ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: พิธีกรรม ในพระพุทธศาสนา จริง ๆ แล้ว มีพิธีกรรม อะไรบ้าง ใครรู้ช่วยตอบด้วย  (อ่าน 9089 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

GodSider

  • ผู้อุปถัมภ์
  • กำลังแหวกกระแส
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 121
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
คือเดี๋ยวนี้เวลาไปวัด ก็จะเห็นพิธีกรรม ต่าง ๆ ที่วัด ไม่ว่า อาราธนา ศีล รับศีล ให้ พร รับ พร งานศพ งานแต่ง งานบวช งาน อะไร สาระพัดงาน ไม่ทราบว่า แท้ที่จริง พิธีกรรมเหล่านี้ในครั้งพุทธกาล มีอย่างไร

   บางท่านกล่าวว่า พิธีกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ พิธีกรรม พุทธ เช่นการสวดพระอภิธรรมไม่มีในงานศพ เมื่อก่อน งานแต่งงาน ก็ไม่มีการเจริญพุทธมนต์ ใดๆ อันนี้ จริง หรือ ไม่จริง ก็คงต้องรอท่านสมาชิก เพื่อนพี่น้อง ชาวกรรมฐาน มาช่วยเล่าให้ฟัง แล้วครับ


   thk56 thk56 thk56 ล่วงหน้า กับน้ำใจงาม ๆ ที่มาช่วยตอบครับ

บันทึกการเข้า
สุดเขต เสลดเป็ด ไกลสุดกู่ ใกล้แค่ ปลายจมูก

pamai

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 139
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พิธีกรรม ในพระพุทธศาสนา น่าจะไม่มี นะ ในสมัยก่อน

   :67: :67: :67:
บันทึกการเข้า

Namo

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 206
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
น่าจะมีนะคะ การสวดพระปริต ก็มี การให้น้ำพระพุทธมนต์ ก็มี พิธีการให้รับไตรสรณคมน์ก็มี นะคะ

  :49:
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
    ans1 ans1 ans1
   
    เข้าใจว่า คุณ GodSider ต้องการทราบ "พิธีกรรมที่พระพุทธเจ้าบัญญัติขึ้น หรือยินยอมให้ทำ
    ในชั้นของบาลี(พระไตรปิฎก) ค้นมาได้สองเรื่อง คือ การอุปสมบท และการห่อพระสรีระของพระพุทธเจ้า
    ในชั้นอรรถกถา ค้นมาได้สองเรื่อง คือ พรรณนารัตนสูตร และอายุวัฒนกุมาร
    ขอเสนอไปตามลำดับ ดังนี้ครับ





การบวชมี 8 วิธี คือ
1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา
อุปสมบทโดยพระพุทธองค์ตรัสให้บวช ดังนี้ "จงมาเป็นภิกษุ มาเถิด ธรรมอันเรากล่าวนั้น ดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์ และกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์เถิด"


2. ติสรณคมนูปสัมปทา
อุปสมบทโดยการขอถึงพระรัตนตรัย วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสาวกบวชให้กุลบุตรได้เอง แต่ปัจจุบันวิธีนี้ ไม่ได้ใช้บวชพระ เพราะทรงให้ใช้วิธีที่ 3 แทน แต่ยังใช้สำหรับบวชเณร


3. ญัตติจตุตถกรรมวาจา
อุปสมบทโดยสงฆ์ ด้วยญัตติที่ 4 (ได้แก่ ญัตติแรก จะเป็นการประกาศเพื่อขอญัตติ (คือ ความเห็นชอบ) จากสงฆ์ และ 3 ญัตติหลัง จะเป็นการขอความเห็นชอบจากสงฆ์ หากมีการคัดค้านแม้เพียงครั้งเดียว ก็ถือว่าบวชไม่ได้)
    วิธีนี้ พระพุทธเจ้าทรงประทานให้ เมื่อทรงเห็นว่า มีคณะสงฆ์จำนวนมากแล้ว วิธีนี้แสดงถึง ความมีประชาธิปไตยอยู่ในพระดำริของพระพุทธเจ้า
    ภิกษุรูปแรก ที่ได้บวชด้วยวิธีนี้ คือ ราธพราหมณ์ และมีพระอุปัชฌาย์ รูปแรก คือ พระสารีบุตร


4. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทโดย การรับโอวาท 3 ข้อ จากพระพุทธเจ้า วิธีนี้ทรงบวชให้แก่ พระมหากัสสปะ มีดังนี้
    - เธอจงมีความละอาย และ ยำเกรงในภิกษุทั้งที่แก่กว่า เสมอกัน และ อ่อนกว่า
    - ธรรมใดที่เป็นกุศลธรรม เธอจงเงี่ยหู ตั้งใจฟังธรรมนั้น
    - เธอจงไม่ละสติออกจากกาย


5. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา
อุปสมบทโดย การตอบปัญหาของพระพุทธองค์ ทรงอนุญาตแก่ โสปากสามเณร


6. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา
อุปสมบทโดย การรับครุธรรม 8 ประการ ทรงอนุญาตแก่ พระนางปชาบดีโคตมี


7. ทูเตนะอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วย ทูต คือ ตัวแทน ทรงอนุญาตแก่ อัฑฒกาสีภิกษุณี
เรื่องมีอยู่ว่า นางอัฑฒกาสี เดิมเป็นธิดาเศรษฐี แต่ต่อมาฐานะตกต่ำกลายเป็นนางคณิกา ในกรุงราชคฤห์ เพราะผลแห่งวจีทุจริตในอดีต เมื่อนางได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ จึงออกบวชในสำนักภิกษุณีที่กรุงเวสาลี แล้วต่อมาได้เดินทางมาเพื่อขออุปสมบทในสำนักของพระพุทธเจ้า แต่ทราบว่ามีผู้หมายทำร้ายตนในระหว่างทาง จึงส่งเพื่อนภิกษุณีไปกราบทูล พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาตให้ ภิกษุณีที่เป็นทูตนั้น กล่างคำขอบวชต่อภิกษุสงฆ์ แทนอัฑฒกาสีภิกษุณี


8. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา
อุปสมบทด้วย ญัตติจตุตถกรรมจากสงฆ์ 2 ฝ่าย คือ ภิกษุสงฆ์ และ ภิกษุณีสงฆ์ ทรงอนุญาตแก่ ภิกษุณีทั้งหลาย

______________________________________________
ที่มา http://www.tteen.net/view.php?time=20071128184737




    อุปสัมปทา การบวช, การบวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี;
     วิธีอุปสมบทมีทั้งหมด ๘ อย่าง แต่เฉพาะที่ใช้เป็นหลักมี ๓ อย่าง คือ

     ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยพระวาจาว่า “จงเป็นภิกษุมาเถิด” เป็นวิธีที่พระพุทธเจ้าทรงบวชให้เอง
     ๒. ติสรณคมนูปสัมปทา หรือ สรณคมนูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยถึงไตรสรณะ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้พระสาวกทำในยุคต้นพุทธกาล เมื่อคณะสงฆ์ยังไม่ใหญ่นัก เมื่อทรงอนุญาตวิธีที่ ๓ แล้ว วิธีที่ ๒ นี้ก็เปลี่ยนใช้สำหรับบรรพชาสามเณร
     ๓. ญัตติจตุตถกัมมอุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรม เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตให้สงฆ์ทำ ในเมื่อคณะสงฆ์เป็นหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว และเป็นวิธีใช้สืบมาจนทุกวันนี้;


     วิธีอุปสมบทอีก ๕ อย่าง ที่เหลือเป็นวิธีที่ทรงประทานเป็นการพิเศษ จำเพาะบุคคลบ้าง ขาดตอนหมดไปแล้วบ้าง ได้แก่ (จัดเรียงลำดับใหม่ เอาข้อ ๓. เป็นข้อ ๘. ท้ายสุด)
     ๓. โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระมหากัสสปะ
     ๔. ปัญหาพยากรณูปสัมปทา การอุปสมบทด้วยการตอบปัญหาของพระพุทธองค์ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่โสปากสามเณร
     ๕. ครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา (หรือ อัฏฐครุธรรมปฏิคคหณูปสัมปทา) การอุปสมบทด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี
     ๖. ทูเตนะ อุปสัมปทา การอุปสมบทด้วยทูต เป็นวิธีที่ทรงอนุญาตแก่นางคณิกา (หญิงโสเภณี) ชื่อ อัฑฒกาสี
     ๗. อัฏฐวาจิกาอุปสัมปทา การอุปสมบทมีวาจา ๘ คือ ทำด้วยญัตติจตุตถกรรม ๒ ครั้งจากสงฆ์ทั้งสองฝ่ายคือจากภิกษุณีสงฆ์ครั้งหนึ่ง จากภิกษุสงฆ์ครั้งหนึ่ง ได้แก่การอุปสมบทของภิกษุณี
     ๘. ญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา (ข้อ ๓. เดิม)

