ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - arlogo
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6
81  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจากเมล "ผู้ปฏิบัติ กรรมฐาน ควรเริ่มต้นที่ไหนถึงจะปฏิบัติได้ผล" เมื่อ: กรกฎาคม 04, 2012, 10:44:54 am
ตอบคำถามจากเมล

ปุจฉา
         "ผู้ปฏิบัติ กรรมฐาน ควรเริ่มต้นที่ไหนถึงจะปฏิบัติได้ผล เพราะไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีถึงจะได้ผลที่ดีที่สุด ในการปฏิบัติ เคยไปตามเพื่อนมาแล้ว ก็ยังปฏิบัติไม่ได้ภาวนาไม่ได้ จนกระทั่งรู้สึกท้อถอยต่อการภาวนา ว่าน่าจะเป็นไปไม่ได้ในชาตินี้ คงต้องสั่งสมบารมีกันไปก่อน หรือควรทำอย่างไรดีคะ นมัสการฃ่วยตอบด้วยนะคะ"


วิสัชชนา



       เป็นคำถามที่พื้นฐาน มากแต่ก็เป็น คำถามที่ดี ในยุคนี้ สถานที่ปฏิบัติธรรมมีเป็นจำนวนมาก มีหลายสำนัก หลายครูอาจารย์ ภายใต้องค์กรเดียวกัน คือ พุทธศาสนา จนบางครั้งผู้ภาวนากันเองก็ สับสนและ ทะเลาะกันก็มี ด้วยเรื่อง และเหตุแห่งการเรียน การสอน วิธีการภาวนาที่แตกต่างกันไป นับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่มีคำถามอย่างนี้ เพราะผู้ภาวนาควรจะเข้าใจ

        ผู้ภาวนา ที่ดี ควรปฏิบัติตามขั้นตอนนี้

         1.ถามตนเองกลับไปว่า ตนเอง มาภาวนาทำไม ? การถามอย่างนี้ คือการกำหนดเป้าหมาย ว่าเราจะมาภาวนาเพื่ออะไร จะได้ไม่เคว้งคว้าง ไม่รู้ที่ไปที่มาของการภาวนา กลายเป็นการภาวนา แฟชั่น เห่อกันไปตามสมัย ตามยุค หาแก่นสารของตนเองไม่ได้
             
         2.เมื่อท่านกำหนดเป้าหมายการภาวนาได้ ก็จะได้เรียนและภาวนาตามจุดประสงค์ การปฏิบัติได้วัตถุประสงค์ที่ตั้งใจ จัดเป็นข้อสอบของตัวท่านเอง เป็นคำตอบให้กับท่านว่า ท่านได้ผล หรือ ยัง หรือ ว่าได้ผลแล้ว ยังตอบว่าไม่ได้ อยู่อีก

         3.การปฏิบัติ กรรมฐาน ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าในสำนักใด ๆ ก็ตาม ควร มีกัลยาณมิตร ที่ทรงคุณธรรม ความรู้ที่สามารถช่วยหรือตอบปัญหา ในการภาวนาให้ได้

         4.จัดสรรเวลาในการภาวนา หัวข้อนี้ก็สำคัญ บางท่านมีความตั้งใจจะภาวนา แต่จัดสรรเวลาไม่ได้ พาลไปก็เหมาเป็นการปฏิบัติไปในชีวิตประจำวัน คือ ฝึกปฏิบัติแบบทำใจ เหมือนฝึกสติในชีวิตประจำวัน ที่มีหลายท่านเข้าใจผิดว่า การปฏิบัติ ก็คือการทำงาน อันนี้ย้อนรอยพระพุทธเจ้าเลยนะนี่ ดังนั้นการปฏิบัติภาวนาก็คือการทำมรรคให้สมบูรณ์ ส่วนใหญ่ในปัจจุบันผู้ภาวนา จะขาด มรรค 2 ประการ คือ สัมมาสติ มรรค และ สัมมาสมาธิ มรรค ดังนั้น สำนักการสอนกรรมฐานต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่จะเน้นการสอน กรรมฐาน อยู่สองแบบ คือ ภาวนาด้วยสติ ภาวนาด้วยสมาธิ  ดังนั้นท่านที่จะมาภาวนานั้นอย่าเข้าใจเราฝึกภาวนาเพียงแต่ด้านใดด้านหนึ่ง แต่การภาวนานั้น เป็นการฝึกภาวนาให้มรรค มีองค์ สมบูรณ์


          ทำไม ฝึก สมาธิแล้วไม่ก้าวหน้า ?????? คำถามนี้ต้องย้อนกลับไปว่า สติ ท่าน มีหรือ ยัง ความเพียร มีหรือ ยัง ประกอบอาชีพสุจริตหรือยัง ทำกรรมดีหรือยัง มีศีลสมบูรณ์ หรือยัง มีความตั้งใจที่จะออกจาก กาม พยาบาท โทสะ โมหะ หรือไม่ ท่านเข้าใจ สัมมาทิฏฐิ แล้วหรือยัง เมื่อจะตอบคำถามก็จะไล่สาเหตุกลับไปได้ เป็นเพราะที่ปฏิบัติไม่ได้ ก็เพราะ อริยมรรคไม่สมบูรณ์ อริยมรรค มิได้สมบูรณ์ ด้วย สมาธิ หรือ สติ หรือความเพียร แต่จะสมบูรณ์ได้ ด้วย มรรค ทั้ง 8 ครบถ้วน

         ดังนั้น บารมีที่ไม่เต็ม ในที่นี้หมายถึง บารมี ในมรรคยังไม่พอ ดังนั้นท่านที่มาภาวนาบางท่านใช้เวลาวันเดียว ปฏิบัติ บางท่าน 7 วัน บางท่านเป็น เดือน บางท่านก็เป็นปี บางท่านก็หลาย ปี แต่ถ้าท่านทำจริง ภาวนาจริง ทำให้สมบูรณ์ จริง ๆ พระพุทธเจ้าพระองค์ทรงตรัสไว้ ใน มหาสติปัฏฐานสุตรว่า ไม่เกิน 7 ปี ก็สำเร็จแล้ว

        เชื่อหรือไม่ ? ก็พิจารณากันเอาเอง

        แต่ที่จะบอก และ เตือนก็คือ เป้าหมายในการภาวนา เป็นสิ่งที่สำคัญในการภาวนา เพราะปัจจุบันด้วยประสบการณ์ การสอนมา เห็นศิษย์หลายท่านตอนนี้สูญเสียเป้าหมายในการภาวนา กลายเป็นว่า ฉันตั้งใจภาวนาเพื่อ ละตัดกิเลส ตัดสงสาร กลายเป็นว่า ไปภาวนาเพื่อสรรเสริญ เพื่อหน้าตา จนกระทั่งบางท่านก็สูญเสียเป็นทุกข์ เพราะแบกโลกธรรม ลืมเป้าหมายการภาวนาที่แท้จริง

        สุดท้าย ขอให้ท่านรักษา เป้าหมายในการภาวนา แล้ว ท่านก็จะเข้าใจการภาวนา และวิธีการภาวนา และถึงพร้อมด้วยการภาวนา กิจแห่งพรหมจรรย์ เป็นกิิจที่เลิศที่สุด กิจอื่น ยิ่่งกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว

        โปรดใช้ ปัญาพิจารณา และ อย่าตั้งอยู่ในความประมาท
     
       เจริญธรรม / เจริญพร
       
 ;)




82  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจากเมล "ทำไมพระอาจารย์ ไม่ให้แจ้งกรรมฐานทางกระทู้" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 11:03:16 am
ตอบคำถามจากเมล

ปุจฉา
"ทำไมพระอาจารย์ ไม่ให้แจ้งกรรมฐานทางกระทู้"

วิสัชชนา

   เนื่องด้วยกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ มีธรรมเนียมที่ต้องปฏิบัติ คงธรรมเนียมดุจวินัย ต้องรักษาไว้เพราะหากไม่รักษาธรรมเนียม ของครูอาจารย์ไว้ ก็จะทำให้พระกรรมฐาน สูญเร็วขึ้น เหมือนลูกหลานไม่ไหว้พ่อแม่ สักวันหนึ่งธรรมเนียมนี้ก็จะหายไป เพราะคิดว่าการไหว้ก็เป็นเพียงรูปแบบ การกตัญญูต่างหากที่สำคัญ ฉันใดก็ฉันนั้น หลาย ๆ ท่านก็มักจะคิดว่า ธรรมเนียม ก็เป็นเพียงรูปแบบ ความสำคัญอยู่ที่ภาวนากรรมฐาน ดังนั้นท่านทั้งหลายเหล่านั้น จึงพยายามที่จะเรียนกรรมฐาน กับอาตมาทั้ง ๆ ที่ไม่มีความเคารพกันเลย ซึ่งมักจะพูดว่า อาตมาไม่มีเมตตาสอน ยึดถือธรรมเนียมมากเกินไปบ้าง หรือมักจะบอกว่า หวงวิชา ทั้ง ๆ ที่เป็นวิชาของพระพุทธเจ้าน่าจะเปิดเผยให้แก่ผู้สนใจ หรือต้องการ และจะอีกหลาย ๆประการที่มักได้ยิน และอ่านจดหมายที่พูดถึงเรื่องนี้โดยทุกท่านพยายามแสดงความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องขึ้นกรรมฐาน ก็เรียนกรรมฐาน และ ภาวนากรรมฐานได้

    ดังนั้นถ้าท่านทั้งหลาย ยังไม่พร้อมขึ้นกรรมฐาน ก็จึงยังไม่พร้อมที่จะแจ้งกรรมฐานด้วยเช่นกัน ซึ่งท่านที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐานด้วยกัน อาตมาก็ไม่รับแจ้งกรรมฐานอยู่แล้ว แต่ให้คำปรึกษาบางช่วงบางตอนให้ได้ ซึ่งอาจจะตอบไปแล้วถูกใจท่านบ้าง ไม่ถูกใจท่านบ้างก็อยู่ตามสถานะ ของผู้ที่มีความเคารพต่อพระธรรมเช่นไรบ้าง

    สรุป ไม่รับแจ้งกรรมฐานสำหรับบุคคลที่ไม่ได้ขึ้นกรรมฐานด้วย แต่ให้คำปรึกษาบางช่วง บางตอนได้ ส่วนศิษย์ที่ขึ้นกรรมฐานนั้น ก็ดูความเหมาะสมที่จะรับแจ้งกรรมฐานด้วย

    เจริญพร / เจริญธรรม

      ;)

83  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจากเมล "เวลาเลื่อนจิต ควรเลื่อนตามลำดับ หรือ เลื่อนไปตามใจที่ชอบ" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 08:21:55 am
ตอบคำถามจากเมล

ปุจฉา
"เวลาเลื่อนจิต ควรเลื่อนตามลำดับ หรือ เลื่อนไปตามใจที่ชอบ"


วิสัชชนา

 เป็นคำถามที่ดี นะคำถามนี้ เกี่ยวกับเรื่องการเลื่อนจิตในกรรมฐาน สำหรับ คำว่า กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
การเลื่อนจิต ต้องเลื่อนเป็นลำดับ ควรจะเข้าเป็นลำดับ ยกเว้นแต่ได้รับคำสั่งให้ทรงไว้ที่ฐานจิตไหน ดังนั้น ที่ถูกต้องก็ต้องว่ากันไปตามลำดับ แต่ ลำดับนั้น มิใช้เป็น ปฐมฌาน ยังอยู่ในอุปจาระฌาน ดังนั้น การข้ามฐาน จึงทำได้ แต่การข้ามอารมณ์ไม่ได้

      การข้ามฐาน คือ จาก ฐานที่ 1 ไป ฐานที่ 5 ได้

      การข้ามอารมณ์ ทำไม่ได้ เพราะอารมณ์ คือห้องกรรมฐาน ดังนั้นก็ต้องผ่าน พระธรรมปีติ ไปพระยุคลธรรม ผ่านไป พระสุขสมาธิ จึงเป็นอุปจาระขั้นเต็ม ดังนั้นผู้ฝึกเลื่อนอารมณ์ไม่ได้ แต่เลื่อนฐาน ข้ามไป ข้ามมาได้ การเข้าคืบ เข้าสับก็ชัดเจนอยู่แล้ว ในเรื่องนี้

      ถึงแม้จิตเป็น ฌานแล้ว ก็ไม่สามารถ ข้ามอารมณ์แห่ง ฌานได้ ต้องเข้าไปเป็นสภาวะ
      การเข้าฌาน คือ ดับสภาวะอารมณ์จิต

      โดยการเข้า ปฐมฌาน เป็น ลำดับแรก
       
       ในปฐมฌาน มีองค์ 5 คือ   วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
       ในทุติยฌาน ก็ดับอารมณ์ 2 ดับ วิตก ดับวิจาร  เหลือเพียง 3 องค์
       ในตติยฌาน ก็ดับอารมณ์์ 1 ดับ ปีติ เหลือ สุข กับ เอกัคคตา
       ในจตุตถฌาน ก็ดับอารมณ์ 1 ดับ สุข เหลือ เอกัคคตา
       ในปัญจมฌาน ก็ดับ เอกัคคตา เหลือ อุเบากขา
 
       ดังนั้นจะเห็นได้ว่า อยู่ ๆ จะเข้าไปฌานที่ 4 เลยไม่ได้ เพราะต้องดับอารมณ์ สภาวะตามลำดับอย่างนั้น


  เจริญพร / เจริญธรรม

    ;)



84  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจากเมล "ผู้เข้าสมาธิ ได้ยินเสียง หรือไม่ได้ยินเสียง จัดการเสียงอย่างไร" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 08:11:02 am
ปุจฉา
"ผู้เข้าสมาธิ ได้ยินเสียง หรือไม่ได้ยินเสียง จัดการเสียงอย่างไร"

วิสัชชนา

  ผู้เข้าสมาธิ หมายถึง 1.ผู้ที่ปฏิบัติภาวนาเพื่อสมาธิ และ   2. ผู้สำเร็จผลสมาธิ

  เสียง ผู้เข้าสมาธิ ได้ยิน มีผลเหมือนกาย สัมผัสอากาศ ได้ยินแต่ไม่ใส่ใจ เมื่อไม่ใส่ใจ ก็เหมือนได้ยินและไม่ได้ยิน ดังนั้นสำหรับ พวกที่ 1 นั้น ได้ยินเต็ม และ อาจจะใส่ใจ และ อาจจะไม่ใส่ใจภาวนาต่อไป ส่วนพวกที่ 2 ได้ยินอย่างเดียว แต่ไม่ใส่ใจ อารมณ์ยังอยู่ที่ สภาวะ 2 ประการอย่างใดอย่างหนึ่งคือ เอกัคคตา หรือ อุเบกขา

