ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: รูปฌาน กับ อรูปฌาน  (อ่าน 22885 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
รูปฌาน กับ อรูปฌาน
« เมื่อ: มกราคม 06, 2010, 11:46:55 am »
0
พอดีผมไปอ่านในข้อง สังโยชน์ แล้วเห็นว่า ยังไม่ค่อยจะเข้าใจ ในเรื่อง

1 รูปฌาน และ อรูปฌาน ?
2 ละรูปฌาน คืออย่างไร ?
3 ละอรุปฌาน คืออย่างไร ?

ขอบคุณครับ  ;D


บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
รูปฌาน และอรูปฌาน คือ อะไร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 05:08:50 pm »
0
รูปฌาน และอรูปฌาน  คือ อะไร

ขอนำความหมายใน พจนานุกรม พุทธศาสน์ ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต มาแสดงดังนี้

ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ — absorption)
 
๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร — Jhanas of the Fine-Material Sphere)

๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร —Jhanas of the Immaterial Sphere)
 
คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.
D.III. 222; Dhs. 56.    ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘. ________________________________________

ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ — the First Absorption)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ — the Second Absorption)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ — the Third Absorption)  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา

๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ — the Fourth Absorption)  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
M.I.40    ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒
________________________________________

ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ (อรูปฌาน ๔   ดู (๑๙๙) อรูป ๔)

อรูป หรือ อารุปป์ ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)

๑. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)

๒. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)

๓. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

D.III.224; S.IV.227.   ที.ปา.๑๑/๒๓๕/๒๓๕; สํ.สฬ.๑๘/๕๑๙/๓๒๖.D.III.
________________________________________

ต่อไปขอนำรายละเอียดของ รูปฌาน มาแสดง
ตามลิงค์นี้http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=159.0
 (มัชฌิมา)

________________________________________

ในส่วนของอรูปฌานมีรายละเอียดังนี้

อรูปฌาน ๔
 
          ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม  ๔ อย่างด้วยกัน
อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ  แต่ทว่าอรูปฌานนี้
ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
ว่างเป็นสำคัญ

อานิสงส์อรูปฌาน

          ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว

เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ  คือมีคุณสมบัติพิเศษ  เหนือจากที่ทรง
อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔
          ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
มาแล้วอย่างพิสดาร  ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
          ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
เข้าใจชัด
          ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
          ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
          ปฏิสัมภิทาญาณนี้  มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ  ๑๐  และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้

ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย   หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา  แล้วท่าน
มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ

 เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ  ๙  ประการปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌาน  คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย  ๙  กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้

 ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐  หรือทั้ง  ๘  นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ  ๔  นี้  เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี  หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

๑. อากาสานัญจายตนะ

          การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน  เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้   มีความสำคัญ
อยู่อย่างหนึ่ง  คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ  ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ  มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน

อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม  สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ  มรรคผลใด ๆ  ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน  ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ  ๆ  ฟุ้งได้บ้าง
พอสมควร       
   
          อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

๒. วิญญาณัญจายตนะ
          อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์   โดยจับอากาสานัญจายตนะ  คือกำหนดอากาศจาก
อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์  แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
ที่อาศัยรูปอยู่   ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม  แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
วิญญาณเป็นอารมณ์  แล้วกำหนดจิตว่า  วิญญาณหาที่สุดมิได้  ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์


๓. อากิญจัญญายตนะ
   อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน  ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น  คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้


๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
          เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
ตัวเสมอว่า  ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย  คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

           เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้  ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด  สมัยเป็นนัก
เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
จริง ๆ  ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่  ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที


คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ที่มา เว็บพลังจิต
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28439
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การละรูปฌาน และอรูปฌาน ทำได้อย่างไร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 05:11:59 pm »
0
การละรูปฌาน และอรูปฌาน ทำได้อย่างไร

ขอนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาอธิบายดังนี้

ต่อแต่นี้ไปก็ทบทวนสังโยชน์อีก ๕ ประการ ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า " เรื่องนี้เป็นอนุสัย " มันเป็นกำลังใจที่ทำยากสักนิดหนึ่ง สังโยชน์ ๕ ประการ คือ

