ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - arlogo
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
41  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / รายนาพระภิกษุ สามเณร จังหวัดสระบุรี ที่ต้องสอบซ่อมบาลี 5-6-7 พ.ค. เมื่อ: เมษายน 29, 2013, 11:41:33 am
    สำนักเรียน    สถานที่สอบ    ซ่อม    ซ่อม    ซ่อม    ประโยค
1.    พระเอกรัฐ    สุรเตโช    แก้วแกมทอง    26    2    แก่งคอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
2.    พระนิรันดร์    ฐิตวีโร    คำภา    24    2    เขาแก้ววนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *       ไว.    ป.1-2
3.    สามเณรชลสิทธ์       ลาวงศ์    12       เขาแก้ววนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
4.    พระศราวุฒิ    ณฎฺฐกุโล    ประกอบทอง    30    3    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
5.    พระสุริยันต์    อภิปุญฺโญ    พัฒนา    24    3    สนมไทย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
6.    พระยอดชาย    กิตฺติธมฺโม    ขันผนึก    30    7    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
7.    สามเณรปัณณธร       อยู่สมบุญ    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
8.    สามเณรสง่า       ตาน้อย    15       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
9.    พระนริศ    ปุญฺญสมฺภโว    แก้วประชา    39    2    ท่าช้างเหนือ    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
10.    พระอนุเทพ    อนุตฺตโร    มุมทอง    22    2    พะเยาว์    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.       *    ป.1-2
11.    สามเณรวสันต์       เครื่องรัมย์    19       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
12.    สามเณรพิสิทธิ์       เสี่ยงตรง    17       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
13.    สามเณรอดิศักดิ์       การะรัมย์    17       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
14.    สามเณรเทพพิทักษ์       บุญประสาน    16       ศรีบุรีรตนาราม    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
15.    พระสุขสยาม    วิสุทฺธิสีโล    แก้วสิทธิ์    29    5    พระพุทธฉาย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    สัม.    ไว.    ป.ธ.3
16.    พระอุทัย    อภิวโร    สุภประสิทธิ์    36    8    หลังเขา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
17.    พระนรา    ฐานวีโร    ปักธงชัย    45    15    ท่าราบ    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    สัม.    ไว.    ป.ธ.3
18.    สามเณรศักดิ์สิทธิ์       อุ่นเนื้อ    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
19.    สามเณรณัฐธนวัชร       เหมือนศรีชัย    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
20.    สามเณรยิ่งใหญ่       คำมี    14       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
21.    สามเณรสมชาย       ม่วงอ่อน    13       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
22.    พระนิพนธ์    ฉนฺทธมฺโม    จีรจิตต์    50    7    บ้านอ้อย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
23.    พระชาญชัย    ชยาภรโณ    แก้วสีหมอก    32    7    มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    สัม.    *    ป.ธ.3
24.    สามเณรกีรติ       ศรีหาบุตร    18       มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    ไว.    ป.ธ.3
25.    สามเณรวิทยา       นรดี    17       มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปมท.    *    *    ป.ธ.3
26.    พระมหาอดิศักดิ์    ภูริญาโณ    เดชสีมา    30    8    แก่งคอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
27.    พระมหาอาทิตย์    อคฺคปญฺโญ    พืชผักหวาน    26    6    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
28.    พระมหาธีรยุทธ    ภูริปญฺโญ    ฤทธินาคา    26    6    บัวลอย    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
29.    พระมหาทศพล    เสฏฺฐโรจโน    สวยวิเศษ    24    3    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
30.    พระอาทิตย์ ป.    อติภทฺโท    ซุนซี    24    3    พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
31.    สามเณรกิตติศักดิ์       ประเสริฐศรี    16       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
32.    สามเณรอุทัย       ปัตถาพิมพ์    15       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
33.    พระมหาศิริชัย    สิริธมฺโม    พานิช    33    6    ชุ้ง    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    *    ปมท.       ป.ธ.4
34.    พระมหาศราวุธ    โรจนวุฑฺฒิ    เอี่ยมรัมย์    22    3    มงคลชัยพัฒนา    สระบุรี    วัดพระพุทธบาท    ปทม.    *       ป.ธ.4
35.    สามเณรทวีศิลป์       อาจทวีกุล    19       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดสามพระยา    ปทม.    *       ป.ธ.5
36.    สามเณรนลล์ธนภัทร       ใหญ่นิธิคุณ    17       พระพุทธบาท    สระบุรี    วัดสามพระยา    *    ปมท.       ป.ธ.5

http://www.infopali.net/cgi-bin/retest.cgi
42  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ เมื่อ: เมษายน 17, 2013, 10:41:52 am
 ask1

   ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ
จดหมายจากสมาชิก พิเศษ ที่มีข้อความยาว แต่ตัดตอนสรุปใจความเนื้อหา มาเท่านี้คิดว่า คำถามดีก็เลยนำมาแชร์ตอบรวมเลยก็แล้วกันนะจ๊ะ
 


 ans1

   ปัจจุบันจะเห็นว่า มีการเผยแผ่ พระธรรม กันมากในสื่อ ทุกรูปแบบซึ่งก็มีแนวทาง ที่ทุกท่านเรียกว่า อริยมรรคมีองค์ 8 กันทั้งนั้น และ มีรูปแบบการเจริญภาวนาเหมือนกัน ใน 4 อิริยาบถ แต่ก็แตกต่างกันด้วย อรรถวิธี ซึ่งเป็นไปตามจริต วาสนา บารมีธรรม ของพระอาจารย์แต่ละองค์  ซึ่งเหตุนี้แหละที่ทำให้ ครูอาจารย์ถึงมี ปณิธาน อุดมการณ์ ที่พระนิพพาน เช่นเดียวกัน แต่ก็ไม่สามารถ ปฏิบัติร่วมกันได้ โดยวิธีการแกนหลัก ไม่ได้ ได้แต่เพียง ปฏิบัติมาตรฐาน ตามแก่นวิชากรรมฐาน

    ในครั้งพระพุทธกาล ก็เป็นอย่างนี้เช่นกัน จนมีผู้ถามพระพุทธเจ้าว่า ทำไมไม่รวมแบบให้เป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้า ก็ทรงตรัสแสดง เรื่องปฏิปทา ให้ฟัง ว่า การปฏิบัติของทุกคนเป็นไปตามจริต แต่ ทุกรูปนั้นก็ล้วนแล้วแต่มีดวงตาเห็นธรรมแบบเดียวกัน นั่นก็คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ไม่แตกต่างกัน

    ใครชอบเจริญ กรรมฐานมีปัญญา ก็ไปหาพระสารีบุตร ใครถือ ธุดงควัตร ก็ไปหา พระมหากัสสปะ ใครชอบเจริญ เจโตวิมุตติ ก็ไปหาพระโมคคัลลานะ ใครชอบฟังธรรม ก็ไปหาพระมหากัจจายานะ หรือใครต้องการบันทึกธรรม ก็มาหา พระอานนนท์ เป็นต้น


    ดังนั้นในสมัยนี้ ถึงจะมีการเผยแผ่ พระธรรมภายใต้การปกครองของ พระมหาเถระสมาคม ก็ตามก็มีการเผยแผ่พระธรรมในแนวทางการปฏิบัติ ที่เหมือนกัน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา แต่แก่นกรรมฐาน นั้นต่างกันไป ด้วยความเป็น สมถกรรมฐานบ้าง วิปัสสนากรรมฐานบ้าง

    ในยุคนี้จะกล่าวว่า ผู้ปฏิบัติทีเห็นหลัก ๆ ก็จะเป็น

      1. พุทโธ พุทธานนุสสติ เป็นหลัก  เห็นมีในสายป่า มาก
      2. มหาสติปัฏฐาน 4  เป็นหลัก มีทั้ง แนวทาง เคลื่อนไหว ยุบหนอ พองหนอ รวมถึงแนวทางอภิธรรมด้วย
      3. อานาปานาสติ
      4. ธรรมกาย
      5. มโนมยิทธิ
      4. ธรรมเปิดโลก
      5. อื่น ๆ

    ดังนั้น ครูอาจารย์ ก็ยังสมาคมกันได้ รู้จักกันได้ พูดคุยศึกษากันได้ แต่ถ้าพูดถึงความชำนาญในแนวทางปฏิบัติของตนเองแล้ว ก็ต้องเผยแผ่ ในแนวทางที่ตนเองปฏิบัติเพื่อสืบทอด วิชากรรมฐาน ด้วยประการหนึ่ง

     คำถามที่ถามว่า ทำไม ครูอาจารย์ สมัยนี้ ไม่ค่อยร่วมมือกันเผยแผ่ธรรม ภาวนา กันครับ

    ก็ตอบว่า ไม่เป็นความจริง เพราะถ้าเป็นในศิษย์สำนักเดียวกัน แล้ว ก็ร่วมมือกันเผยแผ่เป็นอย่างดี มิฉะนั้นไม่มีทางมีองค์กรระดับใหญ่

    ส่วนในแนวทางที่แตกต่างกัน นั้น ก็ให้เกรียติซึ่งกันและกัน ไม่แตะต้องวิธีการภาวนา แต่ยังคงรักษา ความถูกต้อง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ไว้ให้เป็นมาตรฐาน ส่วนวิธีการก็แล้วแต่ กลอุบายวิธีการสอนของครูอาจารย์ ซึ่งผู้เรียน ก็ต้องมี จริต วาสนา เรียนธรรม รู้ตามธรรม นั้นด้วย

    ที่นี่ก็มีคำถาม โดยตรงมาสู่อาจารย์ว่า ทำไม พระสนธยา ธัมมะวังโส ไม่ไปเรียนกรรมฐาน ที่นั่น ที่นี่ ไปกราบครูอาจารย์ รูปนั้นเป็นศิษย์ ไปเคารพองค์นั้นองค์นี้ ( อันนี้เป็นเรื่องส่วนตัว ที่จริงไม่น่าถาม ) ตรงนี้ควรศึกษาประวัติ พระสนธยา ว่าไปเรียนกรรมฐานที่ไหน บ้าง นะจ๊ะ

    แล้วอย่างนี้แสดงว่า ครูอาจารย์ แต่ละรูป นั้นยังมีมานะทิฏฐิ กันอยู่ใช่หรือไม่ ?  ( ก็แล้วแต่ท่านทั้งหลายจะคิด กันนะส่วนนี้ ) ก็เพราะท่านทั้งหลาย ชอบเปรียบเทียบกันจึงทำให้จิตลำบาก



   
   
43  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สอุปาทิเสสบุคคล 9 ที่พ้นจาก อบาย เมื่อ: เมษายน 10, 2013, 08:39:04 am
  พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  นวกนิบาต  [๑.ปฐมปัณณาสก์]
              ๒.สีหนาทวรรค  ๒.สอุปาทิเสสสูตร หน้าที่ 456- 458 ฉบับจุฬา


   พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “สารีบุตร    อัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลาไม่เฉียบแหลมเป็นพวกไหน    และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส    หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสส๑ว่าเป็นอนุปาทิเสส
            สารีบุตร    บุคคล    ๙    จำพวกนี้    เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้

บุคคล    ๙    จำพวกไหนบ้าง    คือ

       ๑.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ  ๕    ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นอันตราปรินิพพายี    นี้เป็นบุคคลจำพวก ที่    ๑    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจากกำเนิด  สัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และ วินิบาตได้

       ๒.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิให้บริบูรณ์    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕    ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นอุปหัจจปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๓.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๔.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี    ฯลฯ

       ๕.    บุคคลบางคนในโลกนี้    ฯลฯ    จึงเป็นอุทธังโสตอกนิฏฐคามี    ฯลฯ


       ๖.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ  พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓ ประการสิ้นไป    และเพราะราคะ    โทสะ    และโมหะเบาบาง    เขาจึงเป็น สกทาคามี    มาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียว    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็น บุคคลจำพวกที่    ๖    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้ ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้

       ๗.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓  ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นเอกพีชี    เกิดเป็นมนุษย์อีกเพียงครั้งเดียว  ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคลจำพวกที่    ๗    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และ   วินิบาตได้

       ๘.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ  พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นโกลังโกละ    ท่องเที่ยวไปสู่ตระกูล    ๒    หรือ  ๓    ตระกูล    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคลจำพวกที่    ๘    ผู้เป็น สอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    ฯลฯ    พ้นจากอบาย    ทุคติ   และวินิบาตได้

       ๙.    บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีปกติทำศีลให้บริบูรณ์    มีปกติทำสมาธิ    พอประมาณ    มีปกติทำปัญญาพอประมาณ    เพราะสังโยชน์    ๓  ประการสิ้นไป    เขาจึงเป็นสัตตักขัตตุปรมะ    ท่องเที่ยวไปในเทวดา   และมนุษย์อย่างมาก    ๗    ครั้ง    ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้    นี้เป็นบุคคล  จำพวกที่    ๙    ผู้เป็นสอุปาทิเสส    เมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจาก  กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้
 
           สารีบุตร    พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชกผู้เขลา    ไม่เฉียบแหลม    เป็นพวกไหน    และพวกไหนจักรู้จักบุคคลผู้เป็นสอุปาทิเสสว่าเป็นสอุปาทิเสส    หรือจักรู้จักบุคคลผู้เป็นอนุปาทิเสสว่าเป็นอนุปาทิเสส    สารีบุตร    บุคคล    ๙    จำพวกนี้แล    เป็นสอุปาทิเสสเมื่อตายไป    ก็พ้นจากนรกได้    พ้นจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานได้    พ้นจากเปรตวิสัยได้พ้นจากอบาย    ทุคติ    และวินิบาตได้



44  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นิวรณ์ เป็น สิ่งสำคัญในการภาวนา ที่ต้องกำหนดรู้ให้ได้ เมื่อ: เมษายน 06, 2013, 10:25:36 am
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๙.  มหาสติปัฏฐานสูตร]  ธัมมานุปัสสนา
ธัมมานุปัสสนา
 (การพิจารณาธรรม)
หมวดนิวรณ์
        (๓๘๒)    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่    อย่างไร
      คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย คือ  นิวรณ์  ๕  อยู่
            ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย    คือ    นิวรณ์    ๕    อยู่    อย่างไร
     คือ    ภิกษุในธรรมวินัยนี้

      ๑.    เมื่อกามฉันทะ    (ความพอใจในกาม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘กามฉันทะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อกามฉันทะภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘กามฉันทะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นการละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้นและกามฉันทะที่ละได้แล้ว  จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด   ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๒.    เมื่อพยาบาท    (ความคิดร้าย)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘พยาบาทภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อพยาบาทภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘พยาบาทภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยัง  ไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละพยาบาทที่ เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ ได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๓.    เมื่อถีนมิทธะ    (ความหดหู่และเซื่องซึม)    ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า  ‘ถีนมิทธะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อถีนมิทธะภายในไม่มีอยู่ ก็รู้ชัดว่า    ‘ถีนมิทธะภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่ง  ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละ ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และ   ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัด เหตุนั้น


     ๔.    เมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ(ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ)ภายในมีอยู่    ก็รู้ชัดว่า ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะ ภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า    ‘อุทธัจจกุกกุจจะภายในของเราไม่มีอยู่’
การเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และอุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว    จะไม่เกิดขึ้น ต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น

      ๕.    เมื่อวิจิกิจฉา  (ความลังเลสงสัย)  ภายในมีอยู่  ก็รู้ชัดว่า    ‘วิจิกิจฉา  ภายในของเรามีอยู่’    หรือเมื่อวิจิกิจฉาภายในไม่มีอยู่    ก็รู้ชัดว่า‘วิจิกิจฉาภายในของเราไม่มีอยู่’    การเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดขึ้นมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    การละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้น แล้วมีได้ด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น    และวิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกด้วยเหตุใด    ก็รู้ชัดเหตุนั้น


