สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

พระไตรปิฏก => พระธรรมตามพระไตรปิฏก => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 19, 2015, 10:53:21 am



หัวข้อ: แม้ตื่นอยู่ ก็ยังชื่อว่าหลับ : แม้หลับอยู่ ก็ยังชื่อว่าตื่น
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 19, 2015, 10:53:21 am

(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-prn2/v/t1.0-9/253305_457628220985304_849238469_n.jpg?oh=af405f9a6a49ca165102598dec058b29&oe=563AE10F)


แม้ตื่นอยู่ ก็ยังชื่อว่าหลับ : แม้หลับอยู่ ก็ยังชื่อว่าตื่น
ชาครสูตรที่ ๖

    [๑๓] เทวดานั้น ครั้นยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วแล ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
    เมื่อธรรมทั้งหลายตื่นอยู่ ธรรมประเภทไหนนับว่าหลับ
    เมื่อธรรมทั้งหลายหลับ ธรรมประเภทไหนนับว่าตื่น
    บุคคลหมักหมมธุลีเพราะธรรมประเภทไหน
    บุคคลบริสุทธิ์เพราะธรรมประเภทไหน ฯ

    พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า
    [๑๔] เมื่ออินทรีย์ ๕ อย่างตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ อย่างนับว่าหลับ
    เมื่อนิวรณ์ ๕ อย่างหลับ อินทรีย์ ๕ อย่างนับว่าตื่น
    บุคคลหมักหมมธุลีเพราะนิวรณ์ ๕ อย่าง
    บุคคลบริสุทธิ์เพราะอินทรีย์ ๕ อย่าง ฯ


ที่มา :- ชาครสูตรที่ ๖ พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕  พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=79&Z=90&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=79&Z=90&pagebreak=0)


(https://scontent.fbkk5-1.fna.fbcdn.net/hphotos-xaf1/v/t1.0-9/530600_270483643033097_282890095_n.jpg?oh=43ef1e475148e6e6aa46496efe5db0c7&oe=567F17FE)


อรรถกถาชาครสูตรที่ ๖
         
      พึงทราบวินิจฉัยพระสูตรที่ ๖ ต่อไป :-
      บทว่า ชาครตํ แปลว่า ตื่นอยู่.
      บทว่า ปญฺจ ชาครตํ อธิบายว่า
      ก็เมื่อว่าโดยคาถาที่วิสัชนา เมื่ออินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นตื่นอยู่ นิวรณ์ ๕ ก็ชื่อว่าหลับ.
      เพราะเหตุไร. เพราะว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยนิวรณ์ ๕ นั้นนั่งก็ดี ยืนก็ดี แม้นอนจนอรุณขึ้นก็ดี ในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าหลับแล้ว เพราะความประมาท คือเพราะความเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยอกุศล.

      เมื่อนิวรณ์ ๕ นี้หลับแล้วอย่างนี้ อินทรีย์ ๕ จึงชื่อว่าตื่นอยู่
      เพราะเหตุไร. เพราะว่า บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยอินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้นนั้น แม้นอนหลับในที่ใดที่หนึ่ง ก็ชื่อว่าเป็นผู้ตื่นอยู่ เพราะความไม่ประมาท คือ เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกุศล.

      บุคคลย่อมถือเอา ย่อมถือ ย่อมถือมั่นซึ่งธุลี คือ กิเลสด้วยนิวรณ์ ๕ นั่นแหละ.
      พึงทราบเนื้อความนี้ว่า นิวรณ์ทั้งหลายมีกามฉันทะเป็นต้นที่เกิดก่อน ย่อมเป็นปัจจัยแก่กามฉันทะเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้นทีหลัง ดังนี้เป็นต้น จึงชื่อว่า บุคคลย่อมบริสุทธิ์ด้วยอินทรีย์ ๕ ดังนี้.
      แม้ในที่นี้ ท่านกล่าวอินทรีย์ ๕ ทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระดังนี้แล.


ที่มา :- อรรถกถา สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เทวตาสังยุต นฬวรรคที่ ๑ ชาครสูตรที่ ๖
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=13 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=13) 



 ask1 ans1 ask1 ans1

อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน)
       1. สัทธา (ความเชื่อ)
       2. วิริยะ (ความเพียร)
       3. สติ (ความระลึกได้)
       4. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น)
       5. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด)

อินทรีย์ 5 (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน) ที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือเป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้งซ่าน และความหลงตามลำดับ   


ที่มา :- พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


หัวข้อ: Re: แม้ตื่นอยู่ ก็ยังชื่อว่าหลับ : แม้หลับอยู่ ก็ยังชื่อว่าตื่น
เริ่มหัวข้อโดย: เสริมสุข ที่ สิงหาคม 19, 2015, 04:19:04 pm
 st11 st12 st12