ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - ปัญญสโก ภิกขุ
หน้า: 1 2 [3] 4
81  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ปฏิบัติธรรม เมษา 2558 เมื่อ: เมษายน 02, 2015, 06:16:49 pm
มูลนิธิสาวกานังฯ สกลนคร สาวกานังฯ สกลนคร
เรียนเชิญ...กัลยาณมิตรผู้ศรัทธาในตถาคตเข้าร่วมปฎิบัตธรรม...
ณ สถานปฎิบัติธรรมตามคำสอนพระศาสดา 44/1 ต.กาญจณา อ.เมือง จ.แพร่ คอร์ส(Coures) ปฎิบัติตามคำสอนพระศาสดา โดยพระอาจารย์สุระ สุรปญฺโญ และมหาปัญ
ตารางปฎิบัติธรรมระหว่างวันที่ 21-25 เมษายน 2558

82  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / วัดไทยในต่างแดน เมื่อ: เมษายน 02, 2015, 06:09:58 pm
วัดพระสิงห์ ยูเค



83  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ประมวลภาพ สามเณร ภาคฤดูร้อน ทั่วไทย ปี 2558 at Facebook เมื่อ: เมษายน 02, 2015, 06:00:08 pm
วัดคุ้งตะเภา ที่ ชายทะเลชะอำ





โน เจ อสฺส สกา พุทฺธิ วินโย วา สุสิกฺขิโต
วเน อนฺธมหึโสว จเรยฺย พหุโก ชโน
ถ้าไม่มีพุทธิปัญญา แลมิได้ศึกษาระเบียบวินัย
คนทั้งหลายก็จะดำเนินชีวิต เหมือนดังกระบือบอดในกลางป่า
(คันธารชาดก ขุททกนิกาย ชาดก ๒๗/๑๐๔๘)
------------------------------------------------
ภาพ: เช้า ๑ เม.ย. ๕๘ ส่วนหนึ่งของกิจกรรมธรรมทัศนศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พระนครคีรี, ชายทะเลชะอำ จังหวัดเพชรบุรี, เขาหลวง จังหวัดเพชรบุรี, พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุพรรณบุรี, หอเกียรติยศ นายกรัฐมนตรีคนที่ ๒๑, สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำบึงฉวาก จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ ๓๐ มี.ค.-๑ เม.ย. ๕๘ ในโครงการบรรพชาสามเณรและบวชศีลจาริณีภาคฤดูร้อนวัดคุ้งตะเภา ปีที่ ๑๘
https://sites.google.com/…/banphachasammanenphakru…/novice18
*ลิงก์ดาวโหลดภาพทั้งหมดทุกวันทุกกิจกรรม https://picasaweb.google.com/102726802175716559537/zlmfcK


วัดศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน ในนามศิษยานุศิษย์













84  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ไปเมืองแปะ แวะขึ้นเขาพนมรุ้ง เมื่อ: เมษายน 02, 2015, 11:16:38 am
ไปเมืองแปะ แวะขึ้นเขาพนมรุ้ง



สำหรับแสงแรกของพระอาทิตย์ที่ลอดผ่านช่องประตูทั้ง 15 ช่องของปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งภาพที่งดงามนั้นเรียกความสนใจจากนักเดินทางท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี

สำหรับปีนี้ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ ททท.สุรินทร์ ชวนเที่ยว "บุรีรัมย์เมืองต้องห้าม...พลาด" รับพลังศักดิ์สิทธิ์แสงแรกพระอาทิตย์ขึ้นส่องตรง 15 ช่องประตูปราสาทพนมรุ้ง สัมผัสมหัศจรรย์ ในงาน ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ประจำปี 2558 ระหว่างวันที่ 3 - 5 เมษายน 2558 ณ อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์

เสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งเป็นงานสำคัญของจังหวัดบุรีรัมย์ที่จัดต่อเนื่องกันมาเป็นปีที่ 24 โดยจัดบนยอดเขาพนมรุ้งอันเป็นที่ตั้งของปราสาทพนมรุ้งเทวาลัยศักดิ์สิทธิ์ สันนิษฐานว่ากษัตริย์นเรนทราทิตย์ เป็นผู้สร้างขึ้น

"ผมขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวชาวไทยชาวต่างประเทศมาร่วมงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งประจำปี 2558 วันที่ 3-5 เมษายน สัมผัสความยิ่งใหญ่อลังการ ประทับใจกับอารยธรรมขอมโบราณ วิถีชีวิตและวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของบุรีรัมย์เมืองปราสาทสองยุค"

การจัดงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง เป็นการนำข้อสันนิษฐานเรื่องการสร้างปราสาทพนมรุ้ง มาจำลองผ่านการแสดงแสง สี เสียง ขบวนเสด็จของพระนางภูปตินทรลักษมีเทวี พระมารดาของนเรนทราทิตย์ ซึ่งเดินทางจากเมืองพระนครมายังเทวาลัยพนมรุ้ง ขบวนเครื่องบูชาและเทพพาหนะ เพื่อถวายเป็นเทวะสักการะแด่เทพเจ้าผู้พิทักษ์ทิศทั้ง 10 แห่งจักรวาล พร้อมด้วยข้าทาสบริวาร

ภายในบริเวณการจัดงานมีหมู่บ้านโอทอป ตลาดย้อนยุคเมืองแปะ (ชื่อเมืองโบราณก่อนเปลี่ยนเป็นบุรีรัมย์) เพื่ออนุรักษ์ประเพณีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม และเป็นการเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดบุรีรัมย์ ในปีนี้ น้องมิว-ลักษณ์นารา เปียทา นักแสดงสาว ร่วมแสดงเป็น "พระนางภูปตินทรลักษมีเทวี" พร้อมทั้งชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมได้ตลอดงาน



ดำรงชัย เนรมิตตกพงศ์ ปลัดจังหวัดบุรีรัมย์ เปิดเผยว่า มหัศจรรย์พระอาทิตย์ขึ้นสาดส่องแสงตรง 15 ช่องประตู คาดว่าจะปรากฏขึ้นในช่วงเวลา 06.10 น. ระหว่างวันที่ 3-6 เมษายน 2558 ซึ่งกิจกรรมสำคัญในช่วงนั้น ประกอบด้วย การบวงสรวงองค์พระศิวะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาพนมรุ้ง โดยมีคุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ หรือทมยันตี เป็นเจ้าพิธี ในวันที่ 3 เมษายน 2558 เวลา 06.59 น.

นักท่องเที่ยวสามารถชมความอลังการ ขบวนเสด็จพระนางภูปตินทรลักษมีเทวีได้ในวันที่ 4 และ 5 เมษายน เวลา 15.00 น.และ 19.00 น.เป็นการแสดงแสง สี เสียง เล่าเรื่องราวพนมรุ้ง บัตรราคา 500 บาท จำหน่ายบัตรที่ ที่ทำการปกครองจังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ 0 4466 6503

ด้าน ชูเกียรติ โพธิโต ผู้อำนวยการ ททท.สุรินทร์ เผยว่า บุรีรัมย์กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงกีฬา ปราสาทยุคใหม่ อยู่ในกระแสความสนใจของนักท่องเที่ยว มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก รองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมากที่จะเดินทางเข้ามา

ปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงกีฬา มีบทบาทการเพิ่มรายได้ให้กับการท่องเที่ยว สนามฟุตบอลไอ-โมบายสเตเดียมได้มาตรฐานสากล และ Chang International Circuit สนามแข่งรถมาตรฐานโลกแห่งเดียวของประเทศไทย ผู้ชมมองเห็นการแข่งขันได้ทุกโค้งสนาม มีการจัดแข่งขันระดับโลกตลอดปีมากกว่า 35 รายการ

นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง อาทิ ปราสาทเมืองต่ำ ชมนาคห้าเศียรที่ล้อมรอบสระน้ำทั้งสี่ทิศ เอกลักษณ์หนึ่งเดียวที่ไม่เหมือนที่ปราสาทหินแห่งใด นอกจากนี้ยังมีกลุ่มทอผ้าไหมผ้าฝ้ายตำบลเจริญสุข (ผ้าภูอัคนี) ย้อมผ้าจากดินภูเขาไฟ(เขาพระอังคาร) และหมู่บ้านท่องเที่ยวไหมบ้านสนวนนอก อำเภอห้วยราช หรือจะเลือกแวะไปเดินเล่นในอุทยานไม้ดอก เพ-ลา-เพลิน ก็มีจกรรมที่น่าสนใจให้ชมตลอดปี

เรื่องราวของบุรีรัมย์เมืองต้องห้าม...พลาด ยังคงมีมนต์เสน่ห์ที่รอคอยให้ทุกคนออกไปค้นหา สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0 4466 6528 หรือ 0 44 51 4447 - 8
85  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ภาพมงคลสรีระสังขารของพระมหากัสสปะ พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกา เมื่อ: มีนาคม 31, 2015, 08:49:56 pm
ภาพมงคล สรีระสังขาร ของ พระมหากัสสปะ พระอรหันต์สาวกของพระพุทธเจ้าเมื่อครั้งพุทธกาล



เป็นภาพที่ถ่ายได้จริงของชาวต่างชาติ(ฝรั่ง)เข้าไปถ่ายในเขาพระกัสสปะ ณ เมืองเชียงตุง
...หลายคนคิดว่าเหตุใดพระกัสสปะถึงมามรณะภาพที่เมืองเชียงตุงแต่ไม่ไปมรณะภาพที่ เมืองราชคฤห์ อินเดีย เพราะว่าพระพุทธเจ้าท่านมอบงานให้เผยแพร่ศาสนาในบริเวณนี้ตั้งแต่ เชียงราย ถึง เชียงตุง และ จีน คือเขตที่พระมหากัสสปะอยู่ ส่วนตั้งแต่เชียงรายลงมาเป็นของ พระมหากัจจาย และ พระโมคคลา
จากคำบอกเล่าของหลวงพ่อพระราชพรหมยานท่านบอกว่า ที่ตำแหน่งของสังขารท่านนั้นยังมีดอกไม้ที่สดอยู่และธูปเทียนที่เขาบูชาอยู่ในสมัยก่อนนั้นยังคงอยู่เพราะ ท่านอธิฐานไว้ก่อนมรณะภาพ และที่ีจริงหุบเขาที่มีสรีระของพระกัสสปะเป็นเขาเล็กๆที่จริงเข้าไปไม่ได้ แต่เมื่อถึงปีกึ่งพุทธกาล จะปรากฏช่องเล็กสำหรับเดินเข้าไปดูได้จริงและฝรั่งคนนั้นก็ไปถ่ายรูปไว้ได้ เหตุที่ท่านพระมหากัสสปะท่านไม่ให้เผาร่างกายท่านเพราะท่านต้องการให้พระศรีอริยเมตไตร มาทำการเผาเพลิงศพท่านเมื่อถึงยุคของพระองค์และพระองค์จะเสด็จมาด้วยพระองค์เอง...
(จริง เท็จ ประการใด มิทราบ! )
ที่มา เฟสบุ๊ค: พระพุทธเจ้า พระอรหันตร์ พระมหากษัตริย์
86  เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โอวาทวันมาฆบูชา ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘ เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2015, 03:58:46 pm


โอวาทวันมาฆบูชา ปีพุทธศักราช ๒๕๕๘
เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
87  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ร่วมอบรมการเขียนภาษาอีสาน (อักษรไทน้อย) ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2015, 03:41:28 pm


ขอเชิญผู้ที่สนใจมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และฟื้นฟูมรดกของบรรพบุรุษ ร่วมอบรมการเขียนภาษาอีสาน (อักษรไทน้อย) ในวันที่ 27-28 กุมภาพันธ์ 58 นี้ ณ อาคารพุทธศิลป์มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านภาษา สำรองที่นั่งได้ที่ 0 4333 2309 รับจำนวนจำกัด!!!!

พร้อมร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกวามเข้าใจ (MOU) ในการร่วมมือขับเคลื่อนงานด้านศิลปวัฒนธรรมระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและเทศบาลนครขอนแก่น ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558 ณ คุ้มสีฐาน มข. เวลา 17.00 น. เป็นต้นไป...

ที่มา : เครือข่ายศิลปวัฒนธรรม สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น https://www.facebook.com/photo.php?fbid=640698222702796&set=a.138198016286155.23358.100002878730230&type=1
88  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / กิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชาวัดทองพุ่มพวงสระบุรี เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2015, 02:41:33 pm
 
เนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่พระพุทธองค์ทรงสอนหลักธรรมหัวใจของพระพุทธศาสนา ประกอบด้วย ไม่ทำความชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ในปี 2558  คณะสงฆ์วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี  ได้การจัดกิจกรรมส่งเสริมพระพุทธศาสนาเนื่องในเทศกาลวันมาฆบูชา โดยมีกิจกรรมต่างๆ เช่น การแสดงพระธรรมเทศนา เจริญจิตภาวนา พิธีทำบุญตักบาตร พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เวียนเทียน และปฏิบัติธรรมประพฤติเนกขัมมพรหมจารี
ระหว่างวันที่  2-4 มีนาคม 2558  รวม  3  วัน   เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา และเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชีนีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนสุดาบามราชกุมารี 
ณ  วัดทองพุ่มพวง  ตำบลปากเพรียว  อำเภอเมืองสระบุรี  จังหวัดสระบุรี

ที่มา : http://watthongpumpuang.blogspot.com/2015/02/blog-post_13.html?spref=fb
89  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / งานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน ครั้งที่ ๒๙ ประจำปี ๒๕๕๘ ๒๕ ก.พ. ถึง ๕ มี.ค. นี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2015, 02:08:36 pm


