ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 6 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ)  (อ่าน 2792 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



ย้อนอดีตกรุ(ง)แตก : เปิดกรุวัดราชบูรณะ ตอนที่ 6 ‘ตามรอยโจร’ (ต่อ)

เมษายน เป็นเดือนที่เกิดเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาสตร์ไทยมากมาย หนึ่งในนั้น คือการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 ในวันอังคาร เดือน 5 ขึ้น 9 ค่ำ ปีกุน นพศก ตรงกับ 7 เมษายน พ.ศ.2310 เป็นเหตุให้มีการย้ายราชธานีลงไปทางทิศใต้ ณ กรุงธนบุรี ก่อนจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพฯทุกวันนี้

พระราชโบราณสถาน อีกทั้งวัดวาอารามที่เคยงดงามเกินบรรยายต่างทรุดโทรม ร่วงโรย และรกร้าง
กรุงศรีอยุธยาที่เคยรุ่งโรจน์กลายเป็นเพียงอดีต ต่อมาในราว พ.ศ.2499 เกิดเรื่องที่ทำให้ชื่อของราชธานีแห่งนี้กลับมาอยู่ในความสนใจของคนไทยอีก ครั้ง นั่นคือเหตุการณ์ ‘กรุแตก’ ซึ่งเริ่มมีเค้าลางมาจากเรื่องที่เล่ากันหนาหูว่า มีผู้เสียสตินำเครื่องทองงดงามระยับไปร่ายรำท่ามกลางชุมชนใน ‘ตลาดเจ้าพรหม’ ตลาดใหญ่ในตัวเมืองอยุธยา กระทั่งถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว


 
ข่าวครึกโครมในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย พ.ศ.2499 การลักลอบขุดตั้งแต่ พ.ศ.2499 เป็นข่าวครึกโครมในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ พิมพ์ไทย เดือนตุลาคม พ.ศ.2500

 
เรื่องนี้ถูกนำมาสอดแทรกไว้ในเรื่องสั้น “ขุนเดช” ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ คอลัมนิสต์ด้านประวัติศาสตร์ในเครือ “มติชน” สุจิตต์เล่าว่า ตนได้ข้อมูลมาจาก “อามหา-จิรเดช ไวยโกสิทธิ์” หรือขุนเดชตัวจริงในเรื่องสั้นชุดดังกล่าวที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์หลายต่อหลายครั้ง

เหตุการณ์จริงต่อจากนั้น คือในเดือนกันยายน พ.ศ.2500 กรมศิลปากรได้พบเครื่องทองคำราชูปโภค พระพุทธรูป สถูปทองคำ และพระพิมพ์มากมายภายในพระปรางค์องค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ จากนั้นได้หาทางทำอุโมงค์และบันไดลงไปในกรุลึกลับ ต้องคลำทาง วางแผน บันทึกผังกรุ และโบราณวัตถุมหาศาลที่ได้พบอย่างไม่คาดฝัน กลายเป็นหนึ่งในอภิมหาตำนานแห่งการค้นพบมรดกอันประเมินค่าไม่ได้จากบรรพชน ยุคกรุงศรีอยุธยาที่น่าตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องราวทั้งหมดรวมถึงรายละเอียดของการขุดกรุดังกล่าวในทุกขั้นตอน ถูกบันทึกไว้อย่างถี่ถ้วนและเต็มไปด้วยสีสัน ผ่านบทความของนักวิชาการด้านโบราณคดีที่รวมสรรพกำลังทางวิชาความรู้มาร่วม กันวิเคราะห์ตีความวัตถุล้ำค่ามากมาย โดยมีการพิมพ์เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2502 หรือเกือบ 60 ปีมาแล้ว ซึ่ง “มติชน” จะทยอยทำเสนอเป็นตอนๆ ดังเนื้อหาต่อไปนี้


 ans1 ans1 ans1 ans1 ans1


รายงานการเปิดกรุในองค์พระปรางค์วัดราชบูรณะ (ต่อจากตอนที่แล้ว)
โดย นายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากร


ตอนเช้าวันที่ 29 กันยายน 2500 เวลา 9.00 น. ผมพร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจไปดำเนินการที่กรุต่อไปในวันนี้ทำงานจนถึง 16.00 น.เศษ เก็บของขึ้นมาจนหมด มีแหวน กำไลข้อมือเศษทองรูปพรรณต่างๆ พลอย และทับทิม เป็นจำนวนมาก และได้กวาดฝุ่นทรายก้นกรุทั้งหมดขึ้นมาใส่กระสอบเพื่อร่อนหาของด้วย เพราะมีเศษทองและพลอยต่างๆ คลุกเคล้าอยู่กับฝุ่นทรายเหล่านั้นอีกมาก ของที่นำขึ้นมาทั้งหมดเอาไปเก็บใส่กรงเหล็กไว้ที่สถานีตำรวจตามเดิม คืนวันนั้นได้วางกำลังเจ้าหน้าที่รักษากรุไว้ ผมเดินทางกลับกรุงเทพฯ เพราะเสื้อผ้าที่เตรียมไปใช้หมดแล้วไม่มีผลัดเปลี่ยน

วันที่ 30 กันยายน 2500 ผมมาที่กรมฯ เพื่อรายงานกิจการด้วยวาจาให้อธิบดีทราบและพักอยู่ในกรุงเทพฯ คืนหนึ่ง

วันที่ 1 ตุลาคม 2500 เวลา 7.00 น. เดินทางกลับไปอยุธยาสมทบกับผู้กำกับการตำรวจลงไปตรวจกรุอีกครั้งหนึ่ง เพราะสงสัยว่าจะมีกรุห้องที่ 3 ต่อลงไปข้างล่างอีก เนื่องจากมีช่องลมเย็นขึ้นมาจากเบื้องล่าง ผมให้เจ้าหน้าที่งัดหินพื้นห้องขึ้น ก็พบว่ามีอีกห้องหนึ่งจริงเป็นห้องที่ 3 กว้างประมาณ 1.40 เมตร สี่เหลี่ยม สูงประมาณ 1.20 เมตร ภายในห้องนั้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนในก่อปูนเป็นห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ กว้างประมาณ 0.80 เมตร สี่เหลี่ยม บรรจุพระเจดีย์ทองคำ 1 เจดีย์ มีครอบเป็นรูปคล้ายครอบแก้วพระพุทธรูปที่มีขายในปัจจุบันครอบไว้ 4 ชั้น คือ ชั้นต้นเป็นเหล็กบุชิน ชั้นที่ 2 เป็นทองเหลือง ชั้นที่ 3 เป็นทองเหลือง ชั้นที่ 4 เป็นเงิน แล้วก็ถึงเจดีย์ทองคำเปิดได้ ภายในบรรจุพระพุทธรูปทองคำ พระเจดีย์แก้วผนึก พระพุทธรูปแก้วผลึก กับเครื่องทองกระจุกกระจิกอื่นๆ และมีแผ่นใบลานทองคำจารึกอักษรขอมม้วนกลมบรรจุอยู่ด้วย บริเวณรอบๆ เจดีย์ทองคำ มีพระพุทธรูปทองคำและเงิน รูปสัตว์ต่างๆ ทำด้วยทองคำและเงิน พิมพ์เป็นแผ่นบรรจุเรียงรายอยู่โดยรอบ



แถวบน พระเจดีย์ทองคำ พร้อมด้วยเจดีย์แก้วผลึกและพระพุทธรูปทองคำในกรุ 3 แถวกลาง ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ทีเหล็กบุชิน ทองเหลือง และเงิน ในกรุ 3 เช่นกัน แถวล่าง โต๊ะสัมฤทธิ์ ที่ตั้งสิงของในกรุ 2


วันที่ 2 และวันที่ 3 ตุลาคม 2500 ตรวจเก็บของที่ส่วนนอกของห้องที่ 3 ซึ่งกว้างประมาณ 0.40 เมตร มีพระพุทธรูปสำริด พระพิมพ์ทำด้วยชิน  กระปุกเคลือบ เครื่องใช้ทำด้วย เงิน สำริด และทองเหลือง บรรจุอยู่โดยรอบได้จัดการขนของในกรุนี้ขึ้นเสร็จในวันที่ 3 ตุลาคม นำไปเก็บรักษาที่สถานีตำรวจพร้อมทั้งกวาดดินทรายก้นกรุขึ้นมาบรรจุกระสอบเอาไว้ร่อนหาของด้วย เย็นวันที่ 3 นั้นกลับพักผ่อนที่กรุงเทพฯ

วันที่ 4 ตุลาคม 2500 เวลา 7.00 น. กลับไปอยุธยา และพร้อมด้วยผู้กำกับการตำรวจไปตรวจกรุอีกว่าจะมีห้องต่อลงไปอีกหรือไม่ ได้ให้เจ้าหน้าที่เปิดห้องที่ 3 ขึ้น พบว่ามีแผ่นอิฐก่อรองรับเต็มทั้งพื้นห้องดิ่งลงไปข้างล่าง ได้รื้ออิฐลงไปประมาณ 1.00 เมตร ก็ยังไม่หมดอิฐก่อ ผมเห็นว่าควรยุติการตรวจค้นได้แล้ว จึงสั่งเลิกให้จัดการถมปราบภายใต้พื้นห้องที่ 3 ที่ขุดตรวจลงไป เสร็จเรียบร้อยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2500 เป็นอันยุติการตรวจกรุเพียงเท่านี้ ในขั้นต่อไปจะได้จัดการถมกลบเกลี่ยพื้นห้องพระปรางค์ที่ผู้ร้ายขุดตามวิธีการต่อไป


(โปรดติดตามตอนต่อไป)



ครอบพระเจดีย์ 4 ชั้น ปัจจุบันจัดแสดงในนิทรรศการพิเศษ เรื่อง ‘เครื่องทองอยุธยา มรดกของโลก มรดกของแผ่นดิน’ ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา
 
พระพุทธรูปทองคำพบในกรุ 3 ตามรายงานของนายกฤษณ์ อินทโกศัย รองอธิบดีกรมศิลปากรในยุคนั้น ปัจจุบันจัดแสดงที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา

ส่วนหนึ่งของพระพิมพ์ทองคำพบที่กรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ

พระปรางค์วัดราชบูรณะในปัจจุบันอยู่ระหว่างการปฏิสังขรณ์

 

ที่มาข้อมูล : หนังสือ จิตรกรรมและศิลปวัตถุ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และหนังสือ พระพุทธรูปและพระพิมพ์ ในกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พิมพ์เผยแพร่ครั้งที่ 2 โดยกรมศิลปากร เมื่อ พ.ศ.2558
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
http://www.matichon.co.th/news/99299
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0

           สาธุ ในบารมีของเจ้า ครับ
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา

Admax

  • ผู้อุปถัมภ์
  • โยคาวจรผล
  • ****
  • ผลบุญ: +0/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 1063
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
บันทึกการเข้า
ความติดข้องใจเสพย์อารมณ์ความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น สมุทัย
ผลของการดำเนินไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี เป็น ทุกข์
รู้สัจธรรมและปรมัตถ์ ดำรงอยู่ในกุศล สติ ศีล สมาธิ พรหมวิหาร๔ คิดดี พูดดี ทำดี เป็น มรรค
การดับไปแห่งความพอใจยินดี และ ความไม่พอใจยินดี ถึง อัพยกตธรรม เป็น นิโรธ

arlogo

  • 1.บรรพชิต
  • โยคาวจรผล
  • *
  • ผลบุญ: +101/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 1176
  • Respect: +6
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
0
 โดยปกติ เวลาสร้าง เจดีย์ แล้ว ก็ต้องบรรจุสิ่งของมีค่าที่สุด ควรคุ่กับเจดีย์ เช่น พระบรมสารีริกธาตุ เพชรพลอยทองคำเครื่องประดับ มันจะเป็นรอง ที่สำคัญการรายงานของเจดีย์ไม่มีเรือ่ง พระบรมสารีริกธาตุ หายไปเลยแต่ไปรายงานเรื่อง พระพุทธรูปทองคำ เงิน เพชร พลอยแทน ซึ่งไม่ใช่หัวใจหลักของ เจดีย์ ระดับนี้

    วัดแก่งขนุน หล่อพระพุทธเมตตา มหาสิทธิโชค พระเกตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุจำนวนหนึ่ง ตัวพระเกตุก็หล่อด้วยทองเหลือง และ ทองคำแท้ผสม ( ตามศรัทธา ของผู้นำมาใส่ ที่เห็นด้วยสายตาไม่ต่ำกว่า 20 บาท )ดังนั้นสิ่งสำคัญของพระเจดีย์ ก็คือ พระบรมสารีริกธาตุ พระอรหันต์ธาตุ ซึ่งเป็นสิ่งที่หายยากอย่างยิ่งในโลกนี้

   ;)
บันทึกการเข้า
แสงสว่างเกิดขึ้นแล้วแต่เรา ปัญญาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา วิชชาเกิดขึ้นแล้วแต่เรา