   ในพระอภิธรรรม เล่มที่ 37 หน้าที่ 859 กล่าวเรื่องนี้ไว้บ้าง คือ กล่าวเรื่อง ปฏิปักษ์ของสมาธิ กล่าวว่า เสียง เป็น ปฏิปักษ์ของสมาธิ ตั้งแต่ ขณิกสมาธิ ถึง ปฐมฌาน ดังนั้นท่านที่มีสมาธิถึงขึ้นอัปปนา ปฐมฌานรับรองว่าได้ยินเสียงแน่ ๆ แต่เมื่อกำลังใจดีขึ้น เป็น ฌาน 2 เสียงก็ยังได้ยิน แต่ ไม่ใส่ใจในเสียงต่อไป แต่ ไปติดอยู่ ปีติ ฟุ้งด้วยเรื่องปีติ อยู่ การติดอย่างนี้บางท่านคิดว่าใช้ระยะเวลานาน อันที่จริง เท่าที่พบพระที่ภาวนาเป็น ฌานจิต กันหลายรูป หลายองค์ ที่พบนั้นพอได้ ปฐมฌาน ไม่ถึง สองสามวัน ก็เป็นจตุตถฌาน แล้ว ส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้น แสดงให้เห็นว่า ปีติ สุข มีระยะเวลาสุกงอม ดังนั้นปัญหาของสมาธิที่ว่าติดสุข นั้นไม่ใช่ปัญหาจริง ๆ แต่ปัญหา อยู่ที่ติด อุเบกขา หรือ เอกัคคตา มากกว่า ในครั้งพุทธกาลมีบุคคลที่สำเร็จ จตุดถฌาน จำนวนมาก แม้ปัจจุบันก็มีเยอะอยู่ ที่เห็นเป็น ฆราวาสก็มีหลายท่าน เป็นพระคุณเจ้า ก็ต้องปิดเป็นความลับรู้กันเฉพาะ เพราะว่าผิดจรรยาบรรณ(วินัย) ของพระนะจีะ

    ดังนั้น เสียง ผู้เข้าสมาบัติได้ยินแน่นอน แต่ ผู้เข้าสมาบัติไม่ใส่ใจในเสียง เท่านั้น

    สำหรับวิธีการจัดการเสียง นั้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นใช้การเข้าสะกด สมัยที่พระอริยะราหุลมหาเถรเจ้าพุทธชิโนรส  ท่านได้อุปเท่ห์ ในการฝึกคือการใช้ ไม้เคาะ หรือไม้กระทบ ปัจจุบันการเข้าสะกดวิธีการนี้เปลี่ยนมาเป็นการใช้ลูกสะกด ตะกั่ว ปักลงในเทียน แล้วให้ผู้ฝึกภาวนาทบทวนกรรมฐาน ตามเสียงลูกสะกด ที่ตกกระทบกับบาตรโลหะ ด้วยวิธีการ เข้าวัดออกวัด ( อนุโลมปฏิโลม ) เข้าคืบ เข้าสับ เป็นต้น วิธีการฝึกอย่างนี้ จะมีการฝึกสะกด 3 ห้อง คือ พระธรรมปีติ พระยุคลธรรม และ พระสุขสมาธิ แต่บางครั้งจิตของผู้ฝึกก้าวหน้าได้ไว ก็ไม่จำเป็นต้องใช้การเข้าสะกดเสมอไป

     ดังนั้นการเข้าสะกดจะใช้กับศิษย์ ที่มีอารมณ์ยังไม่แน่วแน่ และเป็นการทดสอบสภาวะอารมณ์กรรมฐาน ด้วย

  เจริญพร / เจริญธรรม


   ;)


85  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจากเมล "สมาธิไม่มีวิตกวิจาร ใช่หรือไม่ หรือ สมาธิต้องมี วิตกวิจาร" เมื่อ: กรกฎาคม 02, 2012, 07:54:00 am
ปุจฉา
"สมาธิไม่มีวิตกวิจาร ใช่หรือไม่ หรือ สมาธิต้องมี วิตกวิจาร"

วิสัชชนา

  สมาธิ คือ สภาวะอารมณ์ของจิตที่เป็นหนึ่งเดียว ด้วยอารมณ์แห่งกรรมฐานใด กรรมฐานหนึ่ง

  สมาธิ มีที่ปรากฏ เป็นวิตกวิจาร ก็มี
  สมาธิ มีที่ปรากฏ ไม่มีวิตกวิจาร ก็มี
  สมาธิ มีที่่ปรากฏ มีแต่วิจาร ไม่มีวิตกก็มี

  เป็นไปตามระดับของสมาธิ นะจ๊ะ

      สมาธิ มีที่ปรากฏเป็น วิตกวิจาร มีตั้งแต่ ขณิกสมาธิ ชณิกสมาธิ ควรแก่วิปัสสนา เป็นบางครั้ง
      สมาธิ มี่ที่ปรากฏไม่มีวิตกวิจาร ก็มีตั้งแต่อัปปนาสมาธิ ตติยฌาน ขึ้นไป
      สมาธิ มีที่ปรากฏไม่มีวิก มีแต่วิจาร ก็มีตั้งแต่อัปปนาสมาธิ ทุติยฌาน ขึ้นไป

   ในจตุดถฌาน ไม่มีวิตก วิจาร มีแต่ นิมิตรูปสภาวะ ไม่เรียกว่า วิตก เพราะไม่ต้องนึก ไม่ต้องบริกรรม ไม่ต้องพิจารณา ไม่ต้องใส่ใจ เพราะนิมิตอยู่ในใจเรียบร้อยแล้ว ขึ้นอยู่กับว่าต้องการใช้เพื่ออะไร

    อารมณ์สมาธิใช้ด้วยเหตุเบื้องต้น 2 ประการ
      คือ 1. ใช้เพื่อเอกัคคตา สนีบสนุน วิปัสสนา
          2. ใช้เพื่ออุเบกขา สนับสนุน สมาบัติ 4 และ 8
       
    สมาธิที่มีเกิดขึ้นแล้วมีผล 2 แบบ
          1. รูปาสภาวะ  ( รูปฌาน ) มีตั้งแต่ อุปจาระฌาน  - ฌานที่ 4
          2. อรูปาสภาวะ (อรูปฌาน )มีตั้งแต่ อากาสานัญจายตะธ่าตุ - เนวนาสัญญายตนะธาตุ

     เจริญธรรม เจริญพร


    ;)

86  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / " สัมมาวายมะ ในความหมาย ผู้ปฏิบัติหมายถึงการ เพียรอย่างไร ใช่เป็นความขยัน..." เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:45:29 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

" สัมมาวายมะ ในความหมาย ผู้ปฏิบัติหมายถึงการ เพียรอย่างไร ใช่เป็นความขยัน หรือไม่ คะ "

วิสัชชนา

   รอคำตอบไปก่อนนะ หรือ ท่านทั้งหลายช่วยตอบกันก็ดีนะจ๊ะ


 ;)
87  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / "ถ้าไม่ฝึกจิต ให้เป็น ฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาได้หรือไม่ คะ" เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:43:45 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

"ถ้าไม่ฝึกจิต ให้เป็น ฌาน จะสามารถทำวิปัสสนาได้หรือไม่ คะ"

วิสัชชนา

   รอคำตอบไปก่อนนะ หรือ ท่านทั้งหลายช่วยตอบกันก็ดีนะจ๊ะ

 ;)
88  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / "ปัคคาหะ จัดเป็น วิปัสสนูอุปกิเลส เป็นอุปสรรคกรรมฐาน แล้ว ...." เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:41:40 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

"ปัคคาหะ จัดเป็น วิปัสสนูอุปกิเลส เป็นอุปสรรคกรรมฐาน แล้ว ปัคคาหะนิมิต จะไม่เป็นอุปสรรคขวางธรรมหรือไครับ "

วิสัชชนา

   รอคำตอบไปก่อนนะ หรือ ท่านทั้งหลายช่วยตอบกันก็ดีนะจ๊ะ
89  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / "ช่วยเลื่อนระดับกรรมฐาน ให้ด้วยคะ อยากเลื่อนระดับกรรมฐานคะ....." เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:38:08 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

"ช่วยเลื่อนระดับกรรมฐาน ให้ด้วยคะ อยากเลื่อนระดับกรรมฐานคะ ฝึกพระขุททกาปีติมา 3 ปีแล้วคะ ไปขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม มาแล้วคะ "

วิสัชชนา

   รอคำตอบไปก่อนนะ หรือ ท่านทั้งหลายช่วยตอบกันก็ดีนะจ๊ะ

 ;)
90  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / "รู้ได้ย่างไร ว่าจิตเราจะเป็นสมาธิเพราะการภาวนา หรือมีสมาธิเต็มรอบแล้ว......" เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:34:39 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

"รู้ได้ย่างไร ว่าจิตเราจะเป็นสมาธิเพราะการภาวนา หรือมีสมาธิเต็มรอบแล้ว ควรแก่การวิปัสสนา"

วิสัชชนา

   รอทุกท่านช่วยกันตอบกันไปก่อนนะจ๊ะ
 
91  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบจดหมายจากเมล "วิธีการบริหารสติ สมาธิ ปัญญา อย่างนั้นควรมีมากหรือมีน้อย" เมื่อ: มิถุนายน 27, 2012, 01:32:56 pm
เอาปัญหาลงไว้ก่อนก็แล้วกัน ท่านเจ้าของจดหมายจะได้ทราบว่าได้อ่านจดหมายของท่านแล้ว ส่วนจะตอบหรือยังไม่ตอบ อาศัยเพื่อนในห้องช่วยกันตอบก่อนก็ดีเหมือนกันนะจีะ
ตอบจดหมายจากเมล

ปุจฉา

"วิธีการบริหารสติ สมาธิ ปัญญา อย่างนั้นควรมีมากหรือมีน้อย"

วิสัชชนา

    รอตอบทีหลัง นะจีะ
92  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมสาระวันนี้ "ความมหัศจรรย์ ในธรรมวินัย 8 ประการ" มหัศจรรย์ที่ 1 เมื่อ: มิถุนายน 02, 2012, 09:22:03 am
๓. อิมัสมิงธัมมวินเยอัฏฐัจฉริยะ
 ว่าด้วยความมหัศจรรย์ในพระธรรมวินัย ๘ ประการ


           [๓๘๕]    ภิกษุทั้งหลาย    ในธรรมวินัยนี้    มีธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ    ๘
ประการ    ที่พวกภิกษุพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้เหมือนกัน
            ธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏ    ๘    ประการ    คือ

๑. ในธรรมวินัยนี้    มีการศึกษาไปตามลำดับ    มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ  ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที เหมือนมหาสมุทรต่ำไปโดยลำดับ  ลาดไปโดยลำดับ   ลึกลงไปโดยลำดับ  ไม่ลึกชันดิ่งไปทันที

      ภิกษุทั้งหลาย  ข้อที่ในธรรมวินัยนี้    มีการศึกษาไปตามลำดับ  มีการบำเพ็ญไปตามลำดับ  มีการปฏิบัติไปตามลำดับ  ไม่ใช่มีการบรรลุอรหัตตผลโดยทันที    นี้เป็นธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยปรากฏประการที่    ๑ ในธรรมวินัยนี้ที่ภิกษุทั้งหลายพบเห็นแล้วต่างพากันยินดีในธรรมวินัยนี้





93  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมสาระวันนี้ "การได้ตรัสรู้ และ มีธรรมจักษุ มีผลยิ่งใหญ่" เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2012, 09:49:33 am
  ๒. อภิสมยสังยุต
  ๑. นขสิขาสูตร
  ว่าด้วยฝุ่นติดปลายเล็บ

 
พระไตรปิฏก เล่มที่ 16 หน้า 161

  [๗๔]    ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ  พระเชตวัน    อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี    เขตกรุงสาวัตถี    ครั้งนั้น    พระผู้มีพระภาคทรงใช้ปลายพระนขาช้อนฝุ่นขึ้นมาเล็กน้อย    แล้วรับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร    คือ    ฝุ่นเพียงเล็กน้อยที่เราใช้ปลายเล็บช้อนขึ้นมานี้ก็ดีแผ่นดินใหญ่นี้ก็ดี    อย่างไหนจะมากกว่ากัน”

            “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    แผ่นดินใหญ่นี้แหละมีมากกว่า    ส่วนฝุ่นที่พระองค์ทรงใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย    เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่แล้ว    ฝุ่นที่พระองค์ใช้ปลายพระนขาช้อนขึ้นมามีเพียงเล็กน้อย    ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑๐๐    ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑,๐๐๐    ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑๐๐,๐๐๐”

            “ภิกษุทั้งหลาย    อุปมานี้ฉันใด    อุปไมยก็ฉันนั้น    ความทุกข์ที่หมดสิ้นไปของบุคคลผู้เป็นอริยสาวกผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ    ผู้รู้แจ้ง    นี้แหละมีมากกว่า    ส่วนความทุกข์ที่เหลือมีประมาณน้อย    เมื่อเทียบกับกองทุกข์ที่หมดสิ้นไปซึ่งมีในก่อน    ความทุกข์ที่ได้รับมากมายใน    ๗    อัตภาพ    มีประมาณน้อยไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑๐๐    ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑,๐๐๐    ไม่ถึงเศษหนึ่งส่วน    ๑๐๐,๐๐๐


            การตรัสรู้ธรรมมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้    การได้ธรรมจักษุมีประโยชน์ยิ่งใหญ่อย่างนี้”
 
              นขสิขาสูตรที่ ๑ จบ



94  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "ตัดอาหารของนิวรณ์ กันแล้ว กรรมฐานก็จักก้าวหน้าตามที่ควรจะเป็น" เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2012, 12:13:57 pm
พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  มหาวารวรรค  [๒.  โพชฌังคสังยุต]
  ๖.  โพชฌังคสากัจฉวรรค  ๑.  อาหารสูตร


พระไตรปิฏกเล่มที่ 19 หน้า 162 - 163

อาหารของนิวรณ์
            อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            คือ    สุภนิมิตมีอยู่    การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในสุภนิมิตนั้นให้มาก    นี้เป็นอาหารที่ทำกามฉันทะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            คือ    ปฏิฆนิมิตมีอยู่    การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในปฏิฆนิมิตนั้นให้มากนี้เป็นอาหารที่ทำพยาบาทที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            คือ    ความไม่ยินดี    ความเกียจคร้าน    ความเมื่อยขบของร่างกาย    ความเมาอาหาร    และความที่จิตหดหู่มีอยู่    การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก    นี้เป็นอาหารที่ทำถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้นอะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น

            คือ    ความไม่สงบจิตมีอยู่    การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในความไม่สงบจิตนั้นให้มาก    นี้เป็นอาหารที่ทำอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
 
           อะไรเล่าเป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น    หรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น
            คือ    ธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉามีอยู่    การทำมนสิการโดยไม่แยบคายในธรรมเหล่านั้นให้มาก    นี้เป็นอาหารที่ทำวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้นหรือทำวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วให้เจริญไพบูลย์ยิ่งขึ้น




        ขึ้นชื่อว่า ชาวโลก ย่อมอาศัยภักษาหาร ประคับประคองรักษาชีวิต
        ในขณะเดียวกัน ภักษาหาร ที่ทำให้กิลสขั้นต่ำ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับนักภาวนา ก็คือ นิวรณ์ ก็มีอาหารเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงให้เจริญเติบโต ถ้านักภาวนาทั้งหลายรู้แล้ว ก็ควรตัดภักษาหารของนิวรณ์เสีย ก็จะทำให้กรรมฐาน มีความก้าวหน้า มากยิ่งขึ้น




95  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "ธรรม มีเหตุปัจจัย อาศัยซึ่งกันและกัน มิใช่เกิดขึ้นมาโดด ๆ" เมื่อ: พฤษภาคม 10, 2012, 10:35:56 am
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  นิทานวรรค  [๑.  นิทานสังยุต]
              ๓.  ทสพลวรรค  ๓.  อุปนิสสูตร

พระไตรปิฏก เล่มที่  16 หน้าที่ 40 - 43

                  ๓. อุปนิสสูตร
               ว่าด้วยธรรมที่อาศัยกัน
            [๒๓]    พระผู้มีพระภาคประทับอยู่  ...  เขตกรุงสาวัตถี
            “ภิกษุทั้งหลาย    เราเมื่อรู้เห็น    จึงกล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายเราเมื่อไม่รู้เห็น    จึงไม่กล่าวถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย
            เมื่อรู้เห็นอะไร    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี    คือ    เมื่อเรารู้เห็นอย่างนี้ว่า
            ‘รูปเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้    ความดับแห่งรูปเป็นอย่างนี้
            เวทนาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สัญญาเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            สังขารเป็นอย่างนี้    ฯลฯ
            วิญญาณเป็นอย่างนี้    ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้    ความดับแห่งวิญญาณเป็นอย่างนี้’
ราเมื่อรู้เห็นอย่างนี้แล    ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายจึงมี
            เมื่อธรรมเป็นที่สิ้นไป(๑)    มีอยู่    ขยญาณ(ญาณในธรรมเป็นที่สิ้นไป)    แม้ใด    ย่อมมีเรากล่าวว่าขยญาณแม้นั้นมีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งขยญาณ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิมุตติ‘(๒)
            เรากล่าวว่าแม้วิมุตติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งวิมุตติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิราคะ‘(๓)
            เรากล่าวว่าแม้วิราคะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งวิราคะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘นิพพิทา‘(๔)
            เรากล่าวว่าแม้นิพพิทาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งนิพพิทา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ยถาภูตญาณทัสสนะ‘(๕)
            เรากล่าวว่าแม้ยถาภูตญาณทัสสนะก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งยถาภูตญาณทัสสนะ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สมาธิ’
            เรากล่าวว่าแม้สมาธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสมาธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สุข’
            เรากล่าวว่าแม้สุขก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสุข    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปัสสัทธิ‘(๖)
            เรากล่าวว่าแม้ปัสสัทธิก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปัสสัทธิ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปีติ’


(๑) ธรรมเป็นที่สิ้นไป  ในที่นี้หมายถึงมรรคและผล  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๐-๖๑)
(๒) วิมุตติ  ในที่นี้หมายถึงความหลุดพ้นด้วยอรหัตตผล  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๓) วิราคะ  ในที่นี้หมายถึงมรรค  คือ  ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๔) นิพพิทา  ในที่นี้หมายถึงนิพพิทาญาณ  คือ  ญาณที่พิจารณาเห็นสังขารว่ามีโทษจนเกิดความเบื่อหน่าย
   (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๑)
(๕) ยถาภูตญาณทัสสนะ  ในที่นี้หมายถึงญาณที่พิจารณาเห็นสังขารตามความเป็นจริง  (สํ.นิ.อ.  ๒/๒๓/๖๒)
(๖) ปัสสัทธิ  คือธรรมที่สงบระงับความกระวนกระวาย  อันเป็นปัจจัยแห่งความสุขที่เป็นเบื้องต้นแห่งสมาธิที่แน่วแน่
   (สํ.นิ.อ.  ๒  /๒๓/๖๒)


เรากล่าวว่าแม้ปีติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปีติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ปราโมทย์’
            เรากล่าวว่าแม้ปราโมทย์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งปราโมทย์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ศรัทธา’
            เรากล่าวว่าแม้ศรัทธาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งศรัทธา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ทุกข์’
            เรากล่าวว่าแม้ทุกข์ก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งทุกข์    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ชาติ’
            เรากล่าวว่าแม้ชาติก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งชาติ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ภพ’
            เรากล่าวว่าแม้ภพก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งภพ    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อุปาทาน’
            เรากล่าวว่าแม้อุปาทานก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งอุปาทาน    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ตัณหา’
            เรากล่าวว่าแม้ตัณหาก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งตัณหา    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘เวทนา’    ฯลฯ
            สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘ผัสสะ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สฬายตนะ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘นามรูป’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘วิญญาณ’  ...  สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘สังขารทั้งหลาย’
            เรากล่าวว่าแม้สังขารทั้งหลายก็มีที่อาศัย    มิได้กล่าวว่าไม่มีที่อาศัย    อะไรเล่าเป็นที่อาศัยแห่งสังขารทั้งหลาย    สิ่งนั้นควรเรียกว่า    ‘อวิชชา’
            ภิกษุทั้งหลาย    เพราะเหตุนี้    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัยผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัยอุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัยขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย
            เมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกบนยอดภูเขา    น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม    ทำให้ซอกเขา    ลำธารและห้วยเต็มเปี่ยม    ซอกเขา    ลำธารและห้วยทั้งหลายเต็มเปี่ยมแล้ว    ทำหนองน้ำให้เต็มหนองน้ำเต็มเปี่ยมแล้ว    ทบึงให้เต็ม    บึงเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำน้อยให้เต็ม    แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว    ทำแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม    แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว    ก็ทำมหาสมุทรให้เต็ม    แม้ฉันใด
            ภิกษุทั้งหลาย    สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นที่อาศัย    วิญญาณมีสังขารเป็นที่อาศัย    นามรูปมีวิญญาณเป็นที่อาศัย    สฬายตนะมีนามรูปเป็นที่อาศัย    ผัสสะมีสฬายตนะเป็นที่อาศัย    เวทนามีผัสสะเป็นที่อาศัย    ตัณหามีเวทนาเป็นที่อาศัยอุปาทานมีตัณหาเป็นที่อาศัย    ภพมีอุปาทานเป็นที่อาศัย    ชาติมีภพเป็นที่อาศัย    ทุกข์มีชาติเป็นที่อาศัย    ศรัทธามีทุกข์เป็นที่อาศัย    ปราโมทย์มีศรัทธาเป็นที่อาศัย    ปีติมีปราโมทย์เป็นที่อาศัย    ปัสสัทธิมีปีติเป็นที่อาศัย    สุขมีปัสสัทธิเป็นที่อาศัย    สมาธิมีสุขเป็นที่อาศัย    ยถาภูตญาณทัสสนะมีสมาธิเป็นที่อาศัย    นิพพิทามียถาภูตญาณทัสสนะเป็นที่อาศัย    วิราคะมีนิพพิทาเป็นที่อาศัย    วิมุตติมีวิราคะเป็นที่อาศัย    ขยญาณมีวิมุตติเป็นที่อาศัย    ฉันนั้นเหมือนกัน
               อุปนิสสูตรที่ ๓ จบ




ขอบคุณภาพจาก http://webecoist.com
96  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "มีสัมมาทิฏฐิ ทำให้อายุยืน" เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2012, 10:09:51 am
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๓.  จักกวัตติสูตร]
 เรื่องความเสื่อมแห่งอายุและวรรณะ  เป็นต้น


พระไตรปิฏก เล่มที่ 11 หน้า 72

    [๑๐๐]  ภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย  ๑,๐๐๐ ปี มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) ก็แพร่หลาย    เมื่อมิจฉาทิฏฐิแพร่หลาย    คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้างมีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง    เมื่อพวกเขามีอายุเสื่อมถอยบ้าง    มีวรรณะเสื่อมถอยบ้างบุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย    ๑,๐๐๐    ปี    ก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ    ๕๐๐    ปี
    [๑๐๑]    ภิกษุทั้งหลาย    ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย  ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการคือ   
       อธัมมราคะ(๑)   วิสมโลภะ(๒)    และมิจฉาธรรม(๓)    ก็แพร่หลาย  เมื่อธรรม ๓  ประการแพร่หลาย    คนเหล่านั้นก็มีอายุเสื่อมถอยบ้าง    มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง    เมื่อพวกเขามีอายุเสื่อมถอยบ้าง    มีวรรณะเสื่อมถอยบ้าง    บุตรของมนุษย์ที่มีอายุขัย    ๕๐๐    ปีบางพวกก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ    ๒๕๐    ปี    บางพวกก็มีอายุขัยถอยลงเหลือ ๒๐๐  ปี
    ในเมื่อมนุษย์มีอายุขัย    ๒๕๐    ปี    ธรรมเหล่านี้    คือ    ความไม่เกื้อกูลมารดาความไม่เกื้อกูลบิดา    ความไม่เกื้อกูลสมณะ    ความไม่เกื้อกูลพราหมณ์    และการไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล    ก็แพร่หลาย



๑ อธัมมราคะ  แปลว่า  ความกำหนัดที่ผิดธรรม  หมายถึงความกำหนัดในบุคคลที่ไม่สมควรกำหนัด  เช่น
   แม่  พ่อ  (ที.ปา.อ.  ๑๐๑/๓๘)

๒ วิสมโลภะ  แปลว่า  ความโลภจัด  หมายถึงความโลภที่รุนแรงในฐานะแม้ที่ควรจะได้  (ที.ปา.อ.  ๑๐๑/๓๘)
๓ มิจฉาธรรม  แปลว่า  ความกำหนัดผิดธรรมชาติ  หมายถึงความกำหนัดที่ชายมีต่อชาย  และที่ผู้หญิงมีต่อ
   ผู้หญิง  (ที.ปา.อ.  ๑๐๑/๓๘)





97  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "อธิษฐานธรรม 4 ประการควรพอกพูนไว้" เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2012, 09:39:45 am
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  อุปริปัณณาสก์  [๔.  วิภังควรรค]
                 ๑๐.  ธาตุวิภังคสูตร

พระไตรปิฏก เล่มที่ 14 หน้า 404-405


[๓๔๗] เรากล่าวคำนี้ไว้ว่า  ‘ภิกษุ  บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม ๔ ประการ’
เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น คือ
 ๑.    อธิษฐานธรรมคือปัญญา       
 ๒.    อธิษฐานธรรมคือสัจจะ
 ๓.    อธิษฐานธรรมคือจาคะ           
 ๔.    อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ

คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘ภิกษุ บุรุษนี้มีอธิษฐานธรรม  ๔  ประการ’  นั่น
เพราะอาศัยเหตุนี้  เราจึงกล่าวไว้




ประโยชน์ อธิษฐาน ที่ท่านทั้งหลาย ควรพอกพูน และ ควรทำให้มีมากไว้ และหมั่นอธิษฐานในการภาวนา เพื่อประโยชน์ การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน เพื่อบารมีไปสู่การกระทำให้แจ้งพระนิพพาน



98  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "การปรารภความเพียร ในความหมายที่ถูกต้อง" เมื่อ: เมษายน 23, 2012, 11:00:16 am


ปรารภความพียร  ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์  และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอไม่หย่อนนัก  ไม่ตึงนัก  ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน  ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก  คำว่า  ความเพียร  ในที่นี้หมายเอา
ทั้ง  ความเพียรทางกาย  เช่น  เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน  ดุจในประโยคว่า  “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม  ด้วยการนั่งตลอดวัน” 

(อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) 

และ  ความเพียรทางจิต  เช่น  เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น  ดุจในประโยคว่า  “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”
(องฺ.เอกก.อ.  ๑/๑๘/๔๓)



   การปรารภความเพียร มีการปรารภ ความเพียร คือ ปฏิบัติภาวนาโดยสองส่วนพร้อมกัน อาศัย สัจจะ ( ความจริงใจ ) เป็นที่ตั้ง อาศัย การอธิษฐาน ( เป็นเครื่องเตือน ) อาศัย  ศรัทธา เป็น เรี่ยวแรง แต่ถึงจะมี สัจจะ เครื่องเตือน เรียวแรง แล้วก็ตาม สิงที่ขาดไม่ได้ ก็คือ กาย และ ใจ


   นักภาวนาส่วนใหญ่ มักจะ ทุ่มเท ต่อการภาวนา ทางจิต โดยลืมภาวนาทางกาย อันแท้จริงแล้วในกรรมฐาน ต้องอาศัยทั้ง กาย และ จิต ในพระยุคลหกนั้น สุข มิได้เกิดแต่ จิต แต่ สุข ก็เกิดกับกายด้วย การภาวนาจึงเป็นการรมกายและจิตเป็นหนึ่งเดียว เพื่อการบรรลุธรรม

    ถามว่า กายไม่อุเบกขา จิต จะอุเบกขาได้ หรือไม่ ? นักภาวนา พึงควรตอบให้ได้

    ดังนั้นการปรารภความเพียร จึงมีการปรารภความเพียรทางกาย และ มีการปรารภความเพียรทางจิต ไปด้วยพร้อมกันหาได้แยกจากกัน แต่ขอให้นักภาวนาได้เข้าใจว่า มิได้ปรารภแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้นนะจ๊ะ


   เจริญธรรม

     ;)




99  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "ในบุคคล 7 จำพวกนี้ท่านภาวนาอยู่ในพวกไหน" เมื่อ: เมษายน 18, 2012, 09:18:44 am
      พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
      เทศนาเรื่องปฏิปทา

เล่มที่ 11 หน้า 111 - 112

      เทศนาเรื่องปุคคลบัญญัติ
   [๑๕๐]    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องปุคคลบัญญัติก็นับว่ายอดเยี่ยม    บุคคล    ๗    จำพวกนี้ (๑)    คือ
๑.    อุภโตภาควิมุต (๒ )  (ผู้หลุดพ้นทั้ง    ๒    ส่วน)                                             
๒.    ปัญญาวิมุต( ๓)     (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา)
๓.    กายสักขี (๔)        (ผู้เป็นพยานในนามกาย)
๔.    ทิฏฐิปัตตะ (๕)      (ผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ)
๕.    สัทธาวิมุต (๖)       (ผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา)
๖.    ธัมมานุสารี (๗)      (ผู้แล่นไปตามธรรม)
๗.    สัทธานุสารี (๘)      (ผู้แล่นไปตามศรัทธา)
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปุคคลบัญญัติ



(๑) ดูเทียบ  องฺ.สตฺตก.  (แปล)  ๒๓/๑๔/๑๓
(๒) อุภโตภาควิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐานจนได้อรูปสมาบัติ  และใช้สมถะเป็นฐานในการบำเพ็ญ
   วิปัสสนาจนได้บรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๐,  องฺ.นวก.อ.  ๓/๔๕/๓๑๖)
(๓) ปัญญาวิมุต  หมายถึงผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ๆ  จนบรรลุอรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๔)กายสักขี  หมายถึงผู้มีศรัทธาแก่กล้า  ได้สัมผัสวิโมกข์  ๘  ด้วยนามกายและอาสวะบางอย่างก็สิ้นไป  เพราะ
   เห็นด้วยปัญญา  และหมายถึงพระอริยบุคคลผู้บรรลุโสดาปัตติผลขึ้นไป  จนถึงท่านผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล
   (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๕)ทิฏฐิปัตตะ  หมายถึงผู้บรรลุสัมมาทิฏฐิ  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนสิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
   มีปัญญาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑)
(๖) สัทธาวิมุต  หมายถึงผู้หลุดพ้นด้วยศรัทธา  เข้าใจอริยสัจถูกต้อง  กิเลสบางส่วนก็สิ้นไป  เพราะเห็นด้วยปัญญา
   มีศรัทธาแก่กล้า  และหมายถึงผู้บรรลุโสดาปัตติผลจนถึงผู้ปฏิบัติเพื่ออรหัตตผล  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,
   องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๑-๑๖๒)
(๗) ธัมมานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามธรรม  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีปัญญาแก่กล้า  บรรลุผล
   แล้วกลายเป็นทิฏฐิปัตตะ  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)
(๘) สัทธานุสารี  หมายถึงผู้แล่นไปตามศรัทธา  คือ  ผู้ปฏิบัติเพื่อบรรลุโสดาปัตติผล  มีศรัทธาแก่กล้า  บรรลุผลแล้วกลายเป็นสัทธาวิมุต  (องฺ.ทุก.อ.  ๒/๔๙/๕๕,  องฺ.สตฺตก.อ.  ๓/๑๔/๑๖๒)





ขอบคุณภาพประกอบจาก http://4.bp.blogspot.com
100  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "นักปฏิบัติควรเชื่อเรื่อง เวียนว่ายตายเกิดแบบ ภพ ด้วย" เมื่อ: เมษายน 18, 2012, 08:02:13 am
      พระสุตตันตปิฏก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๑.  มหาปทานสูตร]
                 เรื่องเกี่ยวกับปุพพเพนิวาส

เล่มที่ 10 หน้า 2 -3



  [๒]    พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำสนทนาของภิกษุเหล่านั้นด้วยทิพพโสตธาตุอันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์    เสด็จลุกจากพุทธอาสน์เข้าไปที่หอนั่งใกล้กเรริมณฑปประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่ปูลาดไว้แล้ว    รับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า
           “ภิกษุทั้งหลาย    บัดนี้    เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร    เรื่องอะไรที่เธอทั้งหลายสนทนากันค้างไว้”
            เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้    ภิกษุเหล่านั้น    จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาต    ภายหลังฉันอาหารเสร็จแล้ว    นั่งประชุมกันที่หอนั่งใกล้กเรริมณฑป    สนทนาธรรมอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาสว่า    ‘ปุพเพนิวาสมีได้เพราะเหตุอย่างนี้  ๆ’    เรื่องนี้แลที่ข้าพระองค์ทั้งหลายสนทนากันค้างไว้    ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง    พระพุทธเจ้าข้า”
            [๓]    พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า    “ภิกษุทั้งหลาย    เธอทั้งหลายต้องการจะฟังธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาสหรือไม่”
            พวกภิกษุทูลตอบว่า    “ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต    ถึงกาลอันสมควรที่พระผู้มีพระภาคจะทรงแสดงธรรมีกถาอันเกี่ยวกับปุพเพนิวาส    ภิกษุทั้งหลายได้ฟังจากพระผู้มีพระภาคแล้วจะได้ทรงจำไว้    พระพุทธเจ้าข้า”
            พระผู้มีพระภาคตรัสว่า    “ถ้าอย่างนั้น    เธอทั้งหลายจงฟัง    จงใส่ใจให้ดี    เราจักกล่าว”    ภิกษุเหล่านั้นทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว    พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
            [๔]    “ภิกษุทั้งหลาย    นับจากกัปนี้ถอยหลังไป    ๙๑    กัป    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก    นับจากกัปนี้ถอยหลังไป๓๑    กัป    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก    ในกัปที่    ๓๑    นั้นเอง    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าเวสสภู    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก    ในภัทรกัป(๑)นี้เอง    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา-สัมพุทธเจ้าพระนามว่ากกุสันธะ    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ    พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะ    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก    บัดนี้    เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า    ก็ได้อุบัติขึ้นมาในโลกในภัทรกัปนี้เช่นกัน
            [๕]    พระวิปัสสีพุทธเจ้า    พระสิขีพุทธเจ้า    พระเวสสภูพุทธเจ้า    มีพระชาติเป็นกษัตริย์    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์    พระกกุสันธพุทธเจ้า    พระโกนาคมน-พุทธเจ้า    พระกัสสปพุทธเจ้า(๒)   มีพระชาติเป็นพราหมณ์    ได้เสด็จอุบัติขึ้นในตระกูลพราหมณ์    บัดนี้    เราผู้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า    มีชาติเป็นกษัตริย์    ได้อุบัติขึ้นในตระกูลกษัตริย์


(๑)กัทรกัป คือ กัปที่เจริญหรือดีงาม เนื่องจากเป็นกัปเดียวที่มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติถึง ๕ พระองค์ ในที่นี้
   หมายถึงกัปปัจจุบันนี้ (ที.ม.อ. ๔/๕)

(๒) ตั้งแต่นี้เป็นต้นไปในพระสูตรนี้ จะใช้คำว่า “พระวิปัสสีพุทธเจ้า พระสิขีพุทธเจ้า พระเวสสภูพุทธเจ้า
   พระกกุสันธพุทธเจ้า พระโกนาคมนพุทธเจ้า พระกัสสปพุทธเจ้า“ แทนวลีว่า “พระผู้มีพระภาคอรหันต-
   สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าวิปัสสี  เป็นต้น





101  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระพุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เมื่อ: เมษายน 14, 2012, 09:16:58 am
พระพุทธไตรรัตนนายก เรียกกันเป็นสามัญว่า หลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้างประมาณ 20 เมตร สูง 19 เมตร เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไปมาแต่โบราณกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวจีน ซึ่งขนานนามหลวงพ่อโตองค์นี้ว่า "ซำปอกง" (三寶公/三宝公) หรือ "ซำ​ปอฮุดกง​"

พระพุทธไตรรัตนนายกประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพนัญเชิง ริมฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตรงข้ามกับมุมตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะเมืองอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
[แก้] ประวัติ

ตามตำนานกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้ง ทรงสร้างขึ้น ณ บริเวณที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และตามพระศาวดารกล่าวว่า พระพุทธรูปองค์นี้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1867 ก่อนที่พระเจ้าอู่ทองจะสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 26 ปี ครั้นสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้ว พระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้บูรณะซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีมาโดยตลอด กล่าวกันว่าเมื่อคราวจะเสียกรุงศรีอยุธยา ได้ปรากฏมีน้ำพระเนตรไหลออกมาจากพระเนตรทั้งสองข้างเป็นที่น่าอัศจรรย์

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงบูรณะองค์พระพุทธรูปใหม่ทั้งองค์และถวายพระนามว่า "พระพุทธไตรรัตนนายก"


    พระพุทธไตรรัตนนายก (จำลอง) วัดนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
   
    พระพุทธไตรรัตนนายก วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร


ขอบคุณภาพจาก http://www.palungdham.com
    หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)ได้สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ในพระวิหารหลวง และเรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง นอกจากนั้นยังมี หอมณเฑียรธรรมเถลิงพระเกียรติ เป็นที่เก็บประไตรปิฎกสมัยรัชกาลที่ ๔ หน้าพระวิหารหลวงยังมีหอระฆังฝีมือคนรุ่นใหม่ สำหรับไว้ระฆังยักษ์ มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ทางเข้าวัดมีเจดีย์หิน ทำมาจากเมืองจีน เรียกว่า ถะ เป็นศิลปะจีนที่งดงามมาก

    พระพุทธไตรรัตนนายก วัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา



ขอบคุณข้อมูลจาก
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81_%28%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%29
102  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / “สติสัมปชัญญะกถา” แด่ท่านที่ต้องการเจริญ วิปัสสนา ก่อนเจริญ สัมมาสมาธิ เมื่อ: เมษายน 05, 2012, 03:41:23 pm


นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

     ข้าพเจ้าผู้นอบน้อม พระไตรรัตนะ เป็นที่พึ่ง ผู้อธิษฐานจิต เป็นผู้ตั้งมั่นพากเพียรในความเป็น สาวกภูมิ
จักขอแสดง ธรรม วิปัสสนา การปฏิบัติธรรมโดยการเจริญสติ โดยขอตั้งชื่อเรื่องว่า “สติสัมปชัญญะกถา”

ขึ้นชื่อว่า สติ เป็นธรรมอันสำคัญ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงตรัสแสดงไว้เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ในหัวข้อศึกษาธรรม ในนวโกวาท หลักสูตรนักธรรมชั้นตรี ก็ได้จัดไว้เป็นธรรม 2  หัวข้อแรกดังแสดงไว้ดังนี้

ธรรมมีอุปการะ มาก 2 อย่าง
1. สติ  แปลว่า  ความระลึกได้
2. สัมปชัญญะ แปลว่า ความรู้ตัว
อันแท้ที่จริงนั้น สติ มีลักษณะ และ เหตุให้เกิด เช่นกัน และ เมื่อบุคคลมี สติ แล้ว ย่อมมี สัมปชัญญะ ไม่หลง ทั้งในโลก ทั้งในธรรม ทั้งในขันธ์ทั้ง 5  ดังจะพรรณนาให้ ทราบดังต่อไปนี้
สติมีลักษณะ 6  ( รูปร่างของสติมี 6 ประการ )
1.อะภิลาปะนะลักขะณา
   สติมีความระลึกได้ในอารมณ์ เนือง ๆ เป็นลักษณะ คือ เป็นเครื่องหมายบอกให้รู้
2.อะสัมโมสะระสา
   สติมีความไม่หลงลืม เป็นหน้าที่
3.อารักขปัจจุปัฏฐานา
   สติมีการรักษาอารมณ์ เป็นผลปรากฏ
4.วิสยาภิมุขะภาวะปัจจุปัฏฐานา
   สติมีความมุ่งหน้าเฉพาะต่ออารมณ์ เป็นผลปรากฎ
5.ถิระสัญญาปะทัฏฐานา
   สติมีความจำได้มั่นคง จำได้แม่นยำ เป็นเหตุใกล้ชิดที่ให้สติ เกิดขึ้น
6.กายทิสะติปัฏทัฏฐานะปะทัฏฐานา
   สติในแนวปฏิบัติมีสติปัฏฐาน 4  เป็นเหตุใกล้ชิดที่จะให้สติเกิดขึ้น


103  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมสาระวันนี้ "การทำโยนิโสมนสิการเพื่อให้เกิด ปีติ ปราโมทย์" เมื่อ: มีนาคม 30, 2012, 07:44:16 am
      พระสุตตันตปิฎก  สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค  [๙.  วนสังยุต]
                 ๑๑.  อโยนิโสมนสิการสูตร

            ๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร
            ว่าด้วยการมนสิการโดยไม่แยบคาย
            [๒๓๑]    สมัยหนึ่ง    ภิกษุรูปหนึ่งอยู่    ณ    ราวป่าแห่งหนึ่ง    แคว้นโกศล    สมัยนั้นท่านพักผ่อนอยู่ในที่พักกลางวัน    ตรึกถึงอกุศลวิตกอันเลวทราม    คือ    กามวิตก(ความตรึกเกี่ยวกับกาม)    พยาบาทวิตก(ความตรึกเกี่ยวกับพยาบาท)    และวิหิงสาวิตก(ความตรึกเกี่ยวกับวิหิงสา)    ครั้งนั้น    เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นมีความอนุเคราะห์หวังดีต่อภิกษุนั้น    ประสงค์จะให้ภิกษุนั้นสลดใจ    จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า

            ท่านถูกวิตกเกาะกิน    เพราะมนสิการโดยไม่แยบคาย
           ท่านจงละการมนสิการโดยไม่แยบคาย
           และจงใคร่ครวญโดยแยบคายเถิด
             ท่านปรารภพระศาสดา    พระธรรม    พระสงฆ์
            และศีลของตนแล้ว    จะบรรลุความปราโมทย์    ปีติ
            และความสุขโดยไม่ต้องสงสัย
            แต่นั้น    ท่านมากไปด้วยความปราโมทย์
            จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
            ลำดับนั้น    ภิกษุนั้นถูกเทวดาทำให้สลดใจ    เกิดความสลดใจแล้ว
            อโยนิโสมนสิการสูตรที่ ๑๑ จบ






การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ก็คือการตรึก ต่อการออกจากกาม ตรึกออกจากพยาบาท ตรึกออกจากการเบียดเบียน การตรึกอย่างนี้เรียกว่า การทำไว้ในใจโดยแยบคายสมควรแก่ธรรม

   การภาวนาคือการทำไว้ในใจโดยแยบคาย หากคิดมากไปก็จะทำให้เราเข้าไปสู่ปริยัติ ข้อศึกษามากในการปฏิบัติจริงคือการที่ท่านทั้งหลายมีความหมั่นภาวนา ที่มีความมุ่งหมายมุ่งตรงต่อการไม่กลับมาเกิดอีกนั่นเอง จัดป็น โยนิโสมนสิการ ทุกขณะดังนั้นขณะที่ท่านภาวนานั้นจึงเป็นไปเพื่อสนับสนุน ปีติ ปราโมทย์ ฉันทะ เพื่อ ธรรมสังเวช คือความสลดใจ จนเห็นจริงว่าควรเบื่อหน่าย คลายกำหนัด นั่นเอง

104  กรรมฐาน มัชฌิมา / ธรรมะสัญจร / โครงการ ธรรมสัญจร ปี พ.ศ.2555 จะมีที่ กาญจนบุรี เมื่อ: มีนาคม 21, 2012, 08:44:19 am
โครงการ ธรรมสัญจร ปี พ.ศ.2555 จะมีที่ กาญจนบุรี

  ที่สอบถามกันเข้ามาทางเมล ว่าปีนี้ อาตมาจะไป ธรรมสัญจร ที่จังหวัดไหน ก็ขอตอบเบื้องต้นว่า ตั้งใจจะไปที่ จังหวัด กาญจนบุรี นะสำหรับปีนี้ ส่วนจะไปหรือไม่ไป ก็ยังไม่ได้คิดนะจ๊ะ ต้องดูเหตุปัจจัยด้วย

เจริญพร

   ;)
















ก็มีภาพที่น่าสนใจ วัดที่น่าสนใจในการเิดินทางครั้งนี้ อีกมาก นะจ๊ะ
 เจริญธรรม / เจริญพร
105  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะสาระวันนี้ "แก่นสารของการภาวนาแบบพุทธ" เมื่อ: มีนาคม 21, 2012, 07:24:38 am
 พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
                    ๑๐.  สังคารวสูตร
เล่มที่ 13 หน้า 602

    (อาฬารดาบส    กาลามโคตรกล่าวว่า)    ‘ท่านผู้มีอายุ    เป็นลาภของพวกข้าพเจ้าพวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน    เพราะข้าพเจ้าประกาศว่า

    ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่    ท่านทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’    ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ข้าพเจ้าก็ประกาศว่า    ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ข้าพเจ้าทราบธรรมใด    ท่านก็ทราบธรรมนั้น    ท่านทราบธรรมใด    ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น    เป็นอันว่าข้าพเจ้าเป็นเช่นใด    ท่านก็เป็นเช่นนั้น    ท่านเป็นเช่นใด    ข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น    มาเถิด    บัดนี้    เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันบริหารคณะนี้’

            ภารทวาชะ    อาฬารดาบส    กาลามโคตร    ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา    ก็ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์ให้เสมอกับตน    และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดี    ด้วยประการอย่างนี้แต่เราคิดว่า    ‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่ง    เพื่อตรัสรู้    และเพื่อนิพพาน    เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น’    เราไม่พอใจ    เบื่อหน่ายธรรมนั้น    จึงลาจากไป



พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มัชฌิมปัณณาสก์  [๕.  พราหมณวรรค]
                    ๑๐.  สังคารวสูตร
เล่มที่ 13 หน้า 604

     (อุทกดาบส    รามบุตรกล่าวว่า)    ‘ท่านผู้มีอายุ    เป็นลาภของพวกข้าพเจ้าพวกข้าพเจ้าได้ดีแล้วที่ได้พบเพื่อนพรหมจารีเช่นท่าน    เพราะ(ข้าพเจ้า)    รามะประกาศว่า    ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่    ท่านก็ทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่    ท่านทำให้แจ้งธรรมใดด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่รามะก็ประกาศว่า    ‘ข้าพเจ้าทำให้แจ้งธรรมนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่’    รามะทราบธรรมใด    ท่านก็ทราบธรรมนั้น    ท่านทราบธรรมใด    รามะก็ทราบธรรมนั้นเป็นอันว่ารามะเป็นเช่นใด    ท่านก็เป็นเช่นนั้น    ท่านเป็นเช่นใด    รามะก็เป็นเช่นนั้นมาเถิดบัดนี้    ท่านจงบริหารคณะนี้’

            ภารทวาชะ    อุทกดาบส    รามบุตรทั้งที่เป็นเพื่อนพรหมจารีของเรา    ก็ยกย่องเราไว้ในฐานะอาจารย์    และบูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วยประการอย่างนี้    แต่เราคิดว่า‘ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้    และเพื่อนิพพาน    เป็นไปเพียงเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น    เราไม่พอใจ    เบื่อหน่ายธรรมนั้น    จึงลาจากไป




     อยากจะบอกพวกท่านทั้งหลาย ว่า เมื่อพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงออกผนวชครั้นยังไม่ได้สำเร็จธรรมเป็นพระพุทธเจ้านั้น พระองค์ได้เรียน ได้ศึกษาธรรม อย่างมีจุดประสงค์ คือมีเป้าหมาย ดังจะเห็นว่าดำริของพระองค์เป็นอย่างนี้ทุกครั้ง ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เป็นเครื่องวัดการภาวนาที่พระองค์ได้ทรงภาวนาและวัดผล และตัดสินพระทัยเพื่อการภาวนาในวิถึทางอื่นเพิ่มเดิม ทันที ดำริส่วนนี้ก็คือพระองค์ตั้งพระทัยในการภาวนาว่า

    : ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย    เพื่อคลายกำหนัด    เพื่อดับ    เพื่อสงบระงับ    เพื่อรู้ยิ่งเพื่อตรัสรู้    และเพื่อนิพพาน :


     ดังนั้นพระโพธิสัตว์ จึงอำลาอาจารย์ทั้งสองที่สอน อรูปกรรมฐาน ในขณะนั้นจากมาเพื่อแสวงหา โมกขธรรมต่อไป มิได้หยุดหรือพอใจที่ความเป็นยอด เพียงแค่ อรูปกรรมฐาน ตรงนั้น


106  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ยังมีคนอีกมากมาย ที่ร่วมปิดทองหลังพระ อยากเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมปิดทองหลังพระกัน เมื่อ: มีนาคม 13, 2012, 06:49:28 pm
ยังมีคนอีกมากมาย ที่ร่วมปิดทองหลังพระ อยากเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมปิดทองหลังพระกัน

  การปิดทอง หลัง พระ เป็นอุดมคติ ที่ตอนนี้อาตมา วางไว้กับการเผยแผ่พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ดังนั้นท่านทั้งหลายจึงจะเห็นได้ว่า ในเว็บไม่ใคร่มีรูปอาตมา หรือ แสดงประวัติอาตมา เพื่อมาโปรโมทแต่ประการใด แต่ที่ต้องการอยากให้ท่านทั้งหลาย รู้จัก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พระกรรมฐาน ผู้บอกกรรมฐาน เช่น พระอริยะราหุลมหาเถรเจ้า เป็นต้น จนถึง ยุคนี้มี สมเด็จพระสังฆราช พระญาณสังวร ( หลวงปู่สุก ไก่เถื่อน ) ตลอดถึงครูอาจารย์อย่าง พระครูสิทธิสังวร (หลวงพ่อวีระ) ผู้สืบทอดกรรมฐาน ปัจจุบันที่วัดราชสิทธาราม เป็นที่สุดกันตอนนี้


   ดังนั้นอยากให้ท่านทั้งหลายมาร่วมปิดทองหลังพระ เชิดชู พระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับกันให้มากขึ้น

  เจริญพร / เจริญธรรม

    ;)

107  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อย่ามัวเพลิดเพลิน ทุกข์ มีมาก จงยังจิต ให้ปีติ และ สุข กันเถิด เพื่อเห็นตามความ. เมื่อ: มีนาคม 13, 2012, 06:13:57 pm
      พระสุตตันตปิฎก  มัชฌิมนิกาย  มูลปัณณาสก์  [๒.  สีหนาทวรรค]
                 ๔.  จูฬทุกขักขันธสูตร

   เล่มที่ 12 หน้า 177

             ๔. จูฬทุกขักขันธสูตร
               ว่าด้วยกองทุกข์ สูตรเล็ก

         [๑๗๕]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
            สมัยหนึ่ง  พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม    เขตกรุงกบิลพัสดุ์ในแคว้นสักกะ    ครั้งนั้น    เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง  ณ  ที่สมควร    ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
 
       “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วสิ้นกาลนานอย่างนี้ว่า    ‘โลภะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต    โทสะเป็นอุปกิเลสแห่งจิตโมหะเป็นอุปกิเลสแห่งจิต’ เมื่อเป็นเช่นนั้น  บางคราว    โลภธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง    โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง    โมหธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง    ข้าพระองค์มีความคิดอย่างนี้ว่า    ‘ธรรมอะไรเล่าที่ข้าพระองค์ยังละไม่ได้ในภายใน    ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง    โทสธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้าง    โมหธรรมยังครอบงำจิตของข้าพระองค์ไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว”

         [๑๗๖]    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า  “มหานามะ    ธรรมในภายในนั้นแล    เธอยังละไม่ได้    ซึ่งเป็นเหตุให้โลภธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้าง    โทสธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้าง โมหธรรมครอบงำจิตของเธอไว้ได้บ้างเป็นครั้งคราว  ถ้าเธอจักละธรรมในภายในนั้นได้แล้ว    เธอก็จะไม่พึงอยู่ครองเรือน ไม่พึงบริโภคกาม    แต่เพราะเธอละธรรมในภายในนั้นยังไม่ได้    เธอจึงยังอยู่ครองเรือน ยังบริโภคกาม

         [๑๗๗]    แม้หากอริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบว่า    ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย    มีทุกข์มาก  มีความคับแค้นมาก  มีโทษยิ่งใหญ่’    ก็ตาม    แต่อริยสาวกนั้นก็ยังไม่บรรลุฌานที่มีปีติและสุข(๑)ที่ปราศจากกามทั้งหลาย  ปราศจาก


 
(๑) ฌานที่มีปีติและสุข  หมายถึงปฐมฌานและทุติยฌาน  (ม.มู.อ.  ๑/๑๗๗/๓๘๖)


    อกุศลธรรมทั้งหลาย    หรือยังไม่บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง    ๒    นั้น    ดังนั้นเขาจึงชื่อว่า    จะไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีกก็หาไม่๑    แต่เมื่อใด    อริยสาวกเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า    ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อยมีทุกข์มาก    มีความคับแค้นมาก    มีโทษยิ่งใหญ่’    อริยสาวกนั้น    ย่อมบรรลุฌานที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย    ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย    หรือบรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒ นั้น    เมื่อนั้น    เขาจึงชื่อว่าย่อมไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีก

      มหานามะ    ก่อนการตรัสรู้    แม้เมื่อครั้งเราเป็นโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้    เราก็เห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า    ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อยมีทุกข์มาก    มีความคับแค้นมาก    มีโทษยิ่งใหญ่’  ก็ตาม    แต่เราก็ยังไม่บรรลุฌานที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย    ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย    หรือยังไม่บรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง ๒  นั้น    ดังนั้นเราจึงปฏิญญาว่าชื่อว่าจะไม่เวียนมาหากามทั้งหลายก็หาไม่    แต่เมื่อใด    เราเห็นตามความเป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ‘กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย  มีทุกข์มาก  มีความคับแค้นมาก    มีโทษยิ่งใหญ่’    เราได้บรรลุฌานที่มีปีติและสุขที่ปราศจากกามทั้งหลาย  ปราศจากอกุศลธรรมทั้งหลาย    หรือบรรลุธรรมอื่นที่สงบกว่าฌานทั้ง  ๒  นั้น    เมื่อนั้น    เราจึงปฏิญญาว่า    ไม่เวียนมาหากามทั้งหลายอีก


108  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อยากเป็นชาวสวรรค์ หรือ เป็นชาว อุตตรกุรุทวีป ( ชาวลับแล ) กันบ้างไหม ? เมื่อ: มีนาคม 13, 2012, 05:27:30 pm
      พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  นวกนิบาต  [๑.ปฐมปัณณาสก์]
                 ๓.สัตตาวาสวรรค  ๑.ติฐานสูตร
 
เล่มที่ 23 หน้า 475
 
                  ๓. สัตตาวาสวรรค
               หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
                  ๑. ติฐานสูตร
               ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
            [๒๑]    ภิกษุทั้งหลาย    มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์
และมนุษย์ชาวชมพูทวีป    ด้วยฐานะ    ๓    ประการ
            ฐานะ  ๓   ประการ๑    อะไรบ้าง    คือ
               ๑.    ไม่มีความเห็นแก่ตัว   
               ๒.    ไม่มีความหวงแหน
               ๓.    มีอายุแน่นอน
            ภิกษุทั้งหลาย    มนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปเหนือกว่าเทวดาชั้นดาวดึงส์และมนุษย์
ชาวชมพูทวีป  ด้วยฐานะ  ๓  ประการนี้แล
            ภิกษุทั้งหลาย    เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป    ด้วยฐานะ    ๓    ประการ
            ฐาน ๓ ประการ อะไรบ้าง    คือ
                ๑.    อายุอันเป็นทิพย์ 
                ๒.    วรรณะอันเป็นทิพย์
                ๓.    สุขอันเป็นทิพย์
            ภิกษุทั้งหลาย    เทวดาชั้นดาวดึงส์เหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและมนุษย์
ชาวชมพูทวีป    ด้วยฐานะ    ๓    ประการนี้แล



๑ ไม่มีความเห็นแก่ตัว  หมายถึงไม่มีตัณหา  อีกนัยหนึ่ง  หมายถึงไม่มีความทุกข์  ไม่มีความหวงแหน  หมาย
   ถึงไม่หวงแหนว่า  “สิ่งนี้เป็นของเรา”  มีอายุแน่นอน  หมายถึงมีอายุ  ๑,๐๐๐  ปี  และมีคติที่แน่นอนคือ  เมื่อ
   จุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น  (องฺ.นวก.อ.  ๓/๒๑/๓๐๓)




109  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ปฏิบัติได้ ช้า ได้ เร็ว หรือ ยังไม่ได้ แตกต่างกันเพราะ ปฏิปทา มิได้เท่ากัน เมื่อ: มีนาคม 08, 2012, 10:25:33 am
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  ปาฎิกวรรค  [๕.  สัมปสาทนียสูตร]
 เทศนาเรื่องปฏิปทา
 เล่มที่ 11 หน้า 112



เทศนาเรื่องปฏิปทา
[๑๕๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อีกประการหนึ่ง    เทศนาที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมในเรื่องปฏิปทาก็นับว่ายอดเยี่ยม ปฏิปทา ๔  ประการนี้    คือ
   ๑.    ทุกขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา  (ปฏิบัติลำบาก    และรู้ได้ช้า)
   ๒.    ทุกขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา  (ปฏิบัติลำบาก    แต่รู้ได้เร็ว)
   ๓.    สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา   (ปฏิบัติสะดวก    แต่รู้ได้ช้า)
   ๔.    สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา   (ปฏิบัติสะดวก    และรู้ได้เร็ว)
      บรรดาปฏิปทา ๔    ประการนั้น   
      ทุกขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา ปฏิปทานี้บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำทั้ง ๒ ส่วน คือเพราะปฏิบัติลำบาก    และเพราะรู้ได้ช้า
      ทุกขาปฏิปทา  ขิปปาภิญญา  ปฏิปทานี้  บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะปฏิบัติลำบาก
      สุขาปฏิปทา    ทันธาภิญญา  ปฏิปทานี้  บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติต่ำเพราะรู้ได้ช้า
      สุขาปฏิปทา    ขิปปาภิญญา  ปฏิปทานี้  บัณฑิตกล่าวว่าเป็นข้อปฏิบัติประณีตทั้ง  ๒ ส่วน คือเพราะปฏิบัติสะดวก และเพราะรู้ได้เร็ว
            ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ    นี้คือเทศนาอันยอดเยี่ยมในเรื่องปฏิปทา





110  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / มารู้จักวิเวก ในอริยมรรค กันเถอะ สัมมาทิฏฐิ มี วิเวก 5 ประการ ตอนที่ 1 เมื่อ: มีนาคม 06, 2012, 11:03:20 am


สัมมาทิฏฐิมีวิเวก ๕  มีวิราคะ ๕  มีนิโรธ  ๕  มีโวสสัคคะ ๕ มีนิสสัย ๑๒

 วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน   
 วิเวกในการละทิฏฐิด้วยองค์นั้น  ๆ    ของภิกษุผู้เจริญสมาธิที่เป็นส่วนแห่งการชำแรกกิเลส 
 สมุจเฉทวิเวกของภิกษุผู้เจริญโลกุตตรมรรคที่ให้ถึงความสิ้นไป   
 ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะแห่งผลและ
 นิสสรณวิเวกที่เป็นความดับคือนิพพาน   

 สัมมาทิฏฐิมีวิเวก    ๕    นี้    ภิกษุเกิดฉันทะ
น้อมไปด้วยศรัทธา    และมีจิตตั้งมั่น ด้วยดีในวิเวก ๕ นี้



คำอธิบาย มาทีหลังนะ ท่านทั้งหลาย จะได้รู้จัก วิเวก ในทางสายกลาง กันจริง ๆ เสียบ้าง เพราะเห็นอธิบายคุณเครื่อง ของอริยะมรรค มีองค์ 8 ไม่ครบเพียงแต่แต่กล่าว หัวข้อแต่ไม่แจงธรรมตามลำดับ ทำให้พระอริยะมรรค มีองค์ 8 ขาดข้อความสำคัญทั้ง ๆ ที่เป็นทางเอก

ในหัวข้อพระูสูตรกล่าว ด้วยการภาวนา เท่านั้นไม่ภาวนา ไม่มีทางเข้าใจเลย..