            ด้วยวิธีนี้    ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายในอยู่    พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายภายนอกอยู่    หรือพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายทั้งภายในทั้งภายนอกอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุเกิดในธรรมทั้งหลายอยู่    พิจารณาเห็นธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่    หรือพิจารณาเห็นทั้งธรรมเป็นเหตุเกิดทั้งธรรมเป็นเหตุดับในธรรมทั้งหลายอยู่




    ท่านทั้งหลาย ที่พยายามบอกอาตมามาว่า เราควรสนใจเรื่อง ที่สูงกว่า นิวรณ์ เพราะเป็นธรรมที่สำคัญกว่า แต่ถ้าดูจากพระพุทธพจน์ พระสูตรทรงแสดงเรื่องการ เห็นธรรม ต้องผ่านเรื่อง นิวรณ์ ก่อน นะจ๊ะ


 
     ที่นี้มาพูดแสดง เรื่องการรู้
       การรู้ในที่นี้หมาย ถึง สัมปชัญญญะ ที่มีเหตุมาจาก สติ   การรู้ชัด ก้คือ มีสัมปชัญญะ เต็มตัวว่า รู้ชัดว่า

  1. มี หรือ ไม่ีมี นิวรณ์ ทั้งภายใน และ ภายนอก   ( กตญาณ )
  2. การเกิดขึ้น แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเกิด  ( กิจจญาณ )
  3. การเสื่อมไป แห่ง นิวรณ์ มีด้วยเหตุใด ก็กำหนดรู้ชัดว่า ด้วยเหตุนั้น นิวรณ์จึงเสื่อมไป  ( กิจจญาณ )
  4. กำหนดรู้ชัดว่า นิวรณ์ ไม่มีแล้ว ทั้งภายใน และ ภายนอก  ( สัจจญาณ )





 
     

45  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกขุอปริหานิยธรรม ในการเป็นอยู่ร่วมกัน เมื่อ: มีนาคม 30, 2013, 10:33:06 am
      พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๓.  มหาปรินิพพานสูตร]  เล่มที่ 10 หน้า 81 - 83
       
            ภิกขุอปริหานิยธรรม
            [๑๓๖]    เมื่อวัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์แคว้นมคธจากไปไม่นาน    พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสว่า    “อานนท์    เธอจงไปนิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉัน”
            ท่านพระอานนท์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    นิมนต์ภิกษุที่เข้ามาพักอยู่ในกรุงราชคฤห์ทุกรูปให้มาประชุมกันที่หอฉันแล้ว    เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่    ณ    ที่สมควร    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว    ขอพระผู้มีพระภาคจงกำหนดเวลาที่สมควรณ    บัดนี้เถิด    พระพุทธเจ้าข้า”

            ลำดับนั้น    พระผู้มีพระภาคทรงลุกจากพุทธอาสน์    เสด็จเข้าไปยังหอฉันประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เราจะแสดงอปริหานิยธรรม    ๗   ประการแก่เธอทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า
            “ภิกษุทั้งหลาย
             ๑.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังหมั่นประชุมกันเนืองนิตย์    ประชุมกันมากครั้ง
             ๒.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังพร้อมเพรียงกันประชุม    พร้อมเพรียงกันเลิก ประชุม    และพร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์จะพึงทำ
             ๓.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่บัญญัติสิ่งที่เรามิได้บัญญัติไว้    ไม่ล้มล้างสิ่ง ที่เราได้บัญญัติไว้แล้ว    ถือปฏิบัติมั่นตามสิกขาบทที่เราบัญญัติไว้แล้ว
            ๔.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว  ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยัง สักการะ    เคารพ  นับถือ  บูชาภิกษุผู้เป็นเถระ  เป็นรัตตัญญู  บวชมานาน เป็นสังฆบิดร  เป็นสังฆปริณายก  และสำคัญถ้อยคำของท่านเหล่านั้นว่าเป็นสิ่งควรรับฟัง
             ๕.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย   ตราบเท่าที่ภิกษุยังไม่ตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหาก่อให้เกิดภพใหม่ ที่เกิดขึ้นแล้ว
             ๖.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย  ตราบเท่าที่ภิกษุยังเป็นผู้มุ่งหวังเสนาสนะป่า

             ๗.    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลย ตราบเท่าที่ภิกษุยังตั้งสติไว้ในภายในว่า    ‘ทำอย่างไร    เพื่อน  พรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีลงามที่ยังไม่มา    พึงมา    ท่านที่มาแล้ว   พึงอยู่อย่างผาสุก’
           
           ภิกษุทั้งหลาย    ภิกษุพึงหวังได้แต่ความเจริญอย่างเดียว    ไม่มีความเสื่อมเลยตราบเท่าที่ภิกษุยังมีอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่    และใส่ใจอปริหานิยธรรมทั้ง    ๗    ประการนี้อยู่


 

      ส่วนใหญ่ เวลาพูดถึง  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ก็จะพูดกันและยกกันอยู่ในเรื่อง หมู่ คณะ ความเป็นอยู่ ร่วมกัน ของสงฆ์ ( คำว่า สงฆ์ หมายถ พระภิกษุตั้งแต่  4 รูป ขึ้นไป )

      ส่วนนี้เพียงยกไว้ให้ท่านทั้งหลาย เข้าใจกันก่อนว่า  ภิกขุอปริหานิยธรรม นั้นมีต้นเรื่องอย่างนี้ แต่ส่วนนี้จะไม่อธิบาย นะจ๊ะ เพราะว่ามีคำอธิบายมากแล้ว ในส่วนต้น แต่ต่อไป จะยก  ภิกขุอปริหานิยธรรม  ในส่วนภาคปฏิบัติบุคคล มาให้ท่านรู้จัก ในบทต่อไป

      วันนี้ลองทบทวนกันเรื่องนี้ดูก่อน


 
  ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.suwalaiporn.com


   สรุป เนื้อหา ก็คือ

      1. หมั่นประชุม  คือการพูดกันตกลงกัน ให้เกิดความเข้าใจ ให้บ่อยครั้ง
      2. เลิกประชุม พร้อมกัน ไม่หนีออกที่ประชุมกันก่อน
      3. ไม่บัญญัติ สิ่งทีพระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ และไม่ถอดสิ่งที่พระพุทธเจ้าบัญญัติ
      4. การให้ความเคารพ กับพระมหาเถระ พระเถระ พระสังฆปรินายก และฟังโอวาท ปฏิบัติตามโอวาท
      5. ไม่ทำสิ่งใดเพื่อ การย้อมใจด้วยตัณหา มีสักการะ สุข สรรเสริญ ยศ เป็นที่ตั้ง
      6. เป็นผู้สงัดด้วยเสนาสนะ พอใจเสนาสนะ ที่สงบ สงัด เพื่อ การภาวนา
      7. ตั้งสติ ไ้ว้ภายในใจว่า และปฏิบัติ สาธุด้วยการต้อนรับว่า  เราจักยินดีต้อนรับเพื่อนพรหมจรรย์ เมื่อมา ส่วนมาผู้อยู่แล้ว ก็ยินดีในการอยู่ร่วมกัน ตามธรรมและวินัย


     
 

 ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.komchadluek.net
 


   
46  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / แนะนำ facebook DhrammaPhuttho ( 25 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 12:06:30 pm


DhrammaPhuttho

http://www.facebook.com/DhrammaPhuttho


 เป็นอีก facebook หนึ่งที่มีสาระธรรม แนววัดป่าธรรมยุติ ( สายปู่มั่น )

 
47  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก ( สมาชิก ทีมมัชฌิมา แนะนำวันที่ 25 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 25, 2013, 11:55:44 am


ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก ( สมาชิก ทีมมัชฌิมา  แนะนำวันที่ 25 มี.ค.56 )

  สมาชิก อีกท่านที่มีผลงานในเว็บนี้ จำนวนมาก อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นผู้โพสต์ สนทนาแจกธรรมเป็นหลัก ที่หัวข้อส่งจิตออกนอก และอีกหลายห้อง ในฐานะ กัลยาณมิตร ที่มั่นคงในธรรมทาน

   โทร 089-823-6122  Call center มอบหมายให้ หลายท่านติดต่อผ่านเบอร์นี้ หากจะนิมนต์อาจารย์ไปบรรยายธรรม หรือ ขอหนังสือ ไฟล์เสียงต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่ไว้วางใจอีกท่านหนึ่ง ทีคอยช่วยเหลือสมาชิกด้วยดี ตลอดมา

   ซึ่งสำหรับ คุณณฐพลสรรค์ ( ปุ้ม ) นับว่าเป็นศิษย์ที่ติดตาม อาจารย์ไป มากกว่าใครในฆราวาสทั้งหมด ซึ่งในระหว่างที่ไปก็ได้เรียนกรรมฐาน เพิ่มเติมไปบ้าง ไม่มากก็น้อย ก็สามารถให้คำปรึกษา สมาชิกได้เช่นกัน

    st12
48  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก รายงานตัว ในเว็บ / ธรรมธวัช หรือ คุณธวัชชัย สุพันธ์สาย ( สมาชิกเว็บแนะนำ 24 มี.ค.56) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 05:11:00 pm

ธรรมธวัช หรือ คุณธวัชชัย สุพันธ์สาย ( สมาชิกเว็บแนะนำ )

 เป็นสมาชิก ทีมงานมัชฌิมา แบบลำดับ ที่มีการเอื้อเฟื้อ ส่งเสริมกันมาตั้งแต่ก่อนก่อตั้งเว็บนี้ และ เป็นผู้ที่นับถือกันชั้นต้น ๆ ของ พระสนธยา  ธัมมะวังโส

  กับการโพสต์ สาระ จากเนื้อเรื่อง ไปสู่คำกลอน และ กาพย์ โคลง

  เบอร์โทรติดต่อ 085-384-2945

 โดยอุปนิสัย เป็นคนเงียบ ๆ ชอบบุญกุศล นะ มีเชื้อชาวจีน ทางบิดา ดังนั้นโพสต์ก็มีเรื่องราวชาวจีน ปะปน ไปด้วยกัน นับว่าเป็นสมาชิก ที่ ควรแก่การเป็น กัลยาณมิตร

  หากใครทุกข์อก ทุกข์ใจ โทรไปคุยกับเขาเถอะ นะ รับฟังได้
 
 จริง หรือ ไม่จริง ก็ทดสอบกันเอาเอง นะจ๊ะ


 สำหรับ facebook

http://www.facebook.com/profile.php?id=100003462393323&ref=ts&fref=ts

  ยังไม่มีการอัพเดท ใดๆ นะจ๊ะ
 
 
49  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / mcu.hotnews ( สมาชิกแนะนำ 24 มี.ค.56 ) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:49:53 pm


Mcu Hotnews (มจร.นิวส์)

http://www.facebook.com/mcu.hotnews

50  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เปิดจอง หนังสือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏกตามแนวของสมเด็จสุกไก่เถื่อน เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:46:48 pm


 หนังสือสมถะวิปัสสนากรรมฐาน จากพระไตรปิฏกตามแนวของสมเด็จสุกไก่เถื่อน
เสร็จแล้ว ผู้ที่จองมารับได้ที่คณะ 5 วัดราชสิทธาราม โทร.084-651-7023


ข่าวสารภาพจาก http://www.facebook.com/phrakrusittisongvon

 st11 st12
51  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / พระธนเดช ปญฺญสโก ( สมาชิกแนะนำ 24 มี.ค. 56 ) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:36:53 pm

รูปภาพตอนขึ้นกรรมฐาน พระธนเดช ท่านก็ได้ไปขึ้นกรรมฐานใหญ่เป็นทางการที่ คณะ 5 วัดพลับ พร้อมสหธรรมิก หลายรูป และญาติโยมจากเชียงรายก็มาหลายท่านในตอนนั้น


พระธนเดช ปญฺญสโก


http://www.facebook.com/srikanet



 สำหรับพระธนเดช ตอนนี้ ท่านได้ไปอยู่จำพรรษาที่วัดราชสิทธาราม คณะ3 ในการรับฝากดูแลจากหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร ขณะนี้
52  เกี่ยวกับบุคคล / แนะนำสมาชิก จาก Facebook / nathaponson.phuakphasook ( สมาชิกแนะนำวันที่ 24 มี.ค. 56 ) เมื่อ: มีนาคม 24, 2013, 04:34:27 pm


Nathaponson Phuakphasook

( ว่าแต่ คนอยุธยา ทำไม ? ลงรูปย่าโม แสดงว่าตอนนี้เป็น คนโคราช เต็มตัวแล้ว )


http://www.facebook.com/nathaponson.phuakphasook?ref=ts&fref=ts

  ก็ผู้โพสต์ประจำเว็บ มัชฌิมา อีกคนที่แม้ไปเปิด Facebook แต่ก็ไม่ิทิ้งการแจกธรรมทาน ที่เว็บให้อ่านกัน นะ




53  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สุข ตามลำดับพระกรรมฐาน และ การสิ้นสุด แห่งสุข เมื่อ: มีนาคม 10, 2013, 10:54:45 am


วันนี้ จะมากล่าวเรื่อง สุข อันแต่กรรมฐาน ซึ่งมีชื่อ สุข ในกรรมฐาน เฉพาะ
 
  พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  เวรัญชกัณฑ์ ขอยกพระสูตรเดียว อันที่จริงมีหลายพระสูตรนะ

  อันนี้เรียกว่า สุขกรรมฐาน ( สุขสมาธิ )

  ความที่จิต ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่หลงลืม มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่าย มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ

  ปฐมฌาน ให้ สุขวิเวก
   เราสงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก วิจาร ปีติ  และ สุขอันเกิดจากวิเวกอยู่

  ทุติยฌาน ให้ สุขสมาธิเป็นจิตหนึ่งผุดขึ้น
  เพราะวิตก    วิจารสงบระงับไปแล้ว  เราบรรลุทุติยฌาน  มีความผ่องใสภายใน  มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตกไม่มีวิจาร  มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิเท่านั้นอยู่

  ตติยฌาน ให้ สุขด้วยนามกายเป็นผล
  เพราะปีติจางคลายไปแล้ว เรามีอุเบกขา  มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย  ได้บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า  ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข

  จตุตถฌาน  ละสุขละทุกข์ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไป มาถึงตรงนี้ ไม่มีสุข
  เพราะละสุขและทุกข์ได้แล้ว    เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้ว    เราได้บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์    ไม่มีสุข    มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่”

  นิพพานัง ปะระมัง สุขัง  และนี้เป็นยอดแห่งบรมสุข เพราะไม่ใช่สุข ที่เกิดจากเวทนา แต่เป็นสุขที่ดับสัญญา และ อวิชชาเสียได้
 
 “เมื่อจิตเป็นสมาธิ    บริสุทธิ์ผุดผ่อง    ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน    ปราศจากความเศร้าหมอง    อ่อน    เหมาะแก่การใช้งาน    ตั้งมั่น    ไม่หวั่นไหวอย่างนี้    เรานั้นได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ    ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    นี้ทุกข์    นี้ทุกขสมุทัยนี้ทุกขนิโรธ    นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา    นี้อาสวะ    นี้อาสวสมุทัย    นี้อาสวนิโรธ    นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา    เมื่อเรารู้เห็นอยู่อย่างนี้    จิตได้หลุดพ้นจากกามาสวะภวาสวะ    อวิชชาสวะ    เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว    ก็รู้ว่า    หลุดพ้นแล้ว    รู้ชัดว่า    ชาติสิ้นแล้วอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว๑    ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว    ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป
            พราหมณ์    เราได้บรรลุวิชชาที่    ๓    ในยามที่    ๓    แห่งราตรี    ความมืดมิดคือ
อวิชชาเรากำจัดได้แล้ว    แสงสว่างคือวิชชาได้เกิดขึ้นแก่เรา    เปรียบเหมือนแสงสว่าง
เกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท    มีความเพียร    อุทิศกายและใจ