___________________________________________________
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
   

 

ประเภทของการบวช
การบวชพระหรือการอุปสมบทในพุทธศาสนาแยกได้ 3 ประเภท คือ

1. เอหิภิกขุอุปสัมปทา การบวชประเภทนี้ เป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าประทาน แก่กุลบุตรผู้ขอบวชด้วยพระองค์เอง เป็นการอนุญาตให้มาเป็นภิกษุโดยการตรัสด้วยพระวาจาแต่จะมีอยู่ 2 แบบ คือ...

    หากบุคคลผู้ที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาขอบวช พระองค์ก็จะตรัสเรียกให้เข้าเป็นภิกษุว่า
    "เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด ธรรมเรากล่าวดีแล้ว เธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
    การตรัสพระวาจาเพียงแค่นี้ก็สำเร็จเป็นภิกษุในพุทธศาสนาแล้ว

    สำหรับแบบที่สองเป็นวิธีการบวชที่พระพุทธเจ้าบวชให้แก่บุคคลผู้บรรลุธรรม วิเศษ สามารถกำจัด
กิเลสได้แล้ว พระองค์จะตรัสพระวาจาว่า
    "เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด ธรรมเรากล่าวดีแล้วเธอ จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด”
     จะพบ พระพุทธเจ้าจะตัดข้อความตอนสุดท้ายออก คือ “ เพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบเถิด”
     เพราะผู้ที่กำจัดกิเลสตัณหาได้แล้ว จะไม่มีความทุกข์โดยสิ้นเชิง

2. ติสรณคมนูปสัมปทา คือ การอุปสมบทด้วยวิธีให้ผู้ขอบวชกล่าวคำรับเอา และเข้าถึงพระรัตนตรัยว่าเป็นที่พึ่ง(สรณะ) เป็นที่ระลึก ซึ่งได้กล่าวถึงรายละเอียดไว้แล้วในเรื่อง “การบรรพชา” แต่การบวชแบบติสรณคมนูปสัมปทานี้ เดิมใช้บวชพระมาก่อน กล่าวคือ

    ตอนที่พระพุทธเจ้าตัดสินพระทัยออกประกาศศาสนา ได้เสร็จไปโปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ประทานการบวชแก่บุคคลผู้เลื่อมใสศรัทธา ขณะที่ประทับอยู่ในเขตเมืองพาราณสีนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป แล้วพระองค์ก็ทรงส่งพระสาวกเหล่านั้นออกประกาศศาสนาไปตามบ้าน คาม นิคมและราชธานี โดยส่งไปแห่งละรูป มิให้เดินทางไปแห่งเดียวกันสองรูป

    เมื่อมีผู้ศรัทธาจะขอบวชในพุทธศาสนา พระสาวกก็ไม่อาจจะบวชให้แก่ผู้เลื่อมใสเหล่านั้นได้ ต้องพาผู้มีศรัทธาเหล่านั้นเดินทางรอนแรม หนทางก็ทุรกันดาร พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากเหล่านี้จึงทรงอนุญาตให้ภิกษุสามารถบวชด้วยวิธี ติสรณคมนูปสัมปทานี้ โดยไม่ต้องพาผู้ขอบวชเดินทางมาหาพระพุทธองค์อีกต่อไป

3. ญัตติจตุตถกรรมวาจา คือ การอุปสมบทด้วยการสวดญัตติเป็นที่ 4 การอุปสมบทหรือบวชพระในปัจจุบัน ใช้วิธีการอุปสมบทแบบบัตติจตุตถกรรมวาจานี้โดย หมู่สงฆ์เป็นผู้ใช้ ซึ่งเดิมใช้วิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา แต่วิธีการเดิมทำให้เกิดข้อผิดพลาดและบกพร่องในการคัดเลือกผู้ที่จะเข้ามา บวชเป็นภิกษุ
พระพุทธเจ้าจึงทรงยกให้เป็นหน้าที่ของสงฆ์โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขถึงจำนวนสงฆ์ ไว้ 2 อย่าง คือ


