ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ประเภทการทอดกฐิน  (อ่าน 4559 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
ประเภทการทอดกฐิน
« เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 03:21:52 pm »
0
ประเภทการทอดกฐิน

          ๑. กฐินราษฎร์  หมายถึงกฐินที่ประชาชนโดยทั่วไป ผู้มีศรัทธา ไปทอดถวายตามวัดราษฎร์ ต่างๆ   โดยยังแบ่งออกเป็น

          ๑) มหากฐิน  เป็นกฐินที่ใช้เวลาตระเตรียมนาน  เช่น มีการบอกบุญ เชิญชวนกันหลายวัน  ก่อนจะนำไปทอดในวัดใดวัดหนึ่ง  มหากฐินนี้ มักเรียกกันโดยทั่วไปว่า กฐิน

          ๒) จุลกฐิน  เป็นกฐินที่มีเวลาตระเตรียมน้อย เช่น อาจต้องทอดภายในเวลาก่อนจะหมดฤดูกฐิน  จุลกฐินนี้  จะมีพิธีการตั้งแต่เริ่มเก็บฝ้ายมาปั่นเป็นด้ายแล้วทอจนเป็นผืนผ้า และ ซัก ตัด เย็บ ย้อม จนะกลายเป็นผ้าไตรจีวร แล้วจึงทอดถวาย

          ๓) กฐินจร, กฐินโจร  เป็นกฐินที่ผู้มีจิตศรัทธา สืบเสาะหาวัดที่ยังไม่มีการทอดกฐิน  แล้วนำไปทอดถวาย โดยไม่ได้มีการแจ้งหรือจองไว้กับทางวัดก่อน  กฐินจร หรือกฐินโจรนี้ มักกระทำกันก่อนจะหมดฤดูกฐิน เป็นความศรัทธา และกุศลเจตนาของอุบาสกอุบาสิกา  ที่ต้องการสงเคราะห์ให้พระสงฆ์ในวัด ได้รับอานิสงส์กฐิน  กฐินจรที่ว่านี้ มักทอดถวายในรูปแบบของมหากฐิน คือนำผ้าสำเร็จรูปไปทอดถวาย ไม่ได้มีการตระเตรียม ตั้งแต่นำผ้ามาตัด เย็บ ย้อม อย่างจุลกฐิน

          กฐินราษฎร์นี้มักมีการทอดถวายในสองประเภท คือ แบบที่มีเจ้าภาพเพียงคนเดียว  และแบบที่เป็นกฐินสามัคคี คือมีการรวมกลุ่มกันเป็นคณะใหญ่  แต่มีผู้ใดผู้หนึ่งเป็นประธานในการทอดกฐิน


บันทึกการเข้า

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเภทการทอดกฐิน
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 03:23:56 pm »
0
       ๒. กฐินหลวง  คือกฐินที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ ทรงนำไปทอดถวายในวัดหลวง หรือทรงพระราชทานให้ผู้แทนพระองค์นำไปทอดถวาย 

          ถ้าหากเป็นผ้ากฐินหลวงที่ทรงพระราชทานให้หน่วยงานราชการ หรือเอกชน นำไปทอดถวายที่วัดหลวง  จะเรียกว่า กฐินพระราชทาน

          การขอรับพระราชทานผ้ากฐินเพื่อไปทอดในวัดหลวงต่างๆนั้น เว้นวัดหลวงสำคัญ ๑๖ วัด ที่ห้ามขอพระราชทาน  นอกจากจะทรงพระราชทานให้ผู้ใดผู้หนึ่งไปทอดแทนพระองค์  วัดหลวง ๑๖ วัด คือ

          ๑. วัดเทพศิรินทราวาส   ๒. วัดบวรนิเวศวิหาร  ๓. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม  ๔. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ๕. วัดมกุฏกษัตริยาราม  ๖. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์  ๗. วัดราชบพิธ  ๘. วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม  ๙.วัดราชาธิวาส  ๑๐. วัดสุทัศนเทพวราราม  ๑๑. วัดราชโอรสาราม 
๑๒. วัดอรุณราชวราราม  ๑๓. วัดนิเวศธรรมประวัติ   ๑๔. วัดสุวรรณดาราราม  ๑๕. วัดพระปฐมเจดีย์   ๑๖. วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

นอกจากนั้น ยังมี กฐินต้น คือกฐินหลวง แต่เป็นการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศานุวงศ์ เสด็จไปทอดถวาย ณ วัดราษฎร์ (ไม่ใช่วัดหลวง)


