ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: [1] 2 3 ... 574
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ศีลเสมอแล้วเจอกัน​ ไม่ใช่ความจริง | ยังมีปัจจัยอื่นๆอีก เมื่อ: มิถุนายน 05, 2025, 07:27:00 am
.



ศีลเสมอแล้วเจอกัน​ ไม่ใช่ความจริง

เวลาที่ใครพูดประโยคนี้ขึ้นมาว่า "ศีลเสมอแล้วเจอกัน" ทำให้ในใจผมคิดอยู่เสมอว่า​ นี่มันกล่าวตู่พระพุทธเจ้าชัดๆ เพราะมีการไปขยายความซ้ำอีกว่า เป็นเพราะตอนนี้ศีลเราเสมอกันแล้วจึงได้มาเจอกัน.. ผู้คนจำนวนไม่น้อยที่หลงไปตามประโยคนี้​ แล้วเอาไปใช้ในชีวิตแบบข้างๆ คูๆ​ กลายเป็นว่า การที่คบหาใครเป็นเพื่อน​เป็นแฟนได้​ ร่วมทำธุรกิจกันได้ เพราะต่างมีศีลเสมอกัน​ ในวันนี้นี่เอง

แล้วความจริงในเรื่องการพบการเจอนี่​ ความจริงเป็นอย่างไรกันแน่ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า​ ธรรมะของพระพุทธเจ้า​ ไม่ควรมาพูดเพียงแค่ครึ่งๆ กลางๆ แล้วเอาไปสร้างเป็นคอนเท้น​ ซึ่งถามว่าบาปไหม ตอบว่า ไม่ควรทำเช่นนี้มากกว่า เพราะเป็นการสร้างเจตนาให้คนเข้าใจผิด​

เพียงแค่​ มีศีลเพียงอย่างเดียว​ แล้วทำให้ได้พบเจอกันนั้นไม่เป็นความจริงใดๆ ทั้งสิ้น​ เพราะในคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏใน..

สมชีวิสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎก ฉบับหลวง ๒๑/๕๕/๖๐​

    • เพราะมีศรัทธา​ เสมอกัน
    • เพราะมีจาคะ​ เสมอกัน
    • เพราะมีศีล​ เสมอกัน
    • เพราะมีปัญญา​ เสมอกัน​

จึงทำให้ได้มาพบกัน..และ​ ไม่ใช่เพราะในปัจจุบันนี้มีทั้ง 4 ข้อนี้​ แล้วทำให้เรามาพบเจอกันนะ​ อันนี้ยิ่งเข้าใจผิดแบบยากที่จะให้อภัย​

@@@@@@@

ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา​ ต้องมีมาจากอดีตชาติร่วมกันมาก่อนแล้วเป็นเหตุ​ และ​ ปรากฏเป็นผล​ ทำให้ ณ​ ปัจจุบันได้พบกัน..ต่อมา.. ครั้นปัจจุบันเมื่อพบเจอกันแล้ว​ ยังมี 4 ข้อนี้เสมอกันอีก​ ครั้นเมื่อเราทั้งสองละจากโลกนี้ไปแล้ว​ ในสัมปรายภพ​ ก็ทำให้เราได้พบกันอีก​

เห็นกลไกการทำงานของโลกจิตวิญญาณ​ หรือยัง..

    1. ศรัทธา เสมอกัน​ หมายถึง​ มีความเคารพนับถือไปในสิ่งเดียวกัน​เหมือนกัน​
    2. จาคะ​ เสมอกัน​ หมายถึง ​มีใจสละออก​ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว รู้จักบริจาคเป็นทาน​
    3. ศีล​เสมอกัน​ หมายถึง​ มีการปฏิบัติตนตามศีลธรรมอันดีงาม​เหมือนกัน
    4. ปัญญา​เสมอกัน​ หมายถึง​ มีความคิด​ความอ่านเหมือนกันในการดำเนินชีวิต​ หรือ​ แก้ไขปัญหาชีวิต​ด้วยปัญญาเหมือนกัน

ทั้ง 4 ข้อ​ เคยทำร่วมกันมาแต่อดีตชาติ​ ถ้าปัจจุบันยังปฏิบัติเหมือนกันอีก​ในสัมปรายภพก็ได้พบกันอีก​อย่างแน่นอน​ เคยเห็นบางคู่รักหรือไม่ ในปัจจุบันมีความคิดเห็นคนละทาง​ อีกคนมีศีลอีกคนไม่เอาศีล​เลย แต่ที่ปัจจุบันมาอยู่ใช้ชีวิตร่วมกันเพราะมีอานิสงส์จากอดีตชาติที่มี 4 ข้อร่วมกันมา​


@@@@@@@

​มีอีกบทหนึ่ง​ ที่ยืนยันได้ว่า​เพราะมี 4 ข้อดังกล่าวมาจากอดีตจึงทำให้มาพบกันในปัจจุบัน​ และทรงเปรียบเทียบคู่ชีวิตที่พบกันว่า หากปัจจุบันพบกันแล้วมีสิ่งเสมอกันกับไม่เสมอกันนั้นด้วย กล่าวคือ​ บางคู่รักที่พบกัน​ เปรียบเหมือน

    1. เทพธิดาอยู่กับเทพบุตร​ คือ​ มีศีลธรรมทั้งคู่ตามหลักสมชีวิสูตร​
    2. เทพธิดาอยู่กับศพ คือ​ ผู้หญิงมีศีลมีธรรม​แต่ผู้ชายไม่มีศีลธรรมใดๆ เลย
    3. เทพบุตรอยู่กับศพ​ คือ​ ผู้ชายมีศีลมีธรรม​ แต่ผู้หญิงหามีธรรมใดๆ ไม่
    4. ศพอยู่กับศพ​ คือ​ ทั้งชายและหญิง​คู่นี้หามีศีลมีธรรมใดๆ เลยไม่​

แต่การที่เขาได้มาพบกันล้วนเป็นเพราะในอดีตชาติมีสมชีวิสูตรมาร่วมกันมาก่อนนั้นเอง​ นี่คือ​ความจริง​ ที่เราท่านควรรู้และเข้าใจถึงความจริงในข้อนี้​ เพื่อมิให้หลงประเด็นคิดว่ามีศีลข้อเดียวแล้วทำให้ได้พบเจอกัน





Thank to : https://www.thansettakij.com/blogs/lifestyle/horoscope/629198
คอลัมน์ ทำมาธรรมะ โดย ราชรามัญ | 05 มิ.ย. 2568 | 03:30 น.
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "สังวรวินัย" เป็นเครื่องระวังและขจัดกายทุจริตและวจีทุจริต เมื่อ: มิถุนายน 03, 2025, 08:50:00 am
.



"สังวรวินัย" เป็นเครื่องระวังและขจัดกายทุจริตและวจีทุจริต

สองบทว่า อริยธมฺมสฺส อโกวิโท ความว่า ไม่ฉลาดในอริยธรรมอันแยกออกเป็น สติปัฏฐาน เป็นต้น.         
ก็ชื่อว่า วินัยมี ๒ อย่าง แต่ละอย่างในแต่ละประเภท มี ๕       
เพราะความไม่มีวินัยทั้ง ๒ นั้น อันนี้ท่านเรียกว่า อวินีต ในคำว่า อริยธมฺเม อวินีโต นี้.

@@@@@@@

วินัย ๒ อย่าง        
         
จริงอยู่ วินัยนี้มี ๒ อย่างคือ
    ๑. สังวรวินัย
    ๒. ปหานวินัย
และวินัยแต่ละอย่างในวินัยแม้ทั้ง ๒ นี้ แยกออกเป็น ๕.
         
จริงอยู่ แม้สังวรวินัย มี ๕ คือ
    ๑. สีลสังวร
    ๒. สติสังวร
    ๓. ญาณสังวร
    ๔. ขันติสังวร และ
    ๕. วิริยสังวร.

แม้ปหานวินัย ก็มี ๕ อย่างเหมือนกัน คือ
    ๑. ตทังคปหาน
    ๒. วิกขัมภนปหาน
    ๓. สมุจเฉทปหาน
    ๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน และ
    ๕. นิสสรณปหาน.


@@@@@@@

สังวรวินัยทั้ง ๕ นั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า

(๑) ภิกษุเข้าถึงด้วยปาฏิโมกข์สังวรนี้ นี้เรียกว่า สีลสังวร.
         
(๒) สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ คือถึงการสำรวมในจักขุนทรีย์ นี้เรียกว่า สติสังวร.
         
(๓) สังวรที่ตรัสไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
     "ดูก่อนอชิตะ กระแส(ตัณหา) เหล่าใด ในโลกมีอยู่ สติย่อมเป็นเครื่องห้ามกระแสเหล่านั้น เราตถาคตกล่าวสติว่าเป็นเครื่องระวังกระแสทั้งหลาย กระแสเหล่านั้นอันบุคคลย่อมละด้วยปัญญา."
      นี้เรียกว่า ญาณสังวร.

(๔) สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมอดทนต่อหนาวและร้อน นี้เรียกว่า ขันติสังวร.
       
(๕) สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมหยุดกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วไว้ได้ นี้เรียกว่า วิริยสังวร.
         
@@@@@@@

อนึ่ง สังวรนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องระวังกายทุจริตและวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องระวังตามหน้าที่ของตน
     
และเรียกว่า วินัย เพราะเป็นเครื่องขจัดกายทุจริตและวจีทุจริต เป็นต้น ที่ตนต้องขจัดตามหน้าที่ของตน.

สังวรวินัย พึงทราบว่า แยกออกเป็น ๕ ดังอธิบายมานี้ก่อน.





ขอขอบคุณ :-
ภาพจาก : pinterest
ที่มา : อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค มูลปริยายสูตร ว่าด้วยมูลเหตุแห่งธรรมทั้งปวง
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=1&p=2#หลักการใช้_สาธุ_ศัพท์





พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต)

[243] สังวร 5 (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล)
       
สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล) ได้แก่ สังวร 5 อย่าง คือ

    1. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์)

    2. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น) = อินทรียสังวร

    3. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์

    4. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ)

     5. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ) = อาชีวปาริสุทธิ

ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น 2 คือ สังวรวินัย กับ ปหานวินัย และจำแนกสังวรวินัยเป็น 5 มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ 1 เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9 ; สงฺคณี.อ. 505)


อ้างอิง : วิสุทฺธิ. 1/8 ; ปฏิสํ.อ. 16 ; วิภงฺค.อ. 429
3  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จงรักศัตรูของเจ้า จงทําความดีแก่เขา..ผู้จงเกลียดจงชังเจ้า เมื่อ: มิถุนายน 02, 2025, 09:48:01 am
.



อะไร.? คือ ความรัก | God is Love and Love is God

การที่จะเข้าใจความรักนั้นไม่ง่าย เพราะธรรมชาติอันแท้จริงและความยิ่งใหญ่ของความรักนั้น ไม่สามารถบรรยายออกมาเป็นค่าพูดได้ มันเป็นความรู้สึกหรืออารมณ์ที่บริสุทธิ์ และละเอียดอ่อนมากยากที่จะระบายออกมาเป็นลักษณะท่าทางและภาษาพูดได้ ผู้ที่มีความรักย่อมรู้ได้โดยการสัมผัสด้วยตนเองเท่านั้น เพราะเกินความสามารถของชิวหาหรือปากกา ที่จะพรรณนาลักษณะความรักนั้นได้

จริงๆ แล้ว ความรักเป็นชื่ออีกชื่อหนึ่งสําหรับพระเป็นเจ้า อย่างที่คัมภีร ไบเบิลได้กล่าวไว้ว่า God is love หมายถึง พระเป็นเจ้า คือ ความรัก, และความรัก คือ พระเป็นเจ้า, การที่จะเอาความยิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้าลงมาสู่มิติของมนุษย์ธรรมดานั้น เป็นไปไม่ได้เลยในการที่จะพรรณนาความงดงามตระการตาของความรักในภาษามนุษย์ได้

คนทุกคนมีความปรารถนาที่จะมีความสุข และความสุขก็คือผลที่ใจมีสมาธิ หรือใจมีอารมณ์เป็นเอกัคคตา ทรัพย์สมบัติของสมาธิและความสุขของใจนั้น เราสามารถจะได้มาโดยทางความรัก, เพราะคุณสมบัติ คือ ความ สงบ ความสุข และความสว่างของใจย่อมมีได้โดยธรรมชาติแห่งความรัก

เมื่อใดก็ตามที่ความรักหายไป เมื่อนั้นทุกสิ่งทุกอย่างภายในโลกย่อมตกอยู่ในความทุกข์ ความเดือดร้อน และความเข้าใจผิด ซึ่งเป็นต้นเหตุของการทะเลาะวิวาท อันเกิดขึ้นไม่ว่าในครอบครัวในบ้าน ในประเทศ ระหว่างประเทศและภายในชาติเดียวกัน, ดังปรากฏ อยู่ทั่วไปในโลกและในชาติทุกวันนี้


@@@@@@@

พระเป็นเจ้าหรือความรัก ย่อมเห็นสรรพสัตว์เป็นอย่างเดียวกัน ไม่มีใครดี ไม่มีใครเลว ในพระเนตรของ พระองค์แล้ว ไม่มีเชื้อชาติ ไม่มีเผ่าพันธุ์ ไม่มีลัทธิศาสนา, ทุกคนเป็นลูกของพระองค์ ใครก็ตามที่เข้าใจความจริงอันนี้ เขาผู้นั้นไม่สามารถที่จะเกลียดชังคนใดคนหนึ่งได้ ดังที่พระเยซู กล่าวว่า “จงรักซึ่งกันและกัน”

เราคงลืมความหมายอันแท้จริงของค่า กล่าวนี้ เราสามารถจะรักกันและกันได้ ก็ต่อเมื่อเราเห็นพระเป็นเจ้าอยู่ในตัว เราทุกคน เราจึงจะรักซึ่งกันและกัน เราไม่ได้รักบุคคล แต่เรารักพระเป็นเจ้าภายในตัวเราแต่ละคน เมื่อเราพบพระองค์ในภายในคนทุกๆ คน ปัญหาเรื่องความสูงความต่ำก็ไม่เกิดขึ้น, ปัญหาเรื่องตัวกูของกูก็ไม่เกิดขึ้น ปัญหาเรื่องความโกรธแค้นก็ไม่เกิดขึ้น

ดังนั้น การที่จะให้มีความรักซึ่งกันและกันเกิดขึ้นในสังคม เราจะต้องมีความรักดังกล่าวนั้น คือ รักพระเป็นเจ้าซึ่งประทับอยู่ในภายในเรา, และเราก็จะพบว่า เราทุกคนเป็นลูกของพระบิดาองค์เดียวกัน.

ในคัมภีร์ไบเบิล พระเยซูตรัสว่า
     “ท่านคงจะได้ยินคําพูดที่กล่าวสืบๆ กันมาแต่ก่อนว่า ท่านจงรักเพื่อนบ้านของท่าน และจงเกลียดศัตรูของ ท่าน, แต่ข้าพเจ้าจะพูดกับเจ้าว่า จงรักศัตรูของเจ้า จงให้พรแก่ศัตรูของเจ้า แก่ผู้สาปแช่งเจ้า จงทําความดีแก่เขาผู้จงเกลียดจงชังเจ้า และจงสวดอ้อนวอนให้พระเป็นเจ้าทรงประทานพรแก่พวกเขา ผู้ด่าว่าเจ้าและรบกวนเจ้า".

@@@@@@@

ความรักมีอยู่ ณ ที่ใด ชีวิตก็มีความสดชื่น ณ ที่นั้น , ที่ที่ความรักสูญสิ้นไป ชีวิต ณ ที่นั้นก็ไร้ค่า, จริงๆ แล้ว คนธรรมดาทั่วไปย่อมไม่เป็นคนที่มีความรักที่แท้จริงได้ เว้นเสียแต่ว่าเขาผู้นั้นมีประกายแสงแห่งความรักแห่งสวรรค์ปรากฏอยู่ในภายในตัวเขา

พระเป็นเจ้าในรูปแบบแห่งความรักย่อมประทับอยู่ในคนทุกๆคน บุคคลทั้งหลายผู้มีนัยน์ตาอันเปิดแล้ว คือ เห็นคนทุกๆ คนว่าเป็นปรากฏการณ์ของพระเป็นเจ้า เหมือนปรากฏการณ์ของแสงอาทิตย์ หรือเหมือนลูกคลื่น ในมหาสมุทร, เขาผู้เห็นเช่นนั้นเท่านั้นย่อมรู้ว่าประกายแห่งความรัก อย่างเดียวเท่านั้นที่ได้ทําให้พวกเขาเกิดมาเป็นมนุษย์ได้

เมื่อเขาได้รู้แจ้งอย่างนี้แล้ว ใครเล่าจะสูงใครเล่าจะต่ำ หรือคนย่อมดํารงอยู่ในตําแหน่งหรือฐานะต่าง ๆ ของชีวิตและอยู่ในประเทศต่างๆ ทั้งหมดนี้คน ก็คือคนผู้เป็นลูกของพระเป็นเจ้า ย่อมเห็นเป็นหนึ่งเดียวกันในสายพระเนตรของพระเป็นเจ้า, ความแตกต่างกันของวรรณะ เชื้อชาติ ประเทศ หรือลัทธิ ศาสนา ไม่มีความสําคัญแต่อย่างใด สําหรับบุคคลผู้มีคุณสมบัติแห่งความรัก เขาย่อมรู้ว่าในสวรรค์มีพระเป็นเจ้าหนึ่งเดียว ในพื้นโลกมีครอบครัวเดียว คือ ครอบครัวมนุษย์.

มีนักปราชญ์ชาวเปอร์เซียชื่อ เมา นารูม กล่าวไว้ว่า
    “กระแสความรักจากพระเป็นเจ้า ผู้หนึ่งเดียวเท่านั้น ไหลผ่านไปทั่วสากลพิภพ เมื่อท่านเห็นหน้าของบุคคลคนหนึ่ง ท่านคิดอะไรหรือ.? ท่านมองดูเขาผู้นั้นว่าไม่ใช่คนๆ หนึ่งหรือ.? แต่เขาผู้นั้นเป็นกระแสธารแห่งแก่นแท้ของความรัก(พระเป็นเจ้า) ซึ่งกระแสแห่งความรักนั้นแทรกซึมและซึมซาบอยู่ในตัวเขาผู้นั้น".

@@@@@@@

ความรักนั้นมันเป็นตัวของมันเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่หรืออาศัยสิ่งหนึ่งสิ่งใดเลย, มันเป็นมหาสมุทรแห่งศรัทธา เป็นความแข็งแกร่ง และเป็นพลังแห่งความอดทน, มันถ่ายทอดความสดชื่น ความเย็น และความสงบสู่หัวใจและชีวิตของผู้มีความรัก ความรักประกอบด้วยคุณค่าอันสูงส่ง และแท้จริง เป็นอมตะ

สิ่งต่างๆ ในโลกปรากฏว่าสวยสดงดงามก็ต่อเมื่อ มันมีความรักอยู่ในหัวใจเท่านั้น โดยกระแสธารแห่งความรัก บรรยากาศทั้งหมดจึงเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขและความเพลิดเพลิน. ประกายแสงสว่างของพระเป็นเจ้าย่อมเห็นได้ในความรักนั้นเท่านั้น

ความรักเป็นขุมทรัพย์อันยิ่งใหญ่และสง่างามที่สุดในบรรดาขุมทรัพย์ทั้งหลาย, ปราศจากความรักเสียแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเหี่ยวแห้งไม่มีอะไรเลย เพราะทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้ก็ด้วยความรัก. เขาผู้ที่ไม่มีความรักอยู่ในหัวใจ ไม่ควรเรียกผู้นั้นว่ามนุษย์เลย

นักปราชญ์ของไทยคนหนึ่งคือ สุนทรภู่ ท่านกล่าวว่า
    “ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร ไม่   สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
     แม้นเกิดในใต้หล้าสุธาธาร        ขอพบพานพิศวาสมิคลาดคลาย.”





ขอขอบคุณ
ที่มา : วารสารราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๒๗ ฉบับที่ ๓ ก.ค.-ก.ย. ๒๕๔๕
บทความเรื่อง “ความรัก” โดย สนั่น ไชยานุกุล (ยกมาแสดงบางส่วน)
ภาคีสมาชิก สํานักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน
บรรยายในการประชุมสํานักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๕
4  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / อาหารต้านโควิด เสริมภูมิคุ้มกันโรคภัย พร้อมเมนูแนะนำ เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2025, 07:41:32 am
.



อาหารต้านโควิด เสริมภูมิคุ้มกันโรคภัย พร้อมเมนูแนะนำ

รู้หรือไม่ว่าอาหารบางชนิดก็มีวิตามินและเกลือแร่ที่สามารถช่วยต้านทานโรคโควิด-19 ได้ โดยช่วยเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และต้านไวรัสชนิดต่างๆ ด้วยการนำพืชผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์บางชนิดมาประกอบในอาหารหลัก 5 หมู่ ที่นอกจากช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคได้แล้ว ยังสามารถหาซื้อได้ง่ายในท้องตลาดอีกด้วย

@@@@@@@

อาหารต้านโควิด มีอะไรบ้าง

ข้อมูลจากโรงพยาบาลพญาไทและคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี เผยว่าอาหารต้านโควิดจะมีวิตามินและเกลือแร่สำคัญ ที่มีส่วนช่วยในเรื่องภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง ที่เราควรรู้จักไว้ และควรรับประทานนั้น มีดังต่อไปนี้

วิตามินซี

เป็นวิตามินที่แนะนำให้รับประทานเยอะที่สุด เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ โดยวิตามินซีจะมีส่วนช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ วิตามินซีมีมากในผลไม้รสเปรี้ยว เช่น มะขาม ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ รวมถึงฝรั่ง และในผักใบเขียว อาทิ ผักโขม บรอกโคลี

วิตามินดี

ช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นวิตามินที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้ ด้วยการออกไปสัมผัสแดดวันละ 15 นาที เพื่อให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี นอกจากนี้เรายังสามารถรับวิตามินดีได้จากการรับประทานอาหารประเภท เนื้อสัตว์ ไข่ นม เนื้อปลา ไข่แดง เป็นต้น



ภาพจาก iStock


สังกะสี

เป็นเกลือแร่ที่โดดเด่นในเรื่องคุณสมบัติช่วยสร้างภูมิคุ้มกันในร่างกาย ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในอาหารหลากหลายชนิด ทั้งอาหารทะเล ผัก เนื้อสัตว์ และธัญพืช

วิตามินบี 6

มีความสำคัญต่อการพัฒนาสมองตามปกติ และทำให้ระบบประสาทและระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง การบริโภควิตามินบี 6 ในปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญต่อสุขภาพที่ดีและอาจป้องกันและรักษาโรคเรื้อรังได้ อาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง ได้แก่ ไก่ ทูน่า ปลาแซลมอน มันฝรั่ง กล้วย ไข่แดง ข้าวกล้อง รำข้าว ถั่วลูกไก่ และถั่วต่างๆ เป็นต้น

วิตามินอี

เป็นหนึ่งในวิตามินที่ละลายในไขมันได้ดี ร่างกายจำเป็นต้องใช้วิตามินอีเป็นส่วนประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์ ประโยชน์ของวิตามินอีคือป้องกันการแตกของเม็ดเลือด ป้องกันการอุดตันของเม็ดเลือด ต่อต้านอนุมูลอิสระ และป้องกันการอักเสบ สามารถพบได้จากอาหารธรรมชาติหลายอย่าง เช่น ไข่ พืช ผัก ผลไม้ อาหารจำพวกถั่ว นอกจากนี้ยังมีอยู่ในน้ำมันที่มีส่วนผสมของถั่ว อาทิ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น



ภาพจาก iStock


เมนูอาหารต้านโควิด หาซื้อง่าย ทำเองได้ไม่ยาก

สำหรับเมนูอาหารต้านโควิดที่แนะนำโดยนักโภชนาการ จากคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้แก่

    1. แกงจืดผักโขมหมูสับ
    2. น้ำตกหมู
    3. พริกหวานสามสีผัดไข่
    4. บรอกโคลีผัดไก่
    5. ปลานิลสามรส
    6. ส้มตำไทย
    7. หมูมะนาวยอดคะน้า
    8. ไข่ตุ๋นไก่สับ
    9. เต้าหู้ราดหน้าหมูสับแครอท
    10. มะเขือยาวผัดโหระพา
    11. ไข่ลูกเขย
    12. ฟักตุ๋นมะนาวดอง
    13. ไข่ยัดไส้
    14. ต้มเลือดหมู
    15. ต้มยำปลาทู
    16. ต้มจืดตำลึงเต้าหู้ไข่
    17. ปลานึ่งขิง
    18. ข้าวผัดหอยลาย

เมนูเหล่านี้ทำจากอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่ที่ช่วยต้านโรคโควิดได้ โดยสามารถซื้อวัตถุดิบจากในตลาดหรือซูเปอร์มาร์เก็ตมาประกอบเองเพื่อความสดใหม่หรือจะซื้อสำเร็จรูปมารับประทานเพื่อความสะดวกก็ได้เช่นกัน



ภาพจาก iStock


นอกจากนี้ควรเน้นการรับประทานอาหารที่สะอาด มีสารอาหารครบถ้วน เน้นพืชผักในสัดส่วนที่สูงกว่าอาหารอื่น ประกอบกันกับการออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ รวมถึงการเลิกพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การอยู่ในพื้นที่แออัดโดยไม่สวมหน้ากากอนามัย และไม่ล้างมือบ่อยๆ เพื่อป้องกันตนเองจากการระบาดของโควิด-19 ในรอบใหม่นี้ได้




Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/health-and-beauty/2860915
27 พ.ค. 2568 17:43 น. | ไลฟ์สไตล์ > สุขภาพและความงาม | ไทยรัฐออนไลน์
5  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วัดไร่ขิงจัดระเบียบใหญ่! ยกเลิกจุดธูป-ย้ายตู้บริจาค หวังคืนความศรัทธา เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2025, 07:06:20 am
.



วัดไร่ขิงจัดระเบียบใหญ่! ยกเลิกจุดธูป-ย้ายตู้บริจาค หวังคืนความศรัทธา

วัดไร่ขิงยกเลิกกิจกรรมที่ไม่จำเป็น ปรับพื้นที่สักการะให้เป็นระเบียบ คืนความศักดิ์สิทธิ์ให้วัด

เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ในอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ภายใต้การดูแลของพระราชวชิรสุตาภรณ์ (หลวงพ่อแก้ว) ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่เพื่อความเป็นระเบียบและความโปร่งใสในวัด การเปลี่ยนแปลงสำคัญประกอบด้วยการยกเลิกจุดธูปหน้าอุโบสถ การจัดเก็บตู้รับบริจาคทั้งหมด และการปรับย้ายจุดจำหน่ายวัตถุมงคลให้อยู่บริเวณด้านหน้าของวัดเท่านั้น รวมถึงการรื้อโคมไฟที่ไม่จำเป็นออกไป



วัดไร่ขิงจัดระเบียบครั้งใหญ่ ยกเลิกจุดธูป-ย้ายตู้บริจาค หวังคืนความศรัทธา


ขณะเดียวกัน ร้านกาแฟหมอเตย ซึ่งเคยให้บริการในวัด ได้ยุติกิจการลงไปแล้ว ปัจจุบันจึงเหลือเพียงร้านค้าสวัสดิการของวัดเท่านั้น ชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ต่างคาดหวังว่ามาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ผู้คนแยกแยะระหว่างการดำเนินการของบุคคลกับความศักดิ์สิทธิ์ของวัด และกลับมาสักการะหลวงพ่อไร่ขิงด้วยความเลื่อมใสเช่นเคย


วัดไร่ขิงจัดระเบียบครั้งใหญ่ ยกเลิกจุดธูป-ย้ายตู้บริจาค หวังคืนความศรัทธา



Thank to : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/249746
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 30 พ.ค. 2568 ,19:53 น.
6  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ฮือฮา! ภาพเงาสะท้อนอัศจรรย์มหาเจดีย์คู่แฝด วัดป่ามัชฌิมวาส เมื่อ: พฤษภาคม 31, 2025, 07:01:11 am
.



ฮือฮา! ภาพเงาสะท้อนอัศจรรย์มหาเจดีย์คู่แฝด วัดป่ามัชฌิมวาส

โซเชียลฮือฮา! ภาพเงาสะท้อนเจดีย์ วัดป่ามัชฌิมวาสกาฬสินธุ์ น่าอัศจรรย์มหาเจดีย์คู่แฝดบนท้องฟ้าหลังฝนตก คนแห่สาธุล้นหลาม

วันที่ 30 พ.ค. 2568 เกิดกระแสการแชร์ภาพน่าตื่นตาตื่นใจ ที่ถูกเผยแพร่โดย เพจวัดป่ามัชฌิมวาส ในพื้นที่บ้านดงเมือง ตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์ โพสต์ภาพท้องฟ้าหลังฝน ที่ถ่ายเอาไว้ เมื่อวันที่ 26 พ.ค. 2568 เวลา 23.40 น.

โดยหลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ มีผู้คนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและกดแชร์เป็นจำนวนมาก บางคนบอกว่า “เคยถ่ายภาพแบบนี้ได้เหมือนกัน” ขณะที่บางคนบอกว่า “เงาด้านหลังเหมือนอยู่บนสวรรค์เลย” ขณะที่คนอีกจำนวนมากต่างแสดงความคิดเห็นสาธุเป็นเสียงเดียวกัน



ภาพเงาสะท้อนเจดีย์ น่าอัศจรรย์มหาเจดีย์คู่แฝดบนท้องฟ้า

อย่างไรก็ตามภาพดังกล่าว ถูกตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นแสงไฟที่สะท้อนจากพระมหาเจดีย์ภายในวัดขึ้นบนฟ้า และเกิดการหักเหของแสงเนื่องจากเกิดขึ้นหลังฝนตก



ฮือฮาภาพเงาสะท้อนมหาเจดีย์คู่แฝดบนท้องฟ้า


มหาเจดีย์ วัดป่ามัชฌิมวาส กาฬสินธุ์



ขอบคุณ : https://www.pptvhd36.com/news/สังคม/249749
โดย PPTV Online | เผยแพร่ 30 พ.ค. 2568 ,21:02 น.
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / แก่นธรรมในสังยุตตนิกาย | นำพาให้พบกับแสงสว่างส่องใจ เมื่อ: พฤษภาคม 30, 2025, 09:30:46 am
.



แก่นธรรมในสังยุตตนิกาย

สิ่งที่เรียกว่า “แก่น” หรือ “หัวใจ” ของธรรมในสังยุตตนิกายทั้ง ๕ เล่ม พอจะประมวลได้ดังนี้

๑. การคลายสงสัย

ข้อนี้แสดงไว้ชัดในสคาถวรรค แสดงถึงมนุษย์หรือเทวดาในกระแสโลก (โลกียะ) ย่อมจะเต็มไปด้วยความสงสัย เรียกว่า พวก "กถังกถี" ชอบถามปัญหา บางพวกก็ประเภท สู่รู้ อวดรู้

พระพุทธองค์และพระสาวกซึ่งอยู่ในสภาวะที่อยู่เหนือกระแส (โลกุตตระ) จึงเป็นผู้ตอบปัญหาได้ชัด เพราะตัดความสงสัยได้แล้ว จึงเรียกว่า พวก "อกถังกถี" (ไม่มีปัญหา)
 
ตัวอย่างเทวดาสงสัยถามว่า
    "หมู่สัตว์ยุ่งทั้งภายใน ยุ่งทั้งภายนอก ถูกความยุ่งพาให้นุงนังแล้ว ท่านพระโคดม เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ใครจะแก้ความยุ่งนี้ได้.?”

พระพุทธองค์ตอบว่า
    "นรชนผู้มีปัญญา เห็นภัยในสังสารวัฏ ดำรงอยู่ในศีลแล้ว เจริญจิตและปัญญามีความเพียรมีปัญญาเครื่องบริหารนั้นพึงแก้ความยุ่งนี้ได้" (สํ.ส. ๑๕/๒๓/๒๐ มจร.)

@@@@@@@

๒. กระแสเกิดและดับ

ได้แก่ กระแสธรรมชาติที่เป็นไปตามกฎปัจจยาการ หรือ อิทัปปัจจยตา
    เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี
    เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
เป็นการแสดงปฏิจจสมุปบาท สายเกิดทุกข์ และสายดับทุกข์ ๒ แนว ดังนี้

สายเกิดทุกข์



สายดับทุกข์


ปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยกันและกันเกิดขึ้น
(สํ.นิ.(แปล ๑๖/๑/๑ มจร.) (สํ.นิ.(แปล) ๑๖/๒๓/๔๐ มจร.)

พระพุทธองค์ตรัสว่า
    “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นปฏิจจสมุปบาท”
     (ม.มู. ๑๒/๓๔๖/๓๕๙)


@@@@@@

๓. วิเคราะห์ขันธ์ วิเคราะห์คน

สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ได้บอกให้เรารู้จักวิเคราะห์ขันธ์ ๕ , การเข้าใจขันธ์ ๕ ดี ก็คือ การเข้าใจคนดี ดังคำของนางวชิราภิกษุณีที่ว่า
    “เพราะรวมองค์สัมภาระทั้งหลายเข้า คำว่า รถ ย่อมมีฉันใด เพราะรวมขันธ์ทั้ง ๕ เข้า การสมมุติว่า เป็น สัตว์ (คน) ก็มี ฉันนั้น”

ท่านจึงให้วิเคราะห์ขันธ์ ๕ ให้ดี ก็จะเห็นว่า
    • รูปนั้น เป็นดุจกลุ่มฟองน้ำ
    • ในขณะที่เวทนาเป็นดุจฟองน้ำที่เกิดจากฝนตก เกิดและดับไปบนผิวน้ำ
    • สัญญาเป็นดุจพยับแดด
    • สังขารเป็นดุจต้นกล้วยที่ไร้แก่น
    • วิญญาณเป็นดุจมายากล ที่นักมายากลแสดง
ควรเห็นการเกิดและความดับของขันธ์ เกิดความเบื่อหน่ายคลายกำหนัด อันนำไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลส





๔. มีสติปัญญาที่ข้อต่อ

สฬายตนวรรคแสดงให้เห็นอิทธิพลของการกระทบ (ผัสสะ) ระหว่างข้อต่อภายนอกกับภายใน เรียกว่า อายตนะ ถ้าปล่อยให้ “ตัวกู” “ของกู” เกิด ก็จะเกิดทุกข์ แต่ถ้าไม่ให้ “ตัวกู” “ของกู” เกิด ที่เรียกว่า สักกายทิฏฐิ เขาก็ไม่เกิดทุกข์

ดังนั้น ทางเลือก จึงมี ๒ คือ
    - สักกายทิฏฐิสมุทยคามินีปฏิปทา แนวทางปฏิบัติที่ให้ "ตัวกูของกู" เกิด จนจิตวุ่น
    - สักกายทิฏฐินิโรธคามินีปฏิปทา แนวปฏิบัติที่ไม่ให้ "ตัวกูของกู" เกิด , "ขณะเกิดผัสสะ เมื่อตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกดมกลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายถูกต้องกับสิ่งที่มากระทบ และใจกระทบกับธรรมารมณ์" ,  จิตจึงสงบเย็น ไม่วุ่น
    ท่านจะเลือกทางไหน.?


@@@@@@@

๕. ไม่ย่อท้อใฝ่โพธิญาณ

คนเราที่ไม่ถึงเป้าหมายรวดเร็ว เพราะเราเดินทางไม่ถูก พระพุทธองค์ได้ตรัสโพธิปักขิยธรรม ในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ก็เพื่อให้เราเดินทางถูก และเดินทางสะดวก ถึงอาสวักขยญาณ หรือ โพธิญาณโดยเร็ว

     • เริ่มด้วยเจริญสติปัฏฐานให้ต่อเนื่อง มีความเพียรสม่ำเสมอดุจสายพิณที่ไม่ตึงไม่หย่อน มีความใฝ่รู้ใฝ่คิด ทำจริง คิดรอบครอบ ก็จะเกิดความสำเร็จ
     • ในขณะเดียวกัน ก็พัฒนาพลังอินทรีย์ของตัวเอง ให้เจริญเต็มที่ทั้งด้านศรัทธา-ความเพียร-สติ-สมาธิ-และปัญญา 
     • จากนั้นใช้โพชฌงค์เป็นเครื่องมือในการวิจัยธรรมจนเห็นแจ้ง ตามหลักมรรคมีองค์ ๘ คือ เห็นถูก คิดถูก พูดถูก การงานถูก อาชีพถูก พยายามถูก มีสติระลึกถูก และมีสมาธิถูก

@@@@@@@

แก่นธรรมเหล่านี้ย่อมจะช่วยส่งให้เรามีจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรม ,ญาณ คือ ความรู้แจ้ง ปัญญาความรอบรู้ทันอารมณ์ มีวิชชาชั้นสูงในตนเอง มีแสงสว่างส่องใจ ให้ดำเนินชีวิตในทางที่ถูกอยู่เสมอ นี่คือ แก่นธรรมในสังยุตตนิกาย





ขอบคุณที่มา :-
ภาพจาก pinterest
บทความ "แก่นธรรมในสังยุตตนิกาย" โดย พระสุธีวรญาณ จากหนังสือเก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2542 หน้า 145-156
http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_13.htm
8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทรงเห็นอานิสงส์การสร้างพระธรรม และเชื่อว่า ๑ อักษรธรรม คือ ๑ พระพุทธรูป เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2025, 07:03:09 am
.



มองคุณค่า และ จิตสำนึกของคนไทย จากพระไตรปิฎก

ผู้เขียนดีใจที่ได้เห็นพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เสร็จสมบูรณ์แล้วและกำหนดให้มีการสมโภชในเดือนพฤศจิกายน ศกนี้ ที่ดีใจเพราะเห็นว่าเป็นงานของสถาบันที่ผมเคยศึกษาเล่าเรียนมาซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาขึ้น งานครั้งนี้จึงถือเป็นงานสนองพระราชประสงค์โดยแท้

กล่าวถึงพระไตรปิฎก ชาวพุทธต่างรู้จักกันดีว่าเป็นคัมภีร์สำคัญและศักดิ์สิทธิ์ เพราะเป็นแหล่งบันทึกคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้เราจะยังไม่ชัดเจนว่า คำว่า พระไตรปิฎก นั้นเกิดมีขึ้นเป็นปฐมตั้งแต่เมื่อใด แต่ก็พออนุมานกันได้ว่า

น่าจะมีคำนี้ใช้ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอโศก เหตุที่อนุมานเช่นนั้นเพราะถือตามหลักฐานในสังคายนา ครั้งที่ ๒ ซึ่งมีข้อความตอนหนึ่งที่กล่าวถึงคุณสมบัติของพระอรหันต์ผู้ปรารภให้เกิดการทำสังคายนาครั้งนั้น คือ พระยสะ กากัณฑบุตร ว่า
     "ธมฺมธโร วินยธโร มาติกาธโร" แปลว่า "ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา"

แม้จะมีหลายท่านพยายามตีความว่า คำว่า "มาติกา" คือ หัวข้อในพระวินัย หรือ สิกขาบท นั้นเอง แต่ผู้เขียนไม่เห็นด้วยเลย เพราะหากตีความเช่นนั้น คำว่า "วินัย" ก็น่าจะคลุมความถึงมาติกาได้แล้ว ฉะนั้น มาติกา จึงน่าจะมีความหมายพิเศษ
   
มาติกา คือ หัวข้อ เอ.เค. วอร์เดอร์ อธิบายว่า ได้แก่ บัญชีหัวข้อเรื่อง ซึ่งเสนอแต่เฉพาะหัวข้อองค์ธรรมไว้เป็นชุด (INDIAN BUDDHISM หน้า ๑๐) ซึ่งชี้ให้เห็นว่าในช่วงสังคายนาครั้งที่ ๒ ได้แบ่งคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็น ๓ หมวด คือ หมวดวินัย หมวดธรรม และหมวดมาติกา

หมวดมาติกานี้เองได้วิวัฒนาการมาเป็นอภิธรรมปิฎกในยุคของสังคายนาครั้งที่ ๓ ว่ากันว่า นิกายพาหุศรุติยะหรือนิกายพหุสสุติกะได้นำคำ มาติกา ไปใช้เป็นปิฎกหนึ่ง เรียกว่า มาติกาปิฎก

ถึงตอนนี้ก็พอสรุปสันนิษฐานกันได้ระดับหนึ่งว่า คำว่า พระไตรปิฎก มีขึ้นเมื่อคราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ อันแสดงให้เห็นว่า ในการทำสังคายนาครั้งที่ ๓ นั้น นอกจากจะทำตามอย่างสังคายนา ๒ ครั้งแรกแล้ว สิ่งที่แปลกใหม่ก็คือ การจัดกลุ่มและเรียกชื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าใหม่ว่า วินัยปิฎก สุตตปิฎก (สุตตันตปิฎก) และอภิธรรมปิฎก

@@@@@@@

พระไตรปิฎก มาจากคำสันสกฤตว่า ตฺริปิฎก ซึ่งตรงกับคำบาลีว่า ติปิฎก หรือ เตปิฏก ซึ่งเป็นตัวแทนพระธรรมที่เรากล่าวขอถึงเป็นสรณะนั่นเอง ชาวพุทธบนแผ่นดินไทยรู้จักพระไตรปิฎกมาเป็นเวลา ๒,๐๐๐ ปีเศษ คือ นับตั้งแต่เวลาที่พระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้ามาเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙ ส่วนชาวพุทธไทยผู้เป็นบรรพบุรุษของคนไทยอย่างเราก็รู้จักพระไตรปิฎกเมื่อราว พ.ศ. ๑๘๐๐ เศษ ศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ ยืนยันเรื่องนี้ไว้ว่า

    "...เบื้องตะวันตกสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พ่อขุนรามคำแหงกระทำโอยทาน แก่พระสังฆราชปราชญ์เรียนพระไตรปิฎก หลวก (รู้หลัก,ฉลาด) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ ทุกคนลุกแต่เมืองนครศรีธรรมราชมา..."