รูปราคะ การหลงใหลใฝ่ฝันในรูปฌาน คือเมาในการเข้าฌาน เห็นว่าการเข้าฌานนี่เป็นของประเสริฐ เป็นของเลิศ เป็นของดี พอที่จะโอ้อ้วดใครต่อใครว่าเรา ทรงฌานได้ดี ใช้เวลานาน การเมาในรูปฌานอย่างนี้ไม่ดีแน่ เพราะว่ารูปฌานก็ดี
 
อรูปฌานก็ดี ทั้งสองประการนี้ เป็นเพียงแต่บันได หรือว่า เครื่องรองรับที่จะก้าวไปสู่ พระนิพพาน ถ้าจิตใจของเรายับยั้งอยู่แค่รูปฌานและอรูปฌานมันก็ใช้ไม่ได้ คือว่า ท่านทั้งหลายถ้าจะทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน

โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้รูปฌานหรือว่าได้อรูปฌานด้วยก็ตาม ได้ฌานอะไรก็ตาม จะต้องทรงฌานไว้เสมอ ไม่ใช่ว่าถ้าเราจะไม่เมาในรูปฌานและอรูปฌาน นั่นเราไม่เกาะในรูปฌานและอรูปฌาน มันก็ไม่ถูก เรื่องฌานนี้ต้องเกาะ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังทรงใช้ ในสมัยที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระที่เป็นพระอรหันต์ทุกองค์ ก็ต้องทรงฌานเป็นปกติ

แต่ว่า ฌานของพระอริยเจ้าเรียกว่า โลกุตตรฌาน กำลังฌาน " ฌานัง " แปลว่า " การเพ่ง " หรือว่า " การตั้งใจ " กำลังใจพ้นจากสภาวะของโลก นั่นก็คือไม่ติดอยู่ในกามฉันทะ ไม่ติดอยู่ในโลภะ ไม่ติดอยู่ในความโกรธพยาบาท ไม่ติดอยู่ในความหลง เป็นกำลังฌานที่ตั้งใจตรงโดยเฉพาะ พระนิพพาน
   
ฉะนั้น การที่ไม่ติดอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน แทนที่จะติดอยู่โดยเฉพาะว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นของดี สามารถทรงกำลังจิตให้มั่นคง จิตเราจะตั้งตรง ไว้เฉพาะรูปฌานและอรูปฌาน อย่างนี้เราไม่เอา เราก็เปลี่ยนเป็นว่าใช้กำลังใจให้เป็นฌาน แต่ฌานนี้อยู่ใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ เอาอุปสมานุสสติกรรมฐานเข้ามาเป็นอารมณ์ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ก็คือ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เห็นว่าโลกเป็นทุกข์ เทวโลกและพรหมโลกเป็นสุขจริงแต่สุขไม่นาน หมดบุญวาสนา บารมีเมื่อไรก็ต้องลงกลับมาเกิดกันใหม่ มันก็ยุ่งกันอีก เป็นทุกข์ เราไม่ต้องการ

ฉะนั้น ฌานในที่นี้ให้ตั้งไว้ในอุปสมานุสสติกรรมฐาน จิตใจมีความพอใจในพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌานนะ
   
ตอนที่ ๖ ตัดสังโยชน์ ๑๐ เป็นพระอรหันต์
จาก หนังสือ พรหมวิหาร ๔
http://www.luangporruesi.com/306.html
________________________________________

ความเห็นส่วนตัว

เท่าที่ฟังครูบาอาจารย์มา  พอสรุปได้ว่า  อรูปฌาน  อธิบายได้ยากมาก การได้มาก็ยาก
การละรูปฌาน และอรูปฌาน เป็นการตัดสังโยชน์ของ อริยบุคคล ระดับอรหันตมรรค

อนุโมทนาครับ

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: รูปฌาน กับ อรูปฌาน
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 01:37:38 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม