ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราควรจะปฏิบัติอย่างไร.?  (อ่าน 4570 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28436
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

ภาพจาก http://bbznet.pukpik.com/


 ask1 ask1 ask1

ปัญหา : เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราควรจะปฏิบัติอย่างไร.?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ
    กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑
    กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑
    กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑
    มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑


 ans1 ans1 ans1

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม
    จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม
    จะกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคายก็ตาม
    จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม
    จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน
    เราจักไม่เปล่งวาจาลามก
    เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์
    เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายในเราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
   และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้


ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”

_______________________
กกจูปมสูตร มู. ม. (๒๖๗)
ตบ. ๑๒ : ๒๕๕-๒๕๖ ตท.๑๒ : ๒๐๖-๒๐๗
ตอ. MLS. I : ๑๖๓-๑๖๔
http://www.84000.org/true/024.html
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ผมขออนุญาต บอกวิธีคิด หรือ อุบายทางใจ ทางสมถะ แบบง่ายๆตามวิถีชาวบ้านที่ได้ประโยชน์เพื่อเกื้อหนุนเข้าสู้พุทธวจนะที่ตถาคตตรัสไว้นั้นดีแล้ว อาจจะไม่เหมาะสมเท่าที่ควร แต่เจตนาที่ผมโพสท์ไปนี้เพื่อหวังจะเป้นประโยชน์และการเข้าถึงคำสอนนี้ที่ตถาคตตรัสไว้ดีแล้วแก่ผู้คนที่มาอ่านทั้งหลาย ซึ่งผมก็กำหนดจิตเจริญปฏิบัติอยู่เป็นประจำ เพราะผมเองก็ถูกกล่าวว่าอยู่เป็นประจำในที่ทำงานทั้งจริงไม่จริงทั้งอกุศลลามก ดังนี้ครับ


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน

- แม้เมื่อใครกล่าววาจาไรๆที่จริงหรือไม่จริง ควรพูดหรือไม่ควรพูด เมตตาหรือโทสะ กุศล หรือ ลามก ให้พึงหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ พึงกำหนดจิตให้รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน มีความระลึกรู้ทันอารมณ์ความรู้สึกในขณะนั้น แล้วระลึกในใจว่า..เราจักอดโทษนั้นแก่เขาทั้งหลาย เราจักละความขุ่นมัว ละความเศร้าหมองใจ ละความร้อนรุ่มใจนั้นไปเสีย เพราะมันไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์แก่เราและเขาทั้งหลาย เมื่อเข้าไปเสพย์ตามอารมณ์ความรู้สึกใดๆนั้นมันมีแต่ทุกข์ เราจักมีจิตเป็นกุศล คือ มีความผ่องใส แจ่มใสเบิกบาน ตัดจากกาม ราคะ โมหะ พยาบาทนี้ๆ เราจักเป็นเพียงที่ผู้แลดูอยู่เท่านั้น (เป็นการเจริญจิตเข้าสู่ ขันติ และ ความวางเฉยต่อธรรมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพย์อันประกอบด้วยกุศลจิต)




    เราจักไม่เปล่งวาจาลามก


- พึงระลึกในใจว่า..เราจักอดกล่าววาจาใดๆ ที่จะกล่าวไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกนั้นๆไว้เสีย เพราะมันไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ พาลแต่จะนำทุกข์มาให้ เราจักไม่พูดพร่ำเพ้อ เพ้อเจ้อ ส่อเสียด ยุแยง ด่าทอ ลามก เพราะมันไม่ประกอบไปด้วยประโยชน์ใดๆเลยนอกจากทุกข์จากวาจาเหล่านั้น  (เป็นการเจริญจิตเข้าสู่ ขันติอันประกอบด้วยกุศลจิตร่วมกับ ศีล ข้อมุสาวาท)



    เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์


- เราจักกล่าววาจาและกระทำสิ่งอันประกอบไปด้วยประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น จักแบ่งปันสิ่งอันเป็นสุขสงบรำงับจากความขุ่นมัวใจ ติดใจเพลิดเพลินแก่เขา จะไม่กล่าววาจาใดๆ หรือ กระทำสิ่งใดๆเพื่อประโยชน์ส่วนตนที่เกิดแต่ความพอใจยินดีของเรา (เป็นการเจริญจิตเข้าสู่ กรุณาจิต อันประกอบไปด้วยกุศลจิต)




    เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายในเราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น
    และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาทไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”


- ให้พึงหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ พึงกำหนดจิต(สติ+สัมปชัญญะ) แล้วกำหนดในใจว่า
     พึงเจริญจิตขึ้นว่า ที่เขากล่าววาจาเช่นนั้น ก็ด้วยเขามีความร้อนรุ่ม ร้อนรน หมองมัวใจ เศร้าหมองใจ อยู่มาก เป็นผู้แบกทุกข์จากใจที่ร้อนรุ่มนั้นๆไว้อยู่ เป้นผู้ควรแก่การที่เราจะอนุเคราะห์แก่เขา
     เราจักเป็นผู้ไม่ผูกเวรแก่เขาทั้งหลาย
     เราจักไม่เป็นผู้พยาบาทเบียดเบียนแก่เขาทั้งหลาย
     เราจักมีจิตปารถนาดีแก่เขาทั้งหลาย เพื่อให้เข้าเหล่านั้นได้พ้นทุกข์
     เราจักอนุเคราะห์แบ่งปันความปารถนาดีนี้ให้แก่เขาทั้งหลาย เพื่อให้เขาได้พ้นทุกข์ประสบสุข สงบรำงับจากความเศร้าหมองมัวใจ ร้อนรุ่มใจนั้นๆ
     เราจักขอให้เขาเป็นสุขทั้งกายใจ หลุดพ้นจากความร้อนรุ่มร้อนรนใจนั้นๆ
     ขอให้เขามีจิตแจ่มใสเบิกบานไม่อิงเครื่องล่อใจให้ติดใจเพลิดเพลินยินดี
     ขอให้เขามีความสงบรำงับจากกาม ราคะ โมหะ พยาบาท นั้นๆ
     ความสุขจากจิตใจอันผ่องใสเบิกบานอันสลัดจากกาม ราคะ โมหะ พยาบาทใดๆที่เราได้รับ ได้เกิด ได้มีอยู่นี้
     ขอให้ความสุขจากจิตใจที่ผ่องใสเบิกบานอันสลัดจากกาม ราคะ โมหะ พยาบาทใดๆเหล่านั้นจงมีแก่เขาทั้งหลาย
     เราจักมีจิตปารถนาดีแก่เขาทั้งหลาย เราจักเป็นผู้มีจิตยินดีเมื่อเขาเหล่านั้นได้พ้นจากทุกข์เหล่านี้
     เราจักเป็นผู้มีใจวางไว้กลางๆไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดีและความไม่พอใจยินดีที่มีต่อการกระทำและผลจากการกระทำของเขาทั้งหลายเหล่านั้น  (เป็นการเจริญจิตเข้าสู่เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิต เพื่อเป็นทางเข้าไปสู่เจโตวิมุตติ อันแผ่ไพศาลไปอย่างไม่มีประมาณไปในทุกทิศ)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 26, 2013, 05:54:47 pm โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อันที่จริง เมื่อ  เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย มันมีอยู่ 2 กรณี นะครับ
 
  คือ 1 เราเป็นดั่งเขาด่า
   
      ถ้าประการนี้ ก็ควรต้องออกมาก่อน ไม่ควรอยู่ตรงจุดนั้น เพราะเราแย่ เราเลว นะครับ  และควรต้องปรับปรุงตัว ไม่ใช่เอาธรรมะมาข่มใจ ว่า ช่างหัวมัน   เราต้องปรับปรุงตัวเองนะครับ เพราะ เราเป็นผู้ผิด