นอกจากรู้จักพระไตรปิฎก คนไทยยังศึกษา (เรียนและสอน) และเขียนหนังสืออธิบายหลักธรรมในพระไตรปิฎกอีกด้วย เตภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง คือ หนังสืออธิบายหลักธรรมเล่มแรกที่เกิดจากน้ำมือของคนไทย และคนไทยคนแรกที่แต่งหนังสือดังกล่าวก็คือ พญาลิไทย (พระมหาธรรมราชาที่ ๑)

หนังสือเล่มนี้มิใช่มีความสำคัญเพียงแต่เป็นหนังสือหรือวรรณคดีไทยเล่มแรกเท่านั้น ดูเหมือนจะใช้เป็นคู่มือในการปกครองประเทศด้วยโดยมุ่งให้ประชาชนได้รู้จักความดีความชั่วแล้วดำเนินชีวิตไปตามทางความดีที่เรียกว่า "กุศลกรรมบถ" ซึ่งเป็นทางช่วยให้สังคมมีความสงบสุข

ฉะนั้น หากจะเทียบกับพุทธศาสนานิกายมหายาน ซึ่งนิยมแต่งหนังสืออธิบายขยายความคำสอนของพระพุทธเจ้าขึ้นใหม่แล้วกำหนดเรียกว่า "สูตร" เตภูมิกถาเล่มนี้ก็น่าจะจัดเป็นสูตรสูตรหนึ่งได้ เรียกว่า "เตภูมิกสูตร" (แต่เมื่อวิเคราะห์ดูอีกทีตามประวัติศาสตร์คัมภีร์พุทธศาสนา จะพบว่า ในระยะหลังท่านก็ใช้คำแทนชื่อสูตรหลายคำเช่น ชาดก และ กถา ฉะนั้น เตภูมิกถา ก็น่าจะจัดเป็น เตภูมิกสูตร ได้)

ชาวพุทธไทยก็เหมือนกับชาวพุทธทั่วโลก คือ ถือพระไตรปิฎก เป็นสิ่งสำคัญ และนับถือพระไตรปิฎกเหมือนนับถือพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์

@@@@@@@

พระพุทธเจ้าแม้พระองค์จริงจะเสด็จดับขันธปรินิพพานไปนานแล้ว ปรากฏให้เห็นก็มีแต่พระรูปของพระองค์ที่ปฏิมากรจินตนาการขึ้นมาให้กราบไหว้กัน แต่เราก็ถือเสมือนว่าพระองค์ยังมีพระชนม์อยู่ เราจึงสร้างโบสถ์ วิหาร หรือ ศาลา หลังใหญ่โตสวยงามให้เป็นที่ประทับของพระองค์ และเข้าเฝ้าถวายสักการะบูชากล่าวคำสรรเสริญสดุดีวันละ ๒ เวลา คือ เช้า กับ เย็น ซึ่งเราเรียกระเบียบปฏิบัตินี้ว่า ทำวัตรเช้า และ ทำวัตรเย็น

วัตร ก็คือ ธรรมเนียมปฏิบัติ หรือ ข้อปฏิบัติที่ทำกันจนเป็นธรรมเนียม คงจะเลียนแบบมาจากวัตตขันธกะ ในพระวินัยปิฎกนั่นเอง ซึ่งถือว่า การทำความเคารพครูอาจารย์นั้นเป็นวัตรอย่างหนึ่ง การที่เราไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าในโบสถ์ วิหาร หรือศาลาการเปรียญ ก็คือ ไปแสดงความเคารพพระองค์ บรรพบุรุษของเรากำหนดให้ทำเป็นธรรมเนียม ฉะนั้น จึงเรียกว่า ทำวัตร พระรูปใดไม่ทำก็ไม่ถือว่ามีความผิด แต่ก็ถือว่าปฏิบัติหน้าที่ของพระไม่สมบูรณ์

พระสงฆ์ คือ โอรสหรือลูกของพระพุทธเจ้า เมื่อเคารพพระบิดาแล้วก็ต้องเคารพลูกด้วย เราแสดงความเคารพออกมาด้วยการสร้างวัดวาอารามและถวายอาหารบิณฑบาต คนไทยนับถือพระสงฆ์เป็นขวัญชีวิต และ พลังใจ ฉะนั้น เวลามีทุกข์มีร้อนจึงมักขอให้คุณพระช่วย หรือเมื่อพ้นจากความทุกข์ร้อนได้ก็มักจะบอกว่า พระมาโปรด

ส่วนด้านพระธรรมเล่า เราก็ปฏิบัติต่อพระธรรมเสมือนเป็นสิ่งมีชีวิต ธรรมดาสิ่งมีชีวิตย่อมต้องการที่อยู่อาศัยเครื่องนุ่งห่มรวมทั้งอาหารการกิน เมื่อพระธรรมถูกจัดแบ่งเป็นพระไตรปิฎกและถูกจารเป็นตัวอักษรลงในใบลาน เราก็ถือใบลานนั้นเป็นประหนึ่งมีชีวิตชีวา

เราจึงปฏิบัติต่อพระธรรมในลักษณะต่าง ๆ คือ หาผ้ามาห่อ โดยผ้าห่อนั้นต้องปักลวดลายอย่างวิจิตรบรรจง จากนั้นก็ หาเชือกมาผูก จากนั้นก็นำไปใส่หีบที่จัดทำไว้อย่างดี ใช่เพียงแต่เท่านั้น เรายังสร้างตู้บรรจุอีก แล้วนำไปตั้งประดิษฐานไว้ในหอหรือมณฑป ซึ่งเรานิยมเรียกกันว่า หอไตร ซึ่งก็เป็นคำย่อของคำว่า หอไตรปิฎก นั้นเอง





จะเห็นได้ว่า การกระทำดังกล่าวของเรา ก็คือ การกระทำต่อสิ่งเคารพที่เรารู้สึกว่ามีชีวิต ชาวพุทธไทยได้ปฏิบัติต่อพระธรรมอย่างนี้มานานแล้วและสืบต่อเรื่อยมาจนกระทั่งถึงยุครัตนโกสินทร์ ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งสุดท้าย (พ.ศ. ๒๕๑๐) ชาวพุทธไทยต้องสะเทือนใจหลายเรื่อง นับตั้งแต่เสียใจเรื่องบ้านเมืองถูกทำลาย การบาดเจ็บล้มตายของผู้คน จนกระทั่งถึงวัดวาอารามและพระพุทธรูปถูกทำลายรวมทั้งพระไตรปิฎกด้วย ในคัมภีร์สังคีติยวงศ์ที่แต่งโดยพระพิมลธรรม ผู้เป็นชาวอยุธยาและได้รู้ได้เห็นได้ทุกข์วิโยคกับภัยสงครามครั้งนั้นด้วยมีกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า

    "...พระธรรมวินัย ไตรปิฎก เมื่อไม่มีการรักษาเสียแล้วก็วินาศไปต่าง ๆ คือ พวกมิจฉาทิฏฐิยื้อแย่งเอาผ้าห่อและเชือกรัดไปบ้าง ตัวปลวกกินยับเยินไปบ้าง และพินาศสูญไปต่าง ๆ โดยที่พลัดลงดินเปียกน้ำผุไปเสียบ้างก็มี ภายหลังภิกษุทั้งหลายเห็นพระธรรมยังเหลืออยู่น้อย มีจิตกอปรด้วยศรัทธา ได้รวบรวมพระธรรมเหล่านั้นไว้ แต่พระธรรมวินัยบางคัมภีร์ที่ยังมั่นคงอยู่ก็มี บางคัมภีร์ก็ได้เหลืออยู่ผูก ๑ กว่าบ้าง ๒ ผูกเศษบ้าง เต็มคัมภีร์บ้าง ครึ่งคัมภีร์บ้าง บริบูรณ์บ้าง ไม่บริบูรณ์บ้าง บังเกิดอากูลต่าง ๆ กัน ...เลือกรวบรวมได้ตามสติกำลังนำมาเก็บไว้ยังสำนักตน..." (สังคีติยวงศ์, หน้า ๔๐๗)

@@@@@@@

และพระธรรมที่เลือกรวบรวมมาได้นั้น ก็เป็นประโยชน์ต่อชาวอยุธยา ผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งมหันตทุกข์ ดังมีบันทึกไว้ต่อมาว่า

    "...ฝ่ายทายกผู้ถวายปัจจัยที่เหลือตายอาศัยเคยสะสมกุศลธรรมไว้แต่ก่อน ๆ มีทรัพย์เหลืออยู่บ้างเล็กน้อย ได้อาหารอันชาวชนบทเขานำมาบ้าง (คือแลกเปลี่ยน) และได้อาหารมาด้วยกำลังแขนของตนบ้าง ด้วยเดชกุศลธรรมปางก่อนของตนด้วย ด้วยเหตุการทำทานด้วยภูมิผลสืบในพระศาสนาก็มีอินทรีย์ (ร่างกาย) บริบูรณ์ใคร่จะฟังพระสัทธรรมเทศนาด้วยน้ำใจใสศรัทธาบางสมัยก็ได้ไปสู่สำนักภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น วิงวอน (ขอให้แสดงธรรม)

    ภิกษุเหล่านั้นไม่ว่าจะเป็นผู้มีการศึกษามามากหรือมีการศึกษามาน้อยก็ตาม ก็ปรารถนาลาภสักการะเพื่อจะรักษาชีวิตตนก็รับสำแดงธรรม จึงได้เลือกพระธรรมที่ตนเก็บมาได้พิจารณาดูก็สำแดงพระสัทธรรมเทศนาแก่คนเหล่านั้นด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์ตามความรู้เห็นที่ตนได้ศึกษามา

    ทายกเหล่านั้น ครั้นได้ฟังธรรมเทศนาแล้วและกำลังยังโศกมากด้วยความพลัดพรากจากลูกหลานและเครือญาติ ได้ท่วมทับอยู่ด้วยญาติวิโยค เมื่อระลึกถึงญาติเหล่านั้น ที่มีศรัทธาอ่อนก็มี มีศรัทธามากก็มี ให้บังเกิดความสังเวชใจมาก เมื่อระลึกถึงทุกข์ภัยของตน ก็ได้เลือกเก็บพระพุทธรูปและพระธรรมมาทำบุญฉลองแล้วอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติทั้งหลาย ชนบางจำพวกได้ให้ลูกและหลานของตนบรรพชาในพระพุทธศาสนา
   
    ต่อมา เพราะได้ทำบุพกรรมไว้ ภิกษุเหล่านั้นก็มีพวกมาก มีอันเตวาสิกมาก บริบูรณ์ด้วยจตุปัจจัยทั้งหลายมีใจคอเอิบอิ่มก็ได้ยังความอุตสาหะให้เกิดขึ้นแล้ว พากันแสวงหาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนา ได้แลเห็นพระพุทธรูปทั้งหลายมีอวัยวะน้อยใหญ่แตกหักพังทำลายบ้างอากูลต่าง ๆ พินาศเสียหายบ้าง ทั้งกุฎีวิหารสีมาพระพุทธสถูปก็ได้พินาศต่าง ๆ จึงพากันเกิดความสังเวชสลดใจกลั้นน้ำตามิได้ เพราะความรักพระพุทธศาสนาเหลือล้น มีหทัยหวั่นไหวอยู่ จึงพร้อมกับอันเตวาสิกเก็บรวบรวมพระพุทธรูปทั้งหลายไปไว้ในสถานอันควร

    พระธรรมวินัยเหล่าใด ที่ยังเหลืออยู่จากความฉิบหายมีมากน้อยเท่าใด ก็ขนพระธรรมวินัยเหล่านั้นไปตามที่มีอยู่นั้น ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้พากันนำไปไว้ในสถานของตน
 
    ชนทั้งหลายค่อยมีอาหารบริบูรณ์ขึ้น ได้พากันสร้างบ้านปลูกเรือนขึ้นในหมู่บ้านเก่า (เดิม) และในไร่นาที่ดินเก่าที่เคยอยู่มาก่อนตามที่ต่าง ๆ

    ภิกษุทั้งหลายเมื่อได้ฉันอาหารบิณฑบาตต่าง ๆ ก็พากันทำกระท่อมพะเพิงในวัดเก่าอยู่กับสหายและนิสิตทั้งหลายของตนและได้ปลูกกุฎิขึ้นแล้วพากันจำพรรษาอยู่ในกุฎินั้น..."





จากข้อความที่กล่าวไว้ในสังคีติยวงศ์นี้ สะท้อนให้เห็นจิตสำนึกของชาวพุทธไทยที่ห่วงใยพระไตรปิฎก ทุกคราวที่มีการสร้างบ้านเมือง พระมหากษัตริย์ไทยจะไขว่คว้าหาพระไตรปิฎกมาเป็นหลักสำหรับฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

คราวสร้างกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชรับสั่งให้หาพระไตรปิฎกมาจากเมืองนครศรีธรรมราช แต่เนื่องจากทรงครองราชย์ชั่วเวลาอันสั้น (๑๕ ปี) ไม่ทรงมีเวลาในการจัดให้มีการชำระอักขระ จึงตกเป็นภาระของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท พระอนุชา

@@@@@@@

สังคีติยวงศ์บันทึกเรื่องราวครั้งนี้ไว้ว่า

    "สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ พระองค์นั้น ทรงทราบว่าพระไตรปิฎก คือ พระพุทธวจนะทั้งหลายมีอักษรอันวิปลาสฉิบหายแล้ว ก็มีพระหฤทัย ไหวหวั่นด้วยความรักพระศาสนาอย่างยิ่งจึงทรงดำริว่า ควรเราทั้งหลายจะทำพระพุทธวจนะให้เจริญ พระพุทธวจนะเป็นของที่หาที่เปรียบมิได้ มีอักษรพิรุธ ฉบับหายเสียแล้วก็จะไม่มีที่พึ่งแล น่าสังเวช กุลบุตรทั้งหลายผู้เกิดมาภายหลังในพระพุทธศาสนาเมื่อไม่รู้คุณและโทษ ก็จะพากันมืดมัวมากด้วยโทสะและโมหะ

    ลุพระพุทธศักราช ๒๓๓๑ แล้วปีวอก จึงได้ทรงหารือเหตุการณ์นั้นด้วยพระราชาคณะทั้งหลาย มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน พระราชาคณะมีสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธานครั้นเล็งเห็นเหตุการณ์นั้นแล้วก็รับพระราชโองการว่าสาธุ แล้วจึงมาเลือกสรรได้ภิกษุทั้งหลาย ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิตได้ ๓๒ นาย

    พระเถระเจ้าทั้งหลายได้ยกเหตุการณ์นั้นของสมเด็จพระบรมกษัตราธิราชเจ้าทั้ง ๒ พระองค์ ทำสังคายนาพระธรรมวินัยในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ณ วัดพระศรีสรเพชุดาราม

    ครั้งนั้นก็บันดาลอัศจรรย์มีมืดมนอนธการ เมฆคำรามกึกก้อง ลมพายุพัดต้องหนาวเย็นจัดเหลือที่จะเย็น มิอาจที่ว่าจะทนทานได้ตลอดวันและคืน สมเด็จพระราชาเจ้าได้ทรงอนุเคราะห์และถวายเตาเพลิงให้ภิกษุทั้งหลายผิง

    ภิกษุทั้งหลายพากันโสมนัสแล้วอาราธนาเทวดาทั้งหลายเพื่อให้อนุเคราะห์ต่อพระธรรมวินัยในเถรสมาคม พระเถรเจ้าทั้งหลายนั้นครั้นปรึกษากันแล้วจึงปันหมู่ภิกษุออกเป็น ๔ กอง ให้ทำพระพุทธวจนะ คือ พระธรรมพระวินัยที่มีอักษรพิรุธมีประการต่าง ๆ เป็นสิถิลและธนิตเป็นอาทิแลให้เขียนแก้ที่โบราณเขียนไว้โดยความพลั้งเผลอให้ทำเสียให้ดีตามสติกำลังด้วยจิตบริสุทธิ์เลื่อมใส แม้จะยากลำบากก็ตาม

    ครั้งนั้น พระภิกษุทั้งหลาย ๒๑๘ รูป ราชบัณฑิต ๓๒ นาย ก็พากันลงมือสังคายนาพระวินัยปิฎกก่อน (แล้วจึงสังคายนาพระสูตรและพระอภิธรรม) ...แล้วจึงได้จารพระพุทธพจน์นั้นให้บริสุทธิ์ตามสติกำลัง...

    พระเถระเจ้าทั้งหลาย สร้างพระธรรมวินัยโดยเหตุและวิธีต่าง ๆ ยังธรรมวินัยนั้น ๆ ให้สำเร็จไปและให้เขียนไว้ตราบเท่ากาลสำเร็จลงได้ การสร้างพระธรรมวินัยนั้น ๆ สำเร็จหลายพันผูกทำให้อักษรงามบริบูรณ์กว่าแต่ก่อนตามกำลังความสามารถที่ทำได้สิ้นวันและคืนนับได้ปีเศษ

    สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ พระองค์ได้ให้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจตุปัจจัยทั้งหลายมีประการต่าง ๆ ใช่แต่เท่านั้นได้พระราชทานเครื่องวิจิตรต่าง ๆ เครื่องหอมกรุ่นต่าง ๆ เครื่องลาดต่าง ๆ จีวรผ้าโกสัยและกัปปาสิกสีงามต่าง ๆ ถลกบาตร สายบาตร สายโยก เหล็กไฟและล่วม แว่นกระจกและล่วม ฝักกำมลอ สักลาด และพัสดุต่าง ๆ ควรแก่สมณสารูป เรืองามต่าง ๆ มีเครื่องครุภัณฑ์ประดับงามวิจิตร เขียนทองทาทองต่าง ๆ และโปรดเกล้าฯ ให้มีการฉลองบุญใหญ่เป็นการพระกุศลกรรมมีประการต่าง ๆ มีพระอาการเลื่อมใสทรงปีติโสมนัสในพระพุทธศาสนา ทรงดำรงกองบุญมีอเนกประการ ได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายเพื่อพระสัพพัญญุตญาณ

    สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินทั้ง ๒ พระองค์นั้นได้ทรงสดับอานิสงส์ต่าง ๆ ที่มาในคัมภีร์ทั้งหลายคือ
        พระอานิสงส์วิหารทาน ๑
        พระอานิสงส์ถวายอุโบสถาคารสถาน (โรงอุโบสถ) ๑
        อานิสงส์ถวายเครื่องรองรับพระธาตุที่ฝังในเจติยสถาน ๑
        อานิสงส์การสร้างมณฑปบรรจุพระธาตุและพระธรรม ๑
        อานิสงส์การจารพระไตรปิฎกพุทธ-วจนะ ๑
    แล้วโปรดให้สร้างตามเรื่องที่ได้ทรงสดับมานั้น..."
(สังคีติยวงศ์, หน้า ๔๔๕)

@@@@@@@

หากจะถามต่อไปว่าทำไมหรือ.? พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าโลก และสมเด็จพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท จึงอุทิศพระองค์และพระราชทรัพย์เพื่อพระไตรปิฎกถึงมากมายเพียงนั้น

คำตอบคงมิใช่เพียงเพื่อรักษาพระพุทธศาสนาเท่านั้น เรื่องนี้มีทางให้พิจารณาเพิ่มเติมได้อีก ๒ ประเด็น คือ
    - ทรงเห็นอานิสงส์การสร้างพระธรรม กับ
    - ทรงเชื่อว่า อักษรที่บรรจุพระธรรมแต่ละตัวนั้น มีค่าเทียบเท่าพระพุทธรูป ๑ พระองค์





กล่าวถึงการสร้างพระธรรมก่อน สังคีติยวงศ์ได้กล่าวถึงอานิสงส์ต่าง ๆ ไว้ สรุปได้ คือ

    ๑. อานิสงส์ถวายมณฑปสำหรับบรรจุตู้พระธรรม จะทำให้ไปเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองทวีปทั้ง ๔ และมีทวีปน้อย ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร
    ๒. อานิสงส์ถวายใบลานสำหรับจารพระธรรม จะทำให้ได้ไปเกิดในสวรรค์ มีรูปร่างสวยงามปราศจากทุกข์ทั้งปวง
    ๓. อานิสงส์การจาร(เขียน)พระธรรมลงในใบลาน จะทำให้มีปัญญามากได้เจโตปริยญาณ (รู้ใจผู้อื่น)
    ๔. อานิสงส์การทาชาดและหรดาลเพื่อให้พระธรรมสวยงาม จะทำให้มีรัศมีกายสวยงาม
    ๕. อานิสงส์ปิดทองพระธรรม จะทำให้มีจิตใจสะอาดผ่องใส และมีสีกายงามดั่งทอง
    ๖. อานิสงส์ถวายผ้าห่อ จะทำให้ได้เรือนคลัง ๘๔,๐๐๐ หลัง
    ๗. อานิสงส์ถวายสายรัด จะทำให้รักษาสมบัติของตนเองไว้ได้ ทรัพย์สมบัติที่มีอยู่แล้วจะไม่เสียหาย

    ๘. อานิสงส์ถวายข้าคนให้รักษามณฑปพระธรรม จะทำให้มีราชบุรุษห้อมล้อมเป็นปริมณฑลได้ ๓๖ โยชน์ และหากเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิจะมีผลตามมาดังนี้
        ๘.๑ มีปราสาทที่ประทับ ๘๔,๐๐๐ องค์
        ๘.๒ มีแก้วมณี ๘๔,๐๐๐ ดวง
        ๘.๓ มีพระราชโอรส ๑,๐๐๐ พระองค์ ล้วนองอาจในการสงคราม
        ๘.๔ มีม้าทั้งสิ้น ๘๔,๐๐๐ ม้า
        ๘.๕ มีพระบรรจถรณ์ (ที่บรรทม) แก้ว ๗ ประการ ๘๔,๐๐๐ แท่น
        ๘.๖ มีคลังผ้า ๘๔,๐๐๐ หลัง
        ๘.๗ มีผ้าเนื้อละเอียด คือ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าเปลือกไม้


ส่วนความเชื่อเรื่องอักษรแต่ละตัวมีค่าเทียบเท่าพระพุทธรูป สังคีติยวงศ์ก็กล่าวไว้ว่า

    "แม้ว่าอักษรแต่ละตัว ๆ ก็ทรงคุณเสมอด้วยพระพุทธรูปแต่ละองค์ ๆ เพราะเหตุนั้น สาธุชนผู้บัณฑิต พึงจารึกพระไตรปิฎกไว้ ก็เป็นอันชื่อว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายมีประมาณ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ ยังทรงพระชนม์อยู่
     เมื่อพระไตรปิฎกยังดำรงอยู่ (ตราบใด) ผลคือ อักษรดังพระพุทธรูป จะพึงดำรงอยู่เสมอ (ตราบนั้น)
     เพราะเหตุนั้น ให้สาธุชนพึงจารด้วยตนเอง และให้ผู้อื่นจารพระธรรมลงไว้ในใบลาน และบรรจุไว้ในพระเจดีย์ อักษรแห่งพระไตรปิฎกทั้งหลายท่านประมาณไว้ว่า ๔๐๐ โกฎิ ๗๒ อักษร พระไตรปิฎกเหล่าใดที่ได้บรรจุไว้แล้ว ปิฎกเหล่านั้นก็ได้ชื่อว่าเหมือนสร้างพระปฏิมากรไว้ ๔๐๐ โกฎิ ๗๒ พระองค์"

@@@@@@@

ผู้เขียนเชื่อว่าประเด็นทั้ง ๒ นี้ จะต้องเป็นปัจจัยสำคัญสนับสนุนพระราชศรัทธาของพระมหากษัตริย์และพระอนุชา เป็นที่น่าสังเกตว่า สังคีติยวงศ์กล่าวเน้นถึงการสร้างตู้พระธรรมเป็นพิเศษดังจะเห็นได้จากข้อความว่า

    "โดยวาระพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลใดในพระศาสนานี้ จะเป็นหญิงก็ดี ชายก็ดี กษัตริย์ หรือ พราหมณ์ พ่อค้า ศูทร คนพาลและบัณฑิตก็ตาม มีศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ถวายตู้สำหรับบรรจุพระธรรมแล้ว มหาผล มหาอานิสงส์จักมีแก่ชนทั้งหลายจำพวกนั้น เหมือนกับพระสารีบุตรผู้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าปุสสะผู้ทรงพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ถวายตู้บรรจุพระธรรม..."

และสรุปอานิสงส์ของการสร้างตู้บรรจุพระธรรมไว้ ๑๑ ประการ คือ
   
    ๑. ได้สั่งสมกุศลมูลไว้มากในพระพุทธศาสนา
    ๒. จะไม่ตายอย่างคนหลงสติ
    ๓. หากไปเกิดในหมู่มนุษย์สามัญจะมีผลตามมาดังนี้
        ๓.๑ มีอำนาจยิ่งใหญ่ได้สิ่งสมปรารถนา
        ๓.๒ มีกลิ่นกายหอมฟุ้ง
        ๓.๓ มีผิวพรรณสวยงาม
        ๓.๔ มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติและบริวาร
    ๔. หากไปเกิดเป็นกษัตริย์จะมีผลตามมาดังนี้
        ๔.๑ จะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิครองทวีปทั้ง ๔
        ๔.๒ มีแก้ว ๗ ประการเกิดมาเป็นของคู่บุญ
        ๔.๓ ปราสาทที่ประทับจะมีแสงแก้วสว่างไสวไกลถึง ๑๒ โยชน์
        ๔.๔ แวดล้อมด้วยนารีแสนนางปานประหนึ่งนางฟ้า
        ๔.๕ มีปราสาท ๘๔,๐๐๐ องค์ให้ประทับ
        ๔.๖ จะเสด็จไปทางใดก็แวดล้อมด้วยเหล่าเสนามาตย์พร้อมทั้งขบวนรถ ขบวนช้าง ขบวนม้า และขบวนทหารราบ ติดตามเป็นขบวนใหญ่ถึง ๗ โยชน์
    ๕. หากไปเกิดเป็นเทวดา จะได้เป็นพระอินทร์ครองสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ถึง ๗ ครั้ง
    ๖. หากเกิดเป็นมนุษย์อีก จะได้เกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิถึง ๓๖ ชาติ
    ๗. (จากนั้น) ก็จะได้เกิดเป็นพระราชาปกครองประเทศอีกหลายชาติ
    ๘. ต่อมา เมื่อเกิดเป็นมนุษย์อีกก็จะมีผลตามมาดังนี้
        ๘.๑ ได้รับเกียรติในที่ทุกสถาน
        ๘.๒ มีสติปัญญาหลักแหลม
        ๘.๓ มีอวัยวะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สะอาดผ่องใส
        ๘.๔ มีจิตบริสุทธิ์ (คิดในสิ่งที่ดี)
    ๙. จะได้พบพระพุทธเจ้าแล้วออกบวชและบรรลุมรรคผลในที่สุด
  ๑๐. จะได้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก
  ๑๑. หากปรารถนาจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ก็จะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนให้บำเพ็ญบารมีต่อไป





เห็นอานิสงส์เกี่ยวกับการสร้างพระธรรม คือ พระไตรปิฎกที่กล่าวไว้ในสังคีติยวงศ์อย่างนี้แล้ว ก็พลันหวนระลึกถึงสัทธรรมปุณฑรีกสูตร พระสูตรสำคัญสูตรหนึ่งของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน พระสูตรนี้แต่งเป็นภาษาสันสกฤต สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งราว พ.ศ. ๖๐๐-๘๐๐

ในบทที่ ๑๘ มีกล่าวถึงอานิสงส์ของการทรงจำ อ่าน สอน และคัดลอกพระธรรมไว้ว่า

"... กุลบุตรหรือกุลธิดาผู้ทรงจำ อ่าน สอน และคัดลอกพระธรรมบทนี้
    จะมีตาประกอบพร้อมด้วยคุณลักษณะ ๘๐๐ แจ่มใส เห็นชัด และเห็นโลกทั้งหมด เห็นลึกลงไปถึงใต้อเวจีและเห็นสูงขึ้นไปถึงที่สุดภพ...
    จะมีหูประกอบพร้อมด้วยคุณลักษณะ ๘๐๐ แจ่มใส ฟังได้ชัดได้ยินเสียงต่าง ๆ ได้ไกล...
    จะมีจมูกประกอบพร้อมด้วยคุณลักษณะ ๘๐๐ แจ่มใส รับกลิ่นได้ชัด...
    จะมีลิ้นประกอบพร้อมด้วยคุณลักษณะ ๘๐๐ แจ่มใส รับรสได้ดี เปล่งเสียงได้ไพเราะ...
    จะมีกายประกอบพร้อมด้วยคุณลักษณะ ๘๐๐ แจ่มใส สะอาด..."
(สัทธรรมปุณฑรีกสูตร บทที่ ๑๘)

การกล่าวถึงอานิสงส์ของการทรงจำ และการสร้างพระธรรมทั้งที่ปรากฏในสังคีติยวงศ์และสัทธรรมปุณฑรีกสูตร ผู้เขียนยังไม่เคยพบเลยในพระไตรปิฎกและอรรถกถาฝ่ายบาลี มาพบก็แต่ในคัมภีร์รุ่นหลัง โดยเฉพาะแนวความเชื่อเรื่องอักษรจารึกพระธรรมแต่ละตัวมีค่าเท่ากับพระพุทธรูป ๑ องค์นั้นพบมากที่สุดในคัมภีร์ประเภทปกรณ์วิเสส อาทิ โสตัตถกี มหานิทาน ปัญญาสชาดก และสังคีติยวงศ์ จึงทำให้น่าศึกษาว่าระหว่างมหายานกับเถรวาท นิกายไหนให้กำเนิดแนวความเชื่อนี้

@@@@@@@

กลับมาเรื่องพระไตรปิฎกต่อ หลังจากรัชกาลที่ ๑ มาแล้ว รัชกาลต่อ ๆ มาก็ทรงให้ความสำคัญต่อพระไตรปิฎก จึงทำให้เกิดพระไตรปิฎกฉบับหลวง ฉบับทองน้อย ฉบับทองใหญ่ เป็นที่น่าสังเกตว่า ตั้งแต่สมัยสุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ (ร.๑ - ร. ๕) พระไตรปิฎกบันทึกเป็นอักษรขอมทั้งหมด

ข้อนี้แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของขอมที่มีต่อแผนดินผืนนี้ในอดีต จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงศักดิ์ศรีของความเป็นไท จึงรับสั่งให้ปริวรรตจากอักษรขอมมาเป็นอักษรไทยแล้วพิมพ์เป็นเล่มสมุด พระไตรปิฎกชุดนี้แหละต่อมาก็คือพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ

ตกสมัยรัชกาลที่ ๘ จึงมีการแปลเป็นภาษาไทยทำให้เรามีพระไตรปิฎกฉบับแปลไทยเป็นครั้งแรก ต่อมาเราได้มีพระไตรปิฎกแปลไทยอีกฉบับหนึ่งจัดทำโดยสำนักพิมพ์ ส.ธรรมภักดี เป็นสำนวนเทศนาโวหารได้รับความนิยมพอสมควรเพราะนักเทศน์สามารถถือขึ้นอ่านบนธรรมาสน์ได้เลย

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๗ หรือ ๒๕๒๘ ก็มีพระไตรปิฎกแปลไทยอีกสำนวนหนึ่งจัดทำโดยมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย พระไตรปิฎกฉบับนี้มีพิเศษตรงที่แปลอรรถกถาของแต่ละสูตรแล้วพิมพ์รวมเป็นเล่มเดียวกับพระไตรปิฎก

จนกระทั่งมาถึง พ.ศ. ๒๕๔๒ เรามีพระไตรปิฎกสำนวนไทยขึ้นอีกฉบับหนึ่ง ก็คือพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ของเรานี่เอง

เท่าที่เล่ามาพอจะเห็นได้ว่า คนไทยได้แสดงคุณค่าและจิตสำนึกของตัวเองออกมาในการรักษาสืบต่อพระไตรปิฎก แต่คนไทยยังเห็นคุณค่าทางการศึกษาน้อยมาก ในสถาบันการศึกษาทั้งหลายแม้จะมีวิชาพระไตรปิฎกอยู่ก็เรียนกันฉาบฉวยเต็มที มหาวิทยาลัยสงฆ์ทุกแห่งซึ่งต้องเป็นหลักในเรื่องนี้ก็ตกอยู่ในลักษณะเดียวกัน.





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : บรรจบ บรรณรุจิ จากหนังสือ "เก็บเพชรจากคัมภีร์พระไตรปิฎก"
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร 2542 ,หน้า 265-276
http://oldweb.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_04.htm
ภาพจาก : pinterest
9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไม่ควรยินดีในทานแต่เพียงอย่างเดียว พึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2025, 09:28:43 am
.



ไม่ควรยินดีในทานแต่เพียงอย่างเดียว พึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวก



 :25: :25: :25:

ปิติสูตร

[๑๗๖] ครั้งนั้น  ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แวดล้อมด้วยอุบาสก ประมาณ ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า
     
     "ดูกรคฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร"
     "เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

@@@@@@@

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ตามที่ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า

    "ดูกรคฤหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขาร"
    "เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านทั้งหลายควรสำเหนียกอย่างนี้ว่า พวกเราพึงเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ตามกาลอันสมควร ด้วยอุบายเช่นไร ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล"

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น...
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑
          สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑
          สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกุศล ๑
          ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกย่อม เข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ฯ


@@@@@@@

พ. ดีละๆ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น คือ สมัยนั้น...
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑
          สุข โสมนัสอันประกอบด้วยกาม ๑
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑
          สุข โสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล ๑
          ทุกข์ โทมนัสอันประกอบด้วยกุศล ๑

ดูกรสารีบุตร สมัยใด อริยสาวกย่อมเข้าถึงปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น ฐานะ ๕ ประการนี้ ย่อมไม่มีแก่อริยสาวกนั้น ฯ




ที่มา : ปีติสูตร ,พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ,พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=22&A=4812&Z=4837





ปิติสูตร ภาษาบาลี อักษรไทย

[๑๗๖] อถโข อนาถปิณฺฑิโก คหปติ ปญฺจมตฺเตหิ อุปาสกสเตหิ ปริวุโต เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ เอกมนฺตํ นิสินฺนํ โข อนาถปิณฺฑิกํ

    คหปตึ ภควา เอตทโวจ ตุเมฺห โข คหปติ ภิกฺขุสงฺฆํ ปจฺจุปฏฺฐิตา จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจ เภสชฺชปริกฺขาเรน น โข
    คหปติ ตาวตเกเนว ตุฏฺฐิ กรณียา มยํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปจฺจุปฏฺฐิตา จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจ เภสชฺชปริกฺขาเรนาติ ตสฺมา ติห
    คหปติ เอวํ สิกฺขิตพฺพํ กินฺติ มยํ กาเลน กาลํ ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺยามาติ เอวํ หิ โว
    คหปติ สิกฺขิตพฺพนฺติ ฯ

@@@@@@@

{๑๗๖.๑} เอวํ วุตฺเต อายสฺมา สารีปุตฺโต ภควนฺตํ เอตทโวจ อจฺฉริยํ ภนฺเต อพฺภุตํ ภนฺเต ยาว สุภาสิตญฺจิทํ 

     ภนฺเต ภควตา ตุเมฺห โข
     คหปติ ภิกฺขุสงฺฆํ ปจฺจุปฏฺฐิตา จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจย-เภสชฺชปริกฺขาเรน น โข
     คหปติ ตาวตเกเนว ตุฏฺฐิ กรณียา มยํ ภิกฺขุสงฺฆํ ปจฺจุปฏฺฐิตา จีวรปิณฺฑปาตเสนาสนคิลานปจฺจยเภสชฺชปริกฺขาเรนาติ ตสฺมา ติห
     คหปติ เอวํ สิกฺขิตพฺพํ กินฺติ มยํ กาเลน กาลํ ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหเรยฺยามาติ เอวํ หิ โว
     คหปติ สิกฺขิตพฺพนฺติ ฯ

{๑๗๖.๒} ยสฺมึ ภนฺเต สมเย อริยสาวโก ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปญฺจสฺส ฐานานิ ตสฺมึ สมเย น โหนฺติ  ยมฺปิสฺส กามูปสญฺหิตํ
    ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส กามูปสญฺหิตํ   
    สุขํ โสมนสฺสํ  ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส อกุสลูปสญฺหิตํ   
    ทุกฺขํโทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส อกุสลูปสญฺหิตํ   
    สุขํ โสมนสฺสํ  ตมฺปิสฺส  ตสฺมึ  สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส กุสลูปสญฺหิตํ   
    ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ  สมเย น โหติ ยสฺมึ 

ภนฺเต สมเย อริยสาวโก ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหรติ อิมานิ ปญฺจสฺส ฐานานิ ตสฺมึ สมเย น โหนฺตีติ ฯ 

@@@@@@@

สาธุ สาธุ สารีปุตฺต ยสฺมึ สารีปุตฺต สมเย อริยสาวโก ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหรติ ปญฺจสฺส ฐานานิ ตสฺมึ สมเย  น โหนฺติ ยมฺปิสฺส กามูปสญฺหิตํ   
    ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส กามูปสญฺหิตํ   
    สุขํ โสมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส อกุสลูปสญฺหิตํ   
    ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส อกุสลูปสญฺหิตํ   
    สุขํ โสมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยมฺปิสฺส กุสลูปสญฺหิตํ
    ทุกฺขํ โทมนสฺสํ ตมฺปิสฺส ตสฺมึ สมเย น โหติ ยสฺมึ 

สารีปุตฺต สมเย อริยสาวโก ปวิเวกํ ปีตึ อุปสมฺปชฺช วิหรติ อิมานิ ปญฺจสฺส ฐานานิ ตสฺมึ สมเย น โหนฺตีติ ฯ




ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ ภาษาบาลี อักษรไทย พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ สุตฺต. องฺ. (๓): ปญฺจก-ฉกฺกนิปาตา
https://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=22&item=176&items=1





ปีติสูตร ว่าด้วยปีติ

[๑๗๖] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดี มีอุบาสกประมาณ ๕๐๐ คนแวดล้อม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

    คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
    ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความยินดีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า
    ‘เราได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร’
    เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวก(๑-) อยู่ตามกาลอันควรด้วยอุบายอย่างไร’
    ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

@@@@@@@

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลว่า

   “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ตามที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า
    ‘คหบดี ท่านทั้งหลายได้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร
    เพราะเหตุนั้นแล ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า
    ‘พวกเราพึงบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ตามกาลอันควร ด้วยอุบายอย่างไร’ 
     ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใดอริยสาวกบรรลุ ปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
     ๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม(๒-)
     ๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
     ๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล(๓-)
     ๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
     ๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล

     ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดจากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”

             
@@@@@@@

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดีละ ดีละ สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิด จากวิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้นย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการ คือ
    ๑. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม
    ๒. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยกาม
    ๓. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
    ๔. ไม่มีสุขโสมนัสอันประกอบด้วยอกุศล
    ๕. ไม่มีทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกุศล
             
สารีบุตร สมัยใด อริยสาวกบรรลุปีติที่เกิดแต่วิเวกอยู่ สมัยนั้น อริยสาวกนั้น ย่อมไม่มีฐานะ ๕ ประการนี้”

                                                      ปีติสูตรที่ ๖ จบ



เชิงอรรถ
(๑-) ปีติที่เกิดจากวิเวก ในที่นี้หมายถึง ปีติที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยปฐมฌานและทุติยฌาน (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)
(๒-) ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยกาม หมายถึง ทุกขโทมนัสที่เกิดขึ้นเพราะกาม ๒ ประเภท คือ วัตถุกาม และกิเลสกาม (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)
(๓-) ทุกขโทมนัสอันประกอบด้วยอกุศล หมายถึง เมื่อบุคคลทำอกุศลกรรม เช่น ยิงลูกศรไปด้วยคิดว่า จะฆ่าเนื้อและสุกร แต่เมื่อลูกศรผิดเป้าหมายไป ก็เกิดทุกขโทมนัสขึ้นว่า ‘เรายิงพลาด’ (องฺ.ปญฺจก.อ. ๓/๑๗๖/๖๘)




ที่มา : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต , ๖. ปีติสูตร ว่าด้วยปีติ
https://84000.org/tipitaka/attha/m_siri.php?B=22&siri=176
ขอบคุณภาพจาก pinterest
10  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ความเชื่อเรื่อง “เวทมนตร์คาถา” มูเตลูสมัยอยุธยา? นิยมทั้งราษฎรไปจนถึงราชสำนัก เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2025, 07:24:27 am
.