 


   
54  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมจักษุ จาก สาวกองค์ที่ 1 และ พระดำรัสรับรองพระสาวกครั้งแรก เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:27:44 pm
      พระวินัยปิฎก  มหาวรรค  [๑.มหาขันธกะ]
                    ๖.ปัญจวัคคิยกถา

 เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณ์นี้ อยู่    ธรรมจักษุ  อันปราศจากธุลีปราศ
จากมลทินได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า

      “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
สิ่งนั้นทั้งปวง    มีความดับไปเป็นธรรมดา”



เวยยากรณ์  ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา  ประกอบด้วยคำถามคำตอบ  (สารตฺถ.ฏีกา  ๓/๑๖/๒๒๐)

ธรรมจักษุ  แปลว่า  ดวงตาเห็นธรรม  คือ  โสดาปัตติมรรคญาณ  (วิ.อ.  ๓/๕๖/๒๗)


บุพกรรมในอดีตชาติ

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.komcome.com

พระอัญญาโกณฑัญญะตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งพระพุทธเจ้าปทุมุตตระ ครั้งนั้นท่านเกิดเป็นบุตรคหบดีมหาศาลชาวหงสวดี วันหนึ่งเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพร้อมกับพวกชาวเมืองเพื่อฟังธรรม เห็นพระพุทธเจ้าทรงตั้งพระสาวกรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู (แปลว่า ผู้รู้ราตรีนาน หมายถึงได้บวชก่อนใครได้รู้ได้ฟังมาก) แล้วเกิดศรัทธาปรารถนาจะได้เป็นเช่นพระสาวกรูปนั้นบ้าง ท่านแสดงศรัทธาให้ปรากฏด้วยการถวายมหาทานแด่พระพุทธเจ้าและพระสาวกติดต่อกัน 7 วัน วันสุดท้ายได้สั่งให้เปิดเรือนคลังเก็บผ้า นำผ้าเนื้อดีเลิศมาวางถวายไว้แทบยุคลบาทของพระพุทธเจ้าและถวายพระสาวกแล้วกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอให้ข้าพระองค์ได้เป็นเหมือนภิกษุรูปที่พระองค์ทรงแต่งตั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเมื่อ 7 วันก่อนจากนี้ด้วยเถิด นั่นคือขอให้ได้บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วได้รู้แจ้งธรรมก่อนใครหมด” พระพุทธเจ้าทรงตรวจดูความเป็นไปในอนาคตของท่านด้วยพระญาณแล้ว ทรงเห็นว่าความปรารถนาของท่านสำเร็จได้แน่จึงทรงพยากรณ์ว่า
   

    ในอีก 100,000 กับข้างหน้า พระพุทธเจ้าโคดมจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก เธอจักได้ออกบวชเป็นสาวกของพระองค์ จักได้รู้แจ้งธรรมก่อนใคร และจักได้รับตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.bloggang.com
   

ท่านได้ฟังพระพุทธเจ้าตรัสพยากรณ์แล้วเกิดปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง ได้ทำบุญอื่น ๆ สนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว ได้เป็นกำลังสำคัญในการสร้างกำแพง แก้วล้อมพระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ ครั้นถึงวันประดิษฐานพระเจดีย์ ก็ได้สร้างเรือนแก้วไว้ภายในพระเจดีย์อีก จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภพภูมิต่าง ๆ จนมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าวิปัสสี

ชาติที่พบพระพุทธเจ้าวิปัสสีนั้น ท่านเกิดเป็นบุตรของกฎุมพีชาวเมืองพันธุมดี มีชื่อว่า “ มหากาล” มหากาลมีน้องชายชื่อ “ จูฬกาล” (ในชาติสุดท้ายคือสุภัททะปริพาชก) ทั้ง 2 มีอุปนิสัยแตกต่างกัน กล่าวคือ มหากาลเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าวิปัสสี แต่จูฬกาลกลับไม่เลื่อมใส ดังนั้น ทั้ง 2 จึงมีความเห็นขัดแย้งอยู่ตลอดเวลาเกี่ยวกับการทำบุญ




มหากาลได้แบ่งนาออกเป็น 2 ส่วน โดยให้ส่วนหนึ่งเป็นสมบัติของตน และอีกส่วนหนึ่งนั้นเป็นสมบัติของจูฬกาล แล้วได้นำเอาผลิตผลที่เกิดจากนาส่วนของตนนั้นมาทำบุญ จนจวบสิ้นอายุขัย จากชาตินั้น บุญส่งผลให้เวียนว่ายตายเกิดในภูมิต่าง ๆ
การได้รับการยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะฝ่ายรัตตัญญู-ผู้รู้ราตรีนาน



เมื่อมาถึงพุทธุปบาทกาลของพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันท่านมาเกิดเป็น บุตรพราหมณ์มหาศาลในหมู่บ้านพราหมณ์โทณวัตถุ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมืองกบิลพัสดุ์ ครั้นออกบวชก็ได้บรรลุอรหัตผล อาศัยเหตุที่ตั้งจิตปรารถนามาแต่อดีตชาติประกอบกับเหตุการณ์ในปัจจุบันชาติ ที่ได้รู้แจ้งธรรมและบวชในพระพุทธศาสนาก่อนใคร พระพุทธเจ้าจึงทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้านรัตตัญญู ดังกล่าวมาแล้ว ฝ่ายพระปัญจวัคคีย์ที่เหลือ คือ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะและพระอัสสชิ ซึ่งมีอดีตชาติร่วมกับพระอัญญาโกณฑัญญะ ตรงที่ตั้งจิตปรารถนาให้ได้ฟังพระพุทธเจ้าแสดงธรรมก่อนใคร และปรารถนาจะบรรลุอรหัตผลพร้อมกัน ก็ได้สิ่งที่ปรารถนาไว้คือ ได้ฟังพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมก่อนใครและได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมกันในที่สุด

เื้นื้อหาจาก วิกิพีเดีย th.wikipedia.org/wiki/พระอัญญาโกณฑัญญเถระ



55  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ไ่ม่นำธรรม ของพระพระพุทธเจ้า ย่ำยี เพราะเกียรติ และ ยศ และ ลาภ สรรเสริญ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 06:10:20 pm


            พระวินัยปิฎก  มหาวิภังค์  [๗.เสขิยกัณฑ์]
                 ๗.ปาทุกาวรรค  สิกขาบทที่  ๙

    ครั้งนั้น  มีต้นมะม่วงของหลวงให้ผลทุกฤดูอยู่ต้นหนึ่ง   

          ภิกษุทั้งหลาย
       ครั้นแล้วบุรุษจัณฑาลจึงไปถึงที่ต้นมะม่วง    ครั้นถึงแล้วได้ขึ้นไปแฝงกายอยู่บนต้น    พอดีพระราชาเสด็จไปถึงที่ต้นมะม่วงพร้อมกับพราหมณ์ปุโรหิต    ครั้นถึงแล้วจึงประทับนั่งบนอาสนะแล้วทรงเรียนมนต์
 
            ภิกษุทั้งหลาย    ทีนั้น    บุรุษจัณฑาลได้มีความคิดดังนี้ว่า
            ‘พระราชาองค์นี้ประทับนั่งบนอาสนะสูงเรียนมนต์  ชื่อว่ามิใช่พระราชาผู้ทรงธรรม พราหมณ์คนนี้ที่นั่งบนอาสนะตํ่าสอนมนต์แก่ผู้นั่งบนอาสนะสูง  ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม และเราผู้ที่ลักมะม่วงของหลวงเพราะภรรยาเป็นเหตุ  ก็ชื่อว่ามิใช่ผู้ประพฤติธรรม แท้จริงการกระทำดังนี้ล้วนตํ่าทราม’   
           จึงไต่ลงมา    ณ    ที่นั้นกล่าวว่า
 
              ‘คนทั้ง    ๒    คือ    พราหมณ์ผู้สอนมนต์ และพระราชาผู้ทรงเรียนมนต์โดยไม่เคารพธรรม ย่อมไม่รู้อรรถและไม่เห็นธรรม

            พราหมณ์กล่าวว่า
            ‘เพราะเรากินข้าวสาลีผสมแกงเนื้อที่สะอาด    ฉะนั้น จึงไม่ประพฤติธรรมที่พระอริยเจ้าสรรเสริญ’
 
           บุรุษจัณฑาลกล่าวว่า
           ‘เราตำหนิการได้ทรัพย์และการได้เกียรติยศเพราะ พฤติกรรมเช่นนั้น
 นั่นเป็นวิถีชีวิตอันเป็นเหตุให้ตกตํ่า และเป็นการครองชีพโดยมิชอบ การครองชีพอย่างนั้นไม่มีประโยชน์ท่านมหาพราหมณ์    ท่านรีบไปเสียเถิดแม้คนเหล่าอื่นก็ยังรู้จักหุงหากินได้ ความอาธรรม์ที่ท่านประพฤติอย่าได้ทำลายท่าน เหมือนหม้อนํ้าแตก’๑





56  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรมะสัญจร อุทยาน ธรรม วัดม่วง 26 ก.พ. 56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 27, 2013, 11:39:21 am


ออกเดินทาง จากวัดต้นสน เยือนวัดม่วง นึกว่าอยู่ไกล ทีแท้ห่างจาดวัดต้นสน 21 กม. เท่านั้น


อำนาจบุญ ที่เจ้าภาพเสียสละทรัพย์มาอาจารย์ได้ไปซื้อผ้าอังสะ สองตัว กับโคมไฟอ่านหนังสือ ที่เป็นระบบชาจ์ท ทั้งหมดนี้ 800 กว่าบาท เจ้าภาพต้องยกให้ คุณพิชชา จันทะหาร


มาถึงตรงจุดนี้ห่างจากวัดสักประมาณ 4 กม.มองเห็นหลวงพ่อวัดม่วง สง่างามมาก ลองสังเกตดูนะว่าอยู่ตรงไหนของภาพ เนื่องด้วยถ่ายตอนเที่ยงแดดจ้า มาก


ทางเข้า วัดม่วงเด่นชัดเจนมาก


ก็ยิ่งมองเห็นหลวงพ่อชัดเจน เด่นสง่า มากยิ่งขึ้น


หนทางเข้าวัด เข้าได้สองเส้นทาง ได้ทั้งฝั่งคลองด้านซ้าย และด้านขวา


มีคลองชลประทานคั่น ถนนอยู่ จากปากทางเข้ามา น่าจะประมาณ 2 กม.


ตรงหน้าวัด จะมีสะพาน ข้ามคลอง อยู่จึงไม่ต้องห่วงว่า จะกลับรถไกล นะ นับว่าสะดวก

57  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / 26 ก.พ. 56 ไปวัดต้นสน จ.อ่างทอง งานอบรมบาลี ( ไปเยี่ยมนะ ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2013, 08:02:04 pm


เดินทางไป 7.30 น. โดย สารถี คือ ณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก


ใช้เส้นทาง โตนด ต้นตาล ปากบาง บ้านยาง ท่าลาน ท่าเรือ ดอนพุด อ่างทอง


08.30 น. ก็ถึงที่วัดต้นสน

 เปิดอบรมบาลีก่อนสอบ ๒๕๕๖

            ด้วยเจ้าคณะพระสังฆาธิการในเขตปกครองคณะสงฆ์  ภาค  ๒  ได้มีมติเป็นสมานฉันท์ให้จัดโครงการอบรมบาลีก่อนสอบ ภาค ๒  ปีที่ ๑๕ ประจำปี  ๒๕๕๖   ตั้งแต่ชั้นประโยค ๑ - ๒  ถึง  ประโยค ป.ธ. ๕  ระหว่างวันที่  ๑๘ กุมภาพันธ์ - ๓ มีนาคม  ๒๕๕๖ รวมเวลา  ๑๕ วัน  ณ  วัดต้นสน   อำเภอเมืองอ่างทอง  จังหวัดอ่างทอง

            ดังนั้น เพื่อให้โครงการอบรมบาลีก่อนสอบครั้งนี้ ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและบรรลุตามวัตถุประสงค์  โปรดแจ้งให้เจ้าคณะพระสังฆาธิการ คณะกรรมการทุกรูปในเขตปกครองทราบ และแจ้งให้เจ้าสำนักศาสนศึกษาในเขตปกครองแจ้งนักเรียนในสังกัด ตั้งแต่ชั้นประโยค ๑ - ๒ ถึง ประโยค ป.ธ. ๕ เข้ารับการอบรมบาลีก่อนสอบ ภาค ๒ ปีที่ ๑๕ ระหว่างวันที่  ๑๘ กุมภาพันธ์ - ๓ มีนาคม ๒๕๕๖ ณ วัดต้นสน  จังหวัดอ่างทอง และขอให้ส่งนักเรียนที่จะเข้ารับการอบรมบาลีไปยังสนามอบรม ในวันจันทร์ที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป เพื่อลงทะเบียนเข้าสถานที่พักและเข้าร่วมปฐมนิเทศ  และและขออาราธนาท่านเข้าร่วมปฐมนิเทศพิธีเปิดการอบรมบาลีก่อนสอบ ในวันจันทร์ที่ ๑๘ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๖  เวลา ๐๙.๐๐ น. ตามกำหนดการที่แนบมาพร้อมกันนี้


พระประธานหน้าวัด ยังเห็นเด่นชัดแต่ไกล


 ผู้คนที่มาช่วย กันจัดการอำนวยความสะดวก ให้กับพระสงฆ์ สามเณร มีเวลาอบรมอย่างไม่มีปลิโพธิ


 ด้านในสุุด ที่จอดรถ กว้างขวาง




สถานที่ในวัดในช่วงนี้ถูกใช้ประโยชน์ เป็นที่อบรมพระภิกษุสามเณร ชั้น ปธ.ต่าง ๆ


58  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / พระธาตุบังพวน ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่ได้ไป นะ ที่นี่ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2013, 09:38:46 am

ปิดทริป ธรรมะสัญจร อิสาณ เรื่องสุดท้าย นะ กับความบังเอิญ ที่ไม่บังเิอิญ กับการได้ไปกราบนมัสการพระธาตุบังพวน


  พระธาตุบังพวน ตั้งแต่เราเหยียบย่างเข้าสู่ หนองคาย จนกระทั่งไป อุดรธานี ไม่มีใครแนะนำให้ไป และไม่มีข้อมูลให้เราสนใจ แต่หลังจากได้เดินทางผ่านไป 3 วัน ในคืนที่ 3 ก็ นิมิต ฝันเห็นเจดีย์ สีเหลืองอ่อน และนิมิตเห็นคน ถูกขื่อคาถูกกักขังอยู่ในคุก จำนวน 2 คน ผอม และ อ้วน คนทั้งสองได้บอกว่าถ้าเราได้ไปถึงเจดีย์สีเหลืองนี้ จะทำให้เขาหลุดจากขื่อคาได้ ตื่นมาก็ไม่ได้คิดอะไร เพราะไม่รู้จัก และไม่รู้จะไปยังไง ทำอย่างไร