เจริญธรรม

  ;)
111  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เปลี่ยนความคิดถึงของท่าน มาร่วมสวดคาถา พญาไก่เถื่อน กันเถอะ 3 มี.ค.55 เมื่อ: มีนาคม 03, 2012, 10:13:08 am
เจริญพร และ เจริญธรรม กับทุกท่านที่คิดถึงกัน

    สำหรับท่านทั้งหลาย ที่อยากได้เจอ หรือ พบอาตมากันนั้น ก็ขอตอบว่า 'ขอบคุณที่ยังคิดถึงกัน'

แต่การคิดถึง ด้วยการเจอพบ หรือ พบกันตอนนี้ไม่ใช่หนทางสะดวก นะจ๊ะเพราะอาตมาเองก็ยังคิดที่จะวิเวกอย่างนี้อีก 5 ปี ดังนั้นถ้าท่านคิดถึง อยากทำบุญใส่บาตรกันบ้าง ก็แนะนำ กันว่า
 
    ปีนี้ อาตมา ชัดชวนให้ท่านทั้งหลาย ร่วมกันสวดคาถา พญาไก่เถื่อน 84000 จบ โดยการสวดครั้งละ 108 จบ ต่อ 1 ครั้ง หากสวดไม่ถึง 108 จบไม่นับ สวด ใน 84000 จบ ดังนั้นอยากให้ท่านทั้งหลายได้สร้างกุศลสวดเจริญ คาถา พญาไก่เถื่อน กันให้มากขึ้น สวดให้เป็นกรรมฐาน ก็ดี

    สวดแล้วได้อะไร
      ใครที่จำลิงก์ ได้ ก็นำอานิสงค์ มาแปะให้หน่อย นะจ๊ะ

   เรามาสวดคาถา พญาไก่เถื่อน กันเถอะ แทน ความคิดถึง


Aeva Debug: 0.0004 seconds.
112  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ตอบคำถามจาก email "บุญผ่อนส่ง ได้หรือไม่ ?" เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 10:14:48 am
QA  ใครช่วยตอบได้ ก็ช่วยตอบกัน ด้วยนะ จะนำคำถามมาลงก่อน ก็แล้วกันนะ ส่วนคำตอบจะทะยอยตอบ

ปุจฉา
     ??  QA "บุญผ่อนส่ง ได้หรือไม่ ?" 


วิสัชชนา

     อาจจะนอกเรื่องจากการภาวนา กรรมฐาน ไปสักนิด แต่ยังพอสงเคราะห์ได้ ใน เทวตานุุสสติ และ จาคานุสสติ นะจ๊ะ คำถามอย่างนี้มองแล้ว อาจจะเป็นคำถามที่ถามเพราะอยากรู้มากกว่า ก็จะตอบให้พอได้สบายนะจ๊ะ

    บุญ มีเหตุที่ การเติมเต็ม ปุญญะ แปลว่า เต็ม ดังนั้นคนทำบุญก็คือ การทำกุศลให้เต็ม เิติมเต็มกุศลอย่างสม่ำเสมอ อันนี้ชื่อว่าบุญแน่ ๆ

    บุญ มีผลที่  ความอิ่มใจ เพราะ ผลของบุญ นึกได้ตอนไหน ก็มีแต่ อิ่มใจ พอใจ สุขใจ ปุญญะ จึงมีความหมายว่าการสร้าง สุข ด้วยซึ่งเป็นแนวทางเริ่มต้นในการสร้างกุศล ในพระพุทธศาสนา

    บุญ มีการกระทำถึง 10 ประการด้วยกัน เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ

         1.ทานมัย การให้ทาน
         2.สีลมัย  การรักษาศีล
         3.ภาวนามัย การอบรมภาวนา
         4.อปจยนะมัย การอ่อนน้อม
         5.เวยยาวัจจะมัย  การช่วยด้วยแรงกาย
         6.ปัตตานุโมทนามัย การชื่นชม ยินดีที่บุคคลอื่นทำบุญ
         7.ธัมมัสสวนามัย การฟังธรรม
         8.เทสนามัย การแสดงธรรม
         9.ปัตติทานมัย การแผ่ส่วนบุญที่เราได้ทำออก
         10.ทิฏฐุชุกัมม์ การทำความเห็นมุ่งตรงต่อพระนิพพาน

    อ่านเพิ่มเติม ที่ลิงก์
    http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2972.0

    ที่นี้ปัญหา ถามว่า บุญผ่อนส่ง ได้หรือไม่ ?

    ก็ขอตอบว่า บุญ มิสามารถผ่อนส่งได้ บุญไม่จำเป็นดาวน์ ไม่ใช่การค้าขาย บุญไม่ใช่วัตถุ และ บุญ สามารถแสดงออก ได้ 3 ทาง คือ กายกรรม ทำดี  วจีกรรม พูดดี  มโนกรรม คิดดี

    เมื่อท่านทำบุญ ก็ได้บุญแล้วที่ทำ บุญก็จะสั่งสมไปเอง จนไปสู่บารมีที่สมควรแก่การบรรลุธรรม


    เจริญพร เท่านี้นะจ๊ะ

    ;)

   
113  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ประกาศร่วมบุญต่ออายุ www.madchima.net & เรดิโอออนไลน์ ภายใน 31 มี.ค.55 เมื่อ: มีนาคม 02, 2012, 09:31:27 am
เนื่องด้วย

Domain Name: MADCHIMA.NET  ( เว็บฝากไฟล์ภาพ )

และ สถานีธรรมะ madchimaRDN จะหมดอายุ ในวันเวลาเดียวกัน

Creation Date: 09-May-2011
Expiration Date: 09-May-2012


 
จึงขอเชิญชวนท่านสมาชิก ร่วมกันต่อเป็นเจ้าภาพต่ออายุ
เป็นจำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 2000 บาท





 
114  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 29, 2012, 09:24:22 am
พระสุตตันตปิฎก  อังคุตตรนิกาย  ฉักกนิบาต  [๑.  ปฐมปัณณาสก์]
๒.  สารณียวรรค  ๔.  ภัททกสูตร

เล่มที่ 22 หน้าที่ 432 - 435

๔. ภัททกสูตร
ว่าด้วยการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ

 [๑๔] ณ  ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมากล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว  ท่านพระสารีบุตรจึงได้กล่าวเรื่องนี้ว่า
    ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ๑    มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ
    ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ เป็นอย่างไร
    คือ    ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
 ๑. เป็นผู้ชอบการงาน ยินดีในการงาน หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
 ๒. เป็นผู้ชอบการพูดคุย  ยินดีในการพูดคุย หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
 ๓. เป็นผู้ชอบการนอนหลับ  ยินดีในการนอนหลับ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
 ๔. เป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
 ๕. เป็นผู้ชอบคลุกคลีกับคฤหัสถ์  ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
 ๖. เป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีในธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าหมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า

ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่ไม่เจริญ    มีกาลกิริยาที่ไม่เจริญ    เป็นอย่าง
นี้แล
  ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดียิ่งในสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
     ผู้มีอายุทั้งหลาย  ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ
   
  ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างไร
   คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
   ๑. เป็นผู้ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีในการงาน ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการงาน
   ๒. เป็นผู้ไม่ชอบการพูดคุย ไม่ยินดีในการพูดคุย ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการพูดคุย
   ๓. เป็นผู้ไม่ชอบการนอนหลับ ไม่ยินดีในการนอนหลับ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการนอนหลับ
   ๔.เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่ยินดีการคลุกคลีด้วยหมู่ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้คลุกคลีด้วยหมู่
   ๕. เป็นผู้ไม่ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่ยินดีในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ ไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบการคลุกคลีกับคฤหัสถ์
   ๖.เป็นผู้ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าไม่หมั่นประกอบความเป็นผู้ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
    ภิกษุสำเร็จการอยู่อย่างมีความตายที่เจริญ  มีกาลกิริยาที่เจริญ เป็นอย่างนี้แล

   ภิกษุนี้เรียกว่า  ผู้ยินดีในนิพพาน  ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ
   ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวเวยยากรณ์ภาษิตนี้แล้ว จึงได้กล่าวคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
     ผู้ใดหมั่นประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
     ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า    ผู้เป็นเช่นกับเนื้อ
     ผู้นั้นไม่ได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
   ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้าได้แล้ว
   ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า
   ผู้นั้นได้ชมนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม
               ภัททกสูตรที่ ๔ จบ




115  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน / พรรษาที่ 17 หลวงปู่ ทรงพบพระคาถาวาณี มีความสำคัญมากให้ท่านทั้งหลายให้ได้อ่าน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 21, 2012, 10:38:02 am
ทรงพบพระคาถาวาณี
(พระคาถาเรียกธรรม พรรษาที่ ๑๗ สถิตวัดท่าหอย ยุคธนบุรี)



     พระองค์ท่าน ทรงบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างกลางแล้ว ยังทรงบำเพ็ญเพียร เพื่อที่จะบรรลุ อันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ต่อไปอีก
พระองค์ท่านทรงประกอบความเพียร อีกหลายปีอย่างไม่ลดละ จนกระทั้งพระชนมายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน พระองค์ท่าน ก็ยังไม่สามารถบรรลุอันตราปรินิพพายีอนาคามีบุคคล อย่างละเอียดได้ เนื่องจากยังขาดทางอีกเล็กน้อย ทำให้การบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ช้าลงต่อมาในคืนหนึ่งนั้น ขณะที่พระองค์ท่าน ทรงเข้าที่ เจริญสมณะธรรม ตามปรกติทรงทราบในนิมิตสมาธิว่า มีพระอริยเถราจารย์ ชั้นสุทธาวาส มาบอกว่า ให้ไปพบท่านที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย

      พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ท่านจะสำเร็จสมประสงค์สูงสุดทุกอย่าง ตามที่ท่านต้องการ ให้ไปที่ป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย แล้วความประสงค์ ของท่านจะสำเร็จ และจะได้เกื้อกูล ชนทั้งหลายในภายหน้าด้วย ต่อมาพระองค์ท่าน ก็สัญจรไป ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย ทรงไปด้วยอิทธวิธญาณเมื่อพระองค์ท่าน ถึงป่าดงดิบ แขวงเมืองสุโขทัย กรุงเก่า พระองค์ท่านก็ทรงพบพระอริยเถราจารย์อยู่ในร่างกายทิพย์ ที่สำเร็จด้วย การเข้าสุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ท่านก็ทรงเข้าไปกราบนมัสการ พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น

       พระอริยเถราจารย์ พระองค์นั้น ก็กล่าวว่า พรุ่งนี้ให้ท่านเดินทางไป ในทางนั่นพร้อมกับชี้มือไปทางนั้นด้วย จะพบของดี ของวิเศษ แต่คืนนี้ให้ท่านพักปักกลด บำเพ็ญสมณะธรรม ณ ที่ป่าดงพญาเย็น (คนละแห่ง กับที่เมืองอุตรดิตถ์) นี้ก่อนภายหลังพระอาจารย์สุก ได้ทรงทราบเถรประวัติ ของพระอริยเถราจารย์พระองค์นี้ว่า ท่านเคยบวชเป็นฤาษี อยู่ในป่าดงพญาเย็น แขวงเมืองสุโขทัยนี้ประชาชนทั้งหลายสมัยนั้นเรียกขานนามท่านว่า พระฤาษีกัณทหะ (กัณทา) ต่อมาภายหลัง ท่านเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ได้บรรพชา-อุปสมบท ได้นามทาง
พระพุทธศาสนาว่า วิสุทโธ

      เพลาสายของวันนั้น พระอาจารย์สุก ออกเดินทางไป ตามที่พระอริยเถราจารย์ ผู้ทรงร่างอยู่ด้วยกายทิพย์ ไปถึงป่าใหญ่แห่งนั้น ใกล้เชิงเขา ทรงทอดพระเนตรเห็น ก้อนหินก้อนหนึ่ง จารึกเป็นอักษรขอม โบราณว่า


รายละเอียดของภาพ อ่านที่ลิงก์นี้
http://www.madchima.org/forum/index.php?action=gallery;sa=view;pic=974

มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
ปาณีนํ สรณํ วาณี   มยฺหํ ปิณยตํ มนํ

      พระอาจารย์สุก ทรงอ่าน และท่องจำไว้แล้ว ทรงพักปักกลด ณ ที่แห่งนั้นหนึ่งคืน ตกเพลากลางคืนทรงบำเพ็ญสมณธรรมอย่างเคย ก็ได้ทรงทราบมงคลนิมิต ของพระคาถานี้ทั้งหมด และได้ทรงทราบอุปเท่ห์ วิธีการ ย่อๆ โดยสมควร จากบาทฐาน ขององค์ฌาน

    ต่อมาพระองค์ท่าน ก็ได้ทรงทราบจากสมาธินิมิตอีกว่า พรหมชั้นสุทธาวาส มาบอกพระองค์ท่านว่า ให้ไปที่วัดร้าง กลางเมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ท่านจะพบของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี เมื่อพระองค์ท่าน ทรงออกจากสมาธิแล้ว พระองค์ท่านก็ทรงทราบได้ทันทีว่า วัดร้างนั้น คือวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย ที่ประดิษฐาน พระศรีศากยะมุนี ที่สร้างในสมัยพระเจ้าลิไท ครั้งกรุงสุโขทัย เป็นราชธานี

      เพลาสายของวันต่อมา พระองค์ท่าน ทรงเดินทางมายังเมืองสุโขทัย กรุงเก่า โดยไม่ใช้อิทธวิธญาณ ถึงเมืองสุโขทัย กรุงเก่าแล้ว พระองค์ท่านทรงค้างแรม นั่งเจริญสมาธิอยู่ที่บริเวณ วัดมหาธาตุ สถานที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี หนึ่งราตรีเวลานั้น วัดพระมหาธาตุ สุโขทัย กรุงเก่า เป็นวัดร้าง เนื่องจากยังมีการรบ
ระหว่างไทย-พม่าอยู่ และพระพุทธรูปใหญ่ พระพุทธศรีศากยะมุนี ก็ยังคงประดิษฐานอยู่ที่วัดนี้ ซึ่งปัจจุบันสถานที่แห่งนี้ เป็นวนอุทยานแห่งชาติสุโขทัย

      หลังฉันอาหารเช้าแล้ว พระองค์ท่าน ทรงเดินทางเข้าไปในวัดมหาธาตุ เข้าไปในพระวิหาร ที่ประดิษฐานพระศรีศากยะมุนี จึงเข้าไปกราบนมัสการ พระพุทธศรีศากยะมุนี พระพุทธรูปสำคัญ ของวัดแห่งนี้ ต่อมาพระองค์ท่านทรงทราบว่า ของสำคัญต่อเนื่อง ในพระคาถาวาณี อยู่ใน พระคัมภีร์ใบลาน พระองค์ท่านจึงเดินทางไปที่หอไตร
ประจำวัดมหาธาตุ และทรงค้นพระคัมภีร์ในตู้แรกดู พอพระองค์ท่านทรงเปิดตู้แรก ทรงเห็นพระคัมภีร์แรก ที่หน้าพระคัมภีร์จารึก รูปนางฟ้านั่ง อยู่บนดอกบัวบาน พระองค์ก็ทรงทราบได้ในทันทีว่า พระคาถาวาณี พร้อมรายละเอียดอุปเท่ห์ อยู่ในลานนี้ทั้งหมดเมื่อพบแล้ว พระองค์ท่านทรงเปิดพระคัมภีร์ดูก็ทรงพบ พระคาถาอาราธนานั่ง
ธรรม หรือพระคาถาวาณี จารึกเป็นอักษรขอมโบราณ เป็นตัวทอง อ่านได้ความ เหมือนอย่างที่พบ จารึก ที่ก้อนหิน ในป่าใกล้ๆป่าดงพญาเย็น พร้อมมีคำอาราธนา และคำอธิบายว่า