ภาพวาดกรุงศรีอยุธยา โดย Johann Christoph Haffner ราว ค.ศ. 1700


ความเชื่อเรื่อง “เวทมนตร์คาถา” มูเตลูสมัยอยุธยา? นิยมทั้งราษฎรไปจนถึงราชสำนัก

นอกจากความเชื่อเรื่องผีสางเทวดา ฤกษ์ยาม เครื่องรางของขลัง และโชคลางแล้ว “เวทมนตร์คาถา” ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งในแขนงแห่ง “ไสยศาสตร์” ที่ปรากฏหลักฐานในสมัย “อยุธยา” เช่น สมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา สมเด็จพระนารายณ์ พระเจ้าเสือ โดยเวทมนตร์คาถาเป็นถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นสำหรับบริกรรมเสกเป่าตามวิธีที่กำหนด อาจใช้เพื่อป้องกันตัว ใช้ทำร้ายผู้อื่น ใช้แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ใช้รักษาโรคภัย ใช้ป้องกันภูติผี หรือใช้ทำเสน่ห์ ฯลฯ

เวทมนตร์คาถา และมนตร์ดำ สมัยอยุธยา

ในราชสำนักอยุธยา เวทมนตร์คาถาเป็นสิ่งสำคัญในพิธีกรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับฟ้าฝน ดังในสมัย สมเด็จพระมหาธรรมราชา เกิดภาวะฝนแล้ง ชาวบ้านทำนาไม่ได้ผล เชื่อกันว่าเทวดาเบื้องบนเป็นต้นเหตุให้เกิดฝนแล้ง สมเด็จพระมหาธรรมราชาจึงทรงแก้ไขด้วยการรับสั่งให้พระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ 2 องค์ ประกอบพิธีกรรมแก้ไข ปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า ความว่า

   “บัดนี้เกิดภัยคือฝนแล้ง ราษฎรพากันอดอยาก ท่านอาจารย์ทั้ง 2 จะคิดประการใด จึงจะให้ฝนตกได้ พระอาจารย์ทั้ง 2 ก็อาสาว่า ถึงวันนั้นคืนนั้นจะทำให้ฝนตกให้ได้ แล้วพระอาจารย์ทั้ง 2 ก็ไม่กลับไปยังพระอาราม อาศัยอยู่ในพระราชวังตั้งบริกรรมทางอาโปกสิณ และเจริญพระพุทธมนต์ขอฝนด้วยอำนาจสมาธิและพระพุทธมนต์ของพระผู้เป็นเจ้าทั้ง 2 นั้น พอถึงกำหนดวันสัญญา ก็เกิดมหาเมฆตั้งขึ้นทั้ง 8 ทิศ ฝนตกลงมาเป็นอันมาก”



ภาพประกอบเนื้อหา – ภาพวาดทิวทัศน์บริเวณ วัดพนัญเชิง อยุธยา จากรูปถ่าย วาดโดย M.Therond


ไสยศาสตร์ อย่าง เวทมนตร์คาถา ในสมัย “อยุธยา” ยังถูกนำมาใช้แก้หรือรักษาโรคร้ายต่าง ๆ เช่น เมื่อถูกผีเข้า หรือถูกคุณไสย ก็จำเป็นต้องแก้ไขด้วยเวทมนตร์ ด้วยการใช้หวายหวด โดยหวายนั้นต้องเสกเวทมนตร์คาถากำกับจึงจะได้ผล ดังที่ ลา ลูแบร์ บันทึกไว้ ความว่า

   “ชาวสยามเป็นโรคคลั่งเพ้อบางอย่างเรียกผีเข้า อาการโรคที่เป็นนั้น บางทีก็พิลึกมาก เชื่อกันว่าเป็นด้วยถูกเวทมนตร์คุณไสย…เป็นอำนาจปีศาจแผลงฤทธิ์คือผีเข้า จำต้องแก้ทางขับผี จึงรักษาคนไข้ด้วยใช้หวดด้วยหวายอาคมลงคุณพระ หรือไปหาคนดีมีวิชา…”

เมื่อเวทมนตร์คาถาถูกนำมาใช้ในด้านดี เพื่อช่วยเหลือ แก้ไข หรืออำนวยสิ่งต่าง ๆ ให้เจริญขึ้นได้ฉันใด เวทมนตร์คาถาย่อมต้องถูกนำมาใช้ในด้านร้ายฉันนั้น หรือที่มักจะเรียกกันว่า “มนตร์ดำ” หรือ “คาถาดำ” นั่นเอง ซึ่งปรากฏให้เห็นว่ามีการนำเวทมนตร์คาถามาใช้ในด้านร้าย พบเห็นตั้งแต่ชาวบ้านทั่วไปไปจนถึงในราชสำนัก

ดังในสมัย สมเด็จพระยอดฟ้า ปรากฏมีการใช้เวทมนตร์คาถาโดย “หมอผี” ในแผนการลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ของแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์ ปรากฏในพงศาวดาร ฉบับ วัน วลิต ความว่า “…พระสนมได้สมรู้ร่วมคิดกับหมอผี ใช้เวทมนตร์สะกดพระเจ้าแผ่นดินและลอบปลงพระชนม์ ทุกวันพระสนมจะนำหมอผีไปยังห้องพระบรรทมและขออยู่ลำพังกับพระเจ้าแผ่นดิน…และเมื่อหมอผีได้ใช้เวทมนตร์คาถาสะกดพระเจ้าแผ่นดินได้แล้ว พระสนมก็นำยาพิษมาถวาย…”

หมอผีในที่นี้ก็คือ ขุนวรวงศาธิราช โดย เยเรเมียส วัน วลิต อธิบายว่า “หมอผีก็อาศัยอยู่ในวังนั่นเอง และด้วยความช่วยเหลือของพระสนม ก็สถาปนาตนเองขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงพระนามว่า พระขุนชินราช ซึ่งขัดกับความประสงค์ของขุนนางและประชาชนทั้งปวง…”



ซากโบราณสถานวัดพระศรีสรรเพชญ์ ภายในพระราชวังหลวงกรุงศรีอยุธยา


ด้านนอกวังนั้นเล่า มนตร์ดำก็ถูกนำมาใช้เช่นกัน ดังจะเห็นได้จากพระไอยการลักษณะเบ็ดเสร็จ ก็มีการใช้เวทมนตร์คาถาอย่างแพร่หลาย จึงต้องมีกฎหมายควบคุม และกำหนดบทลงโทษผู้นำมนตร์ดำมาใช้ทำลายชีวิตหรือทรัพย์สินของคนในสมัยนั้นด้วยวิธีที่รุนแรง ดังเช่น

มาตรา 163 “ผู้ใดใส่ง้วนยาให้ท่านกิน ท่านเหงาเงื่องจะตายแล แก้รอดก็ดี อนึ่งผู้รู้กระทำให้ท่านปวดหัวมัวตาลำบากด้วยประการใด ๆ ก็ดี ท่านจับได้ ให้เอาตัวมันผู้นั้นมาง้วนยามาให้ท่านกินแลผู้กระทำท่านั้น ขึ้นขาหย่างประจารแล้วปลงลงทวนด้วยลวดหนัง 60 ที แล้วให้ไหมปลูกตัวเปนสินไหม พิไนย กึ่งแล้วส่งตัวจำไว้ ณ คุก โดยยถากำม ถ้าทำท่านตายให้ฆ่ามันเสีย”

มาตรา 165 “ผู้ใดให้ยาแก่ลูกท่านกินเปนบ้า ให้มันรักษาลูกท่าน ถ้ามันรักษาหายให้ทวนมันนั้น 30 ที ถ้ามันรักษามิหาย ให้ไหมปลูกตัวแล้วทวน 60 ที เอาขึ้นขาหย่างประจารแล้วจำไว ณ คุก”

มาตรา 168 “หญิงก็ดีชายก็ดีเปนชู้เมียกัน หญิงจะใคร่ให้ชายนั้นรัก ให้แม่มดพ่อหมอกระทำมนตร์ดนมกรูด ส้มป่อย สรรพการ เสน่ห์ ดั่งนั้น ท่านว่า หญิงทำแต่จะให้ชายรัก ชายทำแต่จะให้หญิงรัก หวังจะให้เปนประโยชน์ จำเริญแก่ตัวสืบไป แม้น ชาย หญิง ก็ดี เคราะห์ร้ายหากไข้เจ็บตาย จะใส่โทษแม่มดพ่อหมอนั้น มิได้เลย เปนกำมแก่ผู้ตายนั้น เทวดายังรู้จุติมนุษหฤๅจะอยู่ได้”

มาตรา 169 “ผู้ใดจะให้ผู้อื่นพิศวงงงงวยในตนแลปรกอบ กฤตยาคุณเปนยาแฝดด้วยสิ่งใด ๆ ให้ท่านกินก็ดี แลปั้นรูปฝังด้วยวิทยาคุณประการใด ๆ ก็ดี พิจารณาเปนสัจ ให้ทวน 60 ที เอาขึ้นขาหย่างประจารแล้วทะเวนบก 3 เรือ 3 วัน แล้วฆ่ามันเสีย ถ้าทำให้ชู้ผัวมันกิน รู้ด้วยประการใด ๆ พิจารณาเปนสัต ให้ลงโทษดุจเดียวแล้วส่งตัวให้ชายผัวตามแต่ใจมัน”

นอกจากนี้ ในกฎมณเฑียรบาล ก็มีการกล่าวถึงเวทมนตร์คาถา ในมาตรา 69 ความว่า “อนึ่งผู้ใดทำลูกกุญแจเรียนมนตร์คุณวุธิวิทยาคมเสดาะประตูวัง แลเปิดโขลนทวารเข้าไปในพระราชมณเฑียรสถาน ลักภาสาวใช้กำนัลแลลักพระราชทรัพย ให้ลงโทษโดยมหันตโทษแล้วให้ฆ่าเสีย ถ้าทรงพระกรรุณาบให้ฆ่าเสียไซ้ ให้ลงโทษ 5 สถาน โดยพระราชอาชาท่านกล่าวไว้”

เห็นได้ว่า มนตร์ดำเหล่านี้ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการทำเสน่ห์ และการทำให้ผู้ที่เป็นศัตรูของตนล้มป่วยเจ็บไข้ หรือถึงขั้นมีอันเป็นไปเสียชีวิต

เวทมนตร์คาถาแสดงบุญญาบารมี

ในเรื่องการนำเวทมนตร์คาถามาใช้เพื่อแสดงอิทธิฤทธิ์อภินิหารนั้น กระทำไปเพื่อเป็นการข่มขวัญข้าศึกศัตรู หรือเพื่อแสดงบุญบารมีของกษัตริย์ เช่น

ในคำให้การชาวกรุงเก่า กล่าวถึงเหตุการณ์ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ อยุธยาตีเมืองเชียงใหม่ พระยาสีหราชเดโช แม่ทัพฝ่ายอยุธยา ใช้เวทมนตร์คาถาล่องหนหายตัวได้ ความว่า “พระยาสีหราชเดโชเห็นลาว [แต่ก่อนเรียกคนในภาคเหนือว่าลาว] นิ่งอยู่ไม่ออกมาสู้รบดังนั้น จึงถือดาบขึ้นหลังม้ากลั้นใจหายตัวควบไปควบมาให้ลาวแลเห็นแต่ดาบ กับได้ยินแต่เสียงมิได้เห็นตัว พวกลาวเห็นดังนั้นก็สะดุ้งตกใจกลัวพากันแตกหนีไปเป็นขบวน”

ขณะที่ สมเด็จพระนารายณ์ เองก็ทรงศึกษาศาสตร์เหล่านี้เช่นกัน ในสำนักของพระอาจารย์พรหม ดังในคำให้การชาวกรุงเก่า ความว่า “เป็นผู้ชำนาญในทางเวทมนตร์ มีอานุภาพเหาะเหินเดินอากาศได้ เพราะฉะนั้นพระนารายณ์จึงมีบุญญาภินิหารและอิทธิฤทธิ์มาก วันหนึ่งเสด็จทรงเรือพระที่นั่งเอกชัยในเวลาน้ำขึ้น รับสั่งว่าให้น้ำลดแล้วทรงเอาพระแสงฟันลง น้ำก็ลดลงตามพระราชประสงค์ ครั้นน้ำลดลงแล้ว จึงรับสั่งให้น้ำขึ้นแล้วทรงพระแสงฟันลงอีก น้ำก็ขึ้นตามพระราชประสงค์ พระนารายณ์มีพระราชประสงค์อย่างไรก็เป็นไปตามทั้งสิ้น”



ภาพลายเส้นฝีมือชาวยุโรป ริ้วกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค พิธีกรรมทางน้ำที่พระเจ้าแผ่นดินครั้งกรุงศรีอยุธยาต้องเสด็จฯ มาประกอบพิธีเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของราชอาณาจักร พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๒๖๒ (ภาพจาก “กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง” โดย ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช, ๒๕๔๙)


กษัตริย์อีกพระองค์หนึ่งที่ขึ้นชื่อเรื่องมีอิทธิฤทธิ์ด้วยเวทมนตร์คาถา คือ สมเด็จพระเจ้าเสือ ดังในคำให้การชาวกรุงเก่า ความว่า “มีบุญญาภินิหารและอิทธิฤทธิ์ ชำนาญในทางเวทมนตร์กายสิทธิ์มาก เวลากลางคืนก็ทรงกำบังกายเสด็จประพาส ฟังกิจสุขทุกข์ของราษฎร และทรงตรวจตราโจรผู้ร้ายมิได้ขาด ทรงชุบเลี้ยงคนที่มีเวทมนตร์ ให้เป็นมหาดเล็กใกล้ชิดพระองค์ รับสั่งใช้ให้กำบังกายออกตรวจโจรผู้ร้ายในราตรี ถ้าทรงทราบว่าใครมีเวทมนตร์ดีแล้ว ให้มหาดเล็กลอบไปทำร้ายในเวลาหลับ ผู้ใดไม่เป็นอันตรายก็พามาเลี้ยงไว้เป็นข้าราชการ ผู้ใดที่โอ้อวดทดลองไม่ได้จริงก็ให้ลงพระราชอาญา”

นอกจากนี้ ในคำให้การขุนหลวงหาวัด (ฉบับหลวง) กล่าวถึงเวทมนตร์คาถาของสมเด็จพระเจ้าเสือ ขณะยังเป็นเจ้าพระยาศรีสุรศักดิ์ ไปลักพาตัวบุตรสาวของเจ้าพระยาราชวังสรรค์ ความว่า

    “ครั้นเวลาสักสองยามเศษ จึงเจ้าพระยาศรีสุรศักดิ์นั้นกับบ่าวที่รักใคร่สนิทกัน จึงเข้าไปดูแยบคาย ครั้นได้ทีแล้วจึงเสกกรวดแล้วก็ปรายเข้าไปอันผู้คนทั้งนั้นก็หลับไปทั้งสิ้น เจ้าพระยาสุรศักดิ์จึงเข้าไปดับไฟแล้วก็เข้าไปอุ้มเอาลูกสาวมา”

เหล่านี้เป็นเรื่องราวของ “เวทมนตร์คาถา” หรือที่ยุคนี้นิยมใช้คำว่า “มูเตลู” เพียงบางส่วนที่ปรากฏในพงศาวดารหรือบันทึกสมัยอยุธยา นอกจากนี้ยังมีเรื่องผีสางเทวดา ฤกษ์ยาม เครื่องรางของขลัง และโชคลาง ฯลฯ ซึ่งแต่ละเรื่องล้วนมีความเกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เพราะต่างก็เป็น “ศาสตร์” แห่ง “ไสย” เช่นเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “ไสยศาสตร์” ความเชื่อของคนกรุงศรีฯ ในบันทึกฝรั่งที่ได้พบเห็น
    • พระปิ่นเกล้า วังหน้าสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงศึกษาไสยศาสตร์วิทยาคม ลือกันถึงขั้นหายตัวได้!?






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2568
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 6 สิงหาคม 2564
website : https://www.silpa-mag.com/culture/article_72634
อ้างอิง : จิตใส อยู่สุขี. (2539). การศึกษาความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ของคนไทยจากเอกสารสมัยอยุธยา, ปริญญานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต (ประวัติศาสตร์ไทย) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.
11  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง.? เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2025, 07:15:05 am

จิตรกรรมพระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช “ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์” ในศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินฯ วัดสมณโกฎฐาราม จังหวัดพระนครศรีอยุธยา


9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง.? (ตอนที่ 1)

ความสัมพันธ์ไทย-จีน ยาวนานหลายร้อยปี หลักฐานหนึ่งที่ปรากฏชัดคือชาวไทยเชื้อสายจีนจำนวนหนึ่งสามารถสืบค้นรากเหง้าของตนได้ถึงสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งหลักๆ แล้วมี 9 ตระกูลด้วยกัน ตระกูลจีนกรุงธนบุรีเหล่านี้มีตระกูลใดบ้าง และทุกวันนี้เชื้อสายแผ่ขยายใช้นามสกุลอะไรกัน เรื่องนี้มีคำตอบในหนังสือ “ประวัติจีนกรุงสยาม A History of the Thai-Chinese” (สำนักพิมพ์มติชน) โดย เจฟฟรี ซุน และพิมพ์ประไพ พิศาลบุตร

อ่าน 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 2) ได้ท้ายบทความ



ปรีดี พนมยงค์


สกุล “พนมยงค์”

หนึ่งในสมาชิกของสกุลนี้ที่คนไทยคุ้นชื่อกันดีคือ นายปรีดี พนมยงค์ อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เขาเขียนบันทึกเล่าความสัมพันธ์ทางเครือญาติระหว่างสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชกับ ก๊ก แซ่ตั้ง บรรพบุรุษฝ่ายชายของสกุลพนมยงค์ไว้ว่า ก๊กเป็นลูกของเส็ง เส็งเป็นลูกของเฮง เฮงไปเมืองไทยเมื่อเส็งยังเล็กอยู่ แม่ของเฮงเป็นอาของ “แต้อ๋อง” (จีนแต้จิ๋วเรียกพระเจ้าตากด้วยนามนี้) เฮงช่วยแต้อ๋องรบพม่าตาย

นายปรีดีเล่าตำนานในครอบครัวอีกว่า เฮงเข้ามาสยามในรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยามรินทร์ มาพักอยู่กับญาติฝ่ายจีนของพระเจ้าตากบริเวณคลองสวนพลู ข้างฝ่ายญาติของเฮงที่หมู่บ้านเอ้ตัง อำเภอเถ่งไฮ่ ไม่ได้รับข่าวคราวของเฮงนานหลายปี แม่ของเฮงจึงฝากจดหมายมากับนายเรือเพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าตาก แสดงความชื่นชมยินดีที่พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ และถามข่าวคราวของเฮง

เมื่อพระเจ้าตากทรงทราบความ จึงโปรดเกล้าฯ ให้ตอบไปว่า เฮงได้สิ้นชีพในการรับใช้พระองค์ต่อสู้กับศัตรู และพระราชทานเงินพดด้วงจำนวนหนึ่งแก่ครอบครัวของเฮง

ในสมัยรัชกาลที่ 2 ด้วยการทำมาหากินที่ฝืดเคือง เส็ง (ลูกของเฮง) จึงส่งก๊กมาสยาม เมื่อก๊กเดินทางมาแล้วก็อยู่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง แล้วไปอยู่อยุธยา ประกอบอาชีพทำแป้งหมักแบบจีน เต้าหู้ เต้าเจี้ยว ตั้งแพขายอยู่ใกล้วัดพนมยงค์

ต่อมาเส็งแต่งงานกับ ปิ่น สาวอยุธยา ซึ่งทางบ้านฝ่ายหญิงเชื่อว่าพวกตนสืบสายจากพระนมที่ชื่อ ประยงค์ ผู้สร้างวัดพนมยงค์ สืบมาถึงรุ่นนายเสียง บิดาของนายปรีดี จึงไปจดทะเบียนนามสกุล “พนมยงค์”



หนังสือ “ประวัติศาสตร์จีนกรุงสยาม เล่ม 1 สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์” (สำนักพิมพ์มติชน) ที่ส่วนหนึ่งเล่าเรื่องนี้ไว้


สายสกุลของ “เจ้าคุณจอมมารดาเอม” ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

เจ้าคุณจอมมารดาเอม ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นธิดา เจ๊สัวบุญมี บุตรเจ๊สัวอ๋องไซ ซึ่งประวัติตระกูลอ๋องสืบเชื้อสายจาก “อ๋องเฮงฉ่วน” ผู้ดูแลกรมท่ามาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตก เจ๊สัวอ๋องไซคุมเรือไปค้าขายที่กัมปงโสม แต่การเดินทางไม่ปลอดภัยจึงร่นมารอดูเหตุการณ์ที่เมืองจันทบูร

เมื่อพระเจ้าตากทรงกรีธาทัพเข้าเมืองจันทบูร เจ๊สัวอ๋องไซก็นำเรือไปเทียบท่าถวายข้าว ซึ่งถือเป็นเสบียงสำคัญยามรบ พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ๊สัวอ๋องไซเป็น “พระยารัตนราชเศรษฐี” ช่วยงานกรมท่าสมัยกรุงธนบุรี

ลูกชายคนหนึ่งของเจ๊สัวอ๋องไซ คือ เจ๊สัวบุญมี ตั้งบ้านเรือนอยู่ปากคลองบางกอกน้อย ครอบครัวที่สืบเชื้อสายจากเจ้าคุณจอมมารดาเอมอยู่ในราชสกุล กาญจนะวิชัย, วรวุฒิ, รัชนี, นวรัตน เป็นต้น



พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ) (ภาพ : Wikimedia Commons)


สกุล “ไกรฤกษ์”

ตระกูลจีนกรุงธนบุรีอีกตระกูลที่สำคัญ คือ ไกรฤกษ์ ต้นตระกูลเป็นลูกจีนแซ่หลิม ชื่อ เริก มีตำแหน่งเป็น “ขุนท่องสื่ออักษร” ล่ามในคณะทูตกรุงธนบุรีเมื่อ พ.ศ. 2324 เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ ก็ผลัดแผ่นดินเป็นรัชกาลที่ 1 แล้ว พระองค์ทรงพอพระทัยการทำงานของเริก จึงโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็น “พระยาไกรโกษา” ที่จตุสดมภ์ฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล

ทองจีน บุตรชายคนโตของพระยาไกรโกษา (เริก) ได้เป็นพระยาโชฎึกราชเศรษฐีในสมัยรัชกาลที่ 3 ลูกหลานรับราชการสืบมา กระทั่งเมื่อรัชกาลที่ 6 โปรดให้ตราพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พระองค์ได้พระราชทานนามสกุล “ไกรฤกษ์” แก่ พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ (นพ) อธิบดีกรมชาวที่ และ พระยาจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ (ลออ) ซึ่งมีทายาทต่อมาถึงทุกวันนี้

ในสายตระกูลแซ่หลิมของพระยาไกรโกษา (เริก) ยังมีพระยาอินทรอากร บิดาของเจ้าจอมมารดาอำภาในรัชกาลที่ 2 ลูกหลานสืบมาในสกุล นิยะวานนท์ ราชสกุล ปราโมช และ กปิตถา

ญาติแซ่หลิมอีกแขนงหนึ่งที่ได้เป็นขุนพัฒนอากรสมัยรัชกาลที่ 3 มีบุตรชื่อฉ่ำ เป็นบิดาของพระยาพหลพลพยุหเสนา (กิ่ม) ต้นตระกูล พหลโยธิน

@@@@@@@

สกุล “จาติกวณิช”

ป้ายวิญญาณจีนสยามเก่าแก่ ที่บ้านโซวเฮงไถ่ ย่านตลาดน้อย กรุงเทพฯ ระบุชื่อ เซี้ยง แซ่โซว มาจากอำเภอไฮ่เถ่ง จังหวัดเจียงจิว มณฑลฮกเกี้ยน เป็นบิดาของจีนเกต และเป็นปู่ของหลวงอภัยวานิช (จาด) ต้นตระกูล จาติกวณิช

ตระกูลนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำย่านตลาดน้อย ซึ่งเป็นบริเวณที่ชุมชนฮกเกี้ยนขยายตัวมาจากกุฎีจีน มีศาลเจ้าโจวซือกง ที่สร้างสมัยรัชกาลที่ 1 เป็นศูนย์กลางชุมชน ลูกหลานของหลวงอภัยวานิช (จาด) ตั้งเรือนอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน

จีนเซี้ยง แซ่โซว เป็นบรรพชนของนายกรณ์ จาติกวณิช อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และเป็นบรรพชนฝ่ายมารดาของนายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีไทย

ตระกูลจีนกรุงธนบุรีอีก 5 ตระกูลหลักมีอะไรอีกบ้าง ติดตามต่อได้ใน 9 ตระกูลจีนกรุงธนบุรี ทุกวันนี้สืบสายเป็นสกุลใดบ้าง? (ตอนที่ 2)

อ่านเพิ่มเติม :

    • “นามสกุล” สมัยรัชกาลที่ 6 แต่ละนามสกุลเป็นมาอย่างไร บ่งบอกถึงอาชีพ?
    • “5 นามสกุลแรกของไทย” เป็นนามสกุลของใคร
    • ร.7 ทรงเคืองพระทัย เหตุคณะผู้สำเร็จราชการไม่ให้พระราชโอรสบุญธรรมใช้นามสกุล “ศักดิเดชน์”






ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : สุทธาสินี จิตรกรรมไทย เจียจันทร์พงษ์
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2568
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 19 พฤษภาคม 2568
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_152979#google_vignette
อ้างอิง : พิมพ์ประไพ พิศาลบุตร, สมชาย จิว และนิรันดร นาคสุริยันต์ แปลและเรียบเรียง. ประวัติศาสตร์จีนกรุงสยาม เล่ม 1 สมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ: มติชน, 2568
12  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปัญจอันตรธาน เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2025, 07:41:13 am
.



ปัญจอันตรธาน

ความเชื่อเรื่องพระพุทธศาสนา จะมีอายุได้แค่ 5 พันปี มาจากมหายานครับ ฝ่ายหีนยาน ซึ่งตอนนี้เปลี่ยนชื่อใหม่ว่าเถรวาท เผลอรับเอามาเมื่อไหร่ ไม่มีคนบันทึกไว้

พระนักเทศน์รุ่นเก่า ก่อนเทศน์ท่านบอกศักราช วันนั้น เดือนนั้น พ.ศ.เท่านั้น และจะยังคงเหลือปีอีกเท่านั้น

การบอกศักราช เหมือนบอกวันเวลา เตือนสติญาติโยมว่า ยิ่งนับวัน เวลาก็ยิ่งเหลือน้อย ให้เร่งทำบุญ ก่อนที่จะไม่เหลือเวลาให้ทำบุญ

จนเมื่อ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดระบอบสังฆมณฑลตามวิธีใหม่ จึงทรงเปลี่ยนวิธีบอกศักราช ให้เลิกเรื่องพุทธกาล 5 พันปี เสียที เพราะไม่มีแก่นสารอันใด

พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า พุทธศาสนาจะเจริญหรือจะเสื่อม ก็เพราะบุคคล 4 จำพวก คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

พ.ศ.2500 มีคนรื้อฟื้นเรื่องกึ่งพุทธกาล ขึ้นมาพูดกันอีก ม.จ.พูนพิศมัย ดิศกุล สงสัยก็กราบเรียนถาม พระนิรันตรญาณมุนี วัดเทพศิรินทร์ ท่านเจ้าคุณถวายวิสัชนามาเป็นหนังสือชื่อ สารัตถสังคหะ

@@@@@@@

หนังสือเล่มนั้น มีเรื่อง ปัญจอันตรธาน คือความเสื่อม 5 ประการ

1. ปริยัติอันตรธาน คือ ความรู้เสื่อม
2. ปฏิบัติอันตรธาน ความประพฤติเสื่อม
3. ปฏิเวธอันตรธาน ความหลุดพ้นเสื่อม
4. ลิงคอันตรธาน ความเป็นระเบียบเสื่อม
5. ธาตุอันตรธาน การมีวัตถุธาตุต่างๆเสื่อม

1. ปริยัติอันตรธานนั้น ถ้าพระสงฆ์ไม่เอาใจใส่เล่าเรียนพระไตรปิฎกแล้ว ความรู้ก็จะเสื่อม ความรู้เสื่อมจะเริ่มแต่ปลายมาต้น คือ พระอภิธรรมจะเสื่อมก่อน พระวินัยจะเสื่อมตาม แล้วในที่สุดพระสูตรก็จะเสื่อมสูญ

2. ปฏิบัติเสื่อม ถ้าต่อไปพระสงฆ์ไม่รู้จักปฏิบัติวิปัสสนาธุระ จนเกิดมรรคผลได้แล้ว ก็จะรักษาได้แต่ศีลอย่างเดียว แล้วก็จะค่อยๆเสื่อมลงทุกทีๆ จนปฏิบัติอันตรธาน

3. ปฏิเวธ...นั้น ถ้าไม่มีพระอรหันต์แม้เพียงขั้นต้นคือโสดาบัน แล้ว ก็แปลว่า ปฏิเวธอันตรธาน

4. ลิงคอันตรธาน ความประพฤติของพระสงฆ์ ถ้าไม่สำรวมให้สมกับความนับถือของคน เช่น กิริยาหลุกหลิกไม่เรียบร้อย นุ่งห่มสีต่างๆ ตามชอบใจเมื่อใด เมื่อนั้นลิงคอันตรธานก็จะเกิดขึ้น

ข้อนี้เอง ที่ผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังว่า ต่อไปพระสงฆ์จะมีแต่ผ้าเหลืองห้อยหู

5. ธาตุอันตรธาน เมื่อสิ่งทั้งปวงเสื่อมสูญไปแล้ว ธาตุทั้งหลาย แม้จะเป็นสถานที่สักการบูชา ก็จะไม่มี เพราะเหลืออยู่ก็ไม่มีประโยชน์อันใด


@@@@@@@

หนังสือเล่มนี้ บอกว่า พระนันทาจาริยาเจ้าแห่งลงกา เป็นผู้อธิบายไว้ ไทยเราคงได้คตินี้มา ถ้าอ่านด้วยการพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า เป็นการทำนายด้วยเหตุผล ถ้าเป็นเช่นนั้น จะเกิดผลเช่นนั้น

ม.จ.หญิงพูนพิศมัยท่านว่า ถ้าเรากล้าพอจะสู้ความจริง ก็จะเห็นว่า คำที่พระลังกาทำนาย ได้เกิดขึ้นแล้วไม่ใช่น้อยๆ ในนามของอุบาสกอุบาสิกา

ขอเชิญชวนให้คนไทยได้ช่วยกันเล่าเรียนให้ถูกต้องตามพุทธประสงค์ เพื่อจะได้ช่วยกันรักษาไว้ซึ่งพระบวรพุทธศาสนา อันชาวโลกโดยมากยอมยกให้ว่า ไทยมีอยู่อย่างถูกต้องมากกว่าในที่อื่นๆ

อ่านเรื่องปัญจอันตรธาน ของท่านหญิงพูนพิศมัย ก็ได้ความคิด วันนี้เป็นวันที่ 4 ของปี พ.ศ.2556 ตามความเชื่อเก่าๆเราเหลือเวลาของพุทธศาสนาน้อยลงไป

แต่ในเมืองไทย ก็ยังไม่มีวี่แวว พุทธศาสนาจะเสื่อมโทรม อันตรธาน หันไปทางไหน เห็นแต่ความรุ่งเรืองไพบูลย์

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งด้านที่รกรุงรัง และด้านที่กลั่นกรองเรียงร้อยหมดจดงดงาม หรือวัตถุสถาน แบบสงบงามเรียบง่าย หรือแบบที่ใหญ่โตโอฬาร สนองศรัทธาญาติโยม

ด้านศาสนจักร ดูไปคงไม่มีอะไรน่าห่วง แต่ที่น่าห่วงก็คือด้านอาณาจักร ซีกเศรษฐกิจแนวโน้มดี และจะดียิ่งๆขึ้นไป แต่ซีกการเมืองเท่านั้น ที่ยังถอยหลังลงคลอง

โลกเขาศิวิไลซ์กันไปถึงไหนต่อถึงไหน นักการเมืองไทยยังรบกันอยู่ได้เรื่องเดียว คือเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ ด้วยเหตุผลเพื่อช่วยคน คนเดียว.




Thank to : https://www.thairath.co.th/news/politic/317783
5 ม.ค. 2556 05:00 น. | กิเลน ประลองเชิง
13  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / วันอัฏฐมีบูชา ความศรัทธาก่อนการสูญสิ้นใน “ปฐมสมโพธิกถา” เมื่อ: พฤษภาคม 20, 2025, 07:25:19 am
.

พระพุทธเจ้า ประทับสีหไสยา เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน


วันอัฏฐมีบูชา ความศรัทธาก่อนการสูญสิ้นใน “ปฐมสมโพธิกถา”

วันอัฏฐมีบูชา เป็นหนึ่งในวันที่ปรากฏเหตุการณ์สำคัญในพุทธศาสนา เนื่องด้วยเป็นวันคล้ายวันถวายพระเพลิงแด่พุทธสรีระพระพุทธเจ้า หลังเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ 8 วัน ซึ่งตรงกับวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 (เดือนวิสาขะ) หรือวันแรม 8 ค่ำ เดือน 7 ในปีอธิกมาส ซึ่งวันอัฏฐมีบูชา พ.ศ. 2568 ตรงกับวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม

ความสำคัญของ “วันอัฏฐมีบูชา” นอกจากจะเป็นวันที่แสดงความระลึกถึงองค์พระศาสดา อีกแง่หนึ่งก็ยังเป็นการสร้างความตระหนักให้แก่บุคคลที่ยังคงมีชีวิตอยู่ให้ดำรงชีวิตโดยตั้งอยู่บนความไม่ประมาท ดังปัจฉิมโอวาทของพระพุทธองค์ที่ได้ตรัสไว้ก่อนเสด็จปรินิพพาน เนื่องด้วยทุกสรรพสิ่งนั้นมิมีความเที่ยงแท้ สามารถกำเนิดขึ้น ดำรงอยู่และสูญสลายไปได้โดยตลอด

เฉกเช่นเดียวกับพระพุทธเจ้าที่พระพุทธสรีระของพระองค์ก็มีวันเสื่อมสูญ แม้จะหลงเหลือพระบรมสารีริกธาตุให้ผู้ศรัทธาได้กราบไหว้ แต่กระนั้นพระบรมสารีริกธาตุเหล่านั้นก็ย่อมมีวันที่จะสูญไปได้เช่นกัน ดังที่ได้มีการกล่าวถึงไว้ในเหตุการณ์การอันตรธานของพระบรมสารีริกธาตุ ในวรรณคดีเรื่อง ปฐมสมโพธิกถา ปริเฉทที่ 29

ปฐมสมโพธิกถา เป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ ที่ทรงแปล ชำระจากต้นฉบับภาษาบาลี ซึ่งต้นฉบับนี้มิได้มีการระบุให้ทราบว่าใครเป็นผู้แต่ง หรือแจ้งว่าแต่งตั้งแต่เมื่อใด ทราบเพียงแค่มีต้นฉบับอยู่เพียง 2 ฉบับ มีเนื้อหาอยู่ 22 ตอน


@@@@@@@

เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนำมาชำระใหม่ ได้มีการตัดบางเรื่องออกและเขียนเพิ่มเสริมลงไป จึงทำให้ปฐมสมโพธิกถานี้ มีทั้งสิ้น 29 ตอน หรือ 29 ปริเฉท

เหตุที่ ปฐมสมโพธิกถา ซึ่งถือได้ว่าเป็นคัมภีร์ที่ให้ความรู้ในเรื่องของพระพุทธเจ้าและพุทธศาสนา ได้รับการยกย่องเป็น “วรรณคดีในประเภทพระพุทธศาสนา” เนื่องด้วยภาษาที่ใช้ในพระนิพนธ์นั้น เป็นภาษาที่ได้มีการขัดเกลา เลือกสรรมาแล้วเป็นอย่างดี ทำให้เกิดความไพเราะจับใจแก่ผู้อ่าน ทั้งยังเป็นประโยชน์ในแง่ของการให้ความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนา ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ปฐมสมโพธิกถา เป็นหนึ่งในวรรณคดีที่มีคุณค่ามากเรื่องหนึ่ง

ในจำนวน 29 ตอน หรือ 29 ปริเฉทนั้น จะมีอยู่ปริเฉทหนึ่งที่กล่าวถึงการเสื่อมสูญ 5 ประการ อันประกอบไปด้วย       
    ความเสื่อมสูญแห่งปริยัติ 1
    ความเสื่อมสูญแห่งปฏิบัติ 1
    ความเสื่อมสูญแห่งปฏิเวธ 1
    ความเสื่อมสูญแห่งเครื่องหมายภิกษุสงฆ์ 1 และ
    ความเสื่อมสูญแห่งพระบรมสารีริกธาตุ 1

เรื่องที่ปรากฏใน ปริเฉทที่ 29 อันตรธานปริวรรต อันเป็นปริเฉทสุดท้ายนั้น จะกล่าวถึงการเสื่อมสูญ 5 ประการ ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังการถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าได้เป็นระยะเวลานานแล้ว โดยจะมีการเกิดขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้น ใช้ระยะเวลาที่ยาวนานมากจึงจะถึงยังขั้นสุดท้ายที่เป็นการอัตรธานหมดสิ้นซึ่งทุกสิ่ง



“โทณพราหมณ์จัดแบ่งพระบรมธาตุ” จิตรกรรมฝาผนังวัดกัลยาณมิตร กรุงเทพฯ


ภายหลังจากถวายพระเพลิงพุทธสรีระของพระพุทธเจ้าแล้ว “โทณพราหมณ์” ก็ได้จัดแบ่งพระบรมธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆกัน มอบให้แด่กษัตริย์ เจ้าผู้ครองนครต่างๆที่ได้มาอัญเชิญไปบูชา แต่ก็มีบางส่วนที่ไปอยู่ภายในเมืองเทวดา พรหม และนาคด้วยเช่นกัน

ทว่าต่อมา “พระมหากัสสปเถระ” เกรงว่าพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานอยู่ยังนครต่างๆ ในอนาคตอาจมีอันตรายเกิดขึ้นได้ จึงปรึกษากับ “พระเจ้าอชาตศัตรู” อัญเชิญพระธาตุจากเมืองต่างๆ มารวมกันด้วยฤทธิ์ แล้วนำไปประดิษฐานยังเจดีย์ที่พระเจ้าอชาตศัตรูสร้าง

กระทั่งพระศาสนาได้ล่วงไป 218 ปี ถึงรัชสมัยของ “พระเจ้าธรรมาโศกราช” หรือ “พระเจ้าอโศก”  พระองค์นั้นทรงมีศรัทธาในพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก จึงสร้างพระเจดีย์ไว้ทั่วชมพูทวีปและทรงต้องการที่จะได้พระบรมธาตุมาประดิษฐาน จึงได้ออกค้นหาอยู่นานจนพบในที่สุด และได้ทรงจัดสมโภชพระบรมธาตุตามที่ตั้งพระทัยไว้ พระบรมสารีริกธาตุจึงยังคงดำรงอยู่ควบคู่ไปกับความศรัทธาที่มีมาอย่างยาวนานผ่านหลายยุคหลายสมัย


@@@@@@@

ด้วยระยะเวลาที่ผันผ่านมาเป็นเวลานาน จึงทำให้ในที่สุดก็บังเกิดความเสื่อมสูญขึ้น ทั้งความศรัทธา ความเชื่อต่างๆ ที่ไหลผ่านกาลเวลาจนถึงจุดที่เสื่อมสลายลง การเสื่อมสลายนั้นล้วนเป็นไปตามลำดับขั้นอย่างช้าๆ จนกระทั่งถึงขั้นท้ายสุดที่มนุษย์นั้นไร้ซึ่งความศรัทธาในพุทธศาสนาแล้ว พระบรมสารีริกธาตุก็จะมารวมกันและเผาไหม้อัตรธานไปในที่สุด

การเสื่อมสูญที่ปรากฏนี้ จึงเป็นการสะท้อนถึงหลักธรรม “ความไม่ประมาท” “ความไม่เที่ยงแท้” ได้เป็นอย่างดีว่าสรรพสิ่งในโลกนั้นล้วนแต่ไม่จีรัง ล้วนมีความเสื่อม จนกระทั่งอันตรธานไปในที่สุด แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็ยังต้องเผชิญกับความเสื่อมสูญนี้เช่นกัน

ไม่ว่าจะเป็นเป็นการเสื่อมสูญทางสังขารก็ดี หรือกระทั่งความเสื่อมสลายของศรัทธา ความเชื่อในพระธรรม คำสั่งสอนก็ดี ทุกสิ่งนี้ล้วนเป็นไปตามกฎของไตรลักษณ์คือ มีการเกิดขึ้น การคงอยู่ และการสูญไป

แม้ในช่วงของการเกิดขึ้นและคงอยู่นั้นจะมีความแตกต่างกัน แต่ท้ายที่สุดแล้วปลายทางของทุกสรรพสิ่งนั้นล้วนเหมือนกันคือ “ความเสื่อมสลายและอันตรธานหายไป”



พระพุทธเจ้า ประทับสีหไสยา เพื่อเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน


อ่านเพิ่มเติม :-

    • “สนทนากับเทวดา” วัตรปฏิบัติประจำวันของ “พระพุทธเจ้า” หมายถึงกิจอะไร?
    • “สูกรมัททวะ” พระกระยาหารมื้อสุดท้ายของพระพุทธเจ้า คืออะไรแน่ ?!?
    • “พระพุทธเจ้า” ปรินิพพานที่ใด ใช่ตามที่มหาปรินิพพานสูตรว่าไว้จริงหรือ?







ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : พร่างพนานต์ ช่วงพิทักษ์
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ.2568
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 6 มิถุนายน 2561
website : https://www.silpa-mag.com/culture/article_17624
14  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2025, 07:11:47 am
.



5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง

"ความเครียด"เป็นสภาวะของอารมณ์ของคนที่ต้องเจอกับปัญหาต่างๆ เกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน หลายครั้งที่เรามักจะเครียดโดยที่ไม่รู้ตัว เพราะคนเรามักจะแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดไม่เหมือนกัน เพราะเมื่อเกิดความเครียดเราจะแสดงออกมาทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และพฤติกรรม บางคนหงุดหงิดง่าย บางคนป่วยง่าย บางคนนอนไม่หลับ

วันนี้เราจะมาเผยวิธีง่ายๆ กำจัดความเครียด หากเรารู้วิธีจัดการและบรรเทาความเครียดต่างๆ เหล่านั้นได้ อย่างน้อยก็ช่วยให้เราพร้อมรับมือกับความเครียดได้มากขึ้นกันค่ะ

@@@@@@@

1. ออกกำลังกาย คลายเครียด

ถ้าเรารู้ตัวว่ากำลังเครียดอยู่ เราควรยืดเส้นสาย เดินขึ้นลงบันได เพื่อให้เราหลุดโฟกัสเรื่องเครียดบ้าง และออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายปลดปล่อยสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนความสุขออกมา อาจจะไม่ต้องถึงขั้นออกกำลังกายอย่างหนัก แค่เดินเล่น ขยับร่างกายนิดๆ หน่อยๆ ก็ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลายและสบายตัวมากขึ้นแล้ว

2. นั่งสมาธิ ฝึกจิต ลดเครียด

การจมอยู่กับความเครียดอาจทำให้เราไม่อยากทำอย่างอื่นเลย ดังนั้น การแก้ปัญหาง่ายๆ เมื่อรู้สึกวิตกกังวลมากเกินไป ลองฝึกสมาธิ สวดมนต์ไหว้พระ ฝึกกำหนดลมหายใจ จะช่วยให้เราสามารถคิดและพิจารณาสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีสติ ช่วยลดความวุ่นวายในใจ และช่วยให้เราสามารถรับมือกับสถานการณ์ที่แย่ได้อย่างมีความสุข

3. จัดสรรเวลาในชีวิตประจำวัน

ใครๆ ก็อยากมี Work Life Balance ที่นอกจากจะจัดสรรเวลาการทำงานได้แล้ว ก็ยังสามารถจัดการเวลาชีวิตส่วนตัวได้อีกด้วย หลังจากนั้นควรจะหยุดคิดเรื่องงาน ไม่ควรนำงานไปทำในขณะที่ใช้เวลาอยู่กับครอบครัว ให้โฟกัสเรื่องครอบครัว นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ นี่เป็นอีกวิธีที่จัดการกับความเครียด และช่วยให้เรามีความสมดุลและความสุขในการใช้ชีวิต

4. ผ่อนคลายด้วยการดูหนัง ฟังเพลง

เราต้องเอาตัวเองออกมาจากความเครียดก่อน เช่น การนอนดูหนัง ฟังเพลงสบายๆ หรือออกไปหากิจกรรมทำ ดีกว่านั่งจมกับความคิดเครียดๆ นอกจากจะช่วยให้สมองปลอดโปร่งแล้ว อาจจะทำให้เรากลับมาคิดแก้ไขปัญหาหรือเรื่องที่เราเครียดอยู่ได้อีกด้วย
 
5. ปรับเปลี่ยนความคิด

เมื่อเราตกอยู่ในความวิตกกังวลมากๆ มันอาจกลายเป็นความเครียดสะสม จนส่งผลให้เรารู้สึกทุกข์ใจ วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการกับสถานการณ์เช่นนี้คือลองปรับมุมมองของเรา โดยการมองเห็นปัญหาในมุมมองอื่นๆ อาจจะช่วยให้เราเห็นและแก้ไขปัญหาได้ง่ายขึ้น รวมถึงการยอมรับความผิดพลาดของเรา และตั้งใจที่จะแก้ไขมัน อาจจะทำให้เราหายเครียด รวมถึงไม่รู้สึกทุกข์ใจได้เร็วขึ้น





ขอขอบคุณ :-
บทความสุขภาพ : 5 ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง | โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/5-simple-tricks-to-manage-stress-yourself
15  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2025, 07:04:35 am
.



โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)

เคยรู้สึกว่าตัวเองมีอารมณ์แปรปรวน อารมณ์ร้าย สลับกับอารมณ์ดี จนส่งผลกระทบต่อการทำงาน หรือกระทบกับความสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างบ้างไหม ? เคยสงสัยไหมว่าอาการแบบนี้ถือว่าเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ หายเองได้ไหม ต้องไปหาหมอหรือเปล่า ? บทความนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับโรคไบโพลาร์ให้มากขึ้น

โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว (bipolar disorder) คืออะไร ?

“โรคไบโพล่าร์” (Bipolar Disorder) หรือโรคอารมณ์สองขั้ว คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล ทำให้ผู้ป่วยเกิดการแสดงออกของอารมณ์ที่ผิดปกติเป็นสองขั้ว คือ
    ซึมเศร้ามาก และคึกคักพุ่งพล่านมาก จึงเรียกโรคโบโพล่าร์ว่า “โรคอารมณ์สองขั้ว”
    ไม่ใช่เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย เดี๋ยวสนุกเดี๋ยวซึม อย่างที่หลาย ๆ คนชอบเข้าใจกัน

จากการศึกษาพบผู้ป่วยไบโพลาร์มากถึง 1.5-5 % ของประชาชนทั่วไป พบผู้ป่วยบ่อยที่สุดในช่วงอายุ 15-19 ปี และอายุ 20-24 ปี โดยผู้ป่วยมีอาการครั้งแรกก่อนอายุ 20 ปี มากถึง 50% โดยไบโพล่าเกิดจาก สาเหตุดังนี้

    1. ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ได้แก่ สารนอร์อะดรีนาลีน (Noradrenaline) สารเซโรโทนิน (Serotonin) และสารโดปามีน (Dopamine) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการทำงานในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอารมณ์

    2. พันธุกรรม ปัจจุบันยังไม่ทราบรูปแบบที่ชัดเจนของการถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์   แต่พบผู้ป่วยมักมีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคไบโพลาร์เช่นเดียวกัน

    3. วิกฤตชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก ตกงาน เครียดเรื้อรัง หรือเจ็บป่วยกะทันหัน ซึ่งส่งผลกระทบต่ออารมณ์อย่างรุนแรง





อาการอย่างไรจึงจะเรียกว่าไบโพล่าร์ ?

ผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์มักจะไม่รู้ตัวเองในช่วงที่เป็น เพราะอาการของไบโพล่าร์มี 2 ระยะ คือ

ระยะแมเนีย (Manic Episode) ผู้ป่วยจะมีความมั่นใจในตัวเอง คิดเร็ว ทำเร็ว ทำกิจกรรมต่าง ๆ มากมาย นอนน้อยลง ใช้เงินฟุ่มเฟือย ทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง ลงทุนแบบไม่ยั้งคิดจนอาจก่อหนี้สินมากมาย ก้าวร้าว มักก่อเรื่องทะเลาะวิวาท เช่น

    - รู้สึกคุณค่าตัวเองสูงเกินจริง บางครั้งคิดว่าตนเองเป็นใหญ่
    - ไม่หลับไม่นอน กระสับกระส่าย อยู่ไม่สุข
    - พูดมาก พูดไม่หยุด
    - คิดฟุ้งซ่าน จะทำโน่นทำนี่ คิดทำการใหญ่โต
    - วุ่นวาย กิจกรรมมาก อาจใช้จ่ายผิดปกติมาก
    - สัมพันธภาพกับผู้อื่นเสีย

ระยะซึมเศร้า (Depressive Episode) ผู้ป่วยจะมีอารมณ์ซึมเศร้า เบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร ขาดสมาธิ แยกตัว อยากอยู่นิ่ง ๆ อยากนอนทั้งวัน หรืออาจมีอาการนอนไม่หลับ บางครั้งกินมากหรือเบื่ออาหาร รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า อาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตายเกิดขึ้น เช่น

    - หมดความสนใจและความเพลิดเพลินลงมาก
    - เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน
    - ไม่หลับหรือหลับมากไป
    - อ่อนเพลีย ไม่มีเรี่ยวแรง
    - รู้สึกผิดหรือไร้ค่า ร้องไห้ง่าย
    - สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
    - คิดอยากตาย หรือการฆ่าตัวตาย


@@@@@@@

โรคไบโพล่าร์รักษาถูกทาง ก็หายได้

เนื่องจากนี่เป็นโรคที่เกิดจากสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ การรักษาไบโพล่าร์หลัก ๆ จึงจำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์จะให้ทานยาเพื่อปรับอารมณ์ให้คงที่ขึ้นอยู่กับชนิดของไบโพล่าร์ที่ผู้ป่วยเป็น แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด เพราะจิตแพทย์จะสามารถค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุที่ผู้ป่วยเกิดโรคไบโพล่าร์นอกเหนือจากกรรมพันธุ์ และจิตแพทย์ยังสามารถแนะนำวิธีดูแลผู้ป่วยโรคไบโพล่าร์ให้กับครอบครัวหรือคนใกล้ชิดในการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยได้อีกด้วย

ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการรักษาผู้ป่วยโรคนี้ และที่สำคัญที่สุดคือการทานยารักษาอย่างต่อเนื่อง ห้าม   หยุดยาเอง หรือลดยาโดยเด็ดขาด เพราะอาจทำให้โรครุนแรงกว่าเดิม และต้องเริ่มกระบวนการรักษาใหม่ตั้งแต่ต้น นอกจากนี้ผู้ป่วยที่รู้ตัวว่าป่วยควรหันมาดูแลตัวเอง ห้ามอดนอน ควบคุมเวลานอนหลับให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 6-8 ชั่วโมง พยายามหาวิธีแก้ปัญหา ลดความเครียด และควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลัง กาแฟ ห้ามใช้สารเสพติด สุรา ร่วมด้วย

โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ คือโรคความผิดปกติทางอารมณ์แบบหนึ่งที่เกิดจากสารเคมีในสมองไม่สมดุล จำเป็นต้องได้รับยาโดยแพทย์ แต่สิ่งสำคัญที่ควรทำควบคู่กันเพื่อผลดีในระยะยาวคือการทำจิตบำบัด หรือกิจกรรมบำบัด การรับมือกับการที่มีคนในบ้านเป็นไบโพลาร์ ครอบครัวและคนไกล้ตัวจึงสำคัญมาก สุดท้ายนี้อยากให้ทุกคนเข้าใจว่า ไบโพลาร์นั้นเป็นเพียงอาการป่วยรูปแบบหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ผู้ที่ป่วยไม่ได้แปลว่าเป็นบ้าหรือน่ารังเกียจ โดยโรคไบโพลาร์นี้สามารถรักษาให้หายได้ และผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตปกติในสังคมได้อย่างมีความสุขค่ะ


 


ขอขอบคุณ :-
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข กรมสุขภาพจิต
บทความสุขภาพ โรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/content-bipolar-disorder
16  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รัฐล้มเหลว (failed state) คืออะไร.? เมื่อ: พฤษภาคม 18, 2025, 01:04:13 pm
.



รัฐล้มเหลว (failed state) คืออะไร.?

รัฐล้มเหลว (failed state) หมายถึง รัฐที่ขาดความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ทางด้านความมั่นคงขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาประเทศ เช่น ความสามารถในการธำรงรักษาไว้ซึ่งความสงบเรียบร้อยภายใน ประกอบกับการบริหารปกครองประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

รัฐล้มเหลวมีลักษณะทั่วไป คือ รัฐที่มีรัฐบาลแต่ไม่สามารถ
    - จัดเก็บภาษี
    - บังคับใช้กฎหมาย
    - รับประกันความมั่นคง
    - ควบคุมเขตแดน
    - จัดสรรเจ้าหน้าที่ทั้งในทางการเมืองหรือทางแพ่ง และ
    - การบำรุงรักษาไว้ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานใด ๆ ได้

เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้น ก็จะมีแนวโน้มที่ส่งผลให้
    - เกิดการทุจริต
    - การก่ออาชญากรรม
    - การแทรกแซงของผู้มีอิทธิพลทั้งในภาครัฐและเอกชน
    - เกิดการลี้ภัยอพยพย้ายถิ่นฐานโดยไม่สมัครใจ
    - ความเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และ
    - การแทรกแซงทางการทหารจากทั้งภายในและภายนอกรัฐตามมา

@@@@@@@

คำ ๆ นี้เริ่มปรากฎให้เห็นช่วงคริสตทศวรรษที่ 1990 เพื่ออธิบายสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศโซมาเลีย หลังจากการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจ ไซอัด บาร์รี (Siad Barre) ที่เป็นผู้นำเผด็จการใน ค.ศ. 1991 ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวได้นำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ภายในประเทศ

ในช่วงต้น ค.ศ. 2020 ซีเรีย ซูดาน ซูดานใต้ โซมาเลีย พม่า มาลี เยเมน ลิเบีย สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก สาธารณรัฐแอฟริกากลาง อัฟกานิสถาน และ เฮติ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มที่เป็นรัฐล้มเหลว

ขณะที่ เลบานอน กับ แอฟริกาใต้ ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่สุ่มเสี่ยงเป็นรัฐล้มเหลวในอนาคต ฯ

ตัวชี้วัดอย่าง "ดัชนีรัฐล้มเหลว" ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายถึงระดับความสามารถในการบริหารปกครองประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะสำคัญระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาลโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการพิจารณาว่า รัฐนั้นเป็นรัฐล้มเหลวหรือไม่อย่างไร

ในปี ค.ศ. 2023 กองทุนเพื่อสันติภาพ ซึ่งเป็นองค์กรที่วิจัยปรากฎการณ์ในด้านนี้ได้ระบุว่ามี 12 ประเทศที่ถูกจัดหมวดหมู่ใน "ดัชนีรัฐเปราะบาง" ให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่สุ่มเสี่ยงเป็นรัฐล้มเหลวมากที่สุด การกำหนดให้รัฐใดนั้น "ล้มเหลว" อาจเป็นการตัดสินใจที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง และมีผลกระทบทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศอย่างมีนัยสำคัญ

@@@@@@@

คำนิยามและประเด็นปัญหา

คำว่า "รัฐล้มเหลว" ถือกำเนิดขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1990 ท่ามกลางบริบทของสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศโซมาเลีย หลังจากการรัฐประหารโค่นล้มอำนาจผู้นำเผด็จการ ไซอัด บาร์รี (Siad Barre) ใน ค.ศ. 1991

วลีดังกล่าว ได้รับความสนใจจากสื่อในช่วงที่สหรัฐอเมริกาเข้าแทรกแซงสถานการณ์ใน โซมาเลีย เมื่อปี ค.ศ.1992 เพื่อใช้แสดงออกถึง ความกังวลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่อำนาจอธิปไตยของกลุ่มประเทศยากจนจะล่มสลาย จนไปสู่สภาวะอนาธิปไตยหลังยุคสิ้นสุดของสงครามเย็น

ดังที่ โรเบิร์ต แคปแลน (Robert David Kaplan) ได้นำเสนอเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบใน ไลบีเรีย และ เซียร์ราลีโอน ซึ่งเป็นการเตือนภัยให้เห็นเกี่ยวกับ "อนาธิปไตยที่กำลังจะเกิดขึ้น" ในหลาย ๆ ประเทศ หลายภูมิภาค ทั่วโลก

ในทฤษฎีการเมืองของ มัคส์ เวเบอร์ (Max Weber) รัฐที่ทำหน้าที่รักษาและผูกขาดอำนาจในการใช้ความรุนแรงอย่างถูกต้องตามกฎหมายภายใต้ขอบเขตอำนาจอธิปไตยของตน เมื่ออำนาจดังกล่าวพังทลายลง (เช่น ผ่านการมีอยู่ของ พวกขุนศึก กองกำลังกึ่งทหาร ตำรวจที่ทุจริต องค์กรติดอาวุธ หรือ กลุ่มผู้ก่อการร้าย) การดำรงอยู่ของรัฐจะกลายเป็นที่น่าสงสัย และรัฐก็กลายเป็น รัฐล้มเหลว

ความยากลำบากในการพิจารณาว่า รัฐบาลรักษา "การผูกขาดการใช้กำลังโดยชอบด้วยกฎหมาย" ซึ่งรวมถึงปัญหาของคำจำกัดความของ "ชอบด้วยกฎหมาย" หรือไม่ หมายความว่ายังไม่ชัดเจนว่ารัฐสามารถกล่าวได้ว่า "ล้มเหลว" เมื่อใด ปัญหาความชอบธรรมสามารถแก้ไขได้ด้วยการทำความเข้าใจว่าเวเบอร์ตั้งใจอะไร


@@@@@@@

เวเบอร์อธิบายว่า มีเพียงรัฐเท่านั้นที่มีปัจจัยการผลิตที่จำเป็นสำหรับความรุนแรงทางร่างกาย ซึ่งหมายความว่ารัฐไม่ต้องการความชอบธรรมในการบรรลุการผูกขาดในการใช้ความรุนแรง ( โดยพฤตินัย ) แต่จะจำเป็นต้องมีหากจำเป็น (โดยนิตินัย)

โดยทั่วไปแล้ว คำนี้หมายความว่า รัฐไม่มีประสิทธิภาพ และไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน หรือจัดหาสินค้าและบริการขั้นพื้นฐานแก่พลเมืองของตนได้ ข้อสรุปว่า สถานะล้มเหลวหรือล้มเหลว สามารถสรุปได้จากการสังเกตลักษณะต่างๆ และการรวมกันดังกล่าว

ตัวอย่างของลักษณะดังกล่าว รวมถึง - แต่ไม่จำกัดเฉพาะ - การมีอยู่ของการก่อ ความไม่สงบ การทุจริตทางการเมือง ที่รุนแรง อัตราอาชญากรรมที่ล้นหลาม ซึ่งบ่งบอกถึงกำลังตำรวจที่ไร้ความสามารถ

ระบบราชการที่ไม่สามารถเจาะเข้าไปได้ และไม่มีประสิทธิภาพ ความไร้ประสิทธิภาพของตุลาการ การแทรกแซงทางทหารในการเมือง และการรวมอำนาจ โดยผู้มีบทบาทระดับภูมิภาคในลักษณะที่เป็นคู่แข่งหรือขจัดอิทธิพลของหน่วยงานระดับชาติ

ปัจจัยการรับรู้อื่นๆ อาจเกี่ยวข้องด้วย แนวคิดที่สืบทอดมาของ "เมืองที่ล้มเหลว" ก็ได้เปิดตัวเช่นกัน โดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดที่ว่า แม้ว่ารัฐอาจทำงานได้โดยทั่วไป แต่การเมืองในระดับย่อยอาจล่มสลายในแง่ของโครงสร้างพื้นฐาน เศรษฐกิจ และนโยบายทางสังคม พื้นที่หรือเมืองบางแห่งอาจอยู่นอกการควบคุมของรัฐ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐที่ไม่ได้รับการควบคุม โดยพฤตินัย





ไม่มีคำจำกัดความที่สอดคล้องกันหรือเชิงปริมาณของ "สถานะล้มเหลว" อยู่ ลักษณะที่เป็นอัตนัยของตัวชี้วัดที่ใช้ในการอนุมานความล้มเหลวของรัฐได้นำไปสู่ความเข้าใจที่คลุมเครือเกี่ยวกับคำนี้

นักวิชาการบางคนมุ่งเน้นไปที่ความสามารถและประสิทธิผลของรัฐบาลในการตัดสินว่า รัฐล้มเหลวหรือไม่ ดัชนีอื่นๆ เช่น ดัชนีรัฐเปราะบาง ของกองทุนเพื่อสันติภาพ ใช้การประเมินลักษณะทางประชาธิปไตยของสถาบันของรัฐเพื่อใช้ในการพิจารณาระดับความล้มเหลวในที่สุด

นักวิชาการคนอื่นๆ มุ่งความสนใจไปที่ความชอบธรรมของรัฐ ในธรรมชาติของรัฐ ในการเติบโตของความรุนแรงทางอาญาในรัฐ ในสถาบันที่สกัดกั้นทางเศรษฐกิจ หรือ ถึงขีดความสามารถของรัฐในการควบคุมอาณาเขตของตน


@@@@@@@

Robert H. Bates กล่าวถึงความล้มเหลวของรัฐว่าเป็น "การระเบิดของรัฐ" โดยที่รัฐเปลี่ยน "เป็นเครื่องมือในการปล้นสะดม" และรัฐสูญเสียการผูกขาดโดยใช้กำลังอย่างมีประสิทธิภาพ

Charles T. Call พยายามที่จะละทิ้งแนวคิดเกี่ยวกับความล้มเหลวของรัฐโดยสิ้นเชิง โดยให้เหตุผลว่าแนวคิดนี้ส่งเสริมความเข้าใจที่ไม่ชัดเจนเกี่ยวกับความหมายของความล้มเหลวของรัฐ ในทางกลับกัน คอลกลับใช้ "กรอบการทำงานช่องว่าง" เป็นทางเลือกในการประเมินประสิทธิผลของการบริหารงานของรัฐ กรอบการทำงานนี้สร้างขึ้นจากการวิพากษ์วิจารณ์ก่อนหน้านี้ของเขาเกี่ยวกับแนวคิดความล้มเหลวของรัฐ ซึ่งมีการสรุปอย่างกว้างๆ มากเกินไป

คอลจึงยืนยันว่า มักใช้ทฤษฎีนี้อย่างไม่เหมาะสมเพื่ออธิบายสถานการณ์ของรัฐต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วอยู่ภายใต้บริบทระดับชาติที่หลากหลายและไม่มีปัญหาที่เหมือนกัน การใช้การประเมินดังกล่าวเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบาย Call posits จะต้องรับผิดชอบต่อการกำหนดนโยบายและผลลัพธ์ที่ไม่ดี

@@@@@@@

ด้วยเหตุนี้ กรอบการทำงานที่เสนอของ Call จึงพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับความล้มเหลวของรัฐผ่านการประมวลผล "ช่องว่าง" สามประการในการจัดหาทรัพยากรที่รัฐไม่สามารถระบุได้เมื่ออยู่ในกระบวนการล้มเหลว ได้แก่ ขีดความสามารถ เมื่อสถาบันของรัฐขาดความสามารถอย่างมีประสิทธิผล ส่งมอบสินค้าและบริการขั้นพื้นฐานแก่ประชากร

การรักษาความปลอดภัย เมื่อรัฐไม่สามารถให้การรักษาความปลอดภัยแก่ประชาชน ภายใต้การคุกคามของกลุ่มติดอาวุธ และความชอบธรรมเมื่อ "ส่วนสำคัญของชนชั้นสูงทางการเมืองและสังคมของตน ปฏิเสธกฎเกณฑ์ที่ควบคุมอำนาจ และการสะสมและการกระจายความมั่งคั่ง"

แทนที่จะพยายามหาปริมาณระดับความล้มเหลวของรัฐ กรอบช่องว่างให้ขอบเขตสามมิติที่เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลและสังคมในรัฐด้วยวิธีการวิเคราะห์ที่มากขึ้น การเรียกร้องไม่จำเป็นต้องแนะนำว่ารัฐที่ได้รับความเดือดร้อนจากความท้าทายของช่องว่างทั้งสามควรถูกระบุว่าเป็นรัฐที่ล้มเหลว แต่นำเสนอกรอบการทำงานเป็นทางเลือกแทนแนวคิดความล้มเหลวของรัฐโดยรวม

แม้ว่า Call จะตระหนักดีว่า แนวคิดเรื่องช่องว่างในตัวเองมีข้อจำกัด เนื่องจากรัฐมักเผชิญกับความท้าทายด้านช่องว่างตั้งแต่สองข้อขึ้นไป ข้อเสนอแนวความคิดของเขานำเสนอวิธีการที่เป็นประโยชน์สำหรับการระบุความท้าทายภายในสังคมได้แม่นยำยิ่งขึ้น และการกำหนดนโยบายที่มีแนวโน้มว่าจะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพื่อให้ผู้มีบทบาทภายนอกและต่างประเทศนำไปปฏิบัติ

@@@@@@@

การวิพากษ์วิจารณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวทางในการทำความเข้าใจแนวคิด 'รัฐที่ล้มเหลว' และใช้เพื่อแจ้งการตัดสินใจเชิงนโยบายระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้รับการหยิบยกขึ้นมาในการวิจัยโดย Morten Bøås และ Kathleen M. Jennings จากกรณีศึกษา 5 กรณี ได้แก่ อัฟกานิสถาน โซมาเลีย ไลบีเรีย ซูดาน และบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนเจอร์ของไนจีเรีย

Bøås และ Jennings ให้เหตุผลว่า "การใช้ป้ายกำกับ 'รัฐที่ล้มเหลว' เป็นเรื่องการเมืองโดยเนื้อแท้ และตั้งอยู่บนพื้นฐานการรับรู้ของตะวันตกเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติตะวันตกและ ความสนใจ" พวกเขายังเสนอแนะอีกว่าผู้กำหนดนโยบายของชาติตะวันตกถือว่าป้าย "ล้มเหลว" มาจากรัฐเหล่านั้น ซึ่ง "ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่เป็นทางการของรัฐถูกมองว่า เป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของชาติตะวันตก"

นอกจากนี้ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นถึงความหน้าซื่อใจคดในหมู่ผู้กำหนดนโยบายของชาติตะวันตก: รูปแบบเดียวกันของการรับรู้ความผิดปกติที่นำไปสู่บางรัฐที่ถูกตราหน้าว่า ล้มเหลว กลับพบกับความไม่แยแสหรือถูกเร่งรัดโดยเจตนาในรัฐอื่น ๆ ที่ความผิดปกติดังกล่าวได้รับการประเมินว่า เป็นประโยชน์ต่อผลประโยชน์ของชาติตะวันตก

ในความเป็นจริง "คุณลักษณะของการทำงานของรัฐนี้ไม่เพียงได้รับการยอมรับเท่านั้น แต่ยังได้รับการอำนวยความสะดวกในระดับหนึ่งด้วย เนื่องจากจะสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยสำหรับธุรกิจและทุนระหว่างประเทศ กรณีเหล่านี้ไม่ได้ถูกตราหน้าว่า 'รัฐที่ล้มเหลว '




อ่านทั้งหมดได้ที่ :-
https://th.wikipedia.org/wiki/รัฐล้มเหลว
ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ้ค พรรคประชาชน - People's Party
https://www.facebook.com/groups/624624994798005/posts/1775498553043971/
17  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ย้อนรอย กรรมวิธีสร้างพระสมเด็จฯ เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2025, 07:10:31 am
.



ย้อนรอย กรรมวิธีสร้างพระสมเด็จฯ

ในการสร้างพระสมเด็จฯ นั้นประกอบด้วยปัจจัยหลัก 4 อย่าง คือ แม่พิมพ์พระ มวลสารวัตถุดิบ ช่าง และกรรมวิธีการสร้าง การทำความเข้าใจถึงปัจจัยเหล่านี้ อาจจะช่วยให้ผู้ศึกษาได้เข้าใจถึงรูปลักษณะที่ควรจะเป็นของพระสมเด็จฯ รวมถึงยังสามารถเข้าใจถึงที่มาที่ไปขององค์พระสมเด็จฯ ในเชิงเหตุและผลตามหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิชาการอีกด้วย ในบรรดาปัจจัยทั้ง 4 อย่างนี้ กรรมวิธีการสร้างเป็นเรื่องที่ยากที่สุด เพราะมีรายละเอียดมากและหลักฐานอ้างอิงมีน้อย ในการทำความเข้าใจจึงต้องหาข้อมูลอ้างอิงจากปัจจัยอีก 3 ปัจจัยที่เหลือ

@@@@@@@

การรู้ถึงลักษณะของแม่พิมพ์พระบอกถึงกรรมวิธีการสร้างได้อย่างไร

• แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ

แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงมาตรฐานนั้นสร้างจากวัสดุที่มีความแข็ง เช่น หินสบู่ โดยจากการพบหลักฐานแผ่นแม่พิมพ์หินสบู่ที่มีการแกะลวดลายเพื่อสร้างงานศิลปกรรมในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4–5 มักพบว่าช่างจะแกะลวดลายลงในหินแผ่นเดียวกันจนเต็มเนื้อที่ โดยที่จะไม่มีการตัดแบ่งหินสบู่ออกเป็นชิ้นเล็กๆ เพื่อทำเป็นแม่พิมพ์ขนาดเล็กหนึ่งชิ้นต่อหนึ่งลวดลาย ซึ่งอาจจะเกิดจากความไม่สะดวกเนื่องด้วยความแข็งของหินสบู่ อีกทั้งยังไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำเช่นนั้น การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จวัดระฆังฯ จึงน่าจะทำในลักษณะใกล้เคียงกัน โดยเป็นการแกะลวดลายองค์พระแบบกลับด้าน โดยแกะทีละองค์เป็นจำนวนหลายองค์ลงบนแผ่นหินขนาดใหญ่พอควร

ลักษณะของแม่พิมพ์หินสบู่ที่มีขนาดใหญ่ มีผลโดยตรงต่อกรรมวิธีสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ โดยวิธีการที่เหมาะสมน่าจะเป็นการนำมวลสารผงศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ตามคติการสร้าง มาผสมตำโขลกให้เข้ากันตามสูตรที่กำหนดไว้ แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนขนาดพอเหมาะ แล้วจึงกดประทับลงบนแม่พิมพ์ โดยก่อนที่จะกดน่าจะต้องมีการโรยหรือทาแม่พิมพ์ด้วยวัสดุที่ทำให้เนื้อวัตถุดิบไม่เกาะติดกับแม่พิมพ์ (ตรียัมปวาย เรียกว่าแป้งโรยพิมพ์) เพื่อให้ถอดองค์พระออกจากแม่พิมพ์ได้โดยง่ายและยังเป็นการยืดอายุแม่พิมพ์อีกด้วย

มวลสารพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นเป็นวัตถุดิบที่ทรงคุณค่าผ่านพิธีกรรมที่พิถีพิถันเข้มขลัง โดยเฉพาะผงวิเศษ 5 ประการ อันประกอบด้วย ผงปัถมัง ผงอิธะเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ ผงตรีนิสิงเห นั้นเกิดจากการที่ท่านเจ้าประคุณฯ ได้เขียนหัวใจพระคาถาต่างๆ ลงบนกระดานชนวนแล้วลบออก ทำซ้ำหลายขั้นตอนกว่าที่จะได้มา จึงควรที่จะต้องใช้อย่างคุ้มค่าที่สุด อีกทั้งวัตถุดิบมวลสารที่เมื่อผสมน้ำมันตังอิ้วแล้วนั้น ถ้าทิ้งไว้นานจะเริ่มแข็งตัวทำให้นำมาใช้ไม่ได้อีก จึงต้องเตรียมไว้ในจำนวนที่เหมาะสมไม่มากหรือน้อยเกินไป





• แม่พิมพ์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

เมื่อคราวสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม เมื่อปี พ.ศ. 2413 นั้น นอกจากแม่พิมพ์หินสบู่ที่นำมาสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมด้วยแล้วนั้น “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขออนุญาตนำเสนอว่า น่าจะมีการสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมด้วยแม่พิมพ์ที่ทำจากไม้ด้วยเช่นกัน โดยแม่พิมพ์ชนิดนี้จะเป็นแม่พิมพ์ขนาดเล็กพอดีกับองค์พระ และที่สำคัญคือ การสร้างพระสมเด็จฯ ด้วยแม่พิมพ์ชนิดนี้นั้นเป็นการสร้างโดยการนำแม่พิมพ์กดลงบนเนื้อพระซึ่งแตกต่างจากการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่เป็นการกดเนื้อพระลงบนแม่พิมพ์ การที่บอกว่าเป็นแม่พิมพ์ไม้นั้น ก็ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

เหตุผลแรก ในการสร้างพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้น เสมียนตราด้วง ต้นตระกูลธนโกเศศ ต้องการสร้างพระจำนวนมากด้วยความเร่งรีบ เพื่อนำไปบรรจุในองค์พระเจดีย์ใหญ่ และน่าจะมีการสร้างแม่พิมพ์ขึ้นเป็นจำนวนมากพอสมควรเช่นกัน แม่พิมพ์ที่แกะจากไม้นั้นทำได้สะดวกรวดเร็วกว่าแม่พิมพ์ที่ทำจากหิน แต่อาจจะมีความคมชัดและความงดงามประณีตน้อยกว่า และเมื่อแกะแม่พิมพ์เสร็จแล้วยังสามารถตัดแบ่งไม้เป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาดเล็กตามขนาดองค์พระได้สะดวก (แม่พิมพ์หินที่ใช้สร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ค่อนข้างยากที่จะตัดแบ่งเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมชิ้นเล็กและยังไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องทำเช่นนั้น)

เหตุผลที่สอง เมื่อสังเกตพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมจำนวนหนึ่งแล้ว มักจะเห็นเป็นขอบปลิ้นบริเวณเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์ (เส้นกรอบสี่เหลี่ยมครอบซุ้มผ่าหวาย) ที่มักจะมีการตัดขอบองค์พระบริเวณแนวนั้นพอดี

ในขั้นตอนการแกะแม่พิมพ์ไม้นั้น ตามทฤษฎีของช่างสิบหมู่หรือช่างหลวง เส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์เกิดจากการที่ช่างได้ขูดเส้นแนวตั้งและแนวนอนเป็นกรอบสี่เหลี่ยม เพื่อกำหนดโครงร่าง โดยจะแกะเส้นซุ้มผ่าหวายและองค์พระให้อยู่ภายในกรอบโครงร่างนี้ เมื่อแกะพระเสร็จแล้ว ช่างจะทำการตัดแม่พิมพ์ไม้แบ่งออกเป็นแม่พิมพ์กรอบสี่เหลี่ยมชิ้นเล็ก โดยมักจะตัดขอบแม่พิมพ์ไม้ตามแนวเส้นกรอบบังคับพิมพ์หรือกว้างกว่าเล็กน้อย

พระสมเด็จบางขุนพรหมจำนวนมากที่องค์พระเมื่อทำเสร็จแล้วจะมองไม่เห็นเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์ แต่มองเห็นเป็นขอบปลิ้นแทน แต่อาจมีบางองค์ที่ยังมีเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์ปรากฏให้เห็นอยู่ เช่น ที่มักเห็นในพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ หรือพระบางองค์ที่ช่างตัดขอบห่าง (อาจจะตัดห่างจากขั้นตอนการตัดขอบแม่พิมพ์ไม้ หรือตัดห่างจากขั้นตอนการตัดขอบองค์พระ) จึงทำให้รู้ว่า ช่างมีการขูดเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์ไว้เช่นกัน

ขอบปลิ้นที่มักจะมองเห็นบริเวณขอบองค์พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่เมื่อกดแม่พิมพ์ลงบนเนื้อพระที่รองรับอยู่เบื้องล่าง แรงกดด้วยมือจะทำให้แม่พิมพ์พระจมลงไปในเนื้อพระ เป็นลักษณะของการห่อแม่พิมพ์เอาไว้ จะมากน้อยแล้วแต่แรงกด เมื่อยกแม่พิมพ์ขึ้นจะเกิดแรงดึงจากเนื้อพระทำให้พระบางองค์ที่มีเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์เหลืออยู่เกิดเป็นสันนูนขึ้นมากกว่าเดิม (พระสมเด็จพระวัดระฆังฯ นั้นเส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์จะมีความนูนอยู่ระดับหนึ่ง บางองค์จะนูนมากเป็นพิเศษ อาจจะเกิดจากการขูดเส้นของช่างหรืออาจจะเกิดจากการยุบตัวของพื้นผิวด้านใน บางท่านเรียกเส้นนี้ว่า เส้นลวดกันลาย)

และที่สำคัญมากคือบริเวณที่เป็นขอบแม่พิมพ์ที่เป็นระนาบต่างระดับไม่ถูกแม่พิมพ์กดลงไป โดยช่างมักจะใช้ของมีคมเช่นมีด ตัดขอบพระตามรอยขอบแม่พิมพ์นี้ เพื่อเอาเนื้อเกินบริเวณรอบองค์พระออกไป (อาจจะเป็นการตัดโดยการลากมีดจากมุมหนึ่งไปอีกมุมหนึ่งขององค์พระ หรือเป็นการลงมีดตัดลงไปตรงๆ พร้อมกันทั้งแนว บางครั้งพบว่ามีการลงมีดแบะออก ทำให้พื้นผิวหน้าพระแคบกว่าพื้นผิวด้านหลังองค์พระ) รอยปลิ้นที่เกิดขึ้นนี้ มาจากเนื้อบริเวณขอบแม่พิมพ์ที่ไม่ถูกแม่พิมพ์กดลงไป เมื่อถูกคมมีดตัดตามรอยขอบนี้จะทำให้เนื้อปลิ้นเข้ามาด้านในองค์พระ ถ้าช่างวางใบมีดให้ด้านล่างแบะออกด้านข้างก็จะทำให้รอยปลิ้นม้วนเข้าด้านในองค์พระมากขึ้น

เหตุผลประการที่สาม ลักษณะด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังฯ ถ้าแบ่งตามทฤษฎีของนิรนาม ผู้ชำนาญการพระเครื่อง ที่เขียนอธิบายในหนังสือ พรีเชียส ของผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และหนังสืออาณาจักรพระเครื่องของอาจารย์ปรีชา เอี่ยมธรรมนั้น จะแบ่งออกเป็น 4 แบบคือ แบบหลังเรียบ หลังกระดาน หลังกาบหมาก และหลังสังขยา

แต่เมื่อพิจารณาลักษณะด้านหลังของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมส่วนใหญ่แล้วจะเป็นลักษณะของหลังเรียบ อาจจะมีลักษณะปลีกย่อยเป็นแบบอื่นบ้าง แต่โดยรวมแล้วต้องถือว่าเป็นลักษณะของหลังเรียบ เป็นเครื่องช่วยยืนยันว่าเป็นการกดแม่พิมพ์พระลงบนเนื้อพระที่อยู่ด้านล่างซึ่งวางอยู่บนวัสดุที่มีความราบเรียบ ไม่ใช่เป็นการกดพระจากด้านหลังไปด้านหน้าด้วยวัสดุที่แตกต่างกันเหมือนการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ที่จะทำให้ลักษณะด้านหลังองค์พระมีความแตกต่างกันออกไป

@@@@@@@

• การตัดขอบองค์พระ

อาจารย์ประจำ อู่อรุณ กรุณาให้ความเห็นว่า การตัดขอบของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น เป็นไปได้ทั้งสองแบบ อาจจะเป็นการตัดจากด้านหลังไปด้านหน้าองค์พระ โดยตัดขณะที่ยังไม่แกะพระออกจากแม่พิมพ์ การตัดแบบนี้อาจจะทำให้ตัดได้ไม่สวยงามนัก อาจชิดไปหรือห่างไปเนื่องจากไม่เห็นองค์พระขณะตัด (มีความเป็นไปได้ว่าเช่นกันว่าอาจจะมีการทำเส้นบอกแนวให้ตัดบนแผ่นแม่พิมพ์หินสบู่) หรืออาจจะเป็นการตัดขอบจากด้านหน้าไปด้านหลังกรณีที่แกะพระออกจากแม่พิมพ์แล้ว

โดยก่อนที่จะตัดจะต้องรอให้เนื้อพระมีความหมาดตัวพอสมควร ถ้าตัดในขณะที่เนื้อพระเปียกไปหรือแห้งไปอาจจะทำให้รูปทรงออกมาผิดเพี้ยนมากเกินไป สำหรับการตัดขอบพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม ถ้าวิเคราะห์แบบแม่พิมพ์ไม้ข้างต้นนั้นจะเป็นการตัดจากด้านหน้าองค์พระไปด้านหลัง

มีข้อสังเกตว่าบริเวณขอบด้านหลังของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้นมักจะไม่ปรากฏรอยปริกระเทาะ ส่วนในพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น บางองค์จะปรากฏให้เห็นรอยปริกระเทาะหรือที่บางท่านเรียกว่ารอยปูไต่ “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขออนุญาตนำเสนอแนวทางในการอธิบายดังนี้ว่า พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่สร้างจากแม่พิมพ์ไม้นั้น เป็นการกดเนื้อพระโดยใช้แรงกดจากด้านหน้าองค์พระไปด้านหลังองค์พระ ในขณะที่พระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นเป็นการกดเนื้อพระโดยใช้แรงกดจากด้านหลังองค์พระไปด้านหน้า เนื้อพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมนั้นมีความแก่ปูนซึ่งมีคุณสมบัติในการยึดเกาะตัว

แต่เนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้นมีส่วนผสมของมวลสารต่างๆ มากมายซึ่งเมื่อผสมเข้าไปแล้วจะลดทอนคุณสมบัติในด้านการยึดเกาะตัวของปูนทำให้เกิดการปริกระเทาะได้ง่ายกว่า มีความเป็นไปได้ว่าการปริกระเทาะที่ขอบด้านหลังของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น เกิดจากการตัดขอบองค์พระ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการตัดจากด้านหน้าไปด้านหลังหรือจากด้านหลังไปด้านหน้า น่าจะมีโอกาสทำให้เกิดการกระเทาะที่ด้านหลังองค์พระได้เช่นกัน





• ลักษณะของพื้นผิวพระสมเด็จฯ เมื่อสร้างเสร็จ

อาจแบ่งได้เป็น 3 โซน กรณีของพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น

โซนที่หนึ่ง คือ พื้นผิวพระที่เกิดจากแรงกดบนเนื้อพระให้แนบสนิทกับผิวแม่พิมพ์ แรงกดประเภทนี้เริ่มต้นจากการกดลงตรงๆ จากด้านหลังพระโดยอาจจะใช้อุปกรณ์ช่วยกดเช่นแผ่นไม้กระดาน แต่เมื่อเนื้อพระลงไปในบล็อกแม่พิมพ์แล้วแรงกดจะมาจากทุกทิศทาง จากลักษณะของการออกแบบแม่พิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแอ่งมีการลาดเทและกรอบบังคับพิมพ์ พื้นผิวในโซนนี้จะมีความเรียบแน่นตัวมากเป็นพิเศษ (การที่พบการปริกระเทาะเฉพาะที่ด้านหลัง ไม่พบที่ด้านหน้าองค์พระสมเด็จวัดระฆังฯ อาจจะเกิดด้วยสาเหตุนี้ก็ได้) ความเหนียวเกาะตัว และความละเอียดของเนื้อปูนวัตถุดิบ รวมถึงแรงกดไล่ฟองอากาศ มีผลโดยตรงกับความเรียบของพื้นผิว ในส่วนของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่ทำจากแม่พิมพ์ไม้นั้นการแน่นตัวของเนื้อพระจะแตกต่างกันมาก