ด้วยจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดปราจีนบุรี หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน
องค์การบริหารส่วนจังหวัดปราจีนบุรี และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดปราจีนบุรี ได้กำหนดจัดงาน
เทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน ครั้งที่ ๒๙ ประจำปี ๒๕๕๘ ระหว่างวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ถึง ๕ มีนาคม ๒๕๕๘
ณ บริเวณรอยพระพุทธบาทคู่ โบราณสถานสระมรกต ตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถ จังหวัดปราจีนบุรี
เพื่อรักษาวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของชาวจังหวัดปราจีนบุรี ในการที่จะช่วยจรรโลงให้พระพุทธศาสนา
เจริญรุ่งเรืองสืบต่อไป จึงใคร่ขอเรียนเชิญทุกท่าน ได้ร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ในงาน โดยมีรายละเอียดกิจกรรม
ดังนี้
๑. พิธีเปิดเมืองอริยสัจ ๔ และพิธีเปิดงานเทศกาลมาฆปูรมีศรีปราจีน ครั้งที่ ๒๙
ในวันพุธที่ ๒๕ ก.พ. ๒๕๕๘ เวลา ๑๕.๐๐ น. - ๑๗.๐๐ น.
๒. การแสดงพระธรรมเทศนาโอวาทปาติโมกข์ และเวียนเทียนในวันพุธที่ ๔ มี.ค. ๒๕๕๘
๓. การแสดงเมืองอริยสัจ ๔ ของเด็กและเยาวชนจังหวัดปราจีนบุรี วันที่ ๒๕-๒๘ ก.พ. ๒๕๕๘
๔. ร่วมสวดสาธยายพระไตรปิฎก นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ชมสินค้า และซื้อสินค้าโอทอป
จากทุกภาคของประเทศไทย ชมตลาดย้อนยุค ชมนิทรรศการ ร่วมตอบปัญหาค่านิยม ๑๒ ประการ และอาเซียน
วาดภาพ ณ เต็นท์วิชาการ ฯลฯ
๕. ร่วมรับประทานอาหารแบบพาแลง ในวันที่ ๒ มี.ค. ๒๕๕๘ เวลา ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป
90  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ ทฤษฎีคาน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2015, 11:00:51 pm
ทฤษฎีคาน
------------
ในบรรดาทฤษฎีหรือกลวิธีเบี่ยงเบนจุดสนใจ โดยเฉพาะเมื่อถูกกล่าวหา หรือถูกตั้งข้อสงสัยว่ากระทำผิด หรือกระทำการอันไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกไม่ควรนั้น ทฤษฎีคานถูกนำมาใช้กันมาก
เช่นเมื่อมีเสียงบอกว่า นาย ก โกง
ก็จะมีเสียงตอบว่า นาย ข ก็โกง
พอมีเสียงพูดแบบนี้ น้ำหนักที่บอกว่า “นาย ก โกง” ก็จะลดลง โดยที่ไม่ต้องแก้หรือพิสูจน์ข้อเท็จจริงใดๆ เลยว่า นาย ก โกงจริงหรือเปล่า
เช่นเดียวกัน พอมีคนพูดว่า นักการเมืองไทยโกงการเลือกตั้ง
ก็จะมีเสียงตอบว่า นักการเมืองโกงเลือกตั้งกันทั่วโลก และประเทศอื่นโกงมากกว่าเราอีก
และยังแถมเหน็บเข้ามาอีกด้วยว่า มีที่ไหนบ้างที่ไม่โกง
พอพูดอย่างนี้ ก็เลยไม่ต้องมีการพิสูจน์ตรวจสอบว่านักการเมืองไทยโกงการเลือกตั้งจริงหรือเปล่า
ต่อจากนั้นก็พากันเห็นว่า โกงการเลือกตั้งเป็นเรื่องปกติธรรมดา ไม่น่ารังเกียจอะไร
ทำให้นักการเมืองไทยสามารถโกงการเลือกตั้งได้ต่อไป
และการโกงการเลือกตั้งนั้นก็กลายเป็นความชอบธรรมยิ่งขึ้น
เป็นอันไม่ต้องคิดที่จะแก้ไขป้องกันการโกงเลือกตั้งอะไรกันอีกต่อไป
-------------
หลักของทฤษฎีคานก็คือ ยกเอาการกระทำอย่างเดียวกันของคนอื่น ที่อื่น ขึ้นมาถ่วงดุล เพื่อให้เห็นว่ากรณีที่กำลังถูกกล่าวหานั้นมีทำกันทั่วไป ผู้ถูกกล่าวหาจึงมีสิทธิ์หรือมีความชอบธรรมที่จะกระทำเช่นนั้นได้ และแม้ต่อไปก็ย่อมสามารถกระทำเช่นนั้นได้อีก โดยไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง
หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า ผิด + ผิด = ถูก
เพียงแค่หาผิดที่อื่นขึ้นมาคานเท่านั้น ก็จะกลายเป็นถูกทันที
คล้ายๆ กับจุดดำบนพื้นขาวย่อมเป็นจุดเด่น
ถ้าทำพื้นที่ทั้งหมดหรือส่วนมากให้เป็นสีดำ ก็จะแก้ปัญหาได้โดยยังคงจุดดำไว้ได้เหมือนเดิม
------------
ผมสังเกตว่า เวลานี้มีผู้ใช้ทฤษฎีคานอีกลักษณะหนึ่งแล้ว
โปรดอ่านข้อความนี้ครับ -
..........
"ประเด็นเหล่านี้ดิฉันอยากขอความกรุณาและตั้งข้อสงสัยว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้ให้ความยุติธรรมกับดิฉันเหมือนกับผู้ที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองท่านอื่นๆ หรือไม่..."
..........
นี่เป็นทฤษฎีคานอีกแบบหนึ่ง คือการยกเอาการปฏิบัติในกรณีอื่นขึ้นมาถ่วงดุลกับกรณีที่ตนกำลังถูกปฏิบัติ
ถ้าสมมุติใหม่ อาจช่วยให้เห็นภาพชัดขึ้น
สมมุติว่าแม่กำลังจะตีลูกคนหนึ่งที่ทำผิด
ลูกคนนั้นอุทธรณ์ว่า เมื่อคราวที่ลูกอีกคนหนึ่งทำผิดแบบเดียวกัน แม่ไม่เห็นตีเลย
จะเห็นได้ทันทีว่าถ้าแม่ตีลูกคนนี้ ก็จะไม่เป็นธรรม
ประเด็นที่ถูกเบี่ยงเบนหรือกลบเกลื่อนไปก็คือ ข้อเท็จจริงในการกระทำผิดครั้งนี้ของลูกคนนี้สมควรที่จะถูกตีหรือไม่ – ยังไม่ได้ถูกยกขึ้นมาพิจารณา เพราะถูกคานด้วยการกระทำผิดของลูกอีกคนหนึ่งเสียก่อน
แทนที่จะพิจารณาเนื้อหาของการกระทำผิด ก็กลายเป็นย้ายประเด็นไปที่เอาการปฏิบัติต่อการกระทำผิดในลักษณะเดียวกันในครั้งก่อนมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน
เปรียบเทียบอีกทีให้เห็นชัดๆ
สามเณรรูปหนึ่งฉันข้าวค่ำ
หลวงพ่อไม่ลงโทษ (ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม)
ต่อมาสามเณรอีกรูปหนึ่งฉันข้าวค่ำบ้าง
หลวงพ่อจะลงโทษ
สามเณรรูปหลังนี่อุทธรณ์ว่า ทีรูปโน้นหลวงพ่อยังไม่เห็นลงโทษเลย
ถ้าหลวงพ่อไม่ลงโทษ – เพื่อความยุติธรรม (เนื่องจากครั้งโน้นก็ไม่ได้ลงโทษ)
การฉันข้าวค่ำก็กลายเป็นความชอบธรรมไป
ทุกวันนี้สังคมเรามีคนกระทำการอันไม่สมควรอยู่ทั่วไปได้ โดยอาศัยทฤษฎีคานนี้
จะเรียกว่าอะไรดีครับ
ความฉลาดของคนโง่
หรือว่า-ความโง่ของคนฉลาด ?
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
91  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ (934) เสวนา เมื่อ: ธันวาคม 09, 2014, 01:52:05 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬ (934)
เสวนา
(ถ้าไม่หมั่นเสวนา ภาษาก็เพี้ยนได้)
ทั้งบาลี ทั้งไทย เขียนเหมือนกัน อ่านว่า เส-วะ-นา
“เสวนา” รากศัพท์มาจาก เสวฺ (ธาตุ = เสพ, คบหา) + ยุ ปัจจัย แปลง ยุ เป็น อน (อะ-นะ), ถ้าลง อา ปัจจัยอีก ก็เป็นอิตถีลิงค์
: เสวฺ + ยุ > อน = เสวน (เส-วะ-นะ, เป็นนปุงสกลิงค์= คำไม่แสดงเพศ)
: เสวน + อา = เสวนา (เส-วะ-นา, เป็นอิตถีลิงค์ = คำเพศหญิง)
เสวน, เสวนา แปลทับศัพท์ว่า “การเสพ” หมายถึง การติดตาม, การคบหาสมาคม, การอยู่ร่วมกัน (following, associating with, cohabiting)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“เสวนะ, เสวนา : (คำกริยา) คบ เช่น ควรเสวนากับบัณฑิต ไม่ควรเสวนากับคนพาล, (ภาษาปาก) พูดจากัน เช่น หมู่นี้พวกเราไม่ค่อยได้พบปะเสวนากันเลย. (คำนาม) การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เช่น กลุ่มวรรณกรรมจัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่. (ป.).”
ในภาษาไทย แม้พจนานุกรมจะบอกไว้ว่า เสวนะ เสวนา หมายถึง “คบ” (คือคบหาสมาคมกัน) แต่เวลานี้มักเข้าใจกันว่า เสวนา หมายถึง “พูดจากัน” ซึ่งความหมายนี้พจนานุกรมก็บอกไว้ชัดๆ ว่าเป็นภาษาปาก หรือที่เรามักเรียกเป็นคำฝรั่งว่า “สแลง”
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมก็บอกต่อมาอีกว่า เสวนะ เสวนา ยังหมายถึง “การสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน” อีกด้วย
อาจเป็นเพราะคำนิยามนี้กระมัง คนส่วนมากจึงพากันเข้าใจว่า “เสวนา” มีความหมายอย่างเดียวกับ “สนทนา” และไม่ได้นึกถึงความหมายในภาษาเดิมที่ว่า เสวนา คือ “คบหาสมาคม” จนกระทั่งมีการเข้าใจกันว่า เสวนา คือ “คุยกัน” และ “ไม่เกี่ยวกับการคบหาสมาคม”
ตรวจสอบ :
ธาตุ (รากศัพท์) ที่มีคำแสดงความหมายว่า “พูดคุยสนทนา” เช่น -
กถฺ ธาตุ : กถเน ในความหมายว่า กล่าว
ภาสฺ ธาตุ : กถาย ในความหมายว่า พูด
วจฺ ธาตุ : ภาสเน ในความหมายว่า กล่าว, วาจายํ : ในความหมายว่า พูด
ส่วน เสวฺ ธาตุ (อ่านว่า เส-วะ) ซึ่งเป็นรากศัพท์ของ “เสวนา” มีคำแสดงความหมายว่า -
: เสวเน ในความหมายว่า เสพ, คบหา
: อาราธเน ในความหมายว่า ยินดี
: อุปภุญฺชเน ในความหมายว่า บริโภค
: อาสเย ในความหมายว่า อาศัย, คบหา, เสพ
จะเห็นได้ว่า เสวฺ ธาตุ ไม่ปรากฏคำแสดงความหมายว่า พูดคุย สนทนา
ยิ่งถ้าดูคำแปล “เสวนา” เป็นภาษาอังกฤษ ที่ว่า following, associating with, cohabiting ก็จะยิ่งเห็นชัดว่ามิได้เล็งไปที่การพูดคุยสนทนาแต่ประการใดเลย
เพราะฉะนั้น ถ้าว่าตามหลักบาลี แทนที่จะว่า “เสวนา คือคุยกัน ไม่เกี่ยวกับคบหาสมาคม” ก็จะต้องว่า “เสวนา คือคบหาสมาคม ไม่เกี่ยวกับคุยกัน”
ตามที่เป็นจริง การคบหาสมาคมย่อมจะรวมการพูดคุยกันไว้ด้วยแล้ว ในขณะที่การพูดคุยกันไม่จำเป็นต้องมีการคบหาสมาคมกันเลยก็ได้ เช่น จัดเสวนาเรื่องสุนทรภู่ มีคนจากที่ต่างๆ มาพูดคุยกัน จบแล้วก็แยกย้ายกันไปโดยที่ไม่จำเป็นต้องรู้จักหรือคบหากัน
สรุปว่า:
เสวนาไทย - แค่สนทนาพาที
เสวนาบาลี - ถึงขั้นคบหาสมาคม
อย่างไรก็ตาม -
: จะเสวนาหรือไม่อยากเสวนา
: ก็อย่าขาดเมตตาต่อกัน
92  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪‎บาลีวันละคำ‬ (932) มุทิตา กับ สักการะ เมื่อ: ธันวาคม 08, 2014, 06:45:26 pm
‪‎บาลีวันละคำ‬ (932)
มุทิตา กับ สักการะ
ในโอกาสที่พระสงฆ์ได้รับแต่งตั้งหรือเลื่อนสมณศักดิ์ก็ดี ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางคณะสงฆ์ก็ดี เรามักจะได้ยินคำว่า “มุทิตาสักการะ” เช่นในคำว่า ท่านผู้นั้นผู้นี้ไปถวายมุทิตาสักการะพระเถระรูปนั้นรูปนี้
มุทิตาสักการะ มีความหมายว่าอย่างไร ?
(๑) มุทิตา
มุทิตา บาลีเขียน “มุทิตา” (มุ-ทิ-ตา) เหมือนกัน มีความหมาย 2 นัย คือ -
(1) มาจาก มุทฺ (มุ-ทะ, ธาตุ = ยินดี, เบิกบาน) + อิ + ต ปัจจัย = มุทิต > มุทิตา หมายถึง ชื่นชม, ยินดี, พอใจ (pleased, glad, satisfied)
มุทิตา ถ้าเป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า มีใจชื่นชม, มีใจปราโมทย์, ดีใจ (with gladdened heart, pleased in mind)
(2) มาจาก มุทุ (อ่อนโยน) + ตา ปัจจัย = มุทุตา > มุทิตา หมายถึง ความมีใจอ่อน, ความกรุณา, ความเห็นอกเห็นใจ (soft-heartedness, kindliness, sympathy)
ความหมายตามนัยนี้ ในทางปฏิบัติก็คือ ใครจะสุขหรือจะทุกข์ ก็รู้สึกเป็นพวกเดียวกัน ถ้าสุขก็พลอยยินดี ถ้าทุกข์ก็พลอยเดือดร้อนใจไปด้วย
(๒) สักการะ
บาลีเขียน “สกฺการ” (สัก-กา-ระ) รากศัพท์มาจาก ส (> สกฺกจฺจํ = เคารพ) + กรฺ (ธาตุ = ทำ) + ณ ปัจจัย, ลบ ณ, ซ้อน ก, ยืดเสียง อ ที่ ก- เป็น อา
: ส + ก + กรฺ = สกฺกร + ณ = สกฺกร > สกฺการ แปลตามศัพท์ว่า “อาการที่ทำด้วยความเคารพ” ใช้ในความหมายว่า การต้อนรับ, การให้เกียรติ, การเคารพสักการะ (hospitality, honour, worship)
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
(1) มุทิตา : (คำนาม) ความมีจิตพลอยยินดีในลาภยศสรรเสริญสุขของผู้อื่น เป็นข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา. (ป.).
(2) สักการ-, สักการะ : (คำกริยา) บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
......
คำที่พูดว่า “ไปถวายมุทิตาสักการะ” ความหมายตามภาษาธรรมดาก็คือ ไปแสดงความยินดี นั่นเอง
ในการไปแสดงความยินดีแก่พระสงฆ์ในโอกาสดังกล่าวข้างต้นนั้น มีผู้วางหลักในการใช้คำว่า “มุทิตา” กับ “สักการะ” ไว้ดังนี้ -
(1) “มุทิตา” ใช้กับกรณีที่ผู้ไปแสดงความยินดีมีอาวุโสกว่าคือเป็นผู้ใหญ่กว่าผู้รับการแสดงความยินดี (สอดคล้องกับมุทิตาในพรหมวิหารธรรมซึ่งนิยมว่าเป็นหลักธรรมที่ผู้ใหญ่ปฏิบัติต่อผู้น้อย)
(2) “สักการะ” ใช้กับกรณีที่ผู้รับการแสดงความยินดีมีอาวุโสกว่าผู้ไปแสดงความยินดี
สรุปว่า:
- ผู้ใหญ่แสดงมุทิตาต่อผู้น้อยได้ แต่จะเรียกว่า “สักการะ” ไม่ได้
- ผู้น้อยสักการะผู้ใหญ่ได้ แต่จะเรียกว่า “แสดงมุทิตา” ไม่เหมาะ
หลักการนี้ท่านผู้ใดจะกำหนดมาตั้งแต่เมื่อไรก็ตาม นับว่าเป็นหลักที่มีเหตุผลควรแก่การพิจารณา
มุทิตาสักการะที่มีศักดิ์ศรี :
ไม่ใช่ทำตามหน้าที่ แต่ออกมาจากหัวใจ
93  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บา‎ลีวันละคำ‬ (933) ธงชัยเฉลิมพล เมื่อ: ธันวาคม 08, 2014, 06:44:43 pm
บา‎ลีวันละคำ‬ (933)
ธงชัยเฉลิมพล
(๑) “ธง”
เป็นคำไทย ถ้าจะแปลเป็นบาลีคำสามัญคือ “ธช” (ทะ-ชะ) แปลตามศัพท์ว่า “ผ้าที่สะบัดไป” (หมายถึงธงทั่วไป)
(๒) “ชัย”
บาลีเป็น “ชย” (ชะ-ยะ) รากศัพท์ คือ ชิ (ธาตุ = ชนะ) แปลง อิ เป็น เอ, แปลง เอ เป็น อย + อ ปัจจัย
: ชิ > เช > ชย + อ = ชย แปลตามศัพท์ว่า “ความชนะ” หมายถึง การปราบ, การพิชิต, ชัยชนะ (vanquishing, overcoming, victory)
ในบาลี “ธช” คำเดียว แปลว่า “ธง” แต่ถ้ามาคู่กับคำว่า “ปฏาก” (ปะ-ตา-กะ, หรือ “ปฏากา”) เป็น “ธชปฏาก” นิยมแปล ธช ว่า “ธงชัย” แปล ปฏาก ว่า “ธงแผ่นผ้า”
สันนิษฐาน:
ตามรูปความ “ธช” น่าจะหมายถึงธงผืนเดียวที่ผูกไว้กับคันธง
ส่วน “ปฏาก” น่าจะหมายถึงธงที่เป็นแผ่นผ้าหลายผืนผูกเป็นราว
อย่างไรก็ตาม ในคัมภีร์อรรถกถาพบคำว่า “ชยทฺธช” (ชะ-ยัด-ทะ-ชะ, = ชย + ธช) ซึ่งแปลได้ตรงตัวว่า “ธงชัย”
ส่วนคำที่เราพูดกันว่า (ผ้ากาสาวพัสตร์เป็น) “ธงชัยของพระอรหันต์” บาลีเป็น “อรหทฺธช” (อะ-ระ-หัด-ทะ-ชะ) ในคำนี้ “ธงชัย” แปลมาจาก “ธช” ไม่ใช่ “ชยทฺธช”
(“เฉลิม” เป็นคำไทย)
(๓) “พล”
บาลีอ่านว่า พะ-ละ แปลว่า ความแข็งแรง, พลัง, อำนาจ (strength, power, force) กองทัพ, กองกำลังทหาร (an army, military force)
ในที่นี้ “พล” หมายถึง กองกำลังทหาร
คำว่า “ธงชัยเฉลิมพล” เพิ่งจะมีเก็บไว้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 โดยบอกไว้ว่า -
“ธงชัยเฉลิมพล : (คำที่ใช้ในกฎหมาย) (คำนาม) ธงประจำหน่วยทหารที่ได้รับพระราชทานมี ๓ ชนิด คือ ธงชัยเฉลิมพลของทหารบก ธงชัยเฉลิมพลของทหารเรือ และธงชัยเฉลิมพลของทหารอากาศ.”
: กล้าทำความดี เป็นศรีแก่ตน
: เหมือนธงชัยเฉลิมพลเป็นศรีแก่กองทัพ
---------------
(ขยายความจากคำถามของ Supachoke Thaiwongworakool
ที่ถามว่า “ธงไชยเฉลิมพล” กับ “ธงชัยเฉลิมพล” สามารถใช้ได้ทั้งสองคำหรือเปล่า)
94  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ‪‎บาลีวันละคำ‬ (929) ทรัพย์ เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 09:57:26 am
‪‎บาลีวันละคำ‬ (929)
ทรัพย์
คำนี้มาจากสันสกฤตว่า “ทฺรวฺย” แปลง ว เป็น พ และการันต์ที่ ย
ออกเสียงอย่างไร อาจเทียบกับที่สะกดด้วยอักษรโรมันว่า dravya
จะเห็นได้ว่าไม่มีรูปคำที่จะออกเสียงเป็น ซ หรือ ส อยู่ในอักษรโรมันที่สะกด
ทฺร ในบาลี (เช่น อินฺทฺริย) และสันสกฤต เวลาออกเสียงจริงอาจฟังใกล้เคียงกับ ซ ในภาษาไทยกระมัง
(ผู้เขียนบาลีวันละคำไม่มีความรู้ทางสันสกฤต ขอท่านที่รู้กรุณาบอกคำอ่าน ทฺรวฺย ในสันสกฤตเป็นวิทยาทานให้ด้วย จักเป็นพระคุณยิ่ง)
แต่ในภาษาไทย “ทรัพย์” อ่านว่า ซับ ตามหลักที่ว่า “ทร” ควบออกเสียงเท่ากับ ซ ในคำบางคำ เช่น ทรง ทรวง ทรวดทรง ทราบ ทราม ทราย ทรุดโทรม อินทรี อินทรีย์ เป็นต้น
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกความหมายของ “ทฺรวฺย” ไว้ดังนี้ (คำไทยสะกดตามต้นฉบับ) -
(1) (คำนาม) ‘ทรัพย์,’ สมบัติ, พัสดุ, สิ่งของ; มูลธาตุ, อันท่านพึงนับว่ามีอยู่เก้าอย่าง, คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม, อากาศ, เวลา, ทิคัมพร, อาตมัน, พุทธิหรือโพธ; ทองเหลือง; เดิมภัณฑ์; เภสัช, ยา; การฉาทาบหรือเจิมจุรณ์; ครั่ง; สรรชรส, ยางไม้; สุรา, เหล้า; ความสุภาพเรียบร้อยหรืออหังการ; wealth, property, substance, thing; elementary substance, nine kinds of which are reckoned, viz. earth, water, fire, air, ether, time, space, soul and intellect; brass; a stake or wager; a drug or medicament; anointing or plastering, lac, the animal dye; gum, resin; spirituous liquor; modesty or propriety;
(2) (คำคุณศัพท์) เหมาะ, งาม, ควร, สม, ชอบ; อันเนื่องจากหรือเป็นสัมพันธินแก่ต้นพฤกษ์; fit, proper, becoming, suitable, right; derived from or relating to a tree.”
ทรัพย์ < ทฺรวฺย ตรงกับบาลีว่า “ทพฺพ” (ทับ-พะ)
ในบาลี ทพฺพ มีคำแปลดังนี้ -
(1) (คำนาม) วัสดุ, สิ่งของ, สมบัติ; ของที่มีแก่นสาร, สิ่งที่มีคุณค่า (material, substance, property; something substantial, a worthy object)
(2) (คำนาม) ต้นไม้, พุ่มไม้, ไม้ (a tree, shrub, wood)
(3) (คำคุณศัพท์) เหมือนต้นไม้, ทำด้วยไม้ (tree-like, wooden)
(4) (คำคุณศัพท์) เหมาะสำหรับ, สามารถ, ทรงคุณค่า, ดี (fit for, able, worthy, good)
พจนานุกรม สอ เสถบุตร แปลคำว่า “ทรัพย์” เป็นอังกฤษว่า -
(1) riches, wealth, assets = ทรัพย์สิน
(2) property = ทรัพย์สมบัติ
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปลคำอังกฤษข้างต้นเป็นบาลีดังนี้ -
(1) riches : dhana ธน (ทะ-นะ) =ทรัพย์สินเงินทอง
(2) wealth : dhana ธน
(3) assets : vibhava วิภว (วิ-พะ-วะ) = ความมั่งคั่ง, ทรัพย์สมบัติ
(4) property :
- dhana ธน
- santakavatthu สนฺตกวตฺถุ (สัน-ตะ-กะ-วัด-ถุ) = สิ่งของที่มีอยู่และเป็นของตน
- guṇavisesa คุณวิเสส (คุ-นะ-วิ-เส-สะ) = คุณสมบัติพิเศษ (เช่นความรู้ ความสามารถ ความมีทรัพย์ ยศ ตำแหน่ง หรือคุณธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง)
โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่ได้แปล riches, wealth, assets, property เป็นบาลีว่า “ทพฺพ” ซึ่งสันสกฤตเป็น “ทฺรวฺย” และมาเป็นภาษาไทยว่า “ทรัพย์”
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “ธน” เป็นอังกฤษว่า wealth, money, riches, treasures (ความสมบูรณ์, เงินทอง, ความร่ำรวย, สมบัติ) ซึ่งก็เป็นคำแปลในทำนองเดียวกับ “ทพฺพ” นั่นเอง
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า -
“ทรัพย-, ทรัพย์ : (คำนาม) เงินตรา เช่น ไม่มีทรัพย์ติดตัว, สมบัติพัสถาน เช่น เขาเป็นคนมีทรัพย์; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) วัตถุมีรูปร่าง; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ถือว่ามีค่า อาจไม่มีรูปร่างก็ได้ เช่น มีปัญญาเป็นทรัพย์ อริยทรัพย์. (ส. ทฺรวฺย).”
: เรารักเขามากที่สุด แต่เมื่อเราตาย เขาไปอยู่กับคนอื่น
: เราไม่ค่อยรักเขาเลย แต่เมื่อเราตาย เขาไปกับเราด้วย
อะไรเอ่ย ?
95  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ (931) พระปรมาภิไธย เมื่อ: ธันวาคม 06, 2014, 09:51:59 am
‪บาลีวันละคำ‬ (931)
พระปรมาภิไธย
-----------------
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรหาภูมิพลอดุลยเดช
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
จักรีนฤบดินทร
สยามินทราธิราช
บรมนาถบพิตร
-----------------
มีคำที่เป็นบาลีสันสกฤตว่าอย่างไรบ้าง
ขอบเขต :
(๑) แยกศัพท์ที่เป็นบาลีสันสกฤตในพระปรมาภิไธย
(๒) แสดงความหมายของแต่ละศัพท์
(๓) ไม่แสดงความหมายโดยรวมในพระปรมาภิไธย เว้นแต่คำที่สมาสสนธิกันบางคำ
หมายเหตุ :
๑ เลขไทยในวงเล็บ () หมายถึงลำดับคำที่แยกได้ในชั้นต้น
๒ เลขไทยในวงเล็บปิดเดี่ยว ) หมายถึงลำดับคำที่แยกย่อยออกมาจากคำในวงเล็บ () ในข้อ ๑
๓ เลขอารบิกในวงเล็บ () หมายถึงลำดับคำทั้งหมดที่สามารถแยกย่อยออกมาได้
------------------
(๑) (1) พระบาท
“บาท” บาลีเป็น “ปาท” (ปา-ทะ) แปลตามศัพท์ว่า “อวัยวะเป็นเครื่องดำเนินไป” ใช้ในความหมายว่า เท้า, โคนไม้, รากไม้, เชิงเขาหรือส่วนล่างของภูเขา, วรรคหนึ่งของฉันท์หรือคาถา (กาพย์กลอนในบาลี), อัตราหนึ่งของเงินที่ใช้ซื้อขาย
คำว่า “บาท” พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า “ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท”
คำว่า “บาท” ในคำว่า “พระบาทสมเด็จ” ที่เป็นคำขึ้นต้นพระปรมาภิไธยนั้น จะเป็นคำเดียวกับ “ปาท-บาท” ในบาลีหรือไม่ สมควรศึกษาสอบสวนต่อไป
ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยได้เห็นสำนวนหนังสือโบราณอันเป็นพงศาวดารชาติในแหลมทองมีกัมพูชาเป็นต้น กล่าวถึงข้าราชบริพารรับราชการสนองพระเดชพระคุณในพระมหากษัตริย์มีข้อความบางตอนว่า “... เฝ้าบำเรอพระบาทสมเด็จพระ (ออกพระนามพระเจ้าแผ่นดิน) ...” ทำให้สงสัยว่าคำว่า “พระบาทสมเด็จ..” ดีร้ายจะตัดมาจาก “...บำเรอพระบาท...” นี่แหละกระมัง (บาลีมีคำว่า “ปาทปริจาริก” แปลว่า “ผู้บำเรอเท้า” หมายถึงผู้รับใช้ใกล้ชิดติดตัว)
คำเต็มคือ “บำเรอพระบาท-” พระบาทของท่านผู้ใดก็ระบุลงไป แต่ครั้นตัดมาแค่ “-พระบาท” อันเป็น “กรรม” ไม่มี “บำเรอ-” อันเป็นคำ “กริยา” แล้วใช้พูดกันนานไป คำว่า “-พระบาทสมเด็จ-” เลยกลายเป็นคำขึ้นต้นพระนามพระเจ้าแผ่นดินไป – ขอฝากนักภาษา/โบราณคดีสืบสวนเป็นองค์ความรู้ต่อไปด้วยเทอญ
คำว่า “พระ” ที่อยู่ข้างหน้า ดูที่หมายเลข (3) ข้างหน้า
(๒) (2) สมเด็จ
คำนี้ พิจารณาแล้วเห็นว่าน่าจะมิใช่คำบาลีสันสกฤต จึงอยู่นอกขอบเขตของ “บาลีวันละคำ”
แต่เพื่อความสมบูรณ์ ขอยกความหมายในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 มาแสดงไว้ในที่นี้ด้วยดังนี้ -
“สมเด็จ : (คำนาม) คํายกย่องหน้าชื่อฐานันดรศักดิ์โดยกำเนิด หรือแต่งตั้ง หมายความว่า ยิ่งใหญ่หรือประเสริฐ เช่น สมเด็จพระราชินี สมเด็จเจ้าฟ้า สมเด็จเจ้าพระยา สมเด็จพระราชาคณะ, ใช้แต่ลำพังว่า สมเด็จ ก็มี.”
(๓) (3) พระ
คำว่า “พระ” มีผู้ให้ความเห็นว่าน่าจะมาจาก “วร” (วะ-ระ) ในบาลีสันสกฤต แปลว่า “ผู้ประเสริฐ” แปลง ว เป็น พ ออกเสียงว่า พะ-ระ แล้วกลายเสียงเป็น พฺระ (ร กล้ำ)
ในที่นี้ใช้ตามที่พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ตอนหนึ่งว่า -
“... ใช้ประกอบหน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ ... ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ...”
(๔) ปรมินทร < ปรม + อินทร
๔/๑) (4) ปรม
“ปรม” (ปะ-ระ-มะ) เป็นคุณศัพท์ มีความหมายว่า สูงสุด, พิเศษสุด, เป็นเลิศ, ดีที่สุด (highest, most excellent, superior, best)
“ปรม” ภาษาไทยใช้ว่า “บรม” (บอ-รม) พจน.54 บอกไว้ว่า -
“บรม, บรม- : (คำวิเศษณ์) อย่างยิ่ง, ที่สุด, (มักใช้นําหน้าคําที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดิน และพระอัครมเหสี เป็นต้น เพื่อแสดงพระเกียรติยศยิ่งใหญ่) เช่น บรมศาสดา บรมบพิตร บรมราชินี บรมมหาราชวัง. (ป., ส. ปรม).”
“ปรม” คงเป็น ปรม- เมื่อสมาสกับคำอื่นก็มี เช่น ปรม + อินทร = ปรมินทร์, ปรเมนทร์
๔/๒) (5) อินทร
“อินทร” เป็นรูปสันสกฤต บาลีเป็น “อินฺท” แปลว่า ผู้เป็นใหญ่
: ปรม + อินทร = ปรมินทร แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ยิ่ง, ผู้เป็นใหญ่สูงสุด
(๕) (6) มหา
“มหา” (มะ-หา, คำเดิม “มหนฺต”) แปลว่า ใหญ่, ยิ่งใหญ่, กว้างขวาง, โต, สำคัญ, เป็นที่นับถือ บางทีใช้ในความหมายว่า “มาก”
(๖) (7) ภูมิ
“ภูมิ” บาลีอ่านว่า พู-มิ แปลตามรากศัพท์ว่า “สถานที่มีอยู่เป็นอยู่แห่งสัตว์โลก” มีความหมายหลายอย่าง กล่าวคือ พื้นดิน, ดิน, แผ่นดิน, สถานที่, ถิ่น, แคว้น, แถบ, ภูมิภาค, พื้น, พื้นราบ, ขั้นตอน, ระดับ (ground, soil, earth, place, quarter, district, region, plane, stage, level)
พจน.54 บอกความหมายของ “ภูมิ” ไว้ว่า แผ่นดิน, ที่ดิน; พื้น, ชั้น, พื้นเพ; ความรู้; สง่า, โอ่โถง, องอาจ, ผึ่งผาย
(๗) (8) พล
“พล” บาลีอ่านว่า พะ-ละ แปลว่า ความแข็งแรง, พลัง, อำนาจ (strength, power, force) กองทัพ, กองกำลังทหาร (an army, military force)
(๘) (9) อดุลย
สันสกฤตเป็น “อตุลฺย” แต่บาลีก็มีรูปคำ “อตุลฺย” (อะ-ตุน-เลียะ) ด้วยเช่นกัน แปลว่า เปรียบเทียบไม่ได้, ไม่มีที่เปรียบ, วัดไม่ได้หรือสุดที่จะเปรียบ (incomparable, not to be measured, beyond compare or description)
(๙) (10) เดช
“เดช” บาลีเป็น “เตช” (เต-ชะ) พจน.54 บอกความหมายไว้ว่า อํานาจ; ความร้อน, ไฟ
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปลความหมายของคำว่า “เตช” ไว้ดังนี้ -
"sharpness" heat, flame, fire, light; radiance, effulgence, splendour, glory, energy, strength, power (“ความคม”, ความร้อน, เปลวไฟ, ไฟ, แสงสว่าง; ความเปล่งปลั่ง, ความรุ่งโรจน์, ความโชติช่วง, ความงดงาม, พลัง, ความแข็งแรง, อำนาจ)
(๑๐) มหิตลาธิเบศร < มหิ + ตล + อธิบ < อธิป + อีศ
๑๐/๑) (11) มหิ
“มหิ” (มะ-หิ) ศัพท์เดิมในบาลีเป็น “มหี” (มะ-ฮี) ตามศัพท์แปลว่า “ผู้ยิ่งใหญ่” (Great One) ในที่นี้หมายถึง แผ่นดิน
๑๐/๒) (12) ตล
“ตล” (ตะ-ละ) แปลว่า “พื้น” (ground)
: มหี + ตล = มหีตล แปลตามศัพท์ว่า “พื้นแห่งแผ่นดิน” แต่มีความหมายว่า “แผ่นดิน” (the earth)
“มหีตล” เมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย ใช้กฎ “รัสสะ อี เป็น อิ = ทำเสียงสระ อี ให้สั้น” จึงเป็น “มหิตล” เขียนแบบไทยว่า “มหิดล” อ่านว่า มะ-หิ-ดน
๑๐/๓) (13) อธิบ < อธิป
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“อธิป, อธิป- [อะทิบ, อะทิปะ-, อะทิบปะ-] : พระเจ้าแผ่นดิน, นาย, หัวหน้า, ผู้เป็นใหญ่, มักใช้พ่วงท้ายศัพท์ เช่น นราธิป ชนาธิป, แต่เมื่อนําหน้าคําที่ขึ้นต้นด้วยสระ มักใช้ อธิบ เช่น นราธิเบศร์ นราธิเบนทร์. (ป., ส.).”
๑๐/๔) (14) อีศ
สันสกฤต “อีศ” และแตกลูกออกไปเป็น อีศฺวร ที่เราคุ้นกันในคำว่า “อิศวร” (อิ-สวน) ซึ่งมีความหมายตรงกับ “อิสฺสร” ในบาลี
อีศ บาลีเป็น “อีส” (อี-สะ) แปลว่า ผู้เป็นเจ้า, ผู้ปกครอง, ผู้เป็นนาย, หัวหน้า (lord, owner, ruler)
: อธิบ + อีศ = อธิเบศ > อธิเบศร (เติม ร เข้าไปอีกตัวหนึ่ง ดังจะให้เข้าใจว่า เอา “ร” มาจาก อิศวร > อิศร : อธิบ + อิศร = อธิเบศร) แปลว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นใหญ่
: มหิตล + อธิเบศร = มหิตลาธิเบศร
(๑๑) รามาธิบดี < ราม + อธิบดี
๑๑/๑) (15) ราม
คำว่า “ราม” ในที่นี้หมายถึง “พระราม” ในมหากาพย์รามายณะอันเป็นต้นกำเนิดเรื่อง “รามเกียรติ์” ของไทย
“ราม” ในรามเกียรติ์ หมายถึง “กษัตริย์องค์ที่สี่แห่งอยุธยา, คือพระนารายณ์อวตารลงมาเป็นโอรสท้าวทศรถกับนางเกาสุริยา, สีกายเขียว, มีศักดานุภาพด้วยเชิงศรศิลป์, ได้ปราบพวกอสูรเหล่าพาลซึ่งเป็นเสี้ยนหนามต่อความสงบของโลก” (จาก สมญาภิธานรามเกียรติ์ ของ “นาคะประทีป”)
คติไทยถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนพระรามคือพระนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็ญในโลก จึงมีคำว่า “ราม” หรือ “รามาธิบดี” ปรากฎในพระปรมาภิไทยเสมอ
บาลีมีคำว่า “ราม” อ่านว่า รา-มะ แปลตามศัพท์ว่า “-อันเหล่าชนเห็นคุณค่าประดุจว่าทองคำ” หมายถึง ความยินดี, ความสนุกสนาน, ความเพลิดเพลิน, สุขารมณ์ (pleasure, sport, amusement)
๑๑/๒) (16) อธิบดี
“อธิบดี” บาลีเป็น “อธิปติ” (อะ-ทิ-ปะ-ติ) ประกอบด้วย อธิ + ปติ
“อธิ” เป็นคำอุปสรรค แปลว่า ยิ่ง, ใหญ่, ทับ, เหนือ, บน
“ปติ” แปลว่า พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ; สามี, เป็นเจ้า, เป็นใหญ่, เป็นนาย, เป็นหัวหน้า
อธิ + ปติ = อธิปติ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่, หัวหน้า, เจ้านาย. ทับศัพท์ว่า อธิบดี
: ราม + อธิบดี = รามาธิบดี แปลว่า “พระรามผู้เป็นใหญ่” ถ้าแปลจากหลังไปหน้าก็ต้องแปลว่า “ผู้เป็นใหญ่ดุจดังพระราม”
(๑๒) (17) จักรี
“จักรี” เป็นรูปสันสกฤต (จกฺรี หรือ จกฺรินฺ) บาลีเป็น “จกฺกี” อ่านว่า จัก-กี
“จกฺกี” มาจาก จกฺก + อี = จกฺกี แปลว่า “ผู้มีจักร”
“จกฺก” (ไทยเขียน “จักร”) ความหมายสามัญคือ ล้อรถ สัญลักษณ์แห่งการขับเคลื่อนพัฒนาของมนุษยชาติ แล้วพัฒนาเป็นแผ่นกลม คือ อาวุธสำหรับขว้าง เป็นสัญลักษณ์แห่งอำนาจเพื่อปราบยุคเข็ญ
เมื่อเกิดคติว่า พระนารายณ์อวตารลงมาปราบยุคเข็ญ จึงเรียกพระนารายณ์ว่า “จกฺกี - จักรี - ผู้มีจักร”
ต่อมา “จักรี” หมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าพระราชาเป็นพระนารายณ์อวตาร
คำว่า “จักรี” ยังหมายถึง “ราชวงศ์จักรี” ได้อีกด้วย
(๑๓) นฤบดินทร < นฤ + บดี + อินทร / นฤ + บดินทร
๑๓/๑) (18) นฤ (นะ-รึ)
เป็นรูปสันสกฤต บาลีเป็น “นร” (นะ-ระ) แปลว่า คน, มนุษย์
๑๓/๒) (19) บดี
มาจาก “ปติ” (ปะ-ติ) แปลว่า พ่อบ้าน, นาย, เจ้าของ, ผู้นำ; สามี, เป็นเจ้า, เป็นใหญ่, เป็นนาย, เป็นหัวหน้า
นฤ + บดี = นฤบดี บาลีเป็น “นรปติ” (นะ-ระ-ปะ-ติ) แปลว่า จอมคน, พระราชา
๑๓/๓) (20) อีกนัยหนึ่ง นฤ + บดินทร = นฤบดินทร
: บดินทร < บดี + อินทร < ปติ (เจ้านาย) + อินฺท (ผู้เป็นใหญ่) = ปตินฺท > บดินทร แปลว่า “เจ้านายผู้เป็นใหญ่” หรือ “ผู้เป็นใหญ่ในหมู่เจ้านาย” หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน
(๑๔) สยามินทราธิราช < สยาม + อินทร + อธิ + ราช
๑๔/๑) (21) สยาม
เคยสันนิษฐานกันว่ามาจาก “ศฺยาม” ในสันสกฤต ตรงกับบาลีว่า “สาม” (สา-มะ) แปลว่า ดำ, คล้ำ, สีน้ำตาล นักบาลีในไทยใช้ทับศัพท์ว่า “สฺยาม” (เซียม-มะ, มีจุดใต้ สฺ)
แต่พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “สาม” อีกความหมายหนึ่งว่า yellow, of a golden colour, beautiful (เหลือง, มีสีทอง, งดงาม) คำแปลนี้น่าจะเกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญกับชื่อดินแดน “สุวรรณภูมิ”
๑๔/๒) (22) อินทร
ดูที่หมายเลข (5)
๑๔/๓) (23) อธิราช
: อธิ (ยิ่ง, ใหญ่, ทับ, เหนือ) + ราช (พระราชา) = อธิราช แปลว่า พระราชาผู้ยิ่งใหญ่
: สยาม + อินทร = สยามินทร + อธิราช = สยามินทราธิราช แปลตามศัพท์ว่า “พระราชาผู้ยิ่งใหญ่ผู้เป็นจอมสยาม”
(๑๕) (24) บรม
ดูที่หมายเลข (4)
(๑๖) (25) นาถ
บาลีอ่านว่า นา-ถะ แปลตามศัพท์ว่า “ประกอบประโยชน์สุขแก่สัตว์ทั้งหลาย” หมายถึง ที่พึ่ง, ผู้เป็นที่พึ่ง, ผู้ปกป้อง, สรณะ, การช่วยเหลือ (protector, refuge, help)
(๑๗) (26) บพิตร
มาจากสันสกฤตว่า “ปวิตฺร” บาลีเป็น “ปวิตฺต” (ปะ-วิด-ตะ) แปลว่า ผู้สะอาด, ผู้หมดจด, ผู้บริสุทธิ์
ในภาษาไทย ป > บ และ ว > พ : ปวิตฺต > ปวิตฺร > บพิตร
พจน.54 บอกไว้ว่า -
“บพิตร : (คำแบบ) (คำนาม) พระองค์ท่าน เช่น บํารุงฤทัยตระโบม บพิตรผู้อย่าดูเบา, โดยมากเป็นคําที่พระสงฆ์ใช้แก่เจ้านาย เช่น บรมวงศบพิตร.”
-------------------------
คำอ่านพระปรมาภิไธย :
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
พระ บาด สม เด็ด พระ ปะ ระ มิน ทะ ระ มะ หา พู มิ พน อะ ดุน ละ ยะ เดด
มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี
มะ หิด ตะ ลา ทิ เบด รา มา ทิ บอ ดี
จักรีนฤบดินทร
จัก กฺรี นะ รึ บอ ดิน
สยามินทราธิราช
สะ หยา มิน ทฺรา ทิ ราด
บรมนาถบพิตร
บอ รม มะ นาด ถะ บอ พิด
------------
หมายเหตุ:
เฉพาะวรรคสุดท้าย “บรมนาถบพิตร” นั้น ผู้เขียนบาลีวันละคำเคยได้ยินท่านผู้ใหญ่ที่พิถีพิถันในการอ่านภาษาไทยท่านหนึ่ง (คลับคล้ายคลับคลาว่าจะเป็น พลอากาศเอก หะริน หงสกุล แต่ไม่อาจยืนยันได้) ท่านอ่านคำว่า “นาถบพิตร” ว่า นาด-“ถะ”-บอ-พิด อย่างชัดเจน ซึ่งเป็นการถูกต้องตามหลักการอ่านคำสมาสที่ต้องออกเสียงพยางค์ที่เชื่อมคำต่อคำให้ครบถ้วน อย่างที่ น.ม.ส.ใช้คำว่า “อ่านอย่างมีลูกเก็บ” (ลูกเก็บ : การบรรเลงที่เพิ่มเติมเสียงสอดแทรกให้มีพยางค์ถี่ขึ้นกว่าทำนองเนื้อเพลงธรรมดา - พจน.54)
คำเทียบเพื่อความเข้าใจชัดเจนขึ้น เช่น “อดุลยเดช”
ถ้าอ่านแบบไม่มีลูกเก็บ (และมักง่าย) ก็อ่านว่า อะ-ดุน-เดด
ดีขึ้นมาหน่อยก็อ่านว่า อะ-ดุน-ยะ-เดด
แต่อ่านอย่างมีลูกเก็บและถูกต้องคือ อะ-ดุน-ละ-ยะ-เดด
ทุกวันนี้ได้ยินอ่านวรรค “บรมนาถบพิตร”นี้ว่า บอ รม มะ นาด-บอ พิด (ไม่มี “ถะ” ระหว่าง นาถ+บพิตร) ทั่วกันไปหมด และสังเกตเห็นว่าไม่มีท่านผู้ใดรู้สึกว่าผิดหรือด้อยความไพเพราะแต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย นับว่าเป็นความเรียวลงอย่างหนึ่งของภาษาไทย
: ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา
: ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
96  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ (926) พุทธพาณิชย์ (บาลีไทย) เมื่อ: ธันวาคม 01, 2014, 11:18:15 am
‎บาลีวันละคำ‬ (926)

