ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "กำหนดรู้ธาตุ ในความเป็นธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ"  (อ่าน 3483 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
    พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๑.  มูลปริยายวรรค]
                   ๑.  มูลปริยายสูตร

 
            กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล
            [๗]    ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุใดยังเป็นเสขบุคคล(๑)    ไม่ได้บรรลุอรหัตตผลปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่    แม้ภิกษุนั้นก็รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี(๒)    ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว    อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวีอย่ากำหนดหมายในปฐวี    อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี    อย่ากำหนดหมายปฐวีว่า
เป็นของเรา    อย่ายินดีปฐวี
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เรากล่าวว่า    ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’
            ฯลฯ    รู้ยิ่งอาโป  ...  เตโช  ...  วาโย  ...  ภูต  ...  เทวดา  ...  ปชาบดี    ...พรหม  ...  อาภัสสรพรหม  ...  สุภกิณหพรหม  ...  เวหัปผลพรหม  ...  อภิภูสัตว์    ...อากาสานัญจายตนพรหม  ...  วิญญาณัญจายตนพรหม  ...  อากิญจัญญายตนพรหม...    เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม  ...  รูปที่ตนเห็น  ...  เสียงที่ตนได้ยิน  ...  อารมณ์ที่ตนทราบ  ...  อารมณ์ที่ตนรู้แจ้ง  ...  ความที่จิตที่เป็นฌานสมาบัติเป็นอันเดียวกัน    ...ความที่กามจิตต่างกัน  ...  สักกายะทั้งปวง  ...  รู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานครั้นรู้ยิ่งนิพพานโดยความเป็นนิพพานแล้ว    อย่ากำหนดหมายซึ่งนิพพาน    อย่ากำหนดหมายในนิพพาน    อย่ากำหนดหมายนอกนิพพาน    อย่ากำหนดหมายนิพพานว่าเป็น    ของเรา    อย่ายินดีนิพพาน
            ข้อนั้นเพราะเหตุไร
            เรากล่าวว่า    ‘เพราะเขาควรกำหนดรู้’
         กำหนดภูมิตามนัยที่ ๒ ว่าด้วยเสขบุคคล จบ

 


(๑) เสขบุคคล  หมายถึงบุคคลผู้ที่ยังต้องศึกษา  ๓  จำพวก  ได้แก่  พระโสดาบัน  พระสกทาคามี  และ
   พระอนาคามีผู้ยังต้องฝึกอบรมในไตรสิกขา  คือ  (๑)  อธิสีลสิกขา  ฝึกอบรมในเรื่องศีล  (๒)  อธิจิตตสิกขา
   ฝึกอบรมในเรื่องจิต  (สมาธิ)  (๓)  อธิปัญญาสิกขา  ฝึกอบรมในเรื่องปัญญา  (ม.มู.อ.  ๑/๗/๔๔,  องฺ.ติก.(แปล)
   ๒๐/๘๖/๓๑๒)
(๒)รู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวี  หมายถึงรู้ด้วยสัญญาที่แตกต่างจากปุถุชน  หรือรู้ด้วยญาณอันพิเศษยิ่ง  กล่าว
   คือญาตปริญญา  ตีรณปริญญา  และปหานปริญญา  มีคำอธิบายว่า  เมื่อปล่อยวางความเป็นปฐวีอย่างนี้
   ย่อมรู้ยิ่งปฐวีนั้นว่า  ‘ไม่เที่ยง’  บ้าง  ว่า  ‘เป็นทุกข์’  บ้าง  ว่า  ‘เป็นอนัตตา’  บ้าง  (ม.มู.อ.  ๑/๗/๔๕-๔๖,
   ม.มู.ฏีกา  ๑/๗/๑๑๗)


 


  การกำหนดรู้ ใน ธาตุ เพื่อปล่อยวางความเป็นธาตุ
  ครั้นรู้ยิ่งปฐวีโดยความเป็นปฐวีแล้ว    อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวี
  อย่ากำหนดหมายในปฐวี    อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี   
  อย่ากำหนดหมายปฐวีว่าเป็นของเรา    อย่ายินดีปฐวี