โซนที่สอง คือ พื้นผิวด้านหลังองค์พระ กรณีพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น เป็นพื้นผิวที่เกิดจากแรงกดลงในทิศทางเดียว โดยกดผ่านอุปกรณ์ช่วยเช่นแผ่นไม้กระดานหรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดลักษณะเฉพาะต่างๆ เช่นแบบ หลังเรียบ หลังกระดาน หลังกาบหมาก และหลังสังขยา พื้นผิวด้านหลังจะได้รับแรงกดที่แน่นพอสมควรแต่ไม่เท่าพื้นผิวด้านหน้า เนื่องจากขณะกดจะมีการถ่ายแรงไปด้านข้างตามการปลิ้นตัวของเนื้อพระด้วย ในส่วนของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่ทำจากแม่พิมพ์ไม้นั้นจะมีความคล้ายกัน เนื่องจากขณะกดจะมีการถ่ายแรงไปด้านข้างเช่นกัน

โซนที่สาม คือพื้นผิวด้านข้างที่เกิดจากแรงตัดเฉือน พื้นผิวที่เกิดจากแรงแบบนี้จะไม่เกิดความแน่นตัวที่เกิดจากการตัด อาจจะเกิดรอยแยกจากการตัดหรือไม่เกิดก็ได้ การตัดพระจากด้านหน้าไปด้านหลัง หรือจากด้านหลังไปด้านหน้าสังเกตจากพื้นผิวด้านนี้ได้ไม่ยาก และสามารถที่จะสังเกตเห็นความเหนียวเกาะตัวและความละเอียดเดิมๆ ของเนื้อพระก่อนกดประทับลงบนแม่พิมพ์จากพื้นผิวโซนนี้ได้ชัดเจนกว่าโซนอื่น ในส่วนของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมที่ทำจากแม่พิมพ์ไม้นั้นจะมีความคล้ายกัน

เมื่อตัดขอบเสร็จแล้วจึงนำมาวางผึ่งไว้ให้แห้งตัวระยะหนึ่ง หลังจากนั้นอาจจะมีการรักษาผิวพระด้วยวัสดุที่ใช้ในการรักษาผิวพระเพื่อป้องกันการสึกหรอจากการโดนน้ำหรือเหงื่อ เช่นมีการลงรัก ซึ่งรักมีอยู่หลายประเภทเช่นรักดำ รักน้ำเกลี้ยง หรืออาจทาด้วยน้ำว่าน น้ำหมาก หรือยางไม้บางชนิด พระบางองค์อาจจะมีการปิดทองล่องชาด อาจารย์ประกิต หลิมสกุล หรือพลายชุมพล แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรุณาให้ข้อมูลว่า ในสมัยก่อนพระสมเด็จฯ ที่มีการล่องชาดมักจะถูกมองว่าไม่แท้ แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกัน

จากนั้นจึงนำเข้าสู่พิธีปลุกเสกใหญ่ด้วยคาถาชินบัญชรอันลือเลื่องของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตเป็นขั้นตอนต่อไป

@@@@@@@

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่เพจ พระสมเด็จศาสตร์ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูป พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ครู อีกองค์หนึ่ง เพื่อให้ความรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของพระท่านปัจจุบัน

พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม องค์ตำนาน ที่งดงามมากอีกองค์หนึ่ง เนื้อหนึกนุ่ม มีเม็ดพระธาตุปรากฏให้เห็นหลายจุด มีรอยรูพรุนเข็ม พื้นผนังองค์พระปรากฏรอยหนอนด้นที่เป็นเอกลักษณ์ของเนื้อพระวัดระฆังฯ พิมพ์ทรงถูกต้องตามตำรา สังเกตเห็นรอยขูดแม่พิมพ์เป็นจงอยปากนกที่มุมขวาล่างองค์พระ ตัดขอบพอดีกรอบบังคับแม่พิมพ์ เส้นกรอบบังคับแม่พิมพ์มีลักษณะนูนเด่นเป็นพิเศษ ด้านหลังเป็นแบบกระดาน มีขอบปริกระเทาะที่แสดงถึงธรรมชาติความเก่า เป็นองค์ต้นแบบที่ดีเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : พ.ต.ต.คมสัน สนองพงษ์ อดีตตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
เพจเฟสบุ๊ค – พระสมเด็จศาสตร์
อ่านคอลัมน์ ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ เพิ่มเติม
website : https://www.thairath.co.th/lifestyle/amulet/2858195
14 พ.ค. 2568 ,10:50 น. | ไลฟ์สไตล์ > พระเครื่อง | ไทยรัฐออนไลน์
18  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สัพเพ ปุถุชชนา อุมมัตตกา : “ปุถุชนทั้งหลายมีภาวะวิกลจริต” เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2025, 11:37:49 am
.
 :25: :25: :25:

ความเข้าใจแนวพุทธ เกี่ยวกับความผิดปกติทางจิตใจ
โดย จําลอง ดิษยวณิช พบ., M.S.
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ที่มา : วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2551 ; 53(3) : 243-255



 :49:

บทคัดย่อ

ตามหลักคําสอนในพุทธศาสนา มีโรคอยู่สองชนิด คือ โรคทางกาย และโรคทางใจ มนุษย์ทุกคน เป็นโรคทางใจหรือความผิดปกติทางจิตใจด้วยกันทั้งนั้น ยกเว้นพระอรหันต์ ผู้ทําลายอาสวะกิเลสได้โดยสิ้นเชิง

ในจิตวิทยาตะวันตกโดยเฉพาะอย่างยิ่งจิตวิเคราะห์ ฟรอยด์ (Freud) ไม่เชื่อในเรื่องของ สุขภาพจิตที่สมบูรณ์ที่สุด และยังได้ยืนยันว่า มนุษย์ทุกคนไม่สามารถขจัดความขัดแย้งในจิตไร้สํานึก และความวิตกกังวลสากลได้

ตามทรรศนะทางพุทธศาสนา แรงขับในจิตไร้สํานึกและความวิตกกังวล พื้นฐานมีสาเหตุมาจากกิเลสที่เป็นรากเหง้าในส่วนลึกของจิตใจ พระอรหันต์คืออริยะบุคคลที่บรรลุ ความมีสุขภาพจิตที่สูงและสมบูรณ์ที่สุด เพราะว่ากิเลสอย่างละเอียด (อนุสัย) ในจิตใจ ได้ถูกขจัดออกไปอย่างหมดสิ้น

ในมุมมองแนวพุทธ สาเหตุของความผิดปกติทางจิตใจหรือ “อุมมัตตกะ” ในภาษาบาลีมีอยู่ 8 อย่าง ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจมีผลทําให้เกิดอาการบ้า วิกลจริต หรือโรคจิต สาเหตุเหล่านี้ได้แก่

     1) กามุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับความอยาก (โลภะ)
     2) โกธัมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริต ที่สัมพันธ์กับความโกรธ (โทสะ)
     3) โมหุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับความหลง (โมหะ)
     4) ทิฏฐมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับความเห็นผิด
     5) ปิตตุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่ สัมพันธ์กับโรคทางร่างกาย
     6) สุขุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับสุราและสารเสพติดอื่นๆ
     7) พยสนุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับเคราะห์ร้ายหรือการสูญเสีย และ
     8) ยักขุมมัตตกะ คือ ภาวะวิกลจริตที่สัมพันธ์กับภูติผีหรือปีศาจร้าย

ปัจจุบันมีการจําแนกโรคออกเป็นสามชนิด คือ โรคทางกาย โรคทางจิตใจ และโรคทางจิตวิญญาณ
.
ความหมายเดิมของโรคทางใจ (mental disease) ในคําสอนทางพุทธศาสนาสอดคล้องกับความหมายของโรคทางจิตวิญญาณ (spiritual disease) เนื่องจากโรคทางใจหรือโรคทางจิตวิญญาณ เกิดจากความยึดมั่น ในเบญจขันธ์ (อุปาทานขันธ์) และอนุสัยกิเลส
.
วิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคนี้ คือ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ตามแนวสติปัฏฐานสี่

                                                     - จบบทคัดย่อ -





 :25: :25: :25:

ในมุมมองทางพุทธศาสตร์มีโรคอยู่สองอย่าง คือ โรคทางกายและโรคทางใจ มนุษย์ทุกคนเป็นโรคทางใจ ด้วยกันทั้งนั้น ยกเว้นพระอรหันต์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ในสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตว่า

    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย โรค 2 อย่างนี้ 2 อย่างเป็น ไฉน คือ โรคทางกาย 1 โรคทางใจ 1”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคด้วยโรคทางกายตลอดปีหนึ่งมีปรากฏ ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคตลอด 2 ปีบ้าง 3 ปีบ้าง 4 ปีบ้าง 10 ปีบ้าง 20 ปีบ้าง 30 ปีบ้าง 40 ปีบ้าง 50 ปีบ้าง ผู้ปฏิญาณความไม่มีโรคแม้กว่า 100 ปีบ้าง มีปรากฏ”
    “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใด ปฏิญาณความไม่มีโรคทางใจแม้ครู่หนึ่ง สัตว์เหล่านั้น หาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ (ผู้สิ้นอาสวะกิเลส) เท่านัน”
(1,2-)

ความหมายของโรคทางใจหรือความผิดปกติทางจิตใจ

คําว่า “อาสวะ” ตามศัพท์หมายถึง “influx” ซึ่งแปลว่า การไหลบ่าเข้ามา หรือการทะลักเข้ามา กล่าวคือ เป็นการทะลักเข้าของกิเลสสู่จิตใจเมื่อประสบ กับอารมณ์ต่างๆ จนกลายเป็นสิ่งหมักดองอยู่ในส่วนลึก ของจิตใจ มีอยู่สี่อย่าง คือ
    (1) กามาสวะ อาสวะ คือ กาม
    (2) ภวาสวะ อาสวะ คือ ภพ
    (3) ทิฏฐาสวะ อาสวะ คือ ทิฏฐิ และ
    (4) อวิชชาสวะ อาสวะ คือ อวิชชา

จากคําสอนของพระพุทธเจ้า โรคทางใจหรือความผิดปกติทางจิตใจถือว่าเป็นความแปรปรวนทางจิตอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจิตใจมีความสัมพันธ์กับ อาสวะกิเลส ดังนั้นมนุษย์ทุกคนในโลกนี้รวมทั้ง พระอริยบุคคลบางประเภทนับตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกทาคามี จนถึงพระอนาคามีล้วนแต่เป็นโรคประเภทนี้ทั้งสิ้น ยกเว้นพระอรหันต์ ผู้สามารถทําลายอาสวะ ทั้งสี่อย่างได้โดยสิ้นเชิง

@@@@@@@

แนวคิดของสุขภาพในจิตวิทยาตะวันตก

สุขภาพ คือ คุณภาพชีวิตอย่างหนึ่ง ซึ่งยากที่จะ ให้คําจํากัดความหรือนิยาม นอกจากนั้นยังไม่สามารถ ที่จะวัด (ประเมิน) ให้เห็นได้ชัดเจน องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขยายนิยามของคําว่าสุขภาพเดิมเมื่อ 50 ปีที่แล้ว โดยเสนอแนะว่า

    “สุขภาพ คือ ภาวะ เชิงพลศาสตร์ (หรืออันตรกิริยา) ของความสุขสมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียง แต่ความปราศจากโรค หรือทุพพลภาพเท่านั้น” (4,5-)

จิตวิญญาณ คือ ส่วนที่เพิ่มเข้ามาในมุมมองของสุขภาพ ยิ่งกว่านั้นการสํารวจขององค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับคําบรรยายของสุขภาพ ยังได้ขยายจุดความสนใจจากเรื่องโรคไปยังการกระทําหรือหน้าที่และมุมมองเชิงบวก อื่นๆ ของสุขภาพ สิ่งหนึ่งคือคุณภาพชีวิตซึ่งสามารถ ประเมินได้อย่างชัดเจนโดยบุคคลแต่ละคนที่เกี่ยวข้อง ในการวางสูตรของนโยบายสุขภาพดีถ้วนหน้าในศตวรรษ ที่ 21 องค์การอนามัยโลกยังได้รวมเรื่อง จริยธรรม ความเที่ยงธรรม (สมธรรม) และสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ที่สําคัญเข้าไว้ด้วย(4-)

ตัวแบบองค์รวมได้ให้นิยามของ “สุขภาพ” ในลักษณะที่เกี่ยวข้องกับคนทั้งคน ไม่ใช่เป็นแต่เพียง ส่วนของร่างกายที่เกิดโรค ตัวแบบนี้ครอบคลุมทั้งในส่วน ของสรีรวิทยา จิตใจ อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งมุมทางสิ่งแวดล้อมของบุคคล ครอบครัว และชุมชน มีการมุ่งเน้นไปที่เรื่องของสุขภาพที่เหมาะสมที่สุด ภาวะปกติ การป้องกันโรค รวมทั้งภาวะทางจิตใจ และอารมณ์ที่ดี (6,7-)

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้มีความพยายาม ที่สอดคล้องกันในการให้นิยามของคําว่า สุขภาพ (health) และภาวะปกติ มีความเข้าใจที่บอกเป็นนัยว่า สุขภาพจิต หมายถึง สิ่งที่ตรงกันข้ามกับโรคทางใจ หรือความผิดปกติทางจิตใจ เมื่อวางสมมติฐานไว้เช่นนี้ ความไม่มีจิตพยาธิวิทยาที่ชัดเจนมักจะได้รับการยอมรับว่า เหมือนกับบุคลิกภาพปกติ ดังนั้นแนวคิดเช่นนี้ จึงถูกจํากัดขอบเขตโดยการให้นิยามของสุขภาพจิตว่า เป็นแต่เพียงความปราศจากโรคทางใจหรือความผิดปกติทางจิตใจ (8-)

ซึ่งในมุมมองหนึ่ง ภาวะปกติก็เหมือนกับสุขภาพ สุขภาพก็เป็นปรากฏการณ์อย่างหนึ่งของคนเรา ผลที่ ตามมา คือ พฤติกรรมที่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติเกิดขึ้น เมื่อไม่มีอาการหรืออาการแสดงของความแปรปรวน ทางจิตใจ ในแบบที่ง่ายที่สุด คนที่มีสุขภาพจิตดี คือ คนที่ไม่มีความทุกข์ ความอึดอัดใจและความพิการ (ทั้งทางร่างกายและจิตใจ)

ในอีกมุมมองหนึ่งภาวะปกติถือว่า เป็นอุตมรัฐ (Utopia) คําว่า “Utopia” เป็นดินแดนหรือภาวะใน จินตนาการที่มีทุกสิ่งทุกอย่างสมบูรณ์ที่สุด สามารถมองได้ว่าภาวะปกติเป็นส่วนผสมขององค์ประกอบที่แตกต่าง ในอุดมคติที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ที่สุดนั้นมิใช่เป็นแต่เพียง กันหลายรูปแบบของจิตใจที่ลงเอยด้วยการกระทําที่ เหมาะสมที่สุด แนวทางเช่นนี้คือการแสวงหาบุคคลใน อุดมคติที่มีภาวะปกติที่สัมบูรณ์ (absolute normality)

อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงภาวะปกติในมุมมองเช่นนี้ ซิกมุนด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) กล่าวว่า “อัตตา หรือตัวตนที่ปกติก็เหมือนกับภาวะปกติโดยทั่วไป คือ เป็นแต่เพียงสิ่งสมมุติตามอุดมคติเท่านั้น” ฟรอยด์ ไม่เชื่อในเรื่องของภาวะปกติสัมบูรณ์หรือสุขภาพจิต สมบูรณ์ที่สุด และยังได้ยืนยันว่ามนุษย์ทุกคนไม่สามารถ ทําให้ตนเองเป็นอิสระจากความขัดแย้งในจิตไร้สํานึก ได้ ในจิตวิเคราะห์ความวิตกกังวล (anxiety) เป็น ปรากฏการณ์สากลและไม่มีทางที่มนุษย์จะทําลายอาการเชิงจิตวิสัยนี้ได้อย่างสิ้นเชิง ความเป็นสากลของโรคประสาท และความขัดแย้งในจิตไร้สํานึกเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ (9-11-)

@@@@@@@

บุคคลในอุดมคติที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์ทีสุด

โดยรวม “สุขภาพจิต คือ ภาวะของความผาสุก ทางอารมณ์และจิตใจ ซึ่งบุคคลสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีความสุขกับสิ่งแวดล้อมทางสังคม ประสบผลสําเร็จส่วนตัวตามที่ปรารถนาไว้ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น และสามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ได้ อย่างน่าพึงพอใจ” ในพุทธศาสนา ภาวะของสุขภาพจิต มีส่วนสัมพันธ์กับระดับของกิเลสภายในจิตใจ

นอกจากนั้นสิ่งที่เรียกว่า “ความวิตกกังวลสากล” หรือ “ความวิตกกังวลพื้นฐาน” มีสาเหตุมาจากความยึดมั่น ในตัวตนที่เป็นรากเหง้าและฝังลึกอยู่ในจิตใจ ความเชื่อ ใน “ฉัน” “ของฉัน” “เธอ” “ของเธอ” อัตตาหรือตัวตน แม้จะก่อให้เกิดความรู้สึกของความมั่นคงในระดับหนึ่ง แต่ก็เป็นสาเหตุสําคัญของความวิตกกังวล (2-)

ดังนั้นผู้ที่มี สุขภาพจิตดีหรือสมบูรณ์ที่สุด คือ ผู้ที่สามารถขจัดกิเลส ภายในจิตใจได้ทั้งหมด ตามแนวนี้จะเห็นได้ว่า บุคคลในอุดมคติที่มีสุขภาพจิตสมบูรณ์มิใช่เป็นแต่เพียงเรื่องเพ้อฝัน หรือจินตนาการเท่านั้น แต่เป็นความจริง พระอรหันต์คือผู้ที่มีสุขภาพจิตดี และสมบูรณ์ที่สุด โดยการที่ท่านได้ทําลายอาสวะกิเลสให้หมดไปโดยสิ้นเชิง และไม่มีความยึดมั่นในตัวตนอีกต่อไป

@@@@@@@

แนวคิดเชิงพุทธของความผิดปกติทางจิตใจ

ในพุทธศาสนาความเครียด ความวิตกกังวล และปฏิกิริยาทางอารมณ์ ถือว่าเป็นปัญหาทางจิตใจ เพราะว่าสิ่งเหล่านี้มักจะนําไปสู่ความทุกข์ ความเศร้าใจ ความคับข้องใจ และความสิ้นหวัง ถ้าเราไม่รู้วิธีที่ จะจัดการได้อย่างฉลาด สิ่งเหล่านี้ยังทําให้เกิดผลเสีย ต่อสุขภาพกายและจิตได้ สิ่งดังกล่าวมีต้นตอมาจากกิเลส ซึ่งในจิตวิทยาแนวพุทธถือว่าเป็นสาเหตุของความทุกข์สากล (universal suffering)

กิเลสทางใจมีอยู่ 10 อย่าง ที่เรียกว่า กิเลส  เพราะว่า กิเลสทําให้ตัวเองเศร้าหมอง และยังทําให้สิ่งที่ประกอบกับจิตหรือเจตสิกเศร้าหมองด้วย กิเลสเหล่านี้ ได้แก่
     (1) โลภะ ความอยากได้
     (2) โทสะ ความคิดประทุษร้าย
     (3) โมหะ ความหลง
     (4) มานะ ความถือตัว
     (5) ทิฏฐิ ความเห็นผิด
     (6) วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย
     (7) ถีนะมิทธะ ความหดหู่
     (8) อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน
     (9) อหิริกะ ความไม่ละอาย และ
     (10) อโนตตัปปะ ความไม่เกรงกลัวต่อความชั่ว (3,12-)

กิเลสเป็นสาเหตุของ อกุศลกรรม ซึ่งสุดท้ายก็จะนําไปสู่อกุศลวิบาก (3-)

คําว่า กิเลส มาจากภาษาบาลี และมีความหมาย เพราะว่าลักษณะสองอย่าง คือ ทรมาน และเผาไหม้ เฉพาะของกิเลส คือ การทรมานและการเผาไหม้ ผู้ที่ ตกเป็นทาสจึงได้รับความทุกข์จากผลเสียที่เกิดขึ้น กิเลส เป็นสาเหตุของปัญหาหลายอย่างในโลกนี้ ตัวอย่างเช่น ในกรณีของความโลภหรือตัณหา เมื่อตัณหาไม่ได้รับการตอบสนองก็จะเกิดการเผาไหม้ หรือการทรมานใจ และทําให้เกิดความรู้สึกของความขัดข้องใจ เมื่อใครไม่ได้สิ่งในสิ่งที่ตนต้องการก็จะเกิดความทุกข์อย่างที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้ในอริยสัจสี่

ในทางตรงกันข้าม เมื่อตัณหาได้รับการตอบสนอง สิ่งนี้ก็จะนํา ไปสู่ตัณหาและอุปาทานที่เพิ่มมากขึ้น และผลสุดท้าย ก็ทําให้เกิดปัญหาทางจิตใจ ร่างกาย หรือจิตวิญญาณ นานัปการ เมื่อความรู้สึกโกรธหรือเกลียดแสดงออก มาโดยขาดสติ (ความระลึกได้) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มักทําให้เกิดผลเสียในสัมพันธภาพ กับผู้อื่นและสังคม เมื่อความรู้สึกเช่นนี้ถูกระงับหรือ ถูกเก็บกดเอาไว้ก็จะมีไฟภายในเกิดขึ้น ซึ่งอาจมีผลทําให้เกิดความรู้สึกซึมเศร้า (depression) หรือโรคทางกายเหตุจิต (psychosomatic disorders) (4-)

กิเลสเหล่านี้และเจตสิก (สิ่งที่ประกอบกับจิต) ฝ่ายอกุศลเป็นสาเหตุที่สําคัญของความผิดปกติทางจิต ซึ่งบางทีเรียกว่าโรคทางใจหรือความแปรปรวนทางจิตใจ ตามทรรศนะของพุทธศาสนามีสาเหตุของความผิดปกติทางจิตอยู่ 8 อย่าง ซึ่งในรายที่มีอาการรุนแรง อาจทําให้ เกิดความบ้า อาการวิกลจริต หรือโรคจิต ซึ่งเรียกว่า อุมมัตตกะ

คําว่า “อุมมัตตกะ” มาจากภาษาบาลี ซึ่งหมายถึง “ความบ้า วิกลจริต โรคจิต หรือความไร้สติ ความหมายที่แท้จริงของ “อุมมัตตกะ” คล้ายกับ คําว่า “โรคจิต (psychotic disorder)” ในจิตเวชศาสตร์ สมัยใหม่

อย่างไรก็ตามในจิตวิทยาแนวพุทธอุมมัตตกะ ไม่ใช่หมายถึง เฉพาะโรคจิตเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึง ความแปรปรวนทางจิตใจชนิดต่างๆ ด้วย อุมมัตตกะ มีอยู่ 8 ชนิด ดังต่อไปนี้ (13-15-)


(ยังมีต่อ..)
19  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เสพข่าวมากเกินไป สุขภาพจิตพัง ระวัง Headline Stress Disorder เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2025, 08:33:17 am
.



เสพข่าวมากเกินไป สุขภาพจิตพัง ระวัง Headline Stress Disorder

ช่วงนี้เสพข่าวมากเกินไปรึเปล่า..เช็คด่วน เสพข่าวจนตาเป็นหมีแพนด้าแล้วใช่ไหม ? รู้ตัวอีกทีก็สว่างซะแล้ว!! ข่าวและเนื้อหาต่าง ๆ ที่เผยแพร่ในสื่อและโซเชียลมีเดีย สร้างความเศร้า ความเครียดไม่รู้ตัว ที่มากเกินไปอาจจะทำให้เกิดอาการเครียดสะสม หรือที่เรียกว่าอาการ “Headline Stress Disorder”

ภาวะ Headline Stress Disorder คือ ?

Headline stress disorder ไม่ใช่ชื่อโรคร้ายแรงใด ๆ  แต่เป็นคำที่ใช้เรียกภาวะเครียดหรือวิตกกังวลมากที่เกิดขึ้นจากการเสพข่าวทางสื่อต่าง ๆ ที่มากเกินไป  โดยเฉพาะบนโซเชียลมีเดียที่เปิดให้คนอ่านข่าวได้ตลอด 24 ชม. จนเกิดเป็นความกังวลจนเกินพอดี หรือที่เรียกว่าอาการ Panic นั่นเอง

ส่งผลเสียอย่างไร ?

การเสพข่าวหดหู่มากไปสามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจได้มากและหลายระบบ ซึ่งถ้าปล่อยไว้ อาจส่งผลต่อการเกิดโรคบางอย่างได้ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า อาการที่บ่งชี้ว่าอาจเกิดภาวะ Headline stress disorder เช่น

    -ใจสั่น
    - แน่นหน้าอก
    - นอนไม่หลับ
    - วิตกกังวล
    - ซึมเศร้า
    - โกรธ





ใครคือกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นภาวะ Headline Stress Disorder ?

    • คนที่เหนื่อยล้าทั้งทางจิตใจหรือร่างกายอยู่แล้ว เช่น อาจกำลังเครียดเรื่องงาน ครอบครัว การเรียน พักผ่อนไม่เพียงพอ เจ็บป่วย อยู่นั้น อารมณ์จะอ่อนไหวง่าย เมื่อมาเสพข่าวที่หดหู่ก็จะเครียดได้ง่าย
    • คนที่มีโรควิตกกังวลหรือซึมเศร้าอยู่แล้ว จะถูกกระตุ้นได้ง่ายจากการเสพข่าวที่หดหู่
    • คนที่ใช้เวลาอยู่ในโลกออนไลน์เยอะ ก็มีโอกาสที่จะรับรู้ข่าวทั้งที่จริงและปลอม ทั้งดีและร้ายได้เยอะ
    • คนที่ขาดวิจารณญาณในการเสพข่าว อาจจะเป็นด้วยวัย วุฒิภาวะ หรือบุคลิกภาพ มีแนวโน้มจะเชื่อพาดหัวข่าวในทันทีที่เห็นได้ง่าย

@@@@@@@
 
วิธีจัดการความเครียดจากการเสพข่าวหดหู่ทั่วไปด้วยตนเอง

    1. จำกัดเวลาในการเสพข่าว เคร่งครัดกับเวลาที่กำหนดไว้
    2. หากเครียดมากอาจงดเสพข่าวหรือใช้สื่อสังคมออนไลน์ไปสักพัก
    3. อย่าเชื่อพาดหัวข่าวที่เห็นในทันที เพราะพาดหัวข่าวมักใช้คำที่กระตุ้นอารมณ์เพื่อดึงดูดให้คนสนใจ แนะนำให้อ่านรายละเอียดของข่าวด้วย
    4. ตรวจสอบข่าวก่อนจะเชื่อ อ่านข่าวจากสื่อที่เชื่อถือได้ เพราะปัจจุบันมีการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์กันมาก
    5. หากเป็นข่าวด่วนอาจรอสักหน่อยให้มีข้อมูลและความจริงมากขึ้นแล้วค่อยอ่านในรายละเอียดข่าว
    6. พยายามมองหาสิ่งที่ดีในข่าวที่อ่านบ้าง ทุกอย่างมีทั้งด้านดีและร้ายเสมอ
    7. อ่านข่าวที่ดีต่อใจบ้าง อย่าเสพแต่ข่าวที่หดหู่
    8. อย่าเสพข่าวก่อนนอน เพื่อให้สมองได้พักและหลับได้ดี
    9. ทำกิจกรรมคลายเครียด ผ่อนคลายบ้าง อย่าเอาแต่ติดตามข่าวทั้งวัน เช่น การดูหนัง ฟังเพลง ปลูกต้นไม้ เพื่อให้ชีวิตเกิดความบาลานซ์
  10. พูดคุยกับคนอื่นบ้าง การหมกมุ่นกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งคนเดียวจะยิ่งทำให้จมกับความคิดลบ ๆ ได้ง่าย
  11. หากทำตามคำแนะนำข้างต้นแล้วยังเครียดมากอยู่ ให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น สายด่วนสุขภาพจิต 1323 หรือ chatbot 1323 หรืออาจไปปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์


@@@@@@@

สุดท้ายอยากฝากไว้สักนิดว่าการรับรู้ข่าวสารเป็นเรื่องที่ดี แต่หากรับรู้มากเกินไปจะทำให้เกิดอารมณ์ร่วม ซึ่งข่าวบางข่าวอธิบายเหตุผลได้ไม่ครบ 100% เราจึงต้องมีสติ เพราะเรื่องราวที่เราได้รู้อาจจะไม่ใช่ทั้งหมด เราเลือกที่จะไม่อินกับมันได้ ถ้าหากเริ่มอินกับข่าวมากเกินไปลองหากิจกรรมอื่นทำเพื่อให้ผ่อนคลายลดอาการเครียดลงบ้างนะคะ






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : กรมสุขภาพจิต
บทความโดย : โรงพยาบาลพริ้นซ์ สุวรรณภูมิ
https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/headline-stress-disorder
20  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / “ทำไมพระพุทธศาสนาในไทยจึงมี ๒ นิกาย” คำถามของฝรั่งต่อ หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2025, 07:59:53 am
.



“ทำไมพระพุทธศาสนาในไทยจึงมี ๒ นิกาย” คำถามของฝรั่งต่อ "หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร"

ครั้งหนึ่ง มีฝรั่งอเมริกันคนหนึ่งซึ่งศึกษาพระพุทธศาสนาในไทยมาพอสมควร ได้ตั้งคำถามต่อเจ้าประคุณ สมเด็จพระญาณวชิโรดม (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร) คำถามเป็นภาษาอังกฤษและตรงไปตรงมาแบบคนต่างชาติว่า “ทำไมพระพุทธศาสนาในประเทศไทยจึงแบ่งออกเป็น ๒ นิกาย ทั้งที่มีพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวกัน นิกายทั้งสองมีเป้าหมายต่างกันอย่างไร”

หลวงพ่อวิริยังค์ไม่ตอบทันที เพียงแต่ยิ้ม แล้วถามกลับด้วยคำถามง่าย ๆ ว่า “แล้วทำไมระบบการเมืองในอเมริกาจึงมี ๒ พรรค คือ พรรครีพับลิกันกับพรรคเดโมแครต ทั้งที่เป็นประเทศเดียวกัน ทั้งสองพรรคมีเป้าหมายต่างกันไหม”

ฝรั่งนิ่งไปครู่หนึ่งก่อนตอบว่า “ไม่ต่างครับ เป้าหมายคือพัฒนาประเทศให้เจริญและให้ประชาชนมีความสุข”

หลวงพ่อตอบกลับว่า “พระพุทธศาสนาในประเทศไทยที่มี ๒ นิกาย ก็ไม่ต่างจากระบบการเมืองของอเมริกานั่นแหละ”

ฝรั่งยกมือไหว้แล้วกล่าวว่า “เข้าใจแล้วครับ”


@@@@@@@

วาทะอันเฉียบคมของหลวงพ่อวิริยังค์ สามารถจบคำถามของคนทั้งโลกไว้ในประโยคเดียวเท่านั้น ในขณะเดียวกันก็เปิดประตูให้เห็นความจริงอีกขั้นหนึ่งว่า ความหลากหลายในพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องแปลก ถ้าเข้าใจว่าแก่นธรรมะมิได้แบ่งแยกด้วยชื่อนิกาย แต่เป็นมนุษย์ต่างหากที่ตีความและจัดรูปแบบต่างกันตามเวลา สถานที่ และจริตของผู้ปฏิบัติ

ในพระไตรปิฎก ไม่ได้มีบันทึกว่าพระพุทธเจ้าทรงจัดตั้ง “นิกาย” ขึ้นมาแต่อย่างใด พระองค์เพียงแต่ทรงแสดงธรรมโดยตรงแก่เวไนยสัตว์ตามจริต โดยไม่มีระบบ ไม่มีสังกัด ทรงวางไว้เพียงสิ่งเดียวก็คือ “ธรรมวินัย” และตรัสไว้ชัดเจนในมหาปรินิพพานสูตรว่า “ธรรมวินัยจักเป็นศาสดาแทนเรา” เมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว

หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วราว ๓ เดือน ได้มีการประชุมพระสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์จำนวน ๕๐๐ รูป ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ ในการสังคายนาครั้งที่ ๑ เพื่อรวบรวมคำสอนให้เป็นหมวดหมู่ โดยเฉพาะธรรมะที่ได้ยินจากพระอานนท์และพระวินัยที่พระมหากัสสปะตรวจสอบจากการปฏิบัติของหมู่สงฆ์ พระเถระเหล่านั้นไม่ได้แก้ไข แต่ทบทวนเพื่อรักษาธรรมะของเดิมไว้ให้บริสุทธิ์ ไม่ให้แปรปรวนไปตามความเห็นส่วนตน

ต่อมาอีกราว ๑๐๐ ปี ได้เกิดกรณีความเห็นต่างในธรรมวินัยบางข้อ จนนำไปสู่การสังคายนาครั้งที่ ๒ ได้มีการประชุมพระสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์จำนวน ๗๐๐ รูป ณ เมืองเวสาลี พระภิกษุกลุ่มหนึ่งต้องการผ่อนปรนเรื่องเล็ก ๆ เช่น การเก็บเงินไว้ใช้ การฉันอาหารเกินเวลา เป็นต้น ขณะที่อีกฝ่ายยืนยันในความเคร่งครัดตามธรรมวินัยเดิม





ความเห็นต่างนี้เอง ที่กลายเป็นรอยแยกครั้งสำคัญของคณะสงฆ์ ที่เป็นออกเป็น ๒ กลุ่มใหญ่ ได้แก่ “สถวีระวาท” (ผู้ยึดตามพระวินัยเคร่งครัด) และ “มหาสังฆิกะ” (ผู้เน้นความยืดหยุ่น) ซึ่งต่อมากลายเป็นรากฐานของเถรวาทและมหายานในปัจจุบัน

เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปยังอินเดียตอนเหนือ จีน ทิเบต ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะการปฏิบัติย่อมเปลี่ยนไปตามภาษา วัฒนธรรม และแนวคิดในแต่ละท้องถิ่น จึงเกิดการตีความใหม่ มีการแปลพระไตรปิฎกหลายภาษา และการเพิ่มคำอธิบาย ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นความพยายามของผู้ศรัทธาที่ต้องการเข้าถึงธรรมะ แต่แปลความออกมาในแนวทางต่างกันไป

ในประเทศไทยเอง พระพุทธศาสนาเถรวาทได้ตั้งมั่นในยุคสุโขทัย แต่เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๓ และรัชกาลที่ ๔ มีการปฏิรูปคณะสงฆ์โดยรัชกาลที่ ๔ จนเกิดเป็น “ธรรมยุติกนิกาย” ซึ่งเน้นความเคร่งครัดในวินัย การสวดภาษาบาลีให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และการอ้างอิงพระไตรปิฎกตามแนวบาลี ขณะที่ “มหานิกาย” ซึ่งเป็นนิกายเดิม ยังคงมีจำนวนมากกว่าและยืดหยุ่นในบางจุดตามจารีตไทย

แม้ทั้งสองนิกายจะแตกต่างกันในรายละเอียดของการปฏิบัติ เช่น วิธีสวด การบวช หรือแนวทางการฝึกอบรม แต่ยึดมั่นในพระไตรปิฎกฉบับเดียวกัน ถือศีล ๒๒๗ ข้อเท่ากัน เคารพพระพุทธเจ้าพระองค์เดียวกัน และมีเป้าหมายสูงสุดร่วมกันคือ “นิพพาน”

@@@@@@@

นิกายจึงไม่ใช่การแบ่งแยกพระพุทธศาสนา เปรียบเสมือนเส้นทางขึ้นสู่ยอดเขาที่ต่างกัน แต่ทั้งหมดมุ่งสู่ยอดเขาลูกเดียวกัน นั่นคือ “ความหลุดพ้นจากกิเลส” ฉะนั้น เมื่อใดที่ยึดนิกายมาเป็นเครื่องแบ่งแยก แสดงว่า เมื่อนั้นอาจจะเดินออกจากทางสายกลางของพระพุทธศาสนาโดยไม่รู้ตัวก็ได้

การที่หลวงพ่อวิริยังค์ ใช้คำถามเรื่องการเมืองอเมริกันมาเปรียบเทียบกับนิกายในพระพุทธศาสนา จึงไม่ใช่แค่การยกตัวอย่างเปรียบเปรย แต่เป็นการให้กรอบความคิดใหม่ว่า ความต่างกันไม่ใช่ความขัดแย้ง แต่คือธรรมชาติของความคิดมนุษย์ซึ่งเป็นปุถุชนต่างหาก

ความต่างที่ไม่ละเมิดธรรมวินัย ย่อมไม่เป็นภัย ยิ่งกว่านั้น หากความต่างนี้ยังนำไปสู่ความสงบ เย็น และพ้นทุกข์ ก็ย่อมเป็นสิ่งที่ควรเคารพเช่นกัน

ฉะนั้น ไม่ว่าจะยึดนิกายไหนก็ตาม ตราบใดที่ชาวพุทธยังเจริญภาวนาเพื่อลดอัตตา ปฏิบัติเพื่อฝ่าฟันกับกิเลส และยึดธรรมวินัยเป็นหลัก แสดงว่าได้อยู่ในกระแสของพุทธศาสนาโดยแท้จริง เพราะธรรมะไม่ได้แบ่งนิกาย แต่ใจของคนต่างหากที่ชอบแบ่งโน่นนี่นั่น นั่นเอง





ขอขอบคุณ :-
บทความ : คัดลอก เรียบเรียง และสรุปจากเรื่องเล่าจากแพทย์ไทยในอเมริกา เล่าให้คณะกฐินสามัคคีจากประเทศไทยฟัง ณ วัดราชธรรมวิริยาราม ๓ เมืองเอ็ดมันตัน รัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๗ ถ่ายทอดต่อโดย มนต์ชัย เทียนทอง
ภาพจาก : https://upload.wikimedia.org/ , https://cheewajit.com/
21  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ว่าด้วย จิตตก เมื่อ: พฤษภาคม 13, 2025, 07:15:19 am
.



พุทธภาษิตสอนใจ : "จิตตก"

หลายคนเข้าใจว่า เป็นภาวะที่จิตใจย่ำแย่ สับสน วุ่นวาย คิดมาก แต่ในความเป็นจริง หมายถึง จิตที่คิดอกุศล หรือคิดในทางไม่ดี ซึ่งจิตที่คิดในทางไม่ดีมี ๓ อย่างเท่านั้น คือ

   (๑) คิดโลภ อยากมี อยากได้เกินความเป็นไปได้
   (๒) คิดอาฆาต พยาบาท เคียดแค้น ผูกเวร
   (๓) คิดผิด (มิจฉาทิฏิ) คิดอคติ

ความคิดที่เป็นอกุศล หรือคิดไม่ดี ถือว่าเป็นความคิดที่ต่ำกว่ามาตรฐาน หรือว่าต่ำกว่าเกณฑ์ ต่ำกว่าปกติ ยิ่งเอามาคิดมากเท่าไร ก็ยิ่งทำร้ายสุขภาพจิตมากเท่านั้น

ดังนั้น เพื่อสุขภาพจิตที่ดีของตัวเราเอง จึงควรระวังอย่าให้ "จิตตก" และหากจิตเราคิดสูงกว่ามาตรฐาน โดยไม่คิดอกุศลทั้ง ๓ อย่าง หรือ หันมาฝึกคิดสิ่งที่เป็นกุศลทั้ง ๓ อย่างแทน ภาวะที่คิดว่าจิตตก คือ ย่ำแย่ สับสน วุ่นวาย คิดมาก ก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน





ขอบคุณ : https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=9498
บทความประจำวัน | พุทธพจน์ - "จิตตก" | วันที่ 01 กย. พ.ศ.2558





ดวงตก แต่จิตไม่ตก

ในทางพุทธเป็นเรื่องจริง เป็นวาระที่วิบากแห่งบาปกรรมเก่าเล่นงาน เป็นสิ่งที่แสดงอยู่ในลายมือ, DNA และดวงดาว เป็นอะไรที่วัดใจว่า คนคนหนึ่งดวงตกแล้ว จะทำกรรมอะไรต่อ

บางตำราถึงขั้นกล่าวว่า ช่วงดวงตกถึงขีดสุด บาปเคราะห์ทุกชนิดดาหน้ามาประชุมกัน แม้ทำคุณคนก็ทำไม่ขึ้น ต้องเจอเนรคุณ ไปสะเดาะเคราะห์ที่วัดก็เกิดอุบัติเหตุ ทำให้จิตตก พยายามไกล่เกลี่ยกับศัตรู ก็โดนซ้ำเติม พูดง่ายๆ เหมือนชีวิตไม่เหลืออะไรดีสักอย่าง

@@@@@@@

มาทำความเข้าใจแบบพุทธกัน ดวงตกมีหลายแบบ แต่ละแบบเกิดจากบาปเก่าคนละชนิด และมี ‘บุญใหม่’ ที่สมน้ำสมเนื้อกันช่วยได้เสมอ

     ประเภทแรก ดวงตกทั่วไป คือ วิบากของบาปเล็กน้อย เกิดจากการเคยรบกวนจิตใจคนอื่นนิดหน่อย
เลยถูกรบกวนจิตใจนิดหน่อยบ้าง เช่น เคยขโมยของไม่สำคัญถึงเวลาบาปเผล็ดผล ของไม่สำคัญก็โดนขโมย ทำให้หงุดหงิด อารมณ์เสียเข้าให้บ้าง แต่ไม่ได้ก่อความเสียหายใดๆให้ชีวิต จึงไม่ต้องพยายามแก้ดวงใดๆ ลืมเมื่อไหร่ ก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย

     ประเภทที่สอง ดวงตกแบบยกให้ขึ้นง่าย คือ วิบากของบาปปานกลาง ประทุษร้ายคนอื่นเขาไว้แบบชั่วครั้งชั่วคราว พอเขาขอความเมตตาให้ละเว้น ก็ใจอ่อนละเว้นให้ เช่นนี้ เมื่อบาปเผล็ดผล แม้หนักก็ไม่สุด หรือพยายามวิ่งเต้นแก้ไขได้ไม่ยาก เป็นต้นว่า เกิดเรื่องเกิดราว ส่อเค้าว่าจะต้องติดคุก ทว่าเพียงแก้ต่างหรือแก้ตัว อธิบายที่มาที่ไป อุทธรณ์ขอความเมตตาจากศาลหรือคณะลูกขุน ก็ได้รับความเห็นใจ บรรเทาโทษ หรือปล่อยตัวไป เป็นต้น

     ประเภทสุดท้าย ดวงตกแบบยกขึ้นยาก หรือเจอแต่ทางตัน มืดแปดด้าน คือ วิบากของบาปที่ทำไว้หนัก หรือยืดเยื้อยาวนาน เช่น ปล้นแบบยกเค้า ไม่เหลืออะไรไว้เลย ไม่เห็นใจเจ้าทรัพย์เลย หรือทำร้ายจิตใจใครโดยหวังให้เขาเจ็บช้ำแรมปี เขาขอเลิกราก็ไม่ยอมอ่อนข้อให้ เช่นนี้ เมื่อบาปเผล็ดผล ก็มักเป็นชะตาชีวิตที่ล็อกไว้เหมือนไม่มีสิ่งใดช่วยได้ คล้ายมีใครแอบกลั่นแกล้ง แบบไม่เปิดช่องให้ทำอะไรได้ดีขึ้น


@@@@@@@

ขนาดอยากทำบุญ ยังโดนบั่นทอนกำลังใจราวกับภูตผีปิดกั้นทางไป ในระดับดวงตกสุดขีด ไม่ใช่ไม่มีบุญใหม่ช่วยได้ แต่เป็นบุญภายใน ไม่ใช่บุญภายนอก กล่าว คือ เมื่อทำอะไรให้คนอื่นแล้วไม่ได้ผล หรือเหมือนมีอุปสรรคขัดขวางบุญตลอด ก็ให้ทำบุญกับจิตตัวเองดูบ้าง

การทำบุญกับจิตตัวเองแบบพุทธ คือ บุญขั้นสูงสุด ตั้งต้นจากการทำความเข้าใจว่า กายนี้ ใจนี้ ถือกำเนิดจากพ่อแม่คู่นี้ เพราะกองบุญกองบาปในชาติก่อนๆ เป็นตัวกำหนดยุติธรรมที่สุดแล้ว ได้รับความเป็นธรรมที่สุดแล้ว เกิดใหม่ทุกครั้ง คือ การหลงยึดเหยื่อ คือ กายใจในอัตภาพใหม่ทุกครั้ง เมื่อหลงยึด ก็หลงสะสมบุญ สะสมบาป เป็นเหตุให้เกิดกายใจใหม่ไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

เมื่อทำไว้ในใจอย่างนี้แล้วทุกข์บรรเทาลง ก็เรียกว่า สติเกิด โดยมีฐานเป็นความเชื่อ ความศรัทธา และเมื่อรู้เข้ามา ในภาวะทางกายใจอันไม่น่าเอา อาจนับเริ่มจากมีสติเห็นความทุกข์ในวันดวงตก เห็นว่า ทุกข์หนึ่งๆ ไม่ได้เกิดเองลอยๆ แต่เกิดเพราะมีเหตุบีบคั้น เห็นว่าทุกข์นั้นๆ ตั้งอยู่ไม่นานก็เสื่อมลงไปเอง ทุกข์ไม่ใช่ของเรา ทุกข์ไม่ใช่ตัวเราจะเลี้ยงไว้ก็ไม่ได้ ต้องหายไปเป็นธรรมดา

เมื่อเห็นทุกข์ทางใจไม่เที่ยงได้บ่อยๆ อุปาทานยึดกายยึดใจก็เบาบางลง เช่นนั้น ก็ทราบชัดกับตนว่า ดวงตกแต่จิตไม่ตก ก็เหมือนดวงขึ้น และเป็นดวงขึ้นทางธรรมขั้นสูงสุดด้วย ใครทำได้ ก็เรียกว่า สติเกิด โดยมีฐานเป็นปัญญา





ขอบคุณที่มา : https://www.facebook.com/dungtrin/posts/ดวงตกในทางพุทธเป็นเรื่องจริงเป็นวาระที่วิบากแห่งบาปกรรมเก่าเล่นงานเป็นสิ่งที่แสด/3481971888526611/
Facebook Dungtrin · 30 กันยายน 2020
22  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / แผ่เมตตา - จินตนาการ แปรพลังสู่การเยียวยา เมื่อ: พฤษภาคม 12, 2025, 07:34:10 am
.



แผ่เมตตา - จินตนาการ แปรพลังสู่การเยียวยา (๑)
ผู้เขียน : เทียนสี | หมวด : ประสบการณ์ชีวิต
source : https://peacefuldeath.co/แผ่เมตตา-จินตนาการ-2/



 :25: :25: :25:

วิธีการคลายเครียดด้วยลมหายใจตามคำแนะนำของ ดร.จอห์น แมคคอนแนล ซึ่งจะช่วยให้เราหลุดพ้นจากวงจรความคิดความรู้สึกวิตกกังวลอันเป็นสาเหตุของความเครียด เพราะเกิดสติรู้ตัวอยู่กับปัจจุบันขณะ ทำให้จิตใจสงบนิ่ง ผ่องใส มีพลัง สามารถนำสตินั้นมารับรู้ ทำความเข้าใจ และยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น รวมทั้งมองเห็นลู่ทางที่จะทำได้ ณ ขณะนั้นอย่างเป็นจริงมากขึ้น

นอกจากนี้ เมื่อจิตนิ่ง มีสติ ความเมตตาจะผุดขึ้นในใจอย่างเป็นธรรมชาติ และเราสามารถนำพลังเมตตานี้มาเยียวยาตัวเองได้อีกด้วย

ดร.จอห์นแนะนำว่า เราสามารถบ่มเพาะความเมตตาให้เกิดขึ้นในใจได้ด้วยการแผ่เมตตาสม่ำเสมอหลังจากนั่งสมาธิ โดยใช้เวลาประมาณ ๕ - ๑๐ นาที อาจใช้บทสวดแผ่เมตตาทางศาสนาก็ได้ แต่ไม่ควรสวดแบบท่องตามไปเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่ซาบซึ้งกับความหมาย หรือจะคิดคำแผ่เมตตาของตัวเองเพื่อให้ตรงกับความคิดความรู้สึกของเรา ซึ่งคำพูดอาจจะแตกต่างกันไปตามเป้าหมาย วัตถุประสงค์ หรือสิ่งที่เราตั้งใจในแต่ละโอกาส ขึ้นกับสถานการณ์หรือภาวะจิตใจของเรา ณ ขณะนั้น คำแผ่เมตตาที่ดีควรมีลักษณะดังนี้ค่ะ

    - เป็นคำที่มีความหมายสากล สั้น เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน แผ่ให้ตัวเองและผู้อื่นได้ง่ายๆ
    - เป็นสิ่งที่อยากให้เกิดขึ้นกับตัวเองและผู้อื่น เช่น ให้มีความสุข เป็นอิสระจากความทุกข์ ให้มีเมตตาในใจ เป็นต้น
    - เป็นคำที่ให้พลัง สามารถเยียวยาตนเอง เยียวยาผู้อื่นได้

@@@@@@@

พึงระลึกไว้เสมอว่าเราแผ่เมตตาเพื่อให้ความเมตตาผุดขึ้นในใจเรา ไม่ใช่เพื่อขอให้ได้บางสิ่งที่ต้องการ เช่น ขอให้รวย ขอให้ถูกหวย ฯลฯ และควรแผ่เมตตาให้กับตัวเองก่อน จากนั้นค่อยแผ่ขยายไปยังคนใกล้ชิดที่เรารัก บุคคลที่แวดล้อม รวมถึงคนที่เราไม่ชอบหรือไม่ชอบเรา กล่าวคือ แผ่ไปยังทุกๆ คนได้อย่างไม่มีเงื่อนไขจะดีที่สุด เพราะเมื่อเขาเป็นสุข เขาก็จะไม่สร้างความทุกข์ให้เรา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ใจเราจะไม่เป็นทุกข์เพราะเขาอีกต่อไป

และเนื่องจากดร.จอห์นเห็นประโยชน์ของการมีสติตระหนักรู้ว่า ช่วยให้เขามีความรู้สึกต่อเรื่องต่างๆ ดีขึ้น ความสัมพันธ์ดีขึ้น สุขภาพดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น เพราะฉะนั้นเวลาแผ่เมตตา เขาจะให้ความสำคัญกับความตระหนักรู้ คำแผ่เมตตาของเขาจึงกล่าวว่า

    “ขอให้ผมมีความตระหนักรู้อย่างลึกซึ้ง ขอให้การตระหนักรู้ของผมนำไปสู่การเยียวยา ทำให้เกิดความสุข มีสันติในใจ มีความสมานฉันท์กับคนอื่น และขอให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับคนอื่นๆ เพื่อนๆ คนรู้จัก และกับคนที่ผมไม่ชอบ”

หรือในกรณีที่มีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นกับตัวเอง ดร.จอห์นกล่าวถึงคำแผ่เมตตาไว้ในหนังสือ คลายเครียดด้วยลมหายใจ เยียวยาความเครียดด้วยวิถีพุทธแปลโดยคุณสุรภี ชูตระกูล ว่า

    “ขอให้มีสติอยู่กับปัจจุบัน ฉันได้ละวางจากจิตที่ชอบยึดมั่นถือมั่น หรือชอบต่อต้านอาการของโรคที่เป็นอยู่ จะหายหรือไม่หาย สันติสุขจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ฉันยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่มันเป็นอยู่ และยอมรับทุกอย่างที่จะเกิดขึ้น ฉันขอแผ่เมตตาให้กับ (ระบุชื่อคนอื่นๆ ) ขอให้พวกเขาได้ปล่อยวางจากจิตที่ชอบยึดมั่นถือมั่น จิตที่ชอบต่อต้าน และมีความเบิกบานกับความสงบเย็นเกิดตามมา”





อีกตัวอย่างหนึ่งเป็นของผู้เข้าร่วมอบรม

     “การฝึกฝนทางจิตวิญญาณเพื่อการดูแลตนเองสำหรับผู้ทำงานเยียวยา” ซึ่งผู้เขียนเห็นว่าเป็นคำแผ่เมตตาที่น่าสนใจ เธอกล่าวว่า “ขอให้ความตระหนักรู้นำพาความรัก ความเมตตาต่อตัวเรา เพื่อให้เราสามารถเป็นอิสระจากความทุกข์ สามารถให้อภัยตนเองและผู้อื่น แล้วน้อมนำความสุข ความสงบ มาสู่ตัวเอง เพื่อนฝูง และศัตรู”

การฝึกฝนประจำวันเราอาจฝึกสติด้วยการนั่งสมาธิก่อนประมาณ ๒๐ นาที จากนั้นจึงแผ่เมตตาอีก ๕ - ๑๐ นาที หรือหากวันไหนมีปัญหาบางอย่างเกิดขึ้น เราอาจเจริญสติสั้นๆ ๒ - ๓ นาที โดยมีสติอยู่กับความรู้สึก และใช้เวลาอีกครู่หนึ่งแผ่เมตตา จากนั้นค่อยกลับเข้าไปจัดการกับปัญหาก็ได้

หรืออีกวิธีหนึ่งเป็นการทำสมาธิและแผ่เมตตาเพื่อการเยียวยาโดยเชื่อมโยงเข้ากับการหายใจ ซึ่งดร.จอห์นแนะนำว่าเราอาจภาวนาสั้นๆ ว่า

     หายใจเข้า ... “มีสติ” หายใจออก ... “ขอให้เซลล์ทุกเซลล์มีสุขภาพแข็งแรง” หรือ “ขอให้เซลล์แต่ละเซลล์ได้รับการเยียวยา” หรือ “ขอให้ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปอย่างเกื้อกูลซึ่งกันและกัน”

@@@@@@@

การฝึกฝนสม่ำเสมอเช่นนี้จะช่วยให้สติเข้มแข็งและบ่มเพาะความเมตตาให้เกิดขึ้นในใจ รวมทั้งช่วยดึงพลังดีๆ ที่มีอยู่ในตัวเราให้ออกมาได้ เป็นการแปรเปลี่ยนความเคยชินเดิมๆ ที่เมื่อมีปัญหาแล้วก็คิดจนเครียด มาเป็นการนิ่ง มีสติ และมีปฏิกิริยาทางบวกต่อปัญหาที่เกิดขึ้น และนำพลังงานนั้นมาเยียวยาตนเอง ซึ่งจะทำได้อย่างไรต้องอดใจรอติดตามต่อตอนที่ ๒ ในฉบับหน้าค่ะ
23  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โคราชเตรียมสร้าง สกายวอล์คลำตะคอง จุดชมวิวที่สวยงามของเมืองไทย เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 01:05:38 pm
.



โคราชเตรียมสร้าง สกายวอล์คลำตะคอง จุดชมวิวที่สวยงามของเมืองไทย

โคราชเตรียมสร้างโครงการใหม่ Sky walk เขื่อนลำตะคอง ให้ความรู้สึกเหมือนเดินลอยอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคอง เป็นจุดชมวิวที่งดงามอีกแห่งของเมืองไทย

โดยภายในโครงการ จะประกอบด้วย Sky walk / องค์พระชัยเมืองนครราชสีมา / อาคารศาลาพักผ่อน / อาคารร้านขายสินค้าชุมชน / อาคารบริการนักท่องเที่ยว / อาคารห้องน้ำสาธารณะ / งานระบบไฟฟ้าส่องสว่าง และระบบสุขาภิบาล / งานปรับปรุงทางเข้าออก ขยายปรับปรุงถนน

Sky walk แห่งนี้จะเป็นจุดชมวิวที่งดงามอีกแห่งของเมืองไทย บนจุดชมวิวสามารถมองเห็นเขื่อนลำตะคอง เห็นความหลากหลายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และคมนาคมของเมืองไทย ผ่านมอเตอร์เวย์ และรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่กำลังก่อสร้าง เป็นการยกระดับการท่องเที่ยว จ.นครราชสีมา

โดยจะสร้างยื่นออกจากริมผาประมาณ 30 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 220 ตารางเมตร ความยาวทางเดิน 65 เมตร กว้าง 3 เมตร เฉพาะทางเดินพื้นกระจกใสเทมเปอร์ ลามิเนต ความหนา 4 เซนติเมตร รับน้ำหนัก 500 กิโลกรัมต่อตารางเมตร มีความยาว 42 เมตร ให้ความรู้สึกเดินลอยอยู่เหนืออ่างเก็บน้ำลำตะคอง รับลมชมวิวอันตระการตา คาดเริ่มก่อสร้างภายในปี 2568











ขอบคุณ : https://www.koratway.com/archives/17206
โดย ที่นี่โคราช - พฤษภาคม 2, 2025
24  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดไทม์ไลน์ ฝนตก ไฟไหม้ ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย เกิดขึ้นตอนไหนบ้าง เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 09:29:21 am
.

(ภาพโดย Keli Black ใน Pixabay)


เปิดไทม์ไลน์ ฝนตก ไฟไหม้ ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ของเมืองไทย เกิดขึ้นตอนไหนบ้าง?

เมื่อเกิด ฝนตก หนักทั่วไปในประเทศ สำหรับคนเมืองในกรุงเทพฯ และอีกหลายเมือง คงออกอาการเบื่อไปตามๆ กัน เพราะผลที่ตามมาเมื่อฝนตกคือ รถที่ติดอยู่แล้วติดหนักกว่าเดิม, น้ำรอระบายอยู่บนถนนนานหลายชั่วโมง, การเดินทางไม่สะดวก ฯลฯ

เมื่อพิจารณาภูมิประเทศของไทย ฝนจึงเป็นของคู่กันกับคนที่ปฏิเสธไม่ได้ แม้หลายคนจะพูดว่า “เกิดใต้ฟ้าจะกลัวอะไรกับฝน” แต่หลายครั้ง “ฝนตก” น่ากลัว, แปลก ฯลฯ กว่าที่คิดจริงๆ ซึ่งขอรวบรวมบางส่วนที่ เทพชู ทับทอง เขียนไว้ใน “กรุงเทพฯ ในอดีต” มาเล่าสู่กันฟังดังนี้

@@@@@@@

พ.ศ. 2069 ฝนตกเป็น “สีแดง” หลังสมเด็จพระชัยราชาธิราชทรงตีได้เมืองเชียงใหม่ พงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) บันทึกว่า “ณ วันศุกร เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ บังเกิดอุบาทว์ มีนิมิต เห็นโลหิต ตกอยู่ ณ ประตูบ้านแลเรือนชนทั้งปวงในเมืองนอกเมืองทุกตำบล” สาเหตุที่ฝนตกเป็นสีแดงนั้น ก็เนื่องจากลมหอบเอาฝุ่นละอองดินแดงขึ้นไปลอยในอากาศนั่นเอง ครั้นเมื่อนฝนตกลงมา จึงได้พาเอาละอองดินแดงติดลงมาด้วย

พ.ศ. 2179 ในเช้าวันปัณณรสีเพ็ญเดือน 8 ขณะที่ฝนกำลังตกพรำๆ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ขณะมีพระชนม์ได้ 5 พรรษา เสด็จออกไปทรงเล่นที่เกย พระสนมพี่เลี้ยงทูลห้ามก็ไม่ทรงฟัง จึงจำใจต้องเล่นอยู่ด้วย ก็เกิดอสนีตกลงที่เสาหลักชัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงยืนอยู่แตกตลอดลงไปจนถึงพื้นดิน ไม่ทรงได้รับอันตราย ส่วนพระสนมพี่เลี้ยงต่างสลบไปตามๆ กัน

ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้าปราสาททองเสด็จไปทรงปฏิบัติพระสงฆ์ที่วัดชัยวัฒนาราม เมื่อทราบข่าวเสด็จกลับพระราชวัง ทรงรับสั่งให้หมอเข้าไปแก้ไขพระสนมพี่เลี้ยงทั้งหลาย ครั้นทอดพระเนตรรอยอสนีประจักษ์ จึงโปรดฯ ให้สมโภชพระกุมารเป็นเวลา 3 วัน

พ.ศ. 2186 พระโหราธิบดีถวายฎีกาว่า ภายใน 3 วันจะเกิดเพลิงไหม้ในพระราชวัง สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงรับฟังก็ทรงตกพระทัย โปรดให้ขนข้าวของในพระราชวังไปไว้ที่วัดชัยวัฒนาราม สำหรับในพระราชวังก็ได้มีการกวดขันเรื่องฟืนไฟอย่างเต็มที่ทั้งเกณฑ์ไพร่จำนวน 3,000 คน อยู่เฝ้ารักษาตลอดเวลา กับให้เรือตำรวจคอยบอกเหตุทุกโมงยามจนครบ 3 วัน


@@@@@@

ในวันที่ 3 พอถึงเวลา 4 โมงเช้า เรือตำรวจได้ลงไปกราบทูลว่า เหตุการณ์ยังเป็นปกติอยู่ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจึงได้มีพระราชดำรัสว่า ครั้งนี้พระโหราธิบดีคงทำนายผิด จึงมีพระราชดำรัสสั่งเรือเพื่อเสด็จกลับพระราชวัง ครั้นเสด็จมาถึงฉนวนประจำท่า พระโหราธิบดีซึ่งนั่งอยู่ท้ายเรือพระที่นั่งได้กราบทูลขอให้พระองค์งดเสด็จเข้าไปในพระราชวังจนกว่าจะย่ำฆ้องค่ำแล้วจึงจะสิ้นพระเคราะห์

สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงให้ลอยเรือพระที่นั่งอยู่ ครั้นถึงเวลา 5 โมงเย็น เกิดพยับเมฆคลุ้มขึ้นทางทิศประจิม ฝนก็ตกพรำๆ ไม่นานจากนั้น อสนีก็ฟาดเปรี้ยงลงมาต้องเหมพระมหาปราสาท พระที่นั่งมังคลาภิเศก (ปราสาททอง) เกิดติดไฟพวยพลุ่งอย่างรวดเร็ว จนดีบุกหลังคาพระที่นั่งไหลลงมาเหมือนน้ำฝน ทำให้พวกที่อยู่ในพระราชวังซึ่งเตรียมที่จะดับไฟ ไม่สามารถดับไปได้เต็มที่ ไฟจึงไหม้ติดต่อกันไปจนถึงห้องคลัง เรือนหน้า เรือหลังเป็นจำนวน 110 หลังเพลิงจึงสงบลง


พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร


นอกจากนี้ พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 เรียบเรียงโดยเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) บันทึกเกี่ยวกับฝนตก ไฟไหม้ สรุปความได้ดังนี้

พ.ศ. 2332 เมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 7 ปีระกา จุลศักราช 1151 (พ.ศ. 2332 ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคม ตามปฏิทินสุริยคติ) เวลาบ่าย 3 โมง 36 นาที ขณะบังเกิดฝนฟ้าคะนองในกรุงเทพมหานคร อสนีบาตได้ตกต้องหน้าบัน “พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท” แล้วติดเป็นเพลิงขึ้น ไฟไหม้ เครื่องบนพระมหาปราสาทกับทั้งหลังคามุขทั้ง 4 ทำลายลงสิ้นแล้วยังลามไปติดไหม้พระปรัศว์ซ้ายด้วยอีกหลังหนึ่ง



“ไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท ในพุทธศักราช 2332” จิตรกรรมจากโคลงภาพพระราชพงศาวดาร วาดในสมัยรัชกาลที่ 5


ภายหลังพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รื้อปราสาทเก่าที่เพลิงไหม้เสียหายออก แล้วให้สร้างขึ้นใหม่ เมื่อเสร็จแล้วพระราชทานนามว่า “พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท”

ที่ยกมานี้เป็นเพียงบางส่วนของฝนตก ไฟไหม้ ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ ส่วนฝนที่ตกอยู่ขณะนี้คงต้องระวังเรื่องสุขภาพ และตรวจสอบเส้นทางการเดินทาง

อ่านเพิ่มเติม :-

    • “ห่าฝน” ในประวัติศาสตร์ไทย “ห่าหนึ่ง” หมายถึงเท่าไหร่?
    • ฝนตกหนัก-น้ำท่วมใหญ่ ในเมืองหลวง ที่คนกทม. แต่ละรุ่นต้องเผชิญมา





ขอขอบคุณ :-
ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม
เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ.2568
เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 29 พฤษภาคม 2562
website : https://www.silpa-mag.com/history/article_33453
25  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ดื่มกาแฟตอนไหน.? ถึงช่วยลดน้ำหนักได้ดี เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 08:03:18 am
.



ดื่มกาแฟตอนไหน.? ถึงช่วยลดน้ำหนักได้ดี

กาแฟมีสารกาเฟอีนที่สามารถกระตุ้นการเผาผลาญได้ แต่จังหวะเวลาในการดื่มมีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ



 :49: :49: :49:

ช่วงเวลาที่ดื่มกาแฟแล้ว สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ดี

1.  หลังจากตื่นนอนตอนเช้า: เปิด “ตัวเร่ง” การเผาผลาญ

การดื่มกาแฟดำหลังตื่นนอน ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญนั้น เป็นเรื่องจริง!! หลังจากที่เราพักผ่อนมาทั้งคืน ระบบเผาผลาญอาจยังทำงานได้ไม่เต็มที่ กาเฟอีนในกาแฟจะเข้าไปกระตุ้นระบบประสาทซิมพาเทติก ซึ่งมีบทบาทในการเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจ และความดันโลหิตเล็กน้อย ส่งผลให้ร่างกายเผาผลาญพลังงานมากขึ้น

ร่างกายต้องการสัญญาณเพื่อเปลี่ยนจากโหมดพักผ่อน ไปสู่โหมดกิจกรรม กาเฟอีนช่วยส่งสัญญาณนี้ได้

ข้อควรระวัง : สำหรับบางคน การดื่มกาแฟทันทีหลังตื่นนอนขณะท้องว่างอาจทำให้รู้สึกไม่สบายท้องได้ หากคุณเป็นคนที่มีอาการไวต่อกาเฟอีน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะอาหาร ลองดื่มหลังจากดื่มน้ำเปล่าไปก่อน หรือทานอาหารเช้าเบาๆ แล้วค่อยดื่มกาแฟ

เลือกดื่มกาแฟดำที่ไม่ใส่น้ำตาลและครีม จะดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเพิ่มแคลอรีที่ไม่จำเป็น

@@@@@@@

2. ครึ่งชั่วโมงก่อนออกกำลังกาย : เพิ่มประสิทธิภาพการเผาผลาญไขมัน

การดื่มกาแฟก่อนออกกำลังกาย เป็นอีกหนึ่งช่วงเวลาทองสำหรับการลดน้ำหนัก กาเฟอีนมีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความทนทาน และลดความรู้สึกเหนื่อยล้า ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นและหนักขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยกระตุ้นการสลายไขมัน ทำให้ร่างกายดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานได้มากขึ้น

กาเฟอีนช่วยเพิ่มระดับอะดรีนาลีน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยเตรียมร่างกายให้พร้อมสำหรับการออกกำลังกาย และกระตุ้นการปล่อยกรดไขมันจากเซลล์ไขมัน

ข้อควรระวัง : อย่าดื่มกาแฟในปริมาณมากเกินไปก่อนออกกำลังกาย เพราะอาจทำให้ใจสั่น หรือรู้สึกกระวนกระวายได้ ควรระวังเรื่องเวลาในการดื่ม หากคุณออกกำลังกายในช่วงเย็น การดื่มกาแฟอาจส่งผลต่อการนอนหลับได้

การออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ เช่น วิ่ง หรือปั่นจักรยาน จะได้รับประโยชน์จากการดื่มกาแฟก่อนออกกำลังกายเป็นพิเศษ

@@@@@@@

3. ครึ่งชั่วโมงหลังอาหารกลางวัน : ควบคุมความอยากอาหารและป้องกันการสะสมของไขมัน

การดื่มกาแฟหลังอาหารกลางวันสามารถช่วยควบคุมความอยากอาหารในช่วงบ่ายได้จริง ความรู้สึกอิ่ม และความขมของกาแฟ อาจช่วยลดความอยากของหวานหรือของว่างที่ไม่ดีต่อสุขภาพได้

กาเฟอีนอาจมีส่วนช่วยในการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความอิ่ม และช่วยลดความอยากอาหาร

ข้อควรระวัง : หากคุณมีปัญหาเรื่องการนอนหลับ ควรระมัดระวังเวลาการดื่มกาแฟในช่วงบ่าย เพราะฤทธิ์ของกาเฟอีนอาจยาวนานหลายชั่วโมง นอกจากนี้ การเติมน้ำตาลหรือนมในปริมาณมาก จะลดประโยชน์ของการลดน้ำหนักลง

เลือกกาแฟดำ หรือหากต้องการเพิ่มรสชาติ อาจเติมนมพร่องมันเนยในปริมาณเล็กน้อย

@@@@@@@

4. ก่อนอาหารเย็น : ระงับความอยากอาหาร และลดปริมาณการรับประทาน

การดื่มกาแฟก่อนอาหารเย็น ก็เป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ที่น่าสนใจ ในการช่วยลดปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไป ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่าจากกาเฟอีนอาจช่วยเบี่ยงเบนความสนใจจากความอยากอาหารได้

กาเฟอีนอาจช่วยลดความรู้สึกหิวได้ชั่วคราว

ข้อควรระวัง : เช่นเดียวกับการดื่มกาแฟก่อนออกกำลังกาย ควรระวังเรื่องเวลาในการดื่มก่อนอาหารเย็น เพื่อไม่ให้กระทบกับการนอนหลับ และหากคุณมีอาการไวต่อกาเฟอีน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟขณะท้องว่าง

การดื่มน้ำเปล่าก่อนอาหารเย็น ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้รู้สึกอิ่ม และลดปริมาณอาหารได้เช่นกัน





ข้อควรรู้ในการดื่มกาแฟเพื่อลดน้ำหนัก

ควบคุมปริมาณ: การดื่มกาแฟในปริมาณที่เหมาะสม (ไม่เกิน 3-4 แก้วต่อวัน) เป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ได้รับประโยชน์โดยไม่เกิดผลข้างเคียง

เลือกกาแฟที่ดีต่อสุขภาพ: กาแฟดำเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการลดน้ำหนัก ควรหลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาล ครีม หรือน้ำเชื่อมในปริมาณมาก

ปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ส่วนบุคคล: ร่างกายของแต่ละคนตอบสนองต่อกาเฟอีนแตกต่างกันไป คุณควรสังเกตว่า ร่างกายของคุณรู้สึกอย่างไรหลังดื่มกาแฟในแต่ละช่วงเวลา และปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับตัวเอง

การดื่มกาแฟสามารถเป็นเครื่องมือช่วยในการลดน้ำหนักได้ หากเลือกเวลาที่เหมาะสม และดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ก็จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายในการลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น





ขอขอบคุณ ;-
ที่มาและภาพ : sohu, freepik
website : https://www.dailynews.co.th/news/4684064/
7 พ.ค. 2568 • 16:12 น.
26  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สุจิตต์ เจอยกมือถาม ไทย-เขมร ‘เคลม’ วัฒนธรรม แก้อย่างไร ลดขัดแย้งโลกออนไลน์ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 07:54:18 am
.



สุจิตต์ เจอยกมือถาม ไทย-เขมร ‘เคลม’ วัฒนธรรม แก้อย่างไร ลดขัดแย้งโลกออนไลน์

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมสัมมนา B1-2 ชั้น B1 อาคารรัฐสภา เกียกกาย เขตดุสิต กรุงเทพฯ คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดกิจกรรม Library Talk หัวข้อ ‘จากสยามถึงไทย: เปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนชาติ?’ โดยมีข้าราชการ บุคลากรภายใน และประชาชนทั่วไป

ในการนี้ นายณัฏฐกฤษฎ์  วงศ์เจริญ รองเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานเปิดกิจกรรม โดยมีนายเชษฐา ทองยิ่ง ผู้อำนวยการสำนักวิชาการ หอสมุดรัฐสภา กล่าวรายงาน

จากนั้น นายสุจิตต์ ขึ้นเวทีบรรยายเป็นเวลากว่า 2 ชั่วโมง โดยในช่วงท้าย ซึ่งเป็นการเปิดเวทีให้ถาม-ตอบ มีผู้ร่วมรับฟังบรรยายสอบถามว่าบางครั้งประวัติศาสตร์ทำให้เกิดความขัดแย้ง ระหว่างประเทศ อย่างเพิ่อนบ้านของไทยในขณะนี้ เช่น กัมพูชา มีการ ‘เคลม’ วัฒนธรรมเกิดขึ้นอย่างมากมาย อยากสอบถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างไร ในขณะที่มีการด่าทอกันในโลกออนไลน์





นายสุจิตต์ ตอบว่า ต้องแก้ไขทั้งระบบ ไม่สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง คนส่วนใหญ่ล้วนเป็น ‘ลูกผสม’ เคยมีคนถามตนว่า ลูกผสมมีตั้งแต่สมัยไหน ตอบว่า ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ การผสมผสานทำให้เกิดวัฒนธรรมที่เคลื่อนที่ เคลื่อนไหวไปเรื่อยๆ วัฒนธรรมจะเติบโตก้าวหน้าได้ ต้องมีการผสมผสานกัน ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่มีอะไรแท้ ในโลกวัฒนธรรม

“การแก้ไขด้วยวิธีอย่างหนึ่งอย่างใด คงไม่ใช่ แต่ต้องไปทั้งระบบ ตัวการสำคัญที่ผมคิดว่าเป็นตอของเรื่องทั้งหมดมาจากประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ไทยอยู่ในความทรงจำ อยู่ในความรู้สึกนึกคิด เป็นตัวตัดสิน คนที่มีความทรงจำในประวัติศาสตร์แบบไหน ก็ใช้วิธีคิดในประวัติศาสตร์แบบนั้น อคติเกิดมาจากสิ่งนี้ สมัยก่อน คนใช้แซ่ ห้ามรับปริญญา คำว่าเจ๊ก เป็นคำดูถูก ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งขายดีอย่างนึกไม่ถึง ชื่อ เจ๊กปนลาว เพราะผมเป็นลูกเจ๊ก แม่เป็นเจ๊ก พ่อเป็นลาว มีคนบอกว่าผมไม่ใช่คนไทย ผมบอกว่าเขาพูดถูก ผมเป็นไทยเพราะกระทรวงมหาดไทย”






อ่านข่าว : สุจิตต์ เลคเชอร์รัฐสภา เสนอเลิก ‘ปวศ.ฉบับเฟค’ ทำคลั่งชาติ เหยียดเพื่อนบ้าน ขัดแย้งไม่จบ




ขอยคุณ : https://www.matichon.co.th/politics/news_5102971
วันที่ 21 มีนาคม 2568 - 14:37 น.   
27  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จารึกหลักที่ 1 ทำขึ้นสมัย ร.4 หรือไม่.? เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 07:05:50 am




จารึกหลักที่ 1 ทำขึ้นสมัย ร.4 หรือไม่.?

สวัสดีตอนสามทุ่มค่ะ

​คืนนี้แอดมินขอนำเสนอ การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ว่าทำขึ้นในสมัย ร.4 หรือไม่ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์

​แอดมินขอนำบางช่วงบางตอนจากบทความที่ศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ตอบคำวิจารณ์จารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ในหนังสือ "ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง" ที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้จัดทำขึ้น เมื่อปี 2547 ดังนี้

​พ.ศ. 2533 จิราภรณ์ อรัณยะนาค แห่งกรมศิลปากร และศรีโสภา มาระเนตร์ แห่งกรมทรัพยากรธรณี ได้นำผลการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับจารึกหลักที่ 1 ไปลงในสปาฟา ไดเจสต์ เป็นภาษาอังกฤษ และลงในนิตยสารศิลปากร พ.ศ. 2534 เล่มที่ 2 เป็นภาษาไทย สรุปความได้ว่า

​จากการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์ ผิวของจารึกหลักที่ 1 ส่วนที่ถูกแดดและฝนชะมาเป็นเวลากว่า 500 ปี เทียบกับส่วนภายในที่ไม่ถูกแดดและฝน มีธาตุที่ถูกละลายไปมากเป็นจำนวนพอๆ กับจำนวนธาตุที่ถูกละลายในจารึกสมัยสุโขทัย หลักที่ 5 พ.ศ. 1900 หลักที่ 45 พ.ศ. 1935 และพระแท่นมนังศิลาบาตร

@@@@@@@

​ส่วนที่ขูดเป็นตัวอักษรก็สรุปได้ว่า มีส่วนที่ถูกแดดและฝนชะ จนธาตุละลายไปพอๆ กัน แสดงว่าผิวนอกของจารึกหลักที่ 1 ถูกถากมาเป็นรูปนี้ ตั้งแต่สมัยสุโขทัย และรอยขูดตัวหนังสือก็มีอายุพอๆ กัน ถ้าหากจารึก หลักที่ 1 จารึกขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเก็บไว้ในที่ร่มตลอดมา ไม่มีทางที่หินจะสึกกร่อน และแร่ธาตุละลายออกไปมากดังที่ตรวจสอบได้โดยเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ทางฝ้ายค้านไม่ยอมรับผลการพิสูจน์ครั้งนี้ อ้างว่าผู้พิสูจน์เป็นข้าราชการกรมศิลปากรต้องการให้จารึกหลักที่ 1 เป็นของเก่า ทั้ง ๆ ที่มีเจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรธรณี ร่วมอยู่ด้วยแล้ว

นอกจากนี้ ในหนังสือ "ประมวลข้อมูลเกี่ยวกับจารึกพ่อขุนรามคำแหง" ​ ยังมีเรื่อง

- การตรวจพิสูจน์ศิลาจารึกหลักที่ 1 ด้วยวิธีวิทยาศาสตร์ [จิราภรณ์ อรัณยะนาค][ศรีโสภา มาระเนตร์]
- ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช เอกสารมรดกไทย - เอกสารมรดกโลก [แม้นมาส ชวลิต]
- จารึกพ่อขุนรามคำแหง : มรดกความทรงจำโลก [ก่องแก้ว วีระประจักษ์]
- บรรณานุกรมบทความ หนังสือ วิทยานิพนธ์ และงานวิจัยเกี่ยวกับศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช





ขอบคุณ : https://www.facebook.com/photo?fbid=1005757918394236&set=a.242848768018492
LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร · 1 วัน
28  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิด 10 จังหวัดที่วัดเยอะที่สุด อันดับ 1 มากถึง 2,216 วัด เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2025, 06:21:45 am
.



เปิด 10 จังหวัดที่วัดเยอะที่สุด อันดับ 1 มากถึง 2,216 วัด ภาคเหนือติดโผแค่จังหวัดเดียว

เปิด 10 จังหวัดที่วัดเยอะที่สุด อันดับ 1 มากถึง  2,216 วัด ภาคเหนือติดโผแค่จังหวัดเดียว นอกนั้นเป็นภาคอีสาน

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2568 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจ “LIRT : คลังสารสนเทศของสถาบันนิติบัญญัติ” ได้เปิดเผยข้อมูลจำนวนพระภิกษุและสามเณรในประเทศไทย ประจำปี 2566 โดยอ้างอิงจากข้อมูลของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

จำนวนพระภิกษุและสามเณรทั่วประเทศปี 2566


    • พระภิกษุ จำนวน 256,219 รูป
    • สามเณร จำนวน 33,924 รูป
    • รวมทั้งหมด 290,143 รูป

@@@@@@@

จังหวัดที่มีวัดมากที่สุด (10 อันดับแรก)

    1. นครราชสีมา – 2,216 วัด
    2. อุบลราชธานี – 1,929 วัด
    3. ร้อยเอ็ด – 1,687 วัด
    4. อุดรธานี – 1,594 วัด
    5. ขอนแก่น – 1,589 วัด
    6. เชียงใหม่ – 1,486 วัด
    7. ศรีสะเกษ – 1,416 วัด
    8. มหาสารคาม – 1,135 วัด
    9. บุรีรัมย์ – 1,123 วัด
  10. ชัยภูมิ – 1,111 วัด





วัดร้างทั่วประเทศ : 5,678 วัด

จังหวัดที่มีวัดร้างมากที่สุด
    1. เชียงใหม่ 924 วัด
    2. พระนครศรีอยุธยา 501 วัด
    3. สุโขทัย 342 วัด
    4. นครศรีธรรมราช 331 วัด
    5. ลำพูน 272 วัด

@@@@@@@

จังหวัดที่มีพระและเณรมากที่สุด (บางส่วน)

    • กรุงเทพมหานคร : 15,552 รูป
    • นครราชสีมา : 14,161 รูป
    • อุบลราชธานี : 10,847 รูป
    • เชียงใหม่ : 10,066 รูป







ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ข้อมูลพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา พ.ศ. 2566 โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
https://www.sanook.com/news/9785922/
S! News (Exclusive) : สนับสนุนเนื้อหา | 07 พ.ค. 68 (10:58 น.)
29  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เหตุใด มิตรภาพบางอย่าง จึงทำให้เราเหนื่อยล้า มากกว่ามิตรภาพอื่นๆ เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2025, 07:30:54 am
.



