ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: การอธิษฐาน ครั้งสำคัญ ในพระพุทธศาสนา  (อ่าน 3293 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28361
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
การอธิษฐาน ครั้งสำคัญ ในพระพุทธศาสนา
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2019, 07:34:07 am »
0
 :25: :25: :25:

การอธิษฐาน ครั้งสำคัญ ในพระพุทธศาสนา

เรื่องราวนี้เป็นเรื่องราวของ องค์พระศาสดาของพระพุทธศาสนาในช่วงที่พระพุทธองค์ ยังทรงเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ก่อนที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้านั่นเองครับ ซึ่งก่อนที่พระองค์จะได้ตรัสรู้ได้กระทำการ อธิษฐานครั้งสำคัญ 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งชาวพุทธทุกคนควรทราบเป็นอย่างยิ่ง

เพราะในช่วงที่เจ้าชายสิทธัตถะก่อนที่จะออกบวชนั้น ได้ทรงครุ่นคิดอย่างหนักถึงการหาวิธีการที่จะพ้นทุกข์อย่างแท้จริง  แม้จะมีนางรำที่มีความสวยงามมากมายมาร่ายรำสร้างความบันเทิงอยู่ตรงหน้า ก็ไม่ได้ให้ความสนใจแม้แต่น้อยจนกระทั่งเผลอหลับไป

เมื่อตื่นขึ้นมากลางดึกก็พบเห็นเหล่านางรำที่เมื่อสักครู่ยังดูสวยงาม แต่มาบัดนี้นอนทับถมกระจัดกระจายเต็มท้องพระโรงประหนึ่งเหมือนซากศพ เมื่อเห็นดังนั้นก็เกิดความสังเวชใจจึงไม่เกิดความลังเลใจอีกต่อไป ทรงตัดสินใจออกบวชทันทีที่ลุ่มแม่น้ำอโนมา หลังจากที่ได้ทรงถอดเครื่องประดับทั้งหลายพร้อมกับบอกให้นายฉันนะ นำกลับไปยังเมืองกบิลพัสดุ์เพราะพระองค์ตัดสินใจออกบวชแล้ว

จึงได้ทำการ “ตั้งจิตอธิษฐานเป็นครั้งแรก” ว่า
    "ขอให้พระองค์เองได้ตัดใจบวชเพื่อมุ่งสู่ความเป็นบรรพชิตแสวงหาทางพ้นทุกข์นับแต่บัดนี้"



โดยถ้าหากพระองค์จักได้ทำการตรัสรู้ก็ขอให้ พระเกศาของพระองค์จงลอยอยู่บนอากาศอย่าได้ตกลงมาเลย ปาฏิหาริย์ครั้งแรกแห่งการอธิษฐานก็เกิดขึ้นทันที เพราะหลังจากที่พระองค์ตัดพระเกศาออก ท้าวสักกะเทวราช หรือพระอินทร์ ที่ล่วงรู้เหตุการณ์ทั้งหมด ก็รีบเหาะนำพานมารองรับพระเกศาเอาไว้แล้ว นำพระเกศาของพระองค์ไปบรรจุไว้ในเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ต่อไป

จุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนาจึงได้เริ่มต้นที่ริมฝั่งแม่น้ำ อโนมาแห่งนั้น หลังจากออกผนวชได้ 7 วัน พระโพธิสัตว์สิทธัตถะก็ได้เสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว มุ่งหน้าไปที่กรุงราชคฤห์ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารปกครองอยู่ พระเจ้าพิมพิสารได้เสด็จมาเข้าเฝ้าพระโพธิสัตว์ด้วยพระองค์เอง และทูลขอให้ประทับอยู่ที่กรุงราชคฤห์แห่งนี้

พระโพธิสัตว์สิทธัตถะ สำนึกได้ว่าไม่ควรจะอยู่ที่ใดที่หนึ่งเป็นเวลานานเพราะต้องแสวงหาทางดับทุกข์นั้นให้ได้ แต่เพื่อให้เป็นไปตามกรรมกำหนดจึงได้ให้สัญญากับพระเจ้าพิมพิสารว่า หากได้บรรลุธรรมแล้วจะเสด็จมาโปรดพระองค์และชาวเมืองเป็นพวกแรก