พุทธพาณิชย์
(บาลีไทย)

อ่านว่า พุด-ทะ-พา-นิด
ประกอบด้วย พุทธ + พาณิชย์

(๑) “พุทธ”

บาลีเขียน “พุทฺธ” อ่านว่า พุด-ทะ
โปรดสังเกตจุดใต้ ทฺ ซึ่งทำให้ ทฺ เป็นตัวสะกด
ในบาลีถ้าไม่มีจุดใต้ ท จะต้องอ่านว่า พุ-ทะ-ทะ ซึ่งไม่มีศัพท์เช่นนี้

ในภาษาไทย ถ้าอยู่ท้ายศัพท์ อ่านว่า –พุด เช่น “พระพุทธ” อ่านว่า พฺระ-พุด
ถ้ามีคำมาสมาสข้างท้าย อ่านว่า –พุด-ทะ- เช่น “พุทธพาณิชย์” อ่านว่า พุด-ทะ-พา-นิด ไม่ใช่ พุด-พา-นิด

“พุทฺธ” แปลตามศัพท์ได้เกือบ 20 ความหมาย แต่ที่เข้าใจกันทั่วไปมักแปลว่า -

(1) ผู้รู้ = รู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง
(2) ผู้ตื่น = ตื่นจากกิเลสนิทรา ความหลับไหลงมงาย
(3) ผู้เบิกบาน = บริสุทธิ์ผ่องใสเต็มที่

ความหมายที่เข้าใจกันเป็นสามัญ หมายถึง “พระพุทธเจ้า” และบางกรณีหมายรวมไปถึง “พระพุทธศาสนา” หรือ “เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา” ด้วย

(๒) พาณิชย์

รากศัพท์มาจาก -

(1) วาณ เสียง, การส่งเสียง) + อชฺ (ธาตุ = ไป) + อ ปัจจัย, แปลง อ ต้นธาตุเป็น อิ

: วาณ + อชฺ = วาณช + อ = วาณช > วาณิช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ไปทางโน้นทางนี้ด้วยการส่งเสียง” หมายถึง พ่อค้า, คนค้าขาย (a merchant, trader)

ความหมายนี้คงเนื่องมาจากพ่อค้าสมัยโบราณจะไปซื้อขายที่ไหนก็ส่งเสียงร้องบอกชาวบ้านไปด้วย

การโฆษณาสินค้าในสมัยนี้ก็คือรูปแบบของ “การส่งเสียง” ที่พัฒนาขึ้นมานั่นเอง

(2) วาณิช (จากข้อ 1) + ณฺย ปัจจัย, ลบ ณฺ, แปลง ชย (ช ที่ วาณิช + ย ปัจจัยที่เหลือจากลบ ณฺ) เป็น ชฺช

: วาณิช + ณฺย > ย : วาณิช + ย = วาณิชย > วาณิชฺช แปลตามศัพท์ว่า “กิจการของผู้ค้าขาย” หมายถึง การค้าขาย, การซื้อขาย (trade, trading, commerce, business)

“วาณิชฺช” (วา-นิด-ชะ, ช 2 ตัว) สันสกฤตเป็น “วาณิชฺย” ภาษาไทยเขียนอิงสันสกฤตเป็น “พาณิชย์” (แปลง ว เป็น พ, ย์ การันต์) หรืออีกนัยหนึ่งเขียนตามรูปเดิมของบาลีก่อนที่จะแปลง ชย เป็น ชฺช นั่นเอง

ข้อควรจำ :

- วาณิช > พาณิช = พ่อค้า, ผู้ค้า (ตัวบุคคล)
- วาณิชฺช > วาณิชฺย > พาณิชย์ = การค้า (กิจการ)

พุทธ + พาณิชย์ = พุทธพาณิชย์ แปลเท่าศัพท์ว่า “การค้าขายพระพุทธเจ้า” แปลขยายความว่า การค้าขายสิ่งที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

“พุทธพาณิชย์” เป็นคำที่มีผู้ใช้เรียกกิจการค้าที่จำหน่ายพระพุทธรูป และหมายรวมไปถึงจำหน่ายเครื่องประกอบพระพุทธรูปและเครื่องใช้ในศาสนพิธี เช่น โต๊ะหมู่บูชา ธรรมาสน์ ผ้าไตรจีวร เครื่องบวช และของถวายพระเป็นต้น ที่นิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าร้าน “สังฆภัณฑ์” (สังฆ = พระสงฆ์, พิธีสงฆ์; ภัณฑ์ = สิ่งของ, เครื่องใช้)

ต่อมาคำว่า “พุทธพาณิชย์” ยังขยายความหมายไปถึงกิจการเกี่ยวกับการสร้างและจำหน่ายพระเครื่องและวัตถุมงคลต่างๆ อีกด้วย

ปัจจุบันมีผู้ใช้คำว่า “พุทธพาณิชย์” เรียกกรณีที่มีการดำเนินการใดๆ เกี่ยวกับวัดวาอาราม เช่นสร้างโบสถ์ วิหาร เสนาสนะ พระพุทธรูป รูปเกจิอาจารย์เป็นต้น แล้วมีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากกิจการนั้นๆ คำว่า “พุทธพาณิชย์” จึงมีความหมายในทางตำหนิติเตียนดังจะว่าเอาพระพุทธศาสนามาเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินกระนั้น

