ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: วัตถุนิยมครอบงำ : เหตุให้คุณธรรมถดถอย  (อ่าน 376 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28431
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0



วัตถุนิยมครอบงำ : เหตุให้คุณธรรมถดถอย

“สัจธรรม ย่อมเกิดขึ้น และปรากฏแก่ใจของผู้ที่กำลังมีความทุกข์ อันเกิดจากการเจ็บป่วย และอยู่ในภาวะใกล้ตาย” นี่คือ ความจริงที่ผู้เขียนคิดได้ในขณะที่นอนอยู่บนเตียง ณ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา เนื่องจากเกิดอาการป่วยกะทันหัน ทั้งถ่ายอุจจาระเป็นเลือด และอาเจียนเกล็ดเลือดต่ำเหลือ 25 จากปกติ 35 ในผู้สูงอายุ

จากการนี้เอง ทำให้หันมาพิจารณาสังขารของตัวเอง และทำให้มองเห็นความไม่เที่ยงหรืออนิจตา ความทุกข์หรือทุกขตา และความไม่มีตัวตนหรืออนัตตา ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนาได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้นจากที่จำได้มาก่อนหน้านี้แล้ว

ครั้นออกจากโรงพยาบาลได้ฟังข่าวสังคมและการเมือง ซึ่งมีทั้งการจี้ปล้น ทำร้ายร่างกาย และขายยาเสพติด ซึ่งปรากฏในข่าวสังคม

ส่วนข่าวการเมืองก็ใช่ย่อย มีทั้งการชุมนุมเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ถูกจับในข้อหากระทำผิดมาตรา 112 และการออกมาตอบโต้กันระหว่างนักการเมืองฝ่ายค้านกับนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล

ทั้งข่าวสังคมและการเมืองฟังแล้วรู้สึกหดหู่เป็นอย่างยิ่ง ที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธแท้ๆ แต่เหตุไฉนคนไทยซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ไม่ศึกษา และทำความเข้าใจคำสอนของพระพุทธองค์แล้วนำไปเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตหรือว่าเป็นเพราะคนส่วนใหญ่ที่ทำตนเยี่ยงนี้ ยังไม่เคยประสบความทุกข์ จึงมองไม่เห็นสัจธรรมดังกล่าวข้างต้น

อะไรคือเหตุ คนส่วนใหญ่ในเมืองพุทธเช่น ประเทศไทยดำเนินชีวิตในแนวทางที่สวนกับคำสอนของพุทธ และถ้าจะให้คนเหล่านี้ศึกษาเรียนรู้แล้วนำไปปฏิบัติจะทำอย่างไร.?

@@@@@@@

เกี่ยวกับประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น ผู้เขียนขอเรียนว่า ตอบโดยหลักการนั้นไม่ยาก แต่จะนำไปเป็นแนวทางแก้ปัญหาในทางปฏิบัติได้จริงนั้นเป็นเรื่องยาก ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยม ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าจึงมุ่งเน้นการปฏิบัติด้วยตนเอง และปฏิเสธการอ้อนวอนเทพเจ้า แต่คนส่วนใหญ่นิยมชมชอบการอ้อนวอนขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เพื่อดลบันดาลให้ตนเองพ้นทุกข์ และประสบความสุขโดยที่ตนเองไม่ต้องรักษาศีล และฝึกจิตโดยการทำสมาธิเพื่อขัดเกลากิเลส เมื่อเป็นเช่นนี้ก็เท่ากับว่าไม่ได้นำคำสอนของพระพุทธเจ้าไปเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตนั่นเอง

2. ตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์ ได้แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภท โดยเปรียบดอกบัว 4 เหล่าคือ
     2.1 วิปจิตัญญู ได้แก่ คนที่รู้ได้เร็วเพียงแต่ได้ฟังก็เข้าใจ โดยไม่ต้องฟังคำอธิบายขยายความเพิ่มเติม เปรียบได้กับดอกบัวที่โผล่พ้นน้ำเพียงได้แสงอาทิตย์ก็เบ่งบาน
     2.2 อุคฆฏิตัญญู ได้แก่ คนที่ได้ฟังคำสอนแล้วยังไม่รู้ ไม่เข้าใจในทันที แต่พอได้ฟังคำอธิบายเพิ่มเติมเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจแจ่มแจ้ง เปรียบได้กับดอกบัวที่ยังอยู่ใต้ระดับน้ำ และรอวันที่พ้นน้ำในโอกาสต่อไป
     2.3 เนยยะ ได้แก่ คนที่ฟังคำสอนแล้วยังไม่รู้ ไม่เข้าใจต้องฟังคำอธิบายขยายความยืดยาวและซ้ำๆ จึงจะเข้าใจ เปรียบได้กับดอกบัวที่โผล่จากโคลนตมแล้ว แต่อยู่ใต้น้ำ จะต้องใช้เวลานานในการโผล่ขึ้นเหนือน้ำและเบ่งบาน
     2.4 ปทปรมะ ได้แก่ คนที่ถึงแม้จะได้ฟังคำสอน และคำอธิบายขยายความซ้ำแล้วซ้ำอีก ก็ไม่รู้ ไม่เข้าใจเปรียบได้กับดอกบัวที่ยังอยู่ใต้โคลนตม ไม่มีโอกาสโผล่ขึ้นมากลายเป็นอาหารปลา และเต่า


@@@@@@@

ถ้านำพฤติกรรมของคนในสังคมไทยในปัจจุบันซึ่งปรากฏตามข่าว โดยเฉพาะข่าวสังคมและการเมือง ก็พอจะอนุมานได้ ส่วนที่จัดอยู่ในประเภท 1 และ 2 มีจำนวนไม่มาก

แต่ส่วนใหญ่จะจัดอยู่ในประเภท 3 สำหรับประเภท 4 คงจะมีจำนวนไม่มาก แต่ถึงจะไม่มากถ้าไม่ได้รับการแก้ไข และป้องกันแล้ว คนกลุ่มนี้คือต้นเหตุสังคม โดยเฉพาะปทปรมะบุคคลที่มีอำนาจในการปกครองประเทศ จะนำประเทศและประชาชนไปสู่ความหายนะ เข้าทำนองโง่ขยัน ยิ่งทำยิ่งผิด ยิ่งคิด ยิ่งหายนะ ทั้งต่อตนเอง และสังคมโดยรวม

ส่วนการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้คนไทยซึ่งส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ เรียนรู้เข้าใจ และนำไปเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้นั้น จะต้องดำเนินการโดยหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรับผิดชอบในการจัดการศึกษาแก่ประชาชน และองค์กรทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธร่วมกันจัดการศึกษา และให้การอบรมด้วยการจัดทำประมวลการเรียน การสอนในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ของคนในแต่ละประเภท

ในส่วนขององค์กรทางศาสนา จะต้องจัดการอบรมโดยเลือกคำสอนให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของบุคคลในแต่ละประเภท




ขอบคุณ : https://mgronline.com/daily/detail/9640000039599
เผยแพร่ : 26 เม.ย. 2564 15:01 ,ปรับปรุง : 26 เม.ย. 2564 15:01 ,โดย : สามารถ มังสัง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: เมษายน 27, 2021, 06:33:22 am โดย raponsan »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