บันทึกการเข้า

catwoman

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 88
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ประเภทการทอดกฐิน
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ตุลาคม 15, 2012, 03:25:45 pm »
0
ความเข้าใจผิดในเรื่องกฐิน

 

          มีสิ่งที่ชาวพุทธส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดกันมากในเรื่องกฐิน  ซึ่งพอจะประมวลความเข้าใจผิดเหล่านั้นได้ดังนี้

 

           ๑. เข้าใจว่า การทอดกฐิน คือ การรวมจำนวนเงินให้ได้มากๆ (อย่างน้อยก็จำนวนหมื่นขึ้นไป) แล้วนำไปถวายพระที่วัด

          ความเข้าใจเช่นนี้ คือความเข้าใจที่ผิด

          เพราะตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตเรื่องกฐิน และให้พระสงฆ์รับกฐินได้นั้น คือการทรงอนุญาตให้พระสงฆ์มีผ้าไตรจีวรไว้ใช้สอย  สาเหตุที่เกิดเรื่องกฐินขึ้นมา มีอยู่ว่า พระภิกษุในเมืองปาฐา ต้องการจะมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า จึงได้เดินทางกันมาเข้าเฝ้า ปรากฏว่ามาถึงเมืองสาเกต (เมืองเล็กๆ ใกล้เมืองสาวัตถี ห่างจากเมืองสาวัตถีประมาณ ๖โยชน์ - ๙๖ กิโลเมตร) ก็ถึงช่วงเข้าพรรษาพอดี จึงได้หยุดเพื่อจำพรรษาก่อน พอออกพรรษาก็รีบเดินทางกันมาเพื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า และเพราะเพิ่งหมดฤดูฝนใหม่ๆ พื้นยังเปียกแฉะเจิ่งนองไปด้วยน้ำ ทำให้พระภิกษุที่เดินทางมานั้น จีวรเปียกปอน เปื้อนดินโคลนกันเต็มไปหมด และจีวรก็เก่าคร่ำคร่ามาก  เมื่อมาเข้าเฝ้าแล้ว พระพุทธเจ้าทรงเห็นความลำบากของพระภิกษุ จึงทรงอนุญาตว่า เมื่อออกพรรษาแล้ว ให้พระภิกษุร่วมกันทำจีวรได้ และเมื่อทำจีวรเสร็จแล้ว ก็พร้อมใจกันถวายให้พระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในวัดเดียวกัน ที่จำพรรษามาด้วยกันนั้น  อย่างนี้เรียกว่ากฐิน

          ส่วนเรื่องที่มีการถวายผ้ากฐินโดยฆราวาสนั้น เนื่องมาจากว่าฆราวาสญาติโยม เห็นพระภิกษุลำบากด้วยการแสวงหาผ้าบังสุกุล (ผ้าห่อศพ, ผ้าเปื้อนฝุ่น ที่เขาทิ้งแล้ว) ก็เลยหาผ้ามาถวาย พระสงฆ์จะได้ไม่ต้องลำบากไปแสวงหาผ้า ก็เหลือเพียงการซัก ตัด เย็บ ย้อม ให้เป็นจีวรเท่านั้น หรือบางทีก็ถวายเป็นผ้าไตรจีวรสำเร็จรูปเลย พระสงฆ์ก็เหลือเพียงขั้นตอนการยกผ้ากฐินนั้นให้เป็นของพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ที่ตกลงกันในที่ประชุมสงฆ์แล้ว หลังจากกรานกฐินด้วยผ้านั้นแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จการทอดกฐิน

          ส่วนเรื่องเงินทองเท่านั้นเท่านี้ ไม่ใช่กฐิน "แต่เป็นบริวารกฐิน"  กฐินจะสำเร็จได้ ก็เพราะตัวผ้า ไม่ใช่ที่ตัวเงิน ถึงแม้จะไม่มีการถวายเงินในพิธีเลย ถ้ามีแต่เพียงผ้าไตรจีวรอย่างเดียว ก็เป็นกฐินเสร็จเรียบร้อยแล้ว