ในค่ำคืนที่ 4 ก็ นิมิตแบบเดิมอีกครั้งหนึ่ง แต่คราวนี้ได้รับคำแนะนำ จากหลวงตารูปหนึ่งท่านกล่าวว่า ถ้าไม่รู้ว่าเป็นที่ไหน ก็ให้อธิษฐานไว้ในใจ ให้เทวดาพาไป ก็ได้เดี๋ยวก็ได้ไปเอง ครั้นพอตื่นมา ทบทวนแล้วก็ได้ทำการอธิษฐานว่า ถ้าเรามีบุญวาสนากับ เจดีย์พระธาตุนี้ขอให้มีคนพาไป ก่อนที่จะกลับ ด้วยเถิด


เหมือนคำอธิษฐาน จะสัมฤทธิผล และแล้วในวันเดินทางกลับ หลังจากที่โยมได้พาไปดูวัดโคกเจริญเสร็จแล้ว แทนที่จะพากลับเส้นททางเก่าซึ่งมีระยะทางใกล้กว่า โยมกลับพามาอีกทาง โดยมีเหตุหลวงพ่อชาลีท่านคิดถึงอุปํฏฐากท่าน ก็เลยให้คนขับรถขับไปหาอุปัฏฐากท่าน แต่ครั้นใกล้่จะถึงนั้น เราได้เห็นละมองออกไปด้านหน้าเห็นเจดีย์เหลืองอร่ามอย่างในนิมิต ขึ้นมาจึงบอกให้คนขับแวะทันที จึงได้เข้ามาถึง วัดพระธาตุบังพวน



ตอนที่ลงจากรถ ก็มีภาพปรากฏขึ้นมาในใจ อย่างรวดเร็ว เหมือนหนังเรื่องหนึ่งไวมากเพียง 3 นาทีก็เห็นภาพซ้อนภาพในสถานทีี่นี้ เหมือนคนตาลายเห็นภาพลวงตา แต่เรื่องอย่างนี้ไม่ใ่ช่เป็นเรื่องแปลก เพราะเป็นมานานแล้วหลายปี ที่เป็นอย่างนี้ จึงไม่ได้นำมาคิดปรุงแต่ง เพียงแต่สักว่าเห็น ว่ารู้เท่านั้น จึงได้เดินเข้าไปที่องค์พระธาตุเพื่อกราบนมัสการตามที่ ได้อธิษฐานไว้


หลังจากได้กราบแล้ว ก็ได้ทำการประทักษิณ รอบองค์พระธาตุ แล้วถ่ายภาพเก็บมาฝากท่านทั้งหลาย แต่รอบนี้ลำบากเรื่องเก็บภาพเพราะแบตเตอรีี หมด ต้องปิดเปิดกล้องพักเป็นช่วง ๆ จึงเก็บภาพเหล่านี้มาได้ ตามอัตภาพ ดังนั้นภาพชุดนี้ จึงมีจำนวนน้อย



เมื่อยืนและมอง บรรยากาศในบริเวณวัดพระธาตุบังพวน ทำให้นึกถึง เมือง อโยธยา ทันทีเพราะมีลักษณะก่อสร้างคล้ายคลึงกัน อยู่หลายส่วนและ สภาพเมืองเก่า ที่มีการอนุรักษ์ ใ้ห้เห็นสภาพเป็นบางส่วน นั้นมองเห็นเด่นชัด



หลังจากได้เดินออกจากองค์รั้ว องค์พระธาตุแล้ว พอเราก้าวเท้าแรก ออกมายืนหันกลับไปมององค์พระธาตุอีกครั้ง เพื่อจะถ่ายภพา พลันนั้น ระฆังใบเล็กที่อยู่บนยอดพระธาตุ ใบหนี่ง ก็มีการกวัดแกว่ง เป็นสัญญาณ เหมือนระฆังทำวัตร ซึ่งเราก็ยืนมองกันสององค์ เพราะไม่มีลมเลยแต่ระฆังก็กวัดแกว่ง เหมือนมีใครโยกอยู่ ทั้งที่ถ้ามีลมก็ควรจะดังทั้งหมด 4 ใบ นี่กลับมีการกวัดแกว่ง อยู่เพียงใบเดียว แถมเป็น ใบกลางด้วย จึงหันไปบอก ท่านนิพนธ์ว่า เทวดาเขาอนุโมทนา ที่เรามากราบนมัสการพระธาตุ ท่าน นิพนธ์ตอบว่า ผมนึกแล้ว เพราะดูผิดธรรมชาติ ระฆังใบนั้นดังครบรอบเหมือน พระที่ทำวัตรไม่มีผิดเลย เริ่มด้วย 1 รัว 3 ชุด 3 ลา จริงๆ


ตอนที่ไปถึงวัดพระธาตุบังพวนก็เป็นเวลา  15.45 น. แล้วนะ ดังนั้นแดดที่ส่องด้านนี้จึงเป็นที่บอกทิศได้ อย่างดี
59  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมสัญจร 2556 วัดป่าภูก้อน อุดรธานี 11 ก.พ.56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2013, 10:01:39 am



วันนี้ศึกษาแผนที่ จะไปวัดป่าภูก้อน ที่อยู่ อ. นายูง ใน ขณะที่ เราอยู่ อ.บ้านฝือ ระยะทางประมาณ ไปกลับ 140 กม. ในวันนี้


 ถึงวัดป่าภูก้อน ในเวลา 14.00 น. ออกเดินทาง 12.00 น. เล็กน้อย ใช้เวลาเดินทางขับรถไปเรื่อย ๆ ก็ประมาณนี้ นะเพราะถนนแคบ และมีโค้งมาก โดยเฉพาะช่วงที่จะถึงวัด ตรงสะพาน หักศอกเลยที่สะพานนี้ใครมาเร็วร่วงแน่ ถ้าไม่มาช้า ๆ เพราะมาเร็วก็ต้องลดความเร็วให้ได้ สะพานนี้อยู่ก่อนถึงวัด 6 กม. โดยประมาณ


ตรงจุดจอดรถวิหารพุทธไสยาสน์ มีร้าน ฉายากาแฟสด แต่ อยู่ตรงหน้าห้องน้ำ มีบริการอาหาร ซึ่งเป็นของทางวัดจำหน่ายนะ


มองออกไปจากร้านค้า ก็จะเป็นวิหาร และทางเดินขึ้นสู่ วิหาร


ทางเดินขึ้นวิหาร จะมีสิงห์โต อยู่สองตัว


ตัวนี้อยู่ด้านซ้ายมือตอนขึ้น สลักคำว่า ขอจงรัก


ส่วนตัวด้านขวา สลักคำว่า ภักดี   อันที่จริงนี้เป็นวัดธรรมยุต ใน ราชาอุปถัมภ์ ด้วยนะ


เดินขึ้นมาถึงด้านบนก็จะเห็น วิหารด้านหน้า ใหญ่มาก
60  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ไปวนอุทยานรอยพระพุทธบาทบ่อบก ต่อ ตอนที่ 2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2013, 09:29:31 am

จำเป็นต้องต่อตอนสอง นะ เพราะว่าภาพมีมาก และ ใส่ไว้ในกระทู้เดียวทำให้เกิด ปัญหาการโหลดนาน สำหรับคนที่ใช้ GPRS นะ


ป่าที่ภูแห่งนี้ ส่วนใหญ่ ต้นไม้ที่ขึั้น นี้จะเป็นต้น โกงกาง นะ เพราะจะสามารถใช้ชีิวิตบนหินทราบได้ ร่มเงาที่เห็นว่าน้อย ๆ เล็ก ๆ นี้ก็ยังช่วยให้ ภูแห่งนี้ไม่ร้อนจนเกินไป


อย่างน้อยก็ช่วยทำให้ภูนี้ ร้อนจนเกินไป ถึงแม้จะไม่ใช่พืชที่ใหญ่ โตเป็นร่มใบสูง อันที่จริงอยากให้มองเข้าไปในธรรมะด้วย ว่าคนเราบางครั้งไปอยู่ที่ ลำบากแต่ก็สามารถทำให้ ที่ลำบากเป็นที่ร่มเย็นได้ ก็เพราะว่า ทุกคนมีพื้นฐานคือ ศีล บาปก้อนใหญ่ ก็สามารถบรรเทาลงได้ ด้วยบุญที่ทำน้อย ๆ แต่ทำบ่อย ๆ ได้ฉันใด ประมาณนี้


หมุดบอกเส้นทาง สำหรับคนที่หลงถ้าเดินหลง แล้วให้เดินไปตามลูกศร ดังนั้นการปฏิบัติภาวนาก็เช่นกัน เมื่อเราสับสนอลหม่านในจิตปฏิบัติรวมลงไม่ได้แล้ว ก็อย่าลืมพื้นฐาน คือ ครูอาจารย์กัลยาณมิตร เป็นบุคคลแรกที่จะช่วยเราได้ ให้ความกระจ่างและบรรเทาความสับสนลงได้


ดังนั้นคนนำทาง จึงมีหน้าที่สำคัญ ถ้าคนนำทางไม่มีความรู้ และไม่เข้าใจอะไรเลย ก็ย่อมนำทางเราไปหลงด้วยกัน ดังนั้นกัลยาณมิตร ก็คือผู้ร่วมทางที่สำคัญ สำหรับผู้ภาวนาเป็นอย่างมาก


มาถึงบ่อนางอุสา แห่งนี้ วิจิกิจฉา ( ความสงสัยก็เกิด ขึ้นมาว่า ) บ่อนางอุสานี้
   1.มีความลึกเท่าใด
   2.เขาใช้อุปกรณ์อะไรในการขุดหินทราบในสมัย 1000 กว่าปี
   3.แล้วน้ำจะมาจากไหน ถึงขุดไว้ จะมีน้ำได้อย่างไร


   ตอบคำถามที่ 1 ว่ามีความลึกเท่าใด ก็คือ  5 เมตร  บ่อนี้ไม่ได้เกิดโดยธรรมชาติ มีการขุดลงไป เป็นรูป 4 หลี่ยม ความลึกจากปากบ่อถึงก้นบ่อนั้นมีความลึก 5 เมตร พอดี
   

  ตอบคำถามที่ 2 คือ สมัยก่อนสันนิษฐาน ยังเป็นดินทรายอ่อน ๆ เหมือน ดินศิลาแลง ที่ขุดลงไป เป็นทรายที่กำลังจับตัว การขุดทำใช้เพียงมีด บาง ๆ ก็สามารถทำให้ขึ้นรูปได้ ดูจากปากบ่อ มีการปั้นดิน และ ที่พื้นรอบบ่อ มีรอยเท้าอยู่ด้วยแสดงให้เห็นว่า ดินตอนนั้นเป็นดินอ่อน มิได้เป็นหินทรายอย่างปัจจุบันผ่านระยะเวลาเป็นพันปีมาจึงเปลี่ยนเป็นหิน


   ตอบคำถามที่ 3 น้ำมาจากฟ้า เท่านั้นไม่มีจากที่ไหนเลย คาดว่าสมัยก่อน น่าจะมีการทำรางน้ำฝนลงบ่อ ปัจจุบัน ในบ่อที่เห็นน้ำเขียว ๆ นั้นก็เป็นน้ำจากฟ้า โดยมิได้ทำรางรับน้ำคือ สะสมน้ำจากฟ้าอย่างเดียว

61  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ไปอุทยาน รอยพระพุทธบาทบ่อบก และ หอนางอุสา 11 ก.พ. 56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2013, 09:46:05 am


จากความตั้งใจที่จะไป ภูท่อก ก็ต้องเปลี่ยน และจะไป เชียงคาน ก็ต้องเปลี่ยนอีก เนื่องด้วยเวลาที่ไปมีไม่พอ กับการเดินทางที่ ต้องใช้เวลามาก สถานที่ เราไปอยู่เป็นอำเภอเล็ก ๆ การคมนาคมไม่สะดวกเลย ถ้าต้องนั่งรถโดยสารกัเป็นทอด ๆ วันนี้ สหธรรม แนะนำ สารถี และ สถานที่ใกล้เคียงที่พักให้ จึงเริ่มออกเดินทาง 10.00 น. กว่า ๆ มุ่งสู้ อุทยานประวัติศาสตร์ รอยพระพุทธบาท บ่อบก


เส้นทางครั้งนี้ไม่มีรถประจำทาง จึงต้องให้ท่านพระมหาวิทยา ติดต่อโยมที่รู้จักกัน ว่าจ้างกันด้วยราคาพิเศษเติมน้ำมัน พอให้ได้ไป กลับ เท่านั้นกับระยะทางไปกลับ 150 กม.



สำหรับสารถี ก็เป็นศิษย์วัดหลวงปู่นาค สังเกตที่หน้ารถ จะมีหลวงปู่นาคตั้งอยู่ นะ แต่ วันนี้รถ ไม่มีแอร์ต้องเปิดกระจกรถเดินทาง อากาศพอสบาย ๆ แต่ไปตอนใกล้เที่ยงดูแดดแล้ว เลยขอร่มไปด้วย


ลานจอดรถ วัดพระพุทธบาทบ่อบก เงียบสงบ บรรยากาศโดยรวมเมื่อมองออกไป ทำให้นึกถึงผาแต้ม ทันทีเพราะที่นี่มีหินเรียงราย เป็นก้อนๆ สูงต่ำ เป็นเวิ้ง เป็นเพิง เป็นถ้ำ มากมาย ๆ จริง ๆ  เป็นการจัดวางของธรรมชาติที่สวยงามมาก ๆ


เดินขึ้นไปประมาณ 150 เมตร ก็จะถึงเจดีย์ ที่ประดิษฐาน รอยพระพุทธบาทบ่อบก ดั่งที่เห็นในภาพอยู่ภายในเจดีย์ นะ


ภายในเจดีย์ไม่ได้มีพื้นที่มากนัก เพราะดูจากความกว้าง น่าจะประมาณ 2.5 x 2.5 เมตร เท่านั้นดังนั้นจึงเข้าไปจำนวนหลายคนไม่ได้ ในนี้มีภาพเขียนเก่าแก่ให้ชมหนึ่งภาพ


เจดีย์ด้านนอก รักษาสภาพเก่าแก่ไว้ จึงไม่มีการทาสี หรือ ตกแต่งเพียงแต่ทางวัด พยายามรักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุด


ด้านหน้า เจดีย์พระพุทธบาท ก็จะมีวิหารใหม่ สีสดใส คือวิหารพระนาคปรก


62  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมะสัญจร จาริกอิสาณ วัดโพธิ์ชัยศรี อุดรธานี 10 ก.พ. 56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2013, 08:40:58 am


ใบตองที่ชาวบ้านพัฒนา ตกแต่ง จนเป็นรูปพญานาค นาน ๆ จะได้เห็นการประดิษฐ์ใบตองแบบนี้


เก็บภาพมาฝากทุกท่าน ว่าชาวอิสาณนั้น ถ้าติดลุ่มน้ำโขงนั้น เคารพพญานาค มาก ๆ นะ


บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ในหมู่บ้าน กล่าวว่าเป็นบ่อน้ำที่ใช้น้ำได้ทั้งหมู่บ้าน อย่างไม่มีหมด ในรูปวัดได้ต่อท่อน้ำและส่งน้ำไปใช้ทั้งวัด น้ำใสสะอาดไม่มีกลิ่น และมีคุณภาพในการอุปโภค ดีมาก


จากป้ายมีเรื่องราวของบ่อน้ำนี้ ใครต้องการอ่านรายละเอียด ก็เชิญที่ลิงก์นี้
เกี่ยวกับบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ วัดโพธิ์ชัยศรี
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10092.msg37769#msg37769



ภายในศาลาเก่านี้ ทุกเช้า  ชาวบ้านก็จะนำอาหารมาถวายพระและก็จะมีพิธิถวายอย่างนี้ทุกวัน พระจะใช้ฉันในบาตร และจะได้ฉันจริงประมาณ 9.20 น. ขึ้นไป ดังนั้นที่วัด พระจึงฉันมื้อเดียว เป็นหลัก