    3.1 ในท้องถิ่นที่กันดารและห่างไกล ให้ใช้สงฆ์จำนวน 5 รูป ในการทำพิธีบวช
    3.2 ในเมืองอันเป็นถิ่นที่หาภิกษุได้ง่าย กำหนดให้ใช้สงฆ์จำนวน 10 รูป

    ในจำนวนภิกษุ 5 หรือ 10 รูปนั้น ให้รวมกันเป็นคณะ แล้วให้มีพระอุปัชฌาย์ 1 รูปและพระคู่สวด 2 รูป ส่วนภิกษุที่เหลือให้เป็นพระอันดับ การรับรองการบวชในคณะสงฆ์จะต้องได้รับเสียงเป็นเอกฉันท์ หลังจากกำหนดใช้การบวชพระด้วยวิธีญัตติจตุตถกรรมนี้แล้ว ก็ยกเลิกวิธีแบบติสรณคมนูปสัมปทา และใช้วิธีหลังนี้สำหรับบวชให้แก่ผู้จะบวชเณร (บรรพชา)

_____________________________________________
ที่มา www.popaprint.com/article/การบวชในพระพุทธศาสนา
ขอบคุณภาพจาก http://www.tteen.net,http://www.watpaknam.org/



     
     การอุปสมบทกล่าวไว้พระวินัย ในเรื่อง "สิกขาบทวิภังค์"
     พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑  พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
     http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=01&A=782&Z=802
     ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=25

      ans1 ans1 ans1
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 02:40:39 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก http://www.bloggang.com/

มหาปรินิพพานสูตร

    [๑๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร ฯ
    ดูกรอานนท์ พวกเธอจงอย่าขวนขวาย เพื่อบูชาสรีระตถาคตเลย จงสืบต่อพยายามในประโยชน์ของตนๆ เถิด จงเป็นผู้ไม่ประมาทในประโยชน์ของตนๆ มีความเพียร มีตนอันส่งไปแล้วอยู่เถิด กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตก็ดี ผู้เลื่อมใสยิ่งในตถาคตมีอยู่ เขาทั้งหลายจักกระทำการบูชาสรีระตถาคต ฯ


    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาทั้งหลาย จะพึงปฏิบัติในพระสรีระของตถาคตอย่างไร ฯ
    ดูกรอานนท์ พึงปฏิบัติในสรีระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ ฯ
    ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ก็เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิอย่างไร ฯ

    ดูกรอานนท์ เขาห่อพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลีแล้วห่อด้วยผ้าใหม่
    โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่
    แล้วเชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น
    แล้วกระทำจิตกาธารด้วยไม้หอมล้วน ถวายพระเพลิงพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ
    สร้างสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
    เขาปฏิบัติในพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ ด้วยประการฉะนี้แล


    พวกกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิต เป็นต้น พึงปฏิบัติในสรีระตถาคตเหมือนที่เขาปฏิบัติพระสรีระพระเจ้าจักรพรรดิ
    พึงสร้างสถูปของตถาคตไว้ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณจักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้น การกระทำเช่นนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ชนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน ฯ

______________________________________________________________
ที่มา "มหาปรินิพพานสูตร" พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  บรรทัดที่ ๑๘๘๘ - ๓๙๑๕.  หน้าที่  ๗๘ - ๑๕๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=10&A=1888&Z=3915&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 06:07:16 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
ขอบคุณภาพจาก http://www.siamrath.co.th/

อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ รัตนสูตรในขุททกปาฐะ
พรรณนารัตนสูตร
 

     พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนใกล้ประตูพระนครทรงเรียกท่านพระอานนท์มา สั่งว่า
     ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้ ถือเครื่องประกอบพลีกรรม
     เที่ยวเดินไประหว่างปราการ ๓ ชั้นแห่งกรุงเวสาลีกับพวกเจ้าลิจฉวีราชกุมาร
     ทำพระปริตร แล้วได้ตรัสรัตนสูตร
.
     การวิสัชนาปัญหาเหล่านี้ว่า ก็พระสูตรนี้ ผู้ใดกล่าว กล่าวเมื่อใด กล่าวที่ใดและกล่าวเพราะเหตุใด ท่านโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้พิสดาร ตั้งแต่เรื่องกรุงเวสาลีเป็นต้นไปด้วยประการฉะนี้.