      2 เราไม่ได้มีความผิด ใด ๆ แต่ เกิดจากความอิจฉา ริษยา ไม่เข้าใจ

       วิธีแรก คือ ให้นับ พุทโธ ไปและ ควรออกจากที่ตรงนั้นเช่นกัน ถ้าสามารถออกไปได้
       วิธีสอง คือ ปลงความคิด ด้วยการพิจารณา ตามความเป็นจริง ว่า โลกก็อย่างนี้แหละ ต้อง มีถูกใจ และ ไม่ ถูกใจ มีชอบ และ มีชัง วันนี้ดี พรุ่งนี้ร้าย ให้เห็นว่าเป็นธรรมดา และ นับ พุทโธ ลงใจ ทำงานที่มีตามปกติ
       วิธีสาม คือ หาเวลา ภาวนา และ แผ่ เมตตา กรวดน้ำ บรรเทากรรม ที่ผูกกันมา บ้าง

       วิธีที่ไม่แนะนำ และ มีโทษมาก คือ การแผ่เมตตา นะครับ เพราะยิ่งแผ่ จะยิ่งทุกข์ ตามระบบการภาวนา ห้ามอยู่แล้ว นะครับ

       :25: :25: :25:
   
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0


- อย่างที่ท่าโกมลกล่าวเรื่องการแผ่เมตตาเป็นข้อห้าม ผมคิดว่าอาจจะเข้าใจอะไรผิดบางอย่างนะครับ เมตตาไม่ใช่เป็นข้อห้าม แต่เป็นข้อที่ควรปฏิบัติ ควรเจริญที่พระตถาคตได้ตรัสสอนเสมอๆ ดั่งที่ท่าน nathaponson ยกมา คือจากพระไตรปิฎก คงไม่มีใครเก่งเกินพระพุทธเจ้าใน 3 โลกนี้นะครับถึงจะบอกว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนผิด
- ตถาคตตรัสว่าเมตตานี้ควรทำ ควรเจริญให้มาก ส่วนการห้ามไม่ให้เจริญเมตตานั้นผมอนุมานคาดคะเนว่า คงเป็นเพราะไม่รู้วิธีการแผ่เมตตาจริงๆที่พระพุทธเจ้าตรัสสอน จึงยิ่งก่อปฏิฆะอันแรงกล้า การแผ่เมตตาจริงๆแล้วนั้นเริ่มจาก
 1. การที่ตัวเรานั้นต้องเป็นผู้ อด ผู้ละ ผู้ปล่อย ผู้วางก่อน เพื่อสลัดจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาทเบียดเบียนทั้งหลาย แล้วมีกุศลจิตเกิดขึ้น
 2. มีความปารถนาดีต่อผู้อื่น
 3. มีจิตผู้อนุเคราะหฺ์แบ่งปัน
 4. มีการสละให้
(ผู้ปฏิบัติจะรู้ดีว่าสภาวะจิตทั้ง 4 ข้อนี้คืออะไรน่ะครับ)
(อย่างที่ผมบอกว่า เราจักเป็นผู้ไม่ผูกเวรใคร เราจักเป็นผู้ไม่พยาบาทเบียดเบียนใคร เราจักเป็นผู้มีจิตแจ่มใสเบิกบาน สงบรำงับจาก กามราคะ โมหะ พยาบาท เราจักเป็นผู้มีจิตปารถนาดีต่อผู้อื่นเพื่อให้ได้พ้นทุกข์ อนุเคราะห์แบ่งปันต่อผู้อื่นเพื่อให้เขาประสบสุข เราจักเป้นผู้ยินดีเมื่อผู้อื่นพ้นจากทุกข์ประสบสุข เราจักเป็นผู้มีใจวางไว้กลางๆ ไม่หยิบจับเอาความพอใจยินดี(คือ อกุศลฉันทะที่เป้นไปในโลภะ) และ ความไม่พอใจยินดี(ปฏิฆะเป็นไปในโทสะ) ต่อการกระทำไรๆของใคร เอามาตั้งเป็นอารมณ์แห่งจิต)

- ซึ่งคนที่แผ่เมตตาโดยไม่รู้จริงส่วนมากจะแผ่ว่า ขอให้เขาว่ามาผูกเวรฉัน ขอให้เขาอย่าพยาบาทเบียดเบียนฉัน อย่ามาทำร้ายจองเวรฉันเลย ให้เขาหยุดจองเวรฉัน อันนี้เป็นการแผ่เมตตาแบบคนฉลาดที่ไม่ถึงธรรม ซึ่งผิดกับหลักคำสอนของตถาคตน่ะครับ มันเป็นการแผ่ตามฉันทะที่เป็นอกุศลของตน อันประกอบด้วยโมหะ ร่วมกับปฏิฆะ ยิ่งแผ่ไปก็ยิ่งมีแต่ความเศร้าหมอง หมองมัว ขุ่นมัวใจ
- เมื่อเราเจริญเมตตาที่ถูกต้องแล้ว จิตหลุดจากกิเลส คือ ธรรมชาติที่ทำให้ร้อนรุ่ม ร้อนรนใจแล้ว เศร้าหมองใจ จิตจะยังกุศลให้เกิดขึ้น เมื่อกุศลจิตเกิด ความสุข สงบรำงับจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท จักเกิดขึ้นแก่เรา ดังนี้แล้วให้เราระลึกถึงความสุขที่สงบรำงับจากความร้อนรุ่มใจนั้นแผ่ไปให้เขา  เมื่อเจริญอย่างนี้อยู่เป็นประจำ จะทิศเบื้องหน้าก็ดี เบื้องหลังก็ดี เบื้องซ้ายก็ดี เบื้องขวาก็ดี เบื้องบนก็ดี เบื้องล่างก็ดี แก่คนที่รู้จักก็ดี รักใคร่ก็ดี เกลียดก็ดี เราก็จะสามารถแผ่ไปได้หมด เข้าสู่เมตตาเจโตวิมุตติ ไปจนถึงเจโตวิมุตติทั้งหลายอันไม่มีประมาณ
- สิ่งเจริญนี้ๆผู้ปฏิบัติจะเข้าใจดีที่สุดและกระทำได้ดี หากผู้ที่ไม่ได้ปฏิบัติสักแต่ฟังตามเขามา เชื่อตามๆเขามา โดยไม่ได้ปฏิบัติให้เห้นตามจริงจนรู้แจ้งแทงตลอดจักทำได้ยาก เพราะจิตจะเข้าไม่ถึงสภาพแห่งเมตตาจิต แต่จะเข้าถึงโลภะจิตแทน

ที่ผมโพสท์นี้ไม่ได้โพสท์เพื่อกล่าวล่วงเกินหรือโต้ตอบกับท่านใดที่มาอ่าน แต่โพสท์เพื่อให้เข้าใจหลักของเมตตาจิตจริงๆซึ่ง ตถาคตตรัสสอนไว้ว่าบุคคลที่ปฏิบัติในพระธรรมวินัยนี้มีเจโตวิมุตติเป็นที่สุด วิธีการเข้าสู่สภาวะเมตตาจิตนี้..ผู้ที่เรียนอภิธรรมหรืิอปริยัติโดยไม่ปฏิบัติ(จัดว่าเป็นผู้ใช้ปัญญานำ)จะไม่รู้จักหรือเห็นได้ยาก แต่ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน(จัดว่้าเป็นผู้ขัดเกลากุศลและจิตให้ตั้งมั่น)จะรู้กันดี จึงอยากให้ทุกท่านทุกคนให้ดูเห็นตามจริงในคำสอนของตถาคดังนี้