ก็เป็นอาคันตุกะ ก็เข้าร่วมในพิธี ถวายทาน ทั้ง 3 วันนะ ก็ต้องฉันเหมือนกันนี่ ทางพระมหาวิทยาให้ พระยอด เตรียมบาตรไว้ให้ ก็ได้ฉันทุกวัน อาหารก็ภาคอิสาณ ข้าวเหนียว ยำขนุน น้ำพริก ไส้กรอก ไข่ทอด ปลาทอด เห็ดต้ม ประมาณนี้


ส่วนด้านนอก สำหรับผู้ที่มาในงานบุญ 10 วันนี้ ก็มีโรงทานมาทำบุญ แจกทานกันตั้งแต่เช้า จน ยัน 16.00 น. โดยประมาณ เห็นแจกกันทั้งวัน ที่ได้ยินก็มี ส้มตำระเบิด ( แปลกดี ) เป็นต้น


 น้ำหวาน น้ำอัดลม ไอติม ก๋วยเตี่ยว ลูกชิ้นทอด ก็เป็นอาหารที่ทำได้จำนวนมากและแจกได้มาก ๆ นั่นแหละ มีโรงทาน อย่างนี้เป็น 10 กว่าโรง เรียงรายไปตามภาพ


63  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / การเิดินทาง นอกความตั้งใจ กับการไปตามการชี้นำของครูอาจารย์ วันที่ 9 ก.พ.56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:50:02 am


การเิดินทาง นอกความตั้งใจ กับการไปตามการชี้นำของครูอาจารย์ วันที่ 9 ก.พ.56 เหตุที่ขึ้นหัวข้อนี้ เพราะวันนี้เราเปลี่ยนวิถีการเดินทาง ด้วยการไปตามการจัดสรรค์ ของครูอาจารย์ เดิมทีตั้งใจจะไป ภูท่อก ได้เริ่มออกเดินทาง 05.30 น. ออกมาคอยรถเพื่อที่จะไป ภูท่อก ( บิึงกาฬ ) แต่ปรากฏว่า รถเต็ม กับรถไม่มา นั่งรอกันตั้งแต่เช้าจนถึง 08.00 น. จึงตัดสินใจว่า ไม่สะดวกซะแล้ว จึงเลือกไปทาง ท่าบ่อ ตามคำเชิญของ สหายธรรม มุ่งตรงไปวัดโพธิ์ชัยศรี บ้านผือ


ออกเดินทางด้วย รถประจำทาง คือ สกายแลบ ระยะทาง 65 กม. ค่าจ้างพอสมควร เลียบฝั่งโขงจากหนองคายไป อ.ท่าบ่อก่อน ไปถึงที่นี่เข้ากราบนมัสการ หลวงพ่อองค์ตื้อ ที่เป็นที่เคารพของชาวหนองคาย บรรยากาศฝั่งโขงอากาศีหายใจดีมาก เย็นสบาย


ภาพศิลปะการแกะสลัก จะหาชมได้ยากหน่อย ต้องเป็นวัดใหญ่ ถึงจะมีให้ชม ส่วนใหญ่ จะเป็นภาพวาด


ภาพหลวงพ่อองค์ตื้อ ถ่ายเต็ม ทำได้เท่านี้นะจ๊ะ หมดพิสัยกล้องแล้ว นะจ๊ะให้ท่านได้ชมและอิ่มบุญไปด้วยกัน


สหธรรม ที่ไปด้วยกันรอบนี้มีองค์เดียวคือ ท่านนิพนธ์ วัดบ้านอ้อย เรานั่งรถ สกายแลป แบบเหมาจ่ายกันเป็นทอด ๆ อย่างนี้ คราวนี้นั่งไกลหน่อย 67 กม.นะ ค่ารถ 600 บาท


ไม่เคยนั่งไกล ๆ อย่างนี้ นั่งนาน ๆ ก็เมื่อยเหมือนกัน คนขับเองก็บ่น ปวดข้อมือเพราะต้องบิดคันเร่ง ก็ได้รสชาดไปอีกแบบ พูดตรง ๆ เลยว่า นั่งไกล ๆ ด้วยรถ สกายแลป ก็เป็นครั้งแรกในชีวิต


สัมภาระรอบนี้มาสององค์ มีเท่านี้ ส่วนใหญ่สัมภาระวางอยู่ในศาลาที่วัดแก่งขนุน เพราะคิดว่ามาไม่กี่วัน แต่เอาเข้าจริงไปกัน ครบอาทิตย์เลยนะรอบนี้



มาถึงวัดโพธิชัยศรี ( วัดหลวงปู่นาค ) ตามคำเชิญของพระมหาวิทยา ( ปธ8 ) เลขาเจ้าคณะอำเภอบ้านผือ พบกับท่านโดยบังเอิญที่วัด โพธิชัย พร้อม พระมหาสุพจน์ (ปธ9) นาน ๆ จะได้เจอพระบัณฑิตที่เก่ง ๆ ขณะไปถึงที่วัดมีงานประจำปี กำหนด 10 วัน พอดี

64  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / เก็บภาพลานธรรม และ สวนปฏิบัติ มาให้ท่านชมกัน ถ่ายในวันที่ 6 ก.พ. 56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:33:55 am


หลังจากเดินทางกลับจาก ศูนย์ธรรมโมลี ปากช่อง ก็เลยเข้าไปเก็บภาพในสวนปฏิบัติธรรม มาฝากทุกท่าน


ขณะนี้ทางวัด ได้สร้างหลังคา กันแดด ให้กับหลวพ่อนาคปรกในสวนแล้ว


ที่ลานบอกวัตร และ ที่สวดมนต์ ได้ปู้ Cpac อย่างในรูปพร้อมทั้งปรับพื้นที่ให้เลียบไม่ ลาดเอียงแบบเมื่อก่อน


มีการเข้าไปปลูกต้นไม้ทำทางเดิน ให้สะดวก









บริเวณที่ได้รับถวายไว้ 3.5 ไร่ มีการปรับพื้นที่ และเริ่มปลูกต้นไม้ และเกรดพื้นที่เตรียมสร้างที่พักสงฆ์ให้กับพระที่ เจ้าอาวาสนิมนต์มาดูแล


ผู้ดูแลสวนเบื้องต้น กับรถน้ำ


ชมภาพเพิ่มเติม ได้ที่ลิงก์นี้

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.336089309840853.78491.100003193598322&type=3


65  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / ไปเยี่ยมวัดแก่งขนุน ในวันที่ 5 - 14 ก.พ. 56 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 11:25:39 am


ในวันที่ 5 ก.พ.56 ได้เดินทางไปวัดที่แก่งขนุน พักอยู่ 2 คืน ด้วยกัน และก็ิทิ้งสัำมภาระไว้หลายอย่าง ก่อนเดินทางไปอิสาณ คือ หนองคาย  งานนี้ได้รับมอบถวายกล้อง ยี่ห้อ Sony 7.2 mpix จากหลวงพ่อสมควร อายุวัฑฒโน จึงมีภาพมาฝากทุกท่านได้ชมกัน ก็ขออนุโมทนาขอบคุณหลวงพ่อ ณ ที่นี้ด้วยครับ


รูปหล่อหลวงปู่ ยังประดิษฐาน ที่เดิมอยู่นะจ๊ะ  เห็นแล้วก็ปลื้มใจกับน้ำใจศิษย์สระบุรี ที่ได้ร่วมกันสร้างโดยเฉพาะคุณโยมพร ลาดพร้าว ที่เป็นเจ้าภาพใหญ่


ถ้ายมุมซ้ายบ้าง ปกติมีแต่รูป มุมขวา เห็นแล้วก็รู้สึกว่า ปีิติในใจ คืนนี้ก็เลยภาวนากรรมฐาน ถวายครูอาจารย์ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ทั้งคืน ด้วยการเดินจงกรม และ สลับนั่งกรรมฐาน


การนั่งกรรมฐาน ในค่ำคืนนี้ นับว่ามีความสุขมาก เพราะอากาศที่ ศาลาดี ได้ทำความสะอาดตั้งแต่เช้าแล้ว นั่งกรรมฐาน 4 ชม.เดิน 2 ชม. ตั้งแต่ 20.00 น. จนกระทั่งทำวัตรเช้า


รอยพระพุทธบาท จำลองเลื่อนมาอยู่ด้านหน้าหลวงปู่ ทำความสะอาดปัดฝุ่น แล้วถ่ายรูปมาฝากทุกท่านนะจ๊ะ


รอยพระพุทธบาทจำลองนี้สลักจากหินแกรนิต น้ำหนัก 100 กว่ากิโล ยกคนเดียวไม่ได้ ต้องสามคน



พระอรหันต์ 8 ทิศที่เราได้จ้างทำแบบขึ้นมาใหม่ 8 องค์ พร้อมปิดทอง ยังเด่นสง่า เช่นเดิม




66  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมสัญจร ภาคอิสาณ 6 ก.พ. 56 เยี่ยมศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี ปากช่อง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 10:56:07 am

ธรรมะสัญจร วันนี้เป็น การไปโดยมิได้กำหนดเป้าหมาย เพียงแต่ต้องการไปเยี่ยมศิษย์ ที่ กลางดง และ ปากช่องเท่านั้น แต่ ก็ไหน ๆ มาแล้ว ก็แวะซะหน่อย



 
  เยี่ยมคุณแม่ปลีก คุณแม่ คุณณฐพลสรรค์ เผือกผาสุก ที่กลางดง เริ่มต้นกันที่วัดมิตรภาพ กับน้ำใจของชาวกลางดง ที่พามาส่งจนถึงบ้านคุณแม่ปลีก สำหรับคุณแม่ปลีกนี้พึ่งกลับจากการรักษาอาการป่วยโรคปอด ผู้สูงอายุ คุณโยมอายุ 84 ปี แต่ สติ และ ร่างกาย นับว่าแข็งแรง มาก อารมณ์ดี มาก นี่แหละชาวบุญ เข้มแข็งสุขภาพดี



หลังออกจาก บันไดม้า ไปเยี่ยมศิษย์แล้ว คุณ ณฐพลสรรค์ สารถีก็ พาไปเยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติธรรม ธรรมโมลี หรือ ที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ศูนย์ปฏิบัติธรรมแม่ชีทศพร ( คงจะเป็นแม่ชีช่วยอุปถัมภ์ การสร้าง ด้วย ) ศูนย์นี้อยู่ที่ปากช่องไม่ไกลมากนัก นับจากทางแยกมิตรภาพเข้าไปที่เขาใหญ่ ก็ประมาณ 12 กม. มีป้ายบอกในระหว่างทาง ตึกที่เห็นในภาพ คือ ตึกศูนย์ล่าง สำหรับผู้มาปฏิบัติใหม่ หรือ เริ่มต้น ในการปฏิบัติสายยุบพอง


วันที่ไปถึงนั้น ขึ้นไปที่ชั้นสอง พบพระอาจารย์ ผู้สอนธรรม คือ พระอาจารย์สง่า ท่านเป็นผู้สอนอบรมผู้มาใหม่ในวันนี้ คอยให้อารมณ์ และ ธรรม ดูแลอย่างดี


จะเห็นจากภาพว่า ในชั้นสองนั้น สถานที่ปฏิบัติภาวนาทั้งหมดกว้างขวางมาก และ มีมุมสูงอากาศี ซึ่งจะผิดกับ ศูนย์บนที่มีชั้นเดียว


ขณะที่ไปถึงก็มีผู้มาฝึกอบรมไม่เป็นทางการ คือ มาไม่ได้เป็นคอร์ส ก็ประมาณ 20 กว่าท่าน ทั้ง ฆราวาส และพระสงฆ์ เห็นแต่ละท่านตั้งใจเดินกำหนดภาวนากันอย่าง ยิ่งยวด


พระแก้วมรกตองค์นี้เป็น พระประธาน ประจำชั้นในศูนย์นี้ นะจ๊ะ มองเห็นแล้ว รู้สึกปลืืมใจมาก ๆ กับภาพที่มีผู้ภาวนากัน อยู่



ส่วนตัวก็ขออนุโมทนา กับพระที่ตั้งใจภาวนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่า พระที่สนในการภาวนานั้น ยังมีอยุ่ ทำให้นึกถึงพระดำรัสของพระพุทธเจ้าว่า ตราบใดที่มีผู้ปฏิบัติตามอริยมรรคมีองค์ 8 ตราบนั้นโลกนี้จักไม่ว่างจากพระอรหันต์  สาธุ สาธุ สาธุ

 


มองจากชั้นสอง จะเห็นเรือนพักที่ศูนย์่ล่าง หลายหลัง ด้วยกัน ซึ่งบรรยากาศจะแตกต่างจากศูนย์บน มาก ๆ เดี๋ยวจะพาไปดูศูนย์บน กันอีกตอนนะจ๊ะ

67  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / ธรรมะสัญจร จาริกอิสาณ 7 - 13 ก.พ.56 หนองคาย อุดรธานี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2013, 09:28:07 am
ธรรมะสัญจร จาริกอิสาณ 7 - 13 ก.พ.56 หนองคาย อุดรธานี

  การเดินทางรอบนี้ เรียกว่า เป็นภาระกิจ.... เพราะไปตามที่ ครูอาจารย์กล่าว ให้ไป
 
  สถานที่ไปสถานที่แรก คือ  วัดโพธิชัย  ( วัดหลวงพ่อพระใส )

 
 
  รูปนี้ถ่ายหน้า วิหารหลวงพ่อพระใส
 


ลองมองรอบ ๆ ก็จะเห็น จิตรกรรมฝาผนัง สีสรรสดใส รอบผนัง โบสถ์จตุรมุข


ภาพเด็กที่มาเที่ยว เข้าไปนั่งฟังพระสงฆ์ สามเณรทำวัตรเช้า เป็นภาพที่ประทับใจ เด็กทุกคนเข้าไปก็จะนั่งเรียบร้อยอย่างนี้เอง ไม่ต้องบอก และ เงียบเสียงไม่พูดคุยอะไรทั้งสิ้น นั่งพนมมือฟังพระสวดมนต์กัน


หลวงพ่อพระใส ถ่ายซูม เพราะหลวงพ่อองค์ไม่ใหญ่ ตั้งอยู่สูง และจุดยืนถ่ายอยู่ไกลด้วย


จิตรกรรมฝาผนัง เป็นการวาดใหม่ ภาพจึงสีสดใส ไม่เหมือนภาพเก่า แต่มีเนื้อเรื่อง ของหลวงพ่อพระใสให้ชมจำนวนมาก


ถ้าต้องเก็บภาพ จิตรกรรมฝาผนัง คงมีเป็นร้อยภาพ เลยนะจ๊ะ ไปชมเองก็แล้วกัน

68  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กิจกรรมโยคะสร้างสุข (เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 ก.พ. 56) เดือน ก.พ. 56 ( ฟรี ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 11:20:04 am
กิจกรรมโยคะสร้างสุข

เพราะโยคะ ไม่ใช่เป็นเพียงแค่การออกกำลังกายอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นการพัฒนากาย จิต อารมณ์ บุคลิกภาพ ฯลฯ ให้เกิดความสมดุล มาร่วมค้นหาองค์รวมของศาสตร์โยคะ ผ่านการเรียนรู้และฝึกฝนกับครูโยคะที่มากด้วยประสบการณ์ จากสถาบันโยคะวิชาการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน

พบกันทุกวันพฤหัสบดี เวลา 17.00-18.30 น. และวันเสาร์ เวลา 10.30-12.00 น. ณ ห้องอาศรมสุขภาวะ (เริ่มตั้งแต่วันเสาร์ที่ 2 ก.พ. 56)