คำว่า “พุทธพาณิชย์” ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554

: ถ้าเข้าถึงพระพุทธศาสนา
: จะเข้าใจได้ว่าชีวิตที่มีค่าไม่ได้ขึ้นอยู่กับเงิน

----------------
(ตามคำขอของพระคุณท่าน Sornchai Phosriwong)
97  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / นครคีรีวัน นครบาลี นามพระปัญจวัคคีย์ที่ปรากฏในมิลินทปัญหาและอรรถกถา เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 08:35:56 pm
นามพระปัญจวัคคีย์ที่ปรากฏในมิลินทปัญหาและอรรถกถามัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ (ตอนที่ 1)
______________________________________________________
เก ปน เต ปญฺจวคฺคิยา นาม ? เยเต –
...........ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺติ ¹
...........ยญฺโญ สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต
...........เอเต อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
...........ฉฬงฺควา มนฺตํ วิยากรึสุ. (ม. นิ. อฏฺฐ. 1.284)
...........โพธิสตฺตสฺส ชาตกาเล สุปินปฏิคฺคาหกา เจว ลกฺขณปฏิคฺคาหกา จ อฏฺฐ พฺราหฺมณา. เตสุ ตโย เทฺวธา พฺยากรึสุ – อิเมหิ ลกฺขเณหิ สมนฺนาคโต สมนฺนาคโต อคารํ อชฺฌาวสมาโน ราชา โหติ จกฺกวตฺตี. ปพฺพชมาโน พุทฺโธติ, พุทฺโธ ว โหตีติ. เตสุ ปุริมา ตโย ยถามนฺตปทํ คตา, อิเม ปน ปญฺจ มนฺตปทํ อติกฺกนฺตา. เต อตฺตนา ลทฺธํ ปุณฺณปตฺตํ ญาตกานํ วิสฺสชฺเชตฺวา อยํ มหาปุริโส อคารํ น อชฺฌาวสิสฺสติ, เอกนฺเตน พุทฺโธ ภวิสฺสตีติ นิพฺพิตกฺกา โพธิสตฺตํ อุทฺทิสฺส สมณปพฺพชฺชํ ปพฺพชิตา. เตสํ ปุตฺตาติ วทนฺติ. ตํ อฏฺฐกถาย ปฏิกฺขิตฺตํ.
...........เอเต กิร ทหรกาเลเยว พหู มนฺเต ชานึสุ. ตสฺมา เต พฺราหฺมณา อาจริยฏฺฐาเน ฐปยึสุ. เต ปจฺฉา อมฺเหหิ ปุตฺตทารชฏํ ฉฑฺเฑตฺวา น สกฺกา ภวิสฺสติ ปพฺพชิตุนฺติ ทหรกาเลเยว ปพฺพชิตฺวา รมณียานิ เสนาสนานิ ปริภุญฺชนฺตา วิจรึสุ.
...........ก็ใครที่ชื่อปัญจวัคคีย์นั้น. คือพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายพระสุบินและทำนายพระลักษณะในเวลาที่พระโพธิสัตว์เกิด ตามคาถาประพันธ์ว่า
...........ราโม ธโช ลกฺขโณ โชติมนฺติ ¹
...........ยญฺโญ² สุโภโช สุยาโม สุทตฺโต
...........เอเต อฏฺฐ อเหสุ พฺราหฺมณา
...........ฉฬงฺควา มนฺตํ วิยากรึสุ. (ม. นิ. อฏฺฐ. 1.284)
...........ครั้งนั้น ได้มีพราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ รามะ ธชะ ลักษณะ โชติมันติ ยัญญะ สุโภชะ สุยามะ สุทัตตะ ใช้ฉฬังควมนต์พยากรณ์ (พระลักษณะ).
...........บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น ๓ คน พยากรณ์เป็น ๒ คติว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ อยู่ครองเรือน ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ออกบวชก็จะเป็นพระพุทธเจ้า. พราหมณ์ ๕ คน พยากรณ์คติเดียวว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ จะไม่ครองเรือน จะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว. บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น ๓ คนแรก ถือตามบทมนต์. ส่วน ๕ คนนี้ ก้าวล่วงบทมนต์. พวกเขาจึงสละของรางวัลเต็มภาชนะที่ตนได้มาแก่เหล่าญาติ หมดความสงสัยว่า พระมหาบุรุษนี้ จักไม่อยู่ครองเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว จึงบวชเป็นสมณะอุทิศพระโพธิสัตว์. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พวกที่บวชเป็นบุตรของพราหมณ์เหล่านี้ดังนี้ก็มี. คำนั้นถูกคัดค้านโดยอรรถกถา. เล่ากันว่า พราหมณ์ ๕ คนนั้น เวลายังหนุ่มรู้มนต์มาก เพราะฉะนั้น พราหมณ์เหล่านั้นจึงอยู่ในฐานะอาจารย์. ภายหลัง พราหมณ์เหล่านั้น คิดกันว่า พวกเราไม่อาจตัดคนที่เป็นบุตรภรรยาบวชได้ จึงบวชเสียในเวลาที่ยังเป็นหนุ่มทีเดียว ใช้สอยเสนาสนะที่น่ารื่นรมย์เที่ยวกันไป.
________________
¹ เป็น จาปิ มนฺตี ก็มี
² ยัญญพราหมณ์ในที่นี้ได้แก่ พระอัญญาโกณฑัญญะ

ดูประวัติพระอัญญาโกณฑัญญะในhttp://www.palikanon.com/.../pali.../ay/annaa_kondanna.htm
Aññāta
He was the son of a very wealthy brahmin family of Donavatthu
near Kapilavatthu and was born before the Buddha. He came to be called by his
family name Kondañña. He was learned in the three Vedas, excelling in the
science of physiognomy.
98  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / นครคีรีวัน นครบาลี อชฺชตคฺเค และอรรถของ อคฺค ศัพท์ เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 01:14:49 pm
คีรีวัน มารัญชยะ
เกี่ยวกับ อชฺชตคฺเค และอรรถของ อคฺค ศัพท์
______________________________________________
อคฺคสทฺโท อาทิโกฏิโกฏฺฐาสเสฏฺเฐสุ ทิสฺสติ.
๏ อคฺค ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น, แรก, ก่อน (อาทิ) ที่สุด, ปลาย, ยอด (โกฏิ) ส่วน (โกฏฺฐาส) และ ประเสริฐ, เลิศ (เสฏฺฐ)
(ตัวอย่าง)
1) อชฺชตคฺเค สมฺม โทวาริก อาวรามิ ทฺวารํ นิคณฺฐานนฺติอาทีสุ หิ อาทิมฺหิ ทิสฺสติ.
๏ ก็ อคฺค ศัพท์ใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น ในตัวอย่างเช่น อชฺชตคฺเค ฯเปฯ ทฺวารํ นิคณฺฐานํ “แน่ะนายประตูผู้สหายเอ๋ย จำเดิมแต่ (ตั้งแต่, แรกแต่, นับแต่) วันนี้ไปเราจะปิดประตูสำหรับนิครนถ์ทั้งหลาย"
2) เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ องฺคุลคฺคํ ปรามเสยฺย, อุจฺฉุคฺคํ เวฬคฺคนฺติอาทีสุ โกฏิยํ.
๏ ใช้ในอรรถว่า ที่สุด, ปลาย, ยอด เช่น “พึงถูกต้องปลายนิ้วมือ (องฺคุลคฺค) ด้วยปลายนิ้วนั้นแหละ” (และ) ว่า “ยอดอ้อย, ยอดไผ่”
3) อนุชานามิ ภิกฺขเว อมฺพิลคฺคํ วา มธุรคฺคํ วา ติตฺตกคฺคํ วา วิหารคฺเคน วา ปริเวณคฺเคน วา ภาเชตุนฺติอาทีสุ โกฏฺฐาเส.
๏ ใช้ในอรรถว่า ส่วน เช่น “ดูกรภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตเพื่อให้แบ่งส่วนเปรี้ยว (อมฺพิลคฺค) ส่วนหวาน (มธุรคฺค) หรือส่วนขม (ติตฺตกคฺค) โดยส่วนแห่งวิหารหรือโดยส่วนแห่งบริเวณ"
4) ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา อปทา ฯเปฯ ตถาคโต เตสํ อคฺคมกฺขายตีติอาทีสุ เสฏฺเฐ.
๏ ใช้ในอรรถว่า ประเสริฐ, เลิศ เช่น “ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ไม่มีเท้า ฯลฯ บรรดาสัตว์เหล่านั้น ตถาคตย่อมปรากฏว่าเป็นผู้ประเสริฐที่สุด”
(ข้อความจากอรรถกถาภยเภรวสูตร)
อิธ ปนายํ อาทิมฺหิ ทฏฺฐพฺโพ.
๏ ก็ อคฺค ศัพท์ในคำว่า อชฺชตคฺเค นี้พึงทราบว่าใช้ในอรรถว่า เบื้องต้น
ตสฺมา อชฺชตคฺเคติ อชฺชตํ อาทึ กตฺวาติ เอวเมตฺถ อตฺโถ เวทิตพฺโพ.
๏ เพราะฉะนั้นพึงทราบอธิบายในคำนี้อย่างนี้ว่า คำว่า อชฺชตคฺเค หมายถึง กระทำความมีในวันนี้ให้เป็นต้น (นับแต่วันนี้เป็นต้นไป)
อชฺชตนฺติ อชฺชภาวํ.
๏ บทว่า อชฺชตํ ได้แก่ อชฺชภาวํ (ภาวะในวันนี้)
อชฺชทคฺเคติปิ ปาโฐ. ทกาโร ปทสนฺธิกโร.
๏ ปาฐะว่า อชฺชทคฺเค ดังนี้บ้าง ท อักษรทำการเชื่อมบท
อชฺช อคฺคํ กตฺวาติ อตฺโถ.
๏ อธิบายว่า กระทำในวันนี้ให้เป็นต้น
(สรุป)
1) คำว่า อชฺชตคฺค มาจาก อชฺชตา+อคฺค (อชฺชตา = อชฺชภาว)
2) เป็นรูปว่า อชฺชทคฺค ก็มี (อชฺช+ท อาคม+อคฺค)
3) ไวยากรณ์บาลีบางเล่มเช่น ปทรูปสิทธิ เป็นต้น กล่าวต่างไปจากนี้คือ อชฺช+ต อาคม+อคฺค

 ท อักษรในคำว่า สทตฺถปสุโต สิยา แปลงมาจาก ก (สก) ไม่ใช่ ท อาคม


นายพระยา ฤทธิภักดี อาจารย์ช่วยอธิบาย อนมตคฺค ให้หน่อยครับ


คีรีวัน มารัญชยะ ส่วน อคฺค ศัพท์ในคำว่า ภตฺตคฺค เป็นต้น สำเร็จมาจาก อคฺค ธาตุ ตามวิเคราะว่า อคฺคนฺติ คเหตุํ คจฺฉนฺติ เอตฺถาติ อคฺคํ (ฐานํ) สถานที่ไปเพื่อจะรับ (วิ. อตฺ โย 2/518)


นายพระยา ฤทธิภักดี ผมจำได้คร่าว ๆ ว่า อนมตคฺค แปลว่า มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ไม่รู้ได้ ก็เลยสงสัยว่า ทำไม อคฺค ทำหน้าที่ทั้งในอรรถของ อาทิ และ โกฏิ


คีรีวัน มารัญชยะ อีกนัยหนึ่งสำเร็จมาจาก ภตฺต+√คสฺ+กฺวิ หรือ ภตฺต+√คหฺ+กฺวิ ปัจจัย ลบพยัญชนะที่สุดธาตุ ด้วยสูตรว่า กฺวิมฺหิ โลโปนฺตพฺยฺชนสฺส "เพราะ กฺวิ ปัจจัยให้ลบพยัญชนะที่สุดธาตุ” (โมคฺ 5/94) มีวิเคราะห์ว่า
ภตฺตํ คสนฺติ เอตฺถาติ ภตฺตคฺคํ. (ฐานํ)
ภตฺตํ คณฺหนฺติ เอตฺถาติ ภตฺตคฺคํ. (ฐานํ)
อนมตคฺค สำเร็จมาจาก น+อมตคฺค อ ในคำว่า อมต มีอรรถตัพภาวะ (ไม่มีความหมายพิเศษ) ดังตัวอย่างจากโคปาลวิมานวัตถุว่า ขิปึ อนนฺตกํ.(เราได้ถวายผ้าเก่าแล้ว) อนนฺตกนฺติ นนฺตกํ ปิโลติกํ.
ในคัมภีร์สัททนีติ สุตตมาลา ฉบับภูมิพโลภิกขุ หน้า 450 แสดงอรรถของ อ นิบาตไว้ว่า อ อิติ วุทฺธิตพฺภาวาทีสุปิ ทิสฺสติ.(อ นิบาตใช้ในอรรถความเจริญและอรรถตัพภาวะเป็นต้น) ในบทธัมมาภิคีติของทำวัตรเย็นพบคำว่า ตมหรํ (ตํ+อหรํ) อ ในคำว่า อหรํ ก็มีอรรถตัพภาวะเช่นกัน (มิใช่ปฏิเสธ) เพราะถ้าเข้าสมาสว่า ตํหรํ ก็จะไม่ครบจำนวนพยางค์ในคณะฉันท์
 อนมตคฺค นั้นมีอยู่ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธาน เดี๋ยวจะลองค้นหาให้ครับ

นายพระยา ฤทธิภักดี อนมตคฺค : (วิ.) มีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว,
มีวิ.ตามลำดับ ดังนี้ปเรกเสสทวัน. อคฺโค จ ปุพฺโพ จ อคฺคา.
วิเสสนบุพ.กัม.อนุคจฺฉิยมานา จ เต อคฺคา จาติ อนุคจฺฉิมานคฺคา.
นบุพ.กัม. น มตา อนมตา (อนุคจฺฉิยมานคฺคา)
วิเสสน บุพ.กัม.อนมตา จ เต อนุคจฺฉิยมานคฺคา จาติ อนมตคฺคา.
ตทัสสิตัท.อนมตคฺคา อสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (สํสาโร วฎฺฎสํสาโร).
มีสำนวนแปลอีกคือมีที่สุดอันบุคคลไปตามไม่รู้แล้ว, มีที่สุดอันบุคคลไม่รู้แล้ว, มีที่สุดและเบื้องต้นอันใครๆ ไปตามไม่รู้แล้ว, มี่ที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลไปตามไม่รู้แ

//พอดีไปเจอใน ETipitaka Pali-Thai Dict


คีรีวัน มารัญชยะ เคยสนทนากับพระอาจารย์มหาราเชนทร์ อคฺคธมฺโม วัดใหญ่อินทาราม ชลบุรี ได้ความว่า น มตา อนมตา ฉบับของไทยเป็นรูปนี้ทั้งหมด แต่ฉบับฉัฏฐสังคีติเป็น น อมตา อนมตา.
คำว่า อมตา = มตา เพราะ อ มีอรรถตัพภาวะ เพิ่มเข้ามาเพื่อให้เชื่อมสนธิเป็นรูปว่า อนมตา ได้ ถ้าเป็น น มตา ก็จะได้รูปว่า อมตา เท่านั้น
คำแปลในภาษาไทยว่า อัน...ไปตามไม่รู้แล้ว หรือ อัน..รู้ไม่ได้แล้ว ก็เคยยกขึ้นมาเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควรเมื่อหลายสิบปีก่อน โดยเฉพาะในประโยคว่า พุทฺธญฺญาเณนาปิ อปริจฺฉินฺนา แปลกันมาสองสำนวนว่า "แม้อันพระพุทธญาณกำหนดไม่ได้แล้ว" "แม้อันพระพุทธญาณไม่ทรงกำหนดแล้ว" ภายหลังมาจึงตกลงกันว่า ไม่ควรจะแปลตามแบบแรกเพราะดูเหมือนจะเป็นการหมิ่นพระพุทธญาณ
ตามวิเคราะห์ที่ท่าน นายพระยา ฤทธิภักดี ให้ไว้ก็สรุปได้ว่า อคฺค เป็นอสมาหารทวันทสมาสชนิดเอกเสสสมาสที่ลบบทหลัง ดังนั้น อคฺคา จึงเท่ากับ อคฺคปุพฺพา
ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธาน เล่ม 1 หน้า 679 อธิบายคำว่า อมตคฺค ไว้ดังนี้
1) อนุ+น+มต+อคฺค
2) น+อมตคฺค อ ตพฺโภ.
และยกตัวอย่างมาจากพระบาลี อรรถกถาและฎีกาหลายแห่งมาแสดงดังนี้
อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ.
อนมตคฺโค โข สํสาโร. อนมตคฺโคติ อนุอมตคฺโค.
วสฺสสตํ วสฺสสหสฺสํ ญาเณน อนุคนฺตฺวาปิ อมตคฺโค อวิทิตคฺโค.
นาสฺส สกฺกา อิโต วา เอตฺโต วา อคฺคํ ชานิตุํ.
ตัวอย่าง อมตคฺค ในปทานุกรมติปิฏกปาฬิเมียนม่าร์อภิธานท่านแสดงไว้เยอะมากเป็นหน้าเลย แสดงว่าผู้รู้หลายท่านสนใจคำนี้และพยายามอธิบายฉีกออกไปหลายแนว แต่ควรจะเป็นปุพเพกสมาสทีลบบทเบื้องต้นตามอรรถกถาที่ให้ไว้ (อนมตคฺโคยํ ภิกฺขเว สํสาโร ปุพฺพา โกฏิ น ปญฺญายติ.) และแปลว่า มีเบื้องต้นและที่สุด...
สรุป อนมตคฺค ที่แปลว่า "มีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ไม่รู้ได้" มาจาก อนุ+น (อ)+มตคฺค ควรแปลใหม่ว่า
"มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามรู้ไม่ได้แล้ว"
ถ้าดูตามคำอธิบายในอรรถกถา (นาสฺส สกฺกา อิโต วา เอตฺโต วา อคฺคํ ชานิตุํ) รู้ไม่ได้ ในที่นี้หมายถึง ไม่อาจรู้ได้ว่ามีเบื้องต้นและที่สุดมาจากทางนี้หรือทางโน้น


นายพระยา ฤทธิภักดี จากวิเคราะห์ข้างบน ใช้เป็น อนุคจฺฉิยมานคฺคา
แต่ถ้าเป็นไปตามแล้ว มันจะเป็นรูปยังไงครับ
และ ไปตามอยู่กับไปตามแล้ว มันต่างกันอย่างไร ครับ

คีรีวัน มารัญชยะ อนมตคฺค : (สงสาร) มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามรู้ไม่ได้แล้ว ถ้าถือเอานัยตามอรรถกถาน่าจะวิเคราะห์ได้ว่า
ปุพเพกเสส ทวัน.วิ. ปุพฺโพ จ อคฺโค จ - อคฺคา.
นบุพ.กัม. วิ. น อมตา - อนมตา (อคฺคา)
ฉัฏฐีพหุพ. วิ. อนุคนฺตฺวา อนมตา อคฺคา ยสฺส โส - อนมตคฺโค (สํสาโร)
ควรจะตัดสำเนียงคำแปล แล้ว ของ ตฺวา ปัจจัยออกไปครับ (แก้ให้แล้ว) แปลเป็นสมานกาลดีกว่า เหตุผลก็คือ ไม่ต้องการให้คำว่า แล้ว รกรุงรัง แต่ถ้าจะยึดตามแบบสนามหลวงก็แล้วแต่อัธยาศัย
ในวิเคราะห์ใช้ อนุคนฺตฺวา เวลาเข้าสมาสก็ย่อเหลือแต่ อนุ (อนุ+อมตคฺค ลบ สระ อุ หน้า) อรรถของ อนุ ในที่นี่เท่ากับ อนุคนฺตฺวา

Thank Sukchai วิ. อนุคนฺตฺวา อนมตา อคฺคา ยสฺส...ให้ความรู้สึกว่าไปตามหาในระยะ
เวลาช่วงสั้นๆ, อนุคจฺฉิยมานา ให้ความรู้สึกเหมือนกับว่ายังไปตามหายังไม่เลิกรา
คำนี้ ผมจำได้ว่า แปลโดยพยัญชนะว่า มีเบื้องต้นและที่สุดอันบุคคลผู้ไปตามอยู่ รู้ไม่ได้แล้ว ก็คงต่างกันในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ

นายพระยา ฤทธิภักดี วจนานุกรมสมาสท้อง (พระเทพวราภรณ์)

อนมตคฺโค (สํสาโร) สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นแม้อันบุคคลไปตามรู้ไม่ได้แล้ว เป็น ณ ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต มี ปเรกโลปอสมาหารทวันทวสมาส เป็นท้อง วิ. ว่า
1. อคฺโค จ ปุพฺโพ จ อคฺคา ปเรก. อ. ทวัน.ฯ
2.(ไม่ปรากฏ)
3.อนุคนตฺวาปิ อมตา อญาตา อคฺคา อสฺส อตฺถีติ อนมตคฺโค (สํสาโร) ณ. ตทัส.

คีรีวัน มารัญชยะ อนมตคฺโค ควรสำเร็จด้วยสมาสวิเคราะห์มากกว่าตัทธิตวิเคราะห์ครับ ทีทำให้เราสับสนเพราะคำแปลในภาษาไทยว่า "มี" นั่นเอง คำแปลว่า "มี" ในตทัสสัตถิตัทธิตส่วนมากจะใช้แสดงคุณสมบัติของนามนามและมาโดดๆ เพียงลำพังเช่น เมธาวี, ยสสฺสี, ทณฺฑี, ปญฺญวา, สทฺโธ และสำเร็จด้วยตัทธิตวิเคราะห์โดยตรง ถ้าเป็นคำตัทธิตซ้อนสมาสก็ต้องผ่านตัทธิตวิเคราะห์มาก่อน เช่น มหาหตฺถี, หตฺถิโปตโก ทณฺฑิภาโว etc. แต่นีศัพท์ผ่านขั้นตอนสมาสมาแล้วเอาไปปรุงเป็นตัทธิตอีกดูเหมือนสมาสวิเคราะห์ไม่เป็นใหญ่แก่ตนเองเลย อย่าลืม ! สมาสนะมีตัทธิตเป็นท้องได้ แต่ตัทธิตมีสมาสเป็นท้องเคยได้ยินได้ฟังกันมาบ้างหรือไม่ (ไม่แน่ใจว่า ตัทธิตท้อง นิยมเรียกกันหรือเปล่า)
       เหมือนการแปล อตฺตมโน ว่า "ผู้มีใจอันเป็นของของตน" นั่นแล โดย วิ. ว่า :-
(ฉ.ตัป.) อตฺตโน สนฺตกํ - อตฺตสนฺตกํ (มนํ)
(วิ.บุพ.กัม). อตฺตสนฺตกํ มนํ - อตฺตมนํ.
(ณ ตทัส.) อตฺตมนํ อสฺส อตฺถีติ - อตฺตมโน (ชโน)
ที่จริงศัพท์นี้มีคำแปลว่า “ผู้มีใจเป็นของตน” ตามรูปวิเคราะห์ที่ท่านแสดงไว้ในโยชนาวินัยอรรถกถา (2/179) ว่า
อตฺตโน มโน ยสฺส โส - อตฺตมโน (ชโน) ใจของตนแห่งชนใดมีอยู่ ชนนั้นชื่อว่า อตฺตมน (ผู้มีใจเป็นของตน = พอใจ)
ที่เป็นดังนี้เพราะเราเข้าใจคำว่า “มี” และ “ของ” ในภาษาไทยผิดนั่นเอง ก็เลยตั้งวิเคราะห์เอาตามความรู้สึกนึกคิด และหนังสือเล่มนี้ก็ถูกพิมพ์เผยแพร่แล้วหลายพันเล่ม
99  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ‬ (925) ทุจริต เมื่อ: พฤศจิกายน 30, 2014, 01:01:06 pm
‪บาลีวันละคำ‬ (925)
ทุจริต
อ่านว่า ทุด-จะ-หฺริด
บาลีเป็น “ทุจฺจริต” (ซ้อน จฺ) อ่านว่า ทุด-จะ-ริ-ตะ
“ทุจฺจริต” รากศัพท์มาจาก ทุ + จรฺ (ธาตุ = ประพฤติ, ดำเนินไป) + ต ปัจจัย, ลง อิ อาคมหน้าปัจจัยหรือที่สุดธาตุ, ซ้อน จฺ ระหว่างอุปสรรคกับธาตุ
: ทุ + จฺ + จรฺ = ทุจฺจร + อิ = ทุจฺจริ + ต = ทุจฺจริต
ความรู้ทางหลักภาษา :
(1) ทุ เป็นคําอุปสรรค (อุปสรรค : คำสำหรับใช้เติมข้างหน้าคำนามหรือคำกริยาที่เป็นรูปคำบาลีหรือสันสกฤตให้มีความหมายแผกเพี้ยนไปจากเดิม หรือมีความหมายตรงข้ามกับความหมายเดิมเป็นต้น และถือเป็นคำเดียวกับคำนามหรือคำกริยานั้น เพราะตามปรกติจะไม่ใช้ตามลำพัง) มีความหมายว่า ชั่ว, ผิด, ยาก, ลําบาก, ทราม, การใช้ไปในทางที่ผิด, ความยุ่งยาก, ความเลว (bad, wrong, perverseness, difficulty, badness)
(2) “ทุ” ในบาลีจะแปลงเป็น “ทุร” หรือ “ทูร” เมื่อคำที่ “ทุ” ไปประสมขึ้นต้นด้วยสระ เช่น ทุ + อาคม (อา- เป็นสระ) : ทุ > ทุร + อาคม = ทุราคม (แปลว่า การถึงลําบาก, การอยู่ทางไกล)
ในที่นี้ “จริต” ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ ทุ + จริต จึงคงรูปเป็น ทุ- แต่ซ้อน จฺ จึงเป็น ทุจฺจริต (ทุด-จะ-ริ-ตะ)
“จริต” เป็นคำนาม มีความหมายว่า การกระทำ, ความประพฤติ (action, behaviour)
ทุ + จริต = ทุจฺจริต > ทุจริต แปลว่า การทำชั่ว, ความประพฤติชั่ว (bad action, wrong conduct) (ตรงกันข้ามกับ สุ + จริต = สุจริต (โปรดสังเกตว่า สุจริต บาลีไม่ซ้อน จฺ) แปลว่า การทำดี, ความประพฤติดี good action, right conduct)
ในภาษาไทย พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกความหมายของ “ทุจริต” ไว้ว่า -
(1) (คำนาม) ความประพฤติชั่ว, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางกาย เรียกว่า กายทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางวาจา เรียกว่า วจีทุจริต, ถ้าเป็นความประพฤติชั่วทางใจ เรียกว่า มโนทุจริต.
(2) (คำกริยา) โกง เช่น ทุจริตในการสอบ, คดโกง, ฉ้อโกง, เช่น ทุจริตต่อหน้าที่.
(3) (คำวิเศษณ์) ไม่ซื่อตรง เช่น คนทุจริต.
ในภาษาไทย “ทุจริต” มักใช้ในความหมายว่า โกง, กินสินบน, ประพฤติมิชอบต่อหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว หรือที่เรียกเป็นคำอังกฤษว่า corruption
พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี แปล corruption เป็นบาลีไว้ดังนี้:
(1) dūsana ทูสน (ทู-สะ-นะ), padussana ปทุสฺสน (ปะ-ทุด-สะ-นะ), sampadussana สมฺปทุสฺสน (สำ-ปะ-ทุด-สะ-นะ) = การทำให้เสียหาย, การทำร้าย
(2) kalusīkaraṇa กลุสีกรณ (กะ-ลุ-สี-กะ-ระ-นะ) = การทำให้ขุ่นมัว, ทำไม่สะอาด
(3) kilissana กิลิสฺสน (กิ-ลิด-สะ-นะ) = ความเศร้าหมอง, ความสกปรก
(4) pūtibhāva ปูติภาว (ปู-ติ-พา-วะ) = ภาวะที่บูดเน่า, ความเน่าเสีย
(5) padosa ปโทส (ปะ-โท-สะ) = ความบกพร่อง, ความผิด, ข้อตำหนิ, ความเลวทราม, ความชั่ว
(6) vipallāsa วิปลฺลาส (วิ-ปัน-ลา-สะ) = ความวิปริต, ความผิดเพี้ยน, ความเสียหาย
โปรดสังเกตว่า พจนานุกรมอังกฤษ-บาลี ไม่ได้แปล corruption ว่า ทุจฺจริต
ในทางธรรม ท่านจำแนก “ทุจริต” ทั้ง 3 ทางไว้ดังนี้:
(๑) กายทุจริต ประพฤติชั่วด้วยกาย, ประพฤติชั่วทางการกระทำ มี 3 อย่าง คือ -
(1) ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์
(2) อทินนาทาน ลักทรัพย์
(3) กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
(๒) วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางคำพูด มี 4 อย่าง คือ -
(1) มุสาวาท พูดเท็จ
(2) ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
(3) ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
(4) สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
(๓) มโนทุจริต ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางความคิด มี 3 อย่าง คือ -
(1) อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา
(2) พยาบาท ความขัดเคืองคิดร้าย
(3) มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม
พุทธภาษิต:
ธมฺมํ จเร สุจริตํ
น ตํ ทุจฺจริตํ จเร.
: อย่าเอาธรรมะมาประพฤติผิดๆ
: จะเป็นทุจริตโดยไม่รู้ตัว
100  เรื่องทั่วไป / IT สาระประโยชน์ชาวธรรม / วิธีฟังวิทยุออนไลน์ madchima RDN บนมือถือและแท็บเล็ต เมื่อ: พฤศจิกายน 06, 2014, 12:22:30 pm
เป็นวิธีสำหรับอุปกรณ์ที่เป็น Android
ต้องใช้ เบราว์เซอร์ Photon Flash สำหรับเปิดเว็บไซต์
เพื่อฟังวิทยุธรรมะ ออนไลน์ madchima RDN



สามารถ ดาวน์โหลด ได้ที่ลิ้งนี้ : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.appsverse.photon




เมื่อเปิดใช้งาน ให้กดเลือกที่เครื่องหมาย สายฟ้า



และเลือก ที่คำว่า Continue with Ads รอโปรแกรม จะเป็น มีโฆษณาขึ้นมาก่อน  ก่อนโปรแกรมจะเปลี่ยนให้ดูได้



หลังจากนั้นโปรกแรมจะเปลี่ยน



เมื่อเสร็จ ก็รับฟังได้เลย แต่ก็จะได้ในระยะเวลานึ่ง(นานพอสมควร) ก็จะต้อง เลือกกดที่สายฟ้าใหม่อีกครั้ง เพื่อคั้นโฆษณา แต่ก็โอเคนะ ทำให้สะดวกในการติดตามรับฟัง อย่างตอนที่อยู่บนดอย ใช้แค่ 2 G (EDGE) ก็ยังสามารถติดตามรับฟังได้ แต่ต้องอยู่กับที่ หมายถึง นั่งรถเคลื่อนที่เร็ว ไม่สามารถฟังได้ดี (คงเป็นที่ระบบสัญญาณมือถือ)
101  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / อารักขกัมมัฏฐาน ๔ (ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช) เมื่อ: ตุลาคม 30, 2014, 09:16:23 am
อารักขกัมมัฏฐาน ๔
(ฉบับพระมหาญาณธวัช าณทฺธโช)


พุทธานุสสะติ

   ๑.   พุทธานุสสะติ  เมตตา  จะ      อะสุภัง  มะระณัสสะติ
         อิติมา จะตุรารักขา      ภิกขุ ภาเวยยะ สีละวาฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ผู้ประกอบด้วยศีล พึงเจริญอารักขกัมมัฏฐาน ๔ ประการเหล่านี้ คือ
การหมั่นระลึกถึงพระพุทธคุณ การเจริญเมตตา การเจริญอสุภกัมมัฏฐาน และการระลึกถึงความตาย
   ๒.      อะนันตะวิตถาระคุณัง      คุณะโตนุสสะรัง มุนิง
         ภาเวยยะ พุทธิมา ภิกขุ      พุทธานุสสะติมาทิโตฯ
บรรพชิตและคฤหัสถ์ผู้มีปัญญาเมื่อระลึกถึงพระมุนีผู้มีพระคุณกว้างขวาง             
หาที่สุดมิได้โดยคุณธรรม พึงตั้งต้นเจริญพุทธานุสสติภาวนาด้วยอาการดังนี้ ว่า
   ๓.      สะวาสะเน กิเลเส โส      เอโก สัพเพ นิฆาติยะ
         อะหุ สุสุทธะสันตาโน      ปูชานัญจะ สะทาระโหฯ
   พระมุนีผู้ประเสริฐพระองค์นั้นทรงขจัดสรรพกิเลสพร้อมทั้งวาสนา (คืออาจิณกรรมที่ประพฤติจนเคยชิน) ได้แล้ว
เป็นผู้มีขันธสันดานและจิตสันดานบริสุทธิ์ดี และควรแก่ของบูชาในกาลทุกเมื่อ
   ๔.      สัพพะกาละคะเต ธัมเม      สัพเพ สัมมา สะยัง มุนิ
         สัพพากาเรนะ พุชฌิต๎วา      เอโก สัพพัญญุตัง คะโตฯ
พระมุนีทรงตรัสรู้ธรรมทั้งสิ้นที่เป็นไปในกาลทั้งปวง โดยชอบด้วยพระองค์เอง ด้วยอาการทั้งมวล
ได้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแต่เพียงลำพังพระองค์เดียว
   ๕.      วิปัสสะนาทิวิชชาหิ      สีลาทิจะระเณหิ จะ
         สุสะมิทเธหิ สัมปันโน      คะคะณาเภหิ นายะโกฯ
พระพุทธนายก (ผู้นำหมู่สัตว์เข้าสู่พระนิพพาน) ทรงประกอบด้วยวิชชา ๘ มีวิปัสสนาญาณ เป็นต้น
และจรณะ ๑๕ มีศีล เป็นต้น อันบริบูรณ์ดี ประดุจดังท้องฟ้า ที่เต็มด้วยหมู่ดาว ฉะนั้น
   ๖.      สัมมา  คะโต สุภัณฐานัง      อะโมฆะวะจะโน จะ โส
         ติวิธัสสาปิ โลกัสสะ      ญาตา นิระวะเสสะโตฯ
พระองค์ทรงมีพระวาจาไม่เปล่าประโยชน์ บรรลุถึงศุภสถาน (คือพระนิพพาน) ด้วยดี
ทรงรู้แจ้งโลกทั้งสาม (คือสัตตโลก, สังขารโลก และโอกาสโลก) อย่างสิ้นเชิง
   ๗.      อะเนเกหิ คุโณเฆหิ      สัพพะสัตตุตตะโม อะหุ               อะเนเกหิ อุปาเยหิ      นะระทัมเม ทะเมสิ๑  จะฯ
ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งปวงด้วยหมู่คุณความดีเป็นอันมาก และทรง         
สั่งสอนคนที่ควรสั่งสอน ด้วยอุบายสำหรับสั่งสอนนานัปการ
   ๘.      เอโก สัพพัสสะ โลกัสสะ      สัพพะอัตถานุสาสะโก
         ภาค๎ยะอิสสะริยาทีนัง      คุณานัง ปะระโม นิธิ๒ฯ
พระองค์ผู้เดียวทรงอนุศาสก์สรรพประโยชน์แก่ชาวโลกทั้งมวล
ทรงเป็นประดุจขุมทรัพย์อันประเสริฐ (หรือทรงเป็นที่ตั้งไว้อย่างยอดเยี่ยม) แห่งพระคุณทั้งหลาย             
ได้แก่ ความเป็นผู้มีบุญญาธิการและอิสริยยศ เป็นต้น
   ๙.      ปัญญาสสะ๓ สัพพะธัมเมสุ      กะรุณา สัพพะชันตุสุ
         อัตตัตถานัง ปะรัตถานัง      สาธิกา๔ คุณะเชฏฐิกาฯ
พระปัญญาของพระองค์เป็นไปในธรรมทั้งปวง ส่วนพระกรุณาเป็นไปในสรรพสัตว์
เป็นพระปัญญาและพระกรุณาที่ยิ่งใหญ่ด้วยคุณ ให้สำเร็จทั้งประโยชน์พระองค์เอง และประโยชน์ของคนอื่น
   ๑๐.      ทะยายะ ปาระมี จิต๎วา      ปัญญายัตตานะมุทธะริ๕
         อุทธะริ สัพพะธัมเมสุ      ทะยายัญเญ จะ อุทธะริฯ
พระองค์ทรงสั่งสมบารมีธรรม ด้วยทรงกรุณา ในหมู่สัตว์,
ทรงยกพระองค์ (หรือทรงยกจิต) ออกจากโลกด้วยพระปัญญา, 
ทรงถอนเสียซึ่งอวิชชา ในธรรม ทั้งปวง,
และทรงรื้อขนสัตว์เหล่าอื่นออกจากสงสาร ด้วยพระกรุณา
   ๑๑.      ทิสสะมาโนปิ ตาวัสสะ      รูปะกาโย อะจินตะโย
         อะสาธาระณะญาณัทเธ๖      ธัมมะกาเย กะถาวะ กาติฯ
พระรูปกายของพระองค์แม้เพียงปรากฏแก่สายตา ก็ยังเป็นอจินไตย (คือน่าอัศจรรย์)
ไยจะต้องกล่าวถึงพระธรรมกาย อันบริบูรณ์ด้วยพระญาณที่เป็นของเฉพาะพระองค์เองเล่า

พุทธานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดพุทธานุสสติภาวนา

เมตตานุสสะติ

   ๑.   อัตตูปะมายะ  สัพเพสัง            สัตตานัง สุขะกามะตัง
         ปัสสิต๎วา  กะมะโต  เมตตัง         สัพพะสัตเตสุ  ภาวะเยฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ตาม เห็นว่าสรรพสัตว์ปรารถนาสุขด้วยการเปรียบกับตนเองแล้ว
ควรเจริญเมตตาไป ในสัตว์ทุกหมู่เหล่าโดยลำดับว่า
   ๒.      สุขี  ภะเวยยะ  นิททุกโข         อะหัง  นิจจัง  อะหัง  วิยะ
         หิตา จะ เม สุขี โหนตุ         มัชฌัตตา จะถะ เวริโนฯ
ขอให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีความสุข ปราศจากทุกข์ ทุกเมื่อ
และขอให้ ผู้มีพระคุณก็ดี ผู้เป็นกลางก็ดี ศัตรูก็ดี ของข้าพเจ้า
จงเป็นผู้มีความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้า
   ๓.      อิมัมหิ คามะเขตตัมหิ         สัตตา โหนตุ สุขี สะทา
         ตะโต ปะรัญจะ รัชเชสุ๗         จักกะวาเฬสุ ชันตุโนฯ๘
   ขอเหล่าสัตว์อันมีในคามเขตนี้ จงเป็นผู้มีความสุขทุกเมื่อ ถัดจากนั้น
ขอเหล่าสัตว์ในรัชสีมา และในจักรวาล จงเป็นผู้มีความสุข
   ๔.      สะมันตา จักกะวาเฬสุ         สัตตานันเตสุ ปาณิโน
         สุขิโน ปุคคะลา ภูตา         อัตตะภาวะคะตา สิยุงฯ
   ขอเหล่าปาณะสัตว์ ในอนันตจักรวาลโดยรอบ จงเป็นผู้มีความสุข,
ขอเหล่าสัตวบุคคล ผู้ถือกำเนิดมา เป็นตัวเป็นตน จงเป็นผู้มีความสุข
   ๕.      ตะถา อิตถี ปุมา เจวะ         อะริยานะริยาปิจะ
         เทวา นะรา อะปายัฏฐา         ตะถา ทะสะทิสาสุ จาติฯ
   อนึ่ง ขอชนทั้งหลายทั้งชาย หญิง พระอริยบุคคล ปุถุชน เทวดา สัตว์ผู้อยู่ในอบาย
และในทศทิศ จงเป็นผู้มีความสุข เช่นเดียวกัน ดังนี้

เมตตานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดเมตตานุสสติภาวนา

อะสุภานุสสะติ

   ๑.   อะวิญญาณะสุภะนิภัง      สะวิญญาณะสุภัง อิมัง
      กายัง อะสุภะโต ปัสสัง      อะสุภัง ภาวะเย ยะติฯ
   โยคาวจรผู้มีความเพียร เมื่อพิจารณาเห็นกายที่ยังมีชีวิตซึ่งโสโครกนี้
เปรียบประดุจซากศพอันโสโครก โดยความเป็นอสุภะ ก็ควรเจริญอสุภภาวนา โดยอาการ ว่า
   ๒.   วัณณะสัณฐานะคันเธหิ      อาสะโยกาสะโต ตะถา
      ปะฏิกูลานิ กาเย เม      กุณะปานิ ท๎วิโสฬะสะฯ
   ในร่างกายของเรา มีซากศพอยู่ ๓๒ ชนิด น่ารังเกียจ โดยสี สัณฐาน กลิ่น ที่อาศัย และที่ตั้ง
   ๓.   ปะติตัมหาปิ กุณะปา      เชคุจฉัง กายะนิสสิตัง,
      อาธาโร หิ อะสุจิง ตัสสะ      กาเย เม กุณะเป ฐิตังฯ
   สรีระประดุจซากศพของเราถึงความน่าเกลียดก็โดยอาศัยกายนี่แหละ,
ด้วยว่า ร่างกายเป็นที่รองรับความสกปรกที่อยู่ในซากศพคือกายของเรานั้นแล
   ๔.   มิฬ๎เห กิมีวะ กาโยยัง      อะสุจิมหิ สะมุฏฐิโต
      อันโต อะสุจิสัมปันโน      ปุณณะวัจจะกุฏี วิยะฯ
   กายเรานี้ดำรงอยู่ในสิ่งที่ไม่สะอาด เหมือนหนอนที่อยู่ในก้อนอาจม
ภายในเต็มไปด้วยสิ่งสกปรก ประดุจดังส้วมเต็ม
   ๕.   อะสุจิ สันทะเต นิจจัง      ยะถา เมทะกะถาลิกา
      นานากิมิกุลาวาโส      ปักกะจันทะนิกา๙ วิยะฯ
สิ่งสกปรกไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา เหมือนถาดใส่น้ำมัน
เป็นแหล่งอาศัยของหมู่กิมิชาตินานาชนิด เหมือนบ่อน้ำทิ้งของพวกจัณฑาล
   ๖.   คัณฑะภูโต โรคะภูโต      วะณะภูโต สะมุสสะโย
      อะเตกิจโฉติเชคุจโฉ      ปะภินนะกุณะปูปะโมติฯ
   ร่างกายนี้มักเกิดเป็นตุ่มหนอง และพยาธิ ฝีแผล รวมอยู่ที่เดียวกัน เยียวยาก็ยาก               
น่ารังเกียจอย่างยิ่ง ดังซากศพที่แตกเยิ้ม ฉะนั้น

อะสุภานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดอสุภานุสสติภาวนา

มะระณานุสสะติ

   ๑.      ปะวาตะทีปะตุล๎ยายะ      สายุสันตะติยา ขะยัง
         ปะรูปะมายะ สัมปัสสัง      ภาวะเย มะระณัสสะติงฯ
   บรรพชิตหรือคฤหัสถ์ผู้เห็นความเสื่อมไปแห่งอายุสันตติของตน อันเช่นกับ
ประทีปที่ตั้งไว้ในคลองลม โดยเปรียบคนอื่นเหมือนกับตนเอง ควรเจริญมรณัสสติโดยนัย ว่า
   ๒.      มะหาสัมปัตติสัมปัตตา      ยะถา สัตตา มะตา อิธะ
         ตะถา อะหัง มะริสสามิ      มะระณัง มะมะ เหสสะติฯ
สัตว์ทั้งหลายที่เพียบพร้อมด้วยสมบัติมากมายในโลกนี้ ล้วนแล้วแต่ตาย
ฉันใด ถึงเราก็จักตาย ฉันนั้น ความตายจักมีแก่เราแล
   ๓.      อุปปัตติยา สะเหเวทัง      มะระณัง อาคะตัง สะทา
         มะระณัตถายะ โอกาสัง      วะธะโก วิยะ เอสะติฯ๑๐
   ความตายนี้มาพร้อมกับความเกิดทีเดียว ย่อมแสวงหาโอกาส
เพื่อที่จะฆ่าตลอดเวลา ประดุจดังนายเพชฌฆาต ฉะนั้น
   ๔.      อีสะกัง อะนิวัตตันตัง      สะตะตัง คะมะนุสสะกัง๑๑
         ชีวิตัง อุทะยา อัฏฐัง      สุริโย วิยะ ธาวะติฯ
   ชีวิตนั้นจะหวนคืนกลับหลังสักหน่อยหนึ่งก็หาไม่ มีแต่ขวนขวายไปข้างหน้าเนืองๆ
เหมือนพระอาทิตย์แล่นจากทางทิศตะวันออกไปทิศตะวันตก ฉะนั้น
   ๕.      วิชชุปุพพุฬะอุสสาวะ-      ชะละราชิปะริกขะยัง,
         ฆาตะโกวะ ริปุ ตัสสะ      สัพพะถาปิ อะวาริโยฯ
ชีวิตเป็นของเสื่อมสิ้นไปเร็ว เสมือนหนึ่งสายฟ้าแลบ ฟองน้ำ หยาดน้ำค้าง และรอยขีดบนผิวน้ำ,
มฤตยูที่เป็นข้าศึกของชีวิตนั้น อุปมาดั่งเพชฌฆาต ใครๆ ก็ไม่อาจห้ามได้ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม
   ๖.      สุญญะสัตถามะปุญญิทธิ-      พุทธิพุทเธ ชินัท๎วะยัง๑๔
         ฆาเตติ มะระณัง ขิปปัง      กา  ตุ  มาทิสะเก กะถาฯ
มรณะย่อมรุกฆาตพระชินเจ้าทั้งสองประเภท คือ พระพุทธเจ้า และพระปัจเจก-พุทธเจ้า
ผู้ประกอบด้วยยศ กำลัง บุญ ฤทธิ์ และปัญญาเป็นอันมาก อย่างรวดเร็ว ไยจะต้องพูดถึงคนเช่นเราด้วยเล่า
   ๗.      ปัจจะยานัญจะ เวกัล๎ยา      พาหิรัชฌัตตุปัททะวา
         มะราโมรัง นิมิสสามิ๑๕      มะระมาโน อะนุกขะณันติฯ
   เราย่อมตาย ภายใน อายุกัปป์ เพราะปัจจัยบกพร่อง และเพราะอันตราย               
ทั้งภายนอกภายในเบียดเบียนเอา, เรากระพริบตาอยู่ ประหนึ่งว่ากำลังตายทุกขณะ  ดังนี้ฯ

มะระณานุสสะติภาวะนาฯ
จบหมวดมรณานุสสติภาวนา

๑.      ภาเวต๎วา จะตุรารักขา      อาวัชเชยยะ๑๖ อะนันตะรัง
         มะหาสังเวคะวัตถูนิ      อัฏฐะ อัฏฐิตะวีริโยฯ
โยคาวจรผู้มีความเพียรตั้งมั่น เจริญอารักขกัมมัฏฐาน ๔ ประการนี้แล้ว
ควรพิจารณาสังเวควัตถุ (ที่ตั้งแห่งความสังเวช) อันยิ่งใหญ่ ๘ อย่าง ถัดจากนี้ไป
            ๒.   ชาตี ชะรา พ๎ยาธิ จุตี อะปายา๑๗
            อะตีตะอัปปัตตะกะวัฏฏะทุกขัง
            อิทานิ อาหาระคะเวสิ๑๘ ทุกขัง
            สังเวคะวัตถูนิ อิมานิ อัฏฐะฯ
สังเวควัตถุ ๘ เหล่านี้ คือ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อบายภูมิ           
วัฏฏทุกข์ที่ผ่านมาแล้ว วัฏฏทุกข์ที่ยังมาไม่ถึง และทุกข์เพราะการแสวงหาอาหาร ในปัจจุบัน
   ๓.   ปาโต จะ สายะมะปิ เจวะ อิมัง วิธิง โย
   อาเสวะเต สะตะตะมัตตะหิตาภิลาสี
   ปัปโปติ  โสติวิปุลัง๑๙ หะตะปาริปันโถ
   เสฏฐัง สุขัง มุนิปะสัฏฐะมะตัง๒๐ สุเขนาติฯ
ผู้ใดปรารถนาประโยชน์ตน ปฏิบัติตามวิธีนี้ทุกเช้าเย็นเป็นประจำ ผู้นั้นขจัดอันตราย ได้แล้ว
ย่อมบรรลุถึงความสุขอันประเสริฐ (นิพพานสุข) ที่พระมุนีตรัสสรรเสริญว่าเป็นสุขอันไพบูลย์ยิ่ง กว่าสุข ทั้งมวล
   ๔.   นะมามิ พุทธัง คุณะสาคะรันตัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
      กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณประดุจมหาสมุทรพระองค์นั้น           
ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวรทุกเมื่อ ร่างกายทั้งหมดเป็นของ             
น่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   ๕.    นะมามิ ธัมมัง มุนิราชะเทสิตัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
   กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระธรรมอันพระมุนีเจ้าทรงแสดงแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวร
ทุกเมื่อ ร่างกายทั้งหมดเป็นของน่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   ๖.   นะมามิ สังฆัง มุนิราชะสาวะกัง
   สัตตา สะทา โหนตุ สุขี อะเวรา
   กาโย ชิฆัญโญ สะกะโล วิคันโธ๒๑
   คัจฉันติ สัพเพ มะระณัง อะหัญจะฯ
ข้าพเจ้าขอนมัสการพระสงฆ์ผู้เป็นสาวกของพระมุนีเจ้า
ขอสัตว์ทั้งหลายจง  เป็นผู้มีความสุข ปราศจากเวร ทุกเมื่อ
ร่างกายทั้งหมดเป็นของน่ารังเกียจมีกลิ่นเหม็น สัตว์ทั้งปวงย่อมถึงความตาย ฉันใด ถึงตัวเราก็ฉันนั้น
   จะตุรารักขา  นิฏฐิตาฯ

จบอารักขกัมมัฏฐาน ๔ แต่เพียงเท่านี้




๑   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น ทะเมหิ
๒   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปะระมิทธิมา
๓     ตัดบทว่า ปญฺา+อสฺส = ปญฺาสฺส (อ่านว่า  ปัน-ยาด-สะ)  บางฉบับเป็น ปัญญา ยัสสะ ปาฐะนั้นพิรุธ
๔   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น  สาตถิกา
๕   ตัดบทว่า ปญฺาย+อตฺตานํ+อุทฺธริ = ปญฺายตฺตานมุทฺธริ  บางฉบับเป็น  ปัญญายะ ตา นะ มุทธะริ  ปาฐะนั้นพิรุธ ส่วนฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปัญญายะ ตายะ มุทธะริ (บาทที่ ๒ และ ๔ ของคาถานี้ต่างจากฉบับวัดท่ามะโอ พึงเทียบเคียงกันดู)
๖   ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น อะสาธาระณะญาณัญเญ
๗   น่าจะเป็น รัฏเฐสุ  ฉบับนิสสัยใบลานแปลว่า “ในเมือง” ซึ่งเนื่องกันกับบทว่า คามะเขตตัมหิ ในบาทที่ ๑ ได้ตรวจดูใบลานหลายฉบับเป็น รัชเชสุ ทุกฉบับ จึงคงไว้ตามนี้ แต่ในอรรถกถาโสณนันทชาดกแก้ไว้ว่า   
   รฏฺเติ รชฺเช. (คำว่า รฏฺเ ได้แก่ในรัชสีมาคือราชอาณาเขต) ดังนั้น ศัพท์ทั้งสองจึงมีความหมายอย่าง       
    เดียวกัน
๘    บางฉบับเป็น จักกะวาเฬ  สุทธะชันตุโน ก็มี
๙    บางฉบับเป็น ปักขะจันทะนิกา ก็มี ฉบับวัดท่ามะโอเป็น ปูติจันทะนิกา
๑๐    ฉบับวัดท่ามะโอและฉบับอื่นๆ เป็น วัฑฒะโก วิยะ เอสสะติ
๑๑    ฉบับนิสสัยใบลานแปลว่า “มีอันขวนขวายไปข้างหน้า” ตามนัยนี้ควรเป็น คะมะนุสสุกัง (คมน+อุสฺสุก)ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น คะมะนุสสุกัง ถูกต้อง
๑๒    โดยมากเป็น  วิชชุปุพพุฬะอุสสาวัง  ก็มี  วะชิระปุพพุฬุสสาวัง  ก็มี  แต่ควรสมาสเป็นศัพท์เดียวกันว่า
     วิชชุปุพพุฬะอุสสาวะ- ชะละราชิปะริกขะยัง อย่างที่ชำระไว้นั้น ก็จะต้องด้วยลักษณะสมาสูปมาลังการ
๑๓   เป็น  สุยะสัตถามะ....ก็มี  บางฉบับเป็น  สุญญะสัณฐามะ....ปาฐะนั้นพิรุธ
๑๔    จะสวดแบบ น คณะ (๑๑๑) ว่า  ชินะท๎วะยัง  ก็ได้  ตามนัยนี้เป็นปิงคลวิปุลา มิใช่ปัฐยาวัตร
๑๕   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น  มะระโณรัง คะมิสสามิ  ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น  มะราโมรัง                   นิเมสาปิ
๑๖   ฉบับวัดท่ามะโอเป็น อาระเภยยะ
๑๗   บางฉบับเป็น .... อะปายัง  ก็มี   
๑๘   บทนี้เป็นสัตตมีนิมิต รูปเดิมเป็น อาหาระคะเวเส เอา เอ เป็น อิ เพื่อรักษาฉันท์ ดังนั้นจึงแปลว่า “เพราะ”                          ฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น อาหาระคะเวฏฐิทุกขัง ฉบับนิสสัยแปลว่า “ทุกข์คือการแสวงหาอาหาร” ตามนัยนี้ควรเป็น อาหาระคะเวสะทุกขัง ลางทีชอบจะให้ศัพท์นี้ลง อิปัจจัยหลังคเวสธาตุ และเข้าสมาสว่า  อาหาระคเวสิทุกขัง กระมัง ?
   ๑๙      ตัดบทว่า โส+อติวิปุลํ = โสติวิปุลํ  บางฉบับเป็น  โสตถิวิปุลัง  ปาฐะนั้นพิรุธ
   ๒๐   ฉบับทั่วไปเป็น มุนิวะเสฏฐะมะตัง  เข้าใจว่า ตัว ป เพี้ยนเป็น ว ในอักษรล้านนา เพราะพยัญชนะทั้ง ๒ 
         นี้มีรูปร่างใกล้เคียงกันคือ  บ, ว   และปรากฏว่ามักเพี้ยนกันในลักษณะนี้อยู่เสมอ ในกรณีที่เขียนโดย
         ไม่ระวัง ตัว บ ก็อาจกลายเป็น ว ได้ง่าย ดังพบมาเป็นบางคำ เช่น อาเบาฯ ฯ(อาโป)  อาเวาฯ ฯ(อาโว)
เป็นต้น ดังนั้น ปะเสฏฐะ ฯ(บเสฏพฯฯ) จึงกลายมาเป็น วะเสฏฐะ (วเสฏพฯฯ) อนึ่ง คำว่า ปะเสฏฐะ นี้เป็นบาลี  แบบล้านนา  ดังคำว่า โอสะถัง โบราณมักสวดผิดว่า โอเสฏฐัง ข้าพเจ้าจึงแก้ไขเป็น  ปะสัฏฐะ... (หรือ            ปะสัตถะ...) โดยถือนัยตามคำแปลฉบับนิสสัยล้านนาว่า  “อันพระมุนีหากกล่าวยกยอ” (มุนิปสฏฺมตํ   – อันพระมุนีตรัสสรรเสริญ) ส่วนฉบับ Änandajoti Bhikkhu เป็น มุนิวิสิฏฐะมะตัง ตามนัยนี้เห็นได้ว่า ฉบับล้านนาพิรุธมาจากฉบับดังกล่าวอย่างแน่นอน (มุนิวิสิฏฐะมะตังมุนิวะเสฏฐะมะตัง) แต่ผู้แต่งนิสสัยล้านนาให้คำแปลไว้เช่นนั้นจึงต้องแก้เป็น มุนิปะเสฏฐะมะตัง แล้วปรับใหม่เป็น                       มุนิปะสัฏฐะมะตัง ผู้ได้ฉบับไปภายหลังเห็นว่าพิรุธ จึงตัด มุนิวะ ออกเสีย คงไว้แต่ เสฏฐะมะตัง แล้วปรับวสันตดิลกให้เป็นอินทรวิเชียร (ตามที่ปรากฏในฉบับวัดท่ามะโอ) อนึ่ง บาทสุดท้ายของคาถานี้          ในฉบับของ Änandajoti Bhikkhu  จ ศัพท์ตรง  สุเขนะ จาติ  ควรจะตัดออกไปเพราะเกินมา                  (มี ๑๕ พยางค์)
๒๑-๒๑-๒๑
   บางฉบับเป็น ทุคันโธ ก็มี ใช้ได้เหมือนกัน  อนึ่ง วิ อุปสัคในคำว่า วิคันโธ นี้มีอรรถว่า วิรูป (น่าเกลียด)
   ดังนั้น ทุคันโธ (มีกลิ่นชั่ว) กับ วิคันโธ (มีกลิ่นน่าเกลียด) จึงหมายถึง “มีกลิ่นเหม็น” เหมือนกัน ส่วนที่
   แปลว่า “ปราศจากกลิ่น” นั้น ท่านใช้ศัพท์ว่า วีตะคันโธ
102  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / วัดสวยมากที่สุดในเมืองไทย เมื่อ: ตุลาคม 26, 2014, 08:29:54 pm


1. วัดพระศรีอารย์ อุโบสถทองคำร้อยล้าน
วัดแห่งนี้ อยู่ที่ตัวโบสถ์ ซึ่งเป็นพระอุโบสถตกแต่งด้วยงานปูนปั้นสีทองทั้งหลังเหลือง อร่ามมองเห็นได้แต่ไกล สวยงามด้วยศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย ประดับด้วยลวดลายปูนปั้นจิตรกรรมเรื่องพระมหาชนก ทศชาติพระเจ้าห้าพระองค์ ตัวอุโบสถทองคำสร้างนานถึง 37 ปี หมู่ 6 บ้านเลือก ตำบล บ้านเลือก อำเภอ โพธาราม จังหวัด ราชบุรี







2."วัดถ้ำเขาวง" วัดเป็นอาคาร 4 ชั้น ออกแบบลักษณะเรือนไทย ยกใต้ถุน แบ่งสัดส่วนการใช้งานเป็น 4 ส่วน คือ ใต้ถุนเป็นลานเอนกประสงค์และร้านขายของ , ชั้นที่ 2 เป็นวิหาร , ชั้นที่ 3 เป็นกุฏิ และ ชั้นที่ 4 จะเป็นโบสถ์สร้างด้วยไม้สัก และไม้มะค่า มีความงดงามมากมีถ้ำอยู่ประมาณ 7-8 ถ้ำ บางถ้ำเป็นที่นั่งวิปัสสนาสำหรับพระภิกษุ ตั้งอยู่ที่ ต.บ้านไร่ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี







3.วัดสันป่ายางหลวง” โดยเชื่อวัดแห่งแรกของอาณาจักรล้านนา มี“วิหารพระโขงเขียว” “พระวิหารพุทธอัญญรัตนมหานทีศรีหริภุญชัย” ที่ตั้ง : หมู่บ้านสันป่ายางหลวง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน







4. วัดเจดีย์ชัยมงคล ที่มีพระมหาเจดีย์ชัยมงคล จ.ร้อยเอ็ด ความสวยแปลกตาของพระมหาเจดีย์แห่งนี้ คือ การผสมผสานระหว่างองค์พระปฐมเจดีย์ ศิลปะของภาคกลาง และพระธาตุพนม ศิลปะของภาคอีสานเข้าไว้ด้วยกันอย่างลงตัว ที่ตั้ง : ตำบลผาน้ำย้อย อำเภอหนองพอก จังหวัดร้อยเอ็ด







5. “วัดถ้ำเสือ” มีองค์พระพุทธรูปปางประทานพร ขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดกาญจนบุรี ที่ไม่ได้มีดีแค่ขนาดเท่านั้น ความสวยงามขององค์พระที่ประดับตกแต่งด้วยโมเสคสีทองทั้งองค์ อุโบสถวัด ทรงจตุรมุข มีซุ้มเสมารอบ 8 ทิศ , ลวดลายปูนปั้นพระพุทธประวัติสวยงามทุกด้านของผนังภายในอุโบสถ ที่ตั้ง : ต.ม่วงชุม อำเภอท่าม่วง กาญจนบุรี







6. วัดป่าสว่างบุญ เจดีย์ทองคำ 500 ยอด สระบุรี ที่มี“พระมหาเจดีย์ 500 ยอด มีชื่อเต็มว่า "พระมหารัตนโลหะเจดีย์ศรีศาสนโพธิสัตว์สว่างบุญ" ซึ่งประกอบไปด้วย “เจดีย์ประธานองค์ใหญ่” อยู่ตรงกลาง และมี องค์เจดีย์รายองค์เล็กตั้งลดหลั่นกันลงมาอยู่รอบๆทิศ ตัวองค์เจดีย์เป็นปูนปั้นเคลือบสีทองทั้งหมดทุกองค์ ด้านในประดับกระจกทับทิม และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจากประเทศเนปาล อินเดีย,ศรีลังกา มาบรรจุในพระมหาเจดีย์ครบทั้ง 500 ยอด รวมทั้งได้นำพระบรมสารีริกธาตุ และวัตถุมงคล ของมีค่ามาบรรจุอยู่ในพระเจดีย์องค์ประธานอีกด้วย ที่ตั้ง : หมู่ 7 บ้านคลองไผ่ ต.ชะอม อ.แก่งคอย จ.สระบุรี







7. วัดท่าซุง มีพระวิหารแก้ว ที่ประดิษฐาน พระพุทธชินราช จำลอง และศพของ หลวงพ่อฤาษีลิงดำที่ไม่เน่าเปื่อย ไฮไลท์ความงามของที่นี่ ต้องยกให้วิหารแก้ว ซึ่งสร้างด้วยโมเสกสีขาวใส มองดูเหมือนแก้ววาววับอยุ่ภายใน สวยแปลกตา นอกจากนี้ยังมีพระพุทธรูปพระพุทธชินราชจำลอง ซึ่งมีความงดงามเป็นพระประทานในวิหารอีกด้วย ที่ตั้ง : เลขที่ 60 หมู่ 1 บ้านท่าซุง ต.น้ำซึม อ.เมือง จ.อุทัยธานี







8. วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ซึ่งเป็นวัดในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ภายในวัดประดิษฐานเจดีย์ศรีพุทธคยา ซึ่งจำลองแบบมาจาก เจดีย์พุทธคยาจากประเทศอินเดีย ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมทรงกรวย ส่วนยอดเจดีย์เป็นทรงระฆังคว่ำ ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น
มณฑปเรือนแก้ว สถาปัตยกรรมประยุกต์ไทยอินเดีย มุงและกั้นด้วยกระจกสีชาทั้งหมด เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบาททั้งคู่ และพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ปางสมาธิ ซึ่งเป็นพระประธานของวัด , ลานพระธรรมจักร ประดิษฐานแท่นพระธรรมจักร มีหินทรายแกะสลักเป็นรูปกวาง และแท่นหิน 8 เหลี่ยม ที่แกะจากหินทรายสลักเป็นรูปมงคลต่างๆ , เจดีย์ศรีมหาราช ภายในเจดีย์มี 3 ชั้น จัดแบ่งเป็นห้องต่างๆ มีรูปหล่อมหาราช 8 พระองค์ ห้องสำคัญทางประวัติศาสตร์ ห้องพระไตรปิฎก ชั้นบนสุดประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ฯลฯ ที่ตั้ง : บ้านเขาโคกเผ่น ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก นครสวรรค์







9. วัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร วัดนี้สร้างขึ้นโดยพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงใช้เป็นสถานที่สำหรับบำเพ็ญพระราชกุศล เมื่อเสด็จฯ แปรพระราชฐานมาประทับที่พระราชวังบางปะอิน โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเลียนแบบโบสถ์ฝรั่ง เป็นศิลปะแบบโกธิค (Gothic) ภายในประดิษฐาน "พระพุทธนฤมลธรรโมภาส" เป็นพระประธาน ออกแบบโดยพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐวรการ โดยลักษณะที่ผสมผสานศิลปะแบบประเพณีนิยม และศิลปะแบบตะวันตกเข้าด้วยกัน ซึ่งมีพุทธลักษณะคล้ายสามัญชน นอกจากนี้ บริเวณฐานชุกชีก็มีลักษณะเหมือนที่ตั้งไม้กางเขนแบบโบสถ์ และฝาผนังโบสถ์ด้านหน้าของพระประธานนั้น เป็นพระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ ๕ ที่ประดับด้วย ที่ตั้ง : เกาะกลางแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งตรงข้ามกับพระราชวังบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน พระนครศรีอยุธยา







10.วัดเกริ่นกฐิน” จัดเป็นวัดเก่าคู่บ้านคู่เมืองลพบุรีมาช้านาน แต่เดิมชื่อเสียงของที่นี่ คือ เป็นวัดที่จำพรรษาของเกจิอาจารย์ชื่อดัง “หลวงพ่อเพี้ยน” มีวิหารหลวงพ่อปาน วิหารแก้วที่มีความวิจิตรสวยงาม ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป หลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ของวัด , เจดีย์สำหรับประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่สมเด็จพระสังฆราชประทานให้ไว้ ตัววิหารออกแบบสวยงามมีการประดับตกแต่งทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งมีการยกฉัตรทองคำด้วย ที่ตั้ง : บ้านเกริ่นกฐิน ตำบลบ้านชี อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี





ขอบคุณข้อมูลจาก : เฟสบุ๊ค โครงการปริญญาโทพุทธศาสนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
103  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เรื่องเหล่าจากเฟส เมื่อ: ตุลาคม 26, 2014, 07:43:46 pm


chaiyaphum lover
ขอมอง ‪#‎โลกสวย‬ หน่อยนะครับเรื่องนี้

เรื่องนี้เกิดขึ้นค่ำวันนี้ช่วงประมาณ 2 ทุ่มที่ 7-11 ครับ เรื่องมีอยู่ว่าเห็นพระรูปหนึ่งถือน้ำดื่มและขนมกรุบกรอบมาเพื่อจะจ่ายเงิน ผมเชื่อว่าคนจำนวนไม่น้อยที่กำลังมองท่านอยู่ (ก็เกือบทั้ง 7-11) คงคิดเรื่องขนมห่อนั้นครับ เพราะหากท่านฉันอาหารเวลานี้ผิดศีลแน่นอนครับ

ความคิดแบบนี้แม้แต่ผมเองที่เคยศีกษาธรรมะเกี่ยวกับ "การวางใจให้เป็น" มาบ้างก็ยังเผลอคิดไปพักนึงเหมือนกันครับ ดีว่าเรียกสติได้ทันว่ามันก็เรื่องของท่านครับ ท่านอาจจะมีเรื่องจำเป็นอะไรก็ได้ เช่น ต้องกินยาตามเวลาอาหารหรือแสบท้องโรคกระเพาะจึงต้องหาอะไรฉัน เป็นต้น

และก็จริงอย่างที่คิดครับ ท่านยื่นขนมห่อนั้นให้เด็กน้อยคนนึงหลังจากชำระเงิน เด็กน้อยคนนั้นท่าทางดีใจมากครับ พ่อของเด็กก็เรียบยกมือไหว้ท่านขอบคุณทันที และแน่นอน ท่านไม่ได้ฉันขนมครับ (แสตมป์ท่านก็ให้คนอื่นด้วยนะ)

จากเรื่องที่เล่ามาสอนให้รู้อะไรละ ??

