ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ ต่างๆ  (อ่าน 9771 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

noppadol

  • กำลังแหวกกระแส
  • **
  • ผลบุญ: +13/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 144
  • Respect: +3
    • ดูรายละเอียด
เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ ต่างๆ
« เมื่อ: มกราคม 06, 2010, 11:49:31 am »
0
ผมอ่านในเรื่อง นิโรธสมาบัติ แล้วในหัวข้อ  นิโรธสมาบัติคืออะไร ?

แต่คำว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
         อเนญชาสมาบัติ
         เจโตสมาธิอนิมิตร

3 สมาบัติ มีความต่างกันอย่างไร ครับ เป็นคุณธรรมของใคร

ขอบคุณครับ ;)

บันทึกการเข้า

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 11:45:36 am »
0
ในเบื้องต้นขอยกเอาประเภทของพระอรหันต์ ที่แสดงไว้ใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของท่านปยุตโต มาปูพื้นทำความเข้าใจกันก่อน ดังนี้

อรหันต์  ๕ (an Arahant; arahant; Worthy One)
 
๑. ปัญญาวิมุต (ผู้หลุดพ้นด้วยปัญญา — one liberated by wisdom)

๒. อุภโตภาควิมุต (ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อนแล้วได้ปัญญาวิมุตติ — one liberated in both ways)

๓. เตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓ — one possessing the Threefold Knowledge)

๔. ฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖ — one possessing the Sixfold Superknowledge)
 
๕. ปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔ — one having gained the Four Analytic Insights)

ทั้งหมดนี้ ย่อลงแล้วเป็น ๒ คือ พระปัญญาวิมุต กับพระอุภโตภาควิมุตเท่านั้น  พระสุกขวิปัสสกที่กล่าวข้างต้น เป็น พระปัญญาวิมุต ประเภทหนึ่ง (ในจำนวน ๕ ประเภท)  พระเตวิชชะ กับพระฉฬภิญญะ เป็น อุภโตภาควิมุต ที่ไม่ได้โลกิยวิชชาและโลกิยอภิญญา ก็มี  ส่วนพระปฏิสัมภิทัปปัตตะ ได้ความแตกฉานทั้ง ๔ ด้วยปัจจัยทั้งหลาย คือ การเล่าเรียน สดับ สอบค้น ประกอบความเพียรไว้เก่าและการบรรลุอรหัต

วิมุตติ ๒ (ความหลุดพ้น : deliverance; liberation; freedom)
 
๑. เจโตวิมุตติ (ความหลุดพ้นแห่งจิต, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการฝึกจิต, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากราคะ ด้วยกำลังแห่งสมาธิ : deliverance of mind; liberation by concentration)

๒. ปัญญาวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยปัญญา, ความหลุดพ้นด้วยอำนาจการเจริญปัญญา, ความหลุดพ้นแห่งจิตจากอวิชชา ด้วยปัญญาที่รู้เห็นตามเป็นจริง : deliverance through insight; liberation through wisdom)

ถึงตอนนี้เราจะย่ออรหันต์เหลือเพียง ๒ ประเภท คือ

๑.พระปัญญาวิมุต
 
๒.พระอุภโตภาควิมุต (เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุต)

...............................................................

ขอนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำบางส่วน จากลิงค์http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=159.0 (มัชฌิมา)
ที่ถามว่า ผลสมาบัติ คือ อะไร มาแสดง ดังนี้

    นิโรธสมาบัติ “ท่านที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องเป็นพระอริยะขั้นต่ำตั้งแต่พระอนาคามี เป็นต้นไป
และพระอรหันต์เท่านั้น และท่านต้องได้สมาบัติแปดมาก่อน ตั้งแต่ท่านเป็นโลกียฌาน
ท่านที่ได้สมาบัติแปด เป็นพระอริยะต่ำกว่าพระอนาคามีก็เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้
ต้องได้มรรคผลถึง อนาคามีเป็นอย่างต่ำจึงเข้าได้”

จะเห็นว่า การที่จะเข้านิโรธสมาบัติได้ ต้องได้ สมาบัติ ๘ และต้องเป็น อนาคามี(ผล)บุคคลเป็นอย่างต่ำ

...............................................................