รับจำนวนจำกัด ไม่เกิน 30 ท่าน  กรุณาสำรองที่นั่งล่วงหน้า

เรียนฟรีตลอดเดือน ก.พ. 56 !!!

http://www.gotoknow.org/classified/ads/3877
69  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / นิพพิทา คือ อะไร ? จะพอกพูน นิพพิทา ได้อย่างไร เชิญอ่าน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 11:02:48 am
นิพพิทาสูตร   

พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ เล่มที่ ๒๒

             [๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้ อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับสนิท

เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพานโดยส่วนเดียว

ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นว่า ไม่งามในกาย ๑ 
            (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, นวสีวถิกา, อสุภกรรมฐาน)

มีความสำคัญว่า เป็นของปฏิกูลในอาหาร ๑ 
            (เช่น  ปฏิกูลมนสิการ, อาหาเรปฏิกูลสัญญา)

มีความสำคัญว่า ไม่น่ายินดีในโลกทั้งปวง ๑ 
           (เช่น โลกธรรม ๘)

พิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวง ๑ 
           (เช่น พระไตรลักษณ์)

ย่อมเข้าไป ตั้งมรณสัญญาไว้ใน ภายใน ๑ 
           (เช่น มรณสติ, พระไตรลักษณ์)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการนี้แล

   อันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย
   เพื่อคลายกำหนัด  เพื่อดับสนิท
       เพื่อเข้าไปสงบ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้
            เพื่อนิพพาน ฯ

จบสูตรที่ ๙



 
  8 - 5.นิพพิทานุปัสสะนาญาณ ญาณอันรู้แจ้ง ถึงความเหนื่อยหน่าย ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป ซึ่งมีผล ให้เกิดความไม่เพลิดเพลิน หรือ ยินดี ต่อการเวียนว่าย ตาย เกิด ต่อไป
  http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=276
70  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / สักว่า ทำไป เพราะเข้าใจผิด ผลแห่งการทำ ย่อมไม่เป็นไปตามที่ควร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2013, 09:59:12 am
 ask1

   วันก่อนเข้าไปที่ห้องน้ำ ได้สังเกตว่า ยาสระผม หมดทุกขวด แต่แบบซองที่วางไว้ 2 ปีแล้วไม่หมด ยังเหลืออยู่ เอ เป็นเพราะอะไร วันนั้นจึงได้หยิบซอง ยาสระผมขึ้นมาดู ปรากฏว่า ที่ซองเขียนว่า ยาทากันยุง
    มิน่าละ  ทำไมมีใครใช้เลย
    แต่ก็สงสัย ว่า ทำไม ไม่มีใครบอกเลย ว่าเอายาทากันยุงมาวางไว้ตรงแชมพูทำไม
       เราเองก็ไม่ได้แกะใช้ น้า แหมโชคดีจัง

   
 

 ans1

    เริ่ม วิสัชชนา ด้วยเรื่องเล่าตามความเป็นจริง ที่ปรากฏมาแล้ว สองปี แต่มารู้ตัวอีกที ก็ผ่านไป สองปีแล้ว อันนี้เป็นผลจากการเข้าไปสำรวจความจริง บางครั้งและหลายครั้ง ที่เรามักทำอะไรลงไปตามความเคยชิน เหมือนอย่างที่อาตมา ได้ใส่ โลชั่นทากันยุงไว้ในห้องน้ำ เพื่อให้ผู้ร่วมใช้ห้องน้ำ ได้ไวสระผม เพราะไม่ได้อ่านฉลากเห็นเป็นซอง ก็เลยเข้าใจว่าเป็นยาสระผม ก็ดีนะยังไม่มีใครเอาไปสระผม ก็นับว่าเป็นเรื่องโชคดี ตรงที่ว่าทุกคนมีการศึกษา อ่านออกเขียนได้ เมื่อหยิบซองขึ้นมาแล้วอ่านว่า โลชั่นทากันยุง ทุกคนก็ไม่ได้นำไปใช้สระผมกัน อันนี้เป็นความโชคดี ที่วางผิดที่ แต่อยู่ในหมู่ของคนฉลาด หากแต่ว่า ถ้าไปวางในหมู่คนที่ไม่ฉลาด ก็น่าจะมีคนใช้ ดังนั้น เปรียบการศึกษา บางครั้งเราทำกันตามความเคยชิน หลายครั้งที่อาตมานึกถึงเรื่องนี้ ก็จะมาพิจารณาลงไปว่า การสอน พระธรรมกรรมฐาน ก็เปรียบเหมือนการวางรากฐาน พระธรรม ถ้าเราวางผิด สอนผิด ก็ย่อมเป็นบาป ไม่เป็นบุญกับคนที่สอน พาลจะทำให้เราเสียมรรค เสียผล เสียนิพพานด้วย ดังนั้น เมื่อจะสอนก็ควรสอนตามแบบอย่างของครูอาจารย์ ที่ให้ไว้ หากแต่เป็นการสอนที่แบบของเรา ก็ควรต้องบอกศิษย์ให้รับทราบว่า เป็นแบบของเรา ดังนั้นการสอน จึงจำเป็นต้องพิจารณา ด้วยว่า บุคคลใดเหมาะแก่แบบใด ด้วยมิฉะนั้น มันก็เสียเวลา กว่าจะรู้ัตัวอาจจะหมดไปครึ่งชีิวิต เพราะรู้ไม่ทัน ดังนั้นการภาวนาธรรม ต้องมุ่งสอนเพื่อการสิ้นทุกข์ ิส้นกิเลส ไม่ใช่สอนเพื่อ ชื่อเสียง สรรเสริญ

    ดังนั้นท่านทั้งหลาย ที่มาภาวนากัน ก็ขอให้เรียนรู้ในกรรมฐาน ถึงแม้จะมีหลักปริยัติบ้างก็น่าจะดีกว่าไม่มีหลักการอะไรให้ อย่างน้อย เมื่อครูอาจารย์จากท่านไปแล้ว ท่านก็ยังมีหลักการในการภาวนา และ การปฏิบัติ

    ขอให้ท่านทั้งหลายที่เป็นศิษย์ จงอดทน และ เรียนกรรมฐานกันด้วยความเคารพอย่าได้ หน่ายเพราะเวลาของครูอาจารย์ นั้นมีไม่มากแล้ว จงรีบเรียนและศึกษาในพระธรรมกรรมฐาน ก่อนที่เราจะเคว้งคว้างในภพ ในชาติต่อไป มีสติในชาติ นี้ ดีกว่าไปมีสติ อีกหลายชาติ นะจ๊ะ

    เจริญธรรม / เจริญพร


 

 

   


71  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / มาเข้าใจเรื่อง ธาตุ เพิ่มเติมกันหน่อย สำหรับนักภาวนา ทุกท่าน เมื่อ: ธันวาคม 14, 2012, 01:21:06 pm
มาเข้าใจเรื่อง ธาตุ เพิ่มเติมกันหน่อย สำหรับนักภาวนา ทุกท่าน

        เรื่อง ธาตุ มีความสำคัญมาก เพราะเป็นเรื่องสำคัญในกรรมฐาน ท่านนักภาวนาทั้งหลายไม่ควรแคลน และไม่ควรละ เพราะเป็นกรรมฐาน ที่จะทำให้ท่าน ถึงความเป็น พระอริยผล ได้

     ธาตุ หมายถึง ความทรงไว้ซึ่งความเป็นอย่างนั้น ในคุณสมบัติของธาตุเป็นอย่างนั้น ดังนั้นจึงจำแนกธาตุ ได้ 3 สาย คือ

   1. ธาตุที่เป็นไป โดยความเป็น วัตถุ สัมผัส มองเห็นได้ ด้วยตา และ ความรู้สึก   
    ธาตุ คือ ธาตุทั้ง 5 มี ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุอากาศ
   
   2. ธาตุที่เป็นไป ในความเกิดขึ้น และ ดับไป เรียกว่า ธาตุ 18 อันอาศัย รูป ภายใน และ ภายนอก เป็นจุดกระทบ ได้แก่ 
   
๑ จักขุธาตุ  หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รับรูปารมณ์ได้ องค์ธรรรม ได้แก่ จักขุปสาท ----- เป็น รูป

๒ โสตธาตุ หมายความว่า ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รับสัททารมณ์ได้
องค์ธรรม  ได้แก่  โสตปสาท ----เป็น รูป

๓ ฆานธาตุ  หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รับคันธารมณ์ได้
องค์ธรรม ได้แก่ ฆานปสาท ----เป็น รูป

๔ ชิวหาธาตุ  หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง ความใสที่รับรสารมณ์ได้
องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาปสาท ----เป็นรูป

๕ กายธาตุ หมายความว่า ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ้ง ความใสที่รับโผฎฐัพพารมณ์ได้  องค์ธรรมได้แก่  กายปสาท-----เป็น รูป ครับ

๖ รูปธาตุ  หมายความว่า ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับจักขุปสาท
องค์ธรรมได้แก่  รูปารมณ์(สีต่างๆ)-----เป็น รูป

๗ สัททธาตุ หมายความว่า ชือ่ว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับโสตปสาท
องค์ธรรมได้แก่ สัททารมณ์(เสียงต่างๆ) ------เป็น รูป

๘ คันธธาตุ  หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับฆานปสาท
องค์ธรรมได้แก่ คันธารมณ์(กลิ่นต่างๆ)------เป็นรูป

๙ รสธาตุ  หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับชิวหาปสาท
องค์ธรรมได้แก่  รสสารมณ์(รสต่างๆ)-------เป็นรูป

๑๐ โผฎฐัพพธาตุ  หมายความว่า  ชือ่ว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การกระทบกับกายปสาท
องค์ธรรมได้แก่  โผฎฐัพพารมณ์(สัมผัสต่างๆ) -------เป็น รูป

๑๑ จักขุวิญญาณธาตุ  หมายความว่า ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การเห็น
องค์ธรรมได้แก่  จักขุวิญญาณจิต๒  -----เป็น นาม

๑๒ โสตวิญญาณธาตุ หมายความว่า ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การได้ยิน
องค์ธรรมได้แก่  โสตวิญญาณจิต๒ -----เป็น นาม

๑๓ ฆานวิญญาณธาตุ หมายความว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การรู้กลิ่น
องค์ธรรมได้แก่  ฆานวิญญาณจิต๒ ------เป็น นาม

๑๔ ชิวหาวิญญาณธาตุ หมายควมมว่า  ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่ง การรู้รส
องค์ธรรมได้แก่ ชิวหาวิญญาณจิต๒ -----เป็น นาม

๑๕ กายวิญญาณธาตุ หมายความว่า   ชื่อว่าธาตุเพราะทรงไว้ซึ่งการรู้สัมผัส
องค์ธรรมได้แก่  กายวิญญาณจิต๒ ------เป็น นาม

๑๖ มโนธาตุ  ชื่อว่ามโนธาตุ เพราะทรงไว้ซึ่งการรู้ปัญจารมณ์อย่างสามัญ
เป็น นาม

   ดังนั้นในส่วนของธาตุ นี้ เป็นส่วนของ วิปัสสนา ในแนวทางปฏิบัติ ด้วยเรียกว่า การเข้าถึง รูป นาม เห็นชัดแจ่มแจ้ง ว่าเป็นเพียงรูปนาม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และ ดับไป ด้วยคุณสมบัติ ทรงไว้ 3 ประการอย่างนี้

  3.ธาตุธรรม นิพพานธาตุ เป็นธาตุ ที่ไม่สามารถนำบัญญัติ ใด ๆ มาอธิบายได้ แต่ ผู้ที่เข้าถึงนั้นสามารถรู้แจ้งด้วย มโนธาตุ ของตนเอง


   ก็นำเรื่อง ธาตุ ตอนที่ 1 มาให้ท่านรู้จักกันก่อน เท่านี้ก่อน นะจ๊ะ ส่วนของการปฏิบัติ จะมาแนะนำต่อไป

   เจริญธรรม / เจริญพร




 



72  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ทานเจฟรีในวันที่ 5 ธ.ค.55 ที่ ร้านหน้า โรงพยาบาล สระบุรี ตรงข้ามวินมอร์เตอร์ไซค์ เมื่อ: พฤศจิกายน 23, 2012, 04:39:39 pm
ทานเจฟรีในวันที่ 5 ธ.ค.55 ที่ ร้านหน้า โรงพยาบาล สระบุรี ตรงข้ามวินมอร์เตอร์ไซค์

  ช่วยประกาศบอกบญ สำหรับท่านที่ อยากไปร่วมบุญสร้างทาน และ ไปรับประทานอาหารเจ
ฟรี เจ้าของร้านบอกว่า วันนี้ทำถวายเป็นพระราชกุศลแก่ในหลวง ในวันที่ 5 ธ.ค.55 วันเดียวนะจ๊ะ

 เจริญพร ประกาศรับทราบบุญกันด้วยนะจ๊ะ


  :25: :s_good:
73  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ถ้า นิพพาน คือ ความดับ หรือความสงบ แล้ว นิพพานทั้ง 3 คืออะไร ? เมื่อ: กันยายน 13, 2012, 08:00:07 am
มีการให้ความหมาย ของ นิพพาน ว่า คือ ดับเย็น ดับสนิท ไม่มีเหลือ ไม่มีตัวตน และ อีกหลาย ๆ ความหมาย ถ้าหากท่านทั้งหลาย เทียบความหมายทั้งหลายลงไปแล้ว ขัดแยัง กับธรรมเหล่านี้ ก็ยังจัดว่า ยังอธิบายไม่ถูก

   วิธีเทียบ คำว่า นิพพาน ให้เทียบ กับพระไตรลักษณ์ ซึ่งจะเข้าถึงนิพพาน มี 3 ระดับ ด้วยระดับ วิปัสสนา ดังนี้

  ๑ อนิจจานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการไม่เที่ยง
           สามารถเข้าสู่ อัปปณิหิตนิพพาน เพราะตามพิจารณาเห็นได้ด้วยปัญญาไม่เที่ยง
             
  ๒ ทุกขานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นทุกข์
           สามารถเข้าสู่ นิมิตตนิพพาน เพราะตามพิจารณาเห็นได้ด้วยปัญญาว่าเป็นทุกข์

  ๓ อนัตตานุปัสสนา คือ พิจารณาเห็นโดยอาการเป็นอนัตตา
           สามารถเข้าสู่ สุญญตนิพพาน เพราะตามพิจารณาเห็นได้ด้วยปัญญาว่า ว่างเปล่า

ถ้าท่านเข้าใจที่ เทียบวันนี้ ก็จะเป็นกำลังในการภาวนา วิปัสสนของท่านทั้งหลายที่มีความปรารถนา นิพพาน ในปัจจุบันชาติ ดังนั้นท่านทั้งหลายที่มีความปรารถนา ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายพึงมั่นเจริญ อนุวิปัสสนาให้มากขึ้น


  เจริญธรรม / เจริญพร

 
74  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ดวงตาเห็นธรรม คืออะไร ? เมื่อ: สิงหาคม 10, 2012, 08:41:13 am
ตอบปัญหาจากเมล รวบรวมเป็นเรื่องเดียว ใครถามทำนองนี้ก็อ่านตรงนี้กันเลยนะจ๊ะ

ปุจฉา
ดวงตาเห็นธรรมคืออะไร ? 
ธรรมจักษุ มีความสำคัญอย่างไร ?
ใครควรจะได้มี ดวงตาเห็นธรรม ?
ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
อย่างไรชื่อว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ?
ปฏิบัติกรรมฐาน จะได้ดวงตาเห็นธรรมได้อย่างไร ?
ดวงตาเห็นธรรม มีได้เพราะต้องฟังธรรมใช่หรือไม่ ?
ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์เลยหรือไม่ ?
รู้ได้อย่างไรว่าได้ ดวงตาเห็นธรรม ?
ธรรมจักษุ กับ ธรรมจักร ต่างกันอย่างไร ?
นิมิต กับ ธรรมจักษุ ใช่อันเดียวกันหรือไม่ ?
ปีติ จัดเป็นธรรมจักษุ หรือไม่ ?