     ดังนั้น ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงเวสาลีนั่นเอง รัตนสูตรนี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสใกล้ประตูกรุงเวสาลี เพื่อกำจัดอุปัทวะเหล่านั้น ท่านพระอานนท์ก็เรียนเอา
    เมื่อจะกล่าวเพื่อเป็นปริตร [ป้องกันอุปัทวะ] จึงเอาบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าตักน้ำมา
    เดินประพรมไปทั่วพระนคร.

 
     พอพระเถระกล่าวว่า ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ที่อาศัยกองขยะและที่ฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในตอนแรก ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔. ประตูทั้งหลายก็ไม่มีที่ว่าง อมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่างที่ประตูทั้งหลาย ก็ทลายกำแพงเมืองหนีไป.

     พอพวกอมนุษย์พากันไปแล้ว ที่เนื้อตัวของพวกมนุษย์ทั้งหลาย โรคก็สงบไป พวกมนุษย์ทั้งหลายก็พากันออกมาบูชาพระเถระด้วยดอกไม้ของหอมเป็นต้น ทุกอย่าง มหาชนเอาของหอมทุกอย่างฉาบทาสัณฐาคารที่ประชุม ท่ามกลางพระนคร ทำเพดานขจิตด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง ปูพุทธอาสน์ลง ณ ที่นั้นแล้วนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.

______________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=7
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=73&Z=154



อัปโหลดเมื่อ 16 ธ.ค. 2011 โดย dhammanirvana

อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท สหัสสวรรคที่ ๘
๘. เรื่องอายุวัฒนกุมาร [๘๘]
   
พระศาสดาตรัสบอกอุบายป้องกัน
     พราหมณ์ทูลถามพระศาสดาว่า "ก็อุบายเครื่องป้องกันมีอยู่หรือ? พระเจ้าข้า."
    พระศาสดา. พึงมี พราหมณ์.
    พราหมณ์. พึงมีอย่างไร?
    พระศาสดา. ถ้าท่านพึงอาจเพื่อทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน
    ให้ทำตั่งไว้ตรงกลางมณฑปนั้น
    แล้วปูอาสนะไว้ ๘ หรือ ๑๖ ที่ ล้อมรอบตั่งนั้น
    ให้สาวกของเรานั่งบนอาสนะเหล่านั้น ให้ทำพระปริตร ๗ วันไม่มีระหว่าง.

    อันตรายของเด็กนั้นพึงเสื่อมไป ด้วยอุบายอย่างนี้.

    พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจทำมณฑปเป็นต้นได้. แต่จักได้สาวกของพระองค์อย่างไร?
    พระศาสดา. เมื่อท่านทำกิจเท่านี้แล้ว เราจักส่งสาวกของเราไป
    พราหมณ์ทูลรับว่า "ดีละ พระโคดมผู้เจริญ" แล้วทำกิจนั้นทั้งหมดใกล้ประตูเรือนของตนแล้ว ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.


พวกภิกษุไปสวดพระปริตร
       พระศาสดาทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้นไปนั่งในมณฑปนั้น.
    พราหมณ์สามีภริยาให้เด็กนอนบนตั่งแล้ว.
    ภิกษุทั้งหลายสวดพระปริตร ๗ คืน ๗ วันไม่มีระหว่าง.
 
    ในวันที่ ๗ พระศาสดาเสด็จมาเอง.
    เมื่อพระศาสดานั้นเสด็จไปแล้ว. พวกเทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว.
 