ขอให้ท่านทั้งหลายเจริญในธรรมอันเป็นกุศล
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2013, 08:59:50 am โดย Admax »
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
แผ่เมตตาให้ผู้อื่นนั้นพอเข้าใจ มีท่านผู้รู้ได้แนะนำว่าให้แผ่เมตตาให้ตัวเองด้วย

เรื่องการแผ่เมตตานั้น หากจะสงเคราะห์เข้าในทำนองเดียวกับการเจริญเมตตาภาวนานั้นก็น่าจะไปกันได้ ท่านได้แสดงเรื่องการเจริญ เมตตา ไว้ว่า อารมณ์ของเมตตาต้องเป็น ปิยมนาสัตวบัญญัติ คือ สัตว์ที่เป็นที่รักที่ชื่นชมและพอใจเป็นอารมณ์ จึงจะเรียกว่า เมตตา

สมควรแผ่เมตตาให้ตนเองก่อนอยู่เสมอๆ ความไม่อยากตาย ต้องการสุข เกลียดทุกข์ อยากอายุยืนที่มีอยู่ประจำใจตนเองนั้น ย่อมเกิดขึ้นเป็นพิเศษ แล้วจะนึกเปรียบเทียบไปในสัตว์ทั้งหลายว่า ล้วนรักสุข เกลียดทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น เหมือนตนทุกประการ
ด้วยเหตุนี้แหละ จะทำให้เมตตาเกิดขึ้นได้จริงๆก่อน แล้วตั้งมั่นขึ้น แล้วจึงค่อยๆแผ่เมตตาไปให้คนอื่นๆและสัตว์อื่นๆทีหลัง
จึงควรเริ่มต้นที่เมตตาตนเองก่อน ฉะนั้น ผู้ที่รักตนย่อมไม่เบียดเบียนผู้อื่น..

การแผ่เมตตาให้แก่ตนแล้ว ก็พึงลำดับการแผ่เมตตาไปยังบุคคลต่อไปนี้
1. บุคคลอันเป็นที่รัก
2. บุคคลอันเป็นที่รักยิ่ง
3. บุคคลที่ไม่รัก ไม่ชัง
4. บุคคลที่เป็นศัตรูกัน

คาถาแผ่เมตตาตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
อะหัง นิททุกโข โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความทุกข์
อะหัง อะเวโร โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร
อะหัง อัพยาปัชโฌ โหมิ ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรคอันตรายทั้งปวง
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ
ขอให้ข้าพเจ้าจงมีความสุขกายสุขใจ รักษากายวาจาใจให้พันจากความทุกข์ภัยทั้งปวงเถิด
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
การแผ่เมตตา ให้กับ ศัตรู เป็นลำดับสุดท้ายของการแผ่เมตตา เบื้องต้น ควรต้องแผ่ไปตามลำดับ

คิดว่าเป็นอย่างนั้น คะ

 :58: :25:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ

kobyamkala

  • โยคาวจรผล
  • ******
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 2236
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างไร เรียกว่า แผ่เมตตาเป็น
และ อย่างไร เรียกว่า แผ่เมตตาไม่เป็น

   ในเมื่อ การแผ่เมตตา เป็น อารักขกรรมฐาน ก็ต้องมีการแผ่เมตตา อย่างถูกต้อง ใช่หรือ ไม่ คะ

  เมตตาเจโตวิมุตติ สำหรับ พระสงฆ์ ที่ใช้และ เป็น เอตทัคคะ มีหรือ ไม่คะ ยกตัวอย่างหน่อย
 
 ได้ยินว่า เมตตาเจโตวิมุตติ นั้นเป็นคุณธรรม ของ พระอรหันต์ ปฏิสัมภิทา และ ปัจเจกพุทธเจ้า ขึ้นไป
   
  ใครก็ได้ มาอธิบาย หน่อย คะ

  :49: :c017:  st12 st12 st12 เสวนาธรรม วันพระ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2013, 09:02:08 am โดย kobyamkala »
บันทึกการเข้า
แล้วลองแอบมาแย้มกะลา
เพื่อดูโลก เห็นแล้วตกใจโลกนี้กว้างใหญ่จริง ๆ