วิสัชชนา
ก่อนที่จะได้ทำการอธิบาย ขอยกข้อความในพระไตรปิฏก ที่เกี่ยวกับธรรมจักษุขึ้นมาก่อน

  เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสเวยยากรณ์นี้(๑)อยู่    ธรรมจักษุ(๒)อันปราศจากธุลีปราศจากมลทินได้เกิดแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่า    “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง    มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งปวง    มีความดับไปเป็นธรรมดา”

เป็นประโยคในพระสูตรที่   พระวินัยปิฎก  มหาวรรค  [๑.มหาขันธกะ] ๖.ปัญจวัคคิยกถา
====================================================
(๑) เวยยากรณ์  ในที่นี้หมายถึงพระสูตรที่ไม่มีคาถา  ประกอบด้วยคำถามคำตอบ  (สารตฺถ.ฏีกา ๓/๑๖/๒๒๐) เป็นองค์อันหนึ่งในนวังคสัตถุศาสน์  (วิ.อ.๑/๒๖)
(๒) ธรรมจักษุ  แปลว่า  ดวงตาเห็นธรรม  คือ  โสดาปัตติมรรคญาณ  (วิ.อ.๓/๕๖/๒๗)

====================================================

นิยามในพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงไว้หมายถึง ระดับของพระโสดาปัตติมรรค
ดวงตาเห็นธรรมคืออะไร ?
  คือโสดาปัตติมรรคญาณ
  โสดาปัตติมรรคญาณ หมายถึง ความรู้แจ้งในเหตุวิถึทางแห่งพระนิพพานเบื้องต้น
 
ธรรมจักษุ มีความสำคัญอย่างไร ?
  มีความสำคัญในเบื้องต้นของการเป็นพระอริยะบุคคลลำดับที่ ๑ และเป็นเครื่องชี้ชัดความไม่หวั่นไหวต่อ พระสัทธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นผู้เข้าสู่เส้นทางพ้นจากอบายภมิ ๔

ใครควรจะได้มี ดวงตาเห็นธรรม ?
  บุคคลที่เข้าใจและเห็นว่า  “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับไปเป็นธรรมดา” ถ้าบุคคลใดเข้าใจและเห็นตามความเป็นจริงในเบื้องต้นอย่างนี้ บุคคลนั้นชื่อว่าได้มีดวงตาเห็นธรรม

ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
  ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นได้ ๓ ประการคือ
    ๑.สุตามยปัญญา  เกิดได้จากฟัง
    ๒.จินตามยปัญญา เกิดได้จากการวิจัย พิจารณา
    ๓.ภาวนมยปัญญา เกิดได้จากการภาวนา จนเห็นแจ้งประจักษ์จริง

อย่างไรชื่อว่า ได้ดวงตาเห็นธรรม ?
   เมื่อจิตรับทราบ รู้เห็นตามเป็นจริงว่า ขันธ์ทั้ง 5 นั้น ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่าจากความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน อันบุคคลไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่น ด้วยอารมณ์ว่า นั่นเป็นเรา นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นตัวเป็นตนของเรา อย่างนี้จิตย่อมคลายความยึดมั่นถือมั่นในเบื้องต้นว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่ง  มีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง มีความดับไปเป็นธรรมดา”  และมองเห็นวิธีการที่จะคลายจากความยึดมั่น ถือมั่นเหล่านั้นลงได้

ปฏิบัติกรรมฐาน จะได้ดวงตาเห็นธรรมได้อย่างไร ?
   การปฏิบัติกรรมฐาน คือการภาวนามยปัญญา ทำการประจักษ์แจ้งในกองกรรมฐาน ซึ่งในกรรมฐานนั้นต้องเป็นกรรมฐานในพระพุทธศาสนา ที่อนุเคราะห์โดยตรง คือ อนุสสติ ๑๐ อสุภะ ๑๐ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑ พรหมวิหาร ๔ จตุธาตุววัตถาน ๔ เหล่านี้เป็นต้น เป็นกรรมฐาน ที่ประกอบด้วยวิปัสสนา โดยตรง ดังนั้นผู้ภาวนากรรมฐานซึ่งเป็นวิธีปฏิบัติ ไมว่าจะเป็นกรรมฐานที่เป็นสมถะเป็นอารมณ์ หรือ มีวิปัสสนา เป็นอารมณ์ ทั้งหมดนั้นเป็นการภาวนา ผู้ปฏิบัติก็จะได้ดวงตาเห็นธรรม เกิดขึ้นไปเป็นลำดับจนเรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม จะสมบูรณ์ ความสมบูรณ์ของผู้ภาวนานั้น เรียกว่า จรณะ ๑๕ ประการ ชัดเจนเด่นชัดเพิ่มขึ้นไปตามลำดับ

ดวงตาเห็นธรรม มีได้เพราะต้องฟังธรรมใช่หรือไม่ ?
  ใช่ มีได้เพราะการฟังธรรม และพิจารณาตามธรรม และทำให้สมบูรณ์ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย

ได้ดวงตาเห็นธรรม แล้วบรรลุเป็นพระอรหันต์เลยหรือไม่ ?
  เบื้องต้นได้สำเร็จเป็น พระโสดาบัน เริ่มต้งแต่ พระโสดาปัตติมรรค มีบางท่านบางบุรุษบุคคล บรรลุธรรมไปตามลำดับได้อย่างไว จึงได้บรรลุเป็นพระอรหันต์โดยเร็ว

รู้ได้อย่างไรว่าได้ ดวงตาเห็นธรรม ?
  รู้ได้ด้วยการตรวจสอบ สังโยชน์เบื้องต้น ๓ ประการดับแล้วโดยสิ้นเชิง คือ
    ๑.สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา ดับลงแล้ว
    ๒.วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย ในพระรัตนตรัย สิ้นสุดลงแล้ว
    ๓.สีลัพพตปรามาส การยึดถือระเบียบ แบบแผน วิธีการที่ไม่นำมาซึ่งกุศลสิ้นสุดลงแล้ว

ธรรมจักษุ กับ ธรรมจักร ต่างกันอย่างไร ?
    คือการบรรลุธรรม ส่วนธรรมจักรนั้นเป็นวิธีการไปสู่ ความเป็นพระอริยะบุคคลในระดับต่อไป ที่เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น มีสัมมาสมาธิเป็นที่สุด

นิมิต กับ ธรรมจักษุ ใช่อันเดียวกันหรือไม่ ?
    คือที่หมายกำหนด ไม่ใช่เป็นอันเดียวกันกับธรรมจักษุ
    นิมิตภายใน นิมิตภายนอก จัดเป็นลักษณะ รูปร่าง สีสรร
    ธรรมจักษุ คือการเห็นธรรมอันเป็นภายใน ภายนอก คือความเกิดขึ้น และความเสื่อมไป
    ดังนั้นจึงเป็นคนละความหมาย

ปีติ จัดเป็นธรรมจักษุ หรือไม่ ?
    ปีติ คือความอิ่มใจเป็นผลจากการเข้าถึงธรรมระดับหนึ่ง
    ปีติ เป็นผลเช่นเดียวกับธรรมจักษุ
    ปีติ เป็นส่วนหนึ่งของธรรมจักษุ

  เจริญธรรม / เจริญพร


   ;)



75  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติ ภาวนาเป็นอย่างมาก เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2012, 10:38:56 am


มีการถกเถึยงเรื่องนี้ กันมากแต่ในความเป็นจริงแล้ว ศรัทธา นั้นมีผลต่อการปฏิบัติภาวนาเป็นอย่างมาก สำหรับท่านที่ถือเอาพระรัตนตรัย เป็นสรณะแล้ว ไม่พึงใช้หลักกาลามสูตร เพราะ หลักกาลามสูตร ใช่กับผู้ที่ไม่ได้เป็นพุทธบริษัท หากท่านต้องใช้หลักกาลามสูตร ในขณะท่านเป็น พุทธบริษัทโดยเฉพาะในเรื่องการภาวนา ที่นับถือพระพุทธเจ้า คือพระพุทธานุสสติ ก็ไม่สมควรที่จะเป็นพุทธบริษัท เพราะ พุทธบริษัท ต้องมี ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อมั่นเคารพ และศรัทธา ต่อการตรัสูรู้ของพระพุทธเจ้า

    ถามจะรู้ได้อย่างไร ? ว่าสิ่งที่แสดงไว้ถูกต้อง ไม่ใช่เป็นหลักธรรมที่ผิด

    รู้ได้ตรงที่ ปฏิบัติไม่ได้ นำทุกข์ออกไม่ได้ ไม่เห็นอนิจจตา ทุกขตา

    ดังนั้นความศรัทธา มีผลต่อการปฏิบัติเป็นอย่างมาก

    มีตัวอย่างในครั้งพุทธกาลมากมาย อย่างเช่น พระสารีบุตร มีปัญญามาก ความศรัทธาจึงมีน้อย สำเร็จธรรมด้วยการปฏิบัติภาวนา ใช้เวลา 15 วัน ส่วนพระโมคคัลลานะ มีปัญญารองลงมา ใช้เวลา 7 วัน ส่วนบรรดาลูกศิษย์ซึ่งมีปัญญาในระดับชนทั่วไป สำเร็จธรรมภายในวันนั้น ดังนั้นอุปสรรคของการภาวนา ข้อหนึ่งที่สำคัญก็คือ ญาณัง หมายถึงรู้มาก รู้เกิน ดังนั้นในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่เน้นการสอนธรรมให้ล่วงหน้า ซึ่งที่ผ่านมาลูกศิษย์หลายคน พยายามจะสอบถามธรรมล่วงหน้า ที่สูงขึ้นไป ด้วยที่ตัวเองปฏิบัติยังไม่ได้ ดังนั้นส่วนตัวยังไม่เคยสอนใครในธรรมที่สูง ในปัจจุบัน เพราะว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับนั้นต้องเรียนธรรมไปตามลำดับ ไม่ได้เรียนเพื่อเอาไปพูด หรือ วิเคราะห์ แต่เรียนไปเพื่อภาวนาปฏิบัติ เพื่อให้พ้นจากสังสารวัฏ เป็นเป้าหมาย

    ดังนั้นท่านที่อ่อนศรัทธา ก็จะเชื่องช้า ในการปฏิบัติไปตามลำดับ

    ขอให้ท่านทั้งหลาย ศรัทธาในพระกรรมฐาน เชื่อมั่นต่อพระกรรมฐาน

        ต่อไปนี้เป็นวิธีการสำรวจ ว่าท่านเป็นผู้ศรัทธาในกรรมฐาน หรือไม่ ?

      1. ถ้าท่านปฏิบัิติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ตามขั้นตอน ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ชื่อว่ายังมีศรัทธา อยู่

      2. ในขณะภาวนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ไม่สอดแทรกวิธีการอื่นๆ เข้าไปอันนอกจากการสอนของครูอาจารย์ อันนี้ชื่อว่าท่านยังมีศรัทธา อยู่

      3. หมั่นเรียนท่องจำ ทบทวน ในลำดับพระกรรมฐาน ตามที่ครูอาจารย์ประสิทธิ์ให้ อันนีชื่อ่ว่าท่านยังมีศรัทธาในพระกรรมฐาน อยู่

        ในข้อนี้ประสบกับลูกศิษย์หลายท่าน จำขั้นตอนไม่ได้แสดงให้เห็นว่า ไม่มีความใส่ใจในกรรมฐาน ชื่อฐานจำไม่ได้ ทำทุกวัน จำไม่ได้เป็นไปได้อย่างไร โดยท่านที่เข้าพระยุคลหก กับจำพระยุคลหกไม่ได้ ไล่ลำดับไม่ถูก เมื่อเข้าสะกด ก็บอกชั้นสะกดไม่ได้ เข้าสับบอกลำดับไม่ได้ อย่างนี้เป็นต้นแสดงว่าไม่ได้ใส่ใจในขั้นตอนของพระกรรมฐาน ที่เรียกว่าลำดับพระกรรมฐาน ถ้าท่านทั้งหลายเป็นอย่างที่แสดงไว้อย่างนี้ แสดงว่ายังไม่ได้ศรัทธาในพระกรรมฐาน
   
      4.หมั่นแจ้งกรรมฐาน เมื่อมีโอกาส ถ้าท่านทั้งหลาย ได้พบครูอาจารย์ให้หมั่นแจ้งกรรมฐาน แสดงว่ามีความศรัทธากรรมฐาน คนที่แจ้งกรรมฐาน คือคนที่ยังคงเส้นคงวาในพระกรรมฐาน

       มีหลายท่านที่พบ ไม่ปฏิบัติกรรมฐาน ต่อเนื่องแต่แจ้งกรรมฐาน อันนี้ก็จะทราบอยู่ อย่างนี้ใช้ไม่ได้ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ปฏิบัติอย่างทั่วไป ก็ประมาณ 30 นาทีขึ้น อันนี้จะรู้อยู่เพราะลำดับกรรมฐาน ก็มีอยู่ประมาณนี้ขึ้นไป

      5.ความพอกพูนธรรม เป็นผลจากการภาวนา ในเรื่องธรรมจะตื่นขึ้นไปเรื่่อย ๆ ไม่ใช่การรู้เอง แต่เป็นการรู้ตาม เป็นผลจากการภาวนา ตามลำดับกรรมฐาน ท่านก็จะดวงตาเห็นธรรม คือดวงตาที่เข้าไปเห็นธรรม ดังนั้นท่านที่ยังมีความเคารพศรัทธา ปฏิบัติกรรมฐาน มาอย่างต่อเนื่องก็จะเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น อันนี้เรียกว่า ดวงตาเห็นธรรม อย่าไปเข้าใจผิดว่า ฉันรู้ของฉันเอง บุคคลที่จะรู้เองมีเพียงท่านเดียว คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ของเราเรียกว่า ได้ธรรมจักษุ เห็นแล้วก็ไม่ทิ้งธรรม ไม่หวั่นไหว ไม่ง่อนแง่น ไม่คลอนแคลน


      สรุปแล้ว ท่านทั้งหลาย มีความศรัทธาในพระกรรมฐาน ดีหรือยัง ก็อ่านตรวจสอบกันตรงนี้ เลยนะจ๊ะจะเลือกอย่างไร เป็นสิทธิ์ของเท่านทั้งหลาย ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย อย่ามาท้อแท้เพราะการปฏิบัติที่ไม่จริงจังของตนเอง แต่จงถามตนเองกลับไปว่า เราปฏิบัติจริงจังในพระกรรมฐาน แล้วหรือยัง ขนาดครูอาตมาภาวนาอย่างจริงจัง ยังต้องสองปี ท่านทั้งหลายกระทำถึงขั้นจริงจังหรือยัง หรือเพียงนึกว่าจะทำ ว่าภาวนา ทำวันละ 5 นาทีแล้วก็บอกว่า ทำแล้ว หรือบางวันไม่ได้ทำเลย อาทิตย์ไม่ได้ภาวนาเลย แล้วบอกว่าศรัทธาได้อย่างไร

     ขอให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนความศรัทธา ในพระกรรมฐาน ในตนเองกัน ทุกท่าน และจงก้าวเข้าไปสู่เป้าหมายที่ท่านต้องการด้วยกำลังของท่าน และได้ดวงตาเห็นธรรม กันโดยไว เทอญ.