เหตุใด มิตรภาพบางอย่าง จึงทำให้เราเหนื่อยล้า มากกว่ามิตรภาพอื่นๆ

เรารักเพื่อนของเรา จริงหรือ. พวกเขาคือเสาหลักแห่งการหัวเราะของเรา ผู้ร่วมงานปาร์ตี้ค้างคืนของเรา (แม้ว่าจะอายุถึง 35 แล้ว) และยังเป็นพยานในการเลือกทรงผมที่แย่ที่สุดของเราอีกด้วย แต่ยอมรับกันตามตรงว่า มิตรภาพบางอย่างทำให้เรารู้สึกว่างเปล่ายิ่งกว่าตู้เย็นในคืนวันอาทิตย์เสียอีก ทำไมบางความสัมพันธ์ถึงดูดพลังงานของเราไปหมด? ต่อไปนี้เป็นการดูอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับพลวัตของมิตรภาพที่ทำให้เราหมดพลัง และวิธีการสังเกตเห็นโดยไม่รู้สึกผิด

@@@@@@@

เหล่าราชาและราชินีแห่ง “ฉัน-ฉัน”

เรารู้จักคนเหล่านี้เป็นอย่างดี คุณเล่าให้พวกเขาฟังเกี่ยวกับวันสำคัญของคุณที่ทำงาน และก่อนที่คุณจะรู้ตัว พวกเขาก็เริ่มพูดถึงการประชุมอันเลวร้าย เจ้านายที่น่ารำคาญ และอาการปวดหลังของพวกเขา มันไม่ใช่แค่การสนทนาอีกต่อไป แต่มันเป็นการประชุมโดยใช้ไมโครโฟนทางเดียว

บุคลิกที่เอาแต่ใจตัวเองเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใจร้าย แต่พวกเขามีปัญหาในการออกจากกรอบของตัวเอง ในระยะยาว สิ่งนี้อาจก่อให้เกิดความไม่สมดุลทางอารมณ์ได้: คุณให้ คุณรับฟัง คุณสนับสนุน... แล้วผู้คนเหล่านี้ล่ะ? พวกเขาผูกขาดฉากนี้ไว้ ไม่แปลกใจเลยที่คุณทิ้งการสนทนาเหล่านี้ไว้โดยที่สมองของคุณยังมึนงงอยู่ มิตรภาพก็เหมือนการเต้นรำ ถ้าคนหนึ่งเป็นผู้นำในการเต้น อีกคนก็ต้องคอยเหยียบเท้าตัวเอง

ความสัมพันธ์อันเป็นพิษในรูปแบบปลอมตัว

บางครั้งความเหนื่อยล้าอาจเกิดจากปัจจัยอื่นที่ร้ายแรงกว่านั้นมาก มิตรภาพที่เป็นพิษ ไม่ใช่แค่การที่ใครบางคนลืมวันเกิดของคุณ เขาคือคนที่ทำให้คุณสงสัยในตัวเอง เป็นคนที่คอยเหน็บแนมคุณตรงจุดที่เจ็บปวด เป็นคนที่แข่งขันแทนที่จะเฉลิมฉลอง

ตัวอย่าง? เพื่อนที่ "พูดตลก" เกี่ยวกับทางเลือกในชีวิตของคุณ แต่มักจะพูดด้วยน้ำเสียงประชดประชันเสมอ หรือคนที่ดูแคลนความสำเร็จของคุณ ขณะที่แสดงความสำเร็จของตัวเองเหมือนกับการจัดแสดงหน้าต่างร้านในช่วงคริสต์มาส พฤติกรรมเหล่านี้อาจดูไม่เป็นอันตราย แต่เมื่อเวลาผ่านไป พฤติกรรมเหล่านี้ก็จะบั่นทอนความมั่นใจในตัวเองและดูดพลังงานทางจิตใจของคุณไป แม้ว่าคุณจะแบ่งปันความทรงจำที่แข็งแกร่งหรือบุคคลนี้ "อยู่ที่นั่นเมื่อ..." ก็ตาม: นั่นไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะยังคงทำให้คุณรู้สึกเล็กน้อยต่อไป คุณสมควรได้รับสิ่งที่ดีกว่านี้





มิตรภาพที่ใกล้ชิดเกินไป

มิตรภาพบางอย่างก็เหมือนความโรแมนติก...แต่ไม่มีการจูบ ในตอนแรก มันน่าตื่นเต้นมาก: คุณส่งข้อความหากันทุกวัน คุณรู้รายละเอียดทุกอย่างในชีวิตของกันและกัน คุณเป็นหนึ่งเดียวกันจนแยกจากกันไม่ได้ แต่บางครั้งการเชื่อมโยงนี้ก็กลายเป็นการพึ่งพาทางอารมณ์ และตรงนั้น ระวังคนหลุดนะ

เพื่อนที่โกรธคุณเพราะคุณไม่เขียนจดหมายหาเขาทั้งบ่าย? ใครจะต้องกังวลเมื่อคุณพูดคุยกับคนอื่น? ใครต้องการความพร้อมทางอารมณ์อย่างต่อเนื่อง? มันกลายเป็นภาระอย่างรวดเร็ว แม้ว่าเจตนาเดิมจะเป็นความรักแบบมิตรภาพ (หรืออย่างน้อยก็เป็นความรักใคร่) ก็ตาม มิตรภาพที่สวยงามไม่ควรต้องรู้สึกเหมือนการเลี้ยงดูลูกแบบเต็มเวลา

ความกลัวในการพูดว่าหยุด

ทำไมเราจึงยังอยู่ในความสัมพันธ์เหล่านี้ เมื่อมันทำให้เราเหนื่อยล้า? บ่อยครั้งเกิดจากความกลัวความเหงา เราบอกตัวเองว่ามันดีกว่าไม่มีอะไรเลย "มันจะดีขึ้น" ซึ่งเราคงจะพูดเกินจริงไป หรือเรามีความภักดีที่เหนียวแน่น: เราไม่อยาก "ทอดทิ้ง" ใครสักคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเขาเผชิญกับช่วงเวลาที่เลวร้าย

ความจริง : การอยู่ในมิตรภาพที่ทำให้คุณเหนื่อยล้าก็เหมือนกับการใส่รองเท้าที่เล็กเกินไปเพียงเพราะคุณซื้อมาด้วยกัน ถึงจุดหนึ่งคุณต้องยอมรับว่ามันไม่เหมาะกับคุณอีกต่อไป คุณไม่เห็นแก่ตัวหากคุณเดินออกไปเพื่อปกป้องตัวเอง คุณมีจิตใจแจ่มใส

ผลกระทบที่แท้จริงต่อสุขภาพจิต

มันไม่ใช่แค่เรื่องของอารมณ์ มิตรภาพที่ทำให้คุณรู้สึกอึดอัดอาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของคุณได้ ความเครียดเรื้อรัง ความวิตกกังวล การสูญเสียความมั่นใจ ความรู้สึกผิดตลอดเวลา... สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่แค่ “ผลข้างเคียง” สิ่งเหล่านี้คือสัญญาณเตือนภัย สิ่งสำคัญคือการฟังตัวเองและจัดการเรื่องต่างๆ อย่างนุ่มนวลแต่หนักแน่น มิตรภาพไม่ใช่ว่าจะคงอยู่ตลอดไป และนั่นก็โอเคดี

@@@@@@@

มิตรภาพที่แท้จริงไม่จำเป็นต้องให้คุณผอมลง ตลกขึ้น เต็มใจมากขึ้น หรือแข็งแกร่งขึ้น พวกเขารักคุณแบบที่คุณเป็น คือรักคุณแบบที่เป็นอยู่ตอนนี้ คือ สมบูรณ์ เป็นมนุษย์ บางครั้งก็สั่นคลอนเล็กน้อย แต่ก็สมควรได้รับความเคารพและอ่อนโยนเสมอ ดังนั้น จงล้อมรอบตัวคุณด้วยคนที่ทำให้คุณอยากพูดความจริงและหายใจได้ดีขึ้น เพราะมิตรภาพ มิตรภาพที่แท้จริง ไม่เคยเหนื่อยหน่าย มันฟื้นฟู มันยกระดับขึ้น และเธอคอยเตือนคุณทุกวันว่าคุณเป็นคนสุดยอดจริงๆ





Thank to : https://www.msn.com/th-th/news/other/เหตุใดมิตรภาพบางอย่างจึงทำให้เราเหนื่อยล้ามากกว่ามิตรภาพอื่นๆ/ar-AA1D7cQN?cvid=DF6C1EE04C9D4A51A23299FBC85F6D2A&ocid=hpmsn
เรื่องราวโดย Soraya • 1 สัปดาห์ • อ่าน 1 นาที
30  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ดันนครพนม เมืองท่องเที่ยวสายมู ปลุกเสน่ห์ประเพณี-สายศรัทธา เมื่อ: พฤษภาคม 01, 2025, 07:22:22 am
.



ดันนครพนม เมืองท่องเที่ยวสายมู ปลุกเสน่ห์ประเพณี-สายศรัทธา

ททท. เร่งผลักดัน “นครพนม” สู่เมืองท่องเที่ยวสายศรัทธา ชูจุดขายงานประเพณี-วัฒนธรรมสุดยิ่งใหญ่ ดึงกลุ่ม Gen Y และนักท่องเที่ยวอาเซียน กระตุ้นเศรษฐกิจ-เพิ่มค่าใช้จ่ายในพื้นที่ เชื่อมโยงการท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดสนุก “สกลนคร-นครพนม-มุกดาหาร” พร้อมปูทางสู่เวทีนานาชาติ

นายอรรถพล วรรณกิจ ผู้อำนวยการภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) กล่าวว่า ททท.เดินหน้ากระตุ้นการท่องเที่ยวภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลักดันเมืองน่าเที่ยวศักยภาพ “นครพนม” ชูจุดขายงานประเพณีและสินค้าท่องเที่ยวสายศรัทธา ผ่านโครงการ “ประเพณี ศรัทธา พาสนุก” นำเสนอ “ความสนุก” ผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัด พร้อมยกระดับประเพณีท้องถิ่นสู่ระดับนานาชาติ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการเดินทางท่องเที่ยวและเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการท่องเที่ยวของภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ





นอกจากนี้ ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือมุ่งกระตุ้นการเดินทางเข้าสู่พื้นที่ เพื่อเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวในพื้นที่และฟื้นตัวด้านค่าใช้จ่ายต่อทริปของนักท่องเที่ยว ด้วยการเพิ่มค่าใช้จ่ายผ่านกิจกรรม เทศกาล งานประเพณี และสินค้าท่องเที่ยวสายศรัทธาความเชื่อ

ซึ่งในโอกาสที่คณะรัฐมนตรีได้ลงพื้นที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ครั้งที่ 2/2568 ณ หอประชุมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยนครพนม จังหวัดนครพนม ภายใต้แนวคิด “เชื่อมโยงอนุภูมิภาคและจุดหมายการพักผ่อนริมโขง“

โดยลงพื้นที่กลุ่มจังหวัดสนุก (จังหวัดนครพนม สกลนคร และมุกดาหาร) จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ ททท.ได้นำเสนอเมืองน่าเที่ยวศักยภาพ “นครพนม” ซึ่งมีความโดดเด่นด้านประเพณีและวัฒนธรรมที่น่าสนใจ มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมรองรับนักท่องเที่ยว อาทิ สนามบิน โรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น โดย ททท.เร่งส่งเสริมการตลาดในพื้นที่ผ่านการ Joint Promotion





โดยให้ผู้ประกอบการโรงแรมจัดแพ็กเกจห้องพักร่วมกับกิจกรรมท่องเที่ยวในชุมชน เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการท่องเที่ยว เสนอขายกิจกรรมกระตุ้นการพักค้างควบคู่กับงานประเพณี อาทิ กิจกรรมตักบาตรเช้า เวียนเทียน ล้อมวงกินพาแลง เป็นต้น มุ่งเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยว Gen Y ที่มีความสนใจท่องเที่ยวสายศรัทธา (สายมูเตลู) เนื่องจากเป็นช่วงวัยแห่งความหวัง มีกำลังในการใช้จ่ายพร้อมส่งต่อเรื่องราวการเดินทางแชร์ต่อให้บุคคลใกล้ชิด

นอกจากนี้ ในช่วงเดือนตุลาคมซึ่งตรงกับเทศกาลออกพรรษาถือเป็นช่วงไฮไลต์ของพื้นที่นครพนมและพื้นที่ใกล้เคียงอย่างสกลนครและมุกดาหาร โดย ททท.ได้ชูจุดขายไฮไลต์งานประเพณีและการท่องเที่ยวสายศรัทธา ได้แก่ ประเพณีไหลเรือไฟ จังหวัดนครพนม ประเพณีแห่ปราสาทผึ้ง จังหวัดสกลนคร งานบวงสรวงบูชาองค์พญาศรีสัตตนาคราช ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 7 เดือน 7 ของทุกปี เป็นต้น พร้อมผลักดันประเพณีไหลเรือไฟสู่ระดับนานาชาติ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวคุณภาพในอนาคต ตลอดจนต่อยอดต้นทุนวัฒนธรรมสู่สากล





ทั้งนี้ เพื่อต่อยอดโอกาสทางการตลาด ททท.มุ่งส่งเสริมการท่องเที่ยวชายแดนในจังหวัดนครพนม โดยเน้นการเชื่อมโยงวัฒนธรรมและธรรมชาติระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ด้วยการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ ใช้ทุนทางวัฒนธรรมในการสร้างประสบการณ์ทางการท่องเที่ยว อาทิ

สะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3 (นครพนม-คำม่วน) เป็นเส้นทางหลักที่เชื่อมต่อการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ

อนุสรณ์สถานประธานโฮจิมินห์ แหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ไทย-เวียดนาม และส่งเสริมการขาย โดยร่วมกับบริษัทนำเที่ยวในพื้นที่จัดทำเส้นทางท่องเที่ยว นครพนม-มุกดาหาร-สะหวันเขต (สปป.ลาว) เพื่อเพิ่มค่าใช้จ่ายทางการท่องเที่ยว เพิ่มวันพักแรมในพื้นที่ ตลอดจนดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวลาวและนักท่องเที่ยวเวียดนาม เป็นต้น

จากสถิติของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในปี 2567 พบว่าจังหวัดนครพนมมีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนรวมทั้งสิ้น 2,221,803 คน-ครั้ง แบ่งเป็นจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 2,041,424 คน-ครั้ง และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 180,379 คน-ครั้ง ขณะที่มีจำนวนรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 4,093.39 ล้านบาท โดยมาจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 3,702.42 ล้านบาท ผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 390.97 ล้านบาท โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ 1,842.37 บาทต่อคน อัตราเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 73.05







และในปี 2568 ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2568 พบว่ามีจำนวนผู้เยี่ยมเยือนรวมทั้งสิ้น 611,971 คน-ครั้ง (+4.66%) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2567 แบ่งเป็นจำนวนผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 550,457 คน-ครั้ง (+2.82%) และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 61,514 คน-ครั้ง (+24.68%)

ขณะที่มีจำนวนรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 994 ล้านบาท (+2.49%) โดยมาจากผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย 891.70 ล้านบาท (+0.5 %) และผู้เยี่ยมเยือนชาวต่างชาติ 101.90 ล้านบาท (+23.92%) โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อทริปอยู่ที่ 1,623.67 บาทต่อคน อัตราเข้าพักเฉลี่ยร้อยละ 76.28






ขอบคุณ : https://www.prachachat.net/tourism/news-1802620
 วันที่ 30 เมษายน 2568 - 14:59 น.
31  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตก เมื่อ: เมษายน 29, 2025, 09:14:13 am
.



เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตก

คนเราแต่ละคนมีจิตใจแข็งแรงไม่เท่ากัน ความสามารถ ในการรับความกดดันในชีวิตจึงมีไม่เท่ากัน ปัจจุบันระดับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตผู้คนในสังคมมีสูงมาก คนที่ประสบภาวะเครียด บ่อยๆเป็นระยะเวลายาว นานบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านจิต ใจ หรือบางคนอาจเรียกว่า "จิตตก" ได้

คำว่า "จิตตก" เป็นคำที่ใช้พูดเพื่อบรรยายอาการ แต่ไม่ได้เป็นศัพท์มาตรฐาน ดังนั้น จึงอาจไม่มีคำนิยามโดยเฉพาะเจาะจงที่ชัดเจน สำหรับผู้เขียนอยากให้ความหมายของภาวะจิตตกว่า คือภาวะจิตใจของคนที่ประสบกับความเครียด ความกดดัน เป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจเกิดจากความกดดันที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ไม่ยาวนานแต่มีความรุนแรงสูง

อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นลำดับดังนี้ เบื้องต้นมักจะเกิดจากการคาดว่า เกรงว่าสิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น จะมีความเสียหายเกิดขึ้น คิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ จะล้มเหลว ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ได้แก่ อาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น


@@@@@@

ส่วนระยะถัดมาเมื่อทราบถึงผลของเหตุการณ์แล้วว่าไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ไม่สำเร็จ ก็จะเกิดอาการผิดหวัง ท้อแท้ ซึมเศร้า ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ คิดช้า ไม่มีกำลังใจ รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย และอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับตนเองและผู้อื่น

เราไม่สามารถรู้ได้ว่าภาวะจิตตกเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ เมื่อไร ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรทำความรู้จักวิธีการรับมือกับภาวะจิตตกเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการลดระดับความเครียดในแต่ละวันไม่ให้เกิดการสะสม โดยการพักกายและพักใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืมไป ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะคนที่หิวหรือนอนไม่พอ ความอดทนจะต่ำ อารมณ์จะหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย

นอกจากนี้ในแต่ละวันควร มีเวลาออกกำลังกายเพื่อยืดเส้น ยืดสาย ลดความเครียด และช่วยให้ฮอร์โมนเอนโดรฟินในสมองซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คนเรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขหลั่งออกมา นอกจากพักกายแล้ว การพักใจก็ควรทำเป็นประจำ ถ้าทำได้ทุกวันจะเป็นการดี การพักใจที่ว่านี้คือการทำให้ใจได้พักโดยการทำงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วมีความสุข สมองได้พักผ่อน เพื่อช่วยให้อารมณ์ลบในแต่ละวันถูกถ่ายเทออกไป ไม่สะสม จิตใจก็จะผ่องใส สามารถรับแรงกดดันในชีวิตได้ดีขึ้น เกิดภาวะจิตตกได้ยากขึ้น




สำหรับคนที่ตกอยู่ในภาวะจิตตก การจะผ่านภาวะนี้ไปได้ต้องอาศัยทักษะดังนี้

    1. ความเชื่อมั่นว่าจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ ส่วนจะช้าหรือเร็วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเชื่อมั่น ว่าปัญหาจะมีทางออกในที่สุดจะช่วยให้มีกำลังใจสู้ต่อไปได้

    2. ความสามารถมองเห็นข้อดีหรือข้อบวกของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ฝนจึงจะทำได้ดี

    3. การมองปัญหาและการวางแผนแก้ไขแบบเป็นขั้นตอน แล้วจัดการแก้ไขไปทีละขั้นละเปลาะ การแก้ไขได้สำเร็จทีละขั้นจะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จในที่สุด

    4. สำหรับคนที่พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้วยังไม่สำเร็จ อาจต้องอาศัยตัวช่วยคือความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนสนิท หรือญาติผู้ใหญ่ ในการช่วยมองปัญหา ให้คำปรึกษาแนะนำ


@@@@@@@

ในบางรายถ้าประสบปัญหาที่ใหญ่และหนักหนามาก หลังรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างแล้วยังไม่ดีขึ้น และอาจมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ อาจจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือให้ต่อสู้กับปัญหาและผ่านวิกฤตไปให้ได้ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะไม่ต้องประสบกับภาวะจิตตก ถ้าต้องพบก็ขอให้รับมือได้ อย่างไรก็ตาม อ่านบทความนี้แล้วอย่าลืมพักกายพักใจกันทุกๆ วันด้วยนะครับ

 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย)
https://www.thaihealth.or.th/เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตก-2/
ThaiHealth Official | 08 พฤษภาคม 2561
32  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ แท้จริงแล้วเร่าร้อนและ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก เมื่อ: เมษายน 28, 2025, 07:19:02 am
.



การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ แท้จริงแล้วเร่าร้อนและ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก

นรกเป็นสถานที่มีความเร่าร้อน เป็นสถานที่ลงโทษดวงวิญญาณผู้กระทำบาป แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า สิ่งที่ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก คือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ทำไมเป็นเช่นนี้ หาคำตอบไปด้วยกันจากพระสูตรที่มีชื่อว่า ปริฬาหสูตร  กันเถอะ

@@@@@@@

พระพุทธเจ้าตรัสขึ้นว่า
“เดี๋ยวก่อนภิกษุทั้งหลายนรกเป็นสถานที่มีความเร่าร้อน สัตว์นรกย่อมทนทุกข์ทรมานจากรูปที่ไม่น่าอภิรมย์ที่ตนต้องเห็นด้วยดวงตา รูปที่อยากชมก็หาไม่ได้ในนรกนี้ ถึงจะได้ยินเสียง ได้ลิ้มรส ได้สูดกลิ่น ได้สัมผัสด้วยกาย  หรือรู้เข้าใจด้วยการคิด แต่สิ่งที่รับรู้ล้วนเป็นการรับรู้ในสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์ทั้งสิ้น”

พระภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระพุทธเจ้าว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีความเร่าร้อนใดที่มากและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกอีกหรือไม่”

พระพุทธเจ้าตรัสว่า
“ดูก่อนภิกษุ ความเร่าร้อนที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกที่เธอถามนั้นมีอยู่จริง”

พระภิกษุทูลถามต่อว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกเป็นเช่นไร”

พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันสมณะและพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม หากไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4  แล้วสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นต่างยินดีในสังขาร (การปรุงแต่ง) ซึ่งทำให้พวกเขาเกิดความเร่าร้อนใน การเกิด การแก่ การตาย การเศร้าโศก การร่ำไห้ และการคับแค้นใจ  สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์

“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากสมณะและพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าใจและรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีในสังขาร (การปรุงแต่ง) เมื่อสังขารไม่ทำงาน การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏย่อมไม่มี ความเร่าร้อนจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การเศร้าโศก การร่ำไห้ และการคับแค้นใจ ย่อมไม่เกิดขึ้น สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นไปจากความทุกข์ เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง (อริยสัจ 4)”


@@@@@@@

พระสูตรเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่น่ากลัวและมีความเร่าร้อนยิ่งกว่าขุมนรกคือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พระพุทธศาสนามองว่าการเวียนว่ายเป็นทุกข์ หากปล่อยให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) คิดว่าเราเป็นเรา สิ่งนี้สิ่งนั้นเป็นของ ๆ เรา ใครทำให้เราเจ็บปวด ก็ถือโกรธเคืองจดจำเป็นความแค้น แต่ตามจริงแล้ว ไม่มีเราและของ ๆ เรา

การเข้าถึงนิโรธ การดับแห่งทุกข์ที่คัมภีร์นิยมเรียกว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” คือ การเข้าใจในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อนัตตาหมายถึงการไม่มีตัวตน เป็นความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไร (สุญญตา) เป็นอัมพยากตะ หรืออัมพยากฤต (ความเป็นอุเบกขา ไม่โน้นไปข้างหนึ่งข้างใดที่เป็นกุศลและอกุศล)

หากไม่ต้องการจะประสบพบกับสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก (สังสารวัฏ) การเข้าใจถึงอริยสัจ 4 เน้นนิโรธ การดับทุกข์ด้วยไตรลักษณ์ เข้าใจว่าเราไม่มีตัวตน เข้าใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เราสามารถบ่งการหรือควบคุมให้เป็นไปได้ดั่งใจ เข้าใจว่าการไร้ซึ่งการปรุงแต่ง (คิด) ช่วยให้ยุติภพ-ชาติ หรือสังสารวัฏได้ ความเร่าร้อนและความน่ากลัวที่ยิ่งกว่าขุมนรกก็จะไม่มาเยือนอย่างแน่นอน


 



ขอขอบคุณ :-
ที่มา : ปริฬาหสูตร
ภาพ : pinterest
https://cheewajit.com/healthy-mind/126264.html
สุขใจ | December 18, 2018
33  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘อโยธยา’ คำเดียวเถียงกัน 59 ปี วันนี้ยังไม่จบ เห็นด้วย หรือ คัดค้าน.? เมื่อ: เมษายน 28, 2025, 06:56:56 am
.



‘อโยธยา’ คำเดียวเถียงกัน 59 ปี วันนี้ยังไม่จบ! เห็นด้วย หรือ คัดค้าน? หลักฐานใหม่มาต่อเนื่อง

ถกกันเฉียด 6 ทศวรรษ นับเฉพาะ ‘อย่างเป็นทางการ’ เป็นลายลักษณ์ ไม่รวมในแวดวงการพูดคุยและบทสนทนา สำหรับเรื่องราวของ ‘อโยธยา’ ที่บ้างก็ว่า มีแค่ในตำนาน ขณะที่นักวิชาการส่วนหนึ่งงัดหลักฐานตีพิมพ์ทั้งบทความ และหนังสือเล่ม

เปิดปฐมบท ตัดริบบิ้น คิกออฟตั้งแต่ พ.ศ. 2509 โดย ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งขณะนั้น ยังเป็นอาจารย์คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ตีพิมพ์ข้อเขียน ‘กรุงอโยธยาในประวัติศาสตร์’ วารสารระดับตำนาน อย่าง ‘สังคมศาสตร์ปริทัศน์’ ฉบับพิเศษ ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พ.ศ.2509 เป็นที่ฮือฮา กล่าวขวัญ ทอล์กออฟเดอะทาวน์ในหมู่ชาวสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์

มีทั้งเสียงเชียร์ เห็นด้วย ช่วยหนุย มีทั้งเสียงค้าน ต่อต้าน ส่ายหน้าเซย์โน กระทั่งเสียงอึกๆ อักๆ ยังลังเล ขอสังเกตการณ์หลักฐานเพิ่มเติม


ภาพถ่ายทางอากาศ พ.ศ. 2497 และผังเมืองอโยธยา (กรอบขวามือ) มีคูน้ำคันดินทำผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 1.4 x 3.1 กิโลเมตร (สำรวจและทำผังโดย พเยาว์ เข็มนาค อดีตข้าราชการกรมศิลปากร)


จากวันนั้นถึงวันนี้ เป็นเวลาถึง 59 ปี ที่ยังถกกันไม่จบ ท่ามกลางข้อเขียนที่มีมากขึ้น ท่ามกลางหลักฐานที่ปรากฏเพิ่มเติม และในปัจจุบัน ก็ยังคงมีทั้งฟากฝั่งเห็นพ้อง มุมมองตรงข้าม กระทั่ง ‘ทีมอ่านคอมเมนต์’ คือ ขออยู่ห่างๆ อย่างจับตา เรียกได้ว่า แม้รุมถกกันมาสู่ปีที่ 60 ก็ยังเป็นประเด็นเผ็ดมันส์ไม่เลิก

ล่าสุด เมื่อพบจารึกใหม่ บนฐานพระพุทธรูปสุโขทัย ปรากฏคำว่า ‘ศรีอโยธยา’ ตรงกับรัชกาลเจ้าสามพระยา ต้นกรุงศรีอยุธยา จึงนำมาซึ่งกระแสความสนใจอีกครั้ง



ผังเมืองอโยธยา บนแผนที่อยุธยาปัจจุบัน


ในหนังสือเล่มล่าสุดที่รวบรวมหลักฐานการมีอยู่ของ ‘อโยธยา’ จากการรวบรวม เรียบเรียง และวิเคราะห์ โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง คำนำเสนอโดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ไล่เรียงความเป็นมาของการศึกษา และข้อถกเถียง โดยระบุว่า เมื่อครั้ง ศาสตราจารย์ศรีศักร เผยแพร่แนวคิดดังกล่าว

นักโบราณคดีกระแสหลักสมัยนั้นคัดค้านแนวคิดที่ว่า ‘เมืองอโยธยา’ มีอยู่จริงก่อน พ.ศ. 1893 เพราะกระทบกระเทือนรัฐในอุดมคดิ คือ ‘สุโขทัยราชธานีแห่งแรกของไทย’



เจดีย์วัดอโยธยา ตั้งอยู่ในจุดที่เชื่อว่าเป็นที่ตั้งของเมืองอโยธยา นอกเกาะเมืองอยุธยา ฝั่งตะวันออก


สุจิตต์ เชื่อว่า ต้นตอของการเห็นค้าน มาจากความไม่แข็งแรงในข้อมูลและแนวคิดประวัติศาสตร์สังคม-วัฒนธรรมและเศรษฐกิจ-การเมือง เนื่องจากถูกฝังหัวลึกมากด้วยประวัติศาสตร์ศิลปะแบบอาณานิคมที่มีอำนาจชี้ขาดประวัติศาสตร์ไทยจนถึงทุกวันนี้อย่างน่าอัศจรรรย์

คอลัมนิสต์ ไม่ติดกระดุมเสื้อเชิ้ต ยังยืนยันว่า หลักฐานทั้งหลายทั้งมวลชี้ชัด ว่าอยุธยาไม่ใช่ราชธานีที่สอง ซึ่งมีขึ้นหลังการล่มสลายของสุโขทัยราชธานีแห่งแรก ตามตำราคลาดเคลื่อนของทางการ แต่ไม่พบหลักฐานสนับสนุน

เมืองอโยธยา มีคูน้ำคันดินทำผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ ราว 1.4 x 3.1 กิโลเมตร (1,400 x 3,100 เมตร) อยู่ทางตะวันออกนอกเกาะเมืองอยุธยา อ. เมืองฯ จ.พระนครศรีอยุธยา ปัจจุบันคือบริเวณสถานีรถไฟอยุธยาและปริมณฑล

ตามหลักฐานพัฒนาการแล้ว อยุธยาเป็นทายาททางสังคมและวัฒนธรรมสุวรรณภูมิ ที่สืบเนื่องมรดกตกทอดจากบ้านเมืองเก่าแก่นับพันปีมาแล้วของบริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา บนภาคพื้นทวีป ซึ่งนานมากก่อนกรุงสุโขทัยที่เพิ่งมีสมัยหลัง โดยการสนับสนุนของกลุ่มบ้านเมืองที่ภายหลังเป็นกรุงศรีอยุธยา

ดังนั้น กรุงสุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก เพราะสุโขทัยเป็นรัฐขนาดเล็กแห่งหนึ่งในครั้งนั้นที่เติบโตขึ้นจากการสนับสนุนของรัฐละโว้และรัฐอโยธยา โดยกรุงสุโขทัยมีพื้นที่ทางใต้สุดแค่เมืองพระบาง (จ. นครสวรรค์) ส่วนบริเวณต่ำลงไปต่อจากนั้นเป็นพื้นที่ของรัฐละโว้–อโยธยา (จ. ลพบุรี–จ. พระนครศรีอยุธยา) กับรัฐสุพรรณภูมิ (จ. สุพรรณบุรี)



ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม นักวิชาการไทยคนแรกทีนำเสนอหลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดีเกี่ยวกับ ‘เมืองอโยธยา’ อย่างเป็นระบบ ตีพิมพ์ในสังคมศาสตร์ปริทัศน์ เมื่อ พ.ศ.2509


เมืองอโยธยามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งเป็นที่รับรู้มากกว่า 100 ปี มาแล้ว ตั้งแต่แผ่นดิน ร.5 และมีการแบ่งปันแผยแพร่ข้อมูลความรู้เป็นครั้งคราวต่อเนื่อง

นักปราชญ์และนักวิชาการตั้งแต่แผ่นดิน ร.5 ถึงปัจจุบัน มีการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับความสำคัญเมืองอโยธยา ได้แก่

พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชะคุปต์) สมุหเทศาภิบาลมณฑลอยุธยา, ควบคุมงานขุดค้นและบูรณะพระราชวังโบราณอยุธยา ถวาย ร.5, ธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร), มานิต วัลลิโภดม (อดีตนักปราชญ์ข้าราชการผู้ใหญ่ กรมศิลปากร) หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล อดีตคณบดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ,ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ,จิตร ภูมิศักดิ์ ,พเยาว์ เข็มนาค (อดีตหัวหน้าช่างสำรวจโบราณคดี กรมศิลปากร) เป็นต้น

นอกจากนั้นทุกวันนี้ยังมีนักค้นคว้านักวิชาการร่วมสมัยจำนวนไม่น้อยทุ่มเทศึกษาค้นคว้าและวิจัยอย่างต่อเนื่อง



จารึกบนฐานพระพุทธรูปวัดอินทาราม บางยี่เรือ กรุงเทพฯ ซึ่งเพิ่งพบเมื่อต้นเดือนเมษายน 2568 ปรากฏคำว่า ‘ศรีอโยธยา’




โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์ ศรีศักร วัลลิโภดม ซึ่งเมื่อ 8 ปีก่อน ยังเพิ่งตีพิมพ์ผังเมืองอโยธยาพร้อมหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี ในวารสาร เมืองโบราณ ฉบับอโยธยาศรีรามเทพนคร (มกราคม–มีนาคม 2560)

นับเป็นอีกหนึ่งประเด็นร้อนแรงเป็นระลอก รองจาก ‘คนไทยมาจากไหน?’ และ ‘สุโขทัยไม่ใช่ราชธานีแห่งแรก’ ที่ล้วนต้องถกและเถียงกันต่อไปภายใต้หลักฐานทางโบราณคดี ไม่ใช่ ‘อีโม (ชั่น)






ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/local/arts-culture/news_5141736
วันที่ 16 เมษายน 2568 - 19:25 น.   
34  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / รุ่งโรจน์ ค้นลึก จ่อจัดเต็ม 9 ข้อสันนิษฐาน จากจารึกวัดอินฯ เมื่อ: เมษายน 28, 2025, 06:38:35 am
.



รุ่งโรจน์ ค้นลึก จ่อจัดเต็ม 9 ข้อสันนิษฐาน จากจารึกวัดอินฯ ผนึกนักวิชาการสอบทานรอบสุดท้าย

สืบเนื่องกรณีวัดอินทารามวรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ มีการค้นพบจารึกบนฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัยซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในเก๋งจีน ศาลารายของพระอุโบสถ โดยปรากฏคำสำคัญว่า ‘ศรีอโยธยา’ รวมถึงนามบุคคลในพงศาวดาร ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ.1974 ในรัชกาลเจ้าสามพระยา แห่งกรุงศรีอยุธยา โดยมีการเผยแพร่คำอ่านอย่างไม่เป็นทางการโดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล และ ผศ.ธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อ 10 เมษายนที่ผ่านมา

เมื่อวันที่ 23 เมษายน ที่วัดอินทารามวิหาร รศ.ดร.รุ่งโรจน์ และ ผศ.ธนโชติ ร่วมด้วย นายนรนท สุขวณิช มหาบัณฑิตภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าสอบทานคำอ่านจารึก

โดยจารึกที่ฐานพระพุทธรูปมี 2 ตําแหน่ง คือ

ตําแหน่งแรก อยู่ที่บริเวณฐานด้านหน้ามีข้อความขนาดยาว มี 4 บรรทัด อักษรไทยภาษาไทย เริ่มต้น กล่าวถึง จุลศักราช 793 ปีกุน เดือน 10 ขึ้น 8 ค่ํา วันพุธ ตรงกับปฎิทินสากลคือ วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 1974 เจ้านครยศเสด็จลงมาที่ศรีอโยธยา สมเด็จพระบรมราชาศรีมหาจักรพรรดิรับพระราชทานสุพรรณบัตรมีนามว่าขุน ศรีนครยศ ขุนศรีนครยศจึงได้ของประทานสร้างพระพุทธรูปองค์นี้และได้อุทิศข้าพระพุทธรูปและเงินถวาย

ตําแหน่งที่สอง อยู่ที่บริเวณฐานด้านข้างขวาของพระพุทธรูปมีข้อความขนาดยาว มี 4 บรรทัด อักษรไทย ภาษาไทย กล่าวถึง การอุทิศกุศลผลบุญถวายบูรพราชา





รศ.ดร.รุ่งโรจน์กล่าวว่า วันนี้พวกตนเดินทางมาร่วมกันสอบทานคำอ่าน ก่อนส่งบทความเกี่ยวกับจารึกดังกล่าว ตีพิมพ์ในนิตยสารศิลปวัฒนธรรม เบื้องต้น ตั้งชื่อบทความว่า ‘จารึกฐานพระพุทธรูปสําริดที่วัดอินทารามวรวิหาร: ประวัติศาสตร์เมืองศรีสัชนาลัย’ โดยมีเนื้อหาวิเคราะห์เชื่อมโยงประวัติศาสตร์อยุธยาและสุโขทัยจากข้อความที่ปรากฏในจารึก

นอกจากนี้ ตนยังมีข้อสันนิษฐานที่นำเสนอในบทความรวม 9 ข้อ ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง 4 ข้อ ได้แก่

1. พระพุทธรูปองค์นี้เคลื่อนย้ายมาจากศรีสัชนาลัย

เนื่องจากจากข้อความในบรรทัดที่ 1 กล่าวถึงเมืองศรีสัชนาลัย และถ้าพิจารณาพระพักตร์ของพระพุทธรูป มีลักษณะเหมือนกับพระพักตร์ของหลวงพ่อสุข วัดหงส์รัตนาราม กรุงเทพฯ ซึ่งปรากฏจารึกที่ฐานว่า พระยาศรียศราชหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1967 ซึ่งชื่อพระยาท่านนี้ก็มีความสัมพันธ์กับเมืองศรีสัชนาลัย

ด้วยเหตุนี้จึงทําให้เชื่อได้ว่าพระพุทธรูปในเก๋งวัดอินทารามก็น่าจะเชิญมาจากเมืองศรีสัชนาลัย สันนิษฐาน ว่าน่าจะอัญเชิญลงมาในคราวพระยาศรีสหเทพ (ทองเพ็ง) บูรณะปฎิสังขรณ์วัดอินทารามในครั้งรัชกาลที่ 3ดังนั้นเนื้อความในจารึกหลักนี้จึงเป็นเรื่องราวของเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยหรือเมืองเชลียง





2. ศรีอโยธยาในจารึกคือ ร่องรอยชื่อเก่าก่อน พ.ศ. 1893

ในบรรทัดที่ 2 ของจารึกบริเวณฐานด้านหน้าเอ่ยถึง “ศรีอโยธยา” แม้ว่าจารึกหลักนี้จะกล่าวถึงเหตุการณ์ พ.ศ. 1974 ตรงกับรัชกาลสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ก็ตาม หากแต่จารึกหลักนี้มิได้สลักโดย ราชสํานักสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ด้วยเหตุนี้จึงทําให้สันนิษฐานว่า “ศรีอโยธยา” ที่ ปรากฏในจารึกหลักนี้คือ ไม่สามารถตีความว่าไม่มีกรุงอโยธยาก่อน พ.ศ. 1893 หากแต่หัวเมืองเหนือปาน้ําโพยัง ยึดติดกับชื่อเดิมของกรุงศรีอยุธยาก่อน พ.ศ. 1893





3. ราชวงศ์ สุพรรณภูมิมีอาณาบารมีแผ่ปกคลุมวงศ์พระร่วง

เนื่องจากเนื้อหาในจารึกซึ่งระบุถึงเจ้านครยศได้เลื่อนสถานภาพขึ้นเจ้านครศรีสัช นาลัยจึงต้องเดินทางมาที่กรุงศรีอยุธยาเพื่อรับพระราชทานสุพรรณบัฏจากสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2(เจ้าสามพระยา)

4. ขุนศรีนครยศเจ้าเมืองเชลียง ในจารึกนี้ คือ คนเดียวกันหรือไม่

เนื้อความในจารึกออกชื่อเจ้านครยศผู้ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นขุนนครยศราช และในตอนท้ายระบุว่าขุนศรี นครยศขออุทิศผลบุญ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ สันนิษฐานชื่อทั้ง 3 ที่ปรากฏในจารึกหลักนี้เป็นบุคคลเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าขุนศรีนครยศไม่ใช่ พระยาศรียศราช ในจารึกวัดหงส์รัตนาราม




(จากซ้าย) ผศ. ธนโชติ เกียรติณภัทร, นายนรนท สุขวณิช และ รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล




ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/local/arts-culture/news_5150819
วันที่ 23 เมษายน 2568 - 17:43 น.   
35  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศาสนาผี ‘ที่สุดในโลก’ เมื่อ: เมษายน 27, 2025, 07:00:19 am
.



ศาสนาผี ‘ที่สุดในโลก’

บางตอนจากหนังสือ ศาสนาผี ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ

ศาสนาผีเป็นศาสนามวลชนเก่าแก่ที่สุด และมีคนนับถือมากที่สุดในโลก จึงแผ่ความเชื่อหล่อหลอมคนส่วนมากก่อนมีศาสนาใหญ่สมัยหลัง

แต่ศาสนาผีไม่เอื้อต่อการรวมศูนย์อำนาจ จึงเป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์, พุทธจากอินเดีย เมื่อแผ่ถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาและอุษาคเนย์ ได้กลืนศาสนาผีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพราหมณ์, พุทธ ซึ่งทำให้ชนชั้นนำและคนส่วนมากครั้งนั้นนับถือศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ ที่ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองการปกครองด้วยการค้ำจุนอำนาจรวมศูนย์ของชนชั้นนำในบ้านเมืองสมัยนั้น แล้วสืบทอดจนสมัยนี้

ประเทศไทยนับถือศาสนาหลักที่ถูกสมมุติเรียกชื่อใหม่ว่า “ศาสนาไทย” อันเป็นมรดกตกทอดการผสมกลมกลืนของศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ นับพันๆ ปีมาแล้ว ซึ่งมีวิถีต่างจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในอินเดีย และศาสนาพุทธในพระไตรปิฎก

โครงกระดูกมนุษย์นับพันปีที่นักโบราณคดีขุดพบในไทยและเพื่อนบ้าน ล้วนเป็นผลจากพิธีกรรมหลังความตายทางศาสนาผี ซึ่งต้องมีนิยามและคำอธิบายตามความเชื่อทางศาสนาผี ที่ต่างกันมากกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กับศาสนาพุทธจากอินเดีย

@@@@@@@

ศาสนาผี มาจากไหน.?

ศาสนาผี หมายถึง ระบบความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ว่าบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ดีและร้าย ทั้งในโลกผีกับโลกมนุษย์ หรือเมืองผีกับเมืองมนุษย์ โดยจัดให้โลกผีหรือเมืองผีอยู่ต่างมิติ ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่เคลื่อนไหวได้ แยกส่วนได้

[เมื่อเทียบความเชื่อของพราหมณ์กับพุทธจะพบว่าต่างกันมาก เนื่องจากศาสนาผีไม่มีวิญญาณ, ไม่มีเวียนว่ายตายเกิด, ไม่มีโลกหน้า, ไม่มีสวรรค์, ไม่มีนรก, ไม่มีเผาศพ, ไม่มีเทวดา, ไม่มีนางฟ้า, ไม่มียมบาล ฯลฯ]

ความเชื่อผีก่อนหน้านี้ถูกเหยียด และไม่ได้รับการยอมรับเป็นศาสนาจากสังคมทั่วไป แต่ทางวิชาการสากลยกย่องให้ความสำคัญว่าความเชื่อผีเป็นศาสนาหนึ่งในโลกดังนี้

     1. ศาสนาผีเป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้ว นับไม่ถ้วน

     2. ศาสนาผีเป็นศาสนามวลชนเก่าแก่ที่สุด ที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก นับไม่ถ้วน

     3. ศาสนาผีไม่เอื้อต่อการรวมศูนย์อำนาจ เป็นเหตุให้ศาสนาที่แผ่เข้ามาจากอินเดีย คือ ศาสนาพราหมณ์-พุทธได้กลืนศาสนาผีเข้าเป็นส่วนหนึ่งเรียก ผี, พราหมณ์, พุทธ เพื่อให้ค้ำจุนอำนาจรวมศูนย์กลางของชนชั้นนำในบ้านเมือง





ผีคืออะไร.?

