ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "การปรารภความเพียร ในความหมายที่ถูกต้อง"  (อ่าน 2946 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


ปรารภความพียร  ในที่นี้หมายถึงมีความเพียรที่บริบูรณ์  และมีความเพียรที่ประคับประคองไว้สม่ำเสมอไม่หย่อนนัก  ไม่ตึงนัก  ไม่ให้จิตปรุงแต่งภายใน  ไม่ให้ฟุ้งซ่านภายนอก  คำว่า  ความเพียร  ในที่นี้หมายเอา
ทั้ง  ความเพียรทางกาย  เช่น  เพียรพยายามทางกายตลอดคืนและวัน  ดุจในประโยคว่า  “ภิกษุในธรรมวินัยนี้
ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุความดีด้วยการเดินจงกรม  ด้วยการนั่งตลอดวัน” 

(อภิ.วิ.(แปล) ๓๕/๕๑๙/๓๙๑) 

และ  ความเพียรทางจิต  เช่น  เพียรพยายามผูกจิตไว้ด้วยการกำหนดสถานที่เป็นต้น  ดุจในประโยคว่า  “เราจะไม่ออกจากถ้ำนี้จนกว่าจิตของเราจะหลุดพ้นจากอาสวะ  ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน”
(องฺ.เอกก.อ.  ๑/๑๘/๔๓)



   การปรารภความเพียร มีการปรารภ ความเพียร คือ ปฏิบัติภาวนาโดยสองส่วนพร้อมกัน อาศัย สัจจะ ( ความจริงใจ ) เป็นที่ตั้ง อาศัย การอธิษฐาน ( เป็นเครื่องเตือน ) อาศัย  ศรัทธา เป็น เรี่ยวแรง แต่ถึงจะมี สัจจะ เครื่องเตือน เรียวแรง แล้วก็ตาม สิงที่ขาดไม่ได้ ก็คือ กาย และ ใจ


   นักภาวนาส่วนใหญ่ มักจะ ทุ่มเท ต่อการภาวนา ทางจิต โดยลืมภาวนาทางกาย อันแท้จริงแล้วในกรรมฐาน ต้องอาศัยทั้ง กาย และ จิต ในพระยุคลหกนั้น สุข มิได้เกิดแต่ จิต แต่ สุข ก็เกิดกับกายด้วย การภาวนาจึงเป็นการรมกายและจิตเป็นหนึ่งเดียว เพื่อการบรรลุธรรม

    ถามว่า กายไม่อุเบกขา จิต จะอุเบกขาได้ หรือไม่ ? นักภาวนา พึงควรตอบให้ได้

    ดังนั้นการปรารภความเพียร จึงมีการปรารภความเพียรทางกาย และ มีการปรารภความเพียรทางจิต ไปด้วยพร้อมกันหาได้แยกจากกัน แต่ขอให้นักภาวนาได้เข้าใจว่า มิได้ปรารภแต่ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้นนะจ๊ะ


   เจริญธรรม

     ;)




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2012, 11:29:23 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0


คนมีความเพียร
(วัณณุปถชาดก : ผู้ไม่เกียจคร้าน)

              "ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นที่ทางทราย ได้พบน้ำในทางทรายนั้น ณ ที่ลานกลางแจ้งฉันใด
              มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น"

              พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร  เมืองสาวัตถี  ตรัสวัณณุปถธรรม เพราะปรารภกุลบุตรคนหนึ่ง ไปฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใน เห็นโทษในกามและอนิสงส์ในการออกจากกามจึงบวช อุปสมบทได้ 5 พรรษา เรียนได้มาติกา 2 บท ศึกษาการประพฤติวิปัสสนา รับพระกรรมฐานที่จิตของตนชอบ ในสำนักของพระศาสดา เข้าไปยังป่าแห่งหนึ่ง จำพรรษา พยายามอยู่ตลอดไตรมาส ไม่อาจทำสักว่า โอภาสหรือนิมิตให้เกิดขึ้น
              ภิกษุนั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสดาตรัสบุคคล 4 จำพวก ในบุคคล 4 จำพวกนั้น เราคงจะเป็นปทปรมะ เราเห็นจะไม่มีมรรคหรือผลในอัตภาพนี้ เราจักกระทำอะไรด้วยการอยู่ป่า เราจักไปยังสำนักของพระศาสดา แลดูพระรูปของพระพุทธเจ้าอันถึงความงามแห่งพระรูปอย่างยิ่ง ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะอยู่ (จะดีกว่า) ครั้นคิดแล้ว ก็กลับมายังพระเชตวันวิหารอีก
              พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอละความเพียร จริงหรือ
              ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า
              พระศาสดาตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ทำไมจึงไม่ให้เขารู้จักตนอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย หรือว่าเป็นผู้สันโดษ หรือว่าเป็นผู้สงัด หรือว่าเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือว่าเป็นผู้ปรารภความเพียร ให้เขารู้จักว่า เป็นภิกษุผู้ละความเพียร
              เมื่อครั้งก่อน เธอได้เป็นผู้มีความเพียรมิใช่หรือ เมื่อเกวียน 500 เล่ม ไปในทางกันดาร เพราะทราย พวกมนุษย์และโคทั้งหลายได้นํ้าดื่มมีความสุข เพราะอาศัยความเพียร ซึ่งเธอผู้เดียวกระทำแล้ว เพราะเหตุไร บัดนี้ เธอจึงละความเพียรเสีย ภิกษุนั้นได้กำลังใจ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้"

              ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองปกครองนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน เมื่อเจริญวัยแล้วก็ได้เป็นนายกองเกวียนนำพ่อค้าเกวียน 500 เล่ม  ไปค้าขายต่างเมืองเป็นประจำ คราวหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นเดินทางกันดารเพราะทรายแห่งหนึ่ง มีระยะประมาณ 60 โยชน์  โดยออกเดินทางเฉพาะกลางคืน กลางวันจะหยุด

              ในการควบคุมพ่อค้าเกวียนไปค้าขายดังกล่าว  พระโพธิสัตว์จะตั้งผู้เชี่ยวชาญทางดาราศาสตร์ให้เป็นผู้กำหนดทิศทาง คราวนั้น คนกำหนดทิศทางได้ม่อยหลับไปเพราะเหน็ดเหนื่อย เนื่องจากไม่ได้หลับเป็นเวลานาน ทำให้โคนำเกวียนหวนกลับมาในเส้นทางเดิมอีก

              พออรุณรุ่งตื่นขึ้นได้รู้ว่าเป็นเส้นทางเดิมจะบอกให้กลับเกวียน แต่ขณะนั้นสว่างเสียแล้ว  พวกพ่อค้าเหล่านั้น เมื่อรู้ว่าพวกตนได้กลับมายังที่ที่พักแรมเมื่อวานนี้ก็ได้แต่เสียใจ  เพราะน้ำดื่มน้ำใช้รวมทั้งฟืนที่เตรียมมาหมดลงพอดี จึงพากันหยุดพัก ณ ที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง

              ฝ่ายนายกองเกวียนโพธิสัตว์พยายามสร้างขวัญและกำลังใจให้เกิดแก่บริวาร จึงเดินไปรอบ  ๆ บริเวณค่ายพักในขณะที่ยังเช้าอยู่ พลันได้เหลือบเห็นหญ้าแพรกกอหนึ่งยังเขียวสดอยู่ท่ามกลางทะเลทราย เกิดความคิดว่าหญ้าจะสดชื่นอยู่ได้จะต้องมีน้ำที่ให้ความชื่นอยู่เบื้องล่าง จึงสังคนนำจอบขุดลงไปใต้กอหญ้า พอขุดลึกลงไปถึง 60 ศอก ก็พบแผ่นหินใหญ่จึงเกิดความท้อถอย

              ฝ่ายนายกองเกวียนโพธิสัตว์คิดว่า ใต้แผ่นหินนี้จะต้องมีสายน้ำเป็นแน่ได้เงี่ยหูฟังและได้ยินเสียงน้ำไหลอยู่เบื้องล่าง จึงบอกคนรับใช้ให้ใช้ค้อนเหล็กทุบลงไปที่แผ่นหินนั้น  พอแผ่นหินแตกเกลียวน้ำประมาณเท่าลำตาลก็พุ่งขึ้นมา คนทั้งปวงต่างพากันตื่มกันและอาบ พออาทิตย์อัสดงจงได้ยกธงไว้ใกล้บอน้ำนั้น เพื่อผู้ผ่านไปมาจะได้เห็นและแวะมาดื่ม อาบตามอัธยาศัย

              ครั้นแล้ว นายกองเกวียนและบริวารก็ออกเดินทางไปค้าขายตามเมืองต่าง ๆ ขายสินค้าได้กำไร 2-3 เท่าแล้ว จึงกลับไปยังที่อยู่ของตนโดยสวัสดิภาพ

              ครั้นตรัสเรื่องนี้จบลงแล้ว พระพุทธองค์ได้ตรัสพุทธภาษิตว่า

"ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นใต้ทราย
ได้พบน้ำใต้ทรายนั้น ณ ที่ลานกลางแจ้งฉันใด
มุนี (ผู้รู้) ประกอบด้วยความเพียรและกำลังใจเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน
พึงได้ความสงบใจฉันนั้น"               

สรุปเทศนา

              คนรับใช้ผู้ไม่ละความเพียร ต่อยหินให้นํ้าแก่มหาชนในสมัยนั้น ได้เป็น ภิกษุผู้ละความเพียรรูปนี้ ในบัดนี้
              บริษัทที่เหลือในสมัยนั้น ได้เป็น พุทธบริษัท ในบัดนี้
              ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียน ได้เป็น เราตถาคต

ที่มา พระสูตรและอรรถกถา เล่มที่ 55 ขุททกนิกายชาดก ภาคที่ 1 เอกนิบาตชาดก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 23, 2012, 11:25:52 am โดย arlogo »
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา