798&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6789&Z=6798&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=590 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=590)

๗. อภินีหารสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและฉลาดในการน้อมจิตไปในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๗๙๙ - ๖๘๐๙.  หน้าที่  ๓๐๓.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6799&Z=6809&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6799&Z=6809&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=591 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=591)

๘. สักกัจจการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความเคารพในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๑๐ - ๖๘๒๐.  หน้าที่  ๓๐๓ - ๓๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6810&Z=6820&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6810&Z=6820&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=592 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=592)

๙. สาตัจจการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและทำความเพียรเป็นไปติดต่อในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๒๑ - ๖๘๓๑.  หน้าที่  ๓๐๔.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6821&Z=6831&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6821&Z=6831&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=593 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=593)

๑๐. สัปปายการีสูตร ผู้ฉลาดในการตั้งจิตมั่นและกระทำความสบายในสมาธิ นับเป็นผู้เลิศ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  บรรทัดที่ ๖๘๓๒ - ๗๐๐๘.  หน้าที่  ๓๐๔ - ๓๑๑.
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6832&Z=7008&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=17&A=6832&Z=7008&pagebreak=0)
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=594 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=594)

    เป็นที่น่าสังเกตว่า ทั้ง ๑๐ สูตรล้วนกล่าวถึง"ผู้ได้ฌาน"
    ดังนั้น ผมเลยคิดเอาเองว่า "การที่จะเข้าใจเรื่องธาตุได้ ควรได้สมาธิในขั้นฌานเสียก่อน"
    การฝึกจิตของเราให้ได้สมาธิขั้นฌาน ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องมีความเพียร และต้องพึ่งครูอาจารย์
    ส่วนใครต้องการทราบว่า ฉลาดในสมาธิเป็นอย่างไร คงต้องไปอ่านเอาเองนะครับ
 
     :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: KIDSADA ที่ มิถุนายน 12, 2012, 03:24:32 pm
อนุโมทนา สาธุ กับทุกท่านที่จริง ผมเองก็ลองอ่านหลายรอบแล้วเหมือนกัน แต่คิดว่า คงจะเป็นเพราะอำนาจสมาธิยังไม่เพียงพอจึงทำให้ยังไม่เข้าใจ ครับจะลองอ่านพระสูตรดูสักหน่อยนะครับ มีตั้งหลายบท

   :s_hi:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: magicmo ที่ มิถุนายน 12, 2012, 03:50:38 pm
 :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 12, 2012, 05:50:36 pm
ใครที่เคยได้ยินคำนี้ "มีแต่จิตล้วนๆ" จากพระอาจารย์ ก็อาจจะสามารถเข้าใจ

ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ

กายเราย่อมประกอบไปด้วย   ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้งอยู่กับเราไม่ได้นาน ไม่เที่ยง  ไม่แท้ ไม่เป็นอยู่ได้นาน  เมื่อตาย กายเสื่อม มีแต่จิตเท่านั้น ที่เดินทาง มีแต่จิตเท่านั้นที่เิดินไป ที่สุดแล้ว ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง อยู่ไม่ได้ในวิญญาณธาตุ (ความบริสุทธิ์แท้เดิม)

ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด  แต่มีท่าข้าม   
น่าจะหมายถึง  วัฏสงสาร ที่ไม่มีที่สุด   แต่มีท่าข้าม  คือการตัดภพตัดชาติ (โดยการปฏิกรรมฐาน) เขาสู่พระนิพพาน

มีความเิกิดขึ้นเป็นธรรมดา มีความตั้งอยู่เป็นธรรมดา มีความดับไปเป็นธรรมดา

ใครสนใจศึกษาเพื่ม ลองดูขยายความใน ชาติธรรมสูตร


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ มิถุนายน 13, 2012, 08:03:28 am
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: บุญสม ที่ มิถุนายน 13, 2012, 08:53:01 am
อยากได้อ่านสาระ ธรรมวิจารณ์ อย่างนี้ครับ เพราะรู้สึกได้ถึงว่า ธรรมเราก้าวหน้า หรือ ถอยหลัง

ถ้าอ่านไม่เข้าใจ แสดงว่า ยังไม่ก้าวหน้า ครับ

ถ้าอ่านพอจะเข้าใจ แสดงว่า ธรรมมีความก้าวหน้า

ถ้าอ่านแล้วรู้เรื่อง แสดงว่า ปฏิบัติได้ดีแล้วครับ

 ดังนั้น ผมก็ชอบอ่านข้อธรรมแบบนี้ครับ และอยากฟัง ธรรมวิจารณ์ จากศิษย์พี่ ทุกท่าน นะครับ

  :25: :25: :25: :c017:

(http://women.kapook.com/wp-content/uploads/2009/02/smart_tips_career_vol09no432.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: เฉินหลง ที่ มิถุนายน 13, 2012, 08:58:50 am
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 

   วิญญาณ เป็น นิพพาน ลองอ่าน  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖) ที่แนบมาก่อนดีหรือไม่ครับ

แต่ว่าหมายถึงอะไร  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)  ที = ??  สี = ?? อ= ???  499 = ??? /  326 = ???
ไม่ทราบวิธีการค้นครับ ใครอธิบาย ได้ช่วยหน่อยครับ

   :c017:
           


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kindman ที่ มิถุนายน 13, 2012, 10:50:46 am
เป็นประเด็นที่น่าสนใจ ที่คิดว่าตั้งคำถาม ได้หลายประการครับ

(๑) วิญญาณ ในที่นี้หมายถึง พระนิพพาน (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)
 
  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

  อยากให้เพื่อนๆ ร่วมกันวิจารณ์ กันก่อนนะครับ เพราะ พิจารณาเป็น ธรรมวิจารณ์ข้อสอบ นะครับ ส่วนนี้

  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25: :25:
 

   วิญญาณ เป็น นิพพาน ลองอ่าน  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖) ที่แนบมาก่อนดีหรือไม่ครับ

แต่ว่าหมายถึงอะไร  (ที.สี.อ. ๔๙๙/๓๒๖)  ที = ??  สี = ?? อ= ???  499 = ??? /  326 = ???
ไม่ทราบวิธีการค้นครับ ใครอธิบาย ได้ช่วยหน่อยครับ

   :c017:
           


    ที  ทีฆนิกาย
    สิ  สีลขันธวรรค
    อ  ???
    499 หัวข้อ
    326 ???

