ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การนั่งกรรมฐาน ให้ได้ นาน ๆ ควรเริ่มต้อนอย่างไร ครับ  (อ่าน 3717 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

sakda

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 98
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
เห็นเพื่อน ๆ รอบตัวผมนั่งกรรมฐาน กันไม่ได้นานเลยครับ รวมทั้งผมด้วยครับ สักประมาณ 1 ชม. ก็ประมาณนี้ ถ้าต้องการให้นั่งกรรมฐาน ได้นานเพิ่มขึ้น ควรทำอย่างไร ดีครับ

  thk56
บันทึกการเข้า

ธัมมะวังโส

  • ธัมมะวังโส
  • ผู้บริหารเว็บ
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +180/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 7250
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
ควรเริ่มจาก การฝึกเดิน และ ฝึกนั่ง

 สำหรับคนผู้เริ่มฝึก
 แรก เริ่ม อย่าพึ่งหวัง ความละเอียดทางสมาธิ แต่ต้องฝึกกายให้ชินกับสภาวะ  เจ็บปวด เมื่อยก่อน จากนั้นเมื่อร่างกายมีความแข็งแรงพอประมาณ (  พอทนได้แล้ว ) ก็ให้เริ่มฝึก ทำสมาธิ ระยะยาวขึ้น

สำหรับท่ีานที่ฝึกมาแล้วแต่ยังไม่เก่ง
   ให้เริ่มเดินจงกรม สลับ กับการนั่งกรรมฐาน เดิน 5 นาที นั่ง 10 นาที เดิน  30 นาที นั่ง 1 ชม. ถ้าทำตามแล้วจะทำได้ เพราะการเดิน สลับการนั่ง  จะช่วยการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ

สำหรับท่านที่มีความชำนาญ มาก ๆ แล้ว สามารถเข้าองค์สมาธิได้ คือ วิตก วิจาร ปีติ
   ให้กำหนดภาวนา พุทโธ โดยมี ปีติ เป็นผลสมาธิ ( เพียงรับทราบ )  การที่ภาวนาจนเกิดปีติ จะมีสองประการเกิดขึ้น หนึ่ง ปีติ  ที่ลักษณะอารมณ์กายเป็นนิมิต เช่น กายสั่นไหว ขนลุก น้ำตาไหล ตัวสั่น  เป็นต้นอันนี้เรียกว่า นิมิตพระลักษณะปีติ เกิดจากที่จิตมี วิตก วิจาร  ภาวนาแล้วสงบ เมื่อสงบ ก็จะรับทราบ และรับรู้ ความสุขภายในเบื้องต้น  เมื่อรับทราบก็เกิดเป็นปีติ มาถึงตรงนี้เรียกว่า เข้าด่านที่หนึ่ง
    ให้กำหนดภาวนา ผนวก พุทโธ ลงไปที่่ฐานจิตเช่นเดิม นอกนั้นให้เพียงใจที่รู้  เรียกว่า ธาตุรู้ ( มนธาตุ ) ดำเนินหน้าที่รู้ ในขณะภาวนา  ความรู้อย่างนี้เรียกว่า สัมปชัญญะในสมาธิ ถ้าไม่รู้ก็จะผิด  เพราะถ้าไม่รู้แสดงว่าควบคุมจิตไม่ได้ คือ ภวังค หรือ หลับ  ดังนั้นคนส่วนใหญ่ จะตกภวังค์ และ หลับ คือไม่รู้สึกตัว

สำหรับท่านที่มีความชำนาญ มาก ๆ แล้ว สามารถเข้าองค์ ปีติ ได้ จนถึง ปิติรัศมี

    ท่านที่สามารถกำหนด มนธาตุ รู้ในปีติได้  จะมีผลให้จิตและกายไม่เบื่อในสมาธิ มีสมาธิ กึ่ง ปีติ และ กึ่งสุข  อันนี้เรียกว่า จิตเข้า ยุคลธรรม เป็นเพราะปีติ มีสภาพกำหนดระงับลง  ภาษากรรมฐานเรียกว่า ปัสสัทธิ ช่วงที่กำหนดระงับลงนั้น เรียกว่า  สุขเบื้องต้น แต่ภาษากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นเรียกว่า ยุคลจิต มี  ลักษณะ 6 คู่ 12 ธรรม เป็น คู่กันไป
   แต่ก่อนที่จะเป็น ยุคลธรรม นั้น  ผู้ฝึกสมาธิย่อมกำหนดนิิมิต คือ ปีติ มีภาพปรากฏภายในเป็นอารมณ์ในจิต  เรียกว่า ปีติรัศมี ( แสงสว่างของนิมิต ) ซึ่งมีลักษณะความสว่างเรียกว่า สี  เป็น รูปปรมัตถ์ ดังนั้นเมื่อท่านภาวนาอยู่ใน ฐานจิตใด จิตหนึ่ง  ย่อมเข้าถึง อุคคหนิมิต ปรากฏเป็นภาพใดภาพหนึ่ง ขึ้นมาภาพที่ปรากฏ  แล้วแต่ธรรม บารมีแต่ รัศมีประจำฐานมีรูปแบบเฉพาะ และ สีเฉพาะ  ซึ่งครูอาจารย์กรรมฐานจะไม่บอกส่วนนี้เอาไว้เป็นการสอบลูกศิษย์  เมื่อถามและตอบก็จะบอกว่า ผ่านหรือไม่ผ่าน
   
   สำหรับ  ยุคลธรรมนั้น เป็นปัสสัทธิ ที่ละจากปีติ และ ปราโมทย์ 2  ประการผ่องใสด้วยธรรมในภายใน มีคุณที่จะทำให้สมาธิ ตั้งอยู่ได้นาน  และทรงได้นาน มาถึงระดับนี้ ก็เก่งกันมาแล้ว เป็นอุปจาระสมาธิขั้นกลางแล้ว  ดังนั้น คนที่ได้ปีติ และ ยุคล จึงชอบนั่งกรรมฐาน นานมากขึ้น

  ก็จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ของจิตที่เป็นสมาธิ นะจ๊ะ
[/]
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2013, 03:19:48 pm โดย RDNpromote »
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ

ก้านตอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 195
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า

ตั้งฉาก

  • กำลังจะพ้นจากน้ำ
  • *
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
อนุโมทนา สาธุ  :welcome:
บันทึกการเข้า

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 st11 st12

     ที่นำข้อความออกมาให้อ่าน กันอีกครั้ง

      ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา

ก้านตอง

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +4/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 195
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
พระอาจารย์ตอบสั้น จัง

 :73:
บันทึกการเข้า