จากอรหันต์ ๒ ประเภทที่แสดงไว้ข้างบน ระบุว่าพระอุภโตภาควิมุต(เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุต)
ได้อรูปสมาบัติ ซึ่งหมายถึง ได้สมาบัติ ๘ นั่นเอง

...............................................................

เพื่อความเข้าใจในขั้นต่อไป ขอนำบทความเกี่ยวกับนิโรธสมาบัติบางส่วน
จากเว็บ http://www.nkgen.com/434.htm  มาแสดง ดังนี้

นิโรธสมาบัติ เป็นสมาบัติที่ประณีตที่สุดในบรรดาสมาบัติทั้งปวง จัดเป็นอรูปฌานในสมถกรรมฐานอย่างหนึ่ง  แม้จะเป็นสมาบัติขั้นประณีตสูงสุดแล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่ใช่การวิปัสสนาโดยตรง เป็นเครื่องอยู่หรือวิหารธรรมของพระอริยเจ้าเป็นครั้งคราว

เป็นสภาวะจิตที่ถึงภาวะของความสงบประณีตระดับสูงสุด จิตหยุดการทำงาน หรือการเกิดดับ..เกิดดับ..เกิดดับ..ทั้งหลายทั้งปวง ดุจดั่งผู้ถึงกาละ กล่าวคือ เนื่องจากการหยุดการทำงานหรือดับไปของสัญญา อันคือ ขันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกับความคิด ความนึก อันเป็นความจำได้ ความหมายรู้ ในสิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งสิ้น
 
ดังนั้นเมื่อดับสัญญา หรือดับความคิด ความนึก(และตลอดจนดับความจำ ความหมายรู้ ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลัง)ทั้งปวงลงไปจากการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ  จึงเป็นปัจจัยทำให้ธรรมารมณ์ต่างๆเช่นความคิดความนึกต่างๆ แม้แต่สังขารกิเลสต่างๆ ที่ต้องอาศัยสัญญาคืออาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยเบื้องต้นในการเกิดขึ้นและเป็นไปของขันธ์ ๕ จึงดับไป 

เวทนาจึงไม่สามารถเกิดขึ้นได้หรือต้องดับไปตามเหตุปัจจัยคือสัญญาที่ถูกกุมไว้ด้วยสติ  จึงเป็นปัจจัยให้เวทนาดับลงไปด้วย  จึงเป็นเหตุให้ชื่อว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่มาจากรากศัพท์ของคำว่า สัญญา-ความจำได้,ความหมายรู้๑  เวทนา-การเสวยอารมณ์๑  นิโรธ-การดับ๑  และสมาบัติ-ภาวะสงบประณีต๑  ทั้ง ๔ คำ  สมาสรวมกันเป็น

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ ที่หมายถึง สภาวะสงบประณีตที่เกิดจากสัญญาและเวทนาดับไป
...............................................................

จากที่ได้อธิบายมาเป็นลำดับ จะเห็นว่า คำว่านิโรจสมาบัตินั้น มาจากคำเต็มๆว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ

ดังนั้น คนที่จะเข้าสมาบัตินี้ได้ นอกจากต้องอยู่ในกลุ่มของพระอุภโตภาควิมุต ได้อรูปสมาบัติ ๔ หรือ สมาบัติ ๘ แล้ว  จะต้องเป็น

๑.อนาคามี(ผล)บุคคล (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
๒.อรหันตบุคคล (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)


ผมตอบข้อแรกให้แล้วนะครับ
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อเนญชสมาบัติ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 11:50:18 am »
0
ต่อไปเป็นคำตอบข้อสอง


จากการค้นหาคำแปลของ คำว่า “อเนญชา”  พบว่า น่าจะมาจากคำเต็มๆว่า อเนญชาภิสังขาร จากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า

อเนญชาภิสังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งที่มั่นคง, สิ่งที่ปรุงแต่งชีวิตจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย
กล่าวโดยสรุป มี ๓ อย่าง คือ บุญ บาป และอเนญชา-ภิสังขาร หมายถึง อรูปสมาบัติ ๔.

อภิสังขาร ๓ (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)

๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)

๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)
 
๓. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)
 
อภิสังขาร ๓ นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร ๓ ดู (๑๑๙) สังขาร ๓
...............................................................

ขอนำอรรถกถาบาลีจากเว็บ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=343 บางส่วนมาแสดงดังนี้

“บทว่า อเนญฺชํ ความว่า ใส่ใจอเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติ ว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.”

“บทว่า ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท.”

              “ ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น.
แต่นั้นใส่ใจไปในภายนอกว่า ในสันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้นใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า
ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตาสมาบัตินั้น.”

“แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชาสมาบัตินั้น.
ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงประพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แต่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดีอย่างเดียว.”

...............................................................


เมื่่อ ดูความหมายของคำว่า อเนญชา และอ่านอรรถกถาแล้ว จะเห็นว่า
อเนญชภสมาบัติ หมายถึง อรูปสมาบัติ ๔ นั่นเอง และยังเป็นส่วนหนึ่งของอุภโตภาควิมุตติ

จากคำอธิบายและคำตอบในข้อแรก จะเห็นว่า อุภโตภาควิมุตติ หมายถึง
ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อน แล้วได้ปัญญาวิมุตติ
อเนญชสมาบัติ จึงอยู่ในส่วนแรกของอุภโตภาควิมุตติ คือ เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปฌาน นั่นเอง

ดังนั้น คนที่จะเข้าอเนญชสมาบัติได้ นอกจากต้องอยู่ในกลุ่มของพระอุภโตภาควิมุต ได้อรูปสมาบัติ ๔ หรือ สมาบัติ ๘ แล้ว  จะต้องเป็น

๑.อนาคามี(ผล)บุคคล (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
๒.อรหันตบุคคล (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

คำตอบข้อสองเหมือนกับคำตอบข้อแรกทุกประการ(เพราะว่า อเนญชสมาบัติ ก็คือ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ)


บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28366
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
อนิมิตตเจโตสมาธิ
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 11:59:37 am »
0
ต่อไปเป็นคำตอบข้อสาม

ขอนำความหมายของคำต่างๆ ตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ มาแสดงเพื่อความเข้าใจ ดังนี้

สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)

๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)

๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)

๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)
 
อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ไม่เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑) เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี
๒) เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ
๓) เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ
๔) แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
...............................................................

คำว่า “เจโตสมาธิอนิมิตร” ที่คุณกล่าวถึง ผมหาไม่เจอ
ที่หาเจอคือคำว่า “อนิมิตตเจโตสมาธิ”
แต่ในพจนานุกรม พุทธศาสน์ กลับไม่มีคำนี้
อย่างไรก็ตาม พอที่จะสรุปความหมายได้ดังนี้

เจโต คือ จิต  ถ้าหมายเอาการหลุดพ้นเป็นเกณฑ์ ควรจะเป็นคำเต็มๆว่า เจโตวิมุตติ ซึ่งหมายถึง
ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ

ปัญหามีอยู่ว่า เจโตวิมุตติ มี ๒ ขั้น คือ รูปสมาบัติ ๔ กับ อรูปสมาบัติ ๔
และทั้งสองขั้น บรรลุเป็น อนาคามี(ผล) และ อรหันต์ได้
ถ้าจะพูดถึงการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว ต้องเป็น เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติ ๔ เท่านั้นที่เข้าได้
ส่วนขั้นรูปสมาบัติ ๔ เข้าได้แต่ผลสมาบัติเท่านั้น
...............................................................

มาถึง คำว่า อนิมิตตสมาธิ   อนิมิตตสมาธิ คือ “สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ”
จากคำอธิบายเรื่อง สมาธิ ๓ ข้างบน จะเห็นว่า
การเจริญวิปัสสนานั้น เมื่อนำเอาไตรลักษณ์มาพิจารณา
เพื่อให้หลุดพ้นสำเร็จเป็นอริยบุคคลขั้นต่างๆนั้น
ไม่จำเป็นต้องพิจารณาทั้ง ๓ ข้อ คือ ทุกข์ อนิจจัง และอนัตตา
สามารถเลือกข้อใดข้อหนึ่งมาพิจารณาก็ได้ สำเร็จได้เหมือนกัน
...............................................................

ดังนันคำว่า “อนิมิตตเจโตสมาธิ” หรือ คำว่า “เจโตสมาธิอนิมิตร” ที่คุณกล่าวถึง
ควรจะหมายถึง ผู้ที่หลุดพ้นดัวยกำลังสมาธิ โดยการพิจารณาอนิจจลักษณะ
...............................................................

ผมขอสรุปคำตอบให้คุณดังนี้

ผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้น รูปสมาบัติ ๔ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้
เข้าได้เฉพาะผลสมาบัติ เท่านั้น บุคคลที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

-   โสดาบัน(ผล) ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้)
-   สกิทาคา ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้ ข้อที่เหลือเบาบางลงไปเมื่อเทียบกับโสดาบัน)
-   อนาคามี ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
-   อรหันต์ ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

ผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้น อรูปสมาบัติ ๔ เข้าได้ทั้งนิโรธสมาบัติ
เข้าผลสมาบัติ บุคคลที่เข้าสมาบัติทั้งสองได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑.อนาคามี(ผล)บุคคล ได้ อรูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
๒.อรหันตบุคคล ได้ อรูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

อนึ่งผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้นรูปสมาบัติ ๔ และขั้นอรูปสมาบัติ ๔ ต่างก็อยู่ในกลุ่มของพระอุภโตภาควิมุต

...............................................................

สรุปคำตอบโดยย่อ

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ อเนญชสมาบัติ เป็นตัวเดียวกัน
ต่างกันที่ การหยิบองค์ธรรมองค์ไหน มาอธิบายความหมายเท่านั้น

ผู้ที่จะเข้าสมาบัตินี้ได้ ต้องเป็นบุคคลที่หลุดพ้นด้วย เจโตวิมุตติ
พร้อมทั้งได้ อรูปสมาบัติ ๔ หรือ สมาบัติ ๘(ปัญญาวิมุตติเข้าไม่ได้)

และต้องเป็นอริยบุคคล ในระดับอนาคามี(ผล) และอรหันต์เท่านั้น

ในส่วนของ “อนิมิตตเจโตสมาธิ” เป็นเพียงแค่ตัวเลือกหนึ่ง
ในวิธีพิจารณาไตรลักษณ์(ทุกข์ อนิจจัง และ อนัตตา)เท่านั้น

“อนิมิตตเจโตสมาธิ” เป็นการพิจารณาอนิจจลักษณะ
ไม่ได้เป็นนิโรธสมาบัติแต่อย่างไร

ผมตอบคำถามทั้งหมดให้แล้วนะครับ สงสัยอะไรก็ถามได้
ขออนุโมทนา

บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

ธรรมะ ปุจฉา

  • http://www.facebook.com/srikanet?ref=tn_tnmn
  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 713
  • ปัญญสโก ภิกขุ (พระที) ..... คณะ ๓/๓ วัดพลับ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ ต่างๆ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: ตุลาคม 21, 2010, 01:37:06 am »
0
 :25:
บันทึกการเข้า
ยาดี มิได้ทำให้คนหายไข้   คนหายไข้ เพราะได้กินยาดี
ธรรมะ มิได้ทำให้คนดี       คนดีได้  เพราะปฏิบัติธรรม

tcarisa

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +9/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 524
  • ก้าวน้อย แต่เป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ ต่างๆ
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2010, 09:30:48 am »
0
เป็นบทความ ที่อ่านง่าย ดีคะ
อนุโมทนากับ ผู้ลงบทความด้วยคะ
 :25: :25: :25:
บันทึกการเข้า
เราเป็นหน่ออ่อน ที่รอการเติบโต
จึงขอสั่งสมบารมีธรรม เพื่อพระนิพพาน

PRAMOTE(aaaa)

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +5/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: ชาย
  • กระทู้: 3598
  • ความศรัทธาคือเชื่อเรื่องการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ ต่างๆ
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: มกราคม 18, 2015, 01:47:16 pm »
0

      เกี่ยวกับเรื่อง สมาบัติ   ทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
การมีกัลยาณมิตร ครูบาอาจารย์ ที่สั่งสอนธรรม เป็นเรื่องที่ดี
..เชื่อเรื่องการตรัสรู้ธรรม ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
...และเชื่อในพระธรรมที่เป็นตัวแทนของพระศาสดา