  เนื่องพระเสข คือ ผู้ที่ยังไม่สำเร็จเป็นพระอรหัต์ ควรกำหนดรู้ ธาตุทั้งปวงในความเป็นธาตุ เป็นเพียงสักว่าธาตุ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 11, 2012, 10:23:06 am โดย tcarisa »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

whuchi

  • ศิษย์ตรง
  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 80
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อ้างถึง
อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวีอย่ากำหนดหมายในปฐวี   
 อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี    อย่ากำหนดหมายปฐวีว่า
เป็นของเรา    อย่ายินดีปฐวี

   อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวี คืออะไร คะ
   อย่ากำหนดหมายในปฐวี คืออะไร คะ
   อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี คืออะไรคะ
   อย่ากำหนดหมาย ปฐวี ว่าเป็นของเรา
   อย่ายินดีปฐวี  คืออย่างไรคะ

   อ่านแล้วก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ  คะ

   :smiley_confused1: :smiley_confused1: :smiley_confused1:
บันทึกการเข้า

ธุลีธวัช (chai173)

  • ปัญญา นัตถิ อฌายโต “ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ”
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +35/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 2905
  • Respect: +2
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
อย่ากำหนดหมายซึ่งปฐวี คืออะไร คะ
            อย่ากำหนดหมายในปฐวี คืออะไร คะ
                        อย่ากำหนดหมายนอกปฐวี คืออะไรคะ
                                    อย่ากำหนดหมายปฐวี ว่าเป็นของเรา
                                                อย่ายินดีปฐวี คืออย่างไรคะ

ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ  คะ

วิปัสสนาใน ๒๐ โกฏิธาตุ ในความเป็น ปฐวี ดังนี้

เกสา(ผม), โลมา(ขน), นะขา(เล็บ), ทันตา(ฟัน), ตะโจ(หนัง), มังสัง(เนื้อ), นะหารู(เอ็น), อัฏฐี(กระดูก)

อัฏฐิมิญชัง(เยื่อในกระดูก), วักกัง(ม้าม), หะทะยัง(หัวใจ), ยะกะนัง(ตับ), กิโลมะกัง(พังผืด), ปิหะกัง(ไต)

ปัปผาสัง(ปอด), อันตัง(ไส้ใหญ่), อันตะคุณัง(ไส้น้อย), อุทะริยัง(อาหารใหม่), กะรีสัง(อาหารเก่า)

มัตถะเก มัตถะลุงคัง(เยื่อในสมองศีรษะ)



วี กายกลาย

     กระดูกหนังเอ็นกายนี้คือกองดิน
ซากสัตว์ศพกลืนกินอยู่เช้าค่ำ
แล้วขานกล่าวมิใช่กูเป็นกูย้ำ
ภัยตัณหามิกลายกล้ำหยามชนม์.


                                                                ธรรมธวัช.!

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 12, 2012, 06:11:38 pm โดย THAWATCHAI173 »
บันทึกการเข้า
ศรัทธา, ศีล, พาหุสัจจะ, วิริยารัมภะ, ปัญญา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
การกำหนด รู้ธาตุ มีความสำคัญมาก เพราะ การที่จะเข้าใจ อนัตตาก็ต้อง เห็นความเป็น ธาตุ ก่อน ต่อมาก็จะเห็นว่า เป็นเพียงสักว่า ธาตุ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ เสื่อมไป  อันบุคคลใด ๆ ไม่พึงเข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นเราเป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา เพราะเป็นเพียงสักว่าธาตุ เท่านั้นที่เกิดขึ้น ธาตุเท่านั้นที่ตั้งอยู่ ธาตุเท่านั้นที่ดับไป

  กาย และ จิต ก็จะเข้าสู่ ธรรมตามลำดับ จนคลายความยึดมั่น ถือมั่น ใด ๆ ทั้งปวงในโลกนี้ได้

  ดังนั้นการทำความเข้าใจ เรื่อง ธาตุ จึงจัดได้ว่าเป็นส่วนสำคัญ ของกรรมฐาน เลยนะจีะ

  เจริญธรรม

  ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา