ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปฏิบัติธรรม ง่าย ๆ เข้าใจ ง่าย ๆ ตรงนี้ ครับ  (อ่าน 2145 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

tang-dham

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่าสับสนกับวิธีการ นะครับ เวลาภาวนาเรามักมัวแต่ตั้งท่า ตั้งทางกัน ไม่ได้ภาวนาให้ถึงแก่นแห่งใจ และปัญญา

มีพระสูตรมาฝากต่อ นะครับ

อายตนบรรพ
      [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม  คืออายตนะ
ภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายในและภายนอก ๖ อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป  และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็น
ที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง  สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย สังโยชน์ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
สังโยชน์ที่  ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...  ภิกษุย่อม
รู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก   ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและ
ธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้น
ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ   นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้น  ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการ  นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง   พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง   ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่  ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่า
อาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร  ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน   และภาย
นอก ๖ อยู่ ฯ
                                        จบอายตนบรรพ




ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net
บันทึกการเข้า
ยินดีที่รู้จัก ทุกท่านฝากตัว เพื่อศึกษาความรู้ กับกัลยาณมิตรทุกท่านครับ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28444
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
Re: ปฏิบัติธรรม ง่าย ๆ เข้าใจ ง่าย ๆ ตรงนี้ ครับ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กรกฎาคม 18, 2011, 09:45:44 pm »
0
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ ชื่อทีฆนิกาย มหาวัคค์
เป็นพระสุตตันตปิฎก (เล่ม ๒)
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร
สูตรว่าด้วยการตั้งสติอย่างใหญ่


การพิจารณาธรรมแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน

   ๑. พิจารณาธรรมที่กั้นจิตมิให้บรรลุสมาธิ ที่เรียกว่านีวรณ์ ๕ ( นีวรณบรรพ ).
   ๒. พิจารณาขันธ์ ๕ คือ รูป , เวทนา , สัญญา , สังขาร, วิญญาณ ( ขันธบรรพ ).
   ๓. พิจารณาอายตนะภายใน ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ( อายตนบรรพ).
   ๔. พิจารณาธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ ๗ ที่เรียกว่าโพฌงค์ ( โพฌงคบรรพ ).
   ๕. พิจารณาอริยสัจจ์ ๔ (สัจจบรรพ).

    อนึ่ง การพิจารณากาย , เวทนา , จิต , ธรรม ทั้งสี่ข้อนี้ นอกจากมีรายการพิเศษดังกล่าวมาแล้ว ยังมีรายการพิจารณาที่ตรงกันอีก ๖ ประการ คือ     
     ๑. ที่อยู่ภายใน     
     ๒. ที่อยู่ภายนอก     
     ๓. ที่อยู่ทั้งภายในภายนอก     
     ๔. ทีมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา     
     ๕. ทีมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา   
     ๖. ที่มีทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา.

อานิสงส์สติปัฏฐาน
    ครั้นแล้วทรงสรุปผลของการปฏิบัติ ในการตั้งสติ ๔ อย่างนี้ว่า จะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คือบรรลุอรหัตตผลในปัจจุบัน ถ้ายังมีเชื้อเหลือ ก็จะได้บรรลุความเป็นพระอนาคามี ( ผู้ไม่กลับมาเกิดในโลกนี้อีก ) ภายใน ๗ ปี หรือลดลงมาโดยลำดับถึงภายใน ๗ วัน
.
ที่มา  http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/prasuttanta/2.4.html


อายตนบรรพ อยู่ใน
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร


เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๖๒๕๗ - ๖๗๖๔.  หน้าที่  ๒๕๗ - ๒๗๗.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=6257&Z=6764&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=273

 :s_good: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