  สรุปแล้ว ก็คือ อันเดียวกับที่ยกไว้ ครับเป็นการอธิบาย สัั้น ๆ ตามนั้นครับ

 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kindman ที่ มิถุนายน 13, 2012, 11:14:45 am
         เรื่องภิกษุแสวงหาความดับของมหาภูตรูป
            [๔๘๗]    เกวัฏฏะ  เรื่องเคยมีมาแล้ว  ภิกษุรูปหนึ่งในหมู่ภิกษุเกิดความคิดคำนึง
ว่า  มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอ
     [๔๘๘]    ทีนั้นแล    ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปเทวโลก    ครั้น
แล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกา    แล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    มหาภูต-
รูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
            เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพชั้นจาตุมหาราชิกาตอบว่า    ‘พวกเราไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือน
กัน    แต่ท้าวมหาราช    ๔    องค์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๘๙]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาท้าวมหาราชทั้ง    ๔    องค์    แล้วถามว่า    ‘ท่าน
ผู้มีอายุ    มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับ
สนิทที่ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวมหาราชทั้ง    ๔    องค์ตอบว่า    ‘แม้พวกเรา
ก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิท
ไปเหมือนกัน    แต่พวกเทพชั้นดาวดึงส์ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๙๐]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่
ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพชั้นดาวดึงส์ตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่ที่
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่ท้าวสักกเทวราชผู้ยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            [๔๙๑]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาท้าวสักกเทวราชแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่
ไหน’    เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวสักกเทวราชตอบว่า    ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป
๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน    แต่
พวกเทพชั้นยามา    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อสุยาม    ฯลฯ    พวกเทพชั้นดุสิต    ฯลฯ    เทพบุตร
ชื่อสันดุสิต    ฯลฯ    พวกเทพชั้นนิมมานรดี    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อสุนิมมิต    ฯลฯ    พวก
เทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดี    ฯลฯ    เทพบุตรชื่อวสวัตดีซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเรา
คงจะทราบ’
            [๔๙๒]    ทีนั้น    เธอจึงเข้าไปหาเทพบุตรชื่อวสวัตดีแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    เทพบุตรชื่อวสวัตดีตอบว่า    ‘แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป    ๔
คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน    แต่พวก
เทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหม    ซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าเราคงจะทราบ’
            [๔๙๓]    ทีนั้นแล    ภิกษุจึงเข้าสมาธิถึงขั้นที่จิตตั้งมั่นจนเห็นทางไปพรหมโลก
ครั้นแล้วเธอเข้าไปหาพวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่ทราบที่
ที่มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ดับสนิทไปเหมือนกัน
แต่พระพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้    เป็นผู้
กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล    ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ    เป็น
บิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดซึ่งยิ่งใหญ่และสำคัญกว่าพวกเราคงจะทราบ’
            เธอถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    เวลานี้ท้าวมหาพรหมอยู่ที่ไหน’
            พวกเทพเหล่านั้นตอบว่า    ‘แม้พวกเราก็ไม่รู้ที่อยู่ของท้าวมหาพรหมหรือ
ทิศทางที่ท้าวมหาพรหมอยู่    แต่มีนิมิตที่สังเกตได้    (คือ)    แสงสว่างเกิดขึ้น    โอภาส
ปรากฏขึ้น    ท้าวมหาพรหมก็จะปรากฏพระองค์ด้วย    การที่แสงสว่างเกิดขึ้น    โอภาส
ปรากฏขึ้นนี้    จัดเป็นบุรพนิมิตแห่งการปรากฏของท้าวมหาพรหม’    ต่อมาไม่นาน
ท้าวมหาพรหมได้ปรากฏพระองค์ขึ้น
            [๔๙๔]    ลำดับนั้น    ภิกษุนั้นเข้าไปหาท้าวมหาพรหมแล้วถามว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ
มหาภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
เมื่อเธอถามอย่างนี้    ท้าวมหาพรหมตอบว่า    ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้ยิ่ง
ใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้    เป็นผู้กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ    เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
            แม้ครั้งที่    ๒    ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า    ‘ท่านผู้มีอายุ    อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า    ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่    ไม่มีใครข่มเหงได้    เห็นถ่องแท้
เป็นผู้กุมอำนาจ    เป็นอิสระ    เป็นผู้สร้าง    ผู้บันดาล    ผู้ประเสริฐ    ผู้บงการ    ผู้ทรงอำนาจ
เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ    แต่อาตมาถามท่านอย่างนี้ว่า    มหา
ภูตรูป    ๔    คือ    ปฐวีธาตุ    อาโปธาตุ    เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหน’
       แม้ครั้งที่  ๒  ท้าวมหาพรหมก็คงตอบว่า  ‘เราเป็นพรหมผู้เป็นท้าวมหาพรหมผู้
ยิ่งใหญ่  ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็นถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ  เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  ผู้บันดาล
ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ  ผู้ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิด’
            แม้ครั้งที่  ๓  ภิกษุนั้นกล่าวกะท้าวมหาพรหมว่า  ‘ท่านผู้มีอายุ  อาตมาไม่ได้
ถามท่านว่า  ท่านเป็นพระพรหมผู้เป็นมหาพรหมผู้ยิ่งใหญ่  ไม่มีใครข่มเหงได้  เห็น
ถ่องแท้  เป็นผู้กุมอำนาจ  เป็นอิสระ  เป็นผู้สร้าง  ผู้บันดาล  ผู้ประเสริฐ  ผู้บงการ  ผู้
ทรงอำนาจ  เป็นบิดาของสัตว์ผู้เกิดแล้วและกำลังจะเกิดหรือ  แต่อาตมาถามท่าน
อย่างนี้ว่า  มหาภูตรูป  ๔  คือ    ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อม
ดับสนิทที่ไหน’
            [๔๙๕]    ทันใดนั้น  ท้าวมหาพรหมนั้นจับแขนภิกษุนั้นพาไป  ณ  ที่สมควรแล้ว
กล่าวว่า  ‘ภิกษุ  พวกเทพผู้นับเนื่องในหมู่พรหมเข้าใจว่า  ไม่มีอะไรที่พระพรหมไม่ได้
รู้  ไม่ได้เห็น  ไม่ได้ทราบ  ไม่ได้ประจักษ์แจ้ง  ดังนั้น  เราจึงไม่ตอบต่อหน้าพวกเทพ
เหล่านั้นว่า  แม้เราก็ไม่ทราบที่ที่มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ
และวาโยธาตุดับสนิทเหมือนกัน  ฉะนั้น  การที่ท่านละเลยพระผู้มีพระภาคแล้วมาหา
คำตอบเรื่องนี้ภายนอก  นับว่าทำผิด  นับว่าทำพลาด  ไปเถิด  ภิกษุ  ท่านจงไปเฝ้าพระ
ผู้มีพระภาคแล้วทูลถามปัญหานี้    และพึงจำไว้ตามที่พระผู้มีพระภาคตรัสตอบ’
            [๔๙๖]    ลำดับนั้น  ภิกษุได้หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏต่อหน้าเรา  เปรียบ
เหมือนคนแข็งแรงเหยียดแขนออกหรือพับแขนเข้าฉะนั้น  เธอกราบเราแล้วนั่งลง  ณ
ที่สมควร  ถามเราว่า  ‘ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ
เตโชธาตุ    และวาโยธาตุ    ย่อมดับสนิทที่ไหนหนอแล’
               อุปมาด้วยนกบินดูฝั่ง
            [๔๙๗]    เมื่อเธอถามอย่างนี้  เราได้ตอบว่า  ภิกษุ  เรื่องเคยมีมาแล้ว  พวก
พ่อค้าเดินเรือทะเลนำนกตีรทัสสีลงเรือไป  เมื่อมองไม่เห็นฝั่ง  พวกเขาจึงปล่อยนก
ตีรทัสสีไป  นกนั้นบินไปยังทิศตะวันออก  ทิศใต้  ทิศตะวันตก  ทิศเหนือ  ทิศเบื้องบน
และทิศเฉียง  ถ้ามันยังแลเห็นชายฝั่งรอบ  ๆ  ก็จะบินเลยไป  ถ้ามันแลไม่เห็นฝั่งโดย
รอบก็จะบินกลับมาที่เรือนั้นอีก  ภิกษุ  เธอก็เช่นกัน  เที่ยวเสาะหาไปจนถึงพรหมโลก
ก็ยังไม่ได้คำตอบของปัญหานี้  ในที่สุดต้องกลับมาหาเรา  ปัญหานี้เธอไม่ควรถามว่า
มหาภูตรูป  ๔  คือ  ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  และวาโยธาตุ  ย่อมดับสนิทที่
ไหนหนอแล
            [๔๙๘]    แต่ควรถามอย่างนี้ว่า
                                          ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
                              อยู่ไม่ได้ในที่ไหน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น  ละเอียด
                              และหยาบ  งามและไม่งาม  ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในที่ไหน
                              นามและรูปย่อมดับสนิทในที่ไหน
            [๔๙๙]    ในปัญหานั้น  มีคำตอบดังนี้
                                          ปฐวีธาตุ  อาโปธาตุ  เตโชธาตุ  วาโยธาตุ  ย่อมตั้ง
                              อยู่ไม่ได้ในวิญญาณ๑ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น  ไม่มีที่สุด
                              แต่มีท่าข้าม๒โดยรอบด้าน  อุปาทายรูปที่ยาวและสั้น
                              ละเอียด  และหยาบ  งามและไม่งาม  ก็ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้
                              ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน  นามและรูปย่อมดับสนิท
                              ในวิญญาณ๑นี้เช่นเดียวกัน  เพราะวิญญาณ๓ดับไป
                              นามและรูปนั้นก็ย่อมดับสนิทในที่นั้น”
            [๕๐๐]    พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว  บุตรคหบดีชื่อเกวัฏฏะมีใจยินดี
ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้วแล
 
               เกวัฏฏสูตรที่ ๑๑ จบ




ลองอ่านพระสูตรฉบับเต็มแล้ว ก็บางอ้อครับ

   คือ คำถามนี้ต้องไม่ใช่คนธรรมดาจะตอบได้นะครับ เพราะมีพระรูปหนึ่งซึ่งสำรเร็จสมาธิขั้นสูงนะครับ ท่านเดินทางไปเทวโลก สอบถามคำถามนี้กับ พรหม ท้าวสักกะ เป็นต้น ยังตอบไม่ได้ สุดท้ายท้าวมหาพรหม ก็จับแขนพระภิกษุรูปนั้น มาทูลถามพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นที่่มาของคำถาม และ คำเฉลย ดังนั้น


    เรื่องแรกที่เราพอจะเข้าใจได้ในเบื้องต้น คือ

    นิพพาน ไม่มีธาตุ 4 ไม่มี นามรูป นิพพานอาศัย อุปาทายรูป เป็นท่าข้าม

    ดังนั้น เมื่อ นิพพาน ไม่มีธาตุทั้ง 4 ก็เหนือจินตนาการแล้วนะครับ เพราะเท่ากับไม่มีวัตถุ จินตนาการไม่ได้ รู้แต่เพียงว่า เป็น ที่ ๆ ไม่มีความทุกข์ เป็น การไม่กลับมาเกิดอีกต่อไป

 :c017: ขอบคุณพระอาจารย์ครับ




หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 13, 2012, 12:08:10 pm
ยิ่งตามอ่าน ยิ่งลึกซึ้ง อยากอ่านธรรมวิจารณ์ อย่างนี้คะ เจาะกันเป็นหัวข้อจะดีนะคะ จะได้ปฏิบัติภาวนาให้ถูกทาง จากหัวข้อนี้ สรุปว่าต้องมีจิตเป็น สมาธิ แล้วระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็น อุปาทายรูป ใช่หรือไม่คะ

 และ อุปาทายรูป นี้เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับอย่างไร ตั้งแต่ห้องไหนบ้างคะ

   :c017: :25: :88:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: Jojo ที่ มิถุนายน 13, 2012, 12:15:59 pm
บทความของพระอาจารย์ คิดว่า ต้องอ่าน ต่อเนื่อง มานะคะ ถ้าไม่ได้อ่านมาต่อเนื่อง จะไม่เข้าใจเลย ท่านที่ยังไม่ได้อ่านเรื่องเกี่ยวกับธาตุ ควรได้อ่านคะ จะได้เข้าใจมากขึ้น คะ


 ธรรมะสาระวันนี้ "กำหนดรู้ธาตุ ในความเป็นธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ"
 http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7218.0 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7218.0)


  (http://www.madchima.net/images/182_card_32.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 13, 2012, 12:42:52 pm
ผมนี้ไม่มีในเรา  เรานี้ไม่ไมีในผม
ผมนี้ไม่ใช่เรา   เรานี้ไม่ใช่ผม
        มีแต่จิตล้วนๆ

มีแต่จิตเท่านั้นนั้นที่เดินทาง

ผมนี้ คือ ธาตุ  เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ  เป็นธาตุดิน
ธาตุนี้มี จึงมีมองเห็นจึงสัมผัส จึงรู้จัก จึงเรียกชื่อ
รูปนามจึงมี อุปาทายรูปจึงมี  จริมกวิญญาณจึงมี

( ถาม : เราปฏิบัติกันเพื่ออะไร
  ตอบ : ต่ำสุดก็เพื่อละสังโยชน์ ๓ (กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์)

  ถาม : สังโยชน์ ๓ คืออะไร
  ตอบ : ก็คือ ๑.สักกายทิฏฐิ  ๒.วิจิกิจฉา ๓.สีลัพพตปรามาส
          และ สักกายทิฏฐิ นั้น ก็คือ ความเห็นว่าเป็นตัวของตน, ความเห็นเป็นเหตุถือตัวตน )

ท่านผู้ปฏิบัติควรรู้ : การที่นักปฏิบัติ กระทำไปเพื่อมิได้เป็นการละสังโยชน์ ๑๐ มิใช่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ  ไม่ใช่เพื่อความหลุดพ้น สามารถที่จะเอา สังโยชน์ ๓ ข้อแรกเป็นตัวตั้งก่อน เพื่อการพิสูจน์ตัวเราเอง เราปฏิบัติแล้ว มีกิเลส มากขึ้น หรือน้อยลง

ในส่วนแรกนั้น(ลองย้อยกลับไปอ่านอันแรกสุดเลย) น่าจะหมายถึง การยกจิตขึ้นวิปัสสนา ขอเดาว่า อาจจะเป็นไปได้ว่าท่านทั้งหลาย ได้ปฏิบัติกันดีอยู่แล้ว แต่มิได้ทำการยกจิตขึ้น เข้าสู่การวิปัสสนา(เดาว่าจึงถูกบอกแบบทางอ้อมโดยยิบยกพระไตรปิฏก) เพื่อให้รู้ให้เขาในธาตุอย่างแท้จริง (ไม่มี ไม่ได้ ปรุงแต่ง แต่เห็นตามความเป็นจริง)



หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: DANAPOL ที่ มิถุนายน 13, 2012, 03:52:59 pm
ยิ่งตามอ่าน ยิ่งลึกซึ้ง อยากอ่านธรรมวิจารณ์ อย่างนี้คะ เจาะกันเป็นหัวข้อจะดีนะคะ จะได้ปฏิบัติภาวนาให้ถูกทาง จากหัวข้อนี้ สรุปว่าต้องมีจิตเป็น สมาธิ แล้วระดับหนึ่ง ถึงจะมองเห็น อุปาทายรูป ใช่หรือไม่คะ

 และ อุปาทายรูป นี้เกี่ยวข้องกับ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับอย่างไร ตั้งแต่ห้องไหนบ้างคะ

   :c017: :25: :88:

  คิดว่า อุปาทายรูป คือ รูปที่เกิดขึ้นเป็นส่วน ๆ ครับ อุปาทายรูป นั้น มีใจครอง ก็หมายถึง ใจ เรา หรือ ใจของ รูปนั้น ๆ เช่น
 
    ฐานจิตที่ 1 มี 21 ธาตุดิน คือ เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เป็นต้น นะครับ แต่ระส่วนนั้น เป็น รูป มีใจครอง เป็นส่วน ๆ

    ที่นี้ถ้าผมจำไม่ผิด พระอาจารย์เคยกล่าวไว้ ในกระทู้ 1 แสดงถึง เรื่อง หทัยรูป อายตนะรูป และ อุปาทายรูป ถ้าตามลำดับแล้ว ผมว่าน่าจะเข้าใจ คำว่า รูปของใจก่อน แล้วต่อมาให้มาเข้าใจ อายตนะรูป และอุปาทายรูป ตามลำดับ ใช่หรือมไม่ครับ

  :s_hi: :s_hi: :s_hi: :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: Hero ที่ มิถุนายน 13, 2012, 06:36:58 pm
ดูเหมือน ธรรมวิจารณ์ ส่วนนี้ มีท่านนักภาวนา หลายท่่านแสดงความเห็น แสดงให้เห็นว่าทุกท่านมีความใส่ใจในความก้าวหน้ากับกรรมฐาน โดยเฉพาะผม ปกติก็จะอ่านบทความของพระอาจารย์มาเสมอ ก็รู้สึกว่ายังตามทันคือมีความเข้าใจในการอ่านมาเสมอ แต่มาบทความบทนี้ พูดตรง ๆ เลยครับ ว่าไม่กระดิกเลยครับ

   สาเหตุ เป็นเพราะผมอ่อนการภาวนาแน่ ๆ จึงยังไม่เข้า ใจ

   หรือ มีนัยบอกว่า ความรู้ทางธรรมยังไม่พอ... ในการภาวนา

   ดังนั้นก็จะติดตามการชี้แนะต่อไป ขอบคุณทุกท่านที่ แสดงธรรมวิจารณ์กันนะครับ

  :coffee2: :25: :welcome:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: tang-dham ที่ มิถุนายน 13, 2012, 07:52:18 pm
เป็นธรรมขั้นสูงเลยนะครับ ตอบได้ ก็ตอบตามที่พระพุทธเจ้าตรัส
แต่การเข้าถึง นิพพาน นั้นต้องปฏิบัิติเข้าถึง ส่วนใด ที่แน่ๆ ต้องดับ อวิชชา ด้วยนะครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

 :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: whuchi ที่ มิถุนายน 13, 2012, 09:43:39 pm
เป็นบทความที่อ่านมาตั้งแต่ต้นแล้ว ก็ยังไม่เข้าใจเลย คะ

  :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มิถุนายน 13, 2012, 10:55:33 pm
ก็ได้ วิตก วิจารย์
      แต่การรู้ยิ่ง ปฐวิโดยความเป็นปฐวี หมายถึงรู้ด้วยสัญญาที่แตกต่างจากปุทุชน หรือรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง
          ครูอาจารย์ว่าไว้ว่า เมื่อรู้ยิ่ง ในปฐวี ก็รู้ว่า ปฐวี ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา(ครูบาอาจารย์ว่าไว้แค่นี้)
      ต่อจากนี้คือความเห็นแบบมนุษย์ ว่าวิจารย์แบบปริยัตินะ  ต้องเป็นผู้ที่ฉลาดชุมนุมกรรมฐาน ฉลาดชุมนุม อานาปา 9 จุด ปฐวีกสิน กายคตา จักรสุกิตติมา ท่าข้ามรอบด้าน(ช่อง) สโตริกาญาณชุมนุม รูปที่สั้น ยาว ละเอียด หยาบ
       รูปยาวรูปสั้นรูปหยุด  รูปลม 16 ข้อ(หายใจเข้า-ออก กลายเป็นอาการ 32)และเป็น สติปัฏฐานเต็มๆ มี กาย เวทนา จิต ธรรม อุปาทายรูปก็ย่อมตั้ง อยู่มิได้ ในรูปวัตถุ 16(วาง เกิดฃึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ในลม)และเห็นด้วยญาณพิเศษ คือ ญาณสติ 200 ธาตุย่อมตั้งอยู่มิได้ ในวิญญาณ ที่หลุด ทะยาน พุ่งไป หมุนซี่กงล้อ หมุนอวิชชาทั้งแปด ไม่มีที่สิ้นสุด  แต่ก็ขึ้นอยู่กับความเห็นไตรลักษณ์ ว่าฉลาดเว้นธรรมที่เป็นอุปการะ และ ที่ไม่เป็นอุปการะ ถือมาก ถือน้อย วางมาก วางน้อย รึวางหมด ทั้งรูป และอารมณ์
          สองส่วนดับ เหมือนทลายตาลทั้งคู่นั้น หรือเปล่า ขอคุยเล่นๆเป็นเพื่อนแค่นี้
               
         


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 14, 2012, 08:17:05 am
พระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  มหานิทเทส  [อัฎฐกวรรค]
 ๒.  คุหัฏฐกสุตตนิทเทส                 
  ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ           


      คำว่า    กำหนดรู้ผัสสะแล้ว    ก็ไม่ติดใจ    อธิบายว่า
      คำว่า    ผัสสะ(๑)    ได้แก่   
  จักขุสัมผัส(สัมผัสทางตา)   
  โสตสัมผัส(สัมผัสทางหู)
  ฆานสัมผัส(สัมผัสทางจมูก)   
  ชิวหาสัมผัส(สัมผัสทางลิ้น)   
  กายสัมผัส(สัมผัสทางกาย)
  มโนสัมผัส(สัมผัสทางใจ)   
  อธิวจนสัมผัส(สัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร)   
  ปฏิฆสัมผัส(สัมผัสแห่งการกระทบใจ)   
  สุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา)   
  ทุกข-เวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา)   
  อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา)   
  ผัสสะที่เป็นกุศล   
  ผัสสะที่เป็นอกุศล   
  ผัสสะที่เป็นอัพยากฤตผัสสะที่เป็นกามาวจร   
  ผัสสะที่เป็นรูปาวจร   
  ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร   
  สุญญตผัสสะ
  อนิมิตตผัสสะ   
  อัปปณิหิตผัสสะ   
  ผัสสะที่เป็นโลกิยะ   
  ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ   
  ผัสสะที่เป็นอดีต   
  ผัสสะที่เป็นอนาคต   
  ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน   
       ผัสสะ ความถูกต้อง  กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ


(๑) ผัสสะ  หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ  เช่น  ตากระทบกับรูป  หรือตาเห็นรูป  เรียกว่า  จักขุสัมผัส
   เป็นต้น



หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: เพียงเ็พ็ญ ก่ำสุข ที่ มิถุนายน 14, 2012, 12:27:26 pm
พระสุตตันตปิฏก  ขุททกนิกาย  มหานิทเทส  [อัฎฐกวรรค]
 ๒.  คุหัฏฐกสุตตนิทเทส                 
  ว่าด้วยผัสสะต่าง ๆ           


      คำว่า    กำหนดรู้ผัสสะแล้ว    ก็ไม่ติดใจ    อธิบายว่า
      คำว่า    ผัสสะ(๑)    ได้แก่   
  จักขุสัมผัส(สัมผัสทางตา)   
  โสตสัมผัส(สัมผัสทางหู)
  ฆานสัมผัส(สัมผัสทางจมูก)   
  ชิวหาสัมผัส(สัมผัสทางลิ้น)   
  กายสัมผัส(สัมผัสทางกาย)
  มโนสัมผัส(สัมผัสทางใจ)   
  อธิวจนสัมผัส(สัมผัสที่เกิดทางมโนทวาร)   
  ปฏิฆสัมผัส(สัมผัสแห่งการกระทบใจ)   
  สุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา)   
  ทุกข-เวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา)   
  อทุกขมสุขเวทนียผัสสะ(ผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา)   
  ผัสสะที่เป็นกุศล   
  ผัสสะที่เป็นอกุศล   
  ผัสสะที่เป็นอัพยากฤตผัสสะที่เป็นกามาวจร   
  ผัสสะที่เป็นรูปาวจร   
  ผัสสะที่เป็นอรูปาวจร   
  สุญญตผัสสะ
  อนิมิตตผัสสะ   
  อัปปณิหิตผัสสะ   
  ผัสสะที่เป็นโลกิยะ   
  ผัสสะที่เป็นโลกุตตระ   
  ผัสสะที่เป็นอดีต   
  ผัสสะที่เป็นอนาคต   
  ผัสสะที่เป็นปัจจุบัน   
       ผัสสะ ความถูกต้อง  กิริยาที่ถูกต้อง ภาวะที่ถูกต้องเห็นปานนี้ นี้ตรัสเรียกว่า ผัสสะ


(๑) ผัสสะ  หมายถึงความสัมผัสอารมณ์ที่มากระทบ  เช่น  ตากระทบกับรูป  หรือตาเห็นรูป  เรียกว่า  จักขุสัมผัส
   เป็นต้น



  อ่านแล้วก็ยังไม่เข้าใจ อยู่ดีคะ ว่าเกี่ยวข้องอย่างไรกับหัวข้อคะ

   :25: :smiley_confused1:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: rainmain ที่ มิถุนายน 14, 2012, 07:56:10 pm
ผมว่า พระอาจารย์กำลังบรรยาย อายตนะธาตุ อยู่นะครับ

  อายตนะธาตุ ที่ผมรู้ คือ 6 คู่

 ตา  ผัสสะ รูป
 หู   ผัสสะ เสียง
 จมูก ผัสสะ กลิื่น
 ลิ้น ผัสสะ รส
 กาย ผัสสะ โผฏฐัพพะ
 ใจ  ผัสสะ ธรรมารมณ์

  อันนี้พระอาจารย์ ยกให้รู้ละ้เอียดเพิ่มขึ้น ผมว่า อายตนะธาตุ อยู่ตรงพระสูตรนี้ นะครับถ้าพิจารณาให้ดี

 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ มิถุนายน 15, 2012, 08:34:40 am
ผมนึก ถึง Email ได้ฉบับหนึ่งของพระอาจารย์ แต่เสียดายลบไปแล้วครับ กล่าวถึงเรื่องรูป
แต่พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ
โดยเริ่มต้นอธิบาย ถึงธาตุ คือ รูป คือ หทัยรูป คืออายตนะรูป (ผัสสะที่นำเสนออยู่) และ อุปาทายรูป ต่อมาเป็น พหุรูป บัญญัติรูป ปรมัตถรูป และ นามรูป

  เท่านที่จำได้ก็อย่างนี้ ตอนนั้นอ่านไม่รู้เรื่อง ท่านกล่าวว่าเป็นการทดสอบความเข้าใจของผู้ภาวนากรรมฐาน น่าเสียดายฉบับเต็ม 3 หน้า ประมาณ 70 บรรทัดถ้าจำไม่ผิด

  นึกไปนึกมา ทำไมพระอาจารย์ไม่นำมาโพสต์ในเว็บเรื่องนี้ และ ความอุตาสาหในการพิมพ์มาให้อ่าน

   สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: winyuchon ที่ มิถุนายน 15, 2012, 09:21:35 am
ผมนึก ถึง Email ได้ฉบับหนึ่งของพระอาจารย์ แต่เสียดายลบไปแล้วครับ กล่าวถึงเรื่องรูป
แต่พอจะสรุปได้ดังนี้ครับ
โดยเริ่มต้นอธิบาย ถึงธาตุ คือ รูป คือ หทัยรูป คืออายตนะรูป (ผัสสะที่นำเสนออยู่) และ อุปาทายรูป ต่อมาเป็น พหุรูป บัญญัติรูป ปรมัตถรูป และ นามรูป

  เท่านที่จำได้ก็อย่างนี้ ตอนนั้นอ่านไม่รู้เรื่อง ท่านกล่าวว่าเป็นการทดสอบความเข้าใจของผู้ภาวนากรรมฐาน น่าเสียดายฉบับเต็ม 3 หน้า ประมาณ 70 บรรทัดถ้าจำไม่ผิด

  นึกไปนึกมา ทำไมพระอาจารย์ไม่นำมาโพสต์ในเว็บเรื่องนี้ และ ความอุตาสาหในการพิมพ์มาให้อ่าน

   สาธุ สาธุ สาธุ

 :25: :25: :25:

 น่าเสียดาย นะครับ ถ้านำมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน อาจจะได้รับประโยชน์กับหัวข้อนี้ได้มากเลยนะครับ  แต่ก้แปลกนะครับ พระอาจารย์ไม่ใช่จะส่งข้อความยาว ๆ ให้ใคร นะครับ แสดงว่าคุณสมภพ นี้ต้องเป็นศิษย์เอกแน่ เลยนะครับ จึงได้รับคำแนะนำที่ลึกซึ้ง

 :49:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: สมภพ ที่ มิถุนายน 15, 2012, 09:23:45 am


 น่าเสียดาย นะครับ ถ้านำมาให้เพื่อน ๆ ได้อ่าน อาจจะได้รับประโยชน์กับหัวข้อนี้ได้มากเลยนะครับ  แต่ก้แปลกนะครับ พระอาจารย์ไม่ใช่จะส่งข้อความยาว ๆ ให้ใคร นะครับ แสดงว่าคุณสมภพ นี้ต้องเป็นศิษย์เอกแน่ เลยนะครับ จึงได้รับคำแนะนำที่ลึกซึ้ง

 :49:
[/quote]

  ผมไม่ด้เป็น ศิษย์เอก ไม่กล้าแอบอ้างครับ ยังไม่เคยพบพระอาจารย์เลยครับ ยังไม่ได้ขึ้นกรรมฐาน ด้วยเลยครับ แต่ผมถามปัญหาไปทางเมล ค่อนข้างจะลึกซึ้งมากในคำถาม นะครับ เท่านั้นครับ

   :13: :13: :13:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: pichai ที่ มิถุนายน 15, 2012, 09:45:22 am
อยากให้เพื่อน วางใจ อย่างนี้นะครับ เวลาที่เราอ่านบทความธรรม แล้วไม่เกิดความเข้าใจเลยนั้น

  1.ให้รู้ตัว ว่าเรายังขาดการภาวนาระดับนัน ๆ อยู่
  2. เป็นโอกาสที่จะได้สอบถาม เรืองที่จะไม่เข้าใจ
  3. ที่สำคัญเป็นโอกาสที่เราจะละมานะ ว่าเราเก่ง เราด้อย เราเสมอกับผู้อื่นออกไปครับ
  4. ยังได้อุ่นใจที่ยังมีผู้ชี้นำทางให้เกับเราอยู่ครับ เวลาที่เราคิดว่า เราเก่งกว่าผู้อื่นก็มักจะคิดว่าเรารู้แจ้งธรรมแตกฉาน ผมติดตามอ่านบทความพระอาจารย์มา 2 ปีแล้ว รู้สึกที่รู้ ๆ มานั้นใช้ไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้เดาคำตอบของพะอาจารย์ไม่ได้เลยครับ เพราะผมอ่านบทความคำถามเพื่อน  แล้ว ก็คิดว่าพระอาจารย์ต้องตอบอย่างนี้ เรื่องนี้น่าจะตอบเป็นพิเศษ เรื่องนี้ท่านจะไม่ตอบ เดี๋ยวนี้พูดได้เลยครับ ว่าเดาไม่ได้แล้วครับ คือไม่รู้ว่าพระอาจารย์จะตอบแง่มุมไหน แตก็รู้อยูว่าต้องตอบไปเพื่อ มรรค ผล นิพพาน แน่นอน ครับ

   :49:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: montra ที่ มิถุนายน 15, 2012, 10:04:59 am
ถ้าเป็นไปตามที่ คุณ สมภพ แนะนำมาก็แสดงให้เห็นว่า ลำดับในพระกรรมฐาน ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัศนะ นั้นต้องเข้าไป รู้ ตามลำดับ อย่างนี้ใช่หรือไม่ครับ

                       1. ธาตุ   2 หทัยรูป  3.อายตนะธาตุ  4. อุปาทายรูป  5. รูปาวจร  6.อรูปาวจร 7. นามรูป 8.นิพพาน ( วิญญาณ )

   ใช่แบบนี้หรือไม่

      1.ธาตุ มีเริ่มต้นตั้งแต่ ธาตุ ดิน ไฟ น้ำ ลม อากาส ( มากกว่ามหาภูตรูป )
      2.หทัยรูป กล่าวว่า อยู่ที่อากาศธาตุ ที่สถิตย์ คือ หัวใจ บรรจุ เจตสิก โดยตรง
      3.อายตนะธาตุ มีผัสสะ เป็นที่รู้ เรียกว่า มนายตนะธาตุ คือ ธาตุรู้ ๆ เพื่อดับอารมณ์เบื้องต้น คือการปล่อยวาง   
      4.อุปาทายรูป หมายถึงรูปที่มีใจครอง โดยในการภาวนาใส่ไว้ ในธาตุต่างแยกเป็นส่วน เรียกว่าโกฏธาตุ มีตั้งแต่ เกสา โลมา เป็นต้น ธาตุเหล่านี้ มีใจครองเป็นของตน ไม่เกี่ยวข้องด้วยหัทัยรูป จะเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่สนใจ ในใจของเรา ไม่เป็นไปตามอำนาจบังคับบัญชา

      5.รูปาวจร คือ อารมณ์ที่เข้ไปร่วมกับรูป ที่เป็น ปฐมฌาน ถึง จตุตฌานยังจัดว่ามีรูปอยู่
      6.อรุปาวจร คือ อารมณืเข้าไปร่วมกับอรูป ที่เป็น ฌาน 5 ถึง ฌานแปด
      7.นิพพาน คืออารมณืที่ยกสถานะขึ้นไปสู่ สภาวะอาสวักขยญาณเป้นไปเพื่อการดับกิเลส

   คือจำมาได้ ก้เพียงเท่านี้นะครับ รู้สึกว่ามีกระทู้เรื่องนี้อยู่ผมพยายามค้นอยู่ 3 วัน แล้วอ่านตอนนั้นยังไม่ค่อยจะเข้าใจ พอได้อ่านธรรมวิจารณ์ ส่วนนี้รู้สึกว่าแจ่มแจ้งขึ้น และนึกถึงกระทู้นั้นได้ เสียดายเป็นคำตอบที่ตอบลงไปในช่วงกลาง ๆ ไม่ใช่หัวข้อกระทู้เลยค้นอยากตรงส่วนนี้พระอาจารย์ได้กล่าวอธิบาย เรื่องธาตุ อย่างละเอียดจนกระทั่ง เป้น รูป

    ใครค้นได้ ขออนุโมทนาด้วย นะครับ

     :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: timeman ที่ มิถุนายน 15, 2012, 10:15:15 am
ผมว่าปัญหา อยู่ที่ 2.หทัยรูป กล่าวว่า อยู่ที่อากาศธาตุ ที่สถิตย์ คือ หัวใจ บรรจุ เจตสิก โดยตรง
ว่าตอนนี้ หทัยรูป ปรากฏหรือยัง หรือเข้าถึงหรือยัง  พระลักษณะ พระรัศมี ได้หรือยัง ที่ ผรณาปีติธรรม

ผมว่าส่วนนี้ ที่เรายังไม่เข้าถึง หรือ ยังไม่เข้าใจ
 ส่วนการสัมปยุตธรรม ผมเคยรับฟัง ทางรายการหลายครั้ง ซึ่ง เป็นการยกจิตเข้าสุ่สภาวะวิปัสสนา แบบอ่อน ๆ

  รู้สึกดีครับ ได้ฝึกแบบนี้ และรู้สึกถึงกรรมฐาน ได้ก้าวหน้าครับ ถึงแม้ว่าวันนี้ ธรรมที่เป็นส่วนลึกจะอ่านยังไม่เข้าใจแต่คิดว่า สักวันหนึ่งถ้าเราปฏิบัติภาวนาถึงตรงนั้นแล้วก็จะสามารถเข้าใจได้ครับ

  :13: :13: :13: :49:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 15, 2012, 11:48:41 am
นี้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เห็นวความสำคัญใน กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้น ว่ามีมาในพระไตรปิฏก ซึ้งควรค่าแก่การเผยแผ่ แก่การรักษาสืบไป  จึงเห็นควรให้มีการช่วยกันเผยแผ่ออกไป ให้มากๆ (ที่สำคัญมากๆ ผู้พูด ผู้รู้ ผู้ศึกษา ต้องปฏิบัติด้วย)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: Sitti ที่ มิถุนายน 15, 2012, 07:59:27 pm
การภาวนา สำหรับกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ

   เริ่มที่ห้องพระธรรมปีติ มี ขุททกาปีติ เป็นธาตุดิน
                             ขณิกาปีติ เป็นธาตุไฟ
                             โอกกันติกาปีิติ เป็นธาตุน้ำ
                              อุพเพงคาปีติ เป็นธาตุลม
         
                            สี่ปีตินี้จัดเป็น รูป เรียกว่า รูป คือ มหาภูตรูป 4 มีดิน ไฟ น้ำ ลม
                         
                             ผรณาปีติ เป็นธาตุอากาศ คือ หทัยวัตถุ เป็นที่สถิตย์ของใจ ซึ่งจับต้องไม่ได้เหมือนอากาส ใช้ความรู้สึก นึกคิด รับรู้ได้ ส่วนนี้ เลยต่อมา คือ การกำหนดรู้ อายตนะธาตุ คือ ผัสสะที่พระอาจารย์ อธิบาย โดยยกพระสูตรมา ต่อจากนี้ ก็จะเข้าใจ อุปาทายรูป ธาตุ 18

         วิธีปฏิบัติ ก็คือ พุทโธ ตั้งมั่นในฐานจิต เช่นเดิม การกำหนดยกองค์บริกรรม เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ นั้น เป็น วิปัสสนาอ่อนๆ ในเบื้องต้น

                 :25: :25: :25:

                           


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ มิถุนายน 15, 2012, 09:37:45 pm
อนุโมทนา กับ ข้อคิดเห็นของทุกท่านแสดงว่า ทุกท่านยังมีความสนใจในการภาวนาส่วนนี้อยู่ ทุกท่านถึงแม้จะเป็นเืรื่องที่เข้าใจยาก แต่ก็ต้องอ่านหลาย ๆ เที่ยวคะ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ มิถุนายน 16, 2012, 07:54:23 am
 :67: :67: :67: :67:

   ตามอ่านมาเป็นเวลา  หลายวัน ขบคิด นั่งพิจารณา แง่มุมในการอธิบายให้กับตนเอง แต่แล้วก็ติด เพราะคิดค้อไม่ออก คิดไปหลายรอบ สุดท้าย คำที่ติดคือคำที่ไปยังไม่ถึง นั้นก็คือคำว่า วิญญาณ ( นิพพาน ) มาทบทวนดูแล้วอะไรเป็นหัวใจของสาระบทความนี้ ก็พิจารณาเห็นสิ่งที่โพสต์ไว้ในตอนต้น

    ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)



    พอเห้นปั๊บ ก็พิจารณาถึงเนื้อหา ก็เลยบางอ้อบ้าง ที่แท้ การที่จะอธิบายให้เข้าใจ นั้นเราต้องมุ่งที่การอธิบายให้กับตัวเรานะ ไม่ใช่มุ่งอธิบายให้กับใคร และการจะอธิบายได้ก็อยู่ที่

       ฉลาดในการเข้าสมาธิ ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ ฉลาดในการออกจากสมาธิ   ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  ฉลาดในโคจรในสมาธิ   ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ 

       ก็หมายถึง เราจะเข้าใจได้ก็ต้อง มีฉลาดในการภาวนาสมาธิ การภาวนาสมาธินับว่าเป็นขั้นสุดท้ายในพระพุทธศาสนา เป็น อริยมรรคสุดท้ายที่คนส่วนใหญ่จะละเลยกัน ใช่หรือไม่ครับ เพราะวันหนึ่ง ๆ นั้นเราต้องใช้สมาธิสนับสนุนแต่เป็นสมาธิที่เป็นพั้นฐานที่เราเองวนั้นมีอยู่กันทุกคนอยู่แล้ว จึงไม่น่าแปลกใจที่สมาธิแบบนี้จึงมีคนใช้กันอยู่มาก และก็คิดว่าสมาธิระดับที่มีกันอยู่แล้วนี้จะสามารถเข้าใจธรรม ขั้นสูงสุดของพระพุทธศาสนาได้ เพราะเราคิดอย่างนี้จึงไม่ได้สนใจในการฝึกสมาธิกันให้ก้าวหน้า พอเจออุปสรรคกันหน่อยในการภาวนา ก็ไปโทษสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเราเอง แทนที่จะหันกลับมาพิจารณาว่าความฉลาดในสมาธิ นั้นเรามีหรือไม่ เราฉลาดในการเจริญหรือไม่  ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิหรือไม่ ฉลาดในการออกจากสมาธิหรือไม่ ฉลาดในความพร้อมหร้อไม่ ฉลาดในการโคจรสมาธิหรือไม่ ฉลาดในอภินิหาในสมาธิหรือไม่

     ผมว่าคำตอบสำหรับพวกเราก็อยู่ที่วิธีการ นะครับ


   สาธุ สาธุ สาธุ กับบทความทดสอบนี้ครับ


  :c017: :c017: :c017: :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: pongsatorn ที่ มิถุนายน 16, 2012, 08:01:58 am
ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในการออกจากสมาธิ  ในที่นี้หมายถึงกำหนดเวลาที่จะออกจากสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙
         ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)
         ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)
         ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)


   แล้วทำอย่างไรดีครับ ในความฉลาดในสมาธิ หรือก่อนมีสมาธิ หรือขณะทรงสมาธิ

ฉลาดในการเข้าสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเลือกอาหารและฤดูที่เหมาะแก่การเจริญสมาธิ  (องฺ.ฉกฺก.อ. ๓/๒๔/๑๐๙)

   อันนี้อ่านดูแล้ว ดูเหมือนจะไม่ยาก นะครับ อาหาร ฤดู สถานที่ อันนี้พอจะเข้าใจครับ คือเรื่อง สัปปายะใช่หรือไม่ครับ แต่ว่าที่ไหนดีครับ ที่บ้าน หรือ ที่วัด หรือ ที่ ๆ มีการฝึกอบรมโดยตรง

  ฉลาดในการตั้งอยู่ในสมาธิ  หมายถึงสามารถตั้งจิตให้เป็นสมาธิได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)

   อันนี้หมายถึงการเข้าสมาธิ ใช่หรือไม่ครับ คือระหว่างในการดำเนินสมาธิ ขั้นตอนการกำหนดจิตในสมาธิ ใช่หรือไม่ครับ

  ฉลาดในความพร้อมในสมาธิ  หมายถึงสามารถทำจิตให้มีความร่าเริงได้  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๐๙)

   อันนี้หมายถึงผลสมาธิเบื้องต้น ที่มีปิติ ปราโมทย์ ใช่หรือไม่ครับ

  ฉลาดในโคจรในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเว้นธรรมที่ไม่เป็นอุปการะแก่สมาธิแล้วเลือกเจริญแต่ธรรมที่   เป็นสัปปายะและเป็นอุปการะโดยรู้ว่า  “นี้คือกามารมณ์ที่เป็นนิมิต  (เครื่องหมาย)  สำหรับทำให้จิตกำหนด   นี้คืออารมณ์ที่เป็นไตรลักษณ์”  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๒๐๙)

   อันนีี้เริ่มจะเข้าใจยาก ขึ้นนะครับ รอท่านผู้รู้ช่วยอธิบายเพิ่มเติมกันดีกว่า

  ฉลาดในอภินิหารในสมาธิ  หมายถึงฉลาดในการเจริญสมาธิขั้นปฐมฌาน  ทุติยฌาน  ตติยฌาน  และ   จตุตถฌาน  ตามลำดับจนเกิดความชำนาญแล้วเข้าสมาธิขั้นสูงขึ้นไป  (องฺ.ฉกฺก.อ.  ๓/๒๔/๑๑๐)

    ส่วนอันนี้ไม่กระดิกเลยครับ

  ติดตาม ธรรมวิจารณ์ จากเพื่อน ๆ ทุกท่านกันอยู่นะครับ

  อนุโมทนา ครับ

   :25:

 


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: poepun ที่ มิถุนายน 16, 2012, 12:44:56 pm
ไม่ได้เข้ามา เกือบเดือน สังเกตเรื่องนี้ มีการตอบ วิจารณ์กันมากนะครับ น่าจะเป็นเรื่องที่สำคัญมากนะครับ เพราะดูหลาย ๆ ท่านมีความสนใจ ถามตอบกันมากกว่าเรื่อง อื่น ๆ อันที่จริง แก่นของเรื่องนี้ อยู่ตรงไหน ผมว่าอยุ่ที่ความฉลาดในสมาธิ แน่ ๆ นะครับ อ่านจากที่ พี่พล และ พี่ดอน  สรุปไว้ทั้ง ๆ ที่สองท่านปฏิบัติในแนวสายวัดป่า ผมคิดว่าคำตอบน่าจะอยู่ที่ การภาวนา หรือ ความฉลาดในสมาธิ ที่นี้ ความฉลาดในสมาธิ นี้มีหลายระดับ ระดับไหน ถึงจะไปตอบคำถามได้ ถึงขึ้น วิญญาณ ผมว่่าน่าจะเป็นระดับ ฉลาดในโคจรสมาธิแล ฉลาดในอภินิหารของสมาธิ นะครับ

  ก็ลองร่วมด้วย ช่วย ธรรมวิจารณื นะครับ ไม่ใช่มาอวดรู้ อย่างน้อย ได้ถือว่าทำข้อสอบร่วมกับเพื่อน ๆ ด้วยกันครับ

  สาธุ สาธุ สาธุ
   :s_hi:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: chutina ที่ มิถุนายน 16, 2012, 01:01:39 pm
อ่านมาตั้งแต่ เช้า กว่าจะมาถึงที่สุดทำความเข้าใจ ตามมา ถึงจะนาน ๆ มาทีก็พอจะเข้าใจนะคะ หัวข้อนี้ น่าจะเป็นบทความทดสอบ ลูกศิษย์ จากพระอาจารย์มากกว่า คือท่านคงต้องการทราบว่า ลูกศิษย์ มีความเข้าใจถึงระดับไหนแล้วเป้นแน่แท้ ถ้าตอบอย่างทั่วไป ก็คือ มีความเข้าใจว่าพระนิพพาน นั้น ไม่มีธาตุ 4 ไม่มีนามรูป ดังนั้น การเข้านิพพาน ก็ต้องดับ นามรูป การดับนามรูป ก็ต้องได้ด้วยจิตที่กำลังด้วย สมาธิ และ วิปัสสนา ดังนั้นวิปัสสนา อาศัยสมาธิ และสมาธิ จะนำไปสู่การวิปัสสนา ขั้นสูง  ที่สำคัญ สมาธิ จัดเป็นอริยมรรค ท้าย ๆ ที่เราเอง ( ตัวเอง )นะคะที่หลักเลี่ยงการภาวนา ตรง ๆ อยุ่เสมอ เพราะไม่ขอบกับการหยุด นิ่งนั่งหลับตา ปวดหลัง ปวดเอว คะ มันเมื่อย

   แต่อ่าน ๆ ดูแล้ว เราคงจะเลี่ยงจากเรื่อง สมาธิ นี้ไม่ได้นะคะ
     :25: :25: :25: :58:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: nonestop ที่ มิถุนายน 16, 2012, 02:19:16 pm
ก็อ่านมาหลายวัน เหมือนกัน ครับ แต่ผมว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ ง่าย ๆ เพราะเกินจากวิสัยของปุถุชนจะเข้าใจ ว่าแต่ศิษย์กรรมฐาน โดยตรง ไม่แสดงความเห็นกันบ้างหรือครับ จะได้เพิ่มพูนความรูให้ผมบ้างนะครับ

   :c017: :c017: :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 18, 2012, 09:35:20 am
เจริญพรทุกท่าน สำหรับ หัวข้อนี้ ก็เป็นโจทก์ทดสอบศิษย์ จริง ๆ เพระาว่าได้รับจดหมาย เสียงบ่น ว่าตอนนี้ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ตั้งแต่ปฏิบัติมาไม่ได้อะไร และหลายท่่านที่พยายามคาดคั้นการเรียน กรรมฐาน คือต้องให้สอนกรรมฐานเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่ท่านทั้หลายไม่มีความก้าวหน้าในการภาวนา ด้วยสาเหตุหลาย ๆ ประการ

   สิ่งสำคัญที่สุด ศิษย์ส่วนใหญ่ ไม่ได้นำจิตเข้ามามองตน ดูปณิธานการภาวนาที่ตนเองตั้งความปรารถนาไว้ในเบื้องต้นว่าต้องการอะไรในการภาวนา บางครั้งก็เลยพาลส่งจิตออกไปเห็นเพื่อนสำคัญ เห็นวัดสำคัญ เห็นสถานที่สำคัญ เห็นอะไร ต่อ อะไร ที่เป็นภายนอกนำมาเป็นปัจจัยเงื่อนไข ให้ตนเองไม่ภาวนา นั่นเพราะว่าหลงลืม สิ่งที่ตนเองต้องการในการมาภาวนากรรมฐาน ปณิธาน เพื่อการไม่เวียนว่ายตายเกิด เสื่อมถอยจึงทำให้มีความรู้สึกว่า เหมือนไม่ได้อะไรจากการภาวนา ทั้ง ๆ ที่หลายท่าน มีครูอาจารย์นำมาจนถึง จุดที่เกินจากจุดเริ่มต้นมากมาย

   การที่ออกธรรมสาระบทนี้มา เจตนา เพื่อเตือนท่านทั้งหลายที่หลงผิดคิดว่าตนเองเข้าถึงนิพพานแล้ว ไม่ต้องเรียนอีก บางท่านติดอยู่แค่ปราโมทย์ หรือ บางท่านอยู่แค่ปีติ ไม่เข้าใจ และ ยังไม่เข้าถึง ห้วงเวลาของการเห็น ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนะ ( ห้วงเวลาพิเศษเฉพาะผู้ที่สมาธิสมบูรณ์ )

    สาระธรรม ที่ท่านควรจะได้เข้าถึงไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ ธาตุ เป็นต้นไป

  ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงใส่ใจในการภาวนาให้มากขึ้น อย่าหลงลืมปณิธานในการภาวนา ที่ท่านมาภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นี้เพื่ออะไร?

    เจริญพร / เจริญธรรม

     ;)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: เจมส์บอนด์ ที่ มิถุนายน 19, 2012, 07:26:46 am
ดังนั้น การภาวนาพึงต้องเข้าใจ เรื่อง ธาตุ ก่อนใฃ่หรือไม่ครับ

 ธาตุดิน ธาตุไฟ ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ

 เจริญธรรมยามเช้าครับ

  :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: SAWWALUK ที่ มิถุนายน 19, 2012, 09:41:28 am
(http://www.madchima.net/images/595_Good_3.gif)

 :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 19, 2012, 12:34:49 pm
ใช้ ก็พระขุทกา เป็นในส่วนของธาตุดิน


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: GodSider ที่ มิถุนายน 19, 2012, 12:39:51 pm
กว่าจะอ่านตั้งแต่จนมาถึงตรงนี้ สามวัน เหนื่อย เหมือนกันครับ เพราะความเข้าใจไม่มีมาก่อนนะครับ

  :41: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: tcarisa ที่ มิถุนายน 20, 2012, 12:31:12 pm
เจริญพรทุกท่าน สำหรับ หัวข้อนี้ ก็เป็นโจทก์ทดสอบศิษย์ จริง ๆ เพระาว่าได้รับจดหมาย เสียงบ่น ว่าตอนนี้ปฏิบัติไม่ก้าวหน้า ตั้งแต่ปฏิบัติมาไม่ได้อะไร และหลายท่่านที่พยายามคาดคั้นการเรียน กรรมฐาน คือต้องให้สอนกรรมฐานเพิ่ม ทั้ง ๆ ที่ท่านทั้หลายไม่มีความก้าวหน้าในการภาวนา ด้วยสาเหตุหลาย ๆ ประการ

   สิ่งสำคัญที่สุด ศิษย์ส่วนใหญ่ ไม่ได้นำจิตเข้ามามองตน ดูปณิธานการภาวนาที่ตนเองตั้งความปรารถนาไว้ในเบื้องต้นว่าต้องการอะไรในการภาวนา บางครั้งก็เลยพาลส่งจิตออกไปเห็นเพื่อนสำคัญ เห็นวัดสำคัญ เห็นสถานที่สำคัญ เห็นอะไร ต่อ อะไร ที่เป็นภายนอกนำมาเป็นปัจจัยเงื่อนไข ให้ตนเองไม่ภาวนา นั่นเพราะว่าหลงลืม สิ่งที่ตนเองต้องการในการมาภาวนากรรมฐาน ปณิธาน เพื่อการไม่เวียนว่ายตายเกิด เสื่อมถอยจึงทำให้มีความรู้สึกว่า เหมือนไม่ได้อะไรจากการภาวนา ทั้ง ๆ ที่หลายท่าน มีครูอาจารย์นำมาจนถึง จุดที่เกินจากจุดเริ่มต้นมากมาย

   การที่ออกธรรมสาระบทนี้มา เจตนา เพื่อเตือนท่านทั้งหลายที่หลงผิดคิดว่าตนเองเข้าถึงนิพพานแล้ว ไม่ต้องเรียนอีก บางท่านติดอยู่แค่ปราโมทย์ หรือ บางท่านอยู่แค่ปีติ ไม่เข้าใจ และ ยังไม่เข้าถึง ห้วงเวลาของการเห็น ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณทัศศนะ ( ห้วงเวลาพิเศษเฉพาะผู้ที่สมาธิสมบูรณ์ )

    สาระธรรม ที่ท่านควรจะได้เข้าถึงไปตามลำดับ เริ่มตั้งแต่ ธาตุ เป็นต้นไป

  ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงใส่ใจในการภาวนาให้มากขึ้น อย่าหลงลืมปณิธานในการภาวนา ที่ท่านมาภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นี้เพื่ออะไร?

    เจริญพร / เจริญธรรม

     ;)

   อย่างโยมไม่เข้า ใจเลยคะ ก็แสดงว่ายังสอบไม่ผ่าน เลยใช่หรือไม่คะ
   อย่างนี้ถอดใจ กับกรรมฐาน เลย

   แต่มาระลึกได้ถึงคำสั่งสอน ของท่านอยู่ ก็จะไม่ย่อท้อคะ รู้ตัวเองคะว่า ภาวนาน้อยในกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ยังนึกเป็น วิปัสสนึกมากอยู่คะ ปัจจุบันยังนั่งกรรมฐาน ไม่ทนเลยคะ นั่งได้สัก 20 นาทีคะ

   :c017: :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: pamai ที่ มิถุนายน 20, 2012, 12:33:12 pm
คิดว่าเป็นเรื่องปกติ นะคะ ถ้ามีการทดสอบ ก็จะมีผลอยู่ 2 ประการคือ สอบผ่าน กับ สอบไม่ผ่าน คะ

  :88: :58: :bedtime2:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 20, 2012, 01:52:43 pm
5. วิญญาณ คือ นิพพาน  วิญญาณในนี้น่าจะหมายถึงการดับการปรุงแต่งที่ผัสสะ แล้วทำไม วิญญาณ จึงเป็นนิพพานไปได้ ละครับ อย่างนี้จัดเป็นบัญญัติใหม่หรือไม่ ครับ เห็นในทางอภิธรรม ให้ความหมายของนิพพานมี 28 แบบ แต่ไม่มี วิญญาณ

วิญญาณ เป็น นิพพาน น่าจะหมายถึง นิพพานอายตนะ หรือ อายตนะนิพพาน กระทบกับ รูป  วิญญาณ เกิดแล้วรู้แจ้ง ( นิพพาน ) ว่าเป็นเพียงสักว่ารูป อย่างนี้ มั้งครับ อันนี้น่าจะอยู่ใน ธาตุ 18     

  1. วิญญาณ เป็น นิพพาน ได้อย่างไร ?

  2. อุปาทายรูป หมายถึง อะไรในการภาวนา กำหนดรู้ได้อย่างไร ในขณะที่เรา ภาวนา "พุทโธ" อยู่นั้นจะกำหนดอย่างไร หรือ มีวิธีการเห็นหรือรู้ อุปาทายรูป ได้อย่างไร ?

  3. จิรมกวิญญาณ คือ อะไร? มีคำว่า วิญญาณ (นิพพาน )

  4. ถ้าอย่างนั้น วิญญาณ ในขันธ์ ทั้ง 5 คือ นิพพาน หรือ ไม่ ?

ผมนี้ คือ ธาตุ  เป็นเพียงสักแต่ว่าธาตุ  เป็นธาตุดิน
ธาตุนี้มี จึงมีมองเห็นจึงสัมผัส จึงรู้จัก จึงเรียกชื่อ
รูปนามจึงมี อุปาทายรูปจึงมี  จริมกวิญญาณจึงมี

(http://www.madchima.net/images/168_card_30.jpg)

ธาตุชุมนุมอันไร้ซึ่งวิญญาณครอง(สักแต่เพียงรูป(ธาตุ)ไม่มีนาม)นี้ส่วนหนึ่ง ทั้งอุปาทายรูปอันหมายใจนี้ครองมีอยู่(สักแต่รูป(ธาตุ)มีนาม)นี้อีกส่วนหนึ่ง ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ในวิญญาณ ซึ่งมองไม่เห็น ไม่มีที่สุด นั่นคือนิพพานสภาวะอันหาเครื่องเสียดแทงมิได้ เพียงอาศัยธาตุรู้แจ้งคือวิญญาณนี้เท่านั้นที่จักอ้างอิงได้แก่ตน รูป-นามนี้ไม่มีดับมอดสิ้นเชื้อแล้ว ด้วยจริยกวิญญาณ(ธาตูรู้แจ้งในสิ่งเนื่องกระทำ(ปรุง))ดับไป ชื่อว่ารูป-นามจึงดับในวิญญาณ นิพพานจึงแจ้งเป็น

ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหิ,
          เป็นธรรมที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

ดังนั้นกรรมฐาน คือที่ตั้งแห่งการงานเดียวที่เนื่องเข้าสู่การรู้แจ้งดับวางในธาตุ/อุปาทายรูป/รูป-นาม นิพพานจึงกล่าวได้ว่ามีเหตุแต่จริยกวิญญาณ(ธาตูรู้แจ้งในสิ่งเนื่องกระทำ(ปรุง))ดับ รูป-นามจึงดับในวิญญาณ(นิพพาน) ดังนี้ ครับ!

งงกันไหมเนี้ย!(http://t2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTcQj1ahug-nXDTiz94V7qz2E5Q2yN_t_aUsSynPqoXXk3M2iRy)



http://www.vcharkarn.com/vcafe/185550


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ มิถุนายน 20, 2012, 06:12:08 pm
จิต ในความหมายของท่านอสังคะ ควรจะหมายความว่า ความคิด thought , ความเห็น idea , แนวคิดconception 
ชื่งจุดนี้มีการกล่าวถึงไว้ในคำภีร์ของฝ่ายเถรวาทเช่นกัน และท่านอสังคะได้แต่งคัมภีร์ เช่น abhidharma samuccaya ซึ่งหลายๆแห่งในหนังสือเล่มนี้ตรงกับคำสอนในคำภีร์ฝ่ายเถรวาท ทั้งในเรื่อง ขันธุ์5 อนัตตา ฯลฯ ยกตัวอย่าง ท่านอสังคะ ยกคำสอนของพระพุทธเจ้ามา ว่า 
 
รูป เปรียบดั่ง ก้อนโฟม 
เวทนาเปรียบดั่ง ฟองน้ำ 
สัญญา เปรียบดั่ง (mirage) ภาพลวงตา,พยับแดด 
สังขาร เปรียบดั่ง ต้นกล้วย 
วิญญาณ เปรียบดั่ง มายา(illusion)
และท่านอสังคะ กล่าวว่า พระพุทธเจ้ากล่าวมาทั้งหมดนี้ หมายความว่า "ขันธ์5 เหล่านี้ปราศจากซึ่งตัวตน ปราศจากซึ่งแก่นสาร"


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: sakol ที่ มิถุนายน 20, 2012, 06:15:33 pm
[๒๔๗]    พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
       รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย
         พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
    ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
          ใดๆ  เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
       ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
          ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
      จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
          กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
      แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
             ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่  เบญจขันธ์
       เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง  เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
            เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
       พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
            ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
       ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ  ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๓.


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3132&Z=3191 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3132&Z=3191)


(http://www.academic.nu.ac.th/backoffice/php_form/uploads/images/vissionoflife/five.gif)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.academic.nu.ac.th


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 21, 2012, 09:33:25 am
ว่ากันไปตามลำดับ คือ ทำความเห็นในเรื่อง ธาตุ กันก่อน เพราะเรื่องธาตุ เป็นเรื่องที่สำคัญเบื้องต้น ก่อนทีจะรู้ รูป เพราะรูป ประกอบด้วยธาตุ 4

  การรู้ธาตุ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ รู้สองอย่างในสมาธิ คือ รู้เวทนาเนื่องด้วยสมาธิ รู้สภาวะสัญญาในสมาธิ รู้รูปรปมัตถ์ในสมาธิ รู้หยุดการปรุงแต่งด้วยอำนาจสมาธิ

  ดังนั้นเบื้องต้นเข้าไปรู้ธาตุอย่างนี้

  เมื่อจะเรียนรู้ธาตุ จับทุกส่วนไม่ได้ จึง ต้องจับต้องเป็นส่วน เช่น กำหนด เกสา ขึ้นมา ในธาตุนั้น เป็นต้นซึ่งในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับส่วนพระธรรมปีติ ก็มีการจำแนกแยกธาตุไว้แล้ว และ มีธาตุเป็นส่วน ๆ ให้เข้าถึง อยู่แล้ว

   ผลการปฏิบัติ เข้าถึง พระลักษณะ และ เข้าถึงพระรัศมี เป็นไปตามลำดับอย่างนี้

   วิจารณ์ธรรมกันต่อไป นะ
   แนะนำเวลาวิจารณ์ ให้ว่ากันเป็นเรื่อง อย่าไปคุม สาระพัดเรื่อง จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการถามและธรรมวิจารณ์

เจริญธรรม / เจริญพร
  ;)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 22, 2012, 08:05:10 pm
ถ้าไล่ตามลำดับ ธาตุ แล้ว ก็พอจะเข้าใจบ้างแ้ล้วคะ
  เพราะธาตุ เริ่มตั้งแต่ พระธรรมปีติ คะ และมีรายละเอียด ให้อ่านเข้าใจและยังภาวนาในส่วนนี้อยู่คะ

  :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 22, 2012, 09:58:44 pm
สาธุ  แล้วได้มีโอกาสขึ้นกรรมฐานกรือยังจ๊ะ?


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ มิถุนายน 23, 2012, 01:39:19 pm
สาธุ  แล้วได้มีโอกาสขึ้นกรรมฐานหรือยังจ๊ะ?

 ขึ้นแล้วคะ ขึ้นที่ คณะ 5 วัดราชสิทธาราม คะ

  :s_hi:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธรรมะ ปุจฉา ที่ มิถุนายน 23, 2012, 08:03:53 pm
ดีจัง  อย่างนี้ก็เรียนกันเต็มร้อยเลย   :72:  สาธุ  สาธุ   :08:
 :25:    :25:    :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: pongsatorn ที่ มิถุนายน 23, 2012, 10:16:43 pm
ว่ากันไปตามลำดับ คือ ทำความเห็นในเรื่อง ธาตุ กันก่อน เพราะเรื่องธาตุ เป็นเรื่องที่สำคัญเบื้องต้น ก่อนทีจะรู้ รูป เพราะรูป ประกอบด้วยธาตุ 4

  การรู้ธาตุ ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ รู้สองอย่างในสมาธิ คือ รู้เวทนาเนื่องด้วยสมาธิ รู้สภาวะสัญญาในสมาธิ รู้รูปรปมัตถ์ในสมาธิ รู้หยุดการปรุงแต่งด้วยอำนาจสมาธิ

  ดังนั้นเบื้องต้นเข้าไปรู้ธาตุอย่างนี้

  เมื่อจะเรียนรู้ธาตุ จับทุกส่วนไม่ได้ จึง ต้องจับต้องเป็นส่วน เช่น กำหนด เกสา ขึ้นมา ในธาตุนั้น เป็นต้นซึ่งในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับส่วนพระธรรมปีติ ก็มีการจำแนกแยกธาตุไว้แล้ว และ มีธาตุเป็นส่วน ๆ ให้เข้าถึง อยู่แล้ว

   ผลการปฏิบัติ เข้าถึง พระลักษณะ และ เข้าถึงพระรัศมี เป็นไปตามลำดับอย่างนี้

   วิจารณ์ธรรมกันต่อไป นะ
   แนะนำเวลาวิจารณ์ ให้ว่ากันเป็นเรื่อง อย่าไปคุม สาระพัดเรื่อง จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งในการถามและธรรมวิจารณ์

เจริญธรรม / เจริญพร

  ;)

 จับเนื้อหาคำแนะนำ ไว้ สองประการครับ
 
   1.ทำความเห็นในเรื่อง ธาตุ กันก่อน เพราะเรื่องธาตุ เป็นเรื่องที่สำคัญเบื้องต้น ก่อนทีจะรู้ รูป เพราะรูป ประกอบด้วยธาตุ 4
   
    ส่วนนี้ชี้แจง ว่าการปฏิบัติควรเข้าไปกำหนดธาตุ ก่อน อื่นเป็นอันดับแรก เหมือนดั่งกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับเริ่มที่ห้องพระธรรมปีติ ก็แยกธาตุเป็นส่วน ๆ เป็นพวกเป็นกลุ่ม พี่น้องทุกท่านทบทวนกันนิดนะครับ

    พระธรรมปีติ
      พระุขุททกาปีติ ธาตุดิน
      พระขณิกาปีติ ธาตุไฟ
      พระโอกกันติกาปีติ ธาตุน้ำ
      พระอุพเพงคาปีติ ธาตุลม
      พระผรณาปีติ ธาตุอากาศ

   2. เมื่อจะเรียนรู้ธาตุ จับทุกส่วนไม่ได้ จึง ต้องจับต้องเป็นส่วน เช่น กำหนด เกสา ขึ้นมา ในธาตุนั้น
   
     ในธาตุดิน มี 21 เริ่มตั้งแต่ เกศา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ เป็นต้น นะครับ การจับเป็นส่วนคือการเข้าไปบริกรรมเฉพาะเรื่อง หรือส่วนนั้นใ่ช่หรือไม่ครับ

    คือสงสัยลักษณะ การปรากฏ นั้น ปรากฏเป็นส่วน ด้วยเช่นกันใช่หรือไม่ครับ ?

 
         


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 24, 2012, 10:46:40 am
ว่ากันไปตามลำดับ คือ ทำความเห็นในเรื่อง ธาตุ กันก่อน เพราะเรื่องธาตุ เป็นเรื่องที่สำคัญเบื้องต้น ก่อนทีจะรู้ รูป เพราะรูป ประกอบด้วยธาตุ 4

ดังนั้นเมื่อจะเรียนรู้ธาตุ จับทุกส่วนไม่ได้ จึงต้องจับเป็นส่วน เช่น กำหนด เกสา ขึ้นมาในธาตุนั้น เป็นต้น ซึ่งในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ส่วนพระธรรมปีติ ก็มีการจำแนกแยกธาตุไว้แล้ว และ มีธาตุเป็นส่วน ๆ ให้เข้าถึง อยู่แล้ว

ผลการปฏิบัติ เข้าถึง พระลักษณะ และ เข้าถึงพระรัศมี เป็นไปตามลำดับอย่างนี้

(http://www.madchima.net/images/487_anupati.gif)

ผังภาพนี้อธิบายได้ถึง การเข้าวัตร ออกวัตร อนุโลมเป็นไปในส่วนล้างธาตุ ปฏิโลมเป็นไปในส่วนเสริมธาตุ ท่านใด

ที่ภาวนาด้วยลักษณะนี้สม่ำเสมอบ้าง มีผลสำฤทธิ์อย่างไร บอกกล่าวเล่าไว้ก็ดี สำหรับผมนั้นจะอนุโลมปฏิโลมเมื่อ

เวลามีให้มากพอ หลายครั้งที่ผมอนุโลมอย่างเดียวแล้วจะเกิดอาการที่เรียกว่าล้างธาตุขึ้นคือ จะมีอาการคล้ายป่วย

ไข้แต่เคลื่อนไหวประกอบกิจการงานได้ปกติไม่ถึงกับนอนซม จะพักผ่อนนอนทานยาอย่างไรก็ไม่หายครับ ต้องกลับ

ไปนั่งภาวนาปฏิโลมเสริมธาตุจึงจะหายได้ น่าแปลก! อย่างล่าสุดวันนี้ครับ!




หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ มิถุนายน 25, 2012, 06:15:48 pm
สิ่งที่ทำให้เห็นในกระทู้นี้ ครับ

   1. กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีในพระไตรปิฏก สืบทอดกันมาไม่มีขัดกับพระสูตร

   2. กรรมฐาน มัชฌมาิ แบบลำดับ มีความลึกซึ้ง เป็นไปตามลำดับ อันไหนผู้ภาวนาไม่ได้ภาวนา ก็เกินภูมิธรรมที่คุยกันรู้เรื่อง ดังนั้น จึงสื่อสารเข้าใจ ธรรมปฏิบัติ

   3. ความรู้ของครูอาจารย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่หมิ่นได้ เราคิดว่าเรารู้แล้ว แต่เมื่อครูอาจารย์นำมาเปิดเผยให้ทราบก็รู้เลยว่าที่รู้มาันั้น ยังไม่พอแก่การภาวนา ครับ

   4.การร่วมธรรมวิจารณ์ นำมาซึ่งความเข้าใจในธรรม ครับ
   
    :49: :s_hi: :welcome:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 26, 2012, 07:53:47 am
สิ่งที่ทำให้เห็นในกระทู้นี้ ครับ

   1. กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีในพระไตรปิฏก สืบทอดกันมาไม่มีขัดกับพระสูตร

   2. กรรมฐาน มัชฌมาิ แบบลำดับ มีความลึกซึ้ง เป็นไปตามลำดับ อันไหนผู้ภาวนาไม่ได้ภาวนา ก็เกินภูมิธรรมที่คุยกันรู้เรื่อง ดังนั้น จึงสื่อสารเข้าใจ ธรรมปฏิบัติ

   3. ความรู้ของครูอาจารย์นั้น ไม่ใช่เรื่องที่หมิ่นได้ เราคิดว่าเรารู้แล้ว แต่เมื่อครูอาจารย์นำมาเปิดเผยให้ทราบก็รู้เลยว่าที่รู้มาันั้น ยังไม่พอแก่การภาวนา ครับ

   4.การร่วมธรรมวิจารณ์ นำมาซึ่งความเข้าใจในธรรม ครับ
   


   นับว่าวิเคราะห์ ได้ตรงกับเจตนา ที่อาตมาได้ลงบทความไป เนื่องด้วยการภาวนาในปัจจุบันนั้น คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นเรื่องที่ลึกลับ เกินไป อันที่จริงก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่ลึกลับ เปิดเผยให้นำไปปฏิบัติได้ แต่ที่ไม่ได้สอนก็เพราะว่า บุคคลที่จะเรียนไม่พร้อม เพราะกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเป็นกรรมฐาน ปฏิบัติ ไม่ใช่ปริยัติ ถึงแม้นำปริยัติมาสอน แต่หากไม่ปฏิบัติ ก็เหมือนกับกระทู้นี้ ที่ผู้อ่านหลายท่านจะแสดงความเห็นว่า อ่านไม่ค่อยจะเข้าใจ หรือ ไม่เข้าใจ ก็ให้ได้ทราบว่า การภาวนาที่มีมานั้นยังไม่เพียงพอที่จะทราบได้ ดังนั้นครูอาจารย์จึงอาศัยการสอนถ่ายทอดธรรมสู่ศิษย์ ตามลำดับ เรียนไปตามลำดับ ไม่ตัดลัด ไม่ข้ามเนื้อหา ที่สำคัญเพราะมีเป้าหมายส่งเสริมพระธรรมในแนวทางแห่งมรรค เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นบรมสุข

     ดังนั้นท่านทั้งหลาย เมื่ออ่านมากันมากแล้ว ก็ควรจะภาวนากันบ้าง ปฏิบัติกันบ้าง อย่าเพียงแต่บัณฑิตที่เอาแต่ทรงจำ ถือตำราวิชากรรมฐาน แม้จะดีขนาดไหน หากผู้ภาวนาไม่ปฏิบัติตาม ก็เป็นเพียงตำราเล่มหนึ่งที่อยู่ในชั้นหนังสือ เป็นเพียงเศษกระดาษที่ไม่มีประโยชน์ เพราะไม่มีผู้ปฏิบัติ ดังนั้นท่านทั้งหลายมีโอกาสที่ครูอาจารย์ยังมีกำลังถ่ายทอด ก็พึงเรียนไปด้วย ภาวนาไปด้วยเถิด

    เจริญธรรม / เจริญพร

     ;)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: drift-999 ที่ กรกฎาคม 13, 2012, 09:19:16 pm
๑ ในพระนิพพานแม้จิตก็ดับไปและไม่มีจิตดวงไหม่ใดๆเกิดขึ้นอีก

อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-
*นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ
อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป
แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ
เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล
สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=9514&Z=9682&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=31&A=9514&Z=9682&pagebreak=0)

๒ พระโพธิสัตว์แสวงหาแดนที่ไม่แก่ไม่เจ็บไม่ตายและในที่สุดก็พบพระนิพพาน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อริยปริเยสนา การแสวงหาอย่างประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชรา
เป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีชรา เป็นแดนเกษมจากโยคะ
อย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดา
แล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มีพยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑
ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อม
แสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มี
ความเศร้าหมองเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้ว
ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา ๔ ประการนี้แล ฯ
http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6569&Z=6722 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=21&A=6569&Z=6722)

๓ ทรงแสวงหาหนทางของชีวิตอมตะจนพบ

[๗๓๒] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันไม่ตาย และทาง
ที่จะให้ถึงธรรมอันไม่ตายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็ธรรมอันไม่ตายเป็นไฉน ฯลฯ
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9079&Z=9327&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=18&A=9079&Z=9327&pagebreak=0)

๔ ได้พบวิถีทางทำให้แจ้งซึ่งอมตะนั่นคือสติปัฏฐานสี่

                                  ฉันทสูตร
ผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าทำให้แจ้งอมตะ
            [๘๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน?
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย
เมื่อเธอพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ย่อมละความพอใจในกายนั้นได้ เพราะละความพอใจได้ จึงเป็นอันชื่อว่าทำให้แจ้งซึ่งอมตะ.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4804&Z=4819 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=19&A=4804&Z=4819)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 16, 2012, 11:02:39 am
นิพพาน ธาตุ นั้นเป็นธรรม เป็น ธาตุ มีบรรยายไม่ได้แต่รู้ได้ เมือสิ้นกิเลสอย่างสิ้นเชิง สำเร็จพระขีณาสพบุุคคล เนื่องด้วย นิพพาน ไม่มีธาตุ ไม่มีอุปาทายรูป ไม่ปรากฏ นามและรูป ดังนั้นพระอรหันต์ ต้องเข้านิพพานส่วนนี้อีกครั้งหนึ่ง ใช้คำว่า "เข้าสู่นิพพาน "  ดังนั้น โลกุตตรธรรม 9 แบ่งไว้เป็นสัดส่วนที่ชัดเจน คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1

     มรรค 4 ผล 4  บุคคลสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ด้วยอรหันต์มรรค ด้วยอรหัตผล ดับกิเลสโดยสิ้นเชิง แต่ยังไม่นิพพาน มีการกล่าวว่า ดังนั้นผลของพระอรหัตตผล นั้น อธิบายกันด้วย ธรรมที่เรียกว่า อนัตตา สุญญตา สุญญธาตุ อาการที่เป็น ผลเหล่านี้เรียกว่า วิหารสมาบัติ นิโรธสมาบัติบ้าง สัญญาเวทยิตนิโรธ บ้าง ธรรมเหล่านี้เป็นธรรมในขณะที่ พระอรหันต์ มีชิวิตอยู่ คือ ยังไม่ละสังขาร ใช้พูดอธิบาย สื่อความหมายได้ในโลกมนุษย์เท่านั้น

      ส่วนนิพพาน ที่มีจากการละสังขารนั้น ไม่มีคำอธิบายใด ๆ ทั้งสิ้นจากพระพุทธพจน์ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสแสดงไว้ ก็จะเห็นมุมมองว่า ไม่มีธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ เท่ากับไม่รูปร่างลักษณะ ไม่มีอุปาทยรูป ไม่มีใจครองในธาตุกล่าวไม่ได้ว่ามีชิีวิต หรือไม่มีชีวิต นามรูป ดับนั้นที่นั้น อันนี้หมดเลย ไม่มี นาม และ รูป ดังนั้นใครอธิบายตรงนี้ อธิบายไม่ได้ คิดไม่ได้ ฝันไม่ได้ เพราะไม่ใช่ดินแดน สถานที่ เป็นเพียงแต่เรียกว่า นิพพาน เท่านั้นสำหรับ ปุุถุชน หรือ ผู้เป็น โยคาวจร

      เราเพียงแต่รู้ว่า การดับกิเลส เป็นส่วนสำคัญในการเข้าถึง โลกอุดร หรือ โลกุตตระ

      ดังนั้นท่านทั้งหลายเมื่อภาวนากัน ก็พึ่งศึกษา การดับกิเลส วิธีการดับกิเลส วิธีการชำระบรรเทากิเลส เถิด อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญในการภาวนา ในการปฏิบัติ

     เจริญธรรม / เจริญพร


    ;)


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ เมษายน 19, 2015, 08:36:36 am
 st11 st12 st12

   วันนี้พอมาได้อ่านซ้ำ เริ่มจะเข้าใจ ที่พระอาจารย์ พยายาม พูดเรื่อง ธาตุ มาตั้งนานแล้ว หลายตอน เพื่อน ๆ ท่านใดที่ยังไม่ได้อ่าน ผมว่า ลองทบทวน กันหน่อยก็ดีนะครับ

   :49:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ เมษายน 21, 2015, 10:04:11 am
เรื่องนี้ พอได้อ่านซ้ำ รู้สึก ว่า เข้าใจเพิ่มขึ้นมาก เลยคะ

  :88: thk56 :25:


หัวข้อ: Re: ธรรมสาระวันนี้ "เข้าใจ ธาตุ ก็เข้าใจ นามรูป รู้ที่ตั้งที่ดับ เพราะ อุปาทายรูป "
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ สิงหาคม 25, 2015, 09:10:38 am
 st12 st12 st12