ผี คือ ความเชื่อว่าเป็นสิ่งมีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติที่บันดาลให้เกิดผลกระทบถึงคน ทั้งผลดีและผลไม่ดี

หรืออีกด้านหนึ่งผีเป็นสิ่งประดิษฐ์ตามจินตนาการของมนุษย์จากความเชื่อเรื่องขวัญ

ดังนั้น ผี คือ ขวัญของคนตาย หมายถึง ส่วนไม่เป็นตัวตนของคนตาย เพราะเมื่อขวัญออกจากร่างคนมีชีวิตจะทำให้คนนั้นตาย หรือผีคือขวัญของคนตายที่ออกจากร่าง บางทีเรียกผีขวัญ

@@@@@@@

ผีมาจากไหน.?

มาจาก
    (1.) ความเชื่อของคนในศาสนาผีเรื่องขวัญ
    (2.) ว่าคนตายกลายเป็นผี ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน, จับต้องไม่ได้, มองไม่เห็น, เคลื่อนไหวได้, แยกส่วนได้, ไม่มีเสียง ฯลฯ
    (3.) สิงสู่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่ ฯลฯ

ผีมาจากขวัญ คนดั้งเดิมในไทยเชื่อว่าผีมาจากขวัญ (คือส่วนไม่เป็นตัวตน) ตามความเชื่อศาสนาผีว่า “คนตาย ขวัญไม่ตาย” ขวัญกลายเป็นผี ทำให้มีโลก 2 มิติ ทับซ้อนกัน คือ โลกของคน กับ โลกของผี หมายถึง
    (1.) คนตาย เพราะขวัญหายออกจากร่าง (ไม่รู้หายไปไหน?)
    (2.) ขวัญไม่ตาย กลายเป็นผี ร่อนเร่ไปไหนต่อไหน ไม่คืนร่าง
    (3.) ถ้าขวัญคืนร่าง เชื่อว่าคนจะฟื้น

จึงมีพิธีกรรมหลังความตาย เพื่อให้ขวัญคืนร่าง แต่คนไม่เคยฟื้น เพราะขวัญไม่เคยคืนร่าง ดังนั้นขวัญอยู่ต่างมิติในโลกผี

ขวัญ คือ ส่วนไม่เป็นตัวตนอยู่ในคนมีชีวิต ต่อมาเมื่อรู้จัก “วิญญาณ” ตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ จึงรับคำว่าวิญญาณมาใช้งาน ครั้นนานไปก็ผสมกันระหว่างวิญญาณ, ขวัญ, ผี แล้วปนกันจนแยกไม่ได้

แต่ในความเป็นจริงใช้แทนกันไม่ได้ เพราะวิญญาณมีดวงเดียว แต่ขวัญมีหลายหลากมากกว่าหนึ่ง นอกจากนั้นวิญญาณมีเวียนว่ายตายเกิด แต่ขวัญไม่เวียนว่ายตายเกิด หมายถึง ไม่ตายและไม่เกิด

ผี (ในพุทธ) มาจากวิญญาณ คนไทยทุกวันนี้เชื่อว่าผีมาจากวิญญาณ (คือส่วนไม่เป็นตัวตน) ตามคำสอนพุทธเรื่อง “เวียนว่ายตายเกิด” หมายถึง ตายแล้วเกิด (ใหม่) ไม่รู้จบ

แต่วิญญาณมีดวงเดียว คนตาย วิญญาณดับ ไปจุติใหม่ทันที-ขึ้นสวรรค์/ลงนรก? ดังนั้น ผีจึงไม่มาจากวิญญาณ เพราะวิญญาณไปจุติแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ





ผีหลายพวก

ผีมี 2 พวกใหญ่ๆ คือ ผีดีและผีร้าย

ผีดี มี 2 ประเภท ซึ่งให้คุณและโทษต่อมนุษย์ คือ ผีดินกับผีฟ้า

ผีดิน หมายถึง ผีพื้นเมืองหลายพันปีมาแล้ว พบทั่วไปในชุมชนเก่าแก่แรกเริ่ม ได้แก่ ผีเรือน, ผีบ้าน, ผีเมือง, ผีดง, ผีป่า, ผีบก, ผีน้ำ (พญานาค) ฯลฯ

ผีฟ้า หมายถึง ผู้เป็นใหญ่บนฟ้า บางทีเรียกเจ้าแห่งฟ้า หรือเจ้าฟ้า

ผีฟ้า โดยสรุปมีความเป็นมาดังนี้

     1. แหล่งรวมพลังขวัญของผีบรรพชน หรือผีชนชั้นนำที่ตายแล้วของเผ่าพันธุ์ ซึ่งถูกส่งขึ้นฟ้ารวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับผีขวัญบรรพชนคนก่อนๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองคนที่ยังไม่ตายอยู่ในชุมชนพ้นโรคภัยไข้เจ็บและอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร

     2. ถูกเรียกอีกชื่อว่าแถน (ราว 2,500 ปีมาแล้ว เมื่อเรือน พ.ศ.1) ซึ่งได้จากภาษาจีนว่าเทียน แปลว่า ฟ้า หมายถึง ผู้เป็นใหญ่บนฟ้า [จากหนังสือ พงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงเมื่อปลายแผ่นดิน ร.5 พ.ศ.2451] หลังจากนั้นเรียกรวมว่า “ผีฟ้าพญาแถน”

     แถน คือ ผีฟ้า มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ผู้สร้างทุกอย่างในโลกทั้งดินและฟ้า บรรดาคนในชุมชนบ้านเมืองลุ่มน้ำเจ้าพระยานับพันปีมาแล้วนับถือแถน แต่กลายเสียงกลายรูปเป็นแผน ได้แก่ หลังรับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รู้จักพรหมเป็นเทวดาผู้สร้างทุกอย่างในจักรวาล มีอำนาจเหมือนแถน จึงเรียกพรหมด้วยคำไท-ไตอันคุ้นเคยว่าแผน แล้วยกเป็นใหญ่ว่า “ขุนแผน” พบในโองการแช่งน้ำตอนพระพรหมตรวจพื้นที่สร้างโลกว่า “ขุนแผน แรกเอาดิน ดูที่” (มีอธิบายละเอียดในหนังสือ โองการแช่งน้ำ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ดวงกมล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2524 หน้า 39-55)

     3. ผีฟ้ากับคนติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่าน “ตัวกลาง” คือ ร่างทรง หรือคนทรงซึ่งเป็นหญิง

     4. คนในชุมชนถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผีฟ้า ด้วยจารีตประเพณีพิธีกรรมในศาสนาผี ผ่านหมอมด

     5. ต้นตอลัทธิเทวราช (ราว พ.ศ.1400) ด้วยการปรับความเชื่อเข้ากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเชิญผีขวัญของพระราชาที่สวรรคตขึ้นสวรรค์บนฟ้า เพื่อรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับเทวะ เป็นเทวราชา (ซึ่งไม่มีคตินี้ในอินเดีย) ดังนี้

ผีฟ้าถูกยกเป็นเทวราชา บนฟ้ามีผีขวัญบรรพชนนับไม่ถ้วน รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเรียกผีฟ้า หรือแถน ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนที่มีชีวิตบนโลก เมื่อคนชั้นนำคนใหม่ตายไปก็ส่งผีขวัญรวมเป็นผีฟ้าหรือแถนเพิ่มอีกไม่รู้จบ

ต่อมา หลังรับความเป็นเทวะบนสวรรค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจากอินเดีย บรรดาคนชั้นนำอุษาคเนย์ร่วมกันปรับความเชื่อเรื่องผีฟ้าผีแถน (ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม) เข้ากับเทวะ โดยเชิญผีขวัญคนชั้นนำขึ้นฟ้าไปรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับเทวะบนสวรรค์ แล้วเรียกใหม่ว่าเทวราชา ในลัทธิเทวราช

เทวราชาอยู่บนสวรรค์ ควบคุมน้ำบนฟ้า มีพลังอำนาจบันดาลน้ำเหล่านั้นตกเป็นฝนหล่นถึงโลก บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร

ผีร้าย ให้โทษอย่างเดียว เช่น ผีฉมบ-จะกละ-กระสือ-กระหัง (กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ 115 ปีก่อนอยุธยา พ.ศ.1778), ผีห่า คือ โรคระบาดทำให้คนตายมาก (เช่น กาฬโรค)



หมาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ นำทางผีขวัญหัวหน้าเผ่าพันธุ์ที่ตายแล้วขึ้นฟ้ารวมพลังเป็นผีฟ้าตามความเชื่อทางศาสนาผี


โครงกระดูกหมา (แบบเต็มโครงสมบูรณ์) ในวัฒนธรรมบ้านเชียง ราว 2,500 ปีมาแล้ว ขุดพบ (เมื่อ พ.ศ.2547) ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ยุคเดียวกัน ที่วัดโพธิ์ศรีใน ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี (ภาพจาก สุรพล นาถะพินธุ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร)




(บน) หมานำผีขวัญของคนตายสู่เมืองฟ้า ตามความเชื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว (ลายเส้นของกรมศิลปากรจำลองภาพเขียนสีที่เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา)
(ล่าง) หมาทำท่าเหินจากฟ้า มีผีขวัญบรรพชนจูงควาย ภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว บนเขาปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี (ลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากร)





ภาพแสดงพิธีกรรมเข้าทรงผีฟ้าเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร ด้วยร่างทรงรวมหมู่คือภาพเขียนรูปคนสวมหน้ากากหัวสามเหลี่ยมตั้งบนรูปทรงกระบอก พร้อมด้วยรูปช้าง, ปลา, เต่า ฯลฯ เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.ศ.1

รูปหัวสามเหลี่ยมตั้งบนทรงกระบอกเป็นรูปคนใส่หน้ากากสวมเครื่องเข้าทรงในพิธีกรรม (ดังพบทุกวันนี้ในผีตาโขน) ไม่ใช่ตุ้ม (ซึ่งเป็นเครื่องมือดักปลาในแม่น้ำสมัยปัจจุบัน) ใช้จับปลาจำนวนมากเพื่อขายในตลาดของระบบทุนนิยม แต่สังคม 2,500 ปีที่แล้ว ทุกคนจับปลาหากินเองตามอัตภาพ ไม่มีตลาดซื้อขายปลาอย่างทุกวันนี้

พิธีกรรมเซ่นผี (หรือเลี้ยงผี) ของคนหลายชาติพันธุ์ บริเวณสองฝั่งโขง 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อ
    (1.) ขอให้พ้นจากความแห้งแล้ง เพื่อความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร เป็นพิธีกรรมประจำปี มีหน้าแล้งเดือน 4 เดือน 5 ถึงเดือน 6 และ
    (2.) ขอให้พ้นจากผีร้าย (คือโรคภัยไข้เจ็บ) เพื่อความอยู่ดีกิน หวาน (คือสบาย) เป็นพิธีจร จัดให้มีตามต้องการที่เกิดเหตุไม่ดี หรือมีผู้เจ็บไข้ได้ป่วย

หมอมด ผู้กำหนดนัดหมายและเป็นเจ้าพิธี มีตอนกลางคืนตั้งแต่ย่ำค่ำจนย่ำรุ่ง นานหลายวันหลายคืนต่อเนื่องกัน อาจเป็นเดือน (มด กลายจากคำเขมรว่ามะม๊วด มักเป็นคนเดียวกับหัวหน้าเผ่าพันธุ์ หรือ Chiefdom) เป็นร่างทรงของผีบรรพชน (ผีฟ้า, ผีแถน)

ฆ่าควาย ปรุงอาหารเซ่นผี และเลี้ยงคนที่ร่วมพิธี ส่วนเลือดควายใช้ป้ายหน้าผากและตามตัวตลอดจนเครื่องมือ หลัง เสร็จพิธีมีกินเลี้ยงและร้องรำทำเพลง พร้อมเป่าแคนและกระทุ้งกระบอกไผ่ รวมทั้งเล่นเครื่องมืออื่นๆ







ขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_5123348
วันที่ 3 เมษายน 2568 - 12:41 น.
36  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาว น้ำท่วมกรุงเทพฯ เหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต เมื่อ: เมษายน 27, 2025, 06:19:07 am
.



ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาว น้ำท่วมกรุงเทพฯ เหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต

นครพนม - ใบปลิวว่อนชายแดนไทย-ลาวด้านจังหวัดนครพนม ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาลาว ระบุเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ที่ จ.นครพนม ได้มีใบปลิวเนื้อหาเป็นภาษาลาว ระบุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะคำสาบานในอดีต แจกจ่ายแพร่สะพัดในตลาดโต้รุ่ง ร้านคาเฟ่อินเทอร์เน็ต และยังแปลข้อความในใบปลิวจากภาษาลาวเป็นภาษาไทยโพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กต่อๆ กัน

สำหรับข้อความในใบปลิวดังกล่าว ระบุหัวข้อตั้งคำถามน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นเพราะคำสาบานในสมัยอดีตจริงหรือไม่ ด้วยเหตุใดพระแก้วมรกตของลาวจึงไปอยู่ในประเทศไทย

ข้อความเล่าย้อนไปในอดีตว่า ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ได้เสียชัยให้กับสยาม (กรุงเทพฯ) แล้ว ศักดินาสยามก็พยายามจะเอาพระแก้วมรกตไปสถิตไว้อยู่ประเทศไทย พวกเขาได้ใช้ความพยายามหลายวิธี แต่ไม่สามารถยกพระแก้วมรกตขึ้นได้ ฉะนั้น ศักดินาสยามจึงให้หมอดูลาว 5 คนเพื่อไปอ้อนวอนช่วย

โดยมีเหตุผลอ้างอิงว่า ปัจจุบันนั้นเมืองลาวเกิดความวุ่นวายไม่สงบ ฉะนั้น จึงขออัญเชิญพระแก้วมรกตนี้ย้ายไปสถิตที่กรุงเทพฯ ถ้าหากว่าวันใดเมืองลาวมีความสงบ จะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปสถิตสถานไว้ที่เมืองลาวเหมือนเดิม



ใบปลิวพิมพ์ด้วยอักษรลาว ที่ว่ากันว่าฝั่งลาวมีอยู่ทุกครัวเรือน


ข้อความยังระบุต่อไปว่า เพื่อเป็นการยืนยันศักดิ์ศรีของศักดินาสยามในเวลานั้น พวกเขาได้สาบานไว้ว่า

“ถ้าหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสาบานดังกล่าวนี้ ขอให้มีมหันตภัย 5 อย่างเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยดังนี้”

    (1) ขอให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง,
    (2) ขอให้ประเทศไทยไม่มีความสงบ เจริญรุ่งเรือง การเมืองให้มีความสับสนวุ่นวาย,
    (3) อาณาจักรเดียวขอให้แบ่งเป็นหลายชาติ ความเป็นเอกราชขอให้พังทลาย,
    (4) ราชบัลลังก์ขอให้ถูกโค่นล้ม,
    (5) ดินส่วนหนึ่งขอให้จมลงทะเล

เมื่อศักดินาสยามได้ยืนยันคำสาบานดังกล่าวแล้ว หมอดูลาวทั้ง 5 คนจึงพร้อมกันอัญเชิญพระแก้วมรกตตามจุดประสงค์ของไทย จากนั้นศักดินาสยามจึงสามารถยกเอาพระแก้วมรกตของลาวไปประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯจนถึงปัจจุบันนี้

@@@@@@@

นอกจากนี้ ในท้ายข้อความในใบปลิวยังอ้างว่า หนังสือฉบับนี้เอามาจากหอสมุดของแขวงหลวงพระบาง ต้นฉบับเป็นภาษาลาว ลงวันที่ 12/2/2010

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดต่อเนื่องว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย อาจเกี่ยวข้องกับคำสาปหรือคำสาบานของไทยและลาว แต่ยังไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันที่อ้างว่ามีบันทึกอยู่ในหอสมุดแห่งชาติลาว

กระทั่งมีผู้นำใบปลิวจากฝั่งลาวมาเผยแพร่ดังกล่าว ผู้นำใบปลิวมาเผยแพร่ยังระบุว่าชาวลาวมีใบปลิวข้อความเนื้อหาข้างต้นแทบทุกครัวเรือน






ขอบคุณ : https://mgronline.com/local/detail/9540000140061
เผยแพร่ : 3 พ.ย. 2554 , 10:41 | โดย : MGR Online
37  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทโธของหลวงปู่ชา : พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 10:40:24 am
.



พุทโธของหลวงปู่ชา : พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)

หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธเป็นอย่างไร.?

หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า

    "เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึดความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ

    จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเราความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละ มันดี คือ จิตมันสงบทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว

    อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต
    แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ
    แล้วพุทโธนั่นแหละ จะผุดขึ้นในจิตของเรา
    เราจะได้รู้จัก พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร
    แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย
"






ขอบคุณที่มา :-
ภาพจาก : pinterest
URL : http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=122&typeID=22&form=9
คอลัมน์ : สงบใจไปกับธรรมะ > ปุจฉา วิสัชนา : หลวงปู่ชา > พุทโธเป็นอย่างไร
วันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
38  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จิตวิทยาแนวพุทธ เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 10:07:40 am
.



จิตวิทยาแนวพุทธ
   
 :25: :25:

ความหมายของจิตวิทยาแนวพุทธ

จิตวิทยาแนวพุทธ คือการนำศาสตร์ที่ศึกษาถึงจิตใจ และกระบวนการทางจิตใจคือจิตวิทยา มาอธิบายกระบวนการการเกิดทุกข์และการพ้นทุกข์ อันเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนานั้นเอง
     
ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาแนวพุทธ จิตวิทยาทั่วไป และพุทธศาสนา

จิตวิทยาทั่วไป หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน และสังเกตเห็นได้โดยทางอ้อม ตลอดจนการศึกษากระบวนการทำงานของจิตเพื่อการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ แต่ไม่ได้มีเป้าหมายให้พ้นทุกข์อย่างถาวร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจิตวิทยาแนวพุทธ
 
พุทธศาสนา รวมความถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวาง ทั้งยังรวมไปถึงความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธด้วย ขณะที่จิตวิทยาแนวพุทธ จะนำบางส่วนของพุทธศาสนา โดยเฉพาะส่วนแก่นกลางที่กล่าวถึงความทุกข์ทางใจ กระบวนการเกิดและดับของความทุกข์ทางใจ โดยอาศัยคำอธิบายของกระบวนการทางจิตใจที่ใช้กันอยู่ในจิตวิทยามาประยุกต์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่คุ้นเคยกับจิตวิทยา
     
@@@@@@@

ความหมายของคำว่า “สุข” และ“ทุกข์” ทางใจ

มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมประสบกับภาวะจิตใจทั้งที่เป็นความสุขและความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าถามว่า ความสุข หมายถึงอะไร เราก็อาจตอบได้ว่า ความสุข หมายถึง การที่เราได้รับความพึงพอใจ ความสมหวังจากสิ่งต่างๆ รอบด้าน
     
จากความหมายดังกล่าว ถ้าถามว่า ความสุขของคุณคืออะไร เราจะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนสุขเพราะได้อยู่กับคนที่รักหรือถูกใจ บางคนสุขเพราะได้ทำงานที่ถูกใจ สุขจากประสบความสำเร็จในการทำงาน สุขจากการได้ทำบุญ สุขจากการรอดภัยอันตราย สุขจากการได้ของถูกใจ หรือบางคนเพียงแค่เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมานานก็เป็นสุขแล้ว
     
ในทำนองเดียวกับคนทั่วไปอธิบายความสุข ความทุกข์ หมายถึงสิ่งที่เราได้รับไม่เป็นที่พึงพอใจของเรา หรือเราสูญเสียสิ่งที่เราไม่อยากให้เสียไป เนื่องจากความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา และพยามหลีกเลี่ยง จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาและเอาชนะไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาหรือศาสนาต่าง ๆ
     
ความทุกข์ใจ ในทางจิตวิทยาเป็นภาวะยุ่งยากทางจิตใจ

เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ละอายใจ ความท้อแท้สิ้นหวัง เป็นต้น ความทุกข์นี้เกิดจากการปรับตัวไม่ได้ หรือเสียสมดุลโดยอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ความแปรปรวนในความคิดหรือภาวะอารมณ์ของเราเอง และหรือปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกที่เป็นทุกข์ เช่น การสูญเสียสิ่งรัก การประสบความผิดหวัง การเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน อาชีพ การทำงาน ครอบครัว ความยุ่งยากเหล่านี้อาจเป็นภาวะชั่วคราวของการปรับตัว หรือกระทั่งกลายเป็นความผิดปกติทางจิตใจ

     



ในทางจิตวิทยา ภาวะเป็นสุขทุกข์ไม่ว่า จะมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดก็ตาม ในที่สุดก็จะมีจุดร่วมที่เกี่ยวข้องกัน หรือมีสาเหตุจาก
     1. ความคิดทางลบ    
     2. ความรู้สึกเครียดที่สะสมในจิตใจ
     
ความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ ทางจิตวิทยาจัดอยู่ในกลุ่มความคิดทางลบ เช่น คิดแต่สิ่งที่สูญเสีย คิดอยู่แต่กับอดีต มองโลกในแง่ร้าย กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ความรู้สึกที่ทำให้ทุกข์ใจจะมีลักษณะร่วม คือ เป็นความเครียดของจิตใจ เมื่อคนเราเผชิญความกดดันต่างๆ รอบตัว ทั้งเรื่องที่รับรู้ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เมื่อประกอบกับความคิดทางลบที่ได้กล่าวมาแล้ว ความรู้สึกเครียดก็จะสะสม จนทำให้กลายเป็นความวิตกกังวล หรือนานไปก็กลายเป็นความท้อแท้สิ้นหวัง และซึมเศร้าในที่สุด
          
การศึกษาในปัจจุบันพบว่า แต่ละบุคคลมีความอ่อนไหวภายในตนเองที่จะเกิดความคิดทางลบ และความรู้สึกเครียด จนทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ต่างๆ กัน เพราะสาเหตุในด้าน
    1. ความคิดทางลบ
    2. ปมในจิตใจที่สะสมมาจากวัยเด็ก
    3. ประสบการณ์ในตลอดชีวิต
     
@@@@@@@

เมื่อคนเรามีความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกก็ตาม จะพยายามที่จะขจัดความทุกข์เหล่านั้น แนวคิดทางจิตวิทยาเสนอกระบวนการพัฒนาตนเองที่จะจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดย
     
1. การจัดการกับอารมณ์ โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายวิธีต่างๆ ในการคลายเครียด เช่น
    1. การหายใจ
    2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
    3. การจินตนาการ
เพื่อให้ความรู้สึกนั้นมันออกจากตัวเรา และเกิดอารมณ์ทางบวกในลักษณะของความสงบและผ่อนคลายเข้ามาแทนที่

2. การจัดการกับความคิด โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้เป็นคิดทางบวก (Positive Thinking)
    ตัวอย่าง เมื่อเกิดมหัตภัยพิบัติ ผู้ที่สูญเสีย เกิดความทุกข์ใจเพราะมองแต่ด้านที่ตนสูญเสียไป ก็ปรับเปลี่ยน วิธีคิดเสียใหม่ว่าตนยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง เช่น มีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือเหตุการณ์นั้นทำให้ เราได้เรียนรู้ที่จะนำมาเป็นบทเรียน เพื่อจะปรับปรุงสิ่งบกพร่องต่อไป

     
@@@@@@@

การพัฒนาตนเองแนวจิตวิทยาทั้ง 2 วิธีการนั้น สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้น ให้มีความคิดความรู้สึกที่บรรเทาเบาบางได้ แต่ไม่ใช้วิธีที่ดับทุกข์ เพราะยังไม่ได้เน้นให้หยั่งรู้ถึงความเป็นจริงว่าสิ่งใดก็ตามเมื่อมันเกิดก็ต้องมีดับไป จนสามารถปล่อยวางทั้งในเรื่องนั้นและเรื่องอื่นๆ ได้
      
หมายเหตุ : ศึกษา เรื่องหลักธรรมมะเพิ่มเติม เช่น วิธีดับทุกข์ เป็นต้น

     




Thank to : http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=132&typeID=22&form=9
คอลัมน์ : สงบใจไปกับธรรมะ โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข   
วันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
39  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 09:47:47 am
.



คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย


KEY POINTS

    •  คนไทย “ค่อนข้างมีความสุข” มากถึง 61% แต่ถึงอย่างนั้นก็มีแค่ 18% เท่านั้นที่รู้สึกว่า “มีความสุขมาก” สะท้อนว่าความสุขของคนไทยยังอยู่ในระดับกลาง ๆ ไม่หวือหวา

    •  “เงิน” คือทั้งตัวสร้างและทำลายความสุขของคนไทย แม้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง แต่สำหรับคนไทย สถานะทางการเงินคือปัจจัยหลักที่ทั้งทำให้มีความสุขและไม่มีความสุข

    •  ไทยอยู่อันดับกลางของเอเชียด้านคุณภาพชีวิต โดย 51% ของคนไทยรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ตามหลังอินเดียและอินโดนีเซีย แต่สูงกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ค่อนข้างมาก




 :49: :49: :49:

เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานผลสำรวจดัชนีความสุขโลกปี 2025 จาก Ipsos ที่ทำการสำรวจข้อมูลประชากรใน 30 ประเทศทั่วโลกชี้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ “ค่อนข้างมีความสุข” โดยระดับความสุขอยู่ที่อันดับที่ 7 ของโลก (จากทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงาน) แต่เมื่อเจาะลึกลงไปเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขและความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุด ติดอันดับ 3 จากทั้งหมด 7 อันดับในเอเชีย

ไม่เพียงเท่านั้น รายงานดัชนีความสุขโลกปี 2025 ดังกล่าว ยังเผยให้เห็นจุดที่น่าสนใจอีกว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คน “มีความสุข” หรือ “ไม่มีความสุข” ก็พบว่าปัจจัยเรื่อง “การเงิน” ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สถานะทางการเงินมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าประเทศอื่น

    'โดยผู้มีรายได้น้อย 38% บอกว่าตนเองไม่มีความสุข เทียบกับ 29% ของกลุ่มรายได้ปานกลาง และ 25% ของกลุ่มรายได้สูง ที่ตอบแบบเดียวกัน'

@@@@@@@

•  คนไทยมีความสุขอยู่ระดับกลาง แต่เงินยังเป็นเรื่องใหญ่

ในกลุ่มประเทศเอเชีย คนไทยส่วนใหญ่ระบุว่า “ค่อนข้างมีความสุข” (61%) ขณะที่ 18% บอกว่ามีความสุขมาก และมีเพียง 2% เท่านั้นที่บอกว่าไม่มีความสุขเลย

นอกจากนี้ คนไทยยังรู้สึก “พึงพอใจในคุณภาพชีวิต” ถึง 51% ซึ่งอยู่ในระดับกลาง ๆ ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย (54%) และมาเลเซีย (51%) แต่ห่างจากอินเดีย (74%) ที่เป็นผู้นำอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลด้านระดับความสุข-ความพึงพอใจในชีวิต ของแต่ละประเทศในแถบเอเชีย มีดังนี้





• “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” ยังเป็นหัวใจหลักของความสุข

โดยรวมแล้ว จากการสำรวจใน 30 ประเทศทั่วโลกพบว่า “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” และ “ความรู้สึกว่าได้รับความรัก” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนมีความสุข





แต่ที่น่าสนใจคือ ในประเทศไทยและสวีเดน กลับเป็นเรื่องการเงินที่คนมองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนความสุขหลัก ซึ่งสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและความมั่นคงในชีวิตที่ยังคงมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกของผู้คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูปัจจัยที่ทำให้ผู้คนแต่ละประเทศ (ส่วนใหญ่) มีความสุขและไม่มีความสุข ได้แก่

5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้มีความสุข”

- ความสัมพันธ์กับครอบครัว 36%
- ได้รับความรัก/เห็นคุณค่า 35%
- ควบคุมชีวิตของตัวเองได้ 25%
- สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 25%
- สถานะทางการเงิน 24%

5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความสุข”

- สถานะทางการเงิน 58%
- สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 30%
- สุขภาพร่างกาย 25%
- สภาพเศรษฐกิจในประเทศ 23%
- ความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย 19%
- ช่วงอายุไหนที่คนเรามีความสุขที่สุด?

@@@@@@@

•  ผู้หญิงมีระดับความสุขคงที่ตลอดชีวิต แต่ผู้ชายจะพุ่งสูงในวัย 60

รายงานยังชี้ว่า คนเรามักมีความสุขน้อยที่สุดในช่วงวัยกลางคน แต่เมื่ออายุเข้าสู่ 60-70 ปี ความสุขกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีระดับความสุขค่อนข้างคงที่มาตลอดชีวิต และพุ่งสูงสุดในช่วงหลังเกษียณ ส่วนผู้ชายจะมีความสุขสูงสุดในวัย 60 ปีขึ้นไปเช่นกัน แต่ก็เคยมีช่วง “พีค” ในวัย 20 ปีเป็นช่วงสั้นๆ

นอกจากนี้ หากดูในภาพรวมทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงานชิ้นนี้ จะพบว่า  "อินเดีย" ครองอันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนประชาชนที่บอกว่าตนเองมีความสุขถึง 88% รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์ (86%)

ส่วน ฮังการี เป็นประเทศที่มีความสุขต่ำที่สุด (45%) ขณะที่ ตุรกี แม้จะไม่ใช่อันดับสุดท้ายในปีนี้ แต่ก็เป็นประเทศที่มีความสุขลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 2011 โดยลดลงถึง 40 จุดเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ "ประเทศไทย" ความสุขของคนไทยอยู่ในระดับกลาง ไม่ดีไม่แย่ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีความสุขหรือไม่มีความสุขก็คือ การเงินส่วนบุคคล นั่นเอง

 



Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1177430
By วรุณรัตน์ คัทมาตย์ | 24 เม.ย. 2025 เวลา 18:10 น.
อ้างอิง : Ipsos Happiness Index 2025
40  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คติการสร้างสูงส่ง พิมพ์ทรงเลิศล้ำ ศิลปกรรมพระสมเด็จฯ เมื่อ: เมษายน 24, 2025, 09:50:52 am
.



คติการสร้างสูงส่ง พิมพ์ทรงเลิศล้ำ ศิลปกรรมพระสมเด็จฯ

ตรียัมปวาย ได้กล่าวไว้ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 1 ว่า ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ช่างได้สร้างตามรูปแบบที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตได้กำหนดเอาไว้

คำว่า “รูปแบบที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตได้กำหนดเอาไว้” นั้น “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขออนุญาตนำเสนอแนวพิจารณาว่าประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก

ส่วนแรกก็คือการที่ท่านเจ้าประคุณฯ ได้มีการกำหนดคติการสร้าง หรือกรอบแนวคิดที่กำหนดรูปลักษณะเบื้องต้นของพระที่จะสร้าง

และส่วนที่สองคือ พุทธศิลป์พิมพ์ทรง โดยช่างศิลป์จะมีการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรงพระให้มีความงดงามและสอดคล้องกับคติการสร้าง จากนั้นจึงทำการแกะแม่พิมพ์ตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อนำเสนอให้กับท่านเจ้าประคุณฯ พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะใช้แม่พิมพ์นั้นสร้างพระต่อไป

@@@@@@@

คติการสร้าง

ในเรื่องคติการสร้างนั้น จากหลักฐานที่มีปรากฏ “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” อนุมานว่า ท่านเจ้าประคุณฯ น่าจะได้มีการกำหนดคติการสร้างพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมไว้เป็นสองรูปแบบ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนกระทั่งตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คติการสร้างรูปแบบแรก คือ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาก่อนที่จะทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” และคติการสร้างรูปแบบที่สอง คือ “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

คติการสร้างรูปแบบแรกนั้น สะท้อนให้เห็นในรูปลักษณะของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคแรก ที่เป็นแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น หรือที่เรียกว่าพระสมเด็จเกศไชโย ที่เป็นลักษณะของ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยา” (การทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เพื่อหาหนทางแห่งการดับทุกข์) องค์พระจะเน้นให้เห็นพระวรกายที่ผ่ายผอมจนมองเห็นพระผาสุกะ (ซี่โครง) ตลอดทั้งพระวรกาย (ส่วนฐานที่มีแบบ 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น นั้น เป็นปริศนาธรรมของท่านเจ้าประคุณฯ) โดยเป็นรูปลักษณะที่เป็นไปตามคติการสร้างรูปแบบแรก ที่แสดงให้เห็นถึง “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาก่อนที่จะทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”

ในส่วนของคติการสร้างรูปแบบที่สองของท่านเจ้าประคุณฯ นั้น แสดงให้เห็นถึง “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” รูปลักษณะของพระจะแสดงให้เห็นถึงพระวรกายที่สมบูรณ์ ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น หมายถึงการที่ทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

โดยฐานทั้ง 3 ชั้นนั้น หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อการพ้นทุกข์ ด้วยอริยสัจสี่ อันมีพระนิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย พระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคปลาย หรือที่เรียกว่าแบบพิมพ์ทรงมาตรฐาน สร้างโดยช่างทองหลวง จะสร้างตามคติการสร้างรูปแบบนี้

@@@@@@@

พุทธศิลป์พิมพ์ทรง

เมื่อท่านเจ้าประคุณฯ ได้มีการกำหนดคติการสร้างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรง ซึ่งดำเนินการโดยช่างศิลป์ที่เข้ามาช่วยเหลือท่านเจ้าประคุณฯ ในช่วงเวลานั้น

พุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมที่สร้างในช่วงแรก ที่เป็นแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น จะเป็นแบบลักษณะที่มีพระวรกายผ่ายผอมตามคติการสร้าง ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น มีการออกแบบโดยช่างที่เข้ามาช่วยทำในช่วงแรก ก่อนที่ช่างทองหลวงจะเข้ามาช่วยทำ พุทธศิลป์พิมพ์ทรงจะมีความงดงามทางศิลปะอยู่ในระดับหนึ่ง ไม่ซับซ้อนมีรายละเอียดมากนัก

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องพิมพ์ทรงของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น อาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์ ผู้เขียนหนังสือ “สามสมเด็จ” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้กล่าวไว้ว่า “...พระสมเด็จเกศไชโยของวัดไชโยวรวิหารจังหวัดอ่างทอง ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างลงกรุไว้ที่วัดนี้นั้น จะมีด้วยกันทั้งหมดก็เพียง 2 พิมพ์เท่านั้น ก็คือ

1. พระสมเด็จเกศไชโยฐาน 7 ชั้น “พิมพ์ใหญ่” และ
2. พระสมเด็จเกศไชโยฐาน 6 ชั้น “พิมพ์เล็ก”...”

@@@@@@@

ในส่วนของพุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมแบบฐาน 3 ชั้น ที่ทำตามคติการสร้างแบบที่สอง “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ที่ทำในยุคปลาย หรือที่เรียกว่ากลุ่มพิมพ์ทรงมาตรฐาน ออกแบบโดยช่างทองหลวงนั้น ตรียัมปวาย ได้สรุปเป็นพุทธศิลป์ลักษณะไว้ 3 กลุ่ม คือ

1. พุทธศิลป์ประณีต ถอดเค้าจากพุทธศิลป์โบราณชั้นคลาสสิก คือพุทธศิลป์สกุลช่างสุโขทัย เชียงแสน และอู่ทอง พิมพ์ทรงที่ได้รับอิทธิพล ได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกตุบัวตูม และพิมพ์ทรงปรกโพธิ์

2. พุทธศิลป์พื้นเมือง เป็นแบบโบราณ คร่ำๆ เก่าๆ แบบพื้นบ้าน ไม่ได้พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ได้แก่ พิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ (พิมพ์นี้ ตามตำราบอกว่าออกแบบพิมพ์ทรงโดยท่านเจ้าประคุณฯ เอง)

3. พุทธศิลป์สังเขป เป็นแบบโมเดิร์นอาร์ต จับเค้าพุทธลักษณะส่วนใหญ่มาย่นย่อลงเป็นเส้นโดยการสังเขป เช่น พิมพ์ทรงสังฆาติ พิมพ์ทรงเส้นด้าย และพิมพ์ทรงฐานคู่





ผู้เชี่ยวชาญพระสมเด็จฯ อาจารย์วิชัย อุทัยสุทธิวิจิตร (ลิ้ม กรุงไทย) ได้กล่าวถึงลักษณะพิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ ไว้ในหนังสือ “อนุสรณ์ ครบ 100 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2515 ไว้ดังนี้

“... พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ที่เรียกกันว่า พิมพ์ทรงพระประธานนั้น มีลักษณะรูปทรงคือ พระพักต์กลม พระเกศยาวคล้ายเปลวเพลิง ไหล่ยก อกตั้ง เข่าโค้งน้อยๆ ช่วงแขนและการซ้อนพระกรผึ่งผายยิ่งนัก ประทับนั่งสมาธิในอาการอันสงบ ดูแล้วเหมือนจะได้รับความบันดาลอันเกิดขึ้นจากพระประธานในโบสถ์วัดระฆังมาก

สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์นั้น ลักษณะรูปทรงล่ำสันต้อกว่าพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย พระพักต์กลม อกผายนูน ชั้นฐานมีความประสานกลมกลืนและลดหลั่นกันอย่างมีจังหวะ นั่งสมาธิในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านคงจะได้สร้างสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ให้มีสาทิศลักษณะของพระแก้วมรกตในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)





ส่วนพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม รูปทรงเรียวชลูดเล็กน้อย พระพักตร์ตั๊กแตน ประทับนั่งสมาธิในอาการสงบนิ่ง แต่ก็แสดงถึงความงดงามและอ่อนไหวทางพุทธศิลป์ เห็นแล้วเหมือนกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้แบบพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซมนี้ไปจากพระพุทธสิหิงส์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ...”




พระสมเด็จฯ ในกลุ่มพิมพ์ทรงมาตรฐานนี้ ถือว่าเป็นพระสมเด็จฯ ที่มีพุทธศิลป์พิมพ์ทรงที่งดงามที่สุดแบบหนึ่ง เมื่อเทียบกับพระเครื่องที่เคยมีการสร้างมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สมกับที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่อง

เมื่อช่างศิลป์ได้ออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรงเสร็จแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญต่อจากการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรง ก็คือการถ่ายทอดแบบร่างพุทธศิลป์พิมพ์ทรงไปสู่การแกะแม่พิมพ์ โดยที่มีการประยุกต์ใช้หลักการของประติมากรรมแบบนูนต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” จะขออธิบายถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกครั้งเมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ

@@@@@@@

น่าสนใจว่า เมื่อท่านเจ้าประคุณฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคแรก ในแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น หรือพระสมเด็จเกศไชโย ตามคติการสร้างแบบ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาฯ” ที่มีพระวรกายผ่ายผอมแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่า ท่านเจ้าประคุณฯ น่าจะให้ช่างชุดเดียวกันนั้น ทำการสร้างพระสมเด็จฯ ตามคติการสร้างแบบ “ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า” หรือแบบฐาน 3 ชั้น ที่มีพระวรกายสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันด้วย

โดยอาจใช้กรรมวิธีการสร้างรวมถึงเนื้อหามวลสารแบบเดียวกัน ... ถ้ามีการสร้างจริง พุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบฐาน 3 ชั้นในกลุ่มนี้จะมีรูปลักษณะเป็นอย่างไร ... ก่อนที่ต่อมาจะมีช่างทองหลวงเข้ามาช่วยทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ทรงมาตรฐาน แบบฐาน 3 ชั้น ที่เป็นพิมพ์ทรงมาตรฐาน ในช่วงยุคปลาย อย่างที่เห็นกัน

อาจารย์ประกิต หลิมสกุล หรือ พลายชุมพล แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เคยกล่าวไว้ว่า พระแท้ของสมเด็จโตนั้นยังมีอีกมากมายหลายพิมพ์ทรงที่ยังไม่เป็นที่นิยมเล่นหา มูลค่าราคายังไม่สูงนัก นักสะสมที่สนใจศึกษาอย่างจริงจัง ย่อมมีโอกาสที่จะได้พระสมเด็จฯ ของท่านเจ้าประคุณฯ มาครอบครองบูชาโดยไม่ยากเย็นเกินไปนัก

@@@@@@@

ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่เพจ พระสมเด็จศาสตร์ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ครู เพื่อให้ความรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของพระท่านปัจจุบัน พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม เป็นองค์ตำนานที่มีความงดงามที่สุดอีกองค์หนึ่ง

เนื้อหนึกนุ่มผสมหนึกแกร่ง ละเอียดปานกลาง วรรณะขาวงาช้างฉ่ำซึ้ง ไม่ปรากฏการแตกลายงาให้เห็น เป็นพระที่กดพิมพ์ได้ลึกเต็มพิมพ์ ตัดขอบเลยกรอบแม่พิมพ์เล็กน้อย จุ่มรักค่อนข้างหนา รักมีสีแดงปนดำ พิมพ์ทรงถูกต้องตามตำรา ด้านหลังเป็นแบบหลังสังขยา มีขอบกระเทาะที่แสดงถึงธรรมชาติความเก่าทั้งสี่ด้าน เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ เป็นองค์ต้นแบบที่ดีเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ







Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/amulet/2854300
22 เม.ย. 2568 , 16:20 น. |  ไลฟ์สไตล์ > พระเครื่อง > ไทยรัฐออนไลน์
ผู้เขียน : พ.ต.ต.คมสัน สนองพงษ์ อดีตตำรวจพิสูจน์หลักฐาน
เพจเฟสบุ๊ค – พระสมเด็จศาสตร์
หน้า: [1] 2 3 ... 574