@@@@@@

จากนั้นก็ได้ทรงเดินทางไปหา อาฬารดาบสกาลามโคตร ทรงศึกษากับพระอาจารย์อาฬารดาบส ถึงเรื่องการเข้าสมาบัติสำเร็จฌาน 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4 ซึ่งถือเป็นความรู้ทางธรรมอันสูงสุดของอาจารย์ หลังจากพระองค์ได้บำเพ็ญจิตสมาธิจนบรรลุฌานทั้ง 8 แล้วอาจารย์ก็หมดภูมิจะสอนต่อไปอีก

พระโพธิสัตว์จึงได้เสด็จไปยังเมืองพาราณสีเพื่อศึกษาต่อกับ พระอาจารย์อุททกดาบส รามบุตรซึ่งพระองค์ก็ใช้เวลาศึกษาอยู่ไม่นานก็สำเร็จ แต่ก็พบว่ายังไม่ใช่ธรรมะขั้นสูงสุดที่จะทำให้สำเร็จมรรคผลถึงนิพพานได้ จึงได้ปฏิเสธคำเชิญของอาจารย์ที่จะอยู่ร่วมเป็นอาจารย์ช่วยสั่งสอนศิษย์ทั้งหลาย จึงได้ลาและออกแสวงหาธรรมโดยพระองค์เองต่อไป

เวลาผ่านไปหลายปี พระโพธิสัตว์สมณโคดมได้ทดลองการบำเพ็ญเพียรทั้งหมด ไม่ว่า การบำเพ็ญแบบเดียรถีย์ ที่เป็นแนวปฏิบัติของนักบวชของอินเดียในสมัยโบราณ ที่ต้องทรมานร่างกายในแบบต่าง ๆ เช่น การประพฤติตนเปลือยกาย ไม่ยอมรับอาหารที่เขาให้ หรือ ฉันอาหารที่เก็บไว้วันเดียวบ้างเจ็ดวันบ้าง เดินเขย่งเท้าหรือนอนบนที่นอนที่ทำด้วยหนาม เป็นต้น

@@@@@@

ในขณะที่ประทับอยู่ ณ อุรุเวลาเสนานิคม ก็มีชายกลุ่มหนึ่งมาจากเมืองกบิลพัสดุ์มาตามหาพระสมณโคดม นำโดย ท่านอัญญาโกณทัญญะ พราหมณ์ผู้เป็นหัวหน้า ได้พาพวกมาเข้าเฝ้าด้วยความเลื่อมใส และทั้งหมด ขออยู่รับใช้ที่นั่นจนกว่าพระโพธิสัตว์จะได้บรรลุธรรม

พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาจนพระวรกายซูบผอมดำคล้ำจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก โดยการบำเพ็ญขั้นสุดท้ายนี้คือ การบริโภคอาหารน้อยลงจนถึงหยุดกินอาหารไปเลย เหล่าพราหมณ์ทั้ง 5 ที่ตามมารับใช้ต่างก็ช่วยกันดูแลพระโพธิสัตว์อยู่ตลอด พระองค์ได้ทำการทรมานตนเองจนเกือบจะสิ้นพระชนม์อยู่หลายวัน

แต่สำหรับท้าวสักกะเทวราชหรือพระอินทร์นั้นไม่เห็นด้วยกับการกระทำของพระองค์ และยังเกรงว่าความตั้งใจอันเด็ดเดี่ยวนี้จะเกิดความสูญเปล่า ดังนั้นในคืนที่ 49 แห่งการบำเพ็ญเพียรก่อนที่ร่างของพระองค์กำลังจะดับสูญไปเพราะความทุกข์ทรมาน



พระองค์ได้ยินเสียงพิณจากนักดนตรีที่แล่นเรือผ่านมาตามแม่น้ำ ซึ่งก็คือพระอินทร์แปลงกายมาโดยที่นักดนตรีปลอมนั้นแกล้งตั้งสายพิณให้หย่อนบ้าง และ ตึงบ้างสลับกันไปจนกระทั่งพระอินทร์ตั้งเสียงพิณจนสุดจนสายขาดผึงไป

เพราะเสียงพิณที่แตกต่างกัน ทำให้พระองค์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของ “จิตกับกาย” หรือนามกับรูปเป็นครั้งแรกว่าในขณะนี้พระองค์ได้ทรมานร่างกายมากเกินควร เพราะธรรมชาติของร่างกายสามารถทนได้เพียงเท่านี้ หากดื้อดึงจะใช้จิตเคี่ยวเข็ญร่างกายจนเกินกำลังก็คงไม่อาจบรรลุธรรมได้แน่

