ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"  (อ่าน 8486 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:24:35 am »


มูลเหตุการรจนาพระคัมภีร์มูลกัจจายน์
และประวัติการศึกษาพระคัมภีร์มูลกัจจายน์ ในสุวรรณภูมิ


     ครั้งพุทธกาล พระมหัลลกะ ภิกษุรูปหนึ่ง รับอุทยัพพยะกรรมฐาน (ความเกิดดับของรูปนาม) มาจากสมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว นั่งเจริญพระกรรมฐานในที่สงบแห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำ ขณะที่ท่านพิจารณาความเกิดดับของรูปนาม โดยภาวนาว่า “อุทยัพพยะ อุทยัพพยะ เกิดขึ้น ดับไป เกิดขึ้น ดับไป" อยู่นั้น ก็ได้ยินเสียงแว่ว ของนกกระยางตัวหนึ่งซึ่งเดินจับปลากินอยู่ในน้ำ

     จึงลืมตาดูนกกระยางในน้ำอย่างใส่ใจ ทำให้จิตของท่านละลึกถึงแต่นกกระยางในน้ำ เป็นเหตุให้ภาวนาพระกรรมฐานผิดว่า “อุทกัพพกะ อุทกัพพกะ ซึ่งแปลว่านกกระยางในน้ำ นกกระยางในน้ำ” จนไม่สามารถบรรลุธรรมวิเศษอะไรได้ เพราะเห็นนิมิตรูปนกกระยาง ไม่เห็นความเกิดดับของรูปนาม

     พระบรมศาสดาทรงปรารภเรื่องนี้ให้เป็นปฐมเหตุ จึงตรัสว่า “อัตโถ ภิกขเว อักขรสัญญาโต"
     ภิกษุทั้งหลาย เนื้อความรู้ได้ด้วยอักษร  เมื่อกล่าวอักษรผิด (หรือภาวนาอักษรผิด) ก็ทำให้เข้าใจเนื้อความทั้ง โลกียัตถะ โลกุตตรัตถะ โวหารัตถะ ผิดไปจากเดิม


     พระมหากัจจายนเถรเจ้า ผู้เป็นเอตทัคคะ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายทางขยายเนื้อความย่อให้พิสดาร ได้สดับพระพุทธดำรัสเพียงสังเขปดังนี้ ท่านก็หยั่งทราบเนื้อความโดยพิสดาร และมีญาณรู้ไปในอนาคตกาลถึงเหตุการณ์นี้

    ท่านจึงรจนาพระคัมภีร์บาลีมูลกัจจายนนี้ ขึ้นมาเป็นพระคัมภีร์บาลีไวยากรณ์พระคัมภีร์แรกในพระพุทธศาสนา กาลต่อมาเป็นที่นิยมศึกษากันมาตั้งแต่บัดนั้น มาจนถึงปัจจุบันนี้ และเป็นพระคัมภีร์ที่มีอุปการะ คุณต่อการรู้แจ้ง และ ทรงไว้ซึ่งพระสัทธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา ทั้งทางปริยัติ และ ปฏิบัติ อันเป็นเหตุให้ภาวนาถูกต้อง เกิดนิมิตถูกต้อง เกิดสภาวธรรมถูกต้อง

     หมู่พระสงฆ์ แต่ปางก่อน จึงศึกษาทั้งปริยัติ-ปฏิบัติ มาพร้อมกัน โดยค่อยๆพอกพูนความรู้ เจริญขึ้นมาเป็นคู่กันตามลำดับ พระคัมภีร์มูลกัจจายน์และพระกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ จึงมีอุปการคุณต่อกันและกัน กับปฏิบัติสัทธรรม การรู้แจ้งแทงตลอด และทรงไว้ซึ่งพระปริยัติสัทธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา




พระคัมภีร์มูลกัจจายน์มีมาติกา ๖๗๓ สูตร

          ๑.สนธิกัณฑ์ ๕๑ สูตร
          ๒.นามกัณฑ์ ๒๑๙ สูตร
          ๓.การกกัณฑ์ ๔๕ สูตร
          ๔.สมาสกัณฑ์ ๒๘ สูตร
          ๕.ตัทธิตกัณฑ์ ๖๒ สูตร
          ๖.อาขยาตกัณฑ์ ๑๑๘ สูตร
          ๗.กิพพิธานกัณฑ์ ๑๐๐ สูตร
          ๘. อุณาทิกัณฑ์ ๕๐ สูตร

     ถึงสมัยทวารวดี พระภิกษุสงฆ์ ก็ได้ศึกษา พระคำภีร์มูลกัจจายน์ จนมาถึงสมัยสุโขทัย และต้นสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่การศึกษาในครั้งนั้น ศึกษาหาความรู้กันอย่างเดียวไม่มีการสอบ

     ถึงสมัยพระเจ้าทรงธรรม เริ่มมีการสอบทานบาลีปากเปล่า โดยแบ่งออกเป็นกองใต้ กองเหนือ กองกลาง พระภิกษุสงฆ์องค์ใด สอบทานปากเปล่าพระบาลีถึงสามกองได้ ก็จะได้เป็นเปรียญ

    ถึงสมัยต้นรัตนโกสินทร  รัชกาลที่ ๑ ที่ ๒ ยังใช้การสอบบาลีปากเปล่า ผ่านได้ สามกองเป็นเปรียญ
     ถึงปลายรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ สอบทานผ่าน กองใต้ ได้เป็นเปรียญ เปรียญตรี สอบผ่านกองเหนือ ได้ ได้เป็นเปรียญโท สอบผ่านกองกลางได้ ได้เป็นเปรียญเอก


     ถึงปลายรัชกาลที่ ๓ สอบผ่านกองใต้ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค
     ถึงรัชกาลที่ ๔ -รัชกาลที่ ๕ ยังใช้การสอบทานบาลีปากเปล่าอยู่ สอบผ่านกองใต้ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค สอบผ่านกองเหนือได้ ได้เป็นเปรียญ ๖ ประโยค สอบผ่านกองกลางได้ ได้เป็นเปรียญ ๙ ประโยค

     ถึงรัชกาลที่ ๖ รัชกาลที่๗ รัชกาลที่ ๘ รัชกาลที่ ๙ การสอบทานบาลี ใช้สอบข้อเขียน ปีละประโยค จนถึงปัจจุบันนี้



การศึกษาบาลีของหลวงปู่สุก

     กล่าวถึง พระอาจารย์สุก พระองค์ท่านเข้าสอบทานพระบาลี แปลปากเปล่า ครั้งนั้นพระองค์ท่านสามารถผ่านคณะพระกรรมการกองใต้ได้ ผ่านเข้าไปสอบถึงกองเหนือ พระองค์ท่านสามารถผ่านพระคณะกรรมการกองเหนือ เข้าไปสอบทานถึงกองกลางได้

     คณะกรรมการกองกลางให้พระองค์ ทรงแต่งฉันท์ ปากเปล่าถวาย โดยคณะกรรมการ ทรงเลือกให้พระองค์ท่านทรงแต่งฉันท์หนึ่ง พระองค์ท่านทรงแต่งได้ แต่ขาดความไพเราะ เพราะพริ้ง ความสละสลวย ในสำนวนโวหารของ ภาษาบาลี

     ต่อมาเมื่อทรงเข้าสอบทาน พระบาลี ทั้งสามกองเสร็จเรียบร้อย ปรากฎว่าคณะกรรมการกองกลางได้ตัดสินว่า พระองค์ท่านยังไม่ผ่านกองนี้ ต้องเข้าสอบทานใหม่ปีหน้า

     เหตุที่พระองค์ท่านไม่ผ่านกองนี้เพราะ เรื่องการแต่งฉันทลักษณ์ และความไพเราะสละสลวย ของสำนวนโวหาร ยังไม่เข้าตากรรมการ

    ต่อมาพระองค์ท่าน ได้ศึกษาการแปลพระบาลี กับพระอาจารย์ เพิ่มเติมต่ออีก ณ สำนักวัดราชาวาส พระองค์ท่านได้นำเอาพระคัมภีร์บาลีไตรปิฏก คัมภีร์พระสมันตปาสาทิกา ที่ทรงเคยสอบทานผ่านกองใต้มาแล้ว มาทำความเข้าใจอีกครั้ง

     ต่อมาพระอาจารย์ของพระองค์ท่าน ก็นำพระคัมภีร์ที่พระองค์ท่านสอบทานในกองเหนือไม่ผ่าน มาให้พระองค์ท่านหัดแปลให้ชำนิชำนาญขึ้นอีก เช่น คัมภีร์ธรรมบท คัมภีร์มงคลทีปนี เป็นต้น แล้วต่อจากนั้นก็ให้พระองค์ท่านนำพระคัมภีร์ที่จะต้องสอบทานในกองกลาง มาหัดแปลให้แคล่วคล่อง เช่น คัมภีร์วิสุทธิมรรค คัมภีร์อภิธรรมมัตถสังคหะ จนพระองค์ท่านสามารถแปลได้ชำนิชำนาญ

    ต่อมาพระองค์ท่าน ได้ทรงนำเอาพระคัมภีร์ นอกหลักสูตรการสอบทาน ทั้งกองใต้ กองเหนือ กองกลางมาแปล เพื่อหาความรู้ให้กับพระองค์ท่านเอง เช่น คัมภีร์พระสุมังคลวิลาสินี คัมภีร์พระมโนรถปุรนี คัมภีร์พระอัตถสารินี คัมภีร์พระสัมโมหวิโนทนี คัมภีร์พระปรมัตถทีปนี เป็นต้น

     ซึ่งคัมภีร์เหล่านี้ จารด้วยอักษรขอมบาลี พระองค์ท่านนำมาหัดอ่าน หัดแปลด้วยตัวเอง ซึ่งต่อมาพระองค์ท่านก็สามารถอ่าน แปลพระคัมภีร์บาลีพระไตรปิฎก พระคัมภีร์ต่างๆได้อย่างแคล่วคล่อง พระองค์ท่านสามารถอ่าน แปลได้แคล่วคล่องชำนาญ

     จนกระทั้งพระอาจารย์ที่บอกแปลหนังสือพระบาลีของพระองค์ท่าน เห็นว่าท่านแปลได้ดีกว่าเก่ามาก สามารถที่จะสอบทานผ่านได้ทั้งสามกอง เป็นเปรียญได้ จึงบอกให้พระองค์ท่านเข้าสอบทานบาลีใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพราะเห็นว่าพระองค์ท่าน สามารถแปลประโยคถ้อยคำที่ยากได้ดีสมบูรณ์กว่าเก่ามาก จึงต้องการให้พระองค์ท่านเข้าสอบทานพระบาลีใหม่อีกครั้ง




หลวงปู่สุกไม่เข้าสอบพระบาลี มุ่งจิตภาวนา

      แต่พระองค์ท่านไม่ต้องการเข้าสอบทานเพราะพระองค์ท่านต้องการศึกษาเพื่อหาความรู้ เอาไว้สำหรับ แปลพระคัมภีร์ที่เป็นภาษาบาลีต่างๆได้เท่านั้น
      และเนื่องจากเวลาได้ผ่านไปแล้วสาม-สี่ปีพระองค์ท่านทรงเจริญพระวิปัสสนา จิตได้เข้าถึงกระแสแห่งนิพพาน มาหลายขั้นแล้ว ตัณหา ความอยาก จึงลดน้อยลง


      พระองค์ท่านจึงหันมาสนใจทางบำเพ็ญเพียรภาวนามากกว่าทางอื่น พระองค์ท่านต้องการประพฤติปฏิบัติกรรมฐานอย่างจริงจัง และทรงดำริว่า หนทางนี้เหมาะสมแก่พระองค์ท่าน และการแปลพระคัมภีร์นั้น พระองค์ท่านเห็นว่าสามารถแปลหาความรู้ได้ด้วย พระองค์เองได้มากแล้ว

      อีกประการหนึ่ง เมื่อพระองค์ท่านทรงแปล พระคัมภีร์อื่นๆ นอกหลักสูตรการสอบทานดังที่กล่าวมาแล้ว พระองค์ท่าน ทรงมีความรู้เกี่ยวกับปริยัติธรรมมากขึ้น มีจิตอยากหลุดพ้นออกไปจากสังสารวัฏมากขึ้น ตามเหตุตามปัจจัยที่พระองค์ท่านได้สร้างสมมาทั้งในอดีต และปัจจุบันชาติ การติดอยู่ในสังสารวัฏ ต้องเวียนว่าย ตาย แล้วเกิด

      ดังนั้นเพื่อจะหลุดจากการเวียนว่าย ตายเกิด พระองค์ท่านทรงเห็นว่า ทางนี้เหมาะสมแก่พระองค์ท่าน และแก่นักบวชในพระพุทธศาสนา

      ต่อมาพระองค์ท่าน ทรงนำเอาพระคัมภีร์มูลกรรมฐาน รจนาโดยพระมหารัตนปัญญาเถร นักปราชญ์แห่งลานนา มีประมาณ ๑๐ ผูก จารึกด้วยอักษรขอมไทย
      คัมภีร์มูลกรรมฐานนี้ เป็นพระคัมภีร์ที่เรียบเรียงย่อมาจาก คัมภีร์พระวิสุทธิมรรค คัมภีร์ปรมัตถทีปนี และพระกรรมฐานในพระไตรปิฏก บวก กับประสพการณ์ การปฏิบัติกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ

     พระคัมภีร์นี้แต่งสำหรับให้เข้ากับภาษาท้องถิ่นประเพณี ในภูมิภาคนี้และของกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างดี เหมาะสำหรับผู้ผ่านการปฏิบัติมาแล้ว กับผู้ที่ไม่ได้ศึกษาพระบาลีมา ได้ศึกษาหาความรู้พระกรรมฐาน ด้านพระปริยัติธรรมได้โดยง่าย

     เมื่อพระองค์ท่าน ทรงหันมาศึกษาหนักไปในทางจิตภาวนา เจริญสมถะวิปัสสนาธุระ การปฏิบัติภาวนาของท่านก็เจริญก้าวหน้ามากกว่าแต่ก่อน ท่านจึงจัดเป็นเอกในทางปฏิบัติ

     ท่านไปๆ มาๆระหว่าง"วัดโรงช้าง" กับ "วัดราชาวาส" เมื่อว่างจากการเล่าเรียนศึกษาทั้งสองธุระ พระอาจารย์ทั้งสองของพระองค์ท่าน ก็สอนให้พระองค์ท่าน ทำกลด สานขาบาตรด้วยไม้ไผ่ และขาบาตรหวายขด ทำสานฝาบาตรด้วยไม้ไผ่ แล้วลงขมุก ลงรักน้ำเกลี้ยง หัดถักประคดเอว เป็นต้น

     บางครั้งพระอาจารย์ ของพระองค์ท่าน ทั้งสองพระอารามก็บอกวิธีการถือธุดงค์ การออกจาริกหาความสงบวิเวก บางครั้งก็เล่าประสพการณ์การออกสัญจรจาริกธุดงค์ 

     โดยเฉพาะเรื่อง การเข้าไปในเมืองลับแล อันเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พระองค์ท่านทรงสนใจมาก เรื่องยาสมุนไพร ก็สอนให้พอที่จะรักษาตัวเองได้เท่านั้น เวลาออกรุกขมูลเกิดป่วยไข้จะได้รักษาตัวเองได้
     แต่สิ่งที่ต้องหัดทำให้มากคือ การปลงพระเกษาด้วยพระองค์เอง เพราะเมื่อออกธุดงค์ไปในป่าเพียงลำพังพระองค์เดียว จะได้ช่วยเหลือพระองค์เอง



อ้างอิง
พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวร มหาเถรเจ้า (สุกไก่เถื่อน)
http://www.somdechsuk.org
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://www.bloggang.com/,http://board.palungjit.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:26:55 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

สมภพ

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 485
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:29:09 am »
อนุโมทนา ครับ ได้เจริญธรรม อ่านข้อความ ธรรมะจากพระอาจารย์ แล้ว ได้อ่านประวัติหลวงปู่ ไปด้วยรู้สึกดีมากขึ้นเลยครับ

 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า

ครูนภา

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +25/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 608
  • ภาวนา ร่วมกับพวกท่าน แล้วสุขใจ
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 10:53:21 am »
อนุโมทนา คะ โดยส่วนตัว ก็รู้ประวัติ หลวงปู่น้อยอยู่คะ

 ชอบอ่านเป็นตอน ๆ อย่างนี้ คะ เพราะว่า สมาชิก คัดสรรมาแล้ว อีกอย่างชอบที่คุณ nathaponson โพสต์คะ จัดระเบียบ มีภาพประกอบได้น่าอ่านมากคะ


 สาธุ สาธุ สาธุ

  :25: :c017:
บันทึกการเข้า
ศรัทธา ปัญญา ขันติ ความเพียร คุณสมบัติผู้ภาวนา
ขอเป็นกัลยาณมิตร กับทุกท่าน ที่เป็นกัลยาณมิตร

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2012, 11:07:02 am »

     กระทู้แนะนำครับ มีข้อมูลของ "คัมภีร์มูลกัจจายน์" อีกพอสมควร คลิกได้เลย
     คัมภีร์ มูลกัจจายน์ ฉบับไทย หาอ่านยากมาก ๆ แล้ว
     http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=1178.msg4782#msg4782

      :welcome: :49: :25: ;)
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

poepun

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +1/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 134
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 22, 2012, 09:07:43 am »
อนุโมทนา ผมว่า ดีนะครับ ที่ช่วยกันนำประวัติหลวงปู่ มาเผยแผ่กันไปด้วยนะครับ
ขอให้ทีมงาน เข้มแข็ง ฟันฝ่าอุปสรรค สำเร็จธรรมกันถ้วนหน้าครับ

 เป็นกำลังใจ จะติดตามผลงานไปเรื่อย ๆ ครับ

  :25:
บันทึกการเข้า

Hero

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 557
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2012, 08:55:02 pm »
อนุโมทนา สาธุ กับผู้ที่นำเรื่อง มาโพสต์ครับ ขอบคุณมากครับ
เป็นกำลังใจ ติดตามผลงาน อยู่นะครับ

  :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
ทำไมต้องมีอินทรีแดง เพราะสังคมเราบางครั้งก็ตาบอด
ปล่อยให้คนดี เดือดร้อน ดังนั้นจึงต้องมีผู้ปกป้องคนดี
hero ไม่ได้มีแต่ในหนังเท่านั้น นะครับ

waterman

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 302
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 23, 2012, 10:52:39 pm »
อนุโมทนา ครับ แนะนำให้อ่านกันครับ

 :25:
บันทึกการเข้า

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นสายปลายเหตุ "คัมภีร์มูลกัจจายน์"
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มกราคม 02, 2015, 05:51:07 pm »
คัมภีร์มูลกัจจายน์
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา