ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: อิ่มบุญ เพลินตา เจริญใจ ณ “วัดเบญจมบพิตรฯ”  (อ่าน 2071 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28409
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


พระอุโบสถหินอ่อนอันงดงาม ณ วัดเบญจมบพิตรฯ


อิ่มบุญ เพลินตา เจริญใจ ณ “วัดเบญจมบพิตรฯ”
โดย : หนุ่มลูกทุ่ง
             
       “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร” หรือที่ใครหลายคนเรียกสั้นๆ ว่า “วัดเบญจมบพิตรฯ” เป็นหนึ่งในวัดที่ฉันคิดว่างดงามอย่างมีเอกลักษณ์ เนื่องจากมีพระอุโบสถหินอ่อน ที่ตั้งเด่นเป็นสง่างดงามงามอยู่ริมถนนศรีอยุธยา สามารถมองเห็นได้โดยง่าย ไม่เหมือนวัดไหนๆ อีกทั้งในปัจจุบันวัดแห่งนี้ยังได้รับการบูรณะใหม่จนงดงามอย่างเมื่อคครั้งอดีต สุดสัปดาห์นี้ฉันจึงตัดสินใจเดินทางมาเที่ยวชมความงดงามภายในวัดเบญจมบพิตรฯ

พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ณ “ศาลาร้อยปี ปิยมหาราชอนุสรณ์”

        แต่ก่อนจะเที่ยวชมภายในวัดเบญจมบพิตรฯ กันนั้นฉันก็จะขอเล่าประวัติคร่าวๆ ให้ได้ฟังกันก่อน “วัดเบญจมบพิตรฯ เมื่อครั้งอดีตมีชื่อว่า "วัดแหลม" หรือ "วัดไทรทอง" ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด จนเมื่อในปี พ.ศ.2369 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ได้ก่อการกบฎยกทัพมาตีไทย พระองค์จึงได้โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา เป็นผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณแห่งนี้

“พระพุทธชินราช” ภายในพระอุโบสถ

        เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก 4 พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น ครั้นถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 4 จึงได้โปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้น ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้น และโปรดเกล้าฯ ทำผาติกรรมสถปนาวัดขึ้นใหม่ และได้พระราชทานชื่อวัดใหม่ว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม


ภาพจิตรกรรมฝาผนัง “พระธาตุพนม” อันงดงามภายในพระอุโบสถ

        เมื่อฉันเดินทางมาถึงวัดเบญจมบพิตรฯ สิ่งที่สะดุดตามากที่สุดก็เห็นจะเป็น “พระอุโบสถหินอ่อน” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญของวัดแห่งนี้มาอย่างยาวนาน พระอุโบสถแห่งนี้ เป็นพระอุโบสถเป็นแบบจตุรมุข ที่ถูกประดับประดาด้วยประดับด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลีทั้งหลัง และถูกออกแบบให้ไว้อย่างสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทยเมื่อฉันมองแล้วก็ช่างเป็นบุญจริงๆ ที่ประเทศไทยของเรานี้ มีโบราณสถานที่งดงามแบบนี้ ตั้งสง่าอวดนักท่อวงเที่ยวทั่วโลกให้ได้ชม

บรรยากาศ ณ กำแพงแก้ว ประดิษฐานพระพุทะรูปปางต่างๆ

        สำหรับภายในพระอุโบสถนั้นประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” ที่จำลองมาจากพระพุทธชินราชองค์จริงที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลกและภายในยังมีภาพจิตรกรรมอันงดงาม โดยเฉพาะที่บริเวณช่องคูหาทั้ง 8 จะเป็นภาพสถูปเจดีย์ที่สำคัญทุกภาค อาทิ พระมหาธาตุ จ.ลพบุรี , พระธาตุพนม จ.นครพนม, พระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้ถูกวาดไว้อย่างงดงามให้ได้ชม และที่บริเวณกำเเพงแก้วรอบพระอุโบสถก็ยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ ให้ได้เดินชมกันอีกด้วย

“พระที่นั่งทรงผนวช” อันงดงาม

        นอกจากพระอุโบสถอันดงามแล้ว ฉันขอบอกว่าภายในวัดเบญจมบพิตรแห่งนี้ ก็ยังเป็นที่ตั้งของโบราณสถานสำคัญอื่นๆ ให้ได้ชมกันอีกด้วยนะ ที่แรกที่ฉันแนะนำก็คือ “พระที่นั่งทรงธรรม” พระที่นั่งแห่งนี้ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ทรงสร้างอุทิศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มีลักษณะเป็นตึกก่ออิฐถือปูน 2 ชั้น และเมื่อ พ.ศ. 2445 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ใช้เป็นที่ประทับแรมเวลาทรงธรรมรักษาอุโบสถศีล

“พระที่นั่งทรงธรรม”

        และที่ฝั่งตรงข้ามนั้นเป็นที่ตั้งของ “พระที่นั่งทรงผนวช” รัชกาลที่5 มรงโปรดเกล้าฯ ให้รื้อจากพุทธรัตนสถาน ที่สวนศิวาลัย ภายในพระบรมมหาราชวังมาไว้ที่นี่เพื่อเป็นกุฏิเจ้าอาวาส โดยยังรักษารูปแบบเดิมไว้ โดยภายในพระที่นั่งทรงผนวช มีพระแท่นบรรทม พระบรมรูปเมื่อทรงผนวช พระบรมรูปสลักหินอ่อน พระพุทธรูป พระเสลี่ยงน้อย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถวายเพื่อเป็นธรรมาสน์แสดงธรรมและแสดงพระปาติโมกข์ครั้งแรกในวัดเบญจมบพิตร และภายในยังมีภาพเขียนเกี่ยวกับพระราชประวัติของรัชกาลที่ 5 ไว้ด้วย สำหรับพระที่นั่งองค์นี้จะเปิดให้เข้าชมก็เฉพาะวันสำคัญเท่านั้น
       
       และที่บริเวณสนามหญ้าใกล้ๆ กัน ก็เป็นที่ตั้งของ “หอระฆังบวรวงศ์” อันงดงาม หอระฆังแห่งนี้ เป็นหอระฆังทรงไทยประกอบหินอ่อน สร้างขึ้นโดยพระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายพระราชวังบวร (กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือ วังหน้า)


“หอระฆังบวรวงศ์”

        หลังจากชมความงามของหอระฆังแล้ว เดินถัดมาไกลมากก็จะพบกับ “พระวิหารสมเด็จ” พระวิหารแห่งนี้ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างสำเร็จในปี พ.ศ.2445 ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะให้เป็น "หอธรรม" หรือ "หอสมุด" ประจำวัด และที่วิหารแห่งนี้ยังเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปสำคัญ คือ “พระฝาง” โดยเป็นพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์อันงดงาม ที่ประดิษฐานในบุษบกมุขหน้าชั้นบน ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากภายนอก ได้ชมแล้วงดงามยิ่งนัก

“พระวิหารสมเด็จ”

        และหากใครที่มาเที่ยววัดเบญจมบพิตรฯ แล้ว ก็อย่าลืมไปแวะสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 “ศาลาร้อยปี ปิยมหาราชอนุสรณ์” กันด้วยนะ และฉันอยากจะบอกไว้อีกว่า ในค่ำคืนของวันที่ 31 ธ.ค. 2558 ต่อเนื่องไปวันที่ 1 ม.ค. 2559 หรือที่เราเรียกว่าช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ทางวัดเบญจมบพิตรฯ ได้มีการจัดกิจกรรม “สวดมนต์ข้ามปี” ให้ได้มาร่วมสดมนต์เสริมบารมีรับพรปีใหม่กันด้วยนะ       

“พระฝาง” ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์อันงดงาม

        หลังจากอิ่มเอมกับการชมความงดงามภายในวัดแล้ว ฉันก็ขอบอกไว้เลยว่า วัดเบญจมบพิตรฯ เป็นอีกหนึ่งวัดที่ควรค่าแก่การมาเที่ยวชมจริงๆ เพราะนอกจากจะมีโบราณสถาน โบราณวัตถุอันงดงามหาที่เปรียบให้ได้ชมแล้ว บรรยากาศภายในวัดก็ยังร่มรื่นอีกด้วย ครั้งหนึ่งในชีวิต ต้องมายลวัดเบญจมบพิตรฯ สักครั้ง

บรรยากาศร่มรื่นภายใน “วัดเบญจมบพิตรฯ”

       
       การเดินทาง มีรถประจำทางสาย 5, 16, 23, 50, 70, 72, 99, 201, 3, 505, 509
 
ขอบคุณภาพและบทความจาก     
http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9580000141206
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

บุญเอก

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 516
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: อิ่มบุญ เพลินตา เจริญใจ ณ “วัดเบญจมบพิตรฯ”
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 31, 2015, 01:49:15 am »
0
 st11 st12 st12
บันทึกการเข้า
ทำงานอาสา หวังช่วยคนตกยาก แม้จะลำบาก แต่ก็จะทำโดยความไม่หนักใจ
อาสากตัญญู พัทยา ยินดีรับใช้