มันทำให้รู้ว่าบางครั้งเรา (รวมทั้งตัวผมเอง) ยังตัดสินคนอื่นจากอารมย์ชั่ววูบหรือสิ่งที่เราคิดแบบอคติไปเอง โดยไม่เคยคิดจะถามหาเหตุผลโดยรวมมาประกอบการตัดสินเลยครับ เราจะหวังให้คนอื่นๆ ต้องมีจิตใจที่ดีขึ้น หรือเข้าใจเรามากขึ้นได้ยังไง ถ้าเรายังมีใจอคติต่อคนอื่นอยู่ เรื่องแบบนี้เราก็คงต้องแก้ที่ใจเราเองก่อนครับ

เรื่องบางเรื่อง มองนานๆ จึงจะรู้
เรื่องบางเรื่อง ต้องถามดู จีงเข้าใจ
เรื่องบางเรื่อง ไม่สัมผัส ตอบไม่ได้
เรื่องบางเรื่อง ต้องให้ใจ ถึงได้มา...

รักชัยภูมิครับ
Chaiyaphum Lover

จากเฟสบุ๊ค : Chaiyaphum Lover
104  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / พระภิกษุ - สามเณร สอบนักธรรมตรี ปี 57 เมื่อ: ตุลาคม 03, 2014, 08:34:10 pm
สนามสอบอำเภอเมือง. วัดสว่างอารมณีย



สังเกตุ ที่โต๊ะ รู้สึกว่าจะทำเอง นะครับ !
105  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ทำไมจึงเรียกพระว่า "เสือเหลือง" : Yanthawat Maya เมื่อ: กันยายน 28, 2014, 03:40:02 pm
ทำไมจึงเรียกพระว่า "เสือเหลือง" ที่นี่มีคำตอบ
_______________________________________________________
ทรงเปรียบพระเหมือนเสือเหลือง
...........อยํ ปน ภิกฺขุ ทีปิสทิโสติ วุจฺจติฯ ยถา หิ มหาทีปิราชา อรญฺเญ
ติณคหนํ วา วนคหนํ วา ปพฺพตคหนํ วา นิสฺสาย นิลียิตฺวา วนมหิสโคกณฺณ-
สูกราทโย มิเค คณฺหาติ เอวเมว อยํ อรญฺญาทีสุ กมฺมฏฺฐานํ อนุยฺุญฺชนฺโต
ภิกฺขุ ยถากฺกเมน จตฺตาโร มคฺเค เจว จตฺตาริ อริยผลานิ จ คณฺหาติ ฯ เตนาหุ
โปราณา
................ยถาปิ ทีปิโก นาม.................นิลียิตฺวา คณฺหตี มิเค
................ตเถวายํ พุทฺธปุตฺโต...............ยุตฺตโยโค วิปสฺสโก
................อรญฺญํ ปวิสิตฺวาน.................คณฺหาติ ผลมุตฺตมนฺติฯ
ที่มา : มชฺฌิมนิกายฏฺกถา (ปปฺจสูทนี ๑) เล่มที่ ๗ มูลปริยายวคฺควณฺณนา หน้า ๔๒๑-๔๒๒
(คำแปล)
...........แต่ภิกษุรูปนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นเช่นกับเสือเหลือง. อธิบายว่า
พญาเสือเหลืองใหญ่อาศัยพงหญ้า หรือพงป่า พงเขาในป่า ซุ่มจับหมู่
มฤคมีควายป่า เนื้อสมัน และหมูป่าเป็นต้น (กิน) ฉันใด ภิกษุนี้
ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บำเพ็ญพระกรรมฐานบ่อย ๆ ในป่าเป็นต้น จะ
บรรลุอริยมรรค ๔ และอริยผล ๔ ตามลำดับ. เพราะฉะนั้น พระ
โบราณาจารย์จึงได้กล่าวไว้ว่า :-
................ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตร บำเพ็ญวิปัสสนา ประกอบ
................ความเพียรนี้ เข้าไปสู่ป่า แล้วบรรลุอรหัตตผล
................เหมือนเสือเหลือง ซุ่มจับเนื้อกินฉะนั้น.

        การเรียกพระว่า "เสือเหลือง" ในที่นี้เป็นคำเปรียบเทียบ ใช้สำหรับเรียกพระภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานในเสนาสนะป่า เป็นคำที่ทรงเกียรติสูงส่งซึ่งพระพุทธองค์ทรงประทานให้ ปัจจุบันมักได้ยินญาติโยมบางท่านนิยมเรียกชาวดงขมิ้นว่า "เสือเหลือง" โดยอาจไม่รู้จุดประสงค์มุ่งหมายที่แท้จริง ทั้งนี้อาจเป็นไปตามความรู้สึกนึกคิด คือ เห็นพระท่านส่วนใหญ่นุ่งห่มจีวรสีเหลือง ก็เลยถือโอกาสเรียก "เสือเหลือง" เสียเลย พระเณรบางรูปที่โดนญาติโยมเรียกเสือเหลืองมักแสดงอาการไม่พอใจก็มี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าทัศนคติไม่ตรงกันนั่นเอง       Yanthawat Maya
106  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / “ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี” ความไม่รู้ครองโลก เมื่อ: กันยายน 19, 2014, 03:12:45 pm
 :signspamani:
--------------------
สองสามวันมานี้ผมมีอันต้องเกี่ยวข้องกับการถวาย “สังฆทาน” นอกเวลาปกติ ก็เลยนึกถึงคำบาลีว่า “สงฺฆทานานิ” ที่มีผู้นิยมใช้ในเวลากล่าวคำถวายสังฆทานอยู่ในเวลานี้
เวลานี้กำลังมีความเข้าใจผิดอย่างลึกซึ้งว่า “สังฆทาน” คือสิ่งของชนิดหนึ่งที่เอาไปทำพิธีถวายแก่พระสงฆ์ และเวลากล่าวคำถวายสิ่งของชนิดนั้นก็ใช้คำบาลีว่า
อิมานิ มะยัง ภันเต “สังฆะทานานิ” สะปริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ ....
แปลเป็นไทยว่า
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย “ซึ่งสังฆทาน” พร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ... (ข้อความมีต่อไปอีกทั้งบาลีและคำแปล)
ขอแจ้งให้ทราบทั่วกันว่า คำบาลีว่า “สังฆทานานิ” (ศัพท์เดิมก่อนแจกวิภัตติคือ "สงฺฆทาน” นั้น ไม่ได้แปลว่า “สิ่งของที่ถวายแก่สงฆ์” แต่แปลว่า “การถวายแก่สงฆ์”
พูดชัดๆ ว่า “สังฆทาน” เป็นคำเรียกวิธีถวาย ไม่ใช่เรียกสิ่งของที่ถวาย
วิธีถวายทาน หรือถวายสิ่งของให้แก่พระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้นมี ๒ วิธีใหญ่ๆ คือ -
แบบที่ ๑ ถวายเป็นส่วนตัวแก่ภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่ง
แบบที่ ๒ ถวายให้เป็นของสงฆ์ คือถวายเป็นของกลาง เป็นของส่วนรวม ไม่ได้เจาะจงจะให้เป็นของภิกษุสามเณรรูปใดรูปหนึ่งโดยเฉพาะ แต่ตั้งเจตนามุ่งถึงพระอริยสงฆ์
แบบที่ ๑ ท่านเรียกว่า “ปาฏิปุคฺคลิกทาน” (ปา-ติ-ปุก-คะ-ลิ-กะ-ทา-นะ) เรียกเป็นไทยว่า ปาฏิบุคลิก (ปา-ติ-บุก-คะ-ลิก) หรือ “บุคลิกทาน” (บุก-คะ-ลิก-กะ-ทาน) บางที่ตัดสั้นเหลือแค่ “บุคลิก” (บุก-คะ-ลิก) ก็เป็นที่เข้าใจกันว่าหมายถึง เจาะจงเฉพาะตัว
แบบที่ ๒ นั่นแหละที่เรียกว่า “สังฆทาน”
ขอย้ำว่า “สังฆทาน” เป็นคำเรียกวิธีถวายหรือเจตนาที่จะถวาย
ไม่ใช่คำเรียกสิ่งของที่จะถวาย
มีผู้ทำท่าจะรู้แย้งว่า “ทาน” แปลว่า “ของที่ให้” หรือ “ของถวาย” ก็แปลได้ ในคัมภีร์ก็มีที่ใช้ในความหมายนี้ทั่วไป ดังนั้น ของที่ถวายแก่สงฆ์ ก็เรียกว่า “สังฆทาน” ได้ ไม่ผิดหลักภาษา และไม่ผิดความหมายแต่อย่างใดเลย เพราะสามารถแปลได้ว่า “ของที่ถวายแก่สงฆ์”
เมื่อมีเจตนาถวายของให้เป็นของสงฆ์ก็เรียกของนั้นว่า “สังฆทาน” ได้ ถูกต้องแล้ว
ขอเรียนยืนยันว่า ไม่ถูกครับ
ถามชวนทะเลาะสักนิดว่า ลองหยิบขึ้นมาสักชิ้นสิว่า ของชิ้นไหนที่มีชื่อว่า “สังฆทาน”
ไม่มี
ของแต่ละชิ้นมีชื่อเฉพาะตัว เช่น สบง จีวร สบู่ ยาสีฟัน กระดาษชำระ ข้าวสาร ปลากระป๋อง โอวัลติน ชา กาแฟ ฯลฯ
ไม่มีของชิ้นไหนเลยที่ชื่อ “สังฆทาน”
อธิบายแก้ให้ว่า ของทุกอย่างนั่นแหละรวมกัน เรียกว่า “สังฆทาน”
อธิบายอย่างนี้ก็ยิ่งเป็นการยืนยันว่า ไม่รู้
ของที่จะถวายให้แก่ภิกษุสามเณร ท่านมีคำเรียกอยู่แล้วว่า “เทยฺยธมฺม” ใช้ในภาษาไทยว่า “ไทยธรรม” (ไท-ยะ-ทำ)
หรือจะใช้ว่า “ไทยทาน” (ไท-ยะ-ทาน) ก็พอได้
ท่านไม่ได้เรียกของที่จะถวายพระว่า “สังฆทาน” ครับ
เอาไทยธรรมไปถวายให้เป็นของสงฆ์ ถวายเรียบร้อยแล้วจึงจะเป็นสังฆทาน
เราถวาย “ไทยธรรม” ให้เป็นสังฆทานครับ
ไม่ใช่ถวาย “สังฆทาน”
เพราะฉะนั้นสิ่งที่ระบุในคำกล่าวถวายจึงเรียกว่า “สังฆะทานานิ” (สังฆทาน) ไม่ได้
อธิบายอย่างไรก็ไม่มีใครยอมเข้าใจเช่นนี้
แต่ไปหลงทางให้แก่ภาษาไทยที่พูดลัดตัดคำเป็นว่า “ถวายสังฆทาน”
แล้วพากันเข้าใจผิดชนิดเข้ารกเข้าพงว่า “สังฆทาน” เป็นชื่อสิ่งของที่สามารถเอาไปถวายพระได้
ของที่จัดเป็นถังเป็นชุดไว้เรียบร้อยแล้วและเรียกกันผิดๆ ว่า “ชุดสังฆทาน” นั้น ถ้าเอาไปถวายเจาะจงแก่หลวงพ่อหลวงพี่รูปใดรูปหนึ่งเป็นการส่วนตัว
ถามว่าจะเป็น “สังฆทาน” ไหมครับ ?
ตอบได้เลยครับว่า ไม่เป็น
ถวายแบบนั้นไม่เป็นสังฆทาน ทั้งๆ ที่เอา “สังฆทาน” (ที่เรียกผิดๆ) ไปถวายนั่นแหละ
แล้วถวายแบบไหนจึงจะเป็นสังฆทาน
ตั้งเจตนาถวายให้เป็นของสงฆ์จึงจะเป็นสังฆทาน
เป็นสังฆทานที่ตั้งเจตนา ไม่ใช่เป็นสังฆทานที่ของถวาย
ผมเคยเข้าไปซื้อของถวายพระในร้าน คนขายวางมาดผู้รู้ถามลูกค้าว่า
“จะเอาสังฆทานหรือไทยทาน”
“สังฆทาน” คือที่จัดใส่ถังใส่กล่องเป็นชุด
“ไทยทาน” คือที่ห่อกระดาษเหลืองบ้างขาวบ้าง
ร้านค้าจัดแจงแยกประเภทให้เสร็จเลย
แล้วก็กรอกข้อมูลใส่สมองว่า ถ้าจะ “ถวายสังฆทาน” ต้องมีชุดสังฆทาน
จนกระทั่งคนพากันเชื่อไปทั้งบ้านเมืองแล้วว่า ถ้าไม่มีชุดสังฆทาน ถวายไปก็ไม่เป็นสังฆทาน
เอาของใน “ชุดสังฆทาน” กับในห่อ “ไทยทาน” มาเทกองรวมกันดู จะเห็นว่าเป็นของจำพวกเดียวกันทั้งนั้น
เอา “ชุดสังฆทาน” ไปถวายเจาะจงแก่พระรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่เป็นสังฆทาน
เอา “ไทยทาน” ไปถวายเป็นของสงฆ์ เป็นสังฆทาน
แล้วทำไมจึงไปแยกเรียกของที่ยังไม่ได้ถวายว่า “สังฆทาน” หรือ “ไทยทาน” ?
ฉุกคิดสักนิดก็จะรู้ทันทีว่าผิด
เวลานี้พากันเข้าป่าไปเยอะแล้ว คือเอา “ชุดสังฆทาน” ไปถวายหลวงพ่อหลวงปู่ที่ตนนับถือเลื่อมใสเป็นการส่วนตัว ก็มาบอกกันด้วยความอิ่มบุญว่า “ไปถวายสังฆทานมาแล้ว”
นับเป็นความเข้าใจผิดชนิดกลับตาลปัตร หรือพลิกคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเลย
-------------
คนทั่วไปเข้าใจผิดว่า “สังฆทาน” เป็นสิ่งของ ผู้นำทำพิธีก็เลยเอาคำว่า “สังฆทาน” เข้ามาใส่ในคำถวาย เป็นการสนับสนุนความไม่รู้ให้ลึกลงไปอีก
เมื่อแรกที่มีผู้เอาคำว่า “สังฆทาน” ใส่แทนคำว่า “ภัตตานิ” นั้น เขาใช้คำว่า “สังฆทานิ” ครับ
ผมเห็นตัวหนังสือกับตา และได้ยินคนว่านำใช้คำนี้กับหู-ยืนยันได้
เดาความไม่รู้ได้ไม่ยาก
กล่าวคือ ในคำที่เรียกกันว่า “คำถวายสังฆทาน” นั้นมีคำที่ลงท้ายว่า “- -นิ” อยู่หลายคำ คือ อิมานิ ภัตตานิ สะปริวารานิ
ผู้นำที่ไม่รู้หลักภาษาบาลีเห็นเช่นนั้นก็ไม่รอช้า จับเอาคำว่า “สังฆทาน” มาแต่งตัวให้เป็นบาลี
“สังฆทาน” มี “น” อยู่ข้างท้ายคำด้วย เหมาะพอดี
แปลง “น” เป็น “นิ” “สังฆทาน” ก็เป็น “สังฆะทานิ” เข้าชุดกันสะดวกปากไปเลย
ใครที่พอรู้บาลีอยู่บ้างจะต้องขำกลิ้ง
ตอนหลังนี่คงมีผู้รู้ไปสะกิดเข้า “สังฆะทานิ” หายไป
กลายเป็น “สังฆะทานานิ”
ประกอบวิภัตติปัจจัย “ถูกหลักไวยากรณ์” ก็จริง แต่อาการที่ “ผิดหลักธรรม” ยังไม่ได้หายไปไหน
หลักธรรมคืออะไร อย่างไร พูดมาแล้วข้างต้นโน้นครับ
----------
ยังมีอีกจำพวกหนึ่ง เข้าใจฝังหัวว่า “คำถวายสังฆทาน” ต้องว่า “อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ....”
ผู้ผลิต “ชุดสังฆทาน” ก็รับลูกกันดีมาก พิมพ์ “คำถวายสังฆทาน” ติดไว้กับสินค้าของตนด้วย เป็นการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เปี่ยมด้วยศรัทธา
ผมเคยเห็นผู้ผลิตรายหนึ่ง พิมพ์ “คำถวายสังฆทาน” ติดไว้ที่ข้างกล่องเทียนพรรษา (ซึ่งมีผู้นิยมซื้อไป “ถวายสังฆทาน”) ว่า
“อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ....”
มีคำแปลกำกับไว้ด้วยอย่างชัดเจนว่า
“ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ซึ่งภัตตาหาร พร้อมทั้งของบริวารทั้งหลายเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ...”
ใครไม่เชื่อ ลองเข้าไปในห้างที่ไหนสักแห่ง ไปดูที่แผนกขายของทำบุญ ท่านอาจจะได้เห็นความไม่รู้มากกว่าที่ผมเอามาบอกนี่ก็ได้
---------------
ที่น่าเจ็บปวดยิ่งขึ้นก็คือ เมื่อเห็นว่าผิดแล้ว แทนที่จะช่วยกันอธิบายแก้ไขให้เข้าใจเสียใหม่ให้ถูกต้อง
กลับมีผู้ทำสิ่งที่วิปริต ช่วยกันอธิบายผิดให้เป็นถูก
คือมองแค่ว่าสังคมเข้าใจหรือนิยมว่าอย่างไร แล้วก็หาคำอธิบายมารองรับความเข้าใจหรือความนิยมนั้นว่า ใช้ได้ ไม่ผิด
แทนที่จะยกเอาความถูกต้องขึ้นตั้งเป็นหลัก แล้วช่วยกันดึงความเข้าใจคลาดเคลื่อนของคนหมู่มากให้กลับเข้าร่องรอย
---------------
เคยมีผู้พูดใส่หน้าผมว่า -
คุณรู้คุณก็บอกเขาสิ ชาวบ้านเขาไม่ได้จบประโยคเก้าอย่างคุณนี่ จะให้เขารู้เหมือนคุณได้ยังไง ไปโทษชาวบ้านไม่ได้หรอก ต้องโทษคุณนั่นแหละ เป็นความผิดของคุณเอง ....
...........
เมื่อเข้าใจว่าเป็นอย่างนั้นเสียแล้ว ผมก็ทำได้แค่..ขอรับกระผม-เท่านั้นเอง
ความไม่รู้นี่ครองโลกจริงๆ นะครับ – ว่าไหม ?
นาวาเอก ทองย้อย แสงสินชัย
๑๙ กันยายน ๒๕๕๗
หมายเหตุ :
เรื่องสังฆทานนี้ผมเขียนไว้เป็นบทหนึ่ง ชื่อ “ถวายสังฆทานให้ถูกวิธี” ในหนังสือ พิธีกรควรรู้ ญาติมิตรที่ยังข้องใจสามารถหาอ่านดูได้ ถ้าหาหนังสือไม่ได้ โปรดรอสักครู่ ขณะนี้ พิธีกรควรรู้ กำลังพิมพ์เป็นครั้งที่ ๔
และไม่ต้องห่วงเรื่องหาซื้อไม่ได้นะครับ เพราะหนังสือเล่มนี้ไม่วางจำหน่าย ญาติมิตรช่วยกันออกสตางค์พิมพ์เป็นธรรมทานครับ
107  ธรรมะสาระ / บทสวดมนต์ มนต์พิธี / มงคลสูตร มีว่าอย่างไร !!! เมื่อ: กันยายน 18, 2014, 11:39:09 pm
มงคลสูตร มีว่าอย่างไร  ใครรู้ ช่วยแถลงไข  ขอคำแปล และที่มาด้วยนะจ๊ะ !!
108  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ไฟไหม้ !!! อุโบสถวัดพระบรมธาตุ นครชุม... เมื่อ: กันยายน 17, 2014, 08:50:50 pm


'ไฟไหม้'อุโบสถวัดพระบรมธาตุ นครชุม..."13.45 น. จันทร์ 15 ก.ย.57 เกิดเหตุไฟไหม้โต๊ะหมู่บูชาภายในพระอุโบสถวัดพระบรมธาตุ อ.เมือง กำแพงเพชร (ที่ตั้ง มจร.หน่วยวิทยบริการจังหวัดกำแพงเพชร) พระ-เณรช่วยดับไฟทันจึงเสียหายบางส่วน เฉพาะโต๊ะหมู่บูชาและพรมปูพื้น คาดเกิดจากจุดเทียนทิ้งไว้"



109  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / บาลีวันละคำ เมื่อ: กันยายน 13, 2014, 02:05:54 pm
ต้องขอขอบคุณ  นาวาเอกทองย้อย แสงสินชัย  ที่ได้อนุญาต  ให้นำมาเผย่แพร่ต่อได้