    เจริญธรรม / เจริญพร

     ;)
     
   
76  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ดันหลักสูตรฝึกอบรมกรรมฐานพระสงฆ์บวชใหม่ เมื่อ: กรกฎาคม 19, 2012, 02:12:33 pm
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง เปิดเผยว่า จากการที่มีนโยบายให้พระนิสิตที่จะเข้ารับการศึกษาต่อระดับปริญญาโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม ต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานเป็นเวลา 1 เดือนก่อน ถึงจะผ่านเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้นั้น

ผลปรากฏว่าพระนิสิตที่ผ่านการอบรมหลักสูตรกรรมฐานแล้วเข้าเรียนต่อในระดับปริญญาโทมากกว่า 3 รุ่น มีความตั้งใจเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีเยี่ยม ที่สำคัญส่งผลให้พระนิสิตเห็นความสำคัญของการปฏิบัติที่ต้องใช้ควบคู่กับปริยัติ คือ ด้านวิชาการด้วย นอกจากนี้ ก่อนที่จะจบการศึกษาพระนิสิตจะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรกรรมฐาน 7 เดือนด้วย ซึ่งส่งผลให้เกิดพระนักปฏิบัติที่สามารถสอนกรรมฐานให้แก่พุทธศาสนิกชน และเป็นที่ต้องการของวัดในต่างประเทศอีกด้วย

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังมีความประสงค์จะขยายผลหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานไปยังกลุ่มของพระบวชใหม่ รวมทั้งพระสงฆ์ที่อยู่ในพรรษา ได้เข้ารับการอบรมหลักสูตรระยะสั้น 7 วัน และหลักสูตร 1 เดือน เพื่อให้ได้เรียนรู้พื้นฐานการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงหนทางนิพพาน โดยจะหารือกับมหาเถรสมาคมในการประกาศให้พระบวชใหม่ทั่วประเทศ จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรวิปัสสนากรรมฐานทุกรูปทั้งระยะสั้น หรือระยะยาว ว่าจะมีความพร้อมหรือไม่ หากสามารถทำได้ จะเกิดประโยชน์ต่อผู้ที่เข้ามาบวชในพระพุทธศาสนาอย่างมาก ในการพัฒนาจิตใจของตนเอง รวมทั้งยกระดับคุณภาพของพระสงฆ์ไทย ที่สำคัญจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนเป็นอย่างมากด้วย

'ทุกวันนี้พุทธศาสนิกชนต้องการเรียนรู้วิธีการวิปัสสนากรรมฐานมากขึ้น แต่พระสงฆ์ของเรานั้นยังปฏิบัติได้น้อย เน้นแต่เรียนทางปริยัติ หากเราพัฒนาพระสงฆ์เราให้สามารถสอนกรรมฐานได้มากขึ้น ก็จะเกิดประโยชน์ต่อสังคมมากขึ้นตามไปด้วย อย่างที่อาตมาทำอยู่ ฝึกพระสงฆ์ให้เรียนรู้วิปัสสนากรรมฐานภายใน 1 ปีก็สามารถเป็นอาจารย์สอนกรรมฐานได้อย่างถูกต้องได้แล้ว ทุกวันนี้ พระสอนวิปัสสนากรรมฐานยังขาดอีกมาก โดยเฉพาะในต่างประเทศต้องการพระเหล่านี้เป็นจำนวนมาก' สมเด็จพระพุทธชินวงศ์กล่าว



www.phrathai.net/news-article/สมเด็จพระพุทธชินวงศ์-ดันหลักสูตรฝึกอบรมกรรมฐานพระสงฆ์บวชใหม่
77  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / กระแสธรรมของ พระโสดาบัน มีได้ต้องภาวนา อนุสสติเป็นประจำ เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 12:52:03 pm


กระแสธรรมของ พระโสดาบัน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฐานะ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน คือพุทธานุสสติ ๑ ธรรมานุสสติ ๑ สังฆานุสสติ ๑ สีลานุสสติ ๑จาคานุสสติ ๑ เทวตานุสสติ ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุสสติฐานะ ๖ ประการนี้

 ดูกรมหานามะ อริยะสาวกผู้ได้บรรลุผลทราบชัดพระศาสนาแล้ว ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก คือ อริยะสาวกในพระศาสนานี้ ย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ ว่า แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงพระตถาคตเนืองๆ

สมัยนั้น จิตของอริยะสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ไม่ถูกโทสะกลุ้มรุมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุม ย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระตถาคตย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความซาบซึ้งธรรมย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อปราโมทย์ เกิดแล้ว ย่อมเกิดปีติ  กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรมหานามะ นี้อาตมภาพกล่าวว่า อริยะสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ในเมื่อหมู่สัตว์ยังไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาทเป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญ พุทธานุสสติ ฯ

   ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยะสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว อันผู้บรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้ดูควรน้อมเข้ามา อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงพระธรรมเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยะสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระธรรม ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรมย่อมเจริญธรรมานุสสติ

   ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยะสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติตรงแล้วเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อญายะธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ นี้คือคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นั่นคือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควรกระทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่าสมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงพระสงฆ์เนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยะสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภพระสงฆ์ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสังฆานุสสติ ฯ

   ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยะสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆที่ไม่ขาดไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย อันวิญญูชนสรรเสริญ อันตัณหาทิฐิไม่ยึดถือ เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงศีลของตนเนืองๆ สมัยนั้นจิตของอริยะสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม... ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภศีล ...ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ...เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญสีลานุสสติ

   ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยะสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคของตนเนืองๆ ว่าเป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ คือ เมื่อหมู่สัตว์ถูกมลทินคือความตระหนี่กลุ้มรุม เรามีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือนเป็นผู้มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม(คอยหยิบของบริจาค) ยินดีในการเสียสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงการบริจาคเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยะสาวกนั้นย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ... ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภจาคะ ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ... เป็นผู้ถึงพร้อมกระแสธรรม ย่อมเจริญจาคานุสสติ ฯ

   ดูกรมหานามะ อีกประการหนึ่ง อริยะสาวกย่อมเจริญเทวตานุสสติ (ความระลึกถึงเทวดาเนืองๆ) ว่า เทวดาเหล่าจาตุมหาราชมีอยู่ เทวดาเหล่าดาวดึงส์มีอยู่ เทวดาเหล่ายามามีอยู่เทวดาเหล่าดุสิตมีอยู่ เทวดาเหล่านิมมานรดีมีอยู่เทวดาเหล่าปรนิมมิตวสวัสดีมีอยู่ เทวดาเหล่าพรหมกายิกามีอยู่ เทวดาที่สูงกว่าเหล่าพรหมนั้นมีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศรัทธาเช่นใดจุติจากโลกนี้แล้วอุบัติในเทวดาชั้นนั้น
ศรัทธาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยศีลเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ศีลเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่  เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยสุตะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้นสุตะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยจาคะเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น จาคะเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่ เทวดาเหล่านั้นประกอบด้วยปัญญาเช่นใด จุติจากโลกนี้แล้ว อุบัติในเทวดาชั้นนั้น ปัญญาเช่นนั้นแม้ของเราก็มีอยู่

ดูกรมหานามะ สมัยใด อริยะสาวกย่อมระลึกถึงศรัทธา ศีลสุตะ จาคะ และปัญญา ของตนและของเทวดาเหล่านั้นเนืองๆ สมัยนั้น จิตของอริยะสาวกนั้น ย่อมไม่ถูกราคะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม ย่อมไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมย่อมเป็นจิตดำเนินไปตรงทีเดียว ก็อริยะสาวกผู้มีจิตดำเนินไปตรงเพราะปรารภเทวดา ย่อมได้ความซาบซึ้งอรรถ ย่อมได้ความซาบซึ้งธรรม ย่อมได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม เมื่อได้ความปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติเมื่อมีใจประกอบด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุขจิตย่อมตั้งมั่น   

นี้ตถาคตกล่าวว่า อริยะสาวกเป็นผู้ถึงความสงบเรียบร้อยอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ไม่สงบเรียบร้อย เป็นผู้ไม่มีความพยาบาทอยู่ ในเมื่อหมู่สัตว์ยังมีความพยาบาทกันอยู่ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยกระแสธรรม ย่อมเจริญเทวตานุสสติ    อริยะสาวกผู้ได้บรรลุผล ทราบชัดพระศาสนาแล้วย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้เป็นส่วนมาก

ภิกษุเจริญพุทธานุสสติ   เจริญธัมมานุสสติ   เจริญสังฆานุสสติ   เจริญสีลานุสสติ   เจริญจาคานุสสติ เจริญเทวตานุสสติ     เจริญมรณสติ   เจริญอุปสมานุสสติ   อันสหรคตด้วยปฐมฌาน อัน  สหรคตด้วยทุติยฌาน อันlหรคตด้วยตติยฌาน อันสหรคตด้วยจตุตถฌาน  แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดาปฏิบัติตามพระโอวาท ไม่ฉันอาหารบิณฑบาต ของชาวแว่นแคว้นเปล่า


ที่มาหนังสือ คู่มือปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
โดยพระครูสิทธิสังวร
วัดราชสิทธาราม คณะ 5


78  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ฌานสูตร อ่านกันหน่อยดีหรือ ไม่ สำหรับท่านที่ปรารถนา เรื่อง ฌาน เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 12:37:13 pm
ฌานสูตร
    ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ทุติยฌานบ้าง ตติยฌานบ้าง จตุตถฌานบ้าง อากาสนัญจายตนฌานบ้าง ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานบ้าง ฯ

   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร ไม่มีสุข เป็นอาพาธ เป็นของผู้อื่น เป็นของชำรุด ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว เธอย่อมโน้มจิตไปเพื่ออมตธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวงความสิ้นตัณหาความคลายกำหนัดความดับ นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์๕สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ

ดูกรภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองก้อนดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกลยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแลสงัดจากกาม ฯลฯบรรลุปฐมฌาน เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญาสังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งปฐมฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ว่างเปล่าเป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้วย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตะธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง นิพพาน เธอตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดาเพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์๕สิ้นไป ด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ข้อที่เรากล่าวว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะอาศัยปฐมฌานบ้าง ดังนี้นั้นเราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯก็ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยทุติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยตติยฌานบ้าง ฯลฯ เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันมีอยู่ในขณะแห่งจตุตถฌานนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ... ว่างเปล่า เป็นอนัตตา เธอย่อมยังจิตให้ตั้งอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ครั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออมตะธาตุว่า นั่นสงบ นั่นประณีตคือ ธรรมเป็นที่สงบแห่งสังขารทั้งปวง ...นิพพาน เธอตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้ายังไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เธอย่อมเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ สิ้นไปด้วยความยินดีเพลิดเพลินในธรรมนั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนนายขมังธนู หรือลูกมือของนายขมังธนู เพียรยิงธนูไปยังรูปหุ่นที่ทำด้วยหญ้าหรือกองดิน ต่อมาเขาเป็นผู้ยิงได้ไกลยิงไม่พลาด และทำลายร่างใหญ่ๆได้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแลบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมทั้งหลาย คือ รูป เวทนา ฯลฯ มีอันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ข้อที่เรากล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยจตุตถฌานบ้าง ดังนี้นั้น เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ


ที่มาจากหนังสื่อ คู่มือปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
โดย พระครูสิทธิสังวร
วัดราชสิทธาราม คณะ 5




http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=444.0
79  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / พิจารณาวิปัสสนา ในรูปฌาน ในแนวทางกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ เมื่อ: กรกฎาคม 08, 2012, 12:11:58 pm


พิจารณาวิปัสสนา ในรูปฌาน
   ดูกรคฤหบดี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่าแม้ปฐมฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

        เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยะสังโยชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

   ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุอันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้   

       ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายในเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่เธอพิจารณา อยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ทุติยฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้นก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดาดังนี้
 
      เธอตั้งอยู่ในธรรม คือ สมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลิน ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

   ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบอันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุ อันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้

   ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้ตติยฌานนี้อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้นสิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้
เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น เพราะความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปรินิพพานในที่นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

   ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุถึงธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุอันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้

   ดูกรคฤหบดี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมรู้ชัดว่า แม้จตุตถฌานนี้ อันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้น ก่อสร้างขึ้น สิ่งนั้นไม่เที่ยง มีความดับไปเป็นธรรมดา ดังนี้

       เธอตั้งอยู่ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้น ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ถ้าไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย เพราะความยินดีเพลิดเพลินในธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั้นเพราความสิ้นไปแห่งโอรัมภาคิยสัญโญชน์ ๕ เธอย่อมเป็นโอปปาติกะ จะปริพพานในที่นั้นมีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา

   ดูกรคฤหบดี ธรรมอันหนึ่งแม้นี้แล ที่เมื่อภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีคนส่งไปอยู่จิตที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป ย่อมบรรลุธรรมที่ปลอดโปร่งจากกิเลสเป็นเครื่องประกอบไว้ อันไม่มีธรรมอื่นยิ่งกว่า ที่ยังไม่บรรลุอันพระผู้มีพระภาคผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น ตรัสไว้


ที่มาหนังสือ คู่มือปฏิบัติกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
โดยพระครูสิทธิสังวร
วัดราชสิทธาราม คณะ 5
80  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เชิญร่วมทำบุญตักบาตรดอกไม้ ที่วัดพระพุทธบาท ประจำปี 2555 ( วันที่ 1 ส.ค.55 ) เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2012, 11:26:46 am
นายถาวร พรหมมีชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เผยว่า จังหวัดสระบุรี ร่ วมกับ วัดพระพุทธบาท ราชรมหาวิหาร เทศบาลเมืองพระพุทธบาท องค์การบริหารส่วนจังหวัดสระบุรี ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และประชาชนจังหวัดสระบุรี ได้จัดทำโครงการจัดงานประเพณีตักบาตรดอกเข้าพรรษาและถวายเทียนพระราชทาน ประจำปี 2555 ณ บริเวณวัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี และจังหวัดสระบุรี กำหนดจัดพิธีถวายเทียนพรรษาจังหวัดสระบุรี ประจำปี 2555 จำนวน 86 ต้น ณ ศาลาอบรมพระสงฆ์เฉลิมพระเกียรติ วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร ในวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2555 เวลา 09.00 น. เพื่อถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555

ในการนี้ จังหวัดสระบุรี ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชน และประชาชนจังหวัดสระบุรี ร่วมเป็นเจ้าภาพในการถวายเทียนพรรษาจังหวัดสระบุรี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสที่ทรงมีพระชนมายุครบ 85 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2555 ด้วยการร่วมทำบุญเป็นเจ้าภพถวายเทียนพรรษาจังหวัด ประจำปี 2555 จำนวน 86 ต้น ราคาต้นละ 1,200 บาท โดยรวมขาตั้งและประดับดอกไม้ พร้อมปัจจัยถวายเป็นค่าพาหนะแด่พระภิกษุสงฆ์ ที่มารับเทียนพรรษาจังหวัดสระบุรี วัดละ 500 บาท โดยผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษาลำดับที่ 1 ถึงลำดับที่ 86 จะเป็นผู้ถวายเทียนพรรษาด้วยตนเอง สำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญถวายเทียนพรรษา นอกจากนั้น จังหวัดสระบุรีจะดำเนินการรวบรวมปัจจัยถวายวัดพระพุทธบาท ราชวรวิหาร สำหรับผู้มีจิตศรัทธาร่วมทำบุญในครั้งนี้ สามารถแจ้งความประสงค์และส่งเงินค่าเทียนพรรษาได้ที่ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสระบุรี ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2555


หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6