และทำให้พระองค์ได้นึกถึงตอนที่พระองค์ยังทรงพระเยาว์อยู่ ในงานแรกนาขวัญขณะที่อายุได้ 8 พรรษาได้นั่งอยู่ใต้ต้นหว้าที่ร่มเย็นและมีใจเป็นสมาธิมาก ถือศีล งดเว้นจากเรื่องทางโลกทั้งหลายจนได้บรรลุฌานเบื้องต้น รู้เท่าทัน “จิต” และมีความสุขจากการรับรู้นั้นทำให้เกิดความสงบจากสิ่งเจือปนทางจิต (กิเลส) ทั้งปวง เมื่อตระหนักได้ดังนี้ พระองค์ก็ได้ยินเสียงพิณที่ได้ขึ้นสายใหม่ที่เสียงมีความพอดีบรรเลงได้ไพเราะ จึงได้เลิกทรมานกายเพราะตระหนักแล้วว่า

"การเดินสายกลาง ที่ไม่ตึงเกินไปไม่หย่อนจนเกินไปนั้นเป็นสิ่งที่ดีที่สุด" การปฏิบัติที่ตึงเกินไปทำให้ร่างกายที่เต็มไปด้วยความหิวก่อให้เกิดทุกข์ จึงหันมาบริโภคน้ำและอาหารเพื่อร่างกายที่แข็งแรงอีกครั้ง

@@@@@@

เหล่าพราหมณ์ทั้ง 5 พอได้ทราบว่าพระโพธิสัตว์ได้กลับมาบริโภคอาหารอีกครั้ง ด้วยความที่ไม่ทราบถึงหลักความจริงในเรื่องการเดินสายกลาง ก็จึงเกิดความเสื่อมศรัทธาในตัวพระองค์ ต่างพากันหลีกหนีไปไม่อยู่รับใช้อีก แต่พระพุทธองค์ก็ตั้งมั่นในทางสายกลางที่ได้ค้นพบต่อไปเพราะรู้แล้วว่า “หากร่างกายดี จิตก็ดีตาม สมาธิก็มีความตั้งมั่น” จึงเป็นทางที่จะนำไปสู่การหลุดพ้นได้

และในช่วงนั้นเองก็มีมีบุคคลผู้หนึ่งที่เข้ามามีบทบาทในการตรัสรู้ และเป็นเหตุเนื่องมาจากการ “อธิษฐาน” เสียด้วย นั่นก็คือ นางสุชาดา ซึ่งเป็นธิดาเศรษฐีแห่งตำบลอุรุเวลาเสนานิคมแห่งนั้น ซึ่งนางได้ตั้งจิตอธิษฐานต่อเทวดาที่ต้นไทรว่า หากนางมีครอบครัวและได้บุตรชาย นางจะนำข้าวมธุปายาสมาถวายกับเทวดา (ข้าวมธุปายาสนั้นเป็นข้าวที่หุงด้วยน้ำนมและน้ำผึ้ง)

ซึ่งในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ได้กลับมาบริโภคอาหารจนร่างกายแข็งแรงแล้ว ทำให้ผิวพรรณและร่างกายกลับมามีความสดใสเปล่งปลั่งสมกับลักษณะของมหาบุรุษอีกครั้ง นางสุชาดาได้เห็นก็เชื่อว่าต้องเป็นเทวดาอย่างแน่นอน นางจึงเอาข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย พร้อมทั้งอธิษฐานอีกครั้งว่า 
    “ข้าพเจ้าได้บรรลุความปรารถนาแล้วขอให้ท่านได้บรรลุความปรารถนาเช่นเดียวกัน”



การอธิษฐานครั้งที่สอง ของพระโพธิสัตว์จึงบังเกิดขึ้นจากการถวายข้าวมธุปายาสนี้ หลังจากที่พระองค์ได้เสวยข้าวจนหมดแล้วก็ได้เดินนำถาดทองไปที่ริมแม่น้ำเนรัญชรา เพื่อตั้งจิต อธิษฐานบารมีอีกครั้งว่า

“ถ้าเราจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอให้ถาดนี้จงลอยทวนกระแสน้ำไป”

ปาฏิหาริย์ครั้งที่ 2. จึงเกิดขึ้นทันตาเห็นทันที เมื่อถาดถูกปล่อยจากพระกรหรือมือของพระองค์แล้ว ถาดที่หนักอึ้งนั้น ก็หมุนลอยทวนกระแสน้ำไปเรื่อยๆ ด้วยแรงอธิษฐานและจมสู่นาคพิภพไปรวมกับถาดอีก 3 ใบของพระพุทธเจ้าในภัทรกัปปัจจุบัน

อธิบายแทรกเพิ่มตรงนี้นิดหน่อยครับ ภัทรกัปคือการ อุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าในยุคปัจจุบันมีอยู่ 5 พระองค์คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมณ์ พระกัสสปะ พระโคดม(พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน)และ พระศรีอริยเมตไตรย ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป

@@@@@@

หลังจากถาดได้ลอยทวนน้ำไปแล้วพระองค์ก็เกิดความแน่วแน่และมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า จะได้ตรัสรู้อย่างแน่นอนจึงได้เสด็จไปยังโคนต้นโพธิ์ทางทิศตะวันออก ขณะที่กำลังจะประทับนั่นนั้นเอง ก็มีคนหาบหญ้าที่ชื่อว่า “โสตถิยะ” ผ่านมาได้เห็นลักษณะที่น่าเลื่อมใสงามสง่าของพระโพธิสัตว์ จึงได้ทำการถวายหญ้าคา 8 กำปูลาดเป็นอาสนะให้ประทับนั่ง พระองค์ทรงรับเอาไว้และนำไปประทับนั่งใต้ต้นโพธิ์ นั่งขัดสมาธิแล้วหันหน้าไปทางทิศตะวันออก

ก่อนที่พระองค์จะบำเพ็ญเพียรภาวนาเพื่อการหลุดพ้นก็ “ตั้งจิตอธิษฐานเป็นครั้งที่สาม” กำหนดใจให้สงบตั้งมั่นว่า

   “แม้เลือดในร่างกายจะแห้งเหลือแต่หนัง เอ็นหุ้มกระดูกก็ตามหากยังไม่ได้บรรลุพระธรรมอันประเสริฐสูงสุดนั้น เราจะไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์แห่งนี้”

เทวดาทั้งหลายทั่วทั้งชั้นฟ้าต่างก็ได้รับรู้ถึงการอธิษฐานจิตของพระองค์ในครั้งนี้ จึงได้พากันลงมาสดุดีบูชามหาบุรุษด้วยดอกไม้ ของหอมต่าง ๆแล้วโมทนาบุญที่บังเกิดขึ้นในครั้งนั้น แต่ยังมีเทพองค์หนึ่งที่ต้องการขัดขวางการบรรลุธรรมของพระองค์คือ “พญาวสวัตดีมาร” ซึ่งเป็นถึงผู้ปกครองชั้นสูงสุดของสวรรค์ทั้ง 6 ชั้น (สวรรค์กามาวจร)

@@@@@@

พญามารนั้นเกรงว่าผู้ใดบรรลุธรรมแล้วจะมีอำนาจพ้นจากกามสุข ซึ่งเป็นอำนาจของตนเองที่ใช้ปกครองเทวดาทั้งหลาย ได้ยกกองทัพมารจำนวนมหาศาลมาประชิด โดยที่พญาวสวัตตีมารได้ขี่ช้างที่ชื่อ “คีรีเมขล์” ที่มีความสูงถึง 150 โยชน์มาด้วยทำให้เหล่าเทวดาพากันถอยหนีไปหมด

ณ บัดนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทรงตั้งพระทัยมุ่งจิตที่บริสุทธิ์ของพระองค์ ให้สู้กับธรรมชาติฝ่ายต่ำและยกจิตของพระองค์เองให้สูงขึ้นเหนือสิ่งที่เป็นความสุขชั่วคราวทั้งหลาย ที่เคยได้ประสบมาแล้วตั้งแต่ครั้งยังเป็นเจ้าชายอยู่ให้พ้นไป

พญามารได้ออกปากขับไล่ให้พระโพธิสัตว์ได้ลุกออกจากโพธิบัลลังก์โดยอ้างว่า บัลลังก์ที่พระองค์ประทับนั่งอยู่นั้นเป็นของพญามารเอง เพราะหน้าที่บงการชีวิตของเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ประสบทุกข์หรือสุขนั้น เป็นหน้าที่ของพญามารแต่เพียงผู้เดียว

แต่พระโพธิสัตว์ก็ไม่ได้ลุกขึ้นตามความประสงค์ของพญามาร บุญบารมีทั้งหมดที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่ครั้งอดีตชาติจะเป็นสื่อกลางและธรณีที่ประทับนั่งอยู่จะเป็นพยาน หลังจากนั้นก็ใช้ปลายนิ้วชี้ของพระหัตถ์ด้านขวาชี้ลงไปที่ธรณี



ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นอีกครั้งเมื่อทั่วทั้งปฐพีเกิดการสั่นไหวแม้แต่ท้องฟ้าก็ร้องคำราม พระแม่ธรณีได้ผุดขึ้นมาจากธรณีเป็นพยานและได้ถือเอาหลักฐานที่พระโพธิสัตว์กล่าวอ้าง มาแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของพญามาร พระแม่ธรณีได้บีบมวยผมที่ชุ่มไปด้วย “บุญบารมี” ของพระโพธิสัตว์ที่ได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่ต้นจนมีปริมาณมากจนไม่อาจจะประมาณได้   น้ำปริมาณมหาศาลได้พัดท่วมเหล่ามารนั้นจนหายไปหมดสิ้นซัดไปไกลลอยไปจนถึงเขตมหาสมุทร

ฝ่ายพญามารก็ยังไม่ยอมแพ้หมายมั่นจะนำกำลังที่เหลือกลับไป แต่เมื่อกลับไปแล้วก็ถูกฟ้าผ่าลงมาอีก จึงยอมแพ้ต่อพระโพธิสัตว์ พญามารเกรงในพระราชอาญาและบารมีจึงออกปากสรรเสริญต่อพุทธเดชานุภาพของพระองค์ว่า ไม่มีบุคคลใดที่มีความเสมอเหมือนพระโพธิสัตว์ไม่ว่าในเทวโลกหรือในมนุษย์โลกก็ตาม และพระองค์จะช่วยให้เหล่ามนุษย์ได้พ้นจากสังสารวัฎได้อย่างแน่นอน

พระโพธิสัตว์ได้ชัยชนะเหนือความชั่วร้ายได้ตั้งแต่พระอาทิตย์ยังไม่ทันได้ลับขอบฟ้า จากนั้นพระองค์ก็ได้กำหนดจิตให้เข้าสู่สมาธิทรงรำลึกถึงความทุกข์แห่งการเวียนว่าย ตาย เกิดที่วนเวียนเกี่ยวเนื่องกันไปไม่ยอมสิ้นสุด จนจิตเป็นสมาธิในเวลาเย็นก็เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงชาติที่เคยเกิดมาก่อน

@@@@@@

พอเวลาได้เลยไปถึงค่อนคืนแล้วก็ทรงเกิดปัญญา หยั่งรู้การเกิด การตายของเหล่าสัตว์ทั้งหลาย พอถึงเวลาใกล้รุ่งเช้าก็เกิดปัญญาหยั่งรู้ถึงธรรมที่มีความดับแล้วซึ่งกิเลสทุกอย่างในตอนนี้ จิตของพระองค์ได้พ้นจาก กิเลสในสันดานที่เกิดจากความใคร่ (กามาสวะ)  กิเลสที่หมักหมมอยู่ในกมลสันดานทำให้อยากเกิด อยากมี อยากเป็นอยู่ตลอดเวลา (ภวาสวะ) และ กิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดานทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง ( อวิชชาสวะ) คือพ้นแล้วซึ่งกิเลสทั้งปวงบรรลุอรหันต์

ในที่สุดการค้นหาของพระองค์สิ้นสุดลง ทรงตรัสรู้กลายเป็น “พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” โดยมีเหล่าเทวดาพากันลงมาโมทนาบุญกุศลให้มากมายในเวลานั้นภายหลังการบรรลุธรรมอันสูงสุดของพระพุทธองค์ พื้นปฐพีก็กึกก้องดังสนั่นหวั่นไหวไปทั่วอีกครั้ง

ขั้นตอนการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ก็สิ้นสุดลงด้วยประการฉะนี้ จากตัวอย่างในการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธองค์ จะเห็นได้ชัดถึงพลังแห่งการอธิษฐานนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และต้องมีปัจจัยเป็นองค์ประกอบที่ดีงามจึงจะบรรลุถึงความสำเร็จได้



ขอบคุณที่มา : https://torthammarak.wordpress.com/2011/11/03/การอธิษฐานครั้งสำคัญใน/ 
พฤศจิกายน 3, 2011 โดย ธ. ธรรมรักษ์
ขอบคุณภาพจาก : https://www.pinterest.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 18, 2019, 08:32:38 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: การอธิษฐาน ครั้งสำคัญ ในพระพุทธศาสนา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 13, 2019, 09:34:14 am »
0
 :25: st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