ส่วนท่านใดสนใจ ก็อุดหนุนกันได้

ส่วนเล่มนี้เป็นธรรมทาน






เริ่มต้นกันด้วยคำนี้ที่เกี่ยวกับกรรมฐาน
นาภี
อ่านว่า นา-พี
บาลีเป็น “นาภิ” (-ภิ สระ อิ, แต่ที่เป็น “นาภี” ก็มี)
“นาภิ” รากศัพท์มาจาก นภฺ (ธาตุ = เบียดเบียน) + อิ ปัจจัย, ทีฆะ อ (ที่ น-) เป็น อา
: นภฺ >นาภ + อิ = นาภิ แปลตามศัพท์ว่า -
(1) “ชิ้นส่วนที่เบียดเพลา” หมายถึง ดุมล้อ หรือแกนกลางของล้อรถ
(2) “อวัยวะที่เหมือนกับดุมล้อ” คืออยู่ตรงกลางเหมือนกัน หมายถึง สะดือ
พจนานุกรมบาลี-อังกฤษ แปล “นาภิ” เป็นภาษาอังกฤษว่า -
(1) the navel = สะดือ
(2) the nave of a wheel = ดุมล้อ
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 บอกไว้ว่า -
“นาภิ, นาภี ๑ : (คำนาม) สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ดุมเกวียน, ดุมรถ; ศูนย์กลาง. (ป., ส.).”
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 ตัดความหมายที่ว่า ดุมเกวียน, ดุมรถ ออกไป และแก้ไขบทนิยามเป็นดังนี้ -
“นาภิ, นาภี ๑ : (คำนาม) สะดือ, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระนาภี, เช่น พระพุทธรูปส่วนสูงวัดจากพระบาทถึงพระนาภี, ท้อง เช่น ประชวรพระนาภี; ศูนย์กลาง เช่น อันไพโรจรูจี ในนาภีพสุธา (นันโท). (ป., ส.).”
คัมภีร์อภิธานัปทีปิกา คาถาที่ 271 แสดงศัพท์ที่หมายถึง “ท้อง” (อวัยวะ) ไว้ 4 คำ คือ กุจฺฉิ คหณี อุทร คพฺภ ไม่มีคำว่า “นาภี”
สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า -
“นาภิ, นาภี : (คำนาม) มัธยภาคแห่งล้อ, ดุมล้อรถ; กัสตูรี, มฤคนาภิ, คันธธูลิ (แผลงจาก-- คันธธุลี), ชะมด; สะดือ; อธิราช, มหาราช, อธีศวร, พระเจ้าอยู่หัว, ไทเหนือว่า--‘เจ้าเหนือหัว’, พระราชา, นฤบดี; กษัตริย์หรือฮินดูผู้วงศ์วานกษัตริย์ชาตินักรบ; บุตรของปริยวฺรต ชาติ, วงศ์; the nave of a wheel; musk; the navel; an emperor, a sovereign, a paramount lord, a king, a chief; a Kshatriya or Hindū of the regal and military tribe; a race, a family.”
ไม่มีคำแปลที่หมายถึง “ท้อง” เช่นกัน
เป็นอันว่า “นาภี” ที่หมายถึง “ท้อง” (the belly, the abdomen, the stomach; the womb) เป็นความหมายในภาษาไทย
“นาภิ” หรือ “นาภี” บาลีแปลว่า สะดือ และ ดุมล้อ
ขณะที่เขียน บาลีวันละคำ อยู่นี้ยังค้นไม่พบ “นาภี” ในคัมภีร์ที่หมายถึง “ท้อง”
: ท้องหิว ใจอิ่ม
: อันตรายน้อยกว่าท้องอิ่ม แต่ใจหิว
-------------
110  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / เทศน์มหาชาติ เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 08:40:58 pm


ขอเชิญร่วมทำบุญฟังเทศน์มหาชาติ ถวายพระราชกุศลแด่ รัชกาลที่ 5 พระปิยะมหาราช ณ วัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์ (วัดเมือง)
111  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ของสยามประเทศ เมื่อ: กันยายน 09, 2014, 06:52:10 pm


เชื่อไหมว่ายังมีพื้นที่ตกสำรวจซ่อนอยู่ที่ไหนสักแห่ง เป็นที่น่ายินดีสำหรับพวกเราชาวพุทธที่มีการค้นพบรอยพระพุทธบาทแห่งใหม่ของสยามประเทศนอกเหนือจากการบันทึกโบราณรอยที่ถูกปกปิดไว้กลางป่าชายแดนไทยและเขมรทางกรมศิลป์พร้อมเปิดให้เขาไปเที่ยวชมกันอย่างเป็นทางการหลังปรับพื้นที่
มีค้นพบพุทธบาทโบราณแห่งใหม่ที่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตัวพุทธบาทสลักบนหินทรายธรรมชาติ กลางป่าบนเขาศาลา เขาหินทรายที่เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงเร็ก ชายแดนไทย - กัมพูชา
แต่ก่อน ชั่วเวลาแค่เพียงไม่ถึงสองทศวรรษที่ผ่านมา บริเวณเขาศาลานับเป็นพื้นที่อันตรายระดับ "สีแดง" แห่งหนึ่งในเขตอีสานใต้ มันเต็มไปด้วยกับระเบิดที่กองกำลังฝ่ายต่างๆ ฝังไว้ดักทำลายทั้งบุคคลและยานพาหนะ เส้นทางที่จะเข้าถึงได้จากภายนอกก็ยังทุรกันดารมาก อาจจะเป็นเพราะสาเหตุนี้เอง ที่พุทธบาทองค์นี้เพิ่งปรากฏเป็นที่รับรู้กัน



ขนาดขององค์พุทธบาทคือยาว ๓๒๐ เซนติเมตร ส้นพระบาทกว้าง ๗๐ เซนติเมตร ปลายพระบาทกว้าง ๑๕๐ เซนติเมตร และลึก ๒๐ เซนติเมตรโดยประมาณ สลักเป็นพระบาทข้างขวา แต่นิ้วพระบาทมีขนาดแทบจะเท่ากันทั้งห้านิ้ว มีลายวงก้นหอยประดับทั้งส่วนปลายนิ้วและข้อนิ้ว ลักษณะโดยทั่วไปนับว่าสมบูรณ์ ไม่มีร่องรอยชำรุดแตกหักใดๆ
องค์พุทธบาทวางตำแหน่งตามแนวทิศตะวันออก - ตะวันตก นิ้วพระบาทหันไปทางทิศตะวันออก ลายบนฝ่าพระบาททั้งหมดอยู่ในกรอบสี่เหลี่ยมเส้นนูนขนาดกว้างยาวช่องละ ๘ เซนติเมตรโดยประมาณ ล้วนเป็นรูปสัตว์และพันธุ์พฤกษา โดยมีการสลักลวดลายดอกบัวขนาดใหญ่ไว้ที่ฝ่าพระบาทและส้นพระบาทด้วย เส้นขอบรอบพระบาทนั้นล้อมด้วยลายเม็ดประคำและลายกลีบบัวแบบเขมร
ลวดลายกลีบบัวที่เส้นขอบรอบ และที่วงนอกสุดของลายดอกบัวในพุทธบาทนั้นดูเป็นแบบเขมรที่ค่อนข้างเก่า แต่ขนบการสลักลวดลายเฉพาะแต่รูปสัตว์นานาชนิด เช่น แมงมุม ตั๊กแตน ผีเสื้อ นกเงือก นกยูง ปู ปลาดุก งู ฯลฯ และรูปพันธุ์พฤกษาคือไม้ใหญ่และกอบัว โดยไม่ปรากฏลายมงคลใดๆ เลยนั้น ไม่เคยปรากฏพบในศิลปะเขมร ทวารวดี หรือลพบุรีมาก่อน ทำให้ยังไม่อาจกำหนดอายุได้แน่ชัดนัก อาจเป็นพุทธบาทแบบพื้นเมืองที่สร้างขึ้นตามคติความเชื่อที่สูญหายไปแล้วในปัจจุบัน(สวยมากๆยืนยัน)





ข้อมูลจาก เฟสบุ๊ค อ้น กรมศิล
112  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / บุญประเพณี สิงหา - กันยา เมื่อ: สิงหาคม 27, 2014, 01:58:58 pm

113  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ๙ ลีลาพระนักเทศน์ ในงาน 'อริยมรรค ทางอันประเสริฐ' ร่วมรักษาศีล ๕ ศึกษาธรรม เมื่อ: สิงหาคม 27, 2014, 01:39:13 pm
พบกับ ๙ ลีลาพระนักเทศน์ ในงาน 'อริยมรรค ทางอันประเสริฐ' ร่วมรักษาศีล ๕ ศึกษาธรรม ฟังธรรม เผยแผ่ธรรม และปฏิบัติธรรม เสริมสร้างความปรองดองสามัคคีและสันติสุขของคนในชาติ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ ๓๐-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ อาคารมหาเจษฎาบดินทร์ ชั้น ๓ วัดยานนาวา เขตสาทร เวลา ๑๓.๓๐ น. เป็นต้นไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติมกำหนดการการจัดงานได้ที่ http://goo.gl/mo0c7U



ขอเชิญร่วมงาน 'อริยมรรค ทางอันประเสริฐ' ร่วมรักษาศีล ๕ ศึกษาธรรม ฟังธรรม เผยแผ่ธรรม และปฏิบัติธรรม เสริมสร้างความปรองดองสามัคคีและสันติสุขของคนในชาติ ในวันเสาร์-อาทิตย์ ที่ ๓๐-๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗ เวลา ๑๓.๓๐ น. เป็นต้นไป



กำหนดการ
 
วันเสาร์ ที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๕๗
 
เวลา ๑๓.๓๐ น. พิธีเปิด
เวลา ๑๔.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   อริยมรรค ทางอันประเสริฐ
                             โดย พระราชปฏิภาณโสภณ (มาณพ ติกฺขญาโณ)
                             วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๕.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย  เรื่อง  สัมมาทิฏฐิ ทางแห่งความเห็นชอบ
                             โดย พระมหาประนอม ธมฺมาลงฺกาโร
                             วัดจากแดง จังหวัดสมุทรปราการ
เวลา ๑๖.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาสังกัปปะ ทางแห่งความดำริชอบ
                             โดย พระราชธรรมนิเทศ (พยอม กลฺยาโณ)
                             วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
เวลา ๑๗.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาวาจา ทางแห่งการเจรจาชอบ
                             โดย พระมหากิตติศักดิ์ โคตมสิสฺโส (ศ.สียวน)
                             วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๘.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมากัมมันตะ ทางแห่งการกระทำชอบ
                             โดย พระมหาสมปอง ตาลปุตฺโต
                             วัดสร้อยทอง กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๙.๓๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
 
วันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๗
เวลา ๑๓.๓๐ น. อารัมภกถา รับศีล
เวลา ๑๔.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาอาชีวะ ทางแห่งการเลี้ยงชีพชอบ
                             โดย พระมหาวีรพล วีรญาโณ
                             วัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๕.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาวายามะ ทางแห่งความพยายามชอบ
                             โดย พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)
                             วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพมหานคร
เวลา ๑๖.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาสติ ทางแห่งการระลึกชอบ
                             โดย พระมหาจารุวัฒน์ จรณธมฺโม
                             วัดบางรักใหญ่ จังหวัดนนทบุรี
เวลา ๑๗.๐๐ น. ฟังธรรมบรรยาย เรื่อง   สัมมาสมาธิ ทางแห่งการตั้งจิตมั่นชอบ
                             โดย พระปัญญานันทมุนี (สง่า สุภโร)
                             วัดปัญญานันทาราม จังหวัดปทุมธานี
เวลา ๑๘.๐๐ น. พิธีปิดและทอดผ้าป่าเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
เวลา ๑๙.๓๐ น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร








ติดต่อร่วมเป็นเจ้าภาพและสอบถามเพิ่มเติม สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ (WBTV) โทร. ๐๒ ๖๗๕ ๗๑๓๔ แฟกซ์ ๐๒ ๖๗๕ ๗๐๕๓ www.wbtv-online.com อีเมล์ : wbtvwatyannawa@gmail.com
พระมหาเป็นเกียรติ กิตฺติวิสุทฺโธ โทร. ๐๘๐ ๖๒๒ ๖๙๓๕ นายณฐ ทะสังขา โทร. ๐๘๗ ๙๑๒ ๑๙๔๐
ออกร้านโรงทาน ติดต่อ พระครูโกศลวิบูลกิจ โทร. ๐๘๔ ๑๓๔ ๒๘๓๗
ออกบูธ,จำหน่ายสินค้า  ติดต่อ นายพงศ์ทรรศน์ โพธิ์รักษา โทร. ๐๘๑ ๘๑๙ ๔๕๙๑

ที่มา เฟสบุ๊ค WBTV สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ วัดยานนาวา
114  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / วัดเพลง บางกรวย นนทบุรี เมื่อ: สิงหาคม 24, 2014, 12:21:06 pm




















115  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เรื่องราวของ คุณยายห่อ (หลงป่า เพราะอยากเก็บเห็ดถวายพระ) เมื่อ: สิงหาคม 06, 2014, 06:08:01 pm
เรื่องราวของ คุณยายห่อ น่าอัศจรรย์
เมื่อวันที่ 25 26 27 คุณยายห่อไปเก็บเห็ด เพื่อจะเอาไปทำอาหารถวายพระ แต่อยากได้เยอะๆ ยายจึงเดินเก็บไปเรื่อยๆ จนคำ่ ฝนตกห ลงทางกลับบ้านไม่ได้ ส่วนลูกหลานก็พากันหา มีชาวบ้าน หลายหมู่บ้าน เจ้าหน้าตำรวจพื้นที่ค้นหาแต่ไม่พบ ลูกหลานทุกคนหมดหนทาง จึงได้ไปกราบขอความช่วยเหลือจาก หลวงตาอินทร์กนั้นวัดป่านาคำน้อย เเล้วไหว้พระที่ประธาน กราบรูปหลวงปู่มั่น หลวงตาบัว หลังจาดแม่ชีแก้ว จึงนั่งภาวนาสักครู่แล้วบอกลูกหลานว่ายังไม่ตาย ให้ไปหาที่บริเวณถ้ำปลาห้วยเสือ ทุกคนก็ต่างรีบไปตามหาก็พบคุณยายห่ออยู่ที่นั่น เเล้วปรากฏว่าพบเจอคุณยายจริงๆ ระหว่างทาง ทุกคนถามคุณยายว่าอยู่อย่างไรไม่ได้ทานอะไรเลย ตั้ง3วัน คุณยายจึงเล่าว่าไปนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่ง แล้วยกมือไหว้พระ ตั้งจิตอธิษฐานถึงพระรัตนตรัย บิดามารดา เทพเทวดาทั้งหลายให้ช่วยคุ้มครองช่วยให้กลับบ้าน แล้วนั่งภาวนาตลอดคืนจนสว่าง วันแรกมีคนมานั่งเป็นเพื่อนอยู่ 3 คนแต่งชุดธรรมดาไม่รู้จักใครสักคนคุณยายคิดว่าคงเป็นเทพเทวดามารักษา วันที่ 2 ตอนกลางคืน มีคนมานั่งเป็นเพื่อน 10 คนไม่รู้จักใครสักคน เจอปู่ ย่า พ่อแม่ ที่เสียชีวืตแล้วเดินมาคุยด้วยแล้วเดินออกไป แล้วคุณยายก็นั่งภาวนาต่อตลอดทั้งคืนอีก คนทั้ง 10 ยังคงนั่งเป็นเพื่อนอยู่จนสว่าง คุณยายเล่าต่ออีกว่า ใบไม้ที่อยู่ในป่าสว่างมีแสง เห็นเเล้วแปลกใจ จึงหยิบขึ้นมาดูมันเป็นปกติ แต่พอวางลงกลับมีแสงขึั้นมา เมื่อมาบ้าน หลวงอินเมตตาไปสวดเจริญพุทธมนต์และฉันอาหารที่บ้านคุณยายห่อ...นี่คือตัวอย่างของผู้ปฏิบัติธรรมบำเพ็ญทาน รักษาศีล ภาวนา เทวดา ทั้งหลายย่อมคุ้มครองเสมอ   จากเฟสบุ๊ค ปญฺญาธโร ภิกขฺ

116  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / หลานยอดกตั ญญูทำบุญ ให้คุณย่า เสร็จ คุณย่า หมดลมพอดี เมื่อ: สิงหาคม 02, 2014, 12:30:46 pm
117  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / สัมภาษณ์สด พระครูสิทธิสังวร จากมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2014, 12:45:39 pm










ศาสตราจารย์ ดร.เคท ครอสบี้ ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาศาสนาพุทธที่คณะเอเชียตะวันออก และดร.พิบูลย์ ชมพูไพศาล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาษาไทย ห้องสมุดบ๊อดเลียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด นำหลักฐานกรรมฐานโบราณ หรือที่เรียกว่า กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ในคัมภีร์พุทธโบราณ ที่เหมือนกับวัดราชสิทธาราม (พลับ) และเล่าให้พระครูสิทธิสังวร ฟังว่า มีในหลายประเทศ เช่นลังกา ลาว เขมร เป็นต้น แต่ปัจจุบันนี้ เหลือที่ประเทศไทยแห่งเดียว ในโลก ที่สอนอยู่





ดร.แอนดรู สกิวตั่น ผู้เชียวชาญอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญด้านศึกษาศาสนาพุทธ และดร.พิบูลย์ ชมพูไพศาล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อภาษาไทย ห้องสมุดบ๊อดเลียน มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ได้นำหนังสือ Traditional Theravada Meditation and its Modern-Era Supperession (กรรมฐานคั่งเดิมของเถรวาท เปรียบเทียบกับกรรมฐานสมัยใหม่) เขียนโดย ศาสตราจารย์ ดร.เคท ครอสบี้ มามอบให้พระครูสิทธิสังวร คณะ ๕วัดราชสิทธาราม ในฐานที่ให้คำปรึกษา เรื่องกรรมฐานดั่งเดิม (กรรมฐานดั่งเดิม หมายถึงกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ ของสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน มาเผยแผ่ครั้งพระโสณะ พระอุตระ)



118  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / อัศจรรย์ ท่านผู้ปฎิบัติดีปฎิบัติชอบ นั่งสมาธิแล้วหมดลมไปในท่านั้น เมื่อ: กรกฎาคม 20, 2014, 12:22:13 pm


ในปี 1927 "ดาชิ ดอร์โฌ อิติกิลอฟ" พระสังฆนายกนิกายวัชรยานในแคว้นบูเรียต และประธานพุทธศาสนิกชนแห่งรัสเซีย ได้ถึงแก่มรณภาพ หนึ่งปีก่อนที่ท่านจะละสังขารได้เตือนให้สานุศิษย์เดินทางออกจากรัสเซียเสีย เพราะ "ลัทธิแดง" กำลังรุกมาทางตะวันออกถึงแคว้นบูเรียต ซึ่งหมายถึงพรรคบอลเชวิก หรือฝ่ายคอมมิวนิสต์ใกล้มายังไซเบียแล้ว หลังโค่นล้มพระเจ้าซาร์ และพวกเมนเชวิก

แต่ท่านไม่ได้อยู่เป็นพยานการทำลายล้างศาสนาในรัสเซีย ในปีต่อมาท่านมีญาณเล็งเห็นว่าจะถึงกาลมรณะแล้ว จึงสั่งให้สานุศิษย์สวดมนต์ภาวนาพร้อมประกอบพิธีศพ ส่วนท่านนั่งสมาธิแล้วหมดลมไปในท่านั้น

ร่างของท่านถูกฝังไว้ในสุสานลามะ ซึ่งรอดพ้นจากการทำลายของคอมมิวนิสต์มาได้ จนกระทั่งถึงปี 1955 รัสเซียผ่อนปรนเรื่องศาสนามากขึ้น บรรดาลามะจึงเปิดหีบศพออกดู พบว่า ร่างไม่เพียงไม่เน่าเปื่อยแต่ยังดูใกล้เคียงกับตอนที่ยังมีชีวิต แต่ลามะมิได้รายงานเรื่องนี้ักับรัฐบาล เรื่องจากเห็นว่าพรรคฯ ยังไม่ใส่ใจกิจการด้านศาสนานัก และมีการเปิดโลงศพท่านอีกครั้งในปี 1973 แตก็มิได้แพร่งพรายเช่นกัน

จนกระทั่งในปี 2002 จึงได้มีการนำร่างของท่านดาชิ ดอร์โฌ อิติกิลอฟ มาประดิษฐานไว้ในวิหารใหญ่ที่สร้างขึ้นใหม่อย่างเป็นทางการ พร้อมกับมีการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งระบุว่า สภาพร่างสังขารของท่านคล้ายกับผู้ที่เพิ่งเสียชีวิตมาได้เพียง 36 ชั่วโมงเท่านั้น ขณะที่ผู้ดูแลเปิดเผยว่า ต้องคอยเช็ดร่างท่านทุกวัน เพราะมีของเหลวคล้ายเหงื่อซึมออกมาตลอด

นับแต่นั้น ร่างของดาชิ ดอร์โฌิ อิติกิลอฟ ก็กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธรัสเซียทั่วประเทศ แม้แต่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก็ยังเดินทางมา "สนทนา" กับร่างสังขารของดาชิ ดอร์โฌ อิติกิลอฟถึง 2 ครั้ง 2 ครา

แต่จะสนทนากันในเรื่องใดนั้น ไม่เป็นที่ทราบเแน่ชัด
119  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ค้นพบ คำภีร์ ใบลาน เว ทา สา กุ เมื่อ: กรกฎาคม 17, 2014, 08:58:30 pm


ค้นพบ คำภีร์ ใบลาน เว ทา สา กุ




กำลังทำความสะอาด






ดูกันชัด ๆ




ด้วยไม่มีกล้องคุณภาพสูง  มีแต่ มือถือ ราคาถูก จึงถ่านรูป มาให้ได้ชม(ทำงาน) ได้เท่านี้ (ตามมี)
120  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / คุณเคย ขับรถ ฝ่าไฟแดงไหม ? เมื่อ: กรกฎาคม 11, 2013, 08:00:04 pm


คุณเคยเห็นคนขับรถ ขับรถฝ่าไฟแดงไหม ?

แล้วคุณคิดอย่างไร ?

แล้วคิดไหมว่า มีใครไม่เคยเห็นบ้าง ?

แล้วคิดไหมว่า เด็ก ๆ เข้าก็เห็น !

สุดท้าย คุณก็เคยทำหรือเปล่า !

แล้วทำไม ถึงทำ ?

หวังว่าคงจะมีประโยชน์ ในการนำมาสนทนาธรรม ช่วยกันวิเคราะหน่อยนะจ๊ะ
  :93:
หน้า: 1 2 [3] 4