          ที่เชื่อกันว่ากฐินคือเงินทำบุญเข้าวัด (จะด้วยจุดประสงค์ เพื่อนำไปซ่อมแซมเสนาสนะ ปฏิสังขรณ์อุโบสถวิหารที่ชำรุดทรุดโทรม ก็ตาม) นั้น เพราะไปให้ความสำคัญกับตัวเงินมากไป รวมถึงอาจจะเป็นเพราะเกรงว่าตนเองผู้เป็นเจ้าภาพกฐิน จะเสียหน้า ถ้าหากทำบุญทอดกฐินและเงินเข้าวัดไม่เยอะ  หรือเกรงว่าพระท่านจะไม่รับกฐิน เพราะเงินทำบุญเข้าวัดไม่มาก จนเชื่อกันไปเองว่า กฐิน คือเงินเข้าวัด

          ผู้ที่จะทอดกฐินจึงควรมุ่งจุดประสงค์หลักไปที่การถวายผ้าไตรจีวร ส่วนเงินทำบุญเข้าวัด ที่เป็นบริวารกฐิน ถือว่าเป็นเพียงส่วนประกอบ เป็นเรื่องความศรัทธาของเจ้าภาพผู้มาทอดกฐิน

          เคยได้ทราบว่ามีบางที่บางแห่ง มีผู้มีจิตศรัทธาท่านหนึ่ง จัดคณะไปทอดกฐินที่วัดแห่งหนึ่ง ปรากฏว่า มัคทายกไปบอกผู้มาทอดกฐิน ว่ามีคนเอา "เงินกฐิน" มาทำบุญเข้าวัดแล้ว (แต่ไม่มีผ้ากฐินมาด้วย มีแต่ตัวเงิน) ดังนั้นผ้าที่ผู้มาทอดกฐินนำมาถวาย จึงเป็นเพียงผ้าป่า

          การพูดของมัคทายกแบบนี้ ถือว่าผิดหลักศาสนพิธี ผิดธรรมวินัย และเป็นการทำลายศรัทธาของเจ้าภาพ เป็นการให้สำคัญแต่ตัวเงิน จนไม่สนใจตัวหลักตามพระธรรมวินัย คือผ้าไตรจีวร

          ๒. เข้าใจว่า กฐินมีการถวายได้เป็นกองๆ เช่น วัดแห่งหนึ่งบอกบุญให้ญาติโยมร่วมกันทอดกฐิน เท่านั้นกอง เท่านี้กอง (ที่ได้ยินบ่อยมาก อย่างเช่น กฐิน ๘๔,๐๐๐ กอง) และแต่ละกองก็มีเจ้าภาพประจำกอง และทุกคนเป็นเจ้าภาพกฐินทั้งหมด 

          ความเข้าใจเช่นนี้ ก็เป็นความเข้าใจที่ผิด

          เนื่องจากว่า กฐิน จุดสำคัญอยู่ที่ผ้าไตรจีวรที่จะนำมาเป็นผ้ากฐิน และมีผ้าเพียงชุดเดียวเท่านั้น ที่เป็นผ้ากฐิน ส่วนผ้าที่เหลือนอกนั้น เช่นผ้าสำหรับถวายพระคู่สวด หรือจะมีผ้าไตรจีวรสำหรับถวายพระทุกรูปในวัดนั้นก็ตาม ไม่เป็นกฐิน ถือว่าเป็นบริวารกฐินไป เหมือนกับตัวเงิน ที่ไม่ใช่กฐิน

          ยิ่งถ้าหากมีการประกาศว่า กฐินแต่ละกอง ต้องมีเงินจำนวนเท่านั้นเท่านี้  ยิ่งเป็นการผิดเอามากๆ และถ้าหากจัดขึ้นด้วยการบอกหรือการโฆษณาของพระสงฆ์ ก็เท่ากับเป็นการแสวงหาทรัพย์สินในทางอเนสนา ไม่ถูกต้อง และผิดต่อหลักพระธรรมวินัย

          ถ้าหากยังจะมีจัดกฐินเป็นกองๆอยู่ ก็ขอให้เรียกให้ถูกต้องและบอกกันตรงๆว่า กฐินครั้งนี้ จะแบ่งบริวารกฐินเป็น ๘๔,๐๐๐ กอง  หรือจะเท่านั้นเท่านี้กองก็ว่ากันไป เพราะกฐินสำเร็จด้วยผ้าไตรจีวรชุดเดียว,ผืนเดียว ไม่ใช่สำเร็จที่ตัวเงิน และไม่มีการแบ่งกฐินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้กอง  จะมีอะไรเป็นกองๆ ก็ให้เป็นบริวารกฐินไป

จากคุณ    : chohokun
บันทึกการเข้า