              มุนินฺท วท นมฺพุช คพฺภ สมฺภว สุนทรี
              ปาณีนํ สรณํ วาณี   มยฺหํ ปิณยตํ มนํ


๐ ข้าพระพุทธเจ้า ขออาราธนานางฟ้า คือพระไตรปิฏก ผู้มีรูปอันงาม เกิดแต่ห้องปทุมชาติคือพระโอฐ ของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นใหญ่กว่านักปราชญ์ทั้งหลาย มนํ ขอจงมาสู่  มโนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติละเสียซึ่งอาสวะกิเลส ที่ดองอยู่ในขันธ์สันดานของข้าพระเจ้า ทั้งอย่างหยาบ อย่างกลาง อย่างละเอียด ให้สิ้นไปเสื่อมไป ข้าพเจ้าจะไม่ทำให้เป็นอัตตกิลมัตถานุโยค ไม่ให้ลำบากแก่สังขาร ฯ

๐ พุทธํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ ๐ ธมฺมํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิฯ ๐ สงฺฆํชีวิตํ ยาวนิพฺพานํ สรณํคจฺฉามิ ฯ


๐ ข้าพเจ้าขออาราธนาคุณพระพุทธเจ้า คุณพระธรรมเจ้า คุณพระสังฆเจ้า จงมารับเครื่องสักการะบูชาของข้าพเจ้า ในกาลบัดนี้เถิดฯพร้อมคำอธิบายว่า พระคาถานี้ใช้สำหรับอาราธนาพระธรรมเข้าสู่ตน เพื่อจะนั่ง
ทางธรรม จะได้สำเร็จผล ตามความมุ่งหมายเป็นพระคาถา ขอบารมีธรรม ขอความสำเร็จสมประสงค์ ใช้เป็นพระคาถาว่านำก่อน อาราธนาองค์พระกรรมฐานประกอบกับพระกรรมฐานห้องต่างๆ เวลานั้นพระองค์ท่านติดอยู่ขั้นสุดท้าย ของอันตราปรินิพพายี อย่างประณีตเมื่อพระองค์ท่าน นำเอาบทภาวนา พระคาถาวาณี นำมาประกอบเข้ากับ การเจริญ เมตตาเจโตวิมุตติแล้ว อาจสามารถเป็นไป เพื่อต่อต้านภัยอันตราย และห้ามบาปธรรม

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://c.static.fsanook.com

ธรรมที่เป็นบาปอกุศล เจตสิกมี ๑๔ ตัวคือ
โมโห คือหลง อหิริกํ มิละอายแก่บาป
อโนตฺตปฺปํ มิกลัวแก่บาป อุทธจฺจํ สะดุ้งใจ ฟุ้งซ่าน
โลโภ โลภ ทิฏฐิ ถือมั่น
มาโน มีมานะ โทโส โกรธ
อิสฺสา ริษยา มจฺฉริย ตระหนี่
กุกกุจจํ กินแหนง รำคาญ ถีนํ กระด้าง หดหู่
มิทธํ หลับง่วง วิจิกิจฉา สงสัย


       เมื่อกำจัดบาปธรรม ออกไปแล้ว อาจสามารถยังปัญญาให้บรรลุธรรมได้ จะเป็นทางนำสัตว์ทั้งหลายให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะกิเลสได้

       จากนั้นพระองค์ท่าน ก็ทรงทำการคัดลอกพระคัมภีร์วาณี ที่ไม่มีเจ้า อยู่ในวัดร้าง เมืองสุโขทัยนี้ กลับมา วัดท่าหอยด้วยครั้นพระองค์ท่าน กลับมาจากรุกข์มูล มาถึงวัดท่าหอย พระองค์ท่านทรงนำบทพระคาถาวาณีนี้ว่านำก่อนนั่งพระกรรมฐานทุกครั้ง แล้วจึงเจริญ เมตตาออกบัวบานพรหมวิหาร ต่อไป ผ่านไปไม่นานนัก พระองค์ท่าน ทรงสามารถบรรลุอันตราปรินิพพายี อนาคามี อย่างประณีต ได้มีกล่าวไว้ในพระคัมภีร์ จตุตถสมันตปาสาทิกา ตอนว่าด้วยอรรถกถา แห่งภิกขุนีขันธกะ ว่า

กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๑,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมีพระขีณาสพปฏิสัมภิทาญาณ
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๒,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอรหันต์สุกขวิปัสสก
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๓,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระอนาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๔,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระสกทาคามี
กาลเมื่อพระสัทธรรมอยู่ระหว่าง ๕,๐๐๐ ปี จักตั้งอยู่ด้วยการมี พระโสดาบัน

       กาลที่พระอาจารย์สุก สำเร็จคือกาลแห่ง พระอนาคามี ท่านบรรลุขั้นประณีตครั้งนั้น พร้อมด้วย มรรค ๓ ผล ๓ อภิญญา ๖ เป็นพระอนาคามีบุคคล เต็มขั้นกล่าวว่า เมื่อมรณะภาพ หรือนิพพานแล้ว จะไปบังเกิดในภพ สุทธาวาส คือที่อยู่ของท่านที่บริสุทธิ์ ที่บังเกิดของอนาคามีบุคคล ได้แก่พรหม ๕ ชั้นสูงสุด ของชั้นรูปาว
จรคือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา จะสำเร็จพระอรหันต์ผลในภพทั้งห้านี้ ไม่กลับมาเกิดในมนุษย์โลกนี้อีกถึงแม้ท่าน จะทราบว่าเป็นกาล แห่งอนาคามี พระองค์ท่าน ก็ยังไม่ละความเพียรเพิ่มวิริยะบารมีขึ้นเรื่อยๆไม่ทรงท้อถอย ต้องการที่จะบรรลุขั้นต่อไป ดังปรากฏในคัมภีร์ปัญจปสูทนีอรรถกถา แห่งมหาสูญญะตาสูตรมีใน อุปริปัณณาสก์ว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า แม้เมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้วก็ดี กุลบุตรทั้งหลายที่ยินดีแล้วในเอกีภาพ คือความเป็นอยู่ผู้เดียว นึกถึงมหาสูญญตาสูตรอยู่ดังนี้แล้ว หลีกออกจากหมู่คณะ ก็จะทำให้สิ้นวัฏฏะทุกข์ได้ดังนี้
        พระอาจารย์สุก พระองค์ท่าน ทรงมีความเป็นอยู่ผู้เดียว แลทรงบำเพ็ญเพียรภาวนาซึ่งมหาสูญญตาสูตรเสมอๆ กล่าวว่าสมัยอยุธยา พระคาถาวาณีก็มีเหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลาย เพราะถึงตอนปลายยุคกรุงศรีอยุธยา ก็เริ่มเสื่อมจากอุบายธรรมนี้พระอาจารย์สุก ท่านปฏิธรรม ยังไม่ถึงที่สุด แต่ก็มาถึงกาลล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาเสียก่อน พระคัมภีร์อุบายธรรมต่างๆ จึงถูกเผาทำลายจนหมดสิ้น และพระคาถาวาณีนี้ จึงตกค้าง อยู่ที่เมืองสุโขทัย กรุงเก่ากาลต่อมาพระคาถาวาณี ได้แพร่หลายในกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตอนกลาง มีการให้ความหมายพระคาถาวาณีไว้ดังนี้
        
        นางฟ้าคือ พระไตรปิฏก มุนินฺท วท นมฺพุชคพฺภ สมฺภว สุนทรี มีรูปอันงามอันเกิดแต่ห้องดอกบัวคือ พระโอฐ ของพระพุทธเจ้าผู้เป็นใหญ่กว่าจอมปราชญ์ทั้งหลาย ปาณีนํ สรณํ วาณี เป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ผู้มีปราณ คือลม
หายใจทั้งหลาย มยฺหํ ปิณยตํ มนํ จงยังใจแห่งข้าพเจ้าทั้งหลายให้ยินดี

     
       สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศน์ฯ กล่าวว่าพระอาจารย์ของท่านทั้งทางคันถะธุระ และวิปัสสนาธุระ(สมเด็จพระวันรัต แดง ก็ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับด้วย กล่าวว่าท่านศึกษากับ พระญาณสังวร บุญ วัดพลับ) สอนให้บริกรรมพระคาถาวาณีนี้ ก่อนเริ่มเรียนพระปริยัติธรรม หรือเข้าที่ภาวนาทุกคราวไป ทั้งยังกล่าวอีกว่า พระมหาเถรแต่กาลก่อนมี สมเด็จพระสังฆราช ไก่เถื่อน วัดราชสิทธาราม เป็นต้น ล้วนนับถือ
พระคาถานี้ โดยทั่วกันสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงไว้ในลายพระหัตถ์ถึง เจ้าพระยาหิธราช เลขาธิการว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พุก) วัดศาลาปูน กรุงเก่าซึ่งเป็นศิษย์ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับอธิบายว่า รูปสุนทรีวาณี หมายถึง พระธรรม ดอกบัว หมายถึง พระโอฐของพระพุทธเจ้า ทรงกล่าวอีกว่า ยังได้พบพระคาถานี้ในห้องพระ ของหลวงปู่ทอง วัดบ้านกลาง ติดไว้ข้างขวา ด้านหัวนอน หลวงปู่ทอง ท่านเป็นศิษย์ ศึกษาพระกรรมฐานมัชฌิมาแบบลำดับ กับพระสังวรานุวงศ์เถร (เมฆ) วัดราชสิทธาราม หรือ วัดพลับ

      สมเด็จกรมพระยาดำรงค์ราชานุภาพกล่าวไว้ว่า ตอนที่ข้าพเจ้าชำระ พระคัมภีร์สัททสารัตถชาลินี หรือ คัมภีร์สัททาวิเสส ได้พบพระคาถาวาณีนี้ อยู่ในพระคัมภีร์นี้ด้วย แสดงว่าพระคาถานี้ มีมาก่อนพระคัมภีร์นี้ หรือก่อนนั้นมีคาถาในทำนองเดียวกับพระคาถาวาณีนี้ ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ชินาลังการ เป็นพระคาถานมัสการ ก่อนอ่านพระคัมภีร์พระไตรปิฎก หรือภาวนาก่อนนั่งเข้าที่ภาวนาเพื่อให้เกิดปัญญา เป็นคาถาของพระพุทธโฆษะ ใช้ภาวนาก่อนที่จะอ่านพระไตรปิฎกหรือเขียนพระคัมภีร์ พระสุทธิมรรค คาถามีใจความดังนี้ สตฺถุโน สมฺมาสมฺพุทธ นมตฺถุ โลกเชฏฐสฺส ตาทิโน ชิเนนท รมตฺเตภสฺสกุมภจารินี ชิโนรสานํ มุขปงฺกชาลินี สรสฺส ตีเมมุขะคพฺภ คพฺ ภินี รมฺมํตว ฉายา สุสทฺทตฺถุสูทนี  มีความหมายตามพระคาถานี้ว่า……………………

      ข้าพระพุทธเจ้าขอนมัสการ แด่สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ผู้ทรงหักรานเสียแล้วซึ่ง กำกงแห่งสังสารวัฎฎ์ ตรัสรู้พระธรรมด้วยลำพังพระองค์เอง ด้วยอาการมิได้วิปริตและมีกมลมิได้หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ประเสริฐกว่าสรรพสัตว์โลกสิ้นทั้งปวง อาลินี อันว่านางแมลงภู่ กล่าวคือ พระไตรปิฎก ผู้มีครรถ์ กล่าวคือ พระอรรถรส
เป็นอันดี ซึ่งท่องเที่ยวอยู่ในกระพองแห่งช้าง พระยาฉัททันต์ ซับมันตัวประเสริฐกล่าวคือ พระโอษฐ์แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระพุทธองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่ แมลงภู่ คือพระไตรปิฎกนั้น ก็ได้พำนักอาศัยอยู่ในพระโอษฐ์ แห่งพระพุทธเจ้า ครั้นเสด็จพระมหากรุณาเจ้าเสด็จดับขันธ์นิพพานแล้วนางแมลงภู่ คือ พระไตรปิฎกนั้น ก็อาศัยอยู่ในกลีบประทุมชาติ กล่าวคือ พระโอษฐ์ แห่งพระพุทธชิโนรถทั้งหลาย บัดนี้ข้าพระพุทธเจ้า ขออัญเชิญนางแมลงภู่ ให้ออกมาอยู่ในห้องที่นอนกล่าวคือ พระโอษฐ์แห่ง ข้าพระพุทธเจ้า อย่าได้ลำบากในกิจที่จะขวนขวาย หาที่ประสูตรบุตรนั้นเลย จงยินดีปรีดาเสด็จมาประสูตร ในพระโอษฐ์ข้าพระพุทธเจ้าคือว่าให้ ข้าพระพุทธเจ้าจำอรรถรส ในพระไตรปิฎก หรือในปัญญาวิปัสสนาญาณ ทั้งปวงได้ ขึ้นใจขึ้นปากสำเร็จ มโนรถความปรารถนาเถิดพระอาจารย์สุก พระองค์ท่านสำเร็จมรรคผลอันตราปรินิพพายี อย่างประณีตแล้วพระองค์ท่านก็ยังออกสัญจรจาริกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆเสมอเป็นประจำทุกปีมิได้ขาด เพราะพระองค์ท่านได้ ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ถ้าไม่เจ็บป่วย ชราทุพพลภาพ หรือติดภาระกิจทางพระศาสนาแล้ว พระองค์ท่านก็จะออกสัญจรจาริกทุกปี กล่าวว่า เมื่อพระองค์ท่านออกสัญจรจาริกไปนั้น ถ้าพบคนดีมีวาสนาบารมีจะได้สำเร็จมรรคผล
พระองค์ท่านก็จะนำมาอุปสมบท ที่วัดท่าหอย เป็นประจำ ประเทศเพื่อนบ้าน พระองค์ท่านก็ทรงเคยสัญจรจาริกธุดงค์ไป เช่น ลาว เขมร พม่าพระองค์ท่านมีความสามารถที่จะพูดภาษา ลาว เขมรได้ ภาษาพม่าพอได้บ้าง
พระองค์ท่านอยู่วัดท่าหอย ออกสัญจรจาริกทุกปี มิได้ขาด ไปหนึ่งปีบ้าง สองปีบ้างตลอดระยะเวลา สิบห้าปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระองค์ท่านออกสัญจรจาริกทุกปี


พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
หน้าที่ 209 - 215

เรียบเรียงโดย พระครูสิทธิสังวร ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดราชสิทธาราม คณะ 5

116  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / วิธีการบรรลุโอกาส ๓ ประการ อันสมควรแก่การเจริญธรรม เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2012, 12:09:52 pm
พระสุตตันตปิฎก  ทีฆนิกาย  มหาวรรค  [๕.  ชนวนสภสูตร]
วิธีการบรรลุโอกาส  ๓  ประการ