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อย่างไร เรียกว่า แผ่เมตตาเป็น
และ อย่างไร เรียกว่า แผ่เมตตาไม่เป็น

   ในเมื่อ การแผ่เมตตา เป็น อารักขกรรมฐาน ก็ต้องมีการแผ่เมตตา อย่างถูกต้อง ใช่หรือ ไม่ คะ

  เมตตาเจโตวิมุตติ สำหรับ พระสงฆ์ ที่ใช้และ เป็น เอตทัคคะ มีหรือ ไม่คะ ยกตัวอย่างหน่อย
 
 ได้ยินว่า เมตตาเจโตวิมุตติ นั้นเป็นคุณธรรม ของ พระอรหันต์ ปฏิสัมภิทา และ ปัจเจกพุทธเจ้า ขึ้นไป
   
  ใครก็ได้ มาอธิบาย หน่อย คะ

  :49: :c017:  st12 st12 st12 เสวนาธรรม วันพระ


เจโตวิมุตตินี้ คนธรรมดาก็ทำได้ครับ เมื่อจิตสลัดจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท (นั่นคือมีสัมมาสมาธิจิตเกิดด้วยนั่นเอง ผมจึงกล่าวว่าให้กำหนดลมหายใจเข้าออกก่อน แล้วมีความรู้ตัวทั่วพร้อม มีความระลึกรู้ทันจิต เมื่อเราสงบรำงับจากกาม ราคะ โมหะ พยาบาท จิตจะผ่องใสเป็นสุขจากจิตที่สงบรำงับไม่เข้าร่วมหรือไม่กำเริบในอุปกิเลสทั้งหลายนั้น)

เมื่อจิตปราศจาก กาม ราคะ โมหะ พยาบาท จิตจะมีแต่กุศล เพราะอุปกิเลสทั้งหลายสงบรำงับลง จิตจะแผ่ไปทางใดทิศใดก็มีแต่กุศลอันประกอบด้วย พรหมวิหาร๔ และ ทาน

ขอให้เจริญในธรรม สิ่งนี้ๆเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตนเห็นได้เฉพาะตน พระพุทธเจ้ารู้สมถะก่อนวิปัสนา ในกรรมฐานทั้ง 40 กอง จึงเป็นสมถะก่อนทั้งหมดค่อยเจริญเข้าวิปัสนา เพราะตถาคตตรัสว่า เมื่อมีจิตตั้งมั่นดี ก็จะเกิดความรู้เห็นตามจริง เมื่อรู้เห็นตามจริงจึงเกิดความหลุดพ้น / ไม่ใช่รู้เห็นตามจริงจึงเกิดจิตตั้งมั่น อย่างที่ผุ้ไม่ปฏิบัติเข้าใจกัน เพราะมันจะรู้ความคิดมากกว่าสภาพจริงน่ะครับ
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

komol

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +7/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 643
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เจโตวิมุตติ ไม่ใช่คนธรรมดา ทำได้ครับ ที่ว่าได้ คือ ไม่ได้
 เจโตวิมุตติ ไม่ใช่ สมาธิ ระดับ ขณิกสมาธิ ไม่ใช่เป็นเพียงอัปปนาจิต ด้วย

  ต้องเป็น อัปปนาจิต + วิปัสสนาญาณ ระดับ 9 ครับ

  ถ้าจิต ถึงฌาน 4 อันนี้เรียกว่า รูปฌาน ยังไม่เป็น เจโตวิมุตติ ต้องเจริญ วิปัสสนาวิถี จึงจะใช้คำว่า เจโตวิมุตติ

 ขออภัยที่ต้องขัดแยัง

 :49:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 28, 2013, 08:46:30 pm โดย DANAPOL »
บันทึกการเข้า
พลังจิต พลังปราณ พลังสมาธิ เป็นพลังสมดุลย์ เพื่อปัญญา