    ก็อวรุทธกยักษ์ตนหนึ่งบำรุงท้าวเวสวัณ ๑๒ ปี เมื่อจะได้พรจากสำนักท้าวเวสวัณนั้น ได้กล่าวว่า "ในวันที่ ๗ จากวันนี้ ท่านพึงจับเอาเด็กนี้" เพราะฉะนั้น ยักษ์ตนนั้นจึงได้มายืนอยู่. ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จไปในมณฑปนั้น เมื่อพวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน. พวกเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยถดถอยไป ไม่ได้โอกาส หลีกไปตลอด ๑๒ โยชน์ ถึงอวรุทธกยักษ์ก็ได้หลีกไปยืนอย่างนั้นเหมือนกัน.

____________________________________________________________
ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=18&p=8
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=544&Z=586
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

แพนด้า

  • พอพึ่งพาได้
  • ***
  • ผลบุญ: +3/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 248
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
 st11 st12 st11 st12 st11 st12 thk56

โพสต์ตอบได้อย่าง สมบูรณ์ มาก

 
บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0
คือเดี๋ยวนี้เวลาไปวัด ก็จะเห็นพิธีกรรม ต่าง ๆ ที่วัด ไม่ว่า อาราธนา ศีล รับศีล ให้ พร รับ พร งานศพ งานแต่ง งานบวช งาน อะไร สาระพัดงาน ไม่ทราบว่า แท้ที่จริง พิธีกรรมเหล่านี้ในครั้งพุทธกาล มีอย่างไร

   บางท่านกล่าวว่า พิธีกรรมที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่ใช่ พิธีกรรม พุทธ เช่นการสวดพระอภิธรรมไม่มีในงานศพ เมื่อก่อน งานแต่งงาน ก็ไม่มีการเจริญพุทธมนต์ ใดๆ อันนี้ จริง หรือ ไม่จริง ก็คงต้องรอท่านสมาชิก เพื่อนพี่น้อง ชาวกรรมฐาน มาช่วยเล่าให้ฟัง แล้วครับ

   thk56 thk56 thk56 ล่วงหน้า กับน้ำใจงาม ๆ ที่มาช่วยตอบครับ



   ans1 ans1 ans1
     
   ผมคงคุยได้แค่ระดับหนึ่ง พิธีกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาแบบไทยๆ
   ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพรหมณ์ เพราะพราหมณ์มีกำเนิดมาก่อน เข้ามาก่อน จึงมีอิทธิพลมาก่อน

   พุทธพิธีที่เป็นพุทธบัญญัติ ต้องดูในบาลี ในพระวินัยและพระสูตร เช่น การบวช กฐิน ผ้าอาบน้ำฝน
   คำอาราธนาหรือคำถวายต่างๆ ขั้นตอน ตลอดจนรายละเอียดอื่นๆของยุคนี้ น่าจะเกิดขึ้นหลังพุทธกาล


   ยกเว้น "คำอาราธนาธรรม"
   "พรหมมา จะโลกาธิปะตี สะหัมปะตี กัตอัญชะลี อันธิวรัง อะยาจะถะ สันตีธะ สัตตาป
   ปะระชัก ขะชาติกา เทเสตุ ธัมมัง อุนะกัมปิมัง ปะชัง ฯ"

     
   คำอาธนาธรรมนี้อยู่ใน พุทธวงศ์ รัตนะจงกรมกัณฑ์ ว่าด้วยพระพุทธองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมแก้ว
   พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๓  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๕
   ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
   http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=6654&Z=6873

   ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าจะแสดงธรรมแก่ใคร ไม่จำเป็นต้องอาราธนา
   ท่านจะดูอินทรีย์บารมีของคนนั้นๆ หรือคนที่อยู่ในข่ายพระญาณ


   ส่วนเรื่องการสวดพระอภิธรรมนั้น เป็นการส่วนให้คนเป็นฟัง ไม่ใช่ให้คนตายฟัง
   รายละเอียดเรื่องอภิธรรม ขอให้ไปดู ลิงค์นี้ครับ
   "ฟังสวดอภิธรรม ต้องมีความเข้าใจ ในเนื้อหา หรือไม่ ถึงจะได้บุญ"
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=7194.0
   หรืออีกลิงค์หนึ่ง "พระผู้เป็นองค์แทน สังคายนาฝ่าย พระอภิธรรม คือใครครับ"
   http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=541.0

   เรื่องที่ถามมีรายละเอียดอีกมาก แต่ผมขอคุยเท่านี้ครับ

      :25:
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 06:50:12 pm โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