เล่มที่ 10 หน้า 220 - 222

 วิธีการบรรลุโอกาส    ๓    ประการ    อะไรบ้าง    คือ
  ๑.    บุคคลบางคนในโลกนี้ยังเกี่ยวข้องด้วยกาม    เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรมอยู่    ต่อมาเขาฟังธรรมของพระอริยะ    มนสิการโดยแยบคาย   ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม    เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยะ    อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย    อาศัยการปฏิบัติ  ธรรมสมควรแก่ธรรม    ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม    ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรม    สุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม    ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรม  ท่านผู้เจริญ    ความปราโมทย์    เกิดจากความเบิกบานใจ    แม้ฉันใดสุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น    (จากความบันเทิงใจ)แก่เขาผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยกาม    ไม่เกี่ยวข้องด้วยอกุศลธรรมอยู่ฉันนั้น    พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น    ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่    ๑    นี้เพื่อให้ถึงความสุข

  ๒.    บุคคลบางคนในโลกนี้มีกายสังขารอย่างหยาบ ยังไม่สงบระงับมีวจีสังขารอย่างหยาบ ยังไม่สงบระงับ    มีจิตตสังขารอย่างหยาบ   ยังไม่สงบระงับ   
        ต่อมา    เขาฟังธรรมของพระอริยะมนสิการโดยแยบคาย    ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม    เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยะ    อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม    กายสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ    วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ    จิตตสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ    เพราะกายสังขารอย่างหยาบสงบระงับ    วจีสังขารอย่างหยาบย่อมสงบระงับ    จิตตสังขารอย่าง หยาบย่อมสงบระงับ    สุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้นแก่เขา    ท่านผู้เจริญ    ความปราโมทย์เกิดจากความ เบิกบานใจ    แม้ฉันใด   
       ท่านผู้เจริญ    เพราะกายสังขารอย่างหยาบ สงบระงับ    เพราะวจีสังขารอย่างหยาบสงบระงับ    เพราะจิตตสังขารอย่างหยาบสงบระงับ    สุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัสยิ่งกว่าสุข ย่อมเกิดขึ้น    ฉันนั้น    พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น    ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่    ๒    นี้    เพื่อให้ถึงความสุข

 ๓.    บุคคลบางคนในโลกนี้   

   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า   ‘นี้เป็นกุศล’
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นอกุศล’   
   ไม่รู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’   
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’   
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’   
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งเลว’   
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งประณีต’   
   ไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้เป็นสิ่งดำ    สิ่งขาว    และสิ่งมีส่วนเปรียบ’   
     ต่อมาเขาฟังธรรม ของพระอริยะ มนสิการโดยแยบคาย ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เขาอาศัยการฟังธรรมของพระอริยะ    อาศัยการมนสิการโดยแยบคาย    อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นกุศล’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นอกุศล’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งมีโทษ’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งไม่มีโทษ’   
    ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งควรเสพ’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งไม่ควรเสพ’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งเลว’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่ง ประณีต’   
    ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า    ‘นี้เป็นสิ่งดำ    สิ่งขาว และสิ่งมีส่วนเปรียบ’   
     เมื่อเขารู้เห็นอย่างนี้    ย่อมละอวิชชาได้วิชชาย่อมเกิดขึ้น   
             เพราะอวิชชาดับลง    เพราะวิชชาเกิดขึ้น    สุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัสยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น
        ท่านผู้เจริญ    ความปราโมทย์เกิดจากความเบิกบานใจ    แม้ฉันใด   
             เพราะอวิชชาดับลง เพราะวิชชาเกิดขึ้น    สุขย่อมเกิดขึ้น    โสมนัส    ยิ่งกว่าสุขย่อมเกิดขึ้น ฉันนั้นเหมือนกัน   
           พระผู้มีพระภาคผู้ทรงรู้ทรงเห็น    เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น    ทรงรู้วิธีการบรรลุโอกาสที่    ๓    นี้    เพื่อให้ถึงความสุข


117  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ธรรมะวันนี้ "ความพยายามมีพอแล้วหรือยัง" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2012, 11:13:32 am
ธรรมะวันนี้ "ความพยายามมีพอแล้วหรือยัง"

ก่่อนที่จะถึงรอยพระพุทธบาท ซุ่้มประตูจุดนี้พอทุกคนเห็นเป้าหมายแล้วก็พยายามอัดเรียวแรงเพื่อจะได้ขึ้นไปให้ถึงโดยไว แต่ต้องนี้เป็นช่วงที่ชันมาก ๆ เมื่อทุ่มเรียวแรงลงไปตรงนี้หมด หลายต่อหลายคน จะหมดแรงก่อนถึงประตุกันต้องนั่งพักตากแดดอยู่อย่างนั้น ดังนั้นความเพียรที่พอเหมาะจึงมีคุณค่านะจ๊ะ

จากภาพเป็น ที่สุดทางของการขึ้นสู่ยอดเขานางฟ้า ( เขาวงพระจันทร์ ) ลพบุรี เพื่อกราบสักการะ รอยพระพุทธบาท

   กับเสียงตัดพ้อ และบ่น ว่าทำไมกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ฝึกยากเหลือเกิน สอบถามกันมาทางจดหมาย ว่าจะเริ่มอย่างไรถึงจะได้ไปให้ถึง ห้องที่ 4 ซึ่งแต่ละท่าน อาตมาไม่รู้จักสักท่าน ถึงแม้ได้กล่าวว่าได้ขึ้นกรรมฐานที่วัดราชสิทธาราม กันมาแล้ว ก็อยากให้ทุกท่านนั้น แจ้งกรรมฐาน กับหลวงพ่อพระครูสิทธิสังวร กันก่อนนะ ส่วนคำแนะนำของอาตมานั้น ให้จัดว่าเป็น รอง ๆ ปลาย ๆ สำหรับการแนะนำ อย่าได้นำไปเป็นเบื้องต้น

      วิริเยนะ ทุกขมัจจะเจติ  บุคคลจะก้าวล่วงพ้นจากทุกข์ได้เพราะความเพียร

     ดังนั้นอยากให้ท่านที่ส่งจดหมาย มาบอกว่า กรรมฐาน รู้สึกว่าฝึกยากมาก ต้องขอให้ย้อนถามกับไปว่า เรามีความเพียรพอแล้วหรือยัง

     บางท่านมีความศรัทธา ต้องการมาปฏิบัติเพื่อให้ได้ในระยะเวลาอันสั้น ท่านฝึกแค่ 3 วัน 5 วัน 7 วัน ถ้าสำเร็จได้ ก็ขออนุโมทนาด้วย ซึ่งก็เป็นไปได้ แต่ท่านที่ทำไม่ได้ ก็มีอยู่จำนวนมาก ดังนั้นอยากให้ทุกท่านพิจารณาความจริงว่า เราปีนี้อายุเท่าไหร่ ได้ใส่กิเลส คือ ภาวนาฝ่ายอกุศล มาแล้วเท่าไหร่ กี่วัน ดังนั้นเมื่อมาภาวนากุศลแล้ว สมดุลย์ กันแล้วหรือยัง

     คำตอบแรก ก็คือ คำถามว่า  เรามีความเพียรพอแล้ว หรือ ยัง ? ทำให้กุศล มีสูงกว่า อกุศล แล้วหรือยัง

     ถ้ายัง ก็ต้องกลับไปพิจารณา ความดี ว่า เรามีศีล ดีแล้ว หรือยัง เรารักษา สมาทาน ศีล นี้แล้วหรือยัง
     
     ถ้าศีล มีดีแล้ว ก็ต้องถามต่อไปว่า เราพอกพูน กุศล ด้วยการสร้าง ทาน มหาทาน วิหารทาน ธรรมทาน แล้วหรือยัง เราได้พยายาม สละกิเลส ย่อย ๆ ลงแล้วหรือยัง

     ถ้าการสร้างกุศล ย่อย ๆ มีแล้ว ก็ให้ถามต่อไปอีกว่า เราได้ภาวนา ระลึกถึงพระพุทธเจ้า แล้วหรือยัง เราเชื่อมั่นการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง เรามีความศรัทธา ต่อพระกรรมฐาน ที่ภาวนาอยู่นั้นว่าจะทำได้จริง แล้วหรือยัง

     ดังนั้น คำว่า ความเพียร สำหรับอาตมาก็หมายถึง ความพยายามในการสร้างกุศล และ สมดุลย์ กุศล ให้สูงหรือมีมากว่า อกุศลา

     กุศล คือ อะไร ? ง่าย ๆ ก็คือ การคิดดี พูดดี ทำดี อันนี้เรียกว่า กุศลแล้ว ถ้าท่านทั้งหลายที่ภาวนากันยากอยู่ในตอนนี้ แสดงว่า เรายังกุศล ยังไม่มากกว่า อกุศล ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย


      จงสร้างความ พยายามในการสร้าง กุศล กันให้มาก ๆ เถิด

      การสร้างกุศลนั้น ไม่ใช่สร้าง ให้โลกมีความสุข แต่ สร้างให้เรามีความสุข เวลาสร้างแล้วอย่าไปคิดไปนอกตัว เพื่อคนอื่น อันนี้จะผิดทาง เมื่อสร้างกุศลแล้ว  อกุศลในตัวเราต้องเบาบางลง จนหมดตอนนั้นแหละที่ท่านจะสามารถภาวนากรรมฐาน ได้โดยไม่มีความยาก

      หวังว่าทุกท่านคงจะเข้าใจ คำตอบ ไม่มาก ก็ สักนิดหน่อยก็ยังดีนะ

      เจริญธรรม / เจริญพร


       ;)

   
อวิชชา ( ความไม่รู้ ในอริยสัจจะ 4 )  เป็นรากเง่า แห่งปัญหา ( ทุกข์ ) เมื่อบุคคลที่เจริญธรรมเห็นตามความเป็นจริง ก็ต้องใช้สูตรนี้ ที่พระพุทธบิดาซึ่งพระองค์ ท่านนำทาง ไว้ให้เราแล้วมาใช้เพื่อการตรัสรู้ตามพระสุคต ดังนั้น ขอให้ทุกท่านศึกษา เหตุแห่งทุกข์ ให้เข้าใจ ทบทวน อริยสัจจะ 4 ให้ขึ้นใจ เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง ด้วยปัญญาอันชอบ อันเป็นการรู้เห็นตามความเป็นจริงด้วยตัวท่านเอง

รักที่สุดก็แนะนำได้เท่านี้
     
118  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / เรียนธรรมเป็น สิบ ๆ ปี ฟังธรรม เป็น พัน บท ทำไมจึงละ โลกธรรม ไม่ได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2012, 11:04:13 am
"เรียนธรรมเป็น สิบ ๆ ปี ฟังธรรม เป็น พัน บท ทำไมจึงละ โลกธรรม ไม่ได้"

ที่ต้องขึ้นหัวข้อนี้ เพราะมีจดหมายเข้ามาสอบถามพระอาจารย์กันไม่ต่ำกว่า 50 ฉบับ ด้วยความสงสัยในความเป็นนักภาวนา นักปฏิบัติธรรม นักศึกษาธรรม แต่เมื่อถึงเวลากิเ้ลสจรเข้ามาแล้ว ทำไมจึงยับยั้งชั่งใจกับกิเลสที่เกิดขึ้นมามิได้ เป็นเพราะอะไร ?

    เหุตเป็นเพราะ ปณิธาน ในการตั้งใจปฏิบัติภาวนา นั้นส่วนหนึ่ง บางท่านปรารถนาเป็น เทวดา บางท่าน ปรารถนา เป็นพระโพธิสัตว์ บางท่านปรารถนา เป็นพรหม บางท่านปรารถนา เป็นพระอรหันต์ ดังนั้นเมื่อความปรารถนาแตกต่างกันไป จึงทำให้คุณธรรม ต่างกันด้วย  สำหรับ 3 พวกแรก มิสามารถจะยับยั้งชั่งใจได้ เมื่อกิเลสจรเข้ามา อาจจะมีโกรธ รัก โลภ หลง ได้ ในสามพวกแรก เว้นเสียแต่พวกที่มีปณิธาน ตั้งมั่นในพระนิพพาน ถึงจะมีอึดอัดขัดเคือง ขุ่นข้องใจบ้าง แต่ ก็ไม่แสดงออกมาเพราะไม่ต้องการสร้างเวร ต่อภพ ต่อชาติ ต่อไป ดังนั้น มีความแตกต่างกันตรงไหนบ้าง ก้ขอตอบว่า

     1.โยนิโสมนสิการ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เมื่อเรียนธรรม ภาวนาธรรม ก็ควรกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย คำว่า แยบคาย หมายความว่าอย่างไร ?

     คำว่า แยบคาย หมายความว่า ทำไว้ในใจด้วย อุบายที่สัมพันธ์กับเป้าหมายที่ตั้ง เช่นฟังธรรม ๆ นั้นมีมากมาย แต่ก็เลือกมาโดยแยบคายว่า ธรรมที่สนับสนุนการพ้นจาก ละจาก ตามเป้าหมายนั้นมีธรรมอันใดบ้าง

     พูดสั้น ๆ ก็คือ ฟัง แล้ว ตรวจสอบกับเป้าหมาย ( อันนี้เรียกว่า ฟังเป็น เรียนเป็น )

     2.นิสัมมะกรณังเสยโย ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำการภาวนา ดังนั้น เรื่องที่ฟัง มาเรียนเป็นมาแล้ว ก็มาิพิจารณาว่า พอจะทำได้หรือไม่ หรือจะต่อได้อย่างไร ด้วยอุบายอย่างไร


     ดังนั้น "เรียนธรรมเป็น สิบ ๆ ปี ฟังธรรม เป็น พัน บท ทำไมจึงละ โลกธรรม ไม่ได้"
     ก็เพราะขาดคุณธรรม สองข้อนี้ นั่นแหละจ๊ะ

     เจริญธรรม สั้น ๆ เท่านี้ก่อนนะจ๊ะ


    ;)

119  ธรรมะสาระ / ห้อง_ด า ว น์ โ ห ล ด / วีดีโอ พระราชดำรัส ปิดทองหลังพระ ( เป็นโฆษณา ) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 08:56:22 am


แต่เป็นสิ่งที่อาตมา ใส่ใจเสมอเมื่อได้ทำการเผยแผ่ธรรมะกรรมฐาน
120  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / ประกาศเรื่องการ อ่าน ถาม ตอบทาง email เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2012, 08:07:07 am
เนื่องด้วยจดหมายค้างอ่าน จำนวน 5000 กว่าฉบับแล้ว จึงคิดว่า การตอบอ่านจดหมาย โพสต์จะเป็นการล่าช้าดังนั้น ถ้าท่านต้องการถามคำถามใด ๆ ก็ให้ โพสต์ถามเลย หรือ ไปโพสต์ ถามที่ Facebook
   
  www.facebook.com/dhammawangso

  www.facebook.com/madchimaRDN

 จึงขออภัยในความล่าช้าในการตอบจดหมาย นะจ๊ะ

 เจริญธรรม

 :25:
หน้า: 1 2